บ้านเราคลองจันดี
“เมืองเกษตรธรรมชาติ ตลาดน้ำจันดี
บะหมี่เกี๊ยวโบราณ นมัสการพ่อท่านคล้าย
สะพานโค้งรถไฟ 100 ปี ”
รวบรวมโดย
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 1/2564
นางสาวสุภาวรรณ เพชรน้อย
รหัสนักศึกษา 6116209001190
นางสาววราลักษณ์ ดวงใส
รหัสนักศึกษา 6116209001212
นายฉัตรติพงศ์ ศิลปรัศมี
รหัสนักศึกษา 6116209001144
“ สามัคคี ”
หรือการปรองดองกัน ไม่ได้หมายความว่า
คนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง...คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด
ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย
ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน
แม้จะขัดกันบ้าง...ก็ต้องสอดคล้องกัน
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
5 ธันวาคม 2536
คำนำผู้เขียน
หนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตำบล จันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภายในเล่มมีเนื้อหาทั้งหมด 5 ส่วน ประกอบไปด้วย ส่วนที่1 ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนที่2
โครงสร้างชุมชน ส่วนที่3 โครงสร้างเศรษฐกิจเเละอาชีพ ส่วนที่4 สถานที่สำคัญ เเละส่วนที่5
การวิเคราะห์ศักยภาพตำบลซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ของนักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่1/2564
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาวิชา อาจารย์วาสนา จาตุรัตน์ ที่ให้คำปรึกษา เเละเเนะนำ
ให้หนังสือเล่มนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เเละขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมี
ประโยชน์แก่ผู้อ่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ 1
9
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 17
ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 22
ส่วนที่ 3 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 28
ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ
ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
สารบัญรูปภาพ
ภาพที่ 1 ตำบลจันดี 1
ภาพที่ 2 การเสี่ยงทาย 14
ภาพที่ 3 ตรุษจีนจันดี 15
ภาพที่ 4 สรงน้ำพ่อท่านคล้าย 16
ภาพที่ 5 วิถีชีวิตคลองจันดี 18
ภาพที่ 6 ช่างปั้นจอกดิน 19
ภาพที่ 7 โรงงานดินทองจันดี 20
ภาพที่ 8 ตลาดคลองจันดี 23
ภาพที่ 9 ตลาดคลองจันดี 24
ภาพที่ 10 สะพานโค้งร้อยปี 25
ภาพที่ 11 ยาหมอเหมีย 27
สารบัญตาราง
ตารางที่ 1 จำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร จำแนกตามเพศ 12
ตารางที่ 2 เวลาการประชุมคริสตจักรในคลองจันดี 26
ส่วนที่ 1
ข้อมูลพื้นฐาน
1
1.1 ประวัติความเป็นมา
“เมื่อก่อนตลาดจันดีนั้นเป็นที่ป่ารกทึบไม่มีบ้านคน แต่ต่อมามีคนจีน
จากแผ่นดินใหญ่ชื่อว่า ลิ้ม กา เฉื้อง ได้มาอาศัยอยู่ในบริเวณตลาดจีนจันดีแห่ง
นั้น เขาได้ลี้ภัยจากสงครามเดินทางรอนแรมมาโดยการนั้นเรือสำเภาอพยพมา
ที่ปีนัง มีเสื้อผ้าชุดเดียว เสื่อผืนหมอนใบ ใช้เวลาเดินทาง 7 วัน 7 คืน พอมาถึง
แล้วก็ทำงานเป็นจับกังอาศัยอยู่ที่นั้นซักพักเพื่อเก็บเงินประทังชีวิต ต่อมาก็เดิน
ทางต่อมายังประเทศไทย โดยใช้วิธีการเดินเท้ามาเรื่อย ๆ ระยะเวลาในการเดิน
ทางไม่แน่ชัด จนมาถึงที่ป่ารกทึบกว้างขวาง และไม่มีคนไทย หรือผู้คนอยู่เลย
เขาเลยตัดสินใจตั้งรกรากที่นั่น และดำรงชีวิตด้วยการปลูกข้าว เลี้ยงปลา เพื่อ
ใช้ประทังชีวิต ต่อมาก็มีคนจีนที่ลี้ภัยมายังปีนังก็เดินทางตาม ลิ้ม กา เฉื้อง มา
พอมาถึง ลิ้ม กา เฉื้อง ก็ได้บอกให
้คนจีนกลุ่มหลัง จับจองพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐาน
ในเวลานั้นบริเวณตรงนั้นมีบ้านอยู่เกือบสิบหลังโดยบ้านที่สร้างจากการสาน
ไม้ไผ่เป็นผนัง และใช้ใบจากมามุงหลังคา คนไหนที่ขยันหน่อยบ้านก็แข็งแรงดี
ส่วนคนที่ ขี้เกียจก็จะเอาเศษไม้มาเรียงต่อ ๆ กัน จนเป็นผนังเต็มไปด้วยรู และ
ไม่แข็งแรง ซึ่งในเวลานั้น ทุกคนต่างไม่มีรายได้ ได้แต่ปลูกข้าวกินกันเองแบ่ง
กันเหมือนเป็นหมู่บ้านของพี่น้องกัน” (สมพร เชื้อเหล่าวานิช, สัมภาษณ์เมื่อวัน
ที่ 6 สิงหาคม 2564)
2
“ชุมชนจันดีในอดีตเป็นชุมชนเล็ก ๆ ซึ่งมีประมาณ 10 ครัวเรือน เห็นจะ
