46 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง โมเมนตัมและการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 โมเมนตัมและการชน รายวิชา ฟิสิกส์ 1 รหัสวิชา ว31201 จำนวน 2.0 หน่วยกิต จำนวน 4 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ครูผู้สอน จิรภัทร แสงเดช ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 1. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระฟิสิกส์ : 1. เข้าใจธรรมชาติทางฟิสิกส์ ปริมาณและกระบวนการวัด การเคลื่อนที่แนวตรง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงสากล แรงเสียดทานสมดุลกลของวัตถุ งานและกฎการอนุรักษ์ พลังงานกล โมเมนตัมและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม การเคลื่อนที่แนวโค้ง รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2. ผลการเรียนรู้ อธิบาย และคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 ด้านความรู้ (K) - บอกความหมายของโมเมนตัม 3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) - การทดลองโยนไข่ไม่แตก - คำนวณโมเมนตัมของวัตถุ 3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4.1 ความสามารถในการสื่อสาร 4.2 ความสามารถในการคิด 4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สะเต็ม (STEM)
47 6. สาระสำคัญ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จะมีโมเมนตัม (momentum) ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลกับ ความเร็วของวัตถุ ดังสมการ p⃑=mv⃑ โมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศทางเดียวกับความเร็ว และมีหน่วย กิโลกรัม เมตรต่อวินาที (kg m/s) 7. ภาระงาน/ชิ้นงาน 7.1 ใบงาน 6.1 เรื่อง โมเมนตัม 8. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหา (10 นาที) 1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ 2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนเข้าสู่ กิจกรรม 3. ครูนำเข้าสู่หัวข้อ โดยใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนบอกเกี่ยวกับการออกแรงรับลูกบอลที่กำลังเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วต่าง ๆ กันว่า ขนาดของแรงที่ใช้รับแตกต่างกันอย่างไร จากประสบการณ์ที่เคยเล่นกีฬาบาง ประเภท เช่น บาสเกตบอล แชร์บอล จากนั้น ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อตอบคำถามว่า การออกแรง ที่ต่างกันเพื่อรับวัตถุนั้นขึ้นกับปริมาณใดบ้าง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ (ไม่ คาดหวังคำตอบที่ถูกต้อง) ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (55 นาที) 1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยการรับถุงทรายตามรายละเอียดในหนังสือเรียน หน้า 151- 152 แล้ว ตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบดังนี้ 1. เมื่อปล่อยถุงทรายมวลเท่ากันให้ตกจากตำแหน่งที่ระดับความสูงต่างกัน ถุงทรายที่ปล่อยจากตำแหน่งที่ ขณะตกถึงจุดต่ำสุด แรงสุดท้ายถุงทรายแต่ละถุงออกแรงต่างกันหรือไม่ 2. เมื่อปล่อยถุงทรายที่มีมวลต่างกันจากตำแหน่งระดับความสูงเท่ากัน ถุงทรายจะตกกระทบมือด้วย ความเร็วต่างกันหรือไม่ และแรงที่ใช้รับถุงทรายที่มีมวลมากจะมีค่าต่างกว่าแรงที่ใช้รับถุงทรายที่มีมวลน้อย อย่างไร นักเรียนทำกิจกรรมโดยการรับถุงทรายตามรายละเอียดในหนังสือเรียน หน้า 151 -152 และทำใบงาน 6.1และ6.2 2. ครูนำเข้าสู่หัวข้อ 6.3 โดยใช้คำถามว่าจะเกิดผลอย่างไรเมื่อปล่อยไข่ตกลงจากที่สูงลงบนพื้นผิว ต่างกัน หลังจากนั้นอาจเลือกนักเรียนสามคนร่วมการสาธิตปล่อยไข่ตกสู่พื้น ให้คนที่หนึ่ง ปล่อยไข่ดิบที่ความ สูง 0.5 เมตร ลงบนพื้นแข็ง คนที่สอง ปล่อยไข่ดิบจากตำแหน่งระดับความสูงเดียวกันให้ตกลงบนฟองน้ำหนา และคนที่สาม ปล่อยไข่ดิบให้ตกลงบนฟองน้ำหนาเหมือนกันแต่ปล่อยจากตำแหน่งระดับความสูง 1 เมตร 3. หลังการสาธิตครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายภายใต้หัวข้อ ดังนี้ 1. ความเร็วของไข่ขณะตกกระทบฟองน้ำและตกกระทบพื้นแข็งต่างกันหรือไม่ อย่างไร
