หนังสืออีเล็กทรอนิกส์(E-book)เล่มนี้ จัดขึ้นทำ เพื่อให้ผู้อ่านได้ ศึกษาหาความรู้เรื่องราวในวรรณคดีไทย โดยได้คึกษาผ่านแหล่ง ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น ตำ รา หนังสือ ห้องสมุด และแหล่งความ รู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)เล่มนี้มี เนื้อหาเกี่ยวกับวรรคดีไทยเรื่อง มัทนะพาธา คุณค่าด้านเนื้อหา ด้านสัมคม ผู้จัดทำ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์((E-book)เล่มนี้จะมี้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ สนใจศึกษา วรรณคดีไทยเป็นอย่างดี นางสาว สิรีธร แซ่โง้ว
ตัวละครความเป็นมาของเรื่องเนื้อเรื่องย่อคุนค่าด้านเนื้อหาคุณค่าด้านวรรณศิลป์คุณค่าด้านสังคมข้อคิดแก่นของเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครบรรณานุกรม 1-2 34-6 7-10 1112-13 14151617
ชาวฟ้า สุเทษณะเทพบุตร์. จิตระเสน, หัวหน้าคนธรรพ์ของสุเทษณ์. จิตระรถ, สาระถีของสุเทษณ์. มายาวิน, วิทยาธร. มัทนา, เทพธิดา. เทพบุตร์, คนธรรพ์, และอับสร บริวารของสุเทษณ์. ชาวดิน พระกาละทรรศิน, คณาจารย์อยู่ในป่าหิมะวัน. โสมะทัต, หัวหน้าศิษย์ของพระกาละทรรศิน. นาค, ศิษย์ของพระกาละทรรศิน. ศุน, ศิษย์ของพระกาละทรรศิน. ท้าวชัยเสน, กษัตริย์จันทรวงศ์ผู้ทรงราชย์ในนครหัสตินาปุระ. ศุภางค์, นายทหารคนสนิธของท้าวชัยเสน. นันทิวรรธนะ, อมาตย์ของท้าวชัยเสน, ชาวสวนหลวง วิทูร, พราหมณ์หมอเสน่ห์. พระนางจัณฑี, มเหสีของท้าวชัยเสน. ปริยัมวะทา, นางกำ นัลของท้าวชัยเสน. อราลี, นางค่อมฃ้าหลวงพระนางจัณฑี. เกศินี, ฃ้าหลวงพระนางจัณฑี. ศิษย์พระฤษี ; นายทหาร, พราน , ราชบริพาร, และฃ้าหลวง.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชนิพนธ์บท ละครเรื่องมัทนะพาธาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยทรง พระราชนิพนธ์ โครงเรื่องขึ้นด้วยจินตนาการของพระองค์เอง คำ ว่า มัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บหรือเดือดร้อนแห่งความรัก หรือได้ชื่อว่า เป็น ตำ นานแห่งดอกกุหลาบ บทละครพูดคำ ฉันท์มี ๕ องก์ และคณะ กรรมการวรรณคดีสโมสรมีมติให้หนังสือบทละครพูดคำ ฉันท์เรื่อง มัทนะพาธาเป็น บทละครพูดคำ ฉันท์ยอดเยี่ยมเมื่อ
เป็นเรื่องสมมติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็นภาค สวรรค์และภาคพื้นโลกมนุษย์ เริ่มจากภาคสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์ หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่รับรัก สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายา วินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา แต่ผลคือนางมัทนาเหม่อลอยอยู่ใน มนต์ สุเทษณ์จึงขอให้มายาวินคลายมนต์ เมื่อได้สติแล้วนางมัทนาจึง