บันทึกข้อความ ส่วนราชการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงดาว ที่ศธ.0210.2903/ วันที่ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เรื่อง ขอเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ประจำฐานการเรียนรู้) ฐานการเรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ ......................................................................................................................................................................................... เรียน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงดาว เรื่องเดิม ตามที่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงดาว ได้มอบหมายให้ครู จัดทำแผนการจักการเรียนรุ้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ประจำฐานการเรียนรู้) นั้น ข้อเท็จจริง บัดนี้ ข้าพเจ้านางสาวอุบล ชัยยานะ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านปางตอง ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ประจำฐานการเรียนรู้) ฐานการ เรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านปางตอง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ประจำฐานการเรียนรู้)ฐาน การเรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายนี้ ข้อกฎหมาย อาศัยอำนาจคำสั่งสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ 489/2551 ลงวันที่ 21 เมษายน 2551 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและผู้อำนวยการ สถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต ปฏิบัติราชการแทนข้อ 8 ข้อเสนอแนะ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ลงชื่อ........................................ (นางสาวอุบล ชัยยานะ) พนักงานราชการ ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน บนพื้นที่สูง ประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านปางตอง
แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ประจำฐานการเรียนรู้) 1. ชื่อฐานการเรียนรู้ สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ เวลา 3 ชั่วโมง 2. ชื่อผู้จัดทำ 1. นางสาวอุบล ชัยยานะ 3. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของฐานการเรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ 3.1 ด้านความรู้ ( K ) 3.1.1 ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในหลักการผลิตสื่อ 3.1.2 ผู้เรียนเกิดทักษะในการผลิตสื่อ 3.1.3 ผู้เรียนเกิดแรงผลักดัน และมีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่ออย่างสม่ำเสมอ 3.1.4 ผู้เรียนเกิดความสนใจที่อยากจะเรียนรู้จากสื่อ 3.2 ด้านทักษะกระบวนการ ( P ) ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในการใช้สื่อและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น 3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ( A ) - ความเสียสละ - ความอดทน - ความมีวินัย - ความรับผิดดชอบ 4. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนการเรียนรู้ฐานสอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ 2. วิทยากรประจำฐานอธิบายถึงการผลิตสื่อ 3. วิทยากรประจำฐานอธิบายถึงวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ และอธิบายขั้นเตรียมการผลิตสื่อ 4. วิทยากรประจำฐานอธิบายรายละเอียดรายรับ-รายจ่ายของกิจกรรม ขั้นสอน ครูผู้สอนอธิบายและให้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับมลพิษที่มาจากการเผ่าขยะ การตัดไม้เพื่อนำมาทำกระดาษ 1. ครูอธิบายปัญหาของเศษกระดาษ หนังสือเก่าที่ไม่ใช้แล้วมักถูกมองข้ามเป็นเพียงแค่ขยะเหลือใช้ 2. ครูแนะนำให้ผู้เรียนนำกระดาษ หนังสือเก่าเหล่านี้มารังสรรค์งานประดิษฐ์“สื่อสร้างสรรค์ทำมือ”และยัง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษ์โลก ด้วยการลดปริมาณขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม 3. ครูอธิบายถึงวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำสมุดทำมือ 4. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ Workshop การผลิตสื่อ“สื่อสร้างสรรค์ทำมือ” โดยศึกษาจากใบความรู้ และทำ กิจกรรมการผลิตสื่อ ตามขั้นตอน 5. ครูและผู้เรียนช่วยกันอภิปรายถึงการนำเศษกระดาษ หนังสือเก่าที่เหลือใช้มารังสรรค์งานประดิษฐ์ “สื่อสร้างสรรค์ทำมือ”
