The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ลำดับพิธีการในงานพระราชทานเพลิงศพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by royalfuneralsystem, 2022-03-31 05:08:23

ลำดับพิธีการในงานพระราชทานเพลิงศพ

ลำดับพิธีการในงานพระราชทานเพลิงศพ

ศาสนพิธี ถือว่าเป็นแบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ
อันเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา ซ่ึงศาสนิกชนพึงปฏิบัติสืบต่อ
กันมาจนเป็นประเพณีที่นักปราชญ์ของไทยได้กาหนดไว้เป็น
รูปแบบสืบทอดกันมาแต่บรรพชน โดยศาสนพิธีแบ่งออกเป็น
๔ ประเภท ได้แก่ กุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธี และปกิณกพิธี โดย
องค์ประกอบของพิธีที่เรียกกันว่า “พิธีการ” นั้น นับว่าเป็น
ขั้นตอนของพิธีที่กาหนดไว้ตามลาดับตั้งแต่เริ่มต้นจนจบพิธี
เพื่อให้การจัดกิจกรรมในพิธีนั้น ๆ เป็นไปด้วยความถูกต้อง
เรยี บร้อยและสวยงามอันจะนามาซ่ึงความศรัทธาและความเชื่อ
ในการจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งในส่วนของผู้ ที่เข้าร่วมพิธี แล ะ
ผูท้ ี่ได้พบเหน็

สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี สานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน
ไดจ้ ดั ทาองคค์ วามรูเ้ กย่ี วกับพธิ ีการศพท่ีไดร้ ับพระราชทาน เรือ่ ง “ลำดบั พธิ กี ำรในงำนพระรำชทำนเพลิงศพ” โดยรวบรวม
และเรียบเรียงองค์ความรู้จากตาราและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพ่ือวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ภารกิจงานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานให้ข้าราชการ บุคคลผู้ทาคุณประโยชน์และประชาชนผู้สนใจเกิดความรู้
ความเขา้ ใจถงึ ลาดบั พธิ กี ารในงานพระราชทานเพลิงศพอย่างถูกต้องและเหมาะสม ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
ด้านพิธีการศพท่ีได้รับการรักษาสืบทอดต้ังแตอ่ ดตี จนถึงปจั จุบันให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เรยี บร้อย สงา่ งาม และสมพระเกียรติ
ตามโบราณราชประเพณี

พิธีการศพนั้นจัดเป็นศาสนพิธีประเภทบุญพิธีเก่ียวกับการอวมงคลที่เป็นประเพณีเก่ียวเนื่องกับการดาเนินชีวิต
ในครอบครัวและสังคม เพ่ือบุญกุศลและความเป็นสิริมงคลแก่ตน บุพการี ครอบครัว ญาติมิตร ผู้ท่ีเคารพรักใคร่
ผู้ท่ีเคารพนับถือหรือบุคคลผู้ท่ีล่วงลับท่ีประสงค์จะอุทิศผลบุญไปให้ โดยสามารถจาแนกกิจกรรมพิธีการศพเก่ียวกับ
การอวมงคลได้ออกเป็น ๒ สว่ น คือ

๑. พิธีการศพท่ีได้รับพระราชทานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้าหลวง
เพลิงพระราชทาน ดินพระราชทาน และเคร่ืองเกียรติยศประกอบศพ (โกศ หีบ เคร่ืองสูง และผ้าไตรพระราชทาน)
ให้แก่ ผู้วายชนม์ ซ่ึงเป็นข้าราชการ ประชาชนผู้ประกอบคุณงามความดี บุคคลผู้ทาคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
และประชาชนที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์ของสานักพระราชวัง อันเป็นภารกิจที่ปฏิบัติมาต้ังแต่โบราณกาล โดยพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชบายเกี่ยวกับพิธีการศพไปให้รัฐบาลดาเนินการ โดยกระทรวงวัฒน ธ ร ร ม
ตัง้ แตว่ ันท่ี ๑ มกราคม ๒๕๖๒ ท้งั ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

๒. พิธีการศพตามประเพณีของท้องถ่ินหรือชุมชนท่ีจัดกันตามประเพณีนิยม ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
ซง่ึ ตา่ งปฏบิ ตั ิสืบตอ่ กนั มาจนเคยชนิ ตามแบบของวดั หมบู่ า้ น หรอื ของสังคมนน้ั ๆ

