การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านคำศัพท์โดยใช้บัตรคำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 DEVELOPING LEARNING ENGLISH VOCABULARY ACHIEVEMENT BY USING FLASHCARDS of Matthayomsuksa 2 students เทพพิทักษ์ ธนสารพิสุทธิ์ วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านคำศัพท์โดยใช้บัตรคำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 DEVELOPING LEARNING ENGLISH VOCABULARY ABILITY BY USING FLASHCARDS of Matthayomsuksa 2 students เทพพิทักษ์ ธนสารพิสุทธิ์ วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
สารบัญ บทที่ หน้า 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 3 สมมติฐานของการวิจัย 3 ขอบเขตของการวิจัย 3 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3 2. ตัวแปรในการวิจัย 3 3. เนื้อหาสาระของการวิจัย 3 4. ระยะเวลาของการวิจัย 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 5 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 6 1.1 คุณภาพผู้เรียน 6 1.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 7 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบัตรคำศัพท์ 8 2.1 ความหมายของบัตรคำศัพท์ 8 2.2 ความสำคัญของคำศัพท์ 9 2.3 ประเภทของคำศัพท์ 10 2.4 หลักการเรียนรู้คำศัพท์ 12 2.5 หลักการสอนคำศัพท์และขั้นตอนการสอนคำศัพท์ 13 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 14 3.1ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 14 3.2แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 15 3.3ประเภทของการการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 16 3.4หลักการสร้างแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 16
สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 4. แผนการสอนแบบ 2W3P 17 5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 18 5.1 งานวิจัยในประเทศ 18 5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ 19 6.ขั้นตอนการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ 23 3 วิธีการดำเนินการวิจัย 22 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 22 2. แผนการทดลอง 22 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 23 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 25 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 25 บรรณานุกรม 27
ชื่อเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่มีผลต่อทักษะการฟังคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ผู้วิจัย นายเทพพิทักษ์ ธนสารพิสุทธิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์บุรัช ภูดอกไม้ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์วชิรเกียรติ เบ้าทองจันทร์ ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียน โดยการใช้บัตรคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้บัตรคำศัพท์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2)แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 รูปแบบเขียนตอบจำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่าหลังเรียนโดยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบัตรคำศัพท์สูงกว่าก่อนเรียน มี คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.03 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.77 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ภาษาอังกฤษโดยใช้บัตรคำศัพท์ มีประสิทธิภาพรวมของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 86.33 และประสิทธิภาพ ของกระบวนการวัดผลหลังเรียน (E2) เท่ากับ 78.83 สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้สาระวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้บัตรคำศพท์เท่ากับ 86.33/78.83 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสําคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของ โลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่า แต่ ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจําชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกัน ทุกคน จําเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกคนทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่ สองรองลงมาจากภาษาประจําชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไป จนถึงการศึกษา ตลอดชีวิต ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษมีบทบาทอย่างยิ่งเป็นตัวจักรสําคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทย พัฒนาได้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมุ่งใช้ความก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมุ่งใช้ความก้าวหน้า ของสังคมและความรู้ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นปัจจัยชี้นําในการ เพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของบุคลากรของประเทศเพื่อให้ มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่ สามารถติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ สร้างความร่วมมือ เจรจาต่อรอง และ สร้างความสัมพันธ์อันดีได้ จึงมี ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (ภุชงค์ มัชฌิ โม, 2559) ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งในประชาคมโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของ ประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสาระสนเทศดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนา ความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยให้อยู่ในระดับที่จะรู้และเข้าใจสาระสนเทศภาษาอังกฤษได้เป็นอย่าง ดีตลอดจนสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารไปยังประชาคมโลกได้ถูกต้องและเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551:1) ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษถือได้ว่าเป็นศาสตร์สำคัญศาสตร์หนึ่ง เพราะว่าภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง ในการใช้สื่อสาร บัณฑิตยุคปัจจุบันต้องมีองค์ความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นโลกไร้พรมแดนองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภาษา ของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจจะได้รับความสนใจเรียนรู้กันทั่วโลก เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน เป็นต้น ขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็จำเป็นต้องรักษาอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมประจำชาติของตน เอาไว้ให้เข้มเข็ง เพื่อคงไว้ซึ่งความมีศักดิ์ศรีความเป็นชาติและภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาเป็นเวลานาน บัณฑิตจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจและการเรียนรู้ภาษาประจำชาติเพื่อคงความ เป็นชาติไว้นั้น หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงกำหนดให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาภาษาไทยที่เป็นภาษาหลักของชาติไปด้วย เพื่อใช้สื่อสารกับ คนในประเทศเดียวกัน และใช้ภาษาอังกฤษไว้ใช้สื่อสารกับคนต่างประเทศ (วรวรรธน์ ศรียาภัย กรรณิการ์ รักษาและ คนึงนิจ ศีลรักษ์. 2553 : 36-50)
2 จากการศึกษาสรุปได้ว่า ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลางของ โลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของ มนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ซึ่งก็เป็นภาษาที่สำคัญสำหรับประเทศไทย ที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คำศัพท์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถุงกลุ่มเสียง เสียงพูด หรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิดเป็นคำหรือคำยากที่ต้องแปล (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540 : 853 ) คำศัพท์ คือ กลุ่มเสียงที่มีความหมาย แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ออกไป เช่น แบ่งตามรูปคำหรือแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้ เป็นต้น (สมพร วราวิทยศรี. 2541)คำศัพท์เป็น สิ่งจ าเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้านหากผู้เรียนมีความรู้ในด้านคำศัพท์น้อย การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านต่างๆ ก็จะไม่สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ นักเรียนไทยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือ นักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ จดจำหรือระลึกถึงความหมายคำศัพท์ได้ น้อยไม่สามารถนำคำศัพท์ไปใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ และขาดการฝึกทักษะการนำคำศัพท์ไปใช้ ทั้งนี้เกิดจาก การที่นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนรู้คำศัพท์ นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนไม่สนุก ไม่เร้าใจ เพราะครูส่วนมาก ขาดเทคนิค วิธีการสอนมักจะสอนคำศัพท์เน้นการบันทึกท่องจำการสอนจะเน้นตัวครูเป็นสำคัญ นักเรียน จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งครู จึงทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (กรมวิชาการ. 2545 : 2)นอกจากนี้ ผู้เรียนภาษาที่มีความรู้ด้านคำศัพท์น้อย ทำให้การพัฒนาทักษะด้านภาษาเป็นไปอย่าง ล่าช้า จึงกล่าวได้ว่าคำศัพท์จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้ภาษา ความเข้าใจภาษา การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน และเขียนอีกด้วย (มยุรีสิรินทร์ ศิริวรรณ. 2550 : 17) การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในประเทศ ไทยที่ผ่านมา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (กรมวิชาการ. 2542 : 2) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในปัจจุบันปัญหายังมีอีกมาก (กรมวิชาการ. 