ได้ ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ริมคลองในเขตวัดจันดี ซึ่งมีเชื่อเรียกว่า วัดทุ่งปอนในสมัย
นี้ ในอดีตชุมชนแห่งนี้จะเรียกว่าชุมชนลุ่มน้ำคลองจันดี การเดินทางหรือการ
ค้าขายในสมัยก่อนจะใช้ทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาได้มีเส้นในการเดินทางหรือ
ค้าขายเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คือ ทางรถไฟ ซึ่งหากมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของคลองจันดี แต่ก็ยังคงไม่มีสถานีรถไฟ หากใครจะใช้เส้นทาง
เดินทางโดยรถไฟ ก็จะต้องไปขึ้นที่สถานีฉวาง และต่อมาไม่นานก็จะมีคนจีน
จากโพ้นทะเลเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนจันดีเป็นจำนวนมากขึ้น และต่อมาได้มี
การก่อสร้างตั้งสถานีรถไฟที่คลองจันดี การเดินทางทางรถไฟก็เริ่มที่จะสะดวก
ขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้น จากคำว่าชุมชนคลองจันดีในสมัยโบราณได้ถูก
เรียกให้สั้นลงว่า “จันดี” ต่อมาไม่นานจันดีก็ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้
เป็นแบบ “สุขาภิบาล” แต่ตั้งอยู่ในตำบลฉวาง และต่อมาได้เป็นเป็นเทศบาล
ตำบลจันดี” (นิตยา แซ่จู, สัมภาษณ์ว
ันที่ 6 สิงหาคม 2564)
3
“ชุมชนแห่งนี้ได้มีการตั้งชื่อจากพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์โดยพ่อท่านคล้าย
บอกว่าที่นี่เป็นที่ที่ดี เลยตั้งชื่อว่าคลองจีนดี แต่ได้มีการเขียนป้ายสถานีว่าผิดเป็น
คลองจันดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเลยเรียกติดปากว่า คลองจันดี และที่ดินที่นี้ชาว
บ้านจะไม่เสียค่าเช่า แต่ที่ดินแห่งนี้จะซื้อขายไม่ได้ เนื่องจากที่ดินบริเวณนี้เป็น
ของการรถไฟ เพราะวันหนึ่งวันใดการรถไฟมีแผนจะเพิ่มรางขยายสถานชาวบ้าน
ก็ต้องย้ายออกโดยไม่มีข้อแม้ใดๆและการสร้างถนนเส้นหลักทั้งหมดเกิดขึ้นจาก
น้ำพักน้ำแรงของชาวจันดีทั้งหมดโดยไม่มีหน่อยงานใด ๆเขามาช่วยโดยถนนเริ่ม
จากหน้าสถานีรถไฟคลองจันดียาวไปถึงคลองคุดด้วนซึ่งเป็นระยะทางทั้งหมด
ประมาณ 5 กิโลเมตรโดยการช่วยกันคนละไม้คนละมือช่วยกันขุดดินข้างๆมาถม
ถนนเพื่อให้เชื่อต่อกับตำบลอื่นๆเพื่อให้การเดินทางไปมาระหว่างตำบลสะดวก
ขึ้น” (กานต์ แซ่ตั้ง, สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2564)
รูปภาพที่ 1 ตำบลจันดี
ที่มา : โกปิง จันดี.(2564)
4
1.2 อาณาเขตตำบล
เดิมเทศบาลตำบลจันดี มีพื้นที่รับผิดชอบ 6.5 ตารากิโลเมตร เมื่อ
กระทรวงมหาดไทยได้ ประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลจันดี เข้าเป็น
เทศบาลมีพื้นที่รับผิดชอบ 33.23 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของ
ตำบลจันดีทั้งตำบลประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 ท่าสะท้อน
หมู่ที่ 2 ปากมิน
หมู่ที่ 3 จันดี
หมู่ที่ 4 ตลาดจันดี
หมู่ที่ 5 เกาะค่างขาว
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลไ
สหร้า ตำบลละอาย อำเภอฉวาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลไสร้า อำเภอฉวาง
(แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
1.3.1 ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำไหลผ่าน จำนวน 1 สายคือคลองจันดีซึ่ง
ใช้ในการประกอบการเกษตรกรรม
1.3.2 ทรัพยากรป่าไม้ ไม่มีป่าชุมชน
1.3.3 สภาพแวดล้อม ไม่มีปัญหาเรื่องมลภาวะเป็นพิษ เนื่องจาก
ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่การกำจัดขยะมูลฝอยต่างๆส่วนใหญ่
เทศบาลดำเนินการจัดเก็บ (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี ,
พ. ศ. 2561-2565)
5
1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
1.4.1 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของพื้นที่ตามสภาพพื้นที่โดยทั่วไป
เป็นพื้นที่ราบ พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ราบเชิงเนินภูเขาและพื้นที่บางส่วนเป็น
พื้นที่ราบลุ่มอยู่ติดกับลำคลอง แบ่งลักษณะภูมิประเทศได้ 2 แบบ คือ แบบ
เขตพื้นที่เมือง ประกอบด้วย หมู่ที่ 3,4 และหมู่ที่ 2 บางส่วน และแบบเขตพื้นที่
ชนบท ประด้วยพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 5 (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบล
จันดี , พ. ศ. 2561-2565)
