The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดจรรยาบรรณ ภายใต้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานจรรยาบรรณระหว่างประเทศ (IESBA) ได้มีการปรับปรุงคู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามการปรับปรุงของ IESBA จำนวน 6 เรื่องโดย “คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566” มีการปรับปรุงจำนวน 4 เรื่อง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป และการปรับปรุงอีกจำนวน 2 เรื่องที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2567 และ 15 ธันวาคม 2568 ตามลำดับ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หนังสือคู่มือประมวลจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2566

ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดจรรยาบรรณ ภายใต้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานจรรยาบรรณระหว่างประเทศ (IESBA) ได้มีการปรับปรุงคู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามการปรับปรุงของ IESBA จำนวน 6 เรื่องโดย “คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566” มีการปรับปรุงจำนวน 4 เรื่อง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป และการปรับปรุงอีกจำนวน 2 เรื่องที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2567 และ 15 ธันวาคม 2568 ตามลำดับ

Keywords: จรรยาบรรณ,ethics

คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 286 ส่วนที่ 4ข • ความสำคัญของลูกค้า ต่อสำนักงาน หรือหุ้นส่วน • ลักษณะของลูกค้า • ลักษณะของงานที่ให้ความเชื่อมั่น • การมีส่วนร่วมของผู้มีหน้าที่กำกับดูแลในการตกลงค่าธรรมเนียม • ระดับของค่าธรรมเนียมถูกกำหนดโดยบุคคลที่สามซึ่งเป็นอิสระหรือไม่ เช่น องค์กร กำกับดูแลตามกฎหมาย 905.3 A4 เงื่อนไข นโยบาย และวิธีการที่อธิบายในย่อหน้า 120.15 A3 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการ บริหารคุณภาพที่ได้ออกแบบไว้ นำมาใช้และดำเนินการโดยสำนักงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน การบริหารคุณภาพที่กำหนดโดย IAASB) อาจมีผลกระทบต่อการประเมินว่าอุปสรรคต่อ ความเป็นอิสระอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ 905.3 A5 ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติต่อไปนี้ ระบุเหตุการณ์แวดล้อมซึ่งอาจจำเป็นต้องมี การประเมินเพิ่มเติม เมื่อมีพิจารณาว่าอุปสรรคอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ สำหรับ เหตุการณ์แวดล้อมนั้น ๆ คำอธิบายการนำไปปฏิบัติรวมถึงตัวอย่างของปัจจัยเพิ่มเติมอื่นซึ่ง อาจเกี่ยวข้องกับการประเมินอุปสรรคต่าง ๆ ระดับของค่าธรรมเนียมสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น 905.4 A1 การกำหนดค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ไม่ว่าสำหรับงานที่ให้ ความเชื่อมั่นหรือบริการอื่น เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่สำนักงานต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและ เหตุการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานเฉพาะนั้น รวมถึงข้อกำหนดทางด้านมาตรฐานการ ปฏิบัติงานและมาตรฐานวิชาชีพ 905.4 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนและอุปสรรคจาก การถูกข่มขู่ที่เกิดขึ้นจากระดับของค่าธรรมเนียมสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งจ่ายโดย ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง • เหตุผลทางการค้าของสำนักงานสำหรับค่าธรรมเนียมสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น • แรงกดดันอันเกินควรที่มีหรือกำลังจะมีหรือไม่จากลูกค้าเพื่อขอลดค่าธรรมเนียมสำหรับ งานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 287 ส่วนที่ 4ข 905.4 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันในการจัดการอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานที่ให้ความเชื่อมั่นทำการ ประเมินความสมเหตุสมผลของค่าธรรมเนียมที่เสนอ โดยพิจารณาถึงขอบเขตและ ความซับซ้อนของงาน • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็น ผู้สอบทานงานที่ทำ ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงาน 905.5 A1 ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงาน คือค่าธรรมเนียมที่คำนวณตามเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้าโดย สัมพันธ์กับผลลัพธ์ของรายการ หรือผลของบริการที่ทำให้ ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานที่ เรียกเก็บผ่านตัวกลางเป็นตัวอย่างของค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานโดยอ้อม ในหมวดนี้ ค่าธรรมเนียมที่ถูกกำหนดโดยศาลหรือหน่วยงานอื่นของรัฐจะไม่ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมที่ ขึ้นกับผลงาน R905.6 สำนักงานต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อมสำหรับงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น R905.7 สำนักงานต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อมสำหรับ บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นที่ให้แก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ถ้าผลลัพธ์ของบริการงานที่ ไม่ให้ความเชื่อมั่น และจำนวนค่าธรรมเนียมของงานดังกล่าว ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจใน อนาคตหรือในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีสาระสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ของงานที่ให้ความเชื่อมั่น 905.7 A1 ย่อหน้า R905.6 และ R905.7 ห้ามสำนักงานจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกำหนด ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานบางอย่างของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น แม้หากว่าการ กำหนดค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงานจะไม่ถูกห้ามเมื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นไว้ก่อนก็ตาม การกำหนดค่าธรรมเนียมวิธีนั้นอาจยังคงมีผลกระทบ ต่อระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน 905.7 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • ช่วงของจำนวนค่าธรรมเนียมที่อาจเป็นไปได้ • ผู้มีอำนาจที่เหมาะสมตัดสินใจว่าผลลัพธ์นั้นเป็นตัวกำหนด ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับ ผลงานหรือไม่


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 288 ส่วนที่ 4ข • เปิดเผยต่อผู้ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานของงานที่ทำโดยสำนักงานและหลักเกณฑ์ของ การคิดค่าตอบแทน • ลักษณะของงานบริการ • ผลกระทบของเหตุการณ์หรือรายการในข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น 905.7 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตนดังกล่าว รวมถึง • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานที่ไม่ให้ความ เชื่อมั่นดังกล่าวเป็นผู้สอบทานงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้อง • การได้รับข้อตกลงล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้าเกี่ยวกับเกณฑ์การคิด ค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมทั้งหมด - ค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ 905.8 A1 ระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนอาจถูกกระทบถ้าค่าธรรมเนียมที่ค้างโดยลูกค้า งานที่ให้ความเชื่อมั่น สำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่นหรือบริการอื่น ค้างชำระระหว่างช่วงเวลา ของงานที่ให้ความเชื่อมั่น 905.8 A2 เป็นที่คาดหวังโดยทั่วไปว่าสำนักงานจะได้รับชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวก่อนออกรายงานการ ให้ความเชื่อมั่นนั้น 905.8 A3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนดังกล่าว รวมถึง • นัยสำคัญของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระแก่สำนักงาน • ระยะเวลาที่ค่าธรรมเนียมค้างชำระ • การประเมินของสำนักงานในความสามารถและความเต็มใจของลูกค้าหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้อง ที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ 905.8 A4 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • การได้รับชำระเงินบางส่วนของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็นผู้สอบ ทานงานนั้น R905.9 เมื่อค่าธรรมเนียมส่วนที่มีนัยสำคัญ ที่ยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นเป็น เวลานาน สำนักงานต้องตัดสินใจว่า


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 289 ส่วนที่ 4ข (ก) ค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระอาจเทียบเท่ากับเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้มี ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่กำหนดไว้ในหมวด 911 นำไปปรับใช้ได้ และ (ข) ยังคงเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่สำนักงานจะรับการแต่งตั้งอีกครั้งหรือรับงานที่ให้ ความเชื่อมั่นต่อไป ค่าธรรมเนียมทั้งหมด - ค่าธรรมเนียมที่พึ่งพิง 905.10 A1 เมื่อค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ได้รับจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นรายใดรายหนึ่งที่สำนักงาน เป็นผู้ให้ข้อสรุปต่องานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมทั้งหมด ของสำนักงาน การพึ่งพิงดังกล่าว และความกังวลในโอกาสที่จะสูญเสียค่าธรรมเนียมจาก ลูกค้านั้น กระทบระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน และทำให้เกิดอุปสรรคจากการ ถูกข่มขู่ 905.10 A2 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน และอุปสรรคจากการถูกข่มขู่ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์แวดล้อม ที่อธิบายไว้ในย่อหน้า 905.10 A1 แม้ว่าลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นไม่ได้รับผิดชอบต่อการ เจรจาต่อรอง หรือไม่จ่ายชำระค่าธรรมเนียมสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น 905.10 A3 ในการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้งหมดของสำนักงาน สำนักงานอาจใช้ข้อมูลทางการเงินเท่าที่มี จากปีการเงินก่อนและประมาณสัดส่วนโดยใช้ข้อมูลนั้นเป็นฐาน ถ้าเหมาะสม 905.10 A4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนและอุปสรรค จากการถูกข่มขู่ดังกล่าว รวมถึง • โครงสร้างการดำเนินงานของสำนักงาน • เมื่อสำนักงานถูกคาดหวังให้กระจายการพึ่งพิงใดๆ ต่อลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ให้ลดลง 905.10 A5 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • การลดขอบเขตของบริการอื่นนอกจากการให้ความเชื่อมั่นที่ให้กับลูกค้า • การเพิ่มฐานลูกค้าของสำนักงาน เพื่อลดการพึ่งพิงลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น 905.10 A6 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่เกิดขึ้น เมื่อค่าธรรมเนียม ที่สำนักงานได้รับจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นรายหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนของรายได้ที่มากเมื่อ เทียบกับรายได้จากลูกค้าหลายรายของหุ้นส่วนของสำนักงานรายใดรายหนึ่ง


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 290 ส่วนที่ 4ข 905.10 A7 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • นัยสำคัญเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ต่อหุ้นส่วน • ขอบเขตของค่าตอบแทนของหุ้นส่วน ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากลูกค้า 905.10 A8 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าว รวมถึง • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็นผู้สอบทานงานนั้น • การทำให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนของหุ้นส่วนไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากค่าธรรมเนียมที่ ได้รับจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น • การเพิ่มฐานลูกค้าของหุ้นส่วนนั้น เพื่อลดการพึ่งพิงลูกค้า


