The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by porrakpor, 2019-09-21 02:33:26

ภาษิต

ภาษิต

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒)

หน่วยท่ี ๓ ภาษติ และสานวน

หวั ข้อเร่ือง
๑. ท่มี า ความหมาย ความแตกตา่ งระหวา่ งภาษติ และสานวน
๒. รูปแบบของภาษติ และสานวน
๓. เนอ้ื หาของภาษิตและสานวน
๔. โคลงโลกนติ ิ: สุภาษิตฉบบั วัดจันทร์ตะวตั ตก
๕. คุณคา่ ของภาษิตและสานวน
๖. ความร้เู สรมิ
๗. สรุปสาระสาคัญ

ผลการเรียนรู้ทคี่ าดหวงั

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษิตและสานวน ตระหนักเห็นคุณค่า และนาไป
ประยุกต์ใช้ในชวี ติ ประจาวนั ได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายที่มาและความหมายของคาว่าภาษติ และสานวนได้ถูกตอ้ ง
๒. สรุปรปู แบบของภาษติ และสานวนได้
๓. ชีบ้ ง่ รูปแบบของภาษติ และสานวน จากตัวอย่างท่กี าหนดใหไ้ ด้ถกู ตอ้ ง
๔. จาแนกเนอ้ื หาและอธบิ ายความหมายของภาษติ และสานวนได้
๕. เปรียบเทียบโคลงโลกนติ ิฉบับวดั จันทรต์ ะวันตกกบั ภาษติ สานวนทใ่ี ชใ้ นปจั จบุ นั ได้
๖. วเิ คราะห์คณุ คา่ ของภาษิตและสานวนและนาไปใชใ้ นชีวติ ประจาวันได้

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒

แนวคดิ

๑. ภาษิตและสานวนเป็นคติชนวิทยาประเภทประมุขปาฐะ อาจปรากฏหรือไม่ปรากฏว่าใครเป็นต้น
คดิ ภาษติ คอื คากล่าวทส่ี บื ทอดกันมาตามประเพณี หมายความรวมท้ังสุภาษิตและคาพังเพย ส่วนสานวนคือถ้อยคา
ท่ีเป็นช้ันเชิงชวนให้คดิ ไม่แปลตรงตัวแต่เปน็ ท่ีเขา้ ใจกัน

๒. ภาษิตแบ่งตามรูปแบบเป็นสองประเภท คือประเภทไม่มีสัมผัส มีสัมผัส และประเภท เล่นคา
ซา้ สานวนแบ่งรปู แบบออกเป็น ๒ประเภทคือประเภทไม่มสี มั ผัสและมสี ัมผสั

๓. ภาษิตและสานวน แบ่งตามเนื้อหาเป็น ๔ ประเภท คือเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและการครองเรือน ความ
เช่ือและขนบประเพณี อาชีพและความเป็นอยู่ในสังคม และเน้ือหาเกยี่ วกับลกั ษณะนิสัยและพฤติกรรมของคน

๔. โคลงโลกนติ ฉิ บับวดั จันทรต์ ะวนั ตกเป็นสภุ าษติ ที่มเี นื้อหามีคติ สอนใจ ใช้เป็นหลักในการดาเนินชีวิต
และเปน็ ภาพสะท้อนสังคมในยคุ สมัยน้นั เปน็ อยา่ งดี

๕. ภาษิตและสานวนมีคุณค่าสามประการใหญ่ ๆ คือ คุณค่าทางด้านการศึกษาอบรม ด้านสังคม
และด้านภาษา

เมื่อนักเรียนศึกษาหวั ข้อเร่ือง ผลการเรียนรู้ทค่ี าดหวงั จุดประสงค์การเรียนรู้และแนวคดิ
เรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยท่ี ๓ ก่อน แล้วจึงศึกษาต่อไป

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓

แบบทดสอบกอ่ นเรียน
หนว่ ยที่ ๓ ภาษิตและสานวน
จุดประสงค์ เพือ่ ประเมนิ ความรูเ้ ดิมของนกั เรียนในเรื่องภาษติ และสานวน
คาชี้แจง ให้นักเรียนอ่านคาถามแล้วพิจารณาเลือกคาตอบท่ีถูกท่ีสุดเพียงคาตอบเดียวแล้ว
กากบาท () ลงในกระดาษคาตอบ นกั เรียนมเี วลาทาแบบทดสอบ ๒๐ นาที
๑. ข้อใดให้ความหมายของภาษิตได้ดีท่สี ดุ
ก. คากลา่ วทีเ่ ป็นคตสิ อนใจชวนฟงั พูดตอ่ กันมาอย่างแพรห่ ลาย
ข. ขอ้ ความที่กล่าวสบื ตอ่ กันมา มีความหมายไม่ตรงตามตัว
ค. คากลา่ วทีม่ ีหลกั ฐานมคี ติชวนฟงั
ง. คาพูดทีน่ กั ปราชญโ์ บราณกลา่ วไว้
๒. ขอ้ ใดคอื ความหมายของสานวนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑติ ยสถาน
พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๒
ก. คากล่าวทเ่ี ปน็ คติสอนใจชวนฟัง พดู ตอ่ กันมาอยา่ งแพร่หลาย
ข. ขอ้ ความที่กลา่ วสบื ต่อกนั มา มีความหมายไม่ตรงตามตวั
ค. คากลา่ วท่ีมีหลกั ฐานมคี ติชวนฟงั
ง. คาพดู ทน่ี ักปราชญโ์ บราณกลา่ วไว้
๓. ขอ้ ใดกล่าวไมถ่ กู ตอ้ งเกย่ี วกบั ทีม่ าของภาษติ และสานวน
ก. เปน็ คาพดู ของใครคนหนงึ่ แลว้ จดจาพดู กนั ต่อมา
ข. อาจปรากฏอยู่ในหนังสอื เลม่ ใดเลม่ หนึง่ ซ่งึ ผูเ้ ขียนคิดขึ้นเอง
ค. ความหมายที่นามาใช้เปน็ ทีเ่ ขา้ ใจตรงกนั ทนั ทที ้งั ผูส้ ่งสารและผรู้ ับสาร
ง. คาทม่ี คี วามไพเราะคมคาย มีฉันทลักษณ์ชัดเจน
๔. การใชภ้ าษติ และสานวนแสดงลักษณะนสิ ยั ใดของคนไทย
ก. เจ้าคิดเจ้าแคน้
ข. ชอบสอน
ค. เจ้าบทเจา้ กลอน
ง. ชอบเปรียบเทยี บ
๕. “มกี ารเกิดใหมแ่ ละสูญหายไปตามสมัย” เปน็ คุณสมบตั ิของขอ้ ใด
ก. ภาษติ
ข. สานวน
ค. คาพงั เพย
ง. คาขวัญ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔

๖. ขอ้ ใด คอื ความคลา้ ยกนั ของภาษิตและสานวน

ก. ถอ้ ยคาท่ีมุ่งสอนใจ ให้คิด หรือทาตาม

ข. เป็นคาประพนั ธท์ คี่ ล้องจองกนั จดจาง่าย

ค. เปน็ ถอ้ ยคาสั้นๆ ท่ีกนิ ความมาก ชวนให้คดิ

ง. ถอ้ ยคาและความหมายคงเดิม ไมค่ ่อยเปลีย่ นแปลง

๗. ขอ้ ใดเปน็ ภาษิตประเภทไมม่ ีสมั ผสั

ก. เกลอื เปน็ หนอน, หมาเห่าใบตองแห้ง, ฆา่ ควายเสียดายพริก

ข. กินก่อนลอ่ นแก่น, นายวา่ ข้ขี า้ พลอย,เกลือเป็นหนอน

ค. ไฟในอย่านาออก, ใกล้เกลือกนิ ด่าง , ววั แก่กนิ หญา้ ออ่ น

ง. เดนิ ตามผู้ใหญห่ มาไมก่ ดั , หมาเห่าใบตองแหง้ , นายวา่ ขข้ี า้ พลอย

๘. ข้อใด คอื ลกั ษณะเดน่ ของภาษติ ประเภทเลน่ คาซา้ คาลอ้

ก. มีลกั ษณะจูงใจดี จาง่าย

ข. เน้นจังหวะ น้าหนกั และความหมายของคา

ค. มหี ลายใจความ ไมม่ ีสัมผัสในวรรค

ง. มี ๒ วรรคขึน้ ไปและมีสมั ผัสระหว่างวรรค

๙. “รกั ดีหามจั่ว รกั ชั่วหามเสา” เป็นภาษิตเลน่ คาซ้าลักษณะใด

ก. เนน้ คาซา้ ขึ้นต้นให้มนี า้ หนักย่งิ ขน้ึ

ข. เนน้ การเปรยี บเทยี บการกระทาสองอย่างทีม่ ีผลต่างกนั

ค. เนน้ ความไพเราะของสัมผัส

ง. เนน้ การลอ้ เลยี นกนั ในคาแรกของวรรค

๑๐. ดอกฟ้า ของร้อน ขาตะเกียบ กินเสน้ เปน็ สานวนประเภทใด

ก. ไมม่ สี มั ผัส เปน็ คาเดยี ว

ข. ไมม่ สี ัมผัส เปน็ กลุม่ คา

ค. ไม่มีสัมผสั เป็นประโยค

ง. มีสัมผัส เป็นคาเดยี ว

๑๑. ข้อใดคือสานวนท่เี ปน็ กลุ่มคา

ก. ก้างขวางคอ

ข. สจู้ นยิบตา

ค. ไฟจกุ ตูด

ง. เสอื เฒา่ จาศีล

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๕

๑๒. ข้อใดเปน็ สานวนท่ีมสี ัมผัสท้ังหมด

ก. ลูกไกใ่ นกามอื , บุญหนักศักดิใ์ หญ่, กว้างขวางคอ

ข. ตกลอ่ งปลอ่ งชิน้ , เอาเปด็ ขันประชนั ไก่, แกวง่ เทา้ หาเส้ยี น

ค. ปลอ่ ยเสอื เข้าป่า, ยักยา้ ยถา่ ยเท, บา้ นแตกสาแหรกขาด

ง. สามะเลเทเมา, ครบถว้ นกระบวนความ, ยิม้ เหมือนหลอก หยอกเหมอื นขู่

๑๓. ภาษติ ใดมคี วามหมายเหมอื น “วัวของใคร เขา้ คอกคนน้นั ”

ก. คบคนดีเป็นศรีแก่ตวั คบคนชั่วอัปราชัย

ข. จับปูใส่กระดง้

ค. กงเกวยี นกาเกวยี น

ง. หมูไปไก่มา

๑๔. สานวนค่ใู ดมคี วามหมายว่า “แลกเปลีย่ นโดยไมใ่ ห้เสียเปรียบ”

ก. เนื้อเตา่ ยาเต่า, อฐั ยายซื้อขนมยาย

ข. น้าขึ้นให้รบี ตัก, หวังน้าบ่อหนา้

ค. สอนจระเข้ให้วา่ ยน้า, สอนหนังสือสังฆราช

ง. หมูไปไกม่ า, ยนื่ หมูยนื่ แมว

๑๕. คนท่ีมลี กั ษณะ “พกหินดกี ว่าพกน่นุ ” หมายถงึ คนชนิดใด

ก. หนกั แนน่ ไม่หเู บา

ข. ทางานเสี่ยงอนั ตราย

ค. ทางานใหญเ่ กินตัว

ง. หาประโยชน์จากแรงงานผอู้ ่นื

๑๖. คนทหี่ าเรื่องเดอื ดร้อนใส่ตนโดยใชเ่ หตุ กลา่ วเป็นสานวนวา่ อย่างไร

ก. จับงูขา้ งหาง

ข. เอามอื ซุกหีบ

ค. ตปี ลาหน้าไซ

ง. ขวา้ งงไู ม้พ้นคอ

๑๗. ภาษิตและสานวนใด มเี นื้อหาเก่ียวกับอาชีพและการดารงชีวิต

ก. ตีปลาหนา้ ไซ,รกั วัวให้ผูกรักลูกใหต้ ี

ข. ตืน่ กอ่ นนอนหลงั , เสนห่ ป์ ลายจวัก

ค. รักเขาข้างเดียว, ตบมอื ชา้ งเดยี ว

ง. ข้าวแดงแกงรอ้ น, เจา้ บุญนายคุณ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๖

๑๘. ปากอย่างใจอยา่ ง, ปากปราศรยั นา้ ใจเชือดคอ มีเนื้อหาตรงกบั ขอ้ ใด
ก. ความรักและการครองเรือน
ข. ความเชือ่ และขนบประเพณี
ค. อาชีพและการดารงชวี ิต
ง. ลกั ษณะนิสัยและพฤติกรรมของคน

๑๙. ภาษิตและสานวนใดมีคณุ คา่ ด้านสงั คม
ก. แกว่งเทา้ หาเส้ียน
ข. ขา้ วยากหมากแพง
ค. คนล้มอยา่ ขา้ ม
ง. คนเดยี วหวั หาย สองคนเพอ่ื นตาย

๒๐. การท่ีสานวนเปลี่ยนแปลงจากส้เู ยบ็ ตา เป็น ส้ยู บิ ตา แสดงคณุ คา่ ใด
ก. คณุ ค่าดา้ นการศึกษาอบรม
ข. คุณค่าดา้ นสังคม
ค. คณุ ค่าด้านภาษา
ง. ข้อ ข. และ ค.

