The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by hidekada, 2021-12-28 04:05:06

คู่มือประกอบการอบรมสร้างวิทยากรตัวคูณในการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ประจำปี 2565

คู่มือประกอบการอบรมสร้างวิทยากรฯ

P a g e | 51
4) แนวโน้มท่ีจะกระทําการบางอย่างของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (ความ
เอนเอียงของพลเมือง)
Joel Westheimer และ Joseph Kahne (2004) ได้เขียนบทความเรื่อง “What kind of
Citizen? The Politic of Educating for Democracy” โดยมีสาระว่านักการศึกษาและผู้กําหนดนโยบาย
ได้ติดตามแผนงานเพิ่มข้ึนท่ีว่าได้มีจุดมุ่งหมายทําให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งผ่านการศึกษาความเป็นพลเมือง
การเรียนรกู้ ารบริการและการสอน ทั้งนี้ Westheimer และ Kahne ได้ให้แนวคิดท่ีสาํ คัญ 3 แนวคิดของความ
เป็นพลเมืองที่ดี คือ การมุ่งเน้นความรับผิดชอบระดับบุคคล การมีส่วนร่วม และความยุติธรรมที่เน้นยํ้าโดยนัย
ทางการเมืองของการศกึ ษาประชาธิปไตย อันมีรายละเอียดแสดงเป็นตาราง ดงั น้ี

แนวทางการปฏิบัตติ นเป็นพลเมืองดี
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ (2555) ได้กล่าวถึง แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิต
ประชาธิปไตย ควรมแี นวทางการปฏบิ ัตติ น ดงั น้ี
ด้านสังคม ไดแ้ ก่
1) การแสดงความคิดอย่างมเี หตุผล
2) การรับฟงั ขอ้ คิดเหน็ ของผู้อ่ืน
3) การยอมรบั เม่อื ผู้อื่นมีเหตผุ ลที่ดีกวา่
4) การตดั สินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
5) การเคารพระเบียบของสังคม
6) การมจี ติ สาธารณะ คือ เหน็ แก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรกั ษาสาธารณสมบตั ิ

P a g e | 52

ดา้ นเศรษฐกิจ ได้แก่
1) การประหยดั และอดออมในครอบครัว
2) การซ่ือสัตย์สุจริตตอ่ อาชพี ท่ที ํา
3) การพัฒนางานอาชีพใหก้ ้าวหน้า
4) การใชเ้ วลาว่างให้เป็นประโยชนต์ ่อตนเองและสงั คม
5) การสร้างงานและสรา้ งสรรคส์ ่ิงประดิษฐใ์ หมๆ่ เพอ่ื ใหเ้ กิดประโยชนต์ ่อสงั คมไทยและสังคมโลก
6) การเป็นผูผ้ ลติ และผบู้ รโิ ภคทีด่ ี มคี วามซ่อื สัตย์ ยดึ ม่นั ในอุดมการณ์ที่ดตี อ่ ชาติเปน็ สําคัญ
ดา้ นการเมืองการปกครอง ได้แก่
1) การเคารพกฎหมาย
2) การรับฟังข้อคิดเหน็ ของทุกคนโดยอดทนตอ่ ความขดั แยง้ ทีเ่ กดิ ขึ้น
3) การยอมรบั ในเหตผุ ลทดี่ ีกว่า
4) การซ่ือสตั ยต์ อ่ หน้าที่โดยไมเ่ หน็ แกป่ ระโยชน์สว่ นตน
5) การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวมกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าท่ีสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร หรอื สมาชกิ วุฒิสภา
6) การทาํ งานอย่างเต็มความสามารถเตม็ เวลา
ดังน้ัน ความเป็นพลเมืองสามารถแยกพิจารณาทําความเข้าใจ ว่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 คุณค่า ค่านิยม ส่วนท่ี 2 ความรู้ และส่วนที่ 3 ทักษะพฤติกรรม รายละเอียดดังน้ี (จาก
www.thaiciviceducation.org)

P a g e | 53

)

P a g e | 54

ประวตั ศิ าสตร์การเมืองการปกครอง

แนวทางการสรา้ งเสริมสํานึกความเปน็ พลเมอื ง : กรณีศกึ ษาประเทศไทย
จากรายงานการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชน โดยสภา
พฒั นาการเมอื งสถาบนั พระปกเกลา้ ร่วมมอื กับหน่วยงานในพ้ืนท่ีจัดทาํ รายงานการศกึ ษาในระดับพื้นท่ี เชน่

P a g e | 55

กรณีภาคเหนือ : จังหวดั ลาํ ปาง
1) กจิ กรรมเพ่อื เสรมิ สร้างสาํ นึกความเปน็ พลเมอื งแก่เยาวชนในจังหวดั ลาํ ปาง

ภาพรวมของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนและภาพรวม
ของการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชน
ในจังหวัดลําปาง ส่วนใหญ่เป็นการดาํ เนินการจัดกจิ กรรมเพื่อการแกไ้ ขปญั หาและพัฒนาเด็กและเยาวชน ไม่ได้
ตั้งวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนโดยตรง เหมือนเช่นโครงการท่ีได้รับการ
สนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้าที่ได้ดําเนินการในโรงเรียนบางแห่งของจังหวัดลําปาง แต่อย่างไรก็ตามการ
จดั กจิ กรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่าง ๆ ที่ได้ดําเนินการในจังหวัดลําปางนั้น ท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลหนุน
เสริมเติมเต็มสํานึกความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชนได้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน ภาคส่วนต่าง ๆ
ที่ดําเนินการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนหรือกิจกรรมสร้างเสริมจิตสํานึกความเป็น
พลเมืองแก่เยาวชนซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ปฏิบัติการ กลุ่มผู้สนับสนุนงบประมาณ กลุ่มผู้สนับสนุนวิชาการ
องค์ความรู้ กลุ่มผู้สนับสนุนบุคลากรวิทยากร กลุ่มผู้สนับสนุนอาคารสถานท่ี วัสดุอุปกรณ์ และกลุ่มผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มีความร่วมมือระหว่างกัน ตามภาระหน้าท่ี พันธกิจและตามความสัมพันธ์
ของภาคส่วนตา่ ง ๆ เหลา่ น้ี

2) ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยสู่ความสําเร็จในการสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่
เด็กและเยาวชน

การดําเนินกิจกรรมสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนในจังหวัดลําปาง
มีปัญหาอุปสรรคและความสําเร็จเกิดข้ึนมาก จากการศึกษาข้อมูลผ่านเวทีสะท้อนในการประชุมกลุ่มย่อย
สามารถสรุปปัจจัยสําคัญท่ีเป็นปัจจัยปัญหาอุปสรรคของการดําเนินงานสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่
เยาวชน เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ปัจจัยการสนับสนุนของหน่วยงานองค์กร
ที่เก่ียวข้องกับงานด้านเด็กและเยาวชน และปัจจัยโอกาสการเข้าถึงกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ส่วนปัจจัย
สําคัญท่ีเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จน้ันเกิดจาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยพลังเด็กและเยาวชน ปัจจัยครอบครัว พ่อ
แม่ ผู้ปกครอง ปัจจัยบคุ คล หน่วยงาน องค์กร ชุมชน และปัจจัยเครือข่ายการทาํ งาน

3) แนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพ่ือเสริมสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เด็ก
และเยาวชน

การพัฒนาเดก็ และเยาวชนเป็นงานทีต่ ้องอาศยั เวลาและตอ้ งมีรปู แบบกิจกรรมท่ีเหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทการทํางานของแต่ละพ้ืนที่ ซ่ึงจําเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบกิจกรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เหมาะสมทันต่อสภาวการณ์ของเด็กและเยาวชน และสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบ
ต่อเดก็ และเยาวชนอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพ่ือสร้างเสริมสํานึก
ความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนในจังหวัดลําปาง ควรพัฒนารูปแบบกิจกรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเด็กและ
เยาวชน การบูรณาการกิจกรรมในพื้นที่ระดับตําบล การพัฒนาเครือข่ายการทํางานด้านเด็กและเยาวชน และ
การส่อื สารสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่อย่างทว่ั ถึง

กรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนอื : จังหวัดสกลนคร
1) กิจกรรมการสรา้ งเสริมสํานกึ ความเป็นพลเมอื งแก่เด็กและเยาวชนในจังหวัดสกลนคร

ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เป็นการดําเนินกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนา
เอกชน ที่ทํางานขับเคล่ือนการพัฒนาเด็กและเยาวชน แต่พบว่าเป็นกิจกรรมท่ีมักจะพัฒนาแนวคิดการ
ดําเนินงานท่ีเป็นลักษณะนโยบายส่วนกลาง เพื่อรองรับงบประมาณ เช่น สํานักงานพัฒนาสังคมและความ
ม่นั คงของมนุษย์แตถ่ ้าเป็นกิจกรรมเดน่ ๆ ท่เี กดิ จากมมุ มองในปญั หาของเดก็ และเยาวชนและผู้ท่ีทํางานกับเด็ก

P a g e | 56

และเยาวชนจริง ๆ จะเห็นว่ายังไม่ได้เกิดในหน่วยงานภาครัฐ กิจกรรมท่ีสามารถสร้างสํานึกพลเมืองเด็กและ
เยาวชนทเ่ี ห็นผลของการพัฒนาการสรา้ งสาํ นกึ ความเป็นพลเมืองแก่เด็กและเยาวชน ท่ีมีเสียงจากกลุ่มเด็กและ
เยาวชน คือ กิจกรรมค่ายที่ให้โอกาสเด็กและเยาวชนได้คิดสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ และหลากหลาย โดยอยู่
ภายใต้การดูแลให้คําแนะนําและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ใหญ่ใจดี เช่น กิจกรรมของชมรมคนรัก
ศิลป์กิจกรรมของกลุ่มเด็กฮักถิ่น สรุปภาพรวมผลการสนทนากลุ่มย่อยในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองแก่
เด็กและเยาวชนในจังหวดั สกลนคร มีสาระสาํ คญั คอื การให้นิยามความหมายของเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ไม่ได้
แตกตา่ งกัน ส่วนสาํ นึกพลเมอื งเด็กและเยาวชนในปัจจบุ ันควรจะมีตน้ แบบสาํ นกึ พลเมอื งจากผู้ใหญ่ ส่วนสาํ นกึ
พลเมืองของเด็กและเยาวชนนน้ั ไดเ้ รยี นร้ผู ่านกิจกรรมคา่ ยทีม่ ่งุ เน้นการพฒั นาจติ อาสา

2) ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินกิจกรรมเพ่ือเสริมสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองแก่
เยาวชนในจังหวัดสกลนคร

