รายงาน
การเลือกซื้ออาหารสด
จัดทำโดย
1.นายณัฎฐชัย ใจดี เลขที่ 5
2.นายธนกร มานะกิจไพศาล เลขที่ 6
3.นายนพดล สงสาร เลขที่ 8
4.น.ส.กัลยากร ปักโคทานัง เลขที่ 23
5.ด.ญ.ณิชากร สกุลศรี เลขที่ 26
6.น.ส.ศริศา ชลี เฟลมิ่ง เลขที่ 41
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เสนอ
นางศิริรักษ์ สมพงษ์
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
FRESH FOOD
อาหารสด
คำนำ ก
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการ
งานอาชีพชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความ
รู้ในเรื่องขั้นตอนการเลือกซื้ออาหารสดและได้ศึกษา
อย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเรียนนักเรียนและ
ผู้ที่สนใจผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และ
เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่านที่กำลังหา ข้อมูลเรื่อง
นี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัด
ทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
สารบัญ ข
หน้า
เรื่อง
หลักในการเลือกซื้ออาหารสด...................................1-4
เนื้อหมูและเนื้อวัว.....................................................1
เนื้อเป็ดและเนื้อไก่....................................................2
ปลา เนื้อกุ้งและหอย.................................................3
ไข่ ผักและผลไม้.......................................................4
ความเสี่ยงจากอาหารสด...........................................5
การยืดอายุและรักษาอาหารสด.................................6-9
บทละคร..................................................................10
บรรณานุกรม............................................................11
สมาชิกในกลุ่ม...........................................................12
หลักในการเลือกซื้ออาหารสด
เนื้อหมูและเนื้อวัว
ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อน นุ่ม เป็นมัน ไม่มี
กลิ่นเหม็น และควรเลือกเนื้อวัวที่มีสีแดงสด ไม่มี
กลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่มีเมือก ต้องไม่มีเม็ดสีขาวใส
คล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด
1
เนื้อเป็ดและเนื้อไก่
ลักษณะผิวเต็มไม่เหี่ยวย่น ไม่มีจ้ำเขียวๆ
ไม่ซีด ปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ อกต้องมีเนื้อ
เต็ม ไม่มีรอยยุบ ตีนอ่อนไม่แข็งกระด้าง ไก่
อ่อนจะมีกระดูกอกมากกว่าไก่แก่ และมักมี
ขนอ่อนๆด้วย
2
ปลา เนื้อกุ้งและหอย
เหงือกต้องมีสีแดงสดไม่เป็นสีเขียว ไม่มี
กลิ่นเหม็นและเมือกหรือถ้ามีเมือกก็ต้อง
เป็นเมือกใสตาใสไม่จมลงไปในเบ้าตา
ตาไม่ขุ่นเป็นสีเทา เนื้อแน่นแข็ง
ผิวสดใส เกล็ดใส ท้องไม่แตก
เนื้อกุ้ง เลือกที่เนื้อแน่นไม่มีกลิ่น
เหม็น ตาใส เห็นสีแดงของมันกุ้ง
ชัด หัวกุ้งไม่หลุดง่าย
ฝาต้องปิดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มี
เมือก ไม่มีสิ่งสกปรกมากเกินไป เมื่อ
แกะเปลือกแล้วเนื้อจะต้องมีสีแดงสด
ไม่ซีด เคลื่อนไหวได้เมื่อถูกแตะต้อง
3
ไข่ ผักและผลไม้
เปลือกต้องนวลเกลี้ยง ไม่มีรอยด่าง ไม่ร้าว เมื่อตอกออกไข่
ขาวจะไม่มีสี ไข่แดงจะอยู่ตรงกลางและกลม สีสม่ำเสมอ
ไม่มีสิ่งแปลกปลอม
ควรซื้อผักสด ไม่ซื้อผักผลไม้ที่มีรอยช้ำ ดูความอ่อนแก่
ของผักและผลไม้(ผักบางชนิดอร่อยเมื่อยังอ่อนเช่น ผัก
บุ้ง ผักบางอย่างต้องรอให้แก่จัดก่อนถึงจะอร่อย เช่น
มะเขือเทศ) ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลเพราะจะมีราคาถูก
4
ความเสี่ยงจากอาหารสด
“ฟอร์มาลีน” มีส่วนประกอบหลัก คือ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37%
ลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีสี กลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ระคายเคือง
โดยทั่วไปมีไว้เพื่อการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ทำให้
สิ่งของบางอย่างขึ้นรูปและคงรูปอยู่ ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้
ในการเกษตร ใช้ในทางการแพทย์ ใช้ในเครื่องสำอางค์ ซึ่ง
ปัจจุบันมีการนำมาใช้ผิดประเภท คือ ใส่ในอาหารโดย
เฉพาะพวกอาหารทะเลที่เน่าเสียไว ซึ่งฟอร์มาลีนก่อให้เกิด
อันตรายมากมาย
วิธีสังเกตในการเลือกซื้ออาหารสดหรือตรวจสอบว่ามีสาร
ฟอร์มาลีนหรือไม่
ให้เราดูว่าร้านนั้นๆ มีกลิ่นฉุนของสารเคมีแปลกๆ หรือ
เปล่า ต่อมาคือ ขอยกตัวอย่างกุ้ง หากเนื้อกุ้งมีทั้งส่วนที่แข็ง
สด และมีส่วนที่เปื่ อยยุ่ยในตัวเดียวกัน แสดงว่าต้องมีการ
แช่ฟอร์มาลีนมาอย่างแน่นอนให้หลีกเลี่ยงในการซื้อมาบริ
โภค เพราะหากเป็นอาหารสดต้องสดเสมอกัน ไม่มีส่วนใด
ส่วนหนึ่งเปื่ อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแข็งสด
ส่วนใหญ่ฟอร์มาลีนจะนิยมใส่ในอาหารทะเล เพราะอาหาร
เหล่านี้มีการเน่าเสียง่าย ผักก็มีอยู่บ้างแต่นานๆ เราจะเจอ
สักทีหนึ่ง และอีกวิธีคือใช้ชุดตรวจสารฟอร์มาลีนในอาหาร
เมื่อทำครบตามขั้นตอนผลที่ได้ คือ น้ำจะมีสีชมพูแดง
แสดงว่าอาหารนั้นมีสารฟอร์มาลีน ก็จะช่วยให้เราหลีก
เลี่ยงอาหารสดที่มีสารอันตรายเหล่านี้ได้อีกทางหนึ่ง
5
การยืดอายุและรักษาอาหารสด
1 . แบ่งใส่ถุงให้หยิบใช้ง่าย
การแบ่งเนื้อสัตว์ใส่ถุงเข้าแช่เย็นนั้นควรจัดให้อยู่ในรูป
แผ่นแบน ๆ ไม่จุกรวมกันเป็นก้อน เพื่อให้ความเย็นเข้าไป
ถึงได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งยังสามารถจัดวางได้อย่างเป็น
ระเบียบและหยิบใช้ได้สะดวก ที่สำคัญยังทำให้ละลายน้ำ
แข็งได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องการนำออกมาปรุงอาหาร
สำหรับเนื้อสัตว์บดหรือเนื้อที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียบร้อย
แล้ว สามารถใช้การกดให้เป็นแผ่นแบนได้ตามปกติ ส่วน
เนื้อสัตว์ที่เป็นชิ้นอย่างอกไก่หรือเนื้อสเต็กนั้นควรแร่ให้
เป็นชิ้นตามขนาดที่เหมาะสำหรับการปรุงก่อนนำไปใส่ถุง
พลาสติกเพื่อแช่แข็ง และสามารถเขียนประเภทของเนื้อ
สัตว์และวันที่ที่นำเข้าตู้กำกับไว้ได้
6
การยืดอายุและรักษาอาหารสด
2 . แบ่งเนื้อสัตว์ออกเป็นช่องก่อนแช่แข็ง
บางครั้งการเก็บเนื้อสัตว์บดโดยแยกถุงก็อาจทำให้
เปลืองถุงพลาสติกและเพิ่มขยะมากขึ้น แต่อีกวิธีที่ทำได้
เหมือนกันก็คือการเลือกถุงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกนิด
โดยหลังจากนำเนื้อสัตว์ใส่ถุงและรีดเป็นแผ่นแบนแล้ว
ให้ใช้ตะเกียบหรือปลายช้อนค่อย ๆ กรีดเป็นเส้นเพื่อ
แบ่งช่องให้เนื้อขาดออกจากกัน พอนำไปแช่แข็งเนื้อ
สัตว์จะเกาะตัวกัน ทำให้หยิบออกมาใช้เป็นชิ้นได้อย่าง
ง่าย ๆ ไม่ต้องนำออกมาละลายทั้งหมดให้เปลืองเวลา
รวมทั้งอาจทำให้เนื้อส่วนอื่น ๆ เสียได้ง่ายขึ้นด้วย
7
การยืดอายุและรักษาอาหารสด
3. รักษาสภาพเนื้อด้วยอลูมิเนียมฟอยล์