48 2. ผลที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ตกกระทบฟองน้ำและตกกระทบพื้นแข็งต่างกันหรือไม่ อย่างไร 3. โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปของไข่ทั้งสองเมื่อตกกระทบฟองน้ำกับตกกระทบพื้นแข็งต่างกันหรือไม่อย่างไร 4. ช่วงเวลาที่ไข่เปลี่ยนความเร็วขณะกระทบฟองน้ำจนหยุดนิ่งต่างกับช่วงเวลาที่ไข่กระทบพื้นแข็งจนหยุดนิ่ง หรือไม่ อย่างไ (ในการอภิปราย ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำตอบที่ ถูกต้อง) ขั้นที่ 3 ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (55 นาที) 1. ครูให้นักเรียนคิดค้นหาวิธีป้องกันไข่ที่ตกจากที่สูง 5 เมตร พร้อมเขียนขั้นตอนวิธีการทำอย่างละเอียด 2. ครูมอบหมายให้เตรียมอุปกรณ์มาทำในคาบถัดไป ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (60 นาที) 1. ให้นักเรียนวางแผนและลงมือสร้างสิ่งประดิษฐ์วัตถุลอยได้ด้วยปลายนิ้วตามที่ออกแบบไว้ ขั้นที่ 5 ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ไขปัญหาหรือชิ้นงาน (30 นาที) 1. ครูตรวจสอบผลโดยการให้นักเรียนส่งตัวแทนไปปล่อยไข่จากชั้น 2 ของอาคาร และสามารถ ปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานได้ภายใน 2 ครั้ง 2. ครูตรวจสอบความรู้เกี่ยวกับโมเมนตัม และให้คำชี้แนะ ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน(30 นาที) 1.ให้นักเรียนนำเสนอและร่วมอภิปรายแนวคิดและวิธีการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ รูปแบบการสร้าง ตลอดจนวิธีการปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน 2. ครูนำอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งประดิษฐ์
49 เรื่อง โมเมนตัม 1. จงตอบคำถามเกี่ยวกับโมเมนตัม 1.1 นิยามของโมเมนตัม คืออะไร ปริมาณที่แสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีมวลแตกต่างกัน และบอกถึงความพยายามที่จะเคลื่อนที่ไป ข้างหน้าของวัตถุ 1.2 ความเร็วและมวลของวัตถุเกี่ยวข้องกับไมเมนตัมอย่างไร เนื่องจากโมเมนตัมขึ้นกับขนาดของมวลและขนาดของความเร็ว จึงกล่าวได้ว่า โมเมนตัมจะมีค่ามาก เมื่อขนาดของมวลและความเร็วมีค่ามาก และโมเมนตัมจะมีค่าน้อยเมื่อขนาดของมวลและความเร็วมีค่าน้อย 1.3 นอกจากขนาดของมวลและความเร็ว สิ่งใดบ้างที่มีผลทำให้โมเมนตัมมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโมเมนตัมเป็นปริมาณแวกเตอร์ที่มีทิศทางเดียวกับความเร็ว จึงกล่าวได้ว่า เมื่อทิศทางของ ความเร็วเปลี่ยนแปลง โมเมนตัมก็จะเปลี่ยนแปลงเช้นกัน 1.4 ถ้าวัตถุมีความเร็วมาก แรงที่ใช้ต้านวัตถุมีขนาดอย่างไร ถ้าวัตถุที่มีความเร็ว แรงที่ใช้ต้านวัตถุจะมีค่ามาก หรือการหยุดวัตถุทำได้ยากกว่าวัตถุที่มีความเร็วน้อย 1.5 เรียงลำดับวัตถุที่ต้องออกแรงในการรับวัตถุจากมากไปน้อย เมื่อวัตถุมีดังต่อไปนี้ ลูกฟุตบอล ลูก โบว์ลิง ลูกปิงปอง กำหนดให้ตำแหน่งที่ปล่อยให้วัตถุตกสูงจากแนวระดับเท่ากัน เนื่องจากแรงที่ใช้ในการรับวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ ดังนั้น การรับลูกโบว์ลิงจะต้องออกแรงมาก ที่สุด รองลงมาคือ ลูกฟุตบอล และลูกปิงปอง ตามลำดับ ใบงานที่ 6.1 เฉลย
50 2. จงเรียงลำดับขนาดโมเมนตัมของสถานการณ์ที่กำหนดให้จากมากไปน้อย พร้อมทั้งแสดงวิธีคำนวณ สถานการณ์ ก. รถไฟฟ้าความเร็วสูงมวล 104 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 500 เมตรต่อ วินาที สถานการณ์ ข. ลูกเทนนิสมวล 250 กรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที สถานการณ์ ค. เครื่องบินลำหนุ่งมวล 34 x 103 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 400 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ก. รถไฟฟ้าความเร็วสูงมวล 104 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 500 เมตรต่อวินาที วิธีทำ จากสมการ p = mv P = 104 X 500 P = 5 X 106 kg m/s ดังนั้น รถไฟฟ้ามีโมเมนตัมเท่ากับ 5 X 106 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ข. ลูกเทนนิสมวล 250 กรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที วิธีทำ จากสมการ p = mv P =(0.250) (20) P = 5 kg m/s ดังนั้น ลูกเทนนิสมีโมเมนตัมเท่ากับ 5 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ค. เครื่องบินลำหนึ่งมวล 34 X 103 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิธีทำ จากสมการ p = mv P = 34 X 103 X 400 X 103 3,600 P = 34 X 103 X 111.1 P = 3.78 X 106 kg m/s ดังนั้น เครื่องบินมีโมเมนตัมเท่ากับ 3.78 X 106 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ขนาดของโมเมนตัมจากมากไปน้อย 5 X 106 kg m/s > 3.78 X 106 kg m/s >5 kg m/s สถานการณ์ที่มีขนาดโมเมนตัมจากมากไปน้อย ก. > ข. > ค.