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๗

วรรณกรรมท้องถน่ิ
หน่วยท่ี ๓ ภาษติ และสานวน
๔ต.อ๑น.๑ที่ท๑่ีมาทข่ีมอางภคาวษาิตมแหลมะาสยานคววานมแตกตา่ งระหวา่ งภาษิตและสานวน

จุดประสงค์การเรียนรู้
อธบิ ายทีม่ า ความหมาย ความแตกต่างระหวา่ งภาษิตและสานวนไดถ้ กู ต้อง

ที่มาของภาษิต

ภาษิตและสานวนเป็นวรรณกรรมท้องถ่ินอีกประเภทหนึ่ง ที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของชาติ มี

ความสาคัญไมน่ ้อยกวา่ ประเภทอน่ื โดยเฉพาะคนไทยซ่ึงมีนิสัย “เจ้าบทเจ้ากลอน” มิได้มีความหมายเพียงแต่

พูดจาคล้องจองกันเท่าน้ัน คาพูดเหล่าน้ียังมีความไพเราะ คมคาย เป็นคติสอนใจ หรืออาจกระทบกระ

เทียบเปรียบเปรยโดยใช้คาสั้นๆ มิได้แปลตรงตัว แต่มีความหมายลึกซ้ึงกว่าคาพูดธรรมดา คาพูดที่มี

ลักษณะสั้น กินความลึกซ้ึง ประทับใจเช่นน้ี เมื่อแพร่หลายถ่ายทอดจากปากต่อปาก จากสังคมหนึ่งสู่สังคม

หนึ่ง และจากสมัยหน่งึ สอู่ กี สมยั หนง่ึ ก็กลายเป็นถอ้ ยคาท่ีเรียกว่า ภาษิตและสานวน

สุริยา รัตนกลุ (๒๕๔๐, หน้า ๕๔ อา้ งอิงในอญั ชลี สิงหน์ อ้ ย, ๒๕๔๖, หนา้ ๑๑๑) กล่าวถงึ กาเนดิ

ของ สานวน สภุ าษิต และคาพงั เพย ว่า เป็นการใชภ้ าษา ที่ผพู้ ูดภาษาในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกนั

ยอมรบั และนยิ มใช้สืบทอดต่อๆ กันมา โดยบางสานวน

ก็สบื สาวหาผแู้ ตง่ ไม่ไดแ้ ละไม่จาเปน็ ต้องมาจากวรรณคดีหรือผลงานของกวี อาจมีใครผู้ใดก็ได้แต่งใน

ขณะท่ีเกดิ ความรูส้ กึ สะท้อนอารมณ์ หรือมีข้อสงั เกตเหตุการณใ์ ดเหตุการณ์หนึ่งออกมา และคาพดู ของ

เขานั้นคมคายเป็นทตี่ ิดใจของคนอ่นื ๆ จนเปน็ ท่ีนยิ ม

มากขึน้ และใชก้ ันทว่ั ไป ยกตวั อย่างเชน่ อย่าตานา้ พรกิ ละลายแม่นา้ อยา่ หงุ ขา้ วประชดหมา อย่าปิ้ง

ปลาประชดแมว ฯลฯ ในขณะทส่ี านวนทีว่ า่ แม้แผ่นดินส้ินชายท่ีพึงเชยอยา่ มีคู่เสยี เลยจะดีกว่า พระ

ราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้านภาลัย หรอื สานวน รู้อะไรไม่สรู้ วู้ ิชา รรู้ กั ษาตวั รอด

เปน็ ยอดดี โดยสนุ ทรภู่ เป็นต้น

สอดคล้องกับโสภนา ศรีจาปา (๒๐๐๒, อ้างอิงใน อัญชลี สิงห์น้อย, ๒๕๔๖, หน้า ๑๑๒)

กล่าวถึงท่ีมาของสานวน สุภาษิตและคาพังเพยว่า สุภาษิตและคาพังเพย เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

ด้านภาษา เป็นภูมิปัญญาทางพ้ืนบ้านอันชาญฉลาด ของบรรพบุรุษที่สังเกตจาก

ประสบการณ์รอบตัวทเี่ กดิ จากชวี ิตครัง้ แลว้ ครง้ั เล่า แล้วจึงเรยี บเรียงออกมาเป็นถ้อยคา...

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๘

พรทิพย์ ซังธาดา (๒๕๔๕, หน้า ๗๖) กล่าวว่า “ภาษิตหรือสานวนไทยมีท่ีมาจากค่านิยมความ
เป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว โดยผู้พูดได้นามาเปรียบเปรยกับส่ิงต่าง ๆ เป็นคติสอนใจเก่ียวกับ
การกระทา ความประพฤติ ความเป็นอยขู่ องชุมชนให้ดารงตนถกู ต้องตามธรรมนองคลองธรรม”

สรุปที่มาของภาษิตและสานวนน้ัน อาจปรากฏหรอื ไม่ปรากฏกไ็ ดว้ ่าเกดิ จากที่ใด อาจเกิดจาก
คาพูดของใครคนหน่ึงที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมรอบตัว แล้วจดจาพูดกันต่อมา
กว้างขวางและเนิ่นนานจนสืบหาผู้พูดคนแรกไม่ได้ หรืออาจปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งซ่ึง
ผู้เขียนคิดขึ้นเอง หรืออาจจดจามาจากผู้อื่นก็ได้ แต่ใครจะเป็นผู้คิดข้ึนก็ตาม ความหมายท่ีนามาใช้
ยอ่ มเปน็ ทเี่ ข้าใจตรงกันทนั ทีระหวา่ งผสู้ ง่ สารและผู้รับสาร

ความหมายของภาษิต

คาว่า ภาษิต ความหมายในทางคติชนวิทยาหมายถึง คากล่าวที่สืบทอดกันมาตามประเพณี
และมคี วามหมายคอ่ นข้างกว้าง คอื รวมทั้งทีเ่ ป็นสภุ าษติ และคาพงั เพยไวด้ ้วย
ทง้ั นี้เพราะเม่อื ศกึ ษาอย่างละเอยี ดว่าใชอ้ ย่างไรแล้ว พบว่าคอ่ นขา้ งยากท่ีจะตดั สนิ ว่าบทไหนเป็นเพียงสุภาษิต
ไม่เปน็ คาพงั เพย บทไหนเปน็ คาพังเพย ไม่ใชส่ ภุ าษติ

ตัวอย่างเชน่ ภาษิตทีว่ ่า ตาน้าพริกละลายแมน่ ้า อาจใชพ้ ดู เพ่ือสั่งสอน ตาหนิ แก้ตัว หลงตัว เยาะ
เย้ย ฯลฯ ท้ังนี้ ข้ึนอยู่กับสถานการณ์เป็นสาคัญ นักวิชาการด้านภาษาและด้านคติชนวิทยา มีความ
คดิ เห็นตา่ งๆ กนั ยังไมเ่ ป็นทีย่ ตุ ิ แต่เพ่อื เปน็ แนวทางสาหรับนักเรียน ให้เข้าใจความหมายอย่างกว้างๆ จึง
กาหนดความหมายของภาษติ ไว้ ดังนี้

ภาษิต คอื คากล่าวทสี่ ืบทอดกันมาตามประเพณี มีความหมายรวมท้งั สภุ าษติ และคาพงั เพย
สุภาษิต คอื ภาษิตท่ีกล่าวใหเ้ ปน็ คติ มุง่ สัง่ สอนอย่างชัดเจน
คาพงั เพย คือ คากล่าวใหต้ ีความ อาจใชส้ ่ังสอนหรือไม่ก็ได้ ขน้ึ อยู่กับสถานการณ์

(นภาลัย สวุ รรณธาดา, ๒๕๓๑, หน้า ๘๕๘)

ความหมายของสานวน

สานวน คือ ถอ้ ยคาทม่ี วี ิธกี ารเรียบเรียงเปน็ พเิ ศษ ไม่พูดตรง ๆ แต่ก็มีความหมายเป็นท่ีเข้าใจ
กันได้ เพราะใช้พูดกันแพร่หลายท่ัวไป จนเป็นท่ียอมรับกันกว้างขวาง (ทิพย์สุดา นัยทรัพย์,
๒๕๓๕, หน้า ๑๓๓)

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๙

พจนานกุ รมฉบับราชบัณฑติ สถานพทุ ธศกั ราช๒๕๔๒กาหนดความหมายของสานวน

ไว้ว่า สานวน น. ถ้อยคาท่ีเรียบเรียง, โวหาร, บางทใี ช้คาวา่ สานวนโวหาร เช่น สารคดีเร่ืองนีส้ านวน

โวหารดี ความเรยี งเร่ืองนส้ี านวนโวหารล่มุ ๆ ดอนๆ ; คดี เช่น ปดิ สานวน ; ถอ้ ยคาหรือข้อความทกี่ ลา่ วสบื

ต่อกนั มาชา้ นานแลว้ มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรอื มีความหมายอ่ืนแอบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้วา่ ยน้า ราไม่

ดโี ทษปโ่ี ทษกลอง ; ถ้อยคาท่ีแสดงออกมาเป็นถ้อยคาพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆเช่นสานวนฝรง่ั สานวนบาลี,ชัน้

เชิงหรือทว่ งทานอง

ในการแต่งหนังสอื หรือพดู เช่น สานวนเจา้ พระยาพระคลัง (หน) สานวนยาขอบ

สานวนไม้เมืองเดมิ ; ลักษณะนามทีใ่ ช้เรยี กข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ เชน่ อิเหนา มีหลาย

สานวน บทความ ๒ สานวน (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๔๒, หนา้ ๑๑๘๗)

นกั เรียนจะเห็นได้ว่า ความหมายของสานวนในพจนานุกรมนั้นกวา้ งมาก โดยมีความหมาย

เป็น ๔ ประการ คือ

๑. สานวนโวหารทว่ั ไป

๒. คดคี วามทางกฎหมาย

๓. ขอ้ ความพเิ ศษ

๔. ลกั ษณะนามประเภทหนึ่ง

สาหรับในบทเรียนน้ี มุ่งศึกษาเฉพาะความหมายในข้อท่ี ๓ ได้แก่ ข้อความพิเศษ

เป็นขอ้ ความท่เี ป็นช้ันเชิงชวนให้คดิ ไมแ่ ปลตรงตวั แต่เป็นที่เข้าใจกัน เช่น เจ้าชู้ไก่แจ้ แพะรับบาป, ตี

ท้ายครัว, เตะฝุ่น ฯลฯ คาพูดเหล่าน้ีกล่าวสืบทอดกันมาโดยไม่ปรากฏที่มา หรือเป็นสานวนที่เกิดข้ึน

ใหม่ปรากฏขน้ึ มา พูดกนั แพรห่ ลายเป็นที่ยอมรับกันท่ัวไป ในอนาคตสานวนบางสานวนอาจยังคง

พูดกนั อยู่แต่ลมื เลอื นจนไมร่ ู้ทีม่ า และความหมายอาจแปรไปจากเดิมได้

คาวา่ สานวน น้ี นกั วชิ าการบางท่านใชเ้ ป็นคารวม คือรวมทัง้ ภาษิตไวด้ ว้ ย ดังเช่น กาญจนาค

พันธุ์ (นามแฝง ) ซึ่งเป็นผู้รวบรวมคากล่าวประเภทนี้ไว้มากที่สุด ในหนังสือช่ือ “สานวนไทย”

กล่าวไว้ว่า คาพูดของมนุษย์เราไม่ว่าชาติใดภาษาไทย แยกออกได้กว้างๆ เป็นสองอย่าง อย่าง

หน่ึงพดู ตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจได้ทันที อีกอย่างหน่ึงพูดเป็น

ชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคาพูดน้ันๆ คนฟังอาจตีความหมายทันที ถ้าคาพูดน้ันใช้กัน

แพรห่ ลายทวั่ ไป จนอยู่ตวั แล้ว ถ้าไมแ่ พรห่ ลายคนฟงั กไ็ มอ่ าจเขา้ ใจทันที ต้องคดิ จึงเข้าใจ หรอื บางทีคิดแล้ว

อาจจะเขา้ ใจเป็นอยา่ งอ่นื ก็ได้ หรอื ไม่เขา้ ใจเอาเลยก็ได้ คาพูดเป็นชน้ั เชิงนเี้ ราเรียกว่า “สานวน” คือคาพูด

เปน็ สานวนอยา่ งชาวบ้านเขาเรียกกันว่า “พดู สาบัดสานวน”(๒๕๓๑, หนา้ ๑)

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๐

ความแตกต่างระหว่างภาษิตและสานวน

ภาษิตและสานวนมีความหมายคล้ายกันในลักษณะท่ีเป็นคากล่าวที่สืบทอดกันมาตาม
ประเพณี มักเป็นถ้อยคาส้ันๆ ท่ีกินความมาก เป็นชั้นเชิงให้คิด แต่ภาษิตและสานวนก็มีความหมาย
แตกต่างกันบางประการ ซง่ึ อาจวิเคราะหไ์ ด้ดงั น้ี (นภาลัย สุวรรณธาดา, ๒๕๓๑, หนา้ ๘๖๐-๘๖๒)
๑. ความสนั้ ยาว

ภาษิต มักมีความยาวกวา่ สานวน เช่น อยู่บา้ นท่านอยา่ นิง่ ดูดาย ปัน้ ววั ปั้นควาย
ให้ลูกทา่ นเล่น

สานวน มักเป็นคาพูดส้ันๆ เช่น ลูกแหง่ (เด็กติดแม่) ใจแตก (ความประพฤติของเด็กสาวท่ี
นอกขอบเขตอนั สมควร)
๒. ความคลอ้ งจอง

ภาษิต มักเปน็ คาประพันธค์ ล้องจองกัน เพื่อให้จดจาไดง้ า่ ย เช่น ไมร่ ู้จกั เสือ เอาเรือมาจอด
ไมร่ ูจ้ ักมอด เอาไมม้ าแหย่

สานวน เน่ืองจากเปน็ คาสน้ั ๆ จงึ มักไม่มสี ัมผสั เช่น เหล็กเพชร (ใจแข็ง) ขึ้นคาน (ผหู้ ญงิ อายุ
มากที่ไม่แต่งงาน)
๓. จดุ มุ่งหมาย

ภาษติ ภาษติ บางประเภททเี่ รียกว่าสุภาษิต มุ่งสอนใจใหค้ ดิ หรือทาตาม
เชน่ อย่าไวใ้ จทาง อยา่ งวางใจคน จะจนใจเอง เดินตามหลังผใู้ หญห่ มาไมก่ ดั

สานวน เป็นคากล่าวแทนความหมายของสิ่งหนึ่ง พูดเพ่ือเน้นให้คาพูดมีน้าหนักข้ึน หรือเพื่อ
หลีกเลี่ยงจะกล่าวตรงๆ มไิ ด้มงุ่ จะสงั่ สอนใคร เช่น พระยาเทครวั (เจา้ ชู้
ได้ท้ังพี่น้อง) เจา้ พ่อเจ้าแม่ (ผู้มีอทิ ธพิ ล)
๔. การกลายคาหรือกลายความหมาย

ภาษิต มักรักษาถ้อยคาและความหมายเดิมไว้ได้ แม้จะตกทอดมานานนับร้อยๆ ปี เช่น
ในนา้ มปี ลา ในนามีขา้ ว, รักดหี ามจัว่ รกั ชั่วหามเสา

สานวน มีการเกดิ ใหม่และสูญหายไปตามสมัย ตามความนิยม เชน่ สานวนท่ีเกิดใหม่
ไดแ้ ก่ ฆา่ เวลา เข้ียวลากดนิ เสือสงิ หก์ ระทิงแรด ฯลฯ

นอกจากนี้ กง่ิ แกว้ อัตถากร ยังไดอ้ ธบิ ายลักษณะของภาษิตสรปุ ว่า มลี ักษณะเป็นประโยคเดียว
เช่นตงี ูให้กากนิ เป็นประโยคพ่วงเชน่ ความวัวไมท่ ันหาย ความควายเขา้ มาแทรก
เปน็ ประโยคท่ีมี “อย่า”อยู่ระหว่างประโยค เช่น ตัวเป็นไทอย่าคบทาส ตัวเป็นปราชญ์อย่าคบพาล เป็นประโยค
ท่ีละภาคประธาน เชน่ ขีช่ า้ งจบั ต๊ักแตน เป็นประโยคที่มีคาว่า “มัก” เช่น กล้านักมักบ้าบ่ิน, ด้ินนักมักเจ็บ,

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๑

มกั สนกุ ทกุ ข์ถนัด เปน็ ประโยคที่มีคาว่า “ให”้ อยรู่ ะหว่างประโยค เชน่ เขยี นเสอื ใหว้ ัวกลวั ดักลอบให้หมั่น
กู้ (อา้ งองิ ใน พรทิพย์ ซงั ธาดา, ๒๕๔๕, หนา้ ๗๖)

อยา่ งไรกต็ าม เกณฑก์ ารวิเคราะหด์ ังกล่าว อาจใชไ้ ม่ไดก้ บั ภาษติ บางสานวน บางบท เพราะ
ไมอ่ าจจัดประเภทแน่ชดั ลงไปว่าเป็นภาษิตหรอื สานวน เชน่ ได้ทขี ่ีแพะไล่ไกเ่ หน็ ตีนงู งเู ห็นนมไก่, หญิง
สามผวั ชายสามโบสถ์ ฯลฯ บางทา่ นจงึ ใชว้ ธิ เี รียกคากล่าวประเภทนีว้ า่ สานวน ท้งั หมด

อนึ่ง การศึกษาภาษิตและสานวนในบทเรียนนี้ มิได้มุ่งให้นักเรียนจาแนกความแตกต่างระหว่าง
ภาษิตและสานวนเป็นสาคัญ แต่มุ่งให้นักเรียนศึกษาความหมาย คุณค่าและสามารถนาไปใช้ใน
ชีวิตประจาวันได้

ไกเ่ ห็นตนี งู งูเหน็ นมไก่

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๒

แบบฝึ กกจิ กรรมท่ี ๑
ทมี่ า ความหมาย ความแตกต่าง ระหว่างภาษติ และสานวน

คาชี้แจง ใหน้ กั เรียนเติมขอ้ ความลงในช่องวา่ งใหส้ มบรู ณ์ (๑๐ คะแนน)

๑. จงอธิยายความหมายของ ภาษิต สุภาษิต และคาพงั เพย (๔คะแนน)
................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................
........................................................................................................... .................................................
............................................................................................................................................................
๒. จงอธิบายความหมายของสานวน และยกตวั อยา่ งมา ๓ สานวน (๓ คะแนน)

................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
........................................................................................................... .................................................
............................................................................................................................................................
๓. จงกล่าวถึงความแตกตา่ งระหวา่ งภาษิตและสานวน (๓ คะแนน)

................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
........................................................................................................... .................................................
............................................................................................................................................................