ปัจจยั ท่ีเปน็ ปัญหาและอปุ สรรคในการเสรมิ สรา้ งสาํ นกึ พลเมืองแก่เด็กและเยาวชนในพื้นท่ี
จังหวัดสกลนคร สรุปได้ดังนี้ 1) การขาดโอกาสในการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชน 2) พ่อแม่
ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ในสังคมไม่เป็นต้นแบบที่ดีแก่ลูกหลาน ขาดต้นแบบผู้ใหญ่ท่ีดี 3) สถาบันการศึกษาขาดความ
เข้าใจในการสร้างสํานึกพลเมืองแก่เด็กและเยาวชน ผ่านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และ 4) หน่วยงาน
ท่ีดแู ลด้านเด็กและเยาวชนขาดการประสานงานขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสร้างสํานึกพลเมืองและ
ทํางานซ้าํ ซอ้ น

3) แนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพ่ือเสริมสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เด็ก
และเยาวชนจังหวดั สกลนคร มี 2 มุมมอง คือ มุมมองของผใู้ หญ่ และมุมมองของเด็กและเยาวชน

มุมมองของผู้ใหญ่การสร้างต้นแบบให้กับเด็กและเยาวชนผ่านส่ือต่าง ๆ การส่งเสริม
ตน้ แบบคนดีโดยมเี วทีแสดงความดีเชงิ ประจกั ษ์ เชดิ ชคู วามดคี นดีเพือ่ เปน็ กาํ ลงั ใจแกค่ นทําดี โดยเร่ิมจากระดับ
ครอบครัวและการพัฒนาแบบผสมผสานหลักธรรมคําสอนกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน รวมทั้งการบรรจุ
หลักสูตรการเสริมสร้างสํานึกพลเมืองแก่เด็กและเยาวชนในทุกระดับการศึกษาท่ีครอบคลุมเน้ือหาทุกวิชา
ทุกมิติมุมมองของเด็กและเยาวชน รูปแบบกิจกรรมเพ่ือเสริมสร้างสํานึกพลเมืองที่อยากเห็นและต้องการ คือ
การให้โอกาสได้เข้าร่วมกําหนดกรอบแนวทางเพื่อสร้างสํานึกพลเมืองกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง โดยสอดแทรก
กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสาธารณะให้แก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องและยัง่ ยนื

กรณภี าคใต้ : จงั หวัดยะลา
บริบทปัญหาส่วนใหญ่ท่ีคุกคามหรือส่งเสริมการสร้างสํานึกพลเมืองจังหวัดยะลา คือ เยาวชน
ว่างงาน เยาวชนเล่นการพนัน เยาวชนติดยาเสพติด เยาวชนขับรถซิ่ง เยาวชนขาดการศึกษา ขาดทุนทรัพย์
ในการศึกษา แต่ท่ีสําคัญจากผลการวิจัย พบว่า ปัญหาสําคัญในจังหวัดยะลา คือ เยาวชนติดยาเสพติด และ
เยาวชนได้รับการศึกษาน้อยสําหรับที่ผ่านมา การดําเนินงานด้านการพัฒนาเยาวชนในจังหวัดยะลา จากข้อมูล
ประเดน็ ยุทธศาสตรข์ องจงั หวดั ยะลา สรุปได้ว่า โครงการพัฒนาเยาวชนเพ่ือสร้างงานโครงการจ้างงานนักเรียน
นักศึกษาในช่วงปิดภาคฤดูร้อน โครงการฝึกอาชีพแก่เยาวชนในสถาบันการศึกษาปอเนาะ โครงการมหกรรม
เปิดโลกการศึกษาและอาชีพเพ่ือการมีงานทําโครงการศูนย์ยะลาสันติสุขคืนคนดีสู่สังคม โครงการมวลชน
สานสัมพันธ์สานฝันสู่อันดามัน และโครงการครอบครัวป้องกันภัยแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนมีโครงการ
พัฒนาเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โครงการทูบีนับเบอร์วัน เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า การสร้างเยาวชนให้มีสํานึก
พลเมือง เร่ิมต้นจากการอบรม ดูแล เอาใจใส่ศึกษาให้ความรู้ของครอบครัว พ่อแม่ และญาติพี่น้อง การได้รับ
การศึกษาจากสถาบันที่เยาวชนศึกษาและหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าท่ีเกี่ยวกับเยาวชน คือ สํานักงานพัฒนา
สังคมและความมน่ั คงของมนุษย์จังหวดั ยะลา และสํานักงานพัฒนาชมุ ชนจังหวดั ยะลา

P a g e | 57

1) กิจกรรมการสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่
จงั หวัดยะลา

- จัดโครงการสอนภาษาไทยให้ผู้ไม่รู้หนังสือหรือผู้อ่านภาษาไทยไม่ได้ เพื่อสร้างความ
ภาคภูมใิ จในความเปน็ คนไทยมคี วามเปน็ เจ้าของประเทศมากขึน้

- โครงการสอนภาษามลายูให้แก่ทหารพรานเพื่อให้สามารถส่ือสารสร้างความเข้าใจกับ
ประชาชน

- โครงการสาํ นึกรกั ษ์ท้องถนิ่ เสริมสรา้ งความสมานฉันท์ เพ่ือให้เยาวชนทาํ กิจกรรมร่วมกัน
และเป็นโครงการทสี่ ่งเสรมิ ปลกู จิตสํานึกใหเ้ ยาวชนรกั บ้านเกิด รู้สกึ ความเปน็ เจ้าของ

- โครงการนําเยาวชนสู่สันตเิ พ่ือเรยี นร้วู ธิ ีการสร้างสันตภิ าพการจัดการความขดั แย้ง
- โครงการค่ายเอดสแ์ ละยาเสพติด
- จัดตั้งศูนย์บริการท่ีเป็นมิตรแก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีความพอใจ มีความประทับใจ
รูส้ ึกวา่ ตนเองมคี วามสําคัญทาํ ใหม้ ีความรักตอ่ ประเทศชาติ
- จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายในการพัฒนาหรือแก้ไข
ปญั หาในชุมชนทําให้เยาวชนภูมใิ จและมีความรักตอ่ ชุมชน
- โครงการส่งเสริมอาชีพแก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนเห็นช่องทางอาชีพในอนาคต ใช้เวลา
วา่ งให้เป็นประโยชน์ มีความคดิ สร้างสรรค์ มคี วามรบั ผดิ ชอบมากขน้ึ
- กิจกรรมนันทนาการ เช่น กิจกรรมฟุตบอลภาคฤดูร้อน และกิจกรรมออร์เคสตราเพื่อ
สะท้อนการอยรู่ ่วมกัน
- โครงการสานพลงั เยาวชนนาํ สงั คมเขม้ แขง็
- โครงการส่งเสริมอาชีพให้เด็กและเยาวชน เช่น ปลูกผัก เล้ียงไก่ ซ่อมรถจักรยานยนต์
เป็นตน้
2) ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินกิจกรรมเพ่ือเสริมสร้างสํานึก ความเป็นพลเมืองแก่
เยาวชนในจังหวดั ยะลา
ปัญหาส่วนใหญ่ที่คุกคามหรือส่งเสริมการสร้างสํานึกพลเมืองจังหวัดยะลา คือ เยาวชน
ขาดความรับผิดชอบในการร่วมกิจกรรมเพ่ือการพัฒนาศักยภาพและในการทําโครงการ ปัญหาความไม่เข้าใจ
ในวัตถุประสงค์ของการทํากิจกรรม เยาวชนขาดจิตอาสา จิตสาธารณะ ปัญหาด้านยาเสพติด งบประมาณ
ในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในการทําโครงการไม่ต่อเน่ือง การใช้งบประมาณไม่โปร่งใส ขาดความเป็น
อสิ ระ
3) แนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการสร้างเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เด็ก
และเยาวชนในระดบั พนื้ ทจี่ งั หวดั ยะลา
- กจิ กรรมการสรา้ งเสริมสํานึกความเป็นพลเมืองแก่เด็กและเยาวชน ควรดําเนินการทั้งใน
ระบบและนอกระบบโรงเรียน เน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมและสรุปบทเรียนร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้
และยาํ้ สํานกึ พลเมืองบอ่ ย ๆ เพือ่ ให้กลายเป็นวฒั นธรรมของชุมชนตอ่ ไป
- กิจกรรมนอกหลักสูตร ที่ทํานอกเหนือกิจกรรมในชั้นเรียน นอกจากน้ี ยังรวมท้ังการให้
หน่วยงานราชการภาคีที่มีหน้าที่เกี่ยวกับโครงการท่ีเยาวชนดําเนินการ หรือบุคคลที่มีบทบาทในชุมชนมาร่วม
รับรู้ เป็นสักขีพยานการทํางานของโครงการ โดยเน้นวางระบบการทํางานแบบเป็นทางการและลายลักษณ์
อกั ษร มกี าํ หนดการทํางานที่ชดั เจนและมีคณะบุคคลที่มีหนา้ ทเี่ ก่ียวขอ้ งมารว่ มตดิ ตาม