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 291 ส่วนที่ 4ข หมวด 906 ของขวัญและการต้อนรับ คำนำ 906.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมินและจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 906.2 การรับของขวัญหรือการต้อนรับจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น อาจทำให้เกิดอุปสรรคจาก ผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ หมวดนี้ กำหนด ข้อกำหนดเฉพาะ และคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวกับการใช้กรอบแนวคิดในเหตุการณ์ แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ R906.3 สำนักงานหรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ต้องไม่รับของขวัญและการต้อนรับ จากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น เว้นแต่ของขวัญและการต้อนรับนั้นมีมูลค่าเล็กน้อย และ ไม่สำคัญ 906.3 A1 เมื่อสำนักงานหรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น มีการเสนอให้หรือการรับสิ่งจูงใจ จากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่กำหนดไว้ใน หมวด 340 จะนำมาใช้และการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อ ความเป็นอิสระ 906.3 A2 ตามที่กำหนดไว้ในหมวด 340 เกี่ยวกับการเสนอให้หรือการรับสิ่งจูงใจ ไม่อนุญาตให้สำนักงาน หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น รับของขวัญและการต้อนรับใด ๆเมื่อการให้หรือ การรับดังกล่าว มีเจตนาที่จะให้มีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสมต่อพฤติกรรม (ทางวิชาชีพ) แม้มีมูลค่า เล็กน้อย และไม่สำคัญ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 292 ส่วนที่ 4ข หมวด 907 คดีความที่ศาลรับฟ้องแล้วหรือที่ถูกข่มขู่ว่าจะฟ้อง คำนำ 907.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 907.2 เมื่อมีคดีความเกิดขึ้นหรืออาจมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดคดีความกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน และอุปสรรคจากการถูกข่มขู่จะเกิดขึ้น ในหมวดนี้จะระบุ ถึงคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้กรอบแนวคิดในเหตุการณ์แวดล้อมทั้งหมด ดังกล่าว คำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 907.3 A1 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของลูกค้าและสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นจะต้อง เป็นไปในลักษณะตรงไปตรงมาอย่างที่สุด และต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนใน ทุกด้านของการดำเนินธุรกิจของลูกค้า สถานะของคู่ความอาจเกิดจากคดีความที่ศาลรับฟ้อง แล้วหรือที่ถูกข่มขู่ว่าจะฟ้องระหว่างลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นและสำนักงาน หรือสมาชิก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น สถานะของคู่ความดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความเต็มใจ ของผู้บริหารที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน และทำให้เกิดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน และอุปสรรคจากการถูกข่มขู่ 907.3 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • สาระสำคัญของคดีความ • คดีความเกี่ยวข้องกับงานที่ให้ความเชื่อมั่น ครั้งก่อนหรือไม่ 907.3 A3 ถ้าคดีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ตัวอย่างของการกระทำที่ อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน และอุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าว คือ การถอน บุคคลนั้นจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 907.3 A4 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน และอุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าว คือ การจัดให้มีผู้สอบทานงานที่เหมาะสมสอบ ทานงานนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 293 ส่วนที่ 4ข หมวด 910 ผลประโยชน์ทางการเงิน คำนำ 910.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 910.2 การมีผลประโยชน์ทางการเงินกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น อาจทำให้เกิดอุปสรรคจาก ผลประโยชน์ส่วนตน ในหมวดนี้ กำหนดข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่ เกี่ยวกับการใช้กรอบแนวคิดในเหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 910.3 A1 ผลประโยชน์ทางการเงินอาจถือโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านตัวกลาง เช่น เครื่องมือการจัดการ กองทุน มรดก หรือทรัสต์ เมื่อผู้ได้รับผลประโยชน์มีอำนาจควบคุมเหนือตัวกลาง หรือสามารถ มีอิทธิพลในการตัดสินใจการลงทุนนั้น ประมวลจรรยาบรรณนี้ถือว่าผลประโยชน์ทางการเงิน ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรง ในทางกลับกัน เมื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ไม่มี อำนาจในการควบคุมเหนือตัวกลาง หรือไม่สามารถมีอิทธิพลในการตัดสินใจการลงทุนนั้น ประมวลจรรยาบรรณนี้ถือว่าผลประโยชน์ทางการเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน โดยอ้อม 910.3 A2 หมวดนี้กล่าวถึง “ความมีสาระสำคัญ” ของผลประโยชน์ทางการเงิน ในการพิจารณาว่า ผลประโยชน์ดังกล่าวมีสาระสำคัญต่อบุคคลใด มูลค่าสุทธิของบุคคลและสมาชิกครอบครัวที่ ใกล้ชิดที่สุดของบุคคลนั้นอาจต้องนำมาคำนวณรวมกัน 910.3 A3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนที่เกิดจากการถือ ครองผลประโยชน์ทางการเงินในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง • บทบาทของผู้ถือครองผลประโยชน์ทางการเงิน • ผลประโยชน์ทางการเงินนั้นเป็นแบบโดยตรงหรือโดยอ้อม • ความมีสาระสำคัญของผลประโยชน์ทางการเงิน


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 294 ส่วนที่ 4ข ผลประโยชน์ทางการเงินที่ถือครองโดยสำนักงาน สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น และ ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด R910.4 ส่วนได้เสียทางการเงินโดยตรงหรือส่วนได้เสียทางการเงินโดยอ้อมที่มีนัยสำคัญที่มีในลูกค้า งานที่ให้ความเชื่อมั่นจะต้องไม่ถือโดย (ก) สำนักงาน หรือ (ข) สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นหรือบุคคลใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ผลประโยชน์ทางการเงินในกิจการที่ควบคุมลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น R910.5 เมื่อกิจการใดมีอำนาจในการควบคุมส่วนได้เสียในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น และลูกค้านั้นมี สาระสำคัญต่อกิจการนั้น สำนักงาน หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบุคคล ใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ต้องไม่ถือครองผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงหรือ ผลประโยชน์ทางการเงินโดยอ้อมที่มีสาระสำคัญในกิจการนั้น ผลประโยชน์ทางการเงินที่ถือครองในฐานะทรัสตี R910.6 ย่อหน้า R910.4 ต้องใช้กับผลประโยชน์ทางการเงินของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ถือครอง โดยทรัสต์ ซึ่งสำนักงาน หรือบุคคล ทำหน้าที่ในฐานะทรัสตี ยกเว้น (ก) ไม่มีบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากทรัสต์ ได้แก่ ทรัสตี สมาชิกกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นหรือบุคคลใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด หรือสำนักงาน (ข) ส่วนได้เสียของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ถือครองโดยทรัสต์ ไม่เป็นสาระสำคัญ ต่อทรัสต์นั้น (ค) ทรัสต์นั้นไม่สามารถใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น และ (ง) ไม่มีบุคคลต่อไปนี้สามารถใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ทางการเงินในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ได้แก่ ทรัสตี สมาชิกกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบุคคลใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด หรือสำนักงาน ผลประโยชน์ทางการเงินที่ได้รับโดยไม่ได้ตั้งใจ R910.7 ถ้าสำนักงาน หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบุคคลใดในครอบครัวที่ ใกล้ชิดที่สุดของบุคคลนั้น ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงหรือผลประโยชน์ทางการเงิน ที่มีสาระสำคัญโดยอ้อม ในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นโดยการได้รับมรดก ของขวัญ โดยเป็น ผลมาจากการควบรวมกิจการ หรือในเหตุการณ์แวดล้อมที่คล้ายคลึงกันและผลประโยชน์ ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือครอง ตามหมวดนี้


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 295 ส่วนที่ 4ข (ก) ถ้าสำนักงานได้รับผลประโยชน์ ต้องจำหน่ายผลประโยชน์ทางการเงินนั้นทันที หรือ จำหน่ายผลประโยชน์ทางการเงินโดยอ้อมในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้ผลประโยชน์ที่ เหลือไม่มีสาระสำคัญอีกต่อไป หรือ (ข) ถ้าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบุคคลใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน ต้องจำหน่ายผลประโยชน์ทางการเงินนั้นทันที หรือ จำหน่ายผลประโยชน์ทางการเงินโดยอ้อมในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้ผลประโยชน์ที่ เหลือไม่มีสาระสำคัญอีกต่อไป ผลประโยชน์ทางการเงิน – เหตุการณ์แวดล้อมอื่น ครอบครัวที่ใกล้ชิด 910.8 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนอาจเกิดขึ้นถ้าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ความเชื่อมั่นทราบ ว่าบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวมีผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงหรือผลประโยชน์ทางการเงินที่ มีสาระสำคัญโดยอ้อมกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น 910.8 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นกับสมาชิก ครอบครัวที่ใกล้ชิด • ผลประโยชน์ทางการเงินนั้น เป็นไปโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือไม่ • สาระสำคัญของผลประโยชน์ทางการเงินนั้น ที่มีต่อสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด 910.8 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน รวมถึง • การให้สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดจำหน่ายผลประโยชน์ทางการเงินทั้งหมดหรือจำหน่าย ผลประโยชน์ทางการเงินโดยอ้อมในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้ผลประโยชน์ส่วนที่เหลือไม่ มีสาระสำคัญอีกต่อไป โดยเร็วที่สุดเท่าที่ปฏิบัติได้ • การถอนบุคคลนั้นออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี 910.8 A4 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วน ตนนั้นคือจัดให้มีผู้สอบทานงานที่เหมาะสม สอบทานงานของสมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น บุคคลอื่นใด 910.8 A5 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อาจเกิดขึ้นได้ถ้าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นรู้ ว่า ผลประโยชน์ทางการเงินในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น ถูกถือครองโดยบุคคลอื่น ๆ เช่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 296 ส่วนที่ 4ข • หุ้นส่วนและพนักงานผู้ประกอบวิชาชีพของสำนักงาน นอกไปจากบุคคลผู้ซึ่งโดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถือครองผลประโยชน์ทางการเงินดังกล่าว ตามย่อหน้า R910.4 หรือสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดของกลุ่มบุคคลนั้น • บุคคลที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ชิดกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 910.8 A6 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนนั้น คือการถอนสมาชิก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น 910.8 A7 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตนดังกล่าว รวมถึง • การไม่ให้สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใด ๆ ที่ สำคัญที่เกี่ยวกับงานที่ให้ความเชื่อมั่น • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมสอบทานงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 297 ส่วนที่ 4ข หมวด 911 การกู้ยืมและการค้ำประกัน คำนำ 911.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 911.2 การกู้ยืมและการค้ำประกันเงินกู้ยืมกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น อาจทำให้เกิดอุปสรรคจาก ผลประโยชน์ส่วนตนได้ ในหมวดนี้กำหนดข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องกับการใช้กรอบแนวคิดในเหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 911.3 A1 หมวดนี้กล่าวถึง “ความมีสาระสำคัญ” ของการกู้ยืมและการค้ำประกัน ในการพิจารณาว่า การกู้ยืมและการค้ำประกันดังกล่าวมีสาระสำคัญกับบุคคลใด มูลค่าสุทธิของบุคคลและ สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดของบุคคลนั้นอาจต้องนำมาคำนวณรวมกัน การกู้ยืมและการค้ำประกันกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น R911.4 สำนักงาน สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดคนใดของ บุคคลนั้นต้องไม่กระทำการกู้ยืมหรือการไม่ค้ำประกันเงินกู้กับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น เว้นแต่การกู้ยืมและการค้ำประกันนั้นไม่มีสาระสำคัญต่อ (ก) สำนักงาน หรือบุคคลที่กระทำการกู้ยืมหรือการค้ำประกัน เท่าที่จะนำมาใช้ได้ และ (ข) ลูกค้า การกู้ยืมและการค้ำประกันกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นที่เป็นธนาคารหรือสถาบันในลักษณะที่ คล้ายคลึงกัน R911.5 สำนักงาน สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดคนใดของ บุคคลนั้นต้องไม่รับเงินกู้ หรือรับการค้ำประกันเงินกู้จากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่เป็น ธนาคารหรือสถาบันในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เว้นแต่การกู้ยืมและรับการค้ำประกันนั้น เป็นไปตามกระบวนการกู้ยืม เงื่อนเวลา และเงื่อนไขโดยปกติ 911.5 A1 ตัวอย่างของเงินกู้ยืม รวมถึง การจำนอง เงินเบิกเกินบัญชี เงินให้สินเชื่อรถยนต์และยอดค้าง ชำระบัตรเครดิต


