The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cstd, 2021-05-18 05:17:53

เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน

เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน

Keywords: เส้นทางท่องเที่ยว

เสน ทางการทองเที่ยว

เ ช่ื อ ม โ ย ง เ ส น ท า ง

R3A

ไทย สปป.ลาว และจีน

กระทรวงการทองเทยี่ วและกฬี า

ขอมลู ทางบรรณานกุ รมสาํ นักหอสมุดแหงชาติ
กระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา.
เสนทางการทองเที่ยวเช่ือมโยงเสน ทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน. –
กรงุ เทพฯ: 2562. 97 หนา : ภาพประกอบ, แผนที่.
1. คมู อื และขอ มลู ทองเท่ียว
ISBN

เสนทางการทองเทีย่ วเชื่อมโยงเสน ทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน

ISBN กระทรวงการทอ งเทีย่ วและกฬี า
ผเู ขยี น/ผูเรยี บเรียง
พมิ พครัง้ ท่ี 1 พทุ ธศักราช 2562
จัดพิมพโดย
กองยุทธศาสตรแ ละแผนงาน
จาํ นวนการพมิ พ กระทรวงการทองเท่ียวและกฬี า
พมิ พท ี่ เลขท่ี 4 ถนนราชดําเนนิ นอก แขวงวดั โสมนัส
เขตปอมปราบศตั รพู าย กรุงเทพฯ 10100
โทร : 0-23560571 โทรสาร : 0-2356-0561

200 เลม

สาํ นักพิมพจฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลัย

โครงการพัฒนาและสง เสรมิ การทองเทยี่ ว
เช่ือมโยงเสน ทาง R3A
ไทย สปป.ลาว และจนี

ดาํ เนินการเพ่ือขบั เคลอื่ นแผนพัฒนาการทองเที่ยว
แหงชาติ ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2560-2564) ใหเกิดผล
อย า ง เป น รู ปธ ร ร มเ พื่ อ พัฒ น า แล ะ ส งเ ส ริ ม
การทองเที่ยว สรางเครือขายดานการทองเท่ียวของ
ประเทศในอนุภูมิภาคลุมนํ้าโขง พัฒนาเสนทางการ
ทองเที่ยวเชื่อมโยง ไทย สปป.ลาว และจีน
ผานเสนทาง R3A เพ่ือสงเสริมการพัฒนาสินคา
และบริการใหมีคุณภาพ เพ่มิ ศักยภาพในการแขงขัน
ดานเศรษฐกิจ และเพื่อสรางเครือขายใหเกิดความ
ม่ันคงในพื้นที่ตามแนวเสนทางทองเท่ียวเชื่อมโยง
เสนทาง R3A ไทย สปป.ลาว และจีน ใหภาค
ประชาชนมสี วนรวมมากขึ้น กอใหเกิดการสรางงาน
สรางรายไดใหแ กประเทศ จงั หวัดและชมุ ชน

สารบญั หนา

1. รจู กั เสนทาง R3A 3

2. ขอ มูลแหลง ทองเที่ยวจังหวดั เชียงราย: 7
จดุ เรมิ่ ตนของเสนทาง R3A

3. ขอ มลู แหลงทอ งเทยี่ ว 48
แขวงบอแกว สปป.ลาว

4. ขอมูลแหลง ทอ งเทย่ี ว 57
แขวงหลวงน้ําทา สปป.ลาว

1

สารบญั หนา

5. ขอมลู แหลง ทอ งเทยี่ วเขตปกครองตนเอง 66
ชนชาติไท สิบสองปนนา ประเทศจนี

6. แผนการเดนิ ทางและเสน ทางทอ งเทยี่ ว 75
ทางเลอื กอน่ื ท่นี า สนใจ

7. แนวทางการพฒั นาและสง เสรมิ การ 93
ทองเท่ียวเช่อื มโยง

8. ตารางขอ มูลแหลง ทองเทยี่ ว 95

2

R 3 A1 รจู ักเสนทาง
เสนทาง R3A เปนสวนหน่ึงของถนนเสนทางสาย คุนหมิง – กรุงเทพฯ
(คุนมั่นกงลู : 昆曼公路 ซึ่งมีความยาวท้ังสิ้น 1,056 กิโลเมตร ประกอบดวย
เสนทาง 3 ชว ง พาดผาน 3 ประเทศ ไดแ ก

• เสนทางจากนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน เขาสูเขตปกครอง
ตนเองชนชาติไทสิบสองปนนา ผานเมืองเชียงรุงไปจรดชายแดนจีน–ลาว
ท่ีบอ หาน เมอื งลา ในเขตชายแดนจนี ระยะทาง 183 กโิ ลเมตร

• ตอดวยเสนทางจากบอหาน ชายแดนจีน เขาสู สปป.ลาว ท่ีบานบอเต็น
เมืองสิง แขวงหลวงน้ําทา เช่ือมตอไปยังเมืองหวยทราย แขวงบอแกว
รวมระยะทางทง้ั สน้ิ 243 กโิ ลเมตร

• จากนั้นเขาสูประเทศไทย ดวยเสนทางจากเมืองหวยทราย แขวงบอแกว
สปป.ลาว ขามแมนํ้าโขง ผานสะพานมิตรภาพไทย–ลาวแหงที่ 4
เขา สูอ ําเภอเชียงของ จงั หวัดเชยี งราย

ท่ีมา: http://www.ftawatch.org/node/43536 เสนทาง R3A ยังเปนสวนหน่ึงของ
ระเบยี งเศรษฐกิจแนวเหนือ–ใต (North –
South Economic Corridor: NSEC)
ภายใตแผนงานการพัฒนาความรวมมือ
ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุมแมน้ําโขง
หรือ GMS (Greater Mekong Sub–
Region Economic Cooperation
Program) เสนทางสาย R3A นอกจากมี
ความสําคัญตอการคา การลงทุน และ
ความมั่นคงของจีนแลว ยังเปนเสนทาง
ทอ งเท่ยี วทส่ี าํ คญั ของทั้ง 3 ประเทศ

3

4

แผนทแ่ี สดงระเบียงเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลมุ แมน ํ้าโขง
ท่ีมา : Greater Mekong Subregion Operations Center

5





2

ขอ มลู จากสาํ นักอทุ ยานแหง ชาต,ิ ศูนยบริการขอมลู ทองเที่ยวจงั หวัดเชยี งราย,
thawan-duchanee.com, ศนู ยขอมูลกลางทางวัฒนธรรม, สมาคมทองเที่ยวเชยี งราย (CTA)

7

สงิ ห ปารค
(Singha Park)
หรอื ไรบ ุญรอด

8

สิงห ปารค (Singha Park) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกวา ไรบุญรอด

