The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทกลอน
ของกวีหญิงใน
เฮียะกุนินอิฌฌ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by SBoat 6370, 2021-10-28 02:37:02

บทกลอน ของกวีหญิงใน เฮียะกุนินอิฌฌ

บทกลอน
ของกวีหญิงใน
เฮียะกุนินอิฌฌ

อรรถยา สุวรรณระดา
คณะอกั ษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทกลอน
ของกวีหญงิ ใน
เฮยี ะกุนินอิฌฌุ*

บทคัดยอ่

เฮียะกุนินอิฌฌุ ひ(百ゃく人にん一いっ首しゅ)เป็นหนังสือรวมบทกลอนญี่ปุ่นซ่ึงรวบรวมข้ึนใน
ふじわらのさだいえ

ช่วง ค.ศ. 1235 โดยฟุจิวะระ โนะ ซะดะอเิ อะ (藤原定家) หรือท่มี ักเรียกกันวา่

“เทะอกิ ะ” เทะอกิ ะได้คดั เลือกบทกลอนของกวที ่ีมีชือ่ เสยี งจ�ำนวน 100 คน โดยเอา

มาคนละบท ใน เฮยี ะกนุ ินอิฌฌุ มีบทกลอนที่แต่งโดยกวหี ญงิ ทั้งสน้ิ 20 บท (ไมน่ ับ

รวมบทกลอนพระราชนิพนธ์ของจักรพรรดินีจิโต) โดยในจ�ำนวนน้ันเป็นกลอนหมวด

ความรกั 14 บท กลอนหมวดฤดใู บไมผ้ ลิ 2 บท และหมวดอื่น ๆ 5 บท บทความนี้

มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษากลวิธีการประพันธ์กลอนและความงดงามในบทกลอนของ

กวีหญิงเหล่าน้ี จากการศึกษาพบว่ากลวิธีการประพันธ์ที่ใช้บ่อยในกลอนของกวีหญิง
か(掛けこ詞とばคำ� ซอ้ นทบั พอ้ งเสยี ง) えんご
เหลา่ นไี้ ดแ้ ก่ คะเกะโกะโตะบะ เอง็ โงะ คำ� สมั พนั ธ)์
(縁語

และอตุ ะมะกรุ ะ (う歌たま枕くらการใชช้ อื่ สถานทโี่ ยงถงึ สง่ิ อนื่ ) ซงึ่ ลว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ กลวธิ กี ารใช้

ค�ำท่ีส่ือโยงความหมายหลายทาง นอกจากนี้ กลอนในหมวดความรักต่างก็ถ่ายทอด

ความเงียบเหงาเปล่าเปล่ียวและความทุกข์เพราะความรักของกวีหญิงเหล่านี้ และยัง
うしん
สะทอ้ นคา่ นยิ มความงามแบบอฌุ นิ หรอื ความงามทแี่ ฝงดว้ ยอารมณค์ วามรสู้ กึ
(有心)

อนั ลึกซง้ึ อนั เป็นแนวทางกลอนของเทะอิกะ

คำ� สำ�คัญ * บทความช้นิ น้เี ปน็ ส่วนหน่ึงของงานวจิ ัยเร่ือง “กลอนของพระกวีหญงิ และกลอน
เฮยี ะกนุ ินอิฌฌุ, พระราชนิพนธใ์ น เฮยี ะกุนินอิฌฌุ” และไดร้ ับทุนสนับสนุนจากคณะอกั ษรศาสตร์
เทะอกิ ะ, กลอนญ่ีปนุ่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย (ทุนวจิ โยปการ) และทุนโตโยต้า

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 1

Attaya Suwanrada
Faculty of Arts,

Chulalongkorn University

Japanese Poems
by Women in
Hyakunin’isshu

Abstract

Hyakunin’isshu is a classical Japanese anthology edited in 1235 by
Fujiwara no Sadaie, usually known as Teika. Teika selected one hundred
Japanese poems composed by one hundred famous poets, one poem
each. In Hyakunin’isshu, there are 20 Japanese poems composed by
women (not including Empress Jitou’s poem) : 14 poems about love,
2 poems about spring, and other 5 poems. This article aims to study
the rhetorical techniques and the ideology of beauty in these poems.
The study finds that the rhetorical techniques mostly used in these
poems are kakegotoba (pivot words), engo (correlative words) and
utamakura (a place with poetical associations). All of these are techniques
that use one word to links to several meanings. Furthermore, those
poems which are about love express the poets’ loneliness and misery
because of love and also reflect ‘ushin’, the ideology of beauty with
emotional depth, which is Teika’s style of poetry.

Key words
Hyakunin’isshu, Teika,
Japanese poem

2 วารสารเครือข่ายญ่ปี ุ่นศึกษา ปที ่ี 6 ฉบับท่ี 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

1. บทน�ำ ส่วนใหญ่เป็นบทกลอนหมวดความรัก โดยมีเนื้อหา
ひゃくにんいっしゅ ตัดพ้อคนรักหรือแสดงความผิดหวังและความทุกข์
เฮียะกุนินอิฌฌุ (百人一首) เป็นหนังสือรวม เพราะความรกั เมอ่ื เทยี บกบั กวชี ายแลว้ กวหี ญงิ ทม่ี คี วาม
สามารถในด้านการแต่งกลอนจนเป็นท่ียอมรับน้ันมีอยู่
บทกลอนญ่ีปุ่นซึ่งรวบรวมข้ึนในช่วงต้นสมัยคะมะกุระ เป็นจ�ำนวนน้อย จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาว่าบทกลอน
ของกวหี ญงิ 20 บทน้ี มคี วามงดงามดีเด่นอยา่ งไรทง้ั ใน
ราว ค.ศ. 1235 โดย ฟุจิวะระ โนะ ซะดะอิเอะ ด้านกลวิธีการประพันธ์กลอนและการถ่ายทอดอารมณ์
ふ(じ藤わ原らの定さだ家い)えหรอื ทมี่ กั เรยี กกนั วา่ “เทะอกิ ะ” เทะอกิ ะ ความรู้สึกในกลอน เหตุใดจึงได้รับการช่ืนชมยกย่อง
และไดร้ บั การคดั เลอื กจาก เทะอกิ ะ กวเี อกแหง่ ยคุ ใหอ้ ยู่
ได้คัดเลือกบทกลอนของกวที ่ีมีชื่อเสียงจำ� นวน 100 คน ในหนังสอื รวมกลอน เฮยี ะกุนนิ อฌิ ฌุ

โดยเอามาคนละบท เฮียะกุนินอิฌฌุ ได้รับการยกย่อง 2. วตั ถุประสงค์การวิจัย

ให้เป็นคู่มือข้ันต้นในการแต่งบทกลอนวะกะ กลอนใน เพ่ือศึกษากลวิธีการประพันธ์กลอนและอารมณ์
ความงามในกลอนของกวีหญงิ ใน เฮยี ะกนุ ินอฌิ ฌุ
เฮยี ะกนุ นิ อฌิ ฌุ เปน็ ทรี่ จู้ กั กนั แพรห่ ลายเนอ่ื งจากปรากฏ
3. สมมุติฐานการวจิ ยั
อยู่ในไพ่คะรุตะของญี่ปุ่น ซ่ึงปัจจุบันจะมีธรรมเนียม
1. บทกลอนของกวหี ญิงใน เฮียะกุนนิ อิฌฌุ มักใช้
การเล่นไพ่นกี้ ันในวันปีใหม่ กลวิธีการประพันธ์ท่ีใช้ค�ำเพื่อสื่อโยงความหมายหลาย
ทาง ซึง่ สะทอ้ นใหเ้ ห็นไหวพริบความสามารถของกวี
ท่ีผ่านมามีงานวิจัยเก่ียวกับบทกลอน เฮียะกุนิน-
2. บทกลอนของกวีหญิงใน เฮียะกุนินอิฌฌุ โดย
อิฌฌุ หลายชิ้น ในด้านกลวิธีการประพันธ์กลอนนั้น เฉพาะบทกลอนในหมวดความรัก ถ่ายทอดอารมณ์
ความรู้สึกของกวีได้อย่างลึกซ้ึง สะท้อนค่านิยมความ
มีนักวิจัยหลายท่านให้ข้อสังเกตว่า ใน เฮียะกุนินอิฌฌุ งามแบบอุฌิน (有心) หรือความงามที่แฝงอารมณ์
ความรู้สึกอันลึกซึ้ง อันเป็นลักษณะแนวทางกลอนของ
มักพบการใช้กลวิธีการประพันธ์ประเภทค�ำซ้อนทับ เทะอกิ ะ
(か掛けこ詞とば)และคำ� สมั พนั ธ์ えんご
พอ้ งเสยี ง อยเู่ ปน็ จำ� นวน 4. ขอบเขตและวิธีวจิ ัย
(縁語)
ศึกษาบทกลอนของกวีหญิงใน เฮียะกุนินอิฌฌุ
มาก (วะตะนะเบะ ยะซุอะกิ, 2007, น.90) ส่วนในดา้ น รวม 20 บท (ในทีน่ ไ้ี มน่ ับรวมบทกลอนพระราชนิพนธ์
ของจกั รพรรดนิ จี โิ ตเนอ่ื งจากไดแ้ ยกศกึ ษาไวใ้ นอกี หวั ขอ้
กวีผู้แต่งกลอนน้ันก็มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า กวีท่ีได้รับการ หนึ่งคือ “บทกลอนพระราชนิพนธ์ในเฮียะกุนินอิฌฌุ”)
กลอน 20 บทนี้ประกอบด้วยกลอนหมวดความรัก
คัดเลือกบทกลอนไว้ใน เฮียะกุนินอิฌฌุ น้ัน หลายคน 14 บท หมวดฤดูใบไม้ผลิ 2 บท และหมวดเบ็ดเตล็ด

เป็นบุคคลที่มีต�ำนานเล่าขาน กล่าวคือนอกจากจะเป็น

กวีที่แต่งกลอนได้อย่างยอดเย่ียมแล้ว เร่ืองราวของกวี

ผู้นั้นยังถูกหยิบยกเล่าถึงไว้ในวรรณกรรมต่าง ๆ อย่าง

เช่น นิทานพื้นบ้านหรือบทละครด้วย ส�ำหรับกวีหญิง

ที่มีช่ือเสียง และมีต�ำนานเล่าขานเป็นท่ีรู้จักกันดี เช่น
おののこまち
โอะโนะ โนะ โคะมะชิ อิสุมิฌิกิบุ
(小野小町)

いずみしきぶ (นฌิ กิ ิ ฮโิ ตะฌ,ิ คโิ ต นะโอะโยะฌ,ิ 2007,

(和泉式部)

น.132) อย่างไรก็ตาม จะพบว่ามีกวีหลายคนที่ไม่ได้มี

ต�ำนานเล่าขาน แต่บทกลอนมีความโดดเด่นแสดงให้

เห็นความสามารถของกวีจนเป็นที่ยอมรับและได้รับ

การคดั เลอื กจากเทะอกิ ะใหอ้ ยูใ่ น เฮยี ะกนุ ินอฌิ ฌุ

ใน เฮยี ะกนุ ินอฌิ ฌุ มีบทกลอนทีแ่ ตง่ โดยกวีหญงิ

ทั้งส้ิน 20 บท (ถ้านับรวมกลอนพระราชนิพนธ์ของ

จักรพรรดินีจิโต จะเป็น 21 บท แต่ในงานวิจัยน้ีจะ

ขอแยกศึกษากลอนพระราชนิพนธ์ต่างหาก) บทกลอน

อรรถยา สวุ รรณระดา | Attaya Suwanrada 3

4 บท ในท่ีน้ีจะวิเคราะห์เน้ือหากลอนและกลวิธีการ ท�ำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและสามารถเข้าใจความ

