The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Janwan Withuchamnan, 2022-12-06 06:34:50

อภิธานศัพ

เนื้อหา

อภิธานศัพท์
การประกันคุณภาพการศึกษา
(QA GLOSSARY)

สำ นั ก ง า น รั บ ร อ ง ม า ต ร ฐ า น แ ล ะ
ป ร ะ เ มิ น คุ ณ ภ า พ ก า ร ศึ ก ษ า
( อ ง ค์ ก า ร ม ห า ช น )
WWW.ONESQA.OR.TH

คำนำ ก

ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่

๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ หมวด ๖ มาตรา ๔๕ กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ

การศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก

และทำการประเมินผลการ จัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดย

คำนึงถึงความมุ่งหมายหลักการ และแนวทาง จัดการศึกษาในแต่ละระดับ

ในการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. ใช้รูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน โดยประสงค์ที่จะให้

เป็นการ ประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติ เพื่อให้เกิดวิถีชีวิต

คุณภาพ และสังคม ได้ตระหนักว่า การศีกษาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน

ระบบการประกันคุณภาพมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและแต่ละหน่วยงานได้นิยาม

ศัพท์ขึ้นตาม ความจําเป็นของการใช้งาน สมศ. ในฐานะที่เป็นองค์กรรับผิดชอบการประเมิน

คุณภาพการศึกษาของชาติจึง จัดทำหนังสืออภิธานศัพท์การประกันคุณภาพการศึกษา (QA

Glossary) ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ใช้เป็น

คู่มือของสถานศึกษา รวมถึงผู้ประเมินและผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษา

ทุกระดับ

สมศ. ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมกันจัดทำหนังสืออภิธานศัพท์การประกัน

คุณภาพ การศึกษาเล่มนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน

งานด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่ง

หมายต่อไป

ผู้จัดทำ



นางสาวจันทร์วรรณ วิทูชำนาญ

สารบัญ ข

สารบัญ ข

สารบัญ ข

สารบัญ ข

บทนำ 1

๑. ความเป็นมา

เนื่องด้วยศัพท์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นศัพท์วิชาการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระบบ และการ

จัดการศึกษาหลายระดับ ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) ด้านการ

อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาซึ่งการประกันคุณภาพภายในดำเนินการโดยต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่รับผิด

ชอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำ

นักการศึกษากรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(กศน.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สภาการพยาบาล กองบัญชาการการศึกษา ๓ เหล่า

ทัพ และกองบัญชาการการศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการ

ศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสำนักงาน

คณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งกำกับดูแลและประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาภาค

รัฐ

สมศ. เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งระบบ จึงได้จัดทำหนังสืออภิธาน ศัพท์

การประกันคุณภาพการศึกษาพร้อมเขียนคำอธิบายในรูปแบบของพจนานุกรม เพื่อใช้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน



อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกันคุณภาพการศึกษาและตอบสนองความสนใจของนักเรียน นักศึกษา


นักวิชการ ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ตลอดจน

ประชาชนทั่วไป

ในการดำเนินการครั้งนี้ สมศ. อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด 5

มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร สมศ. คราว ประชุม

ครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นสองชุด ทำหน้าที่จัดทำ หนังสือ

อภิธานศัพท์การประกันคุณภาพการศึกษา (QA GLOSSARY) ดังนี้
ชุดทีหนึ่ง

คณะกรรมการจัดหาหนังสืออภิธานศัพท์การประกันคุณภาพการศึกษา โดยคำสั่งที่ ๔๖/๒๕๕๓ ลงวันที่

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ มีรายนามดังต่อไปนี้

ประธานคณะกรรมการบริหาร สมศ. ที่ปรึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ปรึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ที่ปรึกษา
ผู้อำานวยการ สมศ. ประธานกรรมการ

บทนำ 2

บทนำ 3

บทนำ 4

คำศัพท์ 5

หมวด ก
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ( Learner – centered Approach)

หมายถึง กระบวนการจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เน้นให้ผู้เรียนแสวงหา

ความรู้ และพัฒนา ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน

เชื่อมโยง ประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้เข้า กับสังคม มีการจัดกิจกรรมการและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิด

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่ง ต่าง ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม

ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยสะท้อนจากการที่ผู้เรียนสามารถ เลือกเรียนรายวิชา หรือเลือกทำ

โครงงานหรือชิ้นงานตามความสนใจในขอบเขตเนื้อหาของวิชานั้น ๆ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีหลายรูปแบบ เช่น
1. การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL)
2. การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study)
3. การเรียนรู้แบบสรรค์นิยม (Constructivist Learning)
4. การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Study)
5. การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)


6. การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning)

7. การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach)

กระบวนการเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน (Standardized Data Collection Process)
หมายถึง ความถูกต้องเหมาะสมของการวัด การเก็บข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ

ซึ่งควรมีการระบุใน รายงานและหรือบันทึกภาคสนาม ในส่วนของการประเมิน ผู้ประเมินจะใช้การ
สังเกตสภาพจริงหรือใช้วิธีศึกษา จากเอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงหรือที่ได้รับการรับรองความ

ถูกต้องจากสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์เป็น ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแสดงถึงการประเมินจากสภาพ

หรือการประเมินเชิงประจักษ์

กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอก ( External Quality Assessment Process)
หมายถึง กระบวนการ ในการประเมินคุณภาพภายนอกประกอบด้วย 3 ระยะ คือ


ก่อนการตรวจเยี่ยม ระหว่างการตรวจเยี่ยมและหลังการตรวจเยี่ยม ซึ่งในแต่ละระยะมีความสำคัญ

อย่างยิ่งเสมอต่อผลการประเมิน คุณภาพภายนอก ที่ต้องถูกต้อง เที่ยงตรง น่าเชื่อถือสามารถนำไป

ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อ สถานศึกษาต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ใน

การตัดสินใจ หรือนำผลการประเมินคุณภาพนอกไปใช้ พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและ

มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

การจัดประสบการณ์ปฐมวัย
หมายถึง การจัดการศึกษา การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการจัดวัสดุอุปกรณ์ สิ่งจำลอง


และสื่อต่างๆ ที่มีลักษณะและ คุณสมบัติเหมาะสมกับเด็กสำหรับการทำกิจกรรมตอบสนองต่อสถาน

การณ์นั้นๆ จนเกิดประสบการณ์ต่างๆ ตาม วัตถุประสงค์ของผู้จัด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ให้ครบ

ทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญาและส่ง เสริมพัฒนาเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้

ในระดับต่อไป

คำศัพท์ 6

หมวด ก
การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ (Integrated Experience Provision)
หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่นำความรู้ ความคิดรวบยอด ทักษะและประสบการณ์สำคัญทั้งมวล

ที่ผู้เรียนจะได้รับ จากสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมายและ

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต จริงใต้ การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเป็นการลดความซ้ำซ้อน

ความไม่สัมพันธ์และความไม่ต่อเนื่องขององค์ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์สำคัญ
การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (Monitoring and Auditing of Educational

Quality)
หมายถึง กระบวนการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพ

การศึกษา และจัด ทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการ

เร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Assurance)
หมายถึง การสร้างมาตรฐานคุณภาพของการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมตามภารกิจของ

สถานศึกษา เพื่อ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการ



ศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถาน


ประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
การประเมินพัฒนาการเด็ก (Child Development Assessment)
หมายถึง กระบวนการศึกษาข้อมูล ลักษณะ หรือความสามารถในด้านต่างๆ ของเด็กอายุแรกเกิดถึง

ไม่เกินหกปีบริ บูรณ์ในแต่ละช่วงวัย โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล

อย่างต่อเนื่องและสรุปผลเปรียบ เทียบกับเกณฑ์ปกติของพัฒนาการเด็กตามวัย เป็นข้อมูลในการ

พัฒนากิจกรรมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม ศักยภาพ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Development)
หมายถึง กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนด

มาตรฐานการ ศึกษาการจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผนรวมทั้ง

การสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็น

ความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน
การพัฒนาเด็กแบบองค์รวม (Holistic Child Development)
หมายถึง การนำผลการประเมินคุณภาพภายในจากต้นสังกัดและผลการประเมินคุณภาพภายนอก

จากสมศ. ไปใช้ใน การทําแผนพัฒนาสถานศึกษา และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบเพื่อให้เกิด

