The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบนำเสนอBestจันจิราFulltext

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by champeekang.ch, 2023-07-08 22:23:57

แบบนำเสนอBestจันจิราFulltext

แบบนำเสนอBestจันจิราFulltext

บทคัดย่อ การจัดทำผลงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้าน การอ่านพ ยัญชะไทยดังกล่าวก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมเกมการศึกษา ของนักเรียนระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านกระสัง ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน เครื่องมือในการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่าน ประกอบด้วย สื่อประสมชุดคำคล้องจองประลองไหวพริบ ที่ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นเองพร้อมแบบบันทึกทักษะทางภาษา ด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๐ ครั้ง สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ๑. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน มีทักษะทางภาษาด้านการ อ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๔๒ ๒. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีทักษะทางภาษาด้านการอ่าน พยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัวได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ หลังการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจอง ประลองไหวพริบ” มีพัฒนาการด้านการอ่านสูงกว่า ก่อนใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” เฉลี่ยร้อยละ ๖๐.๕๙ สรุปผลการวิจัย การประเมินทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ก่อนใช้สื่อประสม”ชุดคำ คล้องจองประลองไหวพริบ” นักเรียนอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน มีทักษะทางภาษาด้านการ อ่านเฉลี่ยเท่ากับ ๑๕.๘๓ และการประเมินทักษะทางภาษาด้านอ่านพยัญชนะไทยนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ การศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน หลังใช้สื่อประสม “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ประกอบกับแผนการจัด ประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย ที่นักเรียนจำไม่ได้ จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยเฉลี่ยเท่ากับ ๗๖.๔๒ ซึ่งเมื่อเทียบก่อนและหลังการใช้ใช้สื่อประสม พบว่านักเรียนมีทักษะทางภาษาด้านการอ่านสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๖๐.๕๙


คำนำ ระดับการศึกษาปฐมวัย นักเรียนจะเริ่มเรียนพยัญชนะไทยเป็นอันดับแรก โดยการเรียนพยัญชนะไทยส่วน ใหญ่จะมีรูปแบบการเรียนผ่านการท่องจำ ก ถึง ฮ โดยจำแบบเรียงลำดับกันไปมีการใช้กิจกรรมเพลงประกอบและใช้ หนังสือคัดไทยประกอบภาพ เช่น ก.ไก่ ใช้ภาพ ก.ไก่ ผู้จัดทำเชื่อว่าครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัยเกือบทุกโรงเรียน ใช้วิธี ดังกล่าว เช่นเดียวกันกับผู้จัดทำ วิธีการสอนแบบการท่องจำเรียงพยัญชนะตามลำดับโดยใช้ชาร์ตการสอน ผู้จัดทำ สังเกตว่า เด็กปฐมวัยไม่สามารถอ่านพยัญชนะได้ เริ่มต้นจาก ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ รวม ๑๕ ตัว จากปัญหาและความสำคัญ ดังกล่าว ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญ กับกิจกรรมการสอนพยัญชนะไทยที่จะสามารถ ทำให้เด็กจำลักษณะของพยัญชนะไทยที่เด็กๆ จำไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น โดยการสร้างสื่อการสอนประเภทสื่อประสม ชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปี การศึกษา ๒๕๖๖ ขอขอบพระคุณ นางจารุวรรณ ต้นทอง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระสัง อำเภอชุม พลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต ๒ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ สนับสนุนการจัดทำผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)ในครั้งนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงาน สื่อ ประสม คำคล้องจองประลองไหวพริบ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับชั้น อนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ และหากท่านผู้รู้มีคําแนะนําเพื่อจะพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ทางผู้จัดทําน้อมรับเพื่อจะได้นําไปปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ผู้จัดทำ นางสาวจันจิรา จำปีกาง ตำแหน่ง ครูชำนาญการ


สารบัญ หน้า ข้อมูลทั่วไป 1 ๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ ๑ ๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ๒ ๓. กระบวนการผลิตผลงาน ๒ ๔. ผลการดำเนินการผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ ๕ ๕. ปัจจัยความสำเร็จ ๖ ๖. บทเรียนที่ได้รับ ๖ ๗. การเผยแพร่และการได้รับการยอมรับ ๖ ๔. การขยายผลต่อยอด ๗ ภาคผนวก ๘