ประพันธ์ท่ีกวีใช้ พร้อมทั้งอ้างอิงข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องมา หมายของบทกลอนได้ชดั เจนขน้ึ
ほんかど
ประกอบการวิเคราะหเ์ พอ่ื หาข้อสรปุ • กลอนเก่าท�ำใหม่ คือการน�ำ
(本歌取り)

ต้นฉบับกลอน เฮียะกุนินอิฌฌุ ที่อ้างอิงไว้ใน กลอนท่ีมีอยู่เดิมมาแต่งใหม่โดยยังคงเน้ือหาคล้ายของ

บทความน้ี มาจากฉบับของส�ำนักพิมพ์โคดันฌะ (講 เดิมเพยี งแต่เปลย่ี นเน้ือหาบางส่วน

談社) ซ่ึงได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อ ค.ศ. 2002 ส่วนค�ำแปล บทความวิจัยชิ้นน้ีใช้ระบบถอดอักษรภาษาญ่ีปุ่น

ภาษาไทยของกลอนทั้ง 20 บทนี้ หยบิ ยกมาจากหนังสอื ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใน พ.ศ. 2530 ของอาจารย์สาขา

เรยี นรู้ 100 บทกวญี ป่ี ่นุ โบราณ ของผวู้ จิ ยั เอง ซึง่ ผ้วู จิ ยั วิชาภาษาญ่ีปุ่น ได้แก่ ผศ.ดร.กัลยาณี สีตสุวรรณ,

ไดเ้ คยแปลกลอน 100 บทใน เฮยี ะกนุ นิ อฌิ ฌุ เอาไว้ สว่ น ผศ.สชุ าดา สัตยพงศ์, ผศ.เสาวลักษณ์ สรุ ยิ ะวงศ์ไพศาล

ช่ือกลวิธีการประพันธ์ซ่ึงปรากฏในบทความน้ี ผู้วิจัยใช้ (ปจั จบุ นั คอื ศ.ดร.สริ มิ นพร สรุ ยิ ะวงศไ์ พศาล) อาจารยภ์ าค

ตามที่ผู้วิจัยได้เคยแปลและอธิบายไว้ในหนังสือดังกล่าว วชิ าภาษาศาสตร์ คอื ผศ.ดร.สดุ าพร ลกั ษณยี นาวนิ และ

โดยจะขอยกมาอธบิ ายพอสงั เขปดงั น้ี อาจารยภ์ าควชิ าภาษาไทยคอื ผศ.ดษุ ฎพี ร ชำ� นโิ รคศานต์
えんご
• ค�ำสัมพันธ์ คือค�ำที่มีความเก่ียวข้อง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วน
(縁語)

สัมพันธ์กันทางความหมายอย่างลึกซึ้งกับค�ำหลัก เช่น ค�ำบางค�ำท่ีใช้กันแพร่หลายแล้วยังคงใช้ตามความ
つゆ き
ค�ำว่า (น�้ำค้าง) กับ (เหือดหายไป) หรือ นยิ มเดิม
露 消える

คำ� ว่า あめ (ฝน) กับ ふ (ตก)

雨 降る

• ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง かけことば คือค�ำในกลอน 5. ประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะไดร้ ับ

(掛詞) ผลการวิเคราะห์น้ีจะเป็นประโยชน์ในการศึกษา
กลวธิ กี ารประพนั ธก์ ลอนและอารมณค์ วามงามในกลอน
ที่ซ้อนทับกันอยู่โดยเป็นค�ำพ้องเสียงกันจึงตีความได้ วะกะ อีกทั้งยังสามารถน�ำแนวทางการประเมินคุณค่า
あき บทกวีญี่ปุ่นจากบทความวิจัยนี้ไปใช้วิเคราะห์วรรณคดี
2 ความหมาย เช่น อะกิ ทแี่ ปลวา่ ฤดใู บไมร้ ว่ ง กบั อ่นื ๆ ได้ต่อไป
(秋)

อะก(ิ 飽あ き) ทีแ่ ปลว่า เบอื่ หรอื นะกิ (無き) ท่ีแปลว่า
ไมม่ ี กับนะกิ(泣なき) ทแ่ี ปลว่า รอ้ งไห้
うたまくら
• การใช้ช่ือสถานท่ีโยงถึงสิ่งอ่ืน คือค�ำ
(歌枕)

ซึ่งเป็นช่ือเรียกของสถานที่ท่ีมีช่ือเสียงซึ่งถูกน�ำมากล่าว 6. ผลการศึกษาและบทวิเคราะห์

เอาไว้ในกลอน โดยท่ีค�ำในช่ือเรียกน้ันสื่อความหมาย กลอน เฮียะกนุ นิ อิฌฌุ 20 บททแี่ ตง่ โดยกวหี ญิง
ประกอบด้วยกลอนหมวดความรัก 14 บทได้แก่ กลอน
เกยี่ วโยงไปถงึ สงิ่ อนื่ ไดด้ ว้ ย ทำ� ใหผ้ อู้ า่ นกลอนจนิ ตนาการ บทท่ี 19 38 53 54 56 58 59 65 72 80 88 89 90
และ 92 กลอนหมวดฤดูใบไม้ผลิ 2 บท ได้แก่ กลอน
โยงไปถงึ สิ่งน้ัน ๆ ได้ とうちほう บทท่ี 9 และ 61 และกลอนหมวดเบ็ดเตล็ด 4 บท ได้แก่
กลอนบทท่ี 57 60 62 และ 67 สรปุ เนื้อหากลอนและ
• การสลับต�ำแหน่ง (倒置法) คือการสลับ กลวิธีการประพันธ์ท่ีใช้ดงั ในตารางขา้ งล่างน้ี

ต�ำแหน่งค�ำหรอื วลีในกลอน เช่น สลับต�ำแหน่งประธาน

กบั ภาคแสดง เปน็ ตน้ เพอ่ื ใหผ้ อู้ า่ นเกดิ ความรสู้ กึ สะดดุ ใจ

ตอ่ กลอนนนั้
じょごとば
• กลมุ่ คำ� ขยายนำ� (序詞) คอื การนำ� กลมุ่ คำ� หรอื

วลีหน่ึง ๆ โดยไม่ได้จ�ำกัดความยาวมากล่าวน�ำค�ำหรือ

วลใี ด ๆ ในกลอนเพอื่ ขยายภาพพจนข์ องคำ� หรอื วลนี นั้ ๆ

4 วารสารเครือขา่ ยญป่ี ุ่นศึกษา ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขท่กี ลอน ช่ือ กวี ตน้ ฉบบั กลอน กลวธิ ีการประพนั ธท์ ใี่ ช้
หมวด โอะโนะ โนะ ค�ำแปล /ค�ำอธิบาย

9 โคะมะชิ 花の色は うつりにけ ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำว่า ふる ใน
ฤดใู บไม้ผลิ りな いたづらに わが วรรคท่ี 4 สามารถตคี วามได้ 2 แบบคอื
小野 小町 身世にふる ながめせ 降る (ฝนตก) กบั 経る (ใชว้ นั เวลาผา่ น
19 しま に ไป) สว่ นคำ� วา่ ながめ ในวรรคสดุ ทา้ ย
ความรัก อเิ ซะ ก็สามารถตีความได้ 2 แบบเช่นกัน
ดอกซากุระสีซีดจางลงเสีย คือ 長雨 (ฝนที่ตกอย่างต่อเน่ืองเป็น
伊勢 แล้ว หลังจากท่ีต้องฝนเป็น เวลานาน) กับ 眺め (ครุ่นคิดค�ำนึง)
เวลานาน เหมือนกับตัวฉันท่ี เป็นการเปรียบเทียบดอกซากุระที่ต้อง
สังขารร่วงโรยไประหว่างท่ีใช้ ฝนเปน็ เวลานาน จนสซี ีดจางกับตัวกวี
ชีวิตผ่านไปอย่างว่างเปล่า เองทส่ี งั ขารรว่ งโรยไปในขณะทผ่ี า่ นวนั
ครนุ่ คดิ คำ� นงึ ถงึ เรอื่ งราวตา่ ง ๆ เวลาครนุ่ คดิ คำ� นงึ เร่อื งราวต่าง ๆ
การสลบั ตำ� แหนง่ ขอ้ ความ 3 วรรคหลงั
ทห่ี มายถงึ “หลงั จากทต่ี อ้ งฝนเปน็ เวลา
นาน” เป็นส่วนขยายของเน้ือความ
2 วรรคแรกซ่ึงตามไวยากรณ์ท่ีถูกต้อง
แล้วข้อความส่วนขยายน้ีควรจะอยู่
ข้างหน้า 2 วรรคแรก

難波潟 みじかき声の คำ� ซ้อนทบั พอ้ งเสยี ง ค�ำวา่ ふしの間
ふしの間も 逢はでこの ในวรรคที่ 3 ถกู ใช้ใน 2 ความหมาย คือ
世を 過ぐしてよとや “ช่วงระหวา่ งปล้อง” และ “ชว่ งระยะ
ท่านจะบอกให้ฉันใช้ชีวิต เวลาส้ัน ๆ” เมอ่ื อา่ นตอ่ เน่ืองกบั วรรค
ผ่านไปบนโลกใบน้ีโดยไม่ได้ ท่ี 1 และ 2 ซ่งึ กล่าวถงึ “ต้นอะฌิที่อยู่
พบเจอกับท่านเลยแม้จะเป็น ริมอ่าวนะนิวะ” แล้วจะสอ่ื ความหมาย
เพยี งแคช่ ว่ งเวลาสน้ั ๆ เหมอื น แรกคอื “ช่วงสน้ั ๆ ระหวา่ งปลอ้ งของ
กับช่วงสั้น ๆ ระหว่างปล้อง ต้นอะฌิ” แต่ถ้าอ่านต่อเนื่องกับวรรค
ของต้นอะฌิที่ขึ้นอยู่ริมอ่าว ที่ 4 จะส่อื ความหมายหลังคือหมายถงึ
นะนวิ ะกระนั้นหรือ “ไม่ได้เจอท่านเลยแม้จะเป็นเพียงแค่
ช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ”
กลมุ่ คำ� ขยายนำ� วรรคที่ 1 และ 2 ขยาย
ภาพพจน์ของวรรคท่ี 3 โดยเป็นการ
ขยายภาพพจน์ให้เห็นว่า “ช่วงระยะ
เวลาสน้ั ๆ เหมอื นกบั ชว่ งสน้ั ๆ ระหวา่ ง
ปลอ้ งของตน้ อะฌทิ อี่ ยรู่ มิ อา่ วนะนวิ ะ”
ค�ำสัมพันธ์ คำ� ว่า 世 (โลก, ชีวิต, ความ
สัมพนั ธ์ชายหญิง) ในวรรคที่ 4 เป็นคำ�
ท่ีสัมพันธ์กับค�ำว่า 節 (ปล้อง) ทั้งน้ี
เนอ่ื งจากคำ� วา่ 節 กส็ ามารถอา่ นวา่ yo

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 5

เลขท่กี ลอน ชื่อ กว ี ตน้ ฉบับกลอน กลวธิ กี ารประพันธท์ ่ีใช้
หมวด ค�ำแปล /คำ� อธบิ าย

