การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
จัดทำโดย
นายธนาคาร สีสด เลขที่ 4 ม.6/7
น.ส. ชนาภา สมุทรคำ เลขที่ 6 ม.6/7
ครูผู้สอน
นางสาวกายทิพย์ แจ่มจันทร์
โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2564
คำนำ
E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชา การดำรง
ชีวิตและครอบครัว3 (ง33102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ในเรื่องราวของ การ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ
จาก แหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดย E-book
เล่มนี้ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของการเพาะ
เลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำาเร็จ
ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ เป็นต้น
ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ E-
book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
นักศึกษา ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ เรื่อง การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อเ ป็นอย่างดี หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิด
พลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นายธนาคาร สีสด
นางสาวชนาภา สมุทรคำ
สารบัญ 1
2
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3
ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4
ข้อจำกัดของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 5
ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6
พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำาเร็จ 7
ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 8
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สารเคมีที่ใช้ในการฟอก 9
ฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช 10
วิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชด้วยสารเคมี 12
วิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชด้วยความร้อน 15
การย้ายปลูกในสภาพธรรมชาติ
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการ
ขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง เป็นความเจริญ
ก้าวหน้าในด้านการเกษตรเกี่ยวกับพืช
ที่มีการพัฒนาเทคนิคในการขยาย
พันธุ์แบบใหม่ ที่ทำให้ได้พืชต้นใหม่
จำนวนมาก อย่างรวดเร็วในเวลา
อันจำกัด โดยมีคุณภาพดีเหมือน
เดิมโดยนำชิ้นส่วนของพืชได้แก่
ลำต้น ยอดตาข้าง ดอก ใบ มา
เพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภาย
ใต้สภาวะที่ควบคุมในเรื่องของความ
สะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ
และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้น
สามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืช
ที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกใน
สภาพธรรมชาติได้
ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ2
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
หมายถึงการนำเอาส่วน
ใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่า
จะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อ
เซลล์หรือเซลล์ไม่มีผนัง
มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง
ในสภาพปลอดเชื้อ
จุลิทรีย์และอยู่ในสภาพ
ควบคุมอุณหภูมิแสงและ
ความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่
นำมาเพาะเลี้ยงนั้น
ปราศจากเชื้อที่มารบกวน
และทำลายการเจริญ
เติบโตของพืช
ข้อจำกัดของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 3
1. การสร้างห้องปฏิบัติงาน เนื่องจากการปฏิบัติงาน
ต้องมีการจัดการพื้นที่ทำงาน และการใช้เครื่องมือ
และสารเคมีที่มีราคาค่อนข้างสูง
2. การอบรมและฝึกฝนผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากการ
ทำงานการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีการทำงานด้วย เทคนิค
ปลอดเชื้อและทำงานตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่การ
ฟอกฆ่าเชื้อ วิธีการตัดและวางเนื้อเยื่อพืช การเพิ่ม
ปริมาณต้น การชักนำราก รวมถึงการฆ่าเชื้อเพื่อ
ทำความสะอาดของเครื่องมือที่ใช้
3. การค้นคว้าวิจัยในการค้นหาเทคนิคและสูตร
อาหารเพาะเลี้ยงพืชที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกชนิด
และปริมาณสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เหมาะสม
เพื่อให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโตและพัฒนาพร้อมกัน
และลดการเกิดลักษณะของต้นพืชที่แตกต่างไปจาก
เดิม (Somaclonal variation)
ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แบ่ง
ออกเป็น 3 ห้องหลัก คือ
1. ห้องเตรียมอาหารและเก็บสารเคมี
2. ห้องย้ายเนื้อเยื่อ
3. ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในงานเพาะ
เลี้ยงเนื้อเยื่อการจัดวางเครื่องมือและ
อุปกรณ์ต้องคำนึงถึงความสะดวกใน
การใช้งานภายในห้องต่างๆ
5
พืชที่นิยมนำมาเพาะ
เลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ
นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาใน
เรื่องของการขยายพันธุ์
หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค
เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืช
เศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ
ดาวเรือง ข้าว แครอท
คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า
