The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ขันหมากเบ็งศรัทธา-สู่เครื่องบูชาคุณความดี-หลวงพ่อพระศรี-50-ปี-มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by rose.sirinapa, 2022-03-03 03:50:09

ขันหมากเบ็งศรัทธา-สู่เครื่องบูชาคุณความดี-หลวงพ่อพระศรี-50-ปี-มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขันหมากเบ็งศรัทธา-สู่เครื่องบูชาคุณความดี-หลวงพ่อพระศรี-50-ปี-มหาวิทยาลัยขอนแก่น

“ขนั หมากเบ็ง” ศรัทธา สเู่ คร่ืองบชู าคณุ ความดี หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น
พรี พล พวงทอง1

บทคัดยอ่

บทความน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็ง ประวัติความเป็นมาของ
หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นและศึกษาพิธีกรรมของการใช้ขันหมากเบ็งในการบูชาหลวงพ่อ
พระศรี 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องพร้อมกับเก็บข้อมูล
มุขปาฐะจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เห็นถึงความสาคัญของวัฒนธรรมและประเพณีไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์
สบื สานวฒั นธรรมและประเพณีไทย ใหค้ งอยคู่ สู่ ืบไป

วัฒนธรรมและประเพณีไทยมีความสาคัญเป็นอย่างมาก ซ่ึงเป็นวิถีชีวิตของชาวพุทธที่สืบทอดกันมา
อย่างยาวนาน การกราบไหว้สกั การะ บูชาพระพุทธศาสนาด้วยขนั หมากเบ็งก็ถอื วา่ เป็นอีกหน่ึงวฒั นธรรมไทยที่
ชาวอีสานให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากขันหมากเบ็งเป็นงานประดิษฐ์ท่ีทาด้วยมือ มีความประณีต
ละเอียดอ่อน ผลผลิตที่ออกมาล้วนมีคุณค่าโดยเป็นลักษณะท่ีสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นงาน
ประดิษฐ์ของแต่ละท้องถ่ิน โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวสู่ลูกหลาน หลายอย่างท่ี
ทาขึน้ เพื่องานประเพณที างศาสนา อีกท้ังยังเป็นการส่งเสรมิ ให้คนไทยเกดิ การเรียนรู้อยา่ งต่อเนื่องตลอดชีวิต

ทงั้ นี้ ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลยั ขอนแก่น ยงั มอี งค์พระพุทธรปู ไม้ขนาดใหญ่ ได้ประดิษฐาน ณ
ท่ีแห่งน้ี ชื่อว่า หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พระศรีปัญญาสภูริฐาน) จึงทาให้ชาว
มหาวิทยาลัยขอนแกน่ ได้มีความเช่ือ ความศรัทธา ได้นาขันหมากเบ็งมาสักการะ กราบไหว้ บูชา เพื่อความสิริ
มงคลต่อตนเอง
คาสาคญั ขนั หมากเบง็ ความเช่อื หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแกน่

1 นกั ศกึ ษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลกั สูตรศลิ ปศาสตรบณั ทติ สาขาวชิ าภาษาไทยเพ่ือการสือ่ สาร คณะมนุษยศาสตร์และ
สงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อดุ รธานี

บทนา

ประวัติศาสตร์ก่อเกิดและดาเนินมาบ่งบอกถึงวิถีชีวิตของมวลมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหน่ึงที่
แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของคนรุ่นแล้วรุ่นเล่าท่ีส่งผ่านความเจริญมาจนถึงปัจจุบัน หลากหลาย
เร่ืองราวในประวัติศาสตร์ได้รับการเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักของคนท่ัวไป แต่บางเรื่องราวกลับหล่นหายไปจาก
หน้าประวัติศาสตร์แต่ใช่ว่าจะไม่มีใครให้ความสนใจเพื่อสืบเสาะหาความเป็นจริง จากการค้นหาด้วยความ
พากเพยี รพยายามนั้น ทาใหภ้ าพประวตั ศิ าสตรป์ ระเพณตี า่ ง ๆ กลับมาโลดแล่นใหม้ นษุ ยไ์ ด้รับรู้อกี ครงั้