38 ไดเ้ หมอื นกบั คำ� วา่ 世 นอกจากนคี้ ำ� วา่
ความรกั 世 ยงั เกยี่ วโยงไปถงึ คำ� วา่ 芦 (ตน้ อะฌ)ิ
ด้วย เนื่องจาก ค�ำว่า 芦 (ต้นอะฌิ)
53 เปน็ คำ� สมั พนั ธก์ บั คำ� วา่ 節 (ปล้อง)
ความรกั การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงส่ิงอื่น อ่าว
นะนวิ ะ (難波) เปน็ สถานทท่ี ม่ี ชี อ่ื เสยี ง
เนื่องจากมีต้นอะฌิ (พืชจ�ำพวกต้นกก
หรือต้นอ้อ) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จึง
มักถกู เอย่ อา้ งถึงบ่อย ๆ ในกลอนญปี่ ุน่
ท่ีบรรยายภาพทิวทัศน์ของต้นอะฌิ
ภาพกอต้นอะฌิน้ันมักนิยมใช้เป็น
สัญลักษณ์แสดงถึงความอ้างว้างเปล่า
เปล่ียวของกวี

อุกน 忘らるる 身をば思は *ชายคนรักซ่ึงเคยให้ค�ำสัตย์สาบาน
右近 ず 誓ひてし 人の命の เอาไว้กับกวีว่าจะรักกันตลอดไปนั้น
惜しくもあるかな กลับผิดค�ำสาบานโดยไปมีคนรักใหม่

ฉันไม่ได้นึกพะวงถึงตัวเอง กวีจึงกล่าวว่ารู้สึกเสียดายชีวิตของ
ซ่ึงเป็นฝ่ายถูกลืม แต่รู้สึก ชายคนรักที่คงจะต้องถูกเทพยาฟ้า
เสียดายชีวิตของท่านผู้นั้นท่ี ดินลงโทษเอาชีวิตไป โทษฐานผิดค�ำ
เคยให้ค�ำสัตย์สาบานเอาไว้ สาบานเป็นแน่ เป็นการกล่าว ประชด
(วา่ จะรกั ฉันตลอดไป) เสียดสีชายคนรักที่ทอดทิ้งตนไปมีคน
ใหม่ แตใ่ นอีกทางหน่ึงก็มองไดว้ า่ กวียัง
คงมีเย่ือใยต่อชายคนรักอยู่จึงได้กล่าว
แสดงความรู้สึกเสียดายชีวิตของชาย
คนรักนั้นโดยไม่ได้นึกพะวงถึงตัวเอง
ที่เป็นฝ่ายถกู ทอดทงิ้

มารดาของ 嘆きつつ ひとり寝る夜 * สามีของกวี (ฟุจิวะระ โนะ คะเนะ-
ฟจุ ิวะระ โนะ อิเอะ 藤原兼家) ไปมีหญิงคนรัก
の 明くる間は いかに ใหม่ ตอนท่ีสามีมาหาและเคาะประตู
มชิ ิทซ์ นุ ะ เรียก กวีจึงไม่ยอมเปิดประตูรับเพราะ
久しき ものとかは知る รูส้ กึ นอ้ ยใจ พอเช้าวันรุง่ ขึน้ กวีจึงแตง่
藤原道綱母 กลอนบทนสี้ ง่ ไปใหส้ ามี เปน็ การตดั พอ้
ช่วงเวลาค�่ำคืนท่ีฉันต้องทุกข์ สามีว่าตนได้แต่เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยให้
ทรมานนอนคนเดียวจนถึง สามีมาหา ช่วงเวลายามค่�ำคืนท่ีต้อง
เช้าน้ัน ท่านทราบหรือไม่ว่า นอนคนเดยี วเฝา้ รอคอยสามนี น้ั มนั ชา่ ง
มนั ชา่ งยาวนานเพียงใด ยาวนานนกั

6 วารสารเครือขา่ ยญ่ปี นุ่ ศกึ ษา ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขทก่ี ลอน ชอ่ื กวี ตน้ ฉบับกลอน กลวิธีการประพนั ธท์ ่ใี ช้
หมวด คำ� แปล /ค�ำอธิบาย
มารดาของ
54 ฟุจวิ ะระ โนะ 忘れじの 行く末までは * กวีแต่งกลอนบทนี้ในค่�ำคืนแรกของ
ความรัก โคะเระชกิ ะ かたければ 今日を限り การแต่งงาน สามีของกวีคือ ฟุจิวะระ
の 命ともがな โนะ มิชติ ะกะ (藤原道隆) เนอ้ื หา
56 儀同三司母
ความรกั ที่ว่าจะไม่ลืมฉันตลอดไป ของกลอนกล่าวถึงค�ำมั่นสัญญาของ
จนถงึ วนั ขา้ งหนา้ นนั้ ยากทจี่ ะ สามที บ่ี อกวา่ จะรกั ตลอดไปไมล่ มื นน้ั วา่
57 เชอ่ื ถอื ได้ ฉนั จงึ อยากจะมชี วี ติ คงไมอ่ าจจะเชื่อถอื ได้ กวีจึงอยากจะมี
เบ็ดเตลด็ อยู่ถึงเพียงแค่วันนี้ (ท่ีท่าน ชีวิตอยู่ถึงเพียงแค่วันนี้ที่ตนรู้สึกสุขสม
กลา่ วคำ� มนั่ สญั ญานนั้ ออกมา) หวังในรกั เพราะหากมีชีวติ อยูต่ ่อไปใน
เทา่ นัน้ ภายหนา้ กค็ งจะไมร่ สู้ กึ สขุ สมหวงั เชน่ น้ี
เน่ืองจากสามี ก็คงจะต้องไปมีภรรยา
คนใหม่อกี และกวีก็จะตอ้ งรู้สึกเจบ็ ช้ำ�
และต้องจ�ำทนต่อสภาพน้ัน เนื่องจาก
สงั คมสมยั นน้ั ผชู้ ายมภี รรยาไดห้ ลายคน

อิสมุ ฌิ กิ บิ ุ あらざらむ この世のほか * กวีล้มป่วยและรู้ตัวว่าคงจะไม่อาจมี
の 思ひ出に 今ひとたび ชีวิตยืนยาวอยู่ต่อไปได้ จึงแต่งกลอน
和泉式部

の 逢ふこともがな  บทน้ีส่งไปถึงคนรัก ข้อความในวรรค

ฉันคงจะไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ แรกและวรรคที่ 2 หมายถงึ “ฉันคงจะ
ต่อไปในโลกใบนี้ อยากจะพบ ไมอ่ าจมชี วี ติ อยตู่ อ่ ไปในโลกใบน”้ี และ
เจอท่านอีกสักครั้ง เพ่ือจะได้ “ฉนั คงจะตอ้ งไปยงั โลกอน่ื ทไ่ี มใ่ ชโ่ ลกนี้
เป็นความทรงจ�ำติดไปยังโลก (โลกหลังความตาย)” อันแสดงให้เห็น
โนน้ วา่ กวรี ตู้ วั วา่ ความตายใกลจ้ ะมาถงึ แลว้
ส่วนข้อความ 3 วรรคหลัง กวีแสดง
ความปรารถนาท่ีจะพบเจอคนรักอีก
สักครั้งก่อนตาย เพ่ือท่ีจะได้เป็นความ
ทรงจ�ำตดิ ตวั ไปยงั ภพโน้น

มรุ ะซะ กฌิ ิกิบุ めぐりあひて 見しやそ ค�ำสัมพันธ์ ค�ำว่า 月 (พระจันทร์)
れとも わかぬ間に 雲 สัมพันธ์กับค�ำว่า めぐる (เวียนมา
紫式部 がくれにし 夜半の月 พบเจอ)
かな * กวีได้พบเพ่ือนสมัยเด็กที่ไม่ได้เจอ
กันมานาน แต่เจอแค่เพียงแวบเดียว
ได้พบเจอคนท่ีห่างหายกันมา เพื่อนคนนั้นก็กลับไปเสียก่อน กวีจึง
นาน ขณะท่ีไม่แน่ใจว่าใช่คน แต่งกลอนบทน้ีขึ้นมาโดยกล่าวเปรียบ
น้ันหรือไม่ คน ๆ นั้นก็หลบ เพื่อนท่ีรีบกลับไปนั้นกับพระจันทร์ที่
หายเข้ากลีบเมฆไป เหมือน หลบหายเข้าหมู่เมฆ เน้ือความกลอน
กบั พระจนั ทร์ในยามกลางคนื แสดงความรสู้ กึ เสยี ดายทไี่ มไ่ ดม้ โี อกาส
ได้อยู่พูดคุยกับเพ่ือนคนน้ัน พร้อม ๆ

อรรถยา สวุ รรณระดา | Attaya Suwanrada 7

เลขที่กลอน ช่อื กวี ตน้ ฉบบั กลอน กลวิธีการประพนั ธ์ทีใ่ ช้
หมวด ค�ำแปล /ค�ำอธิบาย

58 กบั แสดงความรสู้ กึ เสยี ดายทพ่ี ระจนั ทร์
ความรกั หลบหายเข้าหมู่เมฆไปท�ำให้ไม่อาจ
ช่นื ชมความงามของพระจันทร์ได้
59
ความรกั ฟจุ ิวะระ โนะ 有馬山 猪名の笹原  กลมุ่ ค�ำขยายน�ำ ข้อความ 3 วรรคแรก
คะตะโกะ ทีก่ ล่าวถงึ ใบไผซ่ ะซะแห่งทงุ่ อนิ ะ ท่ถี ูก
風吹けば いでそよ人の ลมพัดนั้น เป็นกลุ่มค�ำขยายน�ำของค�ำ
藤原賢子 วา่ そよ ในวรรคท่ี 4
忘れやはする ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำว่า そよ
นอกจากจะแสดงเสยี งพลวิ้ ไหว (そよ
พอลมพัดทุ่งอินะท่ีอยู่บริเวณ そよ) ของใบไผ่ซะซะแลว้ ยงั มีความ
ภูเขาอะริมะ ใบไผ่ซะซะก็ส่ง หมายว่า “เร่ืองนั้น” (それよ) ซึ่ง
เสียงพลิ้วไหว ฉันน่ะหรือจะ เป็นการพาดพิงถึงเรื่องท่ีชายคนรัก
ลืมท่าน (ท่านต่างหากท่ีเป็น ของกวีซ่ึงห่างหายไม่มาหากวีเป็นเวลา
ฝา่ ยลมื ฉัน) นานได้กล่าวออกมาว่ากวีคงจะเปลี่ยน
ใจไปจากตนแล้ว กวจี ึงแต่งกลอนบทนี้
ตอบกลับไป โดยข้อความในตอนท้าย
ของกลอนคอื “ฉันนะ่ หรือจะลืมท่าน”
(人を忘れやはする) เป็นการโต้
กลบั ฝา่ ยชายวา่ ทา่ นตา่ งหากทเี่ ปน็ ฝา่ ย
ลมื ฉัน ไมย่ อมมาหาฉนั เลย
การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงสิ่งอ่ืน ภูเขา
อะริมะ (有馬山) ในวรรคแรกเป็น
ภูเขาที่อยู่ในต�ำบลอะริมะ (有馬町)
เมืองเซ็ทท์ซุ (摂津) ปัจจุบันอยู่ใน
จงั หวดั เฮยี วโงะ (兵庫県) ส่วนทงุ่ ไผ่
ซะซะหรือทุ่งอินะในวรรคที่ 2 (猪名
の笹原) เป็นทุ่งราบริมแม่น้�ำอินะ
ในเมืองเซท็ ท์ซุ ซึ่งคำ� วา่ 猪名 (อินะ)
และคำ� ว่า 有馬山 (ภเู ขาอะรมิ ะ) มกั
จะถูกกลา่ วไวด้ ้วยกนั ในกลอน