ตั้งอยูริมถนนสายเดนหา-ดงมะดะ อําเภอเมือง หางจากตัวเมืองเชียงราย
ประมาณ 9 กโิ ลเมตรบนพ้นื ทก่ี วา 8,000 ไร มคี วามสูงของพื้นท่ีเฉล่ีย 450 เมตร
เหนอื จากระดับนํ้าทะเล ทําใหในฤดูหนาวอากาศของฟารมและสวนดอกไมแหงนี้
เย็นสบายอยา งยงิ่ ดว ยสภาพของพ้นื ทเี่ ปนที่ลาดสลบั เนินเขาลูกเล็ก ๆ ทําใหสิงห
ปารคเหมาะสมอยางย่ิงสําหรับการเพาะปลูกพืช ดอกไม และผลไมเมืองหนาว
หลากหลายชนิด อาทิ ชาอูหลงสายพันธุจินซวน (Jin Xuan) หรือ ชาอูหลง
เบอร 12 ชาสายพันธุไตหวันท่ีชาวไทยนิยมดื่มมากท่ีสุดสายพันธุหน่ึง พุทรา
พันธุซ่ือหมี่ สตรอวเบอรรีสายพันธุพระราชทาน 80 แคนตาลูปและมะเขือเทศ
พันธุเลื้อย ดวยการประดับตกแตงภูมิสถาปตย (Landscape ท่ีสวยงามดวย
ดอกไมหลากหลายชนิด มีเสนทางปนจักรยาน สวนสัตวขนาดเล็ก งานศิลปะ
กลางแจงจํานวนมาก รวมถึงรานขายอาหารรสเลิศและกิจกรรมท่ีจัดเปนประจํา
อาทิ เทศกาลดนตรี งานแสดงบอลลูนนานาชาติ ทําให สิงห ปารค กลายเปน
จดุ หมายทางการทอ งเที่ยวที่ตอ งหามพลาดเมื่อมาจงั หวดั เชียงราย

9

พระตาํ หนักดอยตงุ และ
สวนแมฟา หลวง

พระตําหนักดอยตุง ต้ังอยูในเขตอําเภอแมฟาหลวง หางจากตัวเมือง
เชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร พระตําหนักดอยตุงเคยเปนที่ประทับ
แปรพระราชฐานเพ่ือทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใน
รัชกาลท่ี 9 พระตําหนักมีรูปทรงผสมผสานระหวางศิลปะลานนากับชาเลตของ
ประเทศสวิตเซอรแลนด มีการแกะสลักไมตามกาแล เชิงชายและขอบหนาตาง
เปนลวดลายตางๆ โดยฝมือชางชาวเหนือ บริเวณโดยรอบของพระตําหนักมี
สวนดอกไมหลากพันธุหลายสีสวยงามสดช่ืน โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเห็น
หมอกจางๆ บริเวณยอดเขารอบพระตาํ หนัก

10

สวนแมฟ าหลวง
อยูดานหนาพระตําหนักดอยตุง มีเน้ือที่ประมาณ 10 ไร เปนสวนดอกไม

เมืองหนาว อาทิ ดอกซัลเวีย พิทูเนีย บีโกเนีย กุหลาบ ดอกลําโพง ไมมงคลตางๆ
ไมยืนตน และซุมไมเล้ือยอีกมากกวา 70 ชนิด มีรูปปนตอเน่ืองฝมือของ มีเซียม
ยิบอนิ ซอย (Misiem Yipintsoi)
หอแหง แรงบนั ดาลใจ

เปนอาคารแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และพระราชวงศ มีหองจัดแสดงนิทรรศการ 8 หอง นอกจากน้ันยังมีรานขายของ
ท่ีระลึก เสื้อผาไหม ผลิตภัณฑจากโครงการหลวงท้ังผัก-ผลไม ดอกไม พรรณไม
ตา งๆ ใหซ ้อื กลับไปเปนของฝาก
DoiTung Tree Top Walk

เปนเสนทางศึกษาธรรมชาติบนเรือนยอดไม เพ่ือเดินสํารวจภายใน
สวนแมฟา หลวง พระตําหนกั ดอยตุง สรา งข้ึนเหนือยอดไมใหญภายในสวนอันเขียว
ขจี ไดสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นและธรรมชาติท่ีงดงาม ทาทายความกลาของ
นักทองเท่ียวผูช่ืนชอบความสูง โดยแบงออกเปน 6 ชวง บนระดับความสูง 10-20
เมตร ลดหลน่ั ไปตามจังหวะของตนไมแ ละความลาดชัน

11

พระธาตุดอยตุง

พระธาตุดอยตุง พระธาตุท่ีมีอายุเกาแกมากกวา 2,000 ป และเปน
โบราณสถานสําคัญคูบานคูเมืองของภาคพื้นลานนา ประเทศไทย ตั้งอยูบริเวณ
กิโลเมตรที่ 17.5 บนทางหลวงหมายเลข 1149 เปนที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซาย
(กระดูกไหปลารา ของพระพุทธเจา นํามาจากมัธยประเทศ นับเปนครั้งแรกท่ี
พระพทุ ธศาสนาลัทธิลังกาวงศไดมาประดิษฐานที่ลานนาไทย เมื่อกอสรางพระสถูป
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงไดประดิษฐธงตะขาบซ่ึงภาษาพ้ืนเมืองเรียกวา “ตุง”
ท่ีใหญยาวถึงพันวาปกไวบนยอดดอย ถาหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหนก็จะ
กาํ หนดเปนฐานพระสถูป เหตุน้ีดอยซึ่งเปนที่ประดิษฐานปฐมเจดียแหงลานนาไทย
จงึ ปรากฏนามวา “ดอยตุง”

ท้ังน้ีพระธาตุดอยตุงเปนปูชนียสถานที่สําคัญ เม่ือถึงเทศกาลนมัสการ
พระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 3 หรือ ชวงราวเดือนมีนาคมของทุกป จะมี
พุทธศาสนิกชนท้ังชาวไทยและเพื่อนบานจากประเทศใกลเคียง เชน ชาวเชียงตุง
ในรัฐฉาน สหภาพพมา ชาวหลวงพระบาง ชาวเวียงจันทน สปป.ลาว เดินทางมา
นมัสการทกุ ป

12

วัดรองขนุ

วัดรองขุน อยูในตําบลปาออดอนชัย อําเภอเมือง ออกแบบและกอสราง
โดย อาจารยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ศิลปนแหงชาติสาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม
และทีมงาน เริ่มบูรณะปรับปรุงอุโบสถเดิมของวัดรองขุนเม่ือ พ.ศ.2540 บนพ้ืนท่ี
เดิมของวัด 3 ไร ภายหลังขยายพื้นที่วัดเพ่ิมเปน 12 ไร วัดอยูหางจากตัวเมือง
เชียงราย 12 กิโลเมตร บนเสนทางไปจังหวัดพะเยา เลี้ยวขวาท่ีสามแยกทางไป
น้าํ ตกขุนกรณประมาณ 100 เมตร วัดอยูซา ยมือ

พระอุโบสถสีขาวตกแตงดวยลวดลายกระจกสีเงินแวววาว เปนเชิงชั้น
ลดหลั่นกันไป หนาบันประดับดวยพญานาค เพ่ือมุงจรรโลงใหเปนงานศิลปของ
แผนดนิ รัชกาลท่ี 9 ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอโุ บสถและหองแสดงภาพวาด
ของอาจารยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน โดยรวบรวมผลงานจริงที่อาจารยเฉลิมชัย
สะสมไวออกแสดง พรอมภูมิหลังและแรงบันดาลใจในการสรางสรรคผลงาน
นับเปนอกี หน่ึงหอศิลปท่ีมีความนาสนใจอยา งย่ิง

13

ดอยแมส ลอง

14

ดอยแมสลอง

ดอยแมสลอง เปนที่ต้ังของหมูบานสันติคิรี เดิมช่ือ บานแมสลองนอก
เปนชุมชนผูอพยพจากกองพล 93 ของสาธารณรัฐจีน (จีนคณะชาติ อพยพจากจีน
ตอนใต ผานเมียนมา และสปป.ลาวเขามาในเขตประเทศไทยในชวงทศวรรษ
ค.ศ. 1940-1950 จํานวน 2 กองพัน คือ กองพันที่ 3 เขามาอยูที่อําเภอฝาง จังหวัด
เชยี งใหม และกองพนั ที่ 5 อยูทบี่ านแมส ลองนอก ตงั้ แต พ.ศ. 2504