การพัฒนาอย่างแท้จริง

คำศัพท์ 7

หมวด ก
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา
( Parental Participation in Educational Management)

หมายถึง กระบวนการที่ผู้ปกครองได้เข้าร่วมทำงานกับโรงเรียน ครู และชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ

การจัด การศึกษาของเด็กเพื่อร่วมกันพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโต และพัฒนาได้เต็มศักยภาพ
การรายงานพัฒนาการเด็ก (Child Development Report)

หมายถึง การเสนอผลการประเมินคุณลักษณะหรือความสามารถด้านต่างๆ ของเด็กอายุแรกเกิดถึง

ไม่ เกินหกปีบริบูรณ์ตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฎ โดยมีการสรุปผลจากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์

ปกติของ พัฒนาการเด็กตามวัยในรูปของรายงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเข้าใจง่าย
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ( Learning by Doing)

หมายถึง การเรียนรู้ที่ได้จากการมีประสบการณ์ด้วยตนเองหรือเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง จะ

ทำให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)

หมายถึง การพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ บนพื้นฐานของการอบรมเลี้ยง



ดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนภายใต้


บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อ

สร้างหลักฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
กิจกรรมการแจ้ง (Outdoor Activities)

หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออก

อย่างอิสระตามความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคน เช่น การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่น

ทราย การเล่นน้ำ การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา การเล่นเกมการละเล่น
กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ (kinesthetic and Rhythmic Activities)

หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระหรือตามจังหวัด

ดนตรี เสียงเพลง หรือคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และ

พัฒนาการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กัน

คำศัพท์ 8

หมวด ก
กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Activities)

หมายถึง กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ

จินตนาการ ให้บอกกับพัฒนาการ โดยใช้ศิลปะและการเล่น เช่น การเขียนภาพ การปั้ น การฉีก-ปะ

การตัด-ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ การเล่น พลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจาก

กระดานปัดหมุน เป็นต้น
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (Supplementary Experiences Activities)

หมายถึง กิจกรรมกลุ่มที่มุ่งให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และเกิดความรู้คิดรวบยอดเกี่ยว

กับเรื่องที่เรียน ด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้อง

เพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เป็นต้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

กิจกรรมในวงกลม
กิจกรรมเสรี (Independent Activities)

หมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่น นมประสบการณ์หรือศูนย์การ

เรียนรู้ที่จัดไว้ในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก



ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม รวมถึงกิจกรรมที่ครู/ผู้เลี้ยงดูเด็ก จัดเสริมขึ้นให้เด็กเลือกทำกิจกรรม


เช่น เกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัสกิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

กิจกรรม การเล่นตามมุม

หมวด ค
คุณลักษณะตามวัย(Developmentally Appropriate Characteristics)
หมายถึง ความสามารถตามวัย หรือพัฒนาการตามธรรมชาติ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม
และสติปัญญาที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(Desired Characteristics of Basic Education)
หมายถึง ลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการ ในด้านคุณธรรม

จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทย

และพล โลก เช่น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะอัน

พึงประสงค์ไว้ 8 ประการ ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้

5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ

คำศัพท์ 9

หมวด ก
โครงการบริการวิชาการที่มีผลต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (Academic

Projects forCommunity Empowerment)
​หมายถึง โครงการที่สถาบันจัดขึ้นเพื่อพัฒนาชุมชนหรือองค์กรภายนอกและเมื่อดำเนินการแล้วมีผล

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ หรือทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ตามศักยภาพของ

ตนเอง

หมวด ง
งานวิจัย (Research)
หมายถึงผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขา

วิชาเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม

หมวด จ
จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์(Imagination and Creativity)


หมายถึงการคิดในสิ่งที่แปลกใหม่ที่จะนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อาจเป็นการเพ้อฝันที่


เหนือจริงโดยไม่มีข้อมูลหลักฐานมาสนับสนุนหรือคิดฝันโดยมีหลักฐานข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแล้วอาศัย

เหตุผลมาประกอบซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่ช่วยให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยความรู้และ

เทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุผลตามจินตนาการที่สร้างขึ้น

