(HRMIS For E-PENSION)
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
กองการบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร
E - BOOK
ที่มาของการพัฒนาระบบ
(HRMIS For E-PENSION)
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
กองการบริหารงานบุคคล ได
้นำกระบวนการจัดการความรู้
มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามนโยบายของ
มหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานนำการจัดการความรู้มาใช้
ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ที่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยจะได้รับ
กองการบริหารงานบุคคล จึงพัฒนาระบบ Human
Resource Management Information System (HRMIS For
E-PENSION) เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยชน์
ที่จะได้รับในอนาคตและนำไปวางแผนการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุ
ราชการ
เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
ประกันสังคมในประเทศไทยมีที่มาอย่างไร
เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง
มีวิธีการคำนวณอย่างไร และขอรับเงินได้ที่ไหน
มีขั้นตอนอะไรบ้าง
ที่มา
https://www.sso.go.th (สำนักงานประกันสังคม)
https://money.kapook.com/view197343.html
Financial ที่มาของการประกันสังคมในประเทศไทย
Services Offered
การประกันสังคมเกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้
การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน โดยในปีแรกของการ
ให้ความคุ้มครองจะครอบคลุมเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป
ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด
ทั่วประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ.2533 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา ประเทศไทย
จึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม เป็นไปตามสิทธิประโยชน์
ที่ผู้ประกันตนพึงได้รับตามที่กฎหมายบัญญัติ ตามมาตรา 77 แห่งพระราช
บัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกัน
สังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 บัญญัติให้การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
Financial เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม คืออะไร
Services Offered
เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ คือเงินที่จะได้รับเมื่อเกษียณ
อายุราชการ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า
หากจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาท/เดือน จะถูกหักเงิน
เข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท
เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม ใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 39
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สิทธิประโยชน์จากเงินสมทบของผู้ประกันตนและนายจ้าง
เงินสมทบ
สิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน นายจ้าง ท่านจะได้รับ
เจ็บป่วย , ทุพลภาพ , 225 225 - การบริการทางการแพทย์
เสียชีวิต , คลอดบุตร - ค่ารักษาพยาบาล กรณีทุพลภาพ
- ค่าทำศพ + เงินสงเคราะห์
- ค่าคลอดบุตร
สงเคราะห์บุตร , ชราภาพ 450 450 - ตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี ได้รับเงินสงเคราะห์เดือนละ
800 บาท/คน/ เดือน ไม่เกิน 3 คน
- อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเงิน
บำเหน็จชราภาพ
- อายุครบ 55 ปี สมทบ 180 เดือนขึ้นไป ได้รับเงิน
บำนาญชราภาพ
ว่างงาน 75 75 - เลิกจ้าง ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ปีละ
750 750 ไม่เกิน 6 เดือน
รวม
- ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
ได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 3 เดือน
เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม จ่ายอย่างไร
เงินบำเหน็จชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ
1. จ่ายเป็นก้อนเดียว 1. จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต
2. ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน 2. ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน
3. มีอายุครบ 55 ปี หรือพิการ 3. มีอายุครบ 55 ปี
หรือถึงแก่ความตาย หรือถึงแก่ความตาย
4. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 4. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
หรือออกจากงาน หรือออกจากงาน
5. ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
วิธีคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ (ปี) ร้อยละของค่าจ้างเดือนสุดท้าย (%) เงินบำนาญชราภาพที่ได้รับ
จำนวนเงิน (บาท/เดือน)
15 - 20 20.00 - 27.50 3,000 - 4,125
21 - 25 29.00 - 35.00 4,350 - 5,250
26 - 30 36.50 - 42.50 5,475 - 6,375
31 - 35 44.00 - 50.00 6,600 - 7,500
วิธีคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
จ่าย 1 – 11 เดือน จ่าย 180 เดือน จ่าย 180 เดือน
ขึ้นไป
ได้รับเงินสมทบผู้ประกันตน ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน
ฝ่ายเดียว สุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน จ่ายเพิ่มให้เดือนละ 1.5% เช่น
15,000 บาท) x 20% (ส่ง 20 ปี)
เช่น 15,000x20% = 3000 บาท [1.5% x (20 ปี – 15 ปี = 5 ปี)]
= 7.5%
จ่าย 12 – 179 เดือน ดังนั้น 20% + 7.5% = 27.5%
ได้รับเงินสมทบผู้ประกันตน เงินบำนาญที่จะได้รับ
+ เงินสมทบนายจ้าง 15,000 x 27.5% = 4,125 บาท
กรณีส่งเงินสมทบไปแล้ว 10 ปี แล้วลาออกตอน
อายุ 40 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ
ประกันสังคมหรือไม่?