2542) นอกจากนี้ จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บัตรคำศัพท์ และเกมคำศัพท์ ประกออบการสอน พบว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำคำศัพท์ได้มากขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ ทางการหลังเรียนสูงขึ้น โดยณัฐชนก บุตรดาวงษี (2562) จากเหตุผลที่นำเสนอข้างต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่าการสอนภาษาอังกฤษโดยการใช้บัตร คำศัพท์ โดยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 หรือไม่ บัตรคำศัพท์จะสามารถทำให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษ ความสามารถในการจำคำศัพท์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 หรือไม่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3 สมมติฐานของการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตการวิจัย 1.ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี จำนวน 30 คน 2.ตัวแปรในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรดังนี้ 2.1 ตัวแปรต้นคือ การเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ 2.2 ตัวแปรตามคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 3.เนื้อหาสาระของการวิจัยครั้งนี้คือ ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ 4.ระยะเวลาในการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ใช้เวลา 10 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวม 4 สัปดาห์ นิยามศัพท์เฉพาะ 1. สื่อการสอนแบบบัตรคำ (Flashcards) บัตรคำ (Flashcards) คือ ชุดบัตรที่มีข้อมูลเป็นคำหรือตัวเลขด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน ซึ่งใช้ในการฝึกในห้องเรียนหรือ การศึกษาด้วยตัวเอง ครูสามารถแสดงคำถามและคำตอบบนบัตรได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาทักษะคำศัพท์ ของผู้เรียน (Hussain et al., 2016) นอกจากนี้บัตรคำเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สอนและผู้เรียน และจากงานวิจัย ที่ผ่านมาหลายชิ้นให้ผลการศึกษาตรงกันคือบัตรคำมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนจำคำศัพท์ได้และสามารถ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้มากกว่ารายการคำศัพท์(Mohammadnejad et al., 2012; Sitompul, 2013) 2. การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการใช้บัตรคำศัพท์ หมายถึง แผ่นกระดาษที่มีรูปภาพและคำศัพท์ที่ใช้เป็นสื่อการสอน 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ถูกต้องกับบริบท ความหมาย และคำศัพท์ที่ ปรากฏร่วมกัน อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธวิธีการเดาความหมายคำศัพท์ภาษาอังกฤษจาก
4 บริบท ซึ่งวัดได้จากการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achicvement test) และมีนักวิชาการได้ ให้ความหมายไว้ ดังนี้ Good (1973, p.7) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ (Achievement) ว่าหมายถึง ความสำเร็จ (Accomplishment) ความคล่องแคล่ว ความชำนาญ ในการใช้ทักษะหรือการประยุกต์ใช้ความรู้ต่างๆ ส่วน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Academic Achievement) หมายถึงความรู้หรือทักษะอันเกิดจากการเรียนรู้ในวิชา ต่างๆ ที่ได้เรียนมาแล้ว ซึ่งได้จากผลการทดสอบของครูผู้สอน หรือผู้รับผิดชอบในการสอนหรือทั้งสองอย่าง รวมกัน ชนิดา ยอดสาลี และ กาญจนา บุญส่ง (2559, หน้า 13) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้หรือทักษะที่ ต้องใช้สติปัญญาและสมรรถภาพทางสมองที่ได้รับมาจากการสั่งสอน แสดงออกมาในรูปความสำเร็จสามารถวัด ได้โดยการแสดงออกมาทั้ง 3 ด้าน คือพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย และใช้แบบทดสอบ ความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เรียน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1.ทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยการใช้บัตรคำศัพท์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 2.ทำให้ทราบผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยการใช้บัตรคำศัพท์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็น เป้าหมาย และกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีด ความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2544) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้ท้องถิ่นและสถนศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและ ความต้องการของท้องถิ่น (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๕๒) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 1.1 หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญดังนี้ 1.1.1 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล 1.1.2 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ 1.1.3เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 1.1.4เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยึดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ 1.1.5เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.1.6เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 1.2 สมรรถนะของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1.2.1ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
6 1.2.2ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่าง สร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 1.2.3ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.2.4ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวันการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 1.2.5ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และ มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม 1.3 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่ง สะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบ คุณภาพผู้เรียน 1.3.1ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓) 1.3.2ตัวชี้วัดช่วงชั้นเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖) หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจ และให้สื่อสารตรงกัน 2.บัตรคำศัพท์ 2.1ความหมาย คือ คำศัพท์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถุงกลุ่มเสียง เสียงพูด หรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิดเป็นคำหรือคำยากที่ต้องแปล (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540 : 853 ) คำศัพท์ คือ กลุ่มเสียงที่มีความหมาย แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่แตกต่าง กันออกไป เช่น แบ่งตามรูปคำหรือแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้ เป็นต้น (สมพร วราวิทยศรี. 2541 : 12)
7 ศศิธร แสงธนู และคิด พงศทัต (2521) ได้ให้ความหมายของ คำศัพท์ หมายถึง กลุ่มเสียงซึ่งมี ความหมายให้รู้ว่าเป็นคน สิ่งของ อาการ หรือลักษณะอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง และได้แบ่งความหมายคําศัพท์ ออกเป็น 4 นัย คือ 1. ความหมายตามพจนานุกรม (Lexical meaning) 2. ความหมายทางไวยากรณ์ (Morphological meaning) ศัพท์ประเภทนี้เมื่ออยู่ลำพังโดดๆจะ เดาความหมายได้ยาก 3. ความหมายที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่การเรียงลำดับคำ (Syntactical meaning) 4. ความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเสียงขึ้นหรือลงที่ผู้พูดเปล่งออกมา (Intonation meaning ) วรชาติ ภู่ทอง(2537) ได้ให้ความหายของ คำศัพท์ หมายถึง คำ หรือถ้อยคำและวลีในภาษาทั้งหมดที่ ใช้เป็นสื่อความหมาย ความรู้ ความคิด หรือเฉพาะบุคคล กลุ่มสังคม อาชีพ และชนชาติ รูบิน (Rubin, 1979) ได้ให้ความหมายของ คำศัพท์ หมายถึง คำทุกคำในภาษาที่นำมาใช้และเป็นที่ เข้าใจในเฉพาะบุคคล วงสังคม วงการอาชีพหรือโดยทั่วไป คำศัพท์อาจ ได้แก่ รายการคำหรือวลีที่ถูกจัดเรียง ตามระบบการเรียงอักษรพร้อมกับมีการอธิบายความหมายแปลหรือยกตัวอย่างประกอบ แฮทช์ และบราวน์ (Hatch & Brown, 1995) ได้ให้ความหมายของ คำศัพท์ หมายถึงคำ หรือ กลุ่มคำสำหรับภาษาใดภาษาหนึ่งที่ผู้พูดอาจจะใช้สื่อความหมายในแต่ละภาษา เลท์ (Lehr, 2004) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ว่า คำศัพท์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับคำและ ความหมายของคำ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า คำศัพท์ หมายถึง กลุ่มเสียงที่มีความหมายแตกต่างกันไปตามรูปคำ ตำแหน่ง หรือการออกเสียง ซึ่งคำศัพท์สามารถเป็นได้ทั้งคำ ถ้อยคำหรือวลีในภาษาทั้งหมดทั้งเป็นภาษาพูดหรือภาษา เขียนที่จะถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมาย ความรู้ ความคิด และมีความเข้าใจได้เฉพาะบุคคล สังคม อาชีพ และชนชาติ 2.2ความสำคัญของคำศัพท์ คำศัพท์มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหาขณะที่ทำการอ่าน ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องคำศัพท์ มากมักจะเข้าใจในเรื่องที่อ่านมากกว่าผู้ที่รู้คำศัพท์น้อย ซึ่งมีนักภาษาศาสตร์และนักการศึกษาหลายท่านได้ กล่าวถึงความสำคัญของคำศัพท์ ดังนี้ กาเดสซี่ (Ghadessy, M., 1979, p.24) ให้ความเห็นว่า การสอนคำศัพท์มีความสำคัญยิ่งกว่าการ สอนโครงสร้างทางไวยากรณ์ เพราะคำศัพท์เป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา หากผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์ก็สามารถจำนำคำศัพท์มาสร้างเป็นหน่วยที่ใหย่ขึ้น เช่น วลี ประโยค ความเรียง แต่หากไม่เข้าใจ คำศัพท์ก็ไม่สามารถเข้าใจหน่วยทางภาษาที่ใหญ่กว่าได้เลย
