The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ten, 2023-07-11 09:10:44

วารสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2

วารสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2

ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566 ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566


PrEsIdEnT's tAlK SpOrTs AlL ArOuNd TnSu rEpOrT sHaRe & lEaRn สารบัญ ม.กีฬา วารสารมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ปที่ 2 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2566 บทบรรณาธิการ วารสารมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เลขที� 333 หมู่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 โทรศัพท์ 0-3805-4235 เว็บไซต์ www.tnsu.ac.th 3 4 8 TnSu hAlL oF fAmE 13 sPoRtS sCiEnCe tIpS 14 eDuCaTiOn oVeRvIeW 6 10 7 cOvEr sToRy sPoRtS aNd tOuRiSm 12 15 วารสาร ม.กีฬา ฉบับนี้ เปนฉบับที่ 2 ปที่ 2 มีเนื้อหาที่นาสนใจ ประกอบดวย งานวันสถาปนามหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ “ครบรอบ 4 ป” ประจำป พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ความเปนมาของกีฬาเซปกตะกรอ ขอมูลผูฝกสอน ทีมชาติไทยที่เปนบุคลากรของวิทยาเขต และโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬา แหงชาติ และผลงานของมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 ขาวคราวความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยที่ตอบสนอง แผนพัฒนาการกีฬาแหงชาติ ฉบับที่ 7 (2566 - 2570) การจัดการศึกษาใหสอดคลอง กับมาตรฐานการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 การทองเที่ยวเชิงกีฬากับ การพัฒนาหลักสูตรของ มกช. ตลอดจนเกร็ดนารูเกี่ยวกับการฟนฟูสมรรถภาพทางกาย จากการออกกำลังกายและการเลนกีฬา สุดทายนี้หวังเปนอยางยิ่งวาวารสารฉบับนี้จะทำใหผูอานทุกทานรูจัก มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติมากขึ้น และขอขอบคุณที่ทานผูอานใหความสนใจ วารสาร ม.กีฬา พบกันใหมฉบับหนา นายบรรณากิจบรรจง ทองจำปา ที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ 5 ฝาย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ประจำวิทยาเขต 17 แหง ผูอำนวยการโรงเรียนกีฬา 11 โรง ผูประสานงานโครงการจัดตั้งโรงเรียนกีฬา 2 โรง คณบดี 3 คณะ ผูอำนวยการสำนักกีฬา ผูอำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา ผูอำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผูอำนวยการกอง 9 กอง บรรณาธิการ นายบรรณากิจบรรจง ทองจำปา กองบรรณาธิการ ดร.อุไรวรรณ หวองสกุล ดร.ปภินวิชตฎ โพธิ์กาศ ผูชวยศาสตราจารย ดร.ไมตรี ไชยมงคล นายปติโชค จันทรหนองไทร นางสาวเมธารัต จุลละศร นางสาวขวัญชนก รอดภัย นางสาวฐิตยาพร สุระพล นายกายสิทธิ์ บุญญานุพงศ นายอันดานา จันทรสุข บรรณาธิการ tNsU HiGhTlIgHt


ม.กีฬา PrEsIdEnT's tAlK วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 3 มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติไดประกาศนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เพื่อใหบุคลากรทุกระดับไดยึดถือและนำไปสูการปฏิบัติ ในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยอยางเปนรูปธรรมใหบรรลุวัตถุประสงคตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ พ.ศ. 2562 รวมทั้ง กฎหมาย ยุทธศาสตรชาติ และแผนพัฒนาประเทศที่เกี่ยวของ แบงเปน 6 ดาน ดังนี้ 1. ดานการจัดการศึกษา สงเสริมและพัฒนานักเรียน นักศึกษาและบุคคลที่มี ความสามารถพิเศษทางการกีฬาตั้งแตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับอุดมศึกษาใหมีคุณภาพและความเชี่ยวชาญตามอัตลักษณ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงสงเสริมใหเกิดการเรียนรูตลอดชีวิต โดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาควบคูกับการพัฒนาศักยภาพดานกีฬา สูความเปนเลิศ และมุงเนนพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพื่อสงเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา 2. ดานการวิจัยและนวัตกรรม สงเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ สรางขวัญกำลังใจ แกบุคลากร และพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมดานศาสตร การกีฬา รวมทั้งสงเสริมความรวมมือกับหนวยงานภายนอก โดยมุงเนน การสรางผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เปน Soft Power ซึ่งสามารถ นำไปใชประโยชนและตอบสนองตอการพัฒนากีฬา อุตสาหกรรมการกีฬา เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ 3. ดานการบริการทางวิชาการแกสังคม สงเสริมการดำเนินงานดานการบริการวิชาการแกสังคม ดานพลศึกษาและกีฬา โดยมุงเนนการบริการวิชาการตามความเชี่ยวชาญ ของคณะภายใตศาสตรการกีฬา ที่ครอบคลุมกลุมเปาหมายทั่วภูมิภาค ของประเทศ รวมทั้งสงเสริมความรวมมือระหวางมหาวิทยาลัย กับชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะที่ดีของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในชุมชนเปาหมายใหมีความเขมแข็งและยั่งยืน 4. ดานการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สงเสริมการดำเนินงานดานการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมุงเนนการละเลนพื้นบานและกีฬาไทย ดวยวิธีการฟนฟู การอนุรักษ หรือการวิจัย เพื่อสรางจิตสำนึกและสงเสริมการเรียนรู ความเขาใจในความแตกตางทางวัฒนธรรมของแตละทองถิ่นใหกับ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน เพื่อใหเกิดความรัก ความหวงแหน และความภาคภูมิใจในความเปนไทย 5. ดานการกีฬา สงเสริมการผลิตและพัฒนานักเรียนและนักศึกษาที่มี ความสามารถพิเศษทางการกีฬาใหมีศักยภาพดานกีฬาสูความเปนเลิศ ใหสามารถสรางผลงานดานการกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเปนแหลงสรางและพัฒนาบุคลากรดานการกีฬาใหมีความรู ความเชี่ยวชาญสูระดับนานาชาติ ตลอดจนสงเสริมการสรางเครือขาย ความรวมมือการกีฬากับองคกรกีฬาหรือหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของ ทั้งในประเทศและตางประเทศ 6. ดานการบริหารจัดการ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการที่ดีโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สูองคกรแหงการเรียนรูดานศาสตรการกีฬาที่มีคุณภาพ ปลูกฝงคานิยม ที่ดีตอองคกร และสงเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบมีสวนรวมใหครอบคลุม ทุกดาน และนำระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษามาเปน สวนหนึ่งของการบริหารจัดการ


