The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หมวดเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรโบราณ (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-20 06:00:14

หมวดเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรโบราณ (1)

หมวดเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรโบราณ (1)

ประวัติศูนย์วัฒนธรรม
สันป่าตอง

อำเภอสันป่าตอง จังวัดเชียงใหม่

ประวัติศูนย์วัฒนธรรมสันป่าตอง

เนื่องจากช่วงปี พ.ศ. 2525 - 2530 มีบุคคลบางกลุ่มได้ทำการลักลอบขุดเจาะโบราณสถานต่าง ๆ หลายแห่ง
ทำให้เกิดความเสียหายแก่โบราณสถาน โบราณวัตถุของท้องถิ่น คณะครูโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมได้ตระหนักถึง
คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่น จึงได้จัดตั้งศูนย์สืบค้นและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527
โดยมีจุดประสงค์ดังนี้

1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
2. เพื่อเป็ฯการปลุกจิตสำนึกทางวัฒนธรรม และความรักความหวงแหนในท้องถิ่นของตน
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมเผยแพร่ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

ต่อมาทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศให้ศูนย์สืบค้นและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและได้แต่งตั้ง
ให้โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2531 นับเป็นศูนย์วัฒนธรรม
อำเภอ 1 ใน 20 แห่งแรกของประเทศ จึงเป็นศูนย์รวมศิลปวัตถุโบราณวัตถุ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ของท้องถิ่น
ที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

ในปีการศึกษา 2552 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมได้มีมติเห็นชอบให้ก่อสร้างอาคาร
หอศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสืบสาน อนุรักษ์ เผยแพร่ วัฒนธรรมท้องถิ่น สิ้นทุนทรัพย์
ในการก่อสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 855,209 บาท (แปดแสนห้าหมื่นห้าพันสองร้อยเก้าบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2544

หมวดเหรียญกษาปณ์
ธนบัตรโบราณ

ศูนย์วัฒนธรรมสันป่าตอง

เหรียญกษาปณ์

เหรียญกษาปณ์เริ่มผลิตขึ้นใช้ในสยามครั้งแรก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

สตางค์แดง

จำนวน 2 เหรียญ

ใช้ในปี พ.ศ.2461 ด้านหน้าของสตางค์ รอบรูกลางจะเป็นรูปอุณาโลม หมายถึง
พระโลมา ระหว่างพระขนงของพระพุทธเจ้าหมายความว่าประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา
และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะมีอักษรคำว่าว่า“สยามรัฐ” กับ“สตางค์”ด้านหลังเป็น
รูปจักรทักษิณาวัตร

เหรียญ ½ สตางค์ พ.ศ. 2480

จำนวน 84 เหรียญ

ลักษณะ เหรียญกลมแบน ขอบเรียบ ตรงกลางมีรู/ไม่มีรู
ด้านหน้า เป็นรูปอุณาโลม ด้านซ้ายมีคำว่า "สยามรัฐ" ด้านขวาว่า "สตางค์"
เบื้องล่างว่า ½ สตางค์

เหรียญ 1 สตางค์

จำนวน 350 เหรียญ

ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชด้านหลังเป็นภาพของพระเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัยประกาศ
ออกใช้เหรียญเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2530

เหรียญกษาปณ์1สตางค์รูทองแดง ตราอนุโลม-พระแสงจักร รัชกาล
ที่ 7 พ.ศ. 2472

เหรียญ 5 สตางค์

จำนวน 1 เหรียญ

เหรียญ 5 สตางค์เนื้อนิเกิล เป็นเหรียญกษาปณ์ ผลิตที่ออกใช้ใน 4 รัชกาล
ได้แก่ สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8

เหรียญ 10 สตางค์

จำนวน 33 เหรียญ

รูปแบบของเหรียญ 10 สตางค์ที่ผลิต เปลี่ยนเป็นรูปแบบเหรียญที่ระลึก
ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกจึงไม่มีการผลิตเหรียญในรูปแบบปกติ

เหรียญกษาปณ์ 1 บาท

จำนวน 184 เหรียญ

เหรียญราคา 1 บาท พ.ศ. 2515 ด้านหน้าเป็นรูปในหลวงรัชกาล
ที่ 9 ด้านหลังจะเป็นพิธีแรกนาขวัญ (เหรียญแรกนาขวัญ ปี 2515)