อะกะ โสะเมะ やすらはで 寝なましも * ชายคนรกั ของพสี่ าว (หรอื อาจจะเปน็
เอะมน น้องสาว) ของกวีได้บอกว่าจะมาหา
のを さ世ふけて かたぶ แต่สุดท้ายกลับไม่มา กวีจึงแต่งกลอน
赤染衛門 ตัดพ้อส่งไปยังชายคนน้ันแทนพี่สาว
くまでの 月を見しかな (หรือน้องสาว) ของตน ชายคนที่ว่าน้ี
คือ ฟุจิวะระ โนะ มิชิทะกะ (藤原
ถ้าหากทราบแต่แรก (วา่ ท่าน
จะไม่มาหา) ล่ะก็ ฉันคงจะ
ไม่รั้งรอ ท่ีจะเข้านอนไปแล้ว

8 วารสารเครือขา่ ยญ่ีป่นุ ศกึ ษา ปที ี่ 6 ฉบับที่ 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขทก่ี ลอน ชอ่ื กวี ตน้ ฉบบั กลอน กลวิธกี ารประพันธ์ที่ใช้
หมวด ค�ำแปล /ค�ำอธิบาย

60 คงจะไม่อยู่จนดึกดื่นจนมอง 道隆) เป็นการกล่าวสมมติเหตกุ ารณ์
เบด็ เตล็ด เห็นพระจันทร์ก�ำลังจะจม ที่ตรงข้ามกับท่ีเป็นจริงคือ “หากรู้แต่
ภูเขาอยู่ทางทิศ ตะวันตก แรก ฉันกค็ งจะไมร่ ้งั รอที่จะเข้านอนไป
เช่นนี้ แลว้ ” ซึ่งในความเป็นจริงนัน้ ฝา่ ยหญงิ

ไม่รู้ว่าฝ่ายชายจะไม่มาหา และได้อยู่
เฝ้ารอคอยฝ่ายชายจนดึกด่ืนจนมอง
เห็นพระจันทร์ก�ำลังจะจมภูเขาอยู่ทาง
ทศิ ตะวนั ตกซง่ึ เปน็ ชว่ งเวลาใกลฟ้ า้ สาง

โคะฌิกบิ ุ โนะ 大江山 いく野の道の ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำว่า “อิกุ”
นะอฌิ ิ 遠ければ まだふみもみ นอกจากจะเปน็ ชอ่ื ท่งุ แลว้ ยังสอ่ื ความ
หมายว่า “ไป” (行く) ซ่ึงในที่นี้กวี
小式部内侍 ず 天の橋立

เส้นทางข้ามภูเขาโอเอะ กำ� ลงั เดนิ ทางไปเมอื งทงั โงะซง่ึ ตอ้ งผา่ น
และตัดผ่านทุ่งอิกุน้ันช่าง ภูเขาโอเอะและผ่านทุ่งอิกุ นอกจากน้ี
ยาวไกลนัก ฉันยังไม่เคยได้ คำ� วา่ ふみ ในวรรคที่ 4 กม็ ี 2 ความ
เหยยี บยำ่� ดนิ แดน อะมะโนะ- หมายไดแ้ ก่ 踏み ที่แปลว่า “เหยียบ
ฮะฌิดะเตะ และยังไม่เคย ย่�ำ” และ 文 ที่แปลว่า “จดหมาย”
ได้เห็นจดหมาย (ของแม)่ เลย ในท่นี จี้ ึงตคี วามได้ 2 อย่างคือ “ยงั ไม่
เคยได้เหยียบย�่ำไปยังที่นั้นเลย” และ
“ยังไม่เคยไดเ้ ห็นจดหมายเลย”
ค�ำสัมพันธ์ ค�ำว่า 踏み (เหยียบย่�ำ)
สมั พนั ธก์ บั คำ� วา่ 橋 (สะพาน) ในวรรค
สดุ ท้าย
ก า ร ใ ช ้ ชื่ อ ส ถ า น ที่ โ ย ง ถึ ง สิ่ ง อ่ื น
อะมะโนะฮะฌดิ ะเตะ (天橋立) เปน็
ช่ือสถานที่ในเมืองทังโงะซึ่งได้รับการ
ยกยอ่ งว่าเป็น 1 ใน 3 สถานทที่ งี่ ดงาม
ท่ีสดุ ของญี่ปนุ่ กวีใช้ช่ือสถานท่นี ้ีสอื่ ถึง
เมอื งทงั โงะซึ่งมารดาได้อาศัยอยู่
การสลับต�ำแหน่ง วรรคสุดท้ายคือ
อะมะโนะฮะฌดิ ะเตะ(天橋立)นนั้ ตาม
หลักแล้ววรรคนี้ควรจะต้องอยู่ก่อน
หน้าวรรคที่ 4 ซ่ึงมีค�ำกริยาจบท้าย
ประโยค แต่กวีสลับต�ำแหน่ง เพ่ือท้ิง
ทา้ ยกลอนดว้ ยภาพของอะมะโนะฮะฌิ
ดะเตะซ่ึงเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์ทะเล
อันงดงาม
* ตอนที่มารดาของกวีคืออิสุมิฌิกิบุได้

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 9

เลขที่กลอน ชือ่ กว ี ตน้ ฉบบั กลอน กลวิธกี ารประพนั ธ์ทใี่ ช้
หมวด ค�ำแปล /ค�ำอธบิ าย

61 เดินทางไปยังเมอื งทงั โงะพรอ้ มกบั สามี
ฤดใู บไมผ้ ลิ แลว้ นน้ั กวีถกู ส่งั ให้เขา้ รว่ มงานแข่งขนั
ประชันกลอน ในตอนนัน้ ฟจุ วิ ะระ โนะ
ซะดะโยะริ (藤原定頼) ไดม้ าหาและ
แกลง้ พดู แหยว่ า่ “สง่ ขา่ วไปเมอื งทงั โงะ
ให้แม่ช่วยแต่งกลอนแทนแล้วหรือยัง
คนที่ไปส่งจดหมายยังไม่กลับมาอีก
หรือ” กวีจึงแต่งกลอนบทน้ีตอบกลับ
เพอื่ เปน็ การแสดงใหซ้ ะดะ โยะรเิ หน็ ถงึ
ความสามารถและไหวพริบในการแต่ง
กลอนของตนซ่งึ ไม่จำ� เปน็ ตอ้ งพึ่งแม่

อิเซะ โนะ ทะอฟิ ุ いにしへの 奈良の都の การใช้ช่ือสถานที่โยงถึงสิ่งอ่ืน ต้นยะ-
伊勢大輔 八 重 桜 け ふ 九 重 に เอะซากุระเป็นซากุระชนิดหน่ึงซ่ึงพบ
มากในเมืองนารา แต่ส�ำหรับเมือง
にほひぬるかな

ดอกยะเอะซากุระจากเมือง หลวงเกียวโตแล้วนับเป็นพันธุ์ไม้
หลวงเก่านารา มาวันน้ีกลับ หายาก ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่
เบ่งบานงดงามยิ่งกว่าเก่าใน กลีบดอกจะซ้อนกันเป็นช้ัน ๆ ซ่ึงเป็น
พระราชวังแหง่ นี้ ท่ีมาของค�ำเรียกดอกซากุระชนิดนี้ว่า
“ยะเอะ”(八重)ซง่ึ หมายถงึ “ซอ้ นกนั
หลายช้ัน” ส่วนค�ำว่า 九重 ในวรรค
ท่ี 4 นั้นหมายถึง “พระราชวงั ” และ
เน่ืองจากในตัวอักษรมีค�ำว่าเลข 9
(九) ซงึ่ เปน็ ตวั เลขทม่ี จี ำ� นวนมากกวา่
เลข 8 (八) ในคำ� ว่า “ยะเอะ” ดังน้นั
จึงส่ือความหมายว่า “มากยิง่ ข้ึน” อีก
ดว้ ย โดยในทน่ี เ้ี ปน็ การกลา่ วชน่ื ชมดอก
ยะเอะซากุระว่า ดอกยะเอะซากุระท่ี
เบ่งบานอยู่ในวังงดงามมากยิ่งขึ้นกว่า
ก่อน เป็นการใช้ค�ำโดยมีความหมาย
แฝงลกึ ซึ้ง
* ในสมัยจักรพรรดิอิชิโจ (一条天
皇) มีคนถวายต้นยะเอะซากุระจาก
เมืองนาราเพ่ือมาปลูกไว้ในพระราชวัง
กวีซึ่งเป็นนางก�ำนัลในวังได้รับมอบ
หมายหน้าที่ให้เป็นผู้รับมอบเอาต้น
ยะเอะซากุระจากนารานั้นมา และได้
เอ่ยกลอนบทนี้ข้ึนในตอนน้ัน โดย

10 วารสารเครอื ข่ายญี่ป่นุ ศึกษา ปที ี่ 6 ฉบับท่ี 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขทก่ี ลอน ช่ือ กวี ตน้ ฉบับกลอน กลวิธกี ารประพันธ์ทใี่ ช้
หมวด คำ� แปล /คำ� อธบิ าย

62 หน้าท่ีอันส�ำคัญนี้กวีรับโอนมาจาก
เบด็ เตล็ด มรุ ะซะกฌิ กิ บิ นุ างก�ำนัลรุ่นพ่ี

เซะอโิ ฌ นะงน 夜をこめて 鳥のそらね ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำว่า 逢 ในช่ือ
ははかるとも よに逢坂 ด่าน “โอซะกะ” พ้องเสียงกับ ค�ำว่า
清少納言

の関はゆるさじ 逢ふ ซ่ึงหมายถึงการได้พบเจอและมี

ถึงแม้คิดจะมาหลอกกันโดย สัมพันธ์กันของชายหญิง ดังนั้นในท่ีนี้
เลียนเสียงไก่ขันท้ัง ๆ ท่ีฟ้า จึงสื่อได้ 2 ความหมายคอื “ยังไงกไ็ ม่
ยงั มดื อยู่ ด่านโอซะกะ แห่งน้ี ยอมเปิดดา่ น” และ “ยงั ไงกไ็ ม่ยอมให้
ยังไงก็ไม่อนุญาตให้ท่านผ่าน ท่านเขา้ หา”
เขา้ มาหรอก การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงสิ่งอื่น ชื่อด่าน
“โอซะกะ” (逢坂) ส่ือถึงการได้พบ
เจอและมีสมั พนั ธก์ นั ของชายหญิง
* กวสี นทนากับฟุจวิ ะระ โนะ ยกุ ินะริ
(藤原行成)ในวงั จนดกึ ดน่ื ยกุ นิ ะริ ได้
ขอตัวกลับและพอเช้าวันรงุ่ ข้นึ ยุกินะริ
ได้ส่งจดหมายมาหากวีโดยเขียนว่า
“เสียงไก่ขันเร่งจึงต้องรีบกลับ” กวีจึง
ตอบจดหมายกลับโดยกล่าวว่า “เสียง
ไก่เม่ือคืนคงจะเป็นเสียงไก่ขันที่ด่าน
หันกู่กวนสินะ” โดยเป็นการอ้างอิง
ประวัติศาสตร์จีนสมยั ปลายยุคจัน้ กวอ๋
คือเร่ืองของเมิ่งฉางจวิน (孟嘗君)
แห่งรัฐฉีท่ีถูกอ๋องรัฐฉินเชิญไปยังรัฐ
ฉนิ อ๋องรัฐฉนิ คิดกักตวั เมิ่งฉางจวนิ เอา
ไว้ แต่เม่ิงฉางจวินรู้ทันจึงหลบหนีมา
ในเวลากลางคืนจนถึงด่านหันกู่กวน
(函谷関) ตามระเบยี บตอ้ งรอจนยาม
ฟ้าสางเมื่อไก่เร่ิมขันแล้วประตูด่านจึง
จะเปิดออก บริวารของเมิ่งฉางจวินจึง
เลียนเสียงไก่ขัน นายด่านจึงเปิดด่าน
ให้คณะของเขาผ่านไป เม่ิงฉางจวินจึง
กลับถึงรัฐฉีโดยปลอดภัย กวีได้อ้างอิง
เร่ืองเสียงไก่ท่ีด่านหันกู่กวนนี้ ยุกินะริ
จึงตอบจดหมายกลับมาว่า “เป็นด่าน
ก็จริง แต่เป็นด่านโอซะกะเพ่ือจะพบ
เจอท่าน” กวีจึงแต่งกลอนบทนี้ตอบ
ตดั รอนอีกฝา่ ย

