บทที่ 1
เดก็ ปฐมวยั วยั ทองของชวี ติ
ภาพท่ี 1 เดก็ ปฐมวยั วยั ทองของชวี ิต
“ ปฐมวัย ” เปน็ ช่วงวยั ทองของชวี ิต เพราะการวางรากฐานทม่ี นั่ คงสง่ ผลใหเ้ ติบโตเป็นผ้ใู หญ่ท่ีดีมี
คณุ ภาพในวันข้างหน้า สิง่ สําคญั อนั ดบั แรกท่ีส่งผลให้มนษุ ย์ดาํ รงชวี ติ และเจรญิ เติบโต ในแต่ละช่วงวัยของชีวิต
มนุษย์ ล้วนแล้วแต่มีความสําคัญไม่ย่ิงหย่อนไปกว่ากัน เพราะแต่ละช่วงวัยต่างก็มีบทบาทต่อการดําเนินชีวิต
ของบุคคล ท่ีก้าวต่อเพ่ืองานไปตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา ซึ่งแต่ละขั้นตอนหรือในแต่ละวัยน้ัน จะมี
ลักษณะเฉพาะของวัย สําหรับในวัยต้น หรือระยะปฐมวัย การจัดการศึกษาปฐมวัยเริ่มมีขึ้นโดยมีบุคคลท่ีมี
ความคิดริเริ่มในประเทศต่างๆ ได้วางรากฐานการจัดการศึกษาระดับนี้โดยเล็งเห็นความสําคัญของการ
เจรญิ เติบโตของเด็ก และปัญหาการอบรมเลยี้ งดู ซ่ึงในการเรยี นร้ขู องเดก็ ได้อาศัยความเข้าใจในธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของเด็กเป็นสําคัญ นักจิตวิทยา และนักการศึกษา ต่างให้ความสนใจที่จะศึกษาหรือหาวิธีการท่ี
จะทําความเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของวัยนี้ ด้วยเหตุท่ีว่าเป็นวัยเร่ิมต้นของชีวิต เป็นวัยที่เริ่มต้นแห่ง
พัฒนาการด้านต่างๆ ขณะเดียวกันได้มีการศึกษาวิจัยที่มีข้อค้นพบว่า ถ้าเด็กวัยนี้ได้รับการเตรียมตัวหรือวาง
พื้นฐานด้านพัฒนาการไว้ดีและเหมาะสม หมายถึงว่าเดก็ ได้รบั การวางรากฐานชวี ติ ทีม่ นั่ คงตอ่ ไป
ความหมายของเดก็ ปฐมวยั
เดก็ ปฐมวยั คือเดก็ อายุ 3-5 ปี พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กําหนด
ไว้ และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเน่ือง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไป
ปรึกษาผู้เช่ียวชาญหรือแพทย์เพ่ือช่วยเหลือ และแก้ไขได้ทันท่วงที เอาว่าผมขอเอาเรื่องพัฒนาการในทุกด้าน
อันประกอบด้วยด้านร่างกาย, ด้านอารมณ์และจิตใจ, ด้านสังคม, และด้านสติปัญญา เป็นอันว่าครบทุกด้าน
เด็กปฐมวัยจัดอยู่ในระยะวัยทองของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ปีแรก เป็นจังหวะทองของการสร้างเสริมพัฒนาการ
เด็ก เป็นการวางรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทุกด้านโดยเฉพาะทางด้านสมอง เพราะสมองเติบโต
และพัฒนาเร็วที่สุด ดังน้ันการอบรมเล้ียงดูในช่วงระยะน้ีมีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิต สํานักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ ไดศ้ ึกษาองคค์ วามรู้จากต่างประเทศเก่ยี วกบั การพัฒนาเด็กปฐมวัย และการ
-2-
พัฒนาสมอง ทีส่ นับสนุนใหเ้ หน็ ความสําคญั ของการพฒั นาเด็กในชว่ งวัยเริม่ แรกของชวี ติ เช่น การพัฒนาสมอง
ซ่ึงพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงวัยน้ีบทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระบวนการเรียนรู้
ของเดก็ ปฐมวยั การพฒั นากระบวนการคดิ แนวคดิ นวตั กรรมในการจดั การศกึ ษาสาํ หรบั เด็กปฐมวัย (แนวการ
เรยี นรู้ภาษาอยา่ งธรรมชาติแบบองคร์ วม แนวคดิ มอนเตสซอรี่ แนวคิดไฮสโคป แนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิ
โอ เอมเิ ลยี ) ตลอดจนมาตรฐานการเลีย้ งดเู ด็กปฐมวัย
หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2546 (กรมวชิ าการ, 2546, หน้า 3) เด็กต้งั แตแ่ รกเกดิ
จนถึงอายุ 6 ปี ซ่งึ ในช่วงอายุดังกล่าวนส้ี ามารถแยกออกได้เป็น 2 กลมุ่ คอื กลุม่ วยั ทารก หมายถงึ เด็ก
อายุ 0 – 3 ปี และวัยเด็กตอนต้น คือกล่มุ เดก็ อายุ 3 – 6 ปี
ส่วนในเอกสารการสอนชุดวิชา การฝึกอบรมครูและผู้เกี่ยวข้องกับการอบรมเล้ียงดูเด็กปฐมวัย
ของมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช (2533, หนา้ 10) ได้ระบุว่า
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ซ่ึงเป็นระยะที่เด็กกําลัง
เจริญเติบโต สามารถพึ่งตนเองได้บ้างแล้ว เด็กในวัยนี้มักจะต้องการเป็นอิสระและต้องการทดลอง
ความสามารถของตนเอง ซงึ่ สว่ นมากจะผ่านข้นั ตอนพฒั นาการมาบ้าง ท้งั ดา้ นร่างกาย อารมณ์ สังคม และ
สติปัญญา เด็กปฐมวัยนี้บางคร้ังอาจเรียกได้ว่าเป็นเด็กที่อยู่ในวัยก่อนเรียน ซึ่งคําท้ัง 2 คํานี้ สามารถใช้
แทนกันได้
เด็กปฐมวัย คือ เด็กท่ีมีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมี
ความสําคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสท้ัง 5
ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและส่ิงแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการท่ีเป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ
อุปนิสัย และการเจริญเติบโตท้ังทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่
ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของ
ผู้ใหญ่) การอบรมปลกู ฝงั สร้างเสรมิ พัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญ เติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุ
น้ี จะเป็นรากฐานท่ีดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองท่ีดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทําเป็น และมีความสุข
เด็กปฐมวัยจะมีชีวิต รอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย
หากผ้ใู หญ่ใหค้ วามรักเอาใจใส่ใกลช้ ิด อบรมเลย้ี งดโู ดยเข้าใจเดก็ พร้อมจะ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่
เปล่ียนไปตามวัยได้อยา่ งเหมาะสมใหส้ มดุลย์กนั ทั้งดา้ นรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ สติปัญญา และสงั คมแล้ว เดก็
จะเติบโตแขง็ แรง แจม่ ใส มีความมั่นคงทางใจ รูภ้ าษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมทจี่ ะพัฒนาตนเองในข้นั ตอ่ ไป ให้
เป็นคนเกง่ และคนดอี ยู่ในสังคมไดอ้ ย่างเป็นสุขและมีประโยชน์
-3-
ภาพที่ 2 เดก็ ปฐมวยั คอื เดก็ ทอ่ี ยใู่ นชว่ งอายุระหวา่ ง 3 – 5 ปี
ดังน้ัน ในความหมายของคําว่า “เด็กปฐมวัย” ในวงการศึกษาปฐมวัยในประเทศ จะหมายถึง
เด็กปฐมวัยในกลุ่มท่ีก้าวไปอยู่ในสภาพการอบรมดูแลเด็ก ซ่ึงมีผู้เก่ียวข้อง เช่น ครู หรือพ่ีเลี้ยงเด็ก เป็นผู้ดู
และและสง่ เสรมิ พัฒนาการเดก็ ใหพ้ ัฒนาไปตามเปา้ หมายของการจัดการศกึ ษาในระดับน้ี
ความสําคัญของเดก็ ปฐมวยั
เน่ืองจากระยะปฐมวัย เป็นวัยพ้ืนฐานของชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีผู้ให้ความสําคัญในการพัฒนาเด็กใน
วยั นี้ ในที่นีจ้ ะแสดงให้เห็นทรรศนะของกลุ่มบคุ คลที่ให้ความสําคัญของเด็กปฐมวัย ซ่ึงจําแนกออกเปน็ 2
กลมุ่ คอื ทรรศนะของนักจิตวทิ ยา และทรรศนะของผ้กู าํ หนดนโยบายการพฒั นาเดก็ ของประเทศ ดังมี
รายละเอียด ดงั น้ี
1. ทรรศนะของนกั จติ วทิ ยา
จากการศึกษาแนวความคิดของนกั จติ วิทยาทมี่ ชี ่ือเสยี ง เชน่ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund
Freud) อรี คิ อรี คิ สัน (Erik Erikson) และฌอง พีอาเจท์ (Jean Piaget) ทไี่ ด้ศึกษาเกยี่ วกบั เด็กในวัยน้ีพอจะ
สรปุ ไดว้ า่ เด็กในวัยน้มี ีความสําคญั มาก กลา่ วคอื
ภาพที่ 3 ซกิ มนั ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
-4-
1.1 ประสบการณ์ในวัยเด็ก นับเป็นสิ่งสําคัญและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของ