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๑๓

วรรณกรรมท้องถิน่
หน่วยที่ ๓ ภาษติ และสานวน
ตอนที่ ๒ รูปแบบของภาษติ และสานวน

จุดประสงค์การเรียนรู้

สรุปรปู แบบของภาษิตและสานวนได้

รูปแบบของภาษติ และสานวน

รปู แบบของภาษติ และสานวนไม่มีลกั ษณะที่แน่นอน เพราะส่วนมากจะเป็นคากล่าวท่ีสั้น กินใจ
ใหค้ วามรู้สกึ ง่ายตอ่ การจดจาและนาไปใช้ มีนกั วิชาการหลายท่านพยายามจัดกล่มุ เพื่อหารูปแบบที่แน่นอน
แตก่ ย็ งั มีความแตกต่างกนั อยู่ เช่น

ประคอง นมิ มานเหมนิ ท์ (๒๕๒๗, หน้า ๑๕๙) แบง่ เป็นโครงสร้างและภาษาศิลป์ โดยโครงสรา้ ง
แยกเปน็ กลุ่มคาและประโยค ส่วนภาษาศิลป์แยกเป็นจงั หวะและสมดลุ ของจานวนพยางค์ การซา้ คา
และสัมผัส ใช้ถ้อยคาท่ขี ัดแย้งกนั และใชก้ ลวธิ เี ปรยี บเทยี บ

จารุวรรณ ธรรมวตั ร (๒๕๒๖, หน้า ๗๓) ไดแ้ ยกรูปแบบของผญา ภาษิตอีสาน
เปน็ ประเภททม่ี ีสมั ผัสและไม่มสี ัมผสั แตอ่ าศัยจงั หวะเสียงสูงตา่ เป็นหลกั และประเภทผสม

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (๒๕๑๗, หน้า ๕๘-๖๗ อ้างอิงใน นภาลัย สุวรรณธาดา, ๒๕๓๑, หน้า
๘๖๕)ได้แยกประเภทตามจานวนคาท่ีมีเสียงสัมผัส ๕ กลุ่มคือ ประเภท ๕ คา ประเภท ๖-๗ คา ประเภท
๑๐ คา และประเภท ๑๒ คา

นภาลัย สุวรรณธาดา ได้แบ่งรูปแบบของภาษิตและสานวนออกเป็น ภาษิตประเภทไม่มี
สัมผัส ภาษิตประเภทมีสัมผัส ภาษิตประเภทคาซ้าคาล้อ สานวนประเภท ไม่มีสัมผัสและสานวน
ประเภทมีสมั ผสั (๒๕๓๑, หน้า ๘๖๓)

สาหรับในบทเรียนน้ี นักเรียนจะได้ศึกษาการแบ่งประเภทภาษิตและสานวนตามการแบ่งของนภาลัย
สุวรรณธาดา (๒๕๓๑, หนา้ ๘๖๓-๘๗๑) ดังนี้

๑) ภาษติ ประเภทไม่มีสมั ผสั
๒) ภาษิตประเภทมีสัมผัส

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๑๔

๓) ภาษติ ประเภทเลน่ คาซ้าและคาลอ้
๔) สานวนประเภทไม่มีสมั ผัส
๕) สานวนประเภทมีสมั ผัส

๑. ภาษิตประเภทไมม่ ีสัมผสั

ภาษิตประเภทไม่มีคาสัมผัส นี้จะเน้นจังหวะ น้าหนักและความหมายของคาเป็นสาคัญ แยกออกได้

เปน็ ๒ พวก คือ กล่มุ คาและประโยค

๑.๑ กลุ่มคา ภาษิตบทหนึ่งอาจมีเพียงวรรคเดียวหรือ ๒ วรรค ประกอบด้วยคาต้ังแต่ ๓ คา

ขน้ึ ไป ไมม่ ีสมั ผสั ในวรรค เช่น

เกลือเปน็ หนอน (๓ คา)

ใกล้เกลือกนิ ด่าง (๔ คา)

ไฟในอย่านาออก (๕ คา)

๑.๒ ประโยค อาจเป็นประโยคใจความเดียวหรือหลายใจความ ท่ีไม่มีสัมผัสในวรรค เช่น หมาเห่า
ใบตองแหง้

วัวแกก่ นิ หญ้าออ่ น
เดินตามผู้ใหญ่หมาไมก่ ัด
๒. ภาษติ ประเภทมสี มั ผัส
ภาษติ ประเภทมีสมั ผัสมีจานวนคาตง้ั แต่ ๔คาข้นึ ไปถ้าเป็นภาษติ ทม่ี วี รรคเดยี วก็จะมสี มั ผัสในคู่กลางหรือ
ขา้ มคาตามจังหวะ ถา้ มีตัง้ แต่ ๒วรรคข้ึนไปก็จะมสี มั ผัสนอกระหว่างวรรค
๒.๑ ภาษิตที่มีวรรคเดียว ส่วนมากภาษิตท่ีมีวรรคเดียวมักจะมี ๔ คาหรือ ๕ คา มีสัมผัสในวรรค
ดังน้ี
๒.๑.๑ สัมผสั คาที่ ๒ กับคาท่ี ๓ เช่น

สาวไสใ้ หก้ ากนิ
กนิ กอ่ นล่อนแก่น
น้ามาปลากนิ มด
๒.๑.๒ สมั ผสั คาที่ ๒ กบั คาท่ี ๔ เช่น
ฆา่ ควายเสียดายพริก
นายวา่ ขขี้ า้ พลอย
คแู่ ลว้ ไมแ่ คลว้ กัน

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๑๕

๒.๒ ภาษิตท่ีมีหลายวรรค ภาษิตที่มีหลายวรรค คือภาษิตท่ีมี ๒ วรรคขึ้นไปแต่ละวรรคมีคา

ไมน่ อ้ ยกวา่ ๓ คาและมสี มั ผัสระหวา่ งวรรค เชน่

ขิงกร็ า ขา่ กแ็ รง

ชั่วเจด็ ที ดเี จด็ หน

คบคนให้ดูหน้า ซอ้ื ผา้ ให้ดูเนอ้ื

ชาตไิ กช่ น ขนหวั ไมต่ ้องการ

๓. ภาษิตประเภทเล่นคาซ้าและคาล้อ

รูปแบบอีกประเภทหนึ่งของภาษิตคือการเล่นคาซ้าและคาล้อ บางทีก็มีสัมผัส บางทีก็เป็น

ภาษติ ท่ไี ดร้ บั ความนยิ มสืบทอดกนั มาเพราะมีลกั ษณะจงู ใจทดี่ ี จางา่ ย ภาษิตประเภทมีตั้งแต่ ๒ คาขึ้น

ไป แบ่งออกเปน็ ภาษิตท่ีเล่นคาซา้ และภาษติ ที่เล่นคาล้อ

๓.๑ ภาษิตทเ่ี ลน่ คาซา้ ภาษติ ทีเ่ ลน่ คาซ้า มี ๓ ลกั ษณะ คือ

๓.๑.๑ ซ้าคาหนา้ จุดประสงคจ์ ะเน้นการเปรียบเทียบการกระทาสองอย่าง

ท่ีมผี ลตา่ งกัน เหมือนกนั เช่น

รักดหี ามจั่ว รักช่วั หามเสา

รกั ยาวใหบ้ ั่น รกั สน้ั ใหต้ อ่

รักวัวให้ผูก รักลูกใหต้ ี

รู้หลบเปน็ ปกี รู้หลีกเปน็ หาง

เพื่อนกนิ หางา่ ย เพ่อื นตายหายาก

พล้งั ปากเสยี ศีล พลงั้ ตนี ตกตน้ ไม้

สบิ ฮบู้ ่ทอ่ เคย สบิ ลูกเขยบ่ทอ่ พอ่ เฒ่า สบิ เว้าบ่ทอ่ เคย

(ภาษติ ภาคอีสาน= สบิ รไู้ มเ่ ท่าเคยสบิ ลูกเขยไมเ่ ท่าพอ่ ตาสิบปากว่าไมเ่ ท่าเคยทา)

คาดทุกขบ์ ่ห่อนมี คาดมบี ห่ ่อนให้

คาดได้บ่หอนเสีย คาดเปน็ ผัวเมียบ่หอนฮ้าง

(ภาษิตภาคอีสาน = ชะตาของคนจนจะไม่มีวันรวย ชะตาของคนรวยจะไม่เดือดร้อน ชะตาของ

คนจะเลน่ ได้ยอ่ มไม่มที างเสีย และชะตาของคผู่ ัวเมียจะไม่แคล้วคลาดกนั )

๓.๑.๒ ซา้ คากลาง เพ่ือเนน้ คาทีข่ น้ึ ต้นใหม้ นี า้ หนักย่งิ ข้ึน เช่น

นอนกลางดนิ กินกลางทราย

ตอ่ ความยาว สาวความยดื

กินสนิ บาท คาดสนิ บน

พดู ไม่ออก บอกไม่ถกู

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๖

บีบกต็ าย คลายกร็ อด

ปากเปน็ เอก เลขเป็นโท

ปล้าผีลุก ปลุกผนี ง่ั

บัวมิใหช้ า้ นา้ มิใหข้ ุ่น

มะพรา้ วต่นื ดก ยาจกต่นื มี

บา้ นใครใครอยู่ อู่ใครใครนอน

ไม้ไผ่ยงั ตา่ งปล้องพน่ี ้องยงั ต่างใจ

ปลกู เรือนตามใจผอู้ ยู่ ผูกอู่ตามใจผนู้ อน

มเี งินเขานบั ว่านอ้ ง มีทองเขานบั วา่ พ่ี

หมาหลายเจ้า กนิ เขา้ หลายเฮอื น

(ภาษิตอีสาน = ขา้ สองเจ้า บ่าวสองนาย)

๓.๑.๓ ซ้าคาสองจงั หวะ การซ้าคาประเภทนี้มกั มีวรรคละ ๔ คาข้นึ ไป โดยซา้ คาท่ี ๑ กับคาที่ ๓

หรือคาที่ ๒ ซา้ กับคาที่ ๔ เช่น

เสยี นอ้ ยเสียยาก เสยี มากเสียง่าย

ไม่เรยี กไม่ขาน ไม่วานไม่ทา

ถอ่ ดถี อ่ ปัก ถอ่ หักถอ่ ลอย

ในกรณที ่ีภาษิตมี ๒ วรรค คาท่ี ๑ ของวรรคแรกจะซ้ากับคาท่ี ๑ ของวรรคหลงั และคาที่ ๓

ของวรรคแรกจะซ้ากับคาที่ ๓ ของวรรคหลงั ดว้ ย ภาษติ เช่นน้ขี องภาคกลาง

มจี านวนมาก เชน่

ไม้อ่อนดัดงา่ ย ไม้แก่ดดั ยาก

รกั วัวใหผ้ กู รักลกู ใหต้ ี

ในนา้ มปี ลา ในนามขี ้าว

คบเด็กสรา้ งบ้าน คบหัวลา้ นสร้างเมอื ง

นา้ ร้อนปลาเป็น นา้ เย็นปลาตาย

ดูช้างใหด้ ูหาง ดูนางใหด้ ูแม่

เกลียดตวั กนิ ไข่ เกลียดปลาไหลกนิ น้าแกง

๓.๒ ภาษิตทเ่ี ล่นคาลอ้

ภาษิตที่ใช้คาล้อหรือคาเลียนแบบกันนี้มีอยู่ ๒ ประเภท คือ คาท่ีมีความหมาย

คล้ายกันมาล้อกัน และคาที่มีความหมายตรงกันข้ามมาล้อกัน ตาแหน่งที่ล้อเลียนกันน้ีมักจะเป็นคาแรก

ของวรรคแรกกับคาแรกของวรรคหลัง ในภาษติ ทม่ี สี องวรรค เชน่

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๗

๓.๒.๑ คาทม่ี คี วามหมายคลา้ ยกัน ล้อเลยี นกัน พวกนมี้ อี ยูไ่ มม่ ากนกั เชน่

ขิงกร็ า ข่ากแ็ รง (ขิง-ขา่ )

คดในข้อ งอในกระดกู (คด-งอ)

ขวา้ งหัวหมา ปาหวั เจ๊ก (ขวา้ ง-ปา)

จบั ให้มัน่ คัน้ ใหต้ าย (จับ-คั้น)

ทรัพย์ในดนิ สนิ ในนา้ (ทรพั ย์-สิน)

ไท้ตา่ งดา้ ว ทา้ วต่างแดน (ไท-้ ท้าว)

นกมีหู หนมู ีปีก (นก-หนู)

พดู ไมอ่ อก บอกไมถ่ ูก (พูด-บอก)

รูห้ ลบเปน็ ปกี รู้หลีกเปน็ หาง (รู้หลบ-ร้หู ลกี )

แกเ่ พราะกนิ ขา้ ว เฒ่าเพราะอยู่นาน (แก่-เฒ่า)

พริกมเี รอื นเหนอื เกลือมีเรอื นใต้ (พรกิ -เกลือ)

๓.๒.๒ คาที่มคี วามหมายตรงขา้ ม ลอ้ เลียนกัน เชน่

เข้าตามตรอก ออกตามประตู (เข้า-ออก)

ชวั่ เจด็ ที ดเี จ็ดหน (ชว่ั -ด)ี

น้าร้อนปลาเป็น น้าเยน็ ปลาตาย (นา้ ร้อน-น้าเยน็ )

บีบก็ตาย คลายกร็ อด (บีบ-คลาย)

สวรรคใ์ นอก นรกในใจ (สวรรค์-นรก)

แพเ้ ปน็ พระ ชนะเปน็ มาร (แพ-้ ชนะ)

หวานเป็นลม ขมเปน็ ยา (หวาน-ขม)

หลงั สฟู้ า้ หน้าสู้ดิน (หลงั -หน้า)