8 เสงี่ยม โตรัตน์ (2527) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคำศัพท์ภาษาอังกฤษในแง่ของการอ่านว่าคำศัพท์ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรัลการอ่าน เพราะช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ ยิ่งผู้เรียนรู้คำศัพท์มาก การเข้าใจเนื้อ เรื่องยิ่งมีมากขึ้นเช่นกัน ฉะนั้นผู้เรียนจึงต้องให้ความสนใจด้านคำศัพท์เพื่อช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการอ่าน วรรรพร ศิลาขาว (2539 : 15) ให้ความเห็นว่าคำศัพท์เป็นหน่วยพื้นฐานทางภาษา ซึ่งผู้เรียนจะต้อง เรียนรู้เป็นอันดับแรก เพราะคำศัพท์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะ การฟัง การพูด อ่านและเขียนภาษา สมุทร เซ็นเชาวนิช (2540) อุปสรรคที่ ยิ่งใหญ่ของนักศึกษาไทยเวลาอ่านภาษาอังกฤษคืออ่านแล้ว ไม่เข้าใจ เนื่องจากติดคำศัพท์หรือไม่เข้าใจความหมายที่อยู่ในข้อความทำให้เกิดความรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่อง ยากลำบากน่าเบื่อหน่ายและยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เกิดความหวั่นไหวไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเองการรู้คำศัพท์จึง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะสามารถใช้ทักษะเทคนิคอื่นๆได้เพื่อการอ่านได้ดี แต่หากไม่ทราบความหมาย ของคำในข้อความที่กำลังอ่านก็คงไม่เข้าใจในสิ่งที่อ่านได้โดยตลอดหรือถูกต้อง ฟินอกเชียโร และ ซาโก (Finocchiaro & Sako, 1983) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคำศัพท์ไว้ว่าเป็น องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการสื่อสาร ผู้เรียนภาษาที่มีปัญหาในเรื่องคำศัพท์จะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสาร ด้วย เนชั่น (Nation, 1990) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคำศัพท์ไว้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการ เรียนรู้ภาษา มีความรู้ด้านคำศัพท์ไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการรับสารและการส่งสารใน ภาษาต่างประเทศ ธอร์นบูรี (Thornbury, 2002) ทุกภาษามีคำศัพท์ ภาษาพัฒนามาจากคำ การสร้างคำขึ้นมาใหม่จึงเกิดขึ้น เรื่อยๆไม่เพียงแต่ผู้เรียนจะเรียนรู้คำศัพท์ในภาษาต่างประเทศเท่านั้นแม้แต่ในภาษาแม่ก็ต้องเรียนรู้คำศัพท์ ใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาเช่นกัน จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า คำศัพท์มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะคำศัพท์เป็นหน่วยพื้นฐานของการเรียนภาษา หากไม่รู้คำศัพท์มากพอก็จะมีปัญหาในด้านการอ่านหรือการสื่อสารได้ในภาษาต่างประเทศ 2.3ประเภทของคำศัพท์ การแบ่งประเภทของคำศัพท์มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำ คำศัพท์ไปใช้ได้ถูกต้องตามความต้องการในการสื่อความหมาย ซึ่งได้มีผู้เชี่ยวชาญทางการสอนภาษาแบ่ง คำศัพท์ได้หลายประเภทดังนี้ นันทิยา แสงสิน (2527) ได้แบ่งประเภทของคำศัพท์ออกเป็น 4 ประเภท คือ (1) คำศัพท์เพื่อการฟัง (Listening vocabulary) โดยทั่วไปจะเป็นคำศัพท์ตามทักษะภาษา ฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาประกอบ (2) คำศัพท์เพื่อการพูด (Speaking vocabulary) เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดที่สัมพันธ์กับการฟัง สามารถ สื่อความหมายให้เข้าใจ แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ คำศัพท์ที่ใช้ภายในบ้านหรือระหว่างเพื่อน ซึ่งอาจเป็นคำสแลงก็
9 ได้ คำศัพท์ที่ใช้ในการเรียนหรือการำงานเป็นคำศัพท์เฉพาะสาขาที่เรียนหรืออาชีพที่ทำและคำศัพท์ที่ใช้ในการ ติดต่อราชการหรือใช้ในสังคม (3) คำศัพท์เพื่อการอ่าน (Reading vocabulary) คือคำศัพท์ที่ใช้ในการอ่านที่ผู้เรียนต้องรู้ความหมาย เพื่อ จะนำไปตีความข้อความหรือเพื่อเรื่องที่อ่านและต้องจดจำความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นด้วย (4) คำศัพท์เพื่อการเขียน (Writing vocabulary) คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนจะเป็นแบบที่ถูกต้องเป็น ทางการ ศศิธร แสงธนู (2528) ได้แบ่งคำศัพท์ออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) คำศัพท์ที่มีความหมายในตัวเอง (Content word) คือคำศัพท์ประเภทที่เราอาจ บอกความหมายได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายตามพจนานุกรม เช่น cat, table, book, etc (2) คำศัพท์ที่ไม่มีความหมายแน่นอนในตัวเอง (Function word) หรือ เรียกว่า คำกรยะ เช่น article, preposition, etc. คำประเภทนี้มีใช้มากกว่าคำประเภทอื่น ๆ การสอนให้แปลความหมายของคำประเภทนี้ไม่ ได้ผลต้องให้สังเกตการณ์ใช้และฝึกใช้โครงสร้าง ต่าง ๆ จึงจะเกิดประโยชน์ ปรียา อุนรัตน์ (2546) ได้แบ่งคําศัพท์ออกเป็น 4 ประเภท คือ (1) คำศัพท์ที่กล่าวถึงสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตรวมทั้งปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ (2) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับกริยาอาการ กระบวนการต่าง ๆ (3) คำศัพท์ที่บอกให้ทราบถึงคุณสมบัติและปริมาณ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างคำศัพท์ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นนี้ ซึ่งอาจเป็นไปในลักษณะ ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เรียงลำดับกัน เสริมความหมายกัน หรือแสดงว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด ฟินอคเชียโร (Finochiaro, 1974); และริชาร์ดส์ (Richards, 1976) ได้จําแนก คําศัพท์ออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้ ดังนี้ (1) คำศัพท์ที่เรียนเพื่อใช้ (Active vocabulary) คือ คำศัพท์ที่ผู้เรียนในระดับ นั้น ๆ ได้พบเห็นบ่อย ๆ ทั้ง ในการพูด อ่านและเขียน ควรจะใช้ให้เป็นและใช้ได้อย่างถูกต้อง คำศัพท์ประเภทนี้ ครูผู้สอนจะต้องฝึกฝนอยู่ บ่อย ๆ จนสามารถใช้คำในประโยคได้ถูกต้องทั้งการ พูด และการเขียน คำศัพท์ประเภทนี้ได้แก่ คำศัพท์ เกี่ยวกับ บ้าน เวลา วัน เดือน ปี ฤดูกาล อากาศ อาหาร ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น (2) คำศัพท์ที่เรียนเพื่อรู้ (Passive vocabulary) คือคำศัพท์ที่ผู้เรียนในระดับชั้น นั้น ๆ ไม่ค่อยพบหรือนาน ๆ จะปรากฏครั้งหนึ่งในการฟัง การอ่าน และการเขียน การสอนคำศัพท์ ประเภทนี้ ควรจะสอนเพียงแต่ให้รู้ ความหมายและการออกเสียงเท่านั้น เกิร์นส และเรดแมน (Gairns & Redman, 1991) ได้แบ่งคำศัพท์ตามลักษณะการรับรู้ และปฏิบัติออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) คำศัพท์เพื่อการรับรู้ (Receptive vocabulary) คือ คำศัพท์ที่ใช้เพื่อการรับรู้เป็น คำศัพท์ที่ผู้เรียนได้รับ จากการฟังและการอ่าน ผู้เรียนสามารถจำได้เมื่อคำศัพท์นั้นอยู่ในบริบทแต่ ไม่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ ผู้สอนสอนเพียงให้ผู้เรียนรู้แค่ความหมายเท่านั้น
10 (2) คำศัพท์เพื่อการใช้ (Productive vocabulary) คือคำศัพท์ที่ใช้เพื่อการสื่อสาร เป็นคำศัพท์ที่ผู้เรียน เข้าใจออกเสียงได้ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องในการพูดและ การเขียน ผู้สอนจึงต้องฝึกผู้เรียน ให้ใช้คำศัพท์นั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ใน ชีวิตประจําวัน จากที่กล่าวมานั้นสรุปได้ว่า คำศัพท์สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับแต่ละหลักเกณฑ์ที่แตกต่าง กันออกไป เช่น แบ่งตามการใช้งาน แบ่งตามรูปคำ แบ่งตามจุดประสงค์ เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องนำคำศัพท์ไปใช้ให้ ถูกบริบทของการสื่อสารให้ถูกต้องด้วย 2.4 หลักการเรียนรู้คำศัพท์ โฮแลนเดอร์ และครีดินิส (Hollander & Creidenes, 1996; อ้างอิงจาก สุวิมล มะลิ วัลย์, 2553) ได้ แบ่งการเรียนคำศัพท์ภาษาต่างประเทศออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (1) การเรียนคำศัพท์แบบไม่ตั้งใจ (Incidental learning) คือ การได้เรียนรู้คำศัพท์ แบบไม่ตั้งใจ หรือ ผู้เรียนไม่ตั้งใจที่จะเรียนรู้คำศัพท์นั้น ๆ ในบทอ่านและยังได้รับคำศัพท์มาโดย ไม่ตั้งใจในขณะที่อ่านอีกด้วย (2) การเรียนคำศัพท์แบบตั้งใจ (Intended learning) คือ การได้เรียนรู้คำศัพท์ แบบตั้งใจ ผู้เรียนมี เป้าหมายหลักคือเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ซึ่งต้องอาศัยการท่องจำ หรือวิธีการใด ๆ เพื่อให้จดจําความหมาย ของคําศัพท์ให้ได้ ฮีทเลย์ (Healey, 2000) ได้เสนอการเรียนคำศัพท์แบบตั้งใจ ดังนี้ (1) จำคําศัพท์นั้นให้ได้ (2) รู้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ในบริบท (3) ใช้คำศัพท์นั้นได้อย่างถูกต้องทั้งในภาษาพูดและการเขียน กรูท (Groot, 2000) ได้เสนอขั้นตอนการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อความคงทนในการจำระยะ ยาวดังต่อไปนี้ (1) สังเกตคุณสมบัติต่าง ๆ ของคำศัพท์ใหม่เช่น หน่วยคำ หน่วยเสียง โครงสร้าง ความหมายและรูปแบบของ คำศัพท์นั้น (2) รวมคำศัพท์ เป็นเครือข่ายสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับคุณสมบัติตามข้อ 1 (3) หาความหมายของคำศัพท์ตามบริบทที่แสดงคุณสมบัติของคำศัพท์นั้น จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การเรียรู้คำศัพท์นั้นสามารถเรียนรู้ได้ทั้งแบบไม่ตั้งใจและตั้งใจ เพื่อจดจำคำศัพท์ ความหมายและใช้คำศัพท์ได้อย่างถูกต้องเพื่อให้มีความคงทนในการจำระยะยาว 2.5หลักการสอนคำศัพท์และขั้นตอนการสอนคำศัพท์ คำศัพท์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์สามารถ สื่อสารกันได้อย่าง เข้าใจ จากการฟัง พูด อ่าน และเขียน ผู้ที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีนั้นจะต้องรู้ คําศัพท์ให้มากพอ จำให้แม่น และ สามารถนำไปใช้ได้ เสงี่ยม โตรัตน์ (2534) ได้สรุปลำดับขั้นตอนการสอนคำศัพท์ไว้ดังนี้ (1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation)
11 (2) ขั้นนำเสนอ (Presentation) (3) ขั้นฝึกหัด (Practice) (4) ขั้นสร้างกิจกรรมเสริม (Transfer activity) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) วิสา จัติวัตร์ (2541) ได้กล่าวถึงเทคนิคการสอนคำศัพท์ไว้ดังนี้ (1) การให้คำจำกัดความ คือการที่ครูให้คำแปลหรือคำจำกัดความคำศัพท์ที่ ต้องการสอน (2) การเดาความหมายตามบริบท คือนักเรียนจะอนุมานคำศัพท์คำนั้นอย่าง คลุมเครือจากคำที่อยู่รอบ ๆ โดย ไม่จดจำความหมายที่แน่นอนของคำนั้น ๆ (3) การใช้ประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับความหมายของคำศัพท์ใหม่ คือการที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนใช้ ประสบการณ์เดิม หรือโครงสร้างความรู้ที่เคยมีมาก่อนแล้ว โดยให้นักเรียน เชื่อมโยงคำศัพท์ใหม่เข้ากับ ความคิดรวบยอด หรือประสบการณ์เดิม (4) เสริมความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เพิ่มเติมโดยครูนำคำศัพท์ที่คล้าย ๆ กันมา เปรียบเทียบแยกแยะหรือรวบรวม เป็นหมวดหมู่ (5) การสอนคําศัพท์พิเศษ คือ การให้นักเรียนเข้าใจคำศัพท์ที่อาจมีความหมาย กํากวม เช่น คำที่สะกดต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกัน คำที่สะกดเหมือนกันแต่มีความหมาย ต่างกัน คำที่มีหลายความหมาย คำที่แสดงการ เปรียบเทียบ คำที่มีความหมายตรงตาม พจนานุกรมและคำที่มีความหมายพิเศษเฉพาะบุคคลหรือมี ความหมายลึก ๆ แตกต่างกัน คำที่มี ความหมายเหมือนกันและคำที่มีความหมายตรงกันข้ามและการหาที่มา ของคำศัพท์ 2.6 การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทรอ์นบอรี่ (Thronberry. 2546 ; 189) ได้กล่าวว่า เทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์เป็นลำดับ ขั้นตอน ดังนี้ 1. ผู้เรียนเขียนคำหนึ่งคำบนกระดานหนึ่งของกระดาษแข็งขนาดเล็กและ เขียนคำแปลเป็นภาษาแม่อีก ด้านหนึ่งของกระดาษ 2. บัตรคำศัพท์เต็มชุดสำหรับใช้ในแต่ละครั้ง ควรมีจำนวนระหว่าง 20 ถึง 50 บัตร ขึ้นอยู่กับความ ยากง่ายของคำ 3. คำเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในชุดคำศัพท์ (Lexical Set) 4. ผู้เรียนทดสอบตนเองเกี่ยวกับคำเหล่านั้น โดยเริ่มด้วยการจำความหมายของคำศัพท์ใหม่ นั่นคือดู คำศัพท์ใหม่แต่ละตัว แล้วตรวจสอบความเข้าใจในคำแต่ละคำ โดยดูคำแปลของคำ 5. จากนั้นจะกลับกระบวนการ โดยใช้คำแปลไปกระตุ้นสร้างคำใหม่ 6. คำที่เป็นปัญหาควรถูกขยับขึ้นไปอยู่ต้นๆ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ควรสลับบัตรคำเป็นระยะๆ เพื่อ หลีกเลี่ยง “ผลกระทบจากการเรียงลำดับ” นั่นคือการจำคำศัพท์ได้จากการเรียงลำดับ 7. ลำดับของการเรียนและการทบทวน ควรจะเว้นช่วงห่าง เมื่อเรียนรู้คำไหนไปแล้ว ก็ทิ้งบัตรคำนั้นไป แล้วทำบัตรคำใหม่เพิ่มเข้าไปในชุด เพื่อเป็นการฝึกให้ผู้เรียนใช้เทคนิคนี้ และเพื่อให้ผู้เรียนนำชุดบัตรคำศัพท์ติด