มนุษย์เม่ืออยู่รวมกันก็มีวัฒนธรรมท่ีแตกต่างกัน การพัฒนาของมนุษย์ได้มีการเปล่ียนไปตามยุคสมัย
ในแต่ละชนชาติก็มีความเช่ือและความศรัทธาที่แตกต่างกัน “ประเพณีเป็นแบบอย่าง ความประพฤติ
ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีมีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์และมีความสาคัญต่อสังคม เช่น
การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ฯลฯ ประเพณีล้วนได้รับอทิ ธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
ทเ่ี ข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดาเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถี
แห่งการดาเนินชีวติ ของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธพิ ลตอ่ ประเพณีไทยมากท่ีสดุ และชี้ให้เห็นว่าชาวไทย
ให้ความสาคัญในการบารุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมท่ีงดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาต้ังแต่
โบราณกาลมา” แต่เม่ือมนุษย์มีความเป็นอยรู่ ่วมกัน จึงได้แบง่ แยกความศรัทธาที่เรียกว่า ศาสนา ออกไป เช่น
ศาสนาคริสต์, ฮินดู, อิสลาม, พุทธ แต่ละศาสนาก็มีประเพณีและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ในศาสนา
พุทธ ได้มีพิธีกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานแต่ง งานศพ งานบวช เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีการใช้
ประเพณีในทางศาสนาเข้ามามีบทบาทท้ังส้ิน การบูชาในแต่ละของศาสนิกชนที่นับถือศาสนานั้น นาไปสู่
ความเชอ่ื ศรทั ธาทล่ี ึกซงึ้ รวมถงึ เกิดความร้สู ึกภาคภมู ิใจในศาสนาทีต่ นเองนบั ถอื

การแสดงความเคารพบูชาในศาสนาพุทธก็มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปดังท่ีได้กล่าวแล้ว แต่ส่ิงหนึ่ง
ได้ยึดถอื ปฏิบตั ิสืบกันมาจนชว่ั ลูกชว่ั หลาน คือการทาพานบายศรีซึ่งมีสิ่งหนง่ึ ท่ีประกอบอยดู่ ้วยคือขันหมากเบ็ง
ซึ่งถอื ว่าเปน็ เครื่องสูง ซึ่งมิเพียงแต่จาเป็นในการนาไปถวายพระหรือใชใ้ นกิจกรรมทางศาสนา แต่ยังเปน็ เครื่อง
ท่ีใช้สักการะผู้มีพระคุณผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น บิดามารดา และผู้ปกครองแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์
เปน็ ตน้

หมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบ็ง จึงเป็นส่ิงสาคัญของประเพณีไทยโดยเฉพาะในภาคอีสาน ขันหมากเบ็ง
จาเป็นผลงานของมนุษย์โดยตรง เป็นงานประดิษฐ์ท่ีทาดว้ ยมือ มีความประณีต ละเอียดอ่อน ผลผลิตท่ีออกมา
ล้วนมีคุณค่าโดยเป็นลักษณะที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นงานประดิษฐ์ของแต่ละท้องถิ่น
โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวสู่ลูกหลาน หลายอย่างท่ีทาขึ้นเพื่องานประเพณี
ทางศาสนา อีกทั้งยังเป็นการส่งเสรมิ ให้คนไทยเกดิ การเรยี นรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชวี ิต

ท้ังน้ี ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นยังมีองค์พระพุทธรูปไม้ขนาดใหญ่ ได้ประดิษฐาน ณ
ท่ีแห่งน้ี ชื่อว่า หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พระศรีปัญญาสภูริฐาน) จึงทาให้ชาว
มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่นได้มคี วามเชอื่ ความศรทั ธา ไดน้ าขันหมากเบง็ มาสกั การะ กราบไหว้ บชู า

จากข้อมูลข้างต้น ผู้จัดทามีความสนใจท่ีจะศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อ ความศรัทธา และ
พิธีกรรมในการใช้ขันหมากเบ็งบูชาองค์พระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะ
ศึกษาและเป็นหลักฐานในการศึกษาให้แก่คนรุ่นหลังได้ศึกษา พร้อมทั้งร่วมสืบสานพิธีกรรมการกราบไหว้
สักการะ บูชา โดยการใช้ขันหมากเบ็งและเผยแพร่วัฒนธรรมอันดี อีกท้ังยังทาให้ภูมิปัญญาน้ีคงอยู่กับ
ประชาชนชาวพุทธในปจั จบุ นั ต่อไป

