คำนำ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร มีพื้นที่รับผิดชอบรวมจำนวน ทั้งสิ้น 22 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี จำนวน 8 จังหวัด และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จำนวน 14 จังหวัด มีภารกิจหลัก ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ให้คำปรึกษาแนะนำ แก้ไขปัญหาในการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ และโครงการจังหวัดพบประชาชน เป็นต้น นอกจากนี้ ในปัจจุบันผึ้งและแมลงเศรษฐกิจถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถนำมาประกอบ อาชีพเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตพืชในทางการเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ บำรุงสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์หลายชนิดถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลาย ตลอดจนมีการส่งออกนำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก สำหรับรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566 นี้ ศูนย์ฯ จึงได้รวบรวมผลการปฏิบัติงาน ตามแผนโครงการในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 22 จังหวัด โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในรายงานฉบับนี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่สนใจต่อไป ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ธันวาคม 2566
สารบัญ เรื่อง หน้า สารบัญตาราง ก สารบัญภาพ ข 1. ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ 1 2. การใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 7 3. ผลการดำเนินงานโครงการ 13 4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานปี 2566 52 5. ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานปี 2566 52 6. แนวทางการดำเนินงานปี 2567 52 ภาคผนวก 53 คณะผู้จัดทำ 78
ก สารบัญตาราง ตาราง หน้า ตารางที่ 1 ข้าราชการ จำนวน 6 อัตรา 3 ตารางที่ 2 พนักงานราชการ จำนวน 4 อัตรา 3 ตารางที่ 3 คนงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 10 อัตรา 3 ตารางที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของศูนย์ฯ 6 ตารางที่ 5 การใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 7 ตารางที่ 6 ขออนุมัติจัดจ้าง (ค่าจ้างเหมา) 24 ตารางที่ 7 ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้จำนวน 18 รายการ 25 ตารางที่ 8 ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้จำนวน 13 รายการ 26 ตารางที่ 9 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ในพื้นที่โรงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริจังหวัดชุมพร ปี 2566 37 ตารางที่ 10 การร่วมกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) 40 ตารางที่ 11 การร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดพบประชาชนจังหวัดชุมพร "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน" ประจำปี 2566 41 ตารางที่ 12 การศึกษาดูงานด้านแมลงเศรษฐกิจ 42 ตารางที่ 13 การถ่ายทอดความรู้ด้านแมลงเศรษฐกิจ 43 ตารางที่ 14 ผลการดำเนินงานโครงการเงินรายได้ 49 ตารางที่ 15 ผลการใช้จ่ายเงินโครงการ (ที่เบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว) 50
ข สารบัญภาพ ภาพ หน้า ภาพที่ 1 สถานที่ตั้ง และสภาพโดยทั่วไป 1 ภาพที่ 2 พื้นที่ในเขตบริการของศูนย์ฯ 2 ภาพที่ 3 บุคลากร 4 ภาพที่ 4 โครงสร้างการบริหารงาน 5 ภาพภาคผนวก ภาพภาคผนวกที่ 1 รถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี หรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์ ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเลิ้ลแค็บ พร้อมหลังคาไฟเบอร์กลาสหรือเหล็ก 54 ภาพภาคผนวกที่ 2 ปรับปรุงอาคารเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ 54 ภาพภาคผนวกที่ 3 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริม การเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 55 ภาพภาคผนวกที่ 4 รายการเครื่องปรับอากาศ แบบแยกส่วน แบบติดผนัง ขนาด 35,000 บีทียู 56 กกกภาพภาคผนวกที่ 5 รายการพัดลมติดผนัง จำนวน 3 เครื่อง 56 กกกภาพภาคผนวกที่ 6 พัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลงเศรษฐกิจ 57 กกกภาพภาคผนวกที่ 7 ผลิตและขยายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ 57 กกกภาพภาคผนวกที่ 8 การบริหารจัดการและประเมินสถานการณ์สินค้าแมลงเศรษฐกิจ 58 กกกภาพภาคผนวกที่ 9 เครื่องโครมาโทกราฟสำหรับแยกและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ประสิทธิภาพสูง (HPLC) 59 กกกภาพภาคผนวกที่ 10 บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งให้เกษตรกร 60 กกกภาพภาคผนวกที่ 11 โครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานส่งเสริมกลุ่มสินค้าแมลงเศรษฐกิจ กิจกรรมวันผึ้งโลก ครั้งที่ 6 61 ภาพภาคผนวกที่ 12 รายการตู้เย็นขนาด 7 คิวบิกฟุต 62 ภาพภาคผนวกที่ 13 การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ด้านแมลงเศรษฐกิจ 63 ภาพภาคผนวกที่ 14 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรงเรือนเพื่อการเกษตร ประจำปี 2566 64 กกกภาพภาคผนวกที่ 15 การเข้าร่วมโครงการสัมมนา YEAR END Conference ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 65 กกกภาพภาคผนวกที่ 16 การดำเนินโครงการและเข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร 65
ค สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพภาคผนวก หน้า กกกภาพภาคผนวกที่ 17 ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและชันโรง 66 กกกภาพภาคผนวกที่ 18 สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 66 กกกภาพภาคผนวกที่ 19 คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ 67 กกกภาพภาคผนวกที่ 20 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านแมลงเศรษฐกิจ (ผึ้งโพรงและชันโรง) ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2566 68 กกกภาพภาคผนวกที่ 21 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรงในพื้นที่โรงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร ปี 2566 69 กกกภาพภาคผนวกที่ 22 โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ปี 2566 70 กกกภาพภาคผนวกที่ 23 โครงการฝึกอบรมฝึกอาชีพ “มีดีที่ศูนย์ปฏิบัติการ”การเลี้ยงและการแปรรูป จิ้งหรีดหลักสูตร “จิ้งหรีดคอนโดทูเทเบิ้ล” ปี 2566 71 กกกภาพภาคผนวกที่ 24 งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) 72 กกกภาพภาคผนวกที่ 25 โครงการจังหวัดพบประชาชนจังหวัดชุมพร 73 กกกภาพภาคผนวกที่ 26 การศึกษาดูงานด้านแมลงเศรษฐกิจ 74 กกกภาพภาคผนวกที่ 27 การรับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ในการเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ณ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 7 - 12 เมษายน 2566 75 กกกภาพภาคผนวกที่ 28 โครงการเงินรายได้ 76 กกกภาพภาคผนวกที่ 29 โครงการศึกษาวิจัย 77
1. ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ 1.1 ประวัติการก่อตั้งศูนย์ฯ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เดิมก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2524 โดยหน่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ศึกษา ทดลอง การเลี้ยงผึ้งและขยายพันธุ์ผึ้ง พร้อมทั้งจัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งในส่วนภูมิภาค 5 ศูนย์ทั่วประเทศ รวมทั้ง “ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้ง จังหวัดชุมพร”ในปี พ.ศ. 2545 มีการปรับโครงสร้างใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา อาชีพทางการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง)” สังกัดสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2557- 2561 มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ขึ้นและเปลี่ยนชื่อศูนย์ให้สอดคล้องกับภารกิจ เป็น “ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร” เป็นหน่วยงานของ กรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้การบังคับบัญชาของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ ภายใต้การ บังคับบัญชาของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา 1.2 สถานที่ตั้ง และสภาพโดยทั่วไป ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เลขที่ 22/ 1 หมู่ที่ 6 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000 โทรศัพท์ ๐ 7765 8669 โทรสาร ๐ ๗๗๕๗ ๔๕๒๐ เว็บไซต์ (Website) http://www.aopdb03.doae.go.th ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)[email protected] เฟสบุ๊ค (Facebook) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร อินสตาแกรม (Intragram) aopdb03.ins.eco.chumphon สภาพทั่วไป ทิศเหนือ ติดกับบ้านพักข้าราชการศาลจังหวัดชุมพร หมู่ที่ 5 ตำบลขุนกระทิง ทิศตะวันออกติดกับถนนคอนกรีตสาธารณะพื้นที่เกษตรกรรมและบ้านเรือนเกษตรกร หมู่ที่ 6ตำบลขุนกระทิง ทิศใต้และทิศตะวันตก ติดกับพื้นที่เกษตรกรรมและบ้านเรือนเกษตรกร หมู่ที่ 6ตำบลขุนกระทิง ภาพที่ 1 สถานที่ตั้ง และสภาพโดยทั่วไป
2 1.3 ทิศทางการปฏิบัติงาน 1.3.1 วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นส่งเสริมพัฒนาให้เป็นหนึ่ง ในงานส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้เกษตรกรมีอาชีพ ที่มั่นคงและยั่งยืน 1.3.2 พันธกิจ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ 2) ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ 3) วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ 4) เชื่อมโยงและสร้างความสามารถในการแข่งขัน 5) บริการทางการเกษตร 6) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 1.3.3 ค่านิยม “ศูนย์ฯ ดูดี มีองค์ความรู้ สู่การพัฒนาการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ” 1.3.4 บทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ 1) ศึกษา วิจัยทดสอบ และประยุกต์เทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากแมลงเศรษฐกิจ 2) ส่งเสริม ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก แมลงเศรษฐกิจ 3) เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการผลิต ขยาย และกระจายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ เพื่อใช้ใน งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 4) ให้บริการและสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรคและศัตรูของแมลงเศรษฐกิจและ ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัด 5) ให้บริการตรวจคุณภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์จากแมลงเศรษฐกิจ 6) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 1.3.5 พื้นที่ในเขตบริการของศูนย์ฯ พื้นที่ในเขตบริการของศูนย์ฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 22 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จำนวน 14 จังหวัด ที่ประกอบด้วย จังหวัด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ภาพที่ 2 พื้นที่ในเขตบริการของศูนย์ฯ
3 1.4 บุคลากร 1.4.1 ข้าราชการ จำนวน 6 อัตรา ตารางที่ 1 ข้าราชการ จำนวน 6 อัตรา ลำดับที่ ชื่อสกุล ตำแหน่ง 1 นายสุวิทย์ ดำแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ฯ 2 นางสาวชนัญพร หิรัญเรือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 3 นางสาวสุนันทา กำเหนิดโทน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 4 นายฐานันตร์ สุทธิกวี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 5 นายกีรติ อุสาหวงษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 6 นายสันติ แก่อินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 1.4.2 พนักงานราชการ จำนวน 4 อัตรา ตารางที่ 2 พนักงานราชการ จำนวน 4 อัตรา ลำดับที่ ชื่อสกุล ตำแหน่ง 1 นายเทพมนตรี สังขพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2 นายสำเริง ขาวสวี เจ้าพนักงานการเกษตร 3 นางสาวพณิภัค บุญทิพย์ เจ้าพนักงานธุรการ 4 นางสาวศันสนีย์ แสงเงิน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 1.4.4 คนงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 10 อัตรา ตารางที่ 3 คนงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 10 อัตรา ลำดับที่ ชื่อสกุล ตำแหน่ง 1 นายสุนันท์ พิทย์พาหล พนักงานขับรถยนต์ 2 นายสมศักดิ์ ประทุมพันธ์ พนักงานขับรถยนต์ 3 นายวีรวุฒิ พรมมิตร พนักงานรักษาความปลอดภัย 4 นายยุทธพร ชุมวรฐายี พนักงานรักษาความปลอดภัย 5 นางไพลิน ม่วงผุด พนักงานบริการทั่วไป (คนงาน) 6 นายสมชาย สุนทรหงษ์ คนงานเกษตร 7 นายบุญเจือ เกษะระ คนงานเกษตร 8 นายไพเลิศ ปิ่นจอม คนงานเกษตร 9 นางวัลลภา ปิ่นจอม คนงานเกษตร 10 นางสาวกนกวรรณ แท่นทอง คนงานเกษตร