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 298 ส่วนที่ 4ข 911.5 A2 แม้ว่าสำนักงาน จะได้รับเงินกู้จากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นซึ่งเป็นธนาคารหรือสถาบันใน ลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นไปตามกระบวนการกู้ยืม เงื่อนเวลาและเงื่อนไขโดยปกติ เงินกู้นั้น อาจทำให้เกิดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนได้ ถ้ามีสาระสำคัญต่อลูกค้างานที่ให้ ความเชื่อมั่น หรือต่อสำนักงานที่ได้รับเงินกู้นั้น 911.5 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน คือการจัดให้มีการสอบทานจากผู้สอบทานที่เหมาะสม ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น จากสำนักงานเครือข่ายที่ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์จากเงินกู้นั้น บัญชีเงินฝากหรือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ R911.6 สำนักงาน สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นหรือบุคคลใดในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ของบุคคลนั้น ต้องไม่มีบัญชีเงินฝากหรือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่เป็นธนาคาร ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสถาบันลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่เงินฝาก หรือบัญชีนั้น ถือครองตามเงื่อนไขโดยปกติทางธุรกิจ การกู้ยืมและการค้ำประกันกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันในลักษณะ คล้ายคลึงกัน R911.7 สำนักงาน สมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดคนใดของ บุคคลนั้น ต้องไม่รับเงินกู้หรือรับการค้ำประกันเงินกู้จากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่ไม่ใช่ ธนาคารหรือสถาบันในลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่เงินกู้หรือการค้ำประกันนั้น ไม่มี สาระสำคัญต่อ (ก) สำนักงาน หรือบุคคลที่ได้รับเงินกู้หรือการค้ำประกัน เท่าที่นำมาใช้ได้ และ (ข) ลูกค้า


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 299 ส่วนที่ 4ข หมวด 920 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ คำนำ 920.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคเรื่องความเป็นอิสระ 920.2 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิดกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือกับผู้บริหารของลูกค้า อาจทำให้เกิดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ หมวดนี้กำหนด ข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวกับการใช้กรอบแนวคิดในเหตุการณ์ แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 920.3 A1 หมวดนี้กล่าวถึง “ความมีสาระสำคัญ” ของผลประโยชน์ทางการเงิน และ “ความมีนัยสำคัญ” ของความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ในการพิจารณาว่าผลประโยชน์ทางการเงินดังกล่าว มีความสำคัญต่อบุคคลใดหรือไม่นั้น มูลค่าสุทธิของบุคคลและสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ของบุคคลนั้นอาจต้องนำมาคำนวณรวมกัน 920.3 A2 ตัวอย่างความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ หรือ ผลประโยชน์ทางการเงินร่วมกัน รวมถึง • การมีผลประโยชน์ทางการเงินในกิจการร่วมค้า ไม่ว่ากับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ เจ้าของผู้มีอำนาจควบคุม กรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร หรือบุคคลอื่นใด ซึ่งทำหน้าที่ ผู้บริหารอาวุโสของลูกค้านั้น • มีข้อตกลงที่จะรวมบริการหรือสินค้าประเภทหนึ่งหรือมากกว่าของสำนักงาน กับบริการ หรือสินค้าประเภทหนึ่งหรือมากกว่าของลูกค้า และที่จะทำการตลาดร่วมกันโดยใช้ชื่อ หน่วยงานทั้งสอง • มีข้อตกลงการจัดจำหน่ายหรือการตลาด โดยสำนักงาน เป็นผู้จัดจำหน่าย หรือเป็นผู้ทำ การตลาดให้กับสินค้าหรือบริการของลูกค้า หรือลูกค้าเป็นผู้จัดจำหน่าย หรือเป็นผู้ทำ การตลาดให้กับสินค้าหรือบริการของสำนักงาน


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 300 ส่วนที่ 4ข ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (ระหว่าง) สำนักงาน หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด R920.4 สำนักงาน หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ต้องไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่าง ใกล้ชิด กับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือกับผู้บริหารของลูกค้า เว้นแต่ผลประโยชน์ ทางการเงินนั้น จะไม่มีสาระสำคัญ และความสัมพันธ์ทางธุรกิจนั้น ไม่มีนัยสำคัญกับลูกค้า หรือกับผู้บริหารของลูกค้า และกับสำนักงาน หรือกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เท่าที่นำมาใช้ได้ 920.4 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ อาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด ระหว่างลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือผู้บริหารของ ลูกค้า กับครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น การซื้อสินค้าหรือบริการ 920.5 A1 การซื้อสินค้าและบริการจากลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น โดยสำนักงาน หรือสมาชิก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบุคคลในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดคนใดของบุคคลนั้น โดยทั่วไปแล้วไม่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ ถ้ารายการนั้นเป็นไปตามการค้าปกติ ของธุรกิจ และมีความเป็นอิสระต่อกัน อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าว อาจมีลักษณะหรือ ขนาดที่ทำให้เกิดอุปสรรคจากต่อผลประโยชน์ส่วนตน 920.5 A2 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนนั้น รวมถึง • การขจัดหรือการลดขนาดของรายการดังกล่าว • การถอนบุคคลออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 301 ส่วนที่ 4ข หมวด 921 ความสัมพันธ์ฉันท์ครอบครัวและความสัมพันธ์ส่วนตัว คำนำ 921.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 921.2 ความสัมพันธ์ฉันท์ครอบครัวหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวกับบุคลากรของลูกค้า อาจทำให้เกิด อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ หมวดนี้กำหนดข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติในการใช้กรอบแนวคิดใน เหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 921.3 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ อาจเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ฉันท์ครอบครัว และความสัมพันธ์ส่วนตัว ระหว่างสมาชิกกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น กับกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้า หรือพนักงานบาง คนของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทของพนักงานเหล่านั้น 921.3 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น • บทบาทของสมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลอื่นใดที่มีอยู่ในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น และความใกล้ชิดของความสัมพันธ์นั้น ๆ ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.4 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็นพนักงานในตำแหน่ง ซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ของงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.4 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าวนั้น รวมถึง • ตำแหน่งที่สมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด ดำรงอยู่ • บทบาทของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 302 ส่วนที่ 4ข 921.4 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าว คือ การถอนบุคคลนั้นออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น 921.4 A4 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่นั้น คือ การจัดโครงสร้าง ความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่นไม่ข้องเกี่ยวกับการจัดการเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของสมาชิกครอบครัวที่ ใกล้ชิดที่สุด R921.5 บุคคลจะไม่เข้าร่วมในฐานะสมาชิกของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เมื่อบุคคลใดใน ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดของบุคคลนั้น (ก) เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น (ข) ในกรณีงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น เป็นพนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้ อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ของงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ค) เคยดำรงอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว ระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ครอบคลุมโดยงานหรือ ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ครอบครัวที่ใกล้ชิดของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.6 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เป็น (ก) กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ข) พนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น พนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้ อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.6 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นกับสมาชิก ครอบครัวที่ใกล้ชิด • ตำแหน่งที่สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด ดำรงอยู่ • บทบาทของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 303 ส่วนที่ 4ข 921.6 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าวนั้น คือ การถอนบุคคลนั้นออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น 921.6 A4 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่นั้น คือ การจัดโครงสร้าง ความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น ไม่ข้องเกี่ยวกับการจัดการเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของสมาชิกครอบครัวที่ ใกล้ชิด ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอื่นของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น R921.7 สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ต้องปรึกษาตามนโยบายและวิธีปฏิบัติของสำนักงาน ถ้าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิก ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดหรือครอบครัวที่ใกล้ชิด แต่เป็น (ก) กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ข) พนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น พนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้ อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.7 A1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจาก ความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ ที่เกิดจากความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมถึง • ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น กับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น • ตำแหน่งที่บุคคลนั้น ดำรงอยู่กับลูกค้า • บทบาทของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 921.7 A2 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าว คือ การถอนบุคคลนั้นออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น 921.7 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่นั้น คือ การจัดโครงสร้าง ความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น ไม่ข้องเกี่ยวกับการจัดการเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลที่สมาชิก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้วย


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 304 ส่วนที่ 4ข ความสัมพันธ์ของหุ้นส่วนและพนักงานของ สำนักงาน 921.8 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ อาจเกิดขึ้นโดยความสัมพันธ์ส่วนตนและความสัมพันธ์ฉันท์ครอบครัว ระหว่าง (ก) หุ้นส่วน หรือพนักงานของสำนักงาน ซึ่งไม่ใช่สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น กับ (ข) บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ ในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น (1) กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหาร (2) พนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น พนักงานใน ตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ ให้ความเชื่อมั่น 921.8 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคเหล่านั้น รวมถึง • ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่าง หุ้นส่วนหรือพนักงานของสำนักงาน (ฝ่ายหนึ่ง) กับ กรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร หรือพนักงานของลูกค้า (อีกฝ่ายหนึ่ง) • ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ของหุ้นส่วนหรือพนักงานของสำนักงานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น • ตำแหน่งที่หุ้นส่วนหรือพนักงานของสำนักงานนั้น ดำรงอยู่ในสำนักงาน • ตำแหน่งที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ในลูกค้า 921.8 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ดังกล่าวนั้น รวมถึง • การจัดโครงสร้างความรับผิดชอบของหุ้นส่วนหรือพนักงาน เพื่อลดอิทธิพลใด ๆ ที่อาจมี ต่องานที่ให้ความเชื่อมั่น • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม สอบทานงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องที่ได้กระทำแล้ว