เปนที่ทราบโดยทั่วกันวา มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติไดยกฐานะจากสถาบัน การพลศึกษาเปนมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ พ.ศ. 2562 มีผลใชบังคับตั้งแตวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เปนตนมา มหาวิทยาลัยจึงไดกำหนดใหวันที่ 23 พฤษภาคมของทุกป เปนวันคลายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ซึ่งในป พ.ศ. 2566 ไดมีการจัดพิธีวันคลายวันสถาปนาครบรอบ 4 ป ขึ้น ซึ่งตรงกับวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปเถาะ ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหบุคลากรมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เกิดความสามัคคี ความผูกพัน และตระหนักในความเปนเจาขององคกรรวมกัน รวมถึงยกยองและเชิดชูเกียรติ ผูบริหาร บุคลากร นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา ที่สรางชื่อเสียงใหแกมหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ และประเทศชาติ ใหมีกำลังใจที่สรางสรรคผลงานและคุณความดีสืบไป ตลอดจนเปนการประชาสัมพันธและเปนการสื่อสารองคกรในการสรางภาพลักษณที่ดี ของมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติสูสาธารณชน การจัดงานวันคลายวันสถาปนาในครั้งนี้ ประกอบดวยพิธีสำคัญที่ไดจัดขึ้น ณ ลานหนาหอพระพุทธและพระพลบดี บริเวณประตูทางเขาที่ 1 ของมหาวิทยาลัย ไดแก พิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย โดยมีการสักการะองคพระพุทธรูป ประจำมหาวิทยาลัย และสักการะถวายเครื่องพลีสังเวยบวงสรวงองคพระพลบดี อันเปน ที่เคารพยิ่ง อยางครบถวนสมบูรณตามคติความเชื่อโบราณกาล และ ณ โรงฝกกีฬา เอนกประสงค มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วิทยาเขตชลบุรี ไดแก พิธีทางศาสนา ซึ่งไดมีการนิมนตพระภิกษุสงฆมาเจริญพระพุทธมนต และถวายภัตตาหาร เครื่องปจจัย ไทยธรรม โดยในปนี้ นายวิษณุ ไลชะพิษ ปฏิบัติหนาที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เปนผูถือขันน้ำพระพุทธมนตดวยตนเอง เพื่อใหประธานสงฆไดประพรมน้ำพระพุทธมนต แกผูเขารวมพิธีทุกทานในบริเวณพิธี นำมาซึ่งความอิ่มเอิบใจและความเปนสิริมงคลอยางยิ่ง นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยไดรับเกียรติจากมูลนิธิศาสตราจารย นายแพทยบุญสม มารติน โดยมี ดร.สมบัติ คุรุพันธ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ อดีตปลัดกระทรวงการทองเที่ยว และกีฬา นายสมพงษ ชาตะวิถี กรรมการและเลขานุการมูลนิธิฯ อธิการบดีสถาบัน การพลศึกษาคนแรก และนายสติย พันธวงศ กรรมการมูลนิธิฯ ในพิธีมอบทุนการศึกษาใหแก วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 4 cOvEr sToRy เวียนบรรจบครบสี่ปที่กอเกิด ลวนล้ำเลิศศาสตรกีฬาการศึกษา มหาวิทยาลัยแหงชาติดานกีฬา สรางคุณคาพัฒนาประชาไทย ยี่สิบสามพฤษภาปหกหก มรดกล้ำคานาพิสมัย พ.ร.บ. มกช. บังคับใช จารึกไววันสถาปนาที่เทิดทูน จาก วพ. ถึง สพล. คือรากฐาน กาลผันผานคุณความดีมิแปรสูญ ราชพฤกษผลิดอกผลทวีคูณ แหลงเพิ่มพูนตนกลากีฬาไทย ทุกฟนเฟองพรอมขับเคลื่อนสืบสานฝน รวมพลังมุงมั่นมิหวั่นไหว สูสถาบันการศึกษาที่กาวไกล เปนหนึ่งในอาเซียนศาสตรการกีฬา


cOvEr sToRy นักเรียนของโรงเรียนกีฬา จำนวน 13 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท และนักศึกษาของวิทยาเขต จำนวน 17 ทุน ๆ ละ 15,000 บาท อีกทั้งมูลนิธิฯ ยังไดมอบของที่ระลึก ในโอกาสการเขารับตำแหนงของอธิการบดี รองอธิการบดี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขต ผูอำนวยการโรงเรียน กีฬาและผูประสานงานโครงการจัดตั้งโรงเรียนกีฬา ทุกทานอีกดวย และในโอกาสวันคลายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยไดจัดพิธียกยอง และเชิดชูเกียรติผูที่ทำคุณประโยชนและสรางผลงาน อันเปนที่ประจักษใหแกมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ ซึ่งไดรับเกียรติอยางสูงจาก พลตำรวจเอกสุนทร ซายขวัญ ประธานกรรมการปฏิบัติหนาที่แทนสภามหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ เปนประธานในพิธี และมีการมอบรางวัล เชิดชูเกียรติประเภทตาง ๆ ใหแกผูปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย นักเรียนและนักศึกษา จากโรงเรียนกีฬาและวิทยาเขต ในสังกัด ประกอบดวย ผูบริหารดีเดน บุคลากรดีเดน สายผูสอน บุคลากรดีเดนสายสนับสนุน นักวิจัยดีเดน นักกีฬายอดเยี่ยม และนักกีฬาดีเดน ประจำป พ.ศ. 2565 ผูเขารวมพิธีในปนี้ไดรับเกียรติจากประธาน กรรมการปฏิบัติหนาที่แทนสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ผูทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารมูลนิธิศาตราจารย นายแพทยบุญสม มารติน อดีตผูบริหารสถาบัน การพลศึกษาและมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ผูแทน จากสวนราชการในสังกัดกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา ทั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา กรมพลศึกษา การกีฬาแหงประเทศไทย และองคการ บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการทองเที่ยวอยางยั่งยืน (องคการมหาชน) ผูมีเกียรติจากหนวยงานในจังหวัด ชลบุรี เชน เทศบาลตำบลหนองไมแดง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 แขวงทางหลวง ชนบทชลบุรี โรงเรียนชลบุรีสุขบท สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 8 สถาบันพัฒนาฝมือแรงงาน 3 ชลบุรี กรมทหารราบ ที่ 21 รักษาพระองคฯ สำนักงานการทองเที่ยวและกีฬา จังหวัดชลบุรี ผูบริหาร คณาจารย บุคลากร นักเรียน และ นักศึกษาจากวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาในสังกัด มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ตลอดจนผูมีอุปการคุณ ตอมหาวิทยาลัย และสื่อมวลชนทุกแขนง อีกทั้งไดรับ การสนับสนุนและรังสรรคการแสดงที่สวยงามตระการตา และนาประทับใจ จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วิทยาเขตชลบุรี และสมาคมกีฬายูยิตสูแหงประเทศไทย มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติขอขอบพระคุณ ผูเกี่ยวของทุกภาคสวน และสื่อมวลชนทุกแขนง ตลอดจน ผูบริหารทุกระดับ บุคลากร นักเรียน นักศึกษา รวมทั้ง คณะกรรมการทุกฝายของมหาวิทยาลัยที่ทำใหงานวันคลาย วันสถาปนามหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ “ครบรอบ 4 ป” ประจำป พ.ศ. 2566 ในครั้งนี้ดำเนินไปดวยความเรียบรอย และบรรลุวัตถุประสงคทุกประการ อันแสดงถึงพลังแหงความรัก ความศรัทธาและความรวมมืออันเปนน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยใหมีเอกภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพอยางยั่งยืนตอไป 5 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ


SpOrTs aLl aRoUnD fi วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 6 เซปกตะกรอ (SEPAK TAKRAW) สันนิษฐานวาไมไดเปนกีฬาดั้งเดิม ของไทย เพราะคนไทยนิยมเลนเฉพาะตะกรอวง ตะกรอลอดหวง และตะกรอ ขามตาขาย (แบบไทย) เทานั้น สวนประเทศมาเลเซียและสิงคโปร เริ่มมีการเลน ตะกรอขามตาขายในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณ ป พ.ศ. 2488 โดยประเทศมาเลเซียไดประกาศยืนยันวา ตะกรอ เปนกีฬาของประเทศมาลายูเดิม เรียกวา เซปก รากา (SEPAK RAGA) ป พ.ศ. 2508 สมาคมกีฬาไทยในพระราชูปถัมภ ไดจัดงานเทศกาลกีฬาไทย ขึ้นในชวงเดือนเมษายน ณ ทองสนามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาคม กีฬาตะกรอจากเมืองปนัง ประเทศมาเลเซีย ไดนำวิธีการเลนตะกรอของ มาเลเซีย คือ “เซปก รากา จาริง” (SEPAK RAGA JARING) มาเผยแพร เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหวางประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย โดยจัดใหมีการสาธิตกีฬาของทั้งสองประเทศ ใชวิธีเลน ตามกติกาของประเทศมาเลเซีย 1 วัน และเลนตามกติกาของประเทศไทย 1 วัน ลูกตะกรอ เปนอุปกรณกีฬาที่ไดรับความนิยมในประเทศในแถบเอเชีย จะมีลักษณะของลูกตะกรอ วิธีเลน และมีการเรียกชื่อกีฬาชนิดนี้แตกตางกัน ออกไป เชน พมา เรียกวา ชินลง (CHING LOONG) ลาว เรียกวา กะตอ (KATOR) มาเลเซีย สิงคโปร บรูไน เรียกวา รากา (RAGA) อินโดนีเซีย เรียกวา ราโก (RAGO) ฟลิปปนส เรียกวา ซีปา (SIPA) จีน เรียกวา แตกโก (T’EK K’AU) เปนตน ป พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรม ราชูปถัมภ ไดมีมติและอนุมัติให พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ทานเปนเลขาธิการ สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทย กลุมหนึ่ง ไปกอตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคมขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหาร กิจกรรมกีฬาตะกรอโดยเฉพาะ ใชชื่อวา สมาคมตะกรอ โดยทำการยื่นขอจดทะเบียน ตั้งแตป พ.ศ. 2524 ในขณะที่กำลังดำเนินการจดทะเบียน ที่ประชุมไดมีมติให พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร รักษาการเปนนายกสมาคมตะกรอ โดยมีนายนพชัย วุฒิกมลชัย ทำหนาที่เปนเลขาธิการสมาคมฯ ตอมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2526 สมาคมไดรับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ตามเลขที่อนุญาตที่ ต.204/2526 เลขคำขอที่ 204/2526 โดยมีวัตถุประสงค 1) เพื่อสงเสริมความสัมพันธไมตรี ระหวางประเทศใหดียิ่งขึ้น 2) เพื่อสงเสริม และสนับสนุนกีฬาตะกรอใหแพรหลายยิ่งขึ้น 3) จัดการแขงขันภายในประเทศ และนอกประเทศ 4) เผยแพรใหเยาวชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และรัฐวิสาหกิจ ใหมีการแขงขันมากขึ้น 5) จัดใหมีการควบคุมใหอยูในขอบขาย และจัดใหมีการแขงขัน ในระดับตางๆ มากยิ่งขึ้น 6) ตั้งศูนยอบรม เผยแพรใหแกเยาวชน และประชาชนทั่วไป กีฬาเซปกตะกรอมีกติกาเกี่ยวกับสนามแขงขัน เสาและตาขาย ดังนี้ 1. สนามแขงขัน (THE COURT) 1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกวาง 6.10 เมตร จะตองไมมี สิ่งกีดขวางใด ๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไมควรเปนสนามหญา หรือสนามทราย) 1.2 เสนสนาม ขนาดของเสนสนามทุกเสนที่เปนขอบเขตของสนามตองไมกวาง กวา 4 เซนติเมตร ใหตีเสนจากกรอบนอกเขามาในสนามและถือเปนสวนของพื้นที่ สนามแขงดวย เสนเขตสนามทุกเสนตองหางจากสิ่งกีดขวางอยางนอย 3 เมตร 1.3 เสนกลาง มีขนาดกวางของเสน 2 เซนติเมตร โดยจะแบงพื้นที่ของ สนามออกเปนดานซายและดานขวาเทา ๆ กัน 1.4 เสนเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแตละดานตรงเสนกลางใหจุดศูนยกลาง อยูที่กึ่งกลางของเสนกลางตัดกับขอบดานในของเสนขางเขียนเสนเสี้ยววงกลม ทั้งสองดานรัศมี 90 เมตร ใหตีเสนขนาดความกวาง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร 1.5 วงกลมเสิรฟ ใหรัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเสนหลัง ไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบดานนอกของเสนขางไปในสนาม 3.05 เมตร และวัดจากขอบดานนอกของเสนขางเขาไปในสนาม 3.05 เมตร ใชตรงจุดตัด จากเสนหลังและเสนขางเปนจุดศูนยกลาง ใหเขียนเสนวงกลมขนาดความกวาง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร 2. เสา (THE POSTS) 2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร (ผูหญิง 1.45 เมตร) ตั้งอยูอยางมั่นคงพอที่ จะทำใหตาขายตึง โดยตองทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกรงและมีรัศมีไมเกิน 4 เซนติเมตร 2.2 ตำแหนงของเสา ใหตั้งหรือวางไวอยางมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเสนกลาง หางจากเสนขาง 30 เซนติเมตร 3. ตาขาย (THE NET) 3.1 ตาขายใหทำดวยเชือกอยางดีหรือไนลอน มีรูตาขายกวาง 6 – 8 เซนติเมตร ความกวางของผืนตาขาย 70 เซนติเมตร และความยาวไมนอยกวา 6.10 เมตร ใหมีวัสดุที่ทำเปนแถบ ขนาดความกวาง 5 เซนติเมตร ตรงดานขางของตาขาย ทั้งสองดานจากดานบนถึงดานลางตรงกับแนวเสนขางซึ่งเรียกวา “แถบแสดงเขตสนาม” 3.2 ตาขายใหมีขนาดความกวาง 5 เซนติเมตร ทั้งดานบนและดานลาง โดยมี เชือกธรรมดาหรือเชือกไนลอนอยางดี รอยผานแถบและขึงตาขายใหตึงเสมอระดับ หัวเสา ความสูงของตาขายโดยวัดจากพื้นถึงสวนบนของตาขายที่กึ่งกลางสนาม มีความสูง 1.52 เมตร (ผูหญิง 1.42 เมตร) และวัดตรงเสาทั้งสองดานมีความสูง 1.55 เมตร (ผูหญิง 1.45 เมตร )


กวาจะเปนมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ fi วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ tNsU hAlL oF fAmE 7 มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ซึ่งเปนแหลงสรางและพัฒนาบุคลากรดานการกีฬาของประเทศ มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยไดรับการคัดเลือก ใหไปปฏิบัติหนาที่ผูฝกสอน ผูตัดสิน ผูดูแลนักกีฬา ผูเชี่ยวชาญกีฬา นักวิทยาศาสตรการกีฬา ในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหวางวันที่ 5 – 17 พฤษภาคม 2566 โดยมีบุคลากรทำหนาที่ผูฝกสอนกีฬาทีมชาติไทยนำนักกีฬาไปควาชัยในศึกซีเกมสครั้งนี้ จำนวน 4 ชนิดกีฬา อันนำมาซึ่งเกียรติยศและความภาคภูมิของมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ดังนี้ นายเอกวิทย แสวงผล ผูฝกสอนกีฬากรีฑาทีมชาติไทย ตำแหนง อาจารย สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วิทยาเขตศรีสะเกษ ผลงานในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 กรีฑาประเภทลาน 9 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ผลงานดานผูฝกสอนกีฬาที่ผานมา การแขงขันกีฬาซีเกมส (จำนวน 11 ครั้ง - ครั้งที่ 17 ครั้งที่ 20 - 29) การแขงขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส (จำนวน 5 ครั้ง - ครั้งที่ 13 - 17) การแขงขันกีฬาโอลิมปกเกมส (ครั้งที่ 27) การแขงขันกีฬากีฬามหาวิทยาลัยโลก (จำนวน 6 ครั้ง - ครั้งที่ 22 ครั้งที่ 24 ครั้งที่ 26 - 29) การแขงขันกีฬากรีฑาชิงชนะเลิศแหงเอเชีย (จำนวน 5 ครั้ง - ครั้งที่ 13 - 17) การแขงกรีฑาเยาวชนชิงชนะเลิศเอเชีย (จำนวน 5 ครั้ง ในป พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2552) นายวีระชัย แสงสวาง ผูฝกสอนกีฬาเซปกตะกรอทีมชาติไทย ตำแหนง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี ผลงานในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 1 เหรียญทอง จากทีมหญิง ประเภท 4 คน และ 1 เหรียญทอง จากทีมชุดหญิง ประเภทคู ผลงานดานผูฝกสอนกีฬาที่ผานมา การแขงขันกีฬาซีเกมส (ครั้งที่ 25) การแขงขันกีฬาเอเชียนอินดอรเกมส (ครั้งที่ 6) การแขงขันกีฬาเซปกตะกรอนักเรียนอาเซียน (ครั้งที่ 19) การแขงขันกีฬาเอเชียนบีทเกมส (จำนวน 3 ครั้ง - ครั้งที่ 4 - 6) การแขงขัน Asian Beach Sepak Takraw Championship The West Coast New Area of Qingdao นางสาววิไลวรรณ ทองก่ำ ผูฝกสอนกีฬามวยปล้ำทีมชาติไทย ตำแหนง ผูฝกสอนกีฬามวยปล้ำ สังกัดโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ผลงานในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 2 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 7 เหรียญทองแดง ผลงานดานผูฝกสอนกีฬาที่ผานมา การแขงขันมวยปล้ำชิงชนะเลิศแหงประเทศไทย (จำนวน 3 ครั้ง ในป พ.ศ. 2555 – 2557) การแขงขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแหงชาติ (ครั้งที่ 35) การแขงขันกีฬาเยาวชนแหงชาติ (ครั้งที่ 30 และครั้งที่ 32) การแขงขันกีฬามวยปล้ำชิงชนะเลิศแหงเอเชียตะวันออกเฉียงใต (พ.ศ. 2555 – 2558) การแขงขันรายการ The 9th Southeast Asian Junior Cadet Wrestling Championships 2016 Sukhothai Thailand นายพชรพล คำสมาน ผูฝกสอนกีฬาเทนนิสทีมชาติไทย ตำแหนง ครูชำนาญการ สังกัดโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ผลงานในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ผลงานดานผูฝกสอนกีฬาที่ผานมา การแขงขันชิงแชมปโลก (จำนวน 2 ครั้ง ในป ค.ศ. 2022 และ ค.ศ. 2023) การแขงขันรายการเฟดคัพ 2014 การแขงขัน การแขงขันกีฬาเอเชียนเกมส (ครั้งที่ 17) การแขงขันกีฬาซีเกมส (ครั้งที่ 31)


TnSu hIgHlIgHt วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 8 กีฬาซีเกมสเปนการแขงขันมหกรรมกีฬาระหวางประเทศในกลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต มีการจัดการแขงขันแบบปเวนป ดำเนินการแขงขันโดยสมาพันธกีฬาแหงเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต ภายใตการกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปกสากล และสภาโอลิมปก แหงเอเชีย ซึ่งในป พ.ศ. 2566 ไดมีการจัดการแขงขันกีฬาซีเกมส เปนครั้งที่ 32 ระหวางวันที่ 5 - 17 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา มีประเทศเขารวมการแขงขัน ทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเปนชาติสมาชิกของสหพันธกีฬาซีเกมส ประกอบดวย ราชอาณาจักรกัมพูชา ในฐานะประเทศเจาภาพ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐแหงสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสิงคโปร ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟลิปปนส และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยติมอร – เลสเต ชนิดกีฬาที่บรรจุในการแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 จำนวน 36 ชนิดกีฬา และ 1 กีฬาสาธิต มีการชิงชัยเหรียญทองทั้งสิ้น 584 เหรียญ โดยประเทศไทยสงบุคลากร และนักกีฬาของประเทศ เขารวมการแขงขัน รวม 1,266 คน แบงเปน บุคลากร 419 คน และนักกีฬา 847 คน จาก 35 ชนิดกีฬา และ 1 กีฬาสาธิต การแขงขันกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 32 นี้ นักกีฬาทีมสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสามารถควาเหรียญทองไดมากที่สุด จำนวน 136 เหรียญ และทีมชาติไทยอยูในอันดับ 2 ไดรับ 108 เหรียญทอง 96 เหรียญเงิน และ 108 เหรียญทองแดง รวม 312 เหรียญ