4 ภาพที่ 3 บุคลากร 1.5 โครงสร้างการบริหาร โครงสร้างการบริหารงานเป็นการภายใน แบ่งการบริหารเป็น 4 กลุ่ม/ ฝ่าย 1. ฝ่ายบริหารทั่วไป 2. ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ 3. ฝ่ายวิชาการและฝึกอบรม 4. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยการผลิต (แปลงเรียนรู้และจุดเรียนรู้)
5 โครงสร้างการบริหารงานศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ภาพที่ 4 โครงสร้างการบริหารงาน นายสุวิทย์ ดำแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ฝ่ายบริหารทั่วไป 1) นางสาวชนัญพร หิรัญเรือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 2) นางสาวพณิภัค บุญทิพย์ เจ้าพนักงานธุรการ 3) นางสาวศันสนีย์ แสงเงิน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ 1) นายสันติ แก่อินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 2) นายกีรติ อุสาหวงษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ฝ่ายวิชาการและฝึกอบรม 1) นายฐานันตร์ สุทธิกวี นักวิชาการส่งเสริมการเกษรชำนาญการ 2) นางสาวสุนันทา กำเหนิดโทน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยการผลิต (แปลงเรียนรู้และจุดเรียนรู้) 1) นางสาวชนัญพร หิรัญเรือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 2) นางสาวสุนันทา กำเหนิดโทน นักวิชาการส่งเสริมการเกษรชำนาญการ 3) นายฐานันตร์ สุทธิกวี นักวิชาการส่งเสริมการเกษรชำนาญการ 4) นายกีรติ อุสาหวงษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 5) นายสันติ แก่อินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 6) นายเทพมนตรี สังขพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7) นายสำเริง ขาวสวี เจ้าพนักงานการเกษตร
6 1.6 ลักษณะทางกายภาพของศูนย์ฯ ตารางที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของศูนย์ฯ ลำดับ อาคารสำนักงาน สิ่งปลูกสร้าง บ้านพักอาศัย จุดเรียนรู้แปลงเรียนรู้ต่างๆ 1 อาคารสำนักงาน ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539 งบประมาณ 1,274,000 บาท มีเนื้อที่สิ่งปลูกสร้าง 391.50 ตารางเมตร และมีพื้นที่ ใช้สอยขนาด 218.50 ตารางเมตร 2 อาคารโรงเพาะขยายแมลงเศรษฐกิจ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2536 งบประมาณ 1,140,000 บาท มีเนื้อที่สิ่งปลูกสร้าง 200 ตารางเมตร และมีพื้นที่ใช้สอยขนาด 200 ตารางเมตร โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้รับการอนุมัติ งบลงทุนในการปรับปรุงเป็นหอประชุมและอาคารฝึกอบรม 3 โรงจอดรถ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2554 (ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ) 4 บ้านพัก ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539-2540 งบประมาณ 1,621,000 บาท จำนวน 3 หลัง มีเนื้อที่ สิ่งปลูกสร้าง 354.86 ตารางเมตร และมีพื้นที่ใช้สอยขนาด 323.56 ตารางเมตร 5 จุดเรียนรู้แปลงเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย ผึ้งพันธุ์ผึ้งโพรง ชันโรง ด้วงสาคู และจิ้งหรีดในระบบโรงเรือนปิด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง แปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และแปลงรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่น 6 แปลงเรียนรู้แมลงเศรษฐกิจ ภายนอกศูนย์ฯ ดังนี้ 6.1 ผึ้งโพรง 6.1.1 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 6.1.2 โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร 6.1.3 โครงการพัฒนาหนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร 6.1.4 แปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอเมืองชุมพร 6.2 ชันโรง 6.2.1 สวนมะพร้าวของเกษตรกรตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 6.2.2 สวนปามล์น้ำมัน หมู่ที่ 6 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 6.2.3 โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร 6.2.4 โครงการพัฒนาหนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร 6.2.5 แปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอเมืองชุมพร
7 2. การใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 กรมส่งเสริมการเกษตร และจังหวัดชุมพร ได้โอนจัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานต่างๆ ของศูนย์ฯ รวมงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 9,178,252 บาท โดยมีผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2566 รวมทั้งสิ้น 9,177,495.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 99.99 คงเหลือ 756.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.0082 สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 การใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 1. แผนงานบุคลากรภาครัฐ 1.1 ผลผลิตรายการค่าใช้จ่ายบุคลากร ภาครัฐพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร อย่างเป็นระบบ 1.1.1 กิจกรรมค่าใช้จ่ายบุคลากร ภาครัฐพัฒนาการเกษตรยังยืน 1) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2) เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และ เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน 1,062,876 32,811 1,062,876 32,711 100 99.70 0.00 100 0.00 0.30 รวมแผนงานบุคลากรภาครัฐ 1,095,687 1,095,587 99.99 100 0.009
8 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 2. แผนงานพื้นฐานด้านความสามารถใน การแข่งขัน 2.1 ผลผลิตเกษตรกรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ 2.1.1 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารจัดการด้านการเกษตรและ สหกรณ์ 1) ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 1.1) ค่าวัสดุสำนักงาน วัสดุน้ำมัน เชื้อเพลิงและสารหล่อลื่น วัสดุ คอมพิวเตอร์ และค่าซ่อมแซม 1.2) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและ ค่าพาหนะ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการ เดินทางไปราชการ 2) ค่าสาธารณูปโภค 2.1) ค่าสื่อสารติดตามงาน (มือถือ) 2.2) ค่าไฟฟ้า ประปา และค่าโทรศัพท์ พื้นฐาน 3) ครุภัณฑ์ยานพาหนะ 3.1) รถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี หรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์ ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบ ดับเลิ้ลแค็บ พร้อมหลังคาไฟเบอร์กลาส หรือเหล็ก 4) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 4.1) ปรับปรุงอาคารเพาะเลี้ยงแมลง เศรษฐกิจ 5) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนว ทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6) ค่าตอบแทนบุคคลหรือ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัด จ้างและการบริการงานพัสดุภาครัฐ 52,500 91,200 7,200 142,400 775,000 2,199,705 2,400 97,100 52,407.06 91,200 6,637.41 142,400 775,000 2,199,704.5 2,400 97,100 99.82 100 92.19 100 100 99.99 100 100 92.94 0.00 562.59 0.00 0.00 0.50 0.00 0.00 0.18 0.00 7.81 0.00 0.00 0.01 0.00 0.00
9 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 7) โครงการวิจัยด้านแมลงเศรษฐกิจ เรื่อง การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz ) จากกาแฟโรบัสต้า ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 8) ค่าครุภัณฑ์ 8.1) รายการเครื่องปรับอากาศ แบบแยกส่วน แบบติดผนัง ขนาด 35,000 บีทียู 8.2) รายการพัดลมติดผนัง จำนวน 3 เครื่อง 2.1.2 กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร 1) ค่าตอบแทน ใช้สอยวัสดุ 1.1) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่า พาหนะ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการ เดินทางไปราชการ 2) ค่าจ้างเหมาบริการ (พนักงานบริการ ทั่วไป พนักงานรักษาความสะอาด พนักงานขับรถยนต์ พนักงานรักษาความ ปลอดภัย พนักงานห้องปฏิบัติการ และ คนงานเกษตร ฯลฯ) 3) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการการ วิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งด้วยการใช้ เทคนิคการตรวจละอองเกสรร่วมกับ เครื่อง HPLC 18,000 57,600 12,900 24,000 975,000 100,000 18,000 57,600 12,900 24,000 975,000 100,000 100 100 100 100 100 100 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 รวมแผนงานพื้นฐานด้าน ความสามารถในการแข่งขัน 4,555,005 4,554,348.97 99.99 656.03 0.014
10 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 3. แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้าง มูลค่า 3.1 ผลผลิตโครงการส่งเสริมและพัฒนา สินค้าเกษตรชีวภาพ 3.1.1 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตแมลงเศรษฐกิจ 1) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลงเศรษฐกิจ 2) ผลิตและขยายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ 3) การบริหารจัดการและประเมิน สถานการณ์สินค้าแมลงเศรษฐกิจ 4) ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 4.1) เครื่องโครมาโทกราฟสำหรับแยก และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ประสิทธิภาพสูง (HPLC) 5) บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้ง ให้เกษตรกร 6) โครงการประชาสัมพันธ์การ ดำเนินงานส่งเสริมกลุ่มสินค้าแมลง เศรษฐกิจ กิจกรรมวันผึ้งโลก ครั้งที่ 6 7) รายการตู้เย็นขนาด 7 คิวบิกฟุต 8) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนิน โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มี ความรู้ด้านแมลงเศรษฐกิจ 3.2 ผลผลิตโครงการส่งเสริมการใช้ เครื่องจักรกลทางการเกษตร 3.2.1 กิจกรรมส่งเสริมการใช้ เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงาน เกษตร 1) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้า ร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โรงเรือนเพื่อการเกษตร ประจำปี 2566 50,000 30,000 48,000 2,675,000 96,000 28,820 7,860 1,420 2,500 50,000 30,000 48,000 2,675,000 96,000 28,820 7,860 1,420 2,500 100 100 100 100 100 100 100 100 100 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00
11 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 3.3 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบ แปลงใหญ่ 3.3.1 กิจกรรมระบบส่งเสริมการเกษตร แบบแปลงใหญ่ 1) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม โครงการสัมมนา YEAR END Conference ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนิน โครงการและเข้าร่วมโครงการสัมมนา เชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อน การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการกรม ส่งเสริมการเกษตร 2,300 4,560 2,300 4,560 100 100 0.00 0.00 0.00 0.00 รวมแผนงานยุทธศาสตร์ การเกษตรสร้างมูลค่า 2,946,460 2,946,460 100 0.00 0.00
12 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 4. แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลัง ทางสังคม 4.1 ผลผลิตโครงการส่งเสริมการ ดำเนินงานอันเนื่องมาจากระราชดำริ 4.1.1 กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1) สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ 1.1) โครงการฟาร์มตัวอย่างตาม พระราชดำริ 1.1.1) ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและชันโรง 1.1.2) สนับสนุนการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ 1.2) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ใน พระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร 1.2.1) การดำเนินการจัดคลินิกเกษตร เคลื่อนที่ (1) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 1 (2) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 2 (3) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 3 (4) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 4 1.3) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายการดำเนิน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานด้านแมลงเศรษฐกิจ (ผึ้งโพรง และชันโรง) ในโครงการเกษตรเพื่อ อาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดน ปี 2566 50,000 13,000 5,000 5,000 5,000 5,000 130,000 50,000 13,000 5,000 5,000 5,000 5,000 130,000 100 100 100 100 100 100 100 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 รวมแผนงานยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลังทางสังคม 213,000 213,000 100 0.00 0.00
