The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อาหารไทย 4 ภาค ได้แก่
1. ภาคเหนือ
2. ภาคอีสาน
3. ภาคกลาง
4. ภาคใต้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by m0969435224, 2022-03-02 21:30:31

อาหารไทย 4 ภาค

อาหารไทย 4 ภาค ได้แก่
1. ภาคเหนือ
2. ภาคอีสาน
3. ภาคกลาง
4. ภาคใต้

อาหารไทย
4 ภาค

อาหารไทย
ภาคเหนื อ

บริบททั่วไป

ภาคเหนื อเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีวัฒนธรรมและ
วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้คนอาศัยในดินแดนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
ใหญ่ๆ คือ คนเมืองกับชาวเขา

คนเมือง ใช้เรียกคนที่อาศัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในเขต
จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แพร่ น่ าน พะเยา และ
แม่ฮ่องสอน จากสภาพภูมิศาสตร์อันอุดมสมบูรณ์ คนเมืองในภาค
เหนื อมีอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก มีวัฒนธรรมประเพณีหลาย
อย่างเกี่ยวข้องกับการเกษตรและขนบธรรมเนี ยมเก่าแก่ที่ปฏิบัติ
สืบต่อกันมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย เช่น การนั บถือผี เมื่อพุทธศาสนา
เจริญรุ่งเรืองขึ้น ทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ ตามความเชื่อทางศาสนา
เช่น ประเพณีสงกรานต์ งานปอย ทานขันข้าว ตักบาตรเทโว

ชาวเขา เป็นชนกลุ่มน้ อยเผ่าต่าง ๆ ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาและ
กระจายตัวอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สูงของภาคเหนื อ ชนกลุ่มน้ อยมีอยู่
หลายเผ่า เช่น ม้ง ลาหู่ อาข่า ลีซูหรือลีซอ เป็นต้น ชนเผ่าต่าง ๆ
มีความผูกพันกับป่าเขา ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกบนที่สูงและ
การเลี้ยงสัตว์มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง ทั้งภาษา เครื่อง
แต่งกาย ศาสนา พิธีกรรมและความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม
ประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของ
ผู้คน บ้านเรือนในภาคเหนื อนิ ยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ใน
ท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุนสูง หลังคา
ทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล"
ชาวเหนื อที่มีฐานะดีจะอยู่เรือนที่ค่อนข้างมีขนาด ใหญ่และประณีต
มากขึ้น

อัตลักษณ์ ของอาหาร

ลักษณะของอาหาร

อาหารดั้งเดิมของภาคเหนื อ มีข้าวเหนี ยวเป็นอาหารหลัก นิ ยมใช้พืช
ตามป่าเขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร เนื้ อสัตว์ได้จากท้องทุ่ง
และลำน้ำ อาทิเช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย ไก่ หมู และเนื้ อ คน
เหนื อไม่นิ ยมใช้น้ำตาล แต่จะใช้ความหวานจากส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร
เช่น ความหวานจากผัก ปลา หรือมะเขือส้ม

จุดเด่นของอาหาร

จุดเด่นของอาหาร คือ รสชาติที่มีรสเค็มน้ำเล็กน้ อย รสเปรี้ยว และ
รสหวานแทบจะไม่มีเลย

อาหารที่นิ ยมรับประทาน

น้ำพริกหนุ่ ม น้ำพริกอ่อง แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ แกงฮังเล ขนมจีน
น้ำเงี้ยว ข้าวซอย

อาหารไทย
ภาคอีสาน

บริบททั่วไป

ประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนื อหรือชาวอีสาน ประกอบด้วยชน
เผ่าที่มาจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันอย่าง
มากมาย ชาวไทยอีสานกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วภูมิภาค

ที่อยู่อาศัย แต่เดิมหมู่บ้านในชนบทภาคอีสานยังคงยึดถือรูปแบบ
ของการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย บ้านเรือนที่ปลูกสร้างใช้วัสดุในท้องถิ่น
เป็นเรือนใต้ถุนสูง ตีฝาสายบัว หลังคาทรงจั่วต่ำ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น
บ้านไม้หรือก่ออิฐฉาบปูน มุงหลังคาสังกะสีและกระเบื้อง ผู้มีฐานะดีมัก
สร้างบ้านโดยใช้วัสดุราคาแพงรูปทรงตะวันตก




