The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero ระดับเบื้องต้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chalikor Pasertadisor, 2022-04-06 02:56:20

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero ระดับเบื้องต้น

คู่มือฝึกอบรมหลักสูตร Vision Zero ระดับเบื้องต้น

เกยี่ วกับหนังสือ

ช่อื หนงั สอื : คูมือการฝก อบรม หลักสูตร VISION ZERO ระดับเบื้องตน
(INTRODUCTION TO VISION ZERO)

เจาของลิขสทิ ธ์ิ : สมาคมสง เสริมความปลอดภยั และอนามยั ในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชปู ถัมภ ฯ
141 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉมิ พลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170

เลขมาตรฐานสากล สำนักหอสมุดแหงชาติ : ISBN 978-616-8306-02-4

จดั ทำโดย : สมาคมสง เสรมิ ความปลอดภัยและอนามยั ในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชปู ถัมภ ฯ

ทีป่ รึกษา : นางสาวนลิ วดี เลยี งสุนทรสทิ ธ์ิ

บรรณาธกิ าร : ฝายบรหิ ารโครงการพิเศษ เครอื ขาย และสมาชิกสัมพนั ธ
นางสาวพรทิพย สขุ พลาย
นางสาวธนภรณ ทะศรแี กว
นางสาวนฤมล กลิ่นดว ง
นางสาวซนิ ด้ี วี พฒุ ทาจู

พมิ พที่ : โรงพมิ พ วแี คนดู
ตดิ ตอ /รายละเอียดเพ่ิมเติม: สมาคมสงเสรมิ ความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

ในพระราชูปถมั ภ ฯ โทรศัพท 02-884-1852 ตอ 313, 314
E-mail : [email protected]

สารบัญ หนา้

หลักสตู รที่ 1: VISION ZERO ระดบั เบื้องต้น (INTRODUCTION TO VISION ZERO ) 1
VISION ZERO (วสิ ยั ทศั นค์ วามปลอดภยั ) 2
จดุ เร่ิมตน้ ของวิสัยทศั น์ของอุบัตเิ หตุเป็นศนู ยแ์ ละอันตรายเปน็ ศูนย์ 2
VISION ZERO หมายถึง 3
หลัก 4 ประการ ของ VISION ZERO (THE FOUR PRINCIPLES OF VISION ZERO)
7
หลกั สูตรท่ี 2: เครือ่ งช่วยชีวิต 12 สิ่ง สำหรบั ผ้จู ดั การ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS)
ความรบั ผดิ ชอบของฉนั - เป็นผนู้ ำดา้ นความปลอดภัย และแนวปฏิบัตทิ ด่ี ีสำหรับผูบ้ รหิ าร 15
16
หลกั สตู รท่ี 3: กฎทอง 7 ประการ ระดบั เบ้ืองต้น (7 GOLDEN RULES) 17
ผูน้ ำ (LEADER) 17
ภาวะความเปน็ ผนู้ ำ (LEADERSHIP)
แนวปฏบิ ัติ VISION ZERO
การใช้แนวปฏบิ ตั ิตามรปู แบบกฎทอง 7 ประการ

หลกั สตู รที่ 1: VISION ZERO ระดับเบ้ืองตน้
(INTRODUCTION TO VISION ZERO )

สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และการมีสุขภาพดีของผู้ปฏิบัติงาน ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ
ตามกฎหมาย และจรยิ ธรรมเท่าน้ัน แตส่ ่งผลถงึ ดา้ นเศรษฐกจิ ด้วย จากผลการวิจยั ระดบั นานาชาติ เก่ียวกับ
ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเชิงป้องกันอุบัติเหตุพิสูจน์ให้เห็นว่า เงินที่ลงทุนในด้านความปลอดภัยและ
สุขภาพทุก ๆ หนึ่งดอลลาร์ ได้รับผลตอบแทนมากกว่าสองดอลลาร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านบวก
สภาพการทำงานท่ีดมี สี ว่ นชว่ ยใหธ้ ุรกิจดดี ้วย แนวคดิ VISION ZERO ของ ISSA มีความยดื หยุน่ และสามารถ
ปรับเปลี่ยนเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและความสำคัญของงานความปลอดภัย สุขอนามัยและ
ความผาสุก เฉพาะสำหรับแต่ละบริบทขององค์กรนั้น ๆ ความยืดหยุ่นในการนำ VISION ZERO
ไปปรับใช้งาน จงึ เป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบกิจการต่าง ๆ วิสาหกจิ หรอื อตุ สาหกรรมในทุกภมู ภิ าคของโลก

VISION ZERO (วิสยั ทัศนค์ วามปลอดภยั )

VISION ZERO ในการทำงาน ต้ังบนสมมตฐิ านวา่ อุบตั เิ หตุ อนั ตราย และสขุ ภาพที่ไมด่ จี ากการทำงาน
ท้งั หมดสามารถป้องกันได้ VISION ZERO คือความใฝฝ่ ัน และความมุ่งมั่นทจ่ี ะสร้างและทำให้มั่นใจว่างานท่ี
ทำนั้นปลอดภัย และมีสุขภาวะที่ดี โดยการป้องกันอุบัติเหตุ อันตราย และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
พร้อมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ทั้งนี้ควรทำ
ความเข้าใจว่า VISION ZERO เป็นการเดินทาง เป็นกระบวนการไปสู่อุดมคติ นอกจากนี้ยังเป็นวิสัยทัศน์ที่
อิงคุณคา่ ซึง่ หมายความวา่ งานไมค่ วรสง่ ผลเสียตอ่ ความปลอดภยั สุขภาพ และความผาสกุ ของผู้ปฏบิ ตั งิ าน
และถ้าเป็นไปได้ ควรช่วยเหลือพวกเขาธำรงรักษา หรือ ปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก
ของพวกเขา และพัฒนาใหเ้ ขามีความมนั่ ใจในตนเอง มคี วามสามารถ และให้ไดร้ ับการจ้างงาน

องคก์ รสามารถมุง่ มัน่ ต่อ VISION ZERO ในระดบั ใด ๆ ของประสทิ ธิภาพดา้ นความปลอดภัย สุขภาพ
และความผาสุกก็ได้ ความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อ VISION ZERO สามารถทำให้เกิดการริเริ่ม และรักษา
กระบวนการ และการสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของ VISION ZERO ได้ VISION
ZERO ไม่ใช่สิ่งที่คุณมีหรือบรรลุแต่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ VISION ZERO ไม่ใช่สำหรับองค์กรที่ดีที่สุด หรือ
องค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก เป็นของตนเองเท่านั้น แต่ยัง
เก่ียวขอ้ งกับองค์กรขนาดเล็กท่ีไม่มีประสบการณ์มากนกั ในการบูรณาการความปลอดภัย สขุ ภาพ และความ
ผาสกุ ให้เปน็ ส่วนหนึ่งของกลยทุ ธท์ างธุรกิจ

สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักวา่ วิสัยทัศน์ (ความคิด จินตภาพที่สดใสว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือเป็น
เช่นไร) หมายถึง ความใฝ่ฝันในระยะยาว; มันไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายจะต้องเป็น ‘ศูนย์’ หรือควรจะ
เป็น ‘ศูนย์’ แต่เป็นความทะเยอทะยานบนพืน้ ฐานของความเขา้ ใจวา่ อุบัติเหตุ อันตราย และสุขภาพที่ไมด่ ี
จากการทำงาน สามารถป้องกันได้โดยการออกแบบ การวางแผน การกำหนดขั้นตอน และการปฏิบัติท่ี
เหมาะสม และทันท่วงที

1

จุดเริม่ ต้นของวิสยั ทัศนข์ องอุบตั ิเหตเุ ปน็ ศูนย์และอันตรายเปน็ ศูนย์

ในปี ค.ศ.1799 Eleuthere Irenee Du Pont de Nemours หรือชื่อที่รู้จักกันว่า ดูปองต์ (ค.ศ.
1771-2377) ได้ออกเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา โดยได้ตั้งรกรากอยู่ในเมืองวิลมิงตัน รัฐเดลาแวร์ ซึ่งไม่
ไกลจากเมืองฟิลาเดลเฟีย ในเดอื นกรกฎาคม ค.ศ.1802 ได้ลงทุน 36,000 ดอลลาร์เพื่อต้ังโรงงานดินปืนบน
ฝั่งของแม่น้ำแบรนดีไวน์ ได้จ้างพนักงาน 18 คน ดินปืนของดูปองต์ถูกใช้เพื่อระเบิดทางสำหรับสร้างถนน
และทางรถไฟ และมีบทบาทสำคัญอย่างรวดเรว็ ในการจัดตั้ง และการขยายตวั ของชาติใหม่ ในไม่ช้าดูปองต์
ก็พบด้วยตัวเองว่า การผลิตดินปืนไม่ใช่กิจกรรมที่ปลอดภัยที่สุด ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.1818 เกิดการ
ระเบิดซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อการผลิตดินปืนเป็นอย่างมาก คนงาน 36 คนเสียชีวิต รวมถึงเพื่อนของดู
ปองต์ดว้ ย การดำรงอยู่ของโรงงานของเขาตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประทว้ งอย่างอื้ออึง
ของคนเก่าแก่ และชาวเมืองในวิลมิงตัน การที่พวกเขาไม่อาจทนกับโรงงานที่เป็นอันตรายได้กลายเป็นหนึ่ง
ในความคิดรเิ ร่มิ ครั้งแรกของชาวเมือง

