รายงาน
เรื่อง การเลือกซื้ออาหารกระป๋ อง
จัดทำโดย
1.นายณัฎฐนิช สมประดี เลขที่6
2.เด็กชายณัฐศิศ พุ่มทองคำ เลขที่8
3.เด็กหญิงปทิดา งามสันเทียะ เลขที่ 31
4.เด็กหญิงพัฒน์นรี เชียรจันทึก เลขที่35
5.นางสาวสริดา วัฒนา เลขที่44
เสนอ
ครู ศิริรักษ์ สมพงษ์
วิชาการงาน3 ง23201
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพ 3 (23201)
มัธยมศึกษาปีที่ 3/12เพื่อให้ได้ใช้ในการศึกษาในเรื่องการเลือกซื้ออาหารกระป๋ องและ
ศึกษาอย่างเข้าใจในการเลือกซื้ออาหารกระป๋ องในชีวิตประจำวันและเป็นสื่อการเรียน
การสอนโดยผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็ นประโยชน์กับผู้อ่านนักเรียนหรือ
นักศึกษาที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัด
ทำขอน้ อมรับและอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
นายณัฎฐนิช สมประดี เลขที่6
เด็กชายณัฐศิศ พุ่มทองคำ เลขที่8
เด็กหญิงปทิดา งามสันเทียะ เลขที่ 31
เด็กหญิงพัฒน์นรี เชียรจันทึก เลขที่35
นางสาวสริดา วัฒนา เลขที่44
สารบัญ
เรื่ อง
หน้ า
คำนำ ก
ข
สารบัญ 1-2
3-5
ประวัติความเป็นมาของอาหารกระป๋ อง 6
7-8
ขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋ อง 9
10
ชนิดของอาหารกระป๋ อง 11
12
ตัวอย่างอาหารกระป๋ อง
การเลือกซื้ออาหารกระป๋ อง
วิธีการเก็บรักษาอาหารกระป๋ อง
ข้อดี-ข้อเสียของอาหารกระป๋ อง
บรรณานุกรม
ประวัติความเป็นมาของอาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋ องหรือ Canned food ในภาษาอังกฤษ คืออาหารที่ผ่าน
กระบวนการถนอมอาหาร(food preservation)ประเภทหนึ่ง ด้วย
กระบวนการใช้ความร้อน (thermal processing)โดยการนำอาหารหรือ
วัตถุดิบต่าง ๆ มาบรรจุในกระป๋ อง ซึ่งเป็นภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่มี
การปิดผนึกอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้อากาศผ่านเข้าออก หลังจากนั้นจะ
นำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ซึ่งจะทำให้อาหารกระป๋ องสามารถเก็บไว้
ได้นานโดยอาหารกระป๋ องบางประเภทสามารถเก็บไว้ได้นานมากกว่า 3
ปีเลยทีเดียว แต่การเก็บอาหารกระป๋ องจะต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่
เหมาะสมกับอาหารกระป๋ องประเภทนั้น ๆ
กระบวนการผลิตอาหารกระป๋ อง (canning) เป็นวิธีการถนอมอาหาร
ประเภทหนึ่ง ซึ่งในเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการใช้ความ
ร้อน(thermal processing) ที่ค้นคิดโดย Nicholas Appert ในปีค.ศ.