หอยเบี้ย

จำนวน 118 เหรียญ

ในสมัยก่อน “หอยเบี้ย” นอกจากจะใช้แทนเงินตราหรือแลกเปลี่ยนสินค้าแล้ว
ยังถูกใช้เป็นเครื่องประดับที่มีค่าและในวัฒนธรรมไทยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องราง
ของขลัง พิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งประเทศที่นิยมใช้หอยเบี้ยแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงิน

ธนาบัตร 50 สตางค์

จำนวน 1 ฉบับ

มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2491

ธนาบัตร 1 บาท

จำนวน 33 ฉบับ

มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2491

ธนาบัตร 5 บาท

จำนวน 8 ฉบับ

มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เริ่มใช้เมื่อพ.ศ.2491 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 16เมษายน2485

ธนาบัตร 10 บาท

จำนวน 3 ฉบับ

มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2491

ธนาบัตร 20 บาท

จำนวน 3 ฉบับ

มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2491

หมวดพับสาและใบลาน

ศูนย์วัฒนธรรมสันป่าตอง

โหวด จำนวน 1 ชนิด

โหวด เดิมเป็นของเล่นของคนอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือน " สนู " (เครื่องเล่นประกอบว่าว)
ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมือง ประเภทเครื่องเป่า ซึ่งสามารถเป่า
หรือแกว่งให้เกิดเสียงดังได้

ปั๊ บใบลานและปั๊ บสา

บันทึกในสมัยโบราณที่คนส่วนใหญ่นึกถึง คือ คัมภีร์ใบลานซึ่งทำขึ้น
จากใบลาน ซึ่งนอกจากใบลานแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่นิยมนำมาใช้จดบันทึก
คือ “พับสา” หรือ “ปั๊ บสา” ตามภาษาท้องถิ่นล้านนา สามารถพบเห็น
ได้ในภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเชื้อชาติพันธุ์ไทใหญ่มักจะนิยม
ใช้มาแต่อดีต ซึ่งพับสาจะเป็นเครื่องที่ใช้จดบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา
การเมือง การปกครอง พงศาวดาร องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจน
วรรณกรรม

ตาชั่งโบราณก่อน พ.ศ.2440 จำนวน 5 ชิ้น

วิธีของไทย, ของจีน และวิธีของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน
ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อความเจริญในการค้าขาย ในปี พ.ศ.2542 พระบาท-
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ "พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2542 " ขึ้น และทรงได้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 29 วันที่ 21
เมษายน 2542 ซึ่งมีผลให้ใชับังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2542
ตาชั่งโบราณ อายุประมาณ 100 ปี ได้รับการบริจาคจากนายโอฬาร รื่นรมย์
ซึ่งปัจจุบันได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประจำตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์
จังหวัดระยอง

ตาชั่งโบราณพร้อมกล่อง

แผ่นศิลาฤกษ์ จำนวน 1 ชิ้น



แผ่นดวงศิลาฤกษ์ ซึ่งสลักลงในแผ่นหินอ่อน ขนาดประมาณ "6*12"
หรือตามแต่เจ้าพิธีจะกำหนด เพราะว่ามีคติการทำที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนอกจาก
ดวงฤกษ์แล้ว ก็อาจจะมีข้อความอย่างอื่นอีกด้วย หรือในบางคนลงยันต์ตรีนิ
สิงเหที่ด้านหลังด้วย เพื่อให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์

ปั๊ บใบลาน ปั๊ บสา

ตาชั่ง

ตาชั่ง คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดน้ำหนักของสิ่งของ ซึ่งจำเป็นในการแลกเปลี่ยน
ซื้อขายสิ่งของ โดยนำน้ำหนักมาตีเป็นราคาหรือประเมินกับสิ่งที่จะต้องการแลกด้วย
นับว่าเป็นเครื่องมือที่สะท้อนให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างชุมชน แต่บางครั้ง
อาจเป็นการซื้อขายกันในระดับภูมิภาคด้วยซ้ำไป ซึ่งพ่อค้ามักพกตาชั่งติดตัวหรือขบวน
ค้าขาย ตาชั่งจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำมาชั่ง