P a g e | 58

การศกึ ษาเกีย่ วกบั ความเปน็ พลเมืองในบริบทตา่ งประเทศ
ในหลายประเทศมีการส่งเสริมเรื่องการศึกษาเรื่องความเป็นพลเมือง ซึ่งแต่ละประเทศ
มีแนวคิดและประเด็นในการศึกษาท่ีแตกต่างกัน โดยเอกสารนี้จะนําเสนอแนวคิด พร้อมท้ังประเด็นการปฏิบัติ
ท่ีน่าสนใจที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมด้านความเป็นพลเมือง โดยเน้ือหาหลักนํามาจากบทความของเลิศพงษ์
อุดมพงศ์ เร่ือง การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic/Citizenship Education) ในการส่งเสริมบทบาทของ
ภาคพลเมืองในการเมืองระบบตัวแทน : แนวทางท่ียั่งยืนผ่านประสบการณ์จากต่างประเทศ (2558) ซึ่งมี
ประเทศทีน่ า่ สนใจ ดงั น้ี
ประเทศญีป่ ุ่น
ญ่ีปุ่นเป็นประเทศท่ีอยู่ในทวีปเอเชีย มีรูปแบบของรัฐเป็นรัฐเดี่ยวและปกครองด้วยระบอบ
ประชาธิปไตยในระบบรฐั สภา มีองค์พระจักรพรรดหิ รอื กษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นําในการ
บริหารประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย (ชํานาญ จันทร์เรือง, 2554) ในปี ค.ศ. 2013 ได้รับการจัดอันดับ
ด้านความเปน็ ประชาธิปไตย (Democracy Ranking) เป็นอันดับ 20 ของโลก (แคมป์เบลล์และคณะ Campbell
et.al., 2013) นับเป็นประเทศประชาธิปไตยในฝ่ังเอเชียเพียงไม่กี่ประเทศที่ได้รับการประเมินอยู่ในอันดับต้น ๆ
ของโลก
การศึกษาเพ่ือความเป็นพลเมืองในประเทศญี่ปุ่น คือ การพัฒนาพลเมืองผู้ซึ่งจะสร้างสังคม
ประชาธิปไตยในอนาคต ซึ่งประชาธิปไตยมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเป็นพลเมืองมีทั้งรูปแบบเสรีนิยม
และรัฐนิยม จึงมีความหลากหลายและความยากที่จะนิยามคํานี้ให้มีความหมายที่ครอบคลุมได้ในระดับ
นโยบาย เร่ือง การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองน้ันอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงหลัก 2 กระทรวง
คือ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ และกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ กีฬา
และเทคโนโลยีโดยที่รัฐบาลมีการกําหนดแผนนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนขึ้น ในปี ค.ศ. 2003 โดยได้
กลา่ วถึงหลกั การสําคัญ 4 ขอ้ สําหรับการจดั การศึกษาเพ่ือความเปน็ พลเมืองของญี่ป่นุ ประกอบด้วย
1) สนับสนุนความเป็นอสิ ระทางสังคม
2) สนบั สนุนใหไ้ ดร้ ับประสบการณต์ ามความตอ้ งการของแตล่ ะบคุ คล
3) ปรบั เปลย่ี นมมุ มองของเยาวชนในฐานะสมาชิกทีก่ ระตอื รือรน้ ของสังคม
4) กระตุ้นใหเ้ กดิ บรรยากาศท่เี ป็นอสิ ระและมกี ารอภิปรายไดอ้ ย่างเปดิ กวา้ งในสงั คม
ในปี ค.ศ. 2006 มีการปฏิรูปพระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐานของญ่ีปุ่น ซึ่งนับตั้งแต่
ปี ค.ศ. 1947 ท่ียังไม่เคยมีการปฏิรูป แต่หลักการท่ีสําคัญประการหนึ่งที่ยังคงไว้อยู่ในพระราชบัญญัติโดยที่
มิได้มีการเปล่ียนแปลง มีใจความสําคัญในวรรคแรกว่า เป้าหมายของการศึกษาที่สําคัญ คือ การศึกษาจะ
ก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพโดยสมบูรณ์ พยายามอย่างหนักในการส่ังสอนขัดเกลาบุคคล มีจิตใจที่สดใส
ร่างกายท่ีสมบูรณ์เป็นผู้ซึ่งรักในความถูกต้องและความยุติธรรม เคารพในคุณค่าของตนเอง เคารพผู้ใช้แรงงาน
มีความตระหนักต่อความสํานักรับผิดชอบอย่างลึกซึ้ง ซึมซับจิตวิญญาณท่ีเป็นอิสระในฐานะเป็นผู้สร้าง
สันติภาพแห่งรัฐและสังคม ซึ่งเป้าหมายท่ีกําหนดขึ้นน้ัน เป็นประเด็นสําคัญที่จะสนับสนุนให้ประชาชนเป็น
พลเมืองอย่างแท้จริง
มีการส่งเสริมเร่ืองจิตสาธารณะ ซึ่งนําไปสู่การมีส่วนร่วมอย่างอิสระในการสร้างสังคมพร้อม
ท้ังการพัฒนาทัศนคติที่มีต่อความต้องการรับผิดชอบต่อการเติบโตของสังคม ซึ่งปัจจุบันทําให้ประชาชนใน
ประเทศมีจติ สาธารณะ สามารถเหน็ ไดใ้ นหลาย ๆ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในประเทศญี่ป่นุ

P a g e | 59

การศึกษาความเป็นพลเมืองถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ในระดับ
ประถมศึกษาเน้ือหาวชิ าพลเมอื งเป็นศูนยก์ ลางของการสร้างความเป็นพลเมือง โดยอาศัยฐานของการตระหนัก
ในประชาธิปไตยและความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชน และความหมายและแนวคิดในเร่ืองความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ “สร้างความเช่ือมโยงกับครอบครัวและชุมชน สร้างให้นักเรียนมีความตระหนักว่ามนุษย์เป็น
จุดเริ่มต้นที่สําคัญของสังคม สร้างให้นักเรียนมีความคิดเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างเร่ืองส่วนตัวและสังคม
ความมีศักดิ์ศรีของตนเองในระบบครอบครัวแบบร่วมสมัย ความเท่าเทียมทางเพศ และสร้างให้เยาวชน
ตระหนักถึงความสําคัญของแบบแผนประเพณีของชีวิตในสังคม การรักษาขนบธรรมเนียมและความสํานึก
รบั ผิดชอบของแตล่ ะบคุ คล”

ประเด็นศกึ ษาเกยี่ วกบั หนา้ ที่พลเมืองในประเทศญี่ป่นุ
สําหรับประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง แต่ละคร้ังมีความ
รุนแรงและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจํานวนมาก แต่จากความยากลําบากจากส่ิงที่เกิดขึ้น
ก็ได้เกิดสิ่งที่น่าสนใจจากพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นพลเมือง ท้ังในส่วนของความรับผิดชอบต่อสังคม
จิตสาธารณะ ความมีวินัย และอ่ืน ๆ โดยจะนําเสนอเป็นเร่ืองราวส้ัน ๆ เพ่ือง่ายต่อการทําความเข้าใจ ดังน้ี
โดยเนื้อหานาํ มาจากบทความเร่ือง “เร่ืองราวดี ๆ ของคนญี่ปนุ่ ยามภาวะฉกุ เฉนิ ” (“เรอ่ื งราวดี ๆ”, 2554)
กรณีท่ี 1 ที่สวนสนุกแห่งหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ซ่ึงทําให้นักท่องเที่ยวจํานวนมากไม่สามารถ
ออกไปข้างนอกได้ และทางร้านขายของก็ได้เอาขนมมาแจกนักท่องเที่ยว มีนักเรียนช้ันมัธยมปลายหญิง
กลุ่มหน่ึงไปเอามาเป็นจํานวนมาก ซึ่งมากเกินกว่าที่จะบริโภคหมด ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีว่า “ทําไมเอาไปเยอะ”
แต่วินาทีต่อมากลายเป็นความรู้สึกต้ืนตันใจ เพราะ “เด็กกลุ่มนั้นเอาขนมไปให้เด็ก ๆ ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถ
ไปเอาเองได้เนื่องจากต้องอยู่ดแู ลลกู ”
จากเหตุการณ์น้ีแสดงให้เห็นถึงความเอ้ือเฟื้อ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความ
รบั ผดิ ชอบตอ่ ผอู้ น่ื
กรณีท่ี 2 ในซปุ เปอรม์ าร์เก็ตแห่งหนงึ่ มขี องตกระเกะระกะเต็มพ้ืนเพราะแรงแผ่นดนิ ไหว แต่
คนทเ่ี ข้าไปซอ้ื ของไดช้ ว่ ยกนั เก็บของขน้ึ ไวบ้ นชนั้ แล้วกห็ ยิบสว่ นท่ตี นอยากซอื้ ไปตอ่ คิวจา่ ยเงิน
จากเหตุการณ์น้ีแสดงให้เห็นถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และมีความรบั ผดิ ชอบต่อผู้อ่ืน
กรณีที่ 3 ในจังหวัดจบิ ะเกิดแผน่ ดินไหวบ้านเรือนพังเสียหาย คุณลุงคนหน่ึงท่ีหลบภัยอยู่ก็ได้
เปรยออกมาว่า ต่อจากน้ีไปจะเป็นอย่างไร เด็กหนุ่มมัธยมปลาย ก็ตอบกลับไปว่า “ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องห่วง
ต่อจากนีไ้ ปเมื่อเป็นผูใ้ หญ่ พวกผมจะทาํ ใหม้ ันกลับมาเหมือนเดมิ แน่นอน”
จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนบ้านเกิด มีความคิดท่ีจะสร้าง
ชุมชนบ้านเกดิ กลบั มาใหเ้ หมอื นเดิม ไมย่ ่อท้อตอ่ ความยากลําบาก
กรณีท่ี 4 หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิคร้ังใหญ่ อาคารบ้านเรือนพังเสียหาย ประชาชนไม่มี
ท่ีอยู่อาศัยและอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค มีการแจกจ่ายอาหาร ประชาชนไม่มีการแย่งอาหารกัน
ประชาชนต่อแถวเพอื่ รบั อาหารอย่างเป็นระเบยี บเรยี บร้อย
ประเทศสาธารณรฐั เกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ตั้งอยู่ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี มีระบบการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย โดยมีประมุขของประเทศ คือ ประธานาธิบดี ซ่ึงได้รับการเลือกต้ังโดยตรงจาก
ประชาชน ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีนายกรัฐมนตรี ซ่ึงได้รับการแต่งต้ังโดยประธานาธิบดีผ่านความ
เห็นชอบจากรัฐสภา (กระทรวงการต่างประเทศ, 2556) เกาหลีใต้เป็นประเทศในเอเชียเพียงไม่กี่ประเทศ

P a g e | 60

ท่ีได้รับการจัดอันดับด้านความเป็นประชาธิปไตย (Democracy Ranking) ติด 1 ใน 30 ของโลก โดยได้เป็น
อันดับ 26 จากการประเมินปี ค.ศ. 2013 (แคมป์เบลล์และคณะ Campbell et.al., 2013) อาจกล่าวได้ว่า
ประเทศเกาหลใี ตม้ ีพฒั นาการของความเปน็ ประชาธปิ ไตยดีขนึ้ มาเปน็ ลาํ ดับ ท้ังความก้าวหน้าในด้านระบบการ
เลือกต้ังและความเจริญทางวัฒนธรรม ดัชนีความเป็นประชาธิปไตยขยับเพิ่มข้ึนทุกปี มีคะแนนสูงในทุกด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิทธิทางการเมืองและด้านเสรีภาพของพลเมือง จนได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม
ประเทศท่ีเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์เต็มใบ ในด้านการพัฒนาเยาวชนด้านการศึกษาเพ่ือความเป็นพลเมืองน้ัน
มีการดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีการกําหนดค่านิยม/สิ่งที่ดีงามพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบของทักษะชีวิต 4
ดา้ น ดา้ นละ 5 ลักษณะย่อย ได้แก่

1) การใช้ชีวิตส่วนตัว : การเคารพตนเอง ความจริงใจ ความซ่ือสัตย์ ความเป็นอิสระ และ
การยบั ยงั้ ช่ังใจ

2) การใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัว เพื่อนบ้าน และโรงเรียน : การปฏิบัติตนตามศาสนา
การปฏิบัติหนา้ ท่ขี องลกู ต่อพ่อแม่ จรรยามารยาทการอยู่ร่วมกัน และความรักต่อโรงเรียนและบ้านเกิด

3) การใช้ชีวิตในสังคม : การปฏิบัติตนตามกฎหมาย การสนใจต่อผู้อื่น การอนุรักษ์
สงิ่ แวดลอ้ ม ความยุติธรรม และการสร้างจติ สาํ นึกสาธารณะ

4) การใช้ชีวิตในระดับชาติและชาติพันธุ์ : ความรักในรัฐ ความรักในชาติ การมีจิตใจ
ที่มนั่ คง มสี ตสิ ัมปชัญญะ การสร้างความสนั ตภิ ายหลังการแบ่งแยก และความรักในมนษุ ยชาติ

ลักษณะสําคัญ 4 ประการนี้ ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ในระดับช้ันประถมศึกษา และยังส่งเสริม
การปลูกฝังทักษะการคิดและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม (moral thinking and judgment) หรือทักษะ
ทจี่ ําเปน็ ตอ่ การแกไ้ ขเชงิ จรยิ ธรรมในชีวิตประจําวนั อย่างถูกตอ้ งและมีเหตุผลโดยสรุป แนวคดิ สาํ หรับการศึกษา
เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของเกาหลีใต้ หมายถึง การฝึกฝนความสามารถในการคิดตัดสินใจในสถานการณ์
ที่เก่ียวข้องกับการเมือง และมีวัตถุประสงค์ท่ีจะให้ความรู้เก่ียวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองระดับชาติและ
ท้องถ่ิน ในฐานะที่เป็นพลเมืองผู้ถืออํานาจอธิปไตย (sovereign citizen) และสําหรับการให้การศึกษาแก่
เยาวชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง จะให้ความสําคัญกับการฝึกฝนทักษะและสอนให้รู้บทบาทหน้าที่
ในฐานะพลเมอื งทม่ี ีความสํานกึ รบั ผดิ ชอบ (responsible citizen)

วัฒนธรรมของคนเกาหลีใต้สอนใหค้ นมรี ะเบยี บวินยั หากได้เคยสมั ผสั หรอื สังเกตคนเกาหลีใต้
จะรับรู้ได้ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านการศึกษา กีฬา หรือการใช้ชีวิต และหากดูวิวัฒนาการของเกาหลีใต้นั้น
ประสบความสําเร็จในหลากหลายด้านในเวลาอันรวดเร็ว เพราะเกาหลีใต้สอนให้มีการตื่นตัวกับส่ิงต่าง ๆ
อยเู่ สมอ มกี ารปลกู ฝังความรักชาติ ซ่งึ เปน็ วฒั นธรรมทสี่ ืบทอดกนั มาอยา่ งยาวนาน

ประเด็นศึกษาเกีย่ วกบั หน้าท่พี ลเมอื งในประเทศสาธารณรฐั เกาหลี
กรณีท่ี 1 กรณีการอัปปางของเรือเฟอร์ร่ีของเกาหลีใต้ที่ชื่อเซวอล ซ่ึงจมลงระหว่างการ
เดินทางจากกรุงโซลไปยังเกาะเซจูทั้งสาเหตุของการล่มของเรือความรับผิดชอบของกัปตันเรือ นายลี จูนเซ้ียก
(Lee Joon-seok) และผู้ช่วยกัปตันเรือ การปฏิบัติการและการกระจายคําสั่งของลูกเรือหลังเกิดอุบัติเหตุ
รวมทั้งการกู้ภัยท่ียังคงดําเนินอยู่ซึ่งพบศพผู้โดยสาร 54 คน สูญหาย 248 คน รอดชีวิต 174 คน จาก
จํานวนผู้โดยสารและลูกเรือท้ังหมด 476 คน ผู้เสียชีวิตและสูญหายส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมัธยมจากโรงเรียน
Danwon High School ในเมืองอนั ซนั ชานกรงุ โซลท่ไี ปทัศนศึกษาถึง 350 คน
รอ้ ยเอกนายแพทยย์ งยุทธ มยั ลาภ ได้เขียนเร่ืองท่ีน่าสนใจประเด็นหนึ่งไว้ คือ การปฏิบัติของ
นักเรียนท่ีอยู่บนเรือ หลังจากมีคําส่ังจากลูกเรือไปยังผู้โดยสารเม่ือเกิดเหตุแล้วก็คือ “ให้น่ังอยู่กับที่ห้าม
เคลื่อนไหวไปไหน ขณะท่ีเจ้าหน้าที่กําลังดําเนินการแก้ไขปัญหากันอยู่ซึ่งผู้โดยสารจํานวนมากก็ปฏิบัติตาม

P a g e | 61

คําสงั่ น้ี” จนกระท่ังเรือเอียงและจมลงแมว้ า่ จะมีเวลาถงึ 2 ชัว่ โมงกวา่ กอ่ นท่เี รอื จะจม ซึ่งผู้โดยสารน่าจะมีเวลา
เพียงพอทจี่ ะสามารถช่วยเหลือตัวเองออกมาจากเรือได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวินัยของเด็ก ๆ นักเรียนที่ฟังคําสั่ง
ของ “ผู้ใหญ่” และสะท้อนถึงความมีระเบียบวินัยของคนเกาหลีที่เช่ือฟังคําสั่งแม้ตนทราบดีว่าอันตรายใกล้ตัว
เข้ามามากแล้ว แต่ครั้งน้ี “ผู้ใหญ่” คงประเมินสถานการณ์ผิดพลาดอย่างร้ายแรง มีรายงานว่าลูกเรือได้
พยายามกระจายคําสั่งสละเรือในช่วงครึ่งชั่วโมงต่อมาหลังจากเกิดอุบัติเหตุแต่เข้าใจว่าคําส่ังนี้กระจายไปไม่
ทว่ั ถึง และเช่ือวา่ ผ้โู ดยสารจํานวนมากโดยเฉพาะเด็ก ๆ ก็ยังคงนั่งอย่กู ับท่ี (ยงยทุ ธ มัยลาภ, ม.ป.ป.)

กรณีที่ 2 ประเด็นเร่ืองของความรับผิดชอบ เห็นได้จากการลาออกและฆ่าตัวตายของ
ข้าราชการนักการเมืองในประเทศหลายคน ท้ัง ๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับความผิดท่ีเกิดขึ้นโดยตรง แต่อยู่ใน
ภาระหน้าท่ีท่ีดูแล เช่น การลาออกของนายกรัฐมนตรี ชอง ฮง วอน เพื่อรับผิดชอบต่อการล่มของเรือเซวอล
และไมส่ ามารถชว่ ยเหลือได้อยา่ งรวดเร็ว ทง้ั ๆ ทน่ี ายกรัฐมนตรีไม่ใชค่ นขับเรอื และก็ไม่ใชค่ นท่ีเขา้ ไปชว่ ยเหลือ

เดือนธันวาคม 2548 นายฮูห์ จุนยัง ผู้บัญชาการตํารวจเกาหลีใต้ ได้ยื่นหนังสือลาออกจาก
ตําแหน่งเพ่ือรับผิดชอบกรณีที่ตํารวจปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงจนถึงแก่ความตาย กรณีเจ้าหน้าท่ีตํารวจทุบตี
กลุ่มเกษตรกรท่ีมารวมตัวประท้วง เรื่อง การเปิดเสรีข้าวในกรุงโซล จนเป็นเหตุให้มีชาวนาเสียชีวิต 2 คน
พรอ้ มกบั ขอโทษต่อกรณดี งั กลา่ ว (เมธา มาสขาว, 2557)

เดือนมีนาคม 2549 นายกรัฐมนตรีลี เฮชอน แห่งเกาหลีใต้ ประกาศลาออกจากตําแหน่ง
ภายหลังจากท่ีเขาแอบไปร่วมตีกอล์ฟกับกลุ่มนักธุรกิจ ท่ีเมืองปูซานเม่ือวันท่ี 1 มีนาคม 2549 แม้จะเป็น
วันหยุดของเกาหลีใต้ แต่ก็ฟังไม่ขึ้น ในขณะที่ท้ังประเทศกําลังประสบปัญหาเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของ
พนกั งานรถไฟ (เมธา มาสขาว, 2557)

P a g e | 62

บทที่ 6
กฎหมายที่เกี่ยวขอ้ งกบั
การขดั กนั ระหว่างประโยชนส์ ว่ นบคุ คลกบั ประโยชนส์ ว่ นรวม
ตามมาตรา 126 – 129 แหง่ พระราชบญั ญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนญู
ว่าดว้ ยการปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ รติ พ.ศ. 2561

หมวด 6
การขัดกนั ระหวา่ งประโยชน์สว่ นบคุ คลกับประโยชนส์ ่วนรวม

มาตรา 126 นอกจากเจ้าพนักงานของรัฐที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ห้าม
มิให้กรรมการผูด้ าํ รงตาํ แหน่งในองค์กรอสิ ระ และเจ้าพนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกําหนด
ดาํ เนินกิจการ ดังต่อไปน้ี

(1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทํากับหน่วยงานของรัฐท่ีเจ้าพนักงานของรัฐ
ผู้น้ันปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการกํากับ ดูแล
ควบคมุ ตรวจสอบหรือดาํ เนนิ คดี

(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทท่ีเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
ที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะท่ีเป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
ในการกํากับ ดูแล ควบคุมตรวจสอบหรือดําเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชน
จาํ กัดไม่เกนิ จํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กาํ หนด

(3) รับสัมปทานหรือคงถอื ไวซ้ ง่ึ สัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการสว่ นท้องถ่ิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ
ส่วนท้องถ่ิน อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทท่ีรับ
สัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจ ไม่ว่าโดยตรง
หรือโดยอ้อมในการกํากับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดําเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดหรือ
บรษิ ทั มหาชนจํากดั ไม่เกนิ จาํ นวนท่คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. กาํ หนด

(4) เขา้ ไปมสี ่วนไดเ้ สยี ในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจ
ของเอกชนซง่ึ อยภู่ ายใต้การกํากับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐท่ีเจ้าพนักงานของรัฐผู้น้ัน
สังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชน
น้ันอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติ
หน้าที่ของเจ้าพนกั งานของรัฐผ้นู ้นั

ใหน้ าํ ความในวรรคหนง่ึ มาใชบ้ ังคับกับคู่สมรสของเจ้าพนกั งานของรฐั ตามวรรคหนง่ึ ดว้ ย โดย
ให้ถือว่าการดําเนินกิจการของคู่สมรสเป็นการดําเนินกิจการของเจ้าพนักงานของรัฐ เว้นแต่เป็นกรณีที่คู่สมรส
นั้นดําเนินการอย่กู อ่ นท่เี จ้าพนกั งานของรัฐจะเขา้ ดาํ รงตาํ แหน่ง