ประวตั คิ วามเปน็ มาของหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

ภาพประกอบท่ี 1 หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

ความเป็นมา ของการสร้างหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี
ดาริในการสร้างพระพุทธรูปเพ่ือเป็นสักการบูชาและเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรและประชาชนทัว่ ไป ในวาระ 50
ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ดร.นิยม วงศ์พงษ์คา รองอธิการบดีฝ่าย
ศลิ ปวัฒนธรรมและชมุ ชนสัมพนั ธ์ ผูไ้ ด้รบั มอบหมายให้ดาเนินการสร้าง ได้กาหนดรปู แบบการสร้างพระพุทธ
จากฐานความรู้งานวิจัยที่ศึกษาเรือ่ งพระพทุ ธรูปไม้ในภาคอสี าน ในการสร้างพระพุทธรูปไม้ในโอกาสสาคัญย่ิง
นี้ มีกระบวนการมสี ่วนรว่ มจากบุคลากรและชุมชนหลายฝา่ ย ตัง้ แต่ขัน้ ตอนการออกแบบและคัดเลือกไม้มงคล
ตลอดจนกระบวนการแกะสลักองค์พระซึ่งมุ่งสะท้อนความงดงามของพระพุทธรูปผ่านศิลปะและวัฒนธรรม
ทอ้ งถน่ิ อสี าน จึงสาเร็จเป็นพระพุทธรูปไม้สกั ทองท้ังองค์ปางมารวิชยั หนา้ ตักกว้าง 2.40 ซม. สูง 3.20 ซม.
นับเป็นพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่ท่ีสุดท่ีสะท้อนอัตลักษณ์ของอีสานตามต้นแบบของหลวงพ่อพระใสที่สร้าง ใน
สมัยพระเจา้ ไชยเชษฐาธิ-ราชแหง่ อาณาจักรล้านช้าง มีชอื่ ว่า “หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลยั ขอนแก่น”
หรือ “พระศรปี ัญญาสภูริฐาน” หมายถึง หลวงพอ่ พระศรีทป่ี ระดษิ ฐานไว้ ณ แหล่งภูมิปญั ญาดงั แผ่นดิน ใน
วาระ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น กบั คติดา้ นพทุ ธประวัติตาม
คติด้านพุทธประวัติ หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นับเป็นพระพุทธรูปไม้ที่สร้างขึ้นตาม
หลักการสาคัญของสร้างพระพุทธรูปซึ่งถ่ายทอดมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ อันเป็นพระรูปกายของ
พระพุทธเจ้าท่ีมองเห็นได้ และเป็นส่ือถ่ายทอดพุทธประวัติอันเป็นท่ีมาของพุทธรูปปางมารวิชัยตอนหน่ึงว่า
ในคราวท่ีพระมหาบุรุษประทับนั่งท่ีโคนต้นโพธ์ิซ่ึงเรียกว่า โพธิบัลลังก์ เพื่อทรงบาเพ็ญเพียรอยู่นั้น มีการ
กล่าวถึงเหตุการณ์เป็นบุคลาธิษฐานว่า พญามารพร้อมด้วยเสนามารเป็นจานวนมาก ยกทัพแห่งมารมาเพ่ือ
ทาลายความเพียรของพระองค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ แม้กระท่ังตู่โพธิบัลลังก์ว่าเป็นของพญามาร พระมหาบุรุษ
ต่อสู้พระบารมีคือความดีที่ได้ทรงบาเพ็ญไว้ในอดีตหลายแสนชาติจนนับไม่ถ้วน โดยทรงช้ีน้ิวพระหัตถ์ลงบน
พื้นปฐพีเป็นนัยวา่ แผ่นดินน้ีเป็นพยานของพระองค์ ยังผลใหพ้ ญามารและเสนามารพ่ายแพก้ ลบั ไปในที่สุดจาก
เร่ืองราวในพุทธประวัติดังกล่าวจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้น โดยสร้างพระพุทธรูป