12 ตัวไปตามที่ต่างๆ จึงคุ้มที่จะแจกบัตรเปล่าให้กับผู้เรียนในครั้งแรก จนกระทั่งผู้เรียนเริ่มติดนิสัยในการทำบัตร คำศัพท์เอง จากข้างต้นสรุปได้ว่า การสอนคำศัพท์มีขั้นตอนที่แตกต่างและหลากหลาย ซึ่งครูสามารถสอนนักเรียน ได้หลากหลายวิธีเพื่อที่จะให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายและนำคำศัพท์เหล่านั้นไปใช้เพื่อการสื่อสารใน แบบต่างๆได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.1ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคําว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการความหมายและ ความสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ดังนี้ กู๊ด (Good 1973 : 7 อ้างถึงใน ยุทธนา ปัญญาดี2553 : 6)ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง ความรู้หรือ ทักษะอันเกิดจากการเรียนรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว ที่ได้จากผลการสอน ของครูผู้สอน ซึ่งอาจจะพิจารณาคะแนน สอบ หรือคะแนนที่ได้จากครูมอบหมายงานให้หรือทั้งสองอย่าง ราชบัณฑิตยสถาน (2546: 1171) ให้ความหมายของ “ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน” ว่า หมายถึง ความสามารถในการที่จะพยายามเข้าถึงความรู้ซึ่งเกิดจากการกระทำประสานกัน และต้องอาศัยความพยายาม อย่างมาก ทั้งองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา และองค์ประกอบที่ ไม่ใช่สติปัญญา แสดงออกในรูปของ ความสำเร็จ ซึ่งสามารถสังเกตและวัดได้ด้วยเครื่องมือทาง สติปัญญา หรือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั่วไป สมพร เชื้อพันธ์ (2547: 53) สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึงความสามารถ ความสำเร็จและสมรรถภาพด้านต่างๆของผู้เรียนที่ได้จากการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน การ ฝึกฝนหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถวัดได้จากการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548: 125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงขนาดของ ความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2549: 42) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ ประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยและยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียน การสอนที่แตกต่างกัน จากความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ความสามารถของบุคคลอันเกิดจาก การเรียนการสอนของครู เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ ประสบการณ์การเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประเมินผลจากแบบทดสอบ 3.2แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมนึก ภัททิยธนี (2537 ) ได้ให้ความหมายของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
13 การเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่วัดสมรรถภาพของสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2543 ) ได้ให้ความหมายของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนมาแล้วซึ่งมักจะเป็นข้อคำถามให้นักเรียนตอบด้วย กระดาษคำตอบกับให้นักเรียนปฏิบัติจริง พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2529) ได้ให้ความหมายของ แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งตรวจสอบความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพทางสมองด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนว่าหลังการเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ แล้วมีความรู้ความสามารถในวิชาที่เรียนมามากน้อย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ แบบทดสอบที่มีเป้าหมายเพื่อวัดประสิทธิภาพของความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียน มาโดยมุ่งตรวจสอบในด้านต่างๆที่ผู้เรียนจะได้รับหลังเสร็จสิ้นการเรียน 3.3ประเภทของการการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของคำถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้นซึ่งเป็นข้อความ ที่ถามเกี่ยวกับความรู้ของนักเรียนในห้องเรียนว่านักเรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใด บกพร่องส่วน ไหนหรือเป็นการวัดดูความพร้อมที่จะเรียนบทเรียนใหม่ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของครู (2) แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ ละสาขาวิชาหรือจากครูผู้สอนวิชานั้น แต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้งจนกระทั่งมีคุณภาพ ดีพอจึงสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้นสามารถใช้เป็นหลักและเปรียบเทียบผลเพื่อประเมิน ค่าของการเรียนการสอนในเรื่องใด ๆ ก็ได้ แบบทดสอบมาตรฐานจะมีคู่มือดำเนินการสอบบอก ถึงวิธีการดำเนินการสอบและยังมีมาตรฐานในด้านการแปลผลคะแนนด้วย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538) จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ทั้งแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นและแบบทดสอบมาตรฐานมีความเหมือนกันที่เป็นข้อ คำถามที่วัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ได้สอนไปแล้วซึ่งพฤติกรรมนั้นต้องสามารถตั้งคำถามวัดได้แต่แตกต่างกันที่ แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นไม่ได้ผ่านการทดสอบหาคุณภาพ คู่มือดำเนินการสอบ และมาตรฐานในการแปลผล คะแนนที่เป็นมาตรฐานเหมือนกับแบบทดสอบมาตรฐาน 3.4หลักการสร้างแบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิชิต ฤทธิ์จำรูญ (2545) กล่าวว่าการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี ขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ (1) วิเคราะห์หลักสูตรและสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และพฤติกรรมที่ต้องการวัด (2) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้สำหรับเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (3) กำหนดชนิดของข้อสอบและศึกษาวิธีการสร้างโดยการศึกษาจากตารางวิเคราะห์ หลักสูตรและจุดประสงค์การเรียนรู้
14 4.แผนการสอนแบบ 3W2P วิธีสอนแบบ 2W3P หรือ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (ภุชงค์ มัชฌิโม, 2559) 1. ขั้นเตรียม (Warm up) 2. ขั้นนําเสนอ (Presentation) 3. ขั้นฝึก (Practice) 4. ขั้นนําไปใช้ (Production) 5. ขั้นสรุป (Wrap up) 4.1W แรก มาจาก Warm up ครูจะต้องทําการกระตุ้น ทบทวน ปูพื้นความรู้ของนักเรียนให้พร้อมจะ เรียนรู้ เป็นการเปิดใจของผู้เรียน เราควรเริ่มจากความรู้ที่เราคุ้นเคย มีความรู้มาก่อน ทบทวนหรือเริ่มจากง่าย ไปสู่ยาก 4.2ครูนําเสนอบทเรียนในขั้นนําเสนอ (P1 = Presentation) โดยนําเสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการ สื่อสาร (Whole Language) ไม่แยกสอนเป็นคํา ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปล คําต่อคํา การนําเสนอต้องชัดเจนและตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนําเสนอนั้น 4.3ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2 = Practice) อย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัด และพูด ในกลุ่มใหญ่ (Whole Group) ก่อนเพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา ฝึกกลุ่มย่อยโดยใช้การ ฝึกลูกโซ่ (Chain Drill) เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้สื่อสารทุกคนฝึกคู่ (Pair Work) เปลี่ยนกันถาม-ตอบ เพื่อ สื่อสารตาม ธรรมชาติแล้วจึงให้นักเรียนฝึกเดี่ยว (Individual) โดยฝึกพูดกับครูทีละคน การฝึกเดี่ยวนี้ครูจะ เลือกนักเรียนเพียง 2-3 คน เพื่อทําเป็นตัวอย่างในแต่ละครั้ง กิจกรรมขั้นนี้ใช้เวลา แต่นักเรียนจะได้ปฏิบัติจริง ครูเพียงแต่คอยกํากับ ดูแลให้การฝึกดําเนินไปอย่างมีความหมายและสนุก 4.4กิจกรรมขั้นนําเสนอผลงาน P3 (Production) กิจกรรมขั้นนําเสนอผลงาน เป็นขั้นที่นักเรียนจะนํา ภาษา ไปใช้ ครูอาจจะให้ทําแบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลง หรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษา ที่เรียนมา อาจให้ทํางานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่ จากความคิดของนักเรียนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนได้ เรียนเรื่องเวลา กําหนดเวลา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเวลาแล้วก็สามารถคิดตารางเวลาเพื่อกําหนดการ เดินรถโดยสาร ของตนเองโดยสมมุติได้ในการจัดกิจกรรมขั้นฝึกและนําเสนอผลงาน สามารถนํากิจกรรมเสริม ทางภาษาที่ครูมี ความถนัด เช่น เกมทางภาษา เพลงหรือกิจกรรมเกี่ยวกับจังหวะ การวาดภาพ ฯลฯ มาใช้เพื่อ ช่วยส่งเสริมความคิด และช่วยให้การจัดการเรียนการสอนภาษาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสารโดยสอนทักษะฟังพูด-อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน ด้วยวิธีบูรณาการทักษะที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง 4.5W2 มาจากคําว่า Wrap up เป็นการสรุปความรู้ของผู้เรียนที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ เป็นผลการ ประเมินศักยภาพหรือผลงานของตนเองของผู้เรียน จากการจัดการเรียนรู้แบบ 2W3P สามารถสรุปได้ว่า มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ขั้น เตรียม (Warm up) 2) ขั้นนําเสนอ (Presentation) 3) ขั้นฝึก (Practice) 4) ขั้นนําไปใช้ (Production) และ 5) ขั้น สรุป (Wrap up)