13 ตารางที่ 5 (ต่อ) แผนงบประมาณ/ กิจกรรม ได้รับจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ (บาท) คงเหลือ ร้อยละ 5. แผนงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง โพรงและชันโรงเพื่อเพิ่มรายได้และ ป้องกันช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร 5.1 กิจกรรม : ส่งเสริมและพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้ง โพรงและชันโรง ในพื้นที่โรงการพัฒนา พื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัด ชุมพร ปี 2566 368,100 368,100 100 0.00 0.00 รวมแผนงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยง ผึ้งโพรงและชันโรงเพื่อเพิ่มรายได้และ ป้องกันช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร 368,100 368,100 100 0.00 0.00 รวมจำนวนทั้งสิ้น 5 แผนงาน 8 โครงการ 9,178,252 9,177,495. 97 99.99 756.03 0.0082 3. ผลการดำเนินงานโครงการ 3.1 แผนงานพื้นฐานด้านความสามารถในการแข่งขัน 3.1.1 ผลผลิตเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ 1) กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ 1.1) โครงการวิจัยด้านแมลงเศรษฐกิจ เรื่อง การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz) จากกาแฟโรบัสต้า ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 1.1.1) ชื่อโครงการ การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laevicepspagdeni species complex) ในกาแฟโรบัสต้า อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร The Honey Production of Stingless bee (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) from Robusta Coffee in Tha-Sae District, Chumphon Province, Thailand 1.1.2) ความสำคัญและที่มาของปัญหา ชันโรง (Stringless bees) จัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้งแต่ไม่มีเหล็กใน มีบทบาทสำคัญสำหรับการผสมเกสรพืช พบได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยนักกีฏวิทยาด้านอนุกรมวิธาน ได้จัดชันโรงอยู่ในอาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia จัดเป็นแมลง Class Insecta ในอันดับ (Order) Hymenoptera วงศ์ (Family) Apidae วงศ์ย่อย (Subfamily) Meliponinae จัดเป็นแมลงสังคม ที่แท้จริง (Eusocial insect) (ศูนย์ส่งเสริมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี, ม.ป.ป.) อีกทั้งชันโรงเป็นแมลงสังคมขนาดเล็ก ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในรังได้ จึงไม่สามารถทนต่อสภาพ อากาศที่รุนแรงและพบการแพร่กระจายเฉพาะในเขตร้อนและกึ่งร้อนเท่านั้น โดยทั่วโลกพบสายพันธุ์ ชันโรงมีมากกว่า 500 ชนิด และในประเทศไทยมีการรายงานพบชันโรงมากกว่า 34 ชนิด (จิรพร และคณะ, 2561) สำหรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงชันโรงมีหลายประการด้วยกัน อาทิ ช่วยให้อัตราการติดผล
14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 – 90 เก็บเกสรและน้ำต้อย ในรัศมีประมาณ 300 เมตร ช่วยผสมเกสรดอกไม้พืช เศรษฐกิจที่บานในรัศมีหากินได้เกือบทุกชนิด ไม่มีพฤติกรรมทิ้งรัง และสามารถเลี้ยงได้ทั้งในรูปแบบอยู่กับ ที่หรือเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหาร รวมถึงมีผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงชันโรง ได้แก่ น้ำผึ้ง และชัน หรือ Propolis (สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, ม.ป.ป.) และจากผลการสำรวจข้อมูล การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันตก ประจำปี 2565 พบว่าชันโรงมีเกษตรกรผู้เลี้ยง ทั้งหมดเป็นรายกลุ่มจำนวน 82 กลุ่ม ปะกอบด้วยสมาชิก 1,804 ราย และเป็นรายย่อยจำนวน 442 ราย มีจำนวนรังที่มีชันโรงทั้งหมด 31,581 รัง ราคาจำหน่ายน้ำผึ้งชันโรงเฉลี่ย 1,202 บาท ในขวดบรรจุ ปริมาตร 750 มิลลิลิตร (ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ, 2565) ดังนั้นจึงนับได้ว่าชันโรงจัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ ในด้าน ทางตรงและทางอ้อมทั้งสิ้น กาแฟโรบัสต้า (Coffea canephora Pierre ex Froehner) จัดเป็น ไม้ยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเล็กไปจนถึงไม้พุ่มใหญ่ และมีลักษณะส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, 2555) สำหรับในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทย มีจำนวนเนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟโรบัสต้า จำนวน 130,064 ไร่ และมีผลผลิตรวม 11,336 ตัน โดยพบพื้นที่ปลูกมากในจังหวัดชุมพรและระนอง และมีราคา สารกาแฟโรบัสต้าเฉลี่ยปีเพาะปลูกในเดือนตุลาคมถึงกันยายน 2565 จำนวน 74.30 บาท/ กิโลกรัม (สำนักเศรษฐกิจการเกษตร, 2565) อีกทั้งปี พ.ศ. 2564 จังหวัดชุมพรมีเนื้อที่ปลูกกาแฟ จำนวน 81,929 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว จำนวน 78,438 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ จำนวน 100 กิโลกรัม ผลผลิตรวม จำนวน 8,322 ตัน มีราคาเฉลี่ย จำนวน 64 – 67 บาท/ กิโลกรัม เกิดมูลค่า จำนวน 540.93 ล้านบาท และมี จำนวนครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 9,435 ครัวเรือน (กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัดชุมพร, 2565) นอกจากนี้ในต้นกาแฟยังพบว่า ดอกกาแฟมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยดอกกาแฟจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบดอกมีสีขาวหรือครีม กลิ่นหอมคล้ายมะลิป่า มีระยะเวลาบานดอกต่อเนื่องประมาณ 8 – 12 วัน และดอกแต่ละดอกจะบาน ประมาณ 2 วัน แล้วจึงเหี่ยว ซึ่งปกติกาแฟจะออกดอกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน หากมีอากาศ ชุ่มชื้นจะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี (กลุ่มส่งเสริมไม้ยืนต้น สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร, 2557) รวมถึงดอกกาแฟยังจัดเป็นแหล่งผลิตน้ำหวานและเกสรสำหรับแมลงหลายชนิด (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2556) และมีสารสำคัญหลายชนิด อาทิ คาเฟอีน กรด 3, 5- Dicaffeoylquinic และกรดคลอโรจีนิก เป็นต้น ที่จัดเป็นสารออกฤทธิ์ในกาแฟ อีกทั้งดอกกาแฟถูกจัดเป็นอาหารชนิดใหม่ หรือ Novel food (Wirz et al., 2022) ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้ศึกษา จึงมีความสนใจศึกษาการผลิตน้ำผึ้งชันโรง ขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) ในกาแฟโรบัสต้า พื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อทราบถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงินในกาแฟโรบัสต้า ในด้านคุณลักษณะและคุณสมบัติทางชีวภาพ อีกทั้งเป็นต้นแบบสินค้าชนิดใหม่ และการเห็นคุณค่าของ ชันโรงและแมลงผสมเกสรที่เป็นประโยชน์ในท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับสวนกาแฟและไม้ผล จังหวัดชุมพร
15 1.1.3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) จากกาแฟโรบัสต้า ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) จากกาแฟโรบัสต้า ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 1.1.4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (1) ทราบถึงคุณลักษณะและคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำผึ้งชันโรง ขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) ที่ผลิตได้จากกาแฟโรบัสต้า ในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (2) เพื่อเกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดใหม่จากกาแฟโรบัสต้า (3) เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเห็นคุณค่า และคุณประโยชน์ของชันโรงและ แมลงผสมเกสรในท้องถิ่น ที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ อีกทั้งการเกิดความตระหนัก หวงแหน และอนุรักษ์พันธุกรรมแมลงผสมเกสรในท้องถิ่น 1.1.5) การตรวจสอบเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) ในกาแฟโรบัสต้า อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร คณะผู้ศึกษาได้รวบรวมเอกสารและ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ คือ ข้อมูล ทั่วไปเกี่ยวกับชันโรง ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกาแฟโรบัสต้า และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.1.6) นิยามศัพท์ การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) ในกาแฟโรบัสต้า อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีคำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาดังนี้ (1) คุณลักษณะ หมายถึง ด้านปริมาณของน้ำผึ้งชันโรง ประกอบด้วย น้ำหนักของรังชันโรง (กิโลกรัม) น้ำหนักของรวงรังชันโรง (กรัม) น้ำหนักเฉพาะชันของชันโรง (กรัม) น้ำหนักเฉพาะน้ำผึ้งชันโรงที่ผลิตได้ (กรัม) ชนิดของเกสรกาแฟที่เจือปนในน้ำผึ้งชันโรง (ร้อยละ) ปริมาณ น้ำตาลกลูโคส (กรัมต่อ 100 กรัม) ปริมาณน้ำตาลฟรุกโตส (กรัมต่อ 100 กรัม) ปริมาณน้ำตาลซูโครส (กรัมต่อ 100 กรัม) ปริมาณสารไฮดรอกซีเมทิล-เฟอร์ฟูรอล (HMF) (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ความหวาน (บริกซ์) ความเป็นกรดด่าง (pH) และความชื้น (ร้อยละ) (2) คุณสมบัติทางชีวภาพ หมายถึง การออกฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำผึ้ง ชันโรง ประกอบด้วย ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Staphylococcus aureusSalmonellaspp. Bacillus cereusและ Escherichia coli) (มิลลิเมตร) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (% Radical Scavenging) และ การระบุชนิดของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นองค์ประกอบหลักในน้ำผึ้งชันโรง (ชนิด) (3) ชันโรงขนเงิน หมายถึง ชันโรงขนเงิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex โดยเป็นของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร
16 (4) กาแฟโรบัสต้า หมายถึง กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Coffea canephora มีอายุการปลูก 4 ปี และมีขนาดพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 8 ไร่ (5) พื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน หมายถึง แปลงที่ปลูกพืชผสมผสาน คือ ทุเรียน มีอายุการปลูก 25 ปี ลองกอง มีอายุการปลูก 18 ปี ส้มโชกุน มีอายุการปลูก 2 ปี และกระท่อม มีอายุการปลูก 2 ปี (6) อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร หมายถึง พื้นที่ในการศึกษาวิสาหกิจ ชุมชนน้ำเพชรพัฒนา ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยแบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 แปลง คือ แปลงปลูกกาแฟโรบัสต้า พิกัดแปลง 10.605242, 99.080687 และแปลงปลูกพืช ผสมผสาน พิกัดแปลง 10.605141, 99.078843 1.1.7) ระเบียบวิธีวิจัย การผลิตน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) ในกาแฟโรบัสต้า อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งชันโรง และการศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำผึ้งชันโรง โดยทั้งสองส่วนการศึกษามีระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ (1) การศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งชันโรง มีขั้นตอน ดังนี้ (1.1) วัสดุและอุปกรณ์ ประกอบด้วย ชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) จำนวน 20 รัง ขาตั้งรังชันโรง จำนวน 20 อัน กระเบื้องแผ่นลอนคู่ จำนวน 20 แผ่น เครื่องชั่ง ขนาดน้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง เครื่องชั่งดิจิทัล ขนาดน้ำหนัก ไม่เกิน 2 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ จำนวน 6 อัน ถุงพลาสติก สำหรับบรรจุอาหาร ขนาด 8 × 12 นิ้ว จำนวน 1 กิโลกรัม ขวดพลาสติกทรงกลมเรียบ ชนิด PET ขนาด 150 มิลลิลิตร จำนวน 40 ใบ ถุงมือแพทย์ ชนิดปราศจากแป้ง ขนาด L จำนวน 1 กล่อง แผ่นพลาสติกใส ขนาด A4 จำนวน 40 แผ่น มีดคัตเตอร์พร้อมใบมีด ขนาด 18 มิลลิเมตร จำนวน 6 อัน หลอดหยด พลาสติก ขนาด 3 มิลลิลิตร จำนวน 30 อัน กล้องบันทึกภาพ จำนวน 1 ตัว กล้องจุลทรรศน์ จำนวน 1 เครื่อง กระจกสไลด์แผ่นเรียบ (Microscope slide) ขนาด 1 × 3 นิ้ว จำนวน 5 กล่อง กระจกปิดสไลด์ (Cover glass) ขนาด 22 × 22 มิลลิเมตร จำนวน 11 กล่อง แผ่นกระจกปิดฮีมาไซโตมิเตอร์ ขนาด 20 × 26 มิลลิเมตร จำนวน 1 กล่อง ฮีมาไซโตมิเตอร์ (Haemacytometer) ขนาด 32 × 76 × 3.5 มิลลิเมตร จำนวน 1 อัน เข็มเขี่ยเชื้อปลายแหลม ขนาดความยาว 27 เซนติเมตร จำนวน 8 อัน หลอดไมโครเซนติฟิวก์ พลาสติก ขนาด 1.5 มิลลิลิตร บรรจุ 500 อัน/ แพ็ค จำนวน 2 แพ็ค หลอดเซนติฟิวก์พลาสติก ขนาด 15 มิลลิลิตร บรรจุ 50 อัน/ แพ็ค จำนวน 5 แพ็ค หลอดเซนติฟิวก์พลาสติก ขนาด 50 มิลลิลิตร บรรจุ 25 อัน/ แพ็ค จำนวน 2 แพ็ค กล่องเก็บหลอดไมโครเซนติฟิวก์ ขนาด 100 ช่อง จำนวน 5 กล่อง ปิเปตทิป ขนาด 1,000 ไมโครลิตร บรรจุ 500 ชิ้น/ แพ็ค จำนวน 1 แพ็ค ตะแกรงใส่หลอดทดลอง แบบ 50 ช่อง เส้นผ่านศูนย์กลางหลอดทดลองขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 2 อัน หลอดหยดพลาสติก ขนาด 3 มิลลิลิตร จำนวน 15 อัน เครื่องวัดความหวาน (Brix reflectometer) จำนวน 1 อัน เครื่องวัดความเป็น กรดด่าง (pH meter) จำนวน 1 อัน เครื่องวัดความชื้น จำนวน 1 เครื่อง เครื่องปั่นเหวี่ยงแยกสาร จำนวน 1 เครื่อง อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ (Water bath) จำนวน 1 เครื่อง เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) จำนวน 1 เครื่อง น้ำกลั่น (เกรด HPLC) ขนาด 4 ลิตร จำนวน 2 ขวด