1.4.2 ภูมิอากาศ ตำบลจันดี มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน
ลักษณะอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 24 องศา
เซลเซียส แบ่งฤดูกาลเป็น 2 ฤดู
ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือน มกราคม ถึงเดือน พฤษภาคม อากาศค่อนข้าง
ร้อนตลอดฤดูกาล
ฤดูฝน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
- ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม ได้รับอิทธิพลมรสุมตะวันออก
เฉียงเหนือ
- ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นช่วงที่มีฝนตกหนาแน่น
(แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
6
" พูดถึงการเดินทางเข้าตำบลจันดี บอกเลยครับ รถประจำทางสายนี้
เป็นที่พูดถึงกันทั่วจังหวัดนครศรีธรรมราชกัยเลยทีเดียวซึ่งรถประจำทางคนท้อง
ถิ่นจะเรียกกันว่า "สองแถว" ส่วนคนขับรถประจำทาง จะเรียกกันว่า "นายหัว
รถ" รถสองเเถวสายนี้มีชื่อว่า สองเเถวสายนคร-จันดีครับ เป็นรถที่วิ่งจาก
อำเภอเมืองไปตามถนนสายลานสกา เเละมาสิ้นสุดที่ตำบลจันดี จากที่เกริ่น
มาตอนเเรก รถสองเเถวนคร-จันดี เป็นที่พูดถึงกันมากเพราะว่า นายหัวรถแก
ขับยิ่งกว่าหนังเรื่องฟาสอีกครับ อย่าหาว่าผมพูดโม้ ไม่เชื่อลองถามคนนครดู
ครับ เเต่ถึงนายหัวเเกจะขับเร็ว เเต่ก็บริการทุกระดับประทับใจทุกคนครับผม
คอนเฟิร์ม "
7
1.5 การเดินทาง / คมนาคม
การคมนาคมขนส่งภายในเขตเทศบาลตำบลจันดี และกับชุมชนอื่น สามารถ
เดินทางสัญจรไปมา ได้สัญจรไปมาได้หลายเส้นทาง คือ ทางรถยนต์ โดยมีระบบ
โครงข่ายถนนทั้งถนนสายหลักและถนนสายรองซึ่งเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
ประกอบด้วยถนนสายต่าง ๆ ดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4015 นครศรีธรรรมราช-บ้านส้อง เป็น
ถนนเส้นทาง หลักเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา
กิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง และตำบลบ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ทางหลวงท้องถิ่น เทศบาลตำบลจันดี-เทศบาลตำบลฉวาง เป็นเส้นทาง
รอง เชื่อมต่อ ระหว่างเทศบาลตำบลจันดี หมู่ 5 ตำบลจันดี หมู่ 1 ตำบลไสหร้า
และเทศบาลตำบลฉวาง
นอกเหนือจากเส้นทางหลักและรองข้างต้นแล้ว เทศบาลตำบลจันดียังมีถนน
อีกหลายสายที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างชุมชนในเขตเทศบาล เช่น ถนนสายคลอง
สำโรง/นาสร้าง ถนนสายจันดี-ทุ่งใหญ่ ถนนสายจันดีพัฒนา 1-8 เป็นต้น(แผน
พัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
8
การจัดการขนส่งมวลชน
การเดินทางจากชุมชนจันดี สู่ชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ มีรถโดยสารบริการในเส้น
ทาง ดังต่อไปนี้
-จันดี-กรุงเทพฯ บริการโดยรถไฟ ซึ่งมีรถไฟจำนวน 4 ขบวนที่จอด ณ สถานีรถไฟ
คลองจันดี
-จันดี-สุราษฎร์ธานี บริการโดยรถไฟ
-จันดี-สุไหงโกลก บริการโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ รถยนต์โดยสารและรถ
ตู้ปรับอากาศ
-จันดี-บ้านส้อง บริการโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ รถยนต์โดยสารและรถตู้
ปรับอากาศ
-จันดี-นครศรีธรรมราช บริการโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ รถยนต์โดยสาร รถ
ตู้ปรับอากาศ รถแท็กซี่ และรถยนต์สองแถว
-จันดี–กระบี่ บริการโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถยนต์โดยสาร
นอกเหนือจากการขนส่งดังกล่าวแล้วยังมีการขนส่งระหว่างจันดีถึงอำเภอต่าง ๆ
ใกล้เคียงซึ่งจะบริการโดยรถยนต์สองแถวรับจ้าง ส่วนการเดินทางภายในเทศบาล
ตำบลจันดีจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้าง (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี ,
พ. ศ. 2561-2565)
ส่วนที่ 2
โครงสร้างชุมชน
10
2.1 ด้านการเมืองการปกครอง
ตำบลจันดีมีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของเทศบาล โดยปัจจุบัน
ปี2564 มีนายธนเสฏฐ์ กิตติวิมลชัย เป็นนายกเทศมนตรี โดยเทศบาลตำบลจันดี
มีจุดมุ่งหมาย อำนาจหน้าที่ดูแลและจัดทำบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะ
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เช่น
-รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
-จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
-จัดให้มีการบำรุงรักษาทางน้ำ และทางบก
-การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน ทางน้ำ และที่สาธารณะ รวมทั้งการ
กำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
-บำรุงและส่งเริมการประกอบอาชีพของคนในตำบล
-บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิป
ัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(นายธนเสฏฐ์ กิตติวิมลชัย. นายกเทศมนตรี 18สิงหาคม 2564)
11
จากข้อมูลที่ได้รับจากเทศบาลตำบลจันดี ทำให้ทราบว่า ตำบลจันดี มีเนื้อที่
ทั้งหมดโดยประมาณ 34 กิโลตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลจันดีทั้ง
ตำบล แบ่งเป็น 5 หมู่บ้าน 12 ชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ค้าขาย และมีประชากร คน
ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 ท่าสะท้อน
หมู่ที่ 2 ปากมิน
หมู่ที่ 3 จันดี
หมู่ที่ 4 ตลาดจันดี
หมู่ที่ 5 เกาะค่างขาว
และแบ่งออกเป็น 12 ชุมชน ดัง
นี้
- ชุมชนจันดีเมืองใหม่
- ชุมชนประปาเก่า
- ชุมชนช่องป่า
- ชุมชนคลองสำโรง/นาสร้าง
- ชุมชนเมือง (ตลาด)
- ชุมชนปากมิน
- ชุมชนหลังสถานี
- ชุมชนบ้านท่าสะท้อน
- ชุมชนบ้านเกาะค่างขาว
- ชุมชนบ้านนายาว
- ชุมชนบ้านสวนจีน
- ชุมชนฟาร์มไก่
12
2.2 ข้อมูลประชากร
ตารางที่1 ตารางแสดง จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ
ที่มา เทศบาลำบลจันดี
2.3 ด้านการศึกษา / ศาสนา / วัฒนธรรม
2.3.1 ด้านการศึกษา ด้าน
การศึกษา ตำบลจันดี ไม่มีสถานศึกษา เเละ
โรงเรียน
2.3.2 ด้านศาสนา
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล
ตำบลจันดี
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล
ตำบลจันดี โบสถ์จำนวน 1 หลัง (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ.
2561-2565)
2.3.3 ด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรมชาวจีนของจันดีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บะหมี่เกี๊ยวจันดี ไม่ว่าใคร
จะไปมาจะต้องแวะเข้ามาชิม บะหมี่เกี๊ยวจันดี ซึ่งถูกคัดสรรให้เป็นวัฒนธรรมระดับ
อำเภอ บะหมี่เกี๊ยวจันดี เป็นบะหมี่สูตรจีนฮกเกี้ยน ที่มีรสชาติอร่อยน่ารับประทาน
เส้นเหนียวนุ่ม แรกเริ่มเดิมที่คุณกงเชือด เจนพิริยะประยูร เป็นคนจีนที่อพยพมา
อาศัยอยู่เมืองไทย มาตั้งรกรากอาศัยอยู่ที่ตำบลจันดี และได้ประกอบอาชีพขาย
ก๋วยเตี๋ยวอยู่ในตลาดจันดี เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตเส้นบะหมี่เอง ห่อเกี้ยวเอง ไม่ใส่สาร
กันบูด เส้นบะหมี่ทำเองวันต่อวัน ไม่มีเหลือค้างคืน ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลา กว่า
70 ปี แล้ว (นิตยา แซ่จู, สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2564)
13
2.5 ความเชื่อ ประเพณี เเละพิธีกรรม
ชาวไทยเชื้อสายจีนในตำบลจันดียังคงยึดถือขนบธรรมเนียมมาจากจีนแผ่นดิน
ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพิธีกรรมการเกิด , พิธีแต่งงาน , การจัดงานศพ เป็นต้น
2.5.1 พิธีกรรมการเกิด
“เมื่อเด็กทารกคลอดออกมาแล้ว พ่อจะต้องนำรกและสายสะดือนั้นต้อง
ใช้ผ้าเก่าหรือถุงห่อให้ดีแล้วนำไปฝังดิน หรือทิ้งให้จมลงน้ำ หากถูกสัตว์คาบไปกินจะ
ถือว่าไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง และเมื่อทารกครบกำหนด 3 วัน จะต้องทำพิธีอาบน้ำให้
เด็กเป็นครั้งแรก โดยจะต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี
สำหรับส่วนผสมของน้ำจะใส่สมุนไพรจีนใส่ลงในน้ำ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อและอนามัย
ต่อสุขภาพของเด็กและเมื่อทารกเกิดจนครบเดือนก็จะต้องทำพิธีโกนผมไฟ การจัด
เลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย ซึ่งเส้น
ผมที่โกนทิ้งจะไม่โยนทิ้ง แต่จะเก็บรวมกัน
และนำมาสานเป็นแผ่น แล้วจึงนำไปวางไว้หัวเตียงเด็กหรือเย็บติดกับเสื้อเด็ก เพื่อ
ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและคุ้มครองให้แคล้วคลาดภยันตรายใด ๆ” (สุญารีย์ เชื้อเหล่า
วานิช, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564)
14
“หากเด็กอายุครบร้อยวันจะมีการจัดงานเลี้ยงฉลองในครอบครัวกันเอง และเมื่อ