ในเดือนธันวาคมถงึ กมุ ภาพนั ธด อกนางพญาเสือโครง ซึ่งเปนซากุระพันธุที่เล็ก
ท่ีสุด สีชมพูอมขาวจะบานสะพร่ังตลอดแนวทางข้ึนดอยแมสลอง เปนพรรณไมท่ีหา
ชมไดยากในเมืองไทย เพราะเจรญิ เตบิ โตอยแู ตเ ฉพาะในภูมอิ ากาศหนาวจดั เทา นน้ั

จุดนาสนใจบนดอยแมส ลอง เชน ชมไรชาและศกึ ษาวิธีการผลิตชา ซึ่งปจจุบัน
ใบชาจากตนชาจากดอยแมสลองกําลังเปนนิยมอยางยิ่งในหมูนักทองเที่ยวชาวจีน
เพราะนอกจากรสชาติที่เปนเลิศแลว ใบชาเหลาน้ียังมีมูลคาในการสะสมอีกดวย
นักทองเที่ยวสามารถขี่มาชมทิวทัศนรอบหมูบานเจียงจาใส และชมอนุสรณสถาน
อดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย และศึกษาเร่ืองราวและประวัติของ
ชาวดอยแมส ลอง โดยจะมีไกดค อยนาํ ชม

การเดินทางใชเสนทางเชียงราย-แมจัน 28 กิโลเมตร เลยจากอําเภอแมจัน
ไป 1 กิโลเมตร มที างแยกซายไป 23 กิโลเมตร ผานหมูบานผาเดื่อ ซึ่งเปนจุดแวะชม
และซ้ือหัตถกรรมชาวเขา จากนน้ั เดินทางจากบา นอกี อสามแยก ตรงไปดอยแมสลอง
ระยะทาง 10 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 64 กิโลเมตร เปนทางลาดยาง
ตลอดสาย และจากดอยแมสลองมีถนนเช่ือมตอไปถึงบานทาตอน อําเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม ระยะทาง 45 กิโลเมตร ในกรณีไมไดขับรถมาเองใหข้ึนรถประจํา
ทางจากตวั เมืองเชียงรายไปตอ รถสองแถวท่ีปากทางข้นึ ดอยแมส ลอง

15

ดอยหวั แมค ํา

ดอยหัวแมคํา อยูสูงจากระดับทะเล 1,850 เมตร
เปนที่ต้ังหมูบานชาวเขาขนาดใหญ ประกอบดวยเผาลีซอเปนกลุม
ชนสวนใหญ นอกจากนี้ยังมีอีกอ มง และมูเซอ ในชวงตรุษจีนของ
ทุกปชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ซึ่งเปรียบเสมือน
วันข้ึนปใหม ในวันน้ันชาวลีซอจะแตงกายสวยงาม จัดงานเลี้ยง
เตนระบาํ 7 วัน 7 คนื ในเดือนพฤศจิกายนเปนชวงท่ดี อยหัวแมคํา
จะเต็มไปดวย “ดอกบัวตอง” สีเหลืองสดใสสะพร่ังอยูทั่วแนวเขา
เปน จดุ ชมววิ พระอาทติ ยข ึน้ และทะเลหมอก

ก า ร เ ดิ น ท า ง จ า ก เ ชี ย ง ร า ย ใ ช เ ส น ท า ง เ ดี ย ว กั บ ท า ง
ข้ึนดอยแมสลองสายเกา ทางหลวงหมายเลข 1130 แลวเลี้ยวขวา
ที่สามแยกอีกอ ผานบานเทอดไทยไปจนถึงบานแมคํา หางจาก
ตัวเมอื งเชยี งราย 100 กโิ ลเมตร บานหัวแมคําอยูเกือบสุดชายแดน
เสนทางเปนทางลูกรังคดโคงไปตามทิวเขา ใชเวลาเดินทาง
ประมาณ 3 ชว่ั โมง

ภาพจาก: การทองเที่ยวแหง ประเทศไทย

16

ดอยผาตง้ั

ดอยผาตัง้ ตง้ั อยใู กลทางหลวงหมายเลข 1093 กิโลเมตรที่ 89 เปนจุดชมวิว
ไทย-สปป.ลาว มคี วามสงู 1,635 เมตร สามารถเท่ียวชมทะเลหมอกและสัมผัสอากาศ
เย็นสบายไดตลอดท้ังป อากาศจะหนาวจัดในชวงเดือนธันวาคมและมกราคม ซึ่งเปน
ชว งท่ีดอกซากรุ ะบาน สว นเดือนกุมภาพนั ธจะมดี อกเส้ียวบานสะพร่ังงดงาม นอกจากนี้
ยงั เปน ท่ีต้ังของหมูบานชาวจีนฮอ มง และเยา โดยเฉพาะชาวจีนฮอในอดีตเคยเปนสวน
หน่ึงของกองพล 93 ซึ่งอพยพเขามาต้ังถ่ินฐานอยูท่ีดอยผาต้ัง ปจจุบันประกอบอาชีพ
ทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เชน บวย ทอ สาลี่ แอปเปล และชา

การเดินทางจากจังหวัดเชียงรายใชเสนทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-
บานตา ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152 ระยะทาง 50 กิโลเมตร บานตา-
บานทาเจริญ ทางหลวงหมายเลข 1020 ระยะทาง 45 กิโลเมตร บานทาเจริญ-เวียง
แกน-ปางหัด ทางหลวงหมายเลข 1155 ระยะทาง 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผา
ต้งั อีก 15 กิโลเมตร ณ จดุ ชมววิ ชอ งผาบอง สามารถมองเห็นแมน้ําโขงทอดตัวคดเคี้ยว
ในฝงสปป.ลาว หากเดินเทาตอไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103
ซึ่งสภาพเสนทางบางชวงสูงชัน

17

ดอยวาวี

18

ดอยวาวี

ดอยวาวี เปนชุมชนใหญของชาวจีนฮอ กองพล 93 ซ่ึงอพยพเขามา
ต้ังหลักปกฐานในชวงทศวรรษ ค.ศ.1940-1950 พรอม ๆ กับคณะผูอพยพท่ี
ดอยแมสลอง และยึดอาชีพปลูกชาและผลไมทามกลางบรรยากาศอันสงบเงียบ
และทิวทัศนงามของดอยสูงเชนเดียวกับชุมชนดอยแมสลอง แมหมูบานจะมี
ขนาดเล็ก แตผ ูม าเยอื นจะไดสัมผัสกล่ินอายชุมชนชาวจีนอันเรียบงาย ราวกับอยู
ทางแถบยูนนานตอนใตของจีน ดานนอกหมูบานจะพบดอยเขียวขจีดวยไรชา
ทีล่ ดหลน่ั ตามลาดเขา ชว ยประดับทิวทัศนชุมชนและเทอื กดอยใหงดงามชวนมอง

ใกลกับดอยวาวีมีจุดชมทะเลหมอกอยูบน "ดอยกาดผี" ซ่ึงเปน
แหลงทองเที่ยวยอดนิยมของอําเภอแมสรวย อยูหางจากดอยวาวีประมาณ
20 กิโลเมตร เสนทางคอนขางทุรกันดาร ระหวางทางยังผานหมูบานชาวอาขา
และเยา เมื่อข้ึนไปยืนบนชะงอนผาบนดอยกาดผีซึ่งสูง 1,500 เมตรจาก
ระดับน้ําทะเล จะเห็นทะเลหมอกหนาทึบเต็มหุบเขา พรอมกับทิวทัศนอลังการ
ของขนุ เขาสลับซบั ซอ น