บุคคลท่ีจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เมื่อเด็กเร่ิมเข้าสู่ระยะปฐมวัยน้ี เด็กจะเริ่มเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม
ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างย่ิงสภาพแวดล้อมใกล้ตัวเขาท่ีประกอบด้วย พ่อ แม่ แต่ก็อาจมีบุคคลอื่นซ่ึงมีส่วนใน
การอบรมเลี้ยงดูเดก็ เช่น ปู่ ยา่ ตา ยาย ญาตพิ นี่ ้อง ครแู ละพ่ีเลยี้ ง ในวัยน้เี ดก็ เรม่ิ เรยี นรคู้ วามแตกต่าง
ระหว่างเพศ รู้จักเลียนแบบพฤติกรรมท่ีพบเห็น และรู้ว่าตนมีความสามารถท่ีจะทํากิจกรรมบางอย่างได้เอง
ผู้ที่ดูแลเด็กจึงควรใช้เวลาในการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ คือรู้จักวิธีถ่ายทอดลักษณะท่าทาง ลักษณะการ
ประพฤตติ นทเี่ หมาะสมให้กบั เด็ก เพอื่ ให้เดก็ ทราบแนวทางท่ถี กู ต้องและเหมาะสมในการปฏบิ ตั ิตนด้านต่างๆ
1.2 สังคมท่ีแวดล้อมตัวเด็กสามารถกําหนดให้เด็กมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันได้ และการ
กําหนดบุคลิกภาพของเด็กน้ีจะเกิดข้ึนได้ง่ายเมื่อเด็กยังไม่มีประสบการณ์ไม่มากนัก เด็กท่ีอายุประมาณ 3 –
5 ปีนี้ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกด้านสืบต่อมาจากวัยทารกซ่ึงเป็นวัยแรกสุดของชีวิต พฤติกรรมที่เด็กปฐมวัย
จะแสดงออกจึงมีพ้ืนฐานจากพัฒนาการขั้นแรก ถ้าพัฒนาการขั้นแรกของเด็กเป็นไปด้วยดีมีความเหมาะสม
แล้ว พัฒนาการท่ีจะเกดิ ขึ้นในช่วงปฐมวัยก็จะพัฒนาไปในแนวทางท่ดี ีเชน่ กัน ตัวอยา่ งเชน่ เด็กปฐมวยั มกั จะ
อยากรู้จกั สภาพแวดล้อม จึงตอ้ งการจะทาํ อะไรตามใจตนเองโดยถอื ว่าตนเองเปน็ ผู้ใหญ่ ไมฟ่ ังความคดิ เหน็
ของคนอื่น ช่วงนี้เด็กเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดริเร่ิมและมีจินตนาการ ซึ่งถ้าผู้เลี้ยงดูไม่เข้าใจ
สภาพของเด็กปฐมวัย ก็จะทําให้พัฒนาการของเด็กวัยนี้ถูกสกัดก้ันอย่างน่าเสียดาย จึงนับว่าช่วงชีวิตน้ีมี
ความสําคัญสําหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กปฐมวัยเชน่ กัน
1.3 เด็กปฐมวัยจะเริ่มเรียนรู้โลกภายนอกมากข้ึน และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้
อย่างเหมาะสม หากได้รับการเลี้ยงดูท่ีสอดคล้องกับความต้องการตามวัย ในช่วงปฐมวัยน้ีเด็กได้มีโอกาสรู้จัก
สภาพแวดล้อมมากกว่าในวัยทารก รวมท้ังเขายังได้พัฒนาความสามารถมากกว่าในวัยทารก รวมทั้งเขายังได้
พัฒนาความสามารถของตัวเองมาบ้างแล้ว ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กๆ จึง
ชอบทจ่ี ะทดสอบพละกาํ ลังและความสามารถของตนองอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยน้ัน
ยังคงเป็นไปในลักษณะของรูปธรรมมากกว่านามธรรม โดยเด็กจะเข้าใจเฉพาะสิ่งที่เขาได้เห็นหรือได้สัมผัส
เทา่ น้ัน การอธิบายความหมายต่างๆ ที่เป็นลักษณะนามธรรมจะยังใช้ไม่ได้ผลกับเด็กวัยนี้ ดังน้ัน การอบรม
สั่งสอนของครูและผู้เก่ียวข้องกับการอบรมเล้ียงดูจึงต้องต้ังอยู่บนฐานดังกล่าว รวมทั้งต้องคํานึงถึงความ
ตอ้ งการของเด็กด้วย จึงจะทําให้เด็กผ่านชว่ งวัยน้ไี ปได้ด้วยดี และจะเปน็ พื้นฐานทด่ี ตี ่อช่วงวยั ตอ่ ๆ ไปของเด็ก
(มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช, 2533, หน้า 10-11)
-5-
ภาพท่ี 4 ประสบการณใ์ นวยั เดก็ นบั เปน็ สงิ่ สาํ คญั และมอี ทิ ธพิ ลต่อพฒั นาการ
2. ทรรศนะของผกู้ ําหนดนโยบายการพฒั นาเดก็ ของประเทศ
คณะกรรมการพัฒนาการศึกษาอบรมเล้ียงดูเด็ก ซ่ึงได้กําหนดนโยบายพัฒนาเด็ก (2535) ได้
ระบุว่า เด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี เป็นวัยทองของชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยทารก (0-2 ปี) ซ่ึงเป็นช่วงท่ีมี
การพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านความเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เพื่อเป็นพ้ืนฐานรองรับการพัฒนาทาง
สติปัญญา และความม่ันคงทางจิตใจตลอดจนบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยพื้นฐานในเวลาเดียวกัน ความ
เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านร่างกายและจิตใจนี้ จะดําเนินต่อเนื่องกันมาตลอดจนถึงวัยก่อนเข้าเรียน
คือวัย 3 – 5 ปี และเมื่อเด็กเร่ิมเข้าสู่วันเรียน คือย่างเข้าปีที่ 6 จนถึงอายุ 12 ปี การพัฒนาทางด้าน
ร่างกายยังคงดําเนินต่อไป แต่ในอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัยทารกและวัยก่อนเข้าเรียน ขณะเดียวกันก็
จะเจริญเติบโตเพิ่มข้ึนอีกมากทางด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์ บุคลิกภาพ และจริยธรรม กล่าวได้ว่า
ในช่วงอายุ 0 – 12 ปีของชีวิต เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมปกติจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างมากทั้งทางด้าน
ร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ บุคลิกภาพ และจริยธรรม โดยผ่านกระบวนการอบรมเลี้ยงดูจาก
ครอบครัว และได้รบั การเรียนรจู้ ากกระบวนการขัดเกลาทางสงั คมในโรงเรยี น รวมทั้งองคก์ รอ่นื ๆ อกี มาก
อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาพแวดล้อมปกติดังกล่าว เด็กจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการ
พื้นฐานอย่างเพียงพอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพ่ือจะเติบโตต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เติบโต
อย่างมพี ื้นฐานแขง็ แรงที่จะรองรบั สง่ิ ตา่ งๆ ทเี่ ขาจะต้องเผชิญไดเ้ ป็นอย่างดีในอนาคต
-6-
ภาพท่ี 5 เดก็ ได้รบั การตอบสนองความตอ้ งการพืน้ ฐานอยา่ งเพยี งพอ
ความสําคัญของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่ทั่วโลกได้ตระหนักถึง โดยประเทศต่างๆ ได้มีการร่วมกัน
ประชุมและร่างเอกสารเกยี่ วกบั การพฒั นาเด็กข้นึ ใชร้ ว่ มกัน ซง่ึ เอกสารสําคญั เก่ยี วกบั สิทธิเดก็ มดี งั นี้
ปฏิญญาเจนวี า ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 246) จดั โดยสหภาพกองทุนชว่ ยเหลือเด็กระหวา่ งประเทศ
กฎบตั รสหประชาชาติ ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)
ปฏิญญาวา่ ดว้ ยสทิ ธมิ นษุ ยชน ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ของสหประชาชาติ
ปฏิญญาสากลวา่ ด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) ของสหประชาชาติ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ของสหประชาชาติ ซ่ึงอนุสัญญาฉบับน้ี
เป็นกฎหมายท่ีมีผลบังคับใช้มากกว่าปฏิญญาฉบับก่อนๆ เพราะอนุสัญญามีการกําหนดให้แต่ละประเทศ
สมาชิกลงนาม และให้สัตยาบันในทางปฏิบัติ เช่น ส่งรายงานต่อสหประชาชาติเปิดเผยข้อมูล ยินยอมให้
ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เป็นต้น ถ้าประเทศใดละเมิดข้อตกลงจะ
ถกู ประณามหรือถูกบงั คบั ให้เปลย่ี นการปฏิบัติ ซึง่ ประเทศไทยเป็นประเทศภาคี
สมาชิกของสหประชาชาติได้เป็นประเทศหนึ่งที่ได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงได้มีการ
กาํ หนดปฏญิ ญาเพ่ือเดก็ ไทย พ.ศ. 2533 เพอ่ื เป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กไทย
โดยกําหนดสภาวะความต้องการพื้นฐานและบริการสําหรับเด็กข้ึน โดยรัฐบาล
ไทยได้ประกาศปฏิญญาเพ่ือเด็กอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2534
โดยกําหนดให้หน่วยงานที่ดําเนินงานเก่ียวกับเด็กท้ังภาครัฐและเอกชนถือเป็น
แนวนโยบายในการดําเนินงานพัฒนาเด็ก โดยใช้สภาวะความต้องการพ้ืนฐานและบริการสําหรับเด็ก (สพด.)
