The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by hidekada, 2021-12-28 04:05:06

คู่มือประกอบการอบรมสร้างวิทยากรตัวคูณในการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ประจำปี 2565

คู่มือประกอบการอบรมสร้างวิทยากรฯ

คูม่ ือประกอบ

การอบรมสรา้ งวทิ ยากรตัวคณู ในการปลูกฝงั วธิ ีคดิ แยกแยะ
ผลประโยชน์สว่ นตนและผลประโยชนส์ ่วนรวม

โครงการสรา้ งและพฒั นาเครอื ข่ายวทิ ยากรตวั คณู
ในการปลกู ฝงั วธิ คี ดิ แยกแยะผลประโยชนส์ ่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

ประจาํ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

สํานกั ตา้ นทจุ ริตศึกษา
สาํ นักงานคณะกรรมการป้องกนั และ
ปราบปรามการทจุ ริตแห่งชาติ
สํานักงาน ป.ป.ช.

Page |2

คํานํา

คมู่ อื ประกอบการอบรมสร้างวิทยากรตวั คณู ในการปลูกฝังวธิ คี ิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน
และผลประโยชน์ส่วนรวม จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคู่มือ/แนวทางในการอบรมวิทยากรต้นแบบ
ในการนําเอาองค์ความร้ไู ปขยายผล โดยสามารถประยุกต์องค์ความรู้ในการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์
ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการต่อต้าน
การทุจริต โดยใช้โมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต เผยแพร่สู่ประชาชนทุกช่วงวัยเพื่อปรับกระบวนคิด
ในการต่อต้านการทุจริต ร่วมบูรณาการสร้างสังคมท่ีไม่ทนต่อการทุจริต เพ่ือการดําเนินการขับเคลื่อนเป็นไป
ตามยทุ ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
และสอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)
ประเด็น 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้สํานักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการ
ขับเคล่ือนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซ่ึงกําหนด
เป้าหมาย ได้แก่ 1. ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซ่ือสัตย์สุจริต 2. คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง
ท้ังน้ี สํานกั ตา้ นทุจริตศกึ ษา ไดร้ ับมอบหมายให้รบั ผิดชอบ เป้าหมายที่ 1 ประชาชนมวี ฒั นธรรมและพฤติกรรม
ซื่อสตั ย์สจุ ริต ตัวชีว้ ดั เด็กและเยาวชนไทยมีพฤตกิ รรมท่ยี ดึ ม่นั ความซอื่ สตั ยส์ จุ รติ

แนวทางในการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น
การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ต้องปลูกและปลุกจิตสํานึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต
และการปลกู ฝังหลอ่ หลอมวฒั นธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนทกุ ชว่ งวยั ทุกระดับ มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรมคน
โดยการปลูกและปลุกจิตสํานึกความเป็นพลเมืองท่ีดี มีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์
สว่ นตน ส่ิงใดเปน็ ประโยชนส์ ว่ นรวม มคี วามละอายต่อการกระทําความผิด ไม่เพิกเฉยอดทนต่อการทุจริต และ
เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยการส่งเสริมวัฒนธรรมสุจริตผ่านหลักสูตรการศึกษา
ภาคบังคับท่ีเด็กไทยทุกคนต้องเรียนท้ังภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา เพ่ือ
ปฏริ ูปพลเมืองไทยในอนาคต

การปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และการ
ประยุกต์โมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต ในการต่อต้านการทุจริต ถือเป็นหัวใจหลักสําคัญในการ
สร้างจิตสํานึกความเป็นพลเมือง เกิดความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต มุ่งสู่พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ
ต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ และถือเป็นชุดวิชา 2 ใน 4 ชุดวิชาของหลักสูตรต้านทุจริต
ศึกษา ที่สร้างข้ึนโดยคณะอนุกรรมการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้ และส่ือประกอบการเรียนรู้ด้านการ
ป้องกันการทุจริต ได้ร่วมกันสร้างหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) ประกอบด้วย 5
หลักสูตร ดงั น้ี

1. หลกั สูตรการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน (รายวชิ าเพม่ิ เติมการปอ้ งกนั การทจุ รติ )
2. หลกั สตู รอุดมศึกษา (วยั ใส ใจสะอาด Youngster with good heart)
3. หลกั สตู รตามแนวทางรบั ราชการ กลมุ่ ทหารและตํารวจ
4. หลกั สูตรสรา้ งวิทยากรผ้นู ําการเปลย่ี นแปลงส่สู ังคมทไ่ี มท่ นตอ่ การทจุ ริต
5. หลักสตู รโค้ชเพื่อการรู้คดิ ตา้ นทุจรติ
ซ่ึงประกอบด้วย 4 ชุดวิชา ได้แก่ 1. STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต 2. การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์
ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม 3. ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต และ 4. พลเมืองและความ

Page |3

รับผิดชอบต่อสังคม โดยหลักสูตรดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการนําไปทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
สําหรบั การใชใ้ นกลมุ่ เป้าหมายตอ่ ไป

คู่มอื ประกอบการอบรมสร้างวทิ ยากรตวั คณู ในการปลูกฝงั วธิ ีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน
และผลประโยชน์ส่วนรวม ประจาํ ปี 2565 ได้แบง่ เน้ือหาสาระออกเปน็ 4 ส่วน ประกอบดว้ ย

บทที่ 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
บทท่ี 2 โมเดล STRONG : จติ พอเพยี งต้านทจุ ริต
บทท่ี 3 การคดิ แยกแยะระหวา่ งผลประโยชนส์ ว่ นตนกับผลประโยชนส์ ่วนรวม
บทที่ 4 ความอายและความไมท่ นต่อการทจุ ริต
บทที่ 5 พลเมอื งและความรับผดิ ชอบต่อสังคม
บทที่ 6 กฎหมายท่ีเกี่ยวข้องกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

ตามมาตรา 126 – 129 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2561
บทท่ี 7 แนวทางการแก้ไขปญั หาการทจุ ริต
คณะผู้จดั ทาํ หวงั เป็นอยา่ งย่งิ ว่าค่มู ือประกอบการอบรมสรา้ งวทิ ยากรตัวคูณในการปลูกฝังวิธีคิด
แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมนี้ จะเป็นแนวทาง และเปน็ ประโยชนต์ ่อทา่ น ไมม่ ากกน็ ้อย
ในการขยายผลองค์ความรู้สู่ประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ท่ัวประเทศ เพื่อสร้าง
สังคมทไี่ ม่ทนต่อการทุจริต ต่อไป

สาํ นกั ตา้ นทจุ รติ ศึกษา
ธันวาคม 2564

Page |4

สารบญั หน้า
5
บทท่ี 1 ความเปน็ มาและวตั ถุประสงค์ 18
บทที่ 2 โมเดล STRONG : จติ พอเพียงตา้ นทจุ ริต 24
บทที่ 3 การคดิ แยกแยะระหว่างผลประโยชนส์ ว่ นตนกบั ผลประโยชนส์ ว่ นรวม 31
บทท่ี 4 ความอายและความไม่ทนตอ่ การทจุ รติ 51
บทท่ี 5 พลเมืองและความรบั ผิดชอบต่อสังคม 67
บทที่ 6 กฎหมายท่เี ก่ียวข้องกบั การขัดกนั ระหว่างประโยชนส์ ว่ นบคุ คลกับประโยชนส์ ่วนรวม
75
ตามมาตรา 126 – 129 แหง่ พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญ
วา่ ดว้ ยการปอ้ งกนั และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 81
บทที่ 7 แนวทางการแกไ้ ขปญั หาการทจุ รติ
- เปลี่ยนวิธีคดิ จาก ฐาน 10 (Analog thinking) / เป็นฐาน 2 (Digital thinking)
- บทบาทความเป็นเจา้ หน้าท่ขี องรฐั และจรรยาบรรณ
รวมถงึ มาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหนา้ ทร่ี ัฐ
สอ่ื ประกอบเน้ือหา
-โมเดล STRONG : จติ พอเพยี งต้านทจุ ริต
-การคิดแยกแยะระหวา่ งผลประโยชน์สว่ นตนและผลประโยชน์สว่ นรวม
-ความอายและความไม่ทนตอ่ การทุจรติ
-พลเมืองและความรบั ผิดชอบตอ่ สงั คม

Page |5

บทท่ี 1 ความเปน็ มาและวตั ถปุ ระสงค์

1.1 สาเหตขุ องการทุจรติ และทศิ ทางการป้องกันการทุจรติ ในประเทศไทย
การทุจริตเป็นหนึ่งในประเด็นท่ีทั่วโลกแสดงความกังวล อันเนื่องมาจากเป็นปัญหาท่ีมีความ

ซับซ้อน ยากต่อการจัดการและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับกันว่าการทุจริตน้ันมีความเป็นสากล
เพราะมีการทจุ รติ เกิดขึ้นในทกุ ประเทศ ไมว่ ่าจะเป็นประเทศท่พี ฒั นาแลว้ หรอื ประเทศท่กี าํ ลงั พัฒนา การทุจริต
เกิดขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน หรือแม้กระทั่งในองค์กรท่ีไม่แสวงหาผลกําไรหรือองค์กรเพ่ือการกุศล
ในปัจจุบันการกล่าวหาและการฟ้องร้องคดีการทุจริตยังมีบทบาทสําคัญในด้านการเมืองมากกว่าช่วงท่ีผ่านมา
รัฐบาลในหลายประเทศมีผลการปฏิบัติงานท่ีไม่โปร่งใสเท่าท่ีควร องค์กรระดับโลกหลายองค์กรเสื่อมเสีย
ช่ือเสียง เน่ืองมาจากเหตุผลด้านความไม่โปร่งใส อาจกล่าวได้ว่าการทุจริตเป็นหน่ึงในปัญหาใหญ่ที่จะขัดขวาง
การพัฒนาประเทศให้เป็นรัฐสมัยใหม่ซึ่งต่างเป็นที่ทราบกันดีว่าการทุจริตควรเป็นประเด็นแรก ๆ ที่ควรให้
ความสําคัญในวาระของการพัฒนาประเทศของทุกประเทศ เห็นได้ชัดว่าการทุจริตส่งผลกระทบอย่างมากกับ
การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในประเทศท่ีกําลังพัฒนา เป็นการขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ
การเมอื ง และสังคม ให้กา้ วไปสู่รฐั สมยั ใหม่ และควรเปน็ ปญั หาทคี่ วรจะตอ้ งรบี แกไ้ ขโดยเร็วทีส่ ุด การทุจริตนั้น
อาจเกดิ ข้นึ ไดใ้ นประเทศที่มีสถานการณ์ดังต่อไปนี้

1) มีกฎหมาย ระเบียบ หรอื ข้อกําหนดจาํ นวนมากทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกบั การดําเนินการทางธุรกิจ ซ่ึง
จะเป็นโอกาสที่จะทําให้เกิดมูลค่าเพ่ิมหรือกําไรส่วนเกินทางเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างย่ิงหากมาตรการ
หรือข้อกําหนดดังกล่าวมีความซบั ซ้อน คลุมเครือ เลอื กปฏบิ ตั ิ เป็นความลบั หรอื ไมโ่ ปรง่ ใส

2) เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจมีสิทธิ์ขาดในการใช้ดุลยพินิจ ซ่ึงให้อิสระในการเลือกปฏิบัติเป็นอย่าง
มากวา่ จะเลอื กใช้อํานาจใด กบั ใครก็ได้

3) ไม่มีกลไกท่ีมีประสิทธิภาพหรือองค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลและจัดการต่อการกระทําใด ๆ
ของเจ้าหน้าทที่ ม่ี ีอาํ นาจ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ประเทศท่ีกําลงั พฒั นา การทุจรติ มีแนวโนม้ ทีจ่ ะเกดิ ข้ึนได้อย่างมาก
โดยไม่ใช่เพียงเพราะว่าลักษณะประชากรนั้นแตกต่างจากภูมิภาคอื่นที่พัฒนาแล้ว หากแต่เป็นเพราะกลุ่ม
ประเทศที่กําลังพัฒนาน้ันมีปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอ้ือหรือสนับสนุนต่อการเกิดการทุจริต อาทิ (1) แรงขับเคลื่อน
ที่อยากมรี ายได้เป็นจํานวนมากอันเป็นผลเน่ืองมาจากความจน ค่าแรงในอัตราท่ีต่ํา หรือมีสภาวะความเสี่ยงสูง
ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือการว่างงาน เป็นต้น (2) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจ
ก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต (3) การออกกฎหมาย
และกระบวนการยุติธรรมท่ีไม่เข้มแข็ง (4) กฎหมายและประมวลจรยิ ธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย (5) ประชากร
ในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก (6) ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และ
เจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว จะนําไปสู่การทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตระดับบน
หรอื ระดบั ลา่ งกต็ าม ซงึ่ ผลท่ตี ามมาอยา่ งเหน็ ไดช้ ัดเจนมดี ้วยกันหลายประการ เช่น การทุจริตทําให้ภาพลักษณ์
ของประเทศด้านความโปร่งใสนั้นเลวร้ายลง การลงทุนในประเทศโดยเฉพาะอย่างย่ิงจากนักลงทุนต่างชาติลด
น้อยลง ส่งผลกระทบทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน หรือการทุจริตทําให้เกิดช่องว่าง
ของความไม่เท่าเทียมที่กว้างขึ้นของประชากรในประเทศหรืออีกนัยหนึ่ง คือ ระดับความจนน้ันเพิ่มสูงข้ึน
ในขณะที่กลุ่มคนรวยกระจุกตัวอยู่เพียงกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มเดียว นอกจากนี้ การทุจริตยังทําให้การสร้างและ
ปรับปรุงสาธารณูปโภคต่าง ๆ ของประเทศนั้นลดลง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ รวมท้ังยังอาจนําพา
ประเทศไปสูว่ ิกฤตทิ างการเงนิ ท่รี ้ายแรงได้อกี ดว้ ย

Page |6

การเปล่ียนแปลงวธิ คี ดิ (Paradigm Shift) จึงเปน็ เรอ่ื งสําคญั อยา่ งมากต่อการดําเนินงานด้าน
การต่อต้านการทุจริต ตามคําปราศรัยของประธานที่ได้กล่าวต่อที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2558 ว่า “การทุจริตเป็นหนึ่งในความท้าทายที่มีความสําคัญมากในศตวรรตที่
21 ผู้นําโลกควรจะเพ่ิมความพยายามขึ้นเป็นสองเท่าท่ีจะสร้างเคร่ืองมือที่มีความเข้มแข็งเพื่อรื้อระบบ
การทุจริตที่ซ่อนอยู่ออกให้หมดและนําทรัพย์สินกลับคืนให้กับประเทศต้นทางที่ถูกขโมยไป…” ท้ังนี้
ไม่เพียงแต่ผู้นําโลกเท่าน้ันท่ีต้องจริงจังมากขึ้นกับการต่อต้านการทุจริต เราทุกคนในฐานะประชากรโลกก็มี
ความจําเป็นที่จะต้องเอาจริงเอาจังกับการต่อต้านการทุจริตเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปอาจมองว่าเป็นเร่ืองไกลตัว
แต่แทท้ ่จี ริงแล้วการทจุ ริตนนั้ เปน็ เรอ่ื งใกลต้ วั มากของทุกคนในสังคม การเปลย่ี นแปลงระบบวธิ กี ารคิดเป็นเร่ือง
สําคัญ หรือความสามารถในการแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตนออกจากประโยชน์ส่วนรวม เป็นส่ิงจําเป็น
ที่จะต้องเกิดข้ึนกับทุกคนในสังคม ต้องมีความตระหนักได้ว่าการกระทําใดเป็นการล่วงลํ้าสาธารณประโยชน์
การกระทําใดเป็นการกระทําท่ีอาจเกิดการทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
ตอ้ งคาํ นงึ ถึงประโยชน์ของประเทศชาติเปน็ อนั ดบั แรกก่อนที่จะคํานงึ ถึงผลประโยชนส์ ว่ นตนหรอื พวกพ้อง

การทุจริตในสังคมไทยระหว่างช่วงกว่าทศวรรษท่ีผ่านมาส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมหาศาล
และเป็นอุปสรรคสําคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ รูปแบบการทุจริตจากเดิมที่เป็นการทุจริตทางตรง
ไม่ซับซ้อน อาทิ การรับสินบน การจัดซ้ือจัดจ้าง ในปัจจุบันได้ปรับเปล่ียนเป็นการทุจริตท่ีซับซ้อนมากข้ึน
ตัวอย่างเช่น การทุจริตโดยการทําลายระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ การกระทําท่ีเป็นการขัดกันแห่ง
ผลประโยชนห์ รือผลประโยชนท์ ับซอ้ น และการทจุ ริตเชิงนโยบาย

ประเทศไทยมีความพยายามแก้ไขปัญหาการทุจริตโดยหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องได้ร่วมกัน
สร้างเครื่องมือ กลไก และกําหนดเป้าหมายสําหรับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เริ่มต้ังแต่ช่วงปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน การดําเนินงานได้สร้างความต่ืนตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามบทบาทของแต่ละหน่วยงาน จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องปรับฐาน
ความคดิ และสรา้ งความตระหนักรู้ใหท้ กุ ภาคส่วนของสังคม

สําหรับประเทศไทยได้กําหนดทิศทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตซึ่งมีความ
สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความรุนแรง รวมถึงการสร้างความ
ตระหนักในการประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซ่ือสัตย์สุจริตของคนในสังคม ทั้งนี้ สํานักงาน ป.ป.ช. ในฐานะ
องค์กรหลักด้านการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมท้ังบูรณาการการทํางานด้านการต่อต้าน
การทุจริตกับทุกภาคส่วน ดงั นั้น สาระสําคญั ทีม่ คี วามเชอ่ื มโยงกับทิศทางการปอ้ งกนั และปราบปรามการทุจริต
ของสํานักงาน ป.ป.ช. มดี งั นี้

1. รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช 2560
2. วาระการปฏิรูปที่ 1 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภา
ปฏริ ปู แห่งชาติ
3. ยทุ ธศาสตรช์ าติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาตฉิ บบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
5. โมเดลประเทศไทยสคู่ วามม่ันคง มั่งคงั่ และย่งั ยนื (Thailand 4.0)
6. ยุทธศาสตร์ชาตวิ า่ ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทจุ ริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดในหมวดท่ี 4 หน้าท่ีของ
ประชาชนชาวไทยวา่ “...บุคคลมหี น้าท่ี ไมร่ ว่ มมอื หรือสนับสนุนการทจุ ริต และประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ”
ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกท่ีรัฐธรรมนูญได้กําหนดให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นหน้าที่ของประชาชน

Page |7

ชาวไทยทุกคน นอกจากน้ี ยังกําหนดชัดเจน ในหมวดท่ี 5 หน้าท่ีของรัฐว่า “รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และ
ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายท่ีเกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ
จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพ่ือป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าว
อย่างเข้มงวด รวมท้ังกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้
ต่อต้านการทุจริต หรือช้ีเบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ” การบริหารราชการ
แผ่นดินรัฐต้องเสริมสร้างให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก มีประสิทธิภาพ ท่ีสําคัญ คือ ไม่เลือกปฏิบัติตาม
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี ซ่ึงการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามระบบ
คุณธรรมตามท่ีกฎหมายบัญญัติ โดยอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อํานาจหรือกระทําการโดยมิ
ชอบแทรกแซงการปฏิบัติหนา้ ท่ี หรือกระบวนการแตง่ ตั้ง หรอื การพจิ ารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และรฐั ต้องจัดให้มมี าตรฐานทางจริยธรรมเพ่ือให้หน่วยงานใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรมสําหรับ
เจ้าหน้าที่ในหนว่ ยงาน ซ่ึงต้องไม่ตํ่ากว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว การที่รัฐธรรมนูญได้ให้ความสําคัญต่อ
การบรหิ ารราชการทมี่ ปี ระสิทธิภาพและการบริหารบุคคลที่มีคุณธรรมน้ัน สืบเนื่องมาจากช่วงระยะเวลาท่ีผ่าน
มาได้เกิดปัญหาที่เก่ียวข้องกับการบริหารบุคคล มีการโยกย้ายแต่งต้ังท่ีไม่เป็นธรรม บังคับหรือชี้นําให้
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานโดยไม่ยึดม่ันในหลักผลประโยชน์แห่งรัฐ รวมถึงการมุ่งเน้นการ
แสวงหาผลประโยชนใ์ หก้ ับตนเองรวมถึงพวกพ้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงได้มี
ความพยายามท่ีจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องการสร้างประสิทธิภาพในระบบการบริหารงานราชการ
แผน่ ดนิ และเจา้ หน้าท่ขี องรฐั ต้องยดึ ม่นั ในหลักธรรมาภิบาล และมีคุณธรรมจริยธรรมตามทกี่ าํ หนดเอาไว้

วาระการปฏิรูปที่ 1 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภา
ปฏิรูปแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติในฐานะองค์กรท่ีมีบทบาทและอํานาจหน้าที่ในการปฏิรูปกลไก และ
ปฏิบัติงานด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีข้อเสนอเพ่ือปฏิรูปด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบเพ่ือแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ย่ังยืน เป็นรูปธรรมปฏิบัติได้
สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและบริบทของสังคมไทย โดยเสนอให้มียุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา 3
ยทุ ธศาสตร์ ประกอบด้วย

(1) ยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทย ไม่โกง” เพื่อปฏิรูปคนให้มีจิตสํานึก สร้างจิตสํานึกที่
ตัวบุคคล รับผิดชอบช่ัวดี อะไรควรทํา อะไรไม่ควรทํา มองว่าการทุจริตเป็นเร่ืองน่ารังเกียจเป็นการเอาเปรียบ
สังคม และสังคมไม่ยอมรับ

(2) ยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคมธรรมาภิบาล เพื่อเป็นระบบป้องกัน
การทจุ รติ เสมอื นการสร้างระบบภมู ิต้านทานแก่ทกุ ภาคสว่ นในสังคม

(3) ยุทธศาสตร์การปราบปราม เพ่ือปฏิรูประบบและกระบวนการจัดการต่อกรณีการทุจริต
ให้มีประสิทธิภาพให้สามารถเอาตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษได้ซ่ึงจะทําให้เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าท่ีจะ
กระทาํ การทุจริตขึน้ อกี ในอนาคต

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) สภาขับเคล่ือนการปฏิรูปประเทศ
ได้กําหนดให้กฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติมีผลบังคับภายในปี พ.ศ. 2559 หรือภายในรัฐบาลน้ีและ
กําหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานนํายุทธศาสตร์ชาติยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ แผนพัฒนาด้านต่าง ๆ มา
เป็นแผนแม่บทหลักในการกําหนดแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณ ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวเป็น
ยุทธศาสตร์ท่ียึดวัตถุประสงค์หลักแห่งชาติเป็นแม่บทหลัก ทิศทางด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจะถูก
กําหนดจากยทุ ธศาสตรช์ าติ

Page |8

สภาขับเคล่ือนการปฏริ ปู แห่งชาตวิ างกรอบยทุ ธศาสตรช์ าตริ ะยะ 20 ปี โดยมีกรอบวิสัยทัศน์
“ประเทศไทยมคี วามม่นั คง ม่งั คัง่ ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแลว้ ดว้ ยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” คติพจน์ประจําชาติว่า “ม่ันคง ม่ังค่ัง ย่ังยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ท่ี 1
ความมั่นคง ยุทธศาสตร์ท่ี 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ท่ี 3 การพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ท่ี 5 การ
สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับสมดุลและพัฒนาการ
บริหารจัดการภาครัฐ ในยุทธศาสตร์ท่ี 6 ได้กําหนดกรอบแนวทางท่ีสําคัญ 6 แนวทาง ประกอบด้วย (1) การ
ปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ (2) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของ
หน่วยงานภาครัฐ (3) การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดท่ีเหมาะสม
(4) การวางระบบบริหารงานราชการแบบบูรณาการ (5) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกําลังคนและพัฒนา
บุคลากรภาครัฐในการปฏิบัติราชการ (6) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (7) การปรับปรุงแก้ไข
กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือ
ขอ้ ตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาหน่วยงานภาครฐั และบุคลากรที่มีหน้าท่ีเสนอความเห็นทางกฎหมาย
ใหม้ ีศกั ยภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) กําหนดใน
ยุทธศาสตร์ท่ี 6 การบริหารจัดการภาครัฐ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาล
ในสังคมไทยในยุทธศาสตร์นี้ได้กําหนดกรอบแนวทางการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอร์รัปชัน
มุ่งเน้นการส่งเสริม และพัฒนาปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม วิธีคิดและกระบวนทัศน์ให้คนมีความตระหนัก
มีความรูเ้ ท่าทันและมภี มู ติ ้านทานต่อโอกาสและการชกั จงู ให้เกิดการทจุ รติ คอร์รัปชันและมพี ฤติกรรมไมย่ อมรบั
การทุจริตประพฤติมิชอบ รวมท้ังสนับสนุนทุกภาคส่วน ในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและ
ปราบปรามการทจุ ริต และมุ่งเนน้ ให้เกิดการส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาคเอกชน เพ่ือเป็นการตัดวงจรการทุจริต
ระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจออกจากกัน ท้ังน้ี การบริหารงานของส่วนราชการต้องมีความ
โปรง่ ใสและตรวจสอบได้