1809 การผลิตอาหารกระป๋ องเป็นกระบวนการถนอมอาหารโดยใส่ใน
ภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื่อ มีหลักการของกระบวนการคือ บรรจุอาหารใน
ภาชนะปิดผนึกสนิท (hermectically sealed container) เช่น
กระป๋ อง(can) ถุงทนร้อนสูง (retort pouch) หรือขวดแก้วแล้วฆ่าเชื้อ
ด้วยความร้อน โดยใช้อุณหภูมิและเวลาตามทีกำหนด (shcedual
process) ในระดับความร้อนที่เรียกว่า commercial steriliztion เพื่อให้
อาหารปลอดภัยจากจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย
ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ โดยไม่เสียเป็นเวลา
อย่างน้ อย 6 เดือน หรืออาจจะมากกว่า 3 ปีในอาหารกระป๋ องบาง
ประเภทโดยบุคคลแรกที่เป็ นผู้ประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษา
อาหารได้เป็นชาวเปอร์เซียนที่ชื่อ นิโคลัส แอปเปิท ซึ่งได้รับ
พระราชทานรางวัลจากจักรพรรดิ์นโปเลียนของฝรั่งเศส ในฐานะที่เป็นผู้
คิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาอาหารไว้
1
เพื่ อเป็ นสเบียงแก่ทหารโดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้เริ่มแรกจะเป็ นขวด
แก้วที่มีจุกปิดที่สนิทแน่น และสามารถนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ซึ่ง
ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ โดยการนำกระป๋ องโลหะมาแทนขวดแก้วโดย
ชาวอังกฤษที่ชื่อ ดอนกิ้น และฮอลล์ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความ
นิยมและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
2
ขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋อง
1. การเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation) เพื่อเตรียมวัตถุดิบ
ให้อยู่ในรูปที่พร้อมสำหรับการบรรจุกระป๋ อง
-การทำความสะอาด (cleaning)
-การปอกเปลือก (peeling)
-คัดขนาด (sizing)
-การคัดเกรด (grading)
-การลดขนาด (size reduction)
-การลวก (blanching)
2. การบรรจุ (filling) อาหารที่บรรจุ อาจเป็นของเหลวอย่างเดียว เช่น
น้ำผลไม้ ของแข็ง เช่น ชิ้นผลไม้ ชิ้นเนื้อ ผสมกับส่วนที่เป็นของเหลว
เช่นน้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำมัน ซอส ในการบรรจุจะต้องบรรจุให้อาหารมี
ปริมาตร
3
บรรจุ (ไม่บรรจุจนเต็มพอดี เพราะระหว่างการให้ความร้อนจะมีการขยายตัว
ของของเหลว
3. การไล่อากาศ (exhausting) เพื่อให้ภายในกระป่องมีสภาวะเป็นสุญญากาศ
(vacuum) เพื่อยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และป้ องกัน
ปฏิกิริยาเคมีที่จะเกิดกับอาหาร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สี กลิ่นและ
รสชาติ ทำได้โดยการพ่นไอน้ำร้อนไปที่ผิวหน้ าของอาหาร ด้วยเครื่องไล่
อากาศ (exhauster) เมื่อปิดฝา ไอน้ำร้อนจะควบแน่น ทำให้ที่ว่างเหนือ
กระป๋ องเป็นสุญญากาศ หรืออาจใช้การ ดูดอากาศออกก่อนการปิดผนึก
4. ปิดผนึกสนิท (hermitically seal) โดยใช้ hermectically sealed
container เพื่อป้ องกันไม่ให้จุลินทรีย์ และสิ่งปนเปื้ อนจากภายนอกรวมทั้ง
ไอน้ำ อากาศ ผ่าน เข้าไปภายในบรรจุภัณฑ์ ภายหลังการฆ่าเชื้อแล้ว การปิด
ฝากระป๋ องใช้เครื่องปิดฝากระป๋ อง (double seam)
5. การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) โดยการใช้ความร้อน
เพื่อทำลายจุลินทรีย์ ให้เพียงพอกับการฆ่าเชื้อระดับการค้า(commercial
sterilization) ตามอุณหภูมิและระยะเวลาที่กำหนด (schedule process)
การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส จะทำใน retort
ซึ่งเป็นหม้อฆ่าเชื้อภายใต้ความดันสูง หากฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ100 องศา
เซลเซียส หรือต่ำกว่าสามารถค่าเชื้อในหม้อต้ม (cooker) ที่ความดันบรร
ยกาศปกติใด้ เพื่อให้อาหารปลอดภัยและเก็บรักษาไว้ได้ในระยะเวลาที่
กำหนด
4