ในพระอิรยิ าบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซา้ ยวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาคว่าลงท่พี ระชานุ(เขา่ )
นิ้วช้ีลงที่พ้ืนปฐพีหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับความสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นอีสาน การ
ดาเนินการสร้างหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งให้เกิดความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและชุมชน
โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน มีพิธีกรรมตามคติความเชื่อ ความศรัทธา และความสามัคคีของ
ชุมชนท้องถ่ินอีสาน ที่จะทาให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่เช่ือมโยงกับชุมชนท้องถ่ินอย่าง
ยง่ั ยืนดังนั้น ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ โดยสานักวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ร่วมกับวัด
ไชยศรี จึงกาหนดให้มีการสมโภชหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นตามประเพณีท้องถิ่น
อีสาน โดยมีพิธีกรรมท่ีผนวกเข้ากับงานบุญประเพณีฮีตเดือน 3 คือ บญุ ข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน ในวันท่ี
14-15 กุมภาพันธ์ 2558 ณ วัดไชยศรี ตาบลสาวะถี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ประชาชนท่ัวไป
ได้มีโอกาสสักการบูชาเป็นสิริมงคล และตระหนักในการอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
อีสานสืบไป (ศนู ยศ์ ลิ ปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , 2564 : ออนไลน์)

ผู้จัดทาได้ลงพ้ืนที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติค วามเป็นมาของหลวงพ่อพระศรี 50 ปี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นซ่งึ ได้ขอ้ สรุปดงั นี้

หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแนวคิดของรองศาตราจารย์ ดร.นิยม วงศ์พงษ์คา
รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่เป็นนักวิจัย
พระพุทธรูปไม้อีสาน หลวงพ่อพระศรี เป็นพระพุทธรูปไม้ของอีสาน เป็นการจาลอง หรือเป็นการได้รูปแบบ
มาจากหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย รูปร่างหรือรูปทรง พระพุทธรูปไม้อีสาน ซ่ึงก็มาจากแนวความคิด
หรือคติแนวความคิดการสร้างพระพุทธรูปไม้ของวัฒนธรรมล้านช้าง พระพุทธรูปไม้องค์หลวงพ่อพระ
มกี ารแกะสลักสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งชื่อหลวงพ่อพระศรี เป็นช่ือท่ี
เรียกโดยทั่วไปว่าองค์หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้นามาประดิษฐาน ตั้งท่ีบึงสีฐาน
บึงสีฐานเป็นแหล่งท่ีศักด์ิสิทธ์ิ เป็นแหล่งความเช่ือของชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมท้ังเป็นสถานท่ีทาง
วัฒนธรรมธรรม เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้ สักการะ บูชา ขอพรเพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเอง
ทง้ั น้ียงั เปน็ การอนรุ กั ษพ์ ระไมใ้ ห้อยคู่ กู่ ับสังคมไทยเพื่อใหค้ นรุ่นหลงั ได้ศึกษาและเรยี นรู้ต่อไป

ประวตั คิ วามเป็นมาของขนั หมากเบง็

ภาพประกอบท่ี 2 ขันหมากเบ็ง (ขนั หมากเบง็ โบราณ, 2565 : https://www.pinterest.com)
ขันหมากเบญจ์ หรือ ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการะชั้นสูง มีมาแต่โบราณในอาณาจักรไท ย

ท้ังในล้านนา (หมากสุม่ หมากเบง) ลา้ นช้าง (ขันหมากเบ็ง หมากเบญจ์) เปน็ บายศรีโบราณ อายุนับหลายพนั ปี
มีจารึกในใบเสมาทวารวดี ประวัติที่ชัดเจนของขันหมากเบ็งตามหนังสือผูกใบลานกล่าวถึงขันหมากเบ็ง ดังนี้
“ศกั ราชได้สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช พระเจ้าแผ่นดินชวาเชียงทอง (ล้านชา้ ง) มีอคั รมเหสีจากกรุงกมั ปูชานคร
วัดนครทมนามว่า นางแก้วเกงยา (นางแก้วกัลยา) ตามจาฮีตด้ังเดิมในราชอาณาจักรน้ันต้ังมีการบรวงสรวงผี
มเหศักด์ิหลักเมืองเพราะล้านช้างยังนับถือผีอย่างกล้าแข็ง พระองค์ท้ัง 2 เสร็จประทับในพลับพลา ปะราพิธี
เลี้ยงผีเมืองผีแถนหลวงของล้านช้าง ตามจารีตนั้นบรรดา เสนาอามาตย์ ต้องฆ่าควายเพื่อเซ่นสรวงผีท้ังหลาย
ด้วยการแทงคอ ให้เลือดบูชา ผีที่นับถือเหล่านั้นเมื่อพระนางแก้วเกงยาทอดพระเนตร จึงเกิดสมเพชเวทนาใน
สัตว์ทั้งหลาย จึงใช้ ความให้นางข้าหลวงของไปทูลพระราชบิดาที่กรุงกัมปูชา เพ่ือนาเอาพระศาสนามาประดับ
ไว้ ในล้านช้าง คราน้ันกรุงกัมปูชาจึงได้พระราชทานคาภีร์พุทธศาสนา นาพระสงฆ์และพระบาง(พระพุทธรูป)
มาประดิษฐานไวท้ ช่ี วาเชียงทอง”