คู่สมรสตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียน
สมรสดว้ ย ทงั้ นี้ ตามหลกั เกณฑ์ท่คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด

เจ้าพนักงานของรัฐที่มีลักษณะตาม (2) หรือ (3) ต้องดําเนินการไม่ให้มีลักษณะดังกล่าว
ภายในสามสิบวันนบั แต่วันทเี่ ข้าดาํ รงตาํ แหนง่

P a g e | 63

มาตรา 127 ห้ามมิให้กรรมการ ผ้ดู าํ รงตาํ แหนง่ ในองค์กรอิสระ ผ้ดู ํารงตาํ แหน่งระดับสูงและ
ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดดําเนินการใดตามมาตรา 126 (4) ภายในสองปี
นับแตว่ ันทีพ่ น้ จากตําแหน่ง

มาตรา 128 ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดอันอาจ
คํานวณเป็นเงินได้จากผู้ใดนอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับท่ี
ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
ตามหลักเกณฑ์ และจาํ นวนท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช. กาํ หนด

ความในวรรคหน่ึงมิให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดจากบุพการี
ผูส้ ืบสนั ดาน หรือญาตทิ ี่ใหต้ ามประเพณหี รอื ตามธรรมจรรยาตามฐานานุรปู

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดของผู้ซึ่งพ้นจาก
การเปน็ เจา้ พนักงานของรฐั มาแล้วยังไม่ถึงสองปดี ้วยโดยอนุโลม

มาตรา 129 การกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดน้ีให้ถือว่าเป็นการกระทํา
ความผิดต่อตาํ แหน่งหนา้ ทรี่ าชการหรอื ความผิดต่อตาํ แหนง่ หนา้ ทใ่ี นการยุตธิ รรม

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจุ รติ แหง่ ชาติ
เรื่อง หลกั เกณฑก์ ารรบั ทรพั ยส์ นิ หรือประโยชน์อน่ื ใดโดยธรรมจรรยาของเจา้ พนกั งานของรัฐ พ.ศ. 2563

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 128 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาตจิ ึงออกประกาศไว้ ดังตอ่ ไปน้ี

ข้อ 1 ประกาศน้ีเรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เร่ือง หลกั เกณฑก์ ารรบั ทรัพยส์ นิ หรือประโยชน์อ่ืนใดโดยธรรมจรรยาของเจา้ พนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563”

ขอ้ 2 ประกาศนใี้ หใ้ ชบ้ งั คบั ตงั้ แตว่ ันถัดจากวนั ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาเป็นตน้ ไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สนิ หรือประโยชนอ์ ่ืนใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าท่ขี องรฐั พ.ศ. 2543
ข้อ 4 ในประกาศนี้ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายความว่า
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้จากบุคคลที่ให้กันในโอกาสเทศกาลหรือ
วันสําคัญ และให้หมายความรวมถึงการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้ในโอกาส
การแสดงความยนิ ดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ตามมารยาท ที่ถือ
ปฏิบตั ิกนั ในสงั คมดว้ ย
“ญาติ” หมายความว่า พีน่ ้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา
คูส่ มรส ผู้บพุ การี หรือผู้สืบสนั ดานของคูส่ มรส บุตรบญุ ธรรมหรือผู้รบั บตุ รบุญธรรม
“ประโยชน์อ่ืนใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้” หมายความว่า ส่ิงที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา
การรบั ความบนั เทงิ การรบั บรกิ าร การรับการฝึกอบรม หรือสง่ิ อื่นใดในลักษณะเดยี วกนั
ข้อ 5 ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็น
เงินได้นอกเหนือจากการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัย
อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดโดยธรรมจรรยา ท่ีกําหนดไว้ใน
ประกาศนี้
ข้อ 6 เจา้ พนักงานของรัฐจะรบั ทรพั ยส์ ินหรือประโยชน์อ่ืนใดโดยธรรมจรรยาได้ ดงั ตอ่ ไปน้ี

P a g e | 64

(1) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้จากผู้ใดซึ่งมิใช่ญาติที่มี
ราคาหรอื มลู ค่าในการรับจากแตล่ ะบคุ คล แตล่ ะโอกาสไม่เกนิ สามพันบาท

(2) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้ท่ีการให้น้ันเป็นการให้
ในลักษณะให้กบั บุคคลทัว่ ไป

ข้อ 7 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้ท่ีไม่เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์หรือมีราคาหรือมีมูลค่ามากกว่าท่ีกําหนดไว้ในข้อ 6 ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐได้รับมาโดยมีความ
จําเป็นอย่างย่ิงที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรีมิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เจ้าพนักงานของรัฐ
ผู้นั้นต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดนั้น ต่อหัวหน้าส่วนราชการ
ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอ่ืนของรัฐ สถาบัน หรือองค์กรท่ีเจ้าพนักงาน
ของรัฐผู้นั้นสังกัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้รับส่ิงนั้นไว้เพ่ือให้วินิจฉัยว่า มีเหตุผลความจําเป็น ความ
เหมาะสม และสมควรท่ีจะให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดน้ันไว้เป็นสิทธิของตน
หรือไม่ ในกรณที ่ีหัวหนา้ สว่ นราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอ่ืนของรัฐ
สถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นสังกัด มีคําสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
ดังกล่าว กใ็ หค้ ืนทรพั ยส์ ินหรือประโยชน์อ่ืนใดน้ันแก่ผูใ้ หโ้ ดยทนั ที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ ให้เจ้าพนักงาน
ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดดังกล่าวให้เป็นสิทธิของหน่วยงานท่ีเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น
สังกัดโดยเร็ว เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สิน หรือ
ประโยชนอ์ น่ื ใดดังกลา่ ว

ในกรณีท่ีเจ้าพนักงานของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหน่ึง เป็นผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้า
ส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า หรือเป็นกรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือเป็น
กรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอ่ืนของรัฐ ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเก่ียวกับการรับทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อ่ืนใดน้ันต่อผู้มีอํานาจแต่งต้ังถอดถอน ส่วนผู้ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการและกรรมการ
ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจถอดถอนให้แจ้งต่อ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ท้ังน้ี เพ่ือดาํ เนนิ การตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

ในกรณีท่ีเจ้าพนักงานของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง
สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร หรอื สมาชิกวุฒิสภา ใหแ้ จง้ รายละเอียดข้อเทจ็ จรงิ เก่ยี วกบั การรับทรพั ย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดน้ันต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นเป็นสมาชิก แล้วแต่กรณี
เพอื่ ดําเนินการตามวรรคหนง่ึ และวรรคสอง

ในกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร
ท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถ่ิน ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถ่ินขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นต่อผู้มีอํานาจแต่งต้ังถอดถอน
เพื่อดาํ เนนิ การตามวรรคหนงึ่ และวรรคสอง

การรายงานตามข้อน้ี ใหร้ ายงานตามแบบแนบท้ายประกาศฉบับนี้
ข้อ 8 หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้ของเจ้า
พนกั งานของรฐั ตามประกาศฉบับน้ีให้ใช้บังคับกับผู้ซงึ่ พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของรฐั มาแล้วไมถ่ งึ สองปดี ้วย

ระเบยี บสํานกั นายกรัฐมนตรวี า่ ดว้ ยการใหห้ รอื รบั ของขวัญของเจา้ หนา้ ที่ของรัฐ พ.ศ. 2544
โดยที่ผา่ นมาคณะรฐั มนตรีไดเ้ คยมีมตคิ ณะรฐั มนตรเี ก่ียวกบั แนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญ

และรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้หลายคร้ังเพ่ือเป็นการเสริมสร้างค่านิยมให้เกิดการประหยัด มิให้มีการ
เบียดเบยี นข้าราชการ โดยไม่จําเป็นและสร้างทัศนคติท่ีไม่ถูกต้องเนื่องจากมีการแข่งขันกันให้ของขวัญในราคา

P a g e | 65

แพง ท้ังยังเป็นช่องทางให้เกิดการประพฤติมิชอบอื่น ๆ ในวงราชการอีกด้วย และในการกําหนดจรรยาบรรณ
ของเจ้าหน้าท่ีของรัฐประเภทต่าง ๆ ก็มีการกําหนดในเร่ืองทํานองเดียวกัน ประกอบกับคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจรติ แหง่ ชาติ ได้ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และจํานวนท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สิน
หรอื ประโยชน์อน่ื ใดโดยธรรมจรรยาได้ ฉะนั้น จึงสมควรรวบรวมมาตรการเหล่าน้ันและกําหนดเป็นหลักเกณฑ์
การปฏิบัติของเจ้าหน้าท่ีของรัฐในการให้ของขวัญและรับของขวัญไว้เป็นการถาวร มีมาตรฐานอย่างเดียวกัน
และมีความชัดเจน เพ่ือเสริมมาตรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้เป็นผล
อย่างจรงิ จัง ท้ังนี้ เฉพาะในส่วนทค่ี ณะกรรมการปอ้ งกันและปราบปรามการทุจรติ แห่งชาตไิ มไ่ ด้กําหนดไว้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบยี บบรหิ ารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 นายกรฐั มนตรีโดยความเหน็ ชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบยี บไว้ ดงั ตอ่ ไปน้ี