สถานที่นาแวะ เชน “ดอยชาง” เปนท่ีต้ังสถานีวิจัยเกษตรที่สูงและ
หมูบานชาวเขา มีแปลงปลูกผลไมเมืองหนาวใหเท่ียวชม เชน เกาลัด บวย ทอ
พลับ พลัม ฯลฯ และไรกาแฟอาราบิกา โดยสามารถลองชิมกาแฟสดไดดวย
สวนสินคานาซ้อื ก็มที ัง้ ชาอูหลง ซ่ึงชาวจีนฮอวาวีนําชาพันธุชิงชิงและชาเบอร 12
มาปลูกเพ่ือผลิตเปนชาอูหลงคุณภาพดีไมแพตนตํารับจากไตหวันจนไดรับ
ความนยิ ม ลองชมิ ชากลิ่นหอมและซื้อเปนของฝากได

19

วนอุทยานภูชฟ้ี า

20

วนอทุ ยานภชู ้ีฟา เปนจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตยขึ้นท่ีสวยที่สุด
จุดหน่ึงของจังหวัดเชียงราย ภูชี้ฟาตั้งอยูหางจากดอยผาต้ังระยะทาง
25 กิโลเมตร มีลักษณะเปนยอดเขาท่ีแหลมชี้ขึ้นไปบนทองฟา อยูสูงจากระดับ
ทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหนาผาเปนแนวยาวยื่นไปทางฝงประเทศลาว
บนยอดภูช้ีฟาเปนทุงหญากวาง ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศนสวยงามเปนพิเศษ
นักทองเที่ยวสวนมากจะมาคางแรมบริเวณบานรมฟาทองทางซ่ึงหางจากจุด
ชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แลวจะเดินข้ึนภูช้ีฟาเพ่ือไปชมวิวตอนเชามืด โดย
สามารถขับรถยนตขึ้นไปถึงลานกางเต็นทที่อยูไมไกลจากยอดภูช้ีฟามากนัก

ระหวางทางเดินนักทองเท่ียวจะพบแปลงปลูกปานางพญาเสือโครง
ออกดอกบานสะพรั่งสวยงามในชวงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ โดยเฉพาะใน
เดือนกุมภาพันธ ตนเส้ียวดอกขาวรอบภูชี้ฟาจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา

การเดินทางใชเสนทางเชียงราย-เทิงระยะทาง 64 กิโลเมตร และจาก
เทิง-บานป ระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวซายเขาทางหลวงหมายเลข 1155
ผานบานปางคา บานเชงเมง เปนทางลาดยาง ถึงภูชี้ฟาระยะทาง 42 กิโลเมตร
หรือใชทางหลวงหมายเลข 1021 สายเทิง-เชียงคํา-บานฮวก กอนถึงเชียงคํา
6 กิโลเมตร มีทางแยกไปอุทยานแหงชาตินํ้าตกภูซางอีก 19 กิโลเมตร แลว
เดินทางตอไปยังภูชี้ฟาอีก 30 กิโลเมตร นักทองเท่ียวสามารถนํารถไปจอดไวท่ี
ลานจอดรถวนอทุ ยานภชู ้ีฟาแลวเดนิ เทาไปจุดชมววิ ประมาณ 700 เมตร

21

ถนนคนเดนิ เชยี งราย

และ ถนนคนมว นเชยี งราย

จังหวัดเชียงราย รวมกับ เทศบาลนครเชียงราย จัดโครงการถนนคนเดิน
เชียงราย "กาดเจียงฮายรําลึก" เชิญชวนนักทองเท่ียวและประชาชนรวมสัมผัส
วิถี ชีวิ ตแ บบ ล าน นา ใน อดี ต ท่ีแ ส ด งอ อก ถึ งวิ ถีชี วิต ศิ ล ปวั ฒน ธ ร ร ม
ภูมิปญญา และสินคาของดีของเชียงราย โดยจะจัดขึ้นทุกเย็นวันเสารของเดือน
ณ ถนนธนาลยั ต้ังแตสี่แยกสํานักงานยาสบู ฯ ไปจนถงึ ส่ีแยกธนาคารออมสิน

ขณะที่ทกุ เย็นวันอาทิตยของเดือนจะมี
"ถนนคนมวนเชียงราย" ซึ่งอยูบน
ถนนสันโคงนอย บริเวณการจัดงาน
แบงเปนหลายๆ สวน โดยมีกลุม
กจิ กรรมตา ง ๆ ทเี่ ขารวมเปน เครือขาย
ร ว ม กั น จั ด แ ส ด ง กิ จ ก ร ร ม ม า ก ม า ย
ตลอดเสน ทาง

22

พิพธิ ภณั ฑบา นดาํ

พิพิธภัณฑบานดํา ตั้งอยูท่ีตําบลนางแล อําเภอเมือง สรางขึ้นโดย
อาจารยถวัลย ดัชนี ศิลปนแหงชาติสาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม พ.ศ. 2544
นับเปนแหลงเรียนรูอันทรงคุณคาทางศิลปวัฒนธรรมแบบรวมสมัย มีเอกลักษณ
โดดเดน โดยภายในบานมีส่ิงกอสราง 43 แหง เชน วิหารเล็ก มหาวิหาร (อาคาร
พิพิธภัณฑศิลปะ บานสามเหลี่ยม (ท่ีพักรับรองนักเขียน ลูกศิษย และ
หอ งทํางาน เรอื นผกายแกว เรือนเชียงทองทาทาบรุง อปู ปรภพ (หองจิตวิญญาณ
และบานดาํ แกลเลอรี (ศูนยข อ มลู และรา นจําหนายของทรี่ ะลกึ

23

วดั พระแกว

จังหวดั เชยี งราย

24

วดั พระแกว จังหวดั เชยี งราย
เดิมช่ือวัดปาญะ หรือปาเยียะ (ปาไผชนิดหนึ่ง ต้ังอยูบริเวณ
ถนนไตรรตั น ตําบลเวียง อําเภอเมอื ง เปนวัดท่ีคนพบ พระแกวมรกต หรือ
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งปจจุบันประดิษฐานอยู ณ วัดพระศรี-
รัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ตามประวัติเลาวาเมื่อ พ.ศ. 1897
ในสมยั พระเจาสามฝงแกนเปนเจาเมืองเชียงใหมนั้น ฟาไดผาเจดียรางองค
หนึ่งและไดพบพระพุทธรูปลงรักปดทองอยูภายในเจดีย จึงไดนําไปไวใน
วิหาร ตอมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกะเทาะออกมาจึงไดพบวาเปน
พระพุทธรปู สเี ขียวสรา งดว ยหยก คอื พระแกวมรกต น่ันเอง

ปจจุบันชาวเชยี งรายไดสรา งพระแกว มรกตองคใหมข้ึนแทน เรียกวา
พระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณมงคล ซ่ึงสราง
ขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ
90 พรรษา ภายในวัดซีกกําแพงดานทิศใต มีพิพิธภัณฑโฮงหลวงแสงแกว
ลักษณะเปนอาคารทรงลานนาประยุกตสองชั้น เปนแหลงเรียนรู
ดานศาสนาและวัฒนธรรมลานนา รวบรวมจัดแสดงศิลปวัตถุท่ีสําคัญของ
วัด และสิ่งของที่มีผูนํามาถวาย เชน พระพุทธรูป พระธาตุ เครื่องใช
เก่ยี วกบั ศาสนาของลานนา เชน เครื่องบชู า ฉัตร ตงุ เคร่อื งเขนิ เปน ตน