17 น้ำกลั่น (Deionized water) ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 แกลลอน กรดแกลเชียลแอซีติก (Glacial acetic acid) ความเข้มข้นร้อยละ 99.8 ขนาด 2.5 ลิตร จำนวน 1 ขวด กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) ความเข้มข้นร้อยละ 98 ขนาด 2.5 ลิตร จำนวน 1 ขวด สารกลีเซอรีน (Glycerin jelly) ขนาด 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ขวด น้ำมันสำหรับกล้องจุลทรรศน์ (Immersion oil microscope) ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 1 ขวด น้ำตาลกลูโคส (Glucose anhydrous) ความเข้มข้นร้อยละ 99.5 ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวด น้ำตาลฟรุกโตส (Fluctose) ขนาด 100 กรัม จำนวน 1 ขวด น้ำตาลซูโครส (Sucrose) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวด สารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรอล (HMF) ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 ขวด สารเมทานอล ขนาด 4 ลิตร จำนวน 1 ขวด สารเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethanol absolute) ความเข้มข้นมากกว่าหรือ เท่ากับ 99.9 ขนาด 4 ลิตร จำนวน 1 ขวด (1.2) วิธีการ (1.2.1) แผนการทดลอง โดยแบ่งกลุ่มศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พื้นที่แปลงปลูกกาแฟโรบัสต้า และพื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน จำนวนแปลงละ 10 ตัวอย่าง รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง (1.2.2) จำแนกชนิดชันโรง ได้รับความอนุเคราะห์จาก สาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้จำแนก ชนิดชันโรงที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 20 รัง และพบว่าชันโรงทั้งหมด 20 รัง เป็นชันโรงขนเงิน (Tetragonula laeviceps-pagdeni species complex) (1.2.3) จำแนกชนิดพันธุ์กาแฟ ได้รับความอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เป็นผู้จำแนกชนิดพันธุ์กาแฟที่ใช้ในการศึกษา โดยสุ่มเก็บตัวอย่างต้นกาแฟ ทั่วแปลงศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 10 ตัวอย่าง และพบว่าตัวอย่างต้นกาแฟ จำนวนทั้ง 10 ตัวอย่าง เป็นกาแฟ สายพันธุ์โรบัสต้า (Coffea canephora Pierre ex Froehner) (1.2.4) คัดเลือกแปลงศึกษาทดสอบ ดำเนินการในเดือน พฤศจิกายน 2565 โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร คัดเลือกจาก แปลงกาแฟที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงชันโรง และทันต่อระยะเวลาของดอกกาแฟบาน ในระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนเมษายน 2566 และพื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน เป็นแปลงที่ ปลูกพืชผสมผสาน คือ ทุเรียน ลองกอง ส้มโชกุน และกระท่อมซึ่งทั้งสองแปลงตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตร อีกทั้งทั้งสองแปลงมีการปฏิบัติดูแลรักษาเหมือนกัน (1.2.5) เตรียมรังชันโรงขนเงิน (Tetragonula laevicepspagdeni species complex) ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยใช้ชันโรงจำนวน 20 รัง ของศูนย์ส่งเสริม เทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในสภาพรังที่มีความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ประชากร ไข่ และอาหาร (เกสร และน้ำหวาน) ซึ่งคัดเลือกรังที่มีลักษณะภายในเท่าๆ กันในทั้งสองแปลง พร้อมดำเนินการเปลี่ยนแผ่นพลาสติกใสปกคลุมรังเลี้ยงด้านบนใหม่ ในทุกรัง และบันทึกน้ำหนักเริ่มต้น ของทุกรัง พร้อมบันทึกภาพมุมสูงจากหน้ารังในทุกรัง (1.2.6) เคลื่อนย้ายรังชันโรงไปติดตั้งยังพื้นที่แปลงทดสอบ ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนธันวาคม
18 2565 ซึ่งทำการปิดปากรังเข้าออกของชันโรง เป็นระยะเวลา 1 คืน ในสภาพมืดและปราศจากแสง รบกวน ก่อนการเคลื่อนย้ายในวันถัดไป (1.2.7) ติดตั้งรังชันโรงในพื้นที่แปลงทดสอบทั้งสองแปลง ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร โดยวางรังเลี้ยงชันโรง ในพื้นที่แปลงละ 10 รัง ซึ่งทั้งสองแปลงนั้นห่างกันเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร และวางชันโรงให้ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองแปลงจนกระทั่งครบระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 สำหรับในระหว่างการตั้งรังจะมีการลงพื้นที่ เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูทางธรรมชาติของชันโรง อย่างสม่ำเสมอ (1.2.8) การเก็บรวบรวมข้อมูล อุณหภูมิภายนอกรัง (องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ภายนอกรัง (ร้อยละ) และปริมาณน้ำฝน (มิลลิเมตร) โดยเก็บข้อมูลทุกๆ 7 วัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริม เทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร/ ตัวอย่างเกสรพืชในรัศมีพื้นที่ตั้งรังชันโรง จำนวน 300 เมตร โดยเก็บข้อมูลทุกๆ 30 วัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 ดำเนินการ โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร/ ภาพการเปลี่ยนแปลงภายในรัง ชันโรงทั้งหมด 20 รัง ในลักษณะมุมเดิม คือ ภาพมุมสูงจากหน้ารังในทุกรัง โดยเก็บข้อมูลทุกๆ 30 วัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร และปริมาณน้ำหนักของรังชันโรง (กิโลกรัม) ปริมาณน้ำหนักของรวงรัง ชันโรง (กรัม) ปริมาณน้ำหนักเฉพาะชันของชันโรง (กรัม) และปริมาณน้ำหนักเฉพาะน้ำผึ้งชันโรงที่ผลิตได้ (กรัม) โดยเก็บผลครั้งแรกเริ่มต้นปริมาณน้ำหนักของรังชันโรง (กิโลกรัม) ในเดือนธันวาคม 2565 และใน เดือนเมษายน 2566 จำนวน 1 ครั้ง ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร (1.2.9) การตรวจสอบชนิดของเกสรกาแฟที่เจือปนในน้ำผึ้ง ชันโรง (ร้อยละ) ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 โดยดัดแปลงวิธีการศึกษาจาก Thakodee, Deawanish and Duangmal (2018) (1.2.10) ปริมาณน้ำตาลกลูโคส (กรัมต่อ 100 กรัม) ปริมาณน้ำตาลฟรุกโตส (กรัมต่อ 100 กรัม) ปริมาณน้ำตาลซูโครส (กรัมต่อ 100 กรัม) ตามวิธีทดสอบ อ้างอิง In-house method based on AOAC (2019) และปริมาณสารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรอล (HMF) (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ตามวิธีทดสอบอ้างอิง Food control (2015) โดยใช้เครื่อง HPLC ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 (1.2.11) การตรวจวิเคราะห์สารไฮดรอกซีเมททิลเฟอร์ ฟิวรัล (Hydroxymethylfurfural ; HMF) ใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง High performance Liquid chromatography (HPLC) โดยอ้างอิงมาตรฐาน AOAC 977.20 (2012) International Honey Commission (2002)
19 (1.2.12) ความหวาน (บริกซ์) และความชื้น (ร้อยละ) ด้วยเครื่อง Refractometer สำหรับทดสอบคุณภาพของน้ำผึ้ง ใช้เครื่องมือและดำเนินการโดยศูนย์ ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนพฤษภาคม 2566 (1.1.13) ความเป็นกรดด่าง (pH) ด้วยเครื่อง pH meter โดยใช้เครื่องมือและดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในเดือนพฤษภาคม 2566 (1.1.14) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ความ แตกต่างข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน และเปรียบเทียบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ สัมพันธ์กัน (Pair Sample T-test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยโปรแกรม Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) รุ่น 20 (2) การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพของน้ำผึ้งชันโรง มีขั้นตอนดังนี้ (2.1) วัสดุและอุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง แบบไมโครเพลท (96 well plate) จำนวน 1 เครื่อง หลอดทดลอง ปริมาตร 15 มิลลิลิตร จำนวน 10 อัน หลอดปั่นเหวี่ยงแยกสาร ขนาด 50 มิลลิตร จำนวน 1 อัน บีกเกอร์ ขนาด 100 มิลลิลิตร จำนวน 2 ใบ บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร จำนวน 2 ใบ กระบอกตวง ขนาด 100 มิลลิลิตร จำนวน 1 อัน กระบอกตวง ขนาด 10 มิลลิลิตร จำนวน 1 อัน ปิเปตแก้วขนาด 10 มิลลิลิตร จำนวน 1 อัน ออโตปิเปต จำนวน 1 อัน ไมโครเพลส ขนาด 96 หลุม จำนวน 10 อัน ถุงมือยาง จำนวน 1 คู่ อาหารเลี้ยงเชื้อ Mueller Hinton broth (MHB) จำนวน 1 ขวด สารละลายมาตรฐาน DPPH จำนวน 1 ขวด ไม้พันสำลี จำนวน 20 อัน และที่เจาะจุกยาง (Cork borer) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร จำนวน 1 อัน (2.2) วิธีการ (2.2.1) แผนการทดลอง โดยแบ่งกลุ่มศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พื้นที่แปลงปลูกกาแฟโรบัสต้า และพื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน สุ่มคัดเลือกน้ำผึ้งชันโรงตัวอย่าง แปลงละ 3 ตัวอย่าง จำนวน 2 แปลง จำนวนทั้งสิ้น 6 ตัวอย่าง (2.2.2) ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยวิธี Agar well diffusion method โดยจ้างเหมาและดำเนินการทดสอบโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อ การเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นผู้ ศึกษาและทดสอบในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 สำหรับการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค ประกอบด้วย Staphylococcus aureusSalmonellaspp. Bacillus cereus และ Escherichia coli ด้วยวิธี Kirbey - Bauer (Balouiri, Sadiki and Ibnsouda, 2016) (2.2.3) ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH โดยจ้าง เหมาและดำเนินการทดสอบโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นผู้ศึกษาและทดสอบ ในเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2 diphemyl-1- picrylhydrazyl radical (DPPH) (DPPH scavenging activity) ดัดแปลงจากวิธีการของ Chan, Lim and Omar (2007)
20 (2.2.4) การระบุชนิดของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็น องค์ประกอบหลักในน้ำผึ้งชันโรง ที่มีผลในการยับยั้งจุลินทรีย์ด้วยเทคนิค Gas Chromatography – mass Spectrometry (GC - MS) (2.2.5) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ความแตกต่าง ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน และเปรียบเทียบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์ กัน (Pair Sample T-test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยโปรแกรม Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) รุ่น 20 1.1.8 ขอบเขตของการวิจัย 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับชันโรง ข้อมูล ทั่วไปเกี่ยวกับกาแฟโรบัสต้า พื้นที่ในการศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ขอบเขตด้านประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย พื้นที่ แปลงปลูกกาแฟโรบัสต้า และพื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน 3) ขอบเขตด้านสถานที่ ประกอบด้วยพื้นที่แปลงปลูกกาแฟโรบัสต้า พิกัดแปลง 10.605242, 99.080687 และพื้นที่แปลงปลูกพืชผสมผสาน พิกัดแปลง 10.605141, 99.078843 ในวิสาหกิจชุมชนน้ำเพชรพัฒนา ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 1.1.9) ระยะเวลาการวิจัย ระยะเวลาการวิจัยใช้เวลาจำนวนทั้งสิ้น 7 เดือน (เดือนธันวาคม 2565 – มิถุนายน 2566) 1.1.10) งบประมาณ รวมจำนวนทั้งสิ้น 70,600 บาท ประกอบด้วย การศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งชันโรง รวมจำนวน 37,600 บาท และการศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพ ของน้ำผึ้งชันโรง รวมจำนวน 33,000 บาท 1.1.11) แผนการดำเนินงาน (1) วางแผนการการศึกษาวิจัย เดือนพฤศจิกายน 2565 (2) ลงพื้นที่คัดเลือกแปลงศึกษาวิจัย เดือนพฤศจิกายน 2565 (3) ศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งชันโรงขนเงิน เดือนธันวาคม 2565 - เมษายน 2566 (4) ศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพ เดือนสิงหาคม 2566 (5) วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย เดือนกันยายน 2566 2) กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร 2.1) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการการ วิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งด้วยการใช้เทคนิคการตรวจละอองเกสรร่วมกับเครื่อง HPLC 2.1.1) จัดเก็บตัวอย่างน้ำผึ้งและละอองเกสรดอกไม้ (1) จัดเก็บตัวอย่างน้ำผึ้ง (1.1) ตัวอย่างน้ำผึ้งทั้งหมด จำนวน 66 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.09 น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18.18 และน้ำผึ้งโพรง จำนวน 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 72.73 โดยสามารถแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้