ปฏิเสธรัก สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางมัทนาลงไปเกิดเป็นมนุษย์ นางมัทนาขอให้ตัวเองได้ไปเกิดเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึง ให้นางไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ เป็นดอกไม้ที่งามทั้งกลิ่นและรูป แต่มี เฉพาะแค่ในสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมาก่อน โดยที่ดอกกุหลาบนั้นจะ กลายเป็นมนุษย์แค่ 1 วัน 1 คืน ในวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และนางจะพ้นสภาพจากการเป็นกุหลาบก็ต่อเมื่อนางมีความรัก แต่ นางจะได้รับความทนทุกข์จากความรัก เมื่อถึงเวลานั้น ให้นางมา อ้อนวอนขอความช่วยเหลือกับเทพบุตรสุเทษณ์
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบในป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศินจึงขุดไปปลูก ในบริเวณอาศรมของตน ขณะทำ การขุดก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง จึงรู้ว่าเป็น เทพธิดามาจุติ จึงเชิญนางมัทนาและสัญญาว่าจะปกป้องดูแล จึงทำ การ ย้ายได้สำ เร็จ หลังจากนั้นในคืนวันเพ็ญ ท้าวชัยเสนได้เสด็จออกล่าป่าและ แวะมาพักที่อาศรมของฤษี เมื่อได้พบกับนางมัทนาที่แปลงร่างเป็นคนใน คืนวันเพ้ญพอดีก็ตกหลุมรัก นางมัทนาก็มีใจเสน่หาต่อท้าวชัยเสนด้วยกัน ทั้งสองสาบานรักต่อกันทำ ให้นางมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นดอกไม้อีก
นางมัทนาตามท้าวชัยเสนกลับเมือง ทำ ให้นางจัณฑีผู้เป็นมเหสีโกรธมาก จึงวางแผนใส่ร้ายว่านางเป็นชู้กับศุภางค์ผู้เป็นแม่ทัพ ท้าวชัยเสนเมื่อได้ยิน ข่าวก็เข้าใจผิด จึงสั่งสั่ประหารชีวิตทั้งคู่ แต่ทหารที่ได้รับคำ สั่งสั่มาประหาร กลับรู้สึกสงสารนางจึงปล่อยไป นางมัทนากลับมายังป่าหิมะวันด้วยความ โศกเศร้า จึงอ้อนวอนต่อเทพบุตรสุเทษณ์ให้มาช่วย เมื่อสุเทษณ์ลงมาก็ยื่น ข้อเสนอให้นางมาเป็นคนรักเพื่อที่จะพากลับขึ้นไปบนสวรรค์ แต่นางมัทนา ยังคงปฏิเสธไม่รับรักอยู่ สุเทษณ์จึงโกรธและสาปให้นางมัทนากลายเป็น กุหลาบไปตลอดกาล ฝ่ายท้าวชัยเสนเมื่อเสร็จจากศึกสงครามก็เพิ่งรู้ความ จริงว่านางมัทนาโดนใส่ร้ายจึงออกตามหา ก่อนจะพบว่านางได้กลายเป็น กุหลาบไปแล้ว จึงสั่งสั่ให้คนนำ มาปลูกไว้ที่เมืองและดูแลไม่ให้ดอกไม้นี้สูญ พันธุ์มาจนถึงทุกวัน
๑. โครงเรื่อง เป็นบทละครพูดคำ ฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่อง เอง ไม่ได้ตัดตอนมาจากวรรณคดีเรื่องใด แก่นสำ คัญของเรื่องมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑) ทรงปราถนาจะกล่าวถึงตำ นานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ไม่เคยมีตำ นานใน เทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีกำ เนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็น ดอกไม้ชื่อว่า "ดอกกุพฺชกะ" คือ "ดอกกุหลาบ" ๒) เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ทรงแสดงให่เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง ผู้ ใดมีความรักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า "มัทนะพาธา" อันเป็นชื่อของตัว ละครเอกของเรื่อง ซึ่งมีความหมายว่า "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก" มี การผูกเรื่องให้มีความขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง คือ ๑) สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนา แต่นางไม่รับรักตอบจึงสาปนางเป็นดอกกุพฺชกะ (กุหลาบ) ๒) นางมัทนาพบรักกับท้าวชัยเสน แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเพราะนางจันทีมเหสีของท้าวชัยเสน วางอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์ เทพบุตร และสุเทษณ์เทพบุตรขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วย ความสูญเสียและความเจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย
๒. ตัวละคร ๒.๑ สุเทษณ์ เป็นเทพบุตรที่หมกมุ่นในตัณหาราคะ เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตนเอง และไม่คำ นึงถึงความรู้สึกของ ผู้อื่น ดังตัวอย่างบทกวีต่อไปนี้ สุเทษณ์ : เหวยจิตรเสน มึงบังอาจเล่น ล้อกูไฉน? จิตระเสน : เทวะ, ข้าบาท จะบังอาจใจ ทำ เช่นนั้นไซร้ได้บ่พึงมี. สุเทษณ์ : เช่นนั้นทำ ไม พวกมึงมาให้ พรกูบัดนี้, ว่าประสงค์ใด ให้สมฤดี? มึงรู้อยู่นี่? ว่ากูเศร้าจิต เพราะไม่ได้สม จิตที่ใฝ่ชม, อกกรมเนืองนิตย์. จิตระเสน : ตูข้าภักดี ก็มีแต่คิด เพื่อให้ทรงฤทธิ์ โปรดทุกขณะ. สุเทษณ์ : กูไม่พอใจ ไล่คนธรรพ์ไป บัดนี้เทียวละ อย่ามัวรอลั้ง ๒.๒ มัทนา ซื่อสัตย์ นิสัยตรงไปตรงมา คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่รักก็บอกตรงๆ ไม่พูดปดหลอกลวง ไม่มี เล่ห์เหลี่ยม พูดแต่ความจริง แต่ความจริงที่นางพูดทำ ให้นางต้องได้รับความลำ บากทุกข์ระทมใจ ดังตัวอย่างเมื่อ สุเทษณ์บอกรักนางและขอนางให้คำ ตอบ ฟังถ้อยดำ รัสมะธุระวอน ดนุนี้ผิเอออวย. จักเปนมุสาวะจะนะด้วย บมิตรงกะความจริง. อันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะแด่หญิง, หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก; แต่หากฤดีบอะภิรม จะเฉลยฉะนั้นจัก เปนปดและลวงบุรุษะรัก ก็จะหลงละเลิงไป. ตูข้าพระบาทสิสุจริต บมิคิดจะปดใคร, จึ่งหวังและมุ่งมะนะสะใน วรเมตตะธรรมา.