25

อนุสาวรียพอขุนเมง็ รายมหาราช

26

อนสุ าวรียพอ ขนุ เมง็ รายมหาราช ตัง้ อยูที่หาแยกพอขุน อําเภอเมือง เสนทาง
ทจี่ ะไปอําเภอแมจ นั หรือแมส าย พอ ขนุ เม็งรายเปนกษัตริยองคท่ี 25 แหงราชวงศลัวะ
จังคราช เปนโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคําขยาย หรือ พระนางอั้วมิ่ง
จอมเมอื ง ประสูตเิ มื่อวันอาทิตย แรม 9 คํ่า เดือนอาย ปกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จ
สวรรคตที่เมืองเชียงใหม พ.ศ. 1854 พอขุนเม็งรายไดสรางเมืองเชียงรายข้ึนบนดอย
ทอง จากรากฐานเดิมท่ีเคยเปนเมืองมากอน เมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงเปนปฐมกษัตริย
แหงราชวงศเม็งราย และรวบรวมบานเล็กเมืองนอยเขาเปนอาณาจักรลานนาไทยจน
เจรญิ รุงเรอื งถงึ ปจจบุ นั

ประชาชนชาวเชียงรายรวมใจกันสรางอนุสาวรีย เพ่ือนอมรําลึกถึงพระเกียรติ
คุณของพอ ขุนเมง็ ราย ปนโดย นายปกรณ เล็กฮอน และทําพิธีเปดอนุสาวรียเม่ือวันท่ี
31 มนี าคม พ.ศ. 2507 อนสุ าวรยี เ ปนพระรูปของพระองคหลอดวยทองสัมฤทธิ์ขนาด
เทาคร่ึง ฉลองพระองคดวยเคร่ืองทรงพระมหากษัตริยลานนาโบราณ ประทับยืนบน
ฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบดวยพระหัตถซายแนบกับพระเพลา ทรงสวม
มาลัยพระกร พระหัตถขวาสวมพระธํามรงคท่ีน้ิวนางและน้ิวกอย พระหัตถซายสวม
พระธํามรงคท่ีนิ้วช้ี และทรงฉลองพระบาท มีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยูทาง
ดานหลังอนุสาวรีย ตรงฐานใตพระบรมรูปมีคําจารึกวา "พอขุนเม็งรายมหาราช
พ.ศ. 1782-1860 ทรงสรางเมืองเชียงรายขึ้นเปนเมืองแรกเม่ือ พ.ศ. 1805 ทรง
สถาปนาอาณาจักรลานนาไทยใหเปนปกแผน และทรงสรางความสามัคคีระหวางชน
ชาติไทย"

สวนกูพระเจาเม็งราย ต้ังอยูหนาวัดงําเมือง บนดอยงําเมือง กูนี้เปนอนุสาวรีย
สําคัญแหงหน่ึง เพราะเปนท่ีบรรจุอัฐิของพอขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกลาววา
พระเจา ไชยสงคราม ราชโอรสพระเจาเม็งราย เมื่อไดมอบราชสมบัติใหพระเจาแสนภู
ราชโอรสข้ึนครองนครเชียงใหมแลว พระองคไดนําอัฐิพระราชบิดามาประทับอยูที่
เมอื งเชียงราย และไดโปรดเกลา ฯ สรางกบู รรจุอัฐิของพระราชบดิ าไว ณ ดอยงําเมือง
แหง นี้

27

สวนรุกขชาติดอยชา งมูบ

ภาพจาก การทอ งเที่ยวแหง ประเทศไทย

ดอยชางมูบ เปนช่ือดอยที่สูงท่ีสุดของเทือกเขานางนอน
โดยสูงประมาณ 1,500 เมตรจากระดับน้ําทะเล มีอากาศเย็นสดช่ืนตลอดป
พื้นท่ีบริเวณน้ีเคยเปนดงฝนท่ีใหญที่สุด และเปนเสนทางลําเลียงยาเสพติด
หลกั ในภมู ภิ าค สภาพปาจงึ ถกู ทาํ ลายจนหมด

ตอมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชประสงค
ใหฟนฟูผืนปาแถบนี้ใหอุดมสมบูรณอีกคร้ัง โครงการพัฒนาดอยตุง ฯ
จงึ พัฒนาพนื้ ที่ใหเปนสวนรุกขชาติดอยชางมูบ รวบรวมพรรณไมพ้ืนเมืองและ
พรรณไมปาหายาก กุหลาบพันปจากหลายประเทศ ตนนางพญาเสือโครง
กลวยไมพ้ืนเมือง รองเทานารี ฯลฯ ปลูกอยูในสวนอยางเปนธรรมชาติกลาง
ปาสน มเี สนทางการเดนิ ลดั เลาะตามไหลเ ขา มีลานสําหรับพักผอนชมทิวทัศน
ได 360 องศา เห็นทวิ ทัศนประเทศเพ่อื นบานและลํานํา้ โขง

28

วนอทุ ยานถ้ําหลวง-ขนุ นํา้ นางนอน

ภาพจาก การทองเทย่ี วแหงประเทศไทย ว น อุ ท ย า น ถํ้ า ห ล ว ง - ขุ น น้ํ า น า ง น อ น
เปนวนอุทยานในเขตปาสงวนแหงชาติปาดอยนาง
นอน ต้ังอยูตําบลโปงผา อําเภอแมสาย จังหวัด
เชียงราย เน้ือท่ี 5,000 ไร ลักษณะภูมิประเทศเปน
ภูเขาขนาดใหญหลายลูกติดตอกัน ถ้ําหลวงเปนถ้ํา
หินปูนกึ่งแหงขนาดใหญ มีความยาวรวมทั้งสิ้น
10,316 เมตร ถือเปนถ้ําที่มีความยาวมากที่สุดเปน
อันดับ 4 ของประเทศไทย ปากถ้ําเปนโถงกวาง
และสูงกวาโถงถํ้าแรก ภายในถํ้าจะพบเกล็ดหิน
สะทอนแสง หินงอก หินยอย ธารน้ํา ถ้ําลอด และ
ถ้ําแขนง โถงถ้ํามีเสนทางคดเคี้ยว บางชวงมี
เพดานต่ํา ถ้ําหลวงเปนท่ีรูจักในระดับนานาชาติ
จากเ ร่ืองร าว คว ามส า มัคคีข องหน ว ยกูภั ย
อาสาสมคั รจากหลายประเทศ รวมถงึ เจา หนา ที่และ
จิตอาสาหลายภาคสวนในประเทศไทย เพื่อ
ปฏิบัติการคนหาและกูภัยผูประสบภัย 13 คนของ
ทีมฟุตบอลหมูปาอะคาเดมี ซ่ึงติดภายในถ้ําหลวง
วนอุทยานถํ้าหลวง-ขุนนํ้านางนอน อําเภอแมสาย
จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน –
10 กรกฎาคม 2561