ขั้นสรุป 1. ครูและผู้เรียนช่วยสรุปเนื้อหาเรื่องสอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ 2. ครูและผู้เรียนช่วยสรุปและถอดองค์ความรู้ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 : 3 : 4 : 3 : 4) 5. สื่อ/อุปกรณ์ 5.1 ป้ายความรู้ฐานการเรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ 5.2 สื่อของจริง อุปกรณ์ในการทำสื่อสร้างสรรค์ทำมือ 5.3 สื่อในการฝึกปฏิบัติจริง เศษกระดาษเก่า หนังสือเก่าที่ไม่ใช้ ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ กาว กรรไกร เข็ม ด้าย ปากกาสี เศษผ้าเก่า 6. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้ 6.1. ศาสตร์ภูมิปัญญา นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง รู้จักคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ที่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้อีก 6.2.ศาสตร์สากล เรื่องเกี่ยวกับการทำสื่อสร้างสรรค์ทำมือ รีไซเคิล การจัดการวัสดุเหลือใช้ ชนิดของขยะ กระบวนการแปร สภาพ ลดโลกร้อน ภาวะเรือนกระจก สภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก 6.3.หลักการทรงงาน ศาสตร์พระราชา ข้อ 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ข้อ 2. ระเบิดจากภายใน ข้อ 4. ทำตามลำดับขั้น ข้อ 10. การมีส่วนร่วม ข้อ 17.การพึ่งพาตนเอง ข้อ 19.เศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 21.ทำงานอย่างมีความสุข ข้อ 22.ความเพียร ข้อ 23. รู้ รัก สามัคคี 7. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน พออยู่พอกิน : การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตได้เริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรง เยี่ยมประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงทรงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซึ่งว่ามีเหตุผลมากมายที่ทำให้ราษฎรตกอยู่ในวงจรแห่ง ทุกข์เข็ญ จากนั้นได้พระราชทานความช่วยเหลือให้สกนิกร มีความกินดีอยู่ดี มีชีวิตอยู่ในขั้น “พออยู่พอกิน” ก่อน แล้วจึงขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป
เศรษฐกิจพอเพียง : เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาว ไทยมาโดยตลอดกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังวิกฤต พระองค์ยังได้ทรงย้ำแนว ทางการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรของพระองค์สามารถรอดพ้นและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิ วัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์พระราชทานไว้ นั้น มีความหมายดังนี้ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบที่จะเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ที่ต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก ขั้นตอนของแผนที่วางไว้ เช่น แผนรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน แผนการทำไร่นาสวนผสม เป็นต้น ความเพียร : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้ความเพียรเป็นอย่างมากในการทำงานในโครงการ พระราชดำริ โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของแต่ละโครงการที่มีอุปสรรคและความไม่พร้อมในด้านต่างๆ มากมาย มี โครงการจำนวนมากที่พระองค์ต้องทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดทำ แต่พระองค์ก็มิเคยท้อพระทัย และ ทรงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาเพื่อให้โครงการฯ ประสบความสำเร็จ อันจะช่วยให้ราษฎรของพระองค์และบ้านเมืองบังเกิด ความร่มเย็นเป็นสุข 8. ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2 : 3 : 4) 2 เงื่อนไข เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม 1.รู้การจัดการวัสดุเหลือใช้ 2.