โมเดลประเทศไทยสู่ความม่ันคง มั่งค่ัง และย่ังยืน (Thailand 4.0) เป็นโมเดลที่น้อมนํา
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดหลักในการบริหารประเทศ ถอดรหัสออกมาเป็น 2
ยุทธศาสตร์สําคญั คือ (1) การสรา้ งความเข้มแข็งจากภายใน (Strength from Within) และ (2) การเช่ือมโยงกับ
ประชาคมโลก ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน Thailand 4.0 เน้นการปรับเปลี่ยน 4 ทิศทาง
และเน้นการพัฒนาที่สมดุลใน 4 มิติ มิติท่ีหยิบยก คือ การยกระดับศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ (Human
Wisdom) ด้วยการพัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ท่ีสมบูรณ์” ผ่านการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศการเรียนรู้เพ่ือ
เสริมสร้างแรงบันดาลใจบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ปลูกฝังจิตสาธารณะยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ต้ัง มีความ
ซ่ือสัตย์ สุจริต มีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบ เน้นการสร้างคุณค่าร่วมและค่านิยมที่ดี คือ สังคม
ท่มี คี วามหวงั (Hope) สงั คมท่เี ป่ียมสุข (Happiness) และสงั คมทมี่ ีความสมานฉนั ท์ (Harmony)

ยุทธศาสตร์ชาตวิ ่าดว้ ยการปอ้ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ท่ีกําหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยท้ังชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) กําหนด
ยุทธศาสตร์หลักออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่สําคัญ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมท่ีไม่ทนต่อการ
ทุจริต เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการกระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดย
เร่ิมตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย
ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ จิตอาสา และความเสียสละเพ่ือส่วนรวม ปลูกฝังความคิดแบบดิจิทัล (Digital

Page |9

Thinking) ให้สามารถคิดแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม และประยุกต์หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครอื่ งมอื ต้านทุจรติ

สาระสําคัญท้ัง 6 ด้านดังกล่าวจะเป็นเคร่ืองมือช้ีนําทิศทางการปฏิบัติงานและการบูรณาการ
ด้านต่อต้านการทุจริตของประเทศโดยมีสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการงานของภาคส่วน
ตา่ ง ๆ เข้าดว้ ยกันและเพอ่ื ใหเ้ ป็นไปในทิศทางเดียวกนั

1.2 ความเปน็ มาของหลักสูตรต้านทุจรติ ศกึ ษา
ยทุ ธศาสตรช์ าติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทจุ ริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)

ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 “สร้างสงั คมไม่ทนตอ่ การทุจริต” มุง่ เน้นให้ความสําคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิด
ภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัยต้ังแต่ปฐมวัย
เพ่ือสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ดําเนินการผ่านสถาบัน
หรือกลุ่มตัวแทนที่ทําหน้าท่ีในการกล่อมเกลาทางสังคม และได้กําหนดกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1
ปรับฐานความคดิ ทกุ ชว่ งวัยต้ังแตป่ ฐมวยั ใหส้ ามารถแยกระหว่างผลประโยชนส์ ่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
กลยุทธ์ท่ี 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเคร่ืองมือต้านทุจริต และกลยุทธ์ท่ี 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน
(Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต โดยกําหนดให้ต้องดําเนินการจัดทําหลักสูตร
บทเรียน การเรียนการสอน การนําเสนอ และรูปแบบการป้องกันการทุจริต รวมท้ังการพัฒนานวัตกรรมและ
สือ่ การเรยี นรู้สําหรบั ทกุ ชว่ งวัย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคําส่ังที่ 646/2560 ลงวันท่ี 26 เมษายน 2560 แต่งต้ัง
คณะอนุกรรมการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต เพื่อ
ดําเนินการสร้างหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต สําหรับใช้เป็นมาตรฐานกลางเพ่ือให้
สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษา นําไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน
นักศึกษาในทุกระดับชั้นเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งภาครัฐและ
เอกชน รวมท้ังหลักสูตรสําหรับฝึกอบรมให้กับบุคลากรภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ และหลักสูตรโค้ช (สร้างโค้ช
สําหรับโครงการต้านทุจริต) โดยมี คณะอนุกรรมการร่วมจัดทําหลักสูตร ประกอบด้วย ท่ีปรึกษาและผู้บริหาร
สาํ นักงาน ป.ป.ช. ผูท้ รงคุณวฒุ ิ และผ้แู ทนหนว่ ยงานทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับการศกึ ษา ได้แก่

1) สํานักงานปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ
2) สาํ นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน
3) สํานกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา
5) สาํ นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
6) สํานักงานส่งเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย
7) สํานกั งานลูกเสือแห่งชาติ
8) ที่ประชมุ อธิการบดีแห่งประเทศไทย
9) ท่ีประชมุ อธิการบดมี หาวทิ ยาลยั ราชภัฏ
10) คณะกรรมการอธิการบดมี หาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคล
11) สถาบนั วชิ าการป้องกนั ประเทศ
12) กรมยุทธศกึ ษาทหารบก
13) กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

P a g e | 10

14) กรมยทุ ธศึกษาทหารอากาศ
15) กองบัญชาการศกึ ษา สํานักงานตาํ รวจแหง่ ชาติ
โดยคณะอนุกรรมการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ด้านการ
ป้องกันการทุจริต มอี ํานาจหน้าที่ ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้
และส่ือประกอบการเรยี นรู้ ด้านการป้องกันการทุจรติ
2. กําหนดแนวทางและขอบเขตในการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือประกอบการ
เรยี นรดู้ ้านการป้องกันการทุจริต ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะท่ี 3
(พ.ศ. 2560 - 2564) ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 1 “สร้างสงั คมทีไ่ ม่ทนตอ่ การทุจรติ ”
3. พิจารณายกร่างและจัดทําเนื้อหาหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้
ด้านการป้องกันการทุจริต โดยกําหนดโครงสร้างหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร จุดประสงค์ของรายวิชา
เนื้อหาสาระ จัดระเบยี บลําดับของเน้ือหาสาระ วธิ ีการประเมินผลการเรยี นรู้ รวมทัง้ อ่นื ๆ ทเ่ี กยี่ วข้อง
4. พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือ
ประกอบการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริต เพื่อให้มีเน้ือหาที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ พร้อมท้ังนําเสนอ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาใหค้ วามเหน็ ชอบ ทงั้ นี้ ให้ดาํ เนินการแลว้ เสร็จในปี พ.ศ. 2560
5. กําหนดแผนหรือแนวทางการนําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือประกอบการเรียนรู้
ด้านการปอ้ งกนั การทุจรติ ไปใชใ้ นหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
6. ดาํ เนินการอืน่ ๆ ตามทคี่ ณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
โดยจากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งท่ี 1-1/2560 เม่ือวันท่ี 29 พฤษภาคม 2560
เพ่ือหารือเกี่ยวกับกรอบการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกัน
การทุจริต โดยท่ีประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดทําหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และส่ือประกอบการเรียนรู้
ดา้ นการปอ้ งกนั การทุจรติ หัวข้อวิชา 4 วิชา ประกอบด้วย
1) STRONG : จิตพอเพียงตา้ นทุจริต
2) การคดิ แยกแยะระหวา่ งผลประโยชนส์ ว่ นตนกับผลประโยชนส์ ่วนรวม
3) ความอายและความไม่ทนตอ่ การทจุ ริต
4) พลเมอื งและความรับผดิ ชอบตอ่ สงั คม
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 - 2564) และนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เม่ือวันท่ี 22 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามท่ี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ ดังน้ี
1. เห็นชอบหลักการเกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education)
และให้หน่วยงานทเ่ี ก่ยี วข้องนําหลักสูตรดงั กลา่ วไปพิจารณาปรับใชก้ ับกล่มุ เปา้ หมาย
2. ใหก้ ระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สํานกั งาน ก.พ. สํานกั งาน
ตํารวจแหง่ ชาติ และหน่วยงานทเ่ี ก่ยี วขอ้ งหารอื ร่วมกบั สาํ นักงาน ป.ป.ช. เพื่อพิจารณานําหลักสูตรน้ี ไปปรับใช้
ในโครงการฝกึ อบรมหลกั สูตรข้าราชการ บคุ ลากรภาครัฐ หรือพนกั งานรัฐวิสาหกจิ ทบ่ี รรจใุ หม่
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ตําราเรียน ครู อาจารย์
รายละเอียดหลักสูตร เพ่ือนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education) หลักสูตรการศึกษา
ขนั้ พืน้ ฐานและหลกั สตู รอดุ มศึกษาไปปรับใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนของสถานศึกษา ท้ังน้ี มุ่งเน้นการสร้าง

P a g e | 11

ความรู้ความเขา้ ใจท่ีถูกต้องเก่ยี วกับความหมายและขอบเขตของการกระทําทุจริตในลักษณะต่าง ๆ ท้ังทางตรง
และทางอ้อม ความเสียหายท่ีเกิดจากการทุจริต ความสําคัญของการต่อต้านการทุจริต รวมท้ังจัดให้มีการ
ประเมินผลสมั ฤทธิข์ องการจัดการเรยี นรู้ตามหลักสตู รในแตล่ ะชว่ งวัยของผ้เู รียนดว้ ย

เม่ือวันท่ี 18 สิงหาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติ รับทราบรายงานผลการขับเคลื่อน
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และเห็นชอบให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ตาม
ขอ้ เสนอของสาํ นักงาน ป.ป.ช. ดงั นี้

1. รับทราบรายงานผลการขับเคล่ือนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption
Education) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้สํานักงาน ป.ป.ช. ประสานในรายละเอียดกับ กระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย [(มท.) กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถ่ิน (สถ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ
หน่วยงานทีเ่ กยี่ วขอ้ ง เพื่อนาํ หลกั สตู รทไ่ี ด้ปรับปรงุ ใหม่ไปปรับใช้ให้บรรลวุ ัตถปุ ระสงคต์ ่อไป

2. ให้ ศธ. และ อว. รายงานผลสัมฤทธ์ิของการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ไปยัง
สาํ นักงาน ป.ป.ช. เพื่อทราบตอ่ ไป

3. ให้สํานักงาน ป.ป.ช. รับความเห็นของ สํานักงบประมาณ และ สํานักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ไปพจิ ารณาดําเนนิ การต่อไปด้วย

โดยสํานักงาน ป.ป.ช. ได้มีการดําเนินการกํากับติดตามการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖4 โดยเป็นการกํากับติดตามต่อเน่ืองจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖2 และ
2563 ซ่ึงเป็นการดําเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีท่ีได้มอบหมายให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องได้นําหลักสูตรต้าน
ทจุ รติ ศึกษาไปดาํ เนนิ การตามบทบาทและอํานาจหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อสร้างให้เกิดกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อ
การทจุ รติ
โดยมีผลการดาํ เนนิ การกํากบั ติดตาม ดังน้ี

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สํานักงาน ป.ป.ช. ภายใต้การดําเนินการของสํานักต้านทุจริต
ศึกษา ได้ดําเนินการขับเคล่อื นหลกั สตู รตา้ นทุจริตศึกษา ดังน้ี

 ผลิตและเผยแพร่หลกั สูตรต้านทจุ ริตศกึ ษา 5 หลกั สูตร (จํานวน 323,411 เลม่ )
 การจัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติสําหรับการขับเคล่ือนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในระดับ
พื้นท่ีภูมิภาค (สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด) เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวทางขับเคลื่อนและการกํากับ
ตดิ ตามการใช้หลกั สตู รต้านทจุ ริตศึกษา ให้เป็นไปในทศิ ทางเดียวกนั
 การกํากับติดตามการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในสถานศึกษาแต่ละภูมิภาค
รวมท้ังกรุงเทพมหานครและปรมิ ณฑล
 การประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานที่เก่ียวข้องเพื่อผลักดันหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
ทั้ง 5 หลักสตู ร

สําหรบั การประสานความรว่ มมอื กับหนว่ ยงานทางการศึกษาเพือ่ นําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาตามแนวทางท่ีเหมาะสม ในภาพรวมการขับเคลื่อนหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กําหนดดําเนินการนําไปปรับใช้ในการเรียนการสอนของสถานศึกษา เริ่มต้ังแต่ภาคเรียนท่ี 1
ปีการศึกษา 2562 (พฤษภาคม 2562) เป็นต้นไป สําหรับหลักสูตรอุดมศึกษา กําหนดดําเนินการนําไปปรับ
ใช้ในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาตามความพร้อมของแต่ละสถาบัน ในส่วนของหน่วยงานอื่นที่

P a g e | 12

เกี่ยวข้องสามารถนําหลักสูตรไปพิจารณาปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการฝึกอบรม ท้ังหลักสูตรกลุ่มทหารและ
ตาํ รวจ และหลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยกําหนดดําเนินการนําไปปรับใช้ตาม
ความพรอ้ มและความเหมาะสมของแต่ละหนว่ ยงาน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สํานักงาน ป.ป.ช. ภายใต้การดําเนินการของสํานักต้านทุจริต
ศึกษา ไดด้ ําเนนิ การขบั เคลอ่ื นหลักสตู รต้านทุจริตศึกษา ดงั นี้

 กํากับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานที่เก่ียวข้องในการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับ
ใช้กบั กลุ่มเป้าหมายในการจดั การเรยี นการสอน/การฝึกอบรม อยา่ งตอ่ เนื่อง

 จัดตั้งศูนย์ให้คําปรึกษาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพ่ือผลักดันและให้คําปรึกษาแก่
สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลสูงสุด โดยดําเนินการลงพ้ืนที่เพื่อกํากับติดตามและให้คําปรึกษาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา รวมท้ัง
การจดั ประชมุ เชงิ ปฏบิ ัติการ เพ่ือแลกเปล่ียนเรียนรู้และจัดเก็บข้อมูลที่จําเป็นต่างๆ ต่อการขับเคล่ือนหลักสูตร
ตา้ นทจุ ริตศกึ ษา

 การประเมินผลสมั ฤทธ์ใิ นการใช้หลกั สูตรต้านทุจริตศึกษา และการประเมินพฤติกรรมของ
เด็กและเยาวชน โดยช่วงแรกมุ่งเน้นประเมินการนําหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของ
สถาบันการศึกษา ๒ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)
และหลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใสใจสะอาด “Youngster with good heart”)

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน ป.ป.ช. ภายใต้การดําเนินการของสํานักต้านทุจริต
ศึกษา ได้ดําเนินการขับเคล่อื นหลกั สูตรตา้ นทุจริตศกึ ษา ดงั นี้

 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 3 เรื่อง ได้แก่ 1) เร่ือง การทุจริตใน
สถานการณ์ Digital Disruption 2) เร่ือง การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางธรณี 3) เร่ือง การพิทักษ์
ทรพั ยากรธรรมชาตินํา้ และน้าํ บาดาล

 การให้คําปรึกษาแนะนําข้อมูล ผ่านศูนย์ให้คําปรึกษาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพ่ือ
ผลักดันและให้คําปรึกษาแก่สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้
ให้เกิดประสิทธิภาพและประสทิ ธิผลสงู สุด

 กํากับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องในการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับ
ใช้กับกล่มุ เป้าหมายในการจดั การเรยี นการสอน/การฝกึ อบรม อยา่ งตอ่ เนื่อง

 การประเมินผลสมั ฤทธิข์ องหลักสตู รตา้ นทุจรติ ศกึ ษา ทง้ั 5 หลักสูตร

1.3 วัตถุประสงค์ในการจัดทําคู่มือประกอบการอบรมสร้างวิทยากรตัวคูณในการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะ
ผลประโยชนส์ ่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

1) เพ่ือเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เก่ียวกับเนื้อหาของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา รวมถึง
กฎหมายที่เก่ียวข้องกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 126 – 129
แหง่ พระราชบัญญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญว่าดว้ ยการปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2561

2) เพื่อเป็นคูม่ ือ/แนวทางในการอบรมสรา้ งวิทยากรตัวคูณตามหลักสูตร
3) เพื่อสร้างให้เกิดเครือข่ายแกนนําในการขยายผลองค์ความรู้ตามเน้ือหาของหลักสูตรต้าน
ทุจริตศึกษา สู่กลุ่มเป้าหมายในภาคส่วนต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องในการป้องกันการทุจริต เพ่ือสร้างสังคมท่ีไม่ทนต่อ
การทจุ ริต

P a g e | 13

บทท่ี 2
โมเดล STRONG : จติ พอเพยี งต้านทุจรติ

การคิดค้น STRONG Model เกิดข้ึนจากการตกผลึกทางความคิดในความหมายของคําว่า
“จิตพอเพยี งต้านทจุ ริต” ที่ประกอบดว้ ยคําสาํ คญั 3 คาํ คือ จิต พอเพียง ต้านทุจรติ

จิตพอเพียงต้านทุจริต ต้องเป็นจิตที่มีความแข็งแกร่ง ทําให้คิดถึงคําภาษาอังกฤษ คือ
Strong ทีเ่ ปน็ คําง่าย ๆ มกี ารใช้บอ่ ย ๆ ความหมายเป็นที่รับรู้กันโดยท่ัวไป แต่ต้องคิดให้ตกผลึกในตัวอักษรท้ัง
6 ตัว ให้สามารถเช่ือมโยงกับคําว่า พอเพียง และคําว่า ต้านทุจริต จึงเป็นการต้ังต้นในการหาความหมายใน
ตวั อักษรภาษาองั กฤษทง้ั 6 ตวั ทีม่ ีความเชอ่ื มโยงกนั และสามารถคดิ กิจกรรมท่เี ปน็ รปู ธรรมได้

S เปน็ ตวั อกั ษรตวั แรกของ Strong ทาํ ให้คิดถึงคําวา่ Sufficient ซ่งึ แปลวา่ พอเพียง เป็นคํา
สาํ คัญ และเปน็ หลัก เปน็ แก่นของจิตพอเพยี งต้านทุจริต

คําสําคัญถัดไปคือคําว่า ต้านทุจริต ซ่ึงจําเป็นต้องมีคําอธิบายหรือคําจํากัดความให้ชัดเจน
เพื่อคน้ หาคาํ ทเ่ี กีย่ วข้องและสอดคลอ้ งสําหรับใส่ในอกั ษรอังกฤษ t-r-o-n-g

การทุจริตเกิดข้ึนจากระบบและคน ระบบที่เน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้จะทําให้การ
ทุจริตยากย่ิงขึ้น คนสุจริตที่ไม่น่ิงเฉย ไม่ยอมให้มีการทุจริตเกิดข้ึน ย่อมเป็นกลไกป้องกันการทุจริต และทําให้
สงั คมเจรญิ ก้าวหนา้ ไดย้ ่ิงข้ึน

การประกอบคําต่าง ๆ ในตวั อักษร T-R-O-N-G จึงเกิดขน้ึ ดังนี้
ตวั T จงึ ใชค้ ําวา่ Transparent หมายถึง โปรง่ ใส
ตัว R จึงใช้คําว่า Realise หมายถึง ตื่นรู้ รู้สภาวะ รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดการทุจริต และพร้อม
จะตอ่ สู้ป้องกนั ไม่ให้เกิดการทจุ ริต
ตัว O เป็นตัวอักษรท่ีคิดหาคํายากท่ีสุด แต่ในท่ีสุดจึงเลือกใช้คําว่า Onward หมายถึง มุ่งไป
ข้างหนา้ มงุ่ สร้างความเจริญ
ตัว N เป็นคําควบกล้ํากับ K Knowledge หมายถึงความรู้ เป็นปัจจัยจําเป็นสําหรับมนุษย์
มอี ิทธิพลตอ่ ทัศนคติ ความตระหนัก และพฤตกิ รรม การกระทํา
ตัว G ใช้คําว่า Generosity หมายถึง เอ้ืออาทร เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ในฐานะของเพ่ือนมนุษย์ โดย
มใิ ช่ต่างตอบแทนหรอื ต้องการผลประโยชน์

P a g e | 14

พฒั นาโดย การประยกุ ตห์ ลกั ความพอเพยี งดว้ ยโมเดล
รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานวัฒศิริ , 2561 STRONG : จิตพอเพียงต้านทจรติ

STRONG : จิตพอเพยี งต้านทุจรติ จึงหมายถงึ ผ้ทู มี่ ีความพอเพยี ง ไม่เบียดเบียนตนเองและ
ผอู้ ืน่ (S) ม่งุ อนาคตทีเ่ จรญิ ท้ังตนเองและส่วนรวม (O) โดยใช้หลกั ความโปรง่ ใสตรวจสอบได้ (T) พ้ืนฐานจิตใจมี
มนุษยธรรม เอื้ออาทรช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ต่างตอบแทน (G) ให้ความสําคัญต่อการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการดํารงชีวิตในทางที่ชอบ (N) แต่ต่ืนรู้เรื่องภัยทุจริตที่ร้ายแรงส่งผลต่อสังคม รังเกียจ
การทจุ รติ ประพฤติมิชอบท้ังปวง ไมย่ อมทนตอ่ การทจุ ริตทุกรูปแบบ (R)

S Sufficient พอเพยี ง
เนื่องจากความพอเพียงของปัจเจกบุคคล ย่อมมีระดับที่แตกต่างกันตามวิธีคิด สภาพความ
พร้อมและความสามารถรวมทง้ั ตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสงั คมของบคุ คลและครอบครัว
กลไกหลัก คือ ปรับวิธีคิดที่แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
และเป็นอัตโนมัติจะนําไปสู่จิตสํานึกท่ีพอเพียง ไม่กอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อ่ืน ไม่เบียดบัง
รัฐ ไม่รับอามิสสินบนโดยมิต้องจํากัดขอบเขตของการประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถหาทรัพย์สินเงินทองได้
ตามความสามารถ ทัง้ นี้ โดยไมเ่ ดอื ดรอ้ นตนเองและผู้อน่ื
T Transparent โปร่งใส
ความโปรง่ ใส ทําใหเ้ ห็นภาพหรือปรากฏการณช์ ัดเจน
กลไกหลัก คอื สรา้ งความรู้ความเขา้ ใจ และวธิ ีสงั เกตเก่ียวกบั ความโปร่งใสของโครงการต่าง ๆ
R Realise ตืน่ รู้
เม่ือบุคคลรพู้ ิษภัยของการทุจรติ และไมท่ นทีจ่ ะเหน็ การทจุ รติ เกดิ ขึน้

P a g e | 15

กลไกหลัก คือ การเรียนรู้สถานการณ์การทุจริตในพ้ืนที่ ในชุมชน หรือในกรณีที่เกิด
ปรากฏการณ์ทุจริตข้ึน หรอื กรณีศกึ ษาทเ่ี กดิ ข้ึนมาแลว้ และมคี ําพิพากษาถึงทส่ี ุดแล้ว

O Onward มุ่งไปขา้ งหน้า
การไม่มีการทุจรติ ของภาครฐั จะทาํ ให้เงินภาษีถูกนาํ ไปใชใ้ นการพัฒนาอยา่ งเต็มท่ี
กลไกหลัก คือ การป้องกันและการป้องปราม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง
พื้นที่ท่ีมีความเสี่ยงในการทุจริต เช่น การบุกรุกพ้ืนที่สาธารณะ หรือเฝ้าระวังโครงการให้ดําเนินการด้วยความ
โปรง่ ใส
N Knowledge ความรู้
ความรู้ด้านต่าง ๆ มคี วามจาํ เปน็ ตอ่ การป้องกนั และปอ้ งปรามการทุจรติ
กลไกหลกั คอื การให้ความรใู้ นรูปแบบการฝึกอบรม หรอื ให้สอ่ื เรยี นรูอ้ ย่างต่อเนื่อง เชน่
(1) ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตแบบต่าง ๆ ท้ังแบบสมัยอดีต แบบปัจจุบัน และแบบท่ี
อาจจะเกดิ ข้ึนในอนาคต
(2) ความร้เู กีย่ วกับการทุจริตในต่างประเทศ
(3) วิธีการป้องกนั - ป้องปรามแบบต่าง ๆ
(4) ความรูเ้ ก่ียวการเฝา้ ระวงั
(5) ความรเู้ กยี่ วกบั กฎหมายท่ีเก่ยี วข้อง
G Generosity ความเออ้ื อาทร
การพัฒนาสังคมไทยให้มีนํ้าใจ โอบอ้อมอารี เอื้อเฟ้ือเผื่อแผ่ โดยไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน
หรอื หวงั ผลตอบแทนในฐานะเพอื่ นมนุษย์
กลไกหลัก คือ กิจกรรมจิตอาสา ช่วยเหลือบุคคล ชุมชน/สังคมในยามวิกฤติ หรือความ
ร่วมมือในการร่วมพฒั นาชมุ ชน
STRONG Model สามารถพัฒนาได้อีก 2 ระดับ คือ STRONGER และ STRONGEST
ดังรูป

พัฒนาโดย การประยกุ ต์หลักความพอเพยี งด้วยโมเดล
รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานวฒั ศริ ิ , 2561 STRONG : จิตพอเพียงต้านทจรติ