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 305 ส่วนที่ 4ข หมวด 922 การให้บริการเมื่อไม่นานมานี้ กับลูกค้างานสอบบัญชี คำนำ 922.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 922.2 ถ้าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นได้เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ บริหาร หรือพนักงานของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น เมื่อไม่นานมานี้ อุปสรรคจากประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง หรืออุปสรรคจากความคุ้นเคย อาจเกิดขึ้น ได้ หมวดนี้กำหนดข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้กรอบ แนวคิดในเหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ บริการในช่วงเวลาของรายงานการให้ความเชื่อมั่น R922.3 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นต้องไม่รวมถึงบุคคล ผู้ซึ่งในช่วงเวลาของรายงานการให้ ความเชื่อมั่นนั้น (ก) เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ข) เคยเป็นพนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่นเคยเป็นพนักงานใน ตำแหน่งซึ่งมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ ความเชื่อมั่น บริการก่อนช่วงเวลาของรายงานการให้ความเชื่อมั่น 922.4 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง หรือ อุปสรรคจาก ความคุ้นเคย อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าก่อนช่วงเวลาของรายงานการให้ความเชื่อมั่น สมาชิกกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น (ก) เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ข) เคยเป็นพนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น เคยเป็นพนักงานใน ตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ ความเชื่อมั่นนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 306 ส่วนที่ 4ข ตัวอย่างเช่น อุปสรรคจะเกิดขึ้น ถ้าได้ตัดสินใจหรือได้ปฏิบัติงานแล้วโดยบุคคลนั้นใน ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ในขณะที่ยังเป็นพนักงานของลูกค้า จะต้องได้รับการประเมินใหม่ใน งวดปัจจุบัน อันเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ให้ความเชื่อมั่นงวดปัจจุบัน 922.4 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าวนั้น รวมถึง • ตำแหน่งที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ในลูกค้า • ระยะเวลาตั้งแต่บุคคลนั้นยุติการเป็นพนักงานของลูกค้า • บทบาทของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 922.4 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการกับอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง หรือ อุปสรรคจากความคุ้นเคยนั้น คือ การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม สอบทานงานของสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 307 ส่วนที่ 4ข หมวด 923 การเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่น คำนำ 923.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 923.2 การดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ทำให้ เกิดอุปสรรคจากประโยชน์ส่วนตน และอุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง หมวดนี้ กำหนดข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้กรอบแนวคิดใน เหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าวนั้น ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ การเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร R923.3 หุ้นส่วน หรือพนักงานของสำนักงาน ต้องไม่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร ของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ของสำนักงาน การเป็นเลขานุการบริษัท R923.4 หุ้นส่วนหรือพนักงานของสำนักงาน ต้องไม่ดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัทของลูกค้างาน ที่ให้ความเชื่อมั่นของสำนักงาน ยกเว้น (ก) วิธีปฏิบัตินี้สามารถกระทำได้ตามกฎหมายท้องถิ่น ข้อบังคับหรือวิธีปฏิบัติทางวิชาชีพ (ข) ผู้บริหารเป็นผู้กระทำการตัดสินใจทั้งมวล และ (ค) หน้าที่และกิจกรรมที่ปฏิบัติ ถูกจำกัดอยู่เพียงงานที่มีลักษณะเป็นงานประจำและ งานด้านบริหาร เช่น การจัดทำรายงานการประชุม และการเก็บรักษาแบบแสดงรายการ ต่าง ๆ ที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย 923.4 A1 ตำแหน่ง “เลขานุการบริษัท” นั้น สื่อความหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ หน้าที่อาจ มีตั้งแต่ หน้าที่ในการบริหาร (เช่น การบริหารงานบุคคล และการเก็บรักษาบันทึกและ ทะเบียนต่างๆ ของบริษัท) จนถึงหน้าที่ที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ปฏิบัติ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 308 ส่วนที่ 4ข ตามข้อกำหนดต่าง ๆ หรือการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการกำกับดูแลกิจการต่างๆ โดยปกติ แล้ว ตำแหน่งนี้ได้รับการอนุมานว่ามีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับกิจการ ดังนั้น อุปสรรค อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหุ้นส่วนหรือพนักงานของสำนักงาน ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการบริษัทของ ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นกับ ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ได้ระบุไว้ในหมวด 950 การให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น กับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น)


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 309 ส่วนที่ 4ข หมวด 924 การจ้างงานโดยลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น คำนำ 924.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 924.2 ความสัมพันธ์จากการจ้างงานโดยลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น อาจทำให้เกิดอุปสรรคจาก ประโยชน์ส่วนตน อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ หมวดนี้กำหนด ข้อกำหนดเฉพาะและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กรอบแนวคิดใน เหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าวนั้น ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 924.3 A1 อุปสรรคจากความคุ้นเคยหรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าบุคคลใดดังต่อไปนี้ เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือหุ้นส่วนของสำนักงาน • เป็นกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น • เป็นพนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น พนักงานใน ตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ ความเชื่อมั่น ข้อจำกัดของผู้เคยเป็นหุ้นส่วนหรือเคยเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น R924.4 ถ้าผู้เคยเป็นหุ้นส่วนมาร่วมงานกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นของสำนักงาน หรือถ้าผู้เคยเป็น สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นมาร่วมงานกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นในฐานะ (ก) เป็นกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ (ข) เป็นพนักงานในตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น เป็นพนักงานใน ตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ ความเชื่อมั่นบุคคลนั้นต้องไม่เข้าร่วมอีกต่อไป ในกิจกรรมทางธุรกิจหรือกิจกรรมทาง วิชาชีพของสำนักงาน


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 310 ส่วนที่ 4ข 924.4 A1 แม้ว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้า R924.4 มาร่วมงานกับลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่น ในตำแหน่งดังกล่าวและไม่ได้มีส่วนร่วมอีกต่อไปในธุรกิจของสำนักงานหรือกิจกรรม ทางวิชาชีพของสำนักงาน อุปสรรคจากความคุ้นเคย อุปสรรคจาการถูกข่มขู่ อาจยังคงเกิดขึ้น 924.4 A2 อุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ อาจยังคงเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้เคยเป็น หุ้นส่วนของสำนักงาน เข้าร่วมงานในกิจการในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่กล่าวไว้ในย่อหน้า 924.3 A1 และกิจการนั้น ต่อมากลายเป็นลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นของสำนักงาน 924.4 A3 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • ตำแหน่งที่บุคคลนั้นได้รับจากลูกค้า • ความเกี่ยวข้องใด ๆ ที่บุคคลนั้นจะมีกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น • ระยะเวลาตั้งแต่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นหรือ หุ้นส่วนของสำนักงาน • ตำแหน่งเดิมของบุคคลนั้นในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือสำนักงาน ตัวอย่าง คือบุคคลนั้น ยังคงรับผิดชอบในการติดต่อเป็นประจำกับผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่กำกับ ดูแลของลูกค้า หรือไม่ 924.4 A4 ตัวอย่างต่างๆ ของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการอุปสรรคจาก ความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากการถูกข่มขู่ เหล่านั้น รวมถึง • การทำข้อตกลงว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีสิทธิในผลประโยชน์หรือการจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ จากสำนักงาน ยกเว้นทำตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ตายตัวก่อนหน้านี้แล้ว • การทำข้อตกลงเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ติดค้างกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่เป็นสาระสำคัญ ต่อสำนักงาน • การเปลี่ยนแปลงแผนงานที่ให้ความเชื่อมั่น • การมอบหมายให้บุคคลอื่น ๆ ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นผู้มี ประสบการณ์เพียงพอ เมื่อเทียบกับบุคคลที่ได้มาร่วมงานกับลูกค้า • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม สอบทานงานของผู้เคยเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ ให้ความเชื่อมั่น สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่ได้รับการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการจ้างงานกับลูกค้า R924.5 สำนักงาน ต้องมีนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนดให้ สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น ต้องแจ้งสำนักงาน เมื่อมีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการจ้างงานกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 311 ส่วนที่ 4ข 924.5 A1 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน เกิดขึ้นได้เมื่อสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น มีส่วนร่วมในงานที่ให้ความเชื่อมั่น ในขณะที่ทราบอยู่แล้วว่าสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่นนั้น จะหรืออาจจะมาร่วมงานกับลูกค้าในอนาคตได้ 924.5 A2 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนดังกล่าว คือการถอน บุคคลนั้นจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 924.5 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตนดังกล่าว คือจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม สอบทานดุลยพินิจใด ๆ ที่มีนัยสำคัญของ บุคคลนั้น ขณะอยู่ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 312 ส่วนที่ 4ข หมวด 940 ความสัมพันธ์อันยาวนานของบุคลากรกับลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่น คำนำ 940.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 940.2 เมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในงานที่ให้ความเชื่อมั่นมีลักษณะเป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำใหม่ได้เป็น ระยะเวลายาวนาน อาจเกิดอุปสรรคจากความคุ้นเคย และอุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน หมวดนี้กำหนดข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้กรอบแนวคิดใน เหตุการณ์แวดล้อมดังกล่าว ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป 940.3 A1 อุปสรรคจากความคุ้นเคยอาจเกิดจากผลที่บุคคลมีความสัมพันธ์อันยาวนาน กับ (ก) ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น (ข) เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ค) เรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรืองานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น 940.3 A2 อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน อาจเกิดจากผลของความกังวลของบุคคลเกี่ยวกับการ สูญเสียลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ยาวนาน หรือการสูญเสียผลประโยชน์ในการรักษาไว้ซึ่ง ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิด กับสมาชิกของเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส หรือผู้มีหน้าที่กำกับดูแล อุปสรรคดังกล่าวอาจมีอิทธิพลต่อดุลยพินิจที่ไม่เหมาะสมของบุคคลนั้น 940.3 A3 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการประเมินระดับของอุปสรรคจากความคุ้นเคย หรืออุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตน รวมถึง • ลักษณะของงานที่ให้ความเชื่อมั่น • บุคคลนั้นเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นมานานเท่าใด ความมีอาวุโสของ บุคคลนั้นในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และลักษณะของบทบาทการปฏิบัติงาน รวมถึงกรณีถ้า ความสัมพันธ์นั้นคงอยู่ขณะที่บุคคลนั้นยังอยู่กับสำนักงานก่อนหน้า • ขอบเขตงานที่บุคคลนั้น ได้รับการสั่งการ รับการสอบทานงาน และรับการกำกับงาน จากบุคคลผู้มีตำแหน่งงานสูงกว่า


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 313 ส่วนที่ 4ข • ขอบเขตที่บุคคลนั้น เนื่องจากความมีอาวุโส สามารถจะมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของงานที่ ให้ความเชื่อมั่น ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจที่สำคัญ หรือการสั่งงานสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงาน • ความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ส่วนตัวของบุคคลนั้น กับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ กับเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ถ้ามีผลเกี่ยวข้อง • ลักษณะ ความถี่ และขอบเขตของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น กับลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่น • ลักษณะหรือความซับซ้อนของเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือข้อมูลที่ต้องการ ให้ความเชื่อมั่น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ • เมื่อไม่นานมานี้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ ที่บุคคลหรือบุคคลใด ๆ ในลูกค้างานที่ ให้ความเชื่อมั่น ผู้ซึ่งรับผิดชอบ เรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือในกรณีงานที่ให้ ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือกับ เจ้าหน้าที่บริหารระดับอาวุโส ถ้ามีผลเกี่ยวข้อง 940.3 A4 การรวมกันของปัจจัยสองอย่างหรือมากกว่า อาจเพิ่มหรือลดระดับของอุปสรรค ตัวอย่างเช่น อุปสรรคจากความคุ้นเคยที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลา จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่เพิ่มขึ้นระหว่าง สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น กับ บุคคลในลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นผู้อยู่ใน ตำแหน่งซึ่งใช้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น หรือกรณีในงานที่ ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น จะลดลงโดยการที่บุคคลผู้นั้นออกจากการเป็น พนักงานของลูกค้า 940.3 A5 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจขจัดอุปสรรคจากความคุ้นเคย และอุปสรรคจากผลประโยชน์ ส่วนตนที่เกี่ยวข้องกับงานใดงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ คือการหมุนเวียนบุคคลนั้นออกจากกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น 940.3 A6 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกัน เพื่อจัดการอุปสรรคจากความคุ้นเคย หรือ อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตนดังกล่าว รวมถึง • การเปลี่ยนบทบาทของบุคคลในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ และขอบเขตของงานที่บุคคลนั้นปฏิบัติ • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น สอบทานงานของบุคคลนั้น • การดำเนินการสอบทานคุณภาพงานสม่ำเสมอ จากภายในหรือจากภายนอก อย่างเป็น อิสระ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 314 ส่วนที่ 4ข R940.4 ถ้าสำนักงานตัดสินใจว่าระดับของอุปสรรคที่เกิดสามารถจัดการโดยการหมุนเวียนบุคคลนั้น ออกจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น สำนักงานต้องกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งบุคคลนั้นต้องไม่ (ก) เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น (ข) ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพงานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือ (ค) ใช้อิทธิพลโดยตรงต่อผลลัพธ์งานที่ให้ความเชื่อมั่น ระยะเวลาดังกล่าวต้องยาวพอ ที่จะทำให้มีการจัดการอุปสรรคจากความคุ้นเคย และอุปสรรค จากผลประโยชน์ส่วนตนในกรณีของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 315 ส่วนที่ 4ข หมวด 950 การให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นกับลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่นนอกเหนือจากลูกค้างานสอบบัญชีและงานสอบทาน คำนำ 950.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 950.2 สำนักงานอาจให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นหลากหลายประเภทแก่ลูกค้างานที่ให้ความ เชื่อมั่น ที่สอดคล้องกับทักษะและความชำนาญ การให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นอาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน และ อุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 950.3 หมวดนี้กำหนดข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการใช้กรอบแนวคิด เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ เมื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความ เชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น 950.4 วิธีปฏิบัติทางธุรกิจใหม่ ๆ วิวัฒนาการของตลาดเงิน และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นการพัฒนาบางอย่างซึ่งทำให้ไม่สามารถกำหนดรายการที่ครอบคลุมทุก การบริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งสำนักงานอาจให้บริการแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น กรอบแนวคิดและข้อกำหนดทั่วไปในหมวดนี้ นำมาใช้เมื่อสำนักงานเสนอให้บริการงานที่ไม่ให้ ความเชื่อมั่นกับลูกค้า เมื่อไม่มีข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป ความเสี่ยงของการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเยี่ยงผู้บริหาร เมื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น 950.5 A1 เมื่อสำนักงานให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น มีความเสี่ยงที่ สำนักงานจะปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเยี่ยงผู้บริหารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ต้องการให้ ความเชื่อมั่น และ ในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น ข้อมูลที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่นในงานที่ให้ความเชื่อมั่น เว้นแต่สำนักงานพอใจว่า ข้อกำหนดในย่อหน้า R900.13 และ R900.14 ได้นำไปปฏิบัติแล้ว