51 3. จงพิจารณาความถูกต้องของข้อความที่เกี่ยวกับโมเมนตัม พร้อมให้เหตุผลสนับสนุน 3.1 โมเมนตัมสามารถบอกพลังวานจลน์ของวัตถุได้ ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อพิจารณาสมการโมเมนตัม P = mv และสมการพลังานจลน์ของวัตถุ Ek= 1 2 mv 2 จะเห็นได้ว่าสมการเขียนพลังงานจลน์ของวัตถุในรูปของโมเมนตัมได้ ดังสมการEk= 1 2 pv ดังนั้น โมเมนตัม สามารถบอกพลังานจลน์ได้ หรือกล่าวได้ว่า โมเมนตัมเกิดขึ้นกับวัตถุที่มีความเร็ว 3.2 เมื่อใดก็ตามที่วัตถุมีโมเมนตัม แสดงว่าวัตถุนั้นมีพลังานกลด้วย ดังนั้นหากวัตถุใด ๆ ไม่มีโมเมนตัม แสดงว่าวัตถุนั้นย่อมไม่มีพลังงานกลเช่นกัน ไม่ถูกต้อง เนื่องจากโมเมนตัมจะเกิดขึ้นกับวัตถุที่มีความเร็ว การที่วัตถุมีความเร็วไม่ได้หมายความ เพียงแค่ว่าวัตถุมีพลังงานจลน์เกิดขึ้นเท่านั้น แต่วัตถุอาจจะมีพลังงานศักย์อื่น ๆ เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็น พลังงานกลเช่นกัน 3.3 วัตถุที่มีมวลมาก มักจะมีโมเมนตัมมากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อยเสมอ ไม่ถูกต้อง เนื่องจากโมเมนตัมเป็นผลคูณระหว่างมวลกับความเร็วของวัตถุหรืออนุภาคนั้น ๆ จึงทำให้ โมเมนตัมขึ้นอยู่กับมวลและความเร็ว ดังนั้น ถ้าวัตถุมีมวลมากแต่ความเร็วน้อยก็อาจจะมีโมเมนตัมน้อยกว่า วัตถุที่มีมวลน้อยแต่มีความเร็วมากก็ได้ 3.4 ในการหยุดรถบรรทุกกับรถยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยยความเร็วเท่ากันรถบรรทุกจะต้องใชแรงต้านใน การหยุดมากกว่ารถยนต์ ถูกต้อง เนื่องจากรถบรรทุกมีมวลมากกว่ารถยนต์ เมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน รถบรรทุกจะมี โมเมนตัมมากกว่ารถยนต์ จึงทำให้รถบรรทุกต้องให้ใช้แรงต้านในการหยุดมากกว่ารถยนต์ 3.5 กฎข้อหนึ่งของนิวตันสามารถเขียนในรูปแบบของโมเมนตัมได้ ถูกต้อง เนื่องจากกฎข้อที่หนึ่งของนิวตันมีอีกชื่อหนึ่งว่า กฎแห่งความเฉื่อย ซึ่งสามารถเขียนในรูปแบบ ของโมเมนตัมได้ว่า โมเมนตัมของวัตถุคงตัวเสมอ นอกจากจะมีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้นหรืออาจกล่าว ได้ว่า โมเมนตัมของวัตถุเป็นศูนย์ (วัตถุหยุดนิ่ง) หรือวัตถุเคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางเดิม (โมเมนตัมเท่าเดิม) เมื่อ ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ
52 เรื่อง แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม คำชี้แจง จงนำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง แรงลัพธ์ เวลา ทิศทาง โมเมนตัม มวล แรง แรงกระทำ ความเร็ว แรงต้าน ช่วงเวลา ความเร่ง 1. ความเร่ง ของวัตถุแปรผันตรงกับแรงลัพธ์ที่มีมากระทำกับวัตถุ และแปรผกผันกับ มวล ของวัตถุ 2. ผลคูณระหว่างมวลและความเร็วของวัตถุ เรียกว่า โมเมนตัม 3. แรงลัพธ์ของวัตถุเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมขณะนั้นทั้งขนาดและ ทิศทาง 4. การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมเกี่ยวข้องกับแรง เนื่องจากแรงมีผลทำให้ โมเมนตัม ข อ ง ว ั ต ถุ เปลี่ยนแปลงไป 5. การรับถุงทรายที่มีมวลต่างกัน แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากันให้หยุดนิ่ง จะได้ว่า แรงที่ใช้รับถุงทราย ที่มี มวล มาก จะมากกว่าแรงที่ใช้รับถุงทรายที่ มวล น้อย 6. การออกแรงต้านวัตถุซึ่งกำลังเคลื่อนที่ให้หยุดนิ่ง พบว่า วัตถุที่มีโมเมนตัมมากต้องออก แรงต้าน มากกว่าวัตถุที่มีโมเมนตัมน้อย 7. แรง มีผลทำให้โมเมนตัมของวัตถุเปลี่ยนแปลงไป 8. กำหนดให้เวลามีค่าคงตัว ถ้าแรงมีค่าเพิ่มขึ้น แสดงว่า โมเมนตัม มีค่าเพิ่มขึ้น 9. จากสมการ F⃑= ∆p⃑ ∆t ได้ว่า แรงลัพธ์ ของวัตถุเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมขณะนั้น ทั้งขนาดและทิศทาง 10. แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือหยุดการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะขึ้นอยู่กับ มวล ความเร็ว และ เวลา 11. แรงที่กระทำกับวัตถุที่มีการเคลื่อนที่การดลเท่ากันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ช่วงเวลา ที่ กระทำ 12. ถ้าโมมเนตัมของวัตถุก่อนถูก แรงกระทำ เป็น p⃑=mu⃑ แล้ว p⃑ 2 = mv⃑ คือโมเมนตัมของ วัตถุหลังถูก แรงกระทำ ใบงานที่ 6.2 เฉลย