อรรถยา สวุ รรณระดา | Attaya Suwanrada 11

เลขทก่ี ลอน ชอ่ื กวี ต้นฉบับกลอน กลวธิ กี ารประพันธ์ทีใ่ ช้
หมวด คำ� แปล /คำ� อธิบาย

65 ซะงะมิ 恨みわび ほさぬ袖だに * กลอนบทน้ีแต่งข้ึนในงานแข่งขัน
ความรกั 相模 あるものを 恋に朽ちな ประชันกลอนท่ีจัดข้ึนในพระราชวังใน
む 名こそ惜しけれ ค.ศ. 1051 (永承六年内裏歌合)
67
เบ็ดเตล็ด คับแค้นใจจนหมดเร่ียวแรง ขณะที่กวีมีอายุ 50 กว่าปีแล้ว ถึงแม้
ที่จะคับแค้นแล้ว ถึงจะรู้สึก จะเป็นเพียงกลอนที่แต่งขึ้นตามหัวข้อ
72 เสียดายชายแขนเสื้อท่ีเปียก ท่ีได้รับ แต่ก็บรรยายจิตใจของผู้หญิง
ความรกั ชุ่มน้�ำตาจนไม่มีเวลาจะตาก ทีเ่ จบ็ ชำ�้ เพราะความรักไดอ้ ย่างสมจรงิ
ให้แห้ง แต่รู้สึกเสียดายช่ือ
เสียงที่เส่ือมเสียไปเพราะข่าว
ลอื เร่ืองความรักน้ีย่ิงกวา่

ซโุ อ โนะ นะอฌิ ิ 春の夜の 夢ばかりなる คำ� ซอ้ นทับพอ้ งเสยี ง ค�ำวา่ かひなく
ในวรรคท่ี 4 หมายถงึ “เปลา่ ประโยชน์
周防内侍 手枕に かひなく立たむ สูญเปล่า” ในท่ีน้ีถูกใช้เป็นค�ำซ้อนทับ
พ้องเสยี งกับคำ� ว่า 腕 (kaina) ที่แปล
名こそ惜しけれ ว่า “ทอ่ นแขน” โดยสอื่ ความหมายว่า
“หากหนุนนอนท่อนแขนของท่านแล้ว
รู้สึกเสียดายหากช่ือเสียง ช่ือเสียงของฉันก็คงจะต้องเส่ือมเสีย
จ ะ ต ้ อ ง เ ส่ื อ ม เ สี ย ไ ป โ ด ย ไปโดยสญู เปล่า”
สญู เปลา่ เพราะทอ่ นแขนทใ่ี ช้ * ในค่�ำคืนท่ีพระจันทร์ฉายแสงส่อง
หนนุ นอนเพยี งชว่ งเวลาสนั้ ๆ สวา่ งในเดอื น 2 ขณะทผ่ี คู้ นกำ� ลงั พดู คยุ
เหมือนดั่งความฝัน ในค่�ำคืน สนทนากันอยู่ในต�ำหนักนิโจอิน (二
ฤดูใบไมผ้ ลิ 条院) อันเป็นที่ประทับของพระนาง
โฌฌิ (章子内親王) มเหสขี องจักร
พรรดิโกะเระอเิ สะอิ (後冷泉天皇)
นางกำ� นลั ซโุ อไดเ้ อนตวั ลงพลางกก็ ลา่ ว
ออกมาเบา ๆ วา่ “อยากจะไดห้ มอนจงั ”
ฟุจิวะระ โนะ ทะดะอิเอะ (藤原忠
家) ได้ยินดังนั้นจึงย่ืนแขนของตน
เขา้ มาในฉากกนั้ พลางกลา่ ววา่ “ขอเชญิ
ใชเ้ ป็นหมอนหนุน” นางก�ำนัลซุโอ จึง
แต่งกลอนบทน้ตี อบปฏิเสธกลับไป

คิอิ 音に聞く 高師の 浜の ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำว่า 高し ใน
นางก�ำนลั รับใช้ วรรคท่ี 2 เปน็ ค�ำซอ้ นทบั พอ้ งเสยี งสื่อ
เจ้าหญิงยฌู ิ あだ波は かけじや袖の ได้ 2 ความหมายคอื 高師 ซึ่งเป็นช่ือ
ชายหาด และ 高し ซง่ึ หมายถึง “ชอ่ื
祐子内親王 ぬれもこそすれ เสียงเล่ืองลือ” (評判が高い) ส่วน

家紀伊 ฉันจะไม่อาบคล่ืนที่ชายหาด
ทะกะฌิซ่ึงมีชื่อเสียงอันเลื่อง

12 วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา ปที ี่ 6 ฉบับที่ 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขท่ีกลอน ชอ่ื กวี ตน้ ฉบบั กลอน กลวิธีการประพนั ธท์ ่ใี ช้
หมวด คำ� แปล /ค�ำอธบิ าย

80 ลือ (ฉันจะไม่สนใจค�ำพดู ของ คำ� ว่า あだ波 ในวรรคท่ี 3 หมายถงึ
ความรัก ท่านซ่ึงขึ้นช่ือว่าเป็นคนเจ้าชู้) “คลนื่ ทก่ี อ่ ตวั ” ซง่ึ ในทนี่ สี้ อ่ื ความหมาย
เพราะคงจะล�ำบากหากชาย อกี นยั หนงึ่ คอื หมายถงึ “คำ� พดู ของชาย
แขนเส้ือ จะต้องเปียกคลื่น เจ้าชู้” ส่วนค�ำว่า かけじ ในวรรค
(เปียกน้�ำตา) ที่ 4 ก็ส่อื ได้ 2 ความหมายคือ “ไมอ่ าบ
คลื่น” และ “ไม่สนใจค�ำพูดของคน
เจ้าชู้อย่างท่าน” ข้อความในตอนท้าย
ของกลอน 袖のぬれもこそすれ
ก็ตีความได้ 2 อย่างคือ “กลัวว่าชาย
แขนเส้ือจะเปียกคล่ืน” และ “กลัว
ว่าชายแขนเส้ือจะเปียกปอนไปด้วย
น้ำ� ตา”
คำ� สมั พนั ธ์ คำ� วา่ 浜 (ชายหาด) สมั พนั ธ์
กับค�ำว่า 波 (คลืน่ ) และ ぬれ (เปยี ก)
* ฟุจิวะระ โนะ โทะฌิตะดะ (藤原
俊忠) ได้สง่ กลอนมาใหน้ างกำ� นลั คอิ ิ
ความว่า “ฉันแอบหลงรักท่านอยู่
อยากจะไปหาและพูดคุยกับท่านใน
คนื น”้ี โดย โทะฌติ ะดะ ไดเ้ ปรยี บตวั เอง
เป็นคลื่นที่ถูกลมพัดซัดสาดใส่โขดหิน
นางก�ำนัลคิอิจึงแต่งกลอนบทน้ีตอบ
กลับไปซึ่งเนื้อหากลอนเป็นการกล่าว
ตัดรอนอีกฝ่ายโดยบรรยายภาพคล่ืน
บริเวณชายหาดซ่ึงสอดรับกับกลอน
ของอกี ฝา่ ย

โฮะริ กะวะ 長からむ 心も知らず คำ� สัมพนั ธ์ ค�ำวา่ 長し (ยาวนาน) ใน
นางกำ� นัลรับใช้ วรรคแรก และคำ� วา่ 乱れて (ยงุ่ เหยงิ )
พระนางทะอ-ิ 黒髪の 乱れ て今朝は ในวรรคท่ี 4 ต่างก็สัมพันธ์กับค�ำว่า
黒髪 (ผมสีด�ำ) ในวรรคท่ี 3
เก็มมนอิน ものをこそ思へ * เนื้อหากลอนเปน็ การแตง่ กลอนตอบ
กลับกลอนของฝ่ายชายที่ส่งมาให้หลัง
待賢門院堀河 ฉนั ไมอ่ าจจะหยง่ั รใู้ จของทา่ น จากที่ได้อยู่ร่วมค�่ำคืนด้วยกันมา โดย
ว่าจะรักฉันยืนนานไม่เปล่ียน ฝ่ายหญิงไม่เช่ือใจว่าฝ่ายชายจะรัก
แปรได้จริงหรือไม่ จึงได้แต่ ตนได้ยืนนาน หลังจากที่ฝ่ายชายกลับ
เฝ้าครุ่นคิดยุ่งเหยิง เหมือน ไปในตอนเช้าแล้ว ฝ่ายหญิงจึงได้แต่
กับผมสีด�ำที่พันกันยุ่งเหยิง ครุ่นคิดสับสน และได้เปรียบสภาพ
เม่ือเช้านี้ (ตอนรุ่งสางที่ท่าน จติ ใจทีส่ ับสนยุง่ เหยงิ ของตนว่าเหมอื น
กลบั ไป)

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 13

เลขทีก่ ลอน ชือ่ กว ี ต้นฉบบั กลอน กลวิธกี ารประพันธท์ ีใ่ ช้
หมวด คำ� แปล /ค�ำอธิบาย