เป็นต้น
6
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำาเร็จ
ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
• ชิ้นส่วนพืช
- ชนิด อายุของพืช และระยะเวลาที่เก็บ
• การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนของพืช
• อาหารที่เพาะเลี้ยง
- น้ำ
- สารอนินทรีย์
- ธาตุอาหารหลัก (Macroelements) พืช
ต้องการในปริมาณมาก
- ธาตุอาหารรอง (Microelements) พืช
ต้องการในปริมาณน้อย
- สารอินทรีย์ ได้แก่ น้ำตาลกรดอะมิโน และวิ
ตะมิน
• สารควบคุมการเจริญเติบโต
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 7
1.การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหาร
หลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสม
กับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสี
ลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ชัดเจน
• ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม
แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
• ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก
แมงกานีส สังกะสี ทองแดง
2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือ
วิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง
ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
สารเคมีที่ใช้ในการฟอกฆ่าเชื้อ 7
เนื้อเยื่อพืช
• แอลกอฮอล์ (Alcohol)
• สารโซเดียม/แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium/Calcium
hypochlorite) เช่น Clorox ที่มี
โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25 % ปริมาณที่ใช้ คือ 10-20 %
• เมอร์คิวริกคลอไรด์ (Mercuric chloride)
• ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
• ซิลเวอร์ ไนเตรท (Silver nitrate)
• ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic)
8
วิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชด้วยสารเคมี
• ล้างชิ้นส่วนพืชให้สะอาดหรือเช็ดทำความสะอาด
• แช่ชิ้นส่วนพืชในแอลกอฮอล์เข้มข้น 70 %
• แช่ชิ้นส่วนพืชในสารละลายคลอรอกซ์ 10-20 % เป็นเวลา
5-20 นาที
• ล้างด้วยน้ำสะอาดที่่นึ่่งฆ่าเชื้อแล้ว
• ตัดชิ้นส่วนพืชให้มีส่วนที่ต้องการเพาะเลี้ยงอยู่
9
วิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชด้วยความร้อน
• ล้างชิ้นส่วนพืชให้สะอาดหรือเช็ดทำความสะอาด
• จุ่มชิ้นส่วนพืชในแอลกอฮอล์เข้มข้น 95 % เป็นเวลา 1-2
นาที แล้วนำมาลนไฟ
• ตัดชิ้นส่วนพืชให้มีส่วนที่ต้องการเพาะเลี้ยงอยู่
3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง เป็นการนำเอาชิ้น
ส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยง
ที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้อง
หรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ
4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยงเป็นการนำเอาขวดอาหาร 10
เลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้
อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมน
และสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบน
อาหารนั้น เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก และนำไปวางบน
ชั้นในห้องเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อพืช ที่อุณภูมิ 25 องศสา
เซลเซียส ตลอด 24 ชั่วโมง และให้แสงจากหลอดไฟ วันละ
16 ชั่วโมง
11
5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวดเมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น
ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยง
ใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออก
จากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป
การย้ายปลูกในสภาพธรรมชาติ 12
1. นำต้นพืชที่มียอด และ รากสมบูรณ์ออกจากขวด
2. ล้างวุ้นออกให้หมด
3.แช่น้ำยาป้องกันเชื้อรา 13
4.นำไปปลูก โดยวัสดุปลูกที่สะอาด
14
5.นำพลาสติกสีขาวขุ่นทำเป็นกระโจม เพื่อป้องกันการคายน้ำ
6.เมือพืชตั้งตัวได้ให้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ ฉีดพ่นทางใบทุกสัปดาห์
7.อายุ 30 วัน ย้ายลงปลูกในวัสดุปลูกที่หาได้ทั่วไป
ประโยชน์ของการเพาะ 15
เลี้ยงเนื้อเยื่อ
1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืช
ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
2. เพื่อการผลิตพืชที่
ปราศจากโรค
3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์
ต้านทาน
5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์
ทนทาน
6. เพื่อการผลิตยาหรือสาร
เคมีจากพืช
7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิ
ให้สูญพันธุ์
บรรณานุกรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา.2564.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.
https://www.trueplookpanya.com/learning/detai
l/917สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร.2563.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.
https://waa.inter.nstda.or.th/
สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำ
โดยศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร.ขยายพันธุ์พืช
โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.
https://www.youtube.com/watch?
v=wHGIKNybdOw
สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564