6. การทำให้เย็น ภายหลังการฆ่าเชื้อแล้วต้องทำให้เย็นทันที เพื่อป้ องกันไม่ให้
แบคทีเรียที่ทนร้อน (thermophilic bacteria) ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่เจริญได้ การทำ
เย็นทำได้โดยใช้น้ำเย็นที่สะอาด
5
ชนิดของอาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋ องสามารถแบ่งตามค่า pH ได้เป็น 2 ประเภท
1.low acid food หรืออาหารกรดต่ำ คือ อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์
อาหาร ที่มี pH มากกว่า 4.6 และมีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water
activity) มากกว่า 0.85 ไม่รวมเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ (alcoholic
beverage) และไม่รวมมะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ที่มี
pH ของผลิตภัณฑ์ในภาวะสมดุล (equilibrium pH) น้ อยกว่า 4.7
อาหารที่เป็นอาหารกรดต่ำได้แก่ อาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ อาหาร
ทะเล นม อาหารกลุ่มนี้เป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับจุลินทรีย์หลาย
ชนิดทั้ง รา ยีสต์และ แบคทีเรีย โดยเฉพาะจุลินทรีย์ทีทำให้เกิดโรค
(pathogen) รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการอาหารเน่าเสีย (food
spoilage) จึง เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงที่จะเน่าเสียง่าย และ มีโอกาส
ที่จะเป็ นอันตรายต่อผู้บริโภคหากไม่ได้ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร
ที่ถูกวิธี
2.acid canned food หรือ อาหารกระป๋ องประเภทกรด หมายถึง
อาหารกระป๋ อง (canned food) ซึ่งแปรรูปด้วยกระบวนการผลิต
อาหารกระป๋ อง (canning) โดยใช้อาหารประเภทกรด (acid food)
เป็นวัตถุดิบ ได้แก่ สับปะรด มะเขือเทศ น้ำสับปะรด ลิ้นจี่ ผักกาด
ดอง มะม่วงอาหารมี pH สมดุลต่ำกว่า 4.6
6
ตัวอย่างของอาหารกระป๋อง
ผลไม้กระป๋ องผลไม้สำหรับทำผลไม้กระป๋ อง (canned fruit) ควรเป็นผล
ไม้สด เนื้อแน่น ผลสุกเต็มที่ มีสีสันและความสุกสม่ำเสมอ ต้องผ่านการ
ล้างให้สะอาด โดยทั่วไปจะมีการปอกเปลือก แยกเมล็ดและตัดแต่งให้รูป
ร่างสวยงาม ขนาดเท่าๆกัน ถ้าเนื้อนิ่มไปอาจแช่ด้วยสารละลายแคลเซี่ยม
คลอไรด์ 0.1-1.0% อาจแช่น้ำเกลือหรือสารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์หาก
มีการเปลี่ยนสีระหว่างการเตรียม ภาชนะบรรจุส่วนใหญ่ใช้กระป๋ อง ขวด
หรือภาชนะปิดมิดชิดที่ล้างสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว ในการบรรจุมีการเติมน้ำ
เชื่อม หรือน้ำผลไม้จนเกือบเต็ม จากนั้นจึงไล่อากาศโดยการนึ่ง หรือผ่าน
เข้าเครื่องไล่อากาศ ผนึกปิดฝาให้สนิททันที หลังจากนั้นจึงนำกระป๋ องไป
ฆ่าเชื้อด้วยความร้อน แล้วทำให้เย็นลงทันที ทำให้แห้ง เก็บไว้ในที่เย็น ปิด
ฉลาก บรรจุกล่องแล้วนำออกจำหน่ายต่อไป
ผักกาดดองกระป๋ องผักดอง ผักกาดหางหงส์ กะหล่ำปลี แตงกวา ขิง และ
ผักชนิดอื่นๆ สามารถนำมาดอง โดยต้องเป็นผักสด เนื้อแน่น แก่อ่อนพอ
เหมาะ สม่ำเสมอเท่าๆกัน สะอาด ผ่านการล้าง คัด แล้วให้ความร้อนสั้นๆ
แบบพาสเจอร์ไรซ์ (pasturization) เพื่อทำลายเอนไซม์ ซึ่งจะทำให้ผักเสีย
รส จากนั้นจะปอกเปลือก หั่น ตัด อาจดองเค็มด้วยเกลือความเข้มข้นต่ำ
ประมาณ 2-3% ความเข้มข้นสูง 10-25% หรือดองเปรี้ยวด้วยน้ำส้มสายชู
อาจเติมเครื่องเทศ และปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ หรือซีอิ๊ว แล้วบรรจุ
ภาชนะ เช่น กระป๋ อง หรือขวดแก้ว นึ่งไล่อากาศก่อนปิดฝาภาชนะ นึ่งอีก
ครั้งเพื่อฆ่าเชื้อ ภายใต้ความดันและเวลาที่กำหนด แล้วต้องรีบทำให้เย็นลง
ทันทีเกือบเท่าอุณหภูมิห้อง จากนั้นทำให้แห้ง เก็บไว้ในที่เย็น ปิดฉลาก
และนำออกจำหน่าย ผักดองสูญเสียวิตามินซีไปมากในระหว่าง
กระบวนการผลิต โดยเฉพาะในขั้นตอนการล้าง และการหมัก
7
ปลากระป๋ อง
ปลากระป๋ อง เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก ปลาเป็นวัตถุดิบหลัก ปลาที่ใช้