88 กับเส้นผมที่พันกันยุ่งเหยิงในตอนเช้า
ความรกั หลังจากตน่ื นอน

หัวหน้านาง 難波江の 芦のかりね กลมุ่ คำ� ขยายนำ� ขอ้ ความตอนตน้ ของ
กำ� นัล กลอน 難波江の芦の (ตน้ อะฌทิ ข่ี นึ้
のひとよゆゑ みをつく อยบู่ รเิ วณปากอา่ วนะนวิ ะ) เปน็ กลมุ่ คำ�
รบั ใช้พระนาง ขยายน�ำของ かりねのひとよ (ปล้อง
โคะกะมนอิน してや 恋ひわたるべき เดยี วตรงช่วงโคนตน้ ที่ตดั เก็บเก่ยี ว)
ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง かりねのひと
皇嘉門院別 ฉันจะต้องทนทุกข์อยู่ในห้วง よ เป็นค�ำซ้อนทับพอ้ งเสียงมี 2 ความ
รกั เจยี นตาย เพยี งเพราะชว่ ง หมายคือ 刈根の一節 (ปล้องเดียว
当 เวลาแคค่ ืนเดียวส้ัน ๆ ที่นอน ตรงช่วงโคนต้นท่ีตัดเก็บเก่ียว) ซึ่งจะ
พักแรม เหมอื นกับชว่ งสน้ั ๆ มคี วามหมายเกยี่ วโยง กบั ภาพตน้ อะฌิ
ปล้องเดียวของต้นอะฌิที่ขึ้น ในกลุ่มค�ำขยายน�ำ ช่วงต้นของกลอน
อยู่บริเวณปากอ่าวนะนิวะ สว่ นอกี ความหมายหนงึ่ คอื 仮寝の一
กระนั้นหรอื 夜 (คำ่� คนื เดยี วทนี่ อนพกั แรมชวั่ คราว)
ซ่ึงความหมายจะต่อเนื่องกับข้อความ
คร่ึงหลังของกลอนที่กล่าวถึงความรัก
ที่เกิดข้ึนในระหว่างที่พักแรมช่ัวคราว
นัน้ นอกจากน้คี ำ� ว่า みをつくし ใน
วรรคที่ 4 กเ็ ปน็ คำ� ซ้อนทับพอ้ งเสียงมี
2 ความหมายคอื “ไม้ปกั เขตในทะเล”
(澪標) ซึ่งความหมายจะสัมพันธ์กับ
ภาพอ่าวนะนิวะในตอนต้นของกลอน
และอีกความหมายหน่ึงคือ “พลีชีวิต
ทุ่มชีวิตให้” (身を尽くし) ซ่ึงจะมี
ความหมายต่อเน่ืองกับข้อความวรรค
สุดท้ายของกลอนที่กล่าวถึงความรัก
โดยจะหมายถึง “ตายเพราะรัก”
คำ� สมั พนั ธ์ คำ� วา่ 芦 (ตน้ อะฌ)ิ 刈り根
(โคนต้นท่ีตัดเก็บเกี่ยว) 一節 (ปล้อง
เดยี ว) 澪標 (ไม้ปกั เขตในทะเล) ต่าง
ก็สัมพนั ธก์ ับคำ� ว่า 難波 (อา่ วนะนิวะ)
การใช้ช่ือสถานท่ีโยงถึงส่ิงอ่ืน อ่าว
นะนิวะอยู่ในเมืองเซ็ทท์ซุหรือจังหวัด
โอซาก้าในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่มีต้น
อะฌขิ น้ึ อยเู่ ยอะ และในสมยั นน้ั บรเิ วณ
ปากอ่าวนะนิวะจะมีหญิงให้บริการ

14 วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศกึ ษา ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เลขท่กี ลอน ชอ่ื กวี ตน้ ฉบบั กลอน กลวธิ ีการประพันธท์ ี่ใช้
หมวด ค�ำแปล /ค�ำอธบิ าย

89 อาศยั อยเู่ ปน็ จำ� นวนมาก ชอื่ อา่ วนะนวิ ะ
ความรกั ในท่ีนี้จึงเป็นการส่ือโยงถึงหญิงให้
บริการ กวีสมมติมุมมองเป็นหญิงให้
90 บรกิ ารซง่ึ เกดิ ความรกั กบั แขกทเ่ี ดนิ ทาง
ความรัก มาใชบ้ รกิ ารซงึ่ กเ็ ปน็ ชว่ งเวลาสนั้ ๆเพยี ง
แค่ค�่ำคืนเดียว แต่จากน้ีไปฝ่ายหญิง
กลับต้องทนทุกข์เจียนตายเนื่องด้วย
ความรกั น้ัน

โฌะกฌุ ิ 玉の緒よ 絶えなば絶 ค�ำสัมพันธ์ ค�ำว่า 絶え (ขาดสะบ้ัน)
นะอฌิ นิ โน ながらへ (อยู่ยืนยาว) よわり
えねながらへば 忍ぶる (อ่อนแอ) ต่างก็สัมพันธ์กับค�ำว่า 緒
式子内親王 (เชือก)
ことの よわりもぞする * กลอนบทนี้แต่งขึ้นในหัวข้อเรื่อง
“ความรักทีเ่ ก็บซอ่ นเอาไว้ในใจ” (忍
ชีวิตของฉัน หากจะต้องขาด 恋) ค�ำว่า 玉の緒 ในวรรคแรกน้ัน
ส ะ บ้ั น ล ง แ ล ้ ว ก็ ข อ จ ง ข า ด เดิมทีหมายถึง “เชือกที่ร้อยแก้วมณี
สะบั้นไปเสียเถิด หากอยู่ หรือไข่มุก (玉)” แต่ในท่ีนี้หมายถึง
ยืนยาวต่อไป จิตใจฉันคงจะ “เชือกที่ร้อยดวงวิญญาณ (魂) ให้
ไมเ่ ขม้ แขง็ พอทจี่ ะอดทน เกบ็ ผูกติดอยู่กับร่างกาย” ซ่ึงหมายถึง
ซ่อนความรักเอาไวใ้ นใจได้ “ชวี ติ ”

นางกำ� นลั รบั ใช้ 見せばやな 雄島のあ กลอนเก่าท�ำใหม่ กลอนบทน้ีเป็นการ
พระนาง น�ำกลอนเก่ามาแต่งเพิ่มใหม่ โดย
อมิ ปุมนอนิ まの袖だにも ぬれに กลอนเดิมคือ กลอนของมินะโมะโตะ
โนะฌเิ งะยกุ ิ (源重之) ทวี่ า่ “ชายแขน
殷富門院大 ぞぬれし 色はかはらず เสื้อของชาวประมงที่เกาะโอะจิมะ
ในเขตมะท์ซุฌิมะ (ท่ีเปียกชุ่มน้�ำทะเล
輔 อยากใหท้ า่ นเหน็ ชายแขนเสอื้ ตลอด) ก็เหมือนกับชายแขนเสื้อของ
ของฉัน (ที่เปล่ียนสีไปเพราะ ฉันที่ต้องเปียกชุ่มตลอดเพราะน้�ำตา”
น�้ำตาที่กลายเป็นสายเลือด)
ชายแขนเส้ือของชาวประมง (松島や 雄島の磯に あさり
ที่เกาะโอะจิมะเปียกแล้ว
เปียกเล่าอยู่ตลอดเวลา แต่ せし あまの袖こそ かくはぬれ
ถึงกระนนั้ สกี ็ยงั ไม่เปลี่ยน
しか) แต่กลอนบทนี้เหมือนกับเป็น
กลอนท่ีพูดโต้ตอบกลอนของฌิเงะยุกิ
ข้างต้นท�ำนองว่า “ชายแขนเสื้อของ
ฌิเงะยุกิก็แค่เปียกเหมือนชายแขนเส้ือ
ของชาวประมง แต่ชายแขนเส้ือของ
ฉันไม่ใช่แค่เปียกอย่างเดียว แต่สีก็ยัง

อรรถยา สวุ รรณระดา | Attaya Suwanrada 15

เลขท่กี ลอน ชอ่ื กว ี ต้นฉบบั กลอน กลวธิ กี ารประพนั ธ์ท่ใี ช้
หมวด คำ� แปล /คำ� อธิบาย

92 เปลี่ยนไปด้วย เพราะน�ำ้ ตาท่ีกลายเปน็
ความรกั สายเลือด” ซ่ึงส�ำนวนที่กลา่ วว่ารอ้ งไห้
จนน�้ำตากลายเป็นสายเลือดนั้นเป็น
สำ� นวนท่ีได้รบั อิทธพิ ลมาจากกลอนจนี
การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงส่ิงอ่ืน เกาะ
โอะจมิ ะ(雄島)เปน็ เกาะๆหนงึ่ ในเขต
อ่าวมะท์ซฌุ ิมะ จังหวดั มยิ ะงิ (宮城)
เปน็ สถานทขี่ ึน้ ช่ือด้านการประมง

นิโจอนิ โนะ わが袖は 潮干に 見 กลอนเก่าท�ำใหม่ กลอนบทน้ีน�ำเอา
ซะนกุ ิ กลอนของอสิ มุ ิฌิกบิ ุมาแต่งใหม่ กลอน
えぬ沖の石の 人こそし เดิมมใี จความว่า “ชายแขนเสอื้ ของฉัน
二条院讃岐 กเ็ หมอื นกบั กอ้ นหนิ ทอ่ี ยใู่ ตน้ ำ�้ ไมม่ ใี คร
らね かわく間もなし ได้พบเห็นว่ามันเปียกชุ่มตลอด ไม่มี
เวลาใดเลยท่ีจะแห้ง” (わが袖は
ชายแขนเส้ือของฉันที่ไม่เคย
มีเวลาแห้ง (เปียกน�้ำตา 水の下なる 石なれや 人に知
ตลอด) ซ่ึงไม่มีใครมารู้เห็น
น้ัน ก็เหมอื นกบั ก้อนหินทีอ่ ยู่ られで かわく間もなし) แต่ใน
กลางทะเล (เปียกน้�ำทะเล กลอนท่ีแต่งใหม่นี้เปลี่ยนจาก “หินท่ี
ตลอด) ซ่ึงแม้น�้ำทะเลจะลด อยูใ่ ต้น�ำ้ ” (水の下なる石) มาเปน็
ลงแล้วก็ยงั มองไมเ่ ห็น “หินที่อยู่กลางทะเลซ่ึงแม้น�้ำทะเลจะ
ลดลงแล้วก็ยังมองไม่เห็น” (潮干に

見えぬ沖の石)

กลุ่มค�ำขยายน�ำ ข้อความในวรรค ท่ี
2 และ 3 (潮干に見えぬ沖の石
の) ทกี่ ลา่ วถงึ หนิ กลางทะเลหลงั นำ้� ลด
น้ัน เป็นกลุ่มค�ำขยายน�ำของข้อความ
ในวรรคท่ี 4 และ 5 (人こそ知らね 
かわく間もなし ไมม่ ี ใครรู้เห็นวา่ มนั
ไม่เคยมีเวลาแห้ง) โดยเป็นการขยาย
ภาพพจน์เปรียบชายแขนเสื้อท่ีเปียก
นำ�้ ตาตลอดซงึ่ ไมม่ ีใครมารู้เห็น กับหิน
ท่ีอยู่กลางทะเลซ่ึงเปียกน้�ำทะเลตลอด
และไม่มีใครมองเห็นได้แม้น�้ำทะเล
จะลดลงแล้วเพราะว่าอยู่กลางทะเล

16 วารสารเครอื ข่ายญป่ี ุน่ ศึกษา ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปกลวิธีการ จากตารางสรุปข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลวิธีการ
ประพันธ์ท่ีพบในกลอน 20 บทข้างต้นโดยแยกตาม
ประเภทกลวธิ ีการประพันธ์ได้ดังน้ี ประพันธ์ท่ีพบในกลอนของกวีหญิงใน เฮียะกุนินอิฌฌุ

ไดแ้ ก่ การใชค้ ำ� ซอ้ นทบั พอ้ งเสยี ง 8 บท คำ� สมั พนั ธ์ 7 บท

กลวิธกี ารประพันธ ์ เลขที่กลอน/ หมวด การใชช้ อื่ สถานทโ่ี ยงถงึ สงิ่ อนื่ 7 บท กลมุ่ คำ� ขยายนำ� 4 บท