(Basic Minimum Needs) เปน็ แนวทาง ทั้งนไี้ ด้อธิบายว่า การพัฒนาเด็กจะต้องอาศัยสภาวะความต้องการ
พ้ืนฐานของเด็กเปน็ ตัวกาํ หนดทิศทาง เด็กทุกคนควรได้รับการสนองตอบข้นั พนื้ ฐาน เพ่ือให้การ
-7-
พฒั นาบรรลถุ งึ ศกั ยภาพของการเปน็ มนุษย์โดยสมบรู ณ์ เพือ่ ใหเ้ ดก็ สามารถใช้ชวี ติ อยา่ งมปี ระโยชนต์ ่อตนเอง
และตอ่ สงั คม ทศิ ทางในการพัฒนาเด็กตามความต้องการพ้นื ฐานของเด็ก โดยกาํ หนดไว้ดังน้ี
1. เด็กต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดจู ากบิดามารดา บคุ คล หรอื ครอบครัวทใี่ หค้ วามรกั และ
ความเข้าใจ เพอื่ เป็นฐานในการสรา้ งเสริมพัฒนาการทุกดา้ น อันไดแ้ ก่ การพัฒนาทางกาย จติ ใจ
สติปัญญา สังคม อารมณ์ ค่านิยม และเจตคติ โดยเฉพาะในระยะต้ังแตอ่ ย่ใู นครรภ์ถึงอายุ 6 ปแี รกของ
ชวี ิต ซึง่ เป็นระยะทสี่ าํ คญั ทสี่ ดุ ในการวางรากฐานและสรา้ งเสรมิ คุณภาพคน
2. เด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างนอ้ ยทส่ี ุด ตามความตอ้ งการของร่างกายที่ได้กาํ หนดไว้ตามวยั
เริ่มตง้ั แตป่ ฏิสนธิจนถึงชว่ งอายตุ า่ งๆ เพ่อื ใหร้ ่างกายเจรญิ เตบิ โตเตม็ ทแ่ี ละแข็งแรงสมบรู ณ์ตามปกติในวัยของ
ตน
ภาพที่ 6 เดก็ ได้รบั การสง่ เสรมิ สขุ ภาพ และพัฒนาการ
3. เด็กตอ้ งไดร้ ับการสง่ เสริมสขุ ภาพและพัฒนาการ และได้รบั การป้องกันจากโรคและภัยที่
สามารถหลกี เล่ยี งได้ เดก็ จะตอ้ งได้รับการสร้างเสรมิ ภมู ิคมุ้ กันโรคด้วยวคั ซีนตามทีก่ ําหนดไว้ ตลอดจนได้รับ
การป้องกันโรคติดต่อ รวมทั้งต้องได้รับการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีที่เจ็บป่วยและได้รับการฟ้ืนฟู
สขุ ภาพ
4. เด็กต้องมีที่อยู่อาศัยท่ีถูกสุขลักษณะ ไม่คับแคบจนเกินไป และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นพิษ
เป็นภัยต่อสุขภาพท้ังทางกายและทางจิต เด็กต้องมีโอกาสและสถานที่ว่ิงเล่นออกกําลังกายและเล่นกีฬา
รวมทัง้ มีสว่ นร่วมในกจิ กรรมนนั ทนาการตามวัย
5. เด็กต้องได้รับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเป็นอย่างน้อย เพื่อพัฒนาให้มีปัญญา มีคุณธรรมตามหลัก
ศาสนาของตน และมีจริยธรรมข้ันพ้ืนฐาน เด็กต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะในการดํารงชีวิต
มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ มีเจตคติท่ีจะใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต มีเจตคติท่ีดีต่อครอบครัว
สังคม และการดําเนินชีวิต มีความเข้าใจเก่ียวกับตนเองอย่างถูกต้อง เป็นจริง เข้าใจและยอมรับความ
ต้องการสิทธิและบทบาทของตนเองและผู้อ่ืน เพื่อให้เป็นพลเมืองไทยท่ีรับผิดชอบ มีคุณภาพ และรู้จักอยู่
รว่ มกนั โดยสันติ
-8-
6. เดก็ ต้องได้รับการพฒั นาใหม้ สี นุ ทรยี ภาพ ซาบซ้ึงในความงาม รจู้ ักรกั เข้าใจและอนุรักษ์
มรดกและเอกลักษณ์ของชาติ ด้วยการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ และพัฒนาในกิจกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรม
ขนบธรรมเนยี มประเพณี ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม
7. เด็กต้องได้รับการฝึกอบรม พัฒนาความรู้และทักษะสําหรับการเตรียมการประกอบอาชีพ
ตามความถนัด ความสามารถและความสนใจของตน เพ่ือให้พ่ึงตนเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ รวมท้ังมีค่านิยมที่
พึงประสงค์ในการทาํ งานทีส่ ุจริตและเหมาะสมกบั วยั
8. เดก็ ตอ้ งมีโอกาสและสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ด้วยจิตสํานึกต่อสังคมส่วนรวม
และสาธารณะสมบัติ มีส่วนร่วมในกิจกรรมท่ีเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมท้ังการยึดถือเร่ืองความมีวินัยใน
ตนเองและความยุติธรรมในสังคม เพ่ือเป็นพ้ืนฐานของวิถีทางในการดําเนินชีวิตตามครรลองในระบอบ
ประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตรยิ เ์ ปน็ ประมขุ
ภาพที่ 7 เด็กต้องมโี อกาสเขา้ ถงึ บรกิ ารขนั้ พนื้ ฐานดา้ นตา่ งๆ ในสงั คม
9. เด็กต้องมีโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพ้ืนฐานด้านต่างๆ ในสังคมท้ังภาครัฐ และภาคเอกชนอัน
หมายรวมถงึ สิทธิในการใชบ้ รกิ ารดา้ นการปอ้ งกนั การคมุ้ ครองและการแกไ้ ข การฟืน้ ฟแู ละการพัฒนา
10. เด็กต้องได้รับโอกาสในการรับรู้ และการพิทักษ์สิทธิ และผลประโยชน์พ้ืนฐานจากรัฐ
สถาบันสังคม และองค์กรธุรกิจ พร้อมท้ังการมีตัวแทนในการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ดังกล่าวตามความ
เหมาะสม เดก็ ตอ้ งได้รับการพทิ กั ษแ์ ละคุ้มครองตอ่ การถูกกลา่ วหาวา่ กระทําผดิ โดยไม่นาํ มาเปดิ เผยต่อ
สาธารณะชนหรือประชาชน และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ (คณะกรรมการส่งเสริมและ
ประสานงานเยาวชนแหง่ ชาต,ิ 2533, หนา้ 1-2)
-9-
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
เนื่องจากบุคคลในแต่ละวัยจะมีธรรมชาติเฉพาะในวัยนั้นๆ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของ
ชีวิต ครูและผู้ให้การดูแลเด็กจําเป็นต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของเด็ก เพราะการท่ีเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะทํา
ให้รู้จักถึงสาเหตุของธรรมชาติเหล่านั้น อันจะนําไปสู่การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กับธรรมชาติและความตอ้ งการของเดก็ ได้