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 316 ส่วนที่ 4ข การตอบรับงานเพื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น R950.6 ก่อนที่สำนักงานตอบรับงานเพื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ ความเชื่อมั่น สำนักงานต้องนำกรอบแนวคิดมาใช้ เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคใด ๆ ต่อความเป็นอิสระที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการนั้น การระบุและการประเมินอุปสรรค 950.7 A1 คำอธิบายของประเภทของอุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสำนักงานให้บริการงานที่ไม่ให้ ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นได้กำหนดไว้ในย่อหน้า 120.6 A3 950.7 A2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการระบุ และ การประเมินอุปสรรคที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากการ ให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง • ลักษณะ ขอบเขต ความตั้งใจใช้ และวัตถุประสงค์ของบริการ • วิธีการให้บริการ เช่น บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และที่อยู่ของบุคลากรนั้น • สภาพแวดล้อมทางกฎหมายและข้อบังคับของบริการที่ให้ • ลูกค้าเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะหรือไม่ • ระดับของความชำนาญของฝ่ายบริหารและพนักงานของลูกค้า ที่เกี่ยวกับประเภทของ บริการที่ให้ • ผลลัพธ์ของบริการจะกระทบต่อเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ในงานที่ให้ความ เชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น เรื่องที่สะท้อนข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นในงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น หรือไม่ และถ้ามี o ขอบเขตที่ผลลัพธ์ของบริการจะมีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่อเรื่องราว ที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น และในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของ บุคคลอื่น ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นในงานที่ให้ความเชื่อมั่น o ขอบเขตที่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นพิจารณาเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ดุลยพินิจ (อ้างถึงย่อหน้า R900.13 ถึง R900.14 ) • ระดับของความเชื่อมั่นที่ให้กับผลลัพธ์ของบริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ให้ ความเชื่อมั่น • ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 317 ส่วนที่ 4ข ความมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น 950.8 A1 ความมีสาระสำคัญเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการให้บริการ งานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น แนวคิดเรื่องความมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่ได้ระบุไว้ใน TSAE 3000 (ปรับปรุง) งานที่ให้ความเชื่อมั่นนอกเหนือจากการตรวจสอบหรือสอบทานข้อมูลทางการเงิน ในอดีต การตัดสินใจถึงความมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจทางวิชาชีพและการได้รับ ผลกระทบทั้งปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ อีกทั้งยังรวมถึงผลกระทบจากมุมมองของ ความต้องการข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลอื่นของผู้ใช้ การให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นหลายประเภทแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นรายเดียวกัน 950.9 A1 สำนักงานอาจให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น หลายประเภทแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น รายเดียว ในเหตุการณ์แวดล้อมเหล่านี้ ผลกระทบรวมของอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ เหล่านั้นสัมพันธ์กับการประเมินอุปสรรคของสำนักงาน อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง 950.10 A1 อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเองอาจเกิดขึ้นถ้า ในงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรอง ของบุคคลอื่น สำนักงานจะเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดเตรียมข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ที่ในภายหลังกลายเป็นข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ความเชื่อมั่น ตัวอย่างของ บริการที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นซึ่งอาจทำให้เกิดอุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเองดังกล่าว เมื่อให้บริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของงานที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง (ก) การพัฒนาและการจัดเตรียมประมาณการข้อมูลในอนาคต และต่อมาภายหลังออก รายงานการให้ความเชื่อมั่น ให้กับข้อมูลนี้ (ข) การประเมินมูลค่าที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นของ งานที่ให้ความเชื่อมั่น ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นซึ่งเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ 950.11 A1 ความคาดหวังเกี่ยวกับความเป็นอิสระของสำนักงานจะสูงขึ้น เมื่อสำนักงานให้บริการงานที่ให้ ความเชื่อมั่นแก่กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และผลของงานนั้นจะ (ก) เปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึง ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น หรือ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 318 ส่วนที่ 4ข (ข) ให้แก่กิจการหรือองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อกำกับการดำเนินงานของ ภาคธุรกิจ หรือกิจกรรมทางธุรกิจ การพิจารณาความคาดหวังเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้การทดสอบประหนึ่งบุคคลที่สาม ซึ่งมีความรอบรู้และได้ใช้วิจารณญาณเยี่ยงวิญญูชน เมื่อตัดสินว่าจะให้บริการงานที่ไม่ให้ ความเชื่อมั่นกับลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น หรือไม่ 950.11 A2 ถ้าอุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเองที่มีอยู่ เกี่ยวข้องกับงานที่ทำในเหตุการณ์แวดล้อม ที่อธิบายในย่อหน้า 950.11 A1 (ข) สำนักงานได้รับการสนับสนุนให้เปิดเผยการมีอยู่ของ อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเองนั้น และขั้นตอนการจัดการอุปสรรค ให้กับบุคคล ผู้ว่าจ้างสำนักงานหรือผู้มีหน้าที่กำกับดูแลของลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น และกิจการหรือ องค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อกำกับการดำเนินงานของภาคธุรกิจ หรือ กิจกรรมทางธุรกิจ ที่จะต้องให้ผลของงานที่ให้บริการนั้น การจัดการอุปสรรค 950.12 A1 ย่อหน้า 120.10 ถึง 120.10 A2 รวมข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ รวมถึงคำอธิบายมาตรการป้องกัน 950.12 A2 อุปสรรคต่อความเป็นอิสระเกิดขึ้นเมื่อให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นประเภทเดียว หรือ บริการหลายประเภท แก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและ เหตุการณ์แวดล้อมของงานที่ให้ความเชื่อมั่น และลักษณะของบริการ อุปสรรคดังกล่าวอาจ ได้รับการจัดการโดยการใช้มาตรการป้องกัน หรือการปรับขอบเขตของบริการที่เสนอให้ 950.12 A3 ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเป็นมาตรการป้องกันเพื่อจัดการอุปสรรคดังกล่าว รวมถึง • การใช้ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นเป็น ผู้ให้บริการ • การจัดให้มีผู้สอบทานที่เหมาะสมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เป็นผู้สอบทานงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น หรือบริการที่ให้


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 319 ส่วนที่ 4ข 950.12 A4 มาตรการป้องกันอาจไม่เพียงพอที่จะลดอุปสรรคที่เกิดจากการให้บริการงานที่ไม่ให้ความ เชื่อมั่นแก่ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในสถานการณ์ดังกล่าว การใช้ กรอบแนวคิดกำหนดให้สำนักงาน ปฏิบัติดังนี้ (ก) ปรับปรุงขอบเขตของบริการที่เสนอ เพื่อขจัดเหตุการณ์แวดล้อมที่ทำให้เกิดอุปสรรค (ข) ปฏิเสธหรือยุติบริการที่ทำให้เกิดอุปสรรคที่ไม่สามารถขจัดหรือลด ให้อยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ หรือ (ค) ยุติงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 320 ส่วนที่ 4ข หมวด 990 รายงานซึ่งรวมถึงข้อจำกัดการใช้และการเผยแพร่ (งานที่ให้ความ เชื่อมั่น นอกเหนือจากงานสอบบัญชีและงานสอบทาน) คำนำ 990.1 สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ต้องมีความเป็นอิสระ และต้องใช้กรอบแนวคิดที่ กำหนดไว้ในหมวด 120 เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ 990.2 หมวดนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงบางส่วนต่อส่วนที่ 4ข ซึ่งได้รับอนุญาตในบางเหตุการณ์ แวดล้อมที่เกี่ยวกับงานที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งรายงานรวมถึงข้อจำกัดการใช้และการเผยแพร่ ใน หมวดนี้งานที่ให้ความเชื่อมั่นเพื่อออกรายงานซึ่งมีข้อจำกัดการใช้และการเผยแพร่ ในเหตุการณ์แวดล้อมที่กำหนดไว้ในย่อหน้า R990.3 เรียกว่า “งานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มี คุณสมบัติตามที่กำหนด (eligible assurance engagement)” งานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด หมายถึง มีวัตถุประสงค์เฉพาะ และรวมถึง ข้อจำกัดการใช้และการเผยแพร่ ข้อกำหนดและคำอธิบายการนำไปปฏิบัติ ทั่วไป R990.3 เมื่อสำนักงานประสงค์จะออกรายงานที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดในการใช้และ การเผยแพร่ ข้อกำหนดเรื่องความเป็นอิสระที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 4ข จะถือเป็นการ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติที่เหมาะสมต้องได้รับการอนุญาตตามหมวดนี้ได้ ก็ต่อเมื่อ (ก) สำนักงานสื่อสารให้ผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด เรื่องความเป็นอิสระที่จะนำมาใช้ในการให้บริการ และ (ข) ผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น และ ข้อจำกัดของรายงาน และยินยอมอย่างชัดแจ้งต่อการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด (เรื่อง ความเป็นอิสระ) 990.3 A1 ผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานต้องมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่ต้องการให้ ความเชื่อมั่น และข้อจำกัดของรายงานด้วยการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยผ่านตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานในการกำหนด ลักษณะและขอบเขตของงานนั้น ในการเข้ามามีส่วนร่วมนี้ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อม มีส่วนช่วยสำนักงานในการสื่อสารกับผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานเกี่ยวกับเรื่องความเป็น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 321 ส่วนที่ 4ข อิสระรวมถึงเหตุการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวกับการนำกรอบแนวคิดมาใช้ ทั้งยังอนุญาตให้ สำนักงานได้รับข้อตกลงของผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเรื่อง ความเป็นอิสระ R990.4 เมื่อผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงานเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่สามารถระบุชื่อได้ในขณะทำหนังสือตอบ รับงาน สำนักงานต้องทำให้กลุ่มผู้ใช้รายงานดังกล่าวรับรู้ในภายหลังถึงข้อกำหนดเรื่อง ความเป็นอิสระที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงซึ่งตกลงกันโดยตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้ 990.4 A1 ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ที่ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงาน เป็นกลุ่มของผู้ใช้ เช่น ผู้ให้กู้ยืมตามสัญญา กู้ร่วม สำนักงานอาจอธิบายถึงข้อกำหนดเรื่องความเป็นอิสระที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใน หนังสือตอบรับงานแก่ตัวแทนผู้ให้กู้ ตัวแทนอาจให้หนังสือตอบรับงานของสำนักงานแก่ สมาชิกในกลุ่มผู้ให้กู้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานในการทำให้ผู้ใช้รายงานรับรู้ ถึงข้อกำหนดเรื่องความเป็นอิสระที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงซึ่งตกลงกันโดยตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้ R990.5 เมื่อสำนักงานดำเนินการงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด การเปลี่ยนแปลง ใด ๆ ในส่วนที่ 4ข ต้องถูกจำกัดเฉพาะส่วนที่กำหนดไว้ในย่อหน้า R990.7 ถึง R990.8 R990.6 ถ้าสำนักงานออกรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นด้วย โดยไม่รวมข้อจำกัดในการใช้และการเผยแพร่ ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกัน สำนักงานต้องนำส่วนที่ 4ข มาใช้ในงานที่ให้ความเชื่อมั่นดังกล่าว ผลประโยชน์ทางการเงิน การกู้ยืมและการค้ำประกัน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด ความสัมพันธ์ ฉันท์ครอบครัว และความสัมพันธ์ส่วนตัว R990.7 เมื่อสำนักงานปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (ก) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องที่กำหนดไว้ในหมวด 910, 911, 920, 921, 922 และ 924 ให้ นำไปใช้เฉพาะกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด และสมาชิก ครอบครัวที่ใกล้ชิดของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน (ข) สำนักงานต้องระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรคใด ๆ ต่อความเป็นอิสระที่เกิดจาก ผลประโยชน์ และความสัมพันธ์ใด ๆ ที่กำหนดไว้ในหมวด 910, 911, 920, 921, 922 และ 924 ระหว่างลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความ เชื่อมั่น ต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านเทคนิค หรือประเด็นเฉพาะ อุตสาหกรรม รายการ หรือเหตุการณ์ และ (2) บุคคลที่ควบคุมคุณภาพสำหรับงานนั้น รวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่สอบทาน การควบคุมคุณภาพงาน และ