ข้างนอกสกุ ใส ขา้ งในเปน็ โพรง (ขา้ งนอก-ข้างใน)

ข้อสงั เกตจากตัวอย่างจะเห็นไดว้ ่าภาษิตบางบทอาจมรี ปู แบบหลายประเภท

เช่น สวรรค์ในอก นรกในใจ เป็นท้ังประเภทมีสัมผัสระหว่างวรรคและเล่นคาล้อที่มีความหมายตรง

ขา้ มกนั น้าร้อนปลาเปน็ นา้ เย็นปลาตาย เปน็ ทงั้ ประเภทซ้าคากลางและเล่นคาลอ้ เป็นต้น

๔. สานวนประเภทไม่มีสมั ผสั

เนื่องจากสานวนไทยมีจานวนมากคือมีตง้ั แต่สานวนท่ีใช้คาๆเดยี ว กลมุ่ คาและประโยค

ไปจนถึงสานวนท่ีมีมากกว่า ๑ จังหวะ หรือมากกว่า ๑ วรรค สานวนเหล่านี้อาจจะมีสัมผัสในวรรค

สัมผสั ระหว่างวรรค หรือไมม่ สี มั ผสั ก็ได้ สานวนทไี่ ม่มสี ัมผัส

มีลกั ษณะ ดังนี้

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๑๘

๔.๑ สานวนทีเ่ ป็นคาเดียว

๔.๒ สานวนท่เี ปน็ กลุม่ คา

๔.๓ สานวนทเ่ี ปน็ ประโยค

๔.๑ สานวนทีเ่ ป็นคาเดียว

คาๆ เดียวก็นามาใช้เป็นสานวนได้ โดยอาจเป็นคาไทยหรือคาที่ยืมมาจาก

ภาษาต่างประเทศก็ได้ อาจมพี ยางคเ์ ดยี วหรอื หลายพยางค์ หรอื อาจเปน็ คามลู หรอื คาประสม

กไ็ ด้ เชน่

คา ความหมาย

ทงึ่ สนใจ

กง๊ ด่มื (สุรา)

กรอบ ยากจน (มาก)

เกา้ อ้ี ตาแหน่งหน้าที่

๔.๒ สานวนทเี่ ป็นกลุ่มคา

กลุ่มคาหรอื วลที ่นี ามาใช้เปน็ สานวนประกอบด้วยคาและส่วนขยายน้ัน อาจเป็นกลุ่มคาที่เป็น

คานาม คากริยา หรอื วเิ ศษณ์ก็ได้ เชน่

กลมุ่ คา ความหมาย

ลูกไก่ในกามือ อยู่ในอานาจ

ชิมลาง ทดลองดูลาดเลาวา่ จะเป็นอย่างไร

สู้จนเย็บตา (ยบิ ตา) สู้จนถึงทส่ี ดุ

เปน็ ไฟ เรว็ หรือเก่ง

นอกใจ ไมซ่ ่ือตรง

๔.๓. สานวนท่ีเป็นประโยค
ประโยคที่นามาใช้เป็นสานวนมักเป็นประโยคส้ันๆ ง่ายๆ เม่ือนามาใช้ในฐานะสานวนแล้ว
ความหมายของประโยคจะไม่เป็นความหมายตรงตามคาในประโยค แต่จะมีความหมายอ่ืนแฝงอยู่ เช่น

ประโยค ความหมายในฐานะสานวน
หนตู กถังขา้ วสาร ผ้ชู ายจนๆ ไปแต่งงานกับลูกสาวเศรษฐี
เสือเฒา่ จาศีล ดูเป็นคนทน่ี ่านบั ถอื แต่เจา้ เล่หเ์ พทุบาย

หมกี ินผึ้ง พูดบ่นพึมพาแสดงความไม่พอใจ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๑๙

๕. สานวนประเภทมสี ัมผัส
สานวนประเภทมีสมั ผัส เปน็ สานวนทม่ี ตี ง้ั แต่ ๔ พยางค์ขึ้นไป มีอยู่ ๒ ประเภท คือ สานวนที่

มีข้อความวรรคเดียว จะมสี ัมผัสในหนงึ่ คู่ และสานวนทม่ี ีขอ้ ความมากกว่า ๑ วรรค จะมีสัมผัสระหว่าง
วรรคเป็นสมั ผัสนอก ดงั ตอ่ ไปนี้

๕.๑ สานวนที่มวี รรคเดยี ว อาจมสี มั ผสั ในชิดกันหนึ่งคู่ ซ่งึ มกั จะเป็นคาท่ี ๒ และ
คาที่ ๓ เช่น

๕.๑.๑ สมั ผสั ชดิ ระหวา่ งคาท่ี ๒ และ ๓
ชายจริงหญิงแท้
ตกร่องปล่องช้ิน
บุญหนกั ศักดิ์ใหญ่

๕.๑.๒ สัมผัสชิดระหว่างคาที่ ๓ และคาที่ ๔ เช่น
สามะเลเทเมา
อรชรออ้ นแอน้
อพยพหลบหนี

๕.๑.๓ อาจมสี มั ผัสขา้ มระหว่างคาที่ ๒ และท่ี ๔ เช่น
จับดาถลาแดง
จบู จอมถนอมเกลา้
ครบถว้ นกระบวนความ
ย่ัวเยา้ กระเซา้ แหย่
บ้านแตกสาแหรกขาด

๕.๒ สานวนทีม่ หี ลายวรรค สานวนประเภทน้ีมีไม่มากนัก และมีลักษณะคล้ายกันกับภาษิต
มกั มสี มั ผสั ระหวา่ งวรรค เช่น

มดมิให้ไต่ ไรมิใหต้ อม
ปล้าผีลกุ ปลกุ ผนี ่ัง
ย้ิมเหมอื นหลอก หยอกเหมือนขู่

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๐

แบบฝึกกิจกรรมที่ ๒
รปู แบบของภาษิตและสานวน
คาชี้แจง จงตอบคาถามต่อไปนใ้ี หถ้ ูกต้อง (๑๐ คะแนน)
๑. สรปุ รปู แบบของภาษิตเป็นผังมโนทัศน์ (๓ คะแนน)

๒. บอกรูปแบบของภาษติ ต่อไปนี้ (๓ คะแนน)

๒.๑ โงน่ อนเตยี ง ..................................................................................................

๒.๒ สบิ ปากว่าไม่เท่าตาเห็น …………………………………………………...

๒.๓ ชาดไม่ดี ทาสีไมแ่ ดง...................................................................................

๓. สรุปรปู แบบของสานวนเปน็ ถ้อยคาภาษาของตนเอง (๒ คะแนน)

............................................................................................................................. .....................

......................................................................................................... ...............

๔. ขดี เสน้ ใต้แสดงสมั ผสั ของสานวนตอ่ ไปนี้ (๒ คะแนน)

อ่มิ หมีพมี นั เออออห่อหมก หนวดเตา่ เขากระต่าย

ยม้ิ เหมือนหลอก หยอกเหมือนขู่

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๑

วรรณกรรมท้องถิ่น
หน่วยท่ี ๓ ภาษิตและสานวน
ตอนที่ ๓ เน้ือหาของภาษิตและสานวน

จุดประสงค์การเรียนรู้

วเิ คราะหเ์ นื้อหาและอธิบายความหมายของภาษิตและสานวนทก่ี าหนดใหไ้ ด้ถูกตอ้ ง

เนือ้ หาของภาษิตและสานวน

ภาษติ และสานวนมีเน้ือหาดงั ต่อไปน้ี (นภาลัย สุวรรณธาดา, ๒๕๓๑, หนา้ ๘๗๘-๘๙๑)
๑. ภาษิตและสานวนเก่ยี วกับความรักและการครองเรือน

ภาษติ และสานวนเกี่ยวกับความรกั และการครองเรือน ซึ่งรวมท้ังการเลือกคู่ครอง การรักนวล
สงวนตวั ไมช่ งิ สุกก่อนห่าม ของไทยมีภาษิตประเภทน้ีจานวนมาก และส่วนใหญ่มุ่งอบรมฝ่ายหญิงซ่ึงถือว่า
เป็นผู้ท่ีอาจเสียหายได้มากกว่าชาย และเป็น “แม่บ้านแม่เรือน” คือผู้รับผิดชอบในบ้าน จะต้องมีหลัก
ปฏิบัติเพื่อให้ครอบครัวดาเนินไปด้วยดี การสืบทอดวัฒนธรรมเกี่ยวกับเร่ืองนี้ปรากฏชัดเจนในภาษิต
และสานวนไทยภาคต่าง ๆ ดงั ต่อไปนี้

๑.๑ ความรัก
ภาษติ ภาคกลาง
ที่รักอยา่ ดถู กู
รกั นักมกั หน่าย
รกั งา่ ยหน่ายเร็ว
รักเขาขา้ งเดียว
ตบมือขา้ งเดียว

๑.๒ การรกั นวลสงวนตวั
ภาษิตภาคกลาง
อย่าชิงสุกกอ่ นหา่ ม
ดอกไมร้ ิมทาง
อดเปร้ียวไวก้ ินหวาน

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๒๒

ภาษิตภาคอสี าน

นมบ่ทันทอ่ หมากเว่อ อย่าฟา่ วอยากเป็นสาว

นมบท่ นั ทอ่ หมากนาว อยา่ ฟ่าวอยากมีซู้

(อายุยังนอ้ ย อย่างเพงิ่ อยากเปน็ สาว อยา่ งเพงิ่ อยากมีสามี)

๑.๓ การเลือกคแู่ ละการครองเรือน

ภาษิตภาคกลาง

เข้าตามตรอกออกตามประตู

ทองแผน่ เดียวกนั

เรอื ล่มในหนอง ทองจะไปไหน

ตืน่ กอ่ นนอนหลงั

ภาษติ ภาคเหนอื

หลบั เดกิ ลุกเช้า นึง่ เข้า เปา๋ ไฟ

(ผูห้ ญิงตอ้ งนอนทีหลัง ตนื่ แต่เช้า ทางาน)

ภาษิตภาคอสี าน

ฮักเมียเสยี ญาติ ฮักญาติขาดเมยี

(รักเมียเสยี ญาติ รกั ญาตขิ าดเมยี เพราะสองฝา่ ยมักไม่ลงรอยกัน)

แหวนดีย้อนหวั ผวั ดยี อ้ นเมยี

(แหวนดีมีคา่ เพราะหวั แหวน สามดี ไี ดเ้ พราะภรรยาเสรมิ สง่ )

ภาษิตภาคใต้

มอบสาดเรยี งหมอน (แต่งงาน)

ในการเลือกค่คู รองนน้ั มภี าษติ ทสี่ อนผูใ้ หญว่ า่ อยา่ ฝืนใจบตุ รหลานใหแ้ ต่งงาน

โดยไมร่ กั เช่น

ภาษติ ภาคกลาง

ปลกู เรือนตามใจผอู้ ยู่ ผูกอูต่ ามใจผ้นู อน

อย่าขม่ เขาโคขืนใหก้ นิ หญา้

ภาษติ ภาคอสี าน

งัวบก่ ินหญ้าอย่าสิข่มเขาหัก หมบู ก่ ินราอยา่ สดิ ดี งั เว้อ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๓

๒. ภาษิตและสานวนเกีย่ วกบั ความเช่ือและประเพณี
๒.๑ ภาษิตและสานวนเก่ียวกับความเชื่อ
ภาษิตและสานวนเก่ียวกับความเชื่อ ส่วนใหญ่เป็นความเช่ือทางศาสนาและความเช่ือ

พื้นบ้าน ซ่ึงมีท้ังศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ เทพเจ้า ผีสางเทวดาต่างๆ บรรพบุรุษของไทยสร้าง
ภาษิตเหล่านี้ขึ้นมาเพ่ือใช้อบรมส่ังสอนบุตรหลานให้กระทาดี กลัวบาปกรรมและสะท้อนความเชื่อใน
ใจของตนเองในเรื่องนี้ แม้ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวจะน้อยลง แต่ภาษิตสานวนเหล่าน้ันยังคงติดปาก ใช้
กันแพรห่ ลายไมเ่ ลอื นหายไป

ตัวอยา่ งภาษิตและสานวนทีเ่ กีย่ วกบั ความเช่ือทางศาสนา เชน่
ภาษิตภาคกลาง
ทาดไี ด้ดี ทาชว่ั ไดช้ วั่ , ช่ัวช่างชี ดชี า่ งสงฆ์
แพเ้ ป็นพระ ชนะเปน็ มาร, ใจพระ, แม่พระ, มารผจญ
สวรรค์ในอก นรกในใจ, มอื ถือสาก ปากถอื ศีล
สานวนภาคใต้
ไมไ่ หรสักสิง่ หลิง่ ไมพ่ งั ไมม่ ีท่ีหวังสมภารไม่สกึ (ผลมาจากเหตุ)
ศษิ ยร์ า่ ยวัด หัสถ์รา่ ยบา้ น (คนหลักลอย)

ตัวอย่างภาษติ และสานวนท่ีเกย่ี วกบั ความเชอื่ ทางไสยศาสตรห์ รอื พธิ ีกรรม เช่น
สานวนภาคกลาง
กรวดนา้ คว่าขนั , กรวดนา้ ควา่ กะลา
ปลกุ ผีกลางคลอง, ปล้าผลี กุ ปลกุ ผีน่งั , ทรงเจา้ เขา้ ผี, ผีซา้ ด้าพลอย
ลูกผีลกู คน, ผิดผี, คนดผี ีคมุ้

๒.๒ ภาษิตและสานวนเก่ียวกับประเพณี
สังคมไทยสมยั ดง้ั เดิมอยใู่ นกรอบประเพณอี ย่างเครง่ ครัด มีการส่ังสอนอบรม

ให้ยดึ มัน่ ในประเพณีอนั ดงี าม เช่น ให้เคารพผู้ใหญ่ ใหซ้ อ่ื สตั ย์ต่อเจา้ นาย ให้รกั พวกพ้อง ให้ระมัดระวัง
ตัว เป็นต้น โดยเฉพาะในระบบสังคมไทย ซึ่งมีระดับช้ันของคนและการ นับถืออาวุโสเช่นเดียวกับ
สังคมตะวนั ออกสว่ นใหญ่ ภาษติ สานวนในเรือ่ งน้จี งึ มมี าก และยังนยิ มใชก้ นั อยใู่ นปัจจบุ นั นี้ เช่น

สอนใหเ้ คารพซือ่ สัตย์ตอ่ เจ้านายหรอื ผูใ้ หญ่
ภาษิตภาคกลาง
ข้าวแดงแกงรอ้ น, เจ้าบญุ นายคุณ
ลกู สมภารหลานเจา้ วดั , ลูกทา่ นหลานเธอ
ภาษติ ภาคอสี าน