คำ� ซ้อนทบั พ้องเสยี ง 9/ ฤดใู บไมผ้ ลิ การสลับต�ำแหน่ง 2 บท และกลอนเก่าท�ำใหม่ 2 บท
19/ ความรัก
58/ ความรกั ตามล�ำดับ โดยจะพบว่ากลวิธีการประพันธ์ที่พบมาก
60/ เบด็ เตล็ด
62/ เบด็ เตลด็ ที่สุด 3 ล�ำดับแรกคือ การใช้ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง ค�ำ
67/ เบด็ เตลด็
72/ ความรัก สมั พนั ธ์ และการใช้ชื่อสถานทโี่ ยงถงึ ส่ิงอ่นื นัน้ ลว้ นแล้ว
88/ ความรัก
ค�ำสัมพันธ์ 19/ ความรกั แต่เป็นกลวิธีการใช้ค�ำเพ่ือสื่อโยงความหมายหลายทาง
57/ เบ็ดเตล็ด
60/ เบด็ เตล็ด ทั้งส้ิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถและไหวพริบ
72/ ความรกั
80/ ความรกั ในการใช้ค�ำของกวีหญิงเหล่าน้ันได้เป็นอย่างดี อย่างไร
88/ ความรกั
89/ ความรัก ก็ตามจะพบว่ามีกลอนอยู่หลายบทท่ีไม่พบการใช้กลวิธี
การใช้ชอื่ สถานท ี่ 19/ ความรัก
โยงถึงสง่ิ อ่ืน 58/ ความรัก การประพนั ธ์ ได้แก่ กลอนบทที่ 38 53 54 56 59 และ
60/ เบ็ดเตล็ด
61/ฤดูใบไมผ้ ลิ 65 จึงเป็นประเด็นที่น่าขบคิดต่อไปว่าบทกลอนเหล่าน้ี
62/ เบด็ เตล็ด
88/ ความรกั มคี วามดเี ดน่ อยา่ งไรจงึ ไดร้ บั การคดั เลอื กจากเทะอกิ ะให้
90/ ความรกั
กลุ่มค�ำขยายน�ำ 19/ ความรัก อยู่ใน เฮียะกนุ นิ อฌิ ฌุ
58/ ความรกั
88/ ความรัก เมอื่ วเิ คราะหด์ บู ทกลอนทง้ั 6 บทขา้ งตน้ จะพบวา่
92/ ความรกั
การสลบั ต�ำแหน่ง 9/ ฤดใู บไม้ผลิ กลอนท้งั 6 บทนน้ั ลว้ นแล้วแตเ่ ป็นกลอนหมวดความรกั
60/ เบ็ดเตลด็
กลอนเกา่ ท�ำใหม่ 90/ ความรัก ที่มีเน้ือหาลึกซึ้งกินใจทั้งสิ้น เช่น กลอนบทที่ 38 ท่ีกวี
92/ ความรัก
ไมพ่ บกลวธิ กี ารประพันธ ์ 38/ ความรกั กล่าวว่ารู้สึกเสียดายชีวิตของชายคนรักที่เคยให้ค�ำสัตย์
53/ ความรัก
54/ ความรัก สาบานรักไว้น้ัน สะท้อนให้เห็นถึงความรักและเยื่อใย
56/ ความรกั
59/ ความรกั ของกวีท่ีมีต่อชายคนรักแม้ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายถูกทิ้ง
65/ ความรกั
ก็ตาม ซึ่งทำ� ให้ผ้อู ่านรสู้ ึกประทับใจในความรักอนั ลึกซงึ้

ของกวี กลอนบทท่ี 53 เป็นกลอนทม่ี ชี ่อื เสียงของมิชทิ ์
みちつな はは
ซุนะ โนะ ฮะฮะ ผูแ้ ต่งวรรณกรรมเรื่อง
(道綱の母)

คะเงะโรนิกกิ かげろうにっき ซึง่ เปน็ วรรณกรรมท่ีเขยี น

(蜻蛉日記)

โดยสตรีชิ้นแรกของญ่ีปุ่น กวีได้ตัดพ้อสามีโดยกล่าวถึง

ช่วงเวลายามค�่ำคืนท่ีต้องนอนคนเดียวเฝ้ารอคอยสามี

จนถึงเช้าว่าเวลามันช่างยาวนานนักซ่ึงสะท้อนความ

ทกุ ขใ์ จของกวีเป็นอยา่ งดี กลอนบทที่ 54 กวแี สดงความ

ปรารถนาอยากมชี วี ติ อยถู่ งึ แคว่ นั นท้ี ส่ี ามใี หค้ ำ� มน่ั สญั ญา

รกั เทา่ นน้ั เนอ่ื งจากในอนาคตสามคี งไปมผี หู้ ญงิ คนอน่ื อกี

และตนเองคงจะต้องเจ็บช�้ำ กลอนบทนไี้ ด้รบั ค�ำวจิ ารณ์

ว่า “บรรยายอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงสมัยเฮอัน

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 17

ที่ต้องเป็นฝ่ายทนทุกข์เฝ้ารอคอยชายคนรักได้อย่างดี 13 บท พบวา่ มกี ลอนหมวดความรัก 4 บท ซง่ึ คดิ เปน็
รอ้ ยละ 30.8 และในสว่ นของกลอนพระราชนพิ นธ์ 8 บท
เยยี่ ม” (โยะฌกิ ะอิ นะโอะโตะ, 2010, น.100) กลอน พบว่ามีกลอนหมวดความรักอยู่เพียง 2 บท ซ่ึงคิดเป็น
いずみしきぶ เพียงร้อยละ 25 เท่าน้ัน จะเห็นได้ว่าปริมาณสัดส่วน
บทท่ี 56 เป็นบทกลอนของอิสุมิฌิกิบุ กลอนหมวดความรักของกลุ่มกวีหญิงมีมากกว่ากวี
(和泉式部) กลุ่มอ่ืนอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่น
ในการแต่งกลอนรักของกลมุ่ กวีหญงิ
กวีที่มีช่ือเสียงและมีเร่ืองเล่าขานเกี่ยวกับความรักของ
หากวเิ คราะหด์ เู นอ้ื หากลอนรกั ของกวหี ญงิ เหลา่ นี้
กวกี บั ผชู้ ายหลายคน ในกลอนบทดงั กลา่ ว กวแี สดงความ จะเห็นได้ว่าต่างก็แสดงอารมณ์เงียบเหงาเปล่าเปลี่ยว
ของกวที ตี่ อ้ งเฝา้ รอคอยคนรกั ใหม้ าหา บา้ งกแ็ สดงความ
ปรารถนาอยากเจอชายคนรกั อกี สกั ครงั้ กอ่ นทตี่ นเองจะ ทุกข์ของกวีที่ต้องเจ็บช�้ำเพราะความรัก ซึ่งสะท้อนให้
เห็นความทุกข์ของผู้หญิงสมัยน้ันที่ต้องตกอยู่ภายใต้
ตายเพอ่ื เปน็ ความทรงจำ� ตดิ ไปยงั ภพหนา้ กลอนบทท่ี 59 สภาพสังคมที่ผชู้ ายมีภรรยาไดห้ ลายคน ผู้หญิงตอ้ งเปน็
ฝ่ายเฝ้ารอให้สามีมาหา สามีมักไปค้างบ้านภรรยาคน
กวีเฝ้ารอคอยชายคนรักจนดึกดื่นจนมองเห็นพระจันทร์ ใหมเ่ ปน็ เวลาหลายคนื ตดิ กนั และละเลยภรรยาเกา่ ทำ� ให้
ภรรยาเก่าต้องเจ็บช้�ำน�้ำใจ กลอนของกวีหญิงส่วนใหญ่
จมภเู ขาทางทศิ ตะวนั ตกซง่ึ แสดงวา่ กวไี ดร้ อคอยอยนู่ าน ทพ่ี บจงึ มกั เปน็ กลอนรกั ทม่ี เี นอ้ื หาตดั พอ้ ฝา่ ยชายทปี่ ลอ่ ย
ให้ตนต้องเฝ้ารอคอยเก้อและแสดงอารมณ์เงียบเหงา
จนฟ้าสาง กลอนบทนีม้ ผี วู้ เิ คราะหไ์ ว้วา่ “กวคี าดหวงั วา่ เปลา่ เปลย่ี วของกวี บา้ งกแ็ สดงอารมณแ์ คน้ เคอื งตอ่ ฝา่ ย
ชายแต่ก็แฝงไว้ด้วยความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ กลอน
ชายคนรักจะมาหาตนแต่กลับต้องผิดหวัง กลอนบทนี้ รักที่แฝงด้วยอารมณ์ความรู้สึกอันลึกซ้ึงของกวีนี้เอง
ที่ท�ำให้บทกลอนมีความงดงาม การถ่ายทอดอารมณ์
แฝงไวด้ ว้ ยอารมณผ์ ดิ หวงั คบั แคน้ ใจของกวที มี่ ตี อ่ ชายคน ความรู้สึกผ่านบทกลอนได้อย่างดีเย่ียมแสดงให้เห็นถึง
ความสามารถของกวีในการประพันธ์กลอน นอกเหนือ
รกั อยา่ งลุ่มลึก” (ซสุ ุกิ ฮิเดะโอะ, ยะมะงุชิ ฌินอชิ ,ิ โยะ ไปจากความสามารถในการใช้กลวิธกี ารประพันธ์ต่าง ๆ

ดะ ยะซุฌิ, 2010, น.75) กลอนบทที่ 65 กวีกลา่ วแสดง เมอื่ หยบิ ยกกลอนของเทะอกิ ะเองใน เฮยี ะกนุ นิ อฌิ ฌุ
มาวิเคราะห์ดูจะพบว่าเป็นกลอนในหมวดความรักและ
ความเจ็บชำ�้ คบั แคน้ ใจตอ่ ชายคนรกั ซงึ่ มีทา่ ทเี ย็นชา กวี มีการใช้กลวิธีการประพันธ์หลายชนิดท่ีเป็นการใช้ค�ำ
เพอ่ื สื่อโยงความหมายหลายทางดว้ ย
จึงได้แต่คร่�ำครวญในโชคชะตาอันน่าคับแค้นใจของตน

