The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ไพรพนา จันทาพูน, 2020-02-18 23:06:02

สวนดอกไม้

สวนดอกไม้

มะขาม
ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
ชอ่ื วงศ์ Leguminosae
ช่ือท้องถิ่น
ภาคกลาง เรียก มะขามไทย
ภาคใต้ เรียก ขาม
นครราชสมี า เรียก ตะลบู
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก มว่ งโคลง้
เขมร-สรุ ินทร์ เรยี ก อําเปยี ล
ความเชือ่ ตามตาํ ราพรหมชาตฉิ บบั หลวง ถือวา่ มะขามเปน็ ไมม้ งคลชนิดหนึ่งทีค่ วรปลกู ไว้ทางทิศตะวนั ตก
(ประจมิ ) ของบา้ น เพ่อื ปอ้ ง กนั สงิ่ ไม่ดี ผรี ้ายมิให้มากลาํ้ กลาย อกี ท้งั ตน้ มะขามยงั เปน็ ต้นไมท้ ี่มีช่ือเปน็ มงคล
นาม ถือกนั เป็นเคล็ดว่าจะทําใหม้ ีแต่คนเกรงขาม

30 
 

มะเขือ

ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Solanum wrightii Benth.

ช่อื วงศ์ : Solanaceae

ชือ่ สามัญ : Brazilian potato tree, Potato tree

ช่ือพนื้ เมอื ง : มะเขือดอก มะเขอื

ความเชื่อ ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ําลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกําหนดให้เป็นดอกไม้
สําหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือน้ี เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อม
ตนพร้อมท่ีจะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากน้ีมะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ
หญา้ แพรก

ช่อื วทิ ยาศาสตร์ Ficus racemosa Linn มะเดอ่ื
ชอ่ื วงศ์ MORACEAE
31 
 

ชื่อท้องถ่ิน
• อดุ รธานี-อีสาน เรียก หมากเดอื่
• แมฮ่ อ่ งสอน-กะเหรยี่ ง เรยี ก กูแช
• ลาํ ปาง เรียก มะเด่อื
• ภาคกลาง เรียก มะเดื่ออุทุมพร มะเด่อื ชมุ พร มะเดอ่ื เกลย้ี ง
• ภาคเหนอื -กลาง เรยี ก มะเดอ่ื เด่ือเกลี้ยง
• ภาคใต้ เรียก เด่ือน้าํ

ความเชื่อ มะเดื่อเป็นไม้ด้ังเดิมท่ีสัมพันธ์กับความเช่ือและประเพณีของคนไทย มะเดื่อเป็นไม้มงคลท่ีกําหนด
ปลกู ในทศิ เหนอื ได้ มกี ารบนั ทกึ ไวใ้ นประวตั ศิ าสตรก์ รุงศรอี ยธุ ยาและกรงุ ศรีรัตนโกสนิ ทร์วา่ มีการนําไม้มะเดื่อ
อุทุมพรมาทําเป็นพระท่ีนั่ง กระบวยตักนํ้ามันเจิมถวาย และหม้อนํ้าที่กษัตริย์ใช้ถวายน้ําทําด้วยไม้อุทุมพร ใน
พระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ มะเด่ือได้ถูกบันทึกไว้ในตํานานของชาวฮินดูว่าเป็นไม้มงคล และเป็นที่นับ
ถือของคนไทย พม่า มอญ มาแต่โบราณ

มะตมู
ช่อื สามัญ Bael, Bengal Quince, Bilak
ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Angle marmelos
ชื่อวงศ์ Rutaceae
ชื่อทอ้ งถ่นิ

• ทั่วไป เรียก มะตมู
• ภาคเหนอื เรียก มะปิน
• ภาคใต้ เรยี ก ตู้, กะทนั ตา, เถร, ตูม, ตมุ่ ตงั
• ภาคอสี าน เรยี ก บักตมู , หมากตูม
• ล้านช้าง เรียก ต่มุ ตงั

32 
 

ความเชื่อ ตามความเชอ่ื ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนงึ่ ที่ควรมไี วใ้ นบรเิ วณบ้าน โดยปลกู ไวท้ าง ทิศ
ตะวนั ออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ปลูกร่วมกบั ไผร่ วก และทเุ รยี น ถอื วา่ เปน็ เคล็ดลับในชอื่ เรียกทเี่ ป็นมงคลนาม จะ
ทาํ ใหเ้ กดิ กําลงั ใจ ให้เกดิ ความมานะ พยายามที่จะต่อสูฟ้ ันฝา่ อปุ สรรคต่างๆ ในชวี ิต นอกจากนม้ี ะตูมยัง
เกี่ยวขอ้ งกบั พิธกี รรมและพิธมี งคลของไทยการทํา น้ํามนตเ์ พอ่ื สะเดาะเคราะห์ ครอบครูจะใชใ้ บมะตมู เป็น
องคป์ ระกอบในพิธี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ใช้ใบ มะตมู ทัดหใู ห้แก่ทตู ท่เี ข้าเฝา้ เพอื่ กราบบังคมลาไป
รับราชการต่างประเทศ สาํ หรับในทางไสยศาสตร์ ชาวฮินดถู อื ว่า ไม้มะตูมเป็นไมศ้ กั ดิ์สทิ ธิ์ และใบมะตมู เปน็
ใบไมท้ ี่ปอ้ งกันเสนยี ดจญั ไร และขับภตู ผีปีศาจได้

มะนาว
ชื่อวทิ ยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm) Swing.
ชื่อสามญั Lime, Common Lime
ชื่อวงศ์ Rutaceae
ชอ่ื ทอ้ งถน่ิ

• ท่ัวไป เรยี ก มะนาว
• เชียงใหม่ เรียก มะลิว
• ภาคใต้ เรยี ก ลมี านีปีห์
• ภาคเหนือ หมากฟ้า
• เขมร-สุรนิ ทร์ เรยี ก โกรยชะมา้
• กะเหรยี่ ง-กาญจนบุรี เรยี ก ประนอเกล, มะนอเกละ
ความเชอื่ ตามตําราพรหมชาติฉบบั หลวงกล่าวไว้วา่ มะนาวเปน็ ไม้มงคลชนดิ หนง่ึ ท่คี วรปลกู ไว้ในบรเิ วณบา้ น
โดยกาํ หนด ปลกู ทางทิศตะวันตกเหนือ (พายพั ) เพื่อผู้ทอี่ ยู่อาศัยในบ้านจะไดม้ คี วามสขุ สวสั ดี ในบางตาํ ราเล่า

33 
 

วา่ เปน็ ความเชื่อ ของคนบ้านป่าสมัยกอ่ น กอ่ นผา่ นป่าละเมาะผ่านดงจะพกมะนาวหรือมะกรดู ตดิ ตัวไปดว้ ย
เพ่อื ใช้ปา้ ยจมกู โค กระบือ เพือ่ ดับกลิน่ สาบเสอื เน่ืองจากเวลาโค กระบือ ได้กล่นิ สาบเสือแล้วจะไมย่ อมเดินตอ่

มะพลบั
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Diospyros areolata King & Gamble
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ช่ือทอ้ งถนิ่ เชียงราย เรียก มะพลบั , มา่ กาลับตอง, ม่ากบั ตอ๋ ง
ความเชื่อ มะพลบั เปน็ ไม้มงคลชนิดหนงึ่ ของคนไทย กาํ หนดปลูกไว้ทางทศิ ใต้ (ทกั ษณิ ) ตามโบราณเชื่อกันวา่
การปลกู ต้นมะพลบั ในบรเิ วณบา้ นจะทาํ ให้ร่ํารวยยง่ิ ข้นึ

34 
 

มะพรา้ ว
ช่อื สามญั Coconut
ช่อื วิทยาศาสตร์ Cocos nucifera Linn.
ชอ่ื วงศ์ PALMAE
ชื่อท้องถิ่น

• จันทบรุ ี เรียก ดงุ
• กาญจนบุรี เรยี ก โพล
• แม่ฮ่องสอน เรยี ก คอสา่
• ทว่ั ไป เรยี ก หมากอุ๋น หมากอนู
• จนี เรียก เอ่ียจี้
ความเชื่อ ตามตาํ ราการปลกู ต้นไม้ตามทศิ ในตําราพรหมชาติฉบับหลวง มะพร้าวเป็นไม้มงคลและกาํ หนดปลูก
ไว้ทาง ทิศตะวันออก (บูรพา) ด้วยความเชือ่ ว่าเมอ่ื ปลูกไว้บริเวณบ้าน จะทาํ ใหไ้ ม่มีการเจ็บไข้ และอยเู่ ย็นเป็น
สขุ

35 
 

มะม่วง
ช่ือวิทยาศาสตร์ Mangifera indica Linn.
ชอ่ื วงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามญั Mango Tree
ชื่อทอ้ งถ่นิ

• ทว่ั ไป เรียก มะม่วงบา้ น, มะมว่ งสวน
• กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
• จนั ทบรุ ี เรียก เจาะ ช๊อก ชอ้ ก
• นครราชสีมา เรยี ก โตร้ก
• มลายู-ภาคใต้ เรยี ก เปา
• ละวา้ -เชียงใหม่ เรียก แป
• กะเหรี่ยง-แม่ฮอ่ งสอน เรียก สะเคาะ, สา่ เคาะส่า
• เขมร เรยี ก สะวาย
• เง้ยี ว-ภาคเหนือ เรยี ก หมักโม่ง
• จนี เรยี ก มง่ั กว้ ย
ความเช่อื มะม่วงเป็นตน้ ไม้มงคลชนดิ หนงึ่ ท่ีมมี าแต่คร้งั พทุ ธกาล คนโบราณเช่ือวา่ หากนาํ มาปลกู ไวใ้ นบรเิ วณ
บ้านทางทศิ ใต้ (ทักษณิ ) จะทาํ ใหเ้ จ้าของบา้ นและผู้อยอู่ าศยั มคี วามราํ่ รวยย่งิ ข้นึ

36 
 

มะยม
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชอ่ื สามญั Star Gooseberry
ชื่อทอ้ งถ่ิน

• ท่วั ไป เรียก มะยม
• ภาคอสี าน เรยี ก หมกั ยม, หมากยม
• ภาคใต้ เรยี ก ยม
• ผล รสเปร้ยี วสขุ ุม กดั เสมหะ แก้ไอ บาํ รงุ โลหติ และระบายทอ้ ง
ความเช่ือ ตามตาํ ราพรหมชาตฉิ บบั หลวง กลา่ วว่ามะยมเป็นตน้ ไม้ทคี่ วรปลูกไว้ทางทศิ ตะวันตก (ประจิม) เพื่อ
ปอ้ งกนั ความถ่อย ถอ้ ยความ และผรี ้ายมใิ ห้มากล้าํ กราย ในบางตาํ ราก็ว่า เปน็ ต้นไม้ที่มีชอื่ เปน็ มงคลนาม ปลกู
แลว้ ผู้ คนจะได้นยิ มเหมือนมี นะเมตตามหานิยม

37 
 

มะละกอ
ชอื่ วทิ ยาศาสตร์: Carica papyya L.
ชอ่ื วงศ:์ CARICACEAE
ชอื่ สามญั : Papaya
ช่อื ท้องถนิ่ : มะกว๊ ยเต็ด กว๊ ยเทด็ ลอกอ แตงตต้น หมกั หุ่ง
ความเช่ือไมว่ ่าจะเปน็ กล้วยชนดิ ใด จะใหผ้ ปู้ ลูกรม่ เย็นเป็นสุขกายสบายใจ

มะลิ
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum
ชอ่ื สามัญ Sambac
ชือ่ วงศ์ OLEACEAE

38 
 

ความเชือ่ คนไทยโบราณเช่อื วา่ บ้านใดปลูกต้นมะลไิ ว้ประจําบ้านจะทาํ ใหเ้ กดิ ความรักความคดิ ถึงแกบ่ คุ คล
ทัว่ ไปเพราะดอกมะลเิ ป็นดอกไมป้ ระจาํ วันแม่แห่งชาตซิ ง่ึ เปน็ สญั ลักษณแ์ สดงถงึ ความรกั ของลกู ตอ่ แม่และผทู้ ีม่ ี
ความกตัญญตู อ่ ผ้มู พี ระคุณนอกจากนคี้ นไทยโบราณยงั เช่ืออกี วา่ บ้านใดปลกู ต้นมะลิไวป้ ระจําบา้ น จะทาํ ใหค้ น
ในบา้ นมีความบรสิ ทุ ธิ์ เพราะดอกมะลมิ สี ขี าวบริสทุ ธ์ิ ขาวสะอาด ซ่งึ คนไทยนิยมใช้เป็นเครือ่ งสกั การะบูชาพระ
เปน็ สริ มิ งคลทางดา้ นทาํ ให้คนในบ้านมคี วามบริสทุ ธิ์ มคี วามรกั และความคดิ ถึงแกบ่ คุ คลทั่วไป

หมาก
ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Areca catechu Linn.
ชอ่ื สามัญ : Betel nut
ความเช่อื เคย้ี วเป็นยาเปา่ พิษได้ ในงานบญุ ทพ่ี ิธกี รรมเกีย่ วกบั การขอขมา เชน่ การบวช แตง่ งาน ขา้ ว
ประดับดิน

39 
 

ยอ
ช่อื วทิ ยาศาสตร์ Morinda citrfolia Linn.
ชอ่ื วงศ์ Rubiaceae
ชอื่ ทอ้ งถิ่น

• ภาคกลาง เรยี ก ยอบา้ น
• ภาคเหนือ เรยี ก มะตาเสอื
• ภาคอสี าน เรียก ยอ
• กะเหร่ยี ง-แมฮ่ อ่ งสอน เรยี ก แยใหญ่
ความเชอื่ คนโบราณนิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกําหนดปลกู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เชอ่ื ว่า
ป้องกันสิง่ เลวร้าย อีกทัง้ ช่ือยอยงั เปน็ มงคลนาม ถอื เป็นเคล็ดลบั กันว่า จะไดร้ บั การสรรเสรญิ เยนิ ยอ หรือยก
ยอ่ งในส่ิงท่ดี ีงาม

40 
 

ดอกรกั
ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.
วงศ์ ACSLEPIADACEAE
ชื่อสามญั Crown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic Swallow-wort
ชอ่ื อนื่ ดอกรัก, รกั ดอก, รกั ร้อยมาลยั ,ปอเถื่อน, ป่าเถ่ือน(ภาคเหนอื ),รักเขา(เพชรบรู ณ์)
ความเชือ่ เพ่ือใหเ้ กดิ ความรักกนั ใชใ้ นงานแตง่ งาน งานบายศรีตา่ งๆ

ดอกรกั สมี ่วง ดอกรกั สีขาว

ราชพฤกษ์
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Cassia fistula Linn
ชอื่ วงศ์ CAESALPINIACEAE
ชือ่ สามญั Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia
ชอ่ื ท้องถ่ิน

• ภาคเหนอื เรียก ลมแล้ง
• ภาคใต้ เรยี ก อ้อดิบ
• ปตั ตานี เรยี ก ลกั เกลอื ลกั เคย
• ภาคกลาง เรยี ก ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์
• กะเหร่ยี ง-กาญจนบรุ ี เรียก กเุ พยะ

41 
 

• กะเหรีย่ ง-แมฮ่ อ่ งสอน เรยี ก ปอื ย,ู ปูโย, เปอโซ, แมะหล่าอยู่
• อีสาน เรียก คนู
ความเชอื่ ชยั พฤกษห์ รือราชพฤกษเ์ ปน็ ไมท้ มี่ คี ณุ คา่ สูง เปน็ ไมม้ งคลนาม นิยมใช้ในพธิ สี ําคญั ต่างๆ เชน่ พธิ ลี ง
หลักเมือง ยอดธงชัยเฉลมิ พลของทหาร คฑาจอมพล จะใชเ้ สาแกน่ ชัยพฤกษ์ และอนิ ธนู ของขา้ ราชการ
พลเรอื นก็ปักดน้ิ ทองเป็นรูปช่อชยั พฤกษ์

สารภี
ช่อื วิทยาศาสตร์ Mammea siamensis Kosterm
ชอื่ วงศ์ Guttiferae
ชอ่ื ทอ้ งถิน่

• ภาคกลาง เรยี ก สารภี
• ภาคเหนอื เรียก สารภแี นน
• จันทบรุ ี เรยี ก ทรพี
• ภาคใต้ เรยี ก สร้อยพี
ความเชอ่ื ตามตําราพรหมชาติจัดสารภเี ป็นไมม้ งคลชนดิ หนึง่ ทีค่ วรมไี วใ้ นบริเวณบ้านโดยกําหนดทศิ ที่ปลูกว่า
ควรเป็นทิศตะวันออกเฉยี งใต้ (อาคเนย์) เพอ่ื ป้องกนั เสนียดจัญไร

42 
 

สะเดา
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อสามญั Neem Tree
ชื่อท้องถิน่

• ภาคเหนือ เรียก สะเลียม
• ภาคอสี าน เรียก กะเดา, กาเดา
• สว่ ย เรยี ก จะตงั
• ภาคใต้ เรียก กะเดา, ไมเ้ ดา, เดา
ความเชอ่ื คนโบราณนิยมปลกู ต้นสะเดาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรด)ี เชือ่ กนั ว่าจะปอ้ งกันโรคร้ายต่างๆ ได้
ในบางท้องถิ่นเชอ่ื กันวา่ ใบและก่งิ ของต้นสะเดาจะปอ้ งกันภตู ผีปีศาจได้

สม้ ปอ่ ย
ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ Acacia rugata Merr
ชือ่ วงศ์ MIMOSACEAE
ช่ือสามญั Soap Pod
ช่ือท้องถ่นิ

• ทวั่ ไป เรียก สม้ ป่อย
• ฉาน-แมฮ่ อ่ งสอน เรยี ก ส้มขอน
• แพร่ เรียก เอกราช
ประโยชน์อ่นื ๆ นํ้าของฝักสม้ ป่อยใช้ขดั ล้างเครอ่ื งเงนิ เครอื่ งทอง นอกจากนี้เปลอื กตน้ ให้สีนา้ํ ตาล และสเี ขยี ว
ซึ่งใชป้ ระโยชน์ในการย้อมผ้า ยอ้ มแห และอวนได้

ความเชอื่ สม้ ป่อยเปน็ ไมม้ งคลของชาวไทย กําหนดปลกู ในทิศเหนอื บางทอ้ งถ่ินเชื่อว่าการปลูกสม้ ปอ่ ยจะชว่ ย
ขับไลภ่ ูตผีปศี าจ และ สงิ่ เลวรา้ ยมิให้มารบกวน ในพิธีกรรมการทาํ น้ํามนตเ์ พ่อื สะเดาะเคราะหจ์ ะใช้ใบส้มปอ่ ย
ร่วมกับใบเงนิ ใบทอง ใบมะกรดู หญ้าแพรก ใบราชพฤกษ์ ใบมะตมู และใบหมากผู้หมากเมยี เมือ่ นาํ้ มนต์มา