ขอ้ 3 ในระเบยี บนี้
“ของขวัญ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อ่ืนใดที่ให้แก่กัน เพ่ืออัธยาศัยไมตรี
และให้หมายความรวมถึงเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดท่ีให้เป็นรางวัล ให้โดยเสน่หาหรือเพื่อการ
สงเคราะห์ หรือให้เป็นสินน้ําใจ การให้สิทธิพิเศษซึ่งมิใช่เป็นสิทธิท่ีจัดไว้สําหรับบุคคลท่ัวไปในการได้รับการลด
ราคาทรัพย์สิน หรือการให้สิทธิพิเศษในการได้รับบริการหรือความบันเทิงตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางหรือท่องเท่ียวค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันและไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋ว หรือ
หลักฐานอ่นื ใด การชําระเงินให้ล่วงหน้า หรอื การคนื เงนิ ให้ในภายหลงั
“ปกติประเพณีนิยม” หมายความว่า เทศกาลหรือวันสําคัญซ่ึงอาจมีการให้ของขวัญกัน และ
ให้หมายความรวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ
หรือการใหค้ วามช่วยเหลือตามมารยาท ทถ่ี ือปฏิบตั ิกนั ในสังคมด้วย
“ผู้บังคับบัญชา” ให้หมายความรวมถึง ผู้ซ่ึงปฏิบัติหน้าท่ีหัวหน้าหน่วยงาน ท่ีแบ่งเป็นการ
ภายในของหน่วยงานของรัฐและผู้ซ่ึงดํารงตําแหน่งในระดับท่ีสูงกว่าและได้รับมอบหมายให้มีอํานาจบังคับ
บัญชาหรือกาํ กับดแู ลดว้ ย
“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส บุตร บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือ
รว่ มบิดาหรือมารดาเดยี วกนั
ขอ้ 4 ระเบียบน้ไี มใ่ ช้บงั คบั กบั กรณีการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ
ซึง่ อยภู่ ายใตบ้ ังคบั กฎหมายประกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ด้วยการป้องกนั และปราบปรามการทุจริต
ข้อ 5 เจ้าหน้าท่ีของรัฐจะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของ
ผบู้ ังคับบัญชา นอกเหนอื จากกรณปี กตปิ ระเพณนี ิยมทม่ี ีการใหข้ องขวญั แก่กันมไิ ด้
การให้ของขวญั ตามปกติประเพณนี ยิ มตามวรรคหนึ่ง เจ้าหนา้ ที่ของรฐั จะใหข้ องขวญั ท่มี ีราคา
หรือมูลค่าเกินจํานวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนดไว้ สําหรับการรับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าท่ีของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ ริตมไิ ด้
เจา้ หน้าทข่ี องรัฐจะทําการเรยี่ ไรเงนิ หรือทรพั ย์สินอนื่ ใดหรอื ใช้เงินสวัสดิการใด ๆ เพ่ือมอบให้
หรือจัดหาของขวญั ใหผ้ บู้ ังคับบญั ชาหรอื บคุ คลในครอบครัวของผู้บงั คับบญั ชาไม่ว่ากรณีใด ๆ มไิ ด้
ขอ้ 6 ผบู้ งั คบั บัญชาจะยนิ ยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจาก
เจ้าหนา้ ทีข่ องรัฐ ซึ่งเปน็ ผู้อยูใ่ นบังคบั บญั ชามิได้ เวน้ แตเ่ ป็นการรับของขวญั ตามข้อ 5

P a g e | 66

ข้อ 7 เจ้าหน้าท่ีของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญ
จากผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าท่ีของเจ้าหน้าท่ีของรัฐมิได้ ถ้ามิใช่เป็นการรับของขวัญตามกรณีท่ีกําหนดไว้ใน
ข้อ 8

ผู้ท่ีเกย่ี วขอ้ งในการปฏบิ ตั หิ นา้ ทข่ี องเจ้าหนา้ ท่ีของรฐั ตามวรรคหนงึ่ ไดแ้ ก่ ผู้มาติดต่องานหรือ
ผซู้ ่ึงไดร้ ับประโยชน์จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าท่ขี องรัฐ ในลักษณะดงั ต่อไปนี้

(1) ผู้ซ่ึงมีคําขอให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการอย่างหน่ึงอย่างใด เช่น การขอใบรับรอง การ
ขอใหอ้ อกคาํ สั่งทางปกครอง หรือการร้องเรียน เปน็ ต้น

(2) ผู้ซ่งึ ประกอบธุรกจิ หรือมสี ่วนได้เสยี ในธุรกิจท่ที ํากับหนว่ ยงานของรัฐ เช่น การจัดซ้ือจัดจ้าง
หรอื การได้รับสมั ปทาน เปน็ ต้น

(3) ผู้ซ่งึ กาํ ลงั ดําเนินกจิ กรรมใด ๆ ทม่ี หี นว่ ยงานของรัฐเปน็ ผู้ควบคมุ หรือกาํ กบั ดูแล เช่น การ
ประกอบกิจการโรงงานหรอื ธรุ กิจหลกั ทรพั ย์ เป็นต้น

(4) ผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์หรือผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ของเจา้ หน้าที่ของรฐั

ข้อ 8 เจ้าหน้าท่ีของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญ
จากผ้ทู ีเ่ กีย่ วขอ้ งในการปฏบิ ัติหนา้ ท่ีของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เฉพาะกรณี การรับของขวัญที่ให้ตามปกติประเพณี
นิยม และของขวัญน้ันมีราคา หรือมูลค่าไม่เกินจํานวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติกําหนดไว้ สําหรับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ตาม
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนญู วา่ ดว้ ยการป้องกันและปราบปรามการทจุ รติ

ข้อ 9 ในกรณีท่ีบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐรับของขวัญแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทราบในภายหลังว่าเป็นการรับของขวัญโดยฝ่าฝืนระเบียบน้ี ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่
คณะกรรมการป้องกนั และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกาํ หนดไว้ สําหรับการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อ่ืนใด
โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีมีราคา หรือมูลค่าเกินกว่าที่กําหนดไว้ ตามกฎหมายประกอบ
รฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยการป้องกนั และปราบปรามการทุจรติ

ข้อ 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้ใดจงใจปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ของขวัญหรือรับของขวัญ
โดยฝา่ ฝนื ระเบยี บนี้ ใหด้ าํ เนนิ การ ดังตอ่ ไปนี้

(1) ในกรณีท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐเป็นข้าราชการการเมือง ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
ประพฤติปฏิบัติไม่เป็นไปตามคุณธรรมและจริยธรรม และให้ดําเนินการตามระเบียบที่นายกรัฐมนตรีกําหนด
โดยความเหน็ ชอบของคณะรฐั มนตรวี ่าด้วยมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของขา้ ราชการการเมอื ง

(2) ในกรณีท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นข้าราชการประเภทอื่นนอกจาก (1) หรือพนักงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าเจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้นั้นเป็นผู้กระทําความผิด
ทางวนิ ยั และใหผ้ ู้บงั คับบัญชามหี นา้ ทด่ี ําเนนิ การใหม้ กี ารลงโทษทางวนิ ยั เจา้ หน้าทขี่ องรฐั ผ้นู นั้

ข้อ 11 ให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่สอดส่อง และให้คําแนะนําในการ
ปฏิบัติตามระเบียบนี้แก่หน่วยงานของรัฐ ในกรณีท่ีมีผู้ร้องเรียนต่อสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีว่า
เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติในการให้ของขวัญหรือรับของขวัญฝ่าฝืนระเบียบน้ี ให้สํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรีแจง้ ไปยงั ผู้บังคับบญั ชาของเจา้ หนา้ ทีข่ องรฐั ผู้นัน้ เพื่อดําเนินการตามระเบียบนี้

ข้อ 12 เพ่ือประโยชน์ในการเสริมสร้างให้เกิดทัศนคติในการประหยัดแก่ประชาชนทั่วไป
ในการแสดงความยินดกี ารแสดงความปรารถนาดี การแสดงการตอ้ นรบั หรือการแสดงความเสยี ใจในโอกาสตา่ ง ๆ

P a g e | 67

ตามปกติประเพณีนิยมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพยายามใช้วิธีการแสดงออกโดยใช้บัตรอวยพร การลงนามในสมุด
อวยพร หรอื ใช้บตั รแสดงความเสียใจแทนการให้ของขวัญ

ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างค่านิยมการแสดงความยินดี การแสดงความปรารถนาดี
การแสดงการต้อนรับ หรือการแสดงความเสียใจ ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง แนะนําหรือกําหนด
มาตรการจงู ใจที่จะพฒั นาทศั นคติ จิตสํานึกและพฤติกรรมของผู้อยูใ่ นบังคบั บัญชาให้เป็นไปในแนวทางประหยัด

ระเบยี บสํานกั นายกรฐั มนตรีวา่ ด้วยการเรย่ี ไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544
ขอ้ 4 ในระเบียบนี้
“การเร่ียไร” หมายความว่า การเก็บเงินหรือทรัพย์สิน โดยขอร้องให้ช่วยออกเงินหรือ
ทรัพย์สนิ ตามใจสมคั รและให้หมายความรวมถึงการซ้อื ขาย แลกเปลี่ยน ชดใชห้ รอื บรกิ ารซ่ึงมกี ารแสดงโดยตรง
หรือโดยปริยายว่ามิใช่เป็นการซ้ือขาย แลกเปล่ียน ชดใช้หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมเงินหรือทรัพย์สิน
ท่ีไดม้ าทั้งหมด หรือบางส่วนไปใชใ้ นกจิ การอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ นั้นด้วย
“เข้าไปมสี ่วนเกย่ี วขอ้ งกับการเรี่ยไร” หมายความวา่ เข้าไปชว่ ยเหลือโดยมีส่วนร่วมในการจัด
ให้มีการเรี่ยไรในฐานะเป็นผู้ร่วมจัดให้มีการเรี่ยไร หรือเป็นประธานกรรมการ อนุกรรมการ คณะทํางาน
ท่ีปรึกษา หรอื ในฐานะอน่ื ใดในการเรี่ยไรน้ัน
ข้อ 6 หน่วยงานของรัฐจะจัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเก่ียวข้องกับการเรี่ยไรมิได้
เว้นแต่เป็นการเร่ียไรตามข้อ 19 หรือได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการเร่ียไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) หรอื กคร.จงั หวดั แลว้ แต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑท์ ่กี ําหนดไวใ้ นระเบยี บน้ี
หน่วยงานของรัฐซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตในการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการ
เรี่ยไร นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเร่ียไรแล้ว จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ทก่ี ําหนดไวใ้ นระเบียบนด้ี ้วย ในกรณีนี้ กคร. อาจกําหนดแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐดังกล่าวให้สอดคล้อง
กบั กฎหมายวา่ ด้วยการควบคุมการเร่ยี ไรก็ได้
ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเร่ียไรของหน่วยงานของรัฐ เรียกโดยย่อว่า “กคร.”
ประกอบดว้ ย รองนายกรฐั มนตรีทนี่ ายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสํานักนายกรัฐมนตรี
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้แทนสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงนายกรัฐมนตรี
แตง่ ตั้งอีกไม่เกนิ สคี่ นเป็นกรรมการ และผแู้ ทนสาํ นกั งานปลดั สาํ นกั นายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานกุ าร
กคร. จะแต่งต้ังข้าราชการในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีจํานวนไม่เกินสองคนเป็น
ผชู้ ่วยเลขานุการกไ็ ด้
ข้อ 18 การเร่ียไรหรือเข้าไปมีส่วนเก่ียวข้องกับการเรี่ยไรท่ี กคร. หรือ กคร. จังหวัด แล้วแต่
กรณจี ะพิจารณาอนุมัตใิ หต้ ามขอ้ 6 ได้นั้น จะต้องมลี ักษณะและวตั ถุประสงคอ์ ย่างหน่งึ อยา่ งใด ดังตอ่ ไปน้ี
(1) เป็นการเรี่ยไรที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ
นัน้ เอง
(2) เป็นการเร่ยี ไรทห่ี น่วยงานของรัฐเป็นผูด้ าํ เนนิ การเพ่ือประโยชน์แก่การป้องกันหรือพัฒนา
ประเทศ
(3) เปน็ การเรย่ี ไรที่หน่วยงานของรฐั เป็นผู้ดําเนินการเพือ่ สาธารณประโยชน์
(4) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรของบุคคลหรือนิติบุคคล
ที่ไดร้ ับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคมุ การเร่ยี ไรตามกฎหมายวา่ ด้วยการควบคุมการเร่ียไรแลว้

