The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nattanan Janhunee, 2022-07-13 02:36:04

นาฎศิลป์ไทย (2)

นาฎศิลป์ไทย (2)

นาฎศิลป์ไทย

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book)เล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่ งของ
รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา
เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความ
สำคัญ ท่ารำ เพลงรำ การแต่งกาย บุคคลสำคัญ

คณะผู้จัดทำ ได้ศึกษา และสรุปเรียบเรียงเนื้อหาต่างๆ
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ โดยมีจุดประสงค์ต่อมาเพื่อนำเสนอต่อ
ผู้อ่านที่สนใจ ให้ได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ หวังว่าหนังสือ
เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้ อย หากหนังสือเล่มนี้มีข้อผิด
พลาดประการใด คณะผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้ า

เรื่อง 1
2-3
ความหมายของนาฏศิลป์ 4
ความเป็ นมาของนาฏศิลป์ ไทย 5-6
7-12
ความสำคัญของนาฏศิลป์ ไท
ย 13-14
15-17
เพลงรำวงมาตราฐาน 18-20
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ของไทย 21
นาฏยศัพท์
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ที่ใช้แทนคำพูด
ภาษาท่าแสดงกริยาอาการ
ภาษาท่าแสดงอารมณ์ความรู้สึก

นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้ อนรำ หรือความรู้แบบแผน
ของการฟ้ อนรำเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม
ให้ความบันเทิง อันโน้ มน้ าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อย
ตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้า
ร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการ
ร้องรำทำเพลง

การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง
นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย
จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว
ยังเป็ นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน
โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และ
ถ่ายทอดสืบต่อไป

นาฏศิลป์ไทย หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น
ฟ้ อน รำ ระบำโขนหรือความรู้แบบแผนของการฟ้ อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ นิสัยใจคอของคนในท้องถิ่นนั้นๆหรือเป็น
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง อันโน้ ม
น้ าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามโดยอาศัยการบรรเลง
ดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย

1

ความเป็นมา
ของนาฏศิลป์

ไทย

๑.การเลี ยนแบบธรรมชาติ

แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ
ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา

ก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็
หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน

ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษา
สื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้ม
แย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก

ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบ
เรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน

๒.การเซ่ นสรวงบู ชา

มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อ
ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่
ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าว
ปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพ
บูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัด
ทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงคราม
ปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำ
เพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

2

๓.การรั บอารยธรรมของอิ นเดี ย

เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญ
รุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลา
นาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึง
พลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการ
ละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

3

ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

-นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็น ศวิกปลรกาจรรเาริปดครบะตสุณะตแรรแร-ิริรืสค้ข่นมยรอากนดางาดเารงฏงลงีกฉงคตศรแตรงา่ิต่กมราศ่ดลรางูิงง(มปนปสๆลศๆก์ปิ(ตเัาถปศ้ปลสยน์็เิารชนนปลี่ถ(น)กแรศทะาีปูหาใิป่ปหปรนัละกลตกหรร่สกาืปงารลอยาะรร่ระกร้ปกใอทาออนวรรงอำตืกมฉรบะ่ออ่นพุาามฉาัขรกปงๆกนอา(แขๆก)กธัใบ์บ)นรง)บรณ้์อง
เอกลักษณ์ประจำชาติ แสดงถึง

อารยประเทศ ความเจริญรุ่งเรืองของ
ประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์
ภูมิปัญญาไทย จารีต ประเพณี และ

วัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็น
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นมรดกที่
สำคัญของชาติ จึงควรแก่การอนุรักษ์
และสืบทอดต่อไป

บมุคคีกคคคาวชลรเวิำวสาวเกนีมาคา-ยาภมมานมมญงาัลจ่ืกพาร่นฏูำอล้หขกนใ้ศแ็จอรนาิจาลืแฎลอไมงสะหะศสปปผิาดูว์้กลยาฏชแึ่ิมทงยวดสภีิป่่งอด์าายดเจูรณขปึพอส้็ถนงันนดฒงกีปเ่อกาใทฏนิงหแิดแาำ้บลาชาลผัใีูมคตพห้ะแ้ิะหมมตสไวีีด่ทาท้าดกอำ่มดไาใีงไดทหมป้้ีาไชงืด่อ้ -นาฏศิลป์ทำให้เกิด
ความสามัคคีกันในหมู่คณะ
นาฏศิลป์ทำให้ผู้แสดงมีความ
สามัคคีกัน เพราะผู้แสดงต้อง
ร่วมกันแสดงท่ารำทาง
นาฏศิลป์ เพื่อให้การแสดง
นาฏศิลป์นั้นออกมาเรียบร้อย
และงดงาม

