The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จุดมุ่งหมายในการทำสมาธิ
ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
ประเภทของการทำสมาธิ
วิธีการทำสมาธิ
ขั้นตอนในการฝึกอานาปานสติสมาธิ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pay_1039, 2021-10-11 01:01:56

การทำสมาธิ

จุดมุ่งหมายในการทำสมาธิ
ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
ประเภทของการทำสมาธิ
วิธีการทำสมาธิ
ขั้นตอนในการฝึกอานาปานสติสมาธิ

Keywords: การทำสมาธิ

การฝึกจิตตั้งมั่นกับสิ่งใด
สิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว

การทำสมาธิ

นางสาวศิรินทิพย์ เศษแสนโมก





คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบในการเรียนการ
สอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
การสื่อสาร การศึกษาและการเรียนรู้(ED13201) ซึ่งผู้จัดทำได้รับมอบหมาย
จากอาจารย์ผู้สอนให้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสาร วารสาร
อินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการ
ค้นคว้า และนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าหามาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็น
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและอาจารย์ต่อไป

ผู้จัดทำได้ไปศึกษาค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลักของการทำสมาธิ ซึ่งผู้จัดทำ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
และผู้นำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามคาดหวัง

นางสาวศิรินทิพย์ เศษแสนโมก
ผู้จัดทำ

ข ก

สารบัญ 1
1

1
หน้า 2
2
คำนำ 3
สารบัญ 5
การทำสมาธิ 6
จุดมุ่งหมายในการทำสมาธิ
ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
ประเภทของการทำสมาธิ
วิธีการทำสมาธิ
ขั้นตอนในการฝึกอานาปานสติสมาธิ
อ้างอิง
ผู้จัดทำ

1

การทำสมาธิ

การทำสมาธิคือ การฝึกจิตตั้งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว



จุดมุ่งหมายในการทำสมาธิ

1.เพื่อละความชั่วในใจออกไป ทำจิตใจมั่นคง สงบเยือกเย็น แจ่มใสไม่ฟุ้งซ่าน
2.ทำให้ร่างกายคลายความเครียด
3. เป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา



ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธินั้นมีคุณค่าต่อชีวิตมาก เพราะทำให้คนมีจิตใจสูงขึ้น ประโยชน์ของ
การฝึกสมาธิมีดังต่อไปนี้ (พระศรีวิสุทธิกวี 2530 : 33)
1. สามารถเรียนหนังสือได้ผลดี ได้กะแนนสูง เพราะมีจิตใจสงบ จึงทำให้มีความจำ
แม่นยำและดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
2.ทำสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น ไม่คิดผิดพลาด เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น
3.สามารถทำงานได้มากขึ้น และได้ผลดีอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายไปได้
5.ทำให้เป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็น มีความสุขใจได้มาก มีผิวพรรณผ่องใสและมีอายุยืน
6.ทำให้อยู่ในสังคมอย่างปกติ เช่น ถ้าอยู่ในโรงเรียนก็ทำให้เพื่อนและครู พลอยได้รับ
ความสุข ถ้าอยู่ในที่ทำงานก็ทำให้เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาหรือใต้บังกับบัญชาพลอย
ได้รับความสุขไปด้วย เป็นต้น
7.สามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างใจเย็น รวมทั้งสามารถ
แก้ไขความยุ่งยาก และความเดือดร้อนวุ่นวายในชีวิตที่ถูกต้อง
8.สามารถกำจัดนิวรณ์ที่รบกวนจิตใจลงได้ หรืออย่างน้อยทำให้เบาบางลงได้
9.ถ้าทำได้ดีถึงขั้นได้ญาณก็ย่อมเสวยความสุขเลิศยิ่ง (อติมธุรํ สุขำ) และอาจสามารถได้
ฤทธิ์เดชต่างๆ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ และรู้ใจคนอื่นอีกด้วย
10.ทำให้เป็นพื้นฐานเพื่อก้าวขั้นไปสู่การบำเพ็ญวิปัสสนาคือ สามารถใช้พลังของสมาธิ
เป็นบทที่ก้าวสู่การบำเพ็ญวิปัสสนา อันเป็นจุดหมายโดยตรงของพระพุทธศาสนา