ถ้าอยากให้เนื้อสัตว์ที่ซื้อมาอยู่ได้นาน ๆ ไม่ต้องห่วงว่า
จะเสียก่อนนำออกมาปรุง การแช่แข็งนั้นถือเป็นวิธีที่มี
ประสิทธิภาพที่สุด แต่บางครั้งการเก็บอาหารสดใน
อุณหภูมิต่ำนานเกินไปก็อาจทำให้เกิด Freeze burn
หรือรอยแห้งที่เกิดจากน้ำแข็ง ทำให้เนื้อเป็นรอยสีขาว
หรือเหลืองซีด ๆ และแข็งจนไม่อร่อย ที่สำคัญยังทำให้
สารอาหารในเนื้อสัตว์หายไปด้วย ทางที่ดีเมื่อรู้ว่าต้อง
เก็บเนื้อชิ้นนี้ไว้นานอย่างแน่นอน ก็ควรป้องกันด้วยการ
ห่ออลูมิเนียมฟอยล์ก่อนนำไปเข้าช่องแช่แข็ง เพื่อไม่ให้
เนื้อสัตว์เกิดความเสียหาย
8
การยืดอายุและรักษาอาหารสด
4 . การแช่อาหารสดนอกช่องแช่แข็ง
ถ้าหากเพิ่งซื้อเนื้อสัตว์เตรียมจะมาปรุงอาหารสำหรับวัน
หยุดที่ใกล้ถึงนี้ แต่ก็ไม่อยากนำไปแช่แข็งให้ละลายยาก
ถ้าจะแช่ไว้ในช่องปกติก็กลัวจะเสียซะก่อน สามารถใช้
วิธีการง่าย ๆ นี้ได้ค่ะ เพียงนำเนื้อสัตว์ใส่ถุงพลาสติก
และวางลงในกล่องที่เติมน้ำพร้อมกับใส่น้ำแข็งไว้แล้ว
ตามด้วยการใส่น้ำแข็งโปะลงไปด้านบนอีกทีก่อนจะปิด
ฝาให้สนิท ความเย็นในระดับนี้สามารถช่วยลดการโต
ของแบคทีเรียได้โดยไม่ต้องนำไปแช่แข็ง แต่ควรนำออก
มาปรุงอาหารภายในเวลา 3 – 5 วัน เท่านั้น
9
บทละคร
แพร : นพ ก้อง วันนี้แกช่วยไปซื้อของสดตามที่แม่ริศาลิสต์ไว้ให้หน่อยได้ไหม
เอามาทำอาหารจัดฉลองวันเกิดริศาน่ะ
ก้อง : ได้
นพ : ได้สิ ไปตอนนี้เลยใช่ไหม
แพร : ใช่ ตอนนี้เลย นี่นะรายการของสด แล้วก็นี่เงินเอาไว้จ่าย
นพ : โอเค ไปกันเถอะ
@ซุปเปอร์มาร์เก็ต
ก้อง : ต้องซื้ออะไรบ้างนะ
นพ : มีปลาทับทิม เนื้อหมู แล้วก็ผักผลไม้ที่ริศาชอบอีกนิดหน่อย
ก้อง : งั้นไปซื้อเนื้อหมูกับปลาก่อนดีไหม
นพ : ไปสิ
ก้อง : เออแล้ว ปลานี่ต้องเลือกยังไงเหรอ
นพ : เหงือกต้องมีสีแดงสดไม่เป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเมือก หรือถ้ามีเมือก
ก็ต้องเป็นเมือกใส ตาใสไม่จมลงไปในเบ้าตา ตาไม่ขุ่นเป็นสีเทา เนื้อแน่นแข็ง ผิว
สดใส เกล็ดใส ท้องไม่แตก
ก้อง : อ๋อ งั้นก็ต้องตัวนี้สิ เพราะตรงกับที่นะพูดมาทุกอย่างเลย
นพ : ใช่
ก้อง : แล้วเนื้อหมูล่ะ
นพ : เนื้อหมูควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อน นุ่ม เป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น แค่นี้เลย
ก้อง : อ๋อ โอเค ได้ไปอีกหนึ่งอย่าง
นพ : อย่าลืมผักกับผลไม้ด้วยนะ
ก้อง : ของแค่นี้จิ๊บ ๆ
นพ : รีบซื้อรีบกลับเถอะ แม่ริศารอนานแล้วมั้งเนี่ย
ก้อง : โอเค
10
บรรณานุกรม
ข้อมูลต่างๆ
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/
%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2
%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%80%
E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E
0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0
%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%
B8%B5%E0%B8%AA/
https://www.baanlaesuan.com/130270/diy/easy-
tips/how-to-keep-food-fresh-longer
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-
5/no12/foodsod.html
รูปภาพ
www.dessertnowdinnerlater.com
11
สมาชิกกลุ่ม
ชั้น ม.3/4
1.นายณัฎฐชัย ใจดี เลขที่ 5
2.นายธนกร มานะกิจไพศาล เลขที่ 6
3.นายนพดล สงสาร เลขที่ 8
4.นางสาวกัลยากร ปักโคทานัง เลขที่ 23
5.ด.ญ.ณิชากร สกุลศรี เลขที่ 26
6.นางสาวศริศา ชลี เฟลมิ่ง เลขที่ 41
12