กระทรวงวัฒนธรรม ได้น้อมรับสนองงานตามพระบรมราโชบายเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ซึง่ ตาม
หลักเกณฑ์ของสานักพระราชวังที่ได้กาหนดไว้ เมื่อทายาทหรือหน่วยงานต้นสังกัดผู้ขอพระราชทานแล้วแต่กรณีได้เสนอ
เรื่องขอพระราชทานเพลิงศพแจ้งมายังสานักพระราชวัง โดยติดต่อขอพระราชทานได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุด
นกั ขัตฤกษ์ ตงั้ แตเ่ วลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ฝ่ายการพระราชทานเพลิง กองพระราชพธิ ี สานักพระราชวงั ในพระบรมมหาราชวัง
กรุงเทพมหานคร หรืองานประสานขอพระราชทานเพลิง ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
อย่างใดท้ังสิ้น ซึ่งหากศพนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ท่ีจะได้รับพระราชทานเพลิงศพ กองพระราชพิธี สานักพระราชวังจะได้
ออกหมายรับส่ัง แจ้งให้เจ้าภาพเพ่ือทราบ จากนั้นทายาทหรือผู้ขอพระราชทานรับพระราชทานกล่องเพลิงพระราชทาน
เบ้ืองหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี จากน้ัน
เชิญกล่องเพลิงพระราชทาน ไปต้ังไว้ในที่อันสมควรต่อไป เช่น สถานที่ราชการ สถานท่ีจัดงาน วัดหรือบ้าน เป็นต้น
โดยจัดโต๊ะปผู ้าขาว แล้วนากล่องเพลิงพระราชทานวางบนพานให้เรียบร้อย โดยเม่ือถึงกาหนดวันที่ขอพระราชทานเพลิงศพ
ตามหมายรบั สงั่ มแี บบปฏบิ ตั ิพิธกี ารตามลาดับ ดงั นี้

๑. การปฏิบัติศาสนพิธีก่อนการพระราชทานเพลิงศพ
เ จ้ า ภ า พ หรื อทายาทประกอบพิ ธี กรรมทางศาสนาตามความเหมาะสม
เช่น การถวายภัตตาหารเพล การสวดมาติกา บังสุกุล การแสดงพระธรรม
เทศนา การนาศพเวียนเมรุ แล้วเชิญขึ้นตั้งบนจิตกาธาน (เว้นแต่กรณี
งานพระราชทานเพลิงศพกรณีศพหีบหรือโกศ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี
กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ปฏิบัติในการเชิญหีบศพหรือโกศศพเวียนเมรุ
แล้วเชิญข้ึนตัง้ บนจติ กาธาน) เป็นตน้

๒. การมอบเงินหรือส่ิงของหรือการแสดงมหรสพหน้าเมรุหรือสถานท่ีประกอบพิธี หากเจ้าภาพหรือทายาท
มีความประสงค์ท่ีจะมอบเงินหรือส่ิงของให้แก่วัด พระภิกษุ สามเณร สถานศึกษา โรงพยาบาล องค์การ หรือสถานสาธารณกุศล
มูลนิธิ หน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ฯลฯ เพ่ือทานุบารุงพระพุทธศาสนา บารุงการศึกษา หรือเพ่ือการสาธารณประโยชน์
การราหรือการแสดงมหรสพ ควรปฏิบัติก่อนที่จะเร่ิมการทอดผ้าบังสุกุล เพื่อให้การปฏิบัติงานพิธีดาเนินไปได้อย่างต่อเน่ือง
ตามลาดับ เพ่ือใหเ้ กิดความเรียบรอ้ ยและสวยงาม