P a g e | 68

ขอ้ 19 การเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเก่ียวข้องกับการเร่ียไรดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอ
อนมุ ัตจิ าก กคร. หรอื กคร. จงั หวดั แลว้ แต่กรณี

(1) เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมมี ติคณะรฐั มนตรใี ห้เรีย่ ไรได้
(2) เป็นการเร่ียไรท่ีรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจําเป็นต้องดําเนินการ เพื่อช่วยเหลือ
ผเู้ สียหายหรอื บรรเทาความเสยี หายท่เี กดิ จากสาธารณภยั หรือเหตุการณใ์ ดท่ีสาํ คญั
(3) เปน็ การเรี่ยไรเพือ่ ร่วมกันทําบุญเนอื่ งในโอกาสการทอดผา้ พระกฐินพระราชทาน
(4) เปน็ การเร่ียไรตามข้อ 18 (1) หรอื (3) เพื่อให้ได้เงินหรือทรัพย์สินไม่เกินจํานวนเงินหรือ
มูลคา่ ตามท่ี กคร. กาํ หนดโดยประกาศในราชกิจจานเุ บกษา
(5) เป็นการเข้าไปมีส่วนเก่ียวข้องกับการเร่ียไรตามข้อ 18 (4) ซึ่ง กคร. ได้ประกาศในราช
กจิ จานุเบกษา ยกเว้นใหห้ น่วยงานของรฐั ดาํ เนินการไดโ้ ดยไม่ตอ้ งขออนมุ ัติ
(6) เป็นการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐอื่นที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับยกเว้นในการขอ
อนมุ ตั ิตามระเบยี บนีแ้ ลว้
ข้อ 20 ในกรณีท่ีหน่วยงานของรัฐได้รับอนุมัติหรือได้รับยกเว้นตามข้อ 19 ให้จัดให้มีการ
เร่ียไรหรอื เข้าไปมสี ่วนเกย่ี วขอ้ งกบั การเร่ียไร ให้หน่วยงานของรัฐดาํ เนนิ การ ดงั ต่อไปนี้
(1) ใหก้ ระทาํ การเรยี่ ไรเป็นการทวั่ ไป โดยประกาศหรอื เผยแพรต่ อ่ สาธารณชน
(2) กําหนดสถานท่ีหรอื วธิ กี ารทีจ่ ะรับเงนิ หรอื ทรัพยส์ ินจากการเร่ียไร
(3) ออกใบเสร็จหรือหลักฐานการรับเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ผู้บริจาคทุกคร้ัง เว้นแต่ โดย
ลักษณะแห่งการเรี่ยไรไม่สามารถออกใบเสร็จหรือหลักฐานดังกล่าวได้ ก็ให้จัดทําเป็นบัญชีการรับเงินหรือ
ทรพั ย์สินนนั้ ไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
(4) จัดทําบัญชีการรับจ่ายหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเร่ียไรตามระบบบัญชีของทางราชการ
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันท่ีสิ้นสุดการเรี่ยไร หรือทุกสามเดือน ในกรณีท่ีเป็นการเรี่ยไรที่กระทําอย่างต่อเน่ือง
และปิดประกาศเปิดเผย ณ ทท่ี าํ การของหน่วยงานของรัฐที่ได้ทําการเรี่ยไรไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เพ่ือให้บุคคล
ทว่ั ไปได้ทราบและจดั ให้มีเอกสารเก่ยี วกับการดาํ เนนิ การเร่ียไรดังกล่าวไว้ ณ สถานท่ีสําหรับประชาชนสามารถ
ใชใ้ นการค้นหาและศกึ ษาขอ้ มูลขา่ วสารของราชการด้วย
(5) รายงานการเงินของการเร่ียไรพร้อมทั้งส่งบัญชีตาม (4) ให้สํานักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้จัดทําบัญชีตาม (4) แล้วเสร็จ หรือในกรณีที่เป็นการเรี่ยไรท่ีได้กระทํา
อยา่ งตอ่ เน่อื ง ใหร้ ายงานการเงินพรอ้ มทัง้ ส่งบัญชดี ังกลา่ วทกุ สามเดอื น
ข้อ 21 ในการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเร่ียไร ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐ
ดาํ เนินการ ดงั ตอ่ ไปน้ี
(1) กําหนดประโยชน์ท่ีผู้บริจาคหรือบุคคลอื่นจะได้รับซ่ึงมิใช่ประโยชน์ท่ีหน่วยงานของรัฐได้
ประกาศไว้
(2) กําหนดให้ผู้บริจาคต้องบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเป็นจํานวนหรือมูลค่าที่แน่นอน เว้นแต่
โดยสภาพมีความจําเป็นต้องกําหนดเป็นจํานวนเงินที่แน่นอน เช่น การจําหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงหรือบัตร
เข้ารว่ มการแข่งขนั เป็นต้น
(3) กระทําการใด ๆ ที่เป็นการบังคับให้บุคคลใดทําการเรี่ยไรหรือบริจาค หรือกระทําการ
ในลักษณะที่ทําให้บุคคลน้ันต้องตกอยู่ในภาวะจํายอมไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ช่วยทําการเรี่ยไร
หรอื บริจาค ไม่วา่ โดยทางตรงหรอื ทางอ้อม

P a g e | 69

(4) ให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐออกทําการเร่ียไร หรือใช้ สั่ง ขอร้อง หรือบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
หรือบคุ คลอ่ืนออกทําการเรีย่ ไร

ข้อ 22 เจ้าหน้าทีข่ องรัฐท่ีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรของบุคคลหรือนิติบุคคลท่ีได้รับ
อนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเร่ียไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไรซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ
จะต้องไม่กระทําการ ดังต่อไปน้ี

(1) ใช้หรือแสดงตําแหน่งหนา้ ทใี่ หป้ รากฏในการดําเนนิ การเรยี่ ไรไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาด้วย
สง่ิ พมิ พ์ตามกฎหมายวา่ ด้วยการพิมพ์หรือสือ่ อยา่ งอ่นื หรือด้วยวิธกี ารอื่นใด

(2) ใช้ ส่ัง ขอร้อง หรือบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลใดช่วยทําการเรี่ยไรให้ หรือ
กระทําในลักษณะท่ีทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลอ่ืนนั้นต้องตกอยู่ในภาวะจํายอมไม่สามารถปฏิเสธหรือ
หลกี เลีย่ งท่ีจะไมช่ ่วยทาํ การเรยี่ ไรให้ได้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

P a g e | 70

บทท่ี 7
แนวทางการแกไ้ ขปญั หาการทุจรติ

วิธคี ดิ แบบฐาน 10 (Analog thinking) / ฐาน 2 (Digital thinking)
แนวทางการแก้ปัญหาการทุจริตอย่างย่ังยืน ต้องเร่ิมต้นแก้ไขท่ีตัวบุคคล โดยการปรับเปล่ียน

ระบบการคิดของคนในสังคมแยกแยะใหไ้ ด้วา่ …
“เรือ่ งใดเปน็ ประโยชนส์ ว่ นตน...เรือ่ งใดเปน็ ประโยชนส์ ว่ นรวม”

ต้องแยกออกจากกันให้ได้อย่างเด็ดขาด ไม่นํามาปะปนกัน ไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็น
ประโยชน์ส่วนตนไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาทดแทนบุญคุณส่วนตน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและ
พวกพ้องเหนือกว่าประโยชน์ส่วนรวม กรณีเกิดผลประโยชน์ขัดกันต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือกว่า
ประโยชน์ส่วนตน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม “เจ้าหน้าท่ีของรัฐ” ซึ่งมีอํานาจหน้าท่ีที่จะต้องกระทําการหรือใช้
ดุลยพินิจในการตัดสินใจที่เก่ียวข้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวม หากปล่อยให้มีผลประโยชน์ส่วนตนหรือ
ความสัมพันธ์ส่วนตนเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจแล้ว ย่อมต้องเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและ
ประโยชนส์ ว่ นรวมหรอื ผลประโยชนท์ ับซ้อน (Conflict of interests) ข้นึ แน่นอน และความเสียหายก็จะตกอยู่
กบั ประชาชนและประเทศชาตนิ น่ั เอง

P a g e | 71

ระบบคดิ ทจ่ี ะกล่าวตอ่ ไปน้…ี เป็นการนาํ มาประยกุ ตใ์ ช้และเปรยี บเทยี บ เพือ่ ใหเ้ จ้าหนา้ ที่ของรัฐ
นําไปเป็น “หลักคิด” ในการปฏิบัติงานให้สามารถแยกประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด
คือ

“ระบบคดิ ฐานสบิ (Analog)”
กบั

“ระบบคดิ ฐานสอง (Digital)”

ทาํ ไม จึงใชร้ ะบบเลขฐานสบิ (Analog) และระบบเลขฐานสอง (Digital) มาใชแ้ ยกแยะการแกท้ จุ รติ
เรามาทาํ ความเข้าใจในระบบ… ฐานสบิ (Analog), ฐานสอง (Digital) กันเถอะ

จากท่ีกล่าวมา... เม่ือนําระบบเลข “ฐานสิบ Analog” และ ระบบเลข “ฐานสอง Digital”
มาปรับใช้เป็นแนวคดิ คือ ระบบคดิ “ฐานสิบ Analog” และ ระบบคิด “ฐานสอง Digital” จะเหน็ ได้วา่ ...