จากผลกระทบทเ่ี กิดตามมาของอุบัติเหตุ ดปู องตไ์ ด้กำหนดปรัชญาความปลอดภัยขึ้นมาใหม่ซ่ึงเป็นส่ิง
ทเี่ รยี กวา่ วัฒนธรรมองค์กรของเขา เขายืนยนั วา่ ตัวเขาเอง และผู้จดั การฝา่ ยผลิตตอ้ งพกั อาศัยอยใู่ นพ้ืนท่ีของ
บริษัทใกล้กับโรงงานผลิตดินปืน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นมาตรการที่รุนแรงหากนำมาใช้ในทุกวันนี้ แต่มันก็มี
ประสทิ ธภิ าพเพียงพอ เพราะตอนนี้พวกเขาได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน จงึ ทำใหพ้ วกเขาตระหนัก
ถึงความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของโรงงานนอกจากนี้เขายังวางกฎระเบียบด้านความปลอดภัยฉบับ
แรก และลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกว่า และเทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัย นี่คือเหตุผลที่ถือได้ว่าดู
ปองต์เป็นบิดาแห่งปรัชญาความปลอดภัยที่ลายความคิดแบบเดิมลง ซึ่งปัจจุบันเรารู้จักในชื่อกลยุทธ์
VISION ZERO

VISION ZERO หมายถึง

VISION ZERO ไมใ่ ชอ่ ะไรอื่นไกล แตเ่ ปน็ เรอ่ื งเกย่ี วกับชีวิตและสขุ ภาพของเรา ซ่งึ ถอื ว่าเป็นทรัพย์สิน
ที่มีค่ามากที่สุดของเรา แต่ไม่เพียงแค่นั้น มันยังเกี่ยวกับความสำเร็จขององค์กร การผลิตที่มีประสิทธิภาพ
และพนักงานที่มีแรงบันดาลใจและมีประสิทธิผล แม้ว่าบางครั้งจะเรียกว่า วิสัยทัศน์ หรือ ปรัชญา
VISION ZERO เป็นกลยุทธ์สำหรับการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ และโดดเด่นด้วย
คุณค่ากลยุทธ์นี้ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในนาม VISION ZERO ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีต้นกำเนิดในทวีป
ตา่ ง ๆ และในยคุ ต่าง ๆ แต่อย่างทเี่ ราเห็น ในท้ายที่สุด VISION ZERO ก็ถกู นำกลับไปใช้ทอ่ี ตุ สาหกรรมเคมี

ความเชื่อที่ว่าทุก ๆ อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้นั้น ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่มี
ประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างแรงจูงใจสำหรับการป้องกันนับตั้งแต่ต้นกำเนิดที่บริษัทดูปองต์ แม้แต่ใน
วันนี้ บริษัทดูปองต์ยังคงถือว่าเป็นผู้นำระดับโลกในการดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงาน
หนึ่งในความสำคญั ของวัฒนธรรมความปลอดภยั นี้ คือ ได้สร้างสภาพการทำงานที่ผูค้ นสามารถทำผิดพลาด
ไดโ้ ดยไม่ต้องเสย่ี งต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต VISION ZERO จึงต้งั อยู่บนหลกั การ 4 ประการ

2

หลกั 4 ประการ ของ Vision Zero (THE FOUR PRINCIPLES OF VISION ZERO)

หลักการข้อที่ 1 ชีวติ ไม่สามารถตอ่ รองได้ (The first principle: Life is not negotiable.)

ไมม่ ีสง่ิ ใดสำคัญ และมคี ุณคา่ มากกว่าชวี ติ มนษุ ย์ สิทธใิ นการมชี วี ติ และความสมบูรณท์ างรา่ งกายเป็น
หลักพื้นฐานสำคัญของกฎหมายของทุกประเทศ และVISION ZERO เป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ก่อนอื่น
ต้องมาดูว่าเรายืนอยู่ที่ใดของสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ท่ี
พร้อมจะทำงานจำนวน 38.41 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 33.63 ล้านคน จากรายงานของกลุ่มงาน
พัฒนามาตรฐานระบบเงินทดแทนในปี พ.ศ. 2563 สำนักประกันสังคมมีผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบ
จำนวน 11,055,513 คน มีสถานประกอบกิจการจำนวน 485,053 แห่ง มีอุบัติเหตุเนื่องมาจากการทำงาน
จำนวน 85,561 ราย เป็นอุบตั เิ หตขุ ั้นเสียชวี ิต 589 ราย ทุพพลภาพ 14 ราย สูญเสยี อวยั วะบางสว่ น 1,000
ราย รา้ ยแรงซง่ึ ส่งผลใหห้ ยุดงานมากกว่า 3 วัน 25,695 ราย และหยุดงานไม่เกิน 3 วนั 58,623 ราย สำหรบั
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 มีจำนวน 753,823 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน
6,946 ราย บาดเจบ็ จำนวน 744,568 ราย และทุพพลภาพ จำนวน 2,309 ราย

ในระดับนานาชาติ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ประมาณการว่ามีอุบัติเหตุร้ายแรงถึง
ชวี ติ ประมาณ 360,000 ราย และมากกวา่ 19.5 ลา้ นราย เสียชวี ติ จากโรคท่เี กดิ เนื่องมาจากสภาพแวดล้อม
การทำงานที่ไม่ดี มีการสัมผัสสารก่อมะเร็ง หรือ ไม่ก็สารที่เป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษย์ข้ัน
พน้ื ฐานแล้วพบว่ายังห่างไกลกบั คำวา่ ก้าวหนา้ เป็นอยา่ งมาก

การปกปอ้ งสทิ ธขิ ั้นพืน้ ฐานน้ีเป็นหน้าท่ีของทุกคน ไมว่ า่ จะเป็นหนว่ ยงานราชการ เอกชน รฐั วิสาหกิจ
บริษัทประกันอุบัติเหตุ หรือ บริษัท ผู้จัดการ และพนักงาน มิสเตอร์วอลเตอร์ ไอเชินดอร์ฟ (Mr. Walter
Eichendof) ประธานสภาความปลอดภัยทางถนน (DVR) ของเยอรมนีได้ทำการทดลองทางความคิดซึ่งเปน็
ที่น่าสนใจ โดยถามคำถามต่อไปนี้ ลองจินตนาการว่า อีไอ ดูปองต์ (E.I Du Pont) ประกอบธุรกิจจากปีคศ.
1802 จนถึงปัจจุบัน และสมมติว่าไม่ได้มีการคิดค้นรถยนต์ขึ้นมา จนถึงเวลานี้ดูปองต์พร้อมแล้วและบอก
กล่าวนักการเมือง สื่อมวลชน และสาธารณชนในประเทศเยอรมนีว่าจากการที่ได้มีการผลิตดินปืนอย่าง
สมบูรณ์แบบ ตอนนี้เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่เอีย่ มซึ่งจะปฏวิ ตั ิการเคลื่อนท่ีส่วนบุคคลโดยใช้ยานพาหนะ
ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้จะทำให้เกิด
อบุ ตั เิ หตุอีกรูปแบบหน่ึงเกดิ ขึ้น นนั่ คืออุบตั ิเหตุทางถนน เขาประมาณว่าจะมีการเสยี ชวี ิตเฉลีย่ 10 รายตอ่ วนั

แน่นอนว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ถูกให้นำไปใช้ และข้อเสนอของนักประดิษฐ์ก็จะถูกโจมตีหรือต่อต้าน
เพราะ แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการที่จะรับผิดชอบสำหรับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ที่ทำให้ทุกวันมีคนต้อง
เสียชีวิตถึง 10 คน นักการเมือง สังคม และสื่อมวลชนคงจะพร้อมใจกันปฏิเสธการทำให้เกิดการเสียชีวิต
ดังกล่าว นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาประกอบ เพราะแม้แต่ดูปองต์ก็ไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการประดิษฐ์
ของเขาจะส่งผลระยะยาวอย่างไร อยา่ งไรกต็ าม แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความประนีประนอมที่เราต้องทำ เพ่ือรักษา
สทิ ธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชวี ติ และความสมบรู ณข์ องรา่ งกาย

3

หลักการข้อที่ 2 มนุษย์ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาด (The Second Principle: People makes
mistakes.)

VISION ZERO ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ว่า ความผิดพลาดในการทำงานและบนท้องถนน
สามารถเกดิ ขน้ึ ได้ ไมส่ ามารถทีจ่ ะหลกี เลี่ยงไดอ้ ยา่ งสนิ้ เชงิ จากการศึกษารถยนตบ์ งั คับท่ีใช้เซ็นเซอร์แสดงให้
เห็นถึงข้อจำกัดของความสามารถในการรับรู้ข้อมูลจากสภาพแวดล้อม การประมวลผลและเปรียบเทียบ
ข้อมูลต่อข้อมูลที่ถูกจดจำ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าปริมาณและความหนาแน่นที่แท้จริงของข้อมูล
หมายความว่าทกุ อย่างมีขอ้ จำกัด ข้อผิดพลาดของมนุษยน์ ัน้ เป็นกฎที่ไม่อาจมีขอ้ ยกเว้นได้ เช่นเดียวกบั คน
ทำผิดพลาดเนอ่ื งมาจากกระบวนการทางอารมณ์ แรงจูงใจ และความเครียดทีเ่ กี่ยวข้อง

น่ันเปน็ เหตผุ ลว่าทำไมจึงไมน่ ่าแปลกใจวา่ ถา้ ทำการวจิ ัยถึงอุบัตเิ หตุบนท้องถนนและในที่ทำงานก็จะ
ยืนยันว่าสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสามารถพบได้ในความผิดพลาดของมนุษย์ กล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ
การกระทำของพนักงาน แต่เป็นที่แน่ชัดว่านี่เป็นวิธีคิดที่ผิด เพราะถ้ามนุษย์ซึ่งมีทักษะในการเคลื่อนไหว
การประสานงาน ทักษะการรับรู้ และการประมวลผลข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการมา ยังคงไม่สามารถ
รับมือกับความต้องการของสถานที่ทำงานหรือถนนสมัยใหม่ได้ ดังนั้นเราไม่สามารถตำหนิหากทำผิดพลาด
ขึ้น เช่นเดียวกับเรื่องนี้ การตระหนักในความรับผิดชอบ และปฏิบัติใหเ้ กิดผลสัมฤทธิ์จริงของวัฒนธรรมเชิง
ป้องกันของผู้บริหารจำเป็นจะต้องมี มักถูกละเลย การตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุอย่างละเอียด มักจะ
แสดงใหเ้ หน็ วา่ กฎระเบียบด้านความปลอดภัยท่ีมีไว้เพ่ือช่วยชวี ิตนัน้ ถูกละเลยโดยเจตนาหรือจงใจ หรือ ไม่ก็
ระบบที่มีอยู่ไม่ได้ถูกออกแบบให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ทั้งสองกรณีนี้ ถ้ามีการจัดการ
แทรกแซงไดท้ นั เวลาก็จะชว่ ยปอ้ งกนั ไมใ่ ห้เกิดอุบัติเหตไุ ด้