เด็กอายุครบขวบ จะจัดพิธีการกินมื้อกลางวัน โดยจะต้องมีการรับประทานหมี่เพื่อจะ
ได้มีอายุยืนยาว จากนั้นผู้ใหญ่ในบ้านจะวางข้าวของที่ใช้ในการเสี่ยงทายไว้บนเตียง
นอนหรือบนถาดน้ำชา หากเป็นเด็กผู้ชายก็จะวางคัมภีร์ต่างๆ กระดาษ พู่กัน ตรา
ประทับ จานฝนหมึก ลูกคิด สมุดบัญชี ของเล่นหรืออาหาร หากเป็นเด็กผู้หญิงก็จะ
วางช้อน ส้อม กรรไกร ไม้บรรทัด และเครื่องมือเย็บปักถักร้อยต่าง ๆ ไว้ ผู้ใหญ่จะ
อุ้มเด็กให้เลือกหยิบของที่ตนเองถูกใจ แล้วทำการทำนายอนาคตเด็กเอาจากของนั้น
เป็นต้นว่า หากหยิบลูกคิดก็อาจจะประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า หากหยิบคัมภีร์ก็จะเป็น
คนที่รักเรียน ในกรณีที่เลือกหยิบของกินก็จะเป็นคนที่มีลาภปากตลอดไป” (ธนภัทร
เชื้อเหล่าวานิช, สัมภาษณ์วันที่ 15 สิงหาคม 2564)
รูปภาพที่ 2 การเสี่ยงทาย
ที่มา : สุญารีย์ เชื้อเหล่าวานิช.(2538)
2.5.2 ประเพณีตรุษจีน 15
สำหรับเทศกาลตรุษจีนจันดี เที่ยวตลาด 100 ปี ชมบารมีพ่อท่าน
คล้ายพี่น้องชาวจันดีที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีของ
ชาวจีนในชุมชนตลาดจันดี ที่ได้ร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามไว้
การรักษาความเป็นชุมชนดั้งเดิม แม้ว่าปัจจุบันชุมชนตลาดจันดีจะมีการพัฒนา
และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชน
ตลาดจันดียังคงอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนชาวไทยเชื้อสาย
จีนแบบดั้งเดิมไว้ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงาน
ประเพณีเทศกาลตรุษจีน ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มปีใหม่ตามปฏิทินจีน ที่มีการจัด
งานประเพณีเป็นประจำทุกปี ซึ่งเดิมชาวไทยเชื้อสายจีนในตลาดจันดีจะร่วมกัน
จัดงานประเพณีตรุษจีนกันเองจนการจัดงานมีชื่อเสียง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใน
พื้นที่และมีการเข้ามาจับจ่ายใช้สอยส
ร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การผัดหมี่กระทะยักษ์ ขนาด 2.50 เมตร การ
แข่งขันการกินหมี่ การแข่งขันยิงปืนไม้ไผ่ติ๊กเผ่า การแข่งขันการทำขนมเข่ง
เทียน การประกวดมิสไชนิสจันดีการแข่งขันบาสเก็ตบอลประจำปี ร่วมชมชิม
ช้อปของดีตลาด 100 ปี และสนุกสนานกับการแสดงบนเวทีกลางของนักเรียน
การแสดงของศิลปินนักร้องทุกคืนตลอดงาน (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาล
ตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
รูปภาพที่ 3 ตรุษจีนจันดี
ที่มา : เทศบาลตำบลจันดี.(2563)
16
2.5.3 ประเพณีสงกรานต์
เทศบาลจันดีร่วมกับชมรมหนุ่มสาวจันดีจัดกิจกรรมสรงน้ำขอพรรูปเหมือนพ่อ
ท่านคล้ายวาจาสิทธิ์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ณ บริเวณ
เบญจาพิธีตลาดจันดีตลอดจนการสวดมงคลตลาดจันดีและประมวลวัตถุมงคลพ่อ
ท่านคล้าย (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
รูปภาพที่ 4 สรงน้ำพ่อท่านคล้าย
ที่มา : เทศบาลตำบลจันดี.(2563)
2.5.4 ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุน้อย บูชาพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์
เทศบาลจันดีร่วมกับอำเภอช้างกลางจัดงานประเพณีแห่ผ้าห่มธาตุน้อยบูชาพ่อ
ท่านคล้ายวาจาสิทธิ์เพื่อลำลึกถึงคุณความดีพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ที่ชาวอำเภอ
ฉวางช้างกลางและพี่น้องประชาชนทั่วไปเคารพนับถือโดยการเคลื่อนขบวนจากหน้า
อำเภอฉวางและร่วมเดินเท้าจากแยกจันดี-นครผ่านตลาดจันดีไปยังวัดธาตุน้อย
2.5.5 ประเพณีฉลองทรายชุมชนปากมิน
เป็นประเพณีเฉพาะท้องถิ่นของพื้นที่ตำบลจันดี เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์
และบูชาพระแม่คงคา มีกิจกรรมทางศาสนา การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การก่อเจดีย์
ทราย และการลอยแพสะเดาะเคราะห์ ณ ศาลาพ่อท่านคล้าย ชุมชนปากมิน ซึ่งจัด
เป็นประจำทุกวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี
, พ. ศ. 2561-2565)
ส่วนที่ 3
โครงสร้างเศรษฐกิจ
เเละอาชีพ
18
3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ
คลองจันดีมีต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาหลวง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยมีห้วยท่าแพไหลมาจากเขาหลวง มีถนนสาย 4104 ตัดผ่านช่องเขาซึ่งต้นน้ำเป็น