43 
 

พรมศรีษะ หรืออาบ สาํ หรบั ผู้ป่วยจะช่วยให้ เคราะห์โศกบรรเทาลงได้ ในพธิ กี รรมและประเพณีทอ้ งถนิ่ ของ
ชาวเหนือ ท้ังทีเ่ ป็นมงคลและไม่เป็นมงคลมักจะมสี ม้ ปอ่ ย รว่ มดว้ ยเสมอ เพราะเช่อื ว่าส้มปอ่ ยเปน็ ของขลังท่ีจะ
ช่วยปกป้องจากสิง่ เลวรา้ ย ทัง้ ยังชว่ ยเสรมิ หรือคนื อํานาจใหส้ ําหรบั ผู้ ทมี่ คี าถาอาคมอีกด้วย โดยชาวเหนือนาํ
ฝักส้มปอ่ ยป้ิงไฟพอเหลอื ง แช่นํา้ และนํานา้ํ ไปทาํ นา้ํ มนต์ ใช้รด หรืออาบ ผูป้ ่วย

ออ้ ย
ช่ือวทิ ยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
วงศ์ : Poaceae (Graminceae)
ช่ือสามัญ : Sugar Cane
ชอ่ื อ่นื : อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยดํา (ภาคกลาง) อาํ โป (เขมร)
ความเช่อื เพอื่ แสดงถงึ ความเกยี่ วดอง ออ่ นโยน สามคั คี ใชใ้ นงานบุญขน้ึ บ้านใหม่ งานแต่งงาน บุญคณู ลาน
บญุ บ้งั ไฟ บุญเข้าพรรษา ลอยกระทง และอ่ืนๆ

ออ้ ยดาํ

44 
 

45 
 

เอกสารอ้างอิง

46 
 

บทท่ี 4

คุณคา่ ของไมด้ อกไมป้ ระดบั ในการตกแต่งภายใน

1.1 ความสําคัญของการนําไม้ดอกไมป้ ระดบั มาการตกแตง่ ภายใน

พชื ทาํ ให้มนุษย์มีความรสู้ กึ พเิ ศษโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ เราจะรู้สึกสดช่ืนท่ีเห็นพืชผลิใบใหม่หรือ
ดอกเริ่มบาน แม้ว่ารอบตัวเราจะห้อมล้อมไปด้วยสิ่งปลูกสร้างท่ีแข็งกระด้างต่างๆ แต่พืชทําให้เรามีอารมณ์
อ่อนโยนลงเมื่อเราเหน็ สเี ขยี ว ชีวิตอาจวนุ่ วายแตจ่ ะสงบลงได้ด้วยสงิ่ แวดลอ้ มท่ีมีพืชเป็นองค์ประกอบ

ในประวัติศาสตร์มีการนําพืชมาปลูกในอาคาร ต้ังแต่ยุโรปสมัยโคโลเนียล ไปจนถึงการตกแต่งใน
ปัจจุบัน ใช้พืชตกแต่งภายในบ้านไปจนถึงอาคารสํานักงาน การนําพืชมาตกแต่งใช้ในรูปไม้กระถางอาจเป็น
กระถางดินเผา ถ้วย ตะกร้า ก็ได้ การใช้พืชมาตกแต่งภายในจะต้องมีการปลูกและดูแลรักษาอย่างดีพืชจึงจะ
สวยงามตามต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิธีการนําพืชมาตกแต่งภายในอย่างไรให้สวยงามและเกิด
ประโยชน์ และปัจจยั ท่ตี ้องคํานึงถงึ ก็คอื สภาพแวดล้อมบรเิ วณท่ีจัดวางพืช

ทําไมตอ้ งใชพ้ ชื มาตกแตง่ ภายใน พืชที่นาํ มาตกแต่งภายในนน้ั เพอ่ื นํามาตกแต่งพื้นท่ีว่างในอาคาร ซึ่งก็
ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและวัตถุประสงค์ ว่าทําหน้าท่ีอะไร วัตถุประสงค์ท่ีนําพืชในร่มมาตกแต่งก็เพ่ือ 2 ประเด็น
หลกั

• เพอื่ ความสวยงามนา่ อยู่

• เพอ่ื ให้เกิดประโยชน์

พืชมีคุณสมบัติมากมาย เมื่อพืชผลิดอกออกใบใหม่จะทําให้เกิดความสดช่ืนเพราะความสวยงามของสี
เขียวทําให้ผู้พบเห็น เกิดความสุขใจเปรียบเสมือนพืชเป็นการจุดประกายความสําเร็จทุกครั้งท่ีผู้คนมองดู ซ่ึง
ผู้คนที่มองดูความสวยงามความสดชื่น พืชที่ปลูกประดับน้ันแสดงให้เห็นว่าเหมือนกับเป็นการต้อนรับผู้คนด้วย
ใบไม้ ดอกไม้ สีสันที่สวยสดงดงาม ผู้คนนิยมชมชอบมากท้ังๆที่บางคร้ังเป็นการยากท่ีจะอธิบายว่าทําไมจึง
ชอบพืชเหล่าน้ัน

ในสภาพปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ต้นไม้น้อยลง ในสังคมเมือง พื้นที่ว่างลดลง ทําให้
ความเป็นอยู่เริ่มแยกจากธรรมชาติมากขึ้น สนามหญ้า ต้นไม้ และไม้ดอกไม้ประดับต่างๆมีบทบาทน้อยลงใน
สภาพสงั คมเมอื ง เพราะประชาชนส่วนใหญเ่ ข้าไปทํามาหากนิ กันในเมืองมากข้นึ โดยเฉพาะสภาพเมืองมีต้นไม้
น้อยลง เนื่องจากต้องเอาพื้นท่ีไปสร้างอาคาร ถนนหนทาง ดังน้ันประชาชนท่ีพักอาศัยในเมืองจึงนิยมนําต้นไม้
มาประดับภายในอาคาร เพ่ือเพ่ิมพ้ืนท่ีสีเขียว เพราะพืชมีความเก่ียวพันกับมนุษย์ท้ังทางตรงและทางอ้อม พืช
เป็นอาหาร คนหายใจเอาออกซิเจนที่พืชปลดปล่อยออกมา ซ่ึงเป็นเหตุผลว่าทําไมเรารักธรรมชาติ และทําไม
มนษุ ยจ์ งึ ตอ้ งปลูกพชื ไว้ในอาคาร


 

พืชที่เรานํามาปลูกไว้ในร่มจะต้องมีการปรับตัวกับสภาพอากาศท่ีอุ่น แห้ง และสภาพแวดล้อมท่ีมืด
ดังน้ันพืชเหล่าน้ี จึงเป็นพืชที่มาจากเขตร้อนและเขตก่ึงร้อน โดยจะอยู่ในพื้นที่เขตเส้นศูนย์สูตร โดยเฉพาะจะ
เป็นพวกไม้ใบ ท่ีมีใบสวยงาม ขนาดของใบใหญ่ รูปร่างสวยงามและมีลักษณะผิวสัมผัสของใบท่ีหลากหลาย
และเปน็ พืชที่น่าสนใจมาก ในปัจจุบันมนษุ ย์จะอาศัยอยใู่ นอาคาร บ้านเรือน ถ้าเปน็ ในเมืองใหญ่ ท่ีมีพ้ืนที่จํากัด
ก็จะอาศัยอยู่ในอาคารสูง ได้แก่ อพาร์ทเม้น คอนโดมีเนียม ซ่ึงจะไม่มีพ้ืนที่ดินให้ปลูกพืช หากต้องการปลูก
จะต้องปลูกพืชในกระถาง แล้วนํามาไว้ในห้อง ดังนั้นการปลูกพืชแบบน้ี จึงไม่มีฤดูกาล จะปลูกพืชได้สวย
ตลอดปี เพราะไม่ได้ใช้สภาพอากาศภายนอก เพราะสภาพอากาศภายในอาคารค่อนข้างคงที่ไม่แปรปรวน
เหมอื นภายนอก

สีเขียวของพืชมีผลโดยตรงกับความรู้สึกของคนเรา นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า สีเขียวช่วยทําให้อารมณ์
ของมนษุ ยเ์ กิดความสขุ สีเขียวมีผลต่อประสาทตา ทาํ ให้ดวงตาไดพ้ กั เมอ่ื มองสเี ขยี ว

1.2 ประโยชนแ์ ละหน้าทีข่ องพชื เมื่อนํามาใช้ตกแต่งภายใน

• พืชทําหน้าท่ีเป็นสิ่งตกแต่งภายใน ซ่ึงพืชมีบทบาทมากในการทําหน้าท่ีน้ี เช่น พืชอาจเปรียบ
เหมือนม่านหรือ เติมเต็มช่องว่างของห้อง และเป็นจุดนําสายตาให้มองออกไปเห็นวิว
ภายนอกอาคาร

• พืชทําหน้าที่เป็นฉากกนั้ แบ่งหอ้ งออกเป็นสัดส่วน ทําให้รู้สึกเป็นส่วนตัว ซ่ึงสามารถนําพืชมา
กั้นห้องใหญ่ๆออกเป็นสัดส่วนคล้ายเป็นกําแพงหรือแผงกั้นห้อง ซึ่งจะทําให้คนที่อยู่ในน้ันมี
ความรสู้ กึ ดๆี ทจี่ ะตง้ั ใจทาํ งานให้สําเร็จ

• นอกจากพืชสามารถลดขนาดความกว้างของห้องลงได้โดยการแบ่งสัดส่วนแล้ว พืชก็สามารถ
ทําให้ห้องเล็กๆ ดูกว้างข้ึนด้วย โดยใช้พืชเป็นตัวแบ่ง หรือจัดให้มองดูกว้างได้ ห้องท่ีไม่มี
เฟอรน์ ิเจอร์จะมองดเู ลก็ จนกวา่ จะมีเฟอร์นิเจอรเ์ ข้ามา ถา้ เราวางพืชเพิ่มลงไปในพนื้ ที่ พชื จะ
ทําให้ชอ่ งว่างดูเหมอื นมกี ารวางเฟอรน์ ิเจอรเ์ ข้าไป ห้องจะดูกวา้ งขึน้

• พืชใช้ช่วยในการจัดการเส้นทางเดินในอาคาร บางครั้งบ้านหรือสํานักงานที่มีพ้ืนที่มาก ซ่ึง
แขกท่เี ข้ามาจะเข้ามาตามธรรมชาติ ทําใหเ้ กดิ ปญั หาในการใชเ้ ส้นทาง การสญั จรไปมาอาจไม่
เป็นไปอย่างท่ีเจ้าของบ้านหรือสํานักงานต้องการ การจัดวางพืชเพ่ือเป็นการกําหนดทิศทาง
ในการเดินจะชว่ ยได้มาก ซง่ึ การทีค่ นจะเดินไปตามทางท่ีวางพืชไว้นน้ั เขาจะเดินไปด้วยความ
สนใจต้นไม้ จนไมร่ ตู้ ัวว่าถูกบังคบั ใหเ้ ดนิ ไปเขาจะพอใจ

• พืชท่ีจัดตกแต่งภายใน สามารถจัดวางเพื่อเป็นตัวควบคุมการมองดูวิวภายนอกได้ด้วย คือ
จะตอ้ งมีการจดั วางพชื ให้อยูใ่ นตําแหน่งที่จะเป็นจุดนําสายตาไปยังวิวท่ีต้องการให้มอง ดังน้ัน


 

การเลือกพืชให้ทําหน้าที่นี้ ต้องคํานึงว่าจะต้องไม่ใช้พืชที่มีความงามน่าสนใจมาก เพราะอาจ
ทําใหค้ นไมม่ องววิ ข้างนอกแต่จะมองพชื ตน้ น้แี ทน

• พืชทน่ี าํ มาปลกู ในบ้านทาํ ใหเ้ ราสดชนื่ เพราะคนหายใจปลดปลอ่ ยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
แล้วพืชนําไปใช้ ขณะเดียวกันพืชก็ปลดปล่อยออกซิเจนให้คน ดังนั้นเม่ือร่างกายทํางานหนัก
ทาํ ใหร้ า่ งกายไมส่ ดชนื่ แต่ถา้ มตี ้นไมอ้ ยู่ในห้องทํางานจะทําใหอ้ ากาศสดชนื่

• พชื จะดดู ซบั เสียง ทาํ ใหเ้ สยี งเบาลง

• พืชทําให้ช่วยลดความหยาบกระด้างของผนัง อาคาร ห้องทํางาน ผิวสัมผัส สีของพืชจะทําให้
เรามองดูสิ่งต่างๆนั้นลดความหยาบกระด้างลงไปได้ โดยนําเอาพืชมาตกแต่งในจุดที่เป็น
เหล่ียมมมุ แข็งกระดา้ ง กจ็ ะลดสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่นา่ มองลงได้

1.3 วธิ กี ารตกแตง่ ภายในโดยใชพ้ ชื การตกแตง่ ภายในทนี่ ําพชื มาใช้ จะตอ้ งคํานึงถึง

1.3.1 ลักษณะใบ (Texture)

พชื ท่ีนาํ มาใชต้ กแต่งสว่ นใหญเ่ ป็นไมใ้ บ เพราะใบพชื มีความหลากหลาย

คําวา่ texture ของใบพืชนั้นแบ่งออกได้ดงั น้ี

• ขนาดของใบ มีขนาดใบใหญ่ (coarse texture) ใบขนาดเล็ก (fine texture)

• ความถ่หี า่ งของใบ พืชบางชนดิ ช่องว่างระหวา่ งใบมาก บางอย่างน้อย พชื ที่ช่องวา่ งของ
ใบน้อยกค็ อื มีใบถี่ทําให้ใบทึบ ถา้ นาํ ไปจดั วางที่มแี สงน้อยกว่าที่พชื ตอ้ งการ พชื กจ็ ะสรา้ ง
ใบน้อยและจะห่างขึ้น

• รูปรา่ งและเสน้ ขอบใบ บางชนดิ ใบแคบยาว บางชนดิ กว้างและสน้ั บางชนดิ เสน้ ขอบใบ
โค้งหยัก บางชนดิ ตรง

• ความยาวของก้านใบ ใบบางชนดิ มีกา้ นใบยาว บางชนิดสน้ั ลักษณะชองก้านใบกท็ ําให้
แตกตา่ ง เพราะพวกทีม่ กี า้ นใบยาว จะดูว่ามีการพริ้วไหวได้ดกี ว่ากลมุ่ กา้ นใบสัน้

1.3.2 การใชพ้ ชื จํานวนมาก

หมายถึงการใช้พืชชนิดเดียวกันจํานวนหลายๆต้น ดีกว่าใช้ต้นเดียว ซ่ึงถ้าต้องการใช้พืชต้น
เดยี วกต็ ้องแนใ่ จว่านา่ ดึงดดู ใจมากกว่า และเป็นเฉพาะจุด การตัดสินใจว่าจะใช้พืชจํานวนมากหรือพืช
ต้นเดียว ขึ้นอยู่กับช่องว่างท่ีมี และ texture ของพืชนั้นน่าสนใจพอ หรืออาจใช้เป็นฉากหลังหรือจุด
หลกั (focal point)


 

1.3.3 พืชทใ่ี ช้เปน็ จุดหลัก

การเลือกพืชที่จะนํามาเป็นจุดหลัก ต้องเป็นพืชที่มีลักษณะเด่นและคัดเลือกพืชที่มี texture
ตรงข้ามกับพืชท่ีเป็นฉากหลัง ซึ่งควรเป็นพชื ทมี่ ใี บเลก็ ขณะท่ีพืชทมี่ ลี ักษณะใบใหญ่มาเป็นจุดหลัก ซึ่ง
การตกแต่งแบบนี้จะทาํ ใหเ้ สรมิ จุดเด่นได้ดมี าก

1.3.4 ลกั ษณะใบ (texture) และขนาดหอ้ ง

ห้องท่ีมีขนาดเล็กไม่เหมาะท่ีจะใช้พืชต้นใหญ่และมีใบหยาบ ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้พืชท่ีมี
ใบเล็กละเอียดจะทําให้ห้องดูกว้างข้ึน ซึ่งตาคนไม่ได้มองดูพืชทีละใบแต่จะมองภาพรวมของพืชทั้งต้น
เหมือนกับว่าพืชเป็นกระดาษติดผนัง (wallpaper) เหมือนกับมองดูกระดาษติดผนังที่มีลายใหญ่ๆจะ
ทําให้หอ้ งดเู ล็กลง ขณะที่กระดาษตดิ ผนังลายละเอยี ดจะทําให้หอ้ งดใู หญข่ ึน้

1.3.5 การออกแบบตกแตง่ ห้องของสถาปนิก

ห้องที่ตกแต่งไวจ้ นดหู นกั และเยน็ เพราะวัสดุท่ีใช้ จะแก้ไขได้โดยการจัดวางพืชเข้าไป ช่วยให้
ห้องดูสวา่ งและอบอนุ่ ข้ึน เชน่ หอ้ งท่เี ป็นหิน คอนกรตี เมอื่ นาํ พืชเขา้ ไปตกแต่งจะเพ่ิมความออ่ นโยนได้

1.3.6 สี การใช้สมี หี ลกั การ 4 ข้อ คอื

• ใช้สีพืชเป็นจุดหลัก ใช้พชื ท่มี สี ีสนั สวยสะดดุ ตา เมอ่ื คนเห็นแลว้ จะหยดุ สายตา ณ จดุ น้ันเป็น
จดุ แรกก่อนที่จะมองจดุ อน่ื

• ใช้สขี องพืชให้เป็นเอกภาพ ไม้ใบเป็นพืชที่สาํ คัญทีส่ ุดในการตกแต่งภายใน เพราะพืชที่เป็นไม้
ใบในรม่ สว่ นใหญม่ สี ีเขียว ดังนน้ั การใช้พืชอาจใชเ้ ปน็ ฉากหลงั หรือเป็นจดุ เดน่ ท่จี ุดประกาย
ความน่าสนใจให้ผูพ้ บเห็น

• ใช้สเี พ่อื ส่งเสริมให้เกดิ ความสดช่นื สบายใจ

• ใช้สีของพืชให้เหมาะสมกับห้อง สีของพืชต้องเข้ากับการตกแต่ง เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ เช่นถ้า
ชุดรับแขกในที่ทํางานมีสีเขียวเข้ม ถ้าใช้พืชที่มีสีเขียวอีกจะทําให้กลืนกันหรือไม่เหมาะสม
ทางเลือกที่ดีกว่าก็คือ ควรใช้พืชท่ีมีสีตัดกันแต่ยังคงมีความสัมพันธ์กันกับชุดรับแขก ไม้ใบมี
หลากหลายสี การเลือกใช้สีที่เหมาะสมจะลดปัญหาลง แต่การเลือกใช้สีท่ีหลากหลายเกินไป
จะทําให้ไมส่ วยงาม

1.3.7 รูปทรง


 