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 322 ส่วนที่ 4ข (ค) สำนักงานต้องประเมินและจัดการอุปสรรคใด ๆ ที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า เกิดจากผลประโยชน์และความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่นกับบุคคลอื่น ภายในสำนักงานผู้สามารถใช้อิทธิพลโดยตรงต่อผลลัพธ์ของงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ กำหนดไว้ในหมวด 910, 911, 920, 921, 922 และ 924 990.7 A1 บุคคลใด ๆ ในสำนักงานผู้สามารถใช้อิทธิพลโดยตรงต่อผลลัพธ์ของงานที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง ผู้ที่ให้คำแนะนำเรื่องค่าตอบแทน หรือผู้ควบคุมดูแลโดยตรง ผู้บริหาร หรือผู้กำกับ ดูแลอื่นของหุ้นส่วนที่รับผิดชอบงานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่น R990.8 เมื่อสำนักงานปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สำนักงานต้องไม่ถือ ผลประโยชน์ทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในลูกค้างานที่ให้ ความเชื่อมั่น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 323 อภิธานศัพท์ อภิธานศัพท์ และรายการของอักษรย่อ ในประมวลจรรยาบรรณระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (รวมมาตรฐานระหว่างประเทศเรื่อง ความเป็นอิสระ) คำเอกพจน์อาจจะถูกตีความเป็นคำพหูพจน์ หรือตีความในทางตรงกันข้าม และคำศัพท์ ด้านล่างมีความหมายตามที่ได้กำหนดต่อไปนี้ ในอภิธานศัพท์นี้ คำอธิบายศัพท์ที่กำหนดไว้แสดงเป็นแบบอักษรปกติ ส่วนตัวอักษรเอนใช้อธิบายคำศัพท์ที่มี ความหมายเฉพาะในส่วนที่กล่าวถึงในประมวลจรรยาบรรณ หรือสำหรับอธิบายเพิ่มเติมของคำศัพท์ที่กำหนด หากมีการอ้างอิงถึงคำศัพท์อื่นที่ได้มีระบุไว้ในประมวลจรรยาบรรณนี้แล้ว ให้เป็นไปตามนั้น การเรียงลำดับคำในอภิธานศัพท์นี้ เรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ ระดับที่ยอมรับได้ Acceptable level ระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีใช้การทดสอบประหนึ่งบุคคลที่สาม ซึ่งมีความรอบรู้และได้ใช้วิจารณญาณเยี่ยงวิญญูชน อาจสรุปว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน การโฆษณา Advertising การสื่อสารข้อมูลให้สาธารณะ เกี่ยวกับบริการ หรือ ทักษะ ที่ให้โดย ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีลักษณะเพื่อจัดหา ธุรกิจทางวิชาชีพ ผู้สอบทานที่เหมาะสม Appropriate reviewer ผู้สอบทานที่เหมาะสม คือผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่จำเป็น และมีอำนาจในการสอบทานงานที่ทำหรือ บริการที่ให้ ที่เกี่ยวข้องอย่างเที่ยงธรรม ผู้สอบทานดังกล่าวอาจเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี คำศัพท์นี้อธิบายไว้ในย่อหน้า 300.8 A4 ลูกค้างานที่ให้ความเชื่อมั่น Assurance client ส่วนที่รับผิดชอบรวมถึงฝ่ายที่รับผิดชอบต่อข้อมูลที่ต้องการให้ความ เชื่อมั่นในกรณีของงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น (ซึ่งอาจเป็นฝ่ายเดียวกันกับฝ่ายที่รับผิดชอบ) งานที่ให้ความเชื่อมั่น Assurance engagement งานซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะมุ่งประสงค์ ได้รับหลักฐานที่เหมาะสมเพียงพอในการให้ข้อสรุปซึ่งกำหนดขึ้น เพื่อเพิ่มระดับของความเชื่อมั่นของผู้ตั้งใจจะให้เป็นผู้ใช้รายงาน มากกว่าฝ่ายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น (ผลลัพธ์ของการประเมินหรือการวัดผลของเรื่องที่เป็นเนื้อหาสาระ เปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์)


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 324 อภิธานศัพท์ (TSAE 3000 - ปรับปรุง) อธิบายองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของ งานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ปฏิบัติตามมาตรฐานฉบับนั้น และแม่บท สำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่นให้คำอธิบายทั่วไปสำหรับงานที่ให้ ความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี(TSAs), มาตรฐานงานสอบทาน (TSREs) มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น (TSAEs) ในส่วนที่4ข คำว่า “งานที่ให้ความเชื่อมั่น” หมายถึง งานที่ให้ความ เชื่อมั่น นอกเหนือจากงานสอบบัญชีหรืองานสอบทาน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ความเชื่อมั่น Assurance team (ก) สมาชิกทั้งหมดของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ความเชื่อมั่นสำหรับ งานที่ให้ความเชื่อมั่น (ข) บุคคลอื่นทั้งหมดในสำนักงานผู้ซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น รวมถึง (1) ผู้ที่ให้คำแนะนำเรื่องค่าตอบแทนหรือผู้ควบคุมดูแล โดยตรง ผู้บริหารหรือผู้กำกับดูแลอื่นของหุ้นส่วนที่ รับผิดชอบงานที่ให้ความเชื่อมั่น ที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานของงานที่ให้ความเชื่อมั่น (2) ผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านเทคนิคหรือ ประเด็นเฉพาะอุตสาหกรรม รายการ หรือเหตุการณ์ สำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่นและ (3) ผู้ที่ควบคุมคุณภาพสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น รวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่สอบทานการควบคุมคุณภาพ งานสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น งานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อคำรับรอง ของบุคคลอื่น Attestation engagement งานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ฝ่ายหนึ่งที่ นอกเหนือจากผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชีที่ให้บริการสาธารณะ วัดหรือประเมินเรื่องราวที่ต้องการให้ ความเชื่อมั่นตามเกณฑ์ ฝ่ายหนึ่งที่นอกเหนือจากผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชี มักจะเสนอผลข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นในรายงาน หรือข้อความ ในบางกรณีข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นอาจเสนอโดย ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในรายงานที่ให้ความเชื่อมั่น ในงานที่ให้


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 325 อภิธานศัพท์ ความเชื่อมั่นต่อคำรับรองของบุคคลอื่น ข้อสรุปของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีแสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ปราศจากข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ ข้อสรุปของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอาจแสดงในรูปแบบของ (1) เรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น และเกณฑ์ที่นำมาใช้ (2) ข้อมูลที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นและเกณฑ์ที่นำมาใช้ หรือ (3) ข้อความที่จัดทำโดยฝ่ายที่เหมาะสม การสอบบัญชี Audit ในส่วนที่ 4ก คำว่า “การสอบบัญชี” ให้นำไปใช้ได้กับคำว่า “การสอบทาน” เสมอกัน ลูกค้างานสอบบัญชี Audit client กิจการที่สำนักงานปฏิบัติงานสอบบัญชีให้ เมื่อลูกค้าเป็นบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ลูกค้างานสอบบัญชีจะรวมถึงกิจการที่ เกี่ยวข้องกันของลูกค้าเสมอ เมื่อลูกค้างานสอบบัญชีไม่เป็นบริษัท จดทะเบียน ลูกค้างานสอบบัญชีรวมถึงกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่ลูกค้า มีอำนาจควบคุมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม (ดูย่อหน้า R400.20 ประกอบด้วย) ในส่วนที่ 4ก คำว่า “ลูกค้างานสอบบัญชี” ให้นำไปใช้ได้กับคำว่า “ลูกค้างานสอบทาน” เสมอกัน งานสอบบัญชี Audit engagement งานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ที่ให้บริการสาธารณะ แสดงความเห็นว่า งบการเงินถูกจัดทำตามที่ ควรในสาระสำคัญหรือไม่ (หรือให้ความเห็นว่าถูกต้องและเป็นธรรม หรือแสดงว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ) ตามกรอบการ รายงานทางเงินที่นำมาใช้เช่น งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบ บัญชี ซึ่งรวมถึง การสอบบัญชีที่ต้องเสนอต่อหน่วยงานตามความ ต้องการของกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่น ในส่วนที่ 4ก คำว่า “งานสอบบัญชี” ให้นำไปใช้ได้กับคำว่า “งานสอบทาน” เสมอกัน รายงานการสอบบัญชี Audit report ในส่วนที่ 4ก คำว่า “รายงานการสอบบัญชี” ให้นำไปใช้ได้กับคำว่า “รายงานการสอบทาน” เสมอกัน