วราภรณ์ รักวจิ ัย (2527, หน้า 4-5) ได้ระบถุ ึงธรรมชาติของเด็กปฐมวัยไวด้ ังน้ี
1. เด็กทุกคนมคี วามสามารถภายในขอบเขตจาํ กัดและตา่ งกัน การทีพ่ อ่ แมห่ รอื ผใู้ หญใ่ กลช้ ดิ จะกะ
เกณฑ์ให้เด็กทาํ งานเกินความสามารถโดยเอาเดก็ คนอน่ื มาเปรียบเทยี บ จงึ เปน็ การฝนื ธรรมชาตขิ องเดก็ ทาํ
ใหเ้ ดก็ เกิดความเบือ่ หน่ายและไม่ประสบความสาํ เรจ็ ในการทาํ งานของเด็ก เปน็ การสรา้ งปมด้อยในใจให้แกเ่ ดก็
2. เด็กทุกคนไม่ชอบอยู่นิ่ง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบจับต้อง พูดคุย ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ค่อยชอบ
จะคอยดุวา่ บังคับให้เด็กอยูน่ ่ิงๆ ไมใ่ หพ้ ดู วธิ ีนจ้ี ะเป็นการขัดขวางความเจริญเติบโตของ เดก็ ซึ่งเป็นการฝืน
ธรรมชาติของเด็ก เพราะเด็กทุกคนต้องการเคล่ือนไหวออกกําลังกายจะทําให้ร่างกายเจริญเติบโต กล้ามเนื้อ
ทุกส่วนมีการพัฒนา มีการประสานกับกับประสาทส่วนต่างๆ การเล่นคือการเรียนรู้ ซ่ึงเปรียบได้กับการ
ทาํ งานของผ้ใู หญ่ การทํางานเป็นสิ่งจาํ เปน็ แกผ่ ใู้ หญฉ่ นั ใด การเลน่ กเ็ ป็นส่งิ จาํ เป็นแก่เด็กฉันน้ัน ฉะน้ันผู้ใหญ่
จงึ ไม่ควรท่ีจะขัดขวางการเลน่ หรือการไม่อยู่นง่ิ ของเดก็
ภาพท่ี 8 เดก็ ทกุ คนไมช่ อบอยนู่ ง่ิ มคี วามอยากรู้อยากเหน็
3. เด็กเล็กเป็นคนที่มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนผู้ใหญ่ และมีความต้องการที่จะแสดงให้ผู้อ่ืนเห็นถึง
ความรูส้ กึ นึกคดิ ของเขา
4. เด็กเล็กทุกคนเป็นคนท่ีต้องการที่จะรู้และต้องการท่ีจะเรียน เพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ในโลก
ท่ีแท้จรงิ ได้
5. เดก็ ทกุ คนตอ้ งการทจ่ี ะได้แสดงถึงความสามารถของตน และความต้องการเป็นอิสระ
6. ความสนใจของเด็กเล็ก มีระยะเวลาเพียงสั้นๆ การให้เด็กทํางานต้องดูระยะเวลาช่วงท่ีเด็ก
สนใจที่จะทําและไม่นานเกินไป
-10-
7. เดก็ เล็กมคี วามแตกตา่ งระหว่างบุคคล มีลักษณะเป็นของตนเองซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจาก
กรรมพันธุ์และการอบรมเลีย้ งดู ทาํ ให้เดก็ มีวุฒิภาวะ (Maturation) ในการพัฒนาข้ึนตามลําดับของอายุและ
ประสบการณ์ที่ไดร้ บั
8. เด็กเล็กมีความต้องการท้ังทางด้านร่างกาย (Biological Needs) และด้านจิตใจ
(Psychological Needs)
ลกั ษณะของเด็กปฐมวยั
เด็กปฐมวัยจะมีลักษณะเฉพาะอีกประการหน่ึงที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกลักษณะ
เช่นนี้ว่า การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) ซึ่งการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอาจจะเป็นธรรมชาติ
ของเด็กเอง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเด็กยังไม่ได้เรียนรู้ในเรื่องการเข้าสังคมก็ได้ ลักษณะการแสดงออกท่ี
หมายถึงการยดึ ตนเองเปน็ ศูนย์กลางของเดก็ ปฐมวยั น้นั มดี งั ตอ่ ไปน้ี
1. ดา้ นความคดิ
เดก็ ปฐมวัยเปน็ วยั ทรี่ ับรู้ เรยี นรู้ และกระทาํ กับสง่ิ ทกุ อย่างทอี่ ย่รู อบตวั เด็ก อกี ทัง้ จะทาํ ทกุ อย่าง
ตามความต้องการของตนเอง เด็กยงั ไมส่ ามารถเรยี นรเู้ กีย่ วกบั โลกท่แี ยกไปจากตวั ของเด็ก ซ่งึ ในชว่ งอายุ
ภาพท่ี 9 พอี าเจท์ (Piaget)
ตอนตน้ ของเด็กปฐมวยั น้ี เดก็ จะต้องพฒั นามโนภาพที่วา่ วตั ถุต่างๆ ทม่ี อี ยู่นน้ั มใิ ช่ของเขาคนเดียว นั่นก็
หมายความว่า เดก็ จะตอ้ งเรียนร้วู า่ วัตถุตา่ งๆ เช่น เส้อื ผ้า ของเลน่ หรือสงิ่ ของตา่ งๆ กต็ ามย่อมเป็นของคน
อ่ืนได้ อีกทง้ั เปน็ ของท่แี ยกไปจากตัวของเดก็ ไดด้ ว้ ย พอี าเจท์ มคี วาม เชื่อว่า เดก็ ทยี่ ดึ ตนเองเป็นศนู ย์กลาง
นั้น จะมองโลกในลักษณะที่เป็นภาพทีไ่ มต่ ่อเน่อื งกัน หรือลักษณะของภาพเดียวท่มี ีอยูแ่ ละประเดยี๋ วก็หายไป
-11-
ดังน้ัน ถ้าเด็กไม่ไดพ้ บวัตถเุ ชน่ นั้นอีก เด็กก็จะถือว่าวตั ถุนั้นๆ ไมม่ ีอย่ตู อ่ ไป เพือ่ พิสูจน์ความคิดน้ี
เขาจึงได้ทาํ การทดลองและสงั เกตลูกสาวโดยเอาตกุ๊ ตาท่เี ป็นรูปเป็ดมาแขวนไว้ทห่ี อ้ งนอนลกู สาว ปรากฏวา่
ลูกสาวของเขาพยายามเอ้อื มมือจบั ตุ๊กตาเป็ดนน้ั ใหไ้ ด้ ตอ่ จากนั้นพีอาเจทก์ เ็ ลอ่ื นตกุ๊ ตาเปด็ นน้ั ลงมาให้ใกล้มอื
ของลกู สาวมากยิง่ ขึน้ เด็กกพ็ ยายามจับให้ได้ เมอื่ เขาเลื่อนตกุ๊ ตาไปท่ใี ดกต็ าม ลูกสาวของเขาก็พยายามจะ
ตามไปจับใหไ้ ด้ เม่อื สามารถมองเห็นต๊กุ ตาเปด็ ตัวนั้นได้อีก เดก็ กจ็ ะน่ิงเฉยโดยไมไ่ ดท้ ําทา่ ว่าจะไปจับตุ๊กตา
เปด็ ตัวนนั้ อีก คอื ทาํ เหมอื นกบั ว่าไมม่ อี ะไรเกิดขึ้น ท้งั ๆ ทถ่ี า้ จบั กส็ ามารถทาํ ได้งา่ ยมาก พอี าเจท์ได้เอา
ตุ๊กตาเป็ดตัวน้ันออกมาจากท่ซี ่อนไว้หลงั ผา้ ปทู ี่นอนถงึ 3 ครง้ั และวางใกล้ๆ มอื ของลกู สาว ซ่ึงลกู สาวของ
เขาก็เอื้อมมอื มาหยบิ ทุกคร้ัง และทุกครง้ั ท่ลี ูกสาวของเขาเอ้อื มมือมาจบั เขากจ็ ะเอาตุ๊กตาไปซอ่ นเสยี คร้ัน
เมอ่ื เขาทาํ เชน่ น้ตี ่อไปอกี ผลทต่ี ามมากค็ ือ ลกู สาวของเขาจะไม่เออื้ มมือไปจับอีก
จากผลการทดลองของพีอาเจท์ จะเห็นได้ว่าวัตถุนั้นไม่ได้อยู่ในความคิดของเด็กอีกเลย หมายความ
วา่ เดก็ จะคิดวา่ วัตถุมีอยู่จริงก็ต่อเมื่อสามารถมองเห็นได้เท่าน้ัน แสดงให้เห็นว่าความคิดของเด็กในช่วงน้ียังมี
การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่ เมื่อเด็กพัฒนาขึ้นจะเริ่มเรียนรู้ว่าวัตถุน้ันมีอยู่ซ่ึงแยกไปจากตัวเขาและการ
กระทาํ ของเดก็ เอง