คติพจน์ของสถาปนิก คือ รูปทรงต้องตามด้วยหน้าท่ี นั่นหมายถึงรูปทรงต้องสัมพันธ์กับ
หน้าท่ี ในการตกแต่งภายในน้ัน ไม้ในร่มเปรียบเสมือนอุปกรณ์เสริมและเป็นอุปกรณ์เสริมท่ีสําคัญ
เหมอื นกับ ระบบไฟ พรม เฟอร์นิเจอร์และสงิ่ อ่ืนทีใ่ ช้ตกแตง่ ภายใน

ธรรมชาตสิ รา้ งพชื ใหม้ รี ปู ทรงตา่ งๆ พืชแบง่ ออกเปน็ 3 รปู ทรงตามขนาดของตน้

1) tree หมายถงึ ไม้ยนื ตน้

2) shrub หมายถงึ ไมพ้ มุ่

3) groundcover หมายถงึ ไม้คลมุ ดิน

การใชไ้ ม้ยืนต้นประดับภายใน อาจใช้ตน้ เล็กหรือถา้ หากวา่ สถานท่ีนนั้ มีเพดานสงู กส็ ามารถใชต้ น้ ไม้
ใหญไ่ ด้ ซง่ึ อาจใช้ 1 – 2 ต้นกจ็ ะทาํ ใหห้ อ้ งสวยงามและโออา่ ดูดีมาก แต่ถ้าหากหอ้ งมพี ืน้ ทจ่ี าํ กดั กใ็ ช้ตน้ ไม้
ขนาดเลก็ จะทาํ ใหห้ อ้ งดอู บอนุ่ สวยงาม สาํ หรับการใช้ไมพ้ ุ่มที่มีขนาดสงู ครง่ึ ฟตุ และมีพุ่มต้นกวา้ ง 4 – 5 ฟุต
จะทาํ ให้หอ้ งดดู แี ละจัดเป็นจุดหลกั ได้ ส่วนไม้ใบทเ่ี ป็นไม้คลมุ ดิน คอื ตน้ ไม้ทีม่ ีลักษณะเลื้อย และมขี นาดสูงไม่
เกนิ 1 ฟุต จัดเปน็ ไม้คลมุ ดนิ เรานาํ มาปลกู ในกระถางแขวน แล้วนาํ มาตกแต่งได้ดเี ช่นกนั พชื บางอย่างดึงดดู
ความสนใจไดด้ ี และสามารถทาํ หน้าทไ่ี ด้เหมาะสม กน็ ํามาจัดได้ ทง้ั นขี้ นาดของหอ้ งกเ็ ปน็ ข้อจาํ กดั ว่าจะใชพ้ ืช
ขนาดไหน ถ้าเปน็ หอ้ งขนาดเล็กกอ็ าจใช้พืชเพยี งตน้ เดียว แตถ่ า้ หากมีชอ่ งว่างพอกอ็ าจใชพ้ ชื ไดม้ ากกว่าหนง่ึ ต้น
หรือหน่ึงกลุ่มซง่ึ สามารถใช้พืชได้หลากหลาย

การเลือกใช้พชื มีขอ้ สําคญั 2 ขอ้ ดงั นี้

• หลีกเลี่ยงการเลือกพืชท่หี ลากหลายเกนิ ไป จะทําใหเ้ กดิ จดุ หลกั มากเกนิ ไป เลอื กพืชทีม่ คี วามสัมพนั ธ์
กัน เชน่ รูปรา่ งของใบเหมือนกนั แต่ขนาดตา่ งกนั หรืออาจมีสเี หมือนกันแตม่ ีลักษณะของใบต่างกนั
พยายามอยา่ ให้พืชท่ีใช้มีความตรงข้ามกันหลายปัจจัย

• ใชพ้ ืชหลายชนดิ ทอ่ี ยู่ในกลมุ่ เดียวกัน พชื เหล่านี้ทําหนา้ ท่ีเปน็ ฉากหลงั ควรเลือกใชก้ ล่มุ พืชท่ีมีลักษณะ
ตรงขา้ ม พชื ทีม่ ีความโดดเด่นท้ังสี และลักษณะใบ

สิ่งท่ีต้องคํานึงถึงอีกอย่างคือการจัดวาง พืชเหล่านี้เจริญเติบโตในกระถาง ดังนั้นการออกแบบต้อง
คาํ นึงถึงด้วย การนํามาจัดวางต้องใช้กระถางแบบท่ีเข้ากันได้ และเลือกรูปทรงของพืชก็ต้องคํานึงถึงหน้าท่ี
การเลือกใช้พืชหลายๆชนิด ต้องใช้ให้ถูกหน้าท่ีดีกว่าเลือกใช้เพียงชนิดเดียว การใช้พืชหลายชนิดช่วยให้มี
ความนา่ สนใจและทาํ ให้ดเู ปน็ ชน้ิ งานใหญ่ ทาํ ใหม้ ผี ลท่ีดีกวา่ การใชต้ ้นไม้เพียงกลุ่มเดียว

ข้อสังเกต การตกแตง่ ด้วยไม้ยนื ตน้ การใชต้ ้นไมใ้ หญม่ าตกแต่งนนั้ ถือวา่ มคี วามสาํ คัญมาก แตว่ า่ ต้นไม้
ใหญ่น้นั อยใู่ นกระถาง ทาํ ใหเ้ กิดการไมส่ มดลุ ขนึ้ ถ้าหากวา่ ต้นไมไ้ ม่สมดลุ จะเอียงไปด้านใดดา้ นหน่ึง ดังนน้ั
เพ่อื ทาํ ใหเ้ กดิ สมดลุ จะต้องนาํ ไม้พมุ่ และไมค้ ลุมดนิ มาตกแต่งบรเิ วณโคนต้น ทาํ ใหด้ ูสมดลุ สวยงาม


 

1.4 ขบวนการออกแบบและตกแตง่ ภายในดว้ ยไม้ในร่ม

ขัน้ ตอนการใชพ้ ชื ในการตกแต่งมี 3 ข้ันตอน

1.4.1 การตัดสินใจจะใช้พืชตกแต่งห้องให้เป็นแบบไหน คือการคิดว่าจะจัดห้องให้ออกมาเป็นอย่างไร
เช่น ต้องการให้ห้องดูอบอุ่น ต้องการให้ดูสะอาด ต้องการให้ดูสว่าง หรือต้องการเติมเต็มช่องว่าง เสริม
เฟอรน์ เิ จอร์ หรอื ตอ้ งการใหพ้ ชื เปน็ ฉากหลงั

1.4.2 ความเป็นไปได้ที่จะใช้พืชตกแต่งห้อง พืชสามารถเจริญเติบโตได้หรือไม่ ต้องคํานึงถึงการดูแล
รกั ษา สภาพแวดล้อมเหมาะสมหรอื ไม่

1.4.3 การเลือกพืชให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และหน้าที่ ต้องคํานึงถึง ความสูงของพืช texture
รูปทรง และสี เพื่อให้สัมพันธ์กับเคร่ืองตกแต่งห้อง รวมท้ังสิ่งแวดล้อมท่ีเหมาะสมด้วย เพราะหากว่าวางพืชไว้
ในจดุ ท่ี ไดร้ ับแสงเพยี งพอหรอื สภาพแวดล้อมเหมาะสมการจัดกส็ มบรู ณ์ ถ้าพืชไมส่ ามารถเจริญเตบิ ได้ดี เพราะ
ต้องเจอสภาพแสงมากหรือน้อยเกินไป ก็ควรจะเปลี่ยนพืช ซึ่งการจัดนี้ต้องดูตามข้ันตอน หากข้ันตอนใด
ขน้ั ตอนหนงึ่ ตดิ ขดั กต็ ้องเปล่ียนแปลง

1.5 สภาพแวดล้อมในสถานท่ที ่ใี ช้พืชตกแตง่ ภายใน

1.5.1 บ้านพักอาศัย

สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดของพืช เพราะว่าการที่คนเรานําเอาพืชมา
ประดับในบ้าน แสดงว่าเขารัก และสนใจพืช ดังนั้นพืชที่ประดับในบ้านจึงได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
สภาพแวดล้อมภายในบา้ นเหมาะสมกบั การเจริญเตบิ โตของพืช เพราะสภาพอากาศถูกปรับให้สบาย แต่การนํา
พืชมาปลูกในบ้านต้องคํานึงถึงชนิดของพืช ว่าต้องเป็นพืชท่ีไม่มีพิษ และต้องคํานึงถึงกรณีที่มีเด็กอยู่ในบ้าน
ดว้ ย และบางคร้งั การออกแบบของสถาปนกิ อาจทาํ ใหม้ ีแสงน้อยอาจต้องเพ่มิ แสงบา้ ง

1.5.2 สาํ นักงาน

สภาพแวดล้อมในสํานักงาน อาจมีปัญหาเพราะในสํานักงานมีแสงน้อย แต่ก็มีจุดท่ีวางไว้ได้เพื่อเติม
เตม็ ช่องวา่ ง สาํ นักงานบางแห่งกต็ ้องการจดั พืชไวเ้ ป็นฉากหลังหรอื ววิ สาํ นักงานมีความสงู ประมาณ 5 ฟุต และ
วางพืชไว้ในที่โลง่ เพอ่ื ลดความกระดา้ งของผนงั แนะนําใหใ้ ช้พืชตกแต่งสํานกั งานดังน้ี

• ใชพ้ ืชเปน็ ฉากกนั้ สาํ หรบั สํานักงานที่มีขนาดใหญ่ เมือ่ จัดวางพชื เขา้ ไปจะทาํ ให้ห้องดูเล็กลง

• ใช้พืชจัดในสํานักงานเพือ่ ดูเป็นรูปแบบเดยี วกนั เพราะบางครง้ั การตกแตง่ จะมีความแตกต่าง
ทง้ั สีและรปู แบบ กค็ วรใช้พืชชนิดเดยี วกันมาจดั วางจะทําให้ดเู ปน็ อันหนึง่ อนั เดยี วกัน


 

• ใช้พืชในการจัดเส้นทางสัญจรภายในสํานักงาน โดยจัดวางพืชให้เป็นเส้นทางนําให้ เดินไป
ตามนั้น

• การลดความสูงของเพดานลงโดยใช้พืชช่วย สํานักงานบางแห่งเพดานสูง 8 ฟุต ก็ใช้ไม้ยืนต้น
มาตกแต่งจะทาํ ใหด้ ลู ดความสูงลงและเพิม่ ความกลมกลนื มากขึ้น

• ระดับแสงตํา่ การประดับพืชในหอ้ งสาํ นักงานจะมีแสงน้อยกว่าและคณุ ภาพแสงไม่ดี

• ในสํานักงานช่วงกลางคืนและช่วงวันหยุดอุณหภูมิจะสูงหรือต่ําไป และไม่มีการถ่ายเทอากาศ
ถ้าตอ้ งปดิ หนา้ ต่างทั้งหมด จะเป็นผลกระทบตอ่ พืช ทําให้พชื ไดร้ ับอันตรายได้

1.5.3 หา้ งสรรพสนิ ค้า

ปจั จบุ ันตามห้างสรรพสินค้าใหญๆ่ ได้นําพืชมาใชต้ กแต่ง ซ่งึ จะทําใหค้ นไปซือ้ ของรู้สกึ สดชน่ื และสบาย
ใจ ตามหา้ งจะมีการนําพืชมาตกแต่งภายใน โดยใช้พืชทงั้ ไม้ยนื ต้น ไม้พุม่ ไมค้ ลมุ ดนิ ซงึ่ การนําพชื มาตกแต่งน้ี
การดูแลภายในห้างไม่ค่อยใส่ใจกบั พืชเทา่ ทค่ี วร และทาํ ให้เกดิ ปัญหา แม้ว่านักตกแต่งจะพยายามสร้าง
ส่ิงแวดล้อมใหเ้ หมาะสมกับพชื กย็ งั มปี ัญหา เชน่ คนเทกาแฟลงในกระถางตน้ ไม้ เด็กๆเด็ดใบไม้ หรอื บางครง้ั ก็
แขวนกระเป๋าหรือถงุ ใสข่ องบนต้นไม้ ทําใหต้ น้ ไม้ไมส่ วยงาม และไดร้ ับอันตราย

1.6 สภาพแวดล้อมในร่ม

1.6.1 ผลของแสงทมี่ ีตอ่ การปรบั ตวั ของพชื

การปลูกเล้ียงพืชภายในอาคาร ต้องระลึกเสมอว่า พืชเหล่านี้ไม่ได้เตรียมไว้สําหรับปลูกภายในอาคาร
แต่ก็น่าประหลาดใจว่าพืชสามารถเจริญเติบโตได้ สําหรับบรรยากาศภายในมีลักษณะดังนี้ แสงน้อย อากาศ
แห้ง อุณหภูมิอาจสูงหรือตํ่าเกินไป อย่างไรก็ตามแม้ปัจจัยจากบรรยากาศและสิ่งอื่นๆ ไม่เหมะสม แต่พืชก็
สามารถเจริญเตบิ โตและมีชีวิตรอดได้

ขบวนการปรับตัวของพืชต่อสภาพแวดล้อม : หมายถึงการปรับตัวของพืชต่อสภาพแวดล้อมใหม่ ซ่ึงมี
การปรับตัวสูงสุด ตัวอย่างพืชบางชนิดจะเจริญเติบโตไม่ได้ถ้าหากอยู่ไกลจากถ่ินกําเนิด หรือไม้ใบบางชนิดก็ไม่
สามารถปรับตัวใหเ้ ปน็ ลกั ษณะเดมิ ในสภาพแวดล้อมใหม่ สําหรับไม้ใบ เราอาจควบคุมขบวนการทางสรีรวิทยา
ของการปรับตัวระหว่างการผลิตหรือระหว่างช่วงการผลิตไปเป็นช่วงการนําไปใช้ ซ่ึงจะต้องทําให้มีชีวิตรอด
ภายใตส้ ภาพแวดล้อมภายใน แต่ตอ้ งพยายยามปรับสภาพแวดล้อมใหเ้ หมาะสม เชน่ การปรบั ตวั ต่อสภาพแสงท่ี
อยู่ภายใน แสงมีความสําคัญท่ีสุด การผลิตไม้ใบ เช่น ไทร (Ficus benjamina) ซึ่งชอบแสงท่ีมีความเข้มสูง
ดังนั้นจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีถ้านํามาปลูกภายในอาคารที่มีแสงน้อย ไทรมีการปรับตัวในสภาพได้รับแสงเต็มท่ี


 

จะมีใบเลก็ หนาและสีเขียว เพ่ือป้องกันการถูกทําลายจากแสงที่มากเกินไป และเมื่อมาอยู่ในสภาพแสงน้อยใบ
จะใหญข่ ้นึ

Light compensation point คือจุดท่ีอาหารท่ีสร้างจากการสังเคราะห์แสงเท่ากับอาหารที่ใช้ไปใน
การหายใจ เม่ือพืชอยู่ที่จุดน้ีจะไม่มีการเจริญเติบโตและไม่ตาย พืชจะไม่สามารถสร้างใบใหม่ได้ มันจําเป็น
จะต้องใช้อาหารสะสม พืชที่อยู่ที่จุดนี้และไม่มีอาหารสะสม จะตายเพราะใบหมดอายุและไม่สามารถทํางานได้
จนกว่าจะตาํ่ กวา่ จดุ นี้และมอี าหารพอพืชจึงต้องสร้างอาหาร ใบของไม้ใบแต่ละสกุลมีความแตกต่างกันของการ
แผข่ องใบ และนี่เปน็ เหตุผลว่าบางพืชสามารถมีชวี ติ อยไู่ ด้นานกวา่ ในสภาพภายในอาคาร แม้ว่าจะอยู่ตํ่ากว่าจุด
Light compensation point นัน่ คอื พืชพยายามแผห่ รอื เพ่มิ ขนาดของใบเพอื่ เพิ่มพื้นทใ่ี บในการสรา้ งอาหาร

การปรับตัวของพืชในดา้ นความต้องการธาตุอาหาร พืชบางชนิดเกิดการร่วงหล่นของใบเม่ือนํามาปลูก
ในสภาพแวดล้อมภายในอาคาร แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามีขบวนการอะไรเกิดขึ้นบ้าง อาจเกิดจากความสัมพันธ์ของ
เกลือที่ละลายในนํ้า ซ่ึงเป็นผลทําให้เกิด water stress ในพืชและชักนําให้พืชเกิดการหลุดล่วงภายให้สภาพ
ความช้ืนตํ่า หรืออาจมีความสัมพันธ์กับขบวนการเมตาโบลิซึ่มของการหายใจ ดังน้ันจึงมีคําแนะนําว่าก่อนนํา
พืชเข้าไปตกแต่งภายใน ให้ชะล้างปุ๋ยส่วนเกินออกก่อน แต่ก็มีหลักฐานเมื่อเร็วๆนี้ว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีท่ีสุด
สําหรับทุกพืช ซ่ึงใช้ได้ดีกับไทรเท่าน้ัน เพราะพืชบางชนิดถ้าชะล้างออกไปจะทําให้พืชขาดอาหารและได้รับ
อันตรายมากกว่า

ลกั ษณะทางกายวิภาคและสณั ฐานวทิ ยาของพชื ที่ปลกู ภายใน

ไมใ้ บท่ปี ลกู ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงความเข้มสงู จะมีลักษณะกายวภิ าคแตกตา่ งจากพืชท่ีปลูกในท่ีร่ม
ความแตกต่างที่เด่นชัด คือ ขนาดของใบ ความหนาบาง รูปร่าง จํานวน และอวัยวะภายในของใบ ขนาดของ
ตน้ และขนาดของระบบราก ส่วนต่างๆของพืชจะไม่เปลี่ยนขณะปรับตัว แม้ว่าใบใหม่ ลําต้น และรากที่เกิดขึ้น
จะแตกต่างกต็ าม ใบที่เกดิ ในสภาพแสงมากจะเลก็ กวา่ ใบที่ปลกู ในร่ม เชน่ กรณี Ficus benjamina จะมีพื้นที่
ใบเป็นครึ่งหน่ึงของพื้นที่ใบท่ีปลูกในร่ม ขณะที่ วาสนา (Dracaena marjinata : red – edge darcaena)
ขนาดของพื้นท่ีใบจะใกล้เคียงกัน แต่รูปร่างของใบจะสั้นและกว้างกว่าที่ปลูกในร่ม อย่างไรก็ตามบ่อยคร้ังท่ีพืช
สว่ นใหญม่ ีพ้นื ท่ใี บเท่ากบั ท่ีปลกู ในสภาพแสงมาก แต่มใี บจํานวนมากกว่าเมื่อปลกู ในท่ีรม่