รู้การแปรรูปใช้ใหม่ 3.รู้ประเภทขยะที่จะนำมาแปรรูปสื่อสร้างสรรค์ทำมือ 4.รู้ช่วยลดปริมาณขยะ 5.รู้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง 6.รู้จักคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ 7.รู้ช่วยลดโลกร้อน 8.รู้กลุ่มเป้าหมายในการทำสื่อสร้างสรรค์ทำมือ 9.รู้ช่องทางการจัดจำหน่าย 10.รู้วิธีการทำสมุดทำมือ 11.รู้ต้นทุนในการทำสมุดทำมือ 12.รู้สถานที่หรือแหล่งเรียนรู้ 13.รู้งบประมาณ 14.รู้คนทำงาน 15.รู้ผู้เรียน 16.รู้สภาพบริบทของชุมชน 17.รู้จักอุปกรณ์ในการทำสมุดทำมือ (เศษกระดาษ กาว กรรไกร เข็ม ฝ้าย เศษผ้า) 18.รู้วัสดุในการทำสมุดทำมือ 19.รู้จำนวนผู้เรียน (คน) 20.รู้วิธีการบริหารจัดการพื้นที่ 1.มีความรับผิดชอบ 2.มีวินัย 3.มีความอดทน 4.มีความเสียสละ
3 หลักการ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 1.สื่อสร้างสรรค์ทำมือสามารถนำ กับมาใช้ซ้ำได้ทันทีสอดคล้องกับ แนวคิดประหยัดการใช้กระดาษ 2.สื่อสร้างสรรค์ทำมือเหมาะสมกับ วิถีชีวิตคนทำงานในออฟิต นักเรียน และนักศึกษา 3.สื่อสร้างสรรค์ทำมือเป็นการนำ ของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ และช่วยลดปริมาณขยะได้พอดี 3.สื่อสร้างสรรค์ทำมือ มีรูปแบบที่ หลากหลาย จึงสามารถกระตุ้นและ ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สร้างความสนใจให้กับผู้เรียนได้เป็น อย่างดีและสอดคล้องกับ กลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภค 1.เพื่อนำของเหลือใช้มาทำให้เกิด ประโยชน์ 2.เพื่อลดปริมาณขยะ 3.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่าน ของจริง เกิดการสัมผัส เกิดความ สมจริงจะทำให้พัฒนาการเรียนรู้ได้ เป็นอย่างดี ช่วยเกิดความจำ กระตุ้นเกิดความคิดสร้างสรรค์ 1.วางแผน/ออกแบบและจัดทำ ต้นแบบ 2.ขอบริจาคกระดาษและหนังสือ เหลือใช้จากห้องสมุด 3.จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อม กับการใช้งาน 3.เตรียมการมอบหมายหน้าที่ รับผิดชอบ 4.จัดเตรียมมุมจัดกิจกรรม 5.เตรียมจดบันทึกปัญหาและแนว ทางแก้ไขเพื่อพัฒนาและปรับปรุง ในขั้นตอนต่อไป ชีวิตที่เกิดการสมดุลและพร้อมรับตอการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ ด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม 1.ลดค่าใช้จ่าย/ประหยัด 2.ช่วยแบ่งเบาภาระของ ครูผู้สอน 2.ลดปริมาณปัญหาขยะ 3.ลดการตัดไม้ทำลายป่า 4.ลดมลภาวะเป็นพิษ 1.เกิดทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะทาง คณิตศาสตร์ ทักษะการ คำนวณ ทักษะการ วางแผน และทักษะ การแก้ไขปัญหา 2.ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น 3.สามารถนำไปใช้กับ พื้นที่ห่างไกล 4.ช่วยให้การสื่อสาร ระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียนเข้าใจตรงกัน 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียว 2.อนุรักษ์ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม 2.ช่วยกระตุ้นและสร้าง ความสนใจให้กับผู้เรียน 3.ช่วยให้ผู้เรียนมีอารมณ์ ร่วมและสนุกสนานได้มาก ขึ้น 1.วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ในชุมชน (ตกแต่งพิธีกรรม ให้เกิดความสวยงาม) 2.สืบสานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 3.การแปรสภาพขยะมาเป็น ของใช้(สมุดทำมือ)
9. สอดคล้องกับศาสตร์การพัฒนา / หลัก 3 ศาสตร์ 1. ศาสตร์ภูมิปัญญา นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง รู้จักคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ที่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้อีก 2. ศาสตร์สากล เรื่องเกี่ยวกับการทำสื่อสร้างสรรค์ทำมือ รีไซเคิล การจัดการวัสดุเหลือใช้ ชนิดของขยะ กระบวนการแปร สภาพ ลดโลกร้อน ภาวะเรือนกระจก สภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก 3. หลักการทรงงาน ศาสตร์พระราชา ข้อ 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ข้อ 2. ระเบิดจากภายใน ข้อ 4. ทำตามลำดับขั้น ข้อ 10. การมีส่วนร่วม ข้อ 17.การพึ่งพาตนเอง ข้อ 19.เศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 21.