P a g e | 16

นอกจากน้ี ตามหลักภาษาอังกฤษที่คําว่า “STRONG” มีการเปรียบเทียบขั้นกว่า
(comparative) และข้ันสูงสุด (superlative) จึงมีการพัฒนาโมเดล STRONG สู่ STRONGER - STRONGEST
เพ่ือให้การดําเนินภารกิจป้องกันการทุจริตนําประเทศไทยไปสู่การเป็น “ประเทศไทยใสสะอาด...ไทยท้ังชาติ
ต้านทจุ รติ ” อันเป็นวิสยั ทัศน์ของยทุ ธศาสตรช์ าตวิ า่ ด้วยการป้องกนั และปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.
2560 - 2564) โดยมีรายละเอยี ด ดงั นี้

โมเดล STRONGER
โมเดล STRONGER เป็นการพัฒนาไปสู่หลักการต่อต้านการทุจริตที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น
โดยได้เพิ่มนิยามเชิงปฏิบัติจากการนําตัวอักษรแรกของศัพท์ภาษาอังกฤษท่ีมีความหมายเชิงบวกจํานวน 2 คํา
ได้แก่ ความเป็นเลศิ (Excellence: E) และการเปลี่ยนแปลง (Reformity: R) ซึง่ แสดงไดด้ ังแผนภาพดา้ นล่าง

พัฒนาโดย การประยุกต์หลกั ความพอเพยี งด้วยโมเดล
รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานวัฒศริ ิ , 25621561 STRONG : จิตพอเพยี งต้านทจรติ

จากแผนภาพสามารถอธบิ ายนิยามเชิงปฏบิ ัตกิ ารของคาํ ว่า “เปน็ เลิศ” (Excellence: E)
และ “เปล่ยี นแปลง” (Reformity: R) ไดด้ งั น้ี

(1) เป็นเลิศ (Excellence: E)
ปัจเจกบุคคล องค์กร และชุมชนมุ่งความเป็นเลิศในการนําหลักของโมเดล STRONG ได้แก่
พอเพียง (Sufficient: S) โปร่งใส (Transparent: T) ต่ืนรู้ (Realise: R) มุ่งไปข้างหน้า (Onward: O) ความรู้
(Knowledge: N) และเอ้ืออาทร (Generosity: G) รวมถึงหลักการสําคัญของโมเดล STRONG คือ การมีส่วน
ร่วมในการเฝ้าระวังและการแจ้งเบาะแสการทุจริต (Watch and Voice) ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันการ
ทจุ รติ ภายในองคก์ รและการดําเนนิ ชวี ิตประจาํ วันได้อย่างสมั ฤทธผิ ล

P a g e | 17

(2) เปลี่ยนแปลง (Reformity: R)
ปัจเจกบุคคล องค์กร และชุมชนมุ่งพัฒนาและปรับเปล่ียนตนเองและองค์กรไปสู่การสร้าง
สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตด้วยหลักความพอเพียง การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนรวมและผลประโยชน์ส่วนตน
มีการบริหารจัดการองค์กรและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างโปร่งใสเพ่ือให้เกิดการมีส่วนร่วมในการ
ตรวจสอบ รวมถงึ มคี วามตระหนักถงึ ผลกระทบของการทุจริต มกี ารพฒั นาและบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้
เทา่ ทันการทจุ รติ โดยต้งั อยูบ่ นพื้นฐานของความเออ้ื อาทรตอ่ เพือ่ นมนษุ ย์
โมเดล STRONGEST
โมเดล STRONGEST เป็นการพัฒนาไปสู่การป้องกันและต่อต้านการทุจริตด้วยความเข้มแข็ง
สูงสุด อันจะนําไปสู่สังคมที่มีความโปร่งใสอย่างย่ังยืน โดยได้เพ่ิมนิยามเชิงปฏิบัติจากการนําตัวอักษรแรกของ
ศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมาย จํานวน 3 คํา ได้แก่ จริยธรรม (Ethics: E) ย่ังยืน (Sustainability: S) และ
สัจธรรม (Truth: T) ซงึ่ แสดงไดด้ งั แผนภาพ

พัฒนาโดย การประยุกต์หลักความพอเพียงดว้ ยโมเดล
รศ.ดร.มาณี ไชยธรี านวฒั ศริ ิ , 25265161 STRONG : จติ พอเพยี งตา้ นทจรติ

จากแผนภาพ สามารถอธิบายนิยามเชิงปฏิบัติการของคําว่า จริยธรรม (Ethics: E) ยั่งยืน
(Sustainability: S) และสัจธรรม (Truth: T) ได้ดังน้ี

(1) จรยิ ธรรม (Ethics: E)
ปัจเจกบุคคล องค์กร และชุมชนเป็นผู้มีคุณธรรม มีความซ่ือสัตย์ และมีความรับผิดชอบตาม
บทบาทหน้าที่ของตนเอง ดํารงตนอย่างมีเหตุผล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีการบังคับใช้ประมวล
จริยธรรม จรรยาบรรณ มาตรฐานทางคุณธรรม เพื่อให้การปฏิบัติตนของเจ้าหน้าท่ีรัฐและพนักงานเอกชนอยู่
บนฐานของความมจี รยิ ธรรม

P a g e | 18

(2) ยั่งยืน (Sustainability: S)
การพัฒนาสังคมไทยให้โปร่งใสไร้การทุจริตอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) จะ
สร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยท่ีแข็งแกร่งสู่ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยท้ังชาติต้านทุจริต” อันเป็นวิสัยทัศน์ของ
ยทุ ธศาสตร์ชาตวิ ่าดว้ ยการป้องกันและปราบปรามการทจุ รติ ระยะท่ี 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)
(3) สัจธรรม (Truth: T)
STRONG Model ทีม่ กี ารพฒั นาเป็น 3 ระดับ จาก STRONG สู่ STRONGER และปลายทาง
ของระดับ STRONGEST คือ มีสัจธรรมเป็นแก่น คือ คนไทยมีจิตใจสะอาด บริสุทธ์ิ เสียสละ และประพฤติ
ดีงาม ครองงาน ครองคน และครองตน อยู่บนพ้นื ฐานของจริยธรรมและความซื่อสตั ยส์ ุจรติ

P a g e | 19

บทที่ 3
การคดิ แยกแยะระหว่างผลประโยชนส์ ว่ นตนกับผลประโยชน์สว่ นรวม

1. ทฤษฎี ความหมาย และรูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
(Conflict of interest)

คําว่า Conflict of Interest มีผู้ให้คําแปลเป็นภาษาไทยไว้หลากหลาย เช่น “การขัดกันแห่ง
ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม” หรือ “การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์
ส่วนรวม” หรือ “การขัดกันระหว่างผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ส่วนตน” หรือ “ประโยชน์ทับ
ซ้อน” หรือ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “ผลประโยชน์ขัดกัน” หรือบางท่านแปลว่า “ผลประโยชน์ขัดแย้ง”
หรอื “ความขัดแย้งทางผลประโยชน์”

การขดั กันระหวา่ งประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม หรือท่ีเรียกว่า Conflict of Interest น้ัน
ก็มีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ
การกระทาํ ใด ๆ ทเี่ ปน็ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นส่ิงท่ีควรหลีกเล่ียงไม่ควร
จะกระทํา แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม แต่ละสังคม อาจเห็นว่าเร่ืองใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับ
ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันไป หรือเมื่อเห็นว่าเป็นการขัดกันแล้วยังอาจมีระดับของความหนักเบาแตกต่าง
กัน อาจเห็นแตกต่างกันว่าเร่ืองใดกระทําได้ กระทําไม่ได้แตกต่างกันออกไปอีก และในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบาง
เรื่องบางคนอาจเห็นว่าไม่เป็นไรเป็นเรื่องเล็กน้อย หรืออาจเห็นเป็นเร่ืองใหญ่ ต้องถูกประณาม ตําหนิ ติฉิน
นนิ ทา วา่ กลา่ ว ฯลฯ แตกตา่ งกนั ตามสภาพของสังคม

โดยพื้นฐานแล้ว เรื่องการขัดกันระหว่างประโยชนส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม เป็นกฎ
ศีลธรรมประเภทหนึ่งทบ่ี ุคคลไม่พึงละเมดิ หรอื ฝ่าฝนื แตเ่ นือ่ งจากมีการฝ่าฝืนกันมากขึ้น และบุคคลผู้ฝ่าฝืนก็ไม่มี
ความเกรงกลัวหรือละอายต่อการฝ่าฝืนน้ัน สังคมก็ไม่ลงโทษหรือลงโทษไม่เพียงพอท่ีจะมีผลเป็นการห้ามการ
กระทําดังกล่าว และในที่สุดเพ่ือหยุดย้ังเรื่องดังกล่าวนี้ จึงมีการตรากฎหมายที่เก่ียวข้องกับการขัดกันแห่ง
ผลประโยชนม์ ากขึ้น ๆ และเป็นเรือ่ งท่ีสังคมให้ความสนใจมากขน้ึ ตามลําดับ

คู่มือการปฏิบัติสําหรับเจ้าหน้าท่ีของรัฐเพ่ือมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่าง
ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 100 แห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
ป้องกนั และปราบปรามการทจุ รติ ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

“ประโยชน์ส่วนตน (Private Interests) คือ การที่บุคคลท่ัวไปในสถานะเอกชนหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐในสถานะเอกชนได้ทํากิจกรรมหรือได้กระทําการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน ครอบครัว เครือญาติ
พวกพ้อง หรือของกลุ่มในสังคมที่มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกอบอาชีพ การทําธุรกิจ
การค้า การลงทุน เพ่ือหาประโยชนใ์ นทางการเงนิ หรอื ในทางธรุ กิจ เปน็ ต้น”

“ประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ (Public Interests) คือ การท่ีบุคคลใด ๆ ใน
สถานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่
ของรฐั ในหน่วยงานของรัฐ) ได้กระทําการใด ๆ ตามหน้าที่หรือได้ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการดําเนินการในอีกส่วน
หน่ึงที่แยกออกมาจากการดําเนินการตามหน้าท่ีในสถานะของเอกชน การกระทําการใด ๆ ตามหน้าที่ของ
เจา้ หนา้ ที่ของรัฐ จึงมวี ตั ถปุ ระสงคห์ รือมีเป้าหมายเพ่อื ประโยชน์ของส่วนรวม หรือการรักษาประโยชน์ส่วนรวม
ที่เป็นประโยชน์ของรัฐการทําหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมีความเก่ียวเนื่องเช่ือมโยงกับอํานาจหน้าท่ีตาม
กฎหมายและจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์หรือมีการกระทําในลักษณะต่าง ๆ กันที่เหมือนหรือคล้ายกับการ

P a g e | 20

กระทําของบุคคลในสถานะเอกชนเพียงแต่การกระทําในสถานะท่ีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับการกระทําใน
สถานะเอกชน จะมคี วามแตกตา่ งกนั ที่วตั ถุประสงค์ เป้าหมายหรอื ประโยชน์สดุ ท้ายท่ีแตกต่างกนั ”

“การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์ทับซ้อน
(Conflict of interests) คือ การที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐกระทําการใด ๆ หรือดําเนินการในกิจการสาธารณะที่เป็น
การดําเนินการตามอํานาจหน้าท่ีหรือความรับผิดชอบในกิจการของรัฐหรือองค์กรของรัฐ เพ่ือประโยชน์ของรัฐ
หรอื เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้าไปแอบแฝง หรือเป็นผู้ที่มีส่วน
ได้เสียในรปู แบบตา่ ง ๆ หรอื นาํ ประโยชน์สว่ นตนหรอื ความสมั พันธส์ ่วนตนเข้ามามีอิทธิพลหรือเก่ียวข้องในการ
ใช้อํานาจหน้าท่ีหรือดุลยพินิจในการพิจารณาตัดสินใจในการกระทําการใด ๆ หรือดําเนินการดังกล่าวนั้น เพ่ือ
แสวงหาประโยชนใ์ นทางการเงินหรือประโยชนอ์ ืน่ ๆ สาํ หรับตนเองหรอื บุคคลใดบุคคลหนง่ึ ”

ความสัมพันธ์ระหว่าง “การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม”
“จริยธรรม” และ “การทุจริต”

“จริยธรรม” เป็นกรอบใหญ่ทางสังคมท่ีเป็นพ้ืนฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่าง
ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมและการทุจริต การกระทําใดที่ผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการขัดกัน
ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมและการทุจริต ย่อมเป็นความผดิ จริยธรรมดว้ ย

แตต่ รงกนั ขา้ ม การกระทําใดท่ีฝ่าฝืนจรยิ ธรรม อาจไม่เป็นความผดิ เกี่ยวกับการขดั กันระหว่าง
ประโยชน์สว่ นตนและประโยชนส์ ่วนรวมและการทุจริต เชน่ มีพฤตกิ รรมส่วนตัวไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมชู้สาว
เป็นตน้

P a g e | 21

รปู แบบของการขดั กนั ระหวา่ งประโยชนส์ ว่ นตนและประโยชนส์ ว่ นรวม
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมมีได้หลายรูปแบบไม่จํากัดอยู่

เฉพาะในรูปแบบของตัวเงิน หรือทรัพย์สินเท่าน้ัน แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตัวเงิน
หรือทรัพย์สินด้วย โดยจําแนกรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
ไดอ้ อกเปน็ 10 รูปแบบ คือ

1. การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting benefits) ซ่ึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ทรัพย์สิน ของขวัญ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือส่ิงอ่ืนใดใน
ลักษณะเดียวกันนี้ และผลจากการรับผลประโยชน์ต่าง ๆ นั้น ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าท่ีของรัฐใน
การดาํ เนินการตามอาํ นาจหนา้ ที่ ยกตัวอยา่ งเช่น

1.1 นายสุจริต ข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการในพ้ืนท่ีจังหวัดราชบุรี
ซึ่งในวันดังกล่าวนายรวย นายก อบต. แห่งหนึ่ง ได้มอบงาช้างจํานวนหนึ่งคู่ให้แก่ นายสุจริต เพื่อเป็นของที่
ระลึก

1.2 การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับของขวัญจากผู้บริหารของบริษัทเอกชน เพื่อช่วยให้
บรษิ ทั เอกชนรายนน้ั ชนะการประมลู รบั งานโครงการขนาดใหญ่ของรฐั

1.3 การที่บริษัทแห่งหนึ่งให้ของขวัญเป็นทองคํามูลค่ามากกว่า 10 บาท แก่เจ้าหน้าท่ีใน
ปที ่ีผา่ นมา และปนี ีเ้ จา้ หน้าทเี่ รง่ รัดคนื ภาษใี ห้กับบรษิ ัทนั้นเป็นกรณีพิเศษ โดยลัดคิวให้ก่อนบริษัทอื่น ๆ เพราะ
คาดวา่ จะได้รับของขวญั อีก

1.4 การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไปเป็นคณะกรรมการของบริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจและ
ได้รับความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ จากบริษัทเหล่านั้น ซึ่งมีผลต่อการให้คําวินิจฉัยหรือข้อเสนอแนะท่ีเป็น
ธรรมหรือเป็นไปในลกั ษณะที่เอ้อื ประโยชน์ ตอ่ บริษทั ผใู้ หน้ น้ั ๆ

1.5 เจ้าหน้าท่ีของรัฐได้รับชุดไม้กอล์ฟจากผู้บริหารของบริษัทเอกชน เมื่อต้องทํางานที่
เก่ียวข้องกับบริษัทเอกชนแห่งน้ัน ก็ช่วยเหลือให้บริษัทนั้นได้รับสัมปทาน เนื่องจากรู้สึกว่าควรตอบแทนที่เคย
ไดร้ ับของขวัญมา

2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self - dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts) เป็นการท่ี
เจ้าหนา้ ทขี่ องรฐั โดยเฉพาะผมู้ ีอํานาจในการตัดสินใจ เขา้ ไปมสี ว่ นได้เสยี ในสัญญาทีท่ าํ กบั หนว่ ยงานที่ตนสังกัด
โดยอาจจะเป็นเจ้าของบริษัทท่ีทําสัญญาเอง หรือเป็นของเครือญาติ สถานการณ์เช่นนี้เกิดบทบาทท่ีขัดแย้ง
หรอื เรียกไดว้ ่าเป็นท้งั ผูซ้ ้ือและผู้ขายในเวลาเดียวกนั ยกตวั อย่างเชน่

2.1 การท่ีเจ้าหน้าท่ีในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทําสัญญาให้หน่วยงานต้นสังกัดซื้อ
คอมพวิ เตอร์สํานักงานจากบริษัทของครอบครวั ตนเอง หรอื บรษิ ทั ท่ีตนเองมหี ุ้นส่วนอยู่

2.2 ผู้บริหารหน่วยงานทําสัญญาเช่ารถไปสัมมนาและดูงานกับบริษัท ซ่ึงเป็นของ
เจ้าหน้าที่หรือบริษทั ท่ีผบู้ รหิ ารมีห้นุ ส่วนอยู่

2.3 ผู้บริหารของหน่วยงาน ทําสัญญาจ้างบริษัทที่ภรรยาของตนเองเป็นเจ้าของมาเป็นที่
ปรกึ ษาของหน่วยงาน

2.4 ผู้บริหารของหน่วยงาน ทําสัญญาให้หน่วยงานจัดซ้ือที่ดินของตนเองในการสร้าง
สาํ นกั งานแห่งใหม่

2.5 ภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรี ประมูลซอ้ื ทีด่ ินยา่ นถนนรชั ดาภเิ ษกใกล้กับศูนยว์ ฒั นธรรม
แห่งประเทศไทยจากกองทุนเพื่อการฟ้ืนฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในการกํากับดูแลของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย กระทรวงการคลัง โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ซ่ึงในขณะนั้นดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในฐานะ

P a g e | 22

เจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลกิจการของกองทุนฯ ได้ลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรสให้ภรรยาประมูลซื้อท่ีดินและ
ทําสญั ญาซ้อื ขายทดี่ ิน ส่งผลให้เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาซื้อท่ีดินโฉนดแปลงดังกล่าว อันเป็น
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มีความผิดตาม
พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรัฐธรรมนูญว่าดว้ ยการป้องกนั และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 (1)
ซึ่งเปน็ กฎหมายทีม่ ีผลบงั คบั ใชใ้ นเวลาขณะนั้น

3. การทํางานหลังจากออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post -
employment) เป็นการท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐลาออกจากหน่วยงานของรัฐ และไปทํางานในบริษัทเอกชนท่ี
ดําเนินธุรกิจประเภทเดียวกันหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเดิม โดยใช้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์
จากท่เี คยดาํ รงตําแหนง่ ในหน่วยงานเดิมนน้ั หาประโยชนจ์ ากหน่วยงานใหก้ ับบริษัทและตนเอง ยกตัวอยา่ งเชน่

3.1 อดีตผู้อํานวยการโรงพยาบาลแห่งหน่ึงเพิ่งเกษียณอายุราชการไปทํางานเป็นท่ี
ปรึกษาในบริษัทผลิตหรือขายยาโดยใช้อิทธิพลจากท่ีเคยดํารงตําแหน่งในโรงพยาบาลดังกล่าว ให้โรงพยาบาล
ซ้ือยาจากบริษัทที่ตนเองเป็นท่ีปรึกษาอยู่พฤติการณ์เช่นน้ีมีมูลความผิดทั้งทางวินัยและทางอาญาฐานเป็น
เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ท่ีอาจทําให้ผู้อ่ืนเช่ือว่าตนมีตําแหน่งหรือ
หน้าที่ ท้ังท่ีตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ท่ีมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับ
ตนเองหรือผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
2542 มาตรา 123 ซง่ึ เปน็ กฎหมายทมี่ ีผลบงั คับใชใ้ นเวลาขณะนน้ั

3.2 การท่ีผู้บริหารหรือเจ้าหน้าท่ีขององค์กรด้านเวชภัณฑ์และสุขภาพออกจากราชการ
ไปทํางานในบรษิ ัทผลติ หรือขายยา

3.3 การที่ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกษียณแล้วใช้อิทธิพลท่ีเคยดํารง
ตาํ แหน่งในหน่วยงานรัฐรับเป็นท่ีปรึกษาให้บริษัทเอกชนที่ตนเคยติดต่อประสานงาน โดยอ้างว่าจะได้ติดต่อกับ
หน่วยงานรัฐได้อย่างราบรื่น

3.4 การว่าจ้างเจ้าหน้าที่ผู้เกษียณมาทํางานในตําแหน่งเดิมที่หน่วยงานเดิมโดยไม่คุ้มค่า
กบั ภารกจิ ทไ่ี ด้รบั มอบหมาย

4. การทํางานพิเศษ (Outside employment or moonlighting) ในรูปแบบนี้มีได้
หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐตั้งบริษัทดําเนินธุรกิจ ท่ีเป็นการแข่งขันกับหน่วยงานหรือ
องค์การสาธารณะที่ตนสังกัด หรือการรับจ้างพิเศษเป็นท่ีปรึกษาโครงการ โดยอาศัยตําแหน่งในราชการสร้าง
ความน่าเช่ือถือว่าโครงการของผู้ว่าจ้างจะไม่มีปัญหาติดขัดในการพิจารณาจากหน่วยงานที่ที่ปรึกษาสังกัดอยู่
ยกตัวอย่างเช่น

4.1 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 6 สํานักงานสรรพากรจังหวัดในส่วนภูมิภาค ได้จัดตั้ง
บริษัทรับจ้างทําบัญชีและให้คําปรึกษาเก่ียวกับภาษีและมีผลประโยชน์เก่ียวข้องกับบริษัท โดยรับจ้างทําบัญชี
และย่ืนแบบแสดงรายการให้ผู้เสียภาษีในเขตจังหวัดท่ีรับราชการอยู่และจังหวัดใกล้เคียง กลับมีพฤติการณ์
ช่วยเหลือผู้เสียภาษีให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง และรับเงินค่าภาษีอากรจากผู้เสียภาษีบางรายแล้ว มิได้
นําไปยื่นแบบแสดงรายการชําระภาษีให้ พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ
กรมสรรพากรว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการ กรมสรรพากร พ.ศ. 2559 ข้อ 9 (7) (8) และอาศัยตําแหน่ง
หน้าท่ีราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามมาตรา 83 (3) แห่ง
พระราชบญั ญตั ริ ะเบยี บข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อีกทั้งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพ่ือให้
เกดิ ความเสียหายแกท่ างราชการโดยร้ายแรง และปฏิบตั ิหน้าท่รี าชการโดยทุจรติ และยงั กระทาํ การอันไดช้ ่ือว่า

P a g e | 23

เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85 (1) และ (4) แห่ง
พระราชบญั ญัติระเบยี บขา้ ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

4.2 นิติกร ฝ่ายกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง สํานักงานสรรพากรจังหวัดในส่วน
ภูมิภาคหารายได้พิเศษโดยการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตของบริษัทเอกชน ได้อาศัยโอกาสที่ตนปฏิบัติหน้าที่
เร่งรัดภาษีอากรค้างผู้ประกอบการรายหนึ่งหาประโยชน์ให้แก่ตนเองด้วยการขายประกันชีวิตให้แก่หุ้นส่วน
ผู้จัดการของผู้ประกอบการดังกล่าว รวมทั้งพนักงานของผู้ประกอบการน้ันอีกหลายคน ในขณะท่ีตนกําลัง
ดําเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นการอาศัยตําแหน่งหน้าท่ีราชการของตน
หาประโยชน์ให้แก่ตนเอง เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามมาตรา 83 (3) ประกอบมาตรา 84 แห่ง
พระราชบัญญตั ริ ะเบยี บขา้ ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

4.3 การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยตําแหน่งหน้าที่ทางราชการรับจ้างเป็นที่ปรึกษา
โครงการ เพ่อื ให้บรษิ ทั เอกชนทีว่ า่ จ้างน้นั มีความนา่ เช่อื ถอื มากกว่าบรษิ ัทคูแ่ ขง่

4.4 การท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐไม่ทํางานท่ีได้รับมอบหมายจากหน่วยงานอย่างเต็มท่ี แต่เอา
เวลาไปรับงานพิเศษอื่นๆ ทีอ่ ย่นู อกเหนอื อาํ นาจหน้าทท่ี ี่ได้รบั มอบหมายจากหนว่ ยงาน

4.5 การที่ผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐรับงานพิเศษเป็นท่ีปรึกษา หรือเป็นผู้ทําบัญชีให้กับ
บรษิ ทั ทีต่ ้องถูกตรวจสอบ

5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside information) เป็นสถานการณ์ที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐใช้
ประโยชน์จากการที่ตนเองรับรู้ข้อมูลภายในหน่วยงาน และนําข้อมูลน้ันไปหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือ
พวกพอ้ ง อาจจะไปหาประโยชนโ์ ดยการขายข้อมลู หรอื เข้าเอาประโยชนเ์ สียเอง ยกตัวอย่างเช่น