15 5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.1งานวิจัยในประเทศ เฟรดาว สุไลมาน (2563 :บทคัดย่อ) ได้สร้างการออกแบบบัตรคำอักษรภาษาอังกฤษเทียบเสียงภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบัตรคำอักษรภาษาอังกฤษเทียบเสียงภาษาไทยขั้น สูง ด้วยเทคโนโลยีมิติ เสมือนจริง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 บรรจง ขำจันทร์ (2559 :บทคัดย่อ) ได้สร้างการสอนแบบใช้เกมและแบบใช้บัตรคำศัพท์การ เปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจ ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนช้นประถมศึกษาปี ที่2 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบใช้เกมและรูปแบบการสอนแบบใช้บัตรคำศัพท์ หลังการทดลองมีผลการ เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน จรีวรรณ ชัยอารีย์เลิศ (2560 :บทคัดย่อ) ได้สร้างการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดและการจดจำ ความหมายคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้บัตรคำรูปภาพ (Flash card) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า เมื่อนักเรียนทั้งสองคนได้เข้าร่วมการฝึกทักษะการอ่านและจดจำความหมายคำศัพท์โดยใช้บัตรคำรูปภาพ (Flash card) พบว่า นักเรียนชายคนหนึ่งในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 มี คะแนนการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ หลังเรียนร้อยละ 93.33 อยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยม และคะแนนการบอก ความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลัง เรียนร้อยละ 86.66 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยม 5.2งานวิจัยในต่างประเทศ ในการพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ได้โดยใช้บัตรคำศัพท์ พบว่ามีผู้ทำการศึกมาและวิจัยน้อยมาก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงให้ศึกบางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บัตรคำศัพท์ และการพัฒนาความสามารถการจำภาษาอังกฤษที่ คล้ายคลึงกันไว้ดังนี้ โษโกะฟูกูซิมา (Fukushima, SH. 2562) ทำการพัฒนาบัตรคำ (lashcard) ขั้นสูงสำหรับศัพท์ภาษา ที่สองกับ การออกแบบแอพพลิเคชั่นแฟลชการ์ดที่ผู้เรียนสามารถสัมผัสกับเสียงและความหมายของ คำเขียน โดยการ บรรยายด้วยเสียงแบบสองอารมณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การออกเสียงภามาที่สองได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน ผลการศึกมาพบว่าการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ในภาษาที่สองของผู้เรียนจากการฟังและฝึกออกเสียง ด้วยบัตรคำขั้น สูงส่งผลให้การรับรู้คำศัพท์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สตาเจอร์ (Sager, 2533) ได้ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้ บัตรคำศัพท์เพื่อพัฒนาการตอบสนอง อัตโนมัติดำศัพท์ที่สำคัญสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ และไม่มีความบกพร่องในการ เรียนรู้ที่เรียนวิชาภาษาสเปนในชั้นมัธยมศึกษาดอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนที่มีความบกพร่องในการ เรียนรู้ จำนวน 87 คน และนักเรียนที่ไม่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 93 คน ทั้งหมดมีอายุระหว่าง 16-18 ปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน ใบการเรียนรู้คำศัพท์เมื่อ เรียนจบแต่ละบทเรียน
16 6.ขั้นตอนการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการ จัดการเรียนรู้แบบ 2W3P นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการวิจัย ครั้งนี้ ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 6.1ขั้นเตรียม (Warm up) ครูทักทายนักเรียนและแจ้งเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้ให้นักเรียนทราบ 6.2ขั้นนําเสนอ (Presentation) ครูให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้เพื่อให้นักเรียน ได้คิดตาม 6.2.1ครูนําเข้าสู่บทเรียนโดยนำเสนอบัตรคำศัพท์ในหมวดหมู่ Occupation หรืออาชีพ 7.2.2ครูพานักเรียนอ่านคำศัพท์รวมถึงความหมายและ Part of speech 6.3ขั้นฝึก (Practice) ครูให้นักเรียนทําแบบฝึกบอกความหมายและ part of speech 6.4ขั้นนําไปใช้ (Production) ให้นักเรียนเข้ากลุ่ม 6.4.1ครูแจกบัตรคำศัพท์เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยจะกำหนดคำศัพท์ที่หน้า กระดาน 6.4.2ถ้านักเรียนกลุ่มไหนมีคำศัพท์ที่ครูเขียนให้ชูบัตรคำศัพท์ขึ้นและอ่านออกเสียงคำนั้นพร้อมแปล ความหมาย 6.4.3นักเรียนในกลุ่มจะต้องตอบถูกโดยผ่านร้อยละ 75 หากไม่ผ่านร้อยละ 75 เพื่อนๆในห้องและครู จะช่วยกันอธิบายหรือสอนให้เข้าใจก่อน 5. ขั้นสรุป (Wrap up) ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ จากขั้นตอนการเรียนการสอนโดยใช้ บัตรคำศัพท์ ข้างต้นสามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังภาพที่ 1
17 1.ครูทักทายนักเรียนและแจ้งเนื้อหาที่จะเรียนใน วันนี้ให้นักเรียนทราบ ครูให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้ เพื่อให้นักเรียน ได้คิดตาม 1.ครูนําเข้าสู่บทเรียนโดยนำเสนอบัตร คำศัพท์ตามหน่วยการเรียนรู้ 2.ครูพานักเรียนอ่านคำศัพท์รวมถึง ความหมายและ Part of speech บัตรคำศัพท์ บัตรคำศัพท์ ให้นักเรียนเข้ากลุ่ม 1.ครูแจกบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้นักเรียน แต่ละกลุ่ม โดยจะกำหนดคำศัพท์ที่หน้ากระดาน 2.ถ้านักเรียนกลุ่มไหนมีคำศัพท์ที่ครูเขียนให้ชู บัตรคำศัพท์ขึ้นและอ่านออกเสียงคำนั้นพร้อมแปล ความหมาย 3.นักเรียนในกลุ่มจะต้องตอบถูกโดยผ่านร้อย ละ 75 หากไม่ผ่านร้อยละ 75 เพื่อนๆในห้องและครูจะ ช่วยกันอธิบายหรือสอนให้เข้าใจก่อน ครูให้นักเรียนทําแบบฝึกบอกความหมายและ part of speech ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ ขั้นเตรียม (Warm up) ขั้นนำเสนอ (Presentation) ขั้นฝึก (Practice) ขั้นนำไปใช้ (Production) ขั้นสรุป (Warp up)
18 บทที่ 3 วิธีการดำเนินวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพิ่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้นำเสนอหัวข้อต่อไปนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2.กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้อง 30 คนในภาคเรียนที่ 1 ที่ได้มาจากการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบการทดสอบกลุ่มเดียวโดยมีการทดสอบก่อนเรียนและ หลัง เรียน (One Group Pretest - Posttest Design) ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543: 60) ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แบบแผนการทดสอบกลุ่มเดียวโดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน T1 X T2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนวิจัย T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (pre-test) X แทน การเรียนการสอนโดยใช้สื่อภาพยนตร์ T2 แทน การทดสอบก่อนเรียน (post-test) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1.บัตรคำศัพท์ (Flash card) 2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้ศึกษากำหนดรายละเอียดของการสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือดังนี้ 1.แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้บัตรคำศัพท์ ซึ่งมี ขั้นตอนดําเนินการสร้างดังนี้ 1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ 1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ คู่มือครู หนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
19 1.3 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 1.4 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา 1.5 เขียนแผนการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง 1.6 นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบ และปรับปรุง แก้ไข แล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ด้าน หลักสูตรและ การสอน และด้านการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแผนการจัดการ เรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล พิจารณาความเห็นและให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นมีความเหมาะสม และสอดคล้อง ระหว่างผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นมีความเหมาะสม และสอดคล้อง ระหว่างผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่าองค์ประกอบไม่มีความเหมาะสมและไม่สอดคล้อง ระหว่างผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล แล้วนําคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบของ แผนการจัดการเรียนรู้ (Index of Item-objective Congruence: IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 ทุกองค์ประกอบ 1.7 ปรับปรุงและแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 1.8 นําแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ที่ปรับปรุง แล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่ ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จํานวน 30 คน 1.9 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ให้มีความเหมาะสมด้านภาษา เวลา สื่อ การเรียนรู้ และเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนําแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วเสนอ ต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้สมบูรณ์เพื่อเป็นฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ในการ ทดลองภาคสนาม 2.แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้จัดทำ สร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบชนิด เขียนตอบ มีขั้นตอนการสร้างและหาประสิทธิภาพดังนี้