29

ภูชี้ดาว และ ผาได

จุดชมวิวและที่เที่ยวแหงใหมในจังหวัดเชียงราย ตั้งอยูบนพื้นท่ีในความ
ดูแลของตําบลปอ อําเภอเวียงแกน ตั้งอยูตรงกลางระหวางภูช้ีฟาและดอยผาต้ัง
ท่ียังคงความอุดมสมบูรณทางธรรมชาติเอาไวอยางครบถวน ผูคนไมพลุกพลาน
มีความเงียบสงบ ส่ิงท่ีนักทองเท่ียวจะไดเห็นจากจุดชมวิวภูชี้ดาวคือการได
มองเห็นวิวโคงแมน้ําโขงอยูไกล ๆ และมองเห็นภูช้ีฟาตั้งเดนตระหงานอยูลิบ ๆ
เหลานี้ถือเปนองคประกอบทางทัศนียภาพท่ีสวยงามยากเกินจะบรรยาย
ทั้งน้ีทางเดินข้ึนไปยังภูช้ีดาวคอนขางมีความลาดชัน และตองไตระดับข้ึนไปตาม
สันเขา สองดานเปนเหวลึก ดังน้ันนักทองเที่ยวจึงควรใชความระมัดระวังในการ
เดนิ คอนขา งมาก มเิ ชน นัน้ อาจเกดิ อนั ตรายได

ใ น อํ า เ ภ อ เ วี ย ง แ ก น ยั ง มี แ ห ล ง ท อ ง เ ท่ี ย ว ท่ี น า ส น ใ จ อี ก ห นึ่ ง แ ห ง คื อ
สวนสาธารณะแกงผาได เหมาะกับการพักผอนหยอนใจ ชมธรรมชาติท่ีสวยงาม
ผาไดเปนจุดสุดทายของแมน้ําโขงที่ผานดินแดนภาคเหนือของไทย กอนท่ีจะ
ไหลวกกลบั เขามายงั ดินแดนไทยอีกคร้ังหนึ่งที่อาํ เภอเชยี งคาน จงั หวดั เลย

พื้นที่ในบริเวณน้ีมีความสําคัญอยางย่ิงตอประวัติศาสตรไทย เพราะเปน
บริเวณทีไ่ ทยเสียดินแดนคร้งั ท่ี 11 ใหกับฝร่ังเศส ทําใหสปป.ลาวมีดินแดนในฝง
ขวาของแมนํ้าโขงตลอดชว งจากจังหวดั เชียงรายสูจังหวดั เลย

30

ภูชดี้ าว

ผาได

31

ไรชาฉยุ ฟง

ต้ังอยูบนเน้ือท่ีตามเนินเขาของตําบลปาซาง อําเภอ
แมจัน มีพ้ืนท่ีมากกวา 1,000 ไร ปลูกชาคุณภาพดี ไรชาฉุยฟง
อยูสูงกวาระดับน้ําทะเลถึง 1,200 เมตร มีสภาพอากาศ
ที่เอ้ืออํานวยตอการเจริญเติบโตของชา จึงทําใหชาท่ีนี่มีรสชาติ
อรอยกลมกลอม มีความหอมเปนเอกลักษณ การันตีคุณภาพจาก
รางวัลตาง ๆ ตลอดมา ไรชาฉุยฟงเปดใหนักทองเที่ยวท่ัวไป
เ ข า ช ม ทั ศ นี ย ภ า พ ข อ ง ไ ร ช า พ ร อ ม ทั้ ง เ ลื อ ก ซ้ื อ สิ น ค า
และผลติ ภณั ฑอนื่ ๆ จากไรในราคายอ มเยา

32

วดั รอ งเสือเตน
ตั้งอยูที่หมูบานรองเสือเตน ตําบลริมกก อําเภอเมือง เปนสถานท่ี
ท อ ง เ ที่ ย ว แ ห ง ศ รั ท ธ า ที่ ถู ก พู ด ถึ ง ใ น เ ร่ื อ ง ข อ ง เ อ ก ลั ก ษ ณ ค ว า ม ง ด ง า ม ท า ง
สถาปต ยกรรม อนั เกดิ จากการสรางสรรคของศิลปนชาวบาน นายพุทธา กาบแกว
หรือ สลา นก ศลิ ปน ทองถ่นิ ชาวเชยี งราย ท่ีคร้ังหน่ึงไดรับโอกาสเขาไปเปนลูกศิษย
อาจารยเ ฉลมิ ชัย โฆษิตพิพัฒน ในการสรางวัดรองขุน จนมีโอกาสไดมาสรางวิหาร
วัดรองเสือเตน จึงไดนาํ วิชาท่ีไดร ํ่าเรียนมารังสรรคค วามงดงาม ณ ท่นี ่ี

จุดเดนของวัดรองเสือเตน คือ "วิหารรองเสือเตน" ซึ่งความโดดเดนของ
วิ ห า ร แ ห ง น้ี อ ยู ที่ ศิ ล ป ะ ข อ ง ตั ว วิ ห า ร ท่ี ส ว ย ง า ม แ ล ะ มี เ อ ก ลั ก ษ ณ น า จ ด จํ า
ใชโ ทนสนี า้ํ เงินและสฟี า เปนหลัก สอ่ื ถึงธรรมะขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา
อนั เปนหลักความจรงิ ตามเหตแุ ละผล เปรยี บเสมอื นทอ งฟา ท่สี ดใส

33

ศนู ยวปิ สสนาสากลไรเ ชิญตะวัน
(ว.วชริ เมธี

“ไถหวา นผานพน้ื แผนดินใจ เสาะแสวงสนิ ไสวเศกสวรรค
เยน็ ยงั หยดยังยงอยยู งั รทู นั เชิญตะวนั สาดแสงสผู มู าเยอื น”

34

ไรเชิญตะวัน เปนศูนยปฎิบัติธรรม ที่พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี
ไดสรางข้ึนจากแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนที่ปลีกวิเวกสวนตัว ใหกลายมาเปน
ท่ีสวนรวมเพื่อทุกคน โดยเฉพาะเพ่ือใหคนกรุงท่ีมีเวลานอยไดมีที่ปฏิบัติธรรม
เพื่อเสรมิ เตมิ พลงั กายใจกอ นกลบั ไปทาํ งานใหม

เดมิ สถานที่นี้เปนไรลิน้ จ่ีทล่ี ูกศิษยทานเจาคุณพระเมธีวชิโรดมไดซื้อไว
หลงั จากทท่ี านเจา คุณสอบไลไ ดเ ปรยี ญธรรม 9 ประโยค ต้ังแตป พ.ศ. 2545 ก็
ไดเ ดินทางมาปกกลด ปลีกวิเวกทุกเดอื น เน่ืองจากเวลาพระอาจารยมาที่นี่ก็จะ
มญี าตโิ ยมมาขอปฏิบตั ธิ รรมดว ยเสมอท้งั ชาวไทยและชาวตางชาติ จึงไดพัฒนา
พื้นท่นี ใี้ หเ ปนศูนยว ปิ สสนาสําหรบั ภาคเหนือ สวนที่มาของช่ือนั้นเน่ืองจากเดิม
เปนไรล้ินจ่ี ทุกเชาดวงอาทิตยจะขึ้นตรงฟากฝงเขา ซึ่งมีความงดงามมาก เมื่อ
นําความเปน ไรบวกกบั รุงอรณุ ของพระอาทติ ยยามเชา จึงไดช่ือวา

“ไรเ ชญิ ตะวนั ”