เขตติดต่อระหว่างอำเภอลานสกา (นอกลุ่มน้ำ) และอำเภอฉวาง (ในเขตลุ่มน้ำ)
จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตลุ่มน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอฉวาง แล้วไหลมาตัดผ่าน
ทางรถไฟที่บ้านตลาดจันดี ระยะทางจากต้นน้ำ ประมาณ 8 กิโลเมตร มีคลองมิน
ไหลลงสู่คลองจันดีทางฝั่งซ้ายที่ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำ และมี
คลองขุดด้วนไหลลงสู่คลองจันดีทางฝั่งขวาที่ระยะทางประมาณ 200 เมตร ก่อนไหล
ลงสู่แม่น้ำตาปี ประมาณ 200 เมตร และไม่ค่อยคดเคี้ยว คลองจันดีมีความสำคัญ
มากกับคนจันดี ชาวบ้านได้ออกมาหาปลา ใช้แหล่งน้ำทำการเกษตรต่างๆ มาอาบน้ำ
วัว และที่สำคัญคลองจันดีมีรถไฟตัดผ่าน
ทำให้เป็นอีกหนึ่งจุดที่นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่าย
รูปและชื่นชมวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นดีคลองจันดี (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาล
ตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
รูปภาพที่ 5 วิถีชีวิตคลองจันดี
ที่มา : โกปิง จันดี .(2564)
19
3.2 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
จอกยางดิน
จันดีมีโรงงานจอกยางดิน เป็นโรงงานผลิตจอกยางส่งออก ชื่อว่าโรงงานดิน
ทองจันดี เป็นของคุณอนันต์ สหลิ้มเจริญ โรงงานนี้เปิดมาเเเล้วกว่า 70 ปี สืบทอดต่อๆ
กันมาสามชั่วรุ่น ตั้งเเต่รุ่นปูจนตอนนี้คุณอนันต์นั้นเป็นรุ่นหลาน จากการสัมภาษณ์
คุณลุงอนันต์ได้เล่าว่า "เมื่อก่อนโรงงานนั้นอยู่ในตลาด เเต่การเผาดินทำจอกยาง
ทำให้เกิดมลภาวะ ทำให้ย้ายออกมา โรงงานมีการผลิตจอกยางขนาด 16 ออนซ์ เมื่อ
ก่อนใช้เตาเผาที่เป็นอิฐ หรือที่เรียกว่าเตามังกร ช่วงสมัยเปลี่ยนไปจากเตาเผามังกรจึง
เปลี่ยนเป็นเตาเเก๊ส เพื่อความสะดวก รวดเร็ว จากสถานการณ์ปัจจุบันราคายางลดต่ำ
ลงทำให้การผลิตนั้นน้อยลงตามไปด้วย เเละช่างปั้นก็เหลือเพียงเเค่ 4 คน เพราะคน
หนุ่มสาวส่วนมากเข้าไปหางานทำในเมือ
ง " (อนันต์ สหลิ้มเจริญ, สัมภาษณ์วันที่ 28
ตุลาคม 2564)
รูปภาพที่ 6 ช่างปั้นจอกดิน อ้างอิง : โกปิง จันดี .(2564)
20
รูปภาพที่ 7 โรงงานดินทองจันดี
ที่มา : โกปิง จันดี .(2564)
21
3.3 สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจันดี สามารถแบ่งออกเป็น
5 ประเภท คือ การพาณิชยกรรม การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การรับจ้าง
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานและลูกจ้างของรัฐ
การพาณิชยกรรม ผู้ประกอบอาชีพค้าขายจะอยู่ในเขตเทศบาล เป็นส่วนใหญ่
ดำเนินกิจการร้านขายของชำ ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านขายทองรูปพรรณ
ปั๊มน้ำมัน สถาบันทางการเงินให้บริการ 6 แห่ง
การเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่รอบนอกชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพการทำสวนยาง และสวนผลไม้ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน เป็นต้น และมี
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ยางพารา
การอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงไฟฟ้า โรงไม้ ทำให้คนพื้นที่
ตามโรงงานต่าง ๆ
การรับจ้าง อาชีพรับจ้างในเขตเทศบาลตำบลจันดี ได้แก่ การขับรถรับจ้าง (รถ
สองแถว รถจักรยานยนต์) การรับจ้างกรีดยาง กรรมกรก่อสร้าง รับจ้างใน
โรงงาน และลูกจ้างในร้านค้า ต่าง ๆ
ข้าราชการและลูกจ้าง พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ พนักงานและลูกจ้าง
ของรัฐ เนื่องจากชุมชนจันดี มีส่วนราชการทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และ
ราชการส่วนท้องถิ่น (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-
2565)
ส่วนที่ 4
สถานที่สำคัญ
23
4.1 แหล่งท่องเที่ยว
4.1.1 ตลาดนัดยามเช้าริมทางรถไฟ
เป็นตลาดยามเช้าริมทางรถไฟที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของนครศรีธรรมราช โดย
ตั้งอยู่บริเวณหน้า สถานีรถไฟคลองจันดี เป็นสถานีรถไฟที่มีความเก่าแก่กว่าร้อยปี
ภายในตลาดมีการจำหน่ายสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว-หวาน ผักปลา