53 กลุ่ม ............................................. ชั้น ม.4/....... ชื่อ ........................................................................... เลขที่ .......................... ชื่อ ........................................................................... เลขที่ .......................... ชื่อ ........................................................................... เลขที่ .......................... ชื่อ ........................................................................... เลขที่ .......................... ชื่อ ........................................................................... เลขที่ .......................... ให้แต่ละกลุ่มออกแบบค้นหาวิธีการปกป้องไข่ไม่ให้แตกจากความสูง 5 เมตร วัสดุอุปกรณ์ ................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. วิธีดำเนินกิจกรรม ................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. วาดภาพที่ออกแบบไว้
54 แบบประเมินความสามรถการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน ชื่อ.....................................................................................ชั้น..............เลขที่................. คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และขีดลงในช่องที่ตรงกับคะแนน สมรรถนะ ด้าน รายการประเมิน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3) ดี (2) ผ่าน (1) ไม่ผ่าน (0) ความสามารถ ในการ แก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆที่เผชิญได้ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้ มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหา สามารถตัดสินใจได้เหมาะสมตาม วัย สรุปประเมิน
55 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 เรื่อง แรงดล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 โมเมนตัมและการชน รายวิชา ฟิสิกส์ 1 รหัสวิชา ว31201 จำนวน 2.0 หน่วยกิต จำนวน 4 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ครูผู้สอน จิรภัทร แสงเดช ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 1. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระฟิสิกส์ : 1. เข้าใจธรรมชาติทางฟิสิกส์ ปริมาณและกระบวนการวัด การเคลื่อนที่แนวตรง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงสากล แรงเสียดทานสมดุลกลของวัตถุ งานและกฎการอนุรักษ์ พลังงานกล โมเมนตัมและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม การเคลื่อนที่แนวโค้ง รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2. ผลการเรียนรู้ อธิบาย และคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 ด้านความรู้ (K) - บอกความหมายของแรงดลและการดล - วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม 3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) - คำนวณการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา - ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับ โมเมนตัมของวัตถุ การดล และแรงดลในการแก้ปัญหา 3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - มุ่งมั่นในการทำงาน 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4.1 ความสามารถในการคิด 4.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สะเต็ม(STEM)
56 6. สาระสำคัญ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุในช่วงเวลาสั้น ๆ เรียกว่า แรงดล (impulsive force) ผลคูณระหว่างแรง ลัพธ์ดล ∑ F⃑ กับช่วงเวลาที่แรงกระทำ ∆t เรียกว่า การดล (impulse) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์⃑I ซึ่งมีค่าดัง สมการ⃑I = (∑ F⃑ )∆t การดลเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิสเดียวกับแรงลัพธ์ มีหน่วยเป็น นิวตันวินาที (N s) อาจหาค่าการดลได้จากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา การดลมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง โมเมนตัม ตามสมการ ⃑I = ∆p ความสัมพันธ์นี้เรียกว่า ทฤษฎีบทการดล-โมเมนตัม (impulsemomentum theorem) 7. ภาระงาน/ชิ้นงาน 7.1 การออกแบบก่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก 8. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา นักเรียนวิเคราะห์ปัญหา โดยกำหนดสถานการณ์ของปัญหาเพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา ได้แก่ จาก สถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด - 19 ทำให้ประชาชนทุกคนต้องอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ต้องกักตัว อยู่ในบ้านของตนเองเกิดระบบการจัดส่งอาหาร สินค้าไปยังประชาชนตามบ้านเรือนต่าง ๆ และในระหว่าง ขนส่งสินค้าเกิดความเสียหายเนื่องจากกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นนักเรียนจะต้องออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ที่แข็งแรง ป้องกันการกระแทก สำหรับบรรจุสิ่งของในการขนส่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ซึ่งบรรจุภัณฑ์นั้นต้องสามารถลดความเสียหายการแตกของไข่ไก่ให้ได้มากที่สุด ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยไข่จากที่สูงและศึกษาพื้นผิวกันกระแทก โดยศึกษาความรู้ทาง ฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัม การดลและแรงดล ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา นักเรียนร่วมกันออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์โดยการร่างกล่องบรรจุภัณฑ์ บ่งบอกวัสดุที่ใช้ในการ ประดิษฐ์กล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทกเพื่อใช้อธิบายผลการทำกิจกรรมโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ ให้ได้กล่องกระแทกที่มีคุณภาพและบรรจุสิ่งของใช้งานได้อย่างปลอดภัย ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ดำเนินการตามที่ออกแบบและวางแผนไว้ ขณะดำเนินงานออกแบบนักเรียนจะพบปัญหา เช่น กล่อง บรรจุภัณฑ์ขนาดไม่พอเหมาะกับไข่ที่ใส่ในกล่อง วัสดุกันกระแทกแต่ละชนิดมีลักษณะและขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งนักเรียนต้องนำกล่องบรรจุภัณฑ์มาแก้ไขเพื่อให้ไข่ในกล่องมีความปลอดภัยมากที่สุด ขั้นที่ 5 ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข นักเรียนร่วมกันทดสอบ ปรับปรุงแก้ไขกล่องกันกระแทกของกลุ่มตนเอง เพื่ออธิบายผลการทดลอง เมื่อกล่องบรรจุภัณฑ์กระทบพื้นทำไมไข่ไก่ในกล่องจึงไม่แตกหรือถ้าแตกจะปรับปรุงกล่องอย่างไรให้ดีขึ้นไข่ถึง จะไม่แตกเป็นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจะต้องได้กล่องที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
57 ขั้นที่ 6 นำเสนอผลการแก้ปัญหา นักเรียนร่วมกันนำเสนอกระบวนการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทกและผลการทดลองของ กลุ่มตนเองที่ได้หลังจากแก้ไขปัญหาแล้ว โดยออกแบบวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ เช่นการ ทำคลิปวิดิโอเป็นต้น
71 แบบประเมินความสามรถการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน ชื่อ.....................................................................................ชั้น..............เลขที่................. คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และขีดลงในช่องที่ตรงกับคะแนน สมรรถนะ ด้าน รายการประเมิน ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม (3) ดี (2) ผ่าน (1) ไม่ผ่าน (0) ความสามารถ ในการ แก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆที่เผชิญได้ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้ มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหา สามารถตัดสินใจได้เหมาะสมตาม วัย สรุปประเมิน
73
