The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โพรแคริโอตแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by a0884659147, 2022-03-06 08:25:22

โพรแคริโอต

โพรแคริโอตแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย

ORIGIN OF LIVING THINGS.

prokaryote

•BACTERIA •ARCHAEA



แบคทีเรีย โพรแคริโอต อาร์ เคีย
bacteria prokaryote
Archaea

กลุ่มโพรแคริโอต ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกในระยะแรกสามารถพบได้
จากหินที่เกิดจากโพรแคริโอต (prokaryote) ยึดจับกับตะกอนเอาไว้ด้วยกันเรียก
ว่าสโตรมาโทไลต์ (stromatolite) ซึ่งมีอายุประมาณ 3,500 ล้านปีพบที่บริเวณ

ชายฝั่งทะเลประเทศออสเตรเลีย





โพรแคริโอตส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
0.5-5 um เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและไม่มีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรมอยู่ใน
ไซโทพลาซึม เรียกว่านิวคลีออยด์เซลล์ของโพรแคริโอตมีผนังเซลล์ซึ่งทำให้เซลล์คงรูป

ร่างช่วยป้องกันเซลล์องค์ประกอบของผนังเซลล์ที่แตกต่างกันสามารถใช้เป็นเกณฑ์
จำแนกโพรแครีโอตแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย

01

แบคที เรี ย (bacteri a) มี ขนาด แบคทีเรีย
เล็ กมองไม่ เห็ นด้ วยตาเปล่ า มี ขนาดประมาณ
0. 5-5 um ผนั งเซลล์ มี สารเพปที โอไกลแคน bacteria

เป็ นองค์ ประกอบแบคที เรี ยหลายสปี ชี ส์ สามารถ
เคลื่ อนที่ ได้ โดยอาศั ยโครงสร้ าง เช่ น แฟลเจลลั มใน
กระบวนการสั งเคราะห์ โปรตี นใช้ ฟอร์ มิ ลเมไทโอนี น
เป็ นกรดแอมิ โนตั วแรกเสมอมี เอนไซม์ อาร์ เอ็ นเอพอลิ -
เมอเรส 1 ชนิ ด

แ บ ค ที เ รี ย ส่ ว น ใ ห ญ่ พ บ อ ยู่ เ ซ ล ล์ เ ดี ย ว ห รื อ อ า จ เ ป อ ยู่ ร ว ม กั น เ ป็ น ก ลุ่ ม
ห รื อ เ ป็ น ส า ย รู ป ร่ า ง มี ห ล า ย แ บ บ เ ช่ น รู ป ร่ า ง ก ล ม รู ป ร่ า ง แ ห่ ง รู ป ร่ า ง เ ก ลี ย ว


ส่ ว น ใ ห ญ่ สื บ พั น ธุ์ โ ด ย ก า ร แ บ่ ง แ ย ก ตั ว โ ด ย เ ซ ล ล์ แ บ ค ที เ รี ย เ ซ ล ล์ ใ ห ม่ ที่ ไ ด้ จ า ก

วิ ธี นี้ จ ะ มี ลั ก ษ ณ ะ เ ห มื อ น เ ซ ล ล์ เ ดิ ม ส า ม า ร ถ พ บ สิ่ ง มี ชี วิ ต ก ลุ่ ม นี้ ไ ด้ ทั้ ง ใ น ดิ น น้ำ
อ า ก า ศ อ า ห า ร แ ล ะ ใ น ร่ า ง ก า ย ข อ ง สิ่ ง มี ชี วิ ต อื่ น พ บ ไ ด้ ทั้ ง ใ น น้ำ เ ค็ ม น้ำ จื ด
น้ำ ก ร่ อ ย ธ า ร น้ำ แ ข็ ง ห รื อ น้ำ พุ ร้ อ น

02

นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตกลุ่มแบคทีเรียยังมีกระบวนการเมแทบอลิซึมในการดำรงชีวิตที่
หลากหลาย เช่น บางกลุ่มไม่สามารถสร้างอาหารได้โดยอาจได้อาหารจากการย่อยสลาย
หรือจากการดำรงชีวิตแบบภาวะปรสิตบางกลุ่มสามารถสร้างอาหารได้โดยใช้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบางกลุ่มสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนจากอากาศได้

แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายสูงนอกจากนี้ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
แหล่งที่อยู่ได้ดีในการจำแนกแบคทีเรียพิจารณาได้หลายเกณฑ์ เช่น
- รูปร่างแบ่งเป็น รูปร่างกลม (coccus) รูปร่างแท่ง (bacillus) รูปร่างเกลียว (Spiral)
- ผนังเซลล์ แบ่งเป็น แกรมลบและแกรมบวก
- การดำรงชีวิตในที่มีออกซิเจนแบ่งเป็น กลุ่มที่ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่มีออกซิเจน
(obligate aerobe) กลุ่มที่ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่ไม่มีออกซิเจน (Obligate
anaerobe) กลุ่มที่ดำรงชีวิตได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจน (facultative anaerobe)
- การสร้างอาหาร แบ่งเป็น สร้างอาหารเองได้ (autotroph) และสร้างอาหารเองไม่ได้
(heterotroph)

03

CLOSTRIDIUM

Clostridium เป็นจีนัสของแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างแท่ง แบคทีเรียส่วนใหญ่ในกลุ่ม
นี้ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่ไม่มีออกซิเจน สร้างอาหารเองไม่ได้ บางสปีชีส์สร้างสารพิษโบทูลิ
นัมสามารถพบได้ในอาหารกระป๋องและหน่อไม้ใบที่ปนเปื้อนเชื้อและมีการไล่อากาศออก
หมด ทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม บางสปีชีส์สร้างสารพิษเทท่านัส ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก
บางสปีชีส์มีบทบาทสำคัญในวัฏจักรไนโตรเจน

04

Lactobacillus

Lactobacillus เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างแท่ง ดำรงชีวิตได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจน
พบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพเป็นกรดและแหล่งที่มีสารอาหารมากทั้งในอาหาร พืช สัตว์ และ
มนุษย์ โดยในมนุษย์ทําหน้าที่สำคัญคือช่วยรักษาภาวะความเป็นกรดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก
จุลินทรีย์ชนิดอื่นภายในช่องคลอด Lactobacillus เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มของ
แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลกติกได้ บางสายพันธุ์ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมัก เช่น โยเกิร์ต
นมเปรี้ยว ผักดอง และชีส

05

Escherichia coli

Escherichia coli หรือ E. coli
เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างแท่ง
เป็นกลุ่มที่ดำรงชีวิตได้ทั้งที่มีและไม่มี
ออกซิเจน อาศัยอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ของ
สัตว์และมนุษย์สายพันธุ์ของ E.coli
ส่วนใหญ่ไม่ก่อโรค แต่บางสายพันธุ์
ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เกิดการติดเชื้อ
ที่ทางเดินปัสสาวะ บางสายพันธุ์ทำให้มี
การถ่ายเป็นเลือดเกิดภาวะที่เม็ดเลือด
แดงถูกทำลายก่อนหมดอายุแล้วเข้าไป
อุดตันกระบวนการกรองของเสียในไตซึ่ง
อาจทำให้ไตวายได้

06

Rhizobium

ไรโซเบียม (Rhizobium) เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างแท่ง ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่มี
ออกซิเจน ปกติดำรงชีวิตแบบอิสระ แต่สามารถอาศัยอยู่ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว โดย
ไรโซเบียมทำหน้าที่ช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจน
ในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช

07

Staphylococcus aureus

Staphylococcus aureus
เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
เซลล์อยู่เป็นกลุ่มลักษณะคล้ายพวงองุ่น
ดำรงชีวิตได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจน
ปกติพบได้บริเวณช่องจมูกและ
บนผิวหนังของมนุษย์ บางครั้งจะเป็น
เชื้อฉวยโอกาสในเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ
เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง
กระดูกและเลือด เชื้อนี้มีวิวัฒนาการ
ทำให้ต้านยาปฏิชีวนะได้หลายชนิดโดย
สายพันธุ์ที่ดื้อยาที่สำคัญคือ
methicillin-resistant S. aureus
(MRSA) เมื่อติดเชื้อทำให้เกิดอาการที่
รุนแรงและรักษาให้หายได้ยาก

08

spirochaete

สไปโรคีท (spirochaete) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มแบคทีเรียที่มีรูปร่างเกลียว ซึ่งเป็น
แบคทีเรียแกรมลบ สร้างอาหารเองไม่ได้ มีทั้งสปีชีส์ที่ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่มีออกซิเจน
และสปีชีส์ที่ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่ไม่มีออกซิเจน ส่วนใหญ่มีการดำรงชีวิตแบบอิสระ
บางสปีชีส์เป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis) โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
โรคไลม์ (Lyme)