21 (1.1.1) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เก็บน้ำผึ้งตัวอย่างได้ จำนวน 56 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.71 น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.36 และน้ำผึ้งโพรง จำนวน 47 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83.93 (1.1.2) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เก็บน้ำผึ้งตัวอย่างได้ จำนวน 10 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 90 และน้ำผึ้งโพรง จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10 2.1.2) จัดเก็บตัวอย่างละอองเกสรดอกไม้ ตัวอย่างละอองเกสรดอกไม้และตรวจสอบชนิดเกสรพืชใต้กล้องจุลทรรศน์ ได้ จำนวน 70 ตัวอย่าง ได้แก่ ชบา แซม โคลงเคลง กระดุมใบ กระถินเทพา ดาวกระจาย ปืนนกไส้ ตีนตุ๊กแก ตะขบ พลับพลา ส้มจี๊ด แก้วมังกร การะเวก คุณนายตื่นสาย ฟักแฟง สาบแร้งสาบกา อากาเว้ ไมยราบ กล้วยน้ำหว้า หมาก ดอกเข็ม เสาวรส แตงกวา โหระพา ถั่วฝักยาว บาหยา พวงชมพู มะเขือ มะละกอ ยี่หร่า สร้อยไก่ สะตอ อัญชัน เข็มขาว เคราแมว เชอร์รี่ เลมอน เสม็ดขาว เอดับบิว เอื้องหมาย นา โทงเทง ลูกโท๊ะ โมก กะเม็ง กระโปรงแหม่ม กระถิน กระถินณรงค์ข้าวโพด จิกนา ดอกผีเสื้อ ตะแบก บิวตี้เบอร์รี่ ผักโขม ว่านผักบุ้ง พวงสวรรค์ พีนัตบัตเตอร์ พุทธรักษา มะเขือพวง มะพร้าว มะรุม ลำไย สละ หญ้าพันงูขาว สาบเสือ หมากนวล หว้า แปรงล้างขวด หมากผู้หมากเมีย กระดิ่งนางฟ้า และทองอุไร 2.1.3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้ง การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งโดยรวมประกอบด้วย ความเป็นกรดด่าง ความชื้น ความหวาน สารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรอล น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟรุกโทส น้ำตาลซูโครส และ น้ำตาลกลูโคสรวมกับน้ำตาลฟรุกโทส โดยทำการทดสอบเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 และอ้างอิงเกณฑ์ มาตรฐานน้ำผึ้งของกรมส่งเสริมการเกษตร มีผลการศึกษาดังนี้ (1) ตัวอย่างน้ำผึ้งทั้งหมด จำนวน 66 ตัวอย่าง (1.1) น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งชันโรงผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83.33 และน้ำผึ้งชันโรงไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 16.67 โดยมีสารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรอล เกินร้อยละ 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (1.2) น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 12 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งพันธุ์ผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.67 และน้ำผึ้งพันธุ์ไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 58.33 โดยมีสาเหตุหลักที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์เนื่องจากความชื้นสูงเกินร้อยละ 21 (1.3) น้ำผึ้งโพรง จำนวน 48 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งโพรงผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 41 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.42 และน้ำผึ้งโพรงไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 14.58 โดยมีสาเหตุหลักที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์เนื่องจากความชื้นสูงเกินร้อยละ 23 และมีสารไฮดร อกซีเมทิล-เฟอร์ฟูรอล เกินร้อยละ 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (2) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร (2.1) น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งชันโรงผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83.33 และน้ำผึ้งชันโรงไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 16.67
22 (2.2) น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งพันธุ์ผ่านตามเกณฑ์ จำนวน3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100 (2.3) น้ำผึ้งโพรง จำนวน 47 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งโพรงผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 40 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.11 และน้ำผึ้งโพรงไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 14.89 (3) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (3.1) น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 9 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งพันธุ์ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 22.22 และน้ำผึ้งพันธุ์ไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 77.78 (3.2) น้ำผึ้งโพรง จำนวน 1 ตัวอย่าง มีน้ำผึ้งโพรงผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.4) ตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของน้ำผึ้ง การตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของน้ำผึ้ง โดย Analysis and Research Unit of Food and Nutritional Quality (ARFaN), Mahidol University จำนวน 13 ตัวอย่าง พบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) และสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) ของตัวอย่างน้ำผึ้งดังนี้ (1) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร (1.1) น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ (1.1.1) ร.ต.ท. สมศักดิ์ คำแสน จังหวัดสงขลา พบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 63.38 ± 2.06 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบฟ ลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.31 ± 0.05 mg CE/ 100 g sample (1.1.2) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 48.37 ± 2.09 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.13 ± 0.18 mg CE/ 100 g sample (1.1.3) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 34.12 ± 0.05 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.22 ± 0.02 mg CE/ 100 g sample (1.2) น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง (1.2.1) นางสาววีรยา สมณะ จังหวัดพัทลุง พบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 57.98 ± 1.21 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.87 ± 0.02 mg CE/ 100 g sample (1.2.2) นางสาวณิชาภา ลี้ยุทธานนท์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 30.37 ± 2.06 mg GAE/ 100 g sample และ สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.38 ± 0.25 mg CE/ 100 g sample
23 (1.3) น้ำผึ้งโพรง จำนวน 3 ตัวอย่าง (1.3.1) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 56.54 ± 3.87 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.30 ± 0.22 mg CE/ 100 g sample (1.3.2) นายน้อม บุญลือ จังหวัดชุมพร พบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 33.92 ± 2.37 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.53 ± 0.00 mg CE/ 100 g sample (1.3.3) นายอมรชัย บุญจันทร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 29.63 ± 1.54 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 2.32 ± 0.22 mg CE/ 100 g sample (2) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (2.1) น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 4 ตัวอย่าง (2.1.1) นายโฆษิต ไชยางพานิช จังหวัดนครราชสีมา ปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 23.71 ± 1.76 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 3.80± 0.24 mg CE/ 100 g sample (2.1.2) นายวีรพัฒน์ เรืองเดช จังหวัดเลย พบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 20.12 ± 0.22 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 2.18 ± 0.18 mg CE/ 100 g sample (2.1.3) นางสาวมณฑิตา วนามี จังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 25.08 ± 1.79 mg GAE/ 100 g sample และสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 1.82 ± 0.84 mg CE/ 100 g sample (2.1.4) นางนงเยาว์ ทองดี จังหวัดจันทบุรีพบปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 16.43 ± 1.19 mg GAE/ 100 g sample และ สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 2.36 ± 0.08 mg CE/ 100 g sample (2.2) น้ำผึ้งโพรง จำนวน 1 ตัวอย่าง (2.2.1) นางอาลัย จิตตเจริญ จังหวัดจันทบุรีปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) เท่ากับ 44.94 ± 1.87 mg GAE/ 100 g sample และ สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) เท่ากับ 2.60 ± 0.52 mg CE/ 100 g sample 3.2 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 3.2.1 ผลผลิตโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ 1) กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ 1.1) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลงเศรษฐกิจ 1.1.1) ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร งบดำเนินงานตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร ชีวภาพ รหัสงบประมาณ 07011150021002000000 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลง-
24 เศรษฐกิจ รหัสกิจกิจกรรมหลัก 07011660006400000 กิจกรรมย่อยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลง เศรษฐกิจ เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ตามหนังสือกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ กษ 1004/ ว1289 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 แจ้งเรื่อง อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (โครงการตามตัวชี้วัด) ครั้งที่ 1 และกรมส่งเสริมการเกษตรได้โอนเงินงบประมาณมาตั้งจ่าย ณ สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญในการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ จึงได้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลง เศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้แก่ เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติได้ พร้อมทั้งปรับปรุงจุดเรียนการเลี้ยงแมลง เศรษฐกิจในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) เพื่อให้การ ดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริม การเกษตรตามบทบาทภารกิจของศูนย์ จึงขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียด ดังนี้ (1) ขออนุมัติจัดจ้าง (ค่าจ้างเหมา) จำนวน 2 รายการ จำนวนเงิน 4,400 บาท (สี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน) ดังรายการต่อไปนี้ ตารางที่ 6 ขออนุมัติจัดจ้าง (ค่าจ้างเหมา) ลำดับที่ รายการ หน่วย ราคา จำนวน จำนวนเงิน (บาท) 1 ค่าจ้างผลิตโรลอัพ เรื่อง ชนิดของผึ้งที่ทำ รังอาศัยอยู่กลางแจ้ง ขนาด กว้าง 80 × ยาว 200 เซนติเมตร ชุด 2,200 1 2,200 2 ค่าจ้างผลิตโรลอัพ เรื่อง ชนิดของผึ้งที่ทำ รังอาศัยอยู่ในโพรง ขนาด กว้าง 80 × ยาว 200 เซนติเมตร ชุด 2,200 1 2,200 รวม 4,400
25 (2) ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้ จำนวน 18 รายการ จำนวนเงิน 20,600 บาท (สองหมื่นหกร้อยบาทถ้วน) ดังรายการต่อไปนี้ ตารางที่ 7 ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้จำนวน 18 รายการ ลำดับที่ รายการ หน่วย ราคา จำนวน จำนวนเงิน (บาท) 1 กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมาตรฐาน ขนาด กว้าง 33.5 × ยาว 53.5 เซนติเมตร กล่อง 600 8 4,800 2 เทปกาว 3M (1 เซนติเมตร) ม้วน 250 5 1,250 3 น้ำมันสน ขวด 45 2 90 4 แปรงทาสี ขนาด 1 นิ้ว อัน 12 10 120 5 สีเคลือบใบ (วานิชล๊อบเตอร์) กระป๋อง 550 2 1,100 6 กาแลนท์ยูรีเทน G-5000 กระป๋อง 200 2 400 7 ทินเนอร์ยูรีเทน T45 กระป๋อง 145 2 290 8 สีย้อมไม้ชนิดเงา (วู้ดสเตน) กระป๋อง 250 4 1,000 9 ใบหินเจียร์ ขนาด 4 นิ้ว ใบ 30 1 30 10 กระถางดินเผาเคลือบ ขนาด 11 นิ้ว กระถาง 380 6 2,280 11 กระถางดินเผาเคลือบ ขนาด 6 นิ้ว กระถาง 135 12 1,620 12 กระถางเคลือบทรงท่อ ขนาด 8 นิ้ว กระถาง 100 10 1,000 13 ชุดน้ำล้น (น้ำพุ) ชุด 1,900 1 1,900 14 หญ้าเทียม ยาว 2 เซนติเมตร ตร.ม. 350 4 1,400 15 ชุดโคมไฟเก๋งจีน ขนาดกลาง ชุด 800 2 1,600 16 อิฐประสานตรง ก้อน 18 20 360 17 อิฐประสานโค้ง ก้อน 23 20 460 18 ต้นเศรษฐีเรือนทอง กระถาง 8 นิ้ว กระถาง 150 6 900 รวม 20,600 1.1.2) ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร งบดำเนินงานตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร ชีวภาพ รหัสงบประมาณ 07011150021002000000 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ รหัสกิจกิจกรรมหลัก 07011660006400000 กิจกรรมย่อยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ แมลงเศรษฐกิจ เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ตามหนังสือสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ที่ กษ 1016/ ว208 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 แจ้งเรื่อง
