The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 65209010003, 2022-07-12 06:42:37

Math summary

test01

สถิติ (Statistic)

โดยทั่วไปสถิติมี 2 ประการ

1. สถิติ หมายถึงตัวเลขที่แทนข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่
พยากรณ์ล่วงหน้าได้หรือไม่ได้

2. สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับหลักการและระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบ
ด้วยการรวบรวมข้อมูล การนาเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล

วิชาสถิติศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. สถิติเชิงพรรณนา คือ สถิติที่บรรยายให้เห็นคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่ง
อาจเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กก็ได้ ผลของการศึกษาไม่สามารถนำไปอ้างอิงกลุ่มอื่นได้

2. สถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติที่ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง แล้วสรุปผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนั้นอ้างอิงไปถึงกลุ่มของ
ประชากรได้ โดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น สถิติแบบนี้จะให้ความสำคัญอยู่ที่กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะต้องเป็นกลุ่มตัวแทนที่ดี
ของประชากร จึงจะทำให้การสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่กลุ่มประชากรถูกต้องและเชื่อถือได้

ข้อมูลและข้อมูลสถิติ (Data & Statistical data)

ข้อมูล (Data)

หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสารต่างๆ ที่เก็บรวบรวมเพื่อศึกษา
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลขก็ได้

ข้อมูลสถิติ (Statistical data)

หมายถึง ข้อมูลที่ต้องมีจำนวนมากพอที่จะแสดงถึงลักษณะของ
กลุ่มหรือส่วนรวม สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบหรือตีความ
หมายได้ ข้อมูลเพียงหน่วยเดียวไม่ถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ

ระเบียบวิธีทางสถิติ (Statistical Method)

เป็นการศึกษาถึงขั้นตอนการดำเนินการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การเก็บรวมข้อมูล (Collection of data)
2. การนำเสนอข้อมูล (Presentation of data)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data)
4. การแปลความหมายข้อมูล (Interpretation of data)

ประเภทและแหล่งของข้อมูล

โดยทั่วไปข้อมูลในทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่เก็บได้เป็นตัวเลขที่สามารถบอกถึงขนาดหรือปริมาณหรือ
จำนวนได้ เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความยาว เป็นต้น

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งที่กำลังสนใจที่ไม่สามารถวักมา
เป็นตัวเลขได้โดยตรง เช่น เพศ สถานภาพ สัญชาติ ศาสนา เป็นต้น

ข้อมูลในทางสถิติแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูลเป็น 2 ชนิด

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูลที่เรา
ต้องศึกษาโดยตรงและเก็บรวบรวมด้วยตนเอง อาจใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secandary data) คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นไม่ได้มาจากแหล่ง
ข้อมูลโดยตรง โดยแหล่งข้อมูลดังกล่าวได้เก็บข้อมูลไว้แล้ว เพียงไปนำมาใช้งาน เช่น ข้อมูลจาก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

การเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะของวิธีการที่ต้องปฏิบัติดังนี้

1. ทะเบียนประวัติ (Registeation) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีหน่วยงานราชการ
เอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆได้จัดรวบรวมไว้แล้วซึ่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ
ได้มากควรมีการปรับปรุงอยู่เสมอ

2. การสำรวจ (Servey) เป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับ
ความต้องการ ส่วนใหญ่จะศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน

3. การทดลอง (Experiment) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการทดลอง กระบวนการค้นหา
ความจริงโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาข้อมูลโดยการวัด นับ หรือสังเกตจาก
แหล่งข้อมูลโดยตรง

4. การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และจดบันทึก
ข้อมูลที่สนใจไว้ จะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
เรื่องนั้นโดยตรง

การนำเสนอข้อมูล

เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษามานำเสนอ หรือนำไปวิเคราะห์เพื่อไปใช้ประโยชน์
1.การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน
2.การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูล

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูล #2

กิ จ ก ร ร ม ท้ า ย บ ท ! @ #

STATISTICS

Create by: June 21, 2022 | 5:00 PM
Kittipon Saisahas 003 123 Anywhere St., Any City
Ratkawee Lewชะlermวงค์ 031
Aniwat Plodkaew 039


Click to View FlipBook Version