ไม้ขึงฝ้ายเมือง จำนวน 7 ชิ้น



ไม้เปี๋ย หรือ ไม้เป ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง ลักษณะรูปทรงไม้
เปียในประเทศไทยมี 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

1. ไม้เปียแบบไขว้ มักจะเป็นแบบที่พบว่าใช้กันมากในหลายกลุ่มวัฒนธรรม
ของประเทศไทยเช่น ไทยวน ไทยลื้อ ไทพวน และภูไท หรือผู้ไทยเป็นต้น
โครงสร้างไม้เปียแบบนี้ ส่วนไม้ที่เข้าเดือยปิดหัวท้าย หรือส่วนบนส่วนล่าง
มักจะไขว้สลับทิศกัน และนิยมแกะสลักเป็นหยักเหลื่ยมหรือลวดลายสวยงาม

2. ไม้เปียแบบขนาน เป็นแบบที่พบในกลุ่มวัฒนธรรมไทครั่ง โครงสร้างส่วนไม้
ที่เข้าเดือยปิดหัวปิดท้ายหรือส่วนบนส่วนล่างจะเป็นแนวขนานกัน มักจะนิยมทำ
แบบเรียบ ๆ บางชิ้นทำจากไม้ไผ่ก็มี

ไม้เก็บเส้นฝ้าย จำนวน 12 ชิ้น



กระสวย เครื่องมือในการพุ่งเส้นดายสำหรับทอผ้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเจาะ
รูตรงกลางลำกระสวยเพื่อใส่หลอดด้ายที่ทำจากไม้ไผ่ (ก๊อหลอด) ในปัจจุบัน
หลอดด้ายอาจใช้หลอดที่ทำด้วยเหล็กขนาดใกล้เคียงกับหลอดไม้ไผ่แต่เดิม

ภาชนะใส่ของทำด้วยกะลา จำนวน 2 ชนิด



ในสมัยอดีตมีการใช้กะลาในการเก็บของซึ่งปัจจุบันนี้
ก็ยังมีการใช้อยู่

ขันซี่ จำนวน 1 ชิ้น



ภาชนะเครื่องรักที่มีรูปทรงที่พัฒนามาจากกระบุงไม้ไผ่สานสำหรับใส่ของหลาย
ประเภทในพิธีกรรมและการไปทำบุญเรียกว่าขันโอ โดยมีรูปทรงของขันโอเหมือนกระบุง
ขนาดเล็กป้อม ๆ เตี้ย ๆ ทาด้วยยางรักเรียบ ด้านนอกสีดำด้านในสีแดง มีหูเล็ก ๆ สี่หู
สำหรับร้อยเชือกหาบปากขันโอมีถาดวางปิดไว้ก้นขันโอมีการเสริมปุ่มสี่ปุ่มด้วยการปั้ น
ยางรักให้หนา รองรับการถูไถได้ดีบางทีก็ใช้หอยเบี้ยเสริมความแข็งแรงของปุ่มรองก้น

แอ๊บหมากโบราณ จำนวน 2 ชนิด

แอ๊บหมากโบราณ เชี่ยนหมาก งานเขิน เก่า ๆ มีอายุงานผ่านการใช้จริง

หนังสือการบริหารส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรม
อำเภอสันป่าตอง จำนวน 5 เล่ม

พระไตรปิฎกฉบับล้านนา จำนวน 45 เล่ม

สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ
จำนวน 14 เล่ม

พยัญชนะวรรคล้านนา

ซากโบราณวัตถุของโบราณสถานเวียงท่ากาน

หมวดข้าวของ
เครื่องใช้ในครัวเรือน

ศูนย์วัฒนธรรมสันป่าตอง

แอ๊บเครื่องเขิน
จำนวน 4 ชิ้น

การกินหมากเคี้ยวหมากเป็นวัฒนธรรมของคนเอเชียโดยทั่วไป
ภาชนะของประกอบ การกินหมากภาษาไทยกลางเรียกว่า เชี่ยนหมาก
ชาวล้านนาเรียกว่า ขันหมาก