อัตลักษณ์ ของอาหาร

ลักษณะของอาหาร

อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนิ นชีวิต
ของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่าย ๆ 2 - 3 จาน มีผักเป็น
ส่วนประกอบหลัก เนื้ อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้ อวัวเนื้ อควาย
เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก
"ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมี
ลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิ ยมใส่กะทิ

จุดเด่นของอาหาร

จุดเด่นของอาหาร คือ จะมีรสเค็ม จากน้ำปลาร้า รสชาติจะเผ็ด
จากพริกสด และพริกแห้ง และซึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนี ยว
จึงเปรียบเหมือนสั ญลักษณ์ ของภาคอีสาน




อาหารที่นิ ยมรับประทาน

ซุปหน่ อไม้ ต้มส้ม แกงอ่อม แกงเปรอะ แกงเห็ด แกงไข่มดแดง
ตำบักถั่ว ส้มตำ

อาหารไทย
ภาคกลาง

บริบททั่วไป

ภาคกลางมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่อุดมสมบูรณ์ เอื้ออำนวย
ต่อการทำการเกษตรกรรม นอกจากนี้ เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศ โดย
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการ การศึกษา กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและการคมนาคม จึงเป็นชุมชนที่มีประชากรหนาแน่ น มีหลาย
เชื้อชาติ เช่น คนไทยเชื้อสายมอญ คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายญวน
คนไทยเชื้อสายลาว

การทำมาหากิน ผู้คนในภาคกลางประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็น
หลัก โดยเฉพาะการปลูกข้าว บริเวณภาคกลางมีแม่น้ำลำคลองหนองบึงอยู่
ทั่วไปและอยู่ใกล้อ่าวไทย จึงมีการทำการประมง ทั้งประมงน้ำจืด ประมงน้ำ
กร่อยและประมงน้ำเค็ม นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาการเติบโตเป็น
ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่โดย
ทั่วไป เช่น โรงสีข้าว โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงาน
ประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ภาคกลางจึงเป็น
ภูมิภาคที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและเป็นแหล่งงานของผู้คนที่อยู่อาศัยกันอย่าง
หนาแน่ น

ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนในภาคกลางแต่เดิมมีลักษณะที่สอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน ภาคกลางอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฝนตกชุกและ
อากาศร้อน จึงปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อให้อยู่อาศัยอย่างสบายใน
ภูมิประเทศมีแม่น้ำลำคลองมากก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ หรือปลูกเรือนลอย
อยู่ในน้ำเรียกว่า เรือนแพ สำหรับที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย มี
ลักษณะหลังคาทรงจั่วเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและทำให้ฝนที่ตกลงมา
ไหลลงได้รวดเร็วไม่ค้างอยู่บนหลังคา มีใต้ถุนสูงเพื่อให้พ้นน้ำท่วมและใช้
เก็บเครื่องมือเครื่องใช้และผลิตผลทางการเกษตร สำหรับผู้ที่มีฐานะก็จะ
ปลูกในลักษณะที่คงทนถาวรมากกว่า

อัตลักษณ์ ของอาหาร

ลักษณะของอาหาร



ภาคกลางเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักผลไม้นานาชนิ ด อาหารของ
ภาคกลางมีที่มาทั้งจากอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง
แกงกะทิ จากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันจากประเทศจีน
เป็นอาหารมีการประดิษฐ์ผู้อยู่ในรั้วในวังได้คิดสร้างสรรค์อาหารให้มี
ความวิจิตรบรรจง อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม

จุดเด่นของอาหาร

อาหารภาคกลาง มีความหลากหลายด้านรสชาติ มีลักษณะโดดเด่น
คือ จะมีรสชาติหลากหลาย เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เผ็ด มักมีเครื่อง
เคียง เครื่องแนม เพื่อเสริมรสชาติอาหาร เช่น ปลาดุกย่างกับสะเดา
น้ำปลาหวาน น้ำพริกลงเรือ กับหมูหวาน เป็นต้น

อาหารที่นิ ยม

น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกกะปิ ห่อหมก ทอดมัน ปูจ๋า แกงจืด แกงเผ็ด
แกงส้ม ข้าวผัด ยำต่างๆ