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 326 อภิธานศัพท์ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี Audit team (ก) สมาชิกทั้งหมดของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีสำหรับงานสอบ บัญชี (ข) บุคคลอื่นทั้งหมดในสำนักงานผู้ซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลของ งานสอบบัญชี รวมถึง (1) ผู้ที่ให้คำแนะนำเรื่องค่าตอบแทนหรือผู้ควบคุมดูแล โดยตรง ผู้บริหารหรือผู้กำกับดูแลอื่นของผู้สอบบัญชีที่ รับผิดชอบงานสอบบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของงานสอบบัญชี รวมถึงบุคคลที่อยู่ในระดับอาวุโสกว่า หุ้นส่วนที่รับผิดชอบงานตามลำดับ ไปจนกระทั่งถึงผู้ที่ เป็นหุ้นส่วนอาวุโสหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารหรือเทียบเท่า) ของสำนักงาน (2) ผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นด้านเทคนิคหรือ ประเด็นเฉพาะอุตสาหกรรม รายการ หรือเหตุการณ์ สำหรับงานสอบบัญชีนั้น และ (3) ผู้ที่ควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีนั้น รวมถึงบุคคลที่ทำ หน้าที่สอบทานการควบคุมคุณภาพงานสำหรับงานสอบ บัญชี และ (ค) บุคคลทั้งหมดในสำนักงานเครือข่ายผู้ซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อ ผลงานการสอบบัญชี ในส่วนที่ 4ก คำว่า“กลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี” ให้นำไปใช้ได้กับ คำว่า “กลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบทาน” เสมอกัน ครอบครัวที่ใกล้ชิด Close family บิดา มารดา บุตรธิดา หรือพี่น้อง ผู้ซึ่งไม่ใช่สมาชิกครอบครัวที่ ใกล้ชิดที่สุด กรอบแนวคิด Conceptual framework คำนี้อธิบายไว้ในหมวด 120


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 327 อภิธานศัพท์ ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงาน Contingent fee ค่าธรรมเนียมที่คำนวณตามเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้าโดยสัมพันธ์กับ ผลลัพธ์ของรายการ หรือผลของบริการที่สำนักงานปฏิบัติงานให้ ค่าธรรมเนียมที่กำหนดโดยศาลหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไม่ถือเป็น ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นอยู่กับผลงาน การเว้นระยะในการปฏิบัติงาน Cooling-off period คำนี้อธิบายไว้ในย่อหน้า R540.5 เพื่อใช้สำหรับย่อหน้า R540.11 ถึง R540.19 เกณฑ์ Criteria ในงานที่ให้ความเชื่อมั่น ตัวชี้วัดที่ถูกใช้ในการวัดหรือการ ประเมินผลเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น “เกณฑ์ที่นำมาใช้” เป็นเกณฑ์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะ งานที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติ ด้วยตนเองโดยตรง หรือ งานที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้ ความเชื่อมั่นด้วยตนเองโดยตรง Direct engagement งานที่ให้ความเชื่อมั่นซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการ สาธารณะใช้วัด หรือ ประเมินผล เรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ต่อเกณฑ์ที่นำมาใช้ และผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีแสดงผลของข้อมูล ที่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบมากับ รายงานการให้ความเชื่อมั่นในงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติ ด้วยตนเองโดยตรง ข้อสรุปจะรายงานผลลัพธ์ของการวัดหรือการ ประเมินผลของเรื่องราวที่ต้องการให้ความเชื่อมั่นต่อเกณฑ์ที่ นำมาใช้ ผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรง ผลประโยชน์ทางการเงินที่ Direct financial interest (ก) บุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของโดยตรง และเป็นผู้ควบคุม (รวมถึง ผลประโยชน์ทางการเงินจากการจัดการตาม ความเห็นของบุคคลอื่น) หรือ (ข) บุคคลหรือกิจการได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากการเป็น เจ้าของผ่านเครื่องมือการจัดการกองทุน มรดก ทรัสต์ หรือ ตัวกลางอื่น ซึ่งบุคคลหรือกิจการดังกล่าวควบคุม หรือมี ความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 328 อภิธานศัพท์ กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ Director or officer ผู้มีหน้าที่กำกับดูแล (TCWG) ของกิจการ หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เทียบเคียงกัน โดยไม่คำนึงถึงชื่อตำแหน่ง ซึ่งอาจแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ งานสอบบัญชีที่มีคุณสมบัติ ตามที่กำหนด Eligible audit engagement คำนี้อธิบายไว้ในย่อหน้า 800.2 เพื่อใช้สำหรับหมวด 800 งานที่ให้ความเชื่อมั่นที่มีคุณสมบัติ ตามที่กำหนด Eligible assurance engagement คำนี้อธิบายไว้ในย่อหน้า 990.2 เพื่อใช้สำหรับหมวด 990 ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน Engagement partner หุ้นส่วนหรือบุคคลอื่นในสำนักงาน ผู้ซึ่งรับผิดชอบงานและ การปฏิบัติงาน และรายงานที่ออกในนามสำนักงาน และเป็นผู้ซึ่งมี อำนาจเหมาะสม หากมีการกำหนดโดยองค์กรวิชาชีพ องค์กร ทางกฎหมาย หรือองค์กรกำกับดูแล ช่วงเวลาการปฏิบัติงาน หรือ ช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงาน Engagement period ช่วงเวลาการปฏิบัติงาน (งานสอบ บัญชีและงานสอบทาน) Engagement period (Audit and Review Engagements) ช่วงเวลาการปฏิบัติงานเริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีเริ่มทำ การตรวจสอบ ช่วงเวลาการปฏิบัติงานสิ้นสุดเมื่อได้ออกรายงานการ สอบบัญชีแล้ว เมื่องานมีลักษณะเป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำใหม่ได้ จะถือ ว่าสิ้นสุดเมื่อมีการแจ้งจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่สัญญาถึงการสิ้นสุด ความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ หรือเมื่อมีการออกรายงานการสอบบัญชี ฉบับสุดท้าย แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นภายหลัง ช่วงเวลาการปฏิบัติงาน (งานที่ให้ ความเชื่อมั่นนอกเหนือจากงานสอบ บัญชีและงานสอบทาน) Engagement period ช่วงเวลาการปฏิบัติงานเริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่น เริ่มให้บริการงานที่ให้ความเชื่อมั่นงานใดงานหนึ่ง ช่วงเวลาการ ปฏิบัติงานสิ้นสุดเมื่อได้ออกรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้นแล้ว เมื่อ งานมีลักษณะเป็นงานที่เกิดขึ้นซ้ำใหม่ได้ จะถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการ แจ้งจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่สัญญาถึงการสิ้นสุดความสัมพันธ์ ทางวิชาชีพ หรือเมื่อมีการออกรายงานการให้ความเชื่อมั่นฉบับ สุดท้าย แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นภายหลัง


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 329 อภิธานศัพท์ (Assurance Engagements Other than Audit and Review Engagements) การสอบทานคุณภาพงาน Engagement quality review การประเมินความเที่ยงธรรมของการใช้ดุลยพินิจที่สำคัญและ ข้อสรุปที่ได้ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ทำโดยผู้สอบทานคุณภาพงาน ภายในหรือก่อนวันที่ในรายงานการปฏิบัติงาน ผู้สอบทานคุณภาพงาน Engagement quality reviewer หุ้นส่วน บุคคลอื่นในสำนักงานหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการ แต่งตั้งโดยสำนักงานให้ทำการสอบทานคุณภาพงาน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน Engagement team หุ้นส่วนและพนักงานทั้งหมดที่ปฏิบัติงาน และบุคคลใด ๆ ที่จ้างโดย สำนักงานหรือสำนักงานเครือข่ายซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานที่ ให้ความเชื่อมั่นในงานนั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่จ้าง โดยสำนักงานหรือสำนักงานเครือข่าย คำว่า “กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน” ต้องไม่รวมบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรวจสอบ ภายในของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือโดยตรงกับงานสอบ บัญชี เมื่อผู้สอบบัญชีภายนอกปฏิบัติตามข้อกำหนดของ TSA610 (ปรับปรุง), การใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีคนปัจจุบัน Existing accountant ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะที่ปัจจุบันได้รับการ แต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชี หรือ กำลังให้บริการทำบัญชี ภาษีอากร ที่ปรึกษา หรือบริการทางวิชาชีพที่คล้ายคลึงกันให้ลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญภายนอก External expert บุคคล (ผู้ซึ่งไม่ใช่หุ้นส่วน หรือสมาชิกกลุ่มพนักงานทางวิชาชีพ รวมถึงพนักงานชั่วคราว ของสำนักงานหรือสำนักงานเครือข่าย) หรือ องค์กรที่มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในสาขาอื่น นอกเหนือจากการบัญชีหรือการสอบบัญชี ซึ่งงานของเขาในสาขา ดังกล่าวช่วยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้ได้รับหลักฐานที่เหมาะสม เพียงพอ ผลประโยชน์ทางการเงิน Financial interest ผลประโยชน์ในหุ้นทุน หรือหลักทรัพย์อื่น หุ้นกู้ เงินกู้ หรือ ตราสารหนี้อื่นของกิจการ รวมถึง สิทธิและภาระผูกพันที่จะได้รับ ผลประโยชน์ดังกล่าวและอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผลประโยชน์นั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 330 อภิธานศัพท์ งบการเงิน Financial statements โครงสร้างการนำเสนอข้อมูลทางการเงินในอดีต รวมถึงหมายเหตุ ประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง ที่เจตนาจะสื่อสาร ถึงทรัพยากรทาง เศรษฐกิจ หรือภาระผูกพันของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ การเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกรอบการ รายงานทางการเงิน หมายเหตุที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไปประกอบด้วย สรุปนโยบายบัญชีที่สำคัญ และข้อมูลอธิบายอื่น นิยามนี้ สามารถ ใช้กับงบการเงินฉบับสมบูรณ์ แต่ยังคงใช้ได้กับงบการเงินงบใด งบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น งบดุล หรือ งบแสดงรายได้และค่าใช้จ่าย และ หมายเหตุอธิบายที่เกี่ยวข้อง คำนิยามนี้ไม่อ้างอิงถึง องค์ประกอบใด บัญชีใด หรือรายการใด ในรายงานทางการเงิน โดยเฉพาะ งบการเงินที่สำนักงานจะแสดง ความเห็น Financial statements on which the firm will express an opinion ในกรณีของกิจการเดียว หมายถึงงบการเงินของกิจการนั้น ในกรณีของงบการเงินรวม จะหมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการ รวมกัน สำนักงาน Firm (ก) ผู้ที่ปฏิบัติงานคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ข) กิจการที่ควบคุมกลุ่มบุคคลใน (ก) ข้างต้น ผ่านการเป็น เจ้าของ การจัดการ หรือโดยวิธีการอื่น และ (ค) กิจการที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มบุคคลใน (ก) และ (ข) ข้างต้น ผ่านการเป็นเจ้าของ การจัดการ หรือโดยวิธีการอื่น ย่อหน้า 400.4 และ 900.3 อธิบายคำว่า “สำนักงาน” เพื่อแสดงถึง ความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและสำนักงาน ว่าปฏิบัติตามส่วนที่ 4ก และ 4ข ตามลำดับ อย่างไร