26 การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (โครงการตามตัวชี้วัด) ครั้งที่ 3 และ กรมส่งเสริมการเกษตรได้โอนเงินงบประมาณมาตั้งจ่าย ณ สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญในการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ จึงได้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้แมลง เศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้แก่ เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติได้ พร้อมทั้งปรับปรุงจุดเรียนการเลี้ยงแมลง เศรษฐกิจในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) เพื่อให้การ ดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริม การเกษตรตามบทบาทภารกิจของศูนย์ จึงขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียด ดังนี้ (1) ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้ จำนวน 13 รายการ จำนวนเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ดังรายการต่อไปนี้ ตารางที่ 8 ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ในการจัดทำจุดเรียนรู้จำนวน 13 รายการ ลำดับที่ รายการ หน่วย ราคา จำนวน จำนวนเงิน (บาท) 1 กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมาตรฐาน กล่อง 600 19 11,400 2 กล่องเลี้ยงชันโรง กล่อง 350 10 3,500 3 หมวกกันผึ้ง ใบ 150 3 450 4 กระป๋องพ่นควัน ใบ 550 2 1,100 5 กลักขังนางพญา อัน 10 7 70 6 ถุงมือยาง คู่ 85 3 255 7 ซิลิโคน (สีใส) ขนาด 280 มิลลิลิตร หลอด 100 7 700 8 บานพับ ขนาด 3 นิ้ว อัน 20 8 160 9 ท่อซีเมนต์ ขนาด 100 เซนติเมตร ลูก 230 12 2,760 10 ชุดลูกบิดประตู ชุด 150 3 450 11 ท่อน้ำสีฟ้า PVC ขนาด 1 นิ้ว เส้น 65 7 455 12 หลอดไฟ LED T8 18 วัตต์ หลอด 100 12 1,200 13 สายยางฟ้า PVC ขนาด 3/4 นิ้ว กิโลกรัม 100 25 2,500 รวม 25,000 1.2) ผลิตและขยายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร งบดำเนินงานตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร ชีวภาพ รหัสงบประมาณ 07011150021002000000 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
27 แมลงเศรษฐกิจ รหัสกิจกิจกรรมหลัก 07011660006400000 กิจกรรมย่อยผลิตและขยายพันธุ์ แมลงเศรษฐกิจ เป็นเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ตามหนังสือสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการ เกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ที่ กษ 1016/ ว361 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2566 แจ้งเรื่อง การอนุมัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (โครงการตามตัวชี้วัด) ครั้งที่ 1 และกรมส่งเสริม การเกษตรได้โอนเงินงบประมาณมาตั้งจ่าย ณ สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร แล้วนั้น ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เป็นหน่วยงาน ที่ให้บริการทางด้านการเกษตรแก่เกษตรกรตามความต้องการของเกษตรกร สนับสนุนการ เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร รวมถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ จึงได้ ดำเนินกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ ผลิตและขยายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ผึ้งพันธุ์ต่างประเทศของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เพื่อเป็นการ ป้องกันโรคเลือดชิด และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรและผู้ที่ สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นในการจัดซื้อพันธุ์ผึ้งพันธุ์ต่างประเทศเพิ่มเติม จากต่างฟาร์ม เป็นเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) และเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมการเกษตร จึงขออนุมัติดำเนินการ จัดซื้อ คือ พันธุ์ผึ้งพันธุ์ต่างประเทศ ขนาด 7 คอน/ รัง จำนวน 10 รัง ราคารังละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท 1.3) การบริหารจัดการและประเมินสถานการณ์สินค้าแมลงเศรษฐกิจ ดำเนินการจริง จำนวน 8 วัน 11 ครั้ง ดังนี้ 1.3.1) วันอังคาร ที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ 7 ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 1.3.2) วันอังคาร ที่ 27 ธันวาคม 2565 ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 1.3.3) วันอังคาร ที่ 10 มกราคม 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีผสมผสาน ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 1.3.4) วันพุธ ที่ 11 มกราคม 2566 ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1.3.5) วันอังคาร ที่ 24 มกราคม 2566 (1) ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอยี่งอ สำนักงานเกษตรอำเภอยี่งอ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส (2) ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบอาชีพกาแฟและเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา/ ปาล์มน้ำมันบ้านป่าใหม่ หมู่ที่ 3 ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 1.3.6) วันพุธ ที่ 25 มกราคม 2566 (1) ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง (2) ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอยะรัง สำนักงานเกษตรอำเภอยะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
28 1.3.7) วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม 2566 ณ บ้านคลองน้ำเค็ม หมู่ที่ 16 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล 1.3.8) วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 (1) ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา (2) ณ บ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 1.4) บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งให้เกษตรกร 1.4.1) จำนวนเกษตรกรที่ส่งน้ำผึ้งเข้าตรวจวิเคราะห์ เกษตรกรส่งน้ำผึ้งทั้งหมด จำนวน 65 ราย มีตัวอย่างน้ำผึ้งทั้งหมด จำนวน 66 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.09 น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18.18 และน้ำผึ้งโพรง จำนวน 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 72.7 โดยสามารถแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ (1) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เก็บน้ำผึ้งตัวอย่างได้ จำนวน 56 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งชันโรง จำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.71 น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.36 และน้ำผึ้งโพรง จำนวน 47 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 83.93 (2) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เก็บน้ำผึ้ง ตัวอย่างได้ จำนวน 10 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำผึ้งพันธุ์ จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 90 และ น้ำผึ้งโพรง จำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10 1.5) โครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานส่งเสริมกลุ่มสินค้าแมลงเศรษฐกิจ กิจกรรมวันผึ้งโลก ครั้งที่ 6 1.5.1) ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในระบบ New GFMIS Thai ครั้งที่ 379 งบดำเนินงาน แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ รหัสงบประมาณ 07011150021002000000 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ รหัสกิจกรรมหลัก 07011660006400000 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานส่งเสริมกลุ่มสินค้าแมลงเศรษฐกิจ กิจกรรมวัน ผึ้งโลกครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรีและให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ดำเนินการ ดังนี้ (1) มอบหมายเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จำนวน 4 คน เข้าร่วมกิจกรรมวันผึ้งโลก ครั้งที่ 6 (2) จัดนิทรรศการแมลงช่วยผสมเกสร (3) จัดการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง (4) นำผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรในพื้นที่มาร่วมกิจกรรม จำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง Live สด ผ่าน Facebook กรมส่งเสริมการเกษตร
29 โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้โอนเงินงบประมาณ จำนวน 28,820 บาท (สองหมื่นแปดพันแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน) มาตั้งจ่าย ณ สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร ตามรายละเอียดใน หนังสือ ที่ กษ 1016/ 456 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 1.5.2) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานวันผึ้งโลก ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และคุณประโยชน์ของผึ้ง รวมถึงเพื่อให้การดำเนินงานโครงการดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงขออนุมัติดำเนิน โครงการตามรายละเอียด ดังนี้ (1) ขออนุมัติข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดนิทรรศการแมลงช่วยผสม เกสร จัดการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง และนำผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรในพื้นที่มาร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ระหว่างวันที่ 18 - 22 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรีและระหว่างไปปฏิบัติราชการ (2) ขออนุมัติขอใช้รถยนต์ราชการของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้าน แมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร จำนวน 2 คัน เพื่อใช้ในการเดินทางของเจ้าหน้าที่ และบรรทุกวัสดุ/ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน (3) ขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 2 รายการ เป็นเงิน 28,820 บาท (สองหมื่นแปดพันแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ตามรายละเอียดโครงการที่แนบมาพร้อมนี้ และ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ ค่าจัดซื้อวัสดุ/ อุปกรณ์ สำหรับจัด นิทรรศการ วัสดุสาธิต และอื่นๆ จำนวน 10 รายการ รวมเป็นเงิน 10,000 บาท และค่าใช้จ่ายเงินยืม จำนวน 3 รายการ รวมเป็นเงิน 18,820 บาท 3.3 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 3.3.1 ผลผลิตโครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากระราชดำริ 1) กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.1) สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากรพราชดำริ 1.1.1) โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ (1) ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและชันโรง (1.1) หลักการและเหตุผล ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ในระบบ New GFMIS Thai ครั้งที่ 546 จากงบดำเนินงาน แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้าง พลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รหัสงบประมาณ 07011360018002000000 กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รหัสกิจกรรมหลัก 07011669708100000 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสนับสนุนโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้โอนเงินงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) มาตั้งจ่าย ณ สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร ตามรายละเอียดในหนังสือ ที่ กษ 1016/ ว 861 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566