ผลิตปลากระป๋ อง ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมก
เคอเรล เป็นต้น อาจจะบรรจุในนํ้าเกลือ นํ้ามันพืช ซอสมะเขือเทศ น้ำแร่
หรืออื่นๆ กระบวนการผลิตปลากระป๋ อง เป็นการแปรรูปเพื่อการถนอม
อาหาร (food preservation) โดยการใช้ความร้อน (thermal
processing) ปลากระป๋ องจัดเป็น กลุ่มอาหารที่เป็นกรดต่ำ (low acid
food) บรรจุในภาชนะที่ปิดผนึกสนิท (hermectically sealed
container)
8
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
1.ดูลักษณะกระป๋ อง ไม่บุบบี้ หรือ โป่งพอง ตะเข็บหรือรอยต่อต้อง
เรียบร้อยและแน่นหนา กระป๋ องต้องไม่เป็นสนิม
2.เมื่อกดนิ้วลงไปบนฝากระป๋ องแล้วยุบลงไป หรือส่วนอื่นของฝากระป๋ อง
หรือพองออก ไม่ควรเลือกอาหารกระป๋ องนั้น
3.เมื่อเขย่ากระป๋ อง ถ้ามีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ ไม่ควรซื้อหรือ
บริโภคอาหารในกระป๋ องนั้น
4.เมื่อเปิดกระป๋ อง ถ้ามีอากาศ (ลม) พุ่งออกมาจากภายในกระป๋ อง ห้าม
บริโภคอาหารซึ่งบรรจุในกระป๋ อง
5.เมื่อเปิดกระป๋ องแล้วได้กลิ่นบูดเน่าหรือกลิ่นผิดปกติ ห้ามบริโภคอาหารใน
กระป๋ องนั้นเด็ดขาด
6.เมื่อเทอาหารออกจากกระป๋ องแล้ว ถ้าภายในกระป๋ องมีสนิมรอยถลอก
หรือรอยด่างของโลหะ ไม่ควรบริโภคอาหารในกระป๋ องนั้นเช่นเดียวกัน
7.ควรดูฉลากและสังเกตวันเดือนปีที่ผลิตอาหารกระป๋ องนั้น ไม่ควรซื้อหรือ
บริโภคอาหารกระป๋ องที่เก็บไว้นาน เพราะทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง
9
วิธีการเก็บรักษาอาการกระป๋อง
1.เปิดแล้วและเหลือ ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่นๆ เช่น ภาชนะแก้วมีฝาปิดแล้ว
เก็บไว้ในตู้เย็น
2.ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋ องไว้นาน ควรเลือกบริโภคอาหารกระป๋ องที่ยัง
อยู่ในสภาพดี สังเกต วัน เดือน ปี ที่หมดอายุด้วย
3.ควรเก็บอาหารกระป๋ องไว้ในที่แห้งและเย็น แต่ไม่อับชื้นและไม่ถูก
แสงแดด ป้ องกันการเสียและเป็นสนิมเร็วกว่าปกติ
4.เก็บอาหารกระป๋ องไว้ในที่สูง มากกว่า 60 เซนติเมตร เพื่อป้ องกันความ
สกปรกจากพื้นและสัตว์นำโรค
5. ถ้ากระป๋ องไม่ได้เปิดและไม่ได้รับประทานควรเก็บไว้ในที่เย็นไม่เกิน 3
วัน
6. สําหรับขวดแก้วและวัสดุโปร่งใสยังสามารถให้ความสนใจเพื่ อหลีกเลี่ยง
การจัดเก็บแสง
7.กระป๋ องที่ปิดสนิทสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องเนื่องจากอาหาร
กระป๋ องมีการพาสเจอร์ไรส์จึงไม่มีแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคและสามารถ
ทำได้ที่อุณหภูมิห้อง
10
ข้อดี-ข้อเสียของอาหารกระป๋อง
ข้อดี
1.ราคามาตรฐาน ราคาถูก
2.สะดวก หาซื้อง่าย
3.เก็บไว้ได้นาน
4.ไม่ต้องดูแลมากนัก
ข้อเสีย
1.สารอาหารน้ อย
2.มีโอกาศได้รับสารปนเปื้ อนสูง
3.ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการเลือกซื้อ
11
บรรณานุกรม
https://sites.google.com/site/joon5604041616081/home/khxdi-khx-seiy
https://medium.com/@dcleanfood/dcleanfood-com-อาหารกระป๋ อง-canned-
food-อาหารของคนยุคใหม่-1fbd458e97c7
https://www.posttoday.com/life/healthy/589507
12
บทละคร
เรื่องหนูปลาจอมขี้เกียจ
จัดทำโดย
1.นายณัฎฐนิช สมประดี เลขที่6
2.เด็กชายณัฐศิศ พุ่มทองคำ เลขที่8
3.เด็กหญิงปทิดา งามสันเทียะ เลขที่ 31
4.เด็กหญิงพัฒน์นรี เชียรจันทึก เลขที่35
5.นางสาวสริดา วัฒนา เลขที่44
เสนอ
ครู ศิริรักษ์ สมพงษ์
วิชาการงาน3 ง23201
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
ครอบครัวนีงมีลูกสาวทั้งหมด2คนมีพี่สาวคนโตชื่อหนูมุกน้ องสาวชื่อหนูปลาทั้งสอง
อาศัยอยู่กับพ่อและแม่หนูมุกนั้นมีนิสัยที่ขยันไม่ขี้เกียจตั้งใจเรียนทำงานส่งครู หนู
ปลานั้น มีนิสัยที่ขี้เกียจ เอาแต่ใจ ชอบทำให้คนในบ้านปวดหัวตลอด
แม่: วันนี้แม่จะไปซื้อของที่ตลาดมาทำกับข้าว หนูมุก หนูปลามีใครจะไปกับแม่
มั้ย?