การนำเสนอผลงาน/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับปฐมวัย (Best Practices) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย (สำหรับครูผู้สอน) ___________________________________________________________________________________ ชื่อผลงาน การส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวจันจิรา จำปีกาง ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียน บ้านกระสัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์เขต ๒ ตำบล นาหนองไผ่ อำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๙๐ โทรศัพท์ ๐๙๕-๕๐๑๔๓๓๕ E-mail : [email protected] เว็บไซต์โรงเรียน http://data.bopp-obec.info/web/home.php?School_ID=1032650161 ๑. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติที่นำเสนอ ๑.๑ ความสำคัญหรือความเป็นมาและสภาพของปัญหา หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (Department of Curriculum and Instruction Development, 2004, p.54) ได้กำหนดการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 3 – ๖ ปี ด้านการพัฒนาภาษาว่า ควรจัดกิจกรรมทางภาษา ให้มีความหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน การจัดกิจกรรมให้เด็กรัก การอ่าน ต้องเริ่มจากการจัดให้เด็กได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้อง เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย ภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้การจัด ประสบการณ์ ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ ภาษามีความจำเป็นสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเด็กจะต้องได้รับการพัฒนาภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก และการพัฒนาภาษาให้แก่เด็ก โดยเฉพาะภาษาไทย ควรจะให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไปสู่หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาภาษาไทยให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องเน้นให้บูรณาการโดยมีความมุ่งหมายหลักในการพัฒนา ทักษะต่างๆ สอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก โดยให้เด็กได้พัฒนาทักษะในการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน รู้หลักเกณฑ์ทางภาษา เกิดค่านิยมโดยเห็นความสำคัญ ความงดงาม ซาบซึ้ง รักการอ่าน รู้จัก การแสวงหา และมีความสามารถในการจัดการที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์(จีระพันธุ์พูลพัฒน์, 2548) ปัญหาการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งเกิดจากการสอนที่ครูมุ่งเน้นสาระทางภาษาเป็นหลัก ทำให้การ เรียนการสอนไม่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ ไม่เหมาะกับวัยความสนใจและความสามารถ ของเด็ก และ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจำเป็นต้องใช้ภาษาในการเรียนรู้และการสื่อสารในชีวิตจริง พบว่า การสอนภาษา แบบเดิม (traditional approaches) ซึ่งเป็นความเข้าใจและทักษะทางภาษาเป็นหลัก ไม่เน้นความสำคัญของ ผู้เรียน และไม่นำทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีทางภาษามาใช้ร่วมกัน ไม่เน้น ความสำคัญของประสบการณ์และภาษา ที่เด็กใช้ในชีวิตจริง จึงไม่ได้ให้โอกาสเด็กเรียนรู้ภาษาและใช้ภาษา (พรพิไล เลิศวิชา, 2553) ในระดับการศึกษาปฐมวัย นักเรียนจะเริ่มเรียนพยัญชนะไทยเป็นอันดับแรก โดยการเรียนพยัญชนะไทย ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการเรียนผ่านการท่องจำ ก ถึง ฮ โดยจำแบบเรียงลำดับกันไปมีการใช้กิจกรรมเพลงประกอบ และใช้หนังสือคัดไทยประกอบภาพ เช่น ก.ไก่ ใช้ภาพ ก.ไก่ มาประกอบ (วาโร เพ็งสวัสดิ์, ๒๕๔๔)