2

ประเภทของการทำสมาธิ

การทำสมาธิ มี 2 ประเภท
1.สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิในทางที่ถูก คือ ต้องมีเจตนาในการทำสมาธิ เพื่อละความชั่วใน
จิตใจออกไปชั่วขณะและสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นการทำจิตให้บริสุทธิ์ชั่วขณะ
2.มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิในทางที่ผิด คือ มีเจตนาทำสมาธิด้วยโลภะ โทสะและโมหะ ได้แก่

2.1 โลภะ คือ หวังผลต่างๆ ที่คิดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำสมาธิ เช่น อยากได้อิทธิฤทธิ์
อยากเห็นสิ่งต่างๆ อยากได้กุศลมากๆ อยากเรียนเก่ง เป็นต้น

2.2 โทสะ คือ มีจิตคิดร้ายต่อผู้อื่น เช่น ทำพิธีกรรมไสยศาสตร์ ทำร้ายผู้อื่น
เป็นต้น

2.3 โมหะ คือ ความหลง เช่น การทำสมาธิที่ทำให้ใจเย็น ไม่รับรู้อารมณ์ใดทั้งหมด ไม่มี
การรับรู้ตามสภาวะเป็นความจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือเป็นการทำสมาธิด้วย การ
งมงายปราศจากเหตุและผล การทำมิจฉาสมาธิเหล่านี้ เป็นการสร้างความชั่วให้เกิดขึ้น

วิธีการทำสมาธิ

การทำสมาธิมีอยู่หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ อานาปานสติสมาธิ หมายถึง การใช้ลม
หายใจเป็นอารมณ์ในการทำสมาธิ ได้แก่ ระลึกรู้ลมหายใจที่ผ่านเข้าออก ที่บริเวณจมูกตรง
จุดของลมกระทบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ (กรมอาชีวะ 2528 : 46)
ขั้นเตรียมตัวก่อนทำสมาธิมี 6 ขั้นตอนได้แก่

1.นั่งในท่าที่สบาย ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้พัก
2.ละทิ้งความกังวลใดๆ ชั่วขณะ
3.สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ
4.ต้องมีความเชื่อบุญบาปมีจริง เราทำกรรมอย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น

4.1 ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
4.2 ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
4.3 การที่เราได้รับความทุกข์ทางกาย และใจ เป็นเพราะได้ทำความชั่วมาแล้ว
ในอดีตนั่นเอง

3
5.ต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ได้แก่

5.1 อดทนต่อความทุกข์ยากลำบากต่างๆ เช่น อากาศร้อน มีเสียงรบกวน
5.2 อดทนต่อความทุกขเวทนา ที่กำลังได้รับอยู่เช่น ปวดศีรษะ หรือมีอาการไม่
สบายต่างๆ เป็นต้น
5.3 อดทนต่อความเย้ายวนด้วยกิเลสตัณหา เช่น ง่วงนอน อยากดูโทรทัศน์
อยากสูบบุหรี่ มีจิตฟุ้งซ่าน และมีจิตเศร้าหมอง
6.ต้องสร้างอิทธิบาท 4 ให้เกิดขึ้น คือ
6.1 มีความพอใจที่จะฝึกจิตของตนให้สงบ
6.2 มีความพากเพียรที่จะประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องสม่ำเสมอ
6.3 มีจิตใจจดจ่อ อยู่เสมอระลึกรู้ลมหายใจเข้า- ออก แต่เพียงสิ่งเดียว
6.4 ก่อนที่จะปฏิบัติจะต้องใช้ปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยเหตุและผล

ขั้นตอนในการฝึกอานาปานสติสมาธิ

มี 8 ขั้นตอน ได้แก่
1.นั่งขัดสมาธิในที่สบายและหลับตา
2.ละอารมณ์ต่างๆ ออกไปชั่วขณะ
3.มีเจตนาที่จะละความชั่วออกไปจากจิตของตน เพราะมีความเชื่อด้วยเหตุว่าเหตุดี ผล
ดีก็ตามมา เหตุชั่วผลชั่วก็ตามมา
4.พยายามสร้างสติในการระลึกรู้ลมหายใจเข้า - ออก ที่บริเวณจมูกที่จุดของลมกระทบ
เพียงแห่งเดียวเท่านั้น อาจใช้การภาวนาช่วย คือ หายใจเข้า ภาวนา "พุท"
หายใจออก ภาวนา "โธ"
5.พยายามรักษาสติ คือ การระลึกรู้ธรรมชาติของลมหายใจเข้า - ออก ที่จุดของลม
กระทบอยู่ตลอดเวลา
6.เมื่อจิตมีความสงบขึ้นแล้ว ให้ปฏิบัติคังนี้