ความหนาของใบ มีความสัมพันธ์กัน คือ พืชท่ีปลูกในที่มีแสงมากใบจะหนาเป็นสองเท่าของใบพืชท่ี
ปลูกในร่ม ความหนาพิเศษน้ี เกิดจากความหนาของ epidermal cell และความยาวของ spongy
mesophyll cell ผนังเซลล์ของใบพืชท่ีปลูกในที่มีแสงมากก็หนากว่าพืชที่ปลูกในร่ม ใบของไม้ใบที่ปลูกใน
สภาพแสงมากก็มีการปรับตัว ในด้านอ่ืนด้วย ตัวอย่าง เช่น Ficus benjamina รูปร่างของใบจะเป็นตัววี
มากกว่าแบบแบน ขณะที่ เขียวหมื่นปีและสาวน้อยประแป้ง (Agloanema ,Dieffenbachia) ใบจะอยู่ใน
ตําแหน่งแนวดิ่ง เมื่อมีแสงมาก แต่เมื่อมีแสงน้อยใบจะแผ่ออกในแนวนอน ขบวนการน้ีคือ การลดขนาดของ
พ้ืนที่ผิวท่ีตอ้ งสัมผัสแสงในสภาพแสงมาก และกจ็ ะเพมิ่ พืน้ ที่ผิวใบขณะแสงน้อย


 

อวัยวะของใบพืชก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน พืชท่ีปลูกในสภาพแสงมากและแสงน้อยความยาวของ
ปล้องก็จะเปลยี่ นแปลง สภาพแสงมากข้อจะอย่ชู ดิ กัน ดังน้ันใบจะมกี ารเหลอื่ มทบั กนั ขณะที่สภาพแสงน้อยข้อ
จะห่างกนั ปล้องจะยาวขึน้ ใบจะไม่ซ้อนทบั กัน การที่ใบซอ้ นทบั กนั เปน็ กลไกท่พี ชื ใชป้ อ้ งกนั แสงมาก

ขนาดของลาํ ต้นพชื ท่ปี ลูกในสภาพทมี่ ีแสงมากจะมีขนาดใหญก่ วา่ พชื ทีป่ ลูกในที่ร่ม และจะลดขนาดลง
ตามระดับแสงท่ลี ดลง เช่น ตน้ ไทร Ficus benjamina ท่ีปลูกในสภาพพรางแสง 60 – 70 % จะมีขนาดลําต้น
ลดลงร้อยละ 30 – 40 ของที่ปลูกในแสงแดดเต็มท่ี ที่เป็นเช่นน้ีแสดงให้เห็นว่าเกิดจากการลดลงของก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพโรงเรือนหรือสภาพภายในบ้านท่ีไม่มีการเคลื่อนไหวของอากาศ ปัจจัยข้อน้ีดู
เหมือนจะไม่เก่ียวข้องโดยตรงกับการปรับตัวของพืช แต่ก็เป็นส่ิงท่ีผู้ผลิตต้องคํานึงถึง ขนาดของต้นพืชที่
ต้องการ ระบบรากของพชื ทปี่ ลกู ในทม่ี ีแสงมากจะมนี า้ํ หนักมากกว่า แต่ไม่มีความสมั พันธ์ในการปรบั ตวั ของพชื

การเปล่ียนแปลงทางสรีรวิทยาของเซลล์พืช การเปล่ียนแปลงภายในของเซลล์ เน่ืองจาก
สภาพแวดลอ้ มภายนอกมคี วามสาํ คัญมาก สง่ิ ท่ีสงั เกตเห็นได้อย่างชดั เจนมาก คือ การเปล่ยี นแปลงของพืชพวก
ไม้ใบที่ตอบสนองต่อระดับแสง เซลล์พืชมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งจะสร้างอาหารในรูปคาร์โบไฮเดรทโดยขบวนการ
สังเคราะห์แสง จํานวนของอาหารท่ีสร้าง ข้ึนอยู่กับจํานวนของพลังงานแสงที่ได้รับ ดังน้ันในสภาพภายใน
อาคารจะมีจํานวนอาหารน้อยมาก ดังนั้นมีหลายทางท่ีไม้ใบสามารถใช้ประสิทธิภาพที่มีอยู่เพ่ือสร้างอาหาร
ภายในเซลล์ พบว่า คลอโรพลาสต์มีความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปท่ีที่เหมาะสมท่ีที่มีแสงพอ เพ่ือจะสร้าง
อาหารเพิ่มข้ึน อัตราน้ีไม่ทราบแน่นอน แต่จะเกิดข้ึนเป็นช่วงเวลาไม่เกิน 2 – 8 สัปดาห์ หลังจากอยู่ในสภาพ
แสงน้อย

วิธีการอนื่ ของพชื เพื่อเพมิ่ การสังเคราะหแ์ สงพบใน grana เปน็ ตาํ แหนง่ ทพ่ี ลงั งานแสงมปี ฏกิ รยิ ากับ
คลอโรฟิลล์ grana ท่อี ย่ใู นคลอโรพลาสต์ จะมกี ารเชอ่ื มต่อชอ้ นกนั การเรียงตวั ซอ้ นกนั นีอ้ ยูใ่ นแนวตั้งเพื่อ
จํากัดความสามารถในการจบั พลังงานแสง ซง่ึ ลักษณะนีพ้ บในพชื ทป่ี ลกู ในสภาพแสงมาก ในทางตรงกนั ขา้ ม
grana ทีม่ ีจะการกระจายตัวออกมากทําใหเ้ พมิ่ พื้นท่ีผวิ ให้มากข้ึนจึงสามารถจบั พลังงานแสงได้มาก เม่ืออยู่ใน
สภาพแสงน้อย grana มคี วามสามารถในการเปลย่ี นแปลงเพอ่ื ตอบสนองตอ่ ความเข้มของแสง แตอ่ ตั ราการ
เปล่ียนแปลงนนั้ ยงั ไมท่ ราบ

ดังน้ันจงึ ทราบวา่ ระดบั คลอโรฟลิ ลท์ เี่ พมิ่ ขน้ึ ตอ่ หน่วยพน้ื ที่ของพชื ทม่ี ีการปรับตัวต่อสภาพแสงนอ้ ย
ซง่ึ จะเพม่ิ ขึ้นเป็นสองเทา่ ต่อพน้ื ท่ี ทาํ ใหพ้ ชื ทน่ี าํ มาปลูกภายใตส้ ภาพภายในอาคารมีความสามารถในการสร้าง
อาหารของพชื เปน็ สองเท่าเช่นกัน

1.6.2 ผลของอณุ หภูมิตอ่ การปรบั ตวั ของพชื

อทิ ธพิ ลของอุณหภูมิทีม่ ตี อ่ การนาํ ไมใ้ บมาปลกู ในอาคารยงั ไมเ่ ป็นทที่ ราบ อยา่ งไรก็ตาม แต่มีตวั อยา่ ง
พืช เชน่ ตน้ ไทร Ficus benjamina ท่ีนาํ มาปลกู ในอาคารในชว่ งฤดูร้อน จะมีใบร่วงมากกวา่ นาํ มาปลูกในฤดู
หนาว ซงึ่ อาจเป็นเพราะการผลติ พืชก่อนทจ่ี ะนาํ มาปลกู ภายใน ผลิตในสภาพอุณหภูมสิ งู แม้ว่าอณุ หภูมิจะ


 

ไมไ่ ด้มผี ลโดยตรง แต่จะมผี ลอยา่ งมากต่ออัตราการหายใจและเปน็ สาเหตใุ ห้มกี ารเพมิ่ Light compensation
point ซงึ่ เป็นขอ้ มูลทีท่ ําใหท้ ราบว่าจะเกิดผลเชน่ น้กี ับพชื ทนี่ ํามาปลกู ภายใน ซึง่ เปน็ พืชเขตรอ้ น ซ่ึงตาม
ธรรมชาตจิ ะเกิดในสภาพที่มอี ุณหภมู สิ งู จะเตบิ โตได้ดี

1.7 กระถางทใี่ ช้สาํ หรับการเจริญเติบโตและทาํ ให้ไมใ้ นรม่ สวยงาม

กระถางมคี วามสาํ คัญมากเมอื่ เราตอ้ งการนําพืชมาใช้ตกแต่งภายใน จงึ ต้องเยนรู้เก่ียวกับกระถาง ดังน้ี

1.7.1 กายวภิ าคของกระถาง

1.7.1.1 กระถางต้องมรี ู รูอยทู่ ีก่ ้นกระถางเพอื่ ระบายน้าํ

1.7.1.2 กระถางจะตอ้ งมขี อบทีก่ น้ กระถางเพอื่ ระบายอากาศขา้ งใต้ เพ่อื ให้อากาศออกไปงา่ ย
ขึน้ ซึ่งนํ้าและอากาศมีความสําคัญเพราะจะต้องมกี ารระบายนํ้าและอากาศ

1.7.1.3 กระถางเป็นรูปกรวย โดยปากกระถางจะกว้ างกว่าก้นกระถาง เพราะเม่อื พชื
เจริญเติบโต จะโตไปเร่อื ยๆและเราจะต้องเปล่ียนกระถางเมอื่ พืชโต การท่ีมรี ูปร่างโตเพื่อสะดวกและ
ง่ายในการเปลย่ี นกระถาง ถ้า กระถางเป็นรปู กระบอกหรือปากเล็กกว่าก้นเมอ่ื ตอ้ งเปลี่ยนกระถางจะ
ทําได้ยาก ซงึ่ กระถางรปู กรวยนี้ระบบรากดมี าก

1.7.1.4 กระถางจะตอ้ งมีขอบที่ปากกระถาง เพือ่ สะดวกเวลาขนยา้ ย

1.7.2 ขนาดของกระถาง มี 3 ขนาด มีขนาดตัง้ แต่ 2 – 12 นวิ้ ดงั นี้

1.7.2.1 standard pot กระถางขนาดมาตรฐาน คอื มีขนาดความสงู เทา่ กบั ความกว้างของ
ปากกระถาง

1.7.2.2 azalea pot กระถางอาเซเลีย มีขนาดความสงู เท่ากับ ¾ ของความก้วาง เหมาะท่ี
จะใชส้ ําหรบั พชื ที่มีระบบรากแคบ เชน่ ตน้ อาเซเลีย และพวกไม้ใบ

1.7.2.3 pan ความกว้างเปน็ สองเท่าของความสงู ใช้สําหรบั ขยายพนั ธุ์ กระถางสําหรับไม้
คลุมดิน และไม้หัว

1.7.3 ประเภทของกระถาง

1.7.3.1 กระถางดินเผา เปน็ กระถางท่ที ํามาจากดินเหนยี ว แล้วนาํ มาเผา มึขนาดตง้ั แต่ 2 –
24 นิว้ มรี ูระบายน้าํ ไดด้ ี เมื่อใช้กระถางดินเผาปลกู พืชจะแหง้ เร็วกว่า เมือ่ นํากระถางใหมม่ าใชต้ ้องแช่
น้าํ ก่อน การใชก้ ระถางดินเผาปลกู พชื จะมีการระบายน้ําได้ดี แตเ่ ม่อื ใช้ไปนานๆ จะมสี ขี าวเกดิ รอบ
กระถาง เกิดจาก เกลอื จากปยุ๋ และมีตะไคร่นํ้าเกาะ ต้องลา้ งออก จากการใช้กระถางดนิ เผา จะหนกั

10 
 

และไม่เหมาะทีจ่ ะเคล่อื นย้ายบ่อยๆเพราะหนักและการใช้กระถางดินเผา ต้องมีการฆ่าเชอ้ื โรคดว้ ยแต่
การแชไ่ ว้กอ่ นปลูก จะทาํ ใหช้ ะลา้ งพษิ ของสารฆา่ เชอื้ โรคได้

1.7.3.2 กระถางพลาสติก เป็นกระถางท่ีทําจากพลาสติกแข็ง พวกโพลีโปรไพลีน
(polypropylene plastic) มีแบบกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้ังแต่ 2 – 12 น้ิวหรือมากกว่าน้ัน
กระถางกระพลาสติกไม่มีการระบายนํ้าจากด้านข้างกระถาง และไม่สามารถมีการแลกเปล่ียนก๊าซ
ด้วยเหตุน้ีการปลูกพืชในกระถางพลาสติกต้องมีการดูแลอย่างดี กระถางพลาสติกมีแบบส่ีเหล่ียมด้วย
ซึ่งกระถางรูปทรงน้ี จะมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี ซ่ึงขนาดของกระถางสี่เหล่ียมมีขนาดใหญ่สุดคือ 5 นิ้ว
การฆ่าเช้ือโรคจะไม่สามารถใช้ความร้อนสูงมากได้เพราะจะทําให้กระถางเสียรูปทรง แต่ถ้าต้องการใช้
ความร้อนจะต้องใช้ นํ้าร้อนไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส แช่อย่างเร็ว คือ 3 นาทื อีกวิธีท่ีใช้ คือใช้วิธีแช่
ในสารเคมีเป็นเวลา 10 นาที สารเคมีที่ใช้ได้แก่ Green-Shield®, Floralite® D.C.D., Triathlon®
หรือใช้คลอร็อก (chlorox) 1 ส่วนต่อนํ้า 9 ส่วน และก่อนแช่ในสารเคมีต้องล้างกระถางให้สะอาดจึง
จะสามารถฆ่าเช้ือโรคได้ผล การปลูกพืชในกระถางพลาสติกสีชาวการเจริญของรากจะไม่ค่อยดี
เนื่องจากแสงสามารถสอ่ งถงึ รากได้ จงึ นยิ มใช้สเี ขม้ มากกว่า

1.7.3.3 กระถางแก้วและกระถางกระเบื้องเคลือบ กระถางชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้สําหรับการ
ตกแต่ง มีลักษณะคล้ายกับกระถางพลาสติก คือ จะไม่มีการระบายน้ําและอากาศจากบริเวณรอบๆ
กระถาง ดังน้ันต้องมีท่อเล็กๆเสียบไว้ข้างๆต้นพืช เพ่ือให้สามารถทราบว่าในวัสดุปลูกมีความชื้นมาก
หรือน้อย เพ่ือสามารถใหน้ าํ้ กบั พชื ได้เหมาะสม

1.7.3.4 กระถางโลหะ กระถางชนดิ นก้ี ็มลี ักษณะการระบายนํา้ เช่นเดียวกับ กระถางพลาสติก
และกระถางแก้ว แต่โลหะบางชนิดจะเป็นพิษต่อรากพืช เช่น กระถางทองแดง ดังน้ัน จึงนิยมกระถาง
โลหะเป็นกระถางเพอ่ื การตกแต่ง นน่ั คือใช้สวมลงบนกระถางทใี่ ชป้ ลกู

1.7.3.5 กระถางทม่ี ีการให้นํา้ ได้ในตวั เอง เป็นกระถางสองช้ัน โดยด้านบนผนังกระถางมีช่อง
ใสน่ า้ํ ลงไปแล้วมีทอ่ เล็กๆ ไปเปิดท่กี น้ กระถางช้นั ใน ซึ่งท่ีก้นกระถางชั้นในจะมีรูสําหรับให้น้ําไหลไปยัง
ต้นพืช

1.8 วัสดปุ ลูก

ดิน เป็นวสั ดุทมี่ ีความสําคัญ เกิดอยู่ในธรรมชาติเป็นส่วนของเปลือกโลก ซึ่งมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ
อินทรียวัตถุ นํ้าและอากาศ มคี ุณสมบตั ิที่เหมาะสมสาํ หรับใช้ในการปลูกพืช ดงั น้ี

1) ยดึ เหน่ียวรากพืช

2) เปน็ แหล่งใหน้ ํา้ กบั พืช

3) ให้แร่ธาตุทีพ่ ชื ต้องการ

11 
 

4) ใหอ้ ากาศแก่รากพชื

แตว่ า่ ในการปลูกพืชในกระถาง ไมน่ ิยมใช้ดินอย่างเดียวเปน็ วสั ดุปลกู หรอื อาจไมใ่ ชด้ ินเป็นวสั ดุปลูก
เลยก็ได้ ซง่ึ อาจใชว้ สั ดสุ งั เคราะหท์ ีเ่ รียกวา่ synthetic media หรือ artificial media ซึ่งลกั ษณะเฉพาะของ
วัสดปุ ลพู ชื ในกระถาง คือ

1) มีปรมิ าตรจํากดั

2) อย่ใู นทแี่ คบและลึก

3) สมั ผสั กบั อากาศโดยตรง ทั้งสองด้านคอื บรเิ วณผิวหนา้ และก้นกระถาง

ดงั นน้ั คณุ สมบัติของดนิ และวัสดปุ ลกู ในกระถางควรมีคุณสมบตั ิครบท้งั หมด คือท้ัง 7 ประการมารว่ ม
กัน

คณุ สมบัตทิ างฟิสิกสข์ องดนิ โดยท่ัวไปดินมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ 45 % อนิ ทรียวัตถุ 5 % ซ่งึ จะอยู่
บริเวณหนา้ ดนิ มีนํา้ และอากาศอยู่ในช่องว่างของดินอย่างละประมาณ 20 – 30 %

ดินมีอานุภาคอยู่ 3 ประเภท คือ sand silt และ clay ซึ่งอานุภาคทั้ง 3 ชนิดนี้ จะประกอบกันเป็น
ชนดิ ของดิน คือ ดินทราย ดนิ รว่ น ดินร่วนปนทราย ดินเหนียว ซึ่งดินแต่ละชนิดน้ีมีส่วนประกอบของอานุภาค
ของดนิ ไมเ่ ทา่ กัน

หมายถึงวัสดุท่ีใช้ปลูกไม้กระถางที่นํามาประดับในร่มหรือในอาคาร โดยทั่วไปการใช้วัสดุปลูกสําหรับ
การปลูกไม้กระถางนั้น จะตอ้ งมีการใช้วสั ดทุ ผ่ี สมกนั ขึน้ มาโดย ส่วนประกอบอาจใชด้ ินหรอื วสั ดุอน่ื กไ็ ด้

ประเภทของวัสดทุ ี่นาํ มาผสมเป็นวสั ดปุ ลกู

วสั ดปุ ลกู แบง่ เปน็ 2 ประเภท คือ

1.8.1 อินทรยี วตั ถุ

ปุ๋ยคอก

ปุย๋ หมกั

แกลบดบิ

แกลบเผา

พที

ขยุ มะพร้าว

12 
 

ขเ้ี ล่อื ย

เปลอื กไม้

ข้ีกบ

เปลือกถ่วั

1.8.2 อนนิ ทรยี วตั ถุ

ทราย

เวอมิคูไวท์

เพอไลท์

โฟม

วธิ ีการศึกษาว่าวัสดทุ ี่ผสมปลกู เหมาะสมกับพืชหรอื ไม่ ซ่งึ ต้องทราบวา่ วัสดทุ ีน่ าํ มาปลูกจะต้องมี
คุณสมบตั ดิ ังต่อไปนี้

Air fill porosity

Water capacity

Bulk density

pH

1.9 อาการผดิ ปกติตา่ งๆทเี่ กดิ กับพชื ทนี่ าํ มาปลูกภายในอาคาร

1.9.1 การทจ่ี ะนาํ พืชเขา้ ไปตกแตง่ ในอาคารจะตอ้ งมีขัน้ ตอนวธิ กี ารตรวจสอบวา่ พชื นั้นปลอดจากโรค
หรอื แมลง ดังน้ี