๓. กำรทอดผ้ำบังสุกุล เจ้าภาพหรือทายาทควรจัดลาดับและเชิญ
ผู้ทอดผ้าบังสุกุลจากผู้มีอายุน้อยไปหาผู้มีอายุมาก (ในกรณีผู้ท่ีทอดผ้าบังสุกล
มียศ ตาแหน่งให้เจ้าภาพหรือทายาทพิจารณาตามความเหมาะสม)
โดยเชิญผู้ทอดผ้าบังสกุ ลตามที่เจ้าภาพหรอื ทายาทจัดลาดับไว้ให้เรียบรอ้ ยกอ่ น
เ ห ลื อ เ พี ย ง ผ้ า บั ง สุ กุ ล ไ ว้ ชุ ด เ ดี ย ว ส า ห ร ับ ผู ้เ ป ็น ป ร ะ ธ า น แ ล ้ว เ ช ิญ ผู ้เ ป ็น
ประธานเป็นคนสุดท้าย ซึ่งผู้ขึ้นไปทอดผ้าบังสุกุลไม่ควรวางดอกไม้จันทน์
ก่อนผู้เป็นประธาน และการทอดผ้าบังสุกุล เพ่ือให้พระภิกษุพิจารณาง่าย
ใหว้ างผา้ บังสุกุลขวางบนผา้ โยง
ผ้เู ชิญผา้ บงั สกุ ลุ นาผ้าบงั สุกุลวางบนพานไปรอทเ่ี ชิงบันไดหน้าเมรุหรอื สถานทีป่ ระกอบพธิ ี เมื่อผ้ทู อดผา้ บงั สุกลุ มาถึง
ทาความเคารพโดยการคานับหรือยืนตรงแล้วแต่กรณี แล้วจึงเดินตามทางซ้ายมือของผู้ทอดผ้าบังสุกุลขึ้นไปที่ต้ังศพ
ทาความเคารพ ส่งผ้าบังสุกุล ทาความเคารพ แล้วถอยหลังยืนรอ เม่ือพระภิกษุพิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้ว ผู้เชิญ
ผ้าบังสุกุลถือพานเดินตามผู้ทอดผ้าบังสุกุลถึงเชิงบันได ทาความเคารพอีก ๑ ครัง้
เมื่อศาสนพิธีกรประกาศเชิญผู้ทอดผ้าบังสุกุล ให้ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเดินขึ้นเมรุหรือสถานที่ประกอบพิธีไปยังที่ตั้งศพ
แลว้ ทาความเคารพศพโดยการไหว้หรือคานบั ศพแลว้ แต่กรณี รบั ผา้ บงั สุกลุ จากผเู้ ชิญผ้าบังสุกุล วางผ้าบงั สุกลุ ขวางบนผ้าโยง
ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเคารพศพแล้วเย้ืองถอยหลังเล็กน้อย เพ่ือรอพระภิกษุพิจารณา ศาสนพิธีกรนิมนต์พระสงฆ์ข้ึนพิจารณา
ผ้าบังสุกุล ขณะท่ีพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลยืนประนมมือ เมื่อพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้ว
พระสงฆแ์ ละผทู้ อดผ้าบงั สุกลุ เดนิ ลงจากเมรหุ รือสถานท่ีประกอบพธิ กี ลบั ไปท่ีนง่ั

๔. กำรตั้งแถวรอรับกำรเชิญกล่องเพลิงพระรำชทำน เมื่อใกล้ถึง
กาหนดเวลาพระราชทานเพลิงศพตามหมายรับสั่งภายหลังจากเสร็จสิ้น
การทอดผ้าบังสุกุลและเหลือเพียงผ้าบังสุกุลไว้ชุดเดียวสาหรับผู้เป็นประธานแล้ว
ศาสนพิธีกรจะเรียนเชิญเจ้าภาพหรือทายาท บุตร หลาน ญาติ หรือผู้ท่ีเคารพ
นับถือผู้วายชนม์ต้ังแถวและซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อรอรับการเชิญ
กล่องเพลิงพระราชทานตามความเหมาะสมกับสถานที่และกลับ เข้าประจาที่
หลังจากการเชิญกล่องเพลิงพระราชทานขึ้นไปยังเมรุหรือสถานที่ประกอบพิธี
เสร็จแล้วเพื่อดาเนินขั้นตอนต่อไป โดยหากรับราชการควรแต่งกายเครื่องแบบ
ปกติขาว ไว้ทุกข์ แต่หากไม่ได้รับราชการควรแต่งกายชุดสากลสีเข้ม สวมปลอกแขนทุกข์ตามประเพณีนิยม เสื้อแขนยาว
กระโปรงยาวคลมุ เข่า รองเทา้ ห้มุ ส้น

โดยเจ้าภาพหรือทายาทสามารถขอความอนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ปฏิบัติ
ในการเชิญกล่องเพลิงพระราชทานได้ เพื่อให้การปฏิบัติงานพิธีดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย สง่างาม
และสมพระเกียรติ ทั้งนี้ ในระหว่างท่ีเจ้าหน้าที่ผู้เชิญกล่องเพลิงพระราชทานเดินมาถึงแถวไปยังเมรุหรือสถานที่ประกอบพิธีนั้น
มขี ้อควรปฏบิ ัตติ น ดงั นี้