2. การสอ่ื สาร
ในระยะแรกที่เด็กปฐมวัยเริ่มส่ือสารได้นั้น เด็กอาจจะเลิกยึดตนเองเป็นศูนย์กลางได้ในบางเร่ือง
โดยเฉพาะในเรื่องของความคิดท่ีเกี่ยวกับวัตถุที่มีจริงในโลก และท่ีแยกออกไปจากโลกของตัวเด็ก เด็กก็จะมี
แนวโน้มที่จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในด้านอื่นๆ อีก และท่ีเห็นได้ชัดคือ ในด้านการสื่อสารของเด็ก ซ่ึงพีอา
เจท์พบว่า ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของประโยคท่ีเด็กพูดนั้น มักจะเป็นการพูดที่แสดงถึงการยึดตนเองเป็น
ศูนยก์ ลาง ซึ่งการพดู เลน่ นี้อาจแบง่ ออกไดเ้ ป็น 3 ลกั ษณะ คอื
ภาพท่ี 10 การพูดซาํ้ เปน็ ตวั อยา่ งทเ่ี หน็ ได้ชดั เจนของการยดึ ตนเองเปน็ ศนู ยก์ ลาง
-12-
2.1 การพูดซ้ํา การพูดซ้ําเป็นตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดเจนของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือ เด็ก
จะพูดซํ้าในสิ่งตัวเองได้ยินหรือในส่ิงที่ตนเองพูด การที่เด็กทําเช่นน้ีเพราะเด็กมีความสนุกสนานในการทํา
ซาํ้ ซาก มีความพอใจในการใช้คาํ และต้องการทจ่ี ะเลน่ กบั คาํ ที่ตนเองพูด อยา่ งไรก็ตามการพูดซ้ําซากอาจจะ
เป็นลักษณะการฝึกการพูดของเด็กก็ได้ อย่างเช่น การท่ีเด็กสนใจรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง เด็กอาจจะ
พูดว่า “โดเรมอนมาเมื่อไหร่บอกด้วยนะ” ต่อมาอีก 10 นาที เด็กก็จะพูดประโยคเช่นนี้ซ้ําอีก และจะฟัง
ไว้จนกว่ารายการของโดเรมอนเริ่มฉาย และพอวันรุ่งขึ้น พอโปรแกรมโดเรมอนจะฉายอีก เด็กก็จะใช้คําพูด
ซ้าํ เช่นนอ้ี ีก เปน็ ต้น
2.2 การพูดกับตนเอง เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดข้ึนเม่ือเด็กอยู่คนเดียว เด็กจะพยายามแสดง
เหมือนกบั วา่ เขาไดส้ นทนากบั ตัวเอง อย่างเช่นการพูดว่า
“แดงจะนง่ั อย่ทู โ่ี ตะ๊ เพยี งคนเดยี ว”
“ตอ๋ ยต้องการวาดภาพตรงน้ัน”
“ตุ๊กตาของเรา”
ลกั ษณะทีเ่ ดก็ พดู เชน่ นี้ เปน็ ประโยคท่ีแสดงถงึ การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2.3 การพูดกับตัวเองเม่ืออยู่ร่วมกับเด็กคนอื่น จะมีลักษณะคล้ายๆ กับการพูดกับตนเองเม่ือ
อยู่คนเดียว อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อแตกต่างกันตรงที่ว่าในกรณีนี้เด็กได้อยู่ร่วมกันต้ังแต่ 2 คนขึ้นไป แต่
ถึงแม้ว่าเด็กจะอยู่ร่วมกันก็ตาม เด็กก็จะไม่สนใจผู้อื่นและยังคงพูดกับตนเอง ประโยคคําพูดที่ใช้นั้นยังเป็น
ประโยคที่แสดงถงึ การยึดตัวเองเป็นศนู ย์กลาง และจะยังไม่มีประโยคใดทีแ่ สดงถึงการส่อื สารทส่ี มบูรณ์
นอกจากนี้ เด็กปฐมวัยยังไม่รู้จักท่ีจะพิจารณาถึงความนึกคิดของผู้ฟังได้ อีกท้ังเด็กจะยังไม่สนใจ
ว่าผู้อื่นกําลังฟังเขาอยู่ สําหรับประโยคที่เด็กพูดอีกประมาณ 70% ของประโยคท่ีเขาพูดทั้งหมดน้ันนับว่า
เปน็ การพดู เพือ่ สื่อสารได้ แต่อย่างไรก็ตามคําพูดที่เด็กกล่าวมาน้ัน ถึงแม่ว่าจะยังไม่สมบูรณ์ตามความคิดของ
ผู้ใหญ่นัก แต่สําหรับตัวของเด็กน้ันมีความหมายครอบคลุมไปได้กว้าง เช่นเขาพูดว่า “ไปเท่ียว” เขาจะ
หมายถงึ การไปทกุ หนทกุ แห่ง หรอื คือการเดนิ ออกไปทร่ี ว้ั บ้านเทา่ นั้น เปน็ ตน้
ภาพท่ี 11 เดก็ ในวยั นย้ี ังชอบใชค้ ําสรรพนาม เชน่ เขา มนั
-13-
นอกจากนี้ อาจจะสังเกตเห็นได้ว่าเด็กในวัยน้ียังชอบใช้คําสรรพนาม เช่น เขา มัน ของเขา
โดยทผ่ี ฟู้ ังจะไมร่ ูเ้ ลยว่าคําสรรพนามนนั้ อ้างถงึ สงิ่ ใด ทง้ั น้ี อาจเป็นเพราะวา่ เด็กละเลยหรือพูดข้ามลักษณะที่
สําคัญของเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ หรืออาจเป็นผลจากการที่เด็กลําดับข้ันตอนของเรื่องราวต่างๆ สับสนก็ได้
อย่างไรก็ตาม ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นผลเน่ืองมาจากความจําของเด็ก แทนท่ีจะเป็นผลเนื่องมาจากการที่เด็ก
ยึดตนเองในแง่ของการฟงั
พีอาเจท์ยังได้ศึกษาถึงการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางในแง่ของการฟังของเด็กอีกด้วย ซ่ึงเขาพบว่า
ลักษณะการฟังของเด็กเป็นการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางเหมือนลักษณะของการพูดของเด็กเช่นกัน ดังที่เขาได้
พบวา่ เดก็ ในวยั นจี้ ะแสดงความไม่แน่ใจวา่ เขาเขา้ ใจในสงิ่ ทเ่ี ด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งไม่ว่าผู้พูดนั้นจะพูดได้ชัดเจน
หรือไม่ก็ตาม เด็กจะรับรู้ได้เหมือนกัน ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า การฟังของเด็กน้ันขึ้นอยู่กับว่าเด็กนึกว่าผู้พูด
กาํ ลงั พดู อะไรอยูก่ ับเขา เทา่ กับแสดงใหเ้ หน็ ว่า การฟังของเดก็ เปน็ การยดึ ตนเองเปน็ ศูนย์กลางเช่นกนั
3. การแบง่ ปนั
เม่ือเด็กเร่ิมเข้ากับสังคมโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเดียวกันหรือกับผู้ใหญ่ก็
ตาม เด็กจะต้องเร่ิมพัฒนาพฤติกรรมการแบ่งปันของให้กับผู้อ่ืน แต่เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยึดตนเองเป็น
ศูนยก์ ลาง โดยเดก็ จะมงุ่ ทต่ี นเองไม่ว่าจะเปน็ ความสนใจ หรอื ความตอ้ งการของเด็กอ่ืนได้ด้วย เหตุนจ้ี งึ ทาํ ให้
เด็กปฐมวัยไม่ยอมแบ่งปันส่ิงของต่างๆ ให้ผู้อื่น และยังไม่สามารถท่ีจะรับรู้ถึงความต้องการของเด็กคนอ่ืนๆ
อีกด้วย (มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช, 2526, หนา้ 11-14)
ลักษณะทีแ่ สดงถึงพฤติกรรมและความสามารถของเด็กปฐมวัย
นอกจากลักษณะของการยดึ ตนเองเปน็ ศูนย์กลางแล้ว เด็กปฐมวัยยังมีลักษณะเฉพาะอันแสดงถึง