TnSu HiGhLiGhT 9 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ภาพตัวอยาง การแขงขันครั้งนี้ มีบุคลากร นักเรียนและนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เขารวมการแขงขัน 132 คน แบงเปนบุคลากร 19 คน และนักกีฬา 113 คน จาก 22 ชนิดกีฬา กับผลงาน 18 เหรียญทอง 22 เหรียญเงิน 20 เหรียญทองแดง รวม 60 เหรียญ จากชนิดกีฬาตาง ๆ ดังนี้ 1. กีฬากรีฑา 2. กีฬาคริกเก็ต 3. กีฬาคาราเต 4. กีฬาคิกบ็อกซิ่ง 5. กีฬาซอฟทเทนนิส 6. กีฬาตะกรอ 7. กีฬาเทนนิส 8. กีฬาปนจักสีลัต 9. กีฬาโปโลน้ำ 10. กีฬาฟลอรบอล 11. กีฬาฟนสวิมมิ่ง 12. กีฬาฟุตบอล 13. กีฬามวยปล้ำ 14. กีฬามวยสากลสมัครเลน 15. กีฬายกน้ำหนัก 16. กีฬาเรือพาย 17. กีฬาวอลเลยบอล 18. กีฬาวอลเลยบอลชายหาด 19. กีฬาวายน้ำ 20. กีฬาโววีนัม 21. กีฬาฮอกกี้ 22. กีฬายูโด


fi 10 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ tNsU rEpOrT วันศุกรที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 08.59 น. นายวิษณุ ไลชะพิษ ปฏิบัติหนาที่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เปนประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเปดกรวย กระทงดอกไมธูปเทียนแพ ถวายราชสักการะหนาพระบรมฉายาลักษณ และกลาวถวาย พระพรชัยมงคลแดสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินี พรอมดวยคณะผูบริหาร ครูอาจารย บุคลากร นักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี และนักศึกษาวิทยาเขตชลบุรี พรอมทั้งลงนาม ถวายพระพรชัยมงคล ณ ลานโถง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ขาว ขาว ระหวางเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 นายวิษณุ ไลชะพิษ ปฏิบัติหนาที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ พรอมดวย คณะผูบริหารสวนกลาง เขาตรวจเยี่ยมเพื่อใหกำลังใจแกผูปฏิบัติงาน ของมหาวิทยาลัยและรับฟงประเด็นปญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อรวบรวมขอมูลและวางแผนแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาให สอดคลองกับความตองการของบุคลากร รวมถึงไดมีสวนรวม ในกิจกรรมสำคัญตางๆ ระหวางการตรวจเยี่ยมวิทยาเขต และ โรงเรียนกีฬาในแตละภูมิภาค อาทิ ภาคเหนือ ไดมีการตรวจเยี่ยม พื้นที่ศูนยกีฬาบนพื้นที่สูง อำเภอดอยหลอ จังหวัดเชียงใหม การเขารวมพิธี มอบประกาศนียบัตรผูสำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 ประจำปการศึกษา 2565 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดเชียงใหม และพิธี ไหวครูของวิทยาเขตเชียงใหม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไดมอบของ ที่ระลึกแสดงความยินดีกับนักศึกษาและบุคลากร ประจำวิทยาเขต อุดรธานี ตัวแทนทีมชาติไทย ที่ไดรับรางวัลจากการแขงขันซีเกมส ครั้งที่ 32 ประเทศกัมพูชา ภาคกลาง อธิการบดีเปนประธานพิธีเปดการแขงขัน กีฬาปนจักสีลัตชิงชนะเลิศแหงประเทศไทย ชิงถวยพระราชทาน สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาทีปงกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประจำป 2566 ณ วิทยาเขตอางทอง และ ภาคใต ไดมีการตรวจเยี่ยมศูนยกีฬาและกิจกรรมทางทะเล ณ เกาะลันตานอย จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยูในความรับผิดชอบของวิทยาเขตกระบี่ รวมถึง การตรวจเยี่ยมศูนยชีวกลศาสตรการกีฬา ณ วิทยาเขตชุมพร


tNsU rEpOrT ระหวางวันที่ 25 - 30 เมษายน 2566 นักกีฬาเรือพาย ประเภท เรือแคนูคยัค สังกัดโรงเรียนกีฬาจังหวัดเชียงใหม เปนตัวแทนทีมชาติไทยเขารวม การแขงขันกีฬาเรือแคนูคยัคชิงชนะเลิศแหงเอเชีย ประจำป 2566 Asian Canoeing Junior, U-23, & Para Canoeing. Uzbekistan 2023 ณ ประเทศ อุซเบกิสถาน จำนวน 8 คน ไดแก นายณรงคศักดิ์ พลคำ นายพิชญางกุล ทองปน นายอนุสิทธิ์ สมรูป นายกฤษณะ จวงจันทร นางสาวกัลยกร สุภวัฒนากร นางสาวสุธิมนต เชื้อทำดี นางสาวปวีณา กำจร และนางสาวมิ่งกมล พรหมศรี จากการแขงขัน นักกีฬาเรือพายโรงเรียนกีฬาจังหวัดเชียงใหม ควาเหรียญ รางวัลมาไดจำนวน 1 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง ระหวางวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2566 “นองเกด” อรวรรณ ไกรสิงห นักศึกษาชั้นปที่ 4 คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยการกีฬา แหงชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ เปนตัวแทน นักกีฬากรีฑาคนพิการทีมชาติไทย T20 เขารวมการแขงขันกีฬา อาเซียนพาราเกมส 2023 ครั้งที่ 12 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศ กัมพูชา ผลการแขงขันควา 2 เหรียญทอง กรีฑาประเภท 800 เมตร และประเภท 400 เมตร รวมถึงยังควาอีก 1 เหรียญทองแดง ประเภท 1,500 เมตร สำหรับผูพิการสมอง T20 ระหวางวันที่ 3 – 9 มิถุนายน 2566 นายอมรเทพ ผลปนนะ นักศึกษาชั้นปที่ 4 คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยการกีฬา แหงชาติ วิทยาเขตตรัง เปนตัวแทนนักกีฬา กรีฑาคนพิการทีมชาติไทย T38 เขารวม การแขงขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส ครั้งที่ 12 "แคมโบเดีย 2023" ณ กรุงพนมเปญ ประเทศ กัมพูชา โดยผลการแขงขันควาเหรียญทอง ชนิดกีฬากรีฑาประเภทวิ่ง 400 เมตร สำหรับผูพิการสมอง T38 ระหวางวันที่ 19 - 22 เมษายน 2566 โรงเรียนกีฬาจังหวัดตรัง นำทัพนักกีฬาเขารวมการแขงขันรายการกีฬายูโดยุวชน เยาวชนชิงแชมป ประเทศไทย ครั้งที่ 27 และการแขงขันรายการกีฬายูโดประชาชนชิงแชมป ประเทศไทย ครั้งที่ 13 ประจำป 2566 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการแขงขัน 11 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และไดรับถวยรางวัล 7 ถวยรางวัล ดังนี้ 1) รางวัลผูฝกสอนยอดเยี่ยม จาก นายศรราม เจงฮอ 2) รางวัลนักกีฬา ยอดเยี่ยม จาก นางสาวภูษิตา เหมนแกว 3) ถวยรางวัลชนะเลิศคะแนนรวม (รุนอายุ 14 ป ชาย) 4) ถวยรางวัลชนะเลิศคะแนนรวม (รุนอายุ 16 ป หญิง) 5) ถวยรางวัลชนะเลิศคะแนนรวม (รุนอายุ 18 ป ชาย) 6) ถวยรางวัลชนะเลิศ คะแนนรวม (รุนอายุ 18 ป หญิง) และ 7) ถวยรางวัลชนะเลิศคะแนนรวม 11 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ


12 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ sHaRe & lEaRn พระราชบัญญัตินโยบายการกีฬาแหงชาติ พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 9 กำหนดใหคณะกรรมการ นโยบายการกีฬาแหงชาติมีหนาที่และอำนาจใหจัดทำ นโยบายและแผนพัฒนาการกีฬาแหงชาติเสนอตอ คณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบและ มาตรา 13 กำหนดใหคณะกรรมการนโยบายการกีฬา แหงชาติ ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแหงชาติ เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบและ ใหประกาศใหทราบเปนการทั่วไป แผนพัฒนาการกีฬาแหงชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570) มีสาระสำคัญที่เกี่ยวของกับ การพัฒนาบุคลากรดานการกีฬา ที่สอดคลองกับ นโยบายที่ 3 พัฒนาบุคลากรดานการกีฬาอยาง เปนระบบและมีมาตรฐาน สนับสนุนและสงเสริม การผลิตบุคลากรและการพัฒนานวัตกรรมที่ สนับสนุนการพัฒนากีฬา เปาประสงคที่ 3 คือ บุคลากรดานการกีฬาทั่วประเทศไดรับการรับรอง มาตรฐานเพิ่มขึ้น และตัวชี้วัดหลักที่ 3 คือ บุคลากร ดานการกีฬาไดรับการรับรองมาตรฐาน เพิ่มขึ้น รอยละ 5 ตอป ทั้งนี้ ในประเด็นการพัฒนาที่ 4 การสงเสริม และพัฒนาบุคลากรดานการกีฬา เปนการสงเสริม และพัฒนาบุคลากรดานการกีฬาเพื่อรองรับการกีฬา ทุกภาคสวน ตั้งแตตนน้ำคือกีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อ มวลชน ไปถึงกลางน้ำคือกีฬาเพื่อความเปนเลิศ และ ปลายน้ำคืออุตสาหกรรมการกีฬาทุกกลุม รวมถึงกีฬา เพื่อการอาชีพ ซึ่งมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวของ คือ จำนวนหลักสูตร การอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรการกีฬาที่ได มาตรฐานเทียบเทาระดับสากลไมนอยกวา 10 หลักสูตร ตอป และจำนวนบุคลากรการกีฬา (ผูฝกสอนกีฬา ผูตัดสินกีฬา ผูบริหารการกีฬา และนักวิทยาศาสตร การกีฬา) ไดรับการรับรองมาตรฐาน เพิ่มขึ้นไมนอยกวา รอยละ 5 ตอป โดยมีแนวทางการพัฒนาหลักสูตร สำหรับพัฒนาบุคลากรการกีฬาที่เปนมาตรฐาน และมีการพัฒนาหลักสูตรที่เปนมาตรฐาน สำหรับ บุคลากรการกีฬา ตั้งแตระดับขั้นพื้นฐานจนถึงระดับ สากล โดยสนับสนุนใหเกิดการพัฒนาหลักสูตร เปนมาตรฐานของการอบรมบุคลากรการกีฬา ตามความปกติใหม (New Normal) เพื่อใหมี คุณภาพและเทียบเทามาตรฐานในระดับสากล รวมทั้งบูรณาการในการทำงานรวมกันของหนวยงาน ที่เกี่ยวของ เพื่อรวมกันพัฒนาหลักสูตรการอบรม บุคลากรการกีฬาใหมีคุณภาพและเทียบเทามาตรฐาน ในระดับสากล จากสาระสำคัญดังกลาว มหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ ไดจัดทำหลักสูตรผูฝกสอนกีฬา และผูตัดสินกีฬารวมกับสมาคมกีฬาแหงประเทศไทย โดยมีคณาจารยในสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ผูเชี่ยวชาญในสมาคมกีฬา และผูทรงคุณวุฒิ รวมจัดทำ หลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรดานการกีฬา ประจำป งบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3 หลักสูตร ไดแก 1) หลักสูตรผูฝกสอนกีฬาบาสเกตบอล ระดับ 1 (C-License) 2) หลักสูตรผูฝกสอนกีฬาโรลเลอรสกี level 1 และ 3) หลักสูตรผูตัดสินกีฬาเรือพาย ระดับ 1 ทั้งนี้ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะนำไปใชในการอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรการกีฬาทั่วประเทศใหเปนไป ตามมาตรฐานเทียบเทาระดับสากลตอไป และไดมี การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการประยุกต หลักวิทยาศาสตรการกีฬา เพื่อวางแผนการฝกซอมและ ออกแบบโปรแกรมการสรางสมรรถภาพทางกาย สำหรับนักกีฬา ใหกับผูเชี่ยวชาญกีฬาและผูฝกสอน กีฬา ทั้ง 17 วิทยาเขต และ13 โรงเรียนกีฬา ซึ่งจะนำไป สูการออกแบบโปรแกรมการฝกซอมไดตรงตามชนิด กีฬา นับไดวาการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติในการพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา อยางเปนระบบและเกิดผลเปนรูปธรรม จะเปนสวนหนึ่ง ที่สำคัญในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการกีฬา แหงชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570) ตอไป