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๔

หมาหลายเจ้า กินข้าวหลายเรือน
เจ้าวา่ ว่าโตยเจา้
สอนใหร้ ะมัดระวงั ตวั
ภาษิตภาคกลาง
อยา่ ไว้ใจทาง อยา่ งวางใจคน
คบคนดูหน้า ซอื้ ผา้ ดเู นื้อ, เขา้ เถื่อนอยา่ ลมื พรา้ หน้าศึกอย่านอนใจ
ภาษติ ภาคอสี าน
นอนสงู ห้ือนอนควา่ นอนตา่ หอื้ นอนหงาย
สอนให้ขยนั ขันแขง็ และหมั่นศึกษาเลา่ เรยี น
ภาษิตภาคเหนือ
ขา้ วจะเส้ยี งก๋ินหวาน คนจะผานเพราะนอนอุน่
(ขา้ วหมดเพราะกนิ อรอ่ ย คนจนเพราะนอนสบาย)
ของบก่ ิ๋นรูเ้ น่า ของบ่เลา่ รู้ลืม
(อาหารไม่กนิ กเ็ น่า วิชาไมท่ ่องก็ลืม)
ภาษติ ภาคใต้
ปากวา่ มอื ใสเ่ ล็บ (อยา่ ปล่อยใหเ้ วลาเสยี เปล่า)
สอนให้รู้จกั แตง่ ตวั
ภาษติ ภาคกลาง
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแตง่
ภาษิตภาคเหนอื
กนิ หยงั กนิ่ ได้ บม่ ีไผส่องท้อง แตโ่ ตจ๋ ้องคอ่ ง พน่ี ่องดแู คน

(กนิ ไม่ดี อยู่ไมด่ ีไม่เป็นไร แตต่ ้องแตง่ ตัวให้ดี ไม่ให้ใครดูถูก)

๓. ภาษติ และสานวน เก่ยี วกับอาชพี และการดารงชวี ติ
สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ ภาษติ สานวนเก่ียวกับอาชีพการเกษตรและ

อาชพี หตั ถกรรม เช่น ช่างไม้ ชา่ งเหล็ก จึงมีอยู่มาก แต่ก็มีค่านิยมเกย่ี วกับอาชีพรับราชการวา่ เป็น
อาชีพสงู มีความสขุ สบาย ความเหนอ่ื ยในอาชีพหัตถกรรมทีต่ อ้ งตรากตราลาบาก จะแสดงออกทาง
ภาษิตสานวนไทย ซึ่งในขณะเดียวกัน กม็ ที งั้ คา
ปลุกปลอบใจให้ขยันขันแข็ง ตอ่ สกู้ บั ความยากลาบากต่อไป แสดงถงึ จิตใจอนั ไม่ยอ่ ทอ้ ของคนไทยความ
สนั โดษกับความใฝฝ่ ันความเหนื่อยยากกบั ความพากเพียรเหลา่ น้ีเปน็ ความขัดแยง้

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๒๕

ท่ีผสมกลมกลืนกนั อย่างมีศิลปะในถ้อยคาเรียบงา่ ยแบบชาวบ้าน สมควรแกก่ ารศึกษา
และอนรุ ักษ์ไว้ ดังตวั อยา่ งต่อไปน้ี

อาชีพชาวนา
หลงั สฟู่ า้ หนา้ ส่ดู ิน (สู่ หรอื สู้)
ตีวัวกระทบคราด, ววั หายลอ้ มคอก, ววั สันหลังหวะ
รักวัวให้ผกู รกั ลูกให้ตี

อาชพี ชาวประมง-ชาวเรอื
ปลาใหญก่ ินปลาเลก็
ตีปลาหนา้ ไซ
ดกั ลอบตอ้ งหมั่นกู้ เจ้าชู้ต้องหม่นั เกยี้ ว

อาชพี ชาวสวน
เขา้ เถื่อนอยา่ ลืมพร้า
ไม่เห็นน้าตดั กระบอก ไมเ่ ห็นกระรอกโกง่ หน้าไม้
ลูกไมห้ ลน่ ไมไ่ กลต้น

อาชพี รบั ราชการ
สิบพอ่ ค้าไมเ่ ทา่ พระยาเลี้ยง
กนิ ขา้ วร้อน นอนตน่ื สาย, นอนกนิ บา้ นกนิ เมือง
นอนเทีย่ วเหมอื นเจา้ เมือง

การพนัน
แจงส่เี บี้ย, มา้ หมากรุก, รกุ ฆาต, เข้าตาจน
แฉโพย, แบไต๋, เกทับ

ความเป็นอยู่
อู่ข้าวอนู่ ้า, บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
นกขมน้ิ
ชักหนา้ ไมถ่ ึงหลัง

๔. ภาษติ และสานวนเกีย่ วกับลักษณะนิสยั และพฤตกิ รรมของคน
คนไทยมีนิสยั ละเอยี ดลออในการดูลักษณะนิสยั และพฤตกิ รรมของผู้อน่ื และนามา

กลา่ วเปรยี บเทยี บเพื่อสงั่ สอนบุตรหลาน เพอื่ ประชดประชัดหรอื เพื่อลอ้ เลยี น แลว้ แตเ่ จตนาของผู้
กลา่ วโดยมกั เปรียบเทียบกบั ส่ิงใกลต้ ัว ไดแ้ ก่ สตั ว์ สงิ่ ของ พืช และส่ิงแวดลอ้ ม ตลอดจนเร่อื งราว

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๒๖

ทก่ี าลงั สนใจอยใู่ นขณะน้นั การเปรยี บเทียบบางครง้ั กฟ็ ังแล้วนา่ ขบขนั ท้งั เสียงและความหมาย เช่น
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด เปน็ ต้น แสดงถึงอปุ นิสยั ของคนไทยทช่ี า่ งขอดค่อนแต่แทรกอารมณ์ขัน ทา
ใหข้ อ้ ความรุนแรงนนั้ อ่อนลง ภาษิตและสานวนประเภทน้ีมีมากมาย และมีการคลีค่ ลายวิวัฒนาการ
อยู่เสมอ เพราะสิ่งแวดล้อมและความสนใจของคนเปลย่ี นแปลงไป บางคร้งั เสยี งก็กลายไปจนอาจจะ
ไม่เข้าใจความหมาย เช่น สู้จนยบิ ตา ซง่ึ เดมิ คอื สูจ้ นเยบ็ ตา หมายถึงสูอ้ ยา่ งเตม็ ที่ เหมอื นไก่ชนท่ีสู้จนตาฉีก
เป็นตน้ การศึกษาภาษิตสานวนประเภทน้จี ึงทาให้เข้าใจถึงเร่อื งราวท่ีมาของถอ้ ยคา ความคดิ
ตลอดจนวถิ ชี วี ิตของชาวไทยทง้ั อดีตและปจั จุบัน

ลกั ษณะนิสัยไมด่ ี
หน้าไหว้หลังหลอก
กง้ิ กา่ ได้ทอง, จองหองพองขน, คางคกขึ้นวอ
ใจไมไ้ สร้ ะกา, ใจจืดใจดา, หนา้ เนอ้ื ใจเสอื

ลกั ษณะอาการและพฤติกรรมของคน
กระต่ายต่นื ตูม, กระตา่ ยหมายจนั ทร์
มดแดงแฝงพวงมะม่วง
เจ้าช้ไู กแ่ จ้, เจา้ ชปู้ ระตดู นิ

ภาษิตและสานวนไทยท่ีกล่าวมาท้ังหมดนี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ในการจัดกลุ่ม จัดประเภท
เพื่อสะดวกแก่การศึกษาเท่าน้ัน ยังมีอีกจานวนมากที่มิได้จัดเข้ากลุ่มใด เช่น เกี่ยวกับบ้านเมือง อาทิ
กระเบ้ืองจะเฟ่ืองฟูลอย น้าเต้าอันน้อยจะถอยจม (คนชั่วได้ดี) บ้านเมืองมีข่ือมีแป เหล่าน้ี หรือ
ภาษติ สานวนทเ่ี ป็นการกลา่ วเปรียบเทียบ ส่ังสอนอบรมเรอื่ งต่างๆ เพราะการศึกษาในเร่ืองนี้ยังไม่เป็น
ท่ยี ุติ ยงั ไมม่ ผี ู้ใดศกึ ษาไดอ้ ยา่ งครอบคลมุ ท่ัวถงึ เป็นโอกาสทนี่ กั เรยี นจะค้นควา้ หาความรู้ต่อไป

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๗

แบบฝึกกจิ กรรมที่ ๓
เน้ือหาของภาษิตและสานวน

คาช้ีแจง ให้นกั เรียนวเิ คราะหเ์ นือ้ หาและความหมายของภาษิตและสานวนต่อไปน้ี (๑๐ คะแนน)

ภาษติ สานวน เนื้อหา ความหมาย
๑. ชี้นกบนปลายไม้
๒. หวั หมอ
๓. ตาขา้ วสารกรอกหม้อ
๔. นายวา่ ข้ขี ้าพลอย
๕. สูจ้ นยบิ ตา
๖. ชายหาบหญิงคอน
๗. สบิ พ่อค้าไม่เท่าพระยาเลีย้ ง
๘. ตงี ูใหห้ ลงั หกั
๙. หลงั สฟู้ า้ หนา้ สู้ดิน
๑๐. อยา่ ชงิ สุกก่อนห่าม

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๘

วรรณกรรมท้องถนิ่
หนว่ ยที่ ๓ ภาษติ และสานวน
ตอนท่ี ๔ โคลงโลกนิติ:สุภาษิตฉบับวดั จนั ทร์ตะวนั ตก

จดุ ประสงค์การเรียนรู้

เปรยี บเทียบโคลงโลกนติ ฉิ บบั วัดจนั ทร์ตะวนั ตกกบั ภาษติ และสานวนทีร่ จู้ กั ได้
โคลงโลกนิตฉิ บบั วดั จนั ทร์ตะวนั ตก

โคลงโลกนิตเิ ป็นสภุ าษิตเก่าแก่มาตงั้ แต่โบราณสมัยกรุงศรีอยธุ ยา สุภาษิต ที่ปรากฏใน
โคลงโลกนิติเกือบทุกบท ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่าเหมาะสมท่ีจะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ
และจดจาไว้กล่าวส่ังสอนกันมาก (กรมศิลปากร, ๒๕๑๓, หน้า ก-ข อ้างอิงใน หาญชัย สงวนให้, ๒๕๒๘, หน้า
ข)

โคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตกนี้ ผู้ปริวรรต คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หาญชัย สงวนให้
ได้ปริวรรตเนื้อหาจากต้นฉบบั เดิมในสมดุ ขอ่ ย ให้เป็นอักขรวิธีในปัจจุบัน ซึ่งในบทเรียนน้ีนักเรียน
จะไดศ้ กึ ษาเนอื้ หาบางส่วนโดยสรุป ดังน้ี (หาญชัย สงวนให้, ๒๕๒๘)

ลักษณะต้นฉบบั
โคลงโลกนิติฉบบั วัดจันทรต์ ะวันตก ตาบลในเมือง อาเภอเมอื งพิษณุโลก จงั หวดั พิษณโุ ลก

เปน็ สมดุ ไทยขาว อักษรเสน้ หมกึ สีดา อักษรท่ีใชเ้ ป็นอักษรไทยสมยั
รัตนโกสนิ ทรต์ อนต้น ขนาดกวา้ ง ๑๑ เซนตเิ มตร ยาว ๓๔ เซนติเมตร หนา ๓ เซนติเมตร จานวน๕๑ หน้า
สมดุ ไทย หน้าหนึ่งมี ๘ บรรทัด เขยี นเรยี งกนั ไปเป็นวรรคๆ สภาพของตน้ ฉบับค่อนข้างจะสมบรู ณ์ ไม่พบ
นามผู้แตง่ และผ้เู ขียน ลกั ษณะคาประพนั ธ์เปน็ โคลงสสี่ ุภาพ มี ๒๐๐ บท แตไ่ ด้ชารุดฉีกขาดหายไปตอน
เรม่ิ ต้นเรือ่ ง ๑๐ บท เรมิ่ เรือ่ งทโี่ คลงท่ี ๑๑ จนจบบริบูรณ์ท่ีโคลงที่ ๒๐๐ รวมโคลงนติ ิท่ีสมบูรณ์มีท้ังสิ้น
๑๙๐ บท

โคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตก เป็นโคลงโลกนิติสานวนเก่าทุกบท โคลงโลกนิติ ฉบับน้ี
สันนิษฐานว่า ได้แต่งและคัดลอกสืบๆ กันมาจากต้นฉบับเดิม ครั้งกรุงศรีอยุธยาก่อนท่ีพระบาทสมเด็จ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๒๙

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรทรงรวบรวม
โคลงโลกนิติของเก่ามาชาระแก้ไขใหม่ให้เรียบร้อยไพเราะ เพื่อท่ีจะจารึกลงในแผ่นศิลา ติดไว้เป็นธรรม
ทานในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) กรุงเทพมหานคร ในปีเถาะ พ.ศ.
๒๓๗๔

การพบโคลงโลกนิติฉบับนี้เนื่องจากวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก
มีโครงการศึกษาสารวจวิจัยสมุดข่อย ใบลาน ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัยและพิจิตร ในระหวา่ ง
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ – ๒๕๒๗จงึ ไดพ้ บโคลงโลกนติ ิฉบับน้ี จากการพิจารณา ตัวอักษรท่ีบันทึกเช่ือว่า
วรรณกรรมโคลงโลกนิติเล่มนี้ คงจะมีอายุการบันทึกไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี
ประวัติผู้แตง่

โคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตกสานวนเก่านี้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่งและนามผู้เขียน
สันนิษฐานว่านักปราชญ์แต่คร้ันกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แต่ง และมีการคัดลอกสืบๆ กันมาจนถึงฉบับท่ี
ค้นพบน้ี

ลกั ษณะรปู อักษร
โคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตก มรี ปู อักษรท่ีปรากฏในสมดุ ไทยฉบับน้ี

มลี กั ษณะเหมอื นอกั ษรไทยปัจจบุ นั
ลักษณะคาประพันธ์

โคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตก แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพและโคลงกระทู้
ต้นฉบบั เดิมมีโคลง๒๐๐บทแต่ตอนต้นชารุดฉกี ขาดหายไปทาให้โคลงโลกนิติ
ฉบบั นขี้ าดหายไปตง้ั แต่โคลงที่ ๑ ถึงโคลงที่ ๑๐ เรมิ่ ตน้ เรอ่ื งทีโ่ คลงที่ ๑๑ ถึงโคลงท่ี ๒๐๐ รวมโคลงโลกนิติ
ทส่ี มบูรณ์ ๑๙๐ บท โคลงโลกนิติฉบับนี้เป็นโคลงโลกนิติสานวนเกา่ ทกุ บท

เนอ้ื เรอื่ ง

โคลงโลกนิตฉิ บบั วดั จนั ทร์ตะวันตกสานวนเก่าเป็นสภุ าษติ ทีม่ คี ติ เนอ้ื หา สาระกินใจ ใช้เป็นหลักในการ

ครองชวี ติ ครองตน ครองคน และครองงาน ไดท้ กุ ยคุ ทกุ สมัย

เร่ิมเรอ่ื ง

๐๑๑ คนใดกล่าวถ้อยเทจ็ มฤษา

ลวงล่อสงฆ์พราหมณา ยากไร้

อาพรางผู้อนาถา ยาจก

โทษทเี่ ทจ็ จกั ได้ ทกุ ขแ์ ม้ ถึงตวั

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๐

จบเรื่อง เสร็จสนอง
๐๑๙๙ สบื สารฉบับสิ้น กล่าวแก้
ลขิ ติ เดมิ มา
ชาระเรอื่ งคงของ ถี่ถว้ นควรถนอม
ผิดเพยี้ นเปลีย่ นแปลงลอง เพราตา
เอ่ยี มฟ้า
ลว้ นโอวาทปราชญ์แท้ นงนาฏ เรียมเอย
๐๒๐๐ เดนิ งามงอนเพริศพรงิ้ กอดไดไ้ มค่ ลาย