คำตอบ ได้รับ แต่จะได้รับในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ
ตามจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่
นายจ้างสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ โดยจะไม่มี
สิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพ เพราะว่าผู้ประกันตนส่งเงิน
สมทบไม่ถึง 15 ปี (180 เดือน)
กรณีส่งเงินสมทบไปแล้ว 15 ปี แต่อายุยังไม่ถึง 55 ปี
จะขอรับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
ได้หรือไม่?
คำตอบ หากส่งเงินสมทบครบ 15 ปี แล้วลาออก
ยังไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกัน
สังคม เพราะจะได้รับเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
เท่านั้น
กรณีส่งเงินสมทบไปแล้ว 15 ปี แล้วลาออกจาก
ประกันสังคมมาตรา 33 มาสมัคร มาตรา 39
จะได้รับเงินเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
หรือไม่?
คำตอบ เมื่ออายุครบ 55 ปี มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ
ชราภาพเหมือนเดิม แต่ที่สำคัญคือ ถ้าลาออกจากผู้ประกันตน
มาตรา 33 แล้วมาสมัคร มาตรา 39 การคิด ฐานเงินเดือนขั้นต่ำ
จะเปลี่ยนไป จากเดิม มาตรา 33 ฐานเงินเดือนขั้นต่ำสูงสุดอยู่ที่
15,000 บาท จะเหลือเพียงเดือนละ 4,800 บาท หากเปลี่ยนมาเป็น
ผู้ประกันตน มาตรา 39 นั่นหมายความว่า เวลาคำนวณเงินบำนาญ
ชราภาพ จะคิดจากฐานเงินเดือนที่น้อยลงตามไปด้วยทันที
กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ทายาท
ขอรับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
แทนได้หรือไม่?
กรณีนี้ทายาทจะมีสิทธิ์ขอรับเงินดังกล่าวแทน แต่จะได้เป็น
เงินบำเหน็จชราภาพเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์รับเป็นเงินบำนาญ
ชราภาพ โดยทายาทที่มีสิทธิ์ ได้แก่
1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม
หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่ น
2. สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
3. บิดา-มารดาที่มีชีวิตอยู่
กรณีเสียชีวิตหลังรับเงินบำนาญ การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ
ชราภาพประกันสังคมไม่ถึง 5 ปี ประกันสังคมต้องดำเนินการภายในกี่ปี
ทายาทมีสิทธิ์รับเงินที่เหลือหรือไม่? หลังลาออกจากกองทุนประกันสังคม?
คำตอบ กรณีรับเงินบำนาญไปแล้วไม่ถึง คำตอบ การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ
5 ปี หรือ 60 เดือน แต่ผู้ประกันตนเสีย ชราภาพ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน
ชีวิต ในกรณีนี้ทายาทจะมีสิทธิ์ได้รับเงิน 1 ปี หลังจากลาออกจากกองทุนประกันสังคม
บำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของ โดยระยะเวลาห้ามเกินจากนี้ เพราะจะถูกตัด
เงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับก่อน สิทธิ์รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพทันที
เสียชีวิต
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องดำเนินการด้วยตนเอง
ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา
การขอรับเงินเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง?
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
2. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและ
เลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ
(กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มีธนาคารที่รองรับ 11 ธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ,
ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทย,
ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย,
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร
กรณีทายาทขอรับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม(แทน)
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม กรณีขอรับเงินบำเหน็จ
บำนาญชราภาพแทน (สปส. 2-01)
2. สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ์รับเงิน
บำเหน็จบำนาญชราภาพ
4. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (ถ้ามี)
5. สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
6. หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
ของผู้ยื่นคำขอฯ
(กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) โดยการยื่นขอรับเงินให้ผู้ประกันตนหรือทายาทที่มี
สิทธิ์กรอกแบบ สปส.2-01 ลงลายมือชื่อ พร้อมแนบหลักฐานต่าง ๆ นำมายื่นที่สำนักงาน
ประกันสังคมกรุงเทพมหานครตามเขตพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา
(ยกเว้นสำนักงานใหญ่ และยกเว้นการยื่นเรื่องผ่านทางไปรษณีย์)
ระยะเวลาในการขอรับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
- เงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับภายใน 7-10 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ)
หลังจากได้รับการอนุมัติ
- เงินบำนาญชราภาพ หลังจากได้รับการอนุมัติ จะมีเงินโอนเข้าบัญชี
ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป
กรณีอยู่ระหว่างรับเงินบำนาญชราภาพประกันสังคม
แล้วกลับมาทำงานเป็นผู้ประกันตน จะได้รับเงินบำนาญ
ชราภาพต่อหรือไม่?