30 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่โครงการพระราชดำริ เพื่อพัฒนา เกษตรกรให้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำไป พัฒนาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนต่อไป จึงได้กำหนด จัดฝึกอบรมเกษตรกรเครือข่ายเพื่อขยายผล กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง จำนวน 2 หลักสูตร รวมจำนวนเกษตรกรเป้าหมายทั้งสิ้น 100 คน ได้แก่ หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 30 คน เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 60 คน และหลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน เป้าหมาย เกษตรกร จำนวน 40 คน งบประมาณดำเนินงาน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) (1.2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม (1.2.1) เพื่อสนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (1.2.2) เพื่อส่งเสริมและต่อยอดการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ให้แก่เกษตรกรเครือข่ายของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ (1.3) กลุ่มประชากรที่เข้าการฝึกอบรม จำนวน 100 คน ดังนี้ (1.3.1) หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 30 คน เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 60 คน คือ รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและ ชันโรง” เป้าหมายเกษตรกรจากอำเภอคลองหอยโข่งและพื้นที่ข้างรอบข้าง จำนวน 30 คน และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผึ้งทองอำเภอสะเดา ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน (1.3.2) หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 40 คน คือ รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกรจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งชันโรง (อุง) ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 20 คน และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก ผึ้งและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกรจากสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสงขลา ค่ายเสนาณรงค์ จำนวน 20 คน (1.4) ระยะเวลาการฝึกอบรม (1.4.1) หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” ดำเนินการฝึกอบรมในวันพุธ ที่ 23 สิงหาคม 2566 และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง”ดำเนินการฝึกอบรมในวันพฤหัสบดี ที่ 24 สิงหาคม 2566 (1.4.2) หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” ดำเนินการฝึกอบรมในวันพุธ ที่ 23 สิงหาคม 2566 และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” ดำเนินการฝึกอบรมในวัน พฤหัสบดี ที่ 24 สิงหาคม 2566
31 (1.5) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน แบบประเมินผลโครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ส่งเสริมการเลี้ยง ผึ้งโพรงและชันโรง ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” และหลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง (1.6) การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (1.7) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แบบประเมินผลโครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ส่งเสริมการเลี้ยง ผึ้งโพรงและชันโรง ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” และหลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง มีผลการประเมิน ดังนี้ (1.7.1) การฝึกอบรมเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 2 หลักสูตร เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 100 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 100 - หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 30 คนเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 60 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 60 คน ประกอบไปด้วย รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 30 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 30 คน ดำเนินการในวันพุธ ที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 30 คน พบว่ามี เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 30 คน ดำเนินการในวันพฤหัสบดี ที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ วิสาหกิจชุมชนผึ้งทองอำเภอสะเดา ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา - หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและ ชันโรง” จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 40 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 40 คน ประกอบไปด้วย รุ่นที่ 1 หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” เป้าหมาย เกษตรกร จำนวน 20 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 20 คน ดำเนินการในวันพุธ ที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งชันโรง (อุง) ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัด สงขลา และรุ่นที่ 2 หลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง” เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 20 คน พบว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 20 คน ดำเนินการในวันพฤหัสบดี ที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
32 (2) สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 ครั้ง 1.1.2) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (1) การดำเนินการจัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 1 – 4 เป้าหมาย ดำเนินการ จำนวน 400 ราย ดำเนินการจริง จำนวน 15 ครั้ง 8 จังหวัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 788 คน ดังนี้ (1.1) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 1 เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 100 คน ดำเนินการจริง จำนวน 5 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 176 คน ดังนี้ (1.1.1) วันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคม 2565 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองระนอง หมู่ที่ 7 ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองฯ จังหวัดระนอง (1.1.2) วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม 2565 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัด สุราษฎร์ธานี (1.1.3) วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ วัดสุวรรณาราม หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยปริก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (1.1.4) วันพุธ ที่ 21 ธันวาคม 2565 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศาลาประชาคมอำเภอป่าพะยอม หมู่ที่ 3 ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง (1.1.5) วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม 2565 โครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ วัดถ้ำสนุก ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร (1.2) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 2 เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 100 คน ดำเนินการจริง จำนวน 4 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 225 คน ดังนี้ (1.2.1) วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศาลาอเนกประสงค์เทศบาลตำบลท่านา หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา (1.2.2) วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวีจังหวัดชุมพร
33 (1.2.3) วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2566 โครงการคลินิกเกษตร เคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (1.2.4) วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคม 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ อาคารโรงคลุม หมู่ที่ 5 ตำบลละอุ่น อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง (1.3) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 3 เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 100 คน ดำเนินการจริง จำนวน 5 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 295 คน ดังนี้ (1.3.1) วันพุธ ที่ 26 เมษายน 2566 โครงการคลินิกเกษตร เคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศาลาประชาคมอำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (1.3.2) วันอังคาร ที่ 16 พฤษภาคม 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนบ้านบางเทา หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (1.3.3) วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน 2566 โครงการคลินิกเกษตร เคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนบ้านแหลมยางนา ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร (1.3.4) วันพฤหัสบดี ที่ 15 มิถุนายน 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ วัดชลธาร ตำบลบางไทร อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (1.3.5) วันอังคาร ที่ 27 มิถุนายน 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ ที่ว่าการ อำเภอกุยบุรีหมู่ที่ 7 ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (1.4) จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ไตรมาส 4 เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 100 คน ดำเนินการจริง จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 92 คน ดังนี้ (1.4.1) วันพุธ ที่ 26 กรกฎาคม 2566 โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ โรงเรียน ประชานิคม 4 ตำบลหงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 1.1.3) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานด้านแมลงเศรษฐกิจ (ผึ้งโพรงและชันโรง) ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน ปี 2566 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้ดำเนิน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านแมลงเศรษฐกิจ (ผึ้งโพรงและชันโรง) ในโครงการเกษตรเพื่อ อาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2566 ครบถ้วนทั้ง 12 โรงเรียน โดยมีผลการ ดำเนินงาน ดังนี้
34 (1) กิจกรรมพัฒนาจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ในโครงการ เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 12 โรงเรียน พร้อมสนับสนุนปัจจัย การผลิตที่จำเป็นตามความต้องการของโรงเรียน (1.1) การลงพื้นที่ติดตามและพัฒนาจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 12 โรงเรียน ดังนี้ (1.1.1) วันพุธ ที่ 27 กันยายน 2566 จำนวน 2 โรงเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (1.1.2) วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2566 จำนวน 2 โรงเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านพันวาล อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (1.1.3) วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน 2566 จำนวน 3 โรงเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนสิริราษฎร์ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสวนเพชร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร (1.1.4) วันเสาร์ ที่ 30 กันยายน 2566 จำนวน 2 โรงเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยางโพรง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (1.1.5) วันอาทิตย์ ที่ 1 ตุลาคม 2566 จำนวน 2 โรงเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ 1 อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีและศูนย์ การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยตง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (1.1.6) วันศุกร์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 1 โรงเรียน ณ โรงเรียนบ้านในวง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง (1.2) ผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน ทั้ง 12 โรงเรียน อยู่ระหว่างร้อยละ 5 - มากกว่าร้อยละ 20 ดังนี้ (1.2.1) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิต มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.2.2) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (1.2.3) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคี มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