อย่างไรก็ตาม นี่หมายความว่าด้วยอุบัติเหตุทางจราจรเกือบทั้งหมด และอุบัติเหตุจำนวนมากในที่
ทำงาน เราสามารถพบข้อผิดพลาดของมนุษย์ในหลาย ๆ แห่งในห่วงโซ่ของเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเกิด
อบุ ัติเหตุ ถึงกระนั้น VISION ZERO ก็ยังยนื ยนั ว่าความผดิ พลาดจะตอ้ งไมท่ ำให้มีการเสยี ชวี ติ

หลกั การขอ้ ที่ 3 ความสามารถในการทนตอ่ แรงกดดันทางร่างกาย และจิตใจเปน็ สิ่งสำคญั
(The Third Principle: The ability to cope with physical and mental pressure is crucial.)

เป็นที่ชัดเจนว่าเรายอมรับว่าผู้คนจะทำผิดพลาดได้ เราต้องมั่นใจว่าเมื่อใดที่อุบัติเหตุเกิดขึ้น ต้องไม่
ก่อให้เกิดการบาดเจ็บขั้นรุนแรง “ทุกคนต้องได้รับความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี” เป็นวิธีที่สภา
ความปลอดภัยทางถนนของเยอรมนี (DVR) กำหนดไว้เมื่อเลือกใช้กลยุทธ์ VISION ZERO จึงมุ่งมั่นที่จะ
พัฒนาหลักการออกแบบสำหรับยานพาหนะ และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งลดการบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึง
ระบบความปลอดภัย และการชว่ ยเหลอื (เช่น ถงุ ลมนริ ภัย เปน็ ต้น)

ในสถานที่ทำงาน ระบบความปลอดภัย และการช่วยเหลือมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเมื่อพิจารณาถึง
การที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ
ควบคมุ การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เนต็ (Internet of Things) ตวั อย่างเช่น มนุษย์
และเครอ่ื งจักรอจั ฉริยะจะทำงานเคียงขา้ งกนั ในสถานที่ทำงานหลายแหง่ โดยไม่มีสงิ่ กดี ขวาง หรอื ป้องกนั

4

หลักการข้อที่ 4 การป้องกันต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด (The fourth principle: Situational prevention
comes first.)

ผู้ใช้ถนน และคนทำงานไม่สามารถสร้างสภาพการทำงาน หรือระบบการจราจรที่ปลอดภัยด้วย
ตนเอง ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องคิดต่อไป: สถานที่ทำงาน และระบบการจราจรต้องได้รับการปรับให้
เหมาะสมกับธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ ไม่ใช่วิธตี รงข้ามกัน ในแนวคิดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยแบบ
ดั้งเดิม เราเรียกสิ่งนีว้ า่ เป็นการให้ลำดับความสำคัญต่อการป้องกันตามสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้
ทำให้บุคคลอยู่เหนือความรับผิดชอบของตนเอง ในทางตรงกันข้าม ทุกคนต้องตระหนักถึงความเสี่ยงต่อ
ตนเอง และผู้อื่น อันเป็นผลมาจากสิ่งที่ทำ และสิ่งท่ีไม่ได้ทำ ในประเทศสวีเดน เขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ความ
รับผิดชอบร่วมกัน” บุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ ขณะที่ผู้ออกแบบ
ระบบตอ้ งม่ันใจวา่ ระบบทง้ั หมดปลอดภัย ผู้ออกแบบระบบ สว่ นใหญเ่ ปน็ นายจ้าง ผ้จู ดั การ ผูผ้ ลิตเครอื่ งจักร
นกั วางแผน และเจ้าหนา้ ทีร่ ัฐ

บางครั้งนักวิจารณ์อ้างว่า VISION ZERO ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง แต่มีคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้
ใครบ้างต้องการบอกกับบุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บถาวรจากอุบัติเหตุว่าโศกนาฏกรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และเหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย อย่างนั้น หรือถ้าท่านต้องการประสบผลสำเร็จที่ดีที่สุด
และสามารถทำไดจ้ รงิ ท่านตอ้ งเป้าหมายสำหรบั ส่ิงที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ และเร่อื งราวของความสำเร็จ ใน
การบิน และการขนส่งทางรถไฟ VISION ZERO นับเป็นมาตรฐานทองที่ใช้กันมายาวนาน และผู้คนท่ี
นำไปใช้บรรลุผลสำเร็จอย่างกว้างขวาง และในการเกิดที่ไม่บ่อยครั้งของอุบัติเหตุร้ายแรงจากการเดินทาง
ทางอากาศหรือรถไฟ แต่เมื่อเกิดขึ้นจะถูกนักการเมือง สื่อมวลชน และสาธารณชนเรียกร้องให้มีการ
สอบสวนเพื่อมิให้อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ในทางตรงกันข้าม ภัยพิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันในท่ี
ทำงาน และบนท้องถนนแทบจะไมไ่ ดร้ ับความสนใจ

แต่เมื่อนักวิจารณ์หันไปใช้เหตุผลเรื่องค่าใช้จ่าย ก็มักมีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่าความเสียหาย
30 พันลา้ นยโู ร ทม่ี ีสาเหตจุ ากอุบตั เิ หตบุ นท้องถนนในแตล่ ะปมี ผี ลตอ่ เศรษฐกิจของเยอรมนี ความเสียหายท่ี
เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงานจะน้อยกว่ามาก เนื่องจากการจ่ายเงินโดยบริษัทประกันอุบัติเหตุเพียงอย่าง
เดยี วอยทู่ ี่ประมาณ 10 พนั ลา้ นยโู รในแต่ละปี ในระดับโลก องคก์ ารแรงงานระหว่างประเทศประมาณการว่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกประมาณ 4% สูญเสียไปเป็นค่าใช้จ่ายของการบาดเจ็บ
การเสียชีวิต และโรคภัยไข้เจ็บจากการขาดงาน การรักษาความเจ็บป่วย ความทุพพลภาพ และประโยชน์
ทดแทนสำหรบั ผ้ทู ยี่ งั มชี ีวติ อยู่

5

หลักสตู รที่ 2: เคร่อื งช่วยชวี ิต 12 สิ่ง สำหรบั ผจู้ ดั การ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS)
สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมนีสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี (BG RCI)
ครอบคลุมบริษัท มากกว่า 30,000 แห่ง โดยมีพนักงานเอาประกันจำนวน 1.4 ล้านคน ถัดจากการประกัน
การฟืน้ ฟูสมรรถภาพ และการชดเชยในกรณีที่เกิดอบุ ัติเหตใุ นท่ีทำงาน ขณะเดนิ ทางไป - กลับที่ทำงานหรือ
เนื่องจากโรคจากการทำงาน สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และ
อุตสาหกรรมเคมี (BG RCI) มุ่งเน้นไปที่การป้องกันใน บริษัทสมาชิกของตน ความมุ่งมั่นที่ต่อ
VISION ZERO สถาบันประกันอุบัติเหตุทางสังคมของเยอรมันสำหรับวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมเคมี
(BG RCI) ทำการศึกษาอุบัติเหตจุ ากการทำงานที่เสียชีวติ 303 ครัง้ เพอื่ พจิ ารณาความเสย่ี งสูงสุด ผลลัพธ์คือ
เคร่ืองชว่ ยชีวติ 12 สิ่ง สำหรับผจู้ ัดการ (12 LIFESAVERS FOR MANAGERS)
เคร่ืองชว่ ยชีวติ 12 สง่ิ (12 LIFESAVERS)
เป็นกิจกรรม 12 สิ่งที่ลดหรือป้องกันการทำให้เกิดความเสี่ยงสูงสุดต่อพนักงานในองค์กร
แต่ละกจิ กรรมจะระบุถึงความเสีย่ งหลัก และขอ้ กำหนดขน้ั ต่ำสำหรับการปฏิบตั ิกจิ กรรมต่าง ๆ เหล่าน้ีอย่าง
ปลอดภัย
ความจรงิ ท่เี ข้าใจง่าย: “เครอื่ งช่วยชวี ิต 12 ส่ิง” สำหรบั พนักงาน แต่ละสิ่งอธิบายอย่างกระชับว่าจะต้อง
ทำอะไรเพ่ือป้องกันสาเหตุท่วั ไปของการเสยี ชีวิต เหล่านเ้ี ป็นผลลัพธข์ องมาตรการเพือ่ การวิเคราะห์ทดี่ ขี ึ้น
เอกสารนเี้ ปน็ สว่ นหนง่ึ ของอนุกรมวธิ ีการปฏบิ ัติ VISION ZERO (Series of VISION ZERO Practice)

6

ความรับผดิ ชอบของฉัน - เปน็ ผนู้ ำด้านความปลอดภยั และแนวปฏบิ ัตทิ ่ีดสี ำหรับผบู้ รหิ าร

เคร่อื งช่วยชวี ิต 12 ส่งิ สำหรับผู้จดั การ (12 LIFESAVERS for Managers)