13 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ eDuCaTiOn oVeRvIeW พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนดสาระสำคัญ เกี่ยวกับการกำกับดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนา บุคลากรของประเทศเปนไปอยางมีคุณภาพและมาตรฐานทัดเทียมนานา อารยประเทศ สงเสริมใหสถาบันอุดมศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ มีความเปนอิสระทางวิชาการ สามารถพัฒนาผูเรียนใหมี ความคิดริเริ่มสรางสรรค มีองคความรูทางวิชาการในแขนงตาง ๆ ทันตอ การเปลี่ยนแปลงของโลก สรางความเปนเลิศในทางวิชาการ และมีทักษะ ขั้นสูงในการประกอบวิชาชีพ สามารถตอบสนองความตองการของภาครัฐ และภาคเอกชนไดอยางแทจริง และสงเสริมใหผูเรียนสามารถพัฒนา ตนเอง ใหเปนมนุษยที่สมบูรณทั้งรางกาย จิตใจ สติปญญา มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกรับผิดชอบตอสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และแกปญหาใหแก สังคมสวนรวมได อันจะนำไปสู ความเจริญกาวหนา ทางเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม กำหนดเกณฑ มาตรฐานการศึกษาตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องเกณฑ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และ เกณฑมาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 เพื่อสงเสริมและสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา ใหสามารถจัดการศึกษาไดอยางมีมาตรฐานและคุณภาพ นำไปสูการยกระดับ คุณภาพการจัดการศึกษาในการผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพ โดยมีการกำหนด ผลลัพธการเรียนรูตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ใหมีผลลัพธการเรียนรู ตามคุณวุฒิแตละระดับมีความสอดคลองกับอัตลักษณของแตละหลักสูตร มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติไดมอบหมายใหกองสงเสริมวิชาการ ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีมาตรฐาน เปนไปตามระเบียบ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วาดวยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2562 และระเบียบมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วาดวยการออกเอกสารหลักฐานการศึกษา พ.ศ. 2563 จึงจัดใหมีการประชุมโครงการการออกเอกสารหลักฐานการศึกษาของ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ และปฏิทินการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ เพื่อใหบุคลากรที่เกี่ยวของของมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ ทั้ง 17 วิทยาเขต ไดทำความเขาใจรวมกันเกี่ยวกับการจัดการศึกษา รวมถึงเอกสาร หลักฐานตาง ๆ ที่เกี่ยวของใหเปนไปดวยความเรียบรอยมีรูปแบบที่เปนมาตรฐาน และจัดโครงการติดตาม ทบทวน การจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เพื่อสรางความเขาใจเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการศึกษาของประเทศที่มีการ ปรับเปลี่ยนใหมในหลาย ๆ ดาน แกอาจารย บุคลากรผูมีสวนเกี่ยวของในการ จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ใหมีองคความรูและสามารถนำไปประยุกตใชใน การพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568) และเปนแนวทางในการจัด การศึกษาตอไป


14 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ SpOrTs aNd ToUrIsM มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ เล็งเห็นถึงความสำคัญและ โอกาสในการพัฒนานักศึกษา และบัณฑิตของมหาวิทยาลัยใหกาวเขาสู อุตสาหกรรมการทองเที่ยวเชิงกีฬา มหาวิทยาลัยจึงไดจัดการศึกษา ดานการทองเที่ยวในคณะศิลปศาสตร และจัดกิจกรรมโครงการพัฒนา บุคลากรดานการทองเที่ยวใหกับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการทองเที่ยวและนันทนาการ โดยจัดการเรียนการสอนใน 7 วิทยาเขต ไดแก วิทยาเขตกระบี่ วิทยาเขตกรุงเทพ วิทยาเขตชลบุรี วิทยาเขต ชุมพร วิทยาเขตเชียงใหม วิทยาเขตศรีสะเกษ และวิทยาเขตอางทอง รวมทั้งเปนศูนยอบรมมัคคุเทศกและผูนำเที่ยวใหกับบุคคลภายนอก ใน 3 วิทยาเขต ไดแก วิทยาเขตกระบี่ วิทยาเขตศรีสะเกษ และวิทยาเขต อางทอง โดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการทองเที่ยวและ นันทนาการ อยูในระหวางดำเนินการศึกษาความตองการเขาศึกษาตอ ในระดับปริญญาตรี รวมถึงศึกษาความตองการจากผูใชบัณฑิต เพื่อนำมา ประกอบการพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568) โดยวางแผน พัฒนาหลักสูตรใหมีเนื้อหาที่เนนการทองเที่ยวเชิงกีฬา ที่ตรงตามความตองการ ของผูมีสวนไดสวนเสียและนโยบายของกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา อันเปนการประสานบูรณาการการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยการกีฬา แหงชาติกับกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา ที่จะนำไปสูการขับเคลื่อน และการพัฒนาดานการทองเที่ยวและกีฬาของประเทศตอไป การทองเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) เปนอุตสาหกรรมการทองเที่ยว ที่มีความสําคัญตอระบบเศรษฐกิจของประเทศเปนอยางมาก เนื่องจากประเทศไทยมี สถานที่ทองเที่ยวทางกีฬาจำนวนมาก ทำใหสามารถดึงดูดนักทองเที่ยวไดหลากหลายกลุม และไดรับความสนใจจากนักทองเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวตางประเทศ ซึ่งการทองเที่ยว เชิงกีฬามีเอกลักษณที่แตกตางจากการทองเที่ยวโดยทั่วไป ตรงที่มีความเชื่อมโยง กับธุรกิจหลัก 4 ประเภท ไดแก ธุรกิจที่พัก ธุรกิจการขนสง ธุรกิจการทองเที่ยวและ กิจกรรม และธุรกิจอาหารและงานฝมือ นอกจากนี้ การทองเที่ยวเชิงกีฬายังมีสวน เกี่ยวของกับการประกอบอาชีพอื่น ๆ อาทิ ผูวางแผนการทองเที่ยวเชิงกีฬา ผูประกอบการ ทัวรกีฬา ตัวแทนทองเที่ยวเชิงกีฬา เปนตน จากรายงานฉบับสมบูรณ (Final Report) โครงการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของการทองเที่ยวเชิงกีฬาของไทย (Sports Tourism) ประจำป 2560 จะเห็นไดวาในการดําเนินกิจกรรมทองเที่ยวเชิงกีฬา มีความเกี่ยวพัน กับหวงโซอุปทาน ซึ่งจะกอใหเกิดมูลคาทางเศรษฐกิจในวงกวาง โดยเฉพาะอยางยิ่ง ผูประกอบการการทองเที่ยวเชิงกีฬาที่จะสามารถผลักดันและสงเสริมใหกิจกรรมการทองเที่ยว เชิงกีฬามีมูลคาทางเศรษฐกิจที่สูงมากขึ้น และกระตุนใหตลาดการทองเที่ยวเชิงกีฬาขยายตัว อันจะสงผลดีตอเศรษฐกิจของประเทศ