4

เพลงรำวงมาตรฐาน

1. เพลงงามแสงเดือน
ชาย สอดสร้อยมาลา
หญิง สอดสร้อยมาลา

2.เพลงชาวไทย
ชาย ชักแป้งผัดหน้า
หญิง ชักแป้งผัดหน้า

3.เพลงรำมาซิมารำ
ชาย รำส่าย
หญิง รำส่าย

4.เพลงคืนเดือนหงาย
ชาย สอดสร้อยมาลาแปลง
หญิง สอดสร้อยมาลาแปลง

5.เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ชาย แขกเต้าเข้ารังและผาลาเพียงไหล่
หญิง แขกเต้าเข้ารังและผาลาเพียงไหล่

5

6.เพลงดอกไม้ของชาติ
ชาย รำยั่ว
หญิง รำยั่ว

7.เพลงหญิงไทยใจงาม
ชาย พรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง
หญิง พรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง

8.เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ชาย ช้างประสานงาและจันทร์ทรงกลดแปลง
หญิง ช้างประสานงาและจันทร์ทรงกลดแปลง

9.เพลงยอดชายใจหาญ
ชาย จ่อเพลิงกาฬ
หญิง ชะนีร่ายไม้

10.เพลงบูชานักรบ
ชาย จันทร์ทรงกลด/ขอแก้ว
หญิง ขัดจางนาง/ล่อแก้ว

6

บุคคลสำคัญในวงการ
นาฏศิลป์ของไทย

7

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

ประวัติ

มีนามเดิมว่า แผ้ว สุทธิบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๔๖ เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ถวายตัวในสมเด็จ
พระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และได้รับการฝึกหัดนาฏศิลป์ กับครู
อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในราชสำนักเช่น เจ้าจอมมารดาวาดและเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ ๔ เจ้า
จอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมแย้ม ในนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หม่อมอึ่งใน
สมเด็จพระบัณฑูรฯ จนมีความรู้ความสามารถออกแสดงละครเป็นตัวเอกในโอกาสที่แสดงถวายทอด
พระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายครั้ง ท่านแสดงเป็นอิเหนาและ
นาดรสาในเรืองอิเหนา เป็นพระพิราพและทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์ทางด้านการศึกษาวิชาสามัญท่านจบ
หลักสูตรจากโรงเรียนในวังสวนกุหลาบในรัชสมัยพระมหาธีรราชเจ้า

การศึกษา ผลงาน

ผลงานเกี่ยวกับการแสดงศิลปะนาฏกรรม เช่น ท่ารำของตัวพระ นาง พ.ศ. 2454 เมื่ออายุได้ 8 ปี ได้เข้าถวาย
ยักษ์ ลิง และตัวประกอบ การแสดงโขน ละครชาตรี ละครนอก ละคร ตัวในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า
ใน ละครพันทาง และระบำฟ้อนต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดง จัดทำ อัษฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
บทและเป็นผู้ฝึกสอน ฝึกซ้อม อำนวยการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้า โดยในชั้นต้นได้เข้าฝึกหัดนาฏศิลป์ต่อ
พระที่นั่ง ในวโรกาสต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อาคันตุกร และงานของ ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในราชสำนัก
รัฐบาล หน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดต้อนรับเป็นเกียรติแก่แขกผู้มาเยือน ขณะนั้น ได้ออกแสดงเป็นตัวเอก ในการ
ประเทศไทย เป็นผู้คัดเลือกตัวละครให้เหมาะสมตามบทบาทในการแสดง แสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง
ต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดงวางตัวศิลปินผู้แสดงต่างประเทศเพื่อเชื่อม ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่
สัมพันธไมตรี และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยการ หัวหลายครั้ง
ฝึกซ้อมในการแสดงโขน ละคร การละเล่นพื้นเมิง ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่
กรมศิลปากรจัดแสดงแก่ประชาชน ณ โรงละครแห่งชาติ สังคีตศาลา
ในต่างจังหวัดและทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ

8

ครูจําเรียง พุธประดับ

ประวัติ

นางสาวจำเรียง พุทธประดับ เกิดวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๕๙ ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็น
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร มีความ
สามารถรอบรู้กระบวนการงานนาฏศิลป์ การแสดงละครทุกประเภทเป็นหลักและแม่
แบบ โดยเฉพาะตัวนาง เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนการแสดงนาฏศิลป์การละครรวมทั้ง
สร้างสรรค์ และประดิษฐ์ผลงานการแสดงของวิทยาลัยหลายชุด เป็นผู้ร่วมพิจารณา
หลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และพัฒนาร่างหลักสูตรรายวิชา ตลอดจนสื่อการ
เรียนการสอนระดับปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและวิทยากรในวิชาศิลปะนิพนธ์
นิเทศการสอนวิชานาฏศิลป์ไทย ทั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปะส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เป็นวิทยากรอบรมวิชานาฏศิลป์แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาค
เอกชน เป็นศิลปินผู้แสดงดีเด่น เป็นหัวหน้าคณะไปแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมในต่าง
ประเทศ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมและคุณธรรม อุทิศตนเพื่อประโยชน์ทางการ
ศึกษาในสาขาวิชานาฏศิลป์อย่างสม่ำเสมอมากกว่า ๕๐ ปี ตลอดจนให้คำปรึกษา
แนะนำแก่ศิษย์และบริการงานสังคมอย่างดียิ่งจนเป็นที่ยอมรับในวงการนาฏดุริยางค์
ศิลป์ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

นางสาวจำเรียง พุทธประดับ สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชู
เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-ละคร) ประจำปี
พุทธศักราช ๒๕๓๑

9

หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก



ประวัติ

นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ชื่อเดิม ต่วน เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘ ปีมะแม ตรงกับวันที่
๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติ อำเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อ
นายกลั่น ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลำไย เป็นชาว
พระนครศรีอยุธยา
นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๕ คน หม่อมครูต่วนมีความสนใจในด้านละคร
และเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ ฝึกหัดเป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดา
ของพระยาวชิตชลธาร (ม.ล. เวศน์ กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝนจน
สามารถแสดงเป็นตัวนางได้อย่างดี และเป็นที่เมตตาปราณีของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์
มาก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์
รับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่อง เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการฝึกหัดให้แสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เคยแสดงมาแล้วแทบทุบทบาท ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการ
จัดตั้งกองมหรสพ ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละครดึกดำบรรพ์ตัวนาง เมื่อมีการยุบกระทรวง
วัง ก็ออกจากราชการ แต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ใน
ปัจจุบัน) กรมศิลปากร หม่อมต่วนก็ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับ
ความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย จนได้รับการยกย่องด้วยความนับถือว่า “หม่อมครูต่วน”
ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศุภลักษณ์” เนื่องจากเคยรับ
บทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๙๙ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

10

ครูลมุล ยมะคุปต์

ประวัติ

เกิดวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 พื้นเพเป็นชาวจังหวัดน่าน เป็นธิดา
ของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติกับนางคำมอย คุณลมุล สมรสกับ
นายสงัด ยมะคุปต์ มีบุตรธิดทั้งหมด 13 คน และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่
30 มกราคม พ.ศ.2526 อายุรวม 77 ปี 7 เดือน 28 วัน
จุดเริ่มต้นทางด้านนาฎศิลป์ของท่านเริ่มต้นจาก บิดาพาไปถวายตัวเป็น
นางละคร ณ วังสวนกุหลาบ เริ่มฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบและ
ย้ายไปศึกษาด้านละครใน ณ วังเพชรบูรณ์
ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือ
เป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ
ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร
อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระ
มงกุฎ อินทรชิต พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลาย
บัว พระพันวษา เป็นต้น

11

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์
(เทศ สุวรรณภารต)




ประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2469 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นละคร
หลวง สำนักพระราชวังรุ่นสุดท้าย ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่
หัว เป็นนาฏศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและแบบ
ราชสำนัก เคยแสดงเป็นตัวเอกในละครแบบต่างๆ ให้กรมศิลปากรมาแล้ว
มากมายหลายเรื่องหลายตอน บทบาทที่ได้รับการยกย่องและนิยมชมชอบจากผู้
ชมมากที่สุด “ตัวพระ” เช่น อิเหนา สังข์ทอง พระไวย ไกรทอง สัตยวาน บาง
ครั้งก็แสดงเป็น “นางเอก” เช่น ละเวงวัลลา เป็นต้น
แม่ครูสุวรรณี เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนท่ารำนาฏศิลป์ไทย และละครรำไว้ได้มาก
ที่สุด เคยแสดงและนำคณะไปแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลายประเทศ ได้
ถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ให้กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และ
โรงเรียนต่าง ๆ หลายแห่ง เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมคุณธรรม และอุทิศ
ตนเพื่อประโยชน์ให้แก่สาขาวิชาชีพมาเป็นเวลากว่า 50 ปี จนเป็นที่ยอมรับกัน
ในวงการนาฏศิลปินว่า เป็นผู้มีความสามารถสูงยิ่งต่อเนื่องมาตลอด ท่านจึงได้
รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์
– ละครรำ) พุทธศักราช 2533

12

นนาาฏฏยยศศััพพทท์์

13

นาฏยศัพท์

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบ
การพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยใน
ทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่

อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียน
แบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทาง

นาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้

1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อิริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้า

14

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด

การเปรียบเทียบท่าทางธรรมชาติ กับภาษาท่าของตัวพระและตัวนาง

1.ท่าแนะนำตัวเอง

เป็นการทำมือซ้ายตั้งวงหน้าแล้วพลิกข้อมือ เปลี่ยนเป็นจีบหัน
เข้าหาตัวระหว่างอกมือขวาเท้าสะเอว หรือจีบหลังก็ได้

2. ท่าท่าน

เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง โดยใช้ส่วนทั้งหมดของฝ่ามือในลักษณะ
ของการตะแคงสันมือระดับศีรษะ นิ้วเหยียดตึงให้ปลายมือไปสู่ผู้ที่กล่าว
ถึง ผู้ที่อาวุโสหรือศักดิ์สูงกว่า

3. ท่าปฏิเสธ

เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งวงหน้า สั่นปลายนิ้วไปมาช้าๆ

4. ท่าเรียก

เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งวงด้านหน้า แล้วกดข้อมือลง
เดินมือเข้าหาตัวเล็กน้อย เอียงตรงข้ามกับมือที่เรียก

5. ท่าไป

เป็นการทำมือจีบหงายระดับไหล่ แล้วหมุนข้อมือเป็นจีบคว่ำลง
หักข้อมือ ปล่อยจีบออกเป็นวง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ทำ

15

ท่าแนะนำตัวเอง

ท่าท่าน

ท่าปฏิเสธ 16

ท่าเรียก

ท่าไป

17

ภาษาท่าแสดงกริยาอาการ

ท่านั่งตัวนางและตัวพระ

ตัวพระ นั่งพับเพียบไปทางขวา แยกเข่าซ้ายออกให้เท้าซ้ายวางหน้าหัวเข่าขวา มือ
ซ้ายเหยียดตึงแบมือตั้งบนเข่าซ้ายมือขวางอแขนแบมือตั้งบนขาขวา ลำตัวตั้งตรง

ตัวนาง นั่งพับเพียบไปทางขวา เชิดปลายนิ้วเท้ามาด้านหน้าเท้าขวาซ้อนบนเท้า
ซ้าย มือซ้ายแบมือวางบนขาขวาด้านนอก มือขวาแบมือวางถัดมาทางด้านใน งอแขนขวา
เอียงขวา

ท่ายืน

ตัวพระ ใช้เท้าขวายืนรับน้ำหนัก ส่วนเท้าซ้ายวางเท้าเหลื่อมเท้าขวา ตึงเข่าซ้ายเชิด
ปลายนิ้วเท้าขึ้น มือขวาเท้าสะเอว มือซ้ายแบฝ่ามือวางแนบไว้ที่หน้าขา ศีรษะเอียงไปทาง
ขวา กดไหล่ขวาลง