09

cyanobacteria

ไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) เป็นกลุ่มแบคทีเรีย
ที่สร้างอาหารได้ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีสารสี เช่น
คลอโรฟิลล์เอ แคโรทีนอยด์ และไฟโคบิลิน อยู่ที่เยื่อหุ้มไทลาคอยด์
มีผนังเซลล์แบบแกรมลบ รูปร่างมีทั้งแบบที่เป็นเซลล์เดียว และ
เป็นสาย ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่มีออกซิเจนพบในแหล่งที่อยู่ที่
หลากหลายทั้งบนบกและ ในแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม บางสปีชีส์พบใน
บ่อน้ำพุร้อน และบนธารน้ำแข็ง จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์
ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนได้ ว่าไซยาโนแบคทีเรียทำให้
ออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นในระยะแรกของโลก และ
ก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หายใจโดยใช้ออกซิเจน
ไซยาโนแบคทีเรียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศ และ
บางชนิดสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจน ในอากาศ
ให้เป็นสารประกอบไนเตรตได้ เช่น แอนาบีนา
(Anabaena) และออสซิลลาทอเรีย
(Oscillatoria)

10

asma mycopl

ไมโคพลาสมา (mycoplasma) เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์ มีเยื่อหุ้ม
เซลล์ประกอบด้วยขั้นของลิพิดประเภทสเตอรอล (สเตอรอยด์แอลกอฮอล์) ที่
ช่วยให้เซลล์ของไมโคพลาสมาทนต่อการสลายตัวเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1-1.0 um บางสปีชีส์มีการดำรงชีวิตแบบ
อิสระอยู่ในดินเป็นกลุ่มที่ดำรงชีวิตได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจนบางสปีชีส์เป็น
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

11

Archaea

สิ่งมีชีวิตกลุ่มอาร์เคีย (Archaea)
เป็นโพรแคริโอตที่ผนังเซลล์ประกอบด้วยสาร
พอลิแซ็กคาไรด์ และโปรตีนที่หลากหลาย แต่ไม่มี
สารเพปทีโดไกลแคน

อาร์เคียเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายกับแบคทีเรีย เช่น มีสารพันธุกรรม
ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีโครโมโซมรูปวงกลม และมีลักษณะร่วมบางอย่างของอาร์เคียกับสิ่งมีชีวิตใน
กลุ่ม ยูแคริโอต (eukaryote) เช่น มีเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรสหลายชนิดในกระบวนการ
สังเคราะห์โปรตีนใช้เมไทโอนีนเป็นกรดแอมิโนตัวแรกเสมอ อาร์เคียสามารถดำรงชีวิตในสภาพ
แวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดเท่านั้นที่สามารถอยู่ได้ เช่น ในแหล่งที่มีอุณหภูมิสูงมาก ในทะเลที่
มีน้ำเค็มจัด ในบริเวณที่มีความเป็นกรดสูง และในบริเวณทะเลลึก นอกจากนี้ยังพบได้ในสภาพ
แวดล้อมทั่วไป

อาร์เคียบางกลุ่มปลดปล่อยแก๊สมีเทนออกสู่สภาพแวดล้อมได้ เรียกว่า เมทาโนเจน
(methanogen) เมทาโนเจนหลายสปีชีส์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่ไม่มีออกซิเจน
แต่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการออกซิไดซ์ไฮโดรเจนในการสร้างพลังงานใช้ภายในเซลล์และ
ปลดปล่อยมีเทนออกมา ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานและสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมบาง
ชนิด เมทาโนเจนบางสปีชีส์อาศัยอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เช่น ลำไส้วัว
ปลวก และสัตว์กินพืช ทำหน้าที่ช่วยเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยย่อยสลายขยะอีกด้วย เมทาโนเจนนอกจากพบในสภาพ
แวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดเท่านั้นที่สามารถอยู่ได้ ยังพบว่าอาศัยได้ในสิ่งแวดล้อมที่มี
ออกซิเจน เช่น นาข้าวที่มีน้ำขัง หนองน้ำ

12

บรรนาณุกรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2563).
หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีววิทยา เล่ม6.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสด.ลาดพร้าว.

จัดทำโดย

1.นางสาวเจนจิรา มีกำปัง เลขที่ 5
2.นางสาวสุธาทิพย์ อ่อนชำนิ เลขที่ 9
3.นางสาวอริสรา โยนจอหอ เลขที่ 10

4.นายนราธิป แต้กลาง เลขที่ 11
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
เสนอ

คุณครูณัฏฐกันย์ ดอกสันเทียะ
โรงเรียนขามสะแกแสง

อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา


Click to View FlipBook Version