๔.๑ ผอู้ ยใู่ นแถวทุกคนแสดงความเคารพกล่องเพลงิ พระราชทานดว้ ยการยนื ตรง
๔.๒ ผู้ร่วมงานแสดงความเคารพด้วยการนั่งโดยไม่ต้องยืนข้ึนหรอื ยืนอยู่กับทด่ี ้วยอาการสงบ สารวม งดการพูดคุยกนั
และไมเ่ ดินไปมา

๕. กำรอ่ำนหมำยรับส่ัง เพ่ือแสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
สำนึกในพระมหำกรุณำธิคุณ (สาหรับฆราวาส กรณีศพพระสงฆ์ไม่ต้องอ่าน
สานึกในพระมหากรุณาธิคุณ) เพื่อแสดงถึงการได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ในการพระราชทานเพลิงศพ ประวัติผู้วำยชนม์และคำไว้อำลัย เพ่ือเป็น
การประกาศเกียรตคิ ุณตามลาดับ

๖. กำรยืนหรือน่ังไว้อำลัย
เมื่อมีการอ่านประวัติผู้วายชนม์
และคาไว้อาลัยจบแล้ว ศาสนพิธีกรเชิญผู้ร่วมงานยืนไว้อาลัยหรือนั่งด้วยจิต
อันเป็นสมาธิ (กรณีศพพระสงฆ์) เพื่อเป็นการราลึกถึงคุณงามความดีของ
ผู้วายชนม์ พร้อมท้ังเป็นการแสดงเจตนาอุทิศส่วนกุศลที่บาเพ็ญมาให้แก่ผู้วายชนม์
ประมาณ ๑ นาที หรือตามเวลาทศี่ าสนพิธีกรกาหนด ในระหวา่ งนั้นศาสนพิธกี ร
ไม่ควรกล่าวสง่ิ ใดจนกวา่ จะครบเวลาท่กี าหนด

๗. การประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ
เม่ือถึงกาหนดเวลาพระราชทานเพลิงศพตามหมายรับส่ัง ให้ศาสนพิธีกรเชิญผู้เป็นประธานเป็นลาดับแรก
เพ่อื ประกอบพธิ ีพระราชทานเพลงิ ศพ โดยปฏิบตั ิตามขน้ั ตอนแบบใดแบบหนง่ึ แล้วแตก่ รณี ดงั นี้

๗.๑ แบบท่ี ๑ ให้ปฏิบัติ ดงั น้ี
๑) ทอดผา้ บงั สุกลุ และนมิ นต์พระสงฆข์ น้ึ พิจารณาผา้ บงั สุกุล
๒) ถวายความเคารพไปในทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ จากนั้นหยิบดอกไม้จันทน์

จุดไฟพระราชทาน แล้ววางบนจิตกาธานบริเวณฐานฟืน เคารพศพ แล้วถวายความเคารพไปในทิศท่ีพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยหู่ ัวประทับอกี ครัง้ เป็นเสร็จพธิ ี หรือ

๓) ยกมือไหว้ก่อนหยิบดอกไม้จันทน์ จุดไฟพระราชทาน แล้ววางบนจิตกาธานบริเวณฐานฟืน
เคารพศพ เป็นเสร็จพิธี

๗.๒ แบบท่ี ๒ กรณีศพที่ได้รับพระราชทานเคร่ืองเกียรติยศประกอบศพชั้นโกศแปดเหล่ียม จะได้รับ
พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร โดยเจ้าภาพหรือทายาทจะต้องจัดหาผ้าไตรแบ่งจานวน ๕ ไตร เพ่ือให้ผู้เป็นประธานทอดผ้าไตร
บังสุกุลบนเมรุ และจัดเงินถวายพระสงฆ์ โดยท่ีกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นผู้นิมนต์พระสงฆ์ข้ึนพิจารณาผ้าไตรบังสุกุล
โดยใช้พัดยศ ใหป้ ฏบิ ัติ ดงั น้ี