หนูมุก: หนูไปค่ะจะได้ช่วยแม่ถือของด้วย
หนูปลา: ไม่เอาอะแดดก็ร้อน หนูนอนที่บ้านดีกว่า
แม่: แต่แม่จะไปตลาดนอกนะ อยู่ไกลคงจะไปนานหน่อยกลัวหนูจะหิว
หนูปลา: เอาตังค์ไว้ให้หนูก็ได้ เดี๋ยวหนูไปซื้ออะไรกินแถวนี้
แม่: ไปกับแม่หน่อยก็ไม่ได้ เอาแต่ กิน นอน ไม่ดูพี่เขาเป็นตัวอย่างบ้าง
หนูปลา: ก็หนูขี้เกียจเดินหนิ
แม่: (ส่ายหัว)งั้นอะนี้แม่วางตังค์ไว้ให้ตรงนี้นะ ปะหนูมุกไปกัน
ผ่านมา 2 ชั่วโมง
หนูปลา: ซื้ออะไรกันเยอะแยะถึงไปนานกันขนาดนี้เห้อ
ณ ร้านค้า
หนูปลา: แม่น่าจะหุงข้าวไว้ ซื้อปลากระป๋ องไปกินดีกว่า
แม่ค้า: ดูวันหมดอายุดีๆนะลูก
หนูปลา: ดูทำไม ก็กินได้หมดนั้นแหละ
จ่ายตังค์เสร็จ
ที่บ้าน
หนูปลา: หวิ ๆๆๆๆ(นำปลากระป๋ องมาเท) หึ ทำไมสีมันแปลกๆ เอ๊ะละทำไมมันมี
เส้นอะไรด้วยละเนี่ย เนื้อปลาละมั้ง ชั่งมันเถอะ
หนูปลาก็กินอาหารที่ตัวเองซื้อมาโดยที่ไม่รู้ว่าอาหารกระป๋ องนั้นหมดอายุแล้ว
หนูปลา: อิ่มแล้ว สบายท้องและไปนอนดีกว่า
1 ชั่วโมงต่อมา
แม่: กลับมาแล้วจ้า ฮึ!! หนูปลากินข้าวทำไมไม่เอาไปเก็บให้เรียบร้อยเนี่ยหืม!!
หนูปลา: แม่หนูปวดท้อง¡-¡
แม่: ไปกินอะไรมาล่ะ
หนูปลา: กินข้าวกับปลากระป๋ อง
หนูมุก: นี่มันหมดอายุแล้วนะ(หยิบกระป๋ องปลากระป๋ องขึ้นมาดู)
หนูปลา: อะไรนะ ถึงว่าทำไมสีมันแปลกๆ
แม่: ทำไมไม่ดูดีๆก่อนซื้อมาล่ะ
หนูปลา: ก็ขี้เกียจดูนิ โอ้ย ปวดท้อง
แม่: น่าตีให้แขกหักเลย!!มัวแต่ขี้เกียจไม่ยอมดูอะไรเลยเป็นยังไงเนี่ยห๊ะ!!
หนูปลา: หนูขอโทษ ฮือ!! ต่อไปจะดูให้ดีกว่านี้แล้วค่ะ
แม่: พ่อกลับมาพอดีให้พ่อพาน้ องไปหาหมอไปหนูมุก
หนูมุก: ค่ะแม่
ละครเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรจะดูวันหมดอายุให้ดีก่อนนำมารับประทาน