5.1 นายช่าง 5 แผนกชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนท่ี องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้
นําข้อมูลเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนท่ีระบบ 470 MHZ และระบบปลดล็อกไปขายให้แก่ผู้อ่ืน จํานวน 40
หมายเลข เพ่ือนําไปปรับจูนเข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนท่ีที่นําไปใช้รับจ้างให้บริการโทรศัพท์แก่บุคคลทั่วไป
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มมี ติชม้ี ูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และ มาตรา
164 และมีความผิดวินัยข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ. 2536 ข้อ 44
และ 46

5.2 การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบข้อมูลโครงการตัดถนนเข้าหมู่บ้าน จึงบอกให้ญาติพ่ี
นอ้ งไปซ้ือที่ดนิ บริเวณโครงการดังกล่าว เพ่ือขายใหก้ ับราชการในราคาทส่ี งู ข้นึ

5.3 การที่เจ้าหน้าท่ีหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงข่ายโทรคมนาคมทราบมาตรฐาน
(Spec) วัสดุอุปกรณ์ท่ีจะใช้ในการวางโครงข่ายโทรคมนาคม แล้วแจ้งข้อมูลให้กับบริษัทเอกชนท่ีตนรู้จัก
เพ่ือให้ไดเ้ ปรยี บในการประมลู

5.4 เจา้ หน้าที่พัสดุของหน่วยงานเปิดเผยหรือขายข้อมูลท่ีสําคัญของฝ่ายท่ีมายื่นประมูล
ไว้กอ่ นหน้าให้แก่ผ้ปู ระมลู รายอนื่ ท่ใี หผ้ ลประโยชน์ ทาํ ใหฝ้ ่ายทีม่ าย่นื ประมลู ไวก้ ่อนหน้าเสียเปรียบ

6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพ่ือประโยชน์ส่วนตน (Using your employer’s
property for private advantage) เป็นการที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐนําเอาทรัพย์สินของราชการซ่ึงจะต้องใช้
เพื่อประโยชน์ของทางราชการเท่าน้ันไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง หรือการใช้ให้
ผู้ใต้บังคบั บัญชาไปทํางานสว่ นตวั ยกตัวอย่างเชน่

6.1 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ใช้อํานาจหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่นําเก้าอี้
พร้อมผ้าปลอกคลุมเก้าอี้ เครือ่ งถา่ ยวดิ โี อ เคร่อื งเลน่ วดิ ีโอ กลอ้ งถา่ ยรูป และผ้าเต็นท์ นําไปใช้ในงานมงคลสมรส
ของบุตรสาว รวมทั้งรถยนต์ รถตู้ส่วนกลาง เพ่ือใช้รับส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธี และขนย้ายอุปกรณ์ท้ังท่ีบ้านพัก

P a g e | 24

และงานฉลองมงคลสมรสที่โรงแรม ซ่ึงล้วนเป็นทรัพย์สินของทางราชการ การกระทําของจําเลยนับเป็นการใช้
อํานาจโดยทุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนตนอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ช้ีมูลความผิดวินัย
และอาญา ต่อมาเรื่องเข้าสู่กระบวนการในช้ันศาล ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าการกระทําของ
จําเลย เป็นการทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าท่ีซ้ือทําจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ
ใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าท่ีโดยมิชอบ ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และ 157 จึงพิพากษาให้จําคุก 5 ปี และปรับ 20,000 บาท
คําให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหน่ึง คงจําคุกจําเลยไว้ 2 ปี 6 เดือนและ
ปรับ 10,000 บาท

6.2 การท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ผู้มีหน้าท่ีขับรถยนต์ของส่วนราชการ นําน้ํามันในรถยนต์ไป
ขาย และนําเงินมาไว้ใช้จ่ายส่วนตัวทําให้ส่วนราชการต้องเสียงบประมาณ เพื่อซ้ือนํ้ามันรถมากกว่าท่ีควรจะเป็น
พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการทุจริต เป็นการเบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมเพ่ือประโยชน์ของตนเอง และ
มคี วามผิดฐานลักทรพั ยต์ ามประมวลกฎหมายอาญา

6.3 การที่เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอํานาจอนุมัติให้ใช้รถราชการหรือการเบิกจ่ายค่าน้ํามัน
เชอ้ื เพลงิ นาํ รถยนตข์ องสว่ นราชการไปใช้ในกจิ ธรุ ะสว่ นตัว

6.4 การที่เจ้าหน้าท่ีรัฐนําวัสดุครุภัณฑ์ของหน่วยงานมาใช้ที่บ้าน หรือใช้โทรศัพท์ของ
หน่วยงานติดตอ่ ธรุ ะส่วนตน หรือนํารถส่วนตนมาลา้ งทห่ี นว่ ยงาน

7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกต้ังเพ่ือประโยชน์ในทางการเมือง (Pork -
barreling) เป็นการท่ีผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงอนุมัติโครงการไปลงพื้นท่ีหรือบ้าน
เกดิ ของตนเองหรือการใชง้ บประมาณสาธารณะเพือ่ หาเสียง

7.1 นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแหง่ หนึ่งร่วมกับพวก แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียด
โครงการปรับปรุงและซ่อมแซมถนนคนเดินใหม่ ในตําบลที่ตนมีฐานเสียงโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ
และตรวจรับงานทั้งที่ไม่ถูกต้องตามแบบรูปรายการที่กําหนด รวมท้ังเมื่อดําเนินการแล้วเสร็จได้ติดป้ายชื่อของ
ตนและพวก การกระทําดังกล่าวมีมูล เป็นการกระทําการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของ
ประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าท่ี มีมูลความผิดทั้งทางวินัยอย่าง
ร้ายแรงและทางอาญา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้
ผ้มู ีอาํ นาจแต่งตั้งถอดถอน และสํานกั งานคณะกรรมการการเลอื กตั้งทราบ

7.2 การที่นักการเมืองในจังหวัด ขอเพิ่มงบประมาณเพื่อนําโครงการตัดถนน สร้าง
สะพานลงในจังหวัด โดยใช้ช่อื หรอื นามสกลุ ของตนเองเป็นชอื่ สะพาน

7.3 การทรี่ ฐั มนตรีอนมุ ัติโครงการไปลงในพ้นื ทหี่ รอื บ้านเกิดของตนเอง
8. การใช้ตําแหน่งหน้าท่ีแสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติ หรือพวกพ้อง (Nepotism)
หรืออาจจะเรียกว่าระบบอุปถัมภ์พิเศษ เป็นการท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ใช้อิทธิพลหรือใช้อํานาจหน้าที่ทําให้
หนว่ ยงานของตนเข้าทําสญั ญากบั บริษทั ของพี่นอ้ งของตน ยกตวั อยา่ งเช่น

พนักงานสอบสวนละเว้นไม่นําบันทึกการจับกุมท่ีเจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุม ทําข้ึนในวัน
เกิดเหตุรวมเข้าสํานวนแต่กลับเปลี่ยนบันทึกและแก้ไขข้อหาในบันทึกการจับกุม เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาซ่ึงเป็น
ญาติของตนให้รับโทษน้อยลงคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมูลความผิดทางอาญาและทางวินัยอย่าง
ร้ายแรง

P a g e | 25

9. การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอ่ืน
(influence) เพ่ือให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้อง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตําแหน่งหน้าท่ีข่มขู่
ผใู้ ต้บงั คบั บญั ชาให้หยดุ ทาํ การตรวจสอบบริษัทของเครอื ญาตขิ องตน ยกตัวอย่างเช่น

9.1 เจ้าหน้าท่ขี องรฐั ใชต้ ําแหนง่ หนา้ ทใี่ นฐานะผบู้ รหิ าร เข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าทใ่ี ห้ปฏบิ ตั หิ นา้ ทีโ่ ดยมิชอบดว้ ยระเบียบ และกฎหมาย หรือฝา่ ฝนื จริยธรรม

9.2 นายเอ เป็นหัวหน้าส่วนราชการแห่งหน่ึงในจังหวัด รู้จักสนิทสนมกับ นายบี หัวหน้า
ส่วนราชการอีกแห่งหน่ึงในจังหวัดเดียวกัน นายเอ จึงใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวฝากลูกชาย คือ นายซี เข้ารับ
ราชการภายใต้สงั กัดของนายบี

10. การขดั กันแห่งผลประโยชนส์ ่วนตนกบั ประโยชน์ส่วนรวมประเภทอน่ื ๆ ยกตัวอย่างเชน่
10.1 การเดินทางไปราชการต่างจังหวัดโดยไม่คํานึงถึงจํานวนคน จํานวนงาน และ

จาํ นวนวันอย่างเหมาะสม อาทิ เดินทางไปราชการจํานวน 10 วนั แต่ใชเ้ วลาในการทาํ งานจริงเพียง 6 วัน โดย
อีก 4 วัน เปน็ การเดนิ ทางทอ่ งเทยี่ วในสถานท่ีต่าง ๆ

10.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่ใช้เวลาในราชการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ เน่ืองจากต้องการ
ปฏบิ ัติงานนอกเวลาราชการเพราะสามารถเบิกเงินงบประมาณคา่ ตอบแทนการปฏบิ ัตงิ านนอกเวลาราชการได้

10.3 เจ้าหน้าที่ของรัฐลงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยมิได้อยู่ปฏิบัติงานใน
ชว่ งเวลานั้นอยา่ งแทจ้ ริงแต่กลับใช้เวลาดังกล่าวปฏบิ ตั ิกิจธุระส่วนตวั

P a g e | 26

บทท่ี 4
ความอายและความไมท่ นต่อการทุจรติ

ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาท่ีสําคัญท้ังของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ท่ัวโลก ปัญหา
การทุจรติ จะทําให้เกิดความเส่ือมในดา้ นต่าง ๆ เกดิ ขึน้ ทัง้ สังคม เศรษฐกจิ การเมือง และนับวันปัญหาดงั กลา่ ว
ก็จะรนุ แรงมากข้ึน และมีรูปแบบการทุจริตท่ีซับซ้อน ยากแก่การตรวจสอบมากขึ้น จากเดิมที่กระทําเพียงสอง
ฝ่าย ปัจจุบันการทุจริตจะกระทํากันหลายฝ่าย ทั้งผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชน
โดยประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ผู้ให้ผลประโยชน์กับผู้รับผลประโยชน์ ซ่ึงท้ังสองฝ่ายน้ีจะมีผลประโยชน์
ร่วมกัน ตราบใดที่ผลประโยชน์สมเหตุสมผลต่อกัน ก็จะนําไปสู่ปัญหาการทุจริตได้ บางคร้ังผู้ท่ีรับผลประโยชน์
ก็เป็นผ้ใู หป้ ระโยชนไ์ ด้เช่นกัน โดยผรู้ ับผลประโยชนแ์ ละผใู้ ห้ผลประโยชน์ คือ

1. ผู้รับผลประโยชน์ จะเป็นเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ซึ่งมีอํานาจหน้าท่ีในการกระทํา การ
ดําเนินการต่าง ๆ และรับประโยชน์จะเป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การเรียกรับประโยชน์
โดยตรง การกําหนดระเบยี บหรอื คุณสมบตั ทิ ่เี อ้ือตอ่ ตนเองและพวกพ้อง

2. ผู้ให้ผลประโยชน์ เช่น ภาคเอกชน โดยการเสนอผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน
สิทธิพิเศษอ่ืน ๆ เพื่อจูงใจให้นักการเมือง เจ้าหน้าท่ีของรัฐ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งใน
ตาํ แหน่งหนา้ ทีซ่ ่งึ การกระทําดงั กลา่ วเป็นการกระทําทฝ่ี ่าฝืนตอ่ ระเบยี บหรอื ผดิ กฎหมาย เปน็ ต้น

ทจุ ริต คืออะไร
คําว่าทุจริต มีการให้ความหมายได้มากมายหลากหลาย ข้ึนอยู่กับว่าจะมีการให้ความหมาย
ดังกล่าวไว้ว่าอย่างไร โดยท่ีคําว่าทุจริตน้ัน จะมีการให้ความหมายโดยหน่วยงานของรัฐ หรือการให้ความหมาย
โดยกฎหมายซึ่งไม่ว่าจะเป็นการให้ความหมายจากแหล่งใด เน้ือหาสําคัญของคําว่าทุจริตก็ยังคงมีความหมายที่
สอดคล้องกันอยู่ น่ันคือ การทุจริตเป็นสิ่งท่ีไม่ดี มีการแสวงหาหรือเอาผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของ
ส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่ได้มีสิทธิในส่ิง ๆ น้ัน การยึดถือเอามาดังกล่าวจึงถือเป็นส่ิงที่ผิดทั้งในแง่ของกฎหมาย
และศีลธรรม
ในแง่ของกฎหมายน้ัน ประเทศไทยได้มีการกําหนดถึงความหมายของการทุจริตไว้หลัก ๆ
ในกฎหมาย 2 ฉบบั คอื
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) “โดยทุจริต” หมายถึง “เพ่ือแสวงหาประโยชน์ท่ี
มิควรไดโ้ ดยชอบดว้ ยกฎหมายสาํ หรับตนเองหรือผู้อนื่ ”
พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญวา่ ดว้ ยการป้องกนั และปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2561
มาตรา 4 คําว่า “ทุจริตต่อหน้าท่ี” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดใน
ตําแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทาให้ผู้อ่ืนเชื่อว่ามีตําแหน่ง
หรือหน้าที่ท้ังที่ตนมิได้มีตําแหน่ง ํ หรือหน้าที่น้ัน หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพ่ือแสวงหา
ประโยชนท์ ี่มคิ วรไดโ้ ดยชอบสําหรบั ตนเองหรือผู้อ่ืน หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าท่ีราชการ
หรอื ความผดิ ตอ่ ตําแหน่งหนา้ ท่ใี นการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอืน่
นอกจากน้ี คําว่าทุจริต ยังได้มีการบัญญัติให้ความหมายเอาไว้ในพจนานุกรมฉบับ
ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบไุ ว้ว่าทุจริต หมายถงึ “ความประพฤติชวั่ คดโกง ฉ้อโกง”
ในคําภาษาอังกฤษ คําว่าทุจริตจะตรงกับคําว่า Corruption (คอร์รัปชัน) โดยในประเทศไทย
มักมีการกล่าวถึงคําว่าคอร์รัปชันมากกว่าการใช้คําว่าทุจริต โดยการทุจริตน้ีสามารถใช้ได้กับทุกท่ีไม่ว่าจะเป็น
หน่วยงานราชการ หน่วยงานของเอกชน หากเกิดกรณีการยึดเอา ถือเอาซ่ึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

P a g e | 27

ไม่คํานึงถึงว่าสิ่ง ๆ น้ัน เป็นของของตนเอง หรือเป็นสิทธิที่ตนเองควรจะได้มาหรือไม่แล้วน้ัน ก็จะเรียกได้ว่า
เป็นการทุจริต เช่น การทุจริตในการเบิกจ่ายเงิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในหน่วยงานของรัฐหรือของเอกชน การ
กระทาํ เช่นน้กี ถ็ ือเป็นการทจุ รติ เปน็ ต้น

อย่างไรก็ตาม เน่ืองจากคอร์รัปชันมิได้เกิดเฉพาะในวงราชการเท่านั้น ดังนั้น ในอีกมุมหน่ึง
คอร์รัปชันจึงต้องหมายรวมถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของภาคธุรกิจเอกชน ในรูปของการให้สินบนหรือสิ่ง
ตอบแทนแก่นักการเมือง หรือข้าราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ท่ีตนเองอยากได้ในรูปแบบของการ
ประมูล การสัมปทาน เป็นต้น รูปแบบเหล่าน้ีจะสามารถสร้างกําไรให้แก่ภาคเอกชนเป็นจํานวนมาก หาก
ภาคเอกชนสามารถเข้ามาดําเนินงานได้ รวมถึงการที่เจ้าหน้าท่ีของรัฐมีความต้องการทรัพย์สิน ประโยชน์อ่ืน
นอกเหนอื จากสิ่งทีไ่ ด้รับตามปกติ เม่ือเหตผุ ลของท้ังสองฝา่ ยสามารถบรรจบหากนั ได้ การทุจริตก็เกดิ ข้นึ ได้

จากนิยามของการทุจริตคอร์รัปชันไม่เพียงแต่จะกินความถึงการทุจริตคอร์รัปชันในระบบ
ราชการเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในภาคเอกชนอีกด้วย ซึ่ง
อาจกลา่ วไดว้ า่ การทุจรติ คอร์รัปชัน คอื การทจุ ริต และการประพฤตมิ ิชอบของข้าราชการ

ดงั น้ัน การทุจริต คือ การคดโกง ไม่ซื่อสัตย์สุจริต การกระทําที่ผิดกฎหมาย เพ่ือให้เกิดความ
ได้เปรียบในการแขง่ ขนั การใช้อํานาจหน้าท่ีในทางที่ผิดเพ่ือแสวงหาประโยชน์หรือให้ได้รับสิ่งตอบแทน การให้
หรอื การรับสินบน การกาํ หนดนโยบายทเ่ี ออื้ ประโยชนแ์ กต่ นหรอื พวกพอ้ งรวมถงึ การทุจริตเชิงนโยบาย

รูปแบบการทจุ ริต
รูปแบบการทุจริตที่เกิดข้ึนสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ แบ่งตามผู้ท่ีเกี่ยวข้อง แบ่งตาม
กระบวนการทใี่ ชแ้ ละแบง่ ตามลักษณะรูปธรรม ดงั นี้
1) แบ่งตามผู้ท่ีเก่ียวข้อง เป็นรูปแบบการทุจริตในเร่ืองของอํานาจและความสัมพันธ์แบบ
อุปถัมภ์ระหว่างผู้ท่ีให้การอุปถัมภ์ (ผู้ให้การช่วยเหลือ) กับผู้ถูกอุปถัมภ์ (ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ) โดยใน
กระบวนการการทุจรติ จะมี 2 ประเภท คือ

(1) การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทําท่ีมีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่ง
แสวงหาผลประโยชน์จากการปฏบิ ัตงิ านของหน่วยงานน้นั ๆ มากกวา่ ประโยชนส์ ว่ นรวมของสังคมหรือประเทศ
โดยลักษณะของการทจุ รติ โดยข้าราชการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทยอ่ ย ดงั น้ี

ก) การคอร์รัปชันตามนํ้า (corruption without theft) จะปรากฏขึ้นเมื่อเจ้าหน้าท่ี
ของรฐั ต้องการสินบนโดยให้มีการจ่ายตามช่องทางปกติของทางราชการ แต่ให้เพิ่มสินบนรวมเข้าไว้กับการจ่าย
ค่าบริการของหนว่ ยงานน้ัน ๆ โดยทเ่ี งินค่าบริการปกติท่ีหน่วยงานน้ันจะต้องได้รับก็ยังคงได้รับต่อไป เช่น การจ่ายเงิน
พเิ ศษให้แก่เจ้าหน้าทใี่ นการออกเอกสารตา่ ง ๆ นอกเหนือจากค่าธรรมเนยี มปกติท่ตี ้องจ่ายอยแู่ ล้ว เปน็ ต้น

ข) การคอร์รัปชันทวนน้ํา (corruption with theft) เป็นการคอร์รัปชันในลักษณะท่ี
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเรียกร้องเงินจากผู้ขอรับบริการโดยตรง โดยท่ีหน่วยงานนั้นไม่ได้มีการเรียกเก็บเงิน
ค่าบริการแต่อย่างใด เช่น ในการออกเอกสารของหน่วยงานราชการไม่ได้มีการกําหนดให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การดําเนนิ การ แตก่ รณนี มี้ ีการเรยี กเกบ็ ค่าใช้จ่ายจากผู้ทมี่ าใช้บรกิ ารของหนว่ ยงานของรฐั

(2) การทุจริตโดยนักการเมือง (political corruption) เป็นการใช้หน่วยงานของทาง
ราชการโดยบรรดานักการเมอื งเพอ่ื มุ่งแสวงหาผลประโยชนใ์ นทางการเงินมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคม
หรือประเทศเชน่ เดียวกัน โดยรปู แบบหรอื วธิ กี ารทัว่ ไปจะมีลกั ษณะเชน่ เดยี วกับการทุจรติ โดยขา้ ราชการ แต่จะ
เป็นในระดับท่ีสงู กว่า เชน่ การทุจริตในการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และมีการเรียกรับ หรือยอมจะ
รบั ทรพั ยส์ ินหรือประโยชน์ตา่ ง ๆ จากภาคเอกชน เป็นตน้

P a g e | 28

2) แบง่ ตามกระบวนการท่ีใชม้ ี 2 ประเภท คอื
(1) เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนด กฎ กติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ

กฎระเบยี บต่าง ๆ เพอ่ื อาํ นวยประโยชน์ต่อกลุม่ ธรุ กจิ ของตนหรือพวกพ้อง
(2) เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎ และระเบียบที่ดํารงอยู่

ซ่ึงมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้นที่ทําให้เจ้าหน้าท่ีสามารถใช้ความคิดเห็นของตนได้
และการใช้ความคิดเหน็ นัน้ อาจไมถ่ กู ตอ้ งหากมกี ารใชไ้ ปในทางทผ่ี ดิ หรือไมย่ ุติธรรมได้

3) แบ่งตามลกั ษณะรูปธรรม มที ั้งหมด 4 รปู แบบ คอื
(1) คอร์รัปชันจากการจัดซ้ือจัดหา (Procurement Corruption) เช่น การจัดซ้ือส่ิงของ

ในหนว่ ยงาน โดยมกี ารคดิ ราคาเพิ่มหรือลดคุณสมบัตแิ ตก่ าํ หนดราคาซื้อไวเ้ ทา่ เดมิ เป็นต้น
(2) คอร์รัปชันจากการให้สัมปทานและสิทธิพิเศษ (Concessionaire Corruption) เช่น

การให้เอกชนรายใดรายหนึ่งเขา้ มามสี ิทธิในการจดั ทาํ สมั ปทานเป็นกรณีพิเศษต่างกับเอกชนรายอื่น เปน็ ตน้
(3) คอร์รัปชันจากการขายสาธารณสมบัติ (Privatization Corruption) เช่น การขาย

กิจการของรัฐวิสาหกิจ หรือการยกเอาท่ดี นิ ทรพั ย์สนิ ไปเป็นสทิ ธิการครอบครองของต่างชาติ เป็นต้น
(4) คอร์รัปชันจากการกํากับดูแล (Regulatory Corruption) เช่น การกํากับดูแลใน

หน่วยงานแล้วทาํ การทุจรติ ต่าง ๆ เปน็ ต้น
นักวิชาการที่ได้ศึกษาเก่ียวกับปัญหาการทุจริต ได้มีการกําหนดหรือแบ่งประเภทของการ

ทุจริตเป็นรูปแบบต่างๆ ไว้ เช่น การวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ ได้แบ่งการ
ทุจริตคอร์รัปชันออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การใช้อํานาจในการอนุญาตให้ละเว้นจากการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบของรฐั เพ่ือลดตน้ ทนุ การทาํ ธรุ กจิ 2) การใชอ้ ํานาจในการจัดสรรผลประโยชน์ในรูปของสิ่งของ และ
บริการ หรือสิทธิให้แก่เอกชน และ 3) การใช้อํานาจในการสร้างอุปสรรคในการให้บริการแก่ภาคประชาชน
และภาคธรุ กจิ เนื่องจากเงินเดือนและผลตอบแทนในระบบราชการต่ําเกินไปจนขาดแรงจงู ใจในการทํางาน

นอกจากนี้ จากผลการสอบสวนและศึกษาเรื่องการทุจริต ของคณะกรรมการวิสามัญ
พิจารณาสอบสวนและศึกษาเร่ืองเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา (วิชา มหาคุณ) มีการแบ่งรูปแบบการทุจริต
คอรร์ ัปชนั ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1) การทุจรติ เชงิ นโยบาย
เป็นรูปแบบใหม่ของการทุจริตท่ีแยบยล โดยอาศัยรูปแบบของกฎหมายหรือมติของ
คณะรัฐมนตรี หรือมติของคณะกรรมการเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ทําให้ประชาชนส่วนใหญ่
เข้าใจผิดวา่ เปน็ การกระทาํ ทถ่ี กู ตอ้ งชอบธรรม
2) การทจุ ริตตอ่ ตําแหนง่ หน้าทร่ี าชการ
เป็นการใช้อํานาจและหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนในฐานะของเจ้าหน้าท่ีของรัฐเอ้ือ
ประโยชนใ์ หแ้ กต่ นเองหรอื บุคคลใดบุคคลหนงึ่ หรอื กล่มุ ใดกลุม่ หน่ึง ปจั จุบนั มักเกดิ จากความร่วมมอื กันระหวา่ ง
นกั การเมอื ง พ่อค้า และข้าราชการประจาํ
3) การทจุ ริตในการจดั ซอ้ื จัดจา้ ง
การทุจริตประเภทน้ีจะพบได้ท้ังรูปแบบของการสมยอมราคา ต้ังแต่ขั้นตอนการออกแบบ
กําหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะของงาน กําหนดเงื่อนไข คํานวณราคากลางออกประกาศประกวดราคา
การขายแบบ การรบั และเปิดซอง การประกาศผล การอนุมัติ การทาํ สัญญาทุกขัน้ ตอนของกระบวนการจัดซ้ือ
จัดจ้างล้วนมีช่องโหว่ให้มีการทุจริตกันได้อย่างง่าย ๆ นอกจากนี้ ยังมีการทุจริตที่มาเหนือเมฆ คือ การอาศัย
ความเปน็ หนว่ ยงานราชการด้วยกัน จึงไดร้ ับการยกเว้นและการไมถ่ กู เพ่งเลง็ แตค่ วามจริงผลประโยชน์จากการ