๑) ถวายความเคารพไปในทิศท่ีพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวประทับ ก่อนหยิบผ้าไตรทอดถวายพระสงฆ์
บังสุกุล นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าไตรบังสุกุล รอพระสงฆ์
พิจารณาเสร็จแล้วลงจากเมรุหรือสถานที่ประกอบพิธี จากนั้น
หยิบดอกไม้จันทน์ จุดไฟพระราชทาน แล้ววางบนจิตกาธาน
บริเวณฐานฟืน แลว้ ถวายความเคารพไปในทศิ ท่พี ระบาทสมเด็จ
พระเจา้ อยู่หัวประทบั อกี ครง้ั เคารพศพ เป็นเสรจ็ พิธี

๒) ยกมือไหว้ก่อนหยิบผา้ ไตรทอดถวายพระสงฆ์บังสุกุล
นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าไตรบังสุกุล รอพระสงฆ์พิจารณาเสร็จแล้วลงจากเมรุหรือสถานท่ีประกอบพิธี
จากน้นั ยกมือไหวก้ ่อนหยิบดอกไม้จันทน์ จุดไฟพระราชทาน แล้ววางบนจติ กาธานบรเิ วณฐานฟนื เคารพศพ เปน็ เสร็จพิธี

๗.๓ ขณะเมือ่ ผู้เปน็ ประธานจุดไฟพระราชทาน ผู้รว่ มพิธียนื แสดงความเคารพพร้อมกัน
๗.๔ กรณศี พข้าราชการทหาร ตารวจ เป่าแตรนอน ก่อนจุดไฟพระราชทาน
๗.๕ กรณีไดร้ ับเชิญจากเจ้าภาพหรือทายาทให้เป็นประธานประกอบพธิ ีพระราชทานเพลงิ ศพ ควรแต่งกาย ดังน้ี

๑) ขา้ ราชการทงั้ ชายและหญิง แต่งกายเคร่อื งแบบปกตขิ าว ไวท้ กุ ข์
๒) บุคคลทัว่ ไป

๒.๑) สุภาพบุรุษ แต่งกายชุดสากลนิยมสีเข้ม สวมปลอกแขนไว้ทุกข์ หรือชุดไทย
พระราชทานแขนยาวสีดา

๒.๒) สภุ าพสตรี แตง่ กายชดุ ไทย หรือชดุ สุภาพสีดา เส้อื แขนยาว กระโปรงยาวคลมุ เข่า

๘. กำรขึ้นวำงดอกไม้จันทน์ หลังจากผู้เป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ และลงจากเมรุหรือสถานที่
ประกอบพิธีแล้ว โดยเมื่อเดินถึงจิตกาธานให้ยืนตรง โค้งคานับหรือน้อมตัวยกมือไหว้ แล้ววางดอกไม้จันทน์บนจิตกาธาน
หรอื ท่ีจดั เตรยี มไว้ เดนิ ลงจากเมรุหรือสถานทป่ี ระกอบพธิ เี พ่ือกล่าวแสดงความเสียใจกบั เจ้าภาพหรือทายาทตามลาดับ ดงั น้ี

๘.๑ พระสงฆ์
๘.๒ ขา้ ราชการท่ีแตง่ กายเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์
๘.๓ แขกผู้มีเกียรติ ผู้ร่วมพิธี
๘.๔ บรรดาญาติมิตร
ท้ังน้ี เจ้าภาพหรือทายาทอาจจะยืนประจาท่ีบริเวณด้านหน้าเมรุหรือสถานที่ประกอบพิธีเพ่ือกล่าวขอบคุณ
และมอบของท่รี ะลึกแกผ่ ู้รว่ มงานดว้ ยก็ได้

๙. มำรยำทท่ัวไปในสงั คมในกำรไปงำนพระรำชทำนเพลิงศพ
๙.๑ ควรแต่งกายไว้ทุกข์แก่ผู้วายชนม์ตามศาสนนิยม หรือประเพณีนิยมของท้องถิ่นหรือ ชุมชน

ส่วนบุตร หลาน หรือญาติ รวมท้ังผู้ท่ีเคารพนับถือผู้วายชนม์ที่รับราชการ ถ้าแต่งกายเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์
กจ็ ะเป็นเกยี รติแก่ผู้วายชนม์และยงั นับวา่ เป็นการถวายพระเกยี รติแด่สถาบันพระมหากษตั รยิ อ์ ีกด้วย

๙.๒ การเดินตามศพเวียนเมรุ ให้เดินในลักษณะสารวม เดินเวียนซ้าย ๓ รอบ โดยให้เมรุอยู่ทางซ้ายมือ
ของผเู้ ดนิ