อาหารไทย
ภาคใต้

บริบททั่วไป

กลุ่มชนโบราณที่เคยอาศัยและตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ คือ "ชนชาวถ้ำ" และ
"ชนชาวน้ำ"

ชนชาวถ้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ป่าเขา โดยเข้าป่าล่าสัตว์ตามแบบดั้งเดิม
ชนกลุ่มนี้ คือบรรพบุรุษของพวกเซมัง หรือ ซาไก หรือเงาะป่า ชนชาวน้ำ
อาศัยอยู่ในแนวชายฝั่ งทะเลตามอ่าวหรือถ้ำบนเกาะ คือ พวกโอรังลาโอด
หรือโปรโต-มาเลย์ หรือชาวเลที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เนื่ องจากทำเลที่ตั้งของ
ภาคใต้เป็นคาบสมุทร ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินทางระหว่างมหาสมุทรอินเดีย
และทะเลจีนใต้ จึงมีชนต่างชาติเข้ามาพำนั กอาศัยและเกิดการผสมผสาน
ทางเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวจีน และชาวตะวันออกกลางที่อยู่อาศัย จะ
ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าว
และทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน คนไทยภาคใต้จะมี
คติในการตั้งบ้านเรือน เช่น ปลูกบ้านโดยมีตีนเสารองรับเสาเรือนแทนการ
ขุดหลุมฝังเสา เพื่อสะดวกในการโยกย้ายและเป็นการป้องกันมด ปลวก มี
คติห้ามปลูกเรือนขวางตะวัน เพราะจะขวางเส้นทางลมมรสุมซึ่งอาจทำให้
หลังคาปลิวและถูกพายุพัดพังได้ง่าย วัสดุที่นำมาสร้างคือสิ่งที่หาได้ง่ายใน
ท้องถิ่น บ้านเรือนมีหลายลักษณะ มีทั้งบ้านเรือนเครื่องผูก หลังคาทรงจั่ว
และทรงปั้ นหยา มีใต้ถุนเตี้ยเพราะมีลมพายุเกือบทั้งปี หากปลูกเรือนสูงอาจ
ต้านทานแรงลม ทำให้เรือนเสียหายได้

อัตลักษณ์ ของอาหาร

ลักษณะของอาหาร

อาหารหลักของคนภาคใต้คือ อาหารทะเล และกลิ่นคาวโดยธรรมชาติ
ของปลา หรืออาหารทะเลอื่นๆ ทำให้อาหารของภาคใต้ต้องใช้เครื่อง
เทศโดยเฉพาะ เช่น ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในการ
ดับกลิ่นคาว อาหารภาคใต้จึงมักมีสีออกเหลือง ซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วน
ผสมทั้งสิ้ น

จุดเด่นของอาหาร

อาหารภาคใต้ มักเป็นอาหารไทยที่ผสมผสานกับอาหารอินเดียใต้
เนื่ องจากเคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือของอินเดีย, จีน และชวา เช่น
น้ำบูดู ได้มาจากการหมักปลา ทะเลผสมกับเม็ดเกลือ รสชาติอาหาร
นั้ น จะเป็นรสชาติที่เผ็ดร้อน เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย และออก
ไปทางเค็มนิ ดๆ นิ ยมใช้เครื่องเทศมาก เป็นอาหารสำหรับคนชอบรส
เผ็ดมาก แม้ภาคใต้จะมีมะพร้าวมากแต่อาหารส่วนใหญ่ไม่นิ ยมใส่กะทิ
และอาหารส่ วนใหญ่มักมีสี เหลือง

อาหารที่นิ ยม

แกงไตปลา แกงส้ม แกงเหลือง ไก่ต้มขมิ้น ไก่กอแหละ ปลากระบอก
ต้มส้ม คั่วกลิ้ง ผัดสะตอ ผัดเผ็ดกบ ยำน้ำบูดู

สมาชิก

นางสาวทิพากร บุญประจำ รหัสนักศึ กษา 624188009
นางสาวสุดารัตน์ คุ้มโห้ รหัสนักศึ กษา 624188035
นางสาวสุภัสสร บุญเกต รหัสนักศึ กษา 624188040


Click to View FlipBook Version