มา พบนชุ นอ้ งยา

นา่ ช่ืนจิตหน้าหนา
ชม นกั มักราคกล้า

เน้ือหาโคลงโลกนติ ิฉบบั วัดจันทร์ตะวันตก

โคลงโลกนติ ิฉบบั วดั จันทรต์ ะวนั ตกมีจานวนท้ังสนิ้ ๒๐๐ บท โคลงที่ ๑ ถงึ โคลงท่ี ๑๐ ตน้ ฉบับเดิม

ชารดุ สูญหายไป ๑๐ บท จงึ เริ่มจากโคลงบทที่ ๑๑ถึงบทท่ี ๒๐๐ ในบทเรยี นน้ีนักเรยี นจะได้ศกึ ษา

บางส่วน คอื บทท่ี ๑๑ ถึงบทที่ ๒๐ ดงั นี้ มฤษา
๑๑ คนใดกล่าวถอ้ ยเทจ็

ลวงลอ่ สงฆ์พราหมณา ยากไร้

อาพรางผู้อนาถา ยาจก

โทษทเ่ี ท็จจักได้ ทกุ ขแ์ ท้ถงึ ตัว

๑๒ คนใดใจกระดา้ งโคตร ตระกูล

โอหังว่าทรพั ย์มากมลู ย่ิงผู้

ดหู มน่ิ หมู่ประยูร พงษ์เผ่า

จกั ฉิบหายวายสู้ สงิ่ ไร้เบยี นตน

๑๓ คนใจมากคบชู้ ของพาล

หมากรกุ สภาสุราบาล บ่อนเหลน้

บทใดบนั ดาล เสียทรพั ย์

จักฉมิ หายวายเว้น สุมร้างแรมโรย

๑๔ อย่าพะวงหลงเล่นล้วน เหล่าพาล

โปแปะสรุ าบาล บอ่ นเบี้ย

บเ่ ป็นสง่ิ แก่นสาร เสียประโยชน์

พลง้ั จติ คิดกลับเกลี้ย กล่อมนา้ ใจคนื

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๑

๑๕ ชายไปส่ นั โดษดว้ ย ภรรยา
มกั คบหญิงแพศยา หยาบรา้ ย
สงั วาสบาทบริจา ชายอืน่
มแี ต่ทุกขโ์ ทษบ้าย บาปเบื้องนรการ
๑๖ ชายใดใจใครเ่ หล้น เป็นพาล
รริ า่ ทาแตป่ ระจาน ท่านไซร้
ตรองตรึกนึกในการ ลามก มากแฮ
สงิ่ ประหลักจกั ให้ โทษแท้ ฉิบหาย
๑๗ หญิงใดจา่ ยทรัพยซ์ ้อื สาธารณ์
ชายเช่นเห็นดูปาน ดง่ั น้นั
หวังไวใ้ ห้ภบิ าล สมบตั ิ
พลันฉบิ หายทรพั ย์หมั้น แมน่ แทแ้ ลนา
๑๘ กายเกดิ พยาธโิ รคร้าย ยาหาย
พยศยาไป่วาย ตราบมว้ ย
มีม่ังต้งั แต่หมาย วา่ ยแจก
เสือไร้ได้ยับดว้ ย ดังนฉี้ ิบหาย

๑๙ เกิดตระกลู มกู มากท้ัง เงินทอง
ทรพั ย์ท่านคิดตรกึ ปอง ใครไ่ ด้
ทรัพยต์ นไมค่ รองครอง จา่ ยแจก เสยี นา
จกั ฉบิ หายวายไร้ เรง่ ไร้ถือตวั
๒๐ เพอ่ื นมติ รมีอยา่ ได้ ทาลาย
พลาดตกเหวแลปลาย ยอดไม้
ห่อนเปล่าเปลอ้ื งปลอดดาย ทยี่ ึด เหนย่ี วนา
แมม้ าตรมว้ ยจักได้ สขุ เบือ้ งเมอื งสวรรค์

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๒

คณุ คา่ ของโคลงโลกนิตฉิ บบั วดั จนั ทร์ตะวนั ตก

โคลงโลกนติ ฉิ บับวดั จันทร์ตะวนั ตกสานวนเก่าเป็นสุภาษิตท่ีมีคติ เนื้อหา สาระกินใจ ใชเ้ ป็นหลักใน

การครองชวี ิต ครองตน ครองคน และครองงาน ไดท้ ุกยคุ ทุกสมัย เชน่

สอนให้ตอบแทนบญุ คุณ พิจารณ์
๔๗ อาศยั เรอื นท่านให้

เห็นท่านทาการงาน ช่วยตอ้ ง

แม้มีกจิ โดยสาร นาเวศ

ช่วยถ่อพายจดจอ้ ง อย่าเหนง้ กวา่ จะถึง

สอนให้ขยนั หมนั่ เพยี ร

๘๘ เจด็ วนั นเิ รศร้าง ดนตรี

ห้าวัน อกั ษรศรี เงื่องช้า

สามวัน เว้นสตรี จิตเตร่

วนั หน่งึ เวน้ ล้างหนา้ อับเศรา้ เสียศรี

สอนให้ระมัดระวังเรอ่ื งคาพดู พันคา
๘๙ พูดมากนบั แมน้ หมน่ื

คาเปลา่ เอาโทษนา เนอ่ื งได้

คาเดยี วกล่าวทางธรรม โอวาท

บญุ น้นั ยอ่ มส่งให้ สพสอ้ งสุขสวรรค์

การพบโคลงโลกนิติฉบับวัดจันทร์ตะวันตกสานวนเก่า นับว่าเป็นการค้นพบเพชรน้าเอกใน
วงการวรรณกรรมไทยทีม่ ีคุณคา่ อย่างยิ่ง สมควรแก่การศึกษา ส่งเสริมเผยแพร่และอนุรักษ์เป็น มรดก
ทางวัฒนธรรมของจงั หวัดพษิ ณโุ ลกและวัฒนธรรมของชาตไิ ทยสบื ไป

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๓๓

แบบฝกึ กิจกรรมที่ ๔
โคลงโลกนิติ : สุภาษติ ฉบบั วัดจนั ทรต์ ะวันตก

คาช้แี จง ให้นักเรยี นเปรียบเทียบบทประพนั ธข์ องโคลงโลกนติ ิฉบับวัดจันทร์ตะวนั ตก

กบั ภาษติ และสานวนที่เหมาะสม เลอื กมา ๔ บท (๑๐ คะแนน)

ตวั อย่าง

๔๗ อาศยั เรอื นทา่ นให้ พิจารณ์

เห็นท่านทาการงาน ชว่ ยตอ้ ง

แม้มีกิจโดยสาร นาเวศ

ช่วยถอ่ พายจดจอ้ ง อย่าเหนง้ กวา่ จะถึง

ภาษิตและสานวนทีเ่ หมาะสม คอื “อยู่บ้านท่านอยา่ นง่ิ ดูดาย ปนั้ วัวปน้ั ควายให้ลูกทา่ นเลน่ ”

.............................................................................................................................. ................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................................................ ....

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

................................................................................................................................................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

............................................................................................................................. ...................................

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๓๔

วรรณกรรมท้องถิน่
หน่วยที่ ๓ ภาษิตและสานวน
ตอนท่ี ๕ คุณค่าของภาษิตและสานวน

จุดประสงค์การเรียนรู้

วเิ คราะหค์ ุณค่าของภาษติ และสานวนได้

คุณค่าของภาษิตและสานวน

ภาษิตและสานวนมคี ุณคา่ ตอ่ สังคมไทยในดา้ นตา่ ง ๆ ต่อไปน้ี (นภาลยั สวุ รรณธาดา, ๒๕๓๑, หนา้
๘๙๒-๘๙๙)

คณุ ค่าของภาษติ และสานวนในด้านการศกึ ษาอบรม
ภาษติ ส่วนใหญ่เปน็ คติสอนใจชแี้ นะใหค้ นคดิ ดีทาดี ในการสั่งสอนอบรมบุตรหลานไทย ตั้งแตอ่ ดตี มาจน

ปจั จุบนั ผู้ใหญม่ วี ธิ กี ารแยบยลท่มี ิใชก่ ารบอกกล่าวส่งั สอนโดยตรง
แต่จะหาถ้อยคาอุปมาอุปไมยยกตัวอยา่ งใชถ้ ้อยคาไพเราะลึกซ้ึงและเข้าใจง่ายประทบั ใจไมร่ ลู้ ืม
ยามใดเกิดปัญหาแก้ไมต่ ก ถ้อยคาเหล่านั้นก็อาจจะชว่ ยแก้ไขสถานการณ์ให้ลุล่วงไปได้ ภาษิตท่ีช้ีนาให้คดิ ดที าดี
เหล่าน้ี เปน็ เสมอื นเครื่องควบคมุ พฤตกิ รรมของสงั คมไทยใหด้ าเนนิ มาอย่างเป็นระเบยี บ ช่วยลดภาระ
ทางด้านกฎหมาย ให้การปกครองประเทศเปน็ ไปไดง้ ่ายข้ึน ทั้งยังอบรมกิรยิ ามารยาทใหม้ วี ฒั นธรรม รักษา
ประเพณีอันดีงาม ธารงรักษาเอกลกั ษณไ์ ทยมาจนทุกวันนี้ เช่น

อย่าฟ้ืนฝอยหาตะเขบ็
อย่าผดั วันประกันพรุ่ง
ไฟในอยา่ นาออก ไฟนอกอยา่ นาเขา้
อยา่ ใฝส่ งู ใหเ้ กินศกั ด์ิ
ปา่ พึ่งเสอื เรอื พ่งึ พาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพ่งึ ขา้
คนเดียวหัวหาย สองคนเพ่อื นตาย
คนล้มอย่าข้าม

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๕

ตวั ตายดกี ว่าชาตติ าย, ชาตเิ สอื ไว้ลาย ชาติชายไวช้ ื่อ
ตืน่ สายใหส้ ร้างสวนพรา้ ว ตื่นเชา้ ให้สรา้ งสวนยาง

คุณค่าของภาษติ และสานวนในด้านสงั คม

เราอาจศึกษาเรอ่ื งราวทางประวัติศาสตร์ การเมอื ง สงั คมวทิ ยา จากตารา

ไดล้ ะเอยี ดกว้างขวาง แตเ่ ราอาจสัมผสั ความนึกคิดและอารมณ์ของผูค้ นในสมัยต่างๆ

ได้จากภาษิตและสานวน เราเรียนรู้จากตาราว่าคนไทยสมัยก่อนมีอาชีพอะไร แต่เราจะรู้ว่าเขาเหล่านั้น

รสู้ ึกอยา่ งไรต่ออาชพี ของเขา โดยการศกึ ษาภาษติ และสานวน การศึกษาภาษิตและสานวนในด้านนี้จึง

เท่ากบั เปน็ การเจาะลึกลงไปถงึ ชวี ิตจติ ใจของคนในสังคม

ในสมัยสุโขทัย ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า และในน้ามี

ปลา ในนามีข้าว ข้อความดังกล่าวอาจเป็นคาพูดของคนในสมัยนั้น ซ่ึงแสดงให้เห็นความสุข ความมี

เสรีภาพในการค้าขาย มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ประชาชนมีความโอบอ้อมอารี ไม่เบียดเบียน

ฝ่ายปกครองก็ไม่เก็บภาษี ราษฎรมีปัญหาอย่างไรก็ไปร้องเรียนพ่อขุน นับเป็นสังคมอุดมคติท่ีประชาชนน่าจะมี

ความสงบสขุ ยิง่ กว่าสมัยใด แต่ถงึ กระน้ัน ประชาชนก็ไม่ตงั้ อย่ใู นความประมาท ดังปรากฏในสุภาษิตพระ

ร่วงวา่ เขา้ เถ่ือนอยา่ ลืมพรา้ หน้าศึกอยา่ นอนใจ

ในสมัยต่อๆ มา สังคมไทยประสบภาวะสงครามและความผันผวนทางการเมือง ประชาชน

เดอื ดรอ้ นทงั้ อาชีพ ทงั้ ความเหลอื่ มล้าตา่ สูงในสังคม ปรากฏในภาษติ สานวน เช่น

กระเบ้อื งจะเฟอ่ื งฟลู อย นา้ เต้าอันน้อยจะถอยจม (คนช่ัวได้ดี)

ขา้ วยากหมากแพง, ไปตายดาบหนา้ , หมายนา้ บ่อหน้า

ประชาชนมีความเชื่อในชาติหน้า พากันหวังว่าตายแล้วเกิดใหม่จะได้พบพระศรีอาริย์ ได้ไปไหว้พระ

จุฬามณี ใครทาชั่วก็จะตกนรกหมกไหม้ ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด หรือใครได้รับความทุกข์ในชีวิตก็โทษ

เคราะห์กรรมแต่ปางก่อน ไม่ไดค้ รองคกู่ ับคนท่รี ัก

ก็ถือว่าไม่ไดท้ าบุญรว่ มกันมาแต่ชาตกิ ่อน

นอกจากนี้ สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ อาชีพและความเป็นอยู่ของพลเมือง ก็มีกล่าวถึงใน

ภาษิตตา่ งๆ เช่น นา้ ลดตอผดุ , ปลุกผกี ลางคลอง, นา้ มาปลากินมด น้าลดมดกินปลา, เรือล่มในหนอง

ทองจะไปไหน, น้าร้อนปลาเปน็ น้าเย็นปลาตาย ฯลฯ เหล่านี้แสดงว่าเมืองไทย สภาพภูมิศาสตร์ส่วน

ใหญ่มีน้ามาก ภาษิตสานวนเก่ียวกับน้าจึงนามากล่าวกันอยู่เสมอ อาชีพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เช่น

ซอื้ ควายหน้านา ซ้ือผ้าหนา้ หนาว, วัวของใครกเ็ ข้าคอกคนนน้ั , วัวหายล้อมคอก, สม้ โอหวาน ข้าวสารขาว

ลูกสาวสวย, ฆ่าควายเสียดายพรกิ , ตีปลาหนา้ ไซ, กงเกวยี นกาเกวยี น ฯลฯ แม้แตข่ องเล่นก็ป้นั เป็นรูปสัตว์ที่

ใชง้ าน “อยบู่ า้ นทา่ นอย่านิ่งดดู าย ปน้ั วัวปน้ั ควายใหล้ กู ทา่ นเล่น”

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๓๖

สังคมไทยเป็นสังคมพุทธศาสนา ความเช่ือที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนไทย ท้ังหลักธรรมทาง
พุทธศาสนา ความเชื่อตามคติพราหมณ์ ตลอดจนความเช่ือทางไสยศาสตร์ มีกล่าวเป็นภาษิตและ
สานวนท่เี ราคุ้นหมู าตั้งแต่เด็ก

ด้วยเหตุนี้ จงึ กลา่ วได้ว่า ภาษิตและสานวนมคี ุณคา่ การสะทอ้ นภาพสงั คมไทย
ในอดตี ท่ีเราเหน็ ในปจั จบุ นั และบันทึกภาพสงั คมปัจจบุ นั ไว้ใหล้ ูกหลานของเราได้มองเห็นในอนาคต