๙.๓ การเดินขึ้นและลงเมรหุ รือสถานที่ประกอบพิธนี นั้ ใหเ้ ดินตามลาดบั อยา่ งสภุ าพ สารวม และเปน็ ระเบยี บ
ตามทางทก่ี าหนด

๙.๔ การยืนเคารพ ให้ยืนตรงแสดงความเคารพ เมื่อมีการเชิญศพผ่านหรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยว แตรนอน
หรอื ผเู้ ป็นประธานวางเครื่องขมา หรอื จุดไฟพระราชทาน ไมว่ า่ จะมเี พลงประโคมหรือไมก่ ต็ าม

๙.๕ การยืนตามลาดับ ให้ยนื เรียงแถวเป็นระเบียบตามลาดับกอ่ น - หลงั อย่างสภุ าพ
๙.๖ การน่ัง ควรเข้าน่ังในท่ีท่ีเหมาะสม หรือที่ท่ีเจ้าภาพหรือทายาทจัดไว้ให้ด้วยอาการสารวมกิริยา
ไมไ่ ขว่ห้าง ไมก่ ระดิกเท้า ไมส่ บู บุหร่ี และไม่พูดคุยกันเสยี งดัง

จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติพิธีการที่ถูกต้อง มีความเป็นระเบยี บเรียบร้อย สวยงาม และเป็นไป ในแนวทาง
เดียวกันย่อมจะก่อให้เกิดความเล่ือมใสศรัทธาของผู้ท่ีได้พบเห็น เป็นเคร่ืองแสดงเกียรติยศของเจ้าภาพ
หรือทายาทและผู้เข้าร่วมพิธี ตลอดจนท้ังยังเป็นการธารงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่ดีงาม
และเอกลักษณ์ของชาติท่ีมีการสบื สานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยรฐั บาลและกระทรวงวัฒนธรรมไดน้ ้อมรับ
สนองงานสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระบรมราโชบายอย่างสมพระเกียรติ สร้างความภาคภูมิใจและ
ความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ให้แก่ทายาท ครอบครัว วงศ์ตระกูลของ
ผู้วายชนม์ ข้าราชการ บุคคลผู้ทาคุณประโยชน์ ประชาชนที่วายชนม์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ประกอบคุณงามความดีและ
กระทาคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้รับเกียรติอันสูงยิ่งในวาระสุดท้า ย
แห่งชีวิตอย่างเท่าเทียมทั่วถึง ตลอดจนเกิดความสานึกในพระมหากรุณาธิคุณและมุ่งม่ันในการทาคุณประโยชน์
ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติ โดยสามารถขับเคลื่อนภารกิจงานเก่ียวกับพิธีการศพท่ีได้รับพระราชทาน
ให้เป็นไปตามแนวทางที่กาหนดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
ตามโบราณราชประเพณี เรยี บร้อย สง่างาม และสมเกียรตยิ ศตามฐานันดรศักดิ์ ชัน้ ยศของผูว้ ายชนม์ท่ีไดร้ ับพระราชทาน

บรรณานุกรม

หนงั สอื
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๐). คู่มือการปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ .ี กรงุ เทพฯ : โรงพิมพช์ มุ นมุ สหกรณ์

การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จากดั .
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๖๓). ศาสนพิธีและมารยาทไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพช์ ุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
กรมส่งเสริมวฒั นธรรม กระทรวงวฒั นธรรม. (๒๕๖๓). มารยาทไทย มารยาทในสงั คม. กรงุ เทพฯ : สานกั งาน

กจิ การโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผา่ นศึก.

ภาพประกอบ
กลุม่ พธิ กี ารศพทีไ่ ด้รบั พระราชทาน สานักงานวฒั นธรรมจังหวดั ปราจีนบรุ ี
คุณวสนั ต์ วณิชชากร (Wason Wanichakorn) : Fanpage Facebook.com/ชา่ งภาพบา้ นนอก
Fanpage Facebook.com/Kie Patawee (ปัฐทว.ี )
Fanpage Facebook.com/Nakhonnayok Art Studio

เรียบเรียง
วา่ ทีร่ อ้ ยตรี มนตรี ใจงาม
ตาแหนง่ นักวชิ าการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
กล่มุ พิธีการศพทไ่ี ด้รบั พระราชทาน สานกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั ปราจนี บุรี


Click to View FlipBook Version