ความสามารถในแต่ละด้านตามวัย ซึ่งในท่ีนี้จะกล่าวถึงลักษณะความสามารถด้านต่างๆ ของเด็กวัย3 – 5 ปี
อันเป็นวัยเด็กตอนต้น ซ่ึงส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าเรียนในสถานศึกษาระดับอนุบาล ลักษณะดังกล่าวจะทําให้ครู
หรือผู้เล้ียงดูเด็กได้เข้าใจถึงความสามารถของเด็ก และจะได้หาวิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนา
ความสามารถท่เี หมาะสมตอ่ ไป ลักษณะพฤติกรรมและความสามารถทางด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยอายุ3-5 ปี
มดี งั น้ี
1. ลกั ษณะทางกาย
1.1 เด็กในวยั น้ชี อบเคลอื่ นไหว มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ว่องไว ไมช่ อบอยนู่ งิ่ เฉย
-14-
ภาพที่ 12 เดก็ วยั นจี้ ะแสดงอารมณอ์ อกมาอย่างเปิดเผย
1.2 กล้ามเนือ้ ของเดก็ ในวยั น้เี จริญอย่างรวดเร็ว แต่กล้ามเนื้อใหญ่จะเจริญมากกวา่ กล้ามเน้ือย่อย
การประสานงานระหว่างกล้ามเน้ือมือและตายังไม่ดีนัก เด็กยังไม่สามารถควบคุมมือและน้ิวให้เขียนหนังสือได้
และตายังเพ่งมองวัตถุเล็กๆ ไม่ได้ อีกทั้งเด็กในวัยน้ีกระดูกยังไม่แข็งแรงพอ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ
เป็นต้น
1.3 อัตราพัฒนาการระหว่างเด็กหญิงกับเด็กชายจะไม่เท่ากัน ในระยะน้ีเด็กหญิงจะพัฒนาเร็ว
กว่าเด็กชายในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะพัฒนากล้ามเนื้อย่อย เด็กชายจะงุ่มง่ามกว่าเด็กหญิงในการทํากิจกรรม
และอปุ กรณ์ต่างๆ
1.4 ความถนัดการใช้มือของเด็กพอจะสังเกตได้ โดยส่วนใหญ่เด็กจะถนัดมือขวา แต่ก็มีบางคน
อาจถนดั มอื ซ้าย
2. ลกั ษณะทางอารมณ์
เด็กวัยน้ีจะแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผย และมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ แล้วแต่สถานการณ์ที่มา
กระทบ อารมณท์ ่ีเดก็ ปฐมวัยแสดงออกมา ได้แก่
2.1 อารมณ์โกรธ พฤติกรรมที่แสดงออกทางอารมณ์ของเด็กอาจแสดงออกในการร้องกรี๊ด เตะ
ถบี ทบุ ตี ต่อสู้ อายสุ งู ขึน้ จะแสดงออกดว้ ยคาํ พดู เริ่มพดู แสดงออกซ่ึงอารมณ์โกรธ แทนการแสดงออกด้วย
กาํ ลงั กาย และลักษณะทแี่ สดงให้เห็นอีกอยา่ งหน่งึ ของเด็กวัยนี้ ถ้าโกรธหรือไม่พอใจจะแยกตัวออกจากเพื่อน
อาการแสดงออกทางอารมณ์โกรธของเดก็ อาจสรปุ ได้ 3 ลักษณะ คือ
2.1.1 แสดงอารมณโ์ กรธออกมาอย่างไม่มีจดุ มุ่งหมาย เช่น การร้องกร๊ีด ดิ้นไปด้ินมา กล้ัน
ลมหายใจ
2.1.2 แสดงอาการต่อต้านด้วยคําพดู และทําทา่ ทาง
2.1.3 แสดงอารมณ์โกรธแกแ้ ค้น เชน่ กัด ขว่ น หยกิ เปน็ ต้น
-15-
2.2 อารมณ์อจิ ฉาริษยา เดก็ ในวยั นีม้ กั มีอารมณอ์ จิ ฉารษิ ยาและมักจะเร่ิมจากพ่อแม่ สาเหตุอาจ
เนื่องมาจากพ่อแม่ให้ความสนใจบุคคลอ่ืนมากกว่าตน โดยเฉพาะเม่ือพ่อแม่ให้ความสนใจกับน้องคนใหม่หรือ
คนข้างเคียง การแสดงตอบสนองต่ออารมณ์อิจฉาริษยาน้ีจะเห็นได้จากการท่ีเด็กตีน้อง รังแกน้อง แย่งของ
เล่นจากน้อง เป็นต้น สําหรับครูเมื่อเด็กไปโรงเรียนใหม่ๆ จะรักครูประจําชั้น และติดครูประจําช้ันมากกว่า
ครอู ื่นๆ เดก็ จะมีอารมณ์อิจฉารษิ ยาถ้าครทู ี่ตนให้ความใกลช้ ิดใหค้ วามสนใจเด็กคนอนื่ มากกว่า
ภาพท่ี 13 อารมณอ์ วดดี เปน็ อารมณท์ เี่ กดิ ขน้ึ มากพอกบั ความโกรธ
2.3 อารมณ์รัก เด็กในวัยน้ีจะรักหรือชอบคนท่ีตามใจทําในส่ิงท่ีตนต้องการ ชอบคนท่ีให้ความ
สนุกสนาน เป็นเพ่ือนเล่นด้วย และโดยเฉพาะคนที่ให้ของขวัญหรือของเล่นแก่ตน เด็กแสงอารมณ์รักด้วย
การกอดและจูบ เดก็ จะรักและภูมิใจพอ่ แมข่ องตน
2.4 อารมณ์กลัว เด็กแสดงอารมณ์กลัวด้วยการร้องให้ หนีห่างหรือตัวสั่น ซึ่งสาเหตุท่ีเด็กกลัว
อาจเน่ืองมาจากการท่ีเคยได้รับความเจ็บปวดเม่ือยังเล็ก เช่น เด็กเคยถูกไฟลวก เคยถูกทําโทษ หรือได้รับ
ความตกใจสดุ ขีด ความกลวั ของเดก็ อาจสรุปไดด้ งั น้ี
2.4.1 กลวั สตั ว์ เช่น เด็กอาจกลวั ทั้งสตั ว์ใหญแ่ ละสตั วเ์ ลก็
2.4.2 กลัวสถานการณท์ น่ี ่ากลัว เช่น กลวั แมจ่ ากไป
2.4.3 กลวั ธรรมชาติบางอยา่ ง เช่น ความหนาว ความรอ้ น ฟ้าแลบ ฟา้ ผา่
2.4.4 กลวั ส่งิ ทนี่ อกเหนือธรรมชาติ เช่น กลวั ผี ยักษ์ ฯลฯ
2.5 อารมณ์อวดดี เป็นอารมณ์ท่ีเกดิ ข้ึนมากพอกบั ความโกรธ เด็กจะแสดงอารมณ์ด้วยความด้ือ
ร้ัน อยากอาบนํ้าเอง รับประทานอาหารเอง ใส่รองเท้าเอง ถ้าถูกบังคับเด็กจะแสดงพฤติกรรมนิ่งเฉย ไม่
โตต้ อบ ทําเปน็ ไม่ได้ยินคาํ ขอรอ้ งของพอ่ แมห่ รอื ครู จะไมเ่ อาใจใส่ แสร้งทําใหช้ า้ เปน็ ต้น
2.6 อารมณ์ท่ีเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น เด็กวัยนี้ช่างซักถาม เพราะเร่ิมรู้จักใช้เหตุผล จึง
อยากรู้อยากเหน็ ถา้ พ่อแม่หรอื ครูไมส่ นใจ เด็กจะรสู้ กึ วา่ ผูใ้ หญไ่ ม่พอใจ จะค่อยๆ หยุดนิสัยอยากรู้อยากเห็น
น้ัน จะกลายเป็นเด็กที่มีพฤตกิ รรมนง่ิ เฉยในที่สุด
-16-
3. ลักษณะทางสังคม
ในระยะของวัยเด็กตอนต้น เด็กจะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมท่ีต่างไปจากวัยทารก
เพราะเด็กจะเริ่มช่วยตัวเองได้ และสามารถท่ีจะสื่อสารติดต่อกับผู้อ่ืนได้ การติดต่อสื่อสารกับผู้อ่ืนทําให้
สภาพแวดล้อมทางสงั คมของเด็กตา่ งออกไป ซึง่ จะปรากฏในลกั ษณะดังนี้
3.1 เด็กสว่ นใหญใ่ นวัยนมี้ กั มีเพอ่ื สนิท 1 – 2 คน แตม่ ติ รภาพอาจเปลีย่ นไดอ้ ย่างรวดเร็ว เด็ก
วัยก่อนเข้าเรียนมักมีสังคมไม่แน่นอน และมีความสมัครใจที่จะเล่นกับเพื่อนส่วนใหญ่ในช้ันเรียนของตน และ