P a g e | 29

รับงานและเงินที่ได้จากการรับงานไม่ได้นําส่งกระทรวงการคลัง แต่เป็นผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล ซ่ึงไม่
แตกตา่ งอะไรกบั การจ้างบรษิ ทั เอกชน

4) การทุจรติ ในการให้สัมปทาน
เปน็ การแสวงหาหรือเออื้ ประโยชนโ์ ดยมิชอบจากโครงการหรือกจิ การของรัฐ ซึ่งรัฐได้อนุญาต
หรือมอบให้เอกชนดําเนินการแทนให้ลักษณะสัมปทานผูกขาดในกิจการใดกิจการหน่ึง เช่น การทําสัญญา
สมั ปทานโรงงานสรุ า การทาํ สญั ญาสัมปทานโทรคมนาคม เป็นตน้
5) การทุจริตโดยการทาํ ลายระบบตรวจสอบการใชอ้ ํานาจรัฐ
เปน็ การพยายามดาํ เนนิ การใหไ้ ด้บุคคลซงึ่ มีสายสมั พนั ธ์กบั ผดู้ าํ รงตําแหนง่ ทางการเมืองในอัน
ที่จะเข้าไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซ่ึงมีอํานาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
เชน่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการปอ้ งกนั และปราบปรามการทุจรติ แห่งชาติ เป็นตน้ ทาํ ให้องคก์ ร
เหลา่ น้มี คี วามอ่อนแอ ไม่สามารถตรวจสอบการให้อาํ นาจรฐั ได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ
สาเหตทุ ่ีทาํ ใหเ้ กิดการทุจรติ
จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์
ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุเง่ือนไข/สาเหตุท่ีทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันอาจมาจากสาเหตุภายในหรือสาเหตุ
ภายนอก ดังนี้
1) ปัจจัยสว่ นบุคคล ได้แก่ พฤติกรรมส่วนตัวของข้าราชการบางคนท่ีเป็นคนโลภมาก เห็นแก่ได้
ไมร่ ู้จกั พอ ความเคยชินของข้าราชการที่คนุ้ เคยกับการทจี่ ะได้ “ค่านาํ้ รอ้ นน้าํ ชา” หรอื “เงนิ ใตโ้ ตะ๊ ” จากผู้มาติดต่อ
ราชการ ขาดจติ สํานกึ เพือ่ ส่วนรวม
2) ปจั จยั ภายนอก ประกอบด้วย

(1) ด้านเศรษฐกจิ ได้แก่ รายไดข้ องขา้ ราชการนอ้ ยหรือตา่ํ มากไม่ไดส้ ดั สว่ นกบั การครองชพี
ที่สูงขึ้น การเติบโตของระบบทุนนิยมที่เน้นการบริโภค สร้างนิสัยการอยากได้ อยากมี เม่ือรายได้ไม่เพียงพอ
ก็ต้องหาทางใชอ้ าํ นาจไปทุจริต

(2) ด้านสังคม ได้แก่ ค่านิยมของสังคมท่ียกย่องคนมีเงิน คนร่ํารวย และไม่สนใจว่าเงิน
นัน้ ไดม้ าอยา่ งไร เกดิ ลทั ธเิ อาอยา่ ง อยากได้สิ่งทีค่ นรวยมี เม่ือเงนิ เดือนของตนไม่เพียงพอก็หาโดยวธิ มี ิชอบ

(3) ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การนิยมจ่ายเงินของนักธุรกิจให้กับข้าราชการท่ีต้องการ
ความสะดวกรวดเรว็ หรอื การบรกิ ารท่ีดีกว่าด้วยการลดต้นทุนที่จะต้องปฏบิ ัตติ ามระเบยี บ

(4) ด้านการเมือง ได้แก่ การทุจริตของข้าราชการแยกไม่ออกจากนักการเมือง การ
รว่ มมอื ของคนสองกลุ่มนีเ้ กิดขึ้นไดใ้ นประเดน็ การใช้จ่ายเงนิ การหารายไดแ้ ละการตดั สนิ พจิ ารณาโครงการของรฐั

(5) ดา้ นระบบราชการ ไดแ้ ก่
- ความบกพรอ่ งในการบริหารงานเปิดโอกาสใหเ้ กิดการทจุ ริต
- การใชด้ ลุ ยพินจิ มากและการผกู ขาดอาํ นาจจะทาํ ให้อัตราการทจุ รติ ในหน่วยงานสูง
- การท่ีขน้ั ตอนของระเบยี บราชการมีมากเกินไป ทําให้ผู้ที่ไปติดต่อต้องเสียเวลามาก

จงึ เกิดการสมยอมกันระหว่างผ้ใู ห้กบั ผู้รบั
- การตกอยู่ใต้สภาวะแวดล้อมและอิทธิพลของผู้ทุจริตมีทางเป็นไปได้ที่ผู้น้ันจะทํา

การทจุ รติ ดว้ ย
- การรวมอํานาจ ระบบราชการมีลักษณะท่ีรวมศูนย์ ทําให้ไม่มีระบบตรวจสอบที่

เป็นจริงและมปี ระสทิ ธภิ าพ

P a g e | 30

- ตําแหน่งหน้าที่ในลักษณะอํานวยต่อการกระทําผิด เช่น อํานาจในการอนุญาตการ
อนมุ ตั ิจัดซ้อื จัดจ้าง ผู้ประกอบการเอกชนมักจะยอมเสยี เงนิ ตดิ สินบนเจา้ หนา้ ทีเ่ พื่อให้เกดิ ความสะดวกและรวดเรว็

- การที่ข้าราชการผู้ใหญ่ทุจริตให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วไม่ถูกลงโทษ ข้าราชการ
ชัน้ ผู้น้อยจึงเลียนแบบกลายเป็นความเคยชิน และมองไม่เห็นว่าการกระทําเหล่าน้ันจะเป็นการคอร์รัปชัน หรือ
มคี วามสับสนระหว่างสนิ น้ําใจกับคอร์รัปชันแยกออกจากกนั ไม่ชัดเจน

6) กฎหมายและระเบียบ ไดแ้ ก่
- กฎหมายหลายฉบับทใ่ี ชอ้ ยูย่ งั มี “ชอ่ งโหว่” ทีท่ าํ ให้เกิดการทุจรติ ทด่ี าํ รงอย่ไู ด้
- การทุจริตไม่ได้เป็นอาชญากรรมให้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย หาพยานหลักฐานได้ยาก

ยิ่งกว่าน้ันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมักไม่ค่อยมีฝ่ายใดยอมเปิดเผยออกมา และถ้าหากมีฝ่ายใดต้องการท่ีจะเปิดเผย
ความจริงในเรื่องนี้ กฎหมายหม่ินประมาทก็ยับยั้งเอาไว้ อีกท้ังกฎหมายของทุกประเทศเอาผิดกับบุคคลผู้ให้
สนิ บนเท่า ๆ กบั ผ้รู บั สินบน จงึ ไมค่ ่อยมีผู้ให้สนิ บนรายใดกล้าดําเนนิ คดีกบั ผรู้ ับสินบน

- ราษฎรท่ีรู้เห็นการทุจริตก็เป็นโจทก์ฟ้องร้องมิได้เนื่องจากไม่ใช่ผู้เสียหาย ยิ่งกว่าน้ัน
กระบวนการพิจารณาพพิ ากษายังยงุ่ ยากซับซอ้ นจนกลายเป็นผลดีแก่ผทู้ จุ รติ

- ข้ันตอนทางกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติยุ่งยาก ซับซ้อน มีขั้นตอนมาก ทําให้เกิด
ชอ่ งทางใหข้ ้าราชการหาประโยชนไ์ ด้

7) การตรวจสอบ ไดแ้ ก่
- ภาคประชาชนขาดความเข้มแข็ง ทําให้กระบวนการต่อต้านการทุจริตจากฝ่าย

ประชาชนไมเ่ ข้มแขง็ เทา่ ที่ควร
- การขาดการควบคมุ ตรวจสอบของหน่วยงานท่ีมีหน้าท่ตี รวจสอบหรือกาํ กบั ดูแลอย่างจริงจัง

8) สาเหตุอน่ื ๆ
- อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดสามีอันเป็นตัวการสําคัญที่

สนบั สนุนและสง่ เสรมิ ให้สามขี องตนทําการทจุ รติ เพอื่ ความเป็นอยูข่ องครอบครวั
- การพนนั ทาํ ใหข้ ้าราชการท่ีเสยี พนันมีแนวโน้มจะทุจรติ มากขนึ้

ระดบั การทุจรติ ในประเทศไทย
1) การทุจริตระดับชาติ เป็นรูปแบบการทุจริตของนักการเมืองท่ีใช้อํานาจในการบริหาร
ราชการรวมถึงอํานาจนิติบัญญัติ เป็นเคร่ืองมือในการออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย การออกนโยบายต่าง ๆ
โดยการอาศยั ชอ่ งวา่ งทางกฎหมาย
2) การทุจริตในระดับท้องถิ่น การบริหารราชการในรูปแบบท้องถิ่นเป็นการกระจายอํานาจ
เพ่ือให้บริการต่าง ๆ ของรัฐสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น แต่การดําเนินการใน
รูปแบบของท้องถ่ินก็ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตเป็นจํานวนมาก ผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นนักการเมืองท่ีอยู่ใน
ท้องถ่ินน้ัน หรือนักธุรกิจท่ีปรับบทบาทตนเองมาเป็นนักการเมือง และเม่ือเป็นนักการเมือง เป็นผู้บริหาร
ท้องถน่ิ แลว้ กเ็ ป็นโอกาสในการแสวงหาผลประโยชนส์ ําหรับตนเองและพวกพอ้ งได้
ระดับการทุจริตในประเทศไทยท่ีแบ่งออกเป็นระดับชาติและระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่มักจะมี
รูปแบบการทุจริตท่ีคล้ายกัน เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การประมูล การซื้อขายตําแหน่ง โดยเฉพาะในระดับ
ท้องถ่ินที่มีข่าวจํานวนมากเก่ียวกับผู้บริหารท้องถ่ินเรียกรับผลประโยชน์ในการปรับเปล่ียนตําแหน่ง หรือเล่ือน
ตาํ แหน่ง เป็นตน้ โดยการทจุ ริตท่ีเกิดขึ้นอาจจะไมใ่ ช่การทุจรติ ทเี่ ป็นตวั เงินใหเ้ หน็ ไดช้ ัดเจนเท่าใด แต่จะแฝงตัว
อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่พิจารณาให้ดีแล้วอาจมองได้ว่าการกระทําดังกล่าวไม่ใช่การทุจริต แต่แท้จริงแล้ว
การกระทํานั้นเป็นการทุจริตอย่างหน่ึง และร้ายแรงมากพอท่ีจะส่งผลกระทบ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อ

P a g e | 31
สังคม ประเทศชาติได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาให้คะแนนประเมิน
พิเศษแก่ลูกน้องท่ีตนเองชอบ ทําให้ได้รับเงินเดือนในอัตราท่ีสูงกว่าความเป็นจริงที่บุคคลนั้นควรจะได้รับ
เป็นต้น การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดทางวินัย ซึ่งเจ้าหน้าท่ีของรัฐจะมีบทบัญญัติเก่ียวกับประมวล
จริยธรรมข้าราชการพลเรือนให้ยึดถือปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวข้ึนเท่ากับว่าเป็นการกระทําที่
ทุจริตและประพฤติผิดประมวลจรยิ ธรรมอกี ด้วย

สถานการณ์การทจุ ริตของประเทศไทย
การทุจริตที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หากประเทศใดมีการทุจริตน้อยจะ
ส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเป็นอยู่ท่ีดี นักลงทุนมีความต้องการท่ีจะมาลงทุนในประเทศ ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจ
ของประเทศจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเน่ือง แต่หากมีการทุจริตเป็นจํานวนมากนักธุรกิจย่อมไม่กล้าท่ีจะ
ลงทุนในประเทศน้ัน ๆ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทําธุรกิจที่มากกว่าปกติ แต่หากสามารถดําเนินธุรกิจ
ดังกล่าวได้ผลที่เกิดข้ึนย่อมตกแก่ผู้บริโภคที่จะต้องซ้ือสินค้าและบริการท่ีมีราคาสูง หรืออีกกรณีหน่ึง คือ การ
ใช้สนิ ค้าและบรกิ ารทีไ่ ม่มคี ณุ ภาพ ดังน้ัน จงึ ได้มกี ารวัดและจดั อนั ดับประเทศตา่ ง ๆ เพ่ือบง่ บอกถงึ สถานการณ์
การทุจริต ซึ่งการทุจริตท่ีผ่านมานอกจากจะพบเห็นข่าวการทุจริตด้วยตนเอง และผ่านส่ือต่าง ๆ แล้ว ยังมี
ตัวช้ีวัดท่ีสําคัญอีกตัวหน่ึงที่ได้รับการยอมรับ คือ ตัวช้ีวัดขององค์กรเพ่ือความโปร่งใสนานาชาติ
(transparency international : TI) ได้จัดอันดับคะแนนดัชนีช้ีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจําปี 2563
พบว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 104 จากการจัดอันดับท้ังหมด
180 ประเทศทั่วโลก โดยคะแนนทีป่ ระเทศไทยไดร้ บั ตัง้ แต่อดีต – ปัจจบุ นั ไดค้ ะแนนและลาํ ดับ ดงั นี้

เมือ่ จัดอนั ดับประเทศในกลมุ่ อาเซียน จาํ นวน 10 ประเทศ เพ่อื เปรียบเทยี บคะแนนดัชนีชี้วัด
ภาพลักษณ์คอร์รัปชัน พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียนเท่ากับประเทศเวียดนาม
โดยประเทศสิงคโปร์ ไดค้ ะแนนสงู สุด คอื 85 คะแนน และจัดอยูใ่ นอันดับที่ 3 ของโลก ตามตารางดา้ นลา่ งน้ี

P a g e | 32

ในการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริตท่ีผ่านมา จะถูกประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่ง
ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ท้ังด้านเศรษฐกิจ การเมือง การจัดการของรัฐบาล ความสามารถในการแข่งขัน
ระดับประเทศ ความคิดเห็นเก่ียวกับการรับรู้การทุจริต ประสิทธิภาพของภาครัฐและภาคเอกชนในการ
ดําเนินงานและการวัดด้านความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ โดยวัดจากความคิดเห็นของประชาชนว่า
ประเทศน้ันมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน เช่น การมีส่วนร่วม ความเป็นเอกฉันท์ การเลือกตั้ง
ความเท่าเทียม เป็นต้น ความเป็นเสรีโดยท้ังหมดน้ีจะใช้รูปแบบของการสอบถามจากนักลงทุนชาวต่างชาติ
ทเ่ี ขา้ มาทาํ ธุรกิจในประเทศ

ผลกระทบของการทจุ ริตตอ่ การพฒั นาประเทศ
การทุจริตมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความ
ขัดแย้งของคนในชาติ จากการเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ ประชาชนได้รับบริการ
สาธารณะหรือสง่ิ อํานวยความสะดวกไม่เต็มทีอ่ ย่างท่ีควรจะเปน็ เงนิ ภาษีของประชาชนตกไปอยู่ในกระเป๋าของ
ผู้ทุจริต และผลกระทบอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากน้ีแล้ว หากพิจารณาในแง่การลงทุนจากต่างประเทศเพื่อ
ประกอบกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ พบว่า นักลงทุนต่างประเทศจะมองว่าการทุจริตถือว่าเป็นต้นทุนอย่าง
หน่ึง ซงึ่ นักลงทุนจากตา่ งประเทศจะใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุนประกอบกับปัจจัยด้านอ่ืน ๆ ทั้งน้ี หาก
ต้นทุนท่ีต้องเสียจากการทุจริตมีต้นทุนท่ีสูง นักลงทุนจากต่างประเทศอาจพิจารณาตัดสินใจการลงทุนไปยัง
ประเทศอ่ืน ส่งผลให้การจ้างงานการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนลดลง เมื่อประชาชนมีรายได้ลดลงก็จะส่งผล
ต่อการจดั เกบ็ ภาษีอากรซงึ่ เปน็ รายได้ของรัฐลดลง จึงสง่ ผลต่อการจดั สรรงบประมาณและการพฒั นาประเทศ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้สํารวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยจากกลุ่มตัวอย่าง
2,400 ตัวอย่างจากประชาชนท่ัวไป ผู้ประกอบการภาคเอกชน และข้าราชการ/ภาครัฐ เม่ือเดือนมิถุนายน
2559 พบว่า หากเปรียบเทียบความรุนแรงของปัญหาการทุจริตในปัจจุบันกับปีท่ีผ่านมา พบว่า ผู้ท่ีตอบว่า
รุนแรงเพ่ิมขึ้นมี 38% รุนแรงเท่าเดิม 30% ส่วนสาเหตุการทุจริตอันดับหน่ึง คือ กฎหมายเปิดโอกาสให้
เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจที่เอ้ือต่อการทุจริต อันดับสองความไม่เข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมาย อันดับสาม
กระบวนการทางการเมืองขาดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ยาก ส่วนรูปแบบการทุจริตที่เกิดข้ึนบ่อยที่สุด อันดับ
หน่ึง คือ การให้สินบน ของกํานัล หรือรางวัล อันดับสอง การใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์
สว่ นตวั อนั ดับสาม การใชต้ าํ แหนง่ ทางการเมืองเพือ่ เอือ้ ประโยชนแ์ ก่พรรคพวก
สําหรับความเสียหายจากการทุจริตโดยการประเมินจากงบประมาณรายจ่ายปี 2559 ที่
2.72 ล้านล้านบาทว่า แม้จะมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ แต่อัตราการจ่ายอยู่ที่เฉล่ีย 1 - 15% โดยหากจ่ายท่ี 5%

P a g e | 33

ความเสียหายจะอยู่ท่ี 59,610 ล้านบาท หรือ 2.19% ของงบประมาณ และมีผลทําให้อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจลดลง 0.42% แต่หากจ่ายที่ 15% คิดเป็นความเสียหาย 178,830 ล้านบาท หรือ 6.57% ของ
เงินงบประมาณ และมีผลทําให้เศรษฐกิจลดลง 1.27% โดยการลดการเรียกเงินสินบนลงทุก ๆ 1% จะทําให้
มลู ค่าความเสียหายจากการทจุ ริตลดลง 10,000 ลา้ นบาท

ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทยจะมีหน่วยงานหลักท่ีดําเนินการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต คือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สํานักงาน ป.ป.ช.) นอกจากน้ียังมีหน่วยงานอ่ืนท่ีมีภารกิจในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกับสํานักงาน
ป.ป.ช. เช่น สาํ นกั งานการตรวจเงินแผ่นดนิ สํานกั งานผตู้ รวจการแผ่นดนิ สาํ นักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นต้น นอกจากน้ี ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนท่ีให้ความร่วมมือในการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตอีกหลายหน่วยงาน และสําหรับหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการ
ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เพื่อเป็นมาตรการ แนวทางการดําเนินงาน
ท้งั ของภาครัฐและภาคเอกชน

ทิศทางการปอ้ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ
ประเทศไทยได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาการทุจริตมาอย่างต่อเน่ือง โดยอาศัยความ
ร่วมมอื ท้งั หน่วยงานของรัฐ หนว่ ยงานของเอกชน และภาคประชาชนในการร่วมมือป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริต รวมถึงได้มีการออกกฎหมายลงโทษผู้ที่กระทําความผิด มีการจัดต้ังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติ
มิชอบเพื่อทําหน้าท่ีในการดําเนินคดีกับบุคคลท่ีทําการทุจริต โดยปัจจุบันกําหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
พ.ศ. 2561-2580 เป็นแผนการพัฒนาประเทศ ที่กําหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐ
ทุกภาคส่วนต้องทําตาม เพ่ือให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทยท่ีว่า”ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งค่ัง ยั่งยืน
เปน็ ประเทศทพี่ ฒั นาแลว้ ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า
“ม่นั คง ม่งั คัง่ ยง่ั ยนื ” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ โดยท่ีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65
กําหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพ่ือ
ใช้เปน็ กรอบในการจัดทาํ แผนตา่ งๆให้สอดคลอ้ งและบูรณาการกัน เพ่อื ใหเ้ กิดพลงั ผลกั ดันร่วมกันไปสู่เป้าหมาย
ดังกล่าว ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศ
ไทยมีความม่ันคง ม่ังค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” เพ่อื ความสขุ ของคนไทยทกุ คน
เพื่อให้ประเทศสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนา
ประเทศ จึงจําเป็นต้องกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการ
พัฒนา ความมั่นคง เศรษฐกจิ สังคม และสง่ิ แวดล้อม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ไดแ้ ก่
1. ยุทธศาสตร์ชาติดา้ นความม่นั คง
2. ยุทธศาสตร์ชาตดิ ้านการสร้างความสามารถในการแขง่ ขนั
3. ยุทธศาสตร์ชาตดิ า้ นการพฒั นาและเสรมิ สรา้ งศักยภาพทรัพยากรมนษุ ย์
4. ยุทธศาสตรช์ าตดิ ้านการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
5. ยุทธศาสตรช์ าติด้านการสร้างการเตบิ โตบนคุณภาพชวี ติ ทเ่ี ปน็ มิตรตอ่ สิง่ แวดลอ้ ม
6. ยทุ ธศาสตร์ชาตดิ ้านการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบริหารจัดการภาครฐั
โดยยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาท่ี
สําคัญ เพ่ือปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชน เพ่ือประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดย

P a g e | 34

ภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐท่ีทําหน้าท่ีในการกํากับ
หรอื ในการใหบ้ ริการยดึ หลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม
มคี วามทันสมัย และพร้อมทจ่ี ะปรับตัวให้ทันต่อการเปล่ียนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
นํานวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทํางานท่ีเป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และ
ปฏบิ ตั งิ านเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน
เข้ามามีส่วนร่วม เพ่ือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาค
ส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซ่ือสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธ
ไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าท่ีจําเป็น
มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนําไปสู่การลดความเหล่ือมล้ํา และเอื้อต่อการพัฒนา
โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอํานวยความ
ยตุ ิธรรมตามหลกั นติ ธิ รรม

ตัวช้ีวัด ประกอบด้วย (๑) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของ
ภาครฐั (๒) ประสิทธภิ าพของการบรกิ ารภาครัฐ (๓) ระดับความโปร่งใส การทจุ รติ ประพฤติมิชอบ และ (๔)
ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บริหารจดั การภาครฐั ประกอบดว้ ย ๘ ประเดน็ ไดแ้ ก่

๑. ภาครัฐท่ียึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่าง
สะดวกรวดเร็ว โปรง่ ใส โดย (๑) การใหบ้ รกิ ารสาธารณะของภาครฐั ไดม้ าตรฐานสากลและเป็นระดับแนวหน้า
ของภูมิภาค และ (๒) ภาครัฐมีความเชื่อมโยงในการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ผ่านการน่าเทคโนโลยีดิจิทัลมา
ประยกุ ต์ใช้

๒. ภาครฐั บรหิ ารงานแบบบรู ณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชอื่ มโยงการ
พัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพ้ืนท่ี โดย (๑) ให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกขับเคล่ือนการ
พัฒนาประเทศ (๒) ระบบการเงินการคลังประเทศยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บรหิ ารจดั การภาครฐั สนบั สนนุ การขับเคลอ่ื นยุทธศาสตร์ชาติ และ (๓) ระบบติดตามประเมินผลที่สะท้อนการ
บรรลุเปา้ หมายยทุ ธศาสตรช์ าติในทกุ ระดบั

๓. ภาครัฐมขี นาดเลก็ ลง เหมาะสมกบั ภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมสี ว่ น
ร่วมในการพัฒนาประเทศ โดย (๑) ภาครัฐมีขนาดท่ีเหมาะสม (๒) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ประเทศ และ (๓) ส่งเสริมการกระจายอ่านาจและสนับสนุนบทบาทชุมชนท้องถ่ินให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถ่ินเป็นหน่วยงานท่มี ีสมรรถนะสูง ตงั้ อยบู่ นหลักธรรมาภิบาล

๔. ภาครัฐมีความทันสมัย โดย (๑) องค์กรภาครัฐมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการ
พฒั นาประเทศ และ (๒) พฒั นาและปรบั ระบบวธิ ีการปฏิบัติราชการใหท้ นั สมัย

๕. บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสํานึก
มีความสามารถสูง มุ่งม่ัน และเป็นมืออาชีพ โดย (๑) ภาครัฐมีการบริหารกําลังคนท่ีมีความคล่องตัว ยึด
ระบบคุณธรรม และ (๒) บุคลากรภาครัฐยึดค่านิยมในการทํางานเพ่ือประชาชน มีคุณธรรม และมีการพัฒนา
ตามเสน้ ทางความกา้ วหนา้ ในอาชพี