35 (1.2.4) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง (คล้ายคลึงอุปถัมภ์) มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.2.5) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม (ตันตระเธียรอุปถัมภ์) มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุด เรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (1.2.6) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิริราษฎร์ มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.2.7) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสวนเพชร มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.2.8) โรงเรียนบ้านในวง มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและชันโรง ในโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 20 (1.2.9) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยางโพรง มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 (1.2.10) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 (1.2.11) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีนบุรี อนุสรณ์ 1 มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยง ผึ้งโพรงไทยและชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.2.12) ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยตง มีผลผลิตพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจ และพืชอื่นๆ บริเวณโดยรอบจุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (1.3) ครูผู้รับผิดชอบโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของทั้ง 12 โรงเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการฯ พบผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 12 คน พบว่ามี ระดับความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำเนินโครงการฯ ในระดับดีมาก (1.4) การสนับสนุนปัจจัยการผลิต จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ กล่องเลี้ยงชันโรง (พร้อมพันธุ์ชันโรง) จำนวน 24 กล่อง กล่องเลี้ยงชันโรง (กล่องเปล่า) จำนวน 36 กล่อง กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงขนาดมาตรฐาน จำนวน 24 กล่อง ขาตั้งกล่องเลี้ยงชันโรง จำนวน 60 ขา ขาตั้งกล่อง เลี้ยงผึ้งโพรง จำนวน 24 ขา กระเบื้องลอนคู่ จำนวน 70 แผ่น กระเบื้องแผ่นเรียบ จำนวน 4 แผ่น กระป๋องพ่นควัน จำนวน 12 ใบ หมวกกันผึ้ง จำนวน 24 ใบ ชุดจับชันโรง จำนวน 12 ชุด เหล็กงัดรัง จำนวน 12 อัน แปรงปัดผึ้งขนม้า จำนวน 12 อัน ถุงมือยาง จำนวน 24 คู่ มีดคัดเตอร์ จำนวน 24 อัน
36 ไขผึ้งโพรง (ชนิดแข็ง) จำนวน 12 ก้อน ถาดแสตนเลส จำนวน 12 ใบ กล่องพลาสติก จำนวน 13 กล่อง แผ่นพลาสติก จำนวน 54 แผ่น (2) กิจกรรมประชุมชี้แจงและถ่ายทอดความรู้แก่ครูผู้รับผิดชอบจุดเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 12 โรงเรียน รูปแบบออนไลน์ ดำเนินการขึ้นในวันพุธ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ณ ห้องประชุม ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร และมีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ จำนวน 26 คน ประกอบด้วย จากหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 13 คน และจากทั้ง 12 โรงเรียน จำนวน 13 คน
3.4 แผนงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงเพื่อเพิ่มรายได้และป้องกั3.4.1 กิจกรรม : ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงผึจังหวัดชุมพร ปี 2566 ตารางที่ 9 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ชื่อโครงการ กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการส่งเสริมการ เลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง เพื่อเพิ่มรายได้และ ป้องกันช้างป่าบุกรุก พื้นที่การเกษตร ส่งเสริมและพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตรด้านการเลี้ยง ผึ้งโพรงและชันโรง ในพื้นที่โครงการ พัฒนาพื้นที่หนอง ใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร ปี 2566 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรงให้แก่ชุมชนที่อยู่รอบ ข้างโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ 2) เพื่อพัฒนาจุดเรียนรู้ด้านการ เลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 1ฝึแ2จตเปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โครงการกำลังอยู่ระหว่างการอนุมัติจักสรรงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2566 จึงปีงบประมาณ 2566
37 กันช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร ผึ้งโพรงและชันโรง ในพื้นที่โรงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ในพื้นที่โรงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริจังหวัดชุมพร ปี 2566 กิจกรรม ได้รับการจัดสรร (บาท) เบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ 1) การถ่ายทอดความรู้และ ฝึกปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง 2) การปรับสภาพพื้นและ จัดทำจุดเรียนรู้ที่ให้เหมาะสม ต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตร 368,100 0.00 0.00 งอาจเกิดความล่าช้า โดยต้องต้องวางแผนดำเนินการให้รัดกุมและทันต่อการดำเนินงานใน 37
38 3.5 โครงการอื่นๆ 3.5.1 โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ปี 2566 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ด้านการบริหารจัดการและรองรับนักท่องเที่ยว ตามหลักพื้นฐานของ BCG Model จำนวน 1 ศูนย์ มีผลการดำเนินงานดังนี้ 1.1) การจัดทำระบบลงทะเบียน (จอง) เข้าใช้งานภายในศูนย์ฯ รูปแบบออนไลน์ พบว่าได้จัดทำเว็บไซต์ สำหรับการลงทะเบียน (จอง) เข้าใช้งานภายในศูนย์ฯ จำนวน 1 เว็บไซต์ คือ https://forms.gle/wp5UK9hnCDZMScm79 1.2) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามเทศกาลรูปแบบ ออนไลน์ (ในระบบสตอรี่ของระบบ FACEBOOK) พบว่าสมารถสร้างข่าว/ กิจกรรม และดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ จำนวนทั้งสิ้น 30 ข่าว 1.3) การประเมินความพึงพอใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบออนไลน์ พบว่ามีผลการประเมินความพึงพอใจ รูปแบบออนไลน์ จาก https://forms.gle/Lnz6udLu5PBJdC8K8 ดังนี้ (1) จำนวนผู้เข้าใช้บริการ มีจำนวนทั้งสิ้น 155 ราย (เฉพาะผู้ที่ลงชื่อในสมุด บันทึกติดต่อราชการ) (2) เกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร มีจำนวนทั้งสิ้น 139,700 บาท จากการจำหน่ายน้ำผึ้งพันธุ์ (เฉพาะของเกษตรกร) (3) ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 53 ราย พบว่ามีระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับดี 2) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ด้านการประเมินมาตรฐานคุณภาพ จำนวน 1 ศูนย์ คือ การเข้าร่วม ประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่าได้ดำเนินการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในระหว่างวันที่ 4 - 5 มกราคม 2566 โดยมีคณะกรรมการตรวจประเมินมาตรฐาน คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร และพื้นที่แปลงเรียนรู้การเลี้ยง ผึ้งโพรงและชันโรง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร และมีผลการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่ง ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ระดับดีมาก 3.5.2 โครงการฝึกอบรมฝึกอาชีพ “มีดีที่ศูนย์ปฏิบัติการ” การเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีด หลักสูตร “จิ้งหรีดคอนโดทูเทเบิ้ล” ปี 2566 อ้างถึง หนังสือ กษ 1016/ ว 18 ลงวันที่ 13 มกราคม 2566 เรื่อง ขอให้จัดทำรายงานผลการ อบรมฝึกอาชีพ “มีดีที่ศูนย์ปฏิบัติการ” ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดให้มีการอบรมฝึกอาชีพ เกษตรในสังคมเมือง “55 หลักสูตร 55 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร” โดยเป็นการฝึกอาชีพด้านการเกษตร
39 ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเมือง สอดคล้องกับหลักการของ BCG Model และการพัฒนา เกษตรเชิงพื้นที่ รวมทั้งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของศูนย์ปฏิบัติการ ในการฉลองวาระครบรอบ 55 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการจัดฝึกอบรมอาชีพในกิจกรรม “มีดีที่ศูนย์ปฏิบัติการ” 1 หลักสูตรต่อ 1 ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ขอให้ ดำเนินการจัดฝึกอบรมฝึกอาชีพตามแผนและจัดทำรายงานผลการฝึกอาชีพดังกล่าวและนำส่งข้อมูลให้ กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ทางหนังสือ ราชการและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์[email protected] และ [email protected] หลังดำเนินการฝึกอบรมฝึกอาชีพเสร็จสิ้น โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพในกิจกรรม “มีดีที่ศูนย์ปฏิบัติการ” 1 หลักสูตร ต่อ 1 ศูนย์ ปฏิบัติการ การเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีด หลักสูตร “จิ้งหรีดคอนโดทูเทเบิ้ล” เป้าหมายผู้เข้าร่วม กิจกรรม จำนวน 15 คน ในระหว่างวันที่ 25 – 26 เมษายน 2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร นั้น โดยมีผลการ ดำเนินงานดังนี้ 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีจำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 106.67 ประกอบด้วย นายบัญชา ไทยเจริญ นายศุภกร สายธารธรรม นางภัคนา รัตนพงศ์นายสนชาติ รัตนพงศ์นายประชุม รูปสง่า นายพงค์ธร รูปสง่า นายชลกานต์ ขวัญนาวารักษ์นางนฤภร พลายเจริญ นางสาวเกตุแก้ว สุดเกตุ นางสาวสิริวรรณ อโณทัยสุขวิเศษ นางสาวพรวิภา หลักพันธ์นายอานนท์ วิเวก ดาบตำรวจหญิงพรเพ็ญ นุ้ยมาก สิบตำรวจเอกหญิงณัฐณญา เสืออินโท จ่าสิบตำรวจตรีหญิงกัญญานี นันสุนีย์และสิบตำรวจเอกหญิง อริษา ไลเลิศ 2) ผลการประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมฯ จำนวนทั้งสิ้น 16 คน พบว่าผลการ ประเมินความรู้ก่อนการฝึกอบรมฯ เท่ากับ 10.19 คะแนน และผลการประเมินความรู้หลังการฝึกอบรมฯ เท่ากับ 17.63 คะแนน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมของโครงการฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด 3.1) ข้อเสนอแนะในการร่วมการฝึกอบรมฯ คือ วิทยากรมีความตั้งใจในการอธิบาย บรรยาย/ การต้อนรับ/ การบริการดีเป็นการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม เนื้อหาข้อมูลใน การอบรม การให้ความรู้ของวิทยากรเข้าใจง่าย มองเห็นภาพดีได้ความรู้ใหม่ๆ ได้แนวคิด เพื่อสร้างอาชีพ การต้อนรับของเจ้าหน้าที่ ได้มีอาชีพทำ เรียนรู้วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดอย่างเป็นรูปธรรม นำกลับไปทดลอง เลี้ยง การจัดการในการเลี้ยงในโรงเรือน ได้รับองค์ความรู้ในการเลี้ยงและแปรรูปจิ้งหรีดอย่างจริงจัง และ บรรยากาศเป็นกันเอง 3.2) สิ่งที่ควรเสนอแนะนำไปพัฒนาการฝึกอบรมฯ ในโอกาสต่อไป คือ จัดให้มีการ อบรมอีกในโอกาสหน้า ควรทำกิจกรรมนี้รวมเป็นวันเดียว เพื่อรวบรัดเวลา ควรมีที่พักบริเวณซุ้มทางเดิน ให้ความรู้ต่างๆ นำความรู้เข้าระบบ เพื่อเผยแพร่และต่อยอดให้กว้างขึ้น ควรมีการแบ่งกลุ่มปฏิบัติในเการ เลี้ยงจิ้งหรีด และข้อมูลการนำเสนอควรแยกรายละเอียดให้มากขึ้น และจัดการดูงานในพื้นที่ใกล้เคียง
3.5.3 งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ตารางที่ 10 การร่วมกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตลำดับ วัน/ เดือน/ ปี 1 วันที่ 9 มกราคม 2566 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มะพร้าวตำบลบางสน หมู2 วันที่ 12 มกราคม 2566 ศูนย์เครือข่าย ศพก. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน หมู่ที่ 13 วันที่ 19 มกราคม 2566 ศูนย์เครือข่าย ศพก. วิสาหกิจชุมชนสับปะรดตำบลทุ่งร4 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์เครือข่าย ศพก. ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพ5 วันที่ 15 มีนาคม 2566 ศูนย์เครือข่าย ศพก. ศูนย์ข้าวชุมชน หมู่ที่ 6 ตำบลบางรวมทั้งสิ้น
40 ตใหม่ (Field Day) สถานที่ จำนวนผู้เข้ารับบริการ (คน) มู่ที่ 4 ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 50 1 ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 45 ระยะ หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 50 พียง หมู่ที่ 1 ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 40 งลึก อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร 50 235 คน 40
3.5.4 โครงการจังหวัดพบประชาชนจังหวัดชุมพร ตารางที่ 11 การร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดพบประชาชนจังหวัดชุมพร "หนลำดับ วัน/ เดือน/ ปี ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2566 ครั้งที่ 1 วัดคงคาราม ตำบลพ้อแดง 2 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ครั้งที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาหลา3 วันที่ 22 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 3 โรงเรียนบ้านร้านตัดผม หมู4 วันที่ 21 เมษายน 2566 ครั้งที่ 4 ศาลาเฉลิมพระเกียรติ ร.9 5 วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 5 วัดปังหวาน หมู่ที่ 5 ตำบลป6 วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ครั้งที่ 6 โรงเรียนบ้านเขาค่าย หมู่ที่ รวมทั้งสิ้น