คณุ ค่าของภาษติ และสานวนในด้านภาษา
คุณค่าในด้านภาษาของภาษิตและสานวนมีมาก เพราะเป็นคติชนวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับภาษา

เป็นสว่ นใหญ่ ซงึ่ อาจประมวลไดด้ ังน้ี
๑. คุณคา่ การสื่อสาร
เน่ืองจากภาษิตและสานวนเปน็ ถ้อยคาส้ันๆ แต่กินความมาก เมื่อกล่าวขึ้นมาผู้ฟังจะเข้าใจได้

ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาอธิบาย และได้ผลในทางจิตใจตามเจตนารมณ์ของ ผู้กล่าวซึ่งอาจเป็นการ
อบรมสั่งสอน กล่าวเพื่อความสะใจ หรืออยากจะประชดประชันใคร เช่น “ฉันไม่อยากกินน้าใต้ศอกใคร”
ไม่ต้องพูดตรงๆ

แม้แต่การวา่ กล่าวก็นามาใช้โดยหลีกเลี่ยงความหยาบคายได้ เช่น ไก่แก่แม่ปลาช่อน มะกอกสาม
ตะกร้า คางคกขึ้นวอ เป็นต้น นับว่าคนไทยมีความฉลาดสามารถสรรหาถ้อยคาท่ีแทนความคิด
อารมณแ์ ละเจตนาของตน และส่งสารให้ผ้รู ับเขา้ ใจได้ตรงตามวัตถุประสงค์

๒. คุณค่าดา้ นการประพนั ธ์
แต่เดิมภาษิตและสานวนเป็นคากล่าวในรูปมุขปาฐะ ต่อมาจึงมีการบันทึกไว้ ซ่ึงส่วน

ใหญ่จะปรากฏในวรรณกรรม หรือถือกาเนิดในวรรณกรรมแล้วแพร่หลายออกมาสู่ชาวบ้าน คติชน
วทิ ยาดา้ นนจี้ งึ มคี วามเกีย่ วขอ้ งกับวรรณกรรมเปน็ อยา่ งมาก
ในการประพันธ์ท้ังร้อยแก้วและร้อยกรอง ผู้เขียนมักจะนาภาษิตและสานวนใส่ลงไปด้วย เพื่อให้ได้ท้ังรส
และความ เช่น

ลกู คอื ต้นไมท้ ีเ่ ติบโตด้วยหยาดเหง่อื ของพอ่ แม่
สอบเสร็จแลว้ โลง่ ใจเหมอื นยกภเู ขาออกจากอก
๓. คณุ คา่ ด้านการศึกษา ภาษาโบราณ ภาษาถน่ิ และววิ ฒั นาการของภาษา
โดยทีภ่ าษาและสานวนโวหารเปน็ คากลา่ วสืบทอดมาแตโ่ บราณ และเปน็ สมบัตทิ มี่ ีประจาถิ่น
ทุกภาคในประเทศ การศึกษาเร่ืองน้ีจึงทาให้ได้ความรู้ในด้านภาษาโบราณและภาษาถิ่น เช่น ภาษา
สมยั สโุ ขทยั นยิ มกล่าวถอ้ ยคาท่ีมจี ังหวะโคน เชน่ เพื่อนจงู ววั ไปค้า

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๗

ข่ีมา้ ไปขาย และได้เห็นความคลี่คลายของภาษาที่เปล่ียนจากเดิม เช่น ช่วยเหนือ กลายมาเป็น ช่วยเหลือ เป็น
ตน้ ในด้านภาษาถิ่นนัน้ ก็จะไดค้ วามรูเ้ ปน็ อยา่ งมาก เช่น

ภาคกลาง ภาคอนื่ (ภาคใต้)
ขิงกร็ า ขา่ ก็แรง หางเต่ากับหางแลนคา่ กนั (ภาคใต้)
ปลาหมอตายเพราะปาก ปากอฆี ่าดอ ดออีฆ่าเจา้ (ภาคเหนือ)
เจ็ดวันเว้นดดี ซ้อมดนตรี ของบ่ก๋ินรเู้ น่า ของบ่เลา่ รู้ลืม

ในด้านวิวัฒนาการของภาษา จะเห็นได้ว่ามีการเปล่ียนแปลงท้ังรูปคาและความหมาย บางครั้งไม่เข้าใจ
ว่าคาที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นมีความหมายอย่างไร เช่น สู้จนยิบตา ยิบตา หมายความว่าอย่างไร ทาตา
ยบิ ๆ หรอื ขยบิ ตาใชห่ รือไม่ และเหตใุ ดต้องทาตาเช่นน้ันในการตอ่ สู้ ความจริงคาเดิมคือ สู้จนเย็บตา
สานวนนี้มาจากการชนไก่ท่ีต่อสู้จนตาฉีก เรียกว่าสู้ตายไม่เสียดายชีวิต เม่ือพูดเช่นนี้ก็เป็นท่ีเข้าใจ
การศกึ ษาภาษติ สานวนจึงทาใหไ้ ดค้ วามรู้ดา้ นววิ ัฒนาการของภาษา เช่น

ภาษิตและสานวนเก่า ภาษติ และสานวนใหม่
คาหนังคาเขา คาหลังคาเขา
เอาใจออกหาก เอาใจออกหา่ ง
ปลาตดิ หลงั แห ปลาตดิ ร่างแห
ต้นกุฏิ กน้ กุฏิ
ขนมพอสมนา้ ยา ขนมผสมนา้ ยา

ถลี่ อดตวั ช้าง หา่ งลอดตวั เล็น ถ่ลี อดตาชา้ ง ห่างลอดตาเลน็
บา้ นนอกขอกนา บ้านนอกคอกนา

ในการเปลี่ยนแปลงทางภาษาน้ัน บางคร้ังถ้อยคาคงเดิม แต่ความหมายเปลี่ยนไป เช่น ปาก
หอยปากปู ความหมายเดมิ คอื มีปากแตพ่ ูดอะไรไม่ได้ แตป่ ัจจบุ นั หมายถึง
การนินทากัน หรือสานวนว่า ผู้ดีแปดสาแหรก เดิมหมายถึงผู้ที่สืบเช้ือสายผู้ดีทั้งบิดามารดา คือ ปู่
ย่า ตา ยาย รวมแปดคน แต่ปัจจุบันหมายถึงคนที่กรีดกรายเอาอย่างผู้ดี ดังน้ีเป็นต้น การศึกษาให้รู้
ซงึ้ ทีม่ าของถ้อยคาดงั กล่าวจะทาให้เขา้ ใจภาษิตสานวนได้ดีย่ิงขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะเห็นคุณค่าทาง

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๓๘

ความคดิ ของบรรพบุรุษไทย ซึ่งแม้เป็นชาวบ้านธรรมดา ก็มีความฉลาดหลักแหลม สามารถใช้ถ้อยคา
เปรยี บเทยี บให้เห็นจริงและไพเราะประทบั ใจมาทกุ ยคุ ทกุ สมัย

การศึกษาภาษิตและสานวนในหน่วยน้ี มุ่งหวังให้นักเรียนเห็นคุณค่าของภาษิตและสานวน
สามารถนามาใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างมีความรู้ความเข้าใจ และช่วยกันอนุรักษ์สมบัติทางภาษา
ของชาติใหเ้ ปน็ มรดกแกอ่ นุชนสบื ไป

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๓๙

แบบฝึกกจิ กรรมที่ ๕
คุณค่าของภาษติ และสานวน

คาชี้แจง จงอธิบายคุณค่าของภาษติ และสานวนต่อไปน้ี (๑๐ คะแนน)

๑. ร้มู ากยากนาน (๒ คะแนน)
คณุ ค่า ............................................................................................................................. ...
………………………………………………………………………………………………………………………….…

๒. พระยาเทครัว (๒ คะแนน)
คุณคา่ ............................................................................................................................. ...
................................................................................................... ...........................................

๓. สู้จนยบิ ตา (๒ คะแนน)
คุณคา่ ............................................................................................................................. ...
....................................................................................... .....................................................

๔. บ้านเมอื งมีขื่อมีแป (๒ คะแนน)
คุณคา่ ………………………………………………………….…………………………................................
……………………………………………………………………………………………..………………………………

๕. เลือกนักมักไดแ้ ร่ (๒ คะแนน)
คณุ ค่า ................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๔๐

วรรณกรรมท้องถน่ิ
หน่วยท่ี ๓ ภาษิตและสานวน
ตอนท่ี ๖ ความรู้เสริม

ภาษิตเคร่ืองมอื พฒั นาคุณภาพชีวติ

ภาษติ เปน็ คากล่าวที่ใหข้ ้อคิดเตือนใจ ช้ีนาแนวทางแก่ผู้ได้ยินได้ฟังโดยเฉพาะ วัยรนุ่ เป็นวัยท่ี
ต้องการแบบของความประพฤติ ต้องการอดุ มคติ เพื่อกาหนดแนวทาง
ในชวี ิต ความเชอื่ ความศรัทธาจะเปน็ แรงผลกั ดันให้กระทาหรือไม่กระทา ฉะน้ันข้อมูลภาษิตจะเขา้ มา
กาหนดบทบาทท่าที ทัศนะค่านยิ มในชีวติ ของวัยรนุ่ มาก ส่งิ เหล่านี้จะฟูมฟักเขา ไปสูค่ วามเปน็ ผู้ใหญท่ ม่ี ี
คุณภาพในอนาคต ดังน้นั ภาษิต คาพงั เพย จึงมีประโยชน์
ต่อการพฒั นาชีวิตดังตวั อย่างตอ่ ไปน้ี (ผาสุก มุทธเมธา, ม.ป.ป., หนา้ ๘๗)

๑. ภาษติ และคาพังเพยที่ให้ข้อคดิ และกาหนดรปู แบบชีวิต

ภาษิตและคาพังเพยที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ให้ประโยชน์ในการกาหนด

แนวทางชวี ติ ทา่ ที ทัศนะ และค่านิยมแกค่ นหนุม่ สาว ดังตอ่ ไปน้ี

เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ใหห้ าสนิ เม่อื ใหญ่

ฝนท่ังใหเ้ ปน็ เข็ม, อย่าชงิ สกุ ก่อนห่าม

มสี ลงึ พงึ บรรจบใหค้ รบบาท, อยา่ เอาพิมเสนไปแลกเกลือ

น้าขนึ้ ให้รีบตัก, วยั เรยี นอย่ารริ ัก, อย่าจับปลาสองมอื

ความพยายามอยทู่ ี่ไหน ความสาเร็จอยู่ท่นี น่ั

ชีวิตคอื การต่อสู้ ศัตรูคือยาพลงั , ชว่ั เจ็ดที ดีเจด็ หน

๒. ภาษิตและคาพังเพยทชี่ ่วยสรา้ งเสริมมิตรภาพ และพฒั นาทางสงั คม

คนหนุ่มสาว นอกจากจะคิดคานึงถึงรูปแบบชีวิตของตนเองแล้ว ยังคิดถึงสังคม

การสมาคมกบั เพ่ือนฝงู และผู้อนื่ เพราะฉะนนั้ ทาอย่างไรจงึ จะเขา้ สงั คมได้ดี มเี พอื่ นมาก เพ่ือนฝูงรักและ

นยิ ม ภาษิตและคาพังเพยทตี่ กทอดมาถึงปจั จุบนั มหี ลายภาษิต เชน่

นา้ ขนุ่ ไว้ใน น้าใสไว้นอก, น้าพ่ึงเรือ เสอื พึง่ ป่า

คนเดียวหัวหาย สองคนเพอื่ นตาย, จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา

แพเ้ ปน็ พระ ชนะเปน็ มาร, ลางเนอื้ ชอบลางยา

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๔๑

๓. ภาษติ และคาพงั เพยท่ีชว่ ยช้แี นะพฤติกรรมการเปรียบเทยี บ

ในการดารงชีวิตจะตอ้ งพบกับอปุ สรรคปญั หามากมาย ฉะน้นั จะต่อสู้ชีวิต

จะแก้ปัญหาอย่างไรจึงจะพบกับความสาเร็จ หรือมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง จึงจะมีชีวิตผ่านไปอย่าง

สมหวงั และมพี ฤติกรรมอะไรบ้างทีค่ วรระวงั บคุ คลสามารถศกึ ษาพฤติกรรมต่างๆ จากภาษิตและคา

พังเพยตอ่ ไปนี้

เกย่ี วกับวัว ตีวัวกระทบคราด, ววั หายล้อมคอก, วัวแก่กินหญา้ ออ่ น

วัวเคยขา มา้ เคยข,ี่ วัวเห็นแกห่ ญา้ ข้ขี ้าเห็นแก่กนิ

ความววั ไมท่ ันหาย ความควายเข้ามาแทรก

ดูววั ใหด้ ูหาง ดูนางให้ดแู ม,่ รกั ววั ให้ผกู รักลกู ใหต้ ี

เก่ยี วกบั ไก่ ไกแ่ กแ่ ม่ปลาช่อน, ไกร่ องบอ่ น, ตน่ื ก่อนไก่

ลูกไกอ่ ยใู่ นกามอื , ไก่เหน็ ตีนงู งเู หน็ นมไก่

ไกง่ ามเพราะขน คนงามเพราะแตง่

เกี่ยวกบั เสอื ชาติเสือไมท่ ้ิงลาย, เขียนเสือให้ววั กลวั , เนือ้ เข้าปากเสือ

เสือจาศลี , ใจดีสเู้ สอื , เสอื ซ่อนเลบ็

เก่ยี วกับหมา หมาเห่าไม่กดั , หมาหยอกไก,่ หมาหวงกา้ ง

หมามปี ลอกคอ, ไม่มฝี อยหมาไม่ข้ี

เก่ยี วกบั ช้าง ขช่ี า้ งจบั ตั๊กแตน, อ้อยเขา้ ปากช้าง

ถ่ีลอดตาช้าง ห่างลอดตาเลน็

ชา้ งตายท้งั ตวั เอาใบบวั ปดิ ไม่มดิ

เกย่ี วกับทั่วๆ ไป กนั ดีกวา่ แก้, คมในฝกั , ไขใ่ นหิน

แกว่งเท้าหาเส้ยี น, ขวา้ งงไู ม่พน้ คอ

ยุให้รา ตาใหร้ ่ัว, นา้ ถึงไหน ปลาถงึ นัน่

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔๒

วรรณกรรมท้องถิ่น
หน่วยท่ี ๓ ภาษติ และสานวน
ตอนที่ ๗ สรุปสาระสาคญั

ภาษติ ส่วนใหญเ่ ป็นคตสิ อนใจ ช้แี นะใหค้ นคิดดที าดี ใช้ในการสง่ั สอนอบรม
บุตรหลานไทยต้ังแตอ่ ดีตมาจนปจั จบุ นั ผู้ใหญม่ ีวิธีการแยบยลท่ีมใิ ชก่ ารบอกกลา่ ว
ส่ังสอนโดยตรง แต่จะหาถ้อยคาอุปมาอุปไมย ยกตัวอย่าง ใช้ถ้อยคาไพเราะลึกซ้ึงและเข้าใจง่าย
ประทับใจไม่รู้ลืม ยามใดเกิดปัญหาแก้ไม่ตก ถ้อยคาเหล่าน้ันก็อาจจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ลุล่วงไปได้
ภาษิตทชี่ ้นี าใหค้ ิดดที าดีเหลา่ น้ี เปน็ เสมอื นเคร่ืองควบคุมพฤตกิ รรมของสงั คมไทยให้ดาเนินมาอย่างเป็นระเบียบ
ชว่ ยลดภาระทางดา้ นกฎหมาย ทาใหก้ ารปกครองประเทศเป็นไปได้ง่ายข้ึน ท้ังยังอบรมกิริยามารยาท
ใหม้ วี ฒั นธรรม รกั ษาประเพณอี นั ดงี าม ธารงรกั ษาเอกลกั ษณ์ไทยมาจนทุกวนั นี้