ชาวเมืองไพร่ฟ้าเม่ือได้รบั รู้ข่าวการมาถึงของพระบางในอาณาจักรลา้ นช้าง ต่างโสมนัสปลื้มปตี ิเป็นอัน
มาก จึงพรอ้ มใจกันประดิษฐ์ขันหมากเบ็งดว้ ยใบตองดอกไม้ หมากพลู เพื่อต้อนรับสักการบูชา การมาของพระ
บางปีน้ัน ชวาเชียงทองจึงได้เปลยี่ นช่ือเป็นเมืองหลวงพระบางแต่นั้นเป็นต้นมาอานิสงสก์ ารถวายขันหมากเบ็ง
คือ จะได้ไปบังเกิดในสรวงสวรรค์ เสวยสุขแสนกัป มีปราสาทสูงหมื่นโยชน์ เป็นที่รักของเทวดาอินทร์ พรหม
ท้ังปวง และไปไหว้พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีตลอดอสงไขยภัทรกัป เมื่อละจากสรวงสวรรค์แล้วก็จะได้เป็น
ปจั เจกบุคล อรยิ บคุ คล ตามปารมีน้ันแล

หมากเบญจ์ หรือขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการะของวัฒนธรรมล้านช้าง เดิมใช้สาหรับบูชา
ในพระพุทธศาสนา คงมีมาเป็นพันเป็นร้อยปีแล้วกระมัง เพราะในหลักเสมาสมัยทวารวดีของอีสานก็พบว่ามี
ลวดลายทานองกะจังกลีบบายศรีปรากฏอยู่บ้าง หมากเบ็งมีคติมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซ่ึงเป็น
แกน่ สารสารัตถะของคาสอนเรือ่ ง ขันธ์ 5 และไตรลกั ษณ์ คาวา่ หมาก หมายถงึ กอง, หนว่ ย, ผล คาวา่ หมาก ณ
ท่นี ี้ ไม่เก่ียวกับหมากสาหรับเค้ียวหรือหมากท่ีใช้ทาหมากสุ่มในวัฒนธรรมล้านนาแต่ประการใด และคาว่ามาก
น้ตี รงกับคาว่า ขันธ์ ในภาษาบาลี ส่วนคาวา่ เบ็ง บ้างเขยี นเป็น เบง็ หรือ เบญจหมายถึง จานวน 5 หรือเลข 5
มาจากคาว่า เบญจ ปัญจ ในภาษาบาลี และมีความหมายเดียวกันกับคาว่า เบ็งเบญเบ็ญ ในภาษาลาวที่รับมา
จากภาษาบาลี ดังน้ันคาว่า หมากเบ็ง จึงหมายถึง กองท้ัง 5 ซ่ึงหมายถึง ขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนา
อนั ประกอบดว้ ยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ทั้ง 5 นเ้ี ปน็ กองทร่ี วมกนั เข้าเป็นสัตว์ทั้งหลายใน
โลก หากสัตว์ไม่มีขันธ์สัตว์ก็ไม่เป็นสัตว์ บุคคลก็ไม่มีบัญญัติ ไม่เป็นตัวเป็นตนมาเสวยชาติเสวยภพ ธรรม
ทั้งหลายก็อนุเคราะห์แลสงเคราะห์เข้าในขันธ์ 5 นี้เอง มีอาทิ ธาตุ 4 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22
นักปราชญช์ าวลาวล้านช้างท้ังหลายทั้งมวลจึงเอาขันธ์ทั้ง 5 ในตนประดิษฐ์ถ่ายทอดออกมาเป็นหมากเบ็ง เพื่อ
น้อมสักการะพระไตรรัตน์ท้ัง 3 เป็นการราลึกถึงพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสสอนให้สัตว์้ทั้งหลายรู้จักรูปขันธ์ทั้ง 5
ดังสานวนผญาธรรมว่า “ท่านเพิ่นผู้ฮู้รู้ธรรมจึ่งเอาธรรมเข้าไหว้สาบานนบธรรมะขององค์พระสัมมา
สมั พทุ ธเจา้ ”