โดยบรรยายถึงชายแขนเสื้อท่ีต้องเปียกชุ่มน้�ำตาตลอด

เวลาจนไมม่ ีเวลาจะตากใหแ้ หง้ เป็นการสอ่ื ถงึ ความเจ็บ

ช้�ำใจอย่างยิ่งยวดของกวี จะเห็นได้ว่าบทกลอนเหล่านี้

แม้จะไม่ได้มีการใช้กลวิธีการประพันธ์ใด ๆ เป็นพิเศษ

แต่กลับแสดงอารมณ์ความรู้สึกของกวีที่มีต่อชายคนรัก

ได้อย่างลึกซึ้ง จึงวิเคราะห์ได้ว่าการถ่ายทอดอารมณ์

ความรู้สึกที่มีต่อชายคนรักออกมาในบทกลอนได้อย่าง

ลึกซ้ึงกินใจของกวีหญิงเหล่าน้ีเองท่ีน่าจะท�ำให้เทะอิกะ

เกิดความรู้สึกประทับใจและคัดเลือกบทกลอนเหล่านั้น

ไวใ้ น เฮยี ะกุนินอิฌฌุ

เมื่อลองเปรียบเทียบกับกลอนของกวีชายแล้วจะ

พบว่า กลอนของกวหี ญงิ จำ� นวนทั้งสนิ้ 20 บท มกี ลอน

หมวดความรักอยูถ่ ึง 14 บท ซ่ึงคิดเป็นรอ้ ยละ 70 ใน

ขณะที่กลอนของกวีชายจ�ำนวนท้ังส้ิน 59 บท (ในท่ีน้ี

แยกกลอนท่ีแต่งโดยพระและกลอนพระราชนิพนธ์ こ うら ゆふ

ตา่ งหาก) มีกลอนหมวดความรักอยูเ่ พยี ง 23 บท ซง่ึ คดิ 来ぬ人を まつほの浦の 夕なぎに

や もしほ み

เปน็ เพยี งรอ้ ยละ 39.6 นอกจากน้ี ตามทีผ่ ู้วจิ ยั ไดศ้ ึกษา 焼くや藻塩の  身もこがれつつ

กลอนของกวีที่เป็นพระใน เฮียะกุนินอิฌฌุ จ�ำนวน

18 วารสารเครือข่ายญป่ี ุ่นศึกษา ปที ่ี 6 ฉบับที่ 2 | jsn Journal Vol.6 no.2

เฝ้ารอคอยคนรักท่ีไม่มาหาสักที ตัวฉันจิตใจ จะเห็นได้ว่ากลอนของตัวเองหน่ึงบทท่ีเทะอิกะ
รอ้ นรมุ่ เพราะความรกั เหมอื นกบั เกลอื โมะฌโิ อะ คัดเลือกใส่ไว้ใน เฮียะกุนินอิฌฌุ ก็เป็นกลอนท่ีมีการ
ซ่ึงท�ำมาจากพืชทะเล ท่ีถูกน�ำไปเผาลนไฟใน ใช้ค�ำซ้อนทับพ้องเสียง การใช้ชื่อสถานที่โยงถึงสิ่งอื่น
ยามเยน็ ของอา่ วมะทซ์ ุโฮะ และค�ำสัมพันธ์ จึงเป็นไปได้ว่าเทะอิกะน่าจะช่ืนชอบ
การใช้กลวิธีการประพันธ์ท่ีใช้ค�ำเพ่ือสื่อโยงความหมาย
กลอนบทนเี้ ทะอกิ ะจนิ ตนาการถงึ จติ ใจอนั รอ้ นรมุ่ หลายทางเหล่านี้ ตอนที่เทะอิกะคัดเลือกบทกลอน
ของตัวเองจึงคัดเลือกเอาบทกลอนท่ีมีการใช้กลวิธีการ
ของหญิงสาวท่ีเฝ้ารอคอยคนรักท่ีไม่ยอมมาหาเสียที ประพันธ์เหล่านี้มา อีกท้ังกลอนของตัวเองที่เทะอิกะ
คัดเลือกมานี้ก็เป็นกลอนหมวดความรักท่ีมีความหมาย
เป็นการน�ำกลอนเก่ามาแต่งใหม่โดยกลอนเดิมก็คือ ลึกซึ้ง จึงเป็นไปได้ว่าเทะอิกะน่าจะช่ืนชอบกลอนที่มี
まんようしゅう เน้ือหาเก่ียวกับความรักท่ีสื่ออารมณ์ความรู้สึกอันลึก
กลอนบทที่ 940 ในหนงั สอื รวมกลอนมนั โยฌู ซ้ึงด้วย จึงได้คัดเลือกเอากลอนหมวดความรักน้ีมา
(万葉集) แทนที่จะเป็นหมวดอ่ืน รสนิยมของเทะอิกะเช่นนี้เอง
ท่ีน่าจะเป็นสาเหตุหน่ึงท่ีท�ำให้บทกลอนของกวีหญิงใน
ซึง่ เปน็ กลอนประเภทกลอนยาว ちょうか เนอื้ หากลา่ ว เฮียะกุนินอิฌฌุ ที่เทะอิกะคัดเลือกมามักเป็นกลอนท่ี
แสดงให้เห็นความสามารถของกวีในการใช้กลวิธีการ
(長歌) ประพันธ์ในการใช้ค�ำเพ่ือสื่อโยงความหมายหลายทาง
หรือไม่ก็เป็นกลอนรักที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของกวี
ถึง เกลือโมะฌิโอะ もしお ท่ีท�ำมาจากพืชทะเลที่ ออกมาได้อย่างลึกซ้ึงงดงามแม้ว่าจะไม่ต้องใช้กลวิธี
การประพนั ธใ์ ด ๆ เลยกต็ าม ความงามทแ่ี ฝงดว้ ยอารมณ์
(藻塩) ความรู้สึกอันลึกซ้ึงนี้ยังตรงกับค่านิยมความงามแบบ
อฌุ นิ (有心) อนั เปน็ ลกั ษณะแนวทางกลอนของเทะอกิ ะ
เอาไปเผารนไฟ ในยามเช้าของอ่าวมะท์ซุโฮะในเกาะ ซ่ึงจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในผลงานช้ินอ่ืนของเทะอิกะ
あわじしま ตอ่ ไปหลังจากนดี้ ว้ ย
อะวะจิ ส่วนกลอนท่ีแต่งใหม่นี้เปลี่ยนจาก
(淡路島) 7. บทสรปุ และข้อเสนอแนะ

ภาพยามเช้ามาเป็นยามเย็น โดยยกมาเปรียบกับจิตใจ จากทั้งหมดน้ีจะเห็นได้ว่า กลวิธีการประพันธ์ท่ี
พบบ่อยที่สุดในกลอนของกวีหญิงใน เฮียะกุนินอิฌฌุ
ท่ีร้อนรุ่มกระวนกระวายของหญิงที่เฝ้ารอคอยคนรัก ได้แก่ การใช้ช่ือสถานท่ีโยงถึงส่ิงอื่น การใช้ค�ำซ้อนทับ
พ้องเสียงและค�ำสัมพันธ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลวิธีการ
ภาพควันไฟจากการเผาพืชทะเล เพื่อท�ำเกลือเป็น ใชค้ ำ� เพอ่ื สอ่ื โยงความหมายหลายทาง นอกจากน้ี กลอน
หลายบทในหมวดความรักแม้ว่าจะไม่มีการใช้กลวิธีการ
สัญลักษณ์แสดงถึงจิตใจที่ร้อนรุ่มด่ังไฟลน ของหญิง ประพันธ์ใด ๆ เปน็ พิเศษ แตก่ ลับถา่ ยทอดอารมณ์ความ
รู้สึกของหญิงท่ีเฝ้ารอคอยคนรักและความทุกข์ความ
สาวที่รอคอยคนรัก ซึ่งสุดท้ายการรอคอยก็สูญเปล่า

เน่อื งจากคนรกั ไม่มาหา เปรยี บเหมอื นกบั ควันไฟที่ลอย

หายไปบนท้องฟ้า กลอนบทน้ีใช้กลวิธีการประพันธ์

หลายชนดิ คอื ขอ้ ความวรรคที่ 2 ถึงวรรคที่ 4 まつほ

の浦の 夕なぎに 焼くや藻塩の ซ่งึ กลา่ วถงึ ภาพ

พืชทะเลท่ีถูกเผาเพ่ือท�ำเกลือในยามเย็นของอ่าวมะท์

ซุโฮะน้ันเป็นกลุ่มค�ำขยายน�ำของค�ำว่า こがれつつ

ในวรรคสดุ ทา้ ย โดยในวรรคที่ 2 นนั้ คำ� วา่ まつ เปน็ การ

ใช้ค�ำซ้อนทับพ้องเสียงคือ ถ้าอ่านต่อเน่ืองกับวรรคแรก

เป็น 来ぬ人をまつ จะมีความหมายว่า “รอคอย”

คือ รอคอยคนรักที่ไม่มาหาเสียที แต่ถ้าอ่านต่อไปด้าน

หลังคือ まつほの浦 จะเป็นชื่ออ่าวมะท์ซุโฮะซึ่งเป็น

อ่าวที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของเกาะอะวะจิ ซึ่งช่ือของ

อ่าวมะท์ซุโฮะนี้ก็จะโยงให้ผู้อ่านนึกถึงภาพการเผาพืช

ทะเลเพ่ือท�ำเกลือซ่ึงเป็นภาพที่พบเห็นได้บ่อยในแถบ

น้นั นอกจากนี้ค�ำวา่ 焼く (เผา) และ 藻塩 (เกลอื โมะ

ฌิโอะ) ยังเป็นค�ำสัมพันธ์กับค�ำว่า こがれ (ไหม้)

ในวรรคสุดท้ายดว้ ย

อรรถยา สุวรรณระดา | Attaya Suwanrada 19

ผดิ หวงั ในความรกั ไดอ้ ยา่ งลกึ ซงึ้ งดงามนา่ ประทบั ใจ ไหว บทความวิจัยน้ีเป็นการศึกษาบทกลอน เฮียะ-
พริบในการใช้ค�ำรวมท้ังความสามารถในการถ่ายทอด กนุ นิ อฌิ ฌุ โดยมงุ่ วเิ คราะหเ์ กย่ี วกบั แนวทางการคดั เลอื ก
อารมณ์ความรู้สึกของกวีหญิงเหล่านี้เองที่น่าจะท�ำให้ บทกลอน รวมท้ังลักษณะเด่นของกลอนท่ีแต่งโดยกลุ่ม
บทกลอนได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกจากเทะอิกะ กวีหญิงเท่านั้น หากเป็นกลอนท่ีแต่งโดยกวีกลุ่มอ่ืนเช่น
ให้อยู่ใน เฮียะกุนินอิฌฌุ ความงามที่แฝงด้วยอารมณ์ กลอนท่ีแต่งโดยพระหรือกลอนพระราชนิพนธ์ เป็นต้น
ความรู้สึกอันลึกซึ้งท่ีมักพบในกลอนของกวีหญิงเหล่าน้ี นน้ั อาจมแี นวทางการคดั เลอื กกลอนรวมทงั้ ลกั ษณะเดน่
ยังสะท้อนค่านิยมความงามแบบอุฌินหรือความงามท่ี ของกลอนทแี่ ตกตา่ งออกไป จงึ เปน็ ประเดน็ ทน่ี า่ หยบิ ยก
แฝงดว้ ยอารมณค์ วามรสู้ กึ อนั ลกึ ซงึ้ กนิ ใจอนั เปน็ ลกั ษณะ มาศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะหต์ อ่ ยอดต่อไป
แนวทางกลอนของเทะอิกะ

เอกสารอา้ งอิง (References)

[1] อรรถยา สุวรรณระดา. (2554). ประวตั ิวรรณคดญี ่ปี นุ่ . กรุงเทพฯ : สำ� นกั พิมพ์แห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
[2] (2555). เรียนรู้ 100 บทกวีญีป่ นุ่ โบราณ. กรงุ เทพฯ : ส�ำนกั พมิ พ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

[3] 秋山虔・三好行雄 (2008). 『新日本文学史』 文英堂.
[4] 有吉保 (2002). 『百人一首』 講談社.
[5] 糸井通浩 (1998). 『小倉百人一首を学ぶ人のために』 世界思想社.
[6] 金子武雄 (1978) . 『称詞・枕詞・序詞の研究』 公論社.
[7] 島津忠夫 (1999). 『新版百人一首』 角川書店.
[8] (2007). 「「百人秀歌」が先か、「百人一首」 が先か」」 『国文学解釈と教材の

研究 [9]百人一首のなぞ』 第52巻16号.学燈社.
[10] 鈴木健一 (2007). 『古典詩歌入門』 岩波書店.
[11] 鈴木日出男・山口慎一・依田泰 (2010). 『原色小倉百人一首』 文英堂.
[12] 武井美子・田中敦子 (2001). 『教科書にでてくる日本の古典詩歌―和歌・俳句・川柳』

東京美術.
[13] 田辺聖子 (1991). 『田辺聖子の小倉百人一首』 角川書店.
[14] 錦仁・鬼頭尚義 (2007). 「伝説の中の歌人」」 『国文学解釈と教材の研究百人一首のなぞ』

第52巻16号.学燈社.
[15] 吉海直人 (2010). 『一冊でわかる百人一首』 成美堂出版.
[16] 渡部泰明 (2007). 「表言論 -掛詞・縁語をどう考えるか」 『国文学解釈と教材の研究百

人一首のなぞ』 第52巻16号.学燈社.

หนว่ ยงานผ้แู ตง่ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
Affiliation: Faculty of Arts, Chulalongkorn University
corresponding e-mail: [email protected]

20 วารสารเครือขา่ ยญปี่ นุ่ ศกึ ษา ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 2 | jsn Journal Vol.6 no.2


Click to View FlipBook Version