ทำงานอย่างมีความสุข ข้อ 22.ความเพียร ข้อ 23. รู้ รัก สามัคคี 10. สอดคล้องกับ พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของในหลวง รัชกาลที่ 10 (4 ด้าน) ข้อ 1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 1.4 มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน ข้อ 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 2.2 ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ข้อ 3. มีงานทำ มีอาชีพ 3.2 การฝึกอบรม ใน - นอกหลักสูตร มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น และมีงานทำในที่สุด 3.3 สนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองและเลี้ยงครอบครัวได้ ข้อ 4. เป็นพลเมืองดี 4.2 ครอบครัว สถานศึกษา ส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี 11. การนำไปประยุกต์ใช้ 9.1 การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านเศรษฐกิจ การนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์และช่วยลดปริมาณขยะนำกับมาใช้ซ้ำได้ ทันทีสอดคล้องกับแนวคิดประหยัดการใช้กระดาษ ด้านจิตใจ มีจิตสํานึกที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอื้ออาทร เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว มีความเพียรพยายาม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้ รัก สามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และ ชุมชน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดและรอบคอบ ฟื้นฟู ทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและคงอยู่ ชั่วลูกหลาน เช่น ไม่ทำลายและช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้านเทคโนโลยีรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนา เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน 9.2 การประยุกต์ใช้ในภารกิจกิจตามหน้าที่ - คิดและวางแผนการการทำงานตามหน้าที่อย่างรอบคอบ - ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้ รัก สามัคคีในภารกิจหน้าที่การงาน 12. การประเมินผลการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม - สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ เช่น สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การปฏิบัติและ การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม - แบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
รายการวัสดุพื้นฐาน ฐานการเรียนรู้.......สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง ” บ้านปางตอง ด้วย ศศช.บ้านปางตอง มีความจำเป็นที่จะต้อง ( √ ) ซื้อ ( ) จ้าง ( ) เช่า วัสดุฝึก เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน กิจกรรมฐานการเรียนรู้.......สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์2566 ตามรายละเอียด ดังนี้ (นางสาวอุบล ชัยยานะ) ครู ประจำศูนย์การเรียนฯ ศศช.บ้านปางตอง ที่ รายการ จำนวน ( ) ราคามาตฐาน จำนวนเงินที่ขอซื้อ ( / ) ราคาที่สืบราคา จากท้องตลาด หน่วยละ จำนวนเงินที่ขอซื้อ 1 ปากกาเคมี 2 หัว 12 สี 1 ชุด 150 150 150 2 สันห่วงพลาสติก(กระดูกงู) 6 mm. 1 กล่อง 75 75 75 3 เหล็กแหลมสำหรับเจาะกระดาษ 6 ชุด 15 15 90 4 เข็มสำหรับเย็บสมุด 1 ชุด 35 35 35 5 กรรไกร 10 ชุด 35 35 350 6 เชือกคอตตอนหรือเชือกลินิน ขนาด 0.5 มิลลิเมตร 1 ม้วน 170 170 170 7 คัตเตอร์ใหญ่ 3 ด้าม 45 45 135 8 กาวแท่ง ยู้ฮู 3 หลอด 40 40 120 9 กาวลาเท็กซ์ 1 ขวด 65 65 65 10 แปรงทาสีขนาดเล็ก 1 นิ้ว 5 อัน 15 15 75 11 ตัวหนีบกระดาษ 1กล่อง 63 63 63 12 เครื่องมือเย็บขอบหนังสือ 3 ชุด 45 45 135 13 ดินสอ2บี 1 กล่อง 37 37 37 รวมเป็นเงิน(หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) 1,500
ภาคผนวก
แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ประจำฐานการเรียนรู้) ฐานการเรียนรู้สอนศิลป์กินได้เพื่อพัฒนาและผลิตสื่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงดาว สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