สดๆ หรือผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งเหล่าพ่อค้าแม่ขายทุกคนก็ล้วนแล้วแต่มีอัธยาศัยที่ดี
สามารถต่อรองราคาสินค้าได้ตามสมควรอีกด้วย ตั้งอยู่บนทางหลวง 4195 อยู่ในเขต
เทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทาง
รถไฟสายใต้ สถานีนี้ เป็นสถานีสำคัญเพราะ เป็นจุดลงรถสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการ
ไป อำเภอลานสกา อำเภอพิปูน อำเภอช้างกลางและอำเภอเมือง จังหวัด
นครศรีธรรมราช แต่ไม่ได้ขึ้นรถขบวนที
่เข้าตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช (แผนพัฒนา
เทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565)
รูปภาพที่ 8 ตลาดเช้าคลองจันดี
ที่มา : โกปิง จันดี .(2564)
24
รูปภาพที่ 9 ตลาดคลองจันดี
ที่มา : โกปิง จันดี .(2564)
25
4.1.2 สะพานโค้งรถไฟ 100 ปี
สะพานโค้งรถไฟ 100 ปี เป็นสะพานรถไฟข้ามคลองจันดี ตั้งอยู่ห่างจากสถานี
รถไฟคลองจันดี ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปทางทิศตะวัน
ออกเฉียงใต้ ประมาณ 300 เมตร สะพานโค้งรถไฟ 100 ปีนั้น เทศบาลตำบลคลอง
จันดีร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพาน ให้
เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชครับโดยบริเวณสะพานฝั่งตำบลจันดี
อีกฝั่งของสะพาน เป็นตำบลตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มีการติดตั้งป้ายมีข้อความต่อไปนี้
“สะพานโค้งรถไฟ 100 ปี การสร้างทางสายใต้ ได้เริ่มจากเพชรบุรีลงไปทางใต้
และจากสงขลากับกันตังขึ้นมาทางเหนือ ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันมาบรรจบกันที่ชุมพร
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2459ได้เปิดการเดิ
นรถจากสถานีทุ่งสง - บ้านนา ระยะทางรวม
95 กม. สำหรับสะพานโค้งรถไฟ 100 ปี แห่งนี้ อยู่ทางทิศใต้ของสถานีคลองจันดี ที่
กม. 782+272.60 เทศบาลตำบลจันดีร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุง
ภูมิทัศน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลตำบลจันดี” (โกปิง
จันดี, สัมภาษณ์วันที่ 28 ตุลาคม 2564)
ภาพที่ 10 สะพานโค้งร้อยปี
ที่มา : ธนภัทร.(2564)
26
4.2 ศาสนสถาน
ในตำบลจันดีไม่มีวัด และประชาชนส่วนใหญ่ เป็นคนเชื้อชาติจีน จึงมีศาลเจ้าเป็น
ที่พึ่งทางจิตใจและประกอบพิธีกรรมต่างๆในตำบลจันดีจึงมีศาลเจ้ามากมายหลายที่
ประกอบไปด้วย
ศาลเจ้าลกฮวง
ศาลเจ้าฮุกกวงตัง
ศาลเจ้าแม่กวนอิมจันดี
ศาลเจ้าแม่กวนอิม 2
ฮั่วกั่วซานจันดี ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย จันดี
พุทธสถานเทียนฮุ่ย (แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-
2565)
และในตำบลจันดีมีคริสตจักรของขาวศาสนาคริสต์ ชื่อว่าคริสตจักรในคลองจันดี
มีการประชุม และกิจกรรมต่างๆ โดยมีตารางเวลา และรายละเอียดดัง ต่อไปนี้
ตารางที่ 2 ตารางเเสดงเวลาการประชุมคริสตจักรในคลองจันดี
ที่มา เทศบาลตำบลจันดี
27
4.3 แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน / ห้องสมุดชุมชน
4.3.1 ศูนย์แพทย์แผนไทย หมอเหมีย จันดี (สมุนไพร 9 รส หมอเหมีย)
ตั้งอยู่ที่ 087 หมู่ที่ 2, ตำบล จันดี อำเภอ ฉวาง, นครศรีธรรมราช 80250
โดยนายคำพร เกตุแก้ว หรือที่รู้จักกันว่า หมอเหมีย จันดี จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ด้านวิชาชีพ จบเภสัชกรรม ผดุงครรภ์ และนวด
800 ชั่วโมง จากสถาบันแพทย์แผนไทยจากกระทรวงสาธารณสุข นอกจากจะเป็น
หมอที่เรียนมาด้านนี้โดยตรง แม่เป็นหมอตำแย และน้าเป็นหมอกระดูก เลยสนใจ
และใช้ตำราของแม่ที่แม่ให้มามาเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย สวนสมุนไพรหมอเหมียได้ผลิต
น้ำมันนวด ยาตะไคร้กันยุง รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่าง ๆ ออกมาให้คนในตำบล
ได้ใช้รวมถึงเป็นศูนย์แพทย์แผนไทยเพื่อให้คนเข้ามาเรียนรู้เรื่องสมุนไพรไทยกันมาก
ยิ่งขึ้น (คำพร เกตุเเก้ว, สัมภาษณ์วันที่ 2
8 ตุลาคม 2564)
รูปภาพที่ 11 ยาหมอเหมีย
ที่มา : ชวัลลักษณ์.(2564)
ส่วนที่ 5
การวิเคราะห์ศักยภาพ
ชุมชน
29
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้าง
S ไกลในการพัฒนา
2. สมาชิกส่วนใหญ่มีความสามัคคีให้ความร่วมมือใน
การพัฒนาตำบล