ผู้จัดการต้องมีความเป็นผู้นำ และมีความรับผิดชอบต่อ
ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของพนักงาน พึงตระหนัก
เสมอว่าพนักงานทุกคนที่มาทำงานจะต้องปลอดภัยเมื่อมา
ทำงาน เชน่ เดยี วกบั การกลบั บา้ นดว้ ยความปลอดภัย

การที่ทราบกิจกรรมหลักขององค์กรที่มีความเสี่ยงสูง
สำหรับพนักงานและได้มีการปฏิบัติที่ดี กำหนดแนวทาง และ
ดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง และป้องกันอันตรายต่อพนักงาน
นับเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบของ
ผู้จัดการ

1

ทราบความจรงิ - หลีกเลยี่ งอนั ตรายต่อชีวติ ผู้บริหารต้องทราบความเสี่ยงและอุบัติเหตุ
ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน และมี
เป็นความรับผิดชอบของฉันที่จะทำให้พนักงานของฉันตระหนกั หน้าที่ทำให้พนักงานรับรู้ถึงภัยหรืออันตราย
ถึงอันตรายจากอุบตั เิ หตทุ มี่ โี อกาสเสยี่ งสงู เป็นพิเศษ ทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้น และส่งเสริมให้
ฉันมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัท และงานจะ พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และ
สำเร็จอยา่ งปลอดภยั ปลอดภยั ตามทกี่ ำหนด

ความจรงิ :
90% ของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิตทั้งหมดเกิดจาก
อบุ ตั เิ หตุ 5 ประเภทเท่านน้ั
ใน 12 ปี อุบัตเิ หตุ 5 ประเภทนี้เพียงอยา่ งเดียวทำให้มีผู้เสียชีวิต

270 คน

โดยการ
• อบรมให้ความรูแ้ กพ่ นักงาน
• ส่อื สารอนั ตรายท้งั ทเ่ี ปน็ วาจา และไม่ใชว่ าจา
• กำกบั ดูแลใหท้ ำงานตามคู่มือ/วธิ กี ารทำงานทป่ี ลอดภยั

7

2

ความเส่ียง: บง่ ช้ี บริหารจัดการ ผู้บรหิ ารมหี นา้ ทท่ี ำให้ภัยอันตรายในทุกงานได้รับ
รักษาชีวติ ได้! การพิจารณาอย่างเป็นระบบ และกำหนดให้มี
มาตรการเพื่อคุ้มครอง และจัดการกับความเสี่ยง
ฉันรับผิดชอบว่าอันตรายถูกตรวจสอบอย่างเป็นระบบ เหลา่ น้นั
สำหรับกิจกรรมทั้งหมด มีการระบุมาตรการป้องกันที่
จำเป็น และความเส่ยี งได้ถกู บริหารจดั การ

ความจริง:
ทุก ๆ รายที่สามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
ไมม่ ีการประเมินความเสยี่ ง หรือ มีเพียงการประเมินความ
เสี่ยงทไ่ี ม่เพยี งพอเท่าน้นั

โดยการใชห้ ลกั การ 3ป (SAM)
• ปลกู จติ สำนกึ ใหเ้ ห็นถงึ ภยั อนั ตราย (Spot the hazard)
• ประเมินความเสี่ยง (Assess the risk)
• ปรับปรุงเปล่ยี นแปลง (Make the change)

3

ทำตวั เป็นแบบอย่าง ดู ลงมือทำ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ควรทำให้เห็น
อย่างสมำ่ เสมอ และคาดเดาได้ และเข้าไปจัดการ
ฉนั ตระหนกั ถึงหนา้ ทีข่ องฉนั ในฐานะทเี่ ป็นแบบอย่าง การ ทันทีเมื่อเห็นว่ามีการทำงานหรือสภาพการ
กระทำของฉันสอดคล้อง และคาดการณ์ได้ และฉันก็เข้า ทำงานทีไ่ มป่ ลอดภยั
แทรกแซงวธิ ีการท่ีไม่ปลอดภยั ทนั ทีดว้ ย

ความจรงิ :
สองในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
เกี่ยวข้องกับความประมาทเลินเล่อ อันตรายเป็นที่เห็น
ชัดเจนนั้น ผู้จัดการ และผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุควร
ทราบ

โดยการ
• สวมอุปกรณค์ ุ้มครองความปลอดภัยตามที่กำหนด
• สัง่ ให้หยดุ ทำงานเมื่อมีการกระทำ หรอื สภาพไม่ปลอดภยั
• แก้ไขปรับปรงุ การกระทำ หรอื สภาพไมป่ ลอดภยั ทนั ทีทเี่ ปน็ ไปได้

8

4

กจิ วตั รประจำ ประสบการณ์ ผู้บริหารควรเฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมการ
ทำงานของพนักงานที่มีประสบการณ์สูง ๆ และ
สามารถทำใหถ้ งึ แก่ชีวติ ได้ ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้เห็นว่าเรื่องความ
ปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเสมอ และถ้าไม่
ฉ ั น ส ั ง เ ก ต พ ฤ ต ิ ก ร ร ม ก า ร ท ำ ง า น ข อ ง พ น ั ก ง า น ท ี ่ มี แน่ใจบอกให้เขา ”หยุด” ได้
ประสบการณ์โดยเฉพาะ ฉันสนับสนนุ ให้พนกั งานทกุ คนให้
ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยเสมอ และในกรณีที่มี
ขอ้ สงสัยทจ่ี ะพดู วา่ “หยุด”
ความจริง:
“ผเู้ ช่ยี วชาญ” มีความเสย่ี งสงู สดุ ในการประสบอุบตั เิ หตุถึง
แก่ชวี ติ มากกว่าทุก ๆ คนทส่ี ามประสบอุบัตเิ หตุอยู่ในช่วง
อายุ 45-54 ปี ดว้ ยประสบการณ์ท่ียาวนานเป็นพเิ ศษ

โดยการ

• ต้องเพม่ิ ความระมัดระวังในการทำงานมากกว่าปกตโิ ดยเฉพาะอย่างย่ิง
งานที่มีประสบการณม์ ายาวนาน จนเป็นความคุน้ ชิน

• การเฝา้ ระวงั การทำงาน และย้ำเตอื นเร่อื งความปลอดภัย ฯ ยงั สำคัญ
และจำเป็นเสมอ

5

ปลอดภยั ในการทำงาน: ระบุให้ชัด แนะนำ ผู้บริหารต้องจัดให้มีข้อกำหนดวิธีการทำงาน
ตรวจสอบ อย่างปลอดภัยใหแ้ ก่พนกั งาน และตรวจสอบด้วย
ว่าพนักงานได้เข้าใจ และปฏิบัติตามข้อกำหนด
ฉันระบุวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยสำหรับกิจกรรม เหลา่ นน้ั แล้ว
ทัง้ หมด
ฉันมั่นใจว่าได้ให้คำแนะนำที่ครอบคลุม และเข้าใจได้ง่าย
ตัวฉันเองตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานของฉนั เข้าใจ และ
ปฏบิ ัตติ ามขอ้ กำหนด

ความจริง:
หนึ่งในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
รูปแบบการทำงานที่ปลอดภัยไม่ได้ระบุไว้ หรือ ระบุไว้ไม่
เพียงพอ หรือ คำแนะนำไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ประสบ
อุบัติเหตุไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงาน
อยา่ งปลอดภัยเขา้ ใจทจ่ี ำเป็นในการทำงานอยา่ งปลอดภัย

โดยการ

• จัดทำ/กำหนดวิธีการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน หรือ กระบวนการทำงานที่ชัดเจน
โดยบรู ณาการความปลอดภัย ฯ เข้าไปในการปฏิบัติงาน

• สอนงาน เฝ้าระวัง และตรวจสอบใหแ้ นใ่ จว่าพนักงานเขา้ ใจ และปฏบิ ัติงานได้ถูกต้อง
9
ตามทก่ี ำหนด

6

อุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ผู้บริหารต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยท่ี
จำเป็น และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน
และอุปกรณค์ วามปลอดภัย สำคญั สำหรบั ชีวติ บุคคลมีใช้อยู่เสมอ เป็นต้นแบบที่ดี และจัดการ
กบั พฤตกิ รรมทีไ่ มถ่ กู ต้องทนั ที
ฉันม่นั ใจว่าอปุ กรณ์ความปลอดภัยท่จี ำเปน็ ของบรษิ ทั และ
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลมีพร้อมใช้งาน
และมีการใชง้ านอยเู่ สมอ ฉันเป็นแบบอย่างท่ีดี และจดั การ
กับพฤตกิ รรมท่ไี ม่ถูกตอ้ งได้ทันที
ความจรงิ :
แม้ว่าอปุ กรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นหรืออปุ กรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคล (เช่น เข็มขัดนิรภัยใน
ยานพาหนะ อปุ กรณป์ อ้ งกนั การตก อปุ กรณ์ลอ็ ค) มอี ยูใ่ น
สถานที่และใช้งานได้ พบว่าทุก ๆ คนที่ห้าของอุบัติเหตุ
จากการทำงานท่ถี ึงแก่ชีวิตไมไ่ ด้ใชอ้ ปุ กรณเ์ หลา่ นี้

โดยการ

• จัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็น กำหนดให้ใช้ และให้มีการ
บำรุงรักษาใหพ้ ร้อมใชง้ านเสมอ

• ห้ามพนักงานทำงานเมือ่ ไม่สวมใส่อปุ กรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

7

ยานพาหนะ เครอ่ื งขนดนิ รถโฟลค์ ลฟิ ต์

อนั ตรายต่อชีวิต

เป็นความรับผิดชอบของฉันทีจ่ ะทำใหค้ วามเสี่ยงลดลงด้วย ผู้บริหารรับผิดชอบที่จะทำให้ยานพาหนะ
การใชย้ านพาหนะของเราทมี่ ีมาตรการทเ่ี หมาะสม รวมถึง ทั้งหลายมีความเสี่ยงน้อยที่สุดด้วยมาตรการท่ี
แนวคิดเกี่ยวกับการจราจร เส้นทางการจราจรที่ปลอดภัย เหมาะสม เช่น การจัดระเบียบการจราจร การ
ยานพาหนะที่ปราศจากข้อบกพร่อง และพฤติกรรมที่ ดูแลบำรุงรักษายานพาหนะ รวมทั้งพฤติกรรม
คำนงึ ถงึ ของผเู้ ข้ารว่ มการจราจรทุกคน ของผ้ใู ช้เส้นทางจราจรด้วย
ความจริง:
หนึ่งในสามของอุบัติเหตุจากการทำงานที่ถึงแก่ชีวิต
เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ (เช่น รถตักล้อยาง รถบรรทุก
รถเทรลเลอร์ รถโฟล์คลิฟท์ รถยนต์) ในที่นี้มีผู้เสียชีวิต

100 คนรวมทัง้ คนเดินถนนเกือบ 30 คน

โดยการ

• ยานพาหนะทกุ ชนิดไดร้ บั การบำรงุ รักษาเชงิ ปอ้ งกนั ตามกำหนดเวลา

• ผู้บังคับ/ผู้ขบั ข่ีมีทักษะ และความสามารถในการใช้งานอยา่ งปลอดภยั

• มกี ารจัดเสน้ ทาง และระเบยี บจราจร

• การตรวจเฝ้าระวงั พฤติกรรมผู้ทำง1า0น และผ้เู กย่ี วขอ้ ง

8

เครื่องจักรทำงานผิดปกติ การทำความสะอาด ผู้บริหารมีหน้าที่วางแผนงาน และเฝ้าระวังการ
การซ่อมบำรงุ มีอันตรายสูงสดุ ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ปลอดภัยเมื่อเครื่องจักร
บกพร่อง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
ฉันมีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนและตรวจสอบ เมื่อทำการซ่อมแซม หรือ ทำความสะอาด
ขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยด้วยการทำให้ข้อผิดพลาด เครื่องจักร และอุปกรณ์
หมดไป การซ่อมแซม และงานทำความสะอาดเครื่องจักร
และโรงงาน ฉันตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตาม
ข้อกำหนด

ความจรงิ :
ในระหว่างการทำงานเหล่านี้ มีผู้เสียชีวิต 60 คนเนื่องจาก
ขาดหรือ ละเลยคำแนะนำในการทำงาน

โดยการ

• บูรณาการความปลอดภัยเข้าในวิธีการแกไ้ ขข้อผิดพลาด/การปรับแต่ง/การบำรุงรักษา/
ทำความสะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น การปิดล็อค และแขวนป้ายเตือน
(Lockout-Tagout) การปิดเคร่ืองกอ่ นเคลยี รแ์ จม

• จดั ให้มีระบบการตรวจติดตาม และเฝ้าระวงั การปฏบิ ัติงาน ตามข้อกำหนด

9

การทำงานของอุปกรณ์ความปลอดภัย ช่วยชวี ิต ผู้บรหิ ารตอ้ งแน่ใจวา่ อุปกรณ์ความปลอดภัยได้รับ
ได้ การตรวจสอบอยู่เสมอว่า ยังสามารถใช้งานได้ดี
และแก้ไขปรับปรุงหากพบว่าเสียหาย และต้อง
ฉันแน่ใจว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยทั้งหมดทำงานอย่างมี แน่ใจด้วยว่าอุปกรณ์เหล่านี้ได้ถูกใช้งานตามที่
ประสิทธิภาพ ได้รับการตรวจเป็นประจำ และข้อบกพร่อง กำหนดไว้
ต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ ฉันยังตรวจให้แน่ใจว่า
อุปกรณ์ความปลอดภยั มีการใชง้ านตามวัตถุประสงค์

ความจรงิ :
มีผู้เสียชีวิต 20 คนระหว่างทำงานกับเครื่องจักรและ
โรงงานเนื่องจากอุปกรณ์ความปลอดภัย (เช่น แสงกั้นเพื่อ
ความปลอดภัย สวิตช์ความปลอดภัย อุปกรณ์ล็อค) ได้ถูก
ปลดออกจากตำแหน่งหรือถูกปรับเปลี่ยน

โดยการ

• ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ เช่น ปุ่มหยุดฉุกเฉิน ม่านแสง
ระบบอินเตอร์ล็อค ทำงานเป็นปกติ

• ตดิ ตงั้ อุปกรณ์ความปลอดภัยตา่ ง ๆ ทีเ่ หมาะสม และใชง้ านได้ทเ่ี ครอื่ งจกั ร

• ไมม่ กี ารดดั แปลง/ตกแตง่ อุปกรณค์ วามปลอดภยั หรอื ถอดออก
• จดั ใหม้ รี ะบบการตรวจตดิ ตาม และ1เฝ1า้ ระวงั การปฏบิ ัตงิ าน ตามข้อกำหนด

10

การตกทำให้ตายได้ ป้องกันไมใ่ ห้เกดิ ขนึ้

ฉนั ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการทำงานบนท่คี วามสูงนั้น

ดำเนนิ การอยา่ งปลอดภยั โดยใช้มาตรการทางเทคนคิ และ

มีการใช้อปุ กรณค์ มุ้ ครองความปลอดภยั ส่วนบคุ คลทีจ่ ำเปน็

อยา่ งสม่ำเสมอ หลกี เลยี่ งการทำงานบนบันไดเท่าที่จะทำได้ ผู้บริหารต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการทำงานบน
ความจรงิ : ที่สูงมีความปลอดภัย ผู้ทำงานใช้อุปกรณ์
มีผู้เสียชีวิต 47 คนจากการตกลงมาจากที่สูง ความสูงที่ คุ้มครองส่วนบุคคลที่จำเป็นตามข้อกำหนด
ต่ำสุดน้อยกว่าหนึ่งเมตร การทำงานบนบันได และบน บันไดหรือพื้นยกระดับต้องมั่นคงแข็งแรง และมี
หลังคาราบ (หลงั คาทะล)ุ สามารถส่งผลให้เสียชีวิตได้ เคร่ืองปอ้ งกนั การตก

โดยการ

• กำหนดมาตรการความปลอดภัยในการทำงานบนทีส่ ูง และแน่ใจว่ามีการปฏิบตั ิตาม

• จดั หา ตดิ ตง้ั อปุ กรณ์ป้องกันการตก และแน่ใจวา่ อยใู่ นสภาพดี ผ้ปู ฏิบตั งิ านใชถ้ กู ตอ้ งเหมาะสม

๐1ผ1้บู ังคบั /ผูข้ ับข่มี ีทกั ษะและความสามารถในการใช้งานอยา่ งปลอดภยั ผู้บรหิ ารควรสงั่ ใหพ้ นกั งาน

วัต๐ถุตมกี าพรจลดัิกเคสว้นำ่ ทาพงังทและารยะมเบีอยี นั บตจรราายจถรึงชวี ติ ออกจากบริเวณเหนือศรี ษะ

ฉัน๐แนกะานรำตใรหว้พจนเกัฝง้าารนะขวองั งพฉฤันตอยิกู่นรอรมกพผื้นทู ทำี่ทงาี่อนาจแมลีอะันผต้เู กรา่ียยวข้อง ที่มโี อกาสเกิดอันตรายจาก
จากการพลกิ ควำ่ หรือ ตกลงมาของวัตถุ หรือช้ินส่วน ซึง่ ไม่
วสั ดุสิ่งของตกใส่ หลน่ หรอื
สามารถจะป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ ฉันมั่นใจว่าได้

ดำเนินการจัดเก็บ และขนส่งด้วยวิธีที่จะไม่มอี ะไรตก หรือ พลกิ คว่ำและการจัดเกบ็ หรือ
พลิกควำ่ ได้ เคลือ่ นย้ายสงิ่ ของเหล่าน้นั

ความจรงิ : เพือ่ ลดความเส่ยี ง หรอื ปอ้ งกนั

มี 45 คนเสียชีวิตจากการถูกชิ้นส่วน หรือวัตถุพลิกคว่ำ อนั ตรายจากส่ิงของตกใส่ หลน่ หรอื พลิกคว่ำลง
หรือตกลงมาทับ บ่อยครั้งที่ไม่มีการยึดวัตถุให้มั่นคง หรือ
น้ำหนักบรรทุกไม่ได้ยึดให้ปลอดภัยจากการพลิกคว่ำ หรือ จากด้านบน

ตกลงมาได้

โดยการ
• ตรวจสอบเพื่อใหแ้ น่ใจว่ามกี ารป้องกนั วัสดุส่งิ ของตก หลน่ หรอื พงั ทลาย
• จากเหนอื ศีรษะลงสดู่ า้ นล่าง และตดิ ปา้ ยเตือนอันตราย
• จดั ทำร้ัวหรอื ก้นั แนวบริเวณทีม่ กี ารทำงานบนท่ีสูง หรอื อาจมีวัตถตุ กลงดา้ นล่างได้
• มกี ารจดั เก็บวสั ดุสิง่ ของต่าง ๆ เปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ย และยดึ โยงอย่างมนั่ คง
• ตรวจสอบ และแน่ใจวา่ ไมม่ กี ารบรรทกุ น้ำหนักเกนิ อัตราที่กำหนด