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔๓

แบบทดสอบหลังเรยี น
หนว่ ยที่ ๓ ภาษิตและสานวน
จดุ ประสงค์ เพอ่ื ประเมินความกา้ วหน้าของนกั เรยี นในเรื่องภาษติ และสานวน
คาชีแ้ จง ให้นักเรียนอ่านคาถามแล้วพิจารณาเลือกคาตอบที่ถูกท่ีสุดเพียงคาตอบเดียวแล้ว
กากบาท () ลงในกระดาษคาตอบ นกั เรียนมเี วลาทาแบบทดสอบ ๒๐ นาที
๑. ข้อใดให้ความหมายของภาษิตไดด้ ีท่ีสุด
ก. คากล่าวท่ีเปน็ คตสิ อนใจชวนฟงั พูดต่อกันมาอยา่ งแพร่หลาย
ข. ข้อความทก่ี ล่าวสืบตอ่ กันมา มีความหมายไมต่ รงตามตวั
ค. คากล่าวทม่ี หี ลักฐานมคี ติชวนฟัง
ง. คาพดู ทีน่ ักปราชญ์โบราณกลา่ วไว้
๒. ข้อใดคือความหมายของสานวนตามพจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน
พุทธศกั ราช ๒๕๔๒
ก. คากล่าวท่ีเป็นคติสอนใจชวนฟงั พูดตอ่ กนั มาอย่างแพรห่ ลาย
ข. ข้อความทกี่ ล่าวสบื ต่อกันมา มีความหมายไม่ตรงตามตวั
ค. คากลา่ วท่ีมีหลักฐานมคี ติชวนฟัง
ง. คาพูดทน่ี กั ปราชญ์โบราณกลา่ วไว้
๓. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกีย่ วกับทมี่ าของภาษิตและสานวน
ก. เป็นคาพดู ของใครคนหน่ึงแลว้ จดจาพดู กนั ต่อมา
ข. อาจปรากฏอยใู่ นหนงั สือเลม่ ใดเลม่ หนึง่ ซึ่งผเู้ ขยี นคิดข้ึนเอง
ค. ความหมายทนี่ ามาใช้เปน็ ท่ีเข้าใจตรงกนั ทันทที ้งั ผสู้ ง่ สารและ ผ้รู บั สาร
ง. คาท่มี ีความไพเราะคมคาย มฉี นั ทลกั ษณช์ ัดเจน
๔. การใช้ภาษิตและสานวนแสดงลกั ษณะนสิ ัยใดของคนไทย
ก. เจ้าคดิ เจา้ แคน้
ข. ชอบสอน
ค. เจา้ บทเจา้ กลอน
ง. ชอบเปรยี บเทยี บ
๕. “มีการเกิดใหมแ่ ละสญู หายไปตามสมัย” เปน็ คุณสมบตั ิของขอ้ ใด
ก. ภาษิต
ข. สานวน
ค. คาพังเพย
ง. คาขวญั

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๔๔

๖. ขอ้ ใด คอื ความคล้ายกนั ของภาษิตและสานวน

ก. ถอ้ ยคาที่มงุ่ สอนใจ ให้คิด หรอื ทาตาม

ข. เปน็ คาประพันธท์ คี่ ล้องจองกัน จดจาง่าย

ค. เปน็ ถอ้ ยคาสน้ั ๆ ที่กนิ ความมาก ชวนใหค้ ดิ

ง. ถ้อยคาและความหมายคงเดิม ไมค่ อ่ ยเปลยี่ นแปลง

๗. ข้อใดเปน็ ภาษิตประเภทไมม่ สี ัมผัส

ก. เกลอื เป็นหนอน, หมาเห่าใบตองแหง้ , ฆ่าควายเสียดายพรกิ

ข. กนิ กอ่ นล่อนแกน่ , นายว่าขี้ขา้ พลอย, เกลอื เป็นหนอน

ค. ไฟในอย่านาออก, ใกล้เกลือกนิ ดา่ ง , วัวแกก่ นิ หญา้ ออ่ น

ง. เดนิ ตามผูใ้ หญ่หมาไมก่ ดั , หมาเหา่ ใบตองแห้ง, นายว่าขข้ี ้าพลอย

๘. ข้อใด คอื ลักษณะเดน่ ของภาษติ ประเภทเล่นคาซา้ คาลอ้

ก. มีลักษณะจูงใจดี จางา่ ย

ข. เน้นจังหวะ น้าหนัก และความหมายของคา

ค. มีหลายใจความ ไม่มสี ัมผสั ในวรรค

ง. มี ๒ วรรคขึน้ ไปและมีสัมผัสระหว่างวรรค

๙. “รกั ดีหามจว่ั รกั ชว่ั หามเสา” เปน็ ภาษติ เลน่ คาซ้าลกั ษณะใด

ก. เน้นคาซา้ ขน้ึ ต้นใหม้ ีน้าหนกั ย่งิ ข้ึน

ข. เน้นการเปรียบเทยี บการกระทาสองอย่างทีม่ ีผลตา่ งกนั

ค. เน้นความไพเราะของสัมผสั

ง. เนน้ การล้อเลียนกนั ในคาแรกของวรรค

๑๐. ดอกฟา้ ของร้อน ขาตะเกยี บ กินเสน้ เปน็ สานวนประเภทใด

ก. ไม่มสี ัมผสั เป็นคาเดียว

ข. ไม่มีสัมผสั เป็นกล่มุ คา

ค. ไม่มีสัมผสั เป็นประโยค

ง. มสี ัมผสั เปน็ คาเดยี ว

๑๑. ข้อใดคือสานวนท่เี ปน็ กลุ่มคา

ก. กา้ งขวางคอ

ข. สู้จนยิบตา

ค. ไฟจุกตดู

ง. เสือเฒ่าจาศีล

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๔๕

๑๒. ขอ้ ใดเป็นสานวนที่มีสมั ผสั ท้ังหมด

ก. ลูกไกใ่ นกามอื , บุญหนกั ศกั ดิใ์ หญ,่ กวา้ งขวางคอ

ข. ตกล่องปล่องชน้ิ , เอาเป็ดขันประชนั ไก่, แกวง่ เทา้ หาเส้ียน

ค. ปลอ่ ยเสอื เขา้ ปา่ , ยักยา้ ยถ่ายเท, บา้ นแตกสาแหรกขาด

ง. สามะเลเทเมา, ครบถ้วนกระบวนความ, ยมิ้ เหมือนหลอก หยอกเหมอื นขู่

๑๓. ภาษิตใดมคี วามหมายเหมือน “ววั ของใคร เข้าคอกคนน้ัน”

ก. คบคนดเี ปน็ ศรแี ก่ตวั คบคนช่วั อัปราชัย

ข. จบั ปูใส่กระด้ง

ค. กงเกวียนกาเกวียน

ง. หมูไปไก่มา

๑๔. สานวนคูใ่ ดมคี วามหมายว่า “แลกเปล่ียนโดยไม่ให้เสยี เปรยี บ”

ก. เน้อื เตา่ ยาเตา่ , อฐั ยายซื้อขนมยาย

ข. นา้ ข้นึ ให้รบี ตัก, หวังน้าบ่อหนา้

ค. สอนจระเข้ให้วา่ ยน้า, สอนหนงั สอื สังฆราช

ง. หมูไปไก่มา, ยื่นหมยู ่นื แมว

๑๕. คนที่มีลักษณะ “พกหินดกี วา่ พกนุ่น” หมายถงึ คนชนดิ ใด

ก. หนกั แนน่ ไมห่ ูเบา

ข. ทางานเส่ยี งอันตราย

ค. ทางานใหญเ่ กินตวั

ง. หาประโยชนจ์ ากแรงงานผู้อ่นื

๑๖. คนที่หาเร่ืองเดือดรอ้ นใสต่ นโดยใชเ่ หตุ กลา่ วเป็นสานวนวา่ อย่างไร

ก. จบั งูข้างหาง

ข. เอามือซกุ หีบ

ค. ตีปลาหน้าไซ

ง. ขวา้ งงูไมพ้ น้ คอ

๑๗. ภาษติ และสานวนใด มเี น้ือหาเก่ียวกับอาชีพและการดารงชีวติ

ก. ตปี ลาหนา้ ไซ,รกั วัวใหผ้ กู รกั ลูกให้ตี

ข. ต่ืนก่อนนอนหลงั , เสน่หป์ ลายจวัก

ค. รักเขาขา้ งเดยี ว, ตบมอื ชา้ งเดยี ว

ง. ขา้ วแดงแกงรอ้ น, เจ้าบุญนายคณุ

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔๖

๑๘. ปากอยา่ งใจอยา่ ง, ปากปราศรยั นา้ ใจเชอื ดคอ มเี น้อื หาตรงกบั ข้อใด
ก. ความรักและการครองเรอื น
ข. ความเชื่อและขนบประเพณี
ค. อาชีพและการดารงชีวติ
ง. ลักษณะนิสัยและพฤตกิ รรมของคน

๑๙. ภาษติ และสานวนใดมคี ณุ คา่ ดา้ นสังคม
ก. แกวง่ เท้าหาเสย้ี น
ข. ขา้ วยากหมากแพง
ค. คนลม้ อย่าขา้ ม
ง. คนเดยี วหวั หาย สองคนเพอ่ื นตาย

๒๐. การทส่ี านวนเปลี่ยนแปลงจากสเู้ ย็บตา เป็น สยู้ บิ ตา แสดงคุณค่าใด
ก. คุณคา่ ด้านการศกึ ษาอบรม
ข. คณุ คา่ ดา้ นสงั คม
ค. คุณคา่ ดา้ นภาษา
ง. ขอ้ ข. และ ค.

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔๗

บรรณานกุ รม

กาญจนาคพนั ธุ์ (นามแฝง). (๒๕๓๑). สานวนไทย. กรุงเทพฯ: บารุงสาสน์.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (๒๕๒๖). ผญา บทกวขี องชาวบา้ น. กาฬสินธ์ุ:

จนิ ตภัณฑ์การพิมพ์.
ทพิ ย์สุดา นัยทรัพย์. (๒๕๓๕). ภาษากับวัฒนธรรม. ตารา เอกสารวชิ าการฉบับท่ี ๕๘.

หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์. กรมการฝกึ หัดครู.
นภาลัย สวุ รรณธาดา. (๒๕๓๑). ภาษาไทย ๘ (คตชิ นวิทยาสาหรับครู) หน่วยที่ ๑๑. นนทบรุ ี:

มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช.
ประคอง นมิ มานเหมินทร์.(๒๕๒๗).ค่มู ือปฏิบตั ิวัฒนธรรมพืน้ บ้าน.

กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารอดั สาเนา.
ผาสกุ มทุ ธเมธา. (ม.ป.ป.). คติชาวบ้านกบั การพฒั นาคุณภาพชวี ติ (ฉบบั ปรบั ปรงุ ).

กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
พรทิพย์ ซังธาดา. (๒๕๔๕). วรรณกรรมทอ้ งถิ่นอีสาน. กรุงเทพ ฯ: สุวีรยิ าสาสน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นาน

มีบุ๊คส์พับลเิ คชั่นส์.
หาญชัย สงวนให้. (๒๕๒๘). โคลงโลกนติ ฉิ บบั วัดจันทร์ตะวนั ตก ตาบลในเมือง

อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก. วิทยาลัยครู
พิบูลสงคราม.
อัญชลี สิงห์น้อย. (๒๕๔๒) ภาษาและวัฒนธรรม. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
มหาวทิ ยาลยั นเรศวร.

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน (ท ๓๐๒๐๒) ๔๘

กระดาษคาตอบแบบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรียน
วชิ า วรรณกรรมท้องถิ่น (ท ๓๐๒๐๒)

เรื่อง...............................................................................................................................................

กระดาษคาตอบแบบทดสอบก่อนเรยี น กระดาษคาตอบแบบทดสอบหลงั เรียน
ข้อ ก ข ค ง ขอ้ ก ข ค ง
๑ ๑
๒ ๒
๓ ๓
๔ ๔
๕ ๕
๖ ๖
๗ ๗
๘ ๘
๙ ๙
๑๐ ๑๐
๑๑ ๑๑
๑๒ ๑๒
๑๓ ๑๓
๑๔ ๑๔
๑๕ ๑๕
๑๖ ๑๖
๑๗ ๑๗
๑๘ ๑๘
๑๙ ๑๙
๒๐ ๒๐
คะแนนรวมกอ่ นเรียน คะแนนรวมหลงั เรียน

ช่ือ........................................................ชั้น..............เลขท.ี่ ...........
ผ้สู อน นางอมรรัตน์ เมืองจันทร์

เอกสารประกอบการเรียน วชิ าวรรณกรรมทอ้ งถิ่น (ท ๓๐๒๐๒) ๔๙

ประเมนิ ผลแบบฝึกกิจกรรม

คาชี้แจง เขียนเตมิ คะแนนและระดับคุณภาพตามความเปน็ จริง

กจิ กรรม คะแนน รวมได้ ได้ระดับ
เต็ม ได้ คะแนน คณุ ภาพ
แบบฝกึ กิจกรรมท่ี ๑ ๑๐
ทมี่ า ความสาคัญ ความแตกตา่ งระหวา่ งภาษิต
และสานวน ๑๐
แบบฝกึ กจิ กรรมที่ ๒ ๑๐
รูปแบบของภาษิตและสานวน ๑๐
แบบฝกึ กิจกรรมท่ี ๓
เนอ้ื หาของภาษติ และสานวน ๑๐
แบบฝึกกจิ กรรมท่ี ๔ ๕๐
โคลงโลกนิติ: สภุ าษติ ฉบบั วดั จนั ทร์ตะวันตก
แบบฝกึ กิจกรรมที่ ๕
คณุ ค่าของภาษติ และสานวน

รวมคะแนน

ผู้ประเมิน  ครู  เพอ่ื น  ตนเอง

เกณฑ์การให้คะแนน

คาตอบถูกต้อง ชดั เจน มเี หตุมีผล

เกณฑ์การจัดอันดับคุณภาพ

คะแนนรวมในแต่ละกจิ กรรมไดร้ ้อยละ ๘๐ ขน้ึ ไป ให้ระดบั คะแนน ๓ หมายถึง ดี

คะแนนรวมในแต่ละกจิ กรรมได้ร้อยละ ๕๐-๗๙ ใหร้ ะดบั คะแนน ๒ หมายถึง พอใช้

คะแนนรวมในแต่ละกิจกรรมไดต้ า่ กวา่ รอ้ ยละ ๕๐ ให้ระดับคะแนน ๑ หมายถึง ควรปรับปรุง

เกณฑ์คณุ ภาพการผ่าน

ได้คะแนนระดับ “พอใช้” ข้ึนไป


Click to View FlipBook Version