The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ (TRACK CLASSIFICATION) มขร.-C-001-2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prdrt2021, 2022-09-25 22:53:26

มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ (TRACK CLASSIFICATION)

มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ (TRACK CLASSIFICATION) มขร.-C-001-2564

มขร. – C – 001 -2564
มาตรฐานการแบง่ ประเภททางรถไฟ
TRACK CLASSIFICATION

กองมาตรฐานความปลอดภยั และบำรงุ ทาง

มขร. – C – 001 -2564 มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ หน้า 1

มขร – C – 001 - 2564
มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ
(Track Classification)

1 ทั่วไป

1.1 วตั ถปุ ระสงค์
เพือ่ ใช้ในการจำแนกและอธิบายรายละเอยี ดประเภทของทางรถไฟท่ีใช้ในประเทศไทย

1.2 ขอบเขต
• มาตรฐานฉบับน้ีใช้สำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางในประเทศไทย
• มาตรฐานฉบับนีค้ รอบคลุมสายทางระบบรางท่เี ปดิ ใหบ้ รกิ ารแลว้ และสายทางใหม่
• มาตรฐานนี้ครอบคลุมระบบรางชนิดรถไฟระหว่างเมืองรถไฟชานเมืองและระบบ
รถไฟฟา้ ขนส่งมวลชนในเมอื งที่มขี นาดทาง 1.000 เมตร และ 1.435 เมตร
• มาตรฐานนเ้ี ปน็ มาตรฐานทใ่ี ช้ในการอา้ งอิงขอบเขตของมาตรฐานอืน่ ๆ

2. นิยามและสัญลกั ษณ์

2.1 นยิ าม

เส้นทางรถไฟระหว่างเมือง (Intercity Lines) คือ เส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่มี
ระยะทางยาวกวา่ ขบวนรถไฟฟา้ ชานเมอื ง ได้แก่ ทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย

เส้นทางรถไฟชานเมอื ง (Commuter Lines) คือ เส้นทางรถไฟให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตเมือง
รัศมีไมเ่ กนิ 160 กิโลเมตร

เส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเมือง (Urban Lines) คือ เส้นทางรถไฟฟ้าที่ให้บริการแก่
ผ้โู ดยสารภายในเขตกรงุ เทพมหานครและปรมิ ณฑลท่ีเปน็ ระบบขนสง่ มวลชนหลัก (Heavy Rail)

เส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบรอง (Feeder Lines) คือ เส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
ในเมือง (Urban Transit System) ทำหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งหลัก มีระบบเทคโนโลยี
ที่แตกต่างกัน เช่น รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail) รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Mono Rail) และระบบรถไฟฟ้าอื่นๆ
ทม่ี ีคณุ สมบัติคลา้ ยคลงึ กัน

ขนาดทางรถไฟ (Track Gauge) คือ ระยะระหว่างรางรถไฟที่วัดจากหัวรางรถไฟด้านในที่ผิวบน
ลงมา 14 มิลลเิ มตร

ความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) คือ ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ มีหน่วยเป็น กิโลเมตร
ต่อช่ัวโมง

น้ำหนักลงเพลา (Axle Load) คือ น้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่กดลงเพลารถไฟจำนวน 1 เพลา
มหี นว่ ยเปน็ ตัน

มขร. – C – 001 -2564 มาตรฐานการแบง่ ประเภททางรถไฟ หน้า 2

2.2 สญั ลักษณ์

• UPR (Urban Passenger Rail) คอื ทางรถไฟสำหรับระบบขนสง่ ทางรางในเมือง

• UPHR (Urban Passenger Heavy Rail) คอื ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางหลักในเมอื ง

• UPFR (Urban Passenger Feeder Rail) คอื ทางรถไฟสำหรับระบบขนสง่ ทางรางระบบรอง

• CPR (Commuter Passenger Rail) คือ ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางชานเมอื ง

• IR (Intercity Rail) คอื ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางระหว่างเมอื ง