กรณีนี้จะไม่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ เพราะผู้ที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพจะ
ต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา
33 หรือ มาตรา 39 อีกครั้ง จะหยุดจ่ายเงินบำนาญชราภาพทันที
วิธีการตรวจสอบเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคมจะส่งหนังสือแจ้งยอดเงินสมทบให้
ผู้ประกันตนอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเช็คยอดเงินสะสมด้วย
ตนเอง ก็สามารถตรวจสอบได้ตามช่องทางนี้
- เข้าไปติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่สำนักงานประกันสังคม
กรุงเทพมหานครตามเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
- โทร. สอบถาม สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
(ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
- ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม
https://www.sso.go.th
ระบบที่กองการบริหารงานบุคคลพัฒนาขึ้น
(HRMIS For E-PENSION)
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
(HRMIS For E-PENSION
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ
ประกันสังคม
ระบบทำงานอย่างไร และระบบ
บอกอะไรเราบ้าง?
ข้อมูลที่ปรากฏในระบบ (HRMIS For E-PENSION)
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
01 : ข้อมูลส่วนตัว
02 : จำนวนเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพที่จะได้รับ
- ชื่อ - นามสกุล ข้อมูลตามระบบแจ้งให้ทราบว่า ณ ปีที่เกษียณ
- ตำแหน่ง อายุราชการผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จ
- หน่วยงานที่สังกัด หรือเงินบำนาญชราภาพเป็นจำนวนเงินเท่าไร
- วันที่บรรจุ
- ปีที่เกษียณอายุราชการ *** ทั้งนี้เป็นการประมาณการ
03 : คำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพด้วยตนเอง
หากอยากทราบข้อมูลจำนวณเงิน ณ ปีปัจจุบัน สามารถกรอกข้อมูลได้
โดยระบุปีเกษียณอายุราชการที่ต้องการทราบ ระบบจะแจ้งข้อมูล ดังนี้
*** กรณีอายุงานตั้งแต่ 15 ปี (หรือตั้งแต่ 180 เดือน) ตามเงื่อนไขที่ประกัน
สังคมกำหนด ระบบจะขึ้นจำนวนเงินบำนาญที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
***กรณีอายุงานยังไม่ครบ 15 ปี (หรือ 180 เดือน) ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคม
กำหนด ระบบจะขึ้นจำนวนเงินบำเหน็จที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
Example : การเข้าใช้งานในระบบ
(HRMIS For E-PENSION)
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคม
Link : เข้าสู่ระบบ
https://hrmis.nu.ac.th
log in เข้าสู่ระบบโดยกรอก
User และ password
ของ Nu
คลิกไปที่ E-PENSION
ระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ
ประกันสังคม
ข้อมูลที่ปรากฏในระบบ E-PENSION
ข้อมูลที่ปรากฏในระบบ E-PENSION
*** หมายเหตุ ในระบบคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ
ประกันสังคมที่กองการบริหารงานบุคคลพัฒนาขึ้นนั้น เป็นเพียง
การประมาณการ โดยใช้ฐานเงินเดือนล่าสุดและระยะเวลาการ
ทำงานที่เริ่มทำงานในมหาวิทยาลัยนเรศวร กรณีเคยทำงานที่อื่น
มาก่อน ให้ระบุเงื่อนไขด้วยตนเอง
ที่ปรึกษา
รศ.ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ (รองอธิการบดี)
ผู้อำนวยการกองการบริหารงานบุคคล
ฝ่ายพัฒนาระบบ (HRMIS For E- PENSION)
คุณศุภฤกษ์ วรนุช
ฝ่ายรวบรวมข้อมูลและจัดทำ e-book
คุณพิชญ์สินี บริรุ่งมงคล