ขันหมากเบญจ์ คือ พานพุ่มดอกไม้ท่ีใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวัน
อุโบสถ หรือวันสาคัญทางระพุทธศาสนา รวมทั้งการนาไปบูชาวิญญาณ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
โดยนาไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทาด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องส่ีเหลี่ยม
ขนาดส่ีน้ิวฟุต สาหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา ขันหมากเบ็ง นิยมทาหลายรูปแบบ
เช่น ขันหมากเบ็งแบบเป็นกาบ โดยใช้สามเหล่ียมคล้ายเจดีย์ เป็นขันหมากเบ็งแบบด้ังเดิมหรือแบบโบราณ
ขันหมากเบ็งแบบนิ้ว โดยใช้นิ้วบายศรีทาเป็นแม่สี่มุม เป็นขันหมากเบ็งที่ผสมผสานและพัฒนามาจากรูปแบบ
ของขันหมากเบ็งแบบด้ังเดิม ขันหมากเบ็งประเภทน้ีส่วนใหญ่เรียกว่า ขันหมากเบ็งประยุกต์ จะมีการประดับ
ตกแตง่ ด้วยลวดลายของศิลปะงานใบตองที่วิจติ รมากข้นึ สาหรับเครอื่ งบชู า 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทยี น
ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ นิยมใช้เป็นเครื่องประกอบในการสักการบูชาหรือเครื่องพลีกรรม ดอกไม้ซ่ึง
เป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทาให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปี (ดอกบานไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทาให้
อายมุ น่ั ขวญั ยืน ดอกรกั (ทาใหเ้ กิดความรัก) ดอกบวั (พระรตั นตรัย)

รู้ธรรมะคือ รู้ขันธ์ 5 เอาธรรมะคือ เอาหมากเบ็งตัวแทนแห่งขันธ์ 5 ไหว้ธรรม คือ ไหว้พระรัตนตรัย
โดยลกั ษณธรรมแล้วขนั ธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยงหรอื อนิจจังเปน็ ทุกข์คอื ทุกขงั ไม่มีตัวตนคืออนัตตา อันหมายถงึ กฎ
ไตรลักษณ์ทั้ง 3 โบราณจึงเอาต้นกล้วยมาทาหมากเบ็งเพราะต้นกล้วยและใบกล้วยเป็นตัวแทนของไตรลักษณ์
เวลาปลูกกล้วยก็ไม่มีรากให้เกิด ไม่มีแก่นให้หา แกะเปลือกออกก็แกะไปเร่ือยๆ หาแก่นไม่พบ ไมม่ ีสารตั ถะอัน
ใดให้ยึดถือ ต่างจากไม้อื่นที่มีราก มีเปลือก มีแก่น ดังนั้น ช่างล้านช้างโบราณจึงเอาปรัชญาธรรมแฝงคติน้ีมา
สรา้ งเป็นหมากเบง็

ผ้จู ัดทาได้ลงพืน้ ทสี่ มั ภาษณเ์ ก็บข้อมูลเกย่ี วกับประวตั ิความเปน็ มาของขันหมากเบ็งซ่งึ ได้ขอ้ สรุปดังนี้
ขันหมากเบ็ง คือ เครื่องสักการะ บูชาท่ีสาคัญ เพราะการทาขันหมากเบ็งนั้นเกิดข้ึนมาจากใจใช้ใจทา

เพื่อสร้างศรัทธาให้กลายเป็นรูปธรรม ท่ีบูชากราบไหว้พระพุทธรูป ซ่ึงเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า จะต้อง
ศรัทธาตัวแทนศรัทธาท่ีเป็นรูปธรรมต้องมาจากใจ เพราะฉะนั้นขันหมากเบ็งกับหลวงพ่อพระศรี 50 ปี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงกลายเป็นของคู่กันตั้งแต่นั้นมา เพราะถือได้ว่าเป็นเครื่องบูชาท่ีเกิดจากความต้ังใจ
เพื่อสร้างคุณงามความดีท่ีมากจากใจอันบริสุทธ์ิ ดังน้ันการทาขันหมากเบ็งมาบูชาเป็นการนอบน้อมด้วยใจ
ศรัทธาทแ่ี นว่ แน่