เพอ่ื นท่สี นิทมักเปน็ เพศเดียวกับตน แต่มิตรภาพระหวา่ งเพศชายและเพศหญงิ ก็เร่ิมพฒั นาขนึ้
3.2 การเล่นของเดก็ ในวัยนี้ มักเล่นเป็นกล่มุ เลก็ ๆ และไม่คอ่ ยเป็นระเบยี บ และมักเปลีย่ นบ่อย
ภาพที่ 14 เดก็ วยั นช้ี อบเลน่ ละคร และสมมตติ นเองเลน่ บทเดยี วกบั บทบาทของละคร
3.3 การทะเลาะกันระหวา่ งเพ่ือนมกั เกิดขึ้นบอ่ ยๆ แตเ่ ปน็ ระยะส้นั และเด็กมกั จะลมื การ
ทะเลาะไดเ้ รว็ และงา่ ยมาก
3.4 เด็กวยั น้ีชอบเลน่ ละคร และสมมตติ นเองเล่นบทเดียวกบั บทบาทของละครบาง ตัวใน
รายการโทรทัศนท์ ี่ตนไดด้ ู และชอบพูดและแสดงเลียนแบบตัวละครนัน้ ๆ ด้วย ครูและผู้ปกครองจึงควร
ส่งเสริมใหเ้ ด็กไดแ้ สดงออกอยา่ งสรา้ งสรรค์
3.5 เดก็ หญิงและเด็กชายเพิง่ จะเริ่มตน้ เรยี นรูบ้ ทบาทของตน และยงั ไมเ่ ข้าใจบทบาทของเพศ
ชดั เจนนกั ฉะนั้นจึงไมค่ วรห้ามหรือกังวลในเมอื่ พบเด็กชายเลน่ ต๊กุ ตาและเดก็ หญิงเลน่ ปนื เปน็ ต้น
4. ลกั ษณะทางสตปิ ญั ญา
เดก็ ปฐมวัยมีลักษณะทแ่ี สดงถงึ ความสามารถทางสมองทเี่ พมิ่ ข้ึนอยา่ งรวดเร็ว แสดงออกใหเ้ หน็ ใน
ลักษณะของการพดู และการสือ่ สาร ตลอดจนการรบั รู้และการคิดซึ่งแสดงออกดังนี้
-17-
4.1 การรบั รู้
ในระยะนี้เด็กจะพัฒนาความสามารถด้านการรับรู้ ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
การรับรขู้ องเดก็ จะเพมิ่ ขนึ้ มาก เช่น การศกึ ษาของกปิ สัน (Gibbson. 1969) ซง่ึ ศึกษา เกีย่ วกบั การมองวัตถุ
หรอื ภาพของเดก็ พบวา่ เมอ่ื เดก็ เริ่มเขา้ สู่อายุ 2 – 3 ปี จะมองวตั ถไุ ดล้ ะเอียดยง่ิ ข้ึน แสดงให้เห็นว่าเด็กเมื่อ
เติบโตข้ึนจะมีความสามารถในการรับรู้ด้านวัตถุดีขึ้น ความสามารถท่ีเพ่ิมข้ึนมาใหม่ จะนําไปสู่ความสามารถ
ในการแยกแยะความแตกต่างของวัตถุหรือรูปภาพในระยะต่อไป ส่วนการศึกษาของฮัดสัน (Hudson. 1960)
พบว่า เด็กโตจะมีความสามารถในการมองรูปโครงร่างต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กเล็ก ซ่ึงความสามารถนี้จะค่อยๆ
พฒั นาข้ึนตามลาํ ดับอายุและประสบการณ์
ภาพที่ 15 เดก็ จะพฒั นาความสามารถดา้ นการรบั รสู้ งั เกตเหน็ ไดอ้ ย่างชดั เจน
4.2 การคดิ และความเขา้ ใจ
เก่ียวกับความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัยน้ัน พีอาเจท์ ได้อธิบายว่าเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการ
แก้ปัญหา หากเป็นการแก้ปัญหาด้วยการรับรู้และยังไม่รู้จักการใช้ทําให้การตัดสินใจหรือความเข้าใจส่ิงต่างๆ
คลาดเคล่ือนไปจากความเป็นจริง เม่ือเด็กอายุ 1 – 7 ปี ความคิด ความเข้าใจในส่ิงต่างๆ จะพัฒนาดีขึ้น
อยา่ งเหน็ ได้ชัด มีมโนภาพเก่ียวกับสิ่งตา่ งๆ รอบตัวดีขึ้น จะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของ วัตถุ
ตา่ งๆ ได้ มีมโนภาพพ้นื ฐานเกย่ี วกับจํานวนและตวั เลข
4.3 การใช้เหตุผล
ในการใช้เหตุผลน้ัน เด็กวัย 2 – 4 ปี เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลเบ้ืองต้น โดยการนําวัตถุ 2
สิ่ง หรือเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนพร้อมๆ กันมาเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน ซึ่ง พีอาเจท์ อธิบายว่า
เป็นการให้เหตุผลท่ีเก่ียวข้องกัน (Transductive Reasoning) แต่เป็นการให้เหตุผลท่ีไม่ถูกต้องนัก เพราะ
เด็กยังยดึ อยู่กบั ความคิดและความตอ้ งการของตนเอง ทําให้เหตผุ ลท่ีเด็กบอกไมเ่ ป็นเหตผุ ลท่ีสมควร ลักษณะ
ของการให้เหตุผลของเด็กจะมีหลักเกณฑ์มากข้ึนเมื่อมีอายุเพ่ิมขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการให้เหตุผลของเด็กยัง
เปน็ เหตุผลท่สี รุปจากความเขา้ ใจของเด็กเอง ซง่ึ มคี วามผิดพลาดอยู่ สรปุ ได้วา่ ในระยะปฐมวัย เด็กมคี วาม
-18-
สามารถในการให้เหตุผลข้ันพ้ืนฐานได้เป็นอย่างดี และเหตุผลจะอาศัยความเป็นไปได้ในแง่ของความเป็นจริง
มากข้ึน เม่ือมอี ายุเพ่มิ ข้ึน
4.4 ความสามารถทางภาษา
สําหรับความสามารถทางภาษานี้ เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถทางสติปัญญา
ในระยะนี้เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาโดยแสดงให้เห็นว่ารู้จักคําศัพท์และถ้อยคําต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
อนั ชใ้ี หเ้ หน็ ถึงความฉลาดและความรอบรู้ของเด็ก เนื่องจากความเจริญอยา่ งรวดเรว็ ทางภาษาทําให้เด็กมเี รือ่ ง
ท่ีต้องการจะพูดมากมาย แต่ไม่สามารถหาคําตอบหรือนึกคําที่จะ ใช้ได้เร็วเท่าความคิด จึงมีลักษณะการพูด
อ้างอิง แต่จะหายไปในท่ีสุด เด็กจะใช้ภาษาเป็นส่ือในการติดต่อเก่ียวข้องกับผู้อื่น การใช้ภาษาจะสังเกตได้
จากการรู้จักคําศัพท์มากข้ึน และสามารถผูกประโยคใช้ในการพูดติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหาต่างๆ รู้จักฟัง
และพดู เพอ่ื แสดงความรู้สกึ นึกคิดของตนได้มากขน้ึ
ภาพที่ 16 เดก็ วัย 2 – 4 ปี เรม่ิ รูจ้ กั การใชเ้ หตผุ ลเบ้ืองตน้
จะเห็นได้ว่า แมเ้ ดก็ ปฐมวัยจะอยู่ในระยะแรกของชีวิต หากแต่พฒั นาการดา้ นต่างๆ ได้
พฒั นาไปอยา่ งรวดเร็ว โดยเฉพาะทางดา้ นร่างกายและดา้ นสติปัญญา การที่สนใจและสง่ เสริมพัฒนาการ
ใหแ้ กเ่ ด็กวยั นี้ ซ่งึ เปรียบเสมอื นการวางพน้ื ฐานทสี่ าํ คญั ใหแ้ กช่ วี ิตของบุคคลทัง้ ในด้านสติปัญญา และด้าน
บุคลกิ ภาพ พนื้ ฐานชวี ติ ทดี่ ี จะทาํ ใหเ้ ด็กเติบโตเป็นบคุ คลทีม่ คี ณุ ภาพในวัยต่อไป
-19-
สรปุ ทา้ ยบท