74 เรื่อง การดล คำชี้แจง จงแสดงวิธีคำนวณหาผลลัพธ์เกี่ยวกับการดลและแรง 1. วัตถุ A มีมวลเป็น 2 เท่าของวัตถุ B ถ้าปล่อยวัตถุทั้งคู่ให้ตกจากหยุดนิ่งในจุดเดียวขณะกระทบพื้นนั้น โมเมนตัมของวัตถุ A มีขนาดเป็นกี่เท่าของวัตถุ B วิธีทำ ปล่อยที่ความสูงเดียวกัน v 2 = u2 + 2g∆x v จะไม้ขึ้นกับมวล VA = VB และ mA = 2mB PA PB = mA VA mB VB PA PB = 2mB VA mB VB pA = 2pB ดังนั้น ขณะวัตถุกระทบพื้นนั้นโมเมนตัมวัตถุ A มีขนาดเป็น 2 เท่าของวัตถุ B 2. ปล่อยลูกบาสเกตบอลมวล 50 กรัม จากตำแหน่งสูงจากพื้น 1.25 เมตร พบว่า ลูกบาสบอลกระทบ พื้นแล้วกระดอนขึ้นสูง 0.8 เมตร จงหาการดลของลูกบาสเกตบอลในขณะกระทบพื้น วิธีทำ พิจารณาก่อนกระทบพื้น จากสมการ v 2 = u2 + 2g∆x เนื่องจาก u = 0 จะได้ v=√2g∆x v=√(2)(9.8)(1.25) v = 4.95 m/s พิจารณาหลังกระทบพื้น จากสมการ v 2 = u2 + 2g∆x O = u2 + 2(-9.8)(0.8) u=√(2)(9.8)(0.8) u = 3.96 m/s จากสมการ ∆p⃑= mv⃑ - mu⃑ ∆p⃑= m(v⃑ - u⃑) ∆p⃑=( 50 x 10-3 )(4.95 -(-3.96)) ∆p⃑ = 0.446 kg m/s ดังนั้น การดลของลูกบาสเกตบอลในขณะกระทบพื้นเท่ากับ 0.446 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ใบงานที่ 6.3 เฉลย
75 3. นักกีฬาเตะลูกบอลเข้ากระทบกำแพงแล้วลูกบอลสะท้อนกลับออกมาด้วยอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ซึ่งเท่ากับอัตราเร็วเดิม ถ้าลูกบอลมวล 200 กรัม และแรงที่กำแพงกระทำต่อลูกบอลเป็น 40 นิวตัน ลูก บอลจะกระทบกำแพงนานเท่าใด วิธีทำ จากสมการ F⃑= ∆p⃑ ∆t ∆t= ∆p⃑ F⃑ ∆t= mv⃑ - mu⃑ F⃑ ∆t= (0.200)(-10) - (0.2000)(10) -40 ∆t= 0.10 s ดังนั้น ลูกบอลจะกระทบกำแพงนาน 0.10 s 4. ในการทดลองการชนของรถที่มีมวล 500 กิโลกรัม กับกำแพง ถ้าตอนแรกวิ่งเข้าไปด้วยความเร็ว 15.0 เมตรต่อวินาที และกระดอนมาด้วยอัตราเร็ว 2.60 เมตรต่อวินาที หากแรงดลเฉลี่ยที่กำแพงกระทำต่อ รถยนต์เป็น 880 นิวตัน เวลาที่รถชนกับกำแพงเป็นเวลาเท่าใด วิธีทำ จากสมการ F⃑∆t = mv⃑- mu⃑ พิจารณาเวลาที่รถยนต์ชนติดกำแพง ∆t = mv⃑- mu⃑ F⃑ ∆t = (500)(2.60) - (500)(-15.0) 880 ∆t = (1,300) + (7,500) 880 ∆t = 8,800 880 ∆t = 10 s ดังนั้น รถชนกับกำแพงเป็นเวลา 10 วินาที
76 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน ชื่อ........................................................................................ชั้น.............เลขที่............. คำชี้แจง : แบบทดสอบนี้เป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน สถานการณ์ที่ 1 (ใช้ตอบคำถามข้อที่ 1-4) แม่ค้าขายผลไม้ต้องการขนส่งผลไม้อย่างรวดเร็ว จึงสั่งให้คนงานโยนลงผลไม้ลงรถ เพื่อให้เวลาในการขนส่งลดลง ทำให้ผลไม้บางส่วนช้ำจากการขนส่ง ทำให้แม่ค้าสูญเสียผล กำไรในการขายผลไม้ไปอย่างปล่าวประโยชน์ 1. ปัญหาของสถานการณ์นี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. การขนส่งผลไม้ ข. กำไรในการขายผลไม้ ค. คนงานในการทำงาน ง. ระยะเวลาในการขนส่ง 2. สาเหตุของปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ความรีบร้อนของแม่ค้า ข. การปล่อยให้ผลไม้หล่นพื้น ค. การขนส่งที่ผิด ง. กำไรในการผลิต 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. หาอะไรมารองในการส่งผลไม้ ข. ใช้เวลาให้น้อยกว่าเดิมเพื่อคืนกำไร ค. เปลี่ยนคนงาน ง. ไม่ขาย 4. ผลที่เกิดจากปัญหานี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ผลไม้ช้ำ ขาดทุน ข. คนงานเหนื่อย ค. แม่ค้าเหนื่อย ง. เสียเวลา
77 สถานการณ์ที่ 2 (ใช้ตอบคำถามข้อที่ 5-8) ผลผลิตทางการเกษตรในภูมิภาคต่าง ๆ จำเป็นต้องขนส่งมาจำหน่ายยังตลาดหรือ ส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ ในภาคกลาง ซึ่งการขนส่งผลผลิตทางการ เกษตรจากแหล่งผลิตนิยมขนส่งด้วยรถยนต์เป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลาในการขนส่งเป็น เวลานาน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรมักจะช้ำอยู่เป็นประจำอันเนื่องแรงกระแทก ระหว่างการขนส่ง 5. ปัญหาของสถานการณ์นี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ผลผลิตทางการเกษตร ข. การขนส่งผลผลิตทางการเกษตร ค. เวลาในการขนส่ง ง. รถยนต์ที่ใช้ขนส่งคันเล็ก 6. สาเหตุของปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. รถยนต์ที่ใช้ขนส่ง ข. รูบแบบการขนส่ง ค. เวลาในการขนส่ง ง. ผลผลิตทางการเกษตร 7. แนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ออกแบบให้มีที่รองผลผลิตไม่ให้ชนกัน ข. เปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรม ค. เพิ่มเวลาในการขนส่ง ง. เปลี่ยนยานพาหะนะ 8. ผลที่เกิดจากปัญหานี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ข. โรงงานอุตสาหกรรมขาดทุน ค. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ง. ไม่เกิดปัญหาในการขนส่ง