20 2.1 ศึกษาทฤษฎีวิธีการสร้างเทคนิคการเขียนข้อสอบแบบเขียนตอบคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานพ.ศ. 2544 2.2 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2.4 นําแบบสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอน วิชาภาษาอังกฤษ ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งให้ผู้เชี่ยวชายพิจารณาตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่สอดคล้องกหับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2.5 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของ แบบทดสอบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่า IOC 2.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองใช้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษผ่านมาแล้วและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยแล้วนำ คะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย(P)และค่าอำนาจจำแนก(r)เป็นรายข้อ 2.7 นำข้อสอบที่คัดเลือกแล้วจำนวน 40 ข้อ ไปทดสอบเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดย ใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(KR-20) 2.8 นำแบบทดสอบที่ได้ไปวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล3 บ้านเหล่าที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองภาคสนามต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล การดําเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดําเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างตามลำดับดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2. ศึกษาวิธีการสร้างและเขียนแบบทดสอบประเภท Short Answer
21 3. ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนเพื่อขอความร่วมมือในการศึกษาและทดลองใช้การจัดการ เรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ 4. เลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์และประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) 6. สร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์คัดเลือกคุณภาพ มีค่า IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 7. สร้างแบบวัดความพึงพอใจและประเมินความเหมาะสม 8. นำไปใช้จัดการเรียนรู้ โดยการชี้แจงกระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์เพื่อให้ผู้เรียน ปฏิบัติได้ถูกต้อง 9. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษ ประเภท Short Answer เพื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 10. ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็น กลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเป็นผู้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอง ใช้เวลา 10 ชั่วโมง โดย ผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ชุด/แผน รวม 10 ชั่วโมง โดยระหว่างการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนและผู้ช่วยผู้วิจัยจะ ทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดของนักเรียนไปด้วย 11. เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มเดิมใน แต่ละโรงเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสำฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ วัดหลังจากการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ 12. หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ E1/E2 13. นำคะแนนจากการตรวจสอบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มาวิเคราะห์ข้อมูลโดย วิธีการทางสถิติ เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
22 การพัฒนาและหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและ คำนึงถึงกรอบเนื้อหาสาระสำคัญ สื่อการสอนที่นำมาใช้ 1. การกำหนดหัวเรื่อง 1.1 ศึกษาหัวเรื่องสำคัญในด้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ดังนี้ แก่นสาระหรือเรื่องหลัก จากหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2551ซึ่งได้แนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำ หน่วยการเรียนรู้ โดยสามารถจำแนกแก่นสาระ/เรื่องหลัก ที่เป็นพื้นฐานดังนี้ - Relationship with People - Shopping - Travel - Story 1.2 ศึกษาสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ22101) จากแบบเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่าจากแบบเรียน ภาษาอังกฤษ SPARK2 ผู้แต่ง Virginia Evans – Jenny Dooley จากนั้นนำหัวเรื่องทั้งหมดจากการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหาหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องและครอบคลุม ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยได้คำศัพท์จากหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 4 และ 5 ดังปรากฏในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ตารางแสดงเนื้อหาสาระการเรียนรู้และคำศัพท์กริยาสามช่อง หน่วยการเรียนรู้ที่ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ จากแบบเรียน ภาษาอังกฤษ SPARK 2 คำศัพท์ แผนการ เรียนรู้ที่ 3 (Let’s Party) - Disneyland article - expressing feeling - describing festival 1. fairytale 2. castle 3. haunted 4. parade 5. decoration 6. organize 7. race 8. awful 9. terrible 10. incredible 1 - narrating a story 11. travel 12. journey 13. legend 14. misty 15. horror 16. wonder 17. apologize 18. respect 19. pollution 20. harmony 2
23 4 (Sports & Chores) - chores - free time activity 21. protect 22. accident 23. helmet 24. reflector 25. reflective 26. signal 27. charity 28. evidence 29. relationship 30. leader 3 - sports - talking about something 31. court 32. rattan ball 33. opponent 34. aim 35. existence 36. friendly 37. throw 38. couple 39. unreturnable 40. contest 4 5 (Our wonderful world) - geographic - places 41. geographical 42. continents 43. archaeologist 44. condition 45. temperature 46. volcano 47. extreme 48. freeze 49. cross 50. nature 5 1.3 สร้างแบบวัดผลสัมฤทธิ์คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ เพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยกำหนดเนื้อหาแบบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนดังปรากฏในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 เนื้อหาแบบวัดผลสัมฤธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่อการเรียนรู้แบบบัตรคำศัพท์ แผนการ เรียนรู้ที่ จุดประสงค์ เนื้อหา รูปแบบของ แบบทดสอบ จำนวน ข้อ แนวการสอบ 1 เขียนความหมายที่ ถูกต้องตามคำศัพท์ Let’s party การเขียนแปลคำ 4 เขียนความหมาย ถูกต้อง 2 เขียนความหมายที่ ถูกต้องตามคำศัพท์ Let’s party การเขียนแปลคำ 4 เขียนความหมาย ถูกต้อง 3 เขียนความหมายที่ ถูกต้องตามคำศัพท์ Sports & Chores การเขียนแปลคำ 4 เขียนความหมาย ถูกต้อง 4 เขียนความหมายที่ ถูกต้องตามคำศัพท์ Sports & Chores การเขียนแปลคำ 4 เขียนความหมาย ถูกต้อง 5 เขียนความหมายที่ ถูกต้องตามคำศัพท์ Our wonderful world การเขียนแปลคำ 4 เขียนความหมาย ถูกต้อง
24 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติดังนี้ 1.สถิติพื้นฐาน ผู้วิจัยคํานวณหาค่าทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทาง สถิติสําหรับวิเคราะห์ข้อมูล ทางสัมคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Sciences: SPSS) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2.หาค่าความยากง่าย (P) ค่าอํานาจจําแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ ทางการเรียนโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป TAP (Test Analysis Program) 3.ทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับจุดประสงค์ (IOC) คํานวณจากสูตร (สุวิมล ติรกานันท์, 2548: 148)
25 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ n แทน จำนวนของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง ̅ แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตจากการแจกแจงแบบ t – test P แทน ความน่าจะเป็นสำหรับบอกนัยสำคัญทางสถิติ E1 แทน การหาประสิทธิภาพก่อนเรียน E2 แทน การหาประสิทธิภาพหลังเรียน df แทน ชั้นของความอิสระ MD แทน ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนระหว่างการทดสอบหลังเรียนกับการทดสอบ ก่อนเรียน D แทน ค่าความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน % แทน ร้อยละ ** แทน ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยการ จัดการเรียนรู้โดยการใช้บัตรคำศัพท์ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
26 ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์วิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใน ชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยผู้วิจัยดำเนินการดังนี้ 1. ให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คน รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษและทำ กิจกรรมในแต่ละแผนการเรียนรู้ ทั้ง 5 แผนการเรียนรู้ จากนั้นบันทึกคะแนนที่ได้ในแต่ละแผน ผู้วิจัยวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ยคะแนนของแต่ละแผนการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และลำดับของคะแนนเฉลี่ยจากการทำ แบบทดสอบในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ แผนการ เรียนรู้ที่ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ คะแนน เต็ม S.D ร้อยละ ลำดับที่ 1 - Disneyland article - expressing feeling - describing festival 10 8.16 1.61 78.90 1 2 - narrating a story 10 8.19 1.35 77.10 4 3 - chores - free time activity 10 8.00 1.13 78.00 2 4 - sports - talking about something 10 8.03 1.05 76.80 5 5 - geographic - places 10 8.26 0..89 77.70 3 จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสามารถทำคะแนน เฉลี่ยของแผนการจัดการเรียนรู้ได้สูงสุดในแผนการเรียนรู้ที่ 1 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 78.90 อันดับที่ สอง คือ แผนการเรียนรู้ที่3 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 78.00 อันดับที่สาม คือ แผนการเรียนรู้ที่ 5 ซึ่งมี คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.70 อันดับที่สี่ คือ แผนการเรียนรู้ที่ 2 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.10 และ อันดับสุดท้ายคือแผนการเรียนรู้ที่ 4 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.80 ซึ่งแผนการเรียนรู้ทั้งหมดมีคะแนน เฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 75