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี แต่เน่ืองจากเด็กปฐมวัยที่เข้าสู่สถาน
การศึกษามักจะเร่ิมตั้งแต่วัย 3 – 5 ปี เด็กปฐมวัยจึงมีความหมายครอบคลุมในอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ซึ่งมี
คาํ เรยี กเดก็ ปฐมวยั ในชอ่ื ตา่ งๆ กัน เชน่ เด็กกอ่ นวัยเรยี น เด็กกอ่ นประถมศึกษา เป็นตน้
นกั จติ วิทยา นกั การศกึ ษา และผู้จดั การศึกษาระดบั ปฐมวยั ศกึ ษา ให้ความสําคัญต่อการพฒั นา
เดก็ ในระยะปฐมวยั อยา่ งย่ิง เพราะมีการศกึ ษาและมขี ้อยืนยนั ไดว้ ่าระยะวยั ตน้ เป็นวัยสาํ คญั ของการ
วางรากฐานพฒั นาการดา้ นต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านสติปญั ญาและดา้ นบุคลกิ ภาพ การพฒั นาพฤติกรรมท่ีพึง
ประสงคต์ ่างๆ ควรอย่างยิง่ ทีจ่ ะตอ้ งปลูกฝงั ในระยะปฐมวยั ขณะเดียวกันทฤษฎีทางจิตวิทยาพัฒนาต่างก็ระบุ
ไปในทิศทางเดียวกันว่า ขั้นพัฒนาการต่างๆ ซ่ึงเกิดขึ้นในระยะปฐมวัยจะเป็นพ้ืนฐานของพัฒนาการในข้ัน
ต่อไปของบุคคล ถ้าพัฒนาการในระยะปฐมวัยดําเนินไปอย่างไม่สมบูรณ์ บุคคลก็อาจจะได้พัฒนาใน
พัฒนาการนั้นๆ ในขัน้ ตอ่ ไปได้ และจะทาํ ใหเ้ กดิ ปัญหาดา้ นพฒั นาการในท่สี ดุ
ดังน้ัน การพัฒนาชีวิตของบุคคล ควรเร่ิมต้นในระยะปฐมวัย ท้ังน้ีครูและผู้ดูแลเด็กจะต้อง
เข้าใจลักษณะและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี เพื่อที่สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่าง
เหมาะสมกับธรรมชาตขิ องผเู้ รียน อนั จะทําใหก้ ารพัฒนาเด็กได้ผลไปตามเปา้ หมายทก่ี ําหนดไว้
ภาพท่ี 17 เดก็ ปฐมวยั หมายถงึ เดก็ วยั ตงั้ แตแ่ รกเกดิ ถงึ 5 ปี
-20-
คาํ ถามทา้ ยบท
1. ขอ้ ความทวี่ า่ “เด็กปฐมวยั วยั ทองของชวี ิต” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตใุ ด จงอธบิ าย
2. ทา่ นเชือ่ ตามคํากลา่ วของนักจิตวิทยาทีว่ า่ “ประสบการณว์ ยั เด็กนบั เปน็ สง่ิ สาํ คญั และมีอิทธิพลต่อ
พัฒนาการดา้ นบุคลกิ ภาพของบุคคล” หรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด จงอธบิ าย
3. ท่านคิดวา่ สิ่งใดมผี ลตอ่ การอบรมเลยี้ งดเู ด็กปฐมวยั จงอธิบาย
4. เด็กปฐมวัยควรไดร้ ับการตอบสนองเพ่ือการเจรญิ เตบิ โตอย่างมปี ระสิทธิภาพดา้ นใดบา้ ง จงอธิบาย
5. ความต้องการพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 10 ประการ มีอะไรบ้าง และท่านมีแนวคิดการให้ความ
ต้องการพื้นฐานของเดก็ ปฐมวยั อยา่ งไร จงอธิบาย
6. ท่านควรมบี ทบาทอยา่ งไรต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย จงอธบิ าย
7. “การยดึ ตนเองเป็นศูนย์กลาง” (Egocentrism) มีลกั ษณะและมผี ลตอ่ พัฒนาการเดก็ ปฐมวยั
อย่างไร จงอธิบาย
8. ทา่ นจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กปฐมวยั มีความสามารถในด้านต่อไปนีอ้ ยา่ งไร จงอธิบาย
8.1 ลักษณะทางกาย
8.2 ลกั ษณะทางอารมณ์
8.3 ลักษณะทางสงั คม
8.4 ลักษณะทางสติปญั ญา
9. ท่านคดิ ว่าเด็กปฐมวัยมคี วามสําคญั หรือไม่ อย่างไร จงอธบิ าย
10. ธรรมชาตขิ องเด็กปฐมวยั เป็นอยา่ งไร จงอธบิ าย
เอกสารอา้ งองิ
กรรณกิ าร์ วจิ ติ รสคุ นธ์ และคนอ่ืนๆ .การเล้ียงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ : ศูนย์ฝึกอบรมการเล้ียงลูกด้วยนมแม่
และโภชนาการเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
คณะกรรมการพฒั นาการศึกษาอบรมเลีย้ งดูเดก็ . (2535) ภาวะวิกฤตชิ ีวติ เด็กไทย : ปญั หาท่ยี ังไม่สายเกินแก.้
กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ, สํานักงาน. (2533). รายงานการประชุมสมัชชา
แห่งชาติ ครง้ั ที่ 1 ดา้ นการพัฒนาเดก็ . กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมั รนิ ทร์พรน้ิ ต้งิ กรุฟ๊ จาํ กดั .
นิตยา ประพฤตกิ ิจ. (2536). การพฒั นาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พก์ ารศาสนา.
พชั รี สวนแกว้ . (2536). เอกสารการสอนประกอบวชิ า 2173107 จติ วทิ ยาพฒั นาการและการดแู ลเดก็
ปฐมวยั . กรุงเทพฯ : บรษิ ทั สาํ นกั พมิ พ์ ดวงกมล จํากัด.
พรรณี เจนจติ . (2528) .จติ วทิ ยาการเรยี นการสอน. พิมพค์ รง้ั ที่ 3 กรงุ เทพฯ : อัมรนิ ทรก์ ารพมิ พ.์
เยาวพา เดชะคปุ ต์. (2542). การจัดการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ ปฐมวยั . กรงุ เทพฯ : บริษทั สาํ นกั พมิ พแ์ ม็ค
จาํ กัด.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2527). ตําราการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาหลักสูตรและการ
สอน คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร.
วัฒนา ปุณญฤทธ์ิ. (2538). การเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร :
โปรแกรมการศกึ ษาปฐมวยั คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างเสริมลักษณะนิสัย ระดับปฐมวัย
ศึกษา หนว่ ยท่ี 1-7. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัมรนิ ทร์พร้ินตง้ิ กรุฟ๊ จาํ กดั
. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาฝึกอบรมครูและผู้เก่ียวข้องกับการอบรมเล้ียงดูเด็กปฐมวัย
หน่วยที่ 1-5. นนทบรุ ี : โรงพมิ พ์มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช.
อารี พันธม์ ณี. (ม.ป.ป.). จติ วทิ ยาการเรยี นการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัท ตน้ ออ้ 1999 จาํ กดั .