78 สถานการณ์ที่ 3 (ใช้ตอบคำถามข้อที่ 9-12) ในการแสดงแสดงกายกรรมเดินบนเชือก ซึ่งอยู่สูงจากพื้นมาก ผู้แสดงเกิดก้าวเท้า พลาดจึงทำให้พลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ ส่งโรงพยาบาลทันที ทำให้ผู้ชมอกสั่นขวัญผวา เนื่องจากทีมงานขาดการป้องกันเรื่องอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น 9. ปัญหาของสถานการณ์นี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ความสูงของเส้นเชือก ข. ความกว้างของเส้นเชือก ค. ความประมาท ง. ความเร็วในการเดิน 10. สาเหตุของปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ความสูงของเส้นเชือก ข. ความกว้างของเส้นเชือก ค. ความประมาท ง. ความเร็วในการเดิน 11. แนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. การวางเบาะลมหรือตาข่ายไว้ด้านล่างเพื่อลดแรงดล ข. การเพิ่มความสูงเพื่อให้มีเวลาในการตั้งท่า ค. เพิ่มขนาดเส้นเชือก ง. เพิ่มจำนวนผู้ชมเพื่อกำลังใจ 12. ผลที่เกิดจากปัญหานี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ได้รับบาดเจ็บของผู้แสดง ข. ผู้ชมอกสั่นขวัญผวา ค. ขาดทุน ง. ไม่เกิดปัญหาเพราะแก้ไขสถานการณ์ได้
79 สถานการณ์ที่ 4 (ใช้ตอบคำถามข้อที่ 13-16) บริเวณถนนทางโค้งในชุมชน เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ต่อบ้านเรือนแถวนั้น รวมถึงหลักกิโล และกำแพงกันถนน แม้ติดไฟส่งสว่างเพิ่มแล้วยังเกิด อุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ชุมชนได้จัดโครงการปลูกต้นข่อยไว้ริมถนน เพื่อลดความสูญเสียของ ทรัพย์สิน 13. ปัญหาของสถานการณ์นี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ข. ไฟส่องส่าง ค. ผู้นำชุมชน ง. โครงการที่ชุมชนจัด 14. สาเหตุของปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ความเสียหายเกิดจาดการปะทะโดยไม่มีความยืดหยุ่น ข. ความเร็วของรถเร็วเกินไป ค. ความโค้งของถนน ง. ชุมชนตั้งผิดที่ 15. แนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ปลูกต้นข่อยเพื่ออาศัยความยืดหยุ่นจากพุ่มข่อย ข. สร้างกำแพงกันถนนเป็น 2 ชั้น ค. ทำโค้งใหม่เพื่อให้เอียงรับกับแรงหนีศูนย์กลาง ง. สร้างสะพานข้ามชุมชนเพื่อลดอุบัติเหตุ 16. ผลที่เกิดจากปัญหานี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. ความเสียหายของทรัพย์สิน ข. งบประมาณในการสร้าง ค. เสียเวลาในการเฝ้าระวังอุบัติเหตุ ง. ชุมชนเกิดความขัดแย้งภายใน
80 สถานการณ์ที่ 5 (ใช้ตอบคำถามข้อที่ 17-20) จากสถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด - 19 ทำให้ประชาชนทุกคนต้องอยู่ บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ต้องกักตัวอยู่ในบ้านของตนเองเกิดระบบการจัดส่งอาหาร สินค้า ไปยังประชาชนตามบ้านเรือนต่าง ๆ และในระหว่างขนส่งสินค้าเกิดความเสียหาย เนื่องจากกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ 17. ปัญหาของสถานการณ์นี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. สถานการณ์โรคระบาด ข. ประชาชนทุกคนต้องอยู่บ้าน ค. กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ง. ระบบการจัดส่งอาหาร 18. สาเหตุของปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. สถานการณ์โรคระบาด ข. ประชาชนทุกคนต้องอยู่บ้าน ค. กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ง. ระบบการจัดส่งอาหาร 19. แนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร (1 คะแนน) ก. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง ข. อยู่บ้านทำกับข้าวกินเอง ค. ฉีดวัคซีนตามนโยบายรัฐ ง. สวดมนต์ไหว้พระ 20. ผลที่เกิดจากปัญหานี้คืออะไร (1 คะแนน) ก. การขนส่งสินค้าเกิดความเสียหาย ข. ประชาชนแตกตื่น ค. ประชาชนขาดสารอาหาร ง. รัฐบาลควบคุมได้
81 ภาคผนวก ข ผลการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ - ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (ในภาพรวม) เรื่อง โมเมนตัมและการชน