12

12 ผบู้ รหิ ารควรประเมินด้วย
ความระมดั ระวงั วา่ มี
อนั ตรายจากการระเบดิ ใช้มาตรการ ภัยอันตรายจากการระเบดิ
หรือ ไฟไหม้ในพ้ืนท่ี
ฉันประเมินอย่างรอบคอบว่าจะมีอันตรายจากการระเบิด ทีร่ บั ผิดชอบ หรือ ไม่ และ
หรอื อัคคีภัยในพืน้ ที่รับผดิ ชอบของฉัน หรือ ไม่ และดำเนนิ มีมาตรการที่จำเป็นแล้ว และต้องแน่ใจว่า
มาตรการที่จำเป็น ฉันตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงาน พนักงานเข้าทำงานในพื้นที่อันตรายพร้อมกับมี
ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายหลังจากได้รับอนุมัติ และด้วย เครื่องมือหรืออุปกรณ์เหมาะสม หลังจากที่ได้รับ
เคร่อื งมอื ท่เี หมาะสมโดยเฉพาะเทา่ น้ัน อนุญาตแลว้ เทา่ น้นั

ความจริง:
32 คนเสียชีวิตจากการระเบิด และผลที่ตามมาจากการ
ระเบดิ

โดยการ
• มีระบบขออนุญาตทำงานทมี่ คี วามเสย่ี งสูง กอ่ ให้เกิดระเบดิ หรอื อคั คภี ัย
• ตรวจสอบเพอ่ื ให้แนใ่ จว่ามีการตดิ ตั้งอุปกรณป์ อ้ งกันการระเบิดในพน้ื ท่ที ี่
• จัดเก็บวสั ดไุ วไฟ และมโี อกาสเกดิ ทำให้เกดิ ความร้อนหรือประกายไฟ

13

หลกั สตู รที่ 3: กฎทอง 7 ประการ ระดบั เบื้องตน้ (7 GOLDEN RULES)

อุบัติเหตุจากการทำงานรวมทั้งการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่ได้เกิดจากโชคชะตา
ด้วยความบังเอิญ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุด้วยกันทั้งส้ิน
การสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันท่ีเข้มแข็งสามารถลด หรือ กำจัดสาเหตุเหลา่ นี้เพื่อปอ้ งกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
และการเจ็บปว่ ยจากการทำงานได้

VISION ZERO คือความใฝ่ฝัน และความมุ่งมั่นที่จะสร้าง และทำให้มั่นใจว่างานที่ทำนั้นปลอดภัย
และมีสุขภาวะที่ดี โดยการป้องกันอุบัติเหตุ อันตราย และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน พร้อมทั้งส่งเสรมิ
ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจว่า
VISION ZERO เป็นการเดินทาง เป็นกระบวนการไปสู่อุดมคติ นอกจากนี้ยังเป็นวิสัยทัศน์ที่อิงคุณค่า ซึ่ง
หมายความว่า งานไม่ควรส่งผลเสียต่อความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ของผู้ปฏิบัติงาน และถ้า
เป็นไปได้ ควรช่วยเหลือพวกเขาธำรงรักษา หรือ ปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก
ของผู้ปฏิบตั งิ าน และพัฒนาใหผ้ ้ปู ฏิบัติงานมีความมน่ั ใจในตนเอง มคี วามสามารถ และให้ได้รบั การจา้ งงาน

VISION ZERO หรือวิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดในการจัดการ
อาชีวอนามัย และความปลอดภัยที่เป็นระบบ โดยการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับไปสู่การสร้างวัฒนธรรม
การป้องกันซึ่งรวมทั้ง 3 มิติของความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และความผาสุกในทุกระดับงาน
VISION ZERO มีความยืดหยุ่นสามารถปรับใช้ได้ตามระดับความสำคัญที่เฉพาะเจาะจงในด้านความ
ปลอดภัย สุขภาพอนามัย และความผาสุก เพื่อให้เกิดการป้องกันในบริบทต่าง ๆ ความยืดหยุ่นของ
VISION ZERO นี้จึงมีประโยชน์ต่อสถานที่ทำงาน สถานประกอบกิจการ องค์กรทุกขนาด ทุกประเภท
อุตสาหกรรมทีอ่ ย่ใู นทกุ ภูมภิ าคของโลก

ความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อ VISION ZERO สามารถทำให้เกิดการริเริ่ม และรักษากระบวนการ และ
การสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของ VISION ZERO ได้ VISION ZERO ไม่ใช่สิ่งที่คุณมี
หรือ บรรลุแต่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ VISION ZERO ไม่ใช่สำหรับองค์กรที่ดีที่สุด หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มี
ผู้เชี่ยวชาญดา้ นประสบการณ์มากนักในการบูรณาการความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก ให้เป็นส่วน
หนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ

14

ผูน้ ำ (LEADER)
ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 คำว่า “ผู้นำ” เป็นนามหมายถึง “หัวหน้า”

ผู้นำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จของสถานประกอบกิจการ หรือองค์กรเพราะผู้นำมี
ภาระหน้าท่ี และความรับผิดชอบโดยตรงที่ต้องวางแผนงาน สั่งการ ดูแล และควบคุมให้บุคลากรในสถาน
ประกอบกจิ การหรือองค์กรของตนปฏิบตั ิงานตามบทบาทหนา้ ที่ท่ไี ด้รบั มอบหมายให้ประสบความสำเร็จ

ผนู้ ำเปน็ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นในการช้ีนำ ดลใจ หรือ กระต้นุ ให้ผู้ใต้บังคบั บญั ชา หรือ ผู้ตาม เกิด
ความผกู พนั กับงาน ท่มุ เทความรคู้ วามสามารถ และทำงานสำเรจ็ ตามเปา้ หมายขององค์กรท่ีไดว้ างไว้ร่วมกัน
ดว้ ยความเต็มใจ โดยยึดหลกั คุณธรรม และจรยิ ธรรมในการบริหารจัดการ

ผบู้ รหิ าร และผ้นู ำอาจเปน็ บคุ คลคนเดยี วกนั หรอื เหมือนกันหรอื ไม่ก็ได้ โดยพจิ ารณาจากคุณลักษณะ
คือ ผู้บริหารจะเกี่ยวข้องกับงานเดิมที่ทำเป็นประจำ และจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่าง
ถูกต้อง (do things right) ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการใช้ทรัพยากรให้บรรลุจุดหมายของ
องค์กรไดด้ ี ในขณะที่ ผู้นำจะมุ่งกอ่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนวตั กรรม ในทิศทางท่ถี กู ต้อง (do the right
things) ความมีประสิทธิผล (effectiveness) และความสามารถจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเกิดแรงบันดาลใจใช้
ความสามารถพิเศษไดอ้ ยา่ งเต็มท่ี
ผูน้ ำแบง่ ออกเป็น 2 ลกั ษณะทแี่ ตกต่างกัน คือ

1) ผู้นำแห่งการจัดการ (transactional leader) หมายถึง ผู้นำที่จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน
ในระดับที่คาดหวัง โดยให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในงาน ความชัดเจนในจุดหมายการทำงาน ความ
มั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการ ให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการและ
รางวัลที่จะได้รับการตอบสนองกบั การทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

2) ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (transformational leader) เป็นผู้จูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานเกินกว่า
ความคาดหวังตามปกติ มุ่งไปที่ภารกิจงานอย่างกว้าง ๆ ด้วยความสนใจที่เกิดขึ้นภายในตน มุ่งบรรลุความ
ต้องการในระดับสูง เช่น ความสำเร็จของงาน มากกว่าความต้องการในระดับต่ำ เช่น ความปลอดภัยหรือ
ความมั่นคง และทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการที่จะใช้ความสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จใน
ภารกจิ ท่ีเกนิ ปกตินนั้

การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มาแทนที่การเป็นผู้นำแห่งการจัดการ แต่จะช่วยเสริมหรือ
กอ่ ใหเ้ กดิ ผลทเ่ี พ่ิมข้นึ (add-on effect) จากการเป็นผู้นำแห่งการจัดการ

15

ภาวะความเปน็ ผู้นำ (LEADERSHIP)
ภาวะผู้นำ หมายถึงความสามารถของบุคคลในการนำพาผู้ติดตาม หรือสมาชิกในองค์กรให้ประสบ

ความสำเร็จ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดีสามารถสร้าง และสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนได้
และสามารถชักจงู ผตู้ ิดตามไปสเู่ ปา้ หมายรว่ มท่ีผนู้ ำคนเดียวไมส่ ามารถทำได้

ผนู้ ำท่ีดตี ้องมีความมั่นใจ รบั ฟังความคดิ เหน็ ของผู้ตดิ ตาม ตดั สนิ ใจได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ มที ักษะใน
การสือ่ สารสงู และสามารถชกั จงู ผู้อนื่ ได้ ความสำคัญของทกั ษะเหล่านีข้ ้ึนอยูก่ บั วฒั นธรรมขององคก์ ร ความ
คาดหวงั ของผ้ตู ิดตาม และชนดิ ของงานดว้ ย

แนวคิดจากบทความของจิม คอลลินส์ เรื่องชัยชนะแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน และการแก้ไขความ
รุนแรง ไดจ้ ดั ลำดบั ชน้ั ของผูน้ ำไว้ 5 ระดับ

ระดบั ท่ี 1 บุคคลทมี่ ีความสามารถสงู (Highly Capable Individual)
ทำให้เกดิ ผลงานทีม่ ีประสทิ ธภิ าพดว้ ยความสามารถ ความรู้ ทกั ษะ และนสิ ัยการทำงานท่ีดี
ระดบั ท่ี 2 สมาชกิ ทีมท่ีสรา้ งผลงาน (Contributing Team Member)
มีส่วนชว่ ยในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อ่ืนได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพในการจัดตงั้ กลุ่ม
ระดบั ท่ี 3 ผจู้ ัดการท่ีมคี วามร้คู วามสามารถ (Competent Manager)
จัดระเบียบคนและทรัพยากรไปสู่ประสิทธิภาพ การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ลว่ งหนา้
อยา่ งมปี ระสทิ ธิผล
ระดับท่ี 4 ผู้นำท่ีมีประสิทธิภาพ (Effective Leader)
กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นและจริงจังในการดำเนินการของวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและผูกมัด กระตุ้นกลุ่ม
นำไปสู่มาตรฐานสมรรถนะสงู