จากความเชื่อความศรัทธาที่ทาสืบทอดกันมาต้ังแต่บรรพบุรุษ ส่งผลให้ปัจจุบันได้มีการอนุรักษ์
สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามไว้ นัน่ ก็คือ การนาขนั หมากเบ็งมาบชู าองคพ์ ระสัมมาสัมพทุ ธเจา้

ภาพประกอบที่ 4 ขันหมากเบง็ บชู าหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแกน่
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอีกหน่ึงสถานท่ีท่ีรวบรวมศิลปวัฒนธรรมให้ผู้คนได้ไป
ศึกษา เรียนรู้ อีกทั้งยังมีส่ิงศักด์ิสิทธ์ิให้ผู้คนได้กราบไหว้ สักการะ ขอพร น่ันก็คือ หลวงพ่อพระศรี 50 ปี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นพระไม้ที่มีขนาดใหญ่ท่ีสุดในภาคอีสาน ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงนิยมมา
กราบไหว้ สักการะ บูชา ขอพร สาหรับในการมากราบไหว้บูชาน้ันจะต้องนาขันหมากเบ็งมาบูชาเท่าน้ันเพราะ
มีความเชื่อว่าการบูชาด้วยขันหมากเบ็งเป็นการถวายชีวิตเข้าสู่คุณงามความดี อีกอย่างหน่ึงก็คือเป็นการ
เสริมสร้างความประณีต ความต้ังใจ ในการทาขันหมากเบ็งมาบูชาด้วยจิตใจท่ีแน่วแน่ ด้วยเหตุต่าง ๆ ท่ีกล่าว
มาข้างต้นจึงทาให้ประชนหรือผคู้ นท่ีมากราบไหว้ จะต้องนาขันหมากเบ็งมาด้วยเพราะเช่ือว่าจะเสรมิ สร้างคุณ
งามความดใี ห้กับชวี ิต และเสรมิ สร้างความเปน็ สิริมงคลให้กบั ตนเอง

บรรณานกุ รม

จันทนา เพชรสงคราม. (2543). งานใบตอง. พิมพค์ ร้งั ท่ี 7. กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นาพานชิ .
ธวัช ปุณโณทก. (2530). “คติความเช่ือพ้ืนบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมอีสาน,” ในวัฒนธรรม

พ้นื บ้าน: คตคิ วามเช่อื . หนา้ 350-392.กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.
ธวชั ปณุ โณทก. (2538). วัฒนธรรมพ้ืนบา้ น : คตคิ วามเชอื่ . กรงุ เทพฯ ; จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
นิยม วงศ์พงษ์คา. รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์. สัมภาษณ์ : 28 มกราคม

2565
ปรีชา ปริญญาโณ,พระมหา. (2525). ประเพณีไทยโบราณอีสาน. พิมพ์คร้ังที่ 5. อุบลราชธานี :

โรงพิมพศ์ ริ ิธรรม.
พรรษชล แข็งขนั . (2561). “ขนั หมากเบ็ง” วฒั นธรรม ความเชือ่ ของชาวอสี าน. (ม.ป.พ.) .
พระอริยานุวัตรเขมจารี. (2528). คติความเช่ือของชาวอีสาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวทิ ยาลัย.
วรศักด์ิ วรยศ. ผู้อานวยการศูนยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม. สัมภาษณ์ : 28 มกราคม 2565
หอมหวล บัวระพา. ทีป่ รึกษาศนู ยศ์ ิลปวฒั นธรรม. สัมภาษณ์ : 7 กมุ ภาพันธ์ 2565
อริยานุวัตร เขมจารีเถระ,พระ. (2520). บายศรีสู่ขวัญ ในหนังสือชุดความรู้มรดกอีสาน ฉบับอนุรักษ์

วรรณคดีอสี าน เก่ียวกับชวี ิต. มหาสารคาม : วิทยาลยั ครมู หาสารคาม.
เทพพร มังธานี. (ม.ป.ป.). “พระศรีปัญญาสภูริฐาน หลวงพ่อพระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น”.

สืบค้นเมอื่ 25 ธันวาคม 2564, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/4-2/


Click to View FlipBook Version