27 ตารางที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 รายการประเมิน จำนวน นักเรียน คะแนน เต็ม คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย ประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 75/75 คะแนนกระบวนการ ระหว่างเรียน (E1 ) 30 50 1295 78.00 86.33 คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน(E2) 30 20 473 17.66 78.83 จากตารางที่ 3 พบว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 มีประสิทธิภาพของ E1/E2 เท่ากับ ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ วิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้สื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน ผลการวิเคราะห์แสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของคะแนนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ คนที่ คะแนนทดสอบ ผลต่าง คนที่ คะแนนทดสอบ ผลต่าง ก่อนเรียน (20) หลังเรียน (20) D D 2 ก่อนเรียน (20) หลังเรียน (20) D D 2 1 9 17 8 64 16 11 17 6 36 2 10 18 8 64 17 8 15 7 49 3 10 18 8 64 18 10 17 7 49 4 10 17 7 49 19 11 16 5 25 5 13 16 3 9 20 5 16 11 121 6 6 15 9 81 21 4 14 10 100 7 11 16 5 25 22 8 14 6 36 8 9 17 8 64 23 8 15 7 49 9 10 19 9 81 24 10 15 5 25 10 11 13 2 4 25 12 17 5 25 11 5 15 10 100 26 6 14 8 64
28 12 10 15 5 25 27 9 15 6 36 13 12 18 6 36 28 8 14 6 36 14 7 15 8 64 29 10 15 5 25 15 8 15 7 49 30 10 15 5 25 จากตารางที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง 30 คน สูงขึ้น หลังจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ ก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน ค่า ผลต่างของคะแนนสูงสูดเท่ากับ 11 คะแนน และค่าผลต่างของคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 2 คะแนน ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษมา เปรียบเทียบกันและทดสอบด้วยค่า t แบบจับคู่ ปรากฏผลดังตารางที่ 5 ตางรางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ ด้วยการทดสอบ t แบบกลุ่มไม่อิสระของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (n=30) การ ทดสอบ N คะแนน เต็ม S.D 2 df t Sig. (1tailed) ก่อนเรียน 30 20 9.03 0.50 202 1480 29 18.14* 1.6991 หลังเรียน 30 20 15.77 0.41 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากตารางที่ 5 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.03 คะแนน และ 15.77 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
29 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตร คำศัพท์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปผล อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. สรุปผล 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ สรุปผล 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพของ E1 /E2 เท่ากับ 86.33/78.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อภิปรายผล 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี ประสิทธิภาพของ E1 /E2 เท่ากับ 86.33/78.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 เป็นเช่นนี้เพราะคำศัพท์ที่ผู้วิจัย นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้นั้นได้คัดเลือกมาจากหนังสือเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นหนังสือที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเป็นแบบเรียนและเป็นคำศัพท์ที่พบเจอบ่อยและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อีกทั้งการนำบัตรคำศัพท์มาใช้ในการเรียนนั้นเหมือนดังคำกล่าวของ เอ็ดการ์ด เดล, (1969) ที่ว่า ภาพเป็น สื่อที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เป็นประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่ได้รับรู้ได้มากที่สุด มนุษย์จดจำเรื่องราวจาก การอ่านได้ร้อยละ 10 ในขณะที่สามารถจดจำเรื่องราวจากการมองเห็นได้ร้อยละ 30 ซึ่งตรงกับการจัดการ เรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมัยนัยยะ สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถสรุปได้จาก คะแนนของแบบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละแผนการเรียนรู้ โดยหน่วยการเรียนรู้ที่นักเรียนทำคะแนนได้มากที่สุดคือ แผนการจัดการเรียนรู้ได้สูงสุดในแผนการเรียนรู้ที่ 1 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 78.90 อันดับที่สอง คือ แผนการเรียนรู้ที่ 3 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 78.00 อันดับที่สาม คือ แผนการเรียนรู้ที่ 5 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.70 อันดับที่สี่ คือ แผนการเรียนรู้ที่ 2 ซึ่ง
30 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.10 และอันดับสุดท้ายคือแผนการเรียนรู้ที่ 4 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.80 ซึ่งแผนการเรียนรู้ทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 75 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำศัพท์ ทางด้านการพูดทำให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาการจดจำคำศัพท์และส่งผลทำให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการ พูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ทางด้านสำนวนและไวยากรณ์พบว่า อีกหนึ่งสาเหตุที่นักเรียนไม่สามารถเข้าใจ ไวยากรณ์ได้นั้นก็คือ การไม่รู้คำศัพท์ จากการนำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์ ทำให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจในด้านไวยากรณ์มากขึ้น เนื่องจากรู้ความหมายของคำศัพท์ ทั้งนี้ นักเรียนบางคนมีการเพิ่มขึ้นของ คะแนนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไม่เท่ากัน อาจเป็นสาเหตุมาจากนักเรียนบางคนยังขาดประสบการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับหัวข้อ หน่วยการเรียนรู้หรือความสนใจแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์เรื่อง การท่องเที่ยว งานบ้าน แสดงความรู้สึก กีฬา และสิ่งแวดล้อม ทำให้คะแนนที่ได้จากการวัดผลสัมฤทธิ์รายแผนการเรียนรู้ ต่างกันเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยอื่น ข้อเสนอแนะ 1. ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำศัพท์แต่ละหน่วยควรคำนึงถึงปัจจัย ภายนอกที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ เช่น ความสนใจ ระดับของคำศัพท์ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการจัด กิจกรรม 2. ก่อนการจัดการเรียนสอนครูควรจัดกลุ่มให้กับนักเรียนก่อนการจัดกิจกรรม จะทำให้ไม่เสียเวลาการ สอน และไม่เกิดปัญหาสมาชิกในกลุ่มไม่เพียงพอ
31 บรรณานุกรม ภาษาไทย กระทรงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2544. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2012). ก้าวสู่ AEC ภาษาอาเซียนจําเป็นจริงหรือสถาบันระหว่างประเทศเพื่อ การค้าและพัฒนา. เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก www.itd.or.th/weeklyarticles?download=246%3Aar ชลลดา เรืองฤทธิ์ราวี. (2553). "ผลการใช้กลวิธีช่วยจําเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2." การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. จีรวรรณ ชัยอารีย์เลิศ.2560.การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดและการจดจำความหมายคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้บัตรคำรูปภาพ (Flash card) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.โรงเรียนสาธิต “พิบูล บำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปิยภาณี หนูนุ่น.2563.การพัฒนาทักษะการจำคำศัพท์ฮิระงะนะโดยใช้ชุดพัฒนาคำศัพท์สำหรับ นักเรียนแผนการเรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา. ปริญญาตรีหลักสูตรวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยทักษิณ ศิวรานันท์ ร่มจําปา.2559.การใช้เกมคําศัพท์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษ ระดับชั้น ปวช.ชั้นปี ที่3/1 สาขาภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระ อุปถัมภ์ฯ. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติ ราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ ดวงเดือน จังพานิช. (2542). "การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจําคําศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสัมพันธ์ขอบข่าย ความหมาย และวิธีสอนปกติ." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการสอนภาษาอังกฤษใน ฐานะ ภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
32 ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. เสงี่ยม โตรัตน์. (2524). พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. เสงี่ยม โตรัตน์. (2538). "แนวคิดในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ." สารพัฒนาหลักสูตร, 15,123: 48-56. English Allen, V. F. (1983). Techniques in teaching vocabulary. New York: Oxford University Press. Bishop, A., Yopp, K., and Yopp, H. (2009). Vocabulary instruction for academic success. CA: Shell Education. Craik, F. I. M., & Lockhart, R. S. (1972). Levels of processing: A framework for memory research. Journal of Verbal Learning and Verbal behavior, 11, 671-684. Hatch, E., and Brown, C. (1995). Vocabulary, semantics, and language education. Cambridge: Cambridge University Press. Language Centre. (2003). Remembering vocabulary. Accessed January 25, 2018. Available from http://lc.ust.hk/ ̃sac/advice/english/vocabulary/V4.htm Nation, I. S. P. (1990). Teaching and learning vocabulary. New York: Newbury House. Nation. I S P. (2003). Learning vocabulary in another language. Cambridge: Cambridge University Press. Thompson, I. (2007). Vocabulary learning strategies. Accessed April 17, 2020. Available from http://www.public.asu.edu/ickpl/learningvocab.htm Thornbury, S. (2004). How to teach vocabulary. Bangkok: Pearson Education Indochina Ltd.