๑.๒ แนวทางการพัฒนา จากบทความดังกล่าวข้างต้น ผู้จัดทำเชื่อว่าครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัยเกือบทุกโรงเรียน ใช้วิธีการสอน ดังกล่าวข้างต้น เช่นเดียวกัน วิธีการสอนแบบการท่องจำเรียงพยัญชนะตามลำดับโดยใช้ชาร์ตการสอน ประกอบ ภาพ ซึ่งเด็กๆ สามารถท่องจำได้คล่อง ผู้จัดทำได้ทดลองใช้การสอนโดยเขียนพยัญชนะและถาม-ตอบ ทีละพยัญชนะ สังเกตได้ว่า นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน ไม่สามารถอ่านพยัญชนะได้เหมือน ตอนท่องจำแบบเรียงพยัญชนะ ซึ่งได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ จำนวน ๑๕ ตัว จากปัญหาและความสำคัญ ดังกล่าว ผู้จัดทำเล็งเห็นความสำคัญของสื่อและวิธีการที่จะนำมาสอน พยัญชนะไทย เพื่อให้เด็กสามารถจำลักษณะของพยัญชนะไทยที่เด็กๆ อ่านและจำไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสอดคล้อง กับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี มาตรฐานด้านพัฒนาการด้านสติปัญญา มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และมาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมี ความสามารถในการแสวงหาความรู้ให้เหมาะสมกับวัย โดยการจัดทำสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มาใช้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน ๒. จุดประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน ๒.๑ จุดประสงค์ของการดำเนินงาน ๑. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๒. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัวได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ ก่อนและหลังการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ของนักเรียนระดับชั้น อนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ๒.๒ เป้าหมายของการดำเนินงาน ๑. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ สูงขึ้น ๒. นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ หลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อ ประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มีทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยสูงกว่าก่อนได้รับการจัด ประสบการณ์โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ๓. กระบวนการ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน การส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม ๓.๑.๑ ศึกษาหลักสูตรและคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี เกี่ยวกับการมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์สาระที่ควรเรียนรู้ หลักการจัดประสบการณ์และการประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัย ๓.๑.๒ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา ด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ๓.๑.๓ สร้างสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” โดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ( Powerpoint )


๓.๑.๔ สร้างแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา ๓.๑.๕ ประเมินการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ ก่อนการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ๓.๑.๖ นำสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มาจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนระดับชั้น อนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในกิจกรรมเกมการศึกษาใช้เวลาในการทำกิจกรรม ๓๐ นาทีต่อวัน ๓.๑.๗ ประเมินการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ หลังการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA ๓.๒.๑ ขั้นวางแผน (P) ๑. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปีเกี่ยวกับการ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์สาระที่ควรเรียนรู้ หลักการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย พร้อมกับศึกษาแนวคิด ทฤษฎีงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย ๒. ออกแบบและสร้างสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ในโปรแกรมนำเสนอ ( Powerpoint ) โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ - คู่มือการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” - สร้างข้อตกลงและกติกาในการใช้สื่อ - กำหนดตารางการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ โดยจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ตั้งแต่ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ วันละ ๓๐ นาทีรวม ๑๐ วัน ๓. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ กิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน ๑ แผน ใช้จัดประสบการณ์รวม ๑๐ ครั้ง ๔. ประเมินทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน ก่อนใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ๓.๒.๒ ขั้นดำเนินการ (D) ๕. ดำเนินการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่จัดทำขึ้นจำนวน ๑ แผน ประกอบกับ สื่อประสมชุด “คล้องจองประลองไหวพริบ” โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ๕.๑ นักเรียนนั่งเข้าแถวเล่นเกมแบบกลุ่มเป็นครึ่งวงกลม ๕.๒ ครูอธิบายและขออาสาสมัครแสดงวิธีการเล่นเกม ๕.๓ ตัวแทนเด็กกดสุ่มเลขที่ในเวปไซต์วงล้อสุ่มตัวเลข https://wheelofnames.com/th/ เพื่อเลือกผู้เล่นเกมสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