ตัวนาง ยืนด้วยเท้าขวา เท้าซ้ายวางเหลื่อมไว้ เชิดปลายนิ้วเท้าซ้าย มือขวาจีบ
หงายที่ชายพก มือซ้ายแบมือวางบนหน้าขาซ้าย เหยียดแขนตึง ศีรษะเอียงซ้าย กดไหล่
ซ้าย

ท่านางไหว้ พระรับไหว้

เป็นการพนมมือระหว่างอก แยกปลายนิ้วให้ออกจากกัน

ท่าเดิน

ตัวพระ เริ่มด้วยการก้าวเท้าซ้ายมาข้างหน้า เท้าขวาเปิดส้นเท้า มือทั้งสองจีบ
คว่ำระดับเอวข้างลำตัวทั้งสองข้าง แล้วปล่อยจีบเป็นมือขวาตั้งวงล่างระดับเอว มือ
ซ้ายตั้งมือทอดแขนข้างลำตัวเอียงขวา ต่อไปก้าวเท้าขวา ส่วนเท้าซ้ายเปิดส้นด้าน
หลัง มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบเป็นมือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาแบออกทอดแขน
ข้างลำตัวเอียงทางซ้าย ทำสลับกันไปเรื่อยๆ

ตัวนาง (ท่าเดินมือเดียว) เริ่มด้วยก้าวเท้าซ้ายด้านหน้า เท้าขวาเปิดส้น มือ
ซ้ายทำจีบหงายที่ชายพกมือขวาแบมือตั้งแขนตึง แล้วหยิบจีบคว่ำแล้วเคลื่อนมือมา
ปล่อยเป็นวงล่างเอียงขวา ต่อด้วยก้าวเท้าขวาด้านหน้า เท้าซ้ายเปิดส้น มือซ้ายจีบ
หงายเหมือนเดิม หยิบจีบคว่ำที่ชายพก แล้วเคลื่อนมือขวาไปข้างลำตัว ปล่อยจีบเป็น
มือแบแขนตึง กดไหล่และเอียงศีรษะไปทางซ้าย ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา

18

ท่านั่งตัวนางและตัวพระ

ท่ายืนตัวนางเเละตัวพระ 19

ท่า นางไหว้ พระรับไหว้

ท่าเดิน

20

ภาษาท่าแสดงอารมณ์ความรู้สึก

ท่าดีใจ

เป็นการใช้มือซ้ายกรีดจีบ หักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้และหัว
แม่มือหันเข้าหาใบหน้าให้อยู่ตรงกับปาก

ท่ารัก

เป็นการทำมือทั้งสองตั้งวงไขว้กันระดับอก แล้วหมุน
ข้อมือทาบลงที่ฐานไหล่

ท่าอาย

เป็นการใช้ฝ่ามือแตะข้างแก้มใกล้ขากรรไกร ก้าวเท้าข้าง
ที่มือแตะแก้มไขว้ไปอีกด้านตรงข้าม (ก้าวหลบคนที่เรา
อาย) ส่วนใหญ่เป็นท่าของตัวนาง

ท่าร้องไห้

เป็นการใช้มือซ้ายแตะที่หน้าผากมือขวาจีบหงายที่ชายพกตัวพระ
มือขวาเท้าสะเอวก้มหน้าเล็กน้อยพร้อมสะดุ้งตัวขึ้นเหมือนกำลังสะอื้น
แล้วจึงใช้นิ้วชี้ซ้ายแตะที่นัยน์ตาทั้งสองข้างเหมือนกำลังเช็ดน้ำตา

ท่าโกรธ

เป็นการใช้ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งถูที่ก้านคอใต้ใบหูไปมา
แล้วกระชากลงถ้ากระชากเบาๆก็เพียงเคืองใจแต่ถ้ากระ-
ชากแรงๆพร้อมทั้งกระทีบเท้าลงกับพื้นแสดงว่าโกรธจัด

ท่าโศกเศร้า, เสียใจ, ห่วงใย 21

เป็นการประสานลำแขนส่วนล่าง ใช้ฝ่ามือทั้งสองวาง
ทาบระดับหน้าท้องใกล้ๆกระดูกเชิงกราน


Click to View FlipBook Version