16

ระดบั ที่ 5 ผู้บรหิ ารระดับ 5 (Level 5 Executive)
สร้างความยิ่งใหญ่ที่ยืนยง สามารถผสมผสานความขัดแย้งกัน ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน และ
ปณธิ านในวิชาชีพ

แนวปฏบิ ัติ VISION ZERO

การปรับปรุงด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในสถานประกอบกิจการ ไม่ได้หมายถึงการต้อง
เพมิ่ คา่ ใชจ้ า่ ยเสมอไป สิ่งสำคัญ คอื การทีน่ ายจ้าง ผบู้ ริหารหรอื ผ้นู ำองคก์ รมีความตระหนักและจติ สำนึกของ
ความเปน็ ผนู้ ำสม่ำเสมอตลอดเวลา สรา้ งบรรยากาศของความไว้เนื้อเช่ือใจกนั มกี ารสื่อสารอย่างเปิดเผยทุก
ระดับภายในองค์กร การนำกลยุทธ์เชิงป้องกนั ของ VISION ZERO ไปดำเนินการสู่การปฏิบัติต้องการการมี
ส่วนร่วมจากบุคลากรในองค์กรอย่างมากมายทุกระดับ ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการนำ
VISION ZERO ไปใชพ้ จิ ารณาได้จากนายจ้าง ผู้บรหิ าร หรือผ้นู ำองค์กร

เพอ่ื สนับสนนุ ให้นายจ้าง ผู้บรหิ าร หรือ ผนู้ ำองคก์ รสามารถปรบั ปรุงดา้ นความปลอดภยั และสุขภาพ
อนามัยในสถานประกอบกิจการตามแนวทาง VISION ZERO หน่วยงาน ISSA ได้มีการสำรวจและสอบถาม
เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่ดีทีส่ ุด กลุ่มนายจ้าง ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ผู้แทน
ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน รวมกว่า 1,000 ราย ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้นำมาสูก่ ารพัฒนาเครื่องมือการ
บริหารเชิงปฏิบัติขึ้นเพื่อใช้ในการเสริมสร้าง VISION ZERO ในรูปแบบของกฎทอง 7 ประการ
(7 Golden Rules)

ทำไมต้องเรียกว่า “กฎทอง” (Golden Rules) เพราะ “กฎ” คือความจริงที่แน่แท้แน่นอน และที่ใช้
“ทอง” กเ็ พ่อื มาเน้นว่ามีคุณค่ามาก เปน็ ความจรงิ ทีท่ รงคณุ คา่ เป็น “กฎของคุณธรรม” (Mindset) ท่ีต้องมี
เพอ่ื ตวั เอง ครอบครวั เพอ่ื นรว่ มงาน และสังคมโดยรวม กำหนดเป็นวิสัยทัศนส์ ว่ นตน

การใชแ้ นวปฏิบัตติ ามรูปแบบกฎทอง 7 ประการ

กฎทองแต่ละข้อในแนวปฏิบัตินี้มีคำอธิบายภาพรวมโดยย่อ และลำดับชุดของหลักการ รวมถึง
คำแนะนำกิจกรรม หรือวิธีดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการนำ
VISION ZERO ไปประยุกต์ใช้ หรือบูรณาการในปฏิบัติการ ซึ่งทำให้สามารถทราบได้ว่าแนวปฏิบัติใน
กฎทอง 7 ประการข้อใดบ้างที่ได้ดำเนินการแล้วในสถานประกอบกิจการของท่านในปัจจุบัน
มคี วามจำเป็นตอ้ งดำเนินการแกไ้ ข หรอื ยังสามารถปรบั ปรงุ เพ่ิมเตมิ ได้อีกหรือไม่

การนำ VISION ZERO ไปดำเนินการให้เกดิ ผลสำเรจ็ ในสถานที่ทำงานไดอ้ ย่างไร อะไรบ้างที่นายจ้าง
ผู้จัดการ ตัวแทนพนักงาน หัวหน้าคนงาน หรือหัวหน้าแผนกสามารถทำได้ คำถามนี้ได้ถูกพูดคุยกันเป็น
ประจำ - ไม่ว่าที่ใดในโลกนี้ ความจำเป็นสำหรับแนวทางใหม่ คือจะต้องเข้าใจ และได้รับการยอมรับ
บอ่ ยครงั้ สิ่งทต่ี ้องทำคือการปฏบิ ตั อิ ย่างรอบคอบ และการจัดการที่สมำ่ เสมอ

คู่มอื VISION ZERO ไดถ้ กู พัฒนาขน้ึ เพ่ือให้ข้อแนะนำและแรงบันดาลใจ ว่าทกุ คนสามารถทำอะไรได้
บ้างในส่วนงานความรับผิดชอบของตนเอง สิ่งหนึ่งคือความชัดเจนในเบื้องต้น: คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน

17

จำนวนมากเสมอไปในการปรบั ปรุงความปลอดภัย และสุขภาพในการทำงาน บ่อยครั้งเพียงแค่ใชป้ ระโยชน์
จากบรกิ ารท่ีเสนอโดยหน่วยงานผ้ใู หบ้ ริการประกนั สงั คม

ในการพัฒนาคู่มือ VISION ZERO มีสิ่งใหม่ ๆ เกดิ ขึ้นมากมาย พนกั งาน ผจู้ ดั การ และผู้เช่ียวชาญใน
สถานที่ทำงาน 700 คน ถูกถามในการประชุมเชิงปฏิบัติการว่ามีมาตรการง่าย ๆ อะไรที่พวกเขามี
ประสบการณ์เชิงบวก และมาตรการอะไรที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นผู้เช่ียวชาญด้านการป้องกัน 300 คนถูก
ถามว่าจากประสบการณ์ของพวกเขาอะไรเป็นปจั จัยพื้นฐานท่ีสำคญั ที่สุดเพือ่ สถานท่ีทำงานที่ปลอดภัยและ
มีสุขภาพดี คำตอบของพวกเขารวมอยู่ในคู่มือ - ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่ามีผู้เขียนที่หลากหลายจำนวน
1,000 คนจุดมุ่งหมายคือ การสร้างเครื่องมือที่ปรับลด หรือตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลือง และ
สามารถจัดการได้ เพราะมีหนังสือเรียน และเอกสารทางกฎหมายหนาเพียงพออยู่แล้ว เปา้ หมายของคู่มือนี้
อยู่ทน่ี ายจ้าง และผ้จู ดั การและแบง่ ออกเปน็ เจด็ กลุ่มหัวขอ้ เรยี กว่ากฎทอง 7 ประการ:

กฎทองข้อท่ี 1 มคี วามเปน็ ผนู้ ำ - แสดงใหเ้ หน็ ถึงความมุ่งมัน่
กฎทองข้อท่ี 2 ช้บี ง่ อันตราย - ควบคมุ ความเสย่ี ง
กฎทองข้อที่ 3 กำหนดเปา้ หมาย - จดั ทำแผนงาน
กฎทองขอ้ ที่ 4 มีระบบการจัดการความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย - ท่ไี ด้มกี ารจดั การทด่ี ี
กฎทองขอ้ ที่ 5 เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานทีท่ ำงานมีความปลอดภัยและไม่มผี ลกระทบต่อ

สขุ อนามยั
กฎทองขอ้ ที่ 6 ปรับปรงุ คณุ สมบัตขิ องบคุ ลากร - พฒั นาความรู้ความสามารถ
กฎทองข้อท่ี 7 ลงทนุ ในด้านบุคลากร - สร้างแรงจงู ใจโดยการให้มสี ว่ นรว่ ม

สำหรับแต่ละข้อของกฎทอง 7 ประการ คมู่ อื ประกอบด้วยคำนำโดยย่อ ตามด้วยเคลด็ ลบั ง่าย ๆ เพ่ือ
ตรวจสอบว่า สิ่งใดนำไปใช้ในสถานที่ทำงานแล้วประสบความสำเร็จ และมีที่สิ่งที่สามารถปรับปรุงได้อีก
จัดทำภาพรวมที่ง่ายและรวดเร็วของสภาพการณ์ ในเรื่องความปลอดภัยของบริษัท ซึ่งนำไปสู่รายการที่จัด
ความสำคัญของมาตรการท่ขี นึ้ อยกู่ ับการประเมนิ คำถามต่าง ๆ

กฎทองข้อท่ี 1 มคี วามเป็นผนู้ ำ - แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมน่ั
เป็นผ้นู ำและแสดงให้เห็น การทท่ี า่ นทำตวั เปน็ ผูน้ ำนั้น คือ การช้ีขาดความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลว

เร่อื งความปลอดภยั และสขุ ภาพอนามัยใหแ้ ก่องค์กรของท่าน
นายจา้ งทุกคน ผ้บู รหิ ารทกุ คน และผจู้ ัดการทุกคน มหี น้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยและสุขภาพ

ในองค์กรของตน คุณภาพของผู้นำไม่เพียงแต่กำหนดวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัย และสุขภาพในองค์กร
เท่าน้ันแตย่ งั ต้องทำอย่างไรทจี่ ะน่าสนใจ ประสบความสำเร็จ และยัง่ ยืน ความเป็นผนู้ ำตอ้ งการการส่ือสารท่ี
เปิดกว้าง และวัฒนธรรมการบริหารที่ชัดเจน ความเป็นผู้นำที่ดีแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง โดยความสามารถ
ในการคาดการณ์ ความสม่ำเสมอ และความเอาใจใส่

ผู้บริหารและผู้จัดการเป็นต้นแบบ: นำโดยทำเป็นตัวอย่าง สร้างกฎ และปฏิบัติตามกฎ ตรวจสอบให้
แน่ใจว่าทุกคนรู้กฎ และปฏิบัติตาม การละเมิดกฎจะต้องได้รับการแก้ไขทันที - สังเกตดูสิ่งต่าง ๆ การ