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 331 อภิธานศัพท์ หลักการพื้นฐาน Fundamental principles คำศัพท์นี้อธิบายไว้ในย่อหน้า 110.1A1 หลักการพื้นฐานแต่ละข้อได้อธิบายไว้ตามลำดับในย่อหน้าต่อไปนี้ R111.1 ความซื่อสัตย์สุจริต R112.1 ความเที่ยงธรรม R113.1 ความรู้ความสามารถ และความเอาใจใส่ R114.1 การรักษาความลับ R115.1 พฤติกรรมทางวิชาชีพ ข้อมูลทางการเงินในอดีต Historical financial information ข้อมูลที่ถูกแสดงเป็นจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับเป็นเบื้องต้นจากระบบบัญชีของกิจการนั้น เกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือเกี่ยวกับ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ หรือ เหตุการณ์แวดล้อม ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในอดีต ครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุด Immediate family คู่สมรส (หรือเทียบเท่า) หรือผู้ที่อยู่ในอุปการะ ความเป็นอิสระ ความเป็นอิสระ ประกอบด้วย Independence (ก) ความเป็นอิสระด้านจิตใจ สภาวะจิตใจที่ยอมให้มีการแสดงออกซึ่งข้อสรุป โดยไม่ถูกกระทบ จากอิทธิพลใด ๆ ที่จะให้รอมชอมการใช้ดุลยพินิจทางวิชาชีพ ซึ่งจะ ทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ ใช้ความเที่ยงธรรม และใช้การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบ วิชาชีพได้ (ข) ความเป็นอิสระอันเป็นที่ประจักษ์ การหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงและเหตุการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญ มากจนทำให้บุคคลที่สามซึ่งมีความรอบรู้และได้ใช้วิจารณญาณ เยี่ยงวิญญูชน อาจสรุปว่าความซื่อสัตย์สุจริต ความเที่ยงธรรม และ การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของสำนักงาน หรือ สมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ให้ ความเชื่อมั่นนั้น ได้ถูกรอมชอม


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 332 อภิธานศัพท์ ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้า 400.5 และ 900.4 อ้างถึงบุคคลหรือ สำนักงานที่มี "ความเป็นอิสระ" หมายความว่าบุคคลหรือ สำนักงาน ได้ปฏิบัติตามส่วนที่ 4ก และ 4ข ตามความเหมาะสม ผลประโยชน์ทางการเงินโดยอ้อม Indirect financial interest ผลประโยชน์ทางการเงินซึ่งบุคคลหรือกิจการได้รับผลประโยชน์จาก การเป็นเจ้าของผ่านโครงการจัดการกองทุน มรดก ทรัสต์ หรือ ตัวกลางอื่น ซึ่งบุคคลหรือกิจการดังกล่าวไม่มีอำนาจควบคุม หรือ ไม่มีความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน สิ่งจูงใจ Inducement สิ่งของ สถานการณ์ หรือการกระทำที่ถูกใช้ในทางที่จะให้มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของอีกบุคคลหนึ่ง แต่ไม่จำเป็นต้องมีเจตนาที่จะมี อิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น สิ่งจูงใจ เป็นไปได้ตั้งแต่การกระทำเล็กน้อยในการให้การต้อนรับ ระหว่างผู้ร่วมงานทางธุรกิจ (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีใน ธุรกิจ) หรือระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับลูกค้าปัจจุบันหรือที่ คาดว่าจะเป็นลูกค้า (สำหรับผู้ประกอบวิชาชีบัญชีสาธารณะ) จนกระทั่งถึงการกระทำที่เป็นผลให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ สิ่งจูงใจเป็นไปได้ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น • ของขวัญ • การต้อนรับ • นันทนาการ • การบริจาคเพื่อการเมือง หรือ เพื่อการกุศล • การร้องขอความเป็นมิตร และความจงรักภักดี • โอกาสในการจ้างงานหรือโอกาสในทางการค้าอื่น • การได้รับเป็นกรณีพิเศษ สิทธิ หรือเอกสิทธิ์ ผู้สอบบัญชีหลัก Key audit partner ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน บุคคลที่ผู้รับผิดชอบต่อการสอบทาน คุณภาพงาน และผู้สอบบัญชีอื่น (ถ้ามี) ที่อยู่ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ซึ่ง เป็นผู้ตัดสินใจหลัก หรือใช้ดุลยพินิจในเรื่องที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับ การตรวจสอบงบการเงิน ซึ่งสำนักงานจะแสดงความเห็น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 333 อภิธานศัพท์ “ผู้สอบบัญชีอื่น” อาจรวมถึง ตัวอย่างเช่น ผู้สอบบัญชีผู้ซึ่ง รับผิดชอบต่อบริษัทย่อยหรือหน่วยงานที่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์แวดล้อมและบทบาทของบุคคลนั้นในการสอบบัญชี กิจการที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ Listed entity กิจการที่ หุ้นทุน หุ้นหรือตราสารหนี้ ของกิจการนั้น มีการเสนอขาย หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ หรือขายสู่ ตลาดที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ หรือองค์กรเทียบเท่าอื่น อาจต้อง May คำนี้ใช้ในประมวลจรรยาบรรณเพื่อแสดงถึงการอนุญาตให้กระทำ การอย่างเจาะจงในบางเหตุการณ์แวดล้อม รวมทั้งแสดงถึงการ ยกเว้นต่อข้อกำหนดคำนี้ไม่ได้ใช้เพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ อาจ Might คำนี้ใช้ในประมวลจรรยาบรรณเพื่อแสดงถึง ความเป็นไปได้ของเรื่องที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือขั้นตอน การดำเนินการที่จัดทำขึ้น คำนี้ไม่ได้กำหนดระดับของสิ่งที่เป็นไปได้หรือความเป็นไปได้ โดยเฉพาะใด ๆ เมื่อใช้ร่วมกับอุปสรรค เนื่องจากการประเมินระดับ ของอุปสรรคขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและเหตุการณ์แวดล้อมของ เรื่อง เหตุการณ์ หรือขั้นตอนการดำเนินการใด ๆ โดยเฉพาะ เครือข่าย โครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น Network (ก) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และ (ข) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการปันส่วนกำไรหรือต้นทุน หรือ มี ส่วนร่วมกันในความเป็นเจ้าของ ในการควบคุมหรือในการ บริหาร มีนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ ร่วมกัน มีกลยุทธ์ทางธุรกิจร่วมกัน การใช้ชื่อทางการค้าหรือ ทรัพยากรทางวิชาชีพส่วนที่มีนัยสำคัญร่วมกัน สำนักงานเครือข่าย Network firm สำนักงาน หรือ กิจการที่เป็นของเครือข่าย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูย่อหน้า 400.50 A1 ถึง 400.54 A1


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 334 อภิธานศัพท์ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ ข้อบังคับ (ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในหน่วยงานธุรกิจ) Non-compliance with laws and Regulations (Professional Accountants in Business) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (“non-compliance”) ประกอบด้วยการกระทำโดยละเลยหรือกระทำผิดโดยเจตนาหรือ ไม่เจตนา ซึ่งขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับที่มีอยู่ กระทำโดยกลุ่ม ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (ก) องค์กรผู้ว่าจ้างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ข) ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลขององค์กรผู้ว่าจ้าง (ค) ผู้บริหารขององค์กรผู้ว่าจ้าง หรือ (ง) บุคคลอื่นที่ทำงานหรืออยู่ภายใต้คำสั่งขององค์กรผู้ว่าจ้าง คำนี้อธิบายไว้ในย่อหน้า 260.5 A1 การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ ข้อบังคับ (ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ ให้บริการสาธารณะ) Non-compliance with laws and Regulations (Professional Accountants in Public Practice) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (“non-compliance”) ประกอบด้วยการกระทำโดยละเลยหรือกระทำผิดโดยเจตนาหรือไม่ เจตนา ซึ่งขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับที่มีอยู่ กระทำโดยกลุ่ม บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ลูกค้า (ข) ผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลของลูกค้า (ค) ผู้บริหารของลูกค้า หรือ (ง) บุคคลอื่นที่ทำงานหรืออยู่ภายใต้คำสั่งของลูกค้า คำนี้ได้อธิบายไว้ในย่อหน้า 360.5 A1 สำนักงานสาขา Office สำนักงานสาขาที่แยกออกมาชัดเจน ไม่ว่าจะจัดตามสายงานทาง ภูมิศาสตร์ หรือสายงานทางการปฏิบัติงาน ผู้สอบบัญชีคนก่อน Predecessor accountant ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะผู้ซึ่งเป็นคนล่าสุดที่ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชี หรือดำเนินการด้านบัญชีภาษี การให้คำปรึกษาหรือการให้บริการทางวิชาชีพที่คล้ายคลึงกัน สำหรับลูกค้า ที่ยังไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีคนปัจจุบัน ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี Professional accountant บุคคลผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กร ซึ่งเป็นสมาชิกของ IFAC ในส่วนที่ 1 คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” หมายถึง บุคคล ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในหน่วยงานธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชีที่ให้บริการสาธารณะ และ สำนักงานของผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชีนั้น


คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แนบท้ายประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 53/2566 335 อภิธานศัพท์ ในส่วนที่ 2 คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” อ้างถึง ผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีในหน่วยงานธุรกิจ ในส่วนที่ 3 4ก และ 4ข คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” อ้างถึง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ และ สำนักงานของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในหน่วยงาน ธุรกิจ Professional accountant in business ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การบริการ ภาครัฐ การศึกษา องค์กรไม่แสวงหากำไร หรือหน่วยงานกำกับดูแลหรือองค์กรวิชาชีพ ผู้ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างตามสัญญา หุ้นส่วน กรรมการ (กรรมการบริหารหรือกรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหาร) เจ้าของกิจการที่เป็นผู้จัดการ หรืออาสาสมัครของ องค์กรผู้ว่าจ้าง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการ สาธารณะ Professional accountant in public practice ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในสำนักงานที่ให้ บริการทางวิชาชีพ ซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่งานใด ๆ ก็ตาม (ตัวอย่างเช่น งานสอบบัญชี งานภาษี หรือที่ปรึกษา) คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ” ให้ใช้ในการ อ้างถึงสำนักงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะด้วย กิจกรรมทางวิชาชีพ Professional activity กิจกรรมที่ต้องการทักษะวิชาชีพบัญชีหรือทักษะที่เกี่ยวข้อง ที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมถึง งานบัญชี งานสอบ บัญชี งานภาษี งานให้คำปรึกษาด้านการบริหาร และงานจัดการ ทางการเงิน ดุลยพินิจทางวิชาชีพ Professional judgment ดุลยพินิจทางวิชาชีพ เกี่ยวข้องกับการใช้การฝึกอบรม ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้อง กับข้อเท็จจริงและเหตุการณ์แวดล้อม โดยคำนึงถึง ลักษณะและ ขอบเขตของกิจกรรมทางวิชาชีพเฉพาะเรื่องนั้น กับ ผลประโยชน์และ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง คำนี้ได้อธิบายไว้ในย่อหน้า 120.5 A4


Click to View FlipBook Version