หมวด ด
ดัชนีมวลกาย(Body mass index : BMI)

หมายถึงค่าน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายที่เกิด

จากการดูแลตัวเองรวมทั้งการดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนของสถานศึกษานอกเหนือจากการจัดการเรียนการ

สอนที่เป็นการพัฒนาทักษะความรู้และประสบการณ์รวมทั้งการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม

แล้วสถานศึกษาควรดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนในด้านสุขภาพร่างกายซึ่งเป็นรากฐานสำคัญทางด้านความ

พร้อมในการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
เด็กปฐมวัย(Early Childhood)

หมายถึงเด็กซึ่งมีอายุเกาะครบ 6 ปีบริบูรณ์และให้หมายความรวมถึงทารกในครรภ์มารดา

ด้วยในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ 2554-2558) สมศ.จะดำเนินการประเมินคุณภาพ

ภายนอกในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึงห้าปีที่อยู่ในสถานศึกษา

คำศัพท์ 10

เด็กพิเศษ(Children in Special Program)
หมายถึงเด็กที่มีคุณสมบัติแตกต่างกับเด็กปกติที่ต้องจัดโปรแกรมพิเศษให้เรียนตามศักยภาพ


อาจจะจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางกายอารมณ์และการเรียนรู้มีปัญหาทาง

พฤติกรรมและอารมณ์มีลักษณะออทิสติกและมีความพิการซ้ำซ้อนเด็กอัจฉริยะ เด็กปัญญาเลิศเด็กมี

ความสามารถพิเศษ

หมวด ต
ตัวบ่งชี้(Indicator)

หมายถึงตัวประกอบตัวแปรหรือค่าที่สังเกตได้ซึ่งบ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการ

ดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานที่สามารถวัดและสังเกตได้เพื่อบอกสภาพทั้งเชิงปริมาณและเชิง

คุณภาพในประเด็นที่ต้องการในภาษาไทยที่มีใช้อยู่หลายคำเช่นตัวชี้วัดดัชนีซึ่งตัวบ่งชี้ซึ่งตัวบ่งชี้ในการ

ประเมินคุณภาพ ฯ ภายนอกรอบ 3 จะประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 กลุ่มดังนี้

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจหลักของสถานศึกษาบนพื้นฐานที่ทุกสถาน

ศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดีและมีความเชื่องโยงกับการประการ



คุณภาพภายใน
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยมีการ

กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมการเพื่อชี้แนะป้องการและแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐซึ่ง

สามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและสภาพปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไปโดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็น

ผู้ชี้นำสังคมและแก้ปัญหาสังคมของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน

ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิต ตามปรัชญา ปณิธานพันธกิจและวัตถุประสงค์

ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่น ที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของ

แต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและต้องสังกัด

หมวด ท
ทักษะการสื่อสาร(CommunicationSkills)
หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมหรือในกลุ่มได้อย่างถูก

ต้องชัดเจนด้วยสีหน้าและท่าทาง ในลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง ได้แก่ วัจนภาษาคือภาษาที่เป็นคำ

พูดเป็นถ้อยคำหรือ การเขียนและอวัจนะภาษาคือภาษาท่าทางสายตาการแสดงออกรวมถึงการ สื่อสาร

แบบทางเดียว เช่น ภาพวาด การเขียน จดหมาย บทความ ที่สะท้อน ความคิดและความรู้สึกภายในของ

ผู้ส่งสาร

คำศัพท์ 11

หมวด ธ
ธรรมาภิบาล (Good Governance)
หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียนให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจ

เอกชน และ ภาคประชาชน
ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และ ฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือ สร้างภูมิ
คุมกันแก่ประเทศ ประกอบด้วยหลัก 9 ประการคือ
1. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการ
บริหารงานภาครัฐ ต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใดๆ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติ
ต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย
2. ความโปร่งใส หมายถึงการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การ
ดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่างๆ น้ัน สาธารณชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการ
ดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย
3. การปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็น


การทุจริต และการประพฤติมิชอบท้ังต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชนการปรับปรุง

ประสิทธิภาพในการทางานและการทำให้เกิดความโปร่งใสรวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือ
ในการปราบปราม การฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของเข้ามามีบทบาทในการ
ตัดสินใจดำเนินนโยบายมีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิด
กระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการดำาเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี
5. การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความ
เสมอภาคเท่าเทียมกันและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผล
บังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดี



คำศัพท์ 12

หมวด ธ
ธรรมาภิบาล (Good Governance)

6. การตอบสนองที่ทันการ
หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีสส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในเวลาที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไปธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน
การประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้นต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิด
ประโยชน์ สูงสุด และคุ้มค่า
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้ บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับ
องค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน


หมวด น 

นักศึกษาภาคพิเศษ (Non-regular Students)
หมายถึง นักศึกษาที่เรียนในช่วงเวลาราชการ หรือนอกเวลาราชการโดยสถาบันมิได้นับว่าการสอน
ดังกล่าวเป็นภาระงานสอนของอาจารย์และ/หรือได้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสอนของอาจารย์

เป็นการ
พิเศษ

แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice)
หมายถึง วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตาม
เป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจนโดยมีการ

สรุปวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้

หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

คำศัพท์ 13

หมวด บ
บริการวิชาการ/วิชาชีพ (Academic/Professional Services)
หมายถึง กิจกรรมที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้นนเพื่อให้บริการวิชาการ/วิชาชีพ แก่สังคมและชุมชน

โดยเป็น
กิจกรรมหรือโครงการที่ช่วยพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมและชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถ

ของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคมในรูปแบบของงานบริการวิชาการ/วิชาชีพ

รวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา นิสิต นักศึกษา ชุมชน และสังคม ในรูปแบบ

ของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ

หมวด ป
ประสบการณ์สำคัญ (Essential Experiences)
หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับกับพฤติกรรมของเด็กที่ช่วยอธิบายให้ครูู/ผู้เลี้ยงดูเด็กเข้าใจว่าเด็ก

ต้องทำอะไรเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างไร ช่วยแนะนำครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในการสังเกต สนับสนุน

และวางแผนการจัดกิจกรรมให้เด็ก

หมวด ผ


ผู้ช่วยครู/ผู้ช่วยผู้เลี้ยงดูเด็ก (Teacher Assistant/Assistant Caregiver)

หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในการจัดอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเรียน

รู้ให้แก่เด็กในสถานศึกษาระดับปฐมวัยตามแนวทางที่ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดเพื่อให้การจัด

อบรมเลี้ยงดูและพัฒนเด็กเป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย
ผู้เลี้ยงดูเด็ก (Caregiver)
หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่หลักในการอบรมเลี้ยงดู จัด

ประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ใหเด็กมีความพร้อมด้านร่างกายอารมณ์และ

จิตใจ สังคมและ สติปัญญา

คำศัพท์ 14

หมวด ฝ
ใฝ่รู้ (Enthusiasm)
หมายถึงความตองการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยางละเอียดลึกซึ้งกล้าหาญที่จะเรียนรู้มีจิตใจตั้งมั่น

ต้องการที่จะเรียนรู้อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยปัญญาอันเป็นรากฐานของความเป็นเหตุเป็นผล

หมวด พ

พระราชบัญญัติการศึกษา (Education Act)
หมายถึง กฎหมายว่าด้วยการศึกษา ครอบคลุมหลักการและความมุ่งหมายของการ


จัดการศึกษา สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษาระบบแนวทางการจัดการศึกษา การบริหารและการ

จัดการ กระบวนการเรียนการสอน บุคลากรและทรัพยากร มาตรฐานและการประกันคุณภาพ

การศึกษา

พัฒนาการเด็ก (Child Development)
หมายถึง ศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของพัฒนาการนั้นๆ



โดยธรรมชาติ เป็น ผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้ นำไปสู่ความสามารถ


ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ เป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการ

พัฒนาการด้านกล้ามเมื่อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้มีประสิทธิภาพดี


ขึ้น เช่น ความสามารถของการใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้าน

การเขียน การทำงานใน ชีวิตประจําวัน และการช่วยเหลือตัวเองของเด็ก

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่(Gross Motor Development)
หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ความ