18

ชี้ให้เหน็ ถึงสภาวะที่เป็นอันตรายจะได้รบั รางวัล สิ่งที่ผู้จัดการทำ อดทน และประสงค์ เป็นการตั้งมาตรฐาน
สำหรบั พนักงานคนอน่ื ๆ

กฎทองขอ้ ที่ 2 ชีบ้ ่งอนั ตราย - ควบคุมความเส่ยี ง
การประเมินความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อใช้ในการชี้บ่งอันตรายและความเสี่ยง ในจังหวะ

เวลาที่เหมาะสม และอย่างเป็นระบบ และเพื่อปฏิบัติการป้องกันต่าง ๆ ได้ ทั้งอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และ
เหตุการณเ์ กือบเกดิ อบุ ัติเหตทุ ีเ่ กดิ ข้ึน ตอ้ งได้รับการประเมินด้วยเชน่ กัน

คุณเป็นคนฉลาด คุณใช้การประเมินความเสี่ยงที่ช่วยคุณในการชี้บ่งอันตราย และความเสี่ยงก่อนท่ี
อบุ ตั เิ หตุ และการหยดุ ทำงานของการผลิตเกิดขึ้น และชว่ ยคุณในการประเมนิ ความเส่ยี งท่ีอาจเกดิ ขึน้ รวมท้ัง
กำหนด และจัดทำเอกสารมาตรการป้องกนั ที่จำเป็น น่นั คือเหตุผลท่ีเครอ่ื งมือนใี้ ช้กันทว่ั โลกในปจั จบุ นั

เมื่อทำอย่างถูกต้องแล้ว การประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการเรียน
การสอนของพนักงานในองค์กรของคุณ การประเมินอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และเหตุการณ์ที่เกือบเป็น
อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นส่งิ สำคัญสำหรับการระบจุ ดุ มุ่งเนน้ หลักหรือการปรับปรุงทเ่ี ป็นไปได้

กฎทองขอ้ ที่ 3 กำหนดเป้าหมาย - จดั ทำแผนงาน
ความสำเร็จในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จำเป็นต้องมีเป้าหมายชัดเจน และขั้นตอนการ

ดำเนนิ งานทเ่ี ปน็ รปู ธรรมสามารถนำไปปฏบิ ัติได้ ซึ่งควรจดั ทำเปน็ รูปแบบของแผนงานโครงการ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามยั มีหลายแง่มุม จดั ลำดับความสำคัญกำหนดเปา้ หมายที่ชัดเจนสำหรับ

ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการของท่าน และมุ่งมั่นที่จะนำไปใช้ในระยะกลาง -
ตัวอย่าง เชน่ ในโปรแกรม 3 ปี

กฎทองขอ้ ท่ี 4 มีระบบการจดั การความปลอดภัยและสุขภาพอนามยั - ท่ไี ดม้ กี ารจดั การทด่ี ี
การจัดการเรื่องความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่ดี

เปน็ เรือ่ งท่ดี ำเนนิ การไดไ้ ม่ยาก และคุ้มค่าต่อการลงทนุ
ดว้ ยการจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามยั อย่างดีทกุ ๆ สถานประกอบกิจการจะทำงานได้

อยา่ งราบรน่ื มากขึ้น เพราะการหยุดชะงัก การหยุดทำงานของการผลติ และปญั หาคุณภาพลดลง สิ่งเหล่าน้ี
เป็นเหตุผลที่ดีสำหรับคุณในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยมี
ประสทิ ธิภาพ - เป็นสิ่งคุม้ คา่ รายการตรวจสอบสามารถชว่ ยคณุ ได้ ผทู้ ีต่ อ้ งการทำมากขึน้ ควรดำเนินการตาม
ระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยที่ช่วยให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เมื่อทุกอย่างเข้าที่
แลว้ การตรวจสอบทป่ี ระสบความสำเร็จจะได้รบั ใบรับรอง และการยอมรับ

กฎทองข้อที่ 5 เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานมีความปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
อนามยั

สง่ิ อำนวยความสะดวกในการผลติ เครือ่ งจกั ร และสถานที่ทำงานท่ปี ลอดภัยเปน็ ส่ิงสำคัญสำหรับการ
ทำงานท่ปี ราศจากอบุ ตั ิหตุ ผลกระทบต่อสุขภาพจะตอ้ งไดร้ บั การพจิ ารณาเชน่ กนั

กลยุทธ์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่มีประสิทธิภาพรวมถึง มาตรการทางเทคนิค การจัดการ
องค์กร และบุคลากรที่ด ควรให้ความสำคัญกับมาตรการทางเทคนิคก่อน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำ
ให้เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่ทำงานเป็นไปตามมาตรฐานด้านความ

19

ปลอดภัย และอาชีวอนามัยปัจจุบัน อีกทั้งยังกำจัดหรือลดส่ิงที่มีแนวโน้มวา่ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดย
ธรรมชาตแิ ล้วไมส่ ามารถใช้เทคโนโลยลี า่ สุดไดเ้ สมอไป นี่คอื ส่งิ ทจ่ี ำเปน็ ต้องมีการปรับปรงุ แกไ้ ขเพ่ิมเติม การ
แจ้งฝ่ายจัดซื้อว่าความปลอดภัยมาก่อน และหลักการที่ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยต้อง
เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ควรระลึกไว้เสมอว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นระหว่างการแก้ไขปัญหา เช่น
การซ่อมแซม หรือการบำรุงรักษา เพราะการออกแบบและการก่อสร้างมักไม่ได้คำนึงถึงในงานเหล่ าน้ี
รวมท้งั อปุ กรณ์ความปลอดภัยมักถูกขา้ มหรือไม่สามารถทำงานได้ การป้องกันน้เี ปน็ ความรบั ผิดชอบของฝ่าย
บรหิ ารจัดการ

กฎทองข้อที่ 6 ปรบั ปรุงคุณสมบัติของบคุ ลากร - พัฒนาความร้คู วามสามารถ
ลงทุนในการฝึกอบรมและทักษะของพนักงานของท่าน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าความรู้ที่จำเป็นมีอยู่

ในสถานทที่ ำงานทุกแหง่
หลงั จากเกดิ อบุ ตั ิเหตุใคร ๆ กม็ กั จะถามว่า: สิง่ นเี้ กิดขึ้นไดอ้ ย่างไร สงิ่ อำนวยความสะดวกด้านเทคนิค

และเครื่องจักรการผลิตมีประสิทธิผลมากขึ้น และเร็วขึ้นแต่ยังซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะทำงาน
ผิดพลาด สิ่งนี้ทำให้การปรับใช้บุคลากรที่ผ่านการรับรอง และผ่านการฝึกอบรมมาอย่างเป็นระบบมี
ความสำคัญมากข้นึ ในสถานที่ทำงาน เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสงู สดุ ทจ่ี ะตรวจสอบให้แนว่ ่าได้จัดทำ
คำอธิบายโดยละเอียดของข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับทกุ ตำแหน่งงานในสถานประกอบกิจการของท่านและ
คนทำงานทกุ คนสามารถทจี่ ะปฏิบตั งิ านในหน้าท่ตี ามตำแหน่งได้

สถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ครึ่งชีวิตของความรู้สั้นลงเรื่อย ๆ และทักษะของคนทำงาน
จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูเป็นระยะ ๆ การให้การฝึกอบรม และการศึกษาต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นมากข้ึน
กวา่ เดมิ ในขณะท่ีความเปน็ ผนู้ ำ และการบริหารก็ตอ้ งเรยี นรู้เชน่ กนั

กฎทองขอ้ ท่ี 7 ลงทุนในด้านบคุ ลากร - สรา้ งแรงจงู ใจโดยการใหม้ สี ว่ นรว่ ม
จูงใจพนักงานของท่านโดยให้มีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพทั้งหมด การลงทุนเช่นน้ี

คุ้มค่า การจูงใจพนักงานของท่านให้ปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ ถือเป็นความรับผิดชอบใน
การเป็นผูน้ ำท่ีสำคัญท่สี ดุ ประการหนึ่งของท่าน สถานประกอบกจิ การที่แสดงความขอบคุณพนักงาน และยัง
มีส่วนร่วมกับพนักงานอยา่ งแข็งขนั ในด้านความปลอดภัย และสุขภาพภายในองค์กรกำลังเข้าถึงศักยภาพที่
สำคญั : ความรู้ ความสามารถ และความคดิ ของพนกั งาน

เมื่อมีการปรึกษาพนักงาน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ดำเนินการประเมินความเสี่ยงหรือในการพัฒนา
คำแนะนำการใชง้ าน พนักงานกจ็ ะเต็มใจทจ่ี ะปฏิบตั ติ ามกฎ สง่ เสรมิ แรงจงู ใจผา่ นกจิ กรรมโต้ตอบปกติหรือ
วันแห่งการรับรู้ที่ซึ่งความปลอดภยั และสุขภาพสามารถ “อยู่” หรือ “ได้ประสบการณ์” ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ในการยกย่องพนักงานสำหรบั พฤติกรรมทป่ี ลอดภยั ถามพวกเขาเก่ียวกับความคิด แสดงความสนใจในงานที่
ยาก และเพื่อจัดการกับการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือเหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุทันที สิ่งนี้สามารถ
กำหนดทัศนคติส่วนตวั ของพนกั งานได้ และจงู ใจให้ทำงานอย่างปลอดภยั และมคี วามตระหนัก และเหนือส่ิง
อนื่ ใดดว้ ยความมน่ั ใจ
เปา้ หมายคือให้ทกุ คนดแู ลเพอ่ื นร่วมงาน และตวั เอง “หนง่ึ คนเพ่ือคนทง้ั หมด - คนทั้งหมดเพือ่ คนทกุ คน”

20

21


Click to View FlipBook Version