1) กรณีซอ้ื มาจากรา้ นใหต้ รวจสอบพชื วา่ พืชน้ันสมบรู ณป์ ราศจากโรค แมลง และให้ แยกพืชไว้
ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เพอ่ื แนใ่ จว่าพชื นน้ั ไม่มีปญั หา

2) ถา้ ผลิตเองต้องผลติ อย่างสะอาด มีการฆา่ เชื้อโรค ทีก่ ระถาง วัสดุปลกู ต้องสะอาด รวมท้งั เครือ่ งมือ
ทใ่ี ช้

3) การฆ่าเชอ้ื สําหรับพชื ใช้วิธีปล่อยให้มกี ารชะลา้ ง ซง่ึ วัสดทุ ่ใี ชต้ อ้ งมกี ารระบายน้ําได้ดี

4) อย่าใหพ้ ืชมใี บแน่นเกินไป

13 
 

5) จบั ต้องพชื อยา่ งระมดั ระวังอย่าให้พืชเกิดแผล

6) จดั วางพืชในที่ทมี่ ีสภาพแวดลอ้ มท่ีเหมาะสม

1.9.2 การสังเกตพืชทจ่ี ะมกี ารรบกวนของโรคและแมลง ถา้ หากว่าตรวจพบเร็วกจ็ ะสามารถแก้ปัญหา
ไดเ้ รว็ และจะได้ผลมากกว่า

1) ตรวจสอบสัปดาหล์ ะครง้ั

2) ใชแ้ ว่นขยายตรวจดทู ่ีใบ ลําต้น และทกุ ส่วนของตน้ พืช

3) ตรวจดบู นพน้ื ผวิ ของวัสดุปลูก เพอื่ ดวู ่ามีเชอื้ รา หรอื แมลง

4) ตรวจดโู รค บนใบ ว่าใบมีสี เหลอื ง หรือนา้ํ ตาล มีจดุ มีเชอ้ื ราสขี าวหรืออ่นื ๆหรอื ไม่

ทงั้ หมดนถี้ ้าพบใหแ้ ยกพชื ออกไปทันที แลว้ รักษาให้หาย อาจไมห่ าย ก็ต้องเปลยี่ นพชื ใหม่นาํ มาประดบั แทน
1.9.3 การควบคุมโรคและแมลง มี 3 วธิ ี

1.9.3.1 วธิ กี ล (mechanical control) วธิ ีนป้ี ลอดภัยทีส่ ดุ เสยี ค่าใชจ้ ่ายนอ้ ยท่สี ุด และเหมาะกบั
สภาพแวดล้อมทสี่ ุด ทาํ ได้โดยการตรวจสอบอยา่ งดี เมอ่ื พบก็ต้องมเี ดด็ สว่ นท่ีเสยี หายออกไปทันที

1.9.3.2 ชวี วิธี (organic control) ใช้สารสกดั จากธรรมชาติ หรือใช้เช้อื โรค หรือแมลงไปทาํ ลาย
ศตั รพู ืช เช่น odiferouse spray ซ่งึ สารนที้ าํ มาจาก หัวหอม กระเทียม พริกไทย ตน้ ดาวเรอื ง สมนุ ไพร ท่ีมี
กลิ่นแรง หรือใช้สบู่ โดย ใชผ้ า้ ชุบนํา้ สบูน่ ําไปเชด็ ใบพืชท่ีมีแมลงรบกวน เช่นสบู่ท่ีมชี ่ือการคา้ ว่า safer agro
chem’s Insecticidal soap

1.9.3.3 สารเคมีกาํ จัด (chemicalcontrol) การใช้สารเคมกี ําจัดโรคและแมลง

การใช้ต้องใช้ใหเ้ หมาะสม สารที่ใช้เรียกว่า pesticide ซึง่ pesticide มหี ลายชนดิ ได้แก่ insecticide เปน็
สารกําจัดแมลง miticide เปน็ สารกาํ จดั ไร และ fungicide เปน็ สารกาํ จัดเช้ือรา การจะใช้สารเคมใี หไ้ ดผ้ ลตอ้ ง
คํานึงถงึ

1) ต้องแน่ใจว่าอาการที่เห็นเกดิ จากโรคและแมลง ไมใ่ ช่เกดิ จากการขาดธาตุอาหาร

2) ต้องทราบสาเหตุท่ีแนช่ ัดวา่ เกดิ จากอะไร

3) กอ่ นใชส้ ารเคมตี ้องใชว้ ิธีกล หรือใชช้ ีววธิ ี ถ้าไม่ได้ผลกใ็ หใ้ ชส้ ารเคมีเป็นวีธีสุดทา้ ย

4) การใชส้ ารเคมตี อ้ งอา่ นฉลากให้เขา้ ใจ โดยทฉี่ ลากจะมรี ายละเอียดคือ

ก) ชอื่ การคา้ เชน่ Malathion Kelthane

14 
 

ข) ประเภทของสารเคมี ว่าเปน็ insecticide miticide หรอื fungicide

ค) สารออกฤทธ์ิ ตอ้ งบอกปรมิ าตรของสารออกฤทธิ์ วา่ มีอยู่เท่าไร

ง) สัญญลักษณเ์ ตือน เชน่ อันตราย หวั กะโหลกไขว้

จ) ขอ้ ปฏบิ ตั เิ มื่อไดร้ ับอนั ตรายจากสารเคมี

ฉ) วิธใี ช้ อตั ราทีใ่ ช้

ช) ข้อมลู อนื่ ๆ เชน่ ช่ือและท่อี ยบู่ รษิ ทั ผ้ผู ลิต ตลอดจนเคร่อื งหมายอนุญาตวา่ เปน็ สารควบคมุ

การใช้สารเคมปี อ้ งกนั กาํ จดั โรคแมลง อาจทําให้พชื ไดร้ บั อันตรายได้ คอื เกิดอาการผิคปกติต่างๆ
เรยี กวา่ pesticide phytotoxicity อาการท่ีเหน็ ได้ชัดคือ ปลายใบและขอบใบมีสีนาํ้ ตาล สเี หลอื ง อาจมีจุดสี
เหลืองหรือนาํ้ ตาล มีรอยยน่ เปน็ คล่นื หรือจดุ ดาํ มกี ารเจริญเตบิ โตผิดปกติโดยเฉพาะอาจชงักการเจริญเติบโต
ปจั จยั ที่ทาํ ใหเ้ กดิ คืออาจเกดิ จากการใชส้ ารเคมีอย่างเดยี ว หรือเกดิ จากสภาพแวดล้อมรว่ มกับสารเคมี และต้น
พืชเอง หรอื บางกรณีเกดิ จากพืชชนิดน้นั เอง กรณีสภาพแวดล้อมถ้าฉีดพ่นสารเคมใี นสภาพอุณหภูมิสงู กวา่ 85
หรอื ตํา่ กวา่ 55 องศาฟาเรนไฮท์ ซ่งึ ช่วงอณุ หภูมิท่ีเหมาะสมอยใู่ นชว่ ง 65 – 75 องศาฟาเรนไฮท์ และสาร
บางอย่างตอ้ งใชใ้ นท่ที ่ีมีความชน้ื สมั พทธ์ไม่เกนิ 45% และควรฉดี พน่ สารตอนเชา้ ของวันเพอื่ ใหส้ ารเคมีแห้งเร็ว
ชนิดของสารเคมีท่ีใช้กม็ สี ว่ นทาํ ลายพืชเช่นกัน การใช้สารเคมที ฉี่ ดี พน่ เป็นแบบละอองจะดีกว่าแบบสาร
แขวนลอยที่ใชร้ ดพชื และใช้สารทเ่ี ปน็ เมด็ ฝังลงไปในวัสดปุ ลกู กจ็ ะไมท่ าํ อันตรายตอ่ พชื โดยระวังอยา่ ฝังใกล้
บริเวณโคนตน้ มากเกนิ ไป และถา้ พืชนั้นได้รบั ปุ๋ยหรือแสลมากเกนิ ไปกจ็ ะไดร้ บั อันตรายจากสารมากไปด้วย มี
พชื หลายชนดิ ที่อ่อนแอตอ่ การใช้สารเคมี ไดแ้ ก่ Begonia Brassaia Bromeliad Calathea Crussula
Echeveria Fern Marantha Orchid Peperomia และ Sedum รวมทง้ั ไมด้ อกทอ่ี อกดอกใหม่ ดงั นน้ั เพอ่ื
ป้องกนั อันตรายตอ่ พชื ท่อี าจเกิดจากสารเคมี จงึ มขี อ้ ควรระวัวดังนี้

ก) ก่อนใชต้ อ้ งอา่ นฉลากใหล้ ะเอียด และปฏบิ ัติตามอย่างเคร่งครัด

ข) ถา้ จาํ เปน็ ตอ้ งใชก้ ับพืชท่อี อ่ นแอตอ่ สารเคมคี วรใช้กบั พืชจาํ นวนน้อยก่อน

ค) การเกิดการเป็นพษิ น้จี ะเกดิ ขน้ึ หลงั จากได้ใช้ไปหลายๆครงั้ และอาการทีเ่ ห็นจะคลา้ ยกับ
อาการท่ีพชื ถกู ทําลายจากศัตรพู ชื จึงตอ้ งใช้การสงั เกตอุ ยา่ งรอบคอบ

1.9.4 แมลงศตั รทู ี่ทําลายพืช

1.9.4.1 การจําแนกแมลงตามระยะการเจริญเตบิ โต แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คอื

1) gradual metamorphosis แมลงประเภทนี้จะมีวงจรชวี ติ จากไข่ ไปเปน็ ตัวอ่อน เรียกว่า young
nymph และจากตวั ออ่ นพัฒนาไปเป็นตัวเตม็ วัย แต่รูปร่างจะเหมือนเดิม เรยี กวา่ full grown nymph

15 
 

2) complete metamorphosis แมลงประเภทนี้จะมีวงจรชวี ติ ที่มี 4 ระยะ ที่มรี ูปรา่ งแตกตา่ งกัน
คอื จากไข่ ไปเป็นตัวออ่ นระยะแรก เรียกว่า larva แล้วไปเปน็ ตัวอ่อนระยะท่ีสอง เรียกว่า pupa อาจอย่ใู น
ดักแด้ (cocoon) หรือไม่กไ็ ด้ หลังจากนน้ั พฒั นาไปเป็นตัวเตม็ วยั เรียกว่า adult

1.9.4.2 การจําแนกตามลักษณะของปาก

1) piercing – sucking mouthpart คือ แมลงทีม่ ีสว่ นของปากใชด้ ดู กินนํา้ เลี้ยงจากสว่ นของพชื
แมลงพวกน้พี บมากในพชื ท่ีปลกู ไวใ้ น อาคารบา้ นเรือน

2) biting – chewing mouthpart คือแมลงท่ีมสี ่วนปาก ใช้กดั สว่ นของพืช พบมากในพชื ท่ีปลูกเลี้ยง
อย่ภู ายนอกอาคาร บา้ นเรอื น

1.9.4.3 แมลงและศัตรทู ส่ี ําคัญ

1) aphid คือเพล้ียอ่อน เปน็ พวกที่มวี งจรชวี ิตแบบ gradual metamorphosis มีขนาด น้ิว
ลักษณะลําตวั กลมรีคล้ายลกู ท้อ มสี เี หลือง ขาว เขยี ว เทา นํ้าตาล ชมพูและแดง อาจมีปกี และไมม่ ปี ีก ซงึ่ มี
วงจรชีวติ ท่ซี ับซอ้ น บรเิ วณทพี่ บเพลย้ี ออ่ นเข้าทาํ ลายพชื จะพบบริเวณ สว่ นยอดทก่ี ําลังเจรญิ เติบโต ใตใ้ บ
และบริเวณตา การเข้าทาํ ลายพชื ทถ่ี ูกทาํ ลายจะสูญเสียความแข็งแรง ของใบและดอก เกิดอาการเหลือง เหยี่ ว
มกี ารเข้าทําลายที่ตาดอกและตาใบด้วย ถา้ ถกู ทําลายมากๆพชื จะตาย เพล้ยี อ่อนจะดูดกนิ นํา้ เลี้ยง แล้วปลอ่ ย
นํา้ เมือกออกมาท่บี ริเวณท่มี นั กนิ เรียกวา่ honey dew คือเปน็ นํ้าเหนียวๆ ซ่ึงนาํ้ นี้จะดงึ ดดู ใหแ้ มลงและโรคมา
ทาํ ลายพชื ซํ้าเตมิ อีกอาจเกดิ โรคราดําขึ้นดว้ ย สาํ หรบั พชื ทอ่ี อ่ นแอตอ่ แมลงตวั นี้ คือ Brassaia
Chrysanthemum Cinneraria Citrus Cyclamen Diefferenbachia Fuchsia Gynera Hedera
Hibiscus Hoya Impatients Kalanchoae Nerium Orchids Palms Pelagonium Peperomia
Sedum Seningia

การกําจัดเพลีย้ อ่อน โดยวิธีกล คอื ใช้ไมพ้ ันสาํ ลีชบุ แอลกอฮอล์ เช็ดออก แลว้ ฉดี ลา้ งดว้ ยนํา้ สะอาด
ตาม หรอื นําพืชออกข้างนอกแลว้ ใช้นํา้ ยาซกั ผ้า 1 ช้อนชาผสมนํา้ 1 แกลลอน ฉดี พน่ ให้ถกู บริเวณใต้ใบและ
ตามจุดที่มีเพลย้ี อ่อน สปั ดาหล์ ะครัง้ และวิธสี ุดท้ายใช้สารเคมีกําจดั ทสี ามารถกาํ จดั ได้

2) mealybug คอื เพลย้ี แปง้ ซง่ึ เปน็ แมลงทีพ่ บมากในพชื ท่ีปลกู ภายในอาคาร รปู รา่ งเป็นรูปไข่รี
ลาํ ตัวมเี ปลือกแขง็ และมฝี นุ่ สีขาวคล้ายแปง้ ปกคลุม ลาํ ตวั แบนมีขนาด 1/8 ถึง ¼ นว้ิ เป็นปากดูด มวี งจรชีวติ
แบบ gradual metamorphosis การเข้าทาํ ลายพืชจะพบตวั ออ่ นมากกว่า โดยจะเกาะอยู่ตาม ลาํ ต้น ตาดอก
ตาใบ นอกจากนยี้ ังปลอ่ ยนํ้าเหนยี ว คอื honey dew เชน่ เดยี วกับเพลี้ยอ่อน ทําให้ มแี มลง และเชื้อรามา
ทําลายพชื ซา้ํ ต้นพชื ทีม่ ีเพลย้ี หอย จะมอี าการเหีย่ ว เหลือง ไมเ่ จรญิ เติบโต ดอกรว่ ง และไม่แข็งแรง บางครั้ง
อาจเขา้ ทําลายรากพืชดว้ ย สําหรบั พืชทีอ่ ่อนแอตอ่ แมลงตวั นี้ คือ Anthurium Araucaria Asparagus
Avocado Begonia Cactus Chrysanthemum Cinneraria Citrus Coleous Codiaeum Crussula
Cycads Dracaena Echeveria Euphorbia fern Ficus Fuchsia Gardinia Gynura Hedera Hoya

16 
 

Impatients Kalanchoae Lantana Marantha Musa Nerium palms Pandanus Sansevieria
Singonium และอืน่ ๆ

วิธกี ารกําจดั โดยวิธกี ล คอื เมอื่ พบใหใ้ ช้ไม้พันสาํ ลีชบุ แอลกอฮอล์ เชด็ ออกแล้วลา้ งด้วยนํา้ สะอาด แลว้
ทาํ เชน่ เดยี วกับการกําจดั เพลี้ยอ่อน สําหรับที่รากกใ็ หท้ ําความสะอาดวสั ดุปลูกแลว้ ตดั รากที่เสยี ทง้ิ การใช้
สารเคมถี า้ เปน็ ที่ต้นใช้สารฉดี พน่ ถา้ เป็นท่ีรากใหใ้ ชส้ ารดดู ซมึ โดยใช้สารฝงั ในวัสดปุ ลูก

3) Scale คือเพล้ยี หอย มที ง้ั แบบ soft scale และ hard scale ขนาดของเพล้ยี หอย ทีเ่ ปน็ แบบ
เปลอื กน่มิ จะใหญ่กว่าเปลอื กแขง็ พวกเปลอื กแขง็ มขี นาด 1/8 ถึง ¼ นว้ิ อาจมสี ีนาํ้ ตาล ขาว เทา หรอื ดาํ
เพล้ยี หอยจะเปน็ พวกปากดูด โดยจะดดู กินน้ําเล้ียงจากลาํ ตน้ และใบ ทาํ ใหต้ ้นพชื มีอาการชงักการเจรญิ เติบโต
มสี ีเหลือง ใบรว่ ง ไมแ่ ขง็ แรง นอกจากนี้ เพล้ียหอยยังปล่อย honeydew ออกมาเหมือนเพล้ยี แปง้ ทําให้เกดิ
การทาํ ลายซ้ําจากแมลงอ่นื และเชือ้ รากับต้นพชื ด้วย สําหรับพืชท่ีอ่อนแอต่อแมลงตวั นี้ คอื Agave Aloe
Anthurium Araucaria Asparagus Begonia Bougainvillea cactus Chlorophytum Citrus Coleous
Codiaeum Crussula cycads Euphorbia fern Ficus Fuchsia Gardenia Jasminum Musa
Oleander orchids palms Pandanus Pelargonium และอ่นื ๆ

วิธกี ารกําจดั โดยวิธกี ล เมือ่ พบให้ใช้ไม้พนั สาํ ลีชบุ แอลกอฮอล์ เช็ดออกแล้วลา้ งดว้ ยนา้ํ สะอาด ใชม้ อื จบั
มอื จับออก หรือใช้นาํ้ ล้างออกโดยใชน้ ํา้ อนุ่ ผสมกบั ผงซกั ฟอกครึ่งช้อนชา ส่วนการใชส้ ารเคมี ใชส้ ารฉีดพ่น หรอื
ใช้สารเคมปี ระเภทดูดซึมฝงั ลงในวสั ดุปลูก