• IFR (Intercity Freight Rail) คือ ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ สนิ คา้ ระหวา่ งเมอื ง

• IPR (Intercity Passenger Rail) คอื ทางรถไฟสำหรับระบบขนสง่ มวลชนระหวา่ งเมอื ง

• IRPR (Intercity Rapid-Speed Passenger Rail) คอื ทางรถไฟความเร็วสงู ปานกลาง

• IHPR (Intercity High-Speed Passenger Rail) คือ ทางรถไฟความเร็วสงู

3 ประเภทของระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย

การแบ่งประเภทของทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางในประเทศไทยจะทำการแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก
คือ (1) ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางในเมือง (2) ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางชานเมือง
(3) ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางระหว่างเมืองและ (4) ทางรถไฟในย่าน โดยในแต่ละระบบหลักจะทำ
การแบ่งเป็นระบบย่อยตามคุณลักษณะของ 1) ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ 2) ประเภทของระบบขนส่ง
3) น้ำหนักลงเพลา และ 4) ขนาดทาง ทั้งนี้ มาตรฐานนี้จะไม่รวมถึงระบบขนสง่ อื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากที่นิยาม
ไว้ในมาตรฐานฉบับนี้

3.1 ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางในเมอื ง (Urban Passenger Rail, UPR)
3.1.1 ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางหลักในเมือง (Urban Passenger Heavy Rail, UPHR)
คือทางรถไฟที่รองรับระบบขนส่งทางรางที่ให้บริการผู้โดยสารในเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่ง

มวลชนในเมอื งโดยมีคณุ ลกั ษณะสำคัญ ดังน้ี
• ความเรว็ สูงสุดในการให้บรกิ าร 80 กโิ ลเมตรต่อชัว่ โมง
• ประเภทของการขนส่ง รถขนสง่ ผู้โดยสาร
• นำ้ หนกั ลงเพลาสูงสุดไม่เกิน 25 ตนั
• ขนาดทาง 1.435 เมตร

มขร. – C – 001 -2564 มาตรฐานการแบง่ ประเภททางรถไฟ หนา้ 3

3.1.2 ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางระบบรอง (Urban Passenger Feeder Rail, UPFR)
คือทางรถไฟที่รองรับระบบขนส่งทางรางที่ให้บริการผู้โดยสารในเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่ง

มวลชนระบบรอง เช่น รถไฟฟ้ารางเบา และรถไฟรางเดี่ยวเปน็ ตน้ โดยมีคุณลกั ษณะสำคญั ดังนี้
• ความเรว็ สูงสดุ ในการใหบ้ ริการ 80 กิโลเมตรต่อช่ัวโมง
• ประเภทของระบบขนสง่ รถขนสง่ ผูโ้ ดยสาร
• นำ้ หนกั ลงเพลาสงู สดุ ไมเ่ กิน 12 ตนั
• ขนาดทาง เปน็ ไปตามคุณลกั ษณะของผูผ้ ลติ (Product Specifications)

3.2 ทางรถไฟสำหรับระบบขนสง่ ทางรางชานเมือง (Commuter Passenger Rail, CPR)

ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนส่งทางรางชานเมือง คือ ทางรถไฟทรี่ องรบั ระบบขนส่งทางรางที่ให้บริการ
ผู้โดยสารในแนวเสน้ ทางรถไฟชานเมืองโดยมคี ณุ ลักษณะสำคัญ ดังน้ี

• ความเรว็ สูงสดุ ในการใหบ้ รกิ าร 160 กโิ ลเมตรตอ่ ช่ัวโมง
• ประเภทของระบบขนส่ง รถขนสง่ ผโู้ ดยสาร
• น้ำหนกั ลงเพลาสงู สดุ ไมเ่ กิน 25 ตนั
• ขนาดทาง มีสองขนาดทางคอื 1.000 เมตร และ 1.435 เมตร

3.3 ทางรถไฟสำหรบั ระบบขนสง่ ทางรางระหว่างเมือง (Intercity Rail, IR)

ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง คือทางรถไฟที่รองรับระบบขนส่งทางราง
ที่ให้บริการขนสง่ สนิ คา้ และผู้โดยสารในแนวเสน้ ทางรถไฟระหวา่ งเมือง โดยสามารถแบง่ ประเภทของทางรถไฟ
ย่อยลงได้อีกตามข้อกำหนดของการรถไฟแห่งประเทศไทย และแนวเส้นทางรถไฟความเร็วปานกลาง
และรถไฟความเรว็ สูง ดงั นี้

3.3.1 ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งสินคา้ ระหวา่ งเมือง (Intercity Freight Rail, IFR)
• ความเรว็ สงู สุดในการให้บริการ 90 กิโลเมตรต่อช่ัวโมง
• ประเภทของระบบขนสง่ รถขนส่งสนิ คา้
• นำ้ หนักลงเพลาสูงสุดไมเ่ กนิ 20 ตัน
• ขนาดทาง 1.000 เมตร

3.3.2 ทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งมวลชนระหวา่ งเมอื ง (Intercity Passenger Rail, IPR)
• ความเรว็ สงู สดุ ในการให้บริการ 120-160 กิโลเมตรตอ่ ชว่ั โมง
• ประเภทของระบบขนสง่ รถขนสง่ ผู้โดยสาร
• น้ำหนกั ลงเพลาสูงสุดไมเ่ กิน 20 ตนั
• ขนาดทาง 1.000 เมตร

มขร. – C – 001 -2564 มาตรฐานการแบง่ ประเภททางรถไฟ หนา้ 4

3.3.3 ทางรถไฟความเร็วสงู ปานกลาง (Intercity Rapid-speed Rail, IRR)
• ความเร็วสงู สุดในการใหบ้ รกิ าร ระหว่าง 140 ถงึ 200 กิโลเมตรตอ่ ช่ัวโมง
• ประเภทของระบบขนสง่ รถขนสง่ ผโู้ ดยสาร, รถขนสง่ สนิ ค้า
• น้ำหนักลงเพลาสูงสุดไม่เกิน 25 ตัน หรือเป็นไปตามมาตรฐาน EN1991-2 Eurocode 1:
Actions on Structures - Part 2: Traffic Loads on Bridges (Load Model 71)
• ขนาดทาง 1.435 เมตร

3.3.4 ทางรถไฟความเร็วสูง (Intercity High-speed Passenger Rail, IHPR)
• ความเร็วสงู สุดในการให้บริการ มากกวา่ 200 กโิ ลเมตรต่อชว่ั โมง
• ประเภทของระบบขนสง่ รถขนส่งผู้โดยสาร
• น้ำหนักลงเพลาสูงสุดไม่เกิน 25 ตัน หรือเป็นไปตามมาตรฐาน EN1991-2 Eurocode
1: Actions on Structures - Part 2: Traffic Loads on Bridges (Load Model 71)
• ขนาดทาง 1.435 เมตร

3.4 ทางรถไฟสำหรบั การปฏิบัตกิ ารในย่าน (Yard Operations)
ทางรถไฟสำหรับการปฏิบัติการในย่านสำหรับทางรถไฟทุกประเภทกำหนดความเร็วสูงสุด

ไม่เกิน 25 กิโลเมตรต่อช่วั โมง

มขร. – C – 001 -2564 มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ หน้า 5

บรรรณานกุ รมบรรณานุมขร S-T-001-256x (ร่มาตรฐาน

การแบง่ ประเภททางรถไฟ
[1] 49 CFR 213.9 (2011). Classes of track: operating speed limit

[2] AS 7630 (2010). Railway Infrastructure - Track Classification

[3] EN1991-2 Eurocode 1. Actions on structures - Part 2. Traffic loads on bridges (Load

Model 71)
[4] UIC Code 714 R, 3rd. (1989). Classification of lines for the purpose of track maintenance

[5] การรถไฟแห่งประเทศไทย (2558) คมู่ อื ปฏบิ ัตกิ ารบำรุงทางตามวาระ


Click to View FlipBook Version