6.1 ระวังอย่าเสียสติ พยายามระลึกรู้ธรรมชาติของลมหายใจเข้า - ออก ให้มี
ความมั่นคงยิ่งขึ้น อย่าให้จิตสับส่ายไปที่ใด

6.2 สร้างคุณสมบัติ คือ อินทรีย์ 5 ให้มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ให้ตัวหนึ่งตัวใด
ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ได้แก่

1) ศรัทธา คือ ความเชื่อในเหตุและผลว่ากรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง

4
2) ความเพียรชอบ 4 ประการ คือ
2.1) เพียรละความชั่วในจิตใจออกให้หมด โดยละความฟุ้งซ่าน

ความวิตกกังวลหรือความสงสัยลังเลออกไป
2.2)เพียรสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจ คือ สร้างสติในการ

ระลึกรู้ลมหายใจเข้า - ออก ที่จุดของลมกระทบเท่านั้น
2.3) เพียรรักษาความดีที่สร้างไว้ ไม่ให้เสื่อมคลายไป คือ รักษาสติในการ

ระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก ให้สม่ำเสมอ
2.4) เพียรป้องกันไม่ให้จิตใจของตนตกไปในทางที่ชั่ว คือ ไม่ให้ความ

ฟุ้งซ่านความวิตกกังวล เข้ามาสู่จิตใจได้อีก
3) สติ คือ การระลึกรู้ความจริงของธรรมชาติ ได้แก่ ธรรมชาติของ

ลมหายใจที่ผ่านเข้า - ออก ที่จุดของลมกระทบ
4) ความตั้งมั่น ที่ระลึกรู้ลมหายใจเข้า - ออกที่จุดกระทบเพียงแห่งเดียว

เท่านั้น
5) ปัญญา คือ รู้ว่าการฝึกจิตให้มีความสงบเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องสร้างที่

"เหตุ" ไม่ใช่ต้องการ "ผล"
7. เมื่อจิตมีความสงบเกิดขึ้นเต็มที่ พึงระลึกรู้ว่าความสงบนี้เป็น "ผล"

ที่เกิดจาก "เหตุ"คือ ศรัทธา ความเพียร สติ ความตั้งมั่น และปัญญา ซึ่งตนเองได้
สร้างขึ้น ฉะนั้นตนควรเตือนตนเองเสมอว่า "สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดแก่เหตุ"

8. เมื่อออกจากสมาธิ ให้ปฏิบัติดังนี้
8.1 ค่อยๆ ลดความสงบในจิตใจลดลงมา
8.2 สูดลมหายใจเข้า- ออก ให้แรงขึ้น
8.3 ค่อยๆ สังเกตความสงบของจิตใจของตนที่ลดลงมา ความตั้งมั่นจะ

ค่อยๆ หายไป ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ จะเข้าสู่จิตใจมากขึ้น
8.4 เมื่อความสงบลดลงมาอยู่ในสภาวะปกติแล้ว จึงค่อยลืมตาขึ้น ถอยออก

จากสมาธิ

5

อ้างอิง

สุพัฒน์ ศรีชมชื่น .(2559). การทำสมาธิ. อุดรธานี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานี. สืบค้นจาก
https://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/temp_pdf_with_password/8T
O0t945tSJRT7B6Jt60.pdf

6

ผู้จัดทำ

นางสาวศิรินทิพย์ เศษแสนโมก
รหัสนักศึกษา 63040107109
นักศึกษาชั้นปีที่2 สาขาวิชาพุทธศาสนา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี



การทำสมาธิ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ
ทุกวัน หลังตื่นนอนตอนเช้าและก่อนนอน หรือใน
ขณะที่มีเวลาว่าง ครั้งแรกอาจใช้เวลาประมาณ
15 - 30 นาที ต่อไปค่อยๅเพิ่มขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง
หรือตามความเหมาะสม


Click to View FlipBook Version