๒. กลวิธีในการดำ เนินเรื่อง การดำ เนินเรื่องใช้กลวิธีให้มายาวินเป็นผู้เล่าอดีตชาติของสุเทษณ์เทพบุตร และ ดำ เนินเรื่องโดยแสดงให้เห็นลักษณะของสุเทษณ์เทพบุตรผู้เป็นใหญ่ ว่ามีบุญมีวาสนามาก มีบริวาร พรั่งรั่พร้อมควรที่จะเสวยสุขในวิมานของตน กลับเอาแต่ใจตนเองหมกมุ่นอยู่ในกามตัณหาราคะ เฉพาะนางเทพธิดาที่ประดับบารมีก็มากล้นเหลือ จะเสวยสุขอย่างไรก็ได้ แต่ก็ยังไม่พอ ศิลปะการดำ เนินเรื่อง เปรียบให้เห็นว่าชายที่ร่ำ รวยด้วยเงิน อำ นาจวาสนาอยากได้ อะไรก็จะต้องเอาให้ได้ เมื่อไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนตร์ต้องเอาด้วยคาถา ผู้หญิงจึง เป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีอะไรจะไปต่อสู้ และมีไม่น้อยที่หญิงจะหลงไปติดในวิมานของคน ร่ำ รวย การดำ เนินเรื่องกำ หนดให้สุเทษณ์สาปนางมัทนาให้เป็นดอกกุหลาบ ต่อเมื่อถึงคืน เดือนเพ็ญจะกลายร่างเป็นหญิงรูปงามหนึ่งวันหนึ่งคืน หากมีความรักเมื่อใดจึงจะกลายเป็นมนุษย์ อย่างถาวร และขอให้นางพบกับความทุกข์ระทมจากความรัก หากนางมีความทุกข์ระทมเพราะ ความรักเมื่อก็ให้ไปอ้อนวอนสุเทษณ์ๆ จึงจะยกโทษให้ เพราะสุเทษณ์เทพบุตรหวังว่าเมื่อนางต้องผิดหวังทุกข์ระทมเพราะความรัก คงจะ เห็นใจตนและยินดีรับรักบ้าง แต่สุเทษณ์คาดการณ์ผิด เพราะเรื่องกลับจบลงด้วยนางมัทนามา อ้อนวอนให้รักของนางสมหวัง สุเทษณ์เทพบุตรขอให้นางรับรักก็ถูกปฏิเสธอีก สุเทษณ์จึงโกรธแค้น และสาปนางให้เป็นดอกกุหลาบชั่วชั่นิรันดร์
๑. การใช้ถ้อยคำ และรูแบบคำ ประพันธ์เหมาะสมกับเนื้อหา ทำ ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก คล้อยตาม เกิดความประทับใจอยากติดตามอ่าน เช่น เมื่อมายาวินเล่าเรื่องราวในอดีต ถวายสุเทษณ์ว่าเหตุใดมัทนาจึงไม่รักสุเทษณ์ กวีเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ที่มี ท่วงทำ นองเร็วเหมาะแก่การเล่าความ หรือบรรยายเรื่อง ส่วนเนื้อหาตอนสุเทษณ์ฝากรัก นางมัทนานั้นใช้วสันตดิลกฉันท์ ซึ่งมีท่วงทำ นองที่อ่อนหวาน เมื่อสุเทษณ์กริ้วนางมัทนา ก็ไช้ กมลฉันท์ ซึ่งมีคำ ครุลหุที่มีจำ นวนเท่ากันแต่ขึ้นต้นด้วยคำ ลหุ จึงมีทำ นองประแท กกระทั้นถ่ายทอดอารมณ์โกรธเกรี้ยวได้ดี ๒. การใช้โวหาร กวีใช้อุปมาโวหารในการกล่าวชมความงามของนางมัทนา ทำ ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพความงามของมัทนาเด่นชัดขึ้น ๓. การใช้ลีลาจังหวะของคำ ทำ ให้เกิดความไพเราะ กวีมีความเชี่ยวชาด้าน ฉันทลักษณ์อย่างยิ่ง สามารถแต่งบทเจรจาของตัวละครให้เป็นคำ ฉันท์ได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งการใช้ภาษาก็คมคาย โดยที่บังคับฉันทลักษณ์ ครุ ลหุ ไม่เป็นอุปสรรคเลย เช่น บทเกี้ยวพาราสีต่อไปนี้ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีการสลับตำ แหน่งของ คำ ทำ ให้เกิดความไพเราะได้อย่างยอดเยี่ยม ๔. การใช้คำ ที่มีเสียงไพเราะ อันเกิดจากการเล่นเสียงสัมผัสคล้องจอง และ การหลากคำ ทำ ให้เกิดความำ พเราะ เช่น ตอนมายาวินร่ายมนตร์