๖. ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบ โดย (๑) ประชาชนและภาคี
ต่าง ๆ ในสังคมร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ (๒) บุคลากรภาครัฐยึดม่ันในหลัก
คุณธรรม จริยธรรมและความซ่ือสัตย์สุจริต (๓) การปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบมีประสิทธิภาพ

P a g e | 35

มีความเด็ดขาด เป็นธรรม และตรวจสอบได้ และ (๔) การบริหารจัดการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
อย่างเป็นระบบแบบบรู ณาการ

๗. กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จําเป็น โดย (๑)
ภาครัฐจัดให้มีกฎหมายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปล่ียนแปลง (๒) มีกฎหมายเท่าท่ีจ่าเป็น
และ (๓) การบังคบั ใช้กฎหมายอยา่ งมีประสิทธภิ าพ เทา่ เทียม มีการเสรมิ สร้างประสิทธิภาพการใชก้ ฎหมาย

๘. กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค โดย
(๑) บุคลากรและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักด์ิศรี
ความเปน็ มนษุ ยท์ พ่ี งึ ไดร้ ับการปฏิบัติอยา่ งเทา่ เทียม (๒) ทุกหนว่ ยงานในกระบวนการยุติธรรม มีบทบาทเชิงรุก
ร่วมกันในทุกขั้นตอนของการค้นหาความจริง (๓) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่ง อาญา และ
ปกครองมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ร่วมกัน (๔) ส่งเสริมระบบยุติธรรมทางเลือกระบบยุติธรรมชุมชน และการ
มีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม และ (๕) พัฒนามาตรการอืน่ แทนโทษทางอาญา

แผนแมบ่ ทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ ประเดน็ 21 การตอ่ ต้านการทจุ รติ และประพฤติมิชอบ
มีเป้าหมายหลักเพ่ือให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการ
พัฒนาระบบ เพ่ือป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยให้ความสําคัญกับการปรับและหล่อหลอม
พฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดม่ันในความซ่ือสัตย์สุจริต และการส่งเสริม
การพฒั นานวตั กรรมในการตอ่ ต้านการทจุ ริตในหนว่ ยงานภาครัฐทเี่ หมาะสมกบั บรบิ ท สภาพปญั หา และพลวัต
การทุจริตของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งการเพ่ิมประสิทธิภาพการดําเนินงานของกระบวนการและกลไกท่ี
เก่ียวข้องในการปราบปรามการทุจริต แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย ๒ แผนย่อย ไดแ้ ก่

๑) การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ท่ีมุ่งการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ
ในส่วนการพัฒนาคน เน้นการปรับพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคม โดยกลุ่มเด็กและเยาวชน เน้นการ
ปลูกฝัง และหล่อหลอมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดม่ันในความซื่อสัตย์สุจริตผ่านหลักสูตรการศึกษาภาค
บังคับทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา กลุ่มประชาชนท่ัวไป เน้นการสร้างวัฒนธรรมและ
พฤติกรรมสุจริต ควบคู่กับส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ กลุ่มข้าราชการและ
เจา้ หนา้ ทีข่ องรฐั ส่งเสริมการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน รู้จักแยกแยะเร่ืองสวนตัวออกจากหน้าที่การ
งาน พร้อมกับสร้างจิตสํานึกและค่านิยมของบุคลากรในการต่อต้านการทุจริต สนับสนุนการมีส่วนร่วมเป็น
เครอื ข่ายเฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสการทุจริต พร้อมท้ังจัดให้มีมาตรการสนับสนุนและคุ้มครองผู้แจ้ง
เบาะแส กลุ่มนักการเมือง ให้ความสําคัญกับการพัฒนาและยกระดับการมีจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทาง
การเมือง ท้ังระดับประเทศและท้องถิ่นให้มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ ในการทําตนเป็นแบบอย่างท่ีดี มีคุณธรรม
จริยธรรม ความซ่ือสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการกํากับจริยธรรมภายในพรรค
การเมืองอย่างเขม้ ข้น

ในส่วนของการพัฒนา “ระบบ” จะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในการ
ต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐท่ีเหมาะสมกับบริบท สภาพปัญหา และพลวัตการทุจริตของแต่ละ
หน่วยงาน พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือและมาตรการเพ่ือสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้
และปิดโอกาสในการกระทําการทุจริต ทําให้การทุจริตคอร์รัปชั่นทําได้ยาก และมีโอกาสสูงที่จะถูกตรวจพบ
และลงโทษ พรอ้ มท้ังการสรา้ งความไวว้ างใจของประชาชนตอ่ ภาครฐั โดยการเพม่ิ โทษให้หนกั และการตดั สนิ
คดที ม่ี ีความรวดเรว็ เดด็ ขาด เพอื่ ให้การกระทาํ การทุจริตเป็นสิ่งที่ “ได”้ ไม่คมุ้ “เสยี ” ท้งั นี้ ในการดําเนินการ

P a g e | 36

ตามแนวทางของแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบมีเป้าหมายสําคัญ ๒ ประการ คือ
ประชาชนคนไทยมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซอื่ สัตย์สุจริต และคดีทุจริตลดลง ทั้งในส่วนคดีของหน่วยงานและ
คดีของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูง โดยมีโครงการสําคัญที่ทุกหน่วยงานที่
เก่ียวข้องต้องร่วมกันขับเคลื่อน คือ โครงการปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสํานึกในความซ่ือสัตย์สุจริต และการ
แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และโครงการสร้างนวัตกรรมในการต่อต้านการทุจริต
อยา่ งมสี ว่ นรว่ ม

๒) การปราบปรามการทุจริต มุ่งเน้นการเพ่ิมประสิทธิภาพการดําเนินงานของกระบวนการ
และกลไกทเี่ กีย่ วขอ้ งในการปราบปรามการทุจริต ท้ังในข้ันตอนการสืบสวน/ตรวจสอบเบ้ืองต้น การดําเนินการ
ทางคดี การยึด/อายัดทรัพย์สนิ ของผู้กระทาํ ความผิด การตัดสนิ ลงโทษผูก้ ระทาํ ความผิด ทง้ั ทางวินยั และอาญา
ให้มีความรวดเร็ว การปรับปรุงกฎหมายและตรากฎหมายใหม่เพื่อสนับสนุนให้การบังคับใช้กฎหมาย
มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน การปรับกระบวนการทํางานด้านการปราบปรามการทุจริตเข้าสู่ระบบดิจิทัล
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลที่สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซ่ึง
รวมถงึ การเช่ือมโยงระบบข้อมลู เร่อื งรอ้ งเรยี นระหว่างหน่วยงาน การบูรณาการงานคดีการพฒั นาและเช่อื มโยง
ฐานข้อมูลที่เก่ียวข้อง การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินที่ทันสมัย การจัดทําระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้าน
การปราบปรามการทุจริต การพัฒนาสมรรถนะและองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการของเจ้าหน้าท่ีในกระบวนการ
ปราบปรามการทุจริต และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรต่อต้านการทุจริต และ
องค์กรเอกชนในระดับนานาชาติ การดําเนินการตามแผนย่อยการปราบปรามการทุจริตต้องการบรรลุ
เปา้ หมายสาํ คญั คอื การดาํ เนินคดีทจุ ริตมคี วามรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ โครงการสําคัญท่ีจะ
สนับสนุนการขบั เคล่อื น คอื โครงการสรา้ งนวัตกรรมการปราบปรามการทุจริตเชิงรุก
ประกอบดว้ ยแนวทางการพฒั นา 5 ด้าน คือ

๑) ปลูกและปลุกจิตสํานึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต และการปลูกฝังและ
หล่อหลอมวัฒนธรรมในกลมุ่ เดก็ และเยาวชนทุกช่วงวัย ทุกระดับ มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม “คน” โดยการ
“ปลูก” และ “ปลุก” จิตสํานึกความเป็นพลเมืองท่ีดีมีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกแยะได้ว่าส่ิงใดเป็น
ประโยชน์ส่วนตน ส่ิงใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม มีความละอายต่อการกระทําความผิด ไม่เพิกเฉยอดทนต่อการ
ทุจริต และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรม และ
ค่านิยมสุจริตในระดับชุมชนเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่านิยมท่ียึดประโยชน์สาธารณะมากกว่า
ประโยชน์ส่วนตน และต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งเสริมวัฒนธรรม
สุจริตผ่านหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับท่ีเด็กไทยทุกคนต้องเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตั้งแต่ระดับ
ปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา เพ่ือปฏิรูป “พลเมืองไทยในอนาคต” ให้มีความเป็นพลเมืองเต็มขั้น สามารถทํา
หน้าท่ีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสํานึกยึดม่ันในความซ่ือสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมีระเบียบ
วนิ ยั และเคารพกฎหมาย

๒) ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าท่ีของรัฐให้มีความใสสะอาด
ปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต โดยการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ถูกต้อง เป็น
ธรรม ไม่คดโกง รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
ตลอดจนการสร้างจิตสํานึกและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตให้แก่บุคลากรขององค์กร โดยการสนับสนุนให้
ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ีรัฐเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริม
การมสี ่วนรว่ มในการเฝา้ ระวัง สอดส่อง ติดตามพฤติกรรมเสี่ยงและแจ้งเบาะแส เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริต
ประพฤตมิ ชิ อบได้ โดยมีมาตรการสนบั สนุนและคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

P a g e | 37

๓) พัฒนาค่านิยมของนักการเมืองให้มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการทําตนเป็นแบบอย่างท่ี
ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากผู้บริหารประเทศ/
ท้องถิ่น/ชุมชน ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมสูงกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมทั่วไปในสังคม เพ่ือเป็นต้นแบบแก่
ประชาชน เด็ก เยาวชน และสังคมโดยรวม โดยนอกเหนือจากคุณสมบัติตามที่กําหนดตามกฎหมายแล้ว
ผู้บริหารประเทศต้องมีคุณสมบัติทางจริยธรรมด้วย มีการพัฒนายกระดับการมีจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่ง
ทางการเมอื งเพอ่ื สรา้ งนกั การเมืองทมี่ คี ุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งกาํ กับจริยธรรมภายในพรรคการเมอื ง

๔) ปรบั “ระบบ” เพือ่ ลดจาํ นวนคดีทุจรติ และประพฤตมิ ิชอบในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้น
การสรา้ งนวตั กรรมการต่อตา้ นการทจุ ริตอย่างต่อเนือ่ ง เพ่ือสนับสนุนให้การดําเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐมี
ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกข้ันตอนการดําเนินงาน และมีความเท่าทันต่อพลวัตของการทุจริตโดยการ
พัฒนาเครื่องมือ เพ่ือสร้างความโปร่งใส มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและมาตรการในการต่อต้านการทุจริตที่มี
ประสิทธิภาพและเท่าทันต่อพลวัตของการทุจริต รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต เพื่อให้
หน่วยงานภาครัฐ มีมาตรการ ระบบ หรือแนวทางในบริหารจัดการความเส่ียงของการดําเนินงานที่อาจ
ก่อให้เกิดการทุจริต และการบูรณาการติดตามประเมินผลการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐใน
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ข้ันวางแผนก่อนดําเนินงาน ขั้นระหว่างการดําเนินงาน
และขนั้ สรุปผลหลงั การดาํ เนนิ โครงการ

๕) ปรับระบบงานและโครงสร้างองค์กรท่ีเอื้อต่อการลดการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหนา้ ท่ี เช่น การนาํ ระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนการใช้ดุลพินิจเพ่ือสนับสนุนการปฏิบัติงาน การสร้าง
มาตรฐานท่ีโปร่งใสในกระบวนการบริการของภาครัฐ ลดข้ันตอนกระบวนการและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
ด้วยวิธีปฏิบัติท่ีชัดเจนตรวจสอบได้ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เก่ียวข้องเพ่ือลดการใช้ดุลพินิจของ
ผมู้ อี าํ นาจในการพิจารณาอนุมตั ิอนุญาต รวมถึงการสรา้ งความโปร่งใสในการบรกิ ารข้อมูลภาครัฐท้ังระบบ โดย
การพัฒนาระบบข้อมูลดิจิทัลท่ีมีการกําหนดกฎเกณฑ์ กติกา กระบวนการ ข้ันตอนการดําเนินงาน การเข้าถึง
ข้อมลู รวมถึงขอ้ มูลการจัดซือ้ จดั จ้างและการใช้งบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพ่ือส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล
สาธารณะ สร้างความโปร่งใส และส่งเสริมให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการของภาครัฐโดยสาธารณชน ซ่ึง
รวมถึงการมีกลไกท่ีเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซ้ือจัดจ้าง และการ
ดําเนินการภาครัฐ เพ่ือบูรณาการการทํางานของรัฐ และประชาชน รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการตื่นตัวและ
เพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในการร่วมเฝ้าระวัง และป้องกันการทุจริตคอร์รัปช่ันท่ีมีอยู่ใกล้ตัว โดยมี
มาตรการสนบั สนนุ และคมุ้ ครองผชู้ ้ีเบาะแสที่สามารถสรา้ งความเชือ่ มัน่ และมั่นใจใหก้ ับผใู้ ห้เบาะแส

กรณตี วั อยา่ งผลทเ่ี กิดจากการทุจรติ
คดที จุ รติ จดั ซื้อรถและเรอื ดับเพลงิ ของกรงุ เทพมหานคร
แต่เดิมภารกิจด้านการดับเพลิงเป็นภารกิจของตํารวจดับเพลิง มีฐานะเป็นกองบังคับการ
ตํารวจดับเพลิง ปฏิบัติงานทางด้านป้องกันระงับอัคคีภัยและบรรเทาสาธารณภัย จนกระทั่งได้มีแนวคิดท่ีจะ
ปรับปรุงโครงสร้างของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซ่ึงเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของกองบังคับการตํารวจดับเพลิง
ให้มีขนาดเล็กลง โดยมีแนวคิดที่จะโอนภารกิจที่ไม่ใช่หน้าที่ของตํารวจโดยตรงให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ
หน่วยงานที่มีหน้าท่ีรับผิดชอบโดยตรง งานด้านดับเพลิงและกู้ภัย ถือเป็นภารกิจหน่ึงท่ีมิใช่หน้าท่ีโดยตรงของ
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ จึงเห็นควรที่จะโอนภารกิจดังกล่าวให้กรุงเทพมหานคร รับไปดําเนินการ โดยเม่ือปี
พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติถ่ายโอนภารกิจป้องกันและระงับอัคคีภัยให้
กรงุ เทพมหานครมสี ถานะเป็นสาํ นกั ชื่อว่า สาํ นักป้องกนั และบรรเทาสาธารณภัย

P a g e | 38

คดีทุจรติ จัดซือ้ รถและเรือดบั เพลิงของกรงุ เทพมหานคร มีผูเ้ ก่ียวขอ้ งท้ังเจา้ หน้าที่ของรฐั และ
เอกชน โดยเอกชนที่เข้ามาทําธุรกิจการขายรถและเรือดับเพลิงคือบริษัท ส. โดยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546
บรษิ ทั สไตเออรเ์ ดมเลอร์ พุคสเปเชียลฟาห์รซอยก์จํากัด ถูกบริษัท General Dynamics Worldwide Holdings,
Inc. ของสหรัฐอเมริกาซ้ือกิจการท้ังหมด แต่ยังคงเป็นบริษัทถูกต้องตามกฎหมายของประเทศออสเตรีย
บริษัทสไตเออร์เดมเลอร์พุคสเปเชียลฟาห์รซอยก์ จํากัด ว่าจ้างบริษัท Somati Vehicle N.V. จํากัด ของ
ประเทศเบลเยยี มเปน็ ผรู้ บั จา้ งจดั หาผลิตและประกอบรถดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย (ยกเว้นเรือ
ดับเพลิง) ให้กับกรุงเทพมหานคร โดยได้รับค่าจ้างผลิต ราว 28 ล้านยูโร หรือราว 1,400 ล้านบาท บริษัท
สไตเออร์ฯ จึงไม่ใช่ผู้ผลิตและประกอบสินค้าเพื่อเสนอขายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายหน้าและบริหารจัดการใน
การจดั หาสนิ คา้ ใหก้ ับกรุงเทพมหานครเทา่ นัน้

ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรียประจําประเทศไทยได้มีหนังสือถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอโครงการขายรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของ บริษัท
สไตเออรเ์ ดมเลอร์พคุ สเปเชียลฟาหร์ ซอยก์ จาํ กดั โดยเป็นขอ้ เสนอให้ดําเนนิ การในลักษณะรัฐต่อรัฐ และบรษิ ทั
สไตเออร์ฯ ได้เชิญนาย ป. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยดูงานโรงงานผลิตของบริษัท MAN ซ่ึงผลิต
ตัวรถดับเพลิงให้ บริษัท สไตเออร์ฯ ที่ประเทศออสเตรีย และเบลเยียม และนาย ส. ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ได้อนุมัติโครงการจัดซ้ือครุภัณฑ์เพื่อใช้ในกิจการดับเพลิง ตามท่ี พล.ต.ต. อ. ผู้อํานวยการ
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เสนอ ได้แก่ รถดับเพลิงชนิดต่างๆ และรถบรรทุกน้ํา
รวม 315 คัน และเรือดับเพลิง 30 ลํา ตลอดจนอุปกรณ์สาธารณภัยอ่ืน ๆ ซึ่งตรงกันกับรายการในใบเสนอ
ราคาของบริษัท สไตเออร์ฯ ผ่านเอกอัครราชทูตออสเตรีย จากนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการ โดยมี
การจัดทํา A.O.U. (Agreement of Understanding) และ ข้อตกลงซ้ือขาย (Purchase/Sale Agreement)
โดยทูตพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐออสเตรียย่ืนร่าง A.O.U. ให้แก่ พล.ต.ต. อ. ซึ่งนําเสนอต่อนาย ส. โดยตรงโดย
ไม่ผ่านปลัดกรุงเทพมหานคร นาย ส. ลงนามรับทราบบันทึกและเสนอต่อนาย ภ. รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และหลังจากที่ได้มีการลงนามร่วมกัน คุณหญิง ณ. ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ส่งร่าง
ข้อตกลงซื้อขายยานพาหนะและอุปกรณ์ดับเพลิงระหว่างกรุงเทพมหานครกับ บริษัท สไตเออร์ฯ ให้สํานักงาน
อัยการสงู สุดตรวจพิจารณาตามขอ้ บญั ญตั กิ รุงเทพมหานคร เร่ือง การพัสดุ พ.ศ. 2538 และคณะรัฐมนตรีได้มี
มติอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) ดําเนินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดซื้อ
รถและเรือดับเพลิงในวงเงิน 6,687,489,000 บาท และอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการ
เปิด Letter of Credit (L/C) อีกจํานวน 20,000,000 บาท หรือตามจํานวนท่ีจ่ายจริง รวมท้ัง ให้กระทรวง
พาณิชย์เร่งรัดดําเนินการเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547
โดยใหเ้ น้นไก่ตม้ สกุ เป็นสนิ คา้ ที่จะดําเนนิ การเป็นลาํ ดบั แรก

ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเปล่ียนแปลงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นนาย อ. และก่อน
มอบหมายงานในหน้าที่ให้กับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ นาย ส. ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครคนเดิมได้มีหนังสือถึงผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ขอเปิด L/C วงเงิน 133,749,780 ยูโรให้กับ
บริษัท สไตเออร์ฯ โดยกรุงเทพมหานครชําระค่าธรรมเนียม เป็นเงิน 20,000,000 บาท และมอบอํานาจให้
พล.ต.ต. อ. ผู้อํานวยการสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดําเนินการและลงนาม
ในปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดําเนินการไต่สวนการดําเนินการดังกล่าวของกรุงเทพมหานคร
และย่ืนฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง จากการกระทําดังกล่าว ที่เกิดขึ้น
ก่อให้เกิดผลกระทบท่ีเสียหายและรุนแรง โดยราคาของรถและเรือดับเพลิงที่กรุงเทพมหานครซื้อมานั้นมีราคา
ทสี่ ูงมาก ส่งผลให้รัฐสูญเสยี งบประมาณไปอย่างน่าเสยี ดาย ซึ่งความเสียหายท่เี กดิ ข้ึนมี ดงั นี้

P a g e | 39
ตารางเปรยี บเทียบราคาการจดั ซอื้ ของกรมปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย เมื่อ พ.ศ. 2547

กบั กรงุ เทพมหานคร

ตารางเปรยี บเทียบข้อมลู และราคาเรือดบั เพลิง

จากตารางข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดข้ึนจากการทุจริต ความเสียหาย
ท่ีเกิดข้ึนนอกจากจะสามารถแสดงเป็นตัวเลขให้ได้เห็นว่าสูญเสียงบประมาณจํานวนเท่าไร แต่การสูญเสีย
ดังกล่าวแทนท่ีรัฐ และประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์จากรถและเรือดับเพลิง ซ่ึงถือเป็นส่ิงจําเป็นท่ีช่วยในการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยเฉพาะอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี แต่เม่ือมีการทุจริตแล้วยังส่งผลให้ไม่สามารถ
นํารถและเรือดับเพลิงมาใช้งานได้ เท่ากับว่าสูญเสียงบประมาณแล้วยังไม่สามารถนําส่ิงเหล่าน้ีมาใช้ประโยชน์
ไดอ้ ีก ซ่งึ หากเกิดอคั คีภยั ขึ้นอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีม่ ีอย่อู าจไม่เพียงพอต่อการใชง้ าน สง่ ผลใหเ้ กดิ ความเสยี หายอย่าง
ตอ่ เนือ่ งจากเหตนุ ้ัน ๆ อกี

ความละอายและความไมท่ นต่อการทุจริต
การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เป็นการปรับเปล่ียนสภาพสังคมให้เกิดภาวะ “ที่ไม่ทน
ต่อการทุจริต” โดยเร่ิมตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกช่วงวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการ

P a g e | 40

ทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นพลเมืองดี มีจิตสาธารณะ ผ่านทางสถาบัน
หรือกลุ่มตัวแทนท่ีทําหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคม เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ เกิดพฤติกรรมที่ละอายต่อ
การกระทําความผดิ การไม่ยอมรับ และตอ่ ต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

ความละอายและความไมท่ นต่อการทุจริต คืออะไร
คาํ วา่ “ความละอาย” และ “ความไม่ทน” ไดม้ ีการใหค้ วามหมายไว้ ดงั น้ี
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคําว่าละอาย หมายถึง การรู้สึกอายท่ีจะทํา
ในสง่ิ ที่ไมถ่ กู ไมค่ วร เชน่ ละอายทจี่ ะทาํ ผิด ละอายใจ
ความละอาย เป็นความละอายและความเกรงกลัวต่อส่ิงท่ีไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เพราะ
เห็นถึงโทษหรือผลกระทบที่จะได้รับจากการกระทําน้ัน จึงไม่กล้าที่จะกระทํา ทําให้ตนเองไม่หลงทําในสิ่งท่ีผิด
นน่ั คือ มคี วามละอายใจ ละอายต่อการทําผดิ
พจนานกุ รมราชบัณฑติ ยสถาน ให้ความหมายของคําว่า ทน หมายถึง การอดกลั้นได้ ทานอยู่
ได้ เช่น ทนด่า ทนทกุ ข์ ทนหนาว ไมแ่ ตกหักหรือบบุ สลายงา่ ย เป็นต้น
ความอดทน คอื การรู้จกั รอคอยและคาดหวัง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความม่ันคง แน่วแน่ต่อ
สิง่ ท่รี อคอยหรอื ส่ิงทจ่ี ูงใจใหก้ ระทําในสิ่งทไ่ี ม่ดี
ไม่ทน หมายถงึ ไม่อดกลั้น ไมอ่ ดทน ไม่ยอม
ดังน้ัน ความไม่ทน หมายถึง การแสดงออกต่อการกระทําท่ีเกิดขึ้นกับตนเอง บุคคลที่
เก่ยี วข้องหรอื สงั คมในลักษณะ
ท่ีไม่ยินยอม ไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ความไม่ทนสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะทั้งใน
รูปแบบของกริยาทา่ ทางหรอื คาํ พูด
ความไม่ทนต่อการทุจริตหรือการกระทําที่ไม่ถูกต้อง ต้องมีการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดข้ึน เช่น การแซงคิวเพื่อซื้อของ การแซงคิวเป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้อง ผู้ถูกแซงคิวจึงต้องแสดงออกให้ผู้ท่ี
แซงคิวรับรู้ว่าตนเองไม่พอใจ โดยแสดงกิริยาหรือบอกกล่าวให้ทราบ เพ่ือให้ผู้ท่ีแซงคิวยอมท่ีจะต่อท้ายแถว
กรณีน้ีแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ถูกแซงคิว ไม่ทนต่อการกระทําท่ีไม่ถูกต้อง และหากผู้ที่แซงคิวไปต่อแถวก็จะแสดงให้
เห็นว่าบคุ คลนั้นมคี วามละอายต่อการกระทาํ ทไ่ี ม่ถูกตอ้ ง เป็นต้น
ความไม่ทนต่อการทุจริต บุคคลจะมีความไม่ทนต่อการทุจริตมาก - น้อย เพียงใด ขึ้นอยู่กับ
จิตสํานึกของแต่ละบุคคลและผลกระทบท่ีเกิดขึ้นจากการกระทําน้ัน ๆ แล้วมีพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซ่ึงการ
แสดงกรยิ าหรอื การกระทําจะมีหลายระดับ เช่น การวา่ กล่าวตักเตอื น การประกาศให้สาธารณชนรับรู้ การแจ้ง
เบาะแส การร้องทุกข์กล่าวโทษ การชุมนุมประท้วงซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายท่ีรุนแรงท่ีสุด เน่ืองจากมีการรวมตัว
ของคนจาํ นวนมากและสรา้ งความเสยี หายอยา่ งมากเช่นกนั เปน็ ต้น
ความไม่ทนของบุคคลต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่ส่งผลในทางไม่ดีต่อตนเองโดยตรง สามารถพบ
เหน็ ไดง้ า่ ย ซึง่ ปกตแิ ลว้ ทุกคนมกั จะไม่ทนตอ่ สภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีและส่งผลกระทบต่อตนเองแล้ว มักจะ
แสดงปฏิกิริยาออกมา แต่การท่ีบุคคลจะไม่ทนต่อการทุจริตและแสดงปฏิกิริยาออกมาน้ัน อาจเป็นเร่ืองยาก
เนอื่ งจากปัจจบุ ันสงั คมไทยมแี นวโนม้ ยอมรับการทจุ รติ เพือ่ ให้ตนเองได้รับประโยชน์หรอื ให้งานสามารถดําเนิน
ต่อไปสู่ความสําเร็จ ซ่ึงการยอมรับการทุจริตในสังคมไม่เว้นแม้แต่เด็กและเยาวชน และมองว่าการทุจริตเป็น
เรอ่ื งไกลตัวและไม่มีผลกระทบกับตนเองโดยตรง
ลกั ษณะของความละอายและความไม่ทนตอ่ การทจุ รติ
ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ความละอายระดับต้น หมายถึง ความ
ละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเม่ือตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับ

P a g e | 41

การลงโทษหรือได้รับความเดือดร้อนจากส่ิงท่ีตนเองได้ทําลงไป จึงไม่กล้าที่จะกระทําผิด และในระดับท่ีสอง
เป็นระดับที่สูง คือแม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจาก
ตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ท้ังชื่อเสียงของตนเองและ
ครอบครัวกจ็ ะเสือ่ มเสีย บางครั้งการทุจริตบางเรื่องเป็นส่ิงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การลอกข้อสอบ อาจจะไม่มีใคร
ใส่ใจหรือสังเกตเหน็ แต่หากเป็นความละอายขน้ั สงู แลว้ บคุ คลนั้นกจ็ ะไมก่ ลา้ ทาํ เป็นตน้

สําหรับความไม่ทนต่อการทุจริต จากความหมายท่ีได้กล่าวมาแล้ว คือ เป็นการแสดงออก
อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เพ่ือให้รับรู้ว่าจะไม่ทนต่อบุคคลหรือการกระทําใด ๆ ที่ทําให้เกิดการทุจริต ความ
ไมท่ นต่อการทจุ ริตสามารถแบ่งระดบั ต่าง ๆ ไดม้ ากกวา่ ความละอาย ใช้เกณฑ์ความรนุ แรงในการแบ่งแยก เช่น
หากเพ่ือนลอกข้อสอบเรา และเราเห็นซ่ึงเราจะไม่ยินยอมให้เพื่อนทุจริตในการลอกข้อสอบ เราก็ใช้มือหรือ
กระดาษมาบังสว่ นทเี่ ปน็ คําตอบไว้ เช่นนก้ี เ็ ปน็ การแสดงออกถึงการไม่ทนต่อการทุจริต นอกจากการแสดงออก
ด้วยวิธีดังกล่าวท่ีถือเป็นการแสดงออกทางกายแล้ว การว่ากล่าวตักเตือนต่อบุคคลที่ทุจริต การประณาม
การประจาน การชุมนุมประท้วง ถือว่าเป็นการแสดงออกซ่ึงการไม่ทนต่อการทุจริตท้ังสิ้น แต่จะแตกต่างกันไป
ตามระดับของการทุจริต ความตื่นตัวของประชาชน และผลกระทบท่ีเกิดขึ้นจากการทุจริต โดยท้ายบทนี้ได้
ยกตัวอยา่ งกรณีศึกษาทมี่ ีสาเหตุมาจากการทุจรติ ทาํ ให้ประชาชนไม่พอใจและรวมตวั ต่อตา้ น

ความจําเป็นของการท่ีไม่ทนต่อการทุจริตถือเป็นสิ่งสําคัญ เพราะการทุจริตไม่ว่าระดับเล็ก
หรือใหญ่ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ประเทศชาติ ดังเช่นตัวอย่างคดีรถและเรือดับเพลิงของ
กรุงเทพมหานครผลของการทุจริตสร้างความเสียหายไว้อย่างมาก รถและเรือดับเพลิงก็ไม่สามารถนํามาใช้ได้
รัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ และประชาชนเองก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน หากเกิด
เพลิงไหม้พร้อมกันหลายแห่ง รถ เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงจะมีไม่เพียงพอที่จะดับไฟได้ทันเวลา เพียงแค่คิด
จากมูลค่าความเสียหายที่รัฐสูญเสียงบประมาณไปยังไม่ได้คิดถึงความเสียหายที่เกิดจากความเดือดร้อนหาก
เกดิ เพลงิ ไหมแ้ ล้วถอื เปน็ ความเสยี หายที่สูงมาก ดังนนั้ หากยังมีการปลอ่ ยใหม้ กี ารทุจรติ ยนิ ยอมให้มีการทุจริต
โดยเห็นว่าเป็นเรื่องของคนอื่น เป็นเร่ืองของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เก่ียวข้องกับตนเองแล้ว สุดท้ายความสูญเสียที่จะ
ไดร้ ับตนเองกย็ ังคงทจ่ี ะได้รับผลนน้ั อยูแ่ ม้ไมใ่ ชท่ างตรงก็เปน็ ทางออ้ ม

ดังน้ัน การท่ีบุคคลจะเกิดความอายและความไม่ทนต่อการทุจริตได้ จําเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้อง
สรา้ งใหเ้ กิดความตระหนักและรับรู้ถึงผลกระทบท่ีเกิดขึ้นจากการทุจริตในทุกรูปแบบ ทุกระดับ ซึ่งหากสังคมเป็น
สังคมท่ีมคี วามอายและความไม่ทนตอ่ การทุจรติ แล้ว จะทําให้เกดิ สงั คมทีน่ ่าอยู่ และมีการพฒั นาในทกุ ๆ ดา้ น

การลงโทษทางสังคม (Social Sanctions)
คําว่า “การลงโทษโดยสังคม” หรือเรียกว่า “การลงโทษทางสังคม” ซ่ึงตรงกับภาษาอังกฤษ
คาํ วา่ “Social Sanction”
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 361 - 362) ได้ให้
ความหมายของคําว่า “Social Sanctions” เป็นภาษาไทยว่า สิทธานุมัติทางสังคม หมายถึง การขู่ว่าจะลงโทษ
หรือการสัญญาว่าจะให้รางวัลตามที่กลุ่มกําหนดไว้สําหรับการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกเพื่อชักนําให้สมาชิก
กระทําตามข้อบังคับและกฎเกณฑ์
Radcliffe-Brown (1952 : 205) อธิบายการลงโทษโดยสังคมว่าเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง
ทางสังคมอย่างหน่ึงและเป็นการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เป็นด้านตรงกันข้ามระหว่างการเห็นชอบกับการไม่
เห็นชอบ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการลงโทษโดยสังคมนั้นมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวกและ
ด้านลบอยู่ภายใน ความหมายของตัวเองสําหรับการลงโทษโดยสังคมเชิงบวก (Positive Social Sanctions)
จะอยู่ในรูปของการให้การสนับสนุนหรือการสร้างแรงจูงใจ ฯลฯ ให้แก่ปัจเจกบุคคลและสังคมให้ประพฤติ

P a g e | 42

ปฏิบัติให้สอดคล้องกับปทัสถานของชุมชนหรือของสังคม จากการศึกษายังพบด้วยว่าการลงโทษโดยสังคม
เชิงบวกนั้นอาจเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่สังคมเพื่อยกระดับปทัสถานของสังคมในระดับท้องถ่ินให้ไป
สอดคลอ้ งกับปทัสถานใหมใ่ นระดับระหว่างประเทศ

Whitmeyer (2002 : 630-632) กล่าวว่า การลงโทษโดยสังคม มีท้ังเชิงบวกและเชิงลบ
เป็นการทํางานตามกลไกของสงั คม การลงโทษโดยสังคมเป็นมาตรการควบคุมทางสังคมท่ีต้องการให้สมาชิกใน
สังคมประพฤติปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับร่วมกัน เม่ือสมาชิกปฏิบัติตามก็จะมีการให้
รางวัลเปน็ แรงจงู ใจ และลงโทษเมือ่ สมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและจะแสดงการไม่ยอมรับสมาชิก
คนหน่ึงหรือกลุม่ คนกลมุ่ หน่ึง

โดยสรุปแล้ว การลงโทษโดยสังคม (Social Sanction) หมายถึง ปฏิกิริยาปฏิบัติทางสังคม
เปน็ มาตรการควบคมุ ทางสังคมทตี่ อ้ งการใหส้ มาชกิ ในสังคมประพฤติปฏบิ ัติตามมาตรฐานหรอื กฎเกณฑ์ท่ีสงั คม
กําหนด โดยมีท้ังด้านลบและด้านบวก การลงโทษโดยสังคมเชิงลบ (Negative Social Sanction) เป็นการ
ลงโทษ โดยการกดดนั และแสดงปฏิกิริยาตอ่ ต้านพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ทําให้
บุคคลนั้นเกิดความอับอายขายหน้า สําหรับการลงโทษโดยสังคมเชิงบวกหรือการ กระตุ้นสังคมเชิงบวก
(Positive Social Sanction) เป็นการแสดงออกในเชิงสนับสนุนหรือให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ เพ่ือให้บุคคลใน
สังคมประพฤติปฏบิ ัติตามกฎเกณฑ์ของสงั คม

การลงโทษทางสังคม เปน็ การลงโทษกบั บุคคลทีป่ ฏิบัตติ นฝา่ ฝืนกบั ธรรมเนยี ม ประเพณี หรือ
แบบแผนทปี่ ฏิบัตติ อ่ ๆ กนั มาในชุมชน มกั ใช้ในลกั ษณะการลงโทษทางสังคมเชิงลบมากกวา่ เชงิ บวก การฝ่าฝืน
ดังกล่าวอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ด้วยธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาน้ันถูกละเมิด ถูกฝ่าฝืน หรือถูกดูหม่ิน
เก่ยี วกบั ความเชือ่ ของชมุ ชน ก็จะนาํ ไปสกู่ ารต่อต้านจากคนในชุมชน แม้ว่าการฝ่าฝืนดังกล่าวจะไม่ผิดกฎหมาย
ก็ตาม และทีส่ าํ คัญไปกวา่ นน้ั หากการกระทําดงั กลา่ วผดิ กฎหมายด้วยแลว้ อาจสรา้ งใหเ้ กิดความไมพ่ อใจขึ้นได้
ไม่เพียงแต่ในชุมชนน้ัน แต่อาจเก่ียวเนื่องไปกับชุมชนอื่นรอบข้าง หรือเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุด น่ันคือ ประชาชน
ท้งั ประเทศซึ่งการลงโทษทางสังคมมีท้งั ด้านบวกและด้านลบ ดงั นี้

การลงโทษโดยสังคมเชิงบวก (Positive Social Sanctions) จะอยู่ในรูปของการให้การ
สนับสนนุ หรือการสร้างแรงจูงใจ หรือการให้รางวัล ฯลฯ แก่บุคคลและสังคม เพ่ือให้ประพฤติปฏิบัติสอดคล้อง
กับปทสั ถาน (Norm) ของสงั คมในระดบั ชมุ ชนหรือในระดับสงั คม

การลงโทษโดยสังคมเชิงลบ (Negative Social Sanctions) จะอยู่ในรูปแบบของการใช้
มาตรการต่าง ๆ ในการจดั ระเบียบสังคม เช่น การว่ากล่าวตักเตอื น ซง่ึ เปน็ มาตรการขั้นตํ่าสุดเรื่อยไปจนถึงการ
กดดันและบีบค้ันทางจิตใจ (Moral Coercion) การต่อต้าน (Resistance) และการประท้วง (Protest) ใน
รูปแบบต่าง ๆ ไมว่ ่าจะโดยปจั เจกบุคคลหรือการชมุ นุมของมวลชน เปน็ ต้น

การลงโทษทางสังคมทางลบ จะสร้างให้เกิดการลงโทษต่อบุคคลท่ีถูกกระทํา การลงโทษ
ประเภทนี้เป็นการลงโทษเพื่อให้หยุดกระทําในส่ิงที่ไม่ถูกต้อง และบุคคลที่ถูกลงโทษจะเกิดการเข็ดหลาบ
ไม่กลา้ ท่จี ะทาํ ในสิง่ นนั้ อกี การลงโทษประเภทนี้มีความรุนแรงแตกต่างกัน ต้ังแต่การว่ากล่าวตักเตือน การนินทา
การประจาน การชุมนุมขับไล่ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการไม่ทน ไมย่ อมรับตอ่ สง่ิ ที่บุคคลอืน่ ได้กระทําไป ดังนั้น
เมื่อมีใครท่ีทําพฤติกรรมเหล่านั้นข้ึน จึงเป็นการสร้างให้เกิดความไม่พอใจแก่บุคคลรอบข้าง หรือสังคม
จนนาํ ไปสูก่ ารต่อต้านดงั กลา่ ว

การลงโทษทางสังคมจะมีความรุนแรงมากหรือน้อย ก็ข้ึนอยู่กับการกระทําของบุคคลน้ันว่า
ร้ายแรงขนาดไหน หากเป็นเรื่องเล็กน้อยจะถูกต่อต้านน้อย แต่หากเร่ืองน้ันเป็นเร่ืองร้ายแรง เร่ืองที่เกิดข้ึน
ประจํา หรือมีผลกระทบต่อสังคม การลงโทษก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย เช่น หากมีการทุจริตเกิดข้ึนก็อาจ

P a g e | 43

นําไปเป็นประเด็นทางสังคมจนนําไปสู่การต่อต้านจากสังคมได้ เพราะการทุจริตถือว่าเป็นส่ิงที่ไม่ถูกต้อง
ผิดกฎหมาย และผิดต่อศีลธรรม บ่อยคร้ังที่มีการทุจริตเกิดขึ้นจนเป็นสาเหตุของการชุมนุมประท้วง เพื่อกดดัน
ขับไล่ให้บุคคลนั้นหยุดการกระทําดังกล่าว หรือการออกจากตําแหน่งนั้น ๆ หรือการนําไปสู่การตรวจสอบและ
ลงโทษโดยกฎหมาย โดยในหัวข้อสุดท้ายของชุดวิชานี้ ได้นําเสนอตัวอย่างท่ีได้แสดงออกถึงความไม่ทนต่อการ
ทุจริตท่มี กี ารชุมนุมประทว้ งบางเหตุการณผ์ ู้ทถี่ กู กลา่ วหาไดล้ าออกจากตําแหน่ง ซ่งึ การลาออกจากตําแหน่งนั้น
ถือเป็นความรบั ผดิ ชอบอย่างหนึ่งและเปน็ การแสดงออกถงึ ความละอายในส่ิงท่ีตนเองได้กระทํา เป็นตน้

ตวั อย่างความละอายและความไมท่ นตอ่ การทจุ รติ
การทุจริตมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ทําให้เกิดความเสียหายอย่างมากในด้านต่าง ๆ
หากนําเอาเงินที่ทุจริตมาพัฒนาในส่วนอื่น ความเจริญหรือการได้รับโอกาสของผู้ที่ด้อยโอกาสก็จะมีมากข้ึน
ความเหลื่อมลํ้าทางด้านโอกาส ทางด้านสังคม ทางด้านการศึกษา ฯลฯ ของประชาชนในประเทศก็จะลด
น้อยลง ดังที่เห็นในปัจจุบันว่าความเจริญต่าง ๆ มักอยู่กับคนในเมืองมากกว่าชนบท ท้ัง ๆ ที่คนชนบทก็คือ
ประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศ แต่เพราะอะไรทําไมประชาชนเหล่าน้ันถึงไม่ได้รับโอกาสให้ทัดเทียมหรือ
ใกล้เคียงกับคนในเมือง ปัจจัยหนึ่ง คือ การทุจริต สาเหตุการเกิดทุจริตมีหลายประการตามท่ีกล่าวมาแล้ว
ข้างต้น แต่ทําอย่างไรถึงทําให้มีการทุจริตได้มาก อย่างหนึ่ง คือ การลงทุน เมื่อมีการลงทุนก็ย่อมมีงบประมาณ
เมื่อมงี บประมาณกเ็ ป็นสาเหตใุ หบ้ ุคคลท่ีคดิ จะทุจริตสามารถหาช่องทางดังกล่าวในทางทุจริตได้ แม้ว่าประเทศ
ไทยจะมีกฎหมายหลายฉบับเพ่ือป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่นั่นก็คือตัวหนังสือท่ีได้เขียนเอาไว้ แต่
การบังคับใช้ยังไม่จริงจังเท่าท่ีควร และยิ่งไปกว่านั้นหากประชาชนเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่เก่ียวข้องกับตนเอง
ก็มักจะไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง เน่ืองจากตนเองก็ไม่ได้รับผลกระทบที่เกิดข้ึน แต่การคิดดังกล่าวเป็นส่ิงที่ผิด
เนอื่ งจากวา่ ตนเองอาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการที่มีคนทุจริต แต่โดยอ้อมแล้วถือว่าไม่ใช่ เช่น เม่ือมี
การทุจริตมาก งบประมาณของประเทศที่จะใช้พัฒนาหรือลงทุนก็น้อย อาจส่งผลให้ประเทศไม่สามารถจ้าง
แรงงานหรอื ลงทนุ ได้
ความเสียหายท่ีเกิดจากการทุจริต หากเป็นการทุจริตในโครงการใหญ่ ๆ แล้ว ปริมาณเงินที่
ทุจริตย่อมมีมากความเสียหายก็ย่อมมีมากตามไปด้วย โดยในบทนี้ได้ยกกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากการทุจริตไว้
ในทา้ ยบท ซ่งึ จะเหน็ ได้ว่าความเสียหายทีเ่ กดิ ข้นึ นั้นมีมลู ค่ามากมาย และนี้เป็นเพียงโครงการเดียวเท่านั้น หาก
รวมเอาการทุจริตหลาย ๆ โครงการ หลาย ๆ กรณีเข้าด้วยกัน จะพบว่าความเสียหายท่ีเกิดขึ้นมานั้นมากมาย
มหาศาล ดังน้ัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ประชาชนจะต้องมีความตื่นตัวในการที่จะร่วมมือในการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต การร่วมมือกันในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ สถานการณ์ท่ีอาจเกิดการทุจริตได้ เมื่อ
ประชาชนรวมถึงภาคเอกชน ภาคธุรกิจ มีความต่ืนตัวที่จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปัญหาการ
ทจุ รติ จะถอื เป็นปญั หาเพียงเลก็ น้อยของประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะทําอย่างไรก็จะมีการสอดส่อง ติดตาม เฝ้าระวัง
เร่อื งการทุจรติ อยา่ งตอ่ เน่ือง ดังนัน้ แลว้ สิง่ สาํ คญั สง่ิ แรกทจี่ ะตอ้ งสร้างใหเ้ กดิ ขึน้ คอื ความตระหนักรู้ถึงผลเสียท่ี
เกิดข้นึ จากการทุจริต สรา้ งให้เกิดความต่ืนตัวต่อการปราบปรามการทุจริต การไม่ทนต่อการทุจริตให้เกิดขึ้นใน
สงั คมไทย
เม่ือประชาชนในประเทศมีความต่ืนตัวท่ีว่า “ไม่ทนต่อการทุจริต” แล้ว จะทําให้เกิดกระแส
ต่อต้านการกระทาํ ทจุ ริต และคนทีท่ าํ ทุจรติ กจ็ ะเกดิ ความละอายไม่กล้าที่จะทาํ ทจุ ริตตอ่ ไป เช่น หากพบเห็นว่า
มีการทุจริตเกิดข้ึนอาจมีการบันทึกเหตุการณ์หรือลักษณะการกระทํา แล้วแจ้งข้อมูลเหล่านั้นไปยังหน่วยงาน
หรือส่ือมวลชนเพื่อร่วมกันตรวจสอบการกระทําที่เกิดขึ้น และยิ่งในปัจจุบันเป็นสังคมสมัยใหม่ และกําลัง
เดินหน้าประเทศไทยก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แต่การจะเป็น 4.0 ให้สมบูรณ์แบบได้น้ัน ปัญหาการทุจริต
จะต้องลดน้อยลงไปด้วย เม่ือประชาชนมีความตื่นตัวต่อการที่ไม่ทนต่อการทุจริตแล้ว ผลที่เกิดข้ึนจะเป็น

P a g e | 44

อย่างไร ตัวอย่างที่จะนํามากล่าวถึงต่อไปน้ีเป็นกรณีท่ีเกิดขึ้นในต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความไม่ทนต่อการ
ทุจริตที่ประชาชนได้ลุกข้ึนมาต่อสู้ ต่อต้านนักการเมืองที่ทําทุจริต จนในที่สุดนักการเมืองเหล่าน้ันหมดอํานาจ
ทางการเมอื งและได้รับบทลงโทษทั้งทางสังคมและทางกฎหมาย ดงั นี้

1. ประเทศเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศหนึ่งท่ีประสบความสําเร็จในด้านการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต แต่ก็ยังคงมีปัญหาการทุจริตเกิดข้ึนอยู่บ้าง เช่น เม่ือปี พ.ศ. 2559 มีข่าวกรณีของ
ประธานาธิบดีถูกปลดออกจากตําแหน่งเพราะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง โดยการ
ถูกกลา่ วหาว่าให้เพ่ือนสนิทของครอบครัวเข้ามาแทรกแซงการบริหารประเทศ รวมถึงใช้ความสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิด
กับประธานาธิบดีแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ผลที่เกิดข้ึนคือถูกดําเนินคดีและต้ังข้อหาว่าพัวพันการทุจริตและ
ใช้อํานาจหน้าท่ีในทางมิชอบเพ่ือเอ้ือผลประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง กรณีท่ีเกิดขึ้นน้ีประชาชนเกาหลีใต้ได้มีการ
รวมตัวกันประท้วงกว่าพันคนเรียกร้องให้ประธานาธิบดีคนดังกล่าวลาออกจากตําแหน่งหลังมีเหตุอ้ือฉาว
ทางการเมือง

อีกกรณีท่ีจะกล่าวถึงเพ่ือเป็นตัวอย่างการต่อต้านการกระทําที่ไม่ถูกต้อง คือ การท่ีนักศึกษา
คนหนึ่งได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยท้ังท่ีผลคะแนนที่เรียนมานั้นไม่ได้สูง และการที่คุณสมบัติของนักศึกษา
ดงั กลา่ วมคี ุณสมบัตไิ ม่ตรงกับการคัดเลอื กโควตานกั กีฬาท่ีกําหนดไว้วา่ จะตอ้ งผ่านการแข่งขันประเภทเด่ียว แต่
นักศึกษาคนดังกล่าวผ่านการแข่งขันประเภททีม เท่ากับว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องแต่ได้รับเข้าเรียนใน
มหาวิทยาลัยดังกล่าว การกระทําเช่นนี้จึงเป็นสาเหตุหน่ึงของการนําไปสู่การประท้วง ต่อต้านจากนักศึกษา
และอาจารยข์ องมหาวิทยาลัยดังกล่าว ซง่ึ ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถให้คําตอบที่ชัดเจนแก่กลุ่มผู้ประท้วงได้
จนในที่สดุ ประธานของมหาวิทยาลัยดงั กลา่ วจงึ ลาออกจากตําแหน่ง

2. ประเทศบราซิล ปลายปี พ.ศ. 2559 ประชาชนในประเทศบราซิลได้มีการชุมนุมประท้วง
การทุจริตที่เกิดข้ึนเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อวัฒนธรรม การโกงของระบบราชการของประเทศ
โดยมีประชาชนจํานวนหลายหม่ืนคนเข้าร่วมการชุมนุมในครั้งนี้ และมีการแสดงภาพหนูเพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน
การประณามต่อนกั การเมอื งทีท่ จุ รติ การประท้วงดังกล่าวยังถอื ว่ามีขนาดเล็กกว่าครั้งก่อน เพราะท่ีผ่านมาได้มี
การทุจริตเกิดข้ึนและมีการประท้วง จนในที่สุดประธานาธิบดีได้ถูกปลดจากตําแหน่งเน่ืองจากการกระทําท่ี
ละเมดิ ตอ่ กฎระเบยี บเร่ืองงบประมาณ