4) spider mite คือแมงมมุ แมงมมุ เป็นศตั รูพืชทสี่ ําคัญชนดิ หนง่ึ ทงั้ น้ีเนอ่ื งจาก มขี นาดเล็กมาก
ประมาณ 1/50 น้วิ จงึ มองไมเ่ หน็ จนกว่าพืชจะแสดงอาการ แมงมมุ ขยายพนั ธุ์ไดเ้ รว็ มาก ในสภาพอากาศอุน่
และแห้งได้ และมรี ะบบป้องกันตัวท่ดี คี ือ มเี ส้นใย สารเคมีจงึ ไม่ถกู ตัว รวมทง้ั สามารถเข้าทาํ ลายพืชได้หลาย
ชนดิ วธิ กี ารสงั เกตวุ ่าพืชถูกรบกวนจากแมงมุมหรือไม่ ใหน้ าํ พืชนั้น ไปเขยา่ บนกระดาษสีขาว ถา้ มแี มงมุมจะ
รว่ งลงมา ใชแ้ วน่ ขยายส่องดูจะมองเห็น ลกั ษณะของแมงมุม ตวั เมียมสี แี ดงเมื่อกินอาหารเข้าไป ตัวผู้มีสเี ขยี ว
ดํา หรอื เหลือง ตวั เปน็ รปู ไขม่ ขี นปกคลุม ทพ่ี บเขา้ ทาํ ลายไม้ในบา้ น ตวั สเี หลอื งมจี ุดสีดาํ 2 จุดบนหลัง การเข้า
ทําลายพืชจะดูดกินน้าํ เลย้ี งใตใ้ บ และสร้างเส้นใยปกคลมุ โดยภายใต้เส้นใยตวั เมียจะวางไข่ เม่ือพืชถกู ทําลาย
มากๆ ใบจะมีสีซดี เปลยี่ นเปน็ สีนํ้าตาลแล้วร่วงหลดุ ไปในที่สดุ สาํ หรับพชื ทอี่ อ่ นแอตอ่ แมลงตัวนี้ คือ
Aglaonema Anthurium Araucaria Asparagus Begonia cactus Calathea Citrus Coleous
Codiaeum Cordyline Dieffenbachia Dracaena Fuchsia Gardenia Hedera Hoya Hippeastrum
Lantana Maranta palms Peperomia Pelargonium Polyscias Sainpoulia Spathiphyllum และ
อน่ื ๆ

การกาํ จดั โดยวิธีกล คือ ใช้วิธีฉีดล้างดว้ ยนํา้ สะอาดตาม หรือนําพชื ออกขา้ งนอกแล้วใชน้ า้ํ ยาซกั ผา้ 1
ชอ้ นชาผสมนาํ้ 1 แกลลอน ฉีดพน่ ให้ถูกบรเิ วณใต้ใบและตามจดุ ท่ีมแี มงมมุ สปั ดาห์ละครั้ง เหมอื นกาํ จัดเพลี้ย

17 
 

อ่อน แต่ไข่อาจไม่หลุดไปง่ายๆ จงึ ต้องทาํ บอ่ ย โดยเฉพาะล้างดา้ นหลงั ใบเป็นพิเศษ สว่ นการใช้สารเคมี ใชส้ าร
ฉดี พ่น หรือใชส้ ารเคมีประเภทดดู ซึมฝงั ลงในวสั ดุปลกู หรอื ใชส้ บ่กู าํ จดั แมลงกไ็ ดผ้ ลดี

5) Whiteflies คอื แมลงหวข่ี าว ตัวมีขนาดเลก็ 1/16 นิ้ว การเข้าทําลายจะทาํ ลายบรเิ วณใต้ใบ
โดยเฉพาะใบอ่อนทเ่ี กดิ ใหม่ ใบจะมสี ซี ดี เปล่ียนเปน็ เหลืองและร่วงหลดุ ไปในท่ีสดุ แมลงหวี่ขาวจะปล่อย
honeydew ออกมามากมายและจะมแี มลงชนดิ อืน่ และเช้ือราเขา้ ทําลายซํา้ เชน่ เดียวกับเพล้ียอ่อน สาํ หรับพืช
ทอ่ี ่อนแอตอ่ แมลงตัวนี้ คือ Begonia Chrysanthemum Citrus Coleous Cineraria Euphorbia ferns
Fuchsia Gardenia Hibiscus Jasminum Lantana Pelargonium และอืน่ ๆ

การกําจดั โดยวธิ ีกล คือ ใช้วธิ ีฉดี ล้าง เชน่ เดียวกับการกําจัดเพลี้ยออ่ น โดยเฉพาะบริเวณใตใ้ บ ลาํ ตน้
และก้านใบ ถา้ จะให้ไดผ้ ลดี ใหท้ ําทุกๆ 2 วนั จนกวา่ จะลดจาํ นวนลง จึงต้องทําบ่อย สว่ นการใชส้ ารเคมี ใช้
สารฉีดพน่ หรอื ใช้สารเคมีประเภทดดู ซมึ ถา้ จะให้การวบคุมไดผ้ ลดี ควรใชส้ ารเคมีทกุ ๆ 10 วนั

6) มด เปน็ แมลงทีเ่ ข้าทําลายซ้าํ บริเวณท่มี กี ารปลอ่ ยนํา้ เหนียว (honeydew) ซ่งึ แมลงทีก่ ล่าวไปแลว้
ข้าตน้ ปล่อยไว้ โดยมดจะทาํ รงั อยู่ภายในวัสดปุ ลกู จึงมกี ารรบกวนระบรากของพืชด้วย พืชเกอื บทุกชนิด
ออ่ นแอต่อมด

การกําจัด โดยวิธกี ลคือ พยายามขุดรังมดออกจากวสั ดปุ ลูกโดยต้องทําอย่างระมดั ระวัง เพ่อื ไมใ่ ห้
กระทบกระเทือนระบบราก แลว้ เปล่ยี นกระถางใหมแ่ ละใช้วัสดปุ ลกู ท่ีผา่ นการฆา่ เชื้อแลว้ ส่วนสารเคมีใช้
ป้องกันกําจัด กใ็ ชผ้ สมกบั น้าํ รดลงบนวัสดุปลูก และเพื่อหลกี เลยี่ งการเกดิ พิษขากสารเคมี หลงั จากรดสาร
แล้ว ใหร้ ดนาํ้ ตามมากๆ

7) cyclamen mites คอื พวกไร ที่มีขนาดเล็กมากขนาด1/50 น้ิว ตวั ใส พวกนมี้ องเห็นไดย้ ากจะไม่
ทราบว่ามี จนกวา่ จะพบว่าพืชถูกทาํ ลายแลว้ โดยจะทาํ ลายใบออ่ นและยอดโดยเฉพาะบริเวณปลายยอด
ของตน้ พชื จนกลายเป็นสดี าํ ลกั ษณะบดิ เบยี้ ว โดยเฉพาะพบทําลายอัฟรกิ ันไวโอเลต (aferican violet) ท่ี
กําลงั เจรญิ เตบิ โตและให้ดอก ทําให้ดอกเสยี รปู ทรง มลี ายและ เปลียนเป็นสีมว่ งหรอื ดํา บางครัง้ ไม่ออก
ดอกหรืมดี อกชว่ งส้นั กว่าปกติ สําหรบั พืชทีอ่ อ่ นแอ คือ Aphelandia Begonia Crassula Cyclamen
Episcia Gynera Hedera Impatients Pilea Sainpaulia และอื่นๆ

การกาํ จัด โดยวธิ กี ล คือ แชต่ ้นทเ่ี ป็นท้ังกระถางในนํ้าอ่นุ 110 องศาฟาเรนไฮท์ นาน 15 นาที การ
กาํ จัดด้วยสารเคมี ใชส้ ารทสี่ ามารถกาํ จดั ไร อาจใช้ฉีดพ่น ดว้ ยสารดูดซมึ

8) กิ้งกือ ชอบอยใู่ นทีช่ นื้ และมดื ดังนน้ั ถา้ กิ้งกอื อยทู่ ่วี ัสดปุ ลูก กจ็ ะกนิ ใบดอก ผลของตน้ ไม้ ที่รว่ ง
หลน่ ทีว่ ัสดุปลกู ได้ นอกจากนี้สว่ นรากและส่วนของชื บนตน้ ก็เปน็ อาหารของก้ิงกือด้วย พืชส่วนใหญ่
ออ่ นแอตอ่ ศตั รูชนดิ น้ี

18 
 

การกาํ จดั โดยวิธีกล คอื ขุดวสั ดุปลูกออกจากกระถางที่ถกู ทําลายโดยระวงั ไมใ่ หร้ ะบบรากเสยี หาย
แลว้ เปลี่ยนกระถางโยใช้วสั ดุปลกู ที่ผ่านการฆ่าเช้อื แล้ว สว่ นการใชสารเคมใี ช้แบบเดียวกับการกาํ จดั มด

9) fungus gnat แมลงเลก็ ตัวโตเตม็ ท่มี ีขนาด 1/8 น้วิ มีสีเทาเข้ม มีปกี 1 คู่ มันจะทาํ ลายพชื เม่อื มัน
เปน็ ตวั แก่ โดยมนั วางไข่ไวใ้ นวัสดปุ ลูก ตวั อ่อนเรียกวา่ maggot ซ่ึงพบอยู่ใตผ้ ิววสั ดปุ ลกู โดยมนั จะกนิ นําเลีย้ ง
บรเิ วณเน่ือเยอ่ื ออ่ นของรากทาํ ให้พชื ชงกั การเจริญเติบโต ใบมีสเี หลืองและใบร่วง และทําให้เกิดรากเนา่ ดว้ ย
แลว้ maggot จะกลายเป็นตวั แกท่ ่มี ีปีก ซง่ึ มนั ชอบทําลายพืชที่อยู่ในวสั ดุปลูกทีม่ อี นิ ทรียวัตถุที่เน่าเปอ่ื ยมาก
ดังนัน้ จงึ ตอ้ งพยายามเก็บ ใบ ดอกและผลทรี่ ว่ งอยู่ในกระถางปลกู ออกเปน็ ประจําเพื่อลดปัญหานลี้ ง ตัวอ่อน
ของมันจะพบที่ผิววสั ดปุ ลกู และตวั แกจ่ ะพบบินเลน่ ไฟหรือใกลๆ้ หนา้ ตา่ ง สําหรับพชื ท่อี อ่ นแอได้แก่ พชื เกือบ
ทกุ ชนิด โดยเฉพาะพวกท่ปี ลกู ในกระถางที่มอี ินทรียวตั ถมุ ากๆ

การกําจดั โดยวิธกี ล โดยการเอาวสั ดุปลกู ทีอ่ ยูร่ อบๆรากออกแลว้ เปลย่ี นกระถาง วสั ดุปลกู ทีผ่ า่ นการ
ฆา่ เชอ้ื แล้ว ลา้ งบรเิ วณท่มี ตี วั อ่อนด้วยนํ้ารอ้ นเพอ่ื ทําลายตวั อ่อน โดยทาํ บ่อยๆ สว่ นการใช้สารเคมีใช้แบบ
เดียวกบั การกําจดั มด

10) thrips เพลี้ยไฟ มีสีเงินตวั บางๆ ขนาดเลก็ 1/30 ถงึ 1/12 นิ้ ว บสารทป่ี ล่อยางคร้งั มีสี
เหลือง นา้ํ ตาล หรอื ดาํ ข้นึ อยกู่ ับชนิด เพลีย้ ไฟจะเข้าทําลาย ลําต้น ดอก หรือใบ รอยทท่ี ําลายจะเป็นจุดสีเงนิ
หรือรอยแผลสขี าวแลว้ มีจุดดาํ เกดิ จากออกมา พชื ท่ีถูกทาํ ลายจะชงักการเจริญเติบโต ดอกจะไมพ่ ัฒนา ใบ
เปล่ียนเป็นสเี หลืองและหลุดรว่ งไปในทีส่ ุด ทส่ี ําคัญเพลย้ี ไฟทําให้ มกี ารแพร่ระบาดของไวรสั เพิม่ ขึน้ พชื ที่
ออ่ นแอตอ่ เพล้ียไฟ ได้แก่ Aphelandia Araucaria Asparagus Brassaia Begonia Chrysanthemum
Citrus Codiaeum Cyclamen cycads Dieffenbachia Dracaena Epipremnum ferns Fuchsia
Ficus Gardenia Hippeastrum orchids palms Peperomia Philodendron Sansevieria
Spathiphyllum และอ่นื ๆ

การกําจัดโดยวิธีกล คอื ใชน้ าํ้ ฉีดเช่นเดียวกับเพล้ยี ออ่ น ส่วนการกําจดั ด้วยสารเคมี ใชฉ้ ีดพน่ ด้วย
สารละลาย หรอื ใชส้ ารดูดซมึ

11) slugs and snail ทากและหอยทาก เปน็ สัตว์ในกลุ่มหอย เปน็ ศตั รูท่พี บทําลายพชื โดยจะกนิ สว่ น
ยอดของพืชและต้นกล้า จะพบร่องรอยบนใบซ่ึงมันปลอ่ ยออกมา เปน็ เส้นใสๆบนใบ ทที พบเป็นทากที่มขี นาดื
ยาว ½ นวิ้ ถงึ 4 นิว้ โดยมยั ยนจะเข้าทาํ ลายพืชตอนกลางคนื สว่ นตอนกลางวนั จะซอ่ นตวั อย่ใู นทช่ี ืน้ และมืด
เชน่ ใต้กระถาง ทากจะติดมากบั พชื ทน่ี าํ มาจากขา้ งนอก ดงั นน้ั กอ่ นนาํ พืชเขา้ มาภายในบา้ นหรอื สาํ นักงานให้
ตรวจสอบให้ดี พชื เกอื บทุกชนิดออ่ นแอต่อทาก

การกาํ จัดโดยวิธกี ล คือ ใชห้ ยบิ ออกไปทงิ้ การใชส้ ารเคมใี หใ้ ชส้ ารทก่ี าํ จัดพวกหอยโดยเฉพาะ
(molluscicide) ซึ่งจะกาํ จดั ไดผ้ ล

19 
 

12) cutworms คอื หนอนของผีเสอ้ื กลางคนื ซึ่งจะทําลายพืชผัก การเข้าทําลายโดยผีเส้ือกลางคืนจะ
บินมาทรี่ า้ นขายไม้ประดับแลว้ วางไข่ เมอื่ ฟกั เปน็ ตัวอ่อนจะเขา้ ไปอยูใ่ นวัสดุปลูก ดงั นัน้ จึงตดิ ไปกับพืช แล้ว
หนอนจะหากินตอนกลางคืน โดยกัดต้นออ่ นบรเิ วณระดบั ดนิ และอาจทาํ ลายทีต่ า ลาํ ต้น ใบ และดอก พืช
เกอื บทกุ ชนิดอ่อนแอตอ่ หนอน

การกําจดั โดยวิธกี ล คือ หบิบหนอนออกไปทิ้ง ใหเ้ อาวสั ดุปลูกรอบๆระบบรากออกไปใหม้ ากทส่ี ุดเพื่อ
ทําลายที่อาศยั ของไข่หนอน แล้วเปลยี่ นกระถาง และใชว้ ัสดุปลูกทผ่ี ่านการฆา่ เชอ้ื โรคมาแล้ว

1.9.4.4 โรคทีส่ ําคัญ

หัวข้อน้จี ะกล่าวถึงโรคที่เกิด จาก ไวรัส แบคทีเรยี เชอื้ ราและไสเ้ ดือนฝอย

1)Viruses ไวรัส ไวรัสเปน็ สงิ่ มีชีวติ ท่มี ขี นาดเลก็ มากไมส่ ามารถมองเหน็ ไดด้ ้วยตาเปลา่ ไวรสั เปน็
สาเหตุใหเ้ กดิ โรคในพชื หลายชนดิ ซง่ึ พืชทเี่ ปน็ โรคทเ่ี กดิ จากไวรัสไมส่ ามารถรักษาได้ จงึ ต้องแยกพืชท่ีเปน็ ออก
จากพืชที่ไม่เป็นโรค ไวรัสสามารถเขา้ ทาํ ลายและแพร่ระบาดไปทุกสว่ นของพืชไมว่ ่าจะเปน็ ราก หัว ใบ ลาํ ต้น
และดอก ซงึ่ อาการของพืชีม่ ีไวรัส มี 3 ลกั ษณะคือ ใบเป็นจุดดา่ ง ใบบดิ เบ้ียวผิดรูป และเกดิ การแคระแกรน
ไวรัสท่เี ขท้ ําลายไมใ้ นบ้าน ได้แก่

1.1) Mosaic virus คือไวรัสท่ีทําใหเ้ กิดอาการใบม้วน อาการท่ีเกดิ คอื สขี องใบจะเปลีย่ นไปคล้าย
ลายหินออ่ น หรอื ลายโมเสก พืชจะชงักการเจริญเตบิ โต ใบม้วนงอ หรือหดยน่ มีวงแหวนสีขาวหรอื เหลือง
ดอกมลี ายและไม่บาน ไวรัสชนิดนแี้ พร่กระจายได้งา่ ยจากพืชทเี่ ปน็ ไปยังพืชตน้ อืน่ ๆ โดยมแี มลงพวกเพลี้ยอ่อน
เพลีย้ แปง้ ไร แมงหว่ีขาว เป็นตวั นาํ ไป ดังน้นั จงึ มคี วามจาํ เปน็ ต้องควบคุมแมลงเหล่านี้ไมใ่ หร้ ะบาด เครอ่ื งมอื
อุปกรณ์ท่ีใชท้ าํ สวนก็เป็นตัวแพรเ่ ชื้อไดด้ ว้ ย จึงตอ้ งระมดั ระวัง สาํ หรบั วรัสทีพ่ บทําลายพชื รนุ แรงมากคอื
Tomato Mosaic Virus (TMV) พชื ท่อี อ่ นตอ่ ไวรสั น้ี ได้แก่ Abutilon Aglaonema Aphelandra Begonia
Bougainvillea Caladium Calathea Calceolaria Columnea Chrysanthemum Cineraria
Coleous Dieffenbachia Eucharis Hippeastrum Kalanchoe Maranta orchids Pelargonium
Peperomia Philodendron Pittosporum Rhoeo Saintpaulia Sinningia Syngonium และอนื่ ๆ

ไม่มวี ธิ ีกาํ จัดไวรสั แตส่ ามารถควบคุมแมลงที่เป็นพาหนะไม่ใหร้ ะบาดโดยเฉพาะเพลยี้ ออ่ น และเมอ่ื
พบมพี ชื ถกู ไวรัสทาํ ลายต้องกําจดั พชื นน้ั โดยการเผาเพ่อื ไม่ใหเ้ กดิ การระบาดต่อไป

1.2) Ring Spot Virus อาการท่ีพชื ถกู ทําลายจะมองเหน็ ไดอ้ ยา่ งชัดเจน โดยใบจะมีรอยเปน็
ลักษณะขีดซกิ แซก เป็นวงสอี ่อน ใบจะบดิ เบ้ยี วผดิ สว่ น พืชจะชงักการเจริญเตบิ โต มจี ดุ สนี ้ําตาลหรอื เหลอื ง
ใกลๆ้ หรือภายในวงแหวนหรอื ท่ีรอยขดี มลี ายเสน้ สีออ่ นๆ จะเกดิ ท่กี า้ นใบและปลายยอดของลําตน้ แล้ว
เปลี่ยนเป็นสนี ํ้าตาล การแพร่ระบาดโดยมีเพล้ยี ไฟเปน็ พาหนะ จงึ ตอ้ งควบคมุ เพลีย้ ไฟไม่ใหร้ ะบาด พืชทอ่ี ่อน
ตอ่ ไวรัสน้ี ไดแ้ ก่ Abutilon Begonia Brassaia Calceolaria Chrysanthemum Cineraria Fuchsia
Hippeastrum orchids Pelargonium Peperomia Sinningia และอ่ืนๆ