สามารถของการใช้แขน ขา การทรงตัว ซึ่งจะทำให้เด็กสุขภาพดี แข็งแรง คล่องแคล่ว

ทะมัดทะแมง เล่นกีฬาได้ดี

คำศัพท์ 15

หมวด พ

พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางร่างกายเริ่มต้นจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และ


จากแกนกลางไปสู่ ส่วนข้าง ความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายจะพัฒนาทักษะจาก

ทางการเคลื่อนไหวทั่วไปไปสู่การ เคลื่อนไหวแบบเจาะจง ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แก่ ความสามารถของร่างกายในการทรง ตัวในอิริยบถต่างๆ และการเคลื่อนไหว

เคลื่อนที่ไปโดยการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การนั่ง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ฯลฯ การใช้สัมผัสรับรู้

และการใช้ตาและมือประสานกันในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การหยิบจับของ ปั้ น ประดิษฐ์

และการขีดเขียน เป็นต้น
พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectual Development)

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิดจะพัฒนาจากการรับรู้ด้วย

ประสาทสัมผัสและการรู้ คิดเชิงรูปธรรม ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ แล้วจึงรู้จักคิด

เป็นนามธรรม รวมทั้งการพัฒนาความคิดที่ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การคิดที่มีเหตุผลตาม



หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แก่ ความสามารถ ในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง


สิ่งต่างๆ กับตนเอง การรับรู้ รู้จักสังเกต จดจำ วิเคราะห์ การรู้คิด รู้เหตุผล
พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น จะ

พัฒนาจากความ ผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่ในครอบครัว ไปสู่การพึ่งพาตนเองและการปรับตัว

อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตาม หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้แก่ ความสามารถใน

การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีทักษะการ ปรับตัวในสังคม คือ สามารถทำหน้าที่ตามบทบาท

ของตนเอง ร่วมมือกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความเป็นตัว ของตัวเอง และรู้กาลเทศะ สำหรับ

เด็กหมายความรวมถึงความสามารถในการช่วยตัวเองในชีวิตประจำวัน เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ

ด้านคุณธรรมและสติปัญญา ทำให้รู้จัดแยกแยะความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความสามารถ ใน

การเลือกดำรงชีวิตในทางสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอีกด้วย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ(Emotional Development)

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก พัฒนา

จากการรับรู้ ความรู้สึกทั่วไปไปสู่ความรู้สึกที่ละเอียดลึกซึ้ง จากการรับรู้ความรู้สึกของตนเองไป

สู่การรับรู้ความรู้สึกของ ผู้อื่น ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แก่ ความเกลียด

กลัว และ เป็นสุข ความสามารถในการ แยกแยะ ความลึกซึ้งและควบคุมการแสดงออกของ

อารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและ

นับถือต่อตนเอง หรือ อัตมโนทัศน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย

คำศัพท์ 16

หมวด พ

พัฒนาการสมวัย (Appropriately Developed)
หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กควรแสดงออกได้เมื่อถึงวัยนั้นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง


ประสิทธิภาพ ด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะระบบต่างๆ ในสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อน

มากขึ้นตามช่วงอายุของเด็ก

หมวด ภ

ภาคีเครือข่าย (Network)
หมายถึง บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น


องค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมทั้งสถาน

ศึกษาอื่นที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการ พัฒนาสถานศึกษาแต่ละแห่ง

หมวด ม


มาตรการ (Measures)
หมายถึง ข้อตกลงที่จะทำร่วมกัน โดยตั้งเป็นกฎระเบียบหรือกฎหมาย เช่น มาตรการ


ความปลอดภัยในสถานศึกษา
มาตรฐานการอาชีวศึกษา

หมวด ร

ระบบการศึกษา (Educational System)
หมายถึง โครงสร้างทางการศึกษาที่ประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ที่ทำงานประสานสัมพันธ์กัน

และกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการศึกษา เช่นการศึกษาในระบบ 6-2-3 คือ ประถมศึกษา 5

ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 5 ปี เป็นต้น

คำศัพท์ 17

หมวด ศ

ศูนย์การเรียน (Learning Center)
หมายถึง สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร

ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถาน

ประกอบการ โรงพยาบาล สถาบัน ทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบัน สังคม จัดตั้ง