ระบบคิด “ฐานสิบ Analog” เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว และอาจ
หมายถึงโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง เกิดความคิดท่ีหลากหลาย ซับซ้อน หากนํามาเปรียบเทียบกับการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องคิดเยอะ ต้องใช้ดุลยพินิจเยอะ อาจจะนําประโยชน์
สว่ นตนและประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกันได้ แยกประโยชน์สว่ นตนและประโยชนส์ ่วนรวมออกจากกันไม่ได้

ระบบคิด “ฐานสอง Digital” เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลท่ีสามารถเลือกได้เพียง 2
ทางเท่าน้ัน คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หน่ึง) และอาจหมายถึงโอกาสท่ีจะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่ กับ ไม่ใช่,
เท็จ กับ จริง, ทําได้ กับ ทําไม่ได้, ประโยชน์ส่วนตน กับ ประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น จึงเหมาะกับการนํามา
เปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีต้องสามารถแยกเร่ืองตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออก
จากกันได้อย่างเดด็ ขาดและไมก่ ระทําการทเ่ี ปน็ การขัดกันระหวา่ งประโยชน์สว่ นตนและประโยชนส์ ว่ นรวม

“ระบบคดิ ฐานสบิ (Analog)”
Vs

“ระบบคดิ ฐานสอง (Digital)”

P a g e | 72

“การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสิบ (Analog)” คือ การท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีระบบ
การคิดท่ียังแยกเรื่องตําแหน่งหน้าท่ีกับเร่ืองส่วนตนออกจากกันไม่ได้ นําประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์
ส่วนรวมมาปะปนกันไปหมดแยกแยะไม่ออกว่าส่ิงไหนคือประโยชน์ส่วนตนส่ิงไหนคือประโยชน์ส่วนรวม
นําบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เบียดบังราชการ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
เครือญาติ หรือพวกพ้อง เหนือกว่าประโยชน์ของส่วนรวมหรือของหน่วยงาน จะคอยแสวงหาประโยชน์จาก
ตําแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม จะยึดประโยชน์
สว่ นตนเปน็ หลัก

“การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสอง (Digital)” คือ การที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐมีระบบ
การคดิ ทีส่ ามารถแยกเร่อื งตําแหนง่ หนา้ ทีก่ ับเรื่องส่วนตนออกจากกัน แยกออกอยา่ งชัดเจนว่าสิง่ ไหนถูกส่ิงไหนผิด
สง่ิ ไหนทาํ ได้ สิ่งไหนทําไม่ได้ สงิ่ ไหนคอื ประโยชน์ส่วนตน สิง่ ไหนคอื ประโยชน์ส่วนรวม ไมน่ ํามาปะปนกนั ไมน่ ํา
บุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพ่ือประโยชน์ส่วนตน ไม่เบียดบังราชการ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
หรอื ของหนว่ ยงานเหนือกว่าประโยชน์ของส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง ไม่แสวงหาประโยชน์จากตําแหน่ง
หน้าที่ราชการ ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดจากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์
ส่วนตนและประโยชน์สว่ นรวม ก็จะยดึ ประโยชน์ส่วนรวมเปน็ หลกั
บทบาทของรัฐ/เจา้ หนา้ ทขี่ องรัฐ

หลักคิดการแยกประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมอย่างเด็ดขาด ดังกล่าวน้ี สอดคล้อง
กับแนวปฏิบตั ขิ องเจา้ หนา้ ท่ขี องรัฐ ตามประมวลจรยิ ธรรมขา้ ราชการพลเรือน ข้อ 5 ทกี่ าํ หนดให้เจา้ หน้าทข่ี อง
รัฐต้องแยกเร่ืองส่วนตัวออกจากตําแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เหนือกว่า
ประโยชน์ส่วนตน โดยอยา่ งนอ้ ยต้องวางตน ดังนี้

(1) ไม่นําความสัมพันธ์ส่วนตัวท่ีตนมีต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นญาติพ่ีน้อง พรรคพวก เพ่ือนฝูง
หรือผมู้ บี ุญคณุ ส่วนตัว มาประกอบการใช้ดุลยพินิจให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น หรือปฏิบัติต่อบุคคลนั้น
ตา่ งจากบุคคลอ่นื เพราะชอบหรอื ชัง

(2) ไม่ใช้เวลาราชการ เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ หรือส่ิงอํานวยความสะดวกของทาง
ราชการไปเพอ่ื ประโยชน์สว่ นตัวของตนเองหรอื ผู้อนื่ เว้นแต่ไดร้ ับอนญุ าตโดยชอบด้วยกฎหมาย

(3) ไม่กระทําการใด หรือดํารงตําแหน่ง หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัว ซ่ึงก่อให้เกิดความ
เคลือบแคลงหรอื สงสัยว่าจะขดั กบั ประโยชน์ส่วนรวมท่ีอยใู่ นความรับผดิ ชอบของหน้าที่ ในกรณมี ีความเคลือบแคลง
หรือสงสัย ให้ข้าราชการผู้นั้นยุติการกระทําดังกล่าวไว้ก่อนแล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหัวหน้าส่วนราชการ และ
คณะกรรมการจรยิ ธรรมพจิ ารณา เม่อื คณะกรรมการจรยิ ธรรมวนิ จิ ฉยั เป็นประการใดแลว้ จงึ ปฏบิ ตั ิตามนัน้

(4) ในการปฏบิ ตั ิหน้าที่ที่รับผิดชอบในหน่วยงานโดยตรงหรือหน้าที่อื่นในราชการรัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการต้องยึดถือประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก ในกรณีที่มี
ความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ของทางราชการหรือประโยชน์ส่วนรวม กับประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม
อันจําเป็นตอ้ งวินจิ ฉยั หรอื ชี้ขาดตอ้ งยึดประโยชนข์ องทางราชการและประโยชนส์ ่วนรวมเปน็ สําคัญ

นอกจากนี้ ยงั สอดคลอ้ งกับแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าท่ีของรัฐในระดับสากล ซ่ึงองค์กรในระดับ
สากลต่างก็ให้ความสําคัญ ดังจะเห็นได้จากจรรยาบรรณสากลสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามประกาศของ
องค์การสหประชาชาติและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention
Against Corruption - UNCAC) ค.ศ. 2003 ที่กําหนดให้การแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตําแหน่งหน้าที่เป็น
มาตรฐานความประพฤติสาํ หรบั เจ้าหนา้ ท่ขี องรฐั ในการปฏบิ ตั งิ านของรฐั แตล่ ะรัฐ และระหวา่ งรฐั

P a g e | 73

จรรยาบรรณระหว่างประเทศสําหรบั เจา้ หน้าทีข่ องรฐั
จรรยาบรรณระหว่างประเทศสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ท่ีระบุในภาคผนวกของมติ

สหประชาชาติ ครั้งที่ 51/59 เมอื่ วนั ท่ี 12 ธันวาคม 1996 (พ.ศ. 2539)
- ผลประโยชนข์ ดั กัน และการขาดคณุ สมบตั ิ

4. เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พึงใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่ของตนในการแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตนหรือผลประโยชน์ทางการเงินอันไม่สมควรสําหรับตนหรือสมาชิกในครอบครัว ไม่พึงประกอบธุรกรรม
เข้ารับตําแหน่งหรือหน้าท่ีหรือมีผลประโยชน์ทางการเงิน การค้า หรือผลประโยชน์อ่ืนใดในทํานองเดียวกัน
ซงึ่ ขดั กับตําแหน่งบทบาทหน้าท่ี หรือการปฏบิ ัติในตาํ แหนง่ หรือบทบาทหน้าท่นี ้นั

5. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามขอบเขตท่ีกําหนดโดยตําแหน่งหน้าท่ีของตนภายใต้กฎหมายหรือ
นโยบายในการบริหารพึงแจ้งเก่ียวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ การค้า และการเงิน หรือกิจการอันทําเพื่อ
ผลตอบแทนทางการเงิน ซ่ึงอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดกันได้ในสถานการณ์ที่มีโอกาสจะเกิดหรือท่ีดู
เหมือนว่าได้เกิดกรณีผลประโยชน์ขัดกันขึ้นระหว่างหน้าท่ีและผลประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด
เจา้ หนา้ ท่ีของรฐั ผนู้ ั้นพึงปฏบิ ตั ติ ามมาตรการทก่ี ําหนดไว้เพือ่ ลดหรือขจัดซ่งึ ผลประโยชนข์ ดั กนั นน้ั

6. เจา้ หนา้ ที่ของรฐั ไม่พงึ ใช้เงิน ทรัพยส์ ิน บริการ หรือข้อมูลซึ่งได้มาจากการปฏิบัติงาน หรือ
เป็นผลมาจากการปฏิบัติงาน เพ่ือกิจการอื่นใดโดยไม่เกี่ยวข้องกับงานในตําแหน่งหน้าท่ีโดยไม่สมควรอย่าง
เดด็ ขาด

7. เจ้าหน้าท่ีของรัฐ พึงปฏิบัติมาตรการซ่ึงกําหนดโดยกฎหมายหรือนโยบายในการบริหาร
เพือ่ มใิ หผ้ ลประโยชนจ์ ากตําแหนง่ หนา้ ทเ่ี ดมิ ของตนโดยไมส่ มควรเมอ่ื พ้นจากตําแหนง่ หนา้ ทไี่ ปแลว้
- การรบั ของขวญั หรือของกํานลั

9. เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พึงเรียกร้อง หรือรับของขวัญหรือของกํานัลอ่ืนไม่ว่าทางตรงหรือ
ทางออ้ มซงึ่ อาจมีอทิ ธพิ ลตอ่ การปฏบิ ตั งิ านตามบทบาท การดาํ เนินงานตามหนา้ ที่หรอื การวนิ ิจฉัยของตน

กรณีตวั อย่างระบบคดิ เพ่อื แยกแยะระหวา่ งประโยชนส์ ่วนตนและประโยชนส์ ่วนรวม

P a g e | 74

P a g e | 75

P a g e | 76

สอื่ การเรยี นรู้
ประกอบเนอื้ หา

P a g e | 77

ส่ือประกอบเนอ้ื หา : โมเดล STRONG : จติ พอเพยี งตา้ นทจุ ริต

P a g e | 78

P a g e | 79

สื่อประกอบเน้ือหา : การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ
ผลประโยชนส์ ่วนรวม

P a g e | 80

P a g e | 81

P a g e | 82

ส่ือประกอบเนอ้ื หา : ความอายและความไมท่ นตอ่ การทุจริต

P a g e | 83

P a g e | 84

P a g e | 85

ส่ือประกอบเนอ้ื หา : พลเมอื งและความรับผดิ ชอบตอ่ สังคม

P a g e | 86

P a g e | 87

ชอ่ งทางในการคน้ หา
ส่อื ประกอบเนอ้ื หา

เพ่มิ เติม

ลาํ ดบั แหลง่ ส่อื P a g e | 88

1 เว็ปไซตส์ าํ นักงาน ป.ป.ช. แหลง่ ค้นหา

2 YOUTUBE CHANNEL www.nacc.go.th
ไปท่สี ่อื ประชาสมั พนั ธ์
www.youtube.com
ค้นหาคําว่า “สํานักงาน ป.ป.ช.” หรือ
“สํานักงาน ป.ป.ช. 'NACC Thailand
official'”

NOTE

P a g e | 89

P a g e | 90


Click to View FlipBook Version