20 
 

ไมม่ วี ธิ ีกาํ จัดไวรสั ชนิดน้ี แตส่ ามารถควบคมุ แมลงที่เปน็ พาหนะไมใ่ ห้ระบาดโดยเฉพาะเพลี้ย
ไฟและเมื่อพบมพี ชื ถกู ไวรสั ทาํ ลายต้องกําจัดพืชน้นั โดยการเผาเพ่อื ไมใ่ ห้เกดิ การระบาดตอ่ ไป

2) Bacteria แบคทีเรียจะเขา้ ทําลายพชื ทบี่ าดแผลทเี่ กิดจากการทาํ ลายของแมลง หรอื บาดแผลทเี่ กิด
จากเครือ่ งมอื จะระบาดอย่างรวดเร็ว การแยกพืชทีเ่ ปน็ ออกไปอาจไมช่ ่วยให้ดีขนึ้ เพราะวา่ แบคทเี รียสามารถ
มีชวี ิตอยใู่ นดินหรอื วสั ดปุ ลูกได้นานหลายปี ดังนนั้ วสั ดุปลูกของพืชท่ถี กู ทําลายจะตอ้ งไดร้ ับการฆ่าเช้อื หรอื
กาํ จดั ท้งิ ไปเลย อาการที่พบคือ ใบเปน็ จุด ใบ และราก เหยี่ วแหง้ เกิดอาการ canker คือเกิดอาการแหง้ และ
แตกของเน้ือเยื่อพืช การเข้าทาํ ลายของแบคทีเรยี และเชอ้ื ราจะคลา้ ยคลึงกนั และอาจเกดิ จากท้งั แบคทเี รียและ
เชอื้ รากไ็ ด้ โรคท่ีเกิดจากแบคทเี รยี มีดังน้ี

2.1) Bacteria Leaf Spot คอื โรคใบจุด อาการทเ่ี ห็นไดช้ ดคอื ใบมีจดุ สีดาํ รอบจุดมอี าการ
ฉํา่ นา้ํ แลว้ ใบกลายเป็นสีเทา นํา้ ตาล นา้ํ ตาลแดงหรอื ดํา ตรงจดุ บางครั้งแหง้ จนเน้อื ใบหลุดใบเกิดเปน็ ชอ่ งว่าง
ทาํ ให้ใบเปน็ รโู หว่ รอบๆจุดมีขอบสีเหลอื ง แล้วขยายวงออกไปท่ัวทง้ั ใบ นอกจากนยี้ ังพบอาการเกิดขึ้นกับใบ
และลาํ ตน้ มรี อยขดี สีจางรวมทั้งพบอาการใบบางโปร่งแสงด้วย ในพลฉู ีก (Philodendron scandens
oxysporum ซ่ึงเปน็ พืชท่ีออ่ นต่อโรค พบเกดิ ใบจุด และขอบใบมสี เี หลอื ง โดยเรม่ิ จากปลายใบกอ่ น แล้ว
เปลยี่ นเป็นสีนํา้ ตาล หรือแดง โรคทเ่ี กดิ จาดแบคทีเรียกําจัดยากมาก ซง่ึ อาการของโรคเหมอื นเกิดจากเชอ้ื รา
อย่างไรกต็ ามการระบาดเกิดข้ึนเรว็ มาก จะทราบโดยตรวจดพู บเช้ือราหรือไม่ ถา้ ไมพ่ บแสดงวา่ เกดิ จาก
แบคทีเรยี สําหรบั พืชท่ีออ่ นแอต่อโรคใบจุด ไดแ้ ก่ Abutilon Aglaonema Anthurium Avocado Begonia
cactus Caladium Chrysanthemum Dieffenbachia Dracaena Epipremnum Euphorbia ferns
Gardenia Hedera Hibiscus Monstera Musa orchids palms Pelargonium Pellionia Pilea
Philodendron Spathiphyllum Syngonium และอื่นๆ

การกําจดั ถ้าพบเปน็ โรคก็ต้องแยกพชื นน้ั ออกไปทําลายทิ้ง

2.2) Rot คือโรคเนา่ มีสาเหตจุ ากเชือ้ แบคทีเรียและเชือ้ รา จะเกดิ อาการเน่าได้เกือบทุกส่วนของพืช
ได้แก่ ราก ส่วนยอด ลําตน้ ใบ ตา และดอก อาการที่พบคอื พชื จะออ่ นแอลง ทําใหใ้ บมีขนาดเลก็ มสี เี หลือง ใบ
ม้วนงอ เหยี่ วอย่างรวดเรว็ แลว้ รว่ งโรยไปในทสี่ ดุ อาการเน่าของพืชจะมีลกั ษณะฉํ่านาํ้ เกดิ กอ้ นน่ิมๆ เน่าเละมี
กลิ่นเหมน็ เนา่ และอาจมีเส้นใยของเช้อื ราปกคลุมบรเิ วณทเี่ นา่ ดว้ ย

การเกิดรากเน่า จะทําให้พชื เห่ยี วคล้ายเกิดจากการขาดนาํ้ ทําใหเ้ ข้าใจผิดว่ารดนาํ้ ไมเ่ พยี งพอ วิธี
ตรวจดใู ห้นําต้นพชื ออกมาดูทีร่ ากว่ามีอาการวา่ รากแขง็ แรงดีหรือชงกั การเจริญถไ้ ม่เจรญิ จะมกี ลน่ิ เปรีย้ วๆและ
สีจะเขม้ กวา่ รากปกติ ถา้ มกี ารใหน้ ํ้ามากเกินไปกจ็ ะทาํ ให้รากเน่าได้เช่นกนั พชื เกือบทุกชนดิ อ่อนต่อโรครากเนา่
ถ้าพบเปน็ โรคก็ตอ้ งแยกพชื น้นั ออกไปทําลายทิ้ง การกาํ จัดด้วยสารเคมีอาจใชส้ ารกําจัดเชื้อราในชว่ งทีพ่ บเหน็
ตอนแรก กอ็ าจยบั ยัง้ ได้

21 
 

2.3) Wilt diseases คือโรคเห่ียว มีสาเหตจุ ากเชอื้ แบคทเี รียและเชอ้ื รา อาการท่ีเปน็ จะมี
อาการใบเหย่ี วแมว้ า่ จะรดน้ําแล้วกต็ ามอาการ การเหย่ี วเนอื่ งจากเกดิ การอุดตันของทอ่ ลาํ เลียงน้ําของลาํ ต้น
และใบ ท่อลําเลยี งอดุ ตนั โดยเชื้อโรค หรอื โดยการท่เี ซลพชื สรา้ งกระบวนการต่อต้านเช้อื โรค หรอื เกดิ จากพืช
สร้างสารเหนยี วเพือ่ ตอบสนองต่อการถูกโจมตีจากเชือ้ โรค อาการทเี่ กดิ ใบพชื จะเหี่ยวเหลืองโดยจะเปน็ จาก
ยอดพชื ลงมา แล้วใบจะร่วง เมื่อเป็นนานๆพชื จะตายในทส่ี ุด ถา้ ตดั ลําต้นดูจะพบร่องรอยท่ที อ่ นา้ํ ของลําต้น
สาเหตุท่ที าํ ให้เกิดโรคเห่ียวอาจเปน็ เชอ้ื โรคทีเ่ กดิ อย่ใู นดนิ หรือมีแมลงเป็นพาหนะนาํ มา ดังนั้นจงึ ต้องใชว้ สั ดุ
ปลกู ทผี่ ่านการฆา่ เช้อื และควบคุมไมใ่ หม้ กี ารระบาดของแมลง ซงึ่ โรคเหีย่ วนี้กําจัดได้ยาก สาํ หรับพชื ทอ่ี อ่ นตอ่
โรค ไดแ้ ก่ Abutilon Avocado Begonia cacti Calceolaria Chrysanthemum Cineraria coleous
Cylamen Codiaeum Euphorbia Fuchsia Hibiscus Impatiens Kalanchoe orchids palms
Pelargonium และอ่ืน

การกําจดั ถ้าพบเปน็ โรคก็ต้องแยกพืชนนั้ ออกไปทาํ ลายท้ิง

3) Fungi คอื เชื้อรา โรคท่ีทําลายพชื ท่ใี ชต้ กแต่งภายใน สว่ นใหญเ่ กิดจากเชือ้ รา ซ่ึงสามารถกําจดั ได้ถ้า
รู้ว่าเป็นเรว็ ท่ีสุด แต่ถา้ เป็นไปแลว้ จะรกั ษายากมาก ดงั น้ันการป้องกนั จงึ เปน็ วธิ ีท่ดี ที ี่สดุ เช่นเดยี วกับโรคที่เกิด
จากไวรัสและแบคทเี รีย อาการของโรคท่ีเกิดจากเชื้อรามีหลากหลาย ดงั นี้ มีเขม่าดาํ ซึง่ คอื เสน้ ใยเช้ือราขึน้ ปก
คลมุ ใบ หรอื สว่ นเนอ้ื เยื่ออื่น ใบมจี ดุ สนี า้ํ ตาลแดงหรอื มฝี ุ่นสขี าวคล้ายแป้งมลี กั ษณะคล้ายปุยฝา้ ยคลุมใบ
อาการอืน่ ๆ คอื เนา่ เปน็ จดุ เปน็ แผลเป่ือย (canker) และอาการเหีย่ ว

โรคทเ่ี กิดจากเชอ้ื รา ไดแ้ ก่

3.1) Blight,Botrytis blight,Gray mold blight หรอื Leaf blight อาการทพี่ บ คอื มีจุดสีนาํ้ ตาล ท่ี
ใบ ลาํ ตน้ ดอก จุดทเ่ี กิดจะขยายขนาดออกไป บางครั้งดอกทเี่ ป็นจะเน่า ส่วนของพืชทเี่ ปน็ จะเนา่ และถา้ เปน็
กบั พชื ต้นอ่อนจะทําให้เกิดอาการเห่ยี ว สภาพอากาศช้ืน โรคมีการถา่ ยเทอากาศไม่ดจี ะทําให้เช้ือรากล่มุ นีเ้ จรญิ
ไดด้ ี วิธปี ้องกันไมใ่ ห้เกิดโรคน้ี ก็ต้องหลีกเลยี่ งไมใ่ หพ้ ชื มีใบมากเกินไป ควบคุมความชืน้ ของอากาศ และอยา่ รด
น้าํ ใหเ้ ปียกใบ สาํ หรบั พชื ทอี่ อ่ นตอ่ โรคน้ี ไดแ้ ก่ Agave Aglaonema AphelandraAralia Araucaria
Asparagus Begonia cactus Caladium Chrysanthemum Cineraria Coleus Dracaena Eucharis
Euphorbia ferns Fuchsia Gardenia Hedera Hibicus Hippeastrum Hoya Musa orchids palms
Pilea Saintpaulia Sinningia Yucca และอื่นๆ

การกําจดั ถา้ พบเป็นโรคก็ต้องแยกพชื นัน้ ออกไปทาํ ลายทง้ิ การกาํ จดั ดว้ ยสารเคมอี าจใช้สารกาํ จัดเช้อื
ราในช่วงท่พี บเหน็ ตอนแรก กอ็ าจยับยงั้ ได้

3.2) Damping off คอื โรคเนา่ คอดนิ โรคน้ีจะเปน็ กบั เมลแ็ ละต้นกลา้ ของพชื เกอื บทุกชนิด เชอื้ โรคจะ
เขา้ ทําลายเมลด็ ทําใหเ้ มลด็ เนา่ กอ่ นจะงอกซึ่งทําให้เข้าใจวา่ การงอกล่าช้าไปเพราะสภาพไม่เหมาะสม สว่ นการ
ทาํ ลายในช่วงเป็นตน้ กล้าจะทาํ ให้ต้นกล้าเม่ืองอกออกมาแล้วจะเน่าบริเวณคอดินแล้วตาย การป้องกนั โดยใช้

22 
 

วัสดุเพาะท่ีฆ่าเช้อื โรค และวสั ดตุ ้องมกี ารระบายนา้ํ ไดด้ ี สาํ หรับพชื ทีอ่ ่อนต่อโรคนี้ ได้แก่ Aglaonema Aloe
Anthurium Aphelandra Aralia Ardisia Begonia Brassaia Caladium Codiaeum Coffea Coleus
Crassula Dieffenbachia Dracaena Eucheveria Fittonia Gyneraa Hedera Impatients Maranta
Monstera palms Peperomia Philodendron Saintpaulia Sansevieria Schlumbergera และ
Syngonium

การกําจัด ทาํ ลายเมลด็ และต้นกลา้ ท่ีเปน็ โรค รใมทั้งดนิ ปลกู ด้วย การป้องกันด้วยการคลกุ เมล็ดสาร
กาํ จัดเชอ้ื รา สว่ นการปอ้ งกนั ต้นกล้าใหฉ้ ดี พน่ สารกาํ จัดเชอ้ื ราสปั ดาหล์ ะคร้ัง

3.3) Fungi Laef Spot โรคใบจุด อาการที่เกิดคอื ใบจะเป็นจุดมีหลายขนาด หลายสีอยูบ่ นผวิ ใบ
และรอบๆจุดมขี อบชัดเจน บนจุดปกคลุมดว้ ยราแปง้ แลว้ ร่วงหลดุ ไปท้ิงใบใหม้ รี ู คลา้ ยอาการท่เี กดิ จาก
แบคทีเรยี ใบทเ่ี ปน็ จะมสี เี หลอื ง เหย่ี วเฉาและรว่ งในท่ีสดุ สภาพท่ที ําใหเ้ กิดเชอื้ รา คือ ใบเปยี ก และมคี วามชนื้
มากเกนิ ไปในสภาพแวดล้อม เช้ือราระบาดโดยลม นาํ้ แมลงและมอื ของมนษุ ย์ สําหรบั พชื ทีอ่ ่อนตอ่ โรค ไดแ้ ก่
Acalypha Acanthopanax Agave Aglaonema Araucaria Asparagus Aspidistra Begonia Brassaia
cacti Chrysanthemun Codyline Coffea Coleus Crassula Dieffenbachia Dracaena Eucheveria
Epipremnum Eugenia Euphorbia Fatsia Ficus ferns Fuchsia Gardenia Gyneraa Hedera
Hibiscus Hoya Impatients Kalanchoe Monstera Musa Nrium orchids palms Pandanus
Pelargonium Peperomia PhilodendronPilea Polyscias Sansevieria Sedum Syngonium และ
Syngonium

การกําจดั ถ้าพบเปน็ โรคก็ต้องแยกพชื นนั้ ออกไปทําลายทิ้ง ถ้าใชส้ ารเคมใี หใ้ ช้สารปอ้ งกันกําจดั เช้ือรา

3.4) Sooty Mold เช้ือราชนิดนจ้ี ะเจรญิ บนน้ําเมือก (honeydew) ทแี่ มลงปล่อยไว้บนตน้ พชื ดังนั้น
จงึ ต้องพยายามควบคุมแมลงท่เี ป็นพาหนะใหด้ ี เชื้อน้จี ะไม่ลงลึกเขา้ ไปในเน้อื เย่อื พืชแต่จะอาศยั อย่บู นนํ้าเมอื ก
เท่านน้ั อาการท่ีเหน็ คอื มีลกั ษณะคลา้ ยฝ่นุ ชอลก์ สีนํา้ ตาลหรือดาํ ปกคลุมใบพืช ซึ่งจะไม่ทําลายพชื โดยตรง แต่
จะไปขดั ขวางไมใ่ หพ้ ืชไดร้ บั แสง ซ่ึงก็คอื รบกวนขบวนการสงั เคราะห์แสงของตน้ พืช สําหรับพชื ทอ่ี ่อนต่อโรค
ไดแ้ ก่ cacti Citrus Crassula ferns Ficus Gardenia Hedera Nerium palms Philodendron และอน่ื ๆ

การกําจัดโดยวิธกี ล คือใชส้ าํ ลพี นั ปลายไม้ชุบนํ้าเช้ดเช้ือราออกจากใบ เดด็ ใบที่เสียหายทง้ิ ไป

4) Nematodes คอื ไส้เดือนฝอย มนั อาศยั อยู่ในดินและบนน้ือเยอ่ื ต้นพชื ไส้เดอื นฝอยส่วนใหญ่อยู่
ภายนอกตน้ พืช แตม่ นั จะสรา้ งก้อนที่รากพืชทาํ ให้รากพชื เกิดเปน็ ปมขน้ึ หลงั จากน้นั ตวั เมียจะวางไขท่ ป่ี มราก
พชื ไส้เดือนฝอยบางชนิดจะเข้าไปในตน้ พืชทางบาดแผลได้แลว้ กินอาหารจากต้นพืช อาการทีเ่ กดิ ขนึ้ สามารถ
ตรวจดรู ากพชื ถา้ ถูกทาํ ลายรากจะเป็นปม พืชจะแสดงอาการชงกั การเจริญ ใบเปน็ สเี หลอื ง ตน้ อ่อนแอ และใบ
รว่ ง ซ่งึ อาการนี้ทําให้เข้าใจผดิ ว่ากิดจากการขาดนาํ้ หรอื ได้นํ้ามากเกินไป บางครั้งอาจเกิดรากเนา่ และเหีย่ วเฉา
ทง้ั นอี้ ามเี ช้อื ราและแบคทเี รยี เข้ามาทาํ ลายพชื ตรงทไ่ี ส้เดือนฝอยทาํ ให้เกดิ บาดแผลก็ได้

23 
 

การปอ้ งกันกําจดั ไส้เดอื นฝอย คือตอ้ งวัสดปุ ลูกที่ผ่านการฆา่ เชอ้ื โรคแล้ว พชื สว่ นใหญจ่ ะออ่ นแอตอ่
ไส้เดือนฝอย โดยเฉพาะพืชต่อไปน้ี Aglaonema Ananas Ardisia Asparagus Begonia Brassaia cacti
Caladium Calathea Calceolaria Chamadorea Chrysanthemun Coleus Colocasia Ctclamen
Dieffenbachia Dizogotheca Echeveria Euphorbia Ficus ferns Fuchsia Gardenia Hibiscus
Hippeastrum Impatients Jusminum Maranta Monstera Musa orchids Pelargonium
Philodendron Sainpaulia Sansevieria Sempervivum Sinningia และอืน่ ๆ

การกําจัด โดยเก็บตน้ ทีเ่ ป็นไปทาํ ลายพรอ้ มทาํ ลายวสั ดปุ ลูกดว้ ย

5) Physiological Disorders คืออาการผดิ ปกตขิ องพืชเนอื่ งจากลักษณะทางสรรี วทิ ยาอืน่ ๆ เมื่อพบ
พืชมกี ารเจริญเติบโตไม่ดีหรอื มอี าการผิดปกติ แต่ไม่พบวา่ เกิดจากโรคหรือแมลงศัตรู อาจมสี าเหตุมาจากการ
ปลูกและการดแู ลรกั ษาที่ไม่ถกู ต้อง เชน่ เกดิ อาการใบเหลอื งซง่ึ ไมเ่ ปน็ โรคหรือแมลงทาํ ลาย กอ็ าจเกดิ จาก
ปญั หาเร่ืองนํ้า หรืออาการขาดธาตุอาหารก็ได้ ดังนนั้ จงึ เปน็ การยากทจี่ ะตรวจดูวา่ พืชมีอาการผดิ ปกติเกิดจาก
สาเหตุใด ดังนัน้ จึงมีคําแนะนาํ เบือ้ งตน้ ทจี่ ะตรวจดูวา่ เมอ่ื พชื มอี าการผิดปกติเกิดเพราะอะไร ตามตารางท่ี....

