The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้-เรื่อง-การเขียนรหัสลำลองและผังงาน-ม.1 (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by fa14sal84, 2023-09-05 23:59:34

แผนการจัดการเรียนรู้-เรื่อง-การเขียนรหัสลำลองและผังงาน-ม.1 (1)

แผนการจัดการเรียนรู้-เรื่อง-การเขียนรหัสลำลองและผังงาน-ม.1 (1)

แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการแก้ปัญหา แผนจัดการเรียนรู้ที่2 เรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน เวลา 1 ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาวซีตีมารีแย โตะจุ 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 2. ตัวชี้วัด ม.1/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงาน ที่พบในชีวิตจริง ม.1/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ 3. สาระสำคัญ การเขียนรหัสลำลอง (Pseudocode) และผังงาน (Flowchat) การเขียนรหัสลำลอง (Pseudocode) และ ผังงาน (Flowchat) คือ เครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดกระบวนการก้ไขปัญหาหรือความคิด เพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติช่วยให้สามารถวางแผนการแก้ปัญหา และพัฒนาโปรแแกรมได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะปัญหา หรือโปรแกรมที่ซับซ้อน 4. จุดประสงค์รายวิชา 1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของรหัสลำลองและผังงานได้อย่างถูกต้อง (K) 2. นักเรียนสามารถเขียนวางแผนการแก้ปัญหาโดยใช้รหัสลำลองและผังงานได้(P) 3. นักเรียนยกตัวอย่างการเขียนรหัสลำลองและผังงานได้(A) 5. สาระการเรียนรู้ - รหัสลำลอง - ผังงาน


6. กิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model) กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูทักทายและตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน และเช็คชื่อนักเรียนภายใน 10 นาทีแรก เมื่อเข้า คาบเรียน 2. ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดและความสนใจของนักเรียน โดยครูอาจกำหนดคำถามเกี่ยวกับ รหัสลำลองและผังงานในชีวิตประจำวันที่นักเรียนได้พบเจอมีอะไรบ้าง (แนวตอบ : พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน โดยอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน เช่น การ แปรงฟัน เป็นต้น) 3. ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดว่า นักเรียนรู้จักรหัสลำลองและผังงาน หรือไม่ และหมายถึงอะไร โดยที่ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ (แนวตอบ : รหัสลำลอง (Pseudocode) คือ การถ่ายทอดความคิด จากจุดเริ่มต้น การ ทำงานตามลำดับก่อนหลัง ไปจนถึงจุดสิ้นสุด โดยการถ่ายทอดจะอยู่ในรูปของข้อความที่เรียงกันเป็น ลำดับ ผังงาน (Flowchat) คือ การอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน ในรูปแบบของสัญลักษณ์ เส้น เชื่อมความสัมพันธ์ และข้อความอธิบาย) 4. ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าจะได้ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนรหัสลำลองและผังงาน สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูสนทนากับนักเรียนต่อว่า การเขียนรหัสลำลอง (Pseudocode) และ ผังงาน (Flowchat) คือ เครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดกระบวนการแก้ไขปัญหาหรือความคิด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติช่วยให้สามารถ วางแผนการแก้ปัญหา และพัฒนาโปรแแกรมได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะ ปัญหา หรือโปรแกรมที่ซับซ้อน ครูถามคำถามนักเรียนเป็นรายบุคคลว่า การเขียนรหัสลำลอง (Pseudocode) และ ผังงาน (Flowchat) คือ อะไร 2. ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนร่วมกันศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ สัญลักษณ์พื้นฐานสำหรับการเขียนผังงาน จากหนังสือเรียน หน้า 30 3. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สัญลักษณ์พื้นฐานสำหรับการเขียนผังงานที่จะแนะนำการใช้งาน 5 สัญลักษณ์พื้นฐาน ดังนี้ ขั้นนำ ขั้นสอน


อธิบายความรู้ (Explain) 1. ครูอภิปรายเกี่ยวกับ การเขียนรหัสลำลองและผังงาน 2. ครูถามคำถามกับนักเรียนเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ - ให้นักเรียนเขียนรหัสลำลองหรือผังงานของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (แนวตอบ : พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน โดยอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน โดยมีแนว ทางการตอบ เช่น การล้างจาน การใส่เสื้อ เป็นต้น) - สัญลักษณ์พื้นฐานสำหรับการเขียนผังงานมีกี่สัญลักษณ์ อะไรบ้าง (แนวตอบ : มี 5 สัญลักษณ์ เริ่มต้นและจบ การนำข้อมูลเข้า-ออก แบบทั่วไป การตัดสินใจ และ ทิศทาง ) 3. ครูให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง สัญลักษณ์พื้นฐานของผังงาน ด้วยโปรแกรม liveworksheets ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 1. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหาเรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน ว่ามีส่วนไหนที่ยังไม่ เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น 2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจ เรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน ด้วย โปรแกรม KAHOOT 3. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 2.1 เพื่อเป็นการทบทวนให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหายิ่งขึ้นส่งเป็น การบ้านชั่วโมงถัดไป ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. ครูประเมินผล โดยการสังเกตการตอบคำถาม การร่วมกันทำผลงาน และจากการนำเสนอผลงาน ขั้นสอน ขั้นสรุป


2. ครูวัดและประเมินจากการทำใบงาน เรื่อง สัญลักษณ์พื้นฐานของผังงาน 3. ครูวัดและประเมินจากแบบทดสอบ เรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน 4. ครูวัดและประเมินผลจากการกิจกรรมที่ 2.1 ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวน) ม.1 หน้า 33 7. การวัดและประเมินผล 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) ใบงาน เรื่อง สัญลักษณ์พื้นฐานของผังงาน 2) PowerPoint เรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน 3) แบบทดสอบ เรื่อง การเขียนรหัสลำลองและผังงาน 4) หนังสือเรียน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 สสวท. 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 3) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 7.1 การประเมินระหว่างการจัด กิจกรรม 1) สัญลักษณ์พื้นฐานของ ผังงาน - ตรวจใบงาน - ใบงาน ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ 2) พฤติกรรมการทำงาน รายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) พฤติกรรมการทำงาน กลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่น ในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 7.2 การประเมินหลังเรียน - แบบทดสอบ เรื่อง การ เขียนรหัสลำลองและ ผังงาน - ตรวจแบบทดสอบ - แบบทดสอบ ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์


บันทึกผลหลังการสอน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ 1. นักเรียนจำนวน 19 คน สามารถอธิบายความหมายรหัสลำลองและผังงานได้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 80 2. นักเรียนมีทักษะในการตอบคำถาม และทักษะการคิดและการสื่อสารในการตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์ การประเมินคิดเป็นร้อยละ 90 3. นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ปัญหา/อุปสรรค 1. นักเรียนที่อยู่ท้ายห้องไม่ค่อยให้ความร่วมมมือ 2. คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการเรียน แนวทางแก้ไขปัญหา/ข้อเสนอแนะ 1. ถามคำถามและเดินไปหาเพื่อกระตุ้นความสนใจ 2. ให้นักเรียนจับคู่กันเรียน ลงชื่อ.................................................... (นางสาวซีตีมารีแย โตะจุ) ครูผู้สอน 21/มิถุนายน/2566


Click to View FlipBook Version