ขันไม้สาน จำนวน1 ชิ้น

ขันไม้หรือ ขันแอวอู กลึงไม้ลูกติ่งเป็นซี่ ๆ เรียงกันเป็นส่วนเอวของขัน
ปากขันเป็นรูปบัวหงายคั่นลายบัวสามชั้น ต่อจากส่วนเอว ปากขันกลึงเป็นขอบ
หนา ใช้สำหรับใส่ข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน

แอบหมาก
จำนวน 1 ชิ้น

กล่องเชี่ยนหมากพลู ใส่ยาเส้น ยาฉุน หรือยาขื่น
(ภาษาเหนือ) ผ่านกานใช้งานจริง มีอายุราว 60-80 ปี

พานไม้
จำนวน 2 ชิ้น

พานไม้ งานเก่าไม้สัก ชาดแดงเก่าหลุดลอกบ้าง

ครกตำหมาก (เหล็ก) และชิ้นส่วน
จำนวน 2 ชิ้น

ครกตำหมาก ทำมาจากเหล็ก
และไม้เป็นทรงกระบอกมีลวดลาย
มีรูกลวงตรงกลางสำหรับตำหมาก

สาก
จำนวน 7 ชิ้น

คนโบราณเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ในทำนองนี้ว่าสากนั้นขาดคู่
เพราะตำจนกระทั่งครกแตก คหบดีสมัยก่อนมีความเชื่อว่านำ “สากหม้ายครก”
นี้มาบูชาไว้ที่ร้านจะทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ช้อน
จำนวน1 คัน

ช้อนสังกะสีเคลือบสี
ในสมัยแต่ก่อน นิยมใช้กันทุกครัวเรือน

ถ้วยชามโบราณ
จำนวน 7 ใบ

เนื้อดินเผาเนื้อค่อนข้างละเอียด ภายในวาดลวดลาย
ศิลปะโบราณเอเชียตะวันออก

ถ้วยก๋าไก่
จำนวน 44 ใบ

การผลิตถ้วยตราไก่ของจังหวัดลำปาง เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2503 เมื่อชาวจีน
2 คน คือ นายซิวกิม แซ่กวอก และนายซิมหยู แซ่ฉิน ได้ร่วมกันตั้งโรงงานทำถ้วยตราไก่แบบ
เมืองจีนขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นโรงงานทำถ้วยตราไก่แห่งแรกของลำปาง ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้ง
ที่ทั้งสองอยู่เมืองจีนเคยทำงานในโรงถ้วยชาม ซึ่งจะต้องทำงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่การล้างดิน
ปั้ นถ้วย เคลือบ เขียนลายและนำเข้าเตาเผา เมื่อเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ได้ทำงาน
ในโรงงานเครื่องปั้ นดินเผาที่จังหวัดเชียงใหม่

เครื่องปิ้ นดินเผา พบที่บ้านสันกาวาฬ
จำนวน 9 ชิ้น

เครื่องปิ้ นดินเผา พบที่บ้านสันกอเกต
จำนวน 9 ชิ้น

กล้องยาสูบ

จำนวน 32 ชิ้น

กล้องยาสูบ (มูยา) เบ้ากลม รอบเบ้ามีการแกะสลักลวดลายต่าง ๆ
มีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่คนนิยม ส่วนก้านทำเป็นลายเส้นแนวตั้ง
สลับกับลายแนวนอน ในก้นเบ้ามีรูทะลุถึงด้ามเพื่อใช้สำหรับสูบยา

ไม้จะต๋า

จำนวน 9 ชิ้น

ไม้จะต๋า หรือใบสูติบัตรแบบล้านนาใช้จดบันทึกข้อมูลการเกิดลง
บนแผ่นไม้ โดยบันทึกด้วยตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองล้านนา

ดาบเงิน

จำนวน 1 เล่ม

ดาบทำด้วยเงิน (ดาบแม่ครู) แม่ครูดาบ บ้านหลังตลาดสันป่าตอง ชื่อ แม่อุ๊ยต่อ สิทธิการ
อายุ 69 ปี นางผกาพรรณ สิทธิการ ได้มอบไว้ให้กับศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม
พ.ศ.2548


Click to View FlipBook Version