sPoRtS sCiEnCe tIpS 15 วารสาร ม.กีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กีฬาแตละประเภทมีรูปแบบการฝกซอม และการแขงขันที่แตกตางกัน บางชนิดกีฬาสามารถ ทำการแขงขันจนจบรอบการแขงขันภายในรอบเดียว ในวันเดียว แตบางชนิดกีฬามีรูปแบบของการจัดการ แขงขันที่แตกตางออกไปโดยชนิดกีฬานั้น ๆ มีรูปแบบ การแขงขันที่ตองแบงเปนหลายรอบการแขงขันและ ภายใน 1 วัน ตองแขงขัน มากกวา 1 รอบ เชน เทนนิส ยูโด เทควันโด เปนตน อีกทั้งเวลาในการพักเหนื่อย เพื่อแขงขันในรอบถัดไปหรือวันถัดไปก็มีเวลาที่จำกัด ทำใหเกิดความเหนื่อยและเมื่อยลาสะสมของรางกาย จากการใชงานอยางหนัก รวมถึงสภาพจิตใจที่มี ความเครียดและวิตกกงัวลจากการแขงขันในรอบที่ ผานมาและที่จะตองทำการแขงขันในรอบถัดไป สงผลให การแขงขันในรอบถัดไปไมสามารถใชประสิทธิภาพ ของสมรรถภาพทางกายไดอยางเต็มที่ การฟนตัวจาก การออกกำลังกาย (Recovery) จึงมีความสำคัญ เชนเดียวกับการใชพลังงานในการออกกำลังกาย หากสามารถฟนตัวภายหลังการออกกำลังกายไดเร็ว เพียงใดก็จะสงผลใหเกิดประสิทธิภาพของสมรรถภาพ ทางกายในการกลับมาออกกำลังกายอีกครั้งก็จะดีขึ้น ตามมาดวย (Power & Howley, 2001) สอดคลองกับ เจษฎา ไตรเพิ่ม (2554) ที่อธิบายวา ภายหลังการออก กำลังกายอยางหนัก สิ่งที่จำเปนอยางยิ่ง คือจะตอง ฟนสภาพรางกายโดยเร็ว ยิ่งการฟนสภาพรางกาย มีประสิทธิภาพมากเทาใด ความเหนื่อยลาจะลดลงเทานั้น วิธีการฟนฟูสมรรถภาพทางกายภายหลัง การออกกำลังกายมีดวยกันหลายรูปแบบ เชน การนั่ง การเดิน การยืดเหยียดกลามเนื้อ การใชความเย็น การนวด การปนจักรยาน และการซาวนา เปนตน ในป 2566 ณัฏฐดนัย เจริญสุขวิมลและกิตติศักดิ์ วงษดนตรี ไดศึกษาผลของการแชน้ำเย็นรวมกับ การยืดเหยียดกลามเนื้อและการนวดแบบสวีดิชที่สงผล ตอการเปลี่ยนแปลงทางดานระดับกรดแลคเตทและ คาออกซิเจนในเลือดปลายนิ้วมือในนักศึกษา คณะวิทยาศาสตรการกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัย การกีฬาแหงชาติ วิทยาเขตชลบุรี เพศชาย อายุระหวาง 18 - 22 ป จำนวน 30 คน พบวา วิธีการแชน้ำเย็นรวมกับ การยืดเหยียดกลามเนื้อหรือการนวดแบบสวีดิช สามารถทำใหปริมาณกรดแลคเตทในเลือดลดลง อยางรวดเร็ว สอดคลองกับการศึกษาของ ยุนฮยองลี, จินโฮ ยุน, กีแจซัง และแจกึนโอ (Lee, Y. H., Yoon, J. H., Song, K. J., & Oh, J. K., 2021) ไดทำการศึกษา ผลของการออกกำลังกายเพื่อคูลดาวนและการบำบัด ดวยการแชน้ำเย็นตอสมรรถภาพขั้นพื้นฐานและทักษะ เฉพาะดานกีฬาของนักกีฬาฟุตบอลระดับวิทยาลัย ประเทศเกาหลีใต ผลการวิจัยพบวา การใชความเย็น ในหลังจากการออกกำลังกายเปนการสงเสริมและ ฟนฟูสมรรถภาพเฉพาะกีฬา (Sport-Specific Skill) ของนักฟุตบอลระดับวิทยาลัยประเทศเกาหลีใต ไดอยางมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการที่ความเย็นจะไปลด การอักเสบ (Inflammatory Reactions) และลดภาวะ การเกิดความไมสมดุลระหวางอนุมูลอิสระและ สารตานอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) ในสวนของ การนวด สอดคลองกับการศึกษาของ เดวิส, อลาเบด และชิโก (Davis, Alabed, & Chico, 2020) ที่ได ทดลองผลของการนวดทางการกีฬาตอสมรรถภาพ และการฟนฟูกลามเนื้อ พบวา การนวดทางการกีฬา ชวยเพิ่มความยืดหยุนของกลามเนื้อ และลดอาการลา และอาการปวดระบมกลามเนื้อหลังออกกำลังกาย (DOMS: Delayed Onset Muscle Soreness) ไดอยางมีประสิทธิภาพ สรุปไดวาการฟนฟูสมรรถภาพทางกายจากการ ออกกำลังกายและการเลนกีฬามีดวยกันหลากหลายวิธี ไมวาจะเปนการนั่ง การเดิน การยืดเหยียดกลามเนื้อ การใชความเย็น การนวด การปนจักรยาน และการซาวนา แตวิธีการที่ไดรับความนิยมในการนำมาใชในการ ฟนฟูสมรรถภาพทางกายจากการออกกำลังกาย และการเลนกีฬาในหมูของโคชกีฬา หรือแมแตของ นักกีฬาเองก็คือ วิธีการใชความเย็นและการนวด เปนตน ผูเรียบเรียงบทความ ผูชวยศาสตรจารยณัฏฐดนัย เจริญสุขวิมล  คณะวิทยาศาสตรการกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ วิทยาเขตชลบุรี


คานิยมองคกร SPORTS - U คานิยมองคกร SPORTS - U /TNSUcenter facebook.com tnsu.ac.th Tel. 0-3805-4235 S S P P O O R R T T S S U U


Click to View FlipBook Version