ศูน ย วิ ปส ส น าส า ก ล
ไ ร เ ชิ ญ ต ะ วั น ไ ด จั ด ห ลั ก สู ต ร
สํ า ห รั บ ค น ทํ า ง า น ใ น วั น ศุ ก ร
เสาร อาทิตย เปนหลักสูตรระยะ
สั้นสําหรับหนุมสาววัยทํางาน
เ ลิ ก ง า น ต อ น เ ย็ น วั น ศุ ก ร ก็
เดินทางมาอยูท่ีนี่เสารอาทิตย
ปฏิบัติสมาธิ คืนสูธรรมชาติ
จ า ก น้ั น จึ ง ก ลั บ ไ ป รั บ ผิ ด ช อ บ
หนาท่กี ารงานทีต่ นมี

35

เมืองโบราณเชียงแสน
และสามเหลี่ยมทองคาํ

36

แหลงโบราณคดีเชียงแสนมีประวัติความเปนมาต้ังแตพุทธศตวรรษ
ที่ 18-19 พงศาวดารโยนกไดจ ารึกถึงชุมชนนครโคมคํา เมืองโยนกนาคนครเชียงแสน
และอาณาจกั รลานนาไทย บรเิ วณลมุ แมน้ําโขง แมนํ้ากก แมนํ้าอิง แมนํ้าปง แมน้ําวัง
แมน้ํายม และแมนํ้านาน ต้ังแตสิบสองปนนาลงมาจนถึงเมืองหริภุญชัย (หริภุญไชย
จังหวัดลําพูนในปจจุบัน มีเจาครองนครสําคัญ ไดแก พญาสิงหนวัติ
พระเจาพังคราช พระเจาพรหมมหาราช และพญามังราย (ครองราชยที่เมืองเงินยาง
เมื่อราว พ.ศ. 1804 พญาสิงหนวัติ ถือวาเปนบุคคลสําคัญที่ไดสถาปนา
เมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัติข้ึนที่ลุมแมน้ําโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย
เม่ือ พ. ศ .1117 โดยแยงชิงท่ีดินจากพวกขอมดํา หรือ กลอม ที่มีอิทธิพลอยูแถบนั้น
พญาสิงหนวัติไดรวบรวมพวกมิลักขุ หรือ คนปาคนดอยเขามาอยูในอํานาจของเมือง
โยกนาคนครทําใหมีอาณาเขตทิศเหนือติดเมืองนาน ทิศใตจรดปากน้ําโพ ทิศ
ตะวันออกจรดแมนํ้าดําในตังเก๋ีย ทิศตะวันตกจรดแมนํ้าสาละวิน มีเมืองสําคัญ คือ
เมอื งไชยปราการ ดินแดนทางใตสดุ คอื เมืองกําแพงเพชร

อาณาจักรโยนกนาคนครแหงน้ีมีพระเจาแผนดินหลายพระองค เชน
พญาพังคราช พระเจาพรมหมราช พระเจาไชยสิริ ในสมัยพระเจามหาชัยชนะ
พ.ศ.1552 อาณาจักรโยกนกนาคนครไดเกิดน้ําทวมฉับพลันเนื่องมาจาก
พนังก้ันนํ้าหรือเขื่อนเหนือนํ้าพังทลายลง ทําใหเมืองกลายเปนแหลงนํ้าใหญ
(เขาใจวาเปนบริเวณที่เรียกวา เวียงหนองหลม ซ่ึงอยูไมหางจากทะเลสาบ
เชียงแสนและบรเิ วณแมนาํ้ กก ตอกับแมน ้ําโขงใกลวัดพระธาตุผาเงา จนเปนเหตุ
ใหบรรดาราชวงศกษัตริย และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตดวยเหตุนํ้าทวม
เมืองทั้งหมด สวนชาวบานที่รอดชีวิตไดประชุมปรึกษากันเลือกตั้งคนกลุมหนึ่ง
มิใชเชื้อสายราชวงศข้ึนดูแลพวกตน เรียกวา ขุนแตงเมือง จึงเปนท่ีมา
ของชอื่ "เวยี งปรกึ ษา" อีก 98 ปตอมาอาณาจกั ร โยนกนาคนครจงึ สิ้นสุด

37

ตอมา พญามังราย ผูสืบเชื้อสายมาจากผูเมืองเงินยางเมืองเชียงแสน
ไดทรงรวบรวมอาณาจักรลานนาไทยที่กระจัดกระจายใหเปนปกแผนขึ้นมาใหมและ
สรางเมอื งเชยี งรายขนึ้ เม่ือ พ.ศ.1805 ครั้งนั้นพระองคทรงยกทัพเขายึดอาณาหริภุญ
ชัยจากพวกมอญเชื้อสายของพระนางจามเทวี ไดใน พ.ศ. 1835 แลวต้ังอาณาจักร
ใหมขึ้นเรยี กวา อาณาจักรลานนา โดยระยะแรกมีเวียงกุมกาม เปนราชธานี แตเวียง
กุมกามเกิดน้ําทวมบอยคร้ัง จนพญามังรายตองขอคําปรึกษาจากพระสหาย คือ
พญางําเมือง เจาผูครองนครภูกามยาว (พะเยา เปนแควนอิสระเพียงแควนเดียวใน
ลานนาขณะนั้น และพอขุนรามคําแหงมหาราช (กษัตริยสุโขทัย เพ่ือหาชัยภูมิที่ดี
เหมาะแกก ารสรางเมือง จึงพบกับท่ีขางแมนํ้าปงและไดสรางเมืองช่ือ "นพบุรีศรีนคร
พงิ คเ ชยี งใหม" หรอื ตวั เมอื งเชียงใหมใ นปจ จุบัน

สถานท่ีทองเท่ียวท่ีนาสนใจในอําเภอเชียงแสนอีกแหงหน่ึงคือ สามเหลี่ยม
ทองคํา จุดชมวิวแมนํ้าโขงบรรจบกันกับแมนํ้ารวกที่เรียกวา สบรวก เปนพ้ืนที่
ชายแดนของ 3 ประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว และเมียนมา มาบรรจบกัน บริเวณนี้
โดง ดังไปทัว่ โลกจากตํานานและเร่ืองราวของฝน ท่ีน่ีเคยมีชนกลุมนอยและกองกําลัง
ติดอาวุธอยูหลายกลุม อีกท้ังเคยเปนแหลงปลูกฝน และผลิตยาเสพติดแหลงใหญ
มีโรงงานผลติ เฮโรอนี กระจายอยตู ามชายแดน สวนการลาํ เลยี งฝนจะไปเปนขบวนลัด
เลาะไปตามไหลเขาพรอมกําลังคุมกัน วากันวายาเสพติดและฝนจะถูกแลกเปลี่ยน
ดว ยทองคําในน้าํ หนักทีเ่ ทา กัน จงึ เปน ที่มาของช่ือ สามเหล่ยี มทองคํา

ขอมูลบางแหลงอางวาสถานการณยาเสพติดในพื้นที่น้ีเปนผลพวงมาจาก
ยุคสงครามเย็น หนวยงานดานขาวกรองของประเทศมหาอํานาจตะวันตกในชวงน้ัน
ไมสามารถจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลมาสนับสนุนกองกําลังตอตานคอมมิวนิสต
ในจีนและลาวท่ีมีฐานท่ีม่ันในบริเวณนี้ จึงหาทางออกโดยสนับสนุนใหปลูกฝน และ
นําเทคโนโลยีพัฒนาฝนจนกลายเปนเฮโรอีน รวมท้ังสนับสนุนเสนทางการคาโดย
ใหผลประโยชนกับเจาหนาที่ผูบังคับใชกฎหมายในบางพ้ืนท่ีของบางประเทศ
นีค่ ืออกี เร่ืองราวที่ทาํ ใหสามเหลยี่ มทองคาํ มีเสนห  และคุมคาท่จี ะมาเยือน