1.ผู้นำและสมาชิกในชุมชนขาดความมั่นใจ และตัดสิน
W ใจในบางเรื่อง
1.มีโครงการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมต่าง ๆ
2. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เทศบาลหรือผู้นำชุมชนปลูกจิต
O สำนึกให้สมาชิกเกิดการเสียสละมีจิตใจที่เป็น
สาธารณะ
3. สร้างกฎระเบียบในชุมชน
1. ขาดงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม
2. ทัศนคติและค่านิยมของคนในชุมชนแตกต่างกัน
T 3.เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอำเภอทำให้
คนในตำบลเกิดภาวการณ์แข่งขันในชุมชนสูง
ทำให้บางครัวเรือนไม่มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับ
ตำบล
30
ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
1. เศรษฐกิจของตำบลดีเนื่องจากเป็นศูนย์กลางทาง
เศรษฐกิจของอำเภอ
S 2.มีตลาดค้าส่งทำให้คนพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาซื้อขายกัน
ในพื้นที่จำนวนมาก
3. มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
1. ความคิดเห็นของทางเทศบาลขัดแย้งกับพ่อค้าแม่ค้า
เนื่องจากสถานการณ์โควิดจึงทำให้ทางเทศบาลมีการ
W ย้ายตลาดทำให้พ่อค้าแม่ค้ามีรายได้จากลูกค้าประจำ
น้อยลง
2.การท่องเที่ยว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนชีวิตของ
ชาวตำบลอีกหลายที่ ที่ไม่ได้รับการผลักดัน
1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ตำบลจันดีมีสถานที่ท่องเที่ยว
เพิ่มมากขึ้น
O 2.มีโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจจากทางภาครัฐทำให้มี
การจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น
1.ขาดการสนใจจากภาครัฐ ขาดงบประมาณ ทำให้
การท่องเที่ยวในตำบลมีน้อย
T 2.สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดทำให้รายได้ของ
พ่อค้าแม่ค้าในตำบลลดลงเนื่องจากมีการปิด
ตลาดเป็นระยะเผื่อทำความสะอาดพื้นที่ตลาด
31
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1.ในชุมชนมีทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์
S ตามธรรมชาติ
2. ทางเทศบาลมีการจัดการให้รถขยะเก็บขยะเป็นเวลา
W 1. การเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยขาดความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม
O 1. สร้างจิตสำนึกในการหวงแหนธรรมชาติมีการฝึก
อบรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
1. คนในชุมชนบางส่วนไม่เห็นถุงคุณประโยชน์ของ
T ทรัพยากรทางธรรมชาติและยังขาดจิตสำนึกใน
การช่วยกันรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใน
ตำบล
32
ด้านประเพณี / วัฒนธรรมชุมชน
1.มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น และ
การทำบุญในวันสำคัญต่าง ๆ
S 2.มีประเพณีที่โดดเด่น คือ ประเพณีเทศกาลตรุษจีนจันดี
เที่ยวตลาดร้อยปี ชมบารมีพ่อท่านคล้าย อำเภอฉวาง
และเทศบาลตำบลจันดีจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสืบสาน
วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวอำเภอฉวาง
W 1. เยาวชนในตำบลมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีต่างๆ
น้อย
2. สถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถจัดงานประเพณี
ต่างๆ ได้
O 1.ส่งเสริม / สนับสนุนให้เยาวชนในหมู่บ้านเห็นถึงความ
เป็นส่วนร่วม
1. สถานการณ์โควิดทำให้ประเพณีและเทศกาลต่างๆ
T ไม่ได้จัดขึ้นอย่างเช่นเคย
บรรณานุกรม
,ธัญวลัย คงมา (2564) “จันดี” เมืองแห่งสมุนไพรพื้นถิ่น . สืบค้นจาก https://web.codi.or.th
แผนพัฒนาเทศบาล,เทศบาลตำบลจันดี , พ. ศ. 2561-2565
บุคลานุกรม
กานต์ แซ่ตั้ง, สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2564
คำพร เกตุเเก้ว, สัมภาษณ์วันที่ 28 ตุลาคม 2564
ธนภัทร เชื้อเหล่าวานิช, สัมภาษณ์วันที่ 15 สิงหาคม 2564
ธนเสฏฐ์ กิตติวิมลชัย. นายกเทศบาลตำบลจันดี, 18สิงหาคม 2564
นิตยา แซ่จู, สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2564
สมพร เชื้อเหล่าวานิช, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564
สุญารีย์ เชื้อเหล่าวานิช, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564
โกปิง จันดี, สัมภาษณ์วันที่ 28 ตุลาคม 2564
ภาคผนวก
บ้านเรา@คลองจันดี