๑. สอดแทรกความคิดเกี่ยวกับความเชื่อในสังคมไทย เช่น ๑.๑ ความเชื่อเรื่องชาติภพ ๑.๒ ความเชื่อเรื่องการทำ บุญมากๆ จะได้ไปเกิดในสวรรค์ และเสวยสุขในวิมาน ๑.๓ ความเชื่อเรื่องทำ กรรมสิ่งใดย่อมได้รับผลกรรมนั้น ๑.๔ ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา การทำ เสน่ห์เล่ห์กล ๒. แสดงกวีทัศน์ โดยแสดงให้เห็นว่า "การมีรักเป็นทุกข์อย่างยิ่ง" ตรงตามพุทธวัจนะที่ว่า "ที่ใดมีรักที่ นั่นนั่มีทุกข์" เช่น ๒.๑ สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ แม้เมื่อได้เสวยสุขเป็นเทพบุตรก็ยัง รักนางมัทนาอยู่ จึงทำ ทุกอย่างเพื่อให้ได้นางมาแต่ไม่สมหวังก็พร้อมที่จะทำ ลาย ความรักเช่นนี้เป็นความ รักที่เห็นแก่ตัวควรหลีกหนีให้ไกล ๒.๒ ท้าาสุราษฎร์รักลูกและรักศักดิ์ศดิ์รี พร้อมที่จะปกป้องศักดิ์ศดิ์รีและลูกแม้จะสู้ไม่ได้และ ต้องตายแน่นอนก็พร้อมที่จะสู้ เพราะรักของพ่อแม่เป็นรักที่ลริสุทธิ์แธิ์ละเที่ยงแท้ ๒.๓ นางมัทนารักบิดา นางยอมท้าวสุเทษณ์เพื่อปกป้องบิดา รักศักดื์ศรีและรักษาสัจจะ เมื่อทำ ตามสัญญาแล้วจึงฆ่าตัวตาย รักของนางมัทนาเป็นความรักที่แท้จริงมั่นมั่คง กล้าหาญและเสียสละ ๒.๔ ท้าวชัยเสนและนางจันที เป็นความรักที่มีความใคร่และความหลงอยู่ด้วยจึงมีความรู้สึก หึงหวง โกรธแค้นเมื่อถูกแย่งชิงคนรัก พร้อมที่จะต่อสู้ทำ ลายทุกอย่างเพื่อให้ได้กลับคืนมา ตัวละครทั้งหมดในเรื่องประสบแต่ความทุกระทมจากความรัก มีรักแล้วรักไม่สมหวังก็เป็น ทุกข์ อยู่กับคนที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ มีรักแล้วไม่ได้อยู่กับคนรักก็เป็นทุกข์ มีความรักแล้วถูกแย่งคนรักก็เป็น ทุกข์ มีรักแล้วพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ แก่นของเรื่องมัทนะพาธาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความรักต้องเจ็บปวดจากความรักทั้งสิ้น
๓. ให้ข้อคิดในการครองตน หญิงใดอยู่ในฐานะอย่างนางมัทนาจะต้องมีความระมัดระวังตัว หลีกหนีจากผู้ชายมาราคะให้ไกล กวีจึงกำ หนดให้ทางมัทนาถูกสาปกลายเป็นดอกไม้ชื่อดอกกฺุชกะ (กุหลาบ) ซึ่งสวยงามมีหนามแหลมคมเป็นเกราะป้องกันตนให้พ้นจากมือผู้ที่ปรารถนาจะหักหาญรานกิ่ง หรือเด็ดดอกไปเชยชม ดอกกุหลาบจึงเป็นสัญลักษณ์แทนหญิงสาวที่มีรูปสวยย่อมเป็นที่หมายปองของ ชายทั่วทั่ไป หนามแหลมคมเปรียบเหมือนสติปัญญา ดังนั้นถ้าหญิงสาวที่รูปงามและมีความเฉลียวฉลาด รู้ทันเล่ห์เหลี่ยม ย่อมสามารถเอาตัวรอดจากผู้ที่หมายจะหยามเกียรติหรือหมิ่นศักดิ์ศดิ์รีได้ ๔. ให้ข้อคิดในเรื่องการมีบริวารที่ขาดคุณธรรมอาจทำ ให้นายประสบหายนะได้ เช่น บริวาร ของท้าวสุเทษณ์ที่เป็นคนธรรพ์ ชื่อจิตระเสนมีหน้าที่บำ รุงบำ เรอให้เจ้านายมีความสุข มีความพอใจ ดัง นั้นจึงทำ ทุกอย่างเพือ่เอาใจผู้เป็นเจ้านาย เช่น แสวงหาหญิงงามมาเสนอสนองกิเลสตัณหาของเจ้านาย ให้วิทยาธรชื่อมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดนางมัทนามาให้ท้าวสุเทษณ์ บริวารลักษณะอย่างนี้มีมากในสังคม จริง ซึ่งมีส่วนให้นาย หรือประเทศชาติ ประสบความเดือดร้อนเสียหายได้
สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่มั่นมั่คงของสุเทษณ์ที่มี ต่อนางมัทนา เพื่อกล่าวถึงตำ นานดอกกุหลาบ สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมปัจจุบัน ความงามของ ผู้หญิงจะนำ ความเดือดร้อนใจมาให้
มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่บริสุทธิ์แ ธิ์ ละมั่นมั่คงของ มนุษย์ ความรักของชัยเสนและนางมัทนาเป็นความรักที่ไร้เงื่อนไข ทั้งคู่ต่างยอมเสีย สละเพื่อความรักของตน แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายก็ตาม ความรักของทั้งสองจึงเป็นความรัก ที่งดงามและน่าชื่นชม นอกจากนี้ มัทนะพาธายังสอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับความรักไว้หลายประการ เช่น ความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม แต่หากไม่สมหวังก็อาจนำ ไปสู่ความทุกข์ได้ ความรักที่แท้จริงต้องเกิดจากความสมัครใจและความเข้าใจ ความรักต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดีงาม
/ มัทนา เป็นตัวละครเอกของเรื่อง มีลักษณะนิสัยดังนี้ งดงามทั้งรูปกายและจิตใจ รักอิสระ ไม่ยอมจำ นนต่ออำ นาจหรือตัณหา มั่นมั่คงในความรัก / สุเทษณ์ เป็นตัวละครฝ่ายตรงข้ามของมัทนา มีลักษณะนิสัยดังนี้ หลงรักนางมัทนาอย่างรุนแรง ต้องการครอบครองนางโดยไม่สนความสมัครใจ โมโหร้ายเมื่อไม่สมหวัง / ชัยเสน เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำ คัญในการขับเคลื่อนเรื่อง มีลักษณะนิสัยดังนี้ รักนางมัทนาอย่างสุดหัวใจ กล้าหาญและเด็ดเดี่ยว ยอมเสียสละเพื่อความรัก / นางจัณฑี เป็นตัวละครฝ่ายตรงข้ามของมัทนา มีลักษณะนิสัยดังนี้ ริษยานางมัทนา วางแผนร้ายเพื่อกำ จัดนาง โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม / มายาวิน เป็นตัวละครฝ่ายดี มีลักษณะนิสัยดังนี้ เมตตากรุณา คอยช่วยเหลือความรักของชัยเสนและนางมัทนา มีปัญญาและไหวพริบ
______(2556)มัทนะพาธา ( ตำ นานรักดอกกุหลาบ )สืบค้น 27 มกราคม 2567 , จาก https://kruthaicrw.blogspot.com/2013/10/blogpost_11.html?m=1 ______(2559)มัทนะพาธา สืบค้น 22 มกราคม 2567 , จาก https://matanapata.blogspot.com/2016/03/blogpost_16.html?m=1 จิราภรณ์ หอมกลิ่น(2552)รู้จักวรรณคดีน่าอ่าน....มัทนะ พาธา....ตำ นานแห่งดอกกุหลาบ สืบค้น 13 มกราคม 2567, จาก https://www.kroobannok.com/blog/9607
นางสาว บัณฑิตา อังศุวัฒนากุล นางสาวกนกกาญจน์ คงทน นางสาวสิรีธร แซ่โง้ว