82 ตารางภาคผนวกที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (ในภาพรวม) เรื่อง โมเมนตัมและการชน รายการระเมิน คะแนนผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ย (̅) S.D. ระดับความ เหมาะสม คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1. หน่วยการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ เหมาะสม 2. แผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องสัมพันธ์กับ หน่วยการ เรียนรู้ที่กำหนดไว้ 3. แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ ครบถ้วน 4. การเขียนสาระสำคัญในแผนถูกต้อง 5. จุดประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหา สาระ 6. จุดประสงค์การเรียนรู้พัฒนานักเรียนด้าน ความรู้ทักษะ กระบวนการการแก้ปัญหา 7. กำหนดเนื้อหาสาระเหมาะสมกับคาบเวลา 8. กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และเนื้อหา สาระ 9. กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และระดับชั้น ของนักเรียน 10. กิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลายและ สามารถ ปฏิบัติได้จริง 11. กิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม กระบวนการ คิดของนักเรียน 12. กิจกรรมเน้นให้นักเรียนเรียนรู้จากการ ปฏิบัติจริง 13. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะทาง วิทยาศาสตร์ 14. วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้มีความ หลากหลาย
83 ตารางภาคผนวกที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (ในภาพรวม) เรื่อง โมเมนตัมและการชน รายการระเมิน คะแนนผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ย (̅) S.D. ระดับความ เหมาะสม คน ที่ 1 คน ที่ 2 คน ที่ 3 15.วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้เหมาะสมกับ เนื้อหา สาระ 16. นักเรียนได้ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง 17. นักเรียนทำชิ้นงานที่ได้ใช้ความรู้ ความคิด มากกว่าการ ทำตามที่ครูกำหนดหรือทำ แบบฝึกหัดทั่วไป 18. มีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับ จุดประสงค์การ เรียนรู้ 19. ใช้เครื่องมือวัดได้เหมาะสมและหลากหลาย
84 ตารางภาคผนวกที่ 2 ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (ในภาพรวม) เรื่อง โมเมนตัมและการชน ข้อ ผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ย (x ̅) S.D ระดับความ คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 เหมาะสม 1 * 4 3 3 10 0.58 ระดับดีมาก 2 * 3 4 5 12 1.00 ระดับดีมาก 3 * 5 4 4 13 0.58 ระดับดีมาก 4 * 4 3 4 11 0.58 ระดับดีมาก 5 * 3 4 5 12 1.00 ระดับดีมาก 6 * 5 3 5 13 1.15 ระดับดีมาก 7 * 4 5 5 14 0.58 ระดับดีมาก 8 * 3 5 3 11 1.15 ระดับดีมาก 9 * 4 4 4 12 0.00 ระดับดีมาก 10 * 5 3 4 12 1.00 ระดับดีมาก 11 * 4 4 3 11 0.58 ระดับดีมาก 12 * 3 3 4 10 0.58 ระดับดีมาก 13 * 5 3 3 11 1.15 ระดับดีมาก 14 * 3 4 3 10 0.58 ระดับดีมาก 15 * 4 3 4 11 0.58 ระดับดีมาก 16 * 4 4 5 13 0.58 ระดับดีมาก 17 * 3 3 5 11 1.15 ระดับดีมาก 18 * 3 4 5 12 1.00 ระดับดีมาก 19 * 4 4 5 13 0.58 ระดับดีมาก
85 ภาคผนวก ค ภาพระหว่างการจัดการเรียนการสอนและผลงานนักเรียน
86 ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็ม(STEM) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
87 ประวัติย่อของผู้วิจัย
88 ประวัติย่อของผู้วิจัย ชื่อ นายจิรภัทร แสงเดช วัน เดือน ปีเกิด 1 ธันวาคม พ.ศ.2544 สถานที่เกิด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 18/9 ถนนรามราช ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120 หมายเลขโทรศัพท์ 095-6607084 ปัจจุบัน กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประวัติการศึกษา วุฒิการศึกษา ชื่อสถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล 2556 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 2559 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 2562