ขึ้นเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาจจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษาในระบบ การศึกษา

นอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว สนองตอบวัตถุประสงค์

ของศูนย์การเรียน

หมวด ส
สาระการเรียนรู้ (Learning Content)
หมายถึง องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการและคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม

ความรู้ สำหรับเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงห้าปี ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อส่ง



เสริมพัฒนาการทุกด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการ


เด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์

สื่อการเรียนรู้ (Learning Materials)
หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวเนื้อหา ความรู้ จากผู้สอน หรือจาก

แหล่ง ความรู้ไปสู่เด็ก เช่น วัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรม บุคคล สิ่งแวดล้อม หรือวิธีการใดๆ เพื่อช่วย

ให้เด็กได้รับ ประสบการณ์ ความรู้ เจตคติ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเกิดการเรียนรู้

อย่างมีประสิทธิภาพ

หมวด ห
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Curriculum)
หมายถึง กรอบทิศทางหรือแนวปฏิบัติและมาตรฐานหลักสูตรสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย และ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย

คำศัพท์ 18

หมวด ห

หลักสูตรสถานศึกษา (Educational Institution Curriculum)

หมายถึง มวลประสบการณ์หรือแนวทางการจัดการศึกษาและการบริหารการศึกษาของสถาน

ศึกษาเพื่อ ความ เจริญงอกงามของผู้เรียนทุกด้านให้มีความรู้และมีคุณลักษณะตามที่สังคม

ประเทศชาติต้องการ โดยจัดทำา เพื่อให้ เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นประกอบด้วย จุดมุ่ง

หมายของการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรม ประสบการณ์เกิดจาก การที่สถานศึกษานำสภาพ

ต่างๆ ที่เป็นปัญหา จุดเด่นเอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรม คุณลักษณะอัน พึง

ประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาออกแบบ
หลักสูตรสถานศึกษาให้ มีคุณภาพเป็นแนวทางที่ครูยึดถือในการจัดการเรียนรู้โดยความร่วมมือ

ของ ทุกคนในสถานศึกษาและชุมชนและระดม ทรัพยากรทั้งของสถานศึกษาและชุมชนมาใช้

อย่างคุ้มค่า


หลักสูตรสาขาวิชาชีพ (VocationalCurriculum)

หมายถึง รายวิชาและประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรียนต้องศึกษาเพื่อให้ได้รับการรับรองจากสภา

หรือ องค์กรวิชาชีพที่กําหนดตามกฎหมาย

ห่วงโซ่คุณภาพ (Chain of Quality)

หมายถึง กรอบแนวคิดสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง

มาตรฐาน คุณภาพ ด้านผลลัพธ์กับมาตรฐานคุณภาพด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการจัดการ

เรียนรู้ของครูและกระบวนการ บริหาร การ จัดสภาพแวดล้อม การประกันคุณภาพภายในและ

การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ห่วง โซ่คุณภาพยังรวม ถึงความเชื่อมโยงคุณภาพ

ทุกระดับการศึกษาอีกด้วย

คำศัพท์ 19

หมวด อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Local Administrative Organization)

หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลและเมืองพัทยา

องค์ประกอบคุณภาพ (QualityFactor)

หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ปรัชญา

ปณิธาน ภารกิจและวัตถุประสงค์การเรียนการสอน การพัฒนาและสนับสนุนนักศึกษา การวิจัย

การบริการวิชาการแก่ ชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การบริหาร

และจัดการ การเงินและงบประมาณ และการ ประกันคุณภาพ

องค์รวม (Holistic)


หมายถึง ทัศนะในการมองปรากฏการณ์ หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกๆ มิติ ว่ามีความ


โยงใย เกี่ยวข้อง ต่อกัน และมีผลต่อการพัฒนาเด็ก

อัตลักษณ์ (Identity)

หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง

สถานศึกษา ที่ ได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

อนุสิทธิบัตร (PettyPatent)

หมายถึง เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้นเช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่

แตกต่างกัน ตรง ที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุง

เพียงเล็กน้อยซึ่งมีเทคนิคที่ไม่สูง มากนัก

อภิธานศัพท์
การประกันคุณภาพการศึกษา
(QA Glossary)


Click to View FlipBook Version