ตารางที่ แสดงอาการและสาเหตทุ ี่พืชมีความผิดปกติทางสรีรวิทยา

ลาํ ดบั ท่ี อาการ สาเหตุ

1 ลําตน้ ยาวเก้งก้าง,ปลอ้ งยอื ยาว,ใบใหม่มีขนาดเล็กลงและใบ ไดร้ บั แสงไม่เพียงพอ

เป็นสีเขยี วออ่ น

2 ใบมจี ดุ สเี หลืองหรือสีนาํ้ ตาลตรงสว่ นทีใ่ กลห้ นา้ ต่าง,ใบสซี ีด ไดร้ ับแสงมากเกนิ ไป

และหนา,อณุ หภูมสิ งู ความเข้มของแสงมาก

ลําดบั ที่ อาการ สาเหตุ

3 ลาํ ตน้ และใบเหยี่ ว,ใบร่วง,ดินแหง้ ขาดนา้ํ

4 ลาํ ตนอ่อนแอผดิ ปกต,ิ ใบส่วนลา่ งเปน็ สเี หลอื งและร่วง,ใบใหม่ นาํ้ มากเกนิ ไป,การระบายน้าํ ไม่ดี

เล็กผิดปกติ,พชื ไม่แขง็ แรงและโตช้า,ดนิ เปียกโชก,นํา้ มกี าร

ระบายไมด่ ี

5 ใบกอดติดกระถาง,สขี องใบมีสีเขม้ ผดิ ปกติ,ลาํ ตน้ และใบ อุณหภมู ติ าํ่ เกินไป

เปราะบางหรอื เหนยี วผิดปกติ

6 ใบเห่ียวแม้ว่าจะมีความชืน้ เพียงพอ,พขื มีใบน้อยและไมอ่ อก อณุ หภูมิสูงเกินไป

ดอก,ไมแ่ ขง็ แรงและโตช้า

7 ใบเหลืองเห่ียวและมขี นาดเลก็ กวา่ ปกติ,พชื ไม่แขง็ แรง,ไม่ได้ ขาดธาตอุ าหาร

ใส่ปุย๋ ในช่วงกําลังเจรญิ เตบิ โต,พืชปลกู ในวัสดุปลกู ทไ่ี ม่มดี นิ

หรอื อยู่ในกระถางเปน็ เวลานานโดยไม่ได้เปลีย่ นกระถาง

8 ใบเป็นสีเหลอื งแตเ่ สน้ ใบมสี ีเขยี ว ขาดธาตุเหลก็

9 พืชมดี อกน้อยหรอื ไมม่ ีดอก,ใบเจริญเตบิ โตอดุ มสมบูรณม์ าก ได้รบั ธาตุอาหารมากเกินไป

,ใส่ปุย๋ ไนโตรเจนสูงบ่อยๆหรอื ใส่ป๋ยุ มาตรฐานแต่ใส่มากกวา่ ท่ี

แนะนาํ

24 
 

10 เกิดตะกอนเกาะทข่ี อบและข้างกระถาง,ใบแตะที่ขอบ เกิดจากเกลอื ของป๋ยุ

กระถางมอี าการเหีย่ วเฉา

11 ปลายใบและขอบใบเปน็ สีนํา้ ตาล,พชื ไมแ่ ขง็ แรงและโตช้า ความชนื้ ไม่เพียงพอ

12 เกิดรอยขดี และจดุ บนใบ............ อากาศเยน็ นานเกนิ ไป

13 ส่วนของพืชท่เี กดิ ใหม่มีความผดิ ปกติ,รากเจญิ ออกไปจากรู พืชเจริญออกนอกกระถาง,โดย

กระถาง,นาํ้ ระบายเร็วมาก,วัสดปุ ลกู แห้งเรว็ มาก ตรวจสอบว่ามีรากออกไปหรือ

เปลา่

บรรณานุกรม
คณาจารย์ภาควิชาปฐพวี ทิ ยา คณะเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ 2523. ปฐพีวทิ ยาเบอ้ื งต้น พิมพค์ ร้งั ท่ี

4. โรงพมิ พ์ร่งุ เรอื งธรรม. กรุงเทพมหานคร.
ศรปี ระไพ ธรรมแสง 2547 เอกสารประกอบการสอนวิชาการผลติ ไมด้ อกไมป้ ระดับ (1202 415) ภาควิชา

พืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยั อบุ ลราชธานี
สมเพยี ร เกษมทรัพย์ 2522 การปลกู ไม้ดอก คณะเกษตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
สมเพียร เกษมทรพั ย์ 2524 ไม้ดอกกระถาง คณะเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
Briggs, G.B. and C.L. Calvin 1967. Indoor Plants. John Wiley & Sons, New York.
Dole,J.M. and H.F.Wilkins.2005. Floriculture Principles and Species. 2nd Edition, Pearson

Prentice hall, Newjesy, USA.

25 
 

Ingels,J. 2001. Ornamental Horticulture: Science,Operations & Management. 3rd Edition,
State University of New York College of Agriculture and Technology, Cobleskill, New
York, USA.

26 
 

บทที่ 6

การตลาดไมด อกไมประดบั

1 การตลาด

การตลาด(Marketing) หมายถึง กิจกรรมตางๆซงึ่ จาํ เปนจะตอ งทาํ ในอัน
ทจี่ ะเคลอื่ นยา ยสนิ คาและบรกิ ารตา งๆจากมือผูผลติ จนกระทง่ั ถึงมือ
ผบู ริโภคคนสดุ ทาย

2 การตลาดของไมดอกไมป ระดบั

ไมดอกไมป ระดับ เปนสนิ คาการเกษตรอยางหนง่ึ ทม่ี ีความ
หลากหลายของประเภท สามารถขายหรอื จาํ หนา ยในหลายรูปแบบ ไดแ ก

• สวนดอก คือ จําหนา ยเปน ไมต ดั ดอก คือนําแตเ ฉพาะสว นดอกมา
จําหนา ย

• สวนใบ คือ จําหนา ยเปนไมต ดั ใบ คือนําแตเฉพาะสว นใบ มาจําหนา ย

• ทง้ั ตน คือ จําหนา ยเปน ไมด อก หรอื ไมประดบั ทน่ี าํ ไปใชท้ังตน

ดังนน้ั การตลาดไมดอกไมประดับ ควรเริม่ ต้ังแตวัตถุประสงค วาเราจะ
จําหนายแบบใดแลววางแผนการผลิตเพื่อบรรลุวัตถุประสงคที่กําหนดไว
และตองมีการศึกษาวาตลาดมีความตองการไมตัดดอก ไมใบหรือไม
ประดับที่มีลักษณะและคุณสมบัติอยางไรเพ่ือใหสอดคลองกับการผลิต
กรณีไมตัดดอก เชน เบญจมาศ ความตองการของตลาดมีความตองการ
ดอกสีเหลือง ขาว มากกวา สีอ่ืน กุหลาบในชวงฤดูหนาวใกลเทศกาลตาง
ๆ ตอ งการสีแดง เปน ตน

ระบบการตลาดและกจิ กรรมทเี่ กยี่ วขอ งกบั การตลาดมดี งั นี้

2.1 ระบบการตลาดไมด อกไมป ระดับในตางประเทศ

2.1.1 ระบบการตลาดไมดอกไมป ระดบั ในทวีปยโุ รป



บทที่ 7

ไมด้ อกไมป้ ระดบั ส่งออก

ไม้ดอกไม้ประดับมคี ณุ ค่ามากมาย ดงั ได้กล่าวแลว้ ในบทท่ผี า่ นมา ไม้ดอกไมป้ ระดับเปน็ พชื เศรษฐกจิ ที่
สาํ คัญชนิดหนง่ึ ของโลก เน่ืองจากว่าไม้ดอกไมป้ ระดบั มีความสวยงามทําให้ผพู้ บเหน็ มคี วามสุข ยงิ่ ในสงั คม
ประเทศท่ีพัฒนาแลว้ เขาจะให้ความสําคญั กบั คุณคา่ ของชวี ติ มาก นั่นคือประชาชนส่วนใหญม่ ีความเปน็ อยู่ที่
สุขสบายไมต่ ้องดิ้นรนเพ่อื ปากทอ้ งแล้ว เขาจงึ ต้องการความสขุ ทางใจจากการสมั ผสั ส่งิ สวยงาม เพ่อื ให้ชีวิตของ
เขามคี วามสขุ มากขนึ้ นัน่ คอื ต้องการอาหารตาและอาหารใจน่ันเอง เพ่อื มชี ีวิตอยา่ งสมบูรณ์

1 ไม้ดอกไมป้ ระดบั ในตลาดโลก

ตลาดไม้ดอกไม้ประดับของโลก มีประเทศผู้ส่งออกไม้ดอก 100 ประเทศ และเกือบทุกประเทศมีการ
ผลิตเอง มีไม้ดอกไม้ประดับมากกว่า 200 ชนิด มีจําหน่ายในตลาดโลก มูลค่าการค้าไม้ดอกไม้ประดับใน
ตลาดโลก เม่ือปี 2553 สูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการจัดแบ่งประเภท คือ 1 ไม้ตัดดอก (cut flower)
2 ไม้กระถาง (potted plant) 3 หน่อหรือหัวไม้ดอก (bulb) ประเทศที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงท่ีสุด 3 ลําดับ
แรกของโลก คือ สหรฐั อเมรกิ า ญ่ปี ุ่น และสหภาพยุโรป

การตลาดไมด้ อกไมป้ ระดบั ของโลกมีทั้งการส่งออกและนําเข้า ซึ่งมีรายละเอยี ด ดังน้ี

1.1 ประเทศนําเข้าไม้ดอกไม้ประดบั ของโลก ดังตารางท่ี 1

ตารางท่ี 1 ประเทศท่ีนาํ เข้าไม้ดอกไม้ประดับของโลก

ลาํ ดับท่ี ประเทศ ร้อยละของมลู ค่าการนําเขา้
1 สหราชอาณาจักร 18
2 17
3 เยอรมนี 15
4 สหรัฐอเมรกิ า 9
5 8
ฝรง่ั เศส
เนเธอร์แลนด์

1.2 ประเทศทส่ี ่งออกไม้ดอกไม้ประดับ

ประเทศทส่ี ง่ ออกไมด้ อกไม้ประดับมากทีส่ ุดในโลก คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีสดั สว่ นร้อยละ 56
ของมลู คา่ การส่งออกของโลก ส่วนใหญจ่ ะเป็นประเทศในสหภาพยโุ รป (มากกว่ารอ้ ยละ 80) ลาํ ดับต่อไปคือ
โคลัมเบยี และเอควอดอร์ ตลาด คอื สหรฐั อเมริกา ลาํ ดับ 4 ได้แก่ ประเทศเคนยา ส่วนประเทศในเอเชียทมี่ ี
การเตบิ โตอยา่ งรวดเร็ว ได้แก่ มาเลเซยี (อันดับที่ 15) สงิ คโปร์ (อนั ดับที่ 20) และจนี (อนั ดบั ที่ 25) ส่วนไทย
ส่งออกไม้ตดั ดอกมากท่ีสุดในเอเชยี แตม่ ีอตั ราการเตบิ โต ค่อนข้างคงท่ี โดยมมี ลู ค่าการสง่ ออกตามตารางที่ 2

 
 

ตารางท่ี 2 มูลคา่ การส่งออกไม้ดอกไม้ประดบั ของโลก

ประเทศ 2553 2554 2555 2556
(ลา้ นบาท) (ลา้ นบาท) (ล้านบาท) (ม.ค.- ก.ค.)
(ล้านบาท)
1 ญปี่ ุ่น 843.08 817.97 840.15
413.50
2 สหรฐั อเมริกา 467.92 460.07 470.64 285.67
144.47
3 เนเธอร์แลนด์ 154.75 267.36 272.14 67.49
59.04
4 จีน 243.90 172.61 127.61 49.40
48.07
5 อิตาลี 200.38 183.65 124.47 47.94
36.32
6 อนิ เดยี 76.84 84.52 84.86 34.78
29.60
7 เยอรมนี 65.44 72.69 80.28 24.45
22.12
8 เวียดนาม 82.00 78.20 81.45 20.08
17.06
9 ออสเตรเลีย 37.34 46.66 51.74 167.4
1467.4
10 รัสเซีย 63.09 81.85 82.31

11 บราซลิ 20.55 30.30 44.58

12 ไต้หวัน 56.12 63.61 36.71

13 เกาหลใี ต้ 42.01 39.29 38.76

14 ซาอุดิอาระเบยี 35.32 35.86 36.84

15 สงิ คโปร์ 34.33 48.10 38.10

16 ประเทศอนื่ ๆ 303.4 291.0 270.0

รวม 2726.5 2773.3 2680.7

1.3 ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับในตลาดโลก

กุหลาบ มีการส่งออกมากทส่ี ดุ จากประเทศเคนยา

1.4 การสง่ ออกไม้ดอกไมป้ ระดบั ของไทย ประเทศไทยเป็นประเทศท่ีสง่ ออกกล้วยไมม้ ากทีส่ ุดเปน็
อันดบั หน่ึงของเอเชีย นอกจากกลว้ ยไมแ้ ล้ว ประเทศไทยยงั ส่งออกไม้ดอกประเภทอ่ืนอีก ไดแ้ ก่ ไมพ้ ้ืนเมืองท่ี
เปน็ ไมด้ อกไมป้ ระดบั ที่สําคัญของภมู ิภาคเขตรอ้ น เช่น ไมด้ อก ได้แก่ ปทุมมา ดาหลา บวั นอกจากน้ยี งั มี ไม้
ประดบั ท่มี ีใบสวยงามได้แก่ เฟิน สาวน้อยประแปง้ อโกลนีมา วาสนา หมากผ้หู มากเมยี เปน็ ตน้

1.4.1 ประเภทของไม้ดอกไมป้ ระดับทป่ี ระเทศไทยสง่ ออก

1.4.1.1 กลว้ ยไม้ ประเทศไทยสง่ ออกดอกกล้วยไม้สุด ในปี 2553 2554 และ 2555 ประเทศ
ไทยสง่ ออกดอกกล้วยไม้ มลู คา่ 2,305.15 2220.18 และ 2,094.69 พนั ลา้ นบาท ไปประเทศต่างๆ โดย
ส่งออกไปประเทศญปี่ ุ่นมากทส่ี ดุ ดังตารางที่ 3

 
 

ตารางที่ 3 การสง่ ออกดอกกลว้ ยไม้ของไทย ปี 2553 2554 และ 2555

ลําดับท่ี ประเทศ 2553 2554 2555
ประเทศ มูลคา่
มูลคา่ ประเทศ มูลคา่
(ล้านบาท)
(ลา้ นบาท) ญีป่ ่นุ 752.67 (ล้านบาท)
สหรฐั อเมรกิ า 396.60
1 ญีป่ ุ่น 777.14 อิตาลี 183.38 ญปี่ ุ่น 779.78
จีน 172.55
2 สหรัฐอเมริกา 410.71 รัสเซยี 80.94 สหรฐั อเมรกิ า 408.31
อินเดยี 78.69
3 จนี 243.73 เนเธอรแ์ ลนด์ 65.01 จีน 126.50
ไต้หวนั 51.30
4 อติ าลี 199.84 เวียตนาม 47.70 อติ าลี 124.00
ออสเตรเลีย 44.38
5 อินเดยี 67.88 สิงคโ์ ปร์ 42.71 รัสเซีย 82.03

6 เนเธอรแ์ ลนด์ 64.08 อินเดีย 75.39

7 รัสเซยี 62.47 เนเธอร์แลนด์ 61.67

8 ไตห้ วนั 49.13 เวยี ตนาม 49.83

9 เวียตนาม 41.42 ออสเตรเลยี 49.25

10 ออสเตรเลีย 34.29 ซาอุดอิ ารเบยี 35.63

11 สงิ คโ์ ปร์ 30.57 สงิ คโ์ ปร์ 34.32

ที่มา : กรมศุลกากร

1.4.1.2 เบญจมาศ ประเทศไทยสง่ ออกดอกเบญจมาศ ส่งไปยงั ประเทศพม่ามากท่ีสดุ ดงั ตารางที่ 4

ตารางท่ี 4 การสง่ ออกดอกเบญจมาศ ปี 2553 2554 และ 2555

ลําดับท่ี ประเทศ 2553 2554 2555
ประเทศ มลู ค่า
มูลคา่ ประเทศ มลู ค่า
(บาท)
(บาท) พมา่ 5,026,000 (บาท)
สิงคโ์ ปร์ 50,000
1 พมา่ 2,310,000 รสั เซยี 20,046 พมา่ 4,242,500
ญ่ปี ุ่น 1,156
2- - รัสเซยี 201,062
5,097,202
3- - อินเดยี 12,950

4- - เยอรมนี 3,125

รวม 2,310,000 4,459,637

1.4.1.3 กหุ ลาบ ประเทศไทยส่งออกกหุ ลาบ ในปี 2553 2554 และ 2555 มลู คา่ 5.85 2.63 และ
12.93 ลา้ นบาท ดังตารางท่ี 5

 
 

ตารางท่ี 5 การสง่ ออกดอกกหุ ลาบ ปี 2553 2554 และ 2555

ลาํ ดับท่ี ประเทศ 2553 2554 2555
ประเทศ มูลค่า
มูลคา่ ประเทศ มูลค่า
(บาท)
(บาท) นอรเวย์ 2,197,960 (บาท)
เกาหลีใต้ 145,987
1 นอรเวย์ 5,144,799 พมา่ 129,000 พม่า 12,778,800
มาเลเซีย 59,000
2 เกาหลีใต้ 606,888 มลั ดฟี 56,299 มัลดฟี 66,022

3 สหรัฐอเมรกิ า 67,842 สิงค์โปร์ 63,830

4 มาเลเซีย 28,730 ศรีลงั กา 25,481

5 ญป่ี นุ่ 3,500 คูเวต 304

1.4.1.4 ปทมุ า เปน็ ไมด้ อกเมอื งรอ้ น ที่มคี วามสวยงามจนไดร้ ับชือ่ วา่ สยามทิวลปิ ซึ่งเปน็ ท่นี ยิ มของประเทศ
เนเธอร์แลนด์ มีมลู คา่ ส่งออกใน

 
 


Click to View FlipBook Version