๕.๔ เลขที่ใดถูกสุ่มได้ให้เป็นผู้เล่นเกมสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” และหาก ผู้เล่นเกมตอบไม่ได้ให้สุ่มเลือกเพื่อนเพื่อทำหน้าที่ตอบแทนตนเอง ๕.๕ หากไม่มีใครตอบถูกให้ผู้ที่สามารถตอบได้ยกมือเพื่อตอบและได้คะแนนไป ๓.๒.๓ ขั้นตรวจสอบ และประเมินผล (C) ๖. ประเมินทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ หลังได้รับการจัดประการณ์โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”รวม ๑๐ ครั้ง ๗. สรุปผลการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ปีที่ ๓ ก่อนและหลังใช้สื่อประสมชุด“คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ตารางเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย โดยใช้สื่อประสม “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ก่อนเรียน หลังเรียน เฉลี่ยร้อยละ คนที่ คะแนนเต็ม ๑๕ คะแนน ร้อยละ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ ครั้งที่ ๖ ครั้งที่ ๗ ครั้งที่ ๘ ครั้งที่ ๙ ครั้งที่ ๑๐ ๑ ๓ ๒๐ ๓ ๕ ๘ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๘.๖๗ ๒ ๓ ๒๐ ๓ ๔ ๙ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๘.๖๗ ๓ ๕ ๓๓.๓๓ ๓ ๔ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๒.๖๗ ๔ ๒ ๑๓.๓๓ ๒ ๔ ๑๐ ๑๒ ๑๔ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๘ ๕ ๒ ๑๓.๓๓ ๒ ๔ ๙ ๑๒ ๑๒ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๔ ๖ ๐ ๐ ๐ ๒ ๕ ๑๒ ๑๓ ๑๓ ๑๔ ๑๔ ๑๕ ๑๕ ๖๘.๖๗ ๗ ๒ ๑๓.๓๓ ๒ ๓ ๖ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๗๖ ๘ ๒ ๑๓.๓๓ ๒ ๖ ๑๔ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๑๕ ๘๔.๖๗ รวม ๑๕.๘๓ รวมหลังเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๔๒


๓.๓.๒ ขั้นปรับปรุงและพัฒนา (A) จากการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” เพื่อพัฒนทักษะการอ่านของนักเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการการอ่านสูงขึ้น ซึ่งผู้จัดทำจะนำ สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” มาส่งเสริมพัฒนาการด้านการเขียนพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ ในลำดับต่อไป ๓.๔ การใช้ทรัพยากร การส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน โดยใช้เกมการศึกษาชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ประกอบแผนการจัดประสบการณ์จำนวน ๖ แผน มีสื่อและเทคโนโลยีในการดำเนินงานที่คุ้มค่าสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนบ้านกระสัง และผู้ที่สนใจ สามารถนำไปพัฒนาเด็กด้านอื่นๆได้อีก ซึ่งมีการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานซึ่งมีอยู่แล้วในชั้นเรียน ดังนี้ ๓.๔.๑ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ๓.๔.๒ Smart TV. ๓.๔.๓ สัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการสุ่มเลขที่ในเว็ปไซต์วงล้อการสุ่ม ๓.๔.๔ สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”เป็นสื่อที่สร้างจากโปรแกรมนำเสนอ (Powerpoint) ๓.๔.๕ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษาจำนวน ๖ แผน ๓.๔.๖ แบบประเมินก่อนและหลังการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ๔. ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ ๔.๑ ผลการดำเนินการตามจุดประสงค์ ๔.๑.๑ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน มีทักษะทางภาษาด้านการ อ่านพยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๔๒ ๔.๑.๒ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีทักษะทางภาษาด้านการอ่าน พยัญชนะไทย จำนวน ๑๕ ตัวได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ หลังการใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจอง ประลองไหวพริบ” มีพัฒนาการด้านการอ่านสูงกว่า ก่อนใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” เฉลี่ยร้อยละ ๖๐.๕๙ ๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน จากการประเมินทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยจำนวน ๑๕ ตัว ก่อนใช้สื่อประสม”ชุดคำ คล้องจองประลองไหวพริบ” นักเรียนอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน มีทักษะทางภาษาด้านการ อ่านเฉลี่ยเท่ากับ ๑๕.๘๓ และการประเมินทักษะทางภาษาด้านอ่านพยัญชนะไทยนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ การศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน หลังใช้สื่อประสม “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ประกอบกับแผนการจัด ประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย ที่นักเรียนจำไม่ได้ จำนวน ๑๕ ตัว ได้แก่ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ถ ผ ฝ พ ฟ ภ ฬ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยเฉลี่ยเท่ากับ ๗๖.๔๒ ซึ่งเมื่อเทียบก่อนและหลังการใช้ใช้สื่อประสม พบว่านักเรียนมีทักษะทางภาษาด้านการอ่านสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๖๐.๕๙ ดังตารางต่อไปนี้


ตารางสรุปผลการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะ โดยใช้สื่อชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” คนที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ เฉลี่ยร้อยละ ก่อน ๒๐ ๒๐ ๓๓.๓๓ ๑๓.๓๓ ๑๓.๓๓ ๐ ๑๓.๓๓ ๑๓.๓๓ ๑๕.๘๓ หลัง ๗๘.๖๗ ๗๘.๖๗ ๗๒.๖๗ ๗๘ ๗๔ ๖๘.๖๗ ๗๖ ๘๔.๖๗ ๗๖.๔๒ ผลต่าง ๕๘.๖๗ ๕๘.๖๗ ๓๙.๓๔ ๔๔.๖๗ ๖๐.๖๗ ๖๘.๖๗ ๖๒.๖๗ ๗๑.๓๔ ๖๐.๕๙ สรุปผล สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น ๔.๓ ประโยชน์ที่เกิดจากนวัตกรรม ๔.๓.๑ ด้านผู้เรียน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน มีทักษะทาง ภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยสูงขึ้น และสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” สามารถต่อยอดไปถึง การส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนให้กับนักเรียนได้ ๔.๓.๒ ด้านครูผู้สอน ครูมีสื่อในการสอนประเภทสื่อประสม และได้ทราบผลการประเมินทักษะทาง ภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยเพื่อนำไปต่อยอด และส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนพยัญชนะไทยดังกล่าว ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดทำสื่อที่น่าสนใจและทันสมัย ๔.๓.๓ ด้านสถานศึกษา โรงเรียนมีสื่อที่สามารถนำไปเผยแพร่ให้กับ ครูในโรงเรียน ครูร่วม เครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษาอื่น ที่สนใจสามารถนำไปจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา ด้านการอ่านให้กับนักเรียนได้ ๕. ปัจจัยความสำเร็จ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยโดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลอง ไหวพริบ” เป็นอย่างดี ๖. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) การส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทยของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” เป็นเพียงการประเมินส่งเสริมทักษะทางภาษา เพียงแค่ด้านการอ่านพยัญชนะไทยเพียงจำนวน ๑๕ ตัวเท่านั้น ซึ่งผู้จัดทำจะนำมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อประสม ดังกล่าวต่อไป ๗. การเผยแพร่และการได้รับการยอมรับ (รางวัลที่ได้รับ) ๗.๑ การเผยแพร่ ๗.๑.๑ เผยแพร่สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ทางไลน์กลุ่มห้องเรียนปฐมวัย ๗.๑.๒ เผยแพร่สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ทางเพจ Facebook ๗.๑.๓ เผยแพร่สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ทางเพจช่อง Youtube ๗.๑.๔ เผยแพร่สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ทางไลน์กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


๗.๒ การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ๗.๒.๑ นำเสนอผลงาน สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” สพป.สุรินทร์ เขต ๒ ๗.๒.๒ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน ครูร่วมเครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษา อื่น ให้ความสนใจและนำไปจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านให้กับนักเรียน ๘. การขยายผลต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติ การที่จะให้เด็กเกิดทักษะทางภาษาครูควรเน้นทักษะทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ควบคู่กันไปใน การจัดกิจกรรม นอกจากนี้ในการการจัดกิจกรรมครูผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคล เพราะเด็กแต่ ละคนมีพัฒนาการทางภาษาแตกต่างกัน บางกิจกรรมเด็กบางคนอาจไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียนทำให้ตามเพื่อนไม่ทัน สื่อ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการ มีเรื่องราวเนื้อหาที่เหมาะสม ทันสมัย และหลากหลาย โดยคำนึงถึง เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งผู้จัดทำจะนำสื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” ไปต่อยอด ด้านการพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน ต่อไป


ภาคผนวก


ภาพการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


ภาพการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการอ่านพยัญชนะไทย ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยใช้สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ”


สื่อประสมชุด “คำคล้องจองประลองไหวพริบ” คิวอาร์โค้ดสื่อประสมชุดคำคล้องจองประลองไหวพริบ


Click to View FlipBook Version