P a g e | 45

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เหน็ ถึงความตน่ื ตวั ของประชาชนทอ่ี อกมาต่อตา้ นการทจุ ริต ไม่ว่า
จะเป็นการทุจริตในระดับหน่วยเล็ก ๆ หรือระดับประเทศ เป็นการแสดงออกซ่ึงการไม่ทนต่อการทุจริต
สามารถแสดงออกมาได้หลายระดับ ต้ังแต่การเห็นคนที่ทําทุจริตแล้วตนเองรู้สึกไม่พอใจ มีการส่งเรื่อง
ตรวจสอบ ร้องเรียน และในทส่ี ุด คอื การชุมนมุ ประทว้ ง ตามตวั อย่างท่ไี ดน้ าํ มาแสดงให้เห็นข้างตน้ ตราบใดท่ี
สามารถสร้างให้สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตได้ เม่ือนั้นปัญหาการทุจริตก็จะลดน้อยลง แต่หากจะให้เกิดผลดี
ยิ่งขึ้น จะต้องสร้างให้เกิดความละอายต่อการทุจริต ไม่กล้าที่จะทําทุจริต โดยนําเอาหลักธรรมทางศาสนามา
เป็นเคร่ืองมือในการสั่งสอน อบรม ในขณะเดียวกันหากมีการทุจริตเกิดขึ้นกระบวนการในการแสดงออกต่อ
การไม่ทนต่อการทุจริตจะต้องเกิดข้ึน และมีการเปิดเผยช่ือบุคคลท่ีทุจริตให้กับสาธารณชนได้รับทราบอย่าง
ท่ัวถึง เม่ือสังคมมีทั้งกระบวนการในการป้องกันการทุจริต การปราบปรามการทุจริตที่ดี รวมถึงการสร้างให้
สังคมเป็นสังคมท่ีไม่ทนต่อการทุจริต มีความละอายต่อการทําทุจริตแล้ว ปัญหาการทุจริตจะลดน้อยลง
ประเทศชาติจะสามารถพัฒนาไดม้ ากขึน้

สําหรับระดับการทุจริตที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในระดับใดล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสังคม
และประเทศชาติทั้งสิ้น บางคร้ังการทุจริตเพียงนิดเดียวอาจนําไปสู่การทุจริตอย่างอื่นท่ีมากกว่าเดิมได้ การมี
วัฒนธรรม ค่านิยม หรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องก็ส่งผลให้เกิดการทุจริตได้เช่นกัน เช่น การมอบเงินอุดหนุนแก่
สถานศึกษาเพื่อให้บุตรของตนได้เข้าศึกษาในสถานที่แห่งน้ัน หากพิจารณาแล้วอาจพบว่าเป็นการช่วยเหลือ
สถานศึกษาเพ่ือท่ีสถานศึกษาแห่งน้ันจะได้นําเงินที่ได้ไปพัฒนาสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนของทาง
สถานศึกษาต่อไป แต่การกระทําดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้องเป็นการปลูกฝังส่ิงท่ีไม่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม และต่อไปหาก
กระทําเช่นน้ีเร่ือย ๆ จะมองว่าเป็นเร่ืองปกติที่ทุกคนทํากันไม่มีความผิดแต่อย่างใด จนทําให้แบบแผนหรือ
พฤติกรรมทางสังคมท่ีดีถูกกลืนหายไปกับการกระทําที่ไม่เหมาะสมเหล่าน้ี ตัวอย่างการมอบเงินอุดหนุนแก่
สถานศึกษายงั คงเกิดข้นึ ในประเทศไทยอยา่ งตอ่ เนื่อง โดยเฉพาะในสถานศึกษาที่มีช่ือเสียงซึ่งหลายคนอยากให้
บุตรของตนเข้าศึกษาในสถานที่แห่งนั้น แต่ด้วยข้อจํากัดท่ีไม่สามารถรับนักเรียนนักศึกษาได้ท้ังหมด
จึงทาํ ใหผ้ ปู้ กครองบางคนตอ้ งใหเ้ งนิ กบั สถานศกึ ษา เพื่อให้บุตรของตนเองไดเ้ ขา้ เรยี น

P a g e | 46

บทที่ 5
พลเมืองและความรบั ผดิ ชอบตอ่ สงั คม

ความหมายและท่ีมาของคําศพั ทท์ ่ีเก่ียวขอ้ งกบั พลเมอื ง
คําว่า “พลเมือง” มีความหมายในหลายแง่มุม และมีการนําไปใช้เทียบกับคําอ่ืน ๆ อาทิ
ประชากร ประชาชน ปวงชน และราษฎร ฯลฯ แต่หากพิจารณาให้ละเอียดจะสามารถทําความเข้าใจ
ความหมายของคําตา่ ง ๆ ที่คลา้ ยกัน ไดด้ ังน้ี
ประชาชน หมายความถึง คนท่ัวไป คนของประเทศ ซึ่งไม่ใช่ผู้ปกครอง เป็นสามัญชนอยู่
ภายใตร้ ัฐ เช่น ประชาชน ทกุ คนมีหนา้ ที่ต้องร้กู ฎหมาย ใครจะปฏเิ สธวา่ ไม่รูไ้ ม่ได้
ประชากร หมายถงึ คนโดยทั่วไป โดยมกั ใช้ในกรณพี ิจารณาถงึ จํานวน
ราษฎร คําว่า “ราษฎร” เป็นคําเก่าแก่ที่มีใช้กันมานาน ในกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาและ
กฎหมายตราสามดวง กม็ กี ารใช้คําวา่ “ราษฎร” หมายถงึ คนโดยทวั่ ไป แต่วา่ “ราษฎร” เปน็ คาํ ท่ีใช้ในชว่ งสมัย
รัชกาลท่ี 5 เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณ ประชาชนเป็นไพร่หรือทาสเกือบท้ังหมด พอมาถึงช่วงรัชกาลที่ 5
ได้มีการเปล่ียนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่และได้ทําการเลิกทาส เลิกไพร่ ทําให้ประชาชน
เหล่าน้ันกลายเป็นราษฎรหรือเสรีชนท่ีไม่ต้องเป็นข้ารับใช้มูลนายและมีสถานะทางกฎหมายเท่าเทียมกัน จึง
เรียกอดีต ไพร่ ทาส ขุนนาง รวมทงั้ ชนช้ันใหม่ๆ วา่ “ราษฎร” ในความหมายของ ผทู้ ี่ตอ้ งเสียภาษีให้กบั รัฐและ
ตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายของบ้านเมอื งเชน่ เดยี วกันหมด
ปัจจุบันคําว่าราษฎร และประชาชน มีความหมายเกือบจะเหมือนกัน แต่ประชาชน ส่ือถึง
การเปน็ เจ้าของประเทศ และเจา้ ของอาํ นาจอธปิ ไตย มากกว่าราษฎร ส่วนราษฎรมนี ยั ของคนทเ่ี สียเปรยี บคนท่ี
ด้อยกว่าอยู่ด้วยและมีนัยความหมายเป็นทางการน้อยกว่าคําว่า ประชาชน เช่น แม้เราจะเป็นราษฎรธรรมดา
แต่ถ้าผู้บริหารประเทศคดโกงฉ้อราษฎร์บังหลวง เราก็ต้องไปคัดค้าน ท่ีผ่านมาข้าราชการมักจะกดข่ีราษฎร
ดังน้ัน ราษฎร แปลว่า คนของรัฐเดิม หมายถึง สามัญชน คือคนที่ไม่ใช่ขุนนาง โดยท่ัวไปมักหมายถึง คน
ธรรมดา หมู่คนทม่ี ใิ ชข่ า้ ราชการ
พลเมือง คําว่า “พลเมือง” เกิดขึ้นคร้ังแรกเม่ือเกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เร่ิมต้นเม่ือปี
ค.ศ. 1789 ชาวฝร่ังเศสลุกฮือกันข้ึนมาล้มล้างระบอบการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ล้มล้างระบบ
ชนชั้นต่างๆ ขณะน้ันได้แก่ พระราชวงศ์ ขุนนางข้าราชการ สมณะ นักพรต นักบวช และไพร่ ประกาศความ
เสมอภาคของชาวฝรงั่ เศสทุกคน ตอ่ มาคาํ ว่า “Citoyen” จึงแปลเป็น “Citizen” ในภาษาองั กฤษ
สําหรับประเทศไทย คําว่า “พลเมือง” น่าจะถูกนํามาใช้สมัยหลังเปล่ียนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 เนื่องจากผู้นําคณะราษฎรบางท่านเคยเรียนท่ีประเทศฝรั่งเศส จึงได้นําเอาคําน้ีมาใส่ไว้ใน
รัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งประกาศใช้เมื่อวันท่ี 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ต่อมากลายเป็นวิชาบังคับท่ีนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาจะต้องเรียนควบคู่กับวิชาศีลธรรม กลายเป็นวิชา “หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม” ในส่วนที่เป็น
หน้าที่พลเมืองก็ลอกมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2475 เรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญ ฉบับปี
2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 และเลิกใช้เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทําการรัฐประหาร เม่ือวันที่ 16
กันยายน 2500 แต่วิชาหน้าท่ีพลเมืองก็ยังคงเรียนและสอนกันต่อมาอีกหลายปีจึงเลิกไปพร้อม ๆ กับคําว่า
“พลเมือง” โดยต่อมาก็ใชค้ ําวา่ “ปวงชน” แทนคาํ วา่ ราษฎรคงเป็นการใช้แทนคําว่า “ประชาชน” หรือคําว่า People
ในภาษาอังกฤษ อาจจะมาจากอิทธิพลของอเมริกาสืบเนื่องมาจากสุนทรพจน์เกตทีสเบิร์กของประธานาธิบดี
อับราฮัม ลินคอล์น ท่ีให้คําจํากัดความของรัฐบาลประชาธิปไตยไว้ว่า เป็น “รัฐบาลของประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” แต่แทนท่ีเราจะใช้คําว่า “ประชาชน” แทนคําว่า “ราษฎร” เรากลับใช้คําว่า

P a g e | 47

“ปวงชน” แทน อยา่ งไรกต็ าม คาํ วา่ ปวงชนก็ใช้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ เทา่ นัน้ แต่ไม่ติดปากที่จะใช้กนั ทั่วไป
ในทอี่ ื่น ๆ ไม่ว่าในหน้าหนงั สือพิมพ์หรอื ในส่ืออื่น ๆ ยังนิยมใชค้ าํ วา่ “ประชาชน” มากกว่าคาํ วา่ “ปวงชน”

อย่างไรก็ตาม คําว่า “พลเมือง” ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้ระบุหน้าที่ของประชาชนชาว
ไทยทุกคนท่ีจะต้องปฏิบัติ ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นพลเมืองไว้ในหมวดท่ี 4 หน้าท่ีของปวงชนชาวไทย มาตรา
50 บัญญัติถึงหน้าที่ที่คนไทยทุกคนจะต้องถือปฏิบัติไว้ 10 ประการ โดยหน่ึงในหน้าท่ีสําคัญประการหนึ่งคือ
มาตรา 50 (10) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ เป็นท่ีน่าสังเกตว่าใน
รัฐธรรมนูญฉบับทใ่ี ช้กนั อยู่ปัจจุบันนี้ ใช้คําว่า “ปวงชน” ชาวไทย ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาซึ่งจะ
มีท้งั คาํ ว่า “ปวงชน” “ประชาชน” และ “พลเมือง”

สาํ หรับคาํ ว่า “พลเมือง” มีนักวิชาการให้ความหมาย สรปุ ได้พอสงั เขป
พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง
ชาวประเทศประชาชน “วถิ ”ี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน และ “ประชาธปิ ไตย” หมายถึง แบบการปกครอง
ที่ถอื มตปิ วงชนเป็นใหญ่ ดังนัน้ คาํ วา่ “พลเมอื งดใี นวิถีชวี ิตประชาธิปไตย” จงึ หมายถึง พลเมอื งท่ีมคี ุณลักษณะ
ท่ีสําคัญ คือ เป็นผู้ท่ียึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ
ดํารงชีวิตปฏิบัติตนตามกฎหมายดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอันจะก่อให้เกิด
การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เปน็ สังคมและประเทศประชาธิปไตยอยา่ งแท้จริง
วราภรณ์ สามโกเศศ อธิบายว่า ความเป็นพลเมือง หมายถึง การเป็นคนที่รับผิดชอบได้ด้วย
ตนเองมีความสาํ นกึ ในสนั ติวธิ ี มกี ารยอมรบั ความคิดเห็นของผอู้ นื่
ปรญิ ญา เทวานฤมติ รกุล กล่าวว่า ความเปน็ พลเมอื งของระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การ
ที่สมาชิกมีอสิ รภาพ ควบคู่กับความรบั ผดิ ชอบ และมอี สิ รเสรีภาพควบคูก่ ับ “หนา้ ที่”
จากความหมายของนักวิชาต่าง ๆ พอสรุปได้ว่า “พลเมือง” หมายถึง ประชาชนท่ีนอกจาก
เสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังต้องมีบทบาทในทางการเมือง คือ อย่างน้อยมีสิทธิไป
เลือกต้ัง แต่ยิ่งไปกว่าน้ันคือมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ต่อทางการหรือรัฐได้ ทั้งยังมีสิทธิเข้าร่วมใน
กิจกรรมต่าง ๆ กับรัฐและอาจเป็นฝ่ายรุกเพื่อเรียกร้องกฎหมาย นโยบายและกิจกรรมของรัฐตามท่ีเห็นพ้อง
พลเมืองน้ันจะเป็นคนที่รู้สึกเป็นเจ้าของในส่ิงสาธารณะ มีความกระตือรือร้นอยากมีส่วนร่วม เอาใจใส่การทํางาน
ของรฐั และเป็นประชาชนทส่ี ามารถแกไ้ ขปัญหาส่วนรวมได้ในระดับหนึง่ โดยไม่ต้องรอใหร้ ฐั มาแกไ้ ขให้เทา่ นนั้
อย่างไรก็ตาม มีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความเป็นราษฎร และความเป็น
พลเมือง ดังตาราง (อ้างจาก จดหมายข่าวสถาบันพระปกเกล้า ปีท่ี 10 ฉบับท่ี 7 เดือนกรกฎาคม 2552)
(ความเป็นราษฎร, ม.ป.ป.)

P a g e | 48

กล่าวโดยสรุป “พลเมือง” มีความแตกต่างจากคําว่า “ประชาชน” และ “ราษฎร” ตรงท่ีว่า
พลเมืองจะแสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการรักษาสิทธิต่าง ๆ ของตน รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยการแสดงออกซึ่งสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความเป็นพลเมือง (Citizen) มีความหมายท่ีสะท้อน
ให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิกทางสังคมท่ีมีต่อรัฐ ต่างจากคําว่า ประชาชน
ที่กลายเป็นผู้รับคําสั่ง ทําตามผู้อื่น ดังน้ัน การเปลี่ยนแปลงท่ีสําคัญจึงอยู่ท่ีการเปลี่ยนให้ประชาชนคนธรรมดา
กลายเป็นพลเมอื งที่มีสิทธิกําหนดทิศทางของประเทศได้

ความหมายและแนวคิดเกย่ี วกบั การศกึ ษาเพ่อื สรา้ งความเปน็ พลเมือง
ความหมายของพลเมอื งศึกษา
พลเมืองศึกษา (Civic education) หมายถึง การจัดการศึกษาและประสบการณ์เรียนรู้เพื่อ
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ มีความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองตนเอง มีสิทธิมีเสียง สนใจ
ต่อส่วนรวม และมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือการเรียนรู้
เกี่ยวกับรัฐบาล รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบบการเมืองการปกครองสิทธิและความรับผิดชอบของพลเมือง
ระบบการบรหิ ารจัดการสาธารณะและระบบตุลาการ

P a g e | 49

คณุ ลกั ษณะของพลเมือง
“พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วยลักษณะ 6 ประการ (ปริญญา เทวา
นฤมติ รกุล, 2555) คือ
1) มีอิสรภาพและพึ่งตนเองได้หมายความว่า ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองท่ี
ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดในประเทศ ประชาชนจึงมีฐานะเป็นเจ้าของประเทศเป็นเจ้าของชีวิตและ
มีสิทธิเสรีภาพในประเทศของตนเอง ระบอบประชาธิปไตยจึงทําให้เกิดหลักสิทธิเสรีภาพ และทําให้ประชาชน
มีอิสรภาพ คือ เป็นเจ้าของชีวิตตนเอง “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นไท คือ เป็นอิสระชนที่
พง่ึ ตนเองและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ และไมย่ อมตกอย่ภู ายใตอ้ ิทธพิ ลอํานาจ หรือ “ระบบอุปถมั ภ์” ของผู้ใด
2) เห็นคนเท่าเทียมกัน หมายความว่า ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองท่ีอํานาจสูงสุด
ในประเทศเป็นของประชาชน ดังน้ัน ไม่ว่าประชาชนจะแตกต่างกันอย่างไรทุกคนล้วนแต่เท่าเทียมกันในฐานะ
ที่เป็นเจ้าของประเทศ “พลเมือง” จึงต้องเคารพหลักความเสมอภาคและจะต้องเห็นคนเท่าเทียมกัน คือ เห็น
คนเป็นแนวระนาบ (horizontal) เห็นตนเท่าเทียมกับคนอื่น ทุกคนล้วนมีศักด์ิศรีของความเป็นเจ้าของประเทศ
อย่างเสมอกนั ถงึ แม้จะมีการพงึ่ พาอาศัยแตจ่ ะเปน็ ไปอยา่ งเทา่ เทยี ม
3) ยอมรับความแตกต่าง หมายความว่า ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองท่ีประชาชน
เป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงมีเสรีภาพ ระบอบประชาธิปไตยจึงให้เสรีภาพและยอมรับความหลากหลาย
ของประชาชน ประชาชนจึงแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกอาชีพ วิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาหรือ
ความคดิ เห็นทางการเมอื ง ดังนนั้ เพ่อื มิให้ความแตกตา่ งนาํ มาซึ่งความแตกแยกในสังคม “พลเมือง” ในระบอบ
ประชาธิปไตยจึงต้องยอมรับและเคารพความแตกต่างของกันและกัน เพ่ือให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ และจะต้อง
ไม่มีการใชค้ วามรนุ แรงต่อผู้ท่เี หน็ แตกต่างไปจากตนเอง
4) เคารพสิทธิผู้อ่ืน หมายความว่า ในระบอบประชาธิปไตยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศทุกคน
จึงมีสิทธิแต่ถ้าทุกคนใช้สิทธิโดยคํานึงถึงแต่ประโยชน์ของตนเอง หรือเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นที่ต้ัง โดย
ไม่คํานึงถึงสิทธิผู้อื่นหรือไม่สนใจว่าจะเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใดย่อมจะทําให้เกิดการใช้สิทธิที่กระทบซึ่งกัน
และกัน สิทธิในระบอบประชาธิปไตยจึงจําเป็นต้องมีขอบเขต คือ มีสิทธิและใช้สิทธิได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อ่ืน
“พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องเคารพสิทธิผู้อื่นและจะต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิ
ของผู้อื่น
5) รับผิดชอบต่อสังคม หมายความว่า ประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการปกครองตามอําเภอใจ
หรือใครอยากจะทําอะไรก็ทําโดยไม่คํานึงถึงส่วนรวม ดังน้ัน “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยยังจะต้องใช้
สิทธิเสรีภาพของตนโดยรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เหตุที่สังคมหรือประเทศชาติมิได้ดีข้ึนหรือแย่ลงโดยตัวเอง
หากสังคมจะดีข้นึ ไดก้ ด็ ว้ ยการกระทําของคนในสงั คม
6) เขา้ ใจระบอบประชาธิปไตยและมีสว่ นร่วม หมายความวา่ ประชาธิปไตย คือ การปกครอง
โดยประชาชนใช้กติกาหรือกฎหมายที่มาจากประชาชนหรือผู้แทนประชาชน ระบอบประชาธิปไตยจะประสบ
ความสําเร็จได้ก็ต่อเมื่อมี “พลเมือง” ท่ีเข้าใจหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตาม
สมควร ท้ังในเร่ืองหลักประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยประชาชน และหลักนิติรัฐหรือการปกครองโดย
กฎหมาย ถ้ามีความขัดแย้งก็เคารพกติกาและใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้กําลังหรือความ
รุนแรง

P a g e | 50

องคป์ ระกอบของการศึกษาความเป็นพลเมือง
สาํ หรบั นกั วิชาการตา่ งประเทศ ไดเ้ ขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
อาทิ John Porter เขียนบทความเร่ือง “The Challenge of education for active citizenship” โดย
อธิบายการศึกษาความเป็นพลเมืองว่ามี 3 ประเด็นท่ีเช่ือมกับมิติพลเมือง การเมือง และสังคม ทั้งนี้ พลเมือง
ประกอบด้วย สิทธิจําเป็นสําหรับความเป็นอิสระ เสรีภาพระดับปัจเจกบุคคล การเมืองประกอบด้วย สิทธิ
ในการมีส่วนร่วมในการใช้อํานาจทางการเมือง ส่วนสังคมประกอบด้วย สิทธิที่มีต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ
และความม่งั คงท่มี ีตอ่ สทิ ธทิ จี่ ะรว่ มมือกนั และเพื่ออาศยั อยใู่ นชีวติ ของความศิวิไลซ์
1) ความรบั ผดิ ชอบทางสังคม (Social Responsibility)
การเรียนรู้ของเด็กจะเริ่มต้นจากความไว้ใจตนเอง เก่ียวกับสังคม ศีลธรรม พฤติกรรม ความ
รับผิดชอบท้ังในและอยู่นอกห้องเรียน การเรียนรู้ของเด็กควรทําหรือแสดงบทบาทในกลุ่มหรือมีส่วนร่วม
ในกจิ กรรมของชมุ ชน
2) ความเกีย่ วพันชุมชน (Community Involvement)
การเรียนรู้ผ่านชุมชนหรือการบริการในชุมชนมี 2 สาขาของความเป็นพลเมือง มันไม่จํากัด
เวลาของเดก็ ทโ่ี รงเรยี น แตค่ วรรบั รู้ในฐานะเปน็ กลมุ่ อาสาสมคั รทไ่ี ม่เปน็ การเมอื ง
3) ความสามารถในการอ่านและเขียนทางการเมอื ง (Political Literacy)
การเรียนของนักเรียนเก่ียวกับการทําให้ “ชีวิตสาธารณะ” มีประสิทธิผล โดยผ่านความรู้
ทักษะ และค่านิยม คําว่า “ชีวิตสาธารณะ” ถูกใช้ในความรู้สึกที่กว้างที่สุดเพื่อที่จะล้อมรอบความรู้ท่ี
สมเหตุสมผลของการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเศรษฐกิจหลัก
และปญั หาสังคมของทกุ วันรวมท้งั แตล่ ะการคาดหมายของบคุ คล และการตระเตรียมสําหรับโลกของการจ้างงาน
และการอภปิ รายของการจดั สรรทรัพยากรภาครัฐและการสมเหตสุ มผลของระบบการจัดเกบ็ ภาษี
Joseph KuiFoon และ Chow–Kerry J. Kennedy (2012) เขียนบทความเรื่อง “Citizenship
and Governance in the Asian Region : Insights from the International Civic and Citizenship
Education Study” โดยเขาเสนอวา่ ขอบเขตเนอื้ หาของการศกึ ษาความเปน็ พลเมอื งประกอบด้วย 4 อย่าง คือ
1) ประชาสังคมและระบบ 2) องค์ประกอบข้อปฏิบัติพลเมือง 3) การมีส่วนร่วมพลเมือง และ 4) อัตลักษณ์
พลเมือง ส่วนขอบเขตกระบวนการความคิด คือ การรู้จัก การวิเคราะห์และการให้เหตุผล และขอบเขต
พฤตกิ รรมอารมณ์ คือ ความเช่อื คา่ นยิ ม ทศั นคติ ความสนใจเกย่ี วกบั พฤตกิ รรมและพฤติกรรม
Jaap Scheerens เขียนบทความเร่ือง “Indicators on Informal learning for Active
Citizenship at School” มีสาระว่าเป้าหมายของการศกึ ษาสําหรบั ความเป็นพลเมืองมี 3 มิติ คอื มติ ิ 1 การรับรู้
เข้าใจกับการนับถือความรู้เกี่ยวกับสถาบันประชาธิปไตย มิติ 2 เน้นการปฏิบัติจริง (pragmatic) ในอารมณ์
ความรู้สึกของการกระทําและการได้รับประสบการณ์ และมิติ 3 เก่ียวกับอารมณ์ในศัพท์ของการผูกติดกับ
สังคมและชุมชน ซึง่ อันหนึง่ เป็นเจ้าของสมรรถนะการส่อื สารและสงั คม
John Patrick เขียนบทความเรื่อง “Defining, Delivering, and Defending a Common
Education for Citizenship in a Democracy” ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดการศึกษาหลักสูตรพลเมือง ท่ีว่า
นยิ ามตามองค์ประกอบการศึกษาความเปน็ พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันไดแ้ ก่
1) ความรขู้ องความเปน็ พลเมอื งและรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย
2) ทกั ษะทีเ่ ฉลียวฉลาดของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย
3) ทักษะการมีส่วนร่วมของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (ทักษะความเป็น
พลเมอื งแบบมีสว่ นรว่ ม)


Click to View FlipBook Version