33 ภาคผนวก
34 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
35 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้ 1. นางรัชดาภรณ์ ฟิเชอร์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านเหล่า 2. นางอรวรรณ ชัยชนะทรัพย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านเหล่า 3. นางกรณ์วี จันทะคร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านเหล่า
36 ภาคผนวก ข แผนการจัดการเรียนรู้
37 Lesson plan Subject: English 2อ22102 Level: Grade 8 Unit 4: Disneyland. Time: 50 minutes Teacher: Teppitak Thanasarapisut Dates: ___/_______/______ 1. Learning Standards and Indicators Strand 2: Language and Culture Standard F2.1: Appreciation of the relationship between language and culture of native speakers and capacity for use of language appropriate to occasions and places. 2. Concept This lesson focus on listening and vocabularies from the story that they have heard. 3. Content 1. Skills: Listening and vocabulary 2. Grammar: - 3. Sentences: - 4. Vocabulary: a boat ride, fairytale castle, haunted house, a parade, a pirate ship, a roller coaster, a merry go round, a cartoon character. 4. Leaning Objectives Terminal objectives Students will be able to listen and use the correct vocabularies. Behavior Objectives 1. Students will be able to recognize the vocabulary. (K) 2. Students will be able to listen and use the correct sentences. (P) 3. Students will be able to participate in learning activities deliberately. (A)
38 5. Teaching and Leaning Procedures Steps Time (mins) Students/Teacher Roles Learning Process 1. Warm-up 5 1. Teacher and students greet each other. 2. Teacher asks the question about Disneyland. 3. Students answer the question. 2. Presentation 10 4. Teacher shows presentation about Disneyland on page 39. And let the students guess the meaning. Vocabularies a boat ride, fairytale castle, haunted house, a parade, a pirate ship, a roller coaster, a merry go round, a cartoon character. 5. Students guess the meaning and repeat after teacher. 3. Practice 10 6. teacher opens the article about Penni in Disneyland and lets students do the exercises on page 38 7. students check the answer together. 4. Production 15 8. Students play Kahoot activity about the vocabulary and Disneyland. 9. Students answer the question on Kahoot. 5. Warp-up 5 10. Students repeat the vocabularies together. 6. Materials No. Materials Steps Creator 1. PowerPoints reviewing vocabulary -Warm-up teacher
39 2. Audio about Disneyland -Practice (Listen and fill the answer) teacher 3. Exercise 2 page38 -Practice teacher 4. Kahoot game -Production teacher 5. Student books - Presentation /Practice Students 7. Evaluations Objectives Measurement Tools Criteria Knowledge (K) - Students will be able to recognize the vocabulary. 1. exercise 2 2. Kahoot game 1. exercise 2 2. Kahoot 3. Teacher Observe 1. Students answer are correct more than 7 of 10 is pass. 2. Students use the correct sentences and pronoun the sentences correctly. Processing (P) - Students will be able to listen and use the correct sentences. 1. Exercise 2 (Listen and fill the vocabulary on the article) 1. Teacher Observe 1. Students use the correct vocabulary to fill the correct answer more than 7 of 10 is pass. Attitude (A) - Students will be able to participate in learning activities deliberately. 1.Teacher observe. 1. Teacher Observe 1. Students do the worksheet and participate in activity deliberately.
40 ความเห็นของครูพี่เลี้ยง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ o ครูสอดแทรกหลักคุณธรรม จริยธรรม ในแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ไม่ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ควรปรับปรุง เนื่องจาก ........................................................................................................................................ (ลงชื่อ) ........................................................... ครูพี่เลี้ยง (นางรัชดาภรณ์ ฟิเชอร์) ความเห็นของผู้บริหาร o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ o ครูสอดแทรกหลักคุณธรรม จริยธรรม ในแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ไม่ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ควรปรับปรุง เนื่องจาก ........................................................................................................................................ ลงชื่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
41 Lesson plan 37 Subject: English 2อ22102 Level: Grade 8 Unit 5: Geographical Time: 2 hours Teacher: Teppitak Thanasarapisut Dates: ___/_______/______ 4. Learning Standards and Indicators Strand 1: Language for communication Standard F 1.2 : Endowment with language communication skills for exchange of data and information; efficient expression of feelings and opinions. 5. Concept This lesson focus on recognizing and identifying geographic vocabulary and describing about journey. 6. Content 5. Skills: vocabulary 6. Grammar: both...and, neither...nor, either...or 7. Sentences:- 8. Vocabulary: geographic 4. Leaning Objectives Terminal objectives Students will be able to recognize the vocabulary and use into the correct sentences. Behavior Objectives 4. Students are able to recognize the vocabulary. (K) 5. Students are able to use the correct sentences. (P) 6. Students are able to participate in learning activities deliberately. (A)
42 5. Teaching and Leaning Procedures Steps Time (mins) Students/Teacher Roles Learning Process 1. Warm-up 5 1. Teacher and students greet each other. 2. Teacher asks the question about the school life. 3. Students answer the question. 2. Presentation 10 4. Teacher opens the audio. 5. Students listen and repeat 6. Teacher lets students guess the meaning of phrase that they heard. 7. Students and teacher check the meaning. 3. Practice 10 8. Students do the practice exercise form student’s book. 9. Students check the correct answer. 4. Production 15 10. Students play Kahoot activity about the vocabulary. 11. Students check the correct answer with teacher. 5. Warp-up 5 11. Students repeat the vocabularies together. 6. Materials No. Materials Steps Creator 1. PowerPoints reviewing vocabulary -Warm-up teacher 2. Audio (Vocabularies) -Practice (Listen and repeat) teacher
43 3. Practice Exercise -Practice teacher 4. Kahoot game -Production teacher 5. Student books - Presentation /Practice Students 7. Evaluations Objectives Measurement Tools Criteria Knowledge (K) - Students are able to recognize the vocabulary. (K) 1. Practice exercise 2. Kahoot game 1. practice exercise 2. Kahoot 3. Teacher Observe 1. Students answer are correct more than 7 of 10 is pass. 2. Students use the correct sentences and pronoun the sentences correctly. Processing (P) - Students are able to use the correct sentences. (P) 1. Exercise (Listen and fill the vocabulary on the article) 1. Teacher Observe 1. Students use the correct vocabulary to fill the correct answer more than 7 of 10 is pass. Attitude (A) - Students are able to participate in learning activities deliberately. 1.Teacher observe. 1. Teacher Observe 1. Students do the worksheet and participate in activity deliberately.
44 8. Teacher’s Note Outcome o Students are able to use the correct grammatical. o Students are able to use the correct sentences in their routine. o Students are able to participate in learning activities deliberately. Problem Suggestion Signature ........................................... (Teppitak Thanasarapisut) Student Teacher .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................
45 ความเห็นของครูพี่เลี้ยง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ o ครูสอดแทรกหลักคุณธรรม จริยธรรม ในแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ไม่ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ควรปรับปรุง เนื่องจาก ........................................................................................................................................ (ลงชื่อ) ........................................................... ครูพี่เลี้ยง (นางรัชดาภรณ์ ฟิเชอร์) ความเห็นของผู้บริหาร o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ o ครูสอดแทรกหลักคุณธรรม จริยธรรม ในแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนการจัดประสบการณ์ ไม่ตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลาง o ควรปรับปรุง เนื่องจาก ........................................................................................................................................ ลงชื่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า