(Alexandrov N., 2014. “Meet the CIA’s 10 Favorite Drug Traffickers”,
https://www.alternet.org/2014/10/meet-cias-10-favorite-drug-traffickers/

38

ลอ งแมนํ้ากก

แมน้ํากก เปนแมนํ้าท่ีไหลมาจากบานทาตอนผานตัวเมืองเชียงราย
ความยาวรวมท้ังสิ้น 130 กิโลเมตร นักทองเที่ยวสามารถเชาเรือจากทาเรือริม
แมน้ําในตัวเมือง (ทาเรือซีอาร เพ่ือเที่ยวชมทัศนียภาพของแมนํ้ากก สองฟากฝง
เปนปาเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ ระหวางทางยังสามารถแวะชมหมูบานชาวเขา
เผาตาง ๆ เชน อีกอ ลีซอ หรือจะแวะบานกะเหร่ียงรวมมิตรเพื่อน่ังชางเที่ยวปา
รอบบรเิ วณ

39

หอนาฬิกาเมืองเชยี งราย

หอนาฬิกาเมืองเชียงราย หรือ หอนาฬิกาอาจารยเฉลิมชัย มีช่ือเรียกเปน
ทางการวา “หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจา พระบรมราชินีนาถ”
(หอนาฬิกาพทุ ธศลิ ป ต้งั อยทู ี่กลางตวั เมืองเชียงราย ถนนบรรพปราการ–ถนนเจ็ดยอด
(ใกลเชียงรายไนทบารซาร–ถนนคนเดิน สรางข้ึนเพ่ือเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจาสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหลวง
เม่อื ครงั้ ทรงดาํ รงพระราชอสิ รยิ ยศพระบรมราชินีนาถในรัชกาลท่ี 9

อาจารยเฉลิมชยั โฆษิตพิพัฒน เปน ผอู อกแบบ ใชเวลาสรา ง 5 ป เปนหอนาฬิกา
สีทองท่ีมีความสวยงาม มีลวดลายแบบไทย และสามารถเปล่ียนสีไดในตอนกลางคืน
เปนงานศิลปะเชิงพระพุทธศาสนา ในเวลา 19.00 น. 20.00 น. และ 21.00 น. ของ
ทุกวนั ไฟจะเปลีย่ นสี 7 สีพรอ มเสียงเพลงเชยี งรายรําลึก

40

เสน ทางการทองเทีย่ วในจังหวัดเชียงราย
จากอําเภอเมอื งสเู ชยี งแสน และเชยี งของ 4 วนั 3 คนื

41

แผนการทอ งเท่ียวในจังหวัดเชียงราย
จากอาํ เภอเมอื งสเู ชียงแสน และเชียงของ 4 วัน 3 คืน

Theme ของการทอ งเทยี่ ว: ความสงบของจิตใจและความสวยงามของงานศิลปะ
• เดินทางมาถงึ จังหวดั เชยี งรายดวยเท่ียวบนิ เทีย่ วเชา หรือรถยนต
• รับประทานอาหารกลางวันในยา นใจกลางเมือง เชน ขาวซอย ขนมจนี นํา้ เงยี้ ว
• ชมความงามของวัดและสํานักสงฆในจังหวัดเชียงราย อาทิ วัดรองขุน

วัดรอ งเสือเตน พิพิธภณั ฑบ า นดาํ สาํ นักวปิ ส สนาสากลไรเชิญตะวัน
• กลับมาพักคางคืนท่ีเมืองเชียงราย ชมความงามของหอนาฬิกา หาของกินคน

เมืองยา นถนนคนเดนิ ไนทบ ารซ าร

Day 1

42

Day
2

เชยี งราย-เชยี งแสน

• รบั ประทานอาหารเชาในกาดเชา
• จากนั้น ออกเดินทางสูสิงหปารค เชียงราย และ/หรือ ไรชาฉุยฟง โดยเลือก

เสนทางที่สามารถชมวิวทิศทัศนของเทือกเขาดอยนางนอน อันเปนที่ตั้งของถ้ํา
ขุนน้ํานางนอน พื้นที่สรางประวัติศาสตรการกูภัยนานาชาติชวยเหลือ
นกั ฟตุ บอลเยาวชนทีมหมปู า ไดจากระยะไกล
• รับประทานอาหารกลางวนั เพอื่ สขุ ภาพทรี่ านจันกะผัก อ.แมส าย
• เดนิ เลน ซือ้ สนิ คา ของฝากในตลาดแมสายชายแดนไทย-เมยี นมา
• นั่งรถไปชมหอฝนอุทยานสามเหลีย่ มทองคาํ
• คา งคืนทเ่ี มืองเชียงแสน และสําหรับผูช่ืนชอบการเสี่ยงโชค สามารถขามไปยัง
Kings Romans Casino ในฝง สปป.ลาวได

43

Day โบราณคดีเชยี งแสน
3 นอนรมิ โขงเชียงของ

• เขาชม เรียนรปู ระวัติศาสตรเ มอื งโบราณเชยี งแสน เรยี นรูศ ิลปะยุคเชยี งแสน
• จากนน้ั เดนิ ทางสอู ําเภอเชยี งของ ซึ่งมีโรงแรมระดบั 4 ดาวท่สี ามารถรองรับ

นักทองเทย่ี วระดบั high-end ได หรอื สําหรับนักทอ งเท่ยี วท่ตี อ งการเดินทาง
ไปเรียนรวู ิถชี ีวิตท่ีงดงามของชาวบานในอาํ เภอเชยี งแสนก็สามารถเลอื กท่ีจะ
เขาไปพักคา งแรมในรูปแบบโฮมสเตยไ ดท ่ี บานทา ขนั ทอง

ภาพจาก Thai-Traveller.com

44

Day4 เชียงของ เวยี งแกน สปป.ลาว

ภาพจาก เฟสบคุ หลวงพอเพชร • เขากราบหลวงพอเพชร วัดศรีดอนชัย ตอดวย
คเู มอื งเชยี งของ กราบพระบรมสารรี ิกธาตุ วดั พระแกว

• จากนั้นลองเรือตามแมนํ้าโขง (แมนํ้าของ หรือ
ใชเ รอื Speed Boat ไปยงั ผาได อําเภอเวียงแกน
นักทองเท่ียวสามารถนั่งชมคว ามงดงาม
ของเกาะแกง พรอมกับการเรียนรูความสําคัญ
ของเกาะแกง ในแมน ้ําโขงที่มีความสําคัญอยางยิ่ง
ตอระบบนิเวศของทุกประเทศที่ตองอยูริมแมน้ํา
สายนานาชาติแหงนี้ นอกจากความเพลิดเพลิน
แลวยังถือเปนองคความรูที่ตองถายทอดให
ทุ ก ค น มี จิ ต สํ า นึ ก ต อ ก า ร พั ฒ น า อ ย า ง ยั่ ง ยื น
เพ่อื ประโยชนร วมกนั ของคนท้ังภมู ภิ าค

• ข้ึนเรือที่สวนสาธารณะแกงผาได จุดพักผอน
หยอ นใ จ ช มธ รรม ช า ติที่ส ว ย งาม ผ าไ ด
เ ป น จุ ด สุ ด ท า ย ข อ ง แ ม นํ้ า โ ข ง ที่ ผ า น ดิ น แ ด น
ภาคเหนือของไทย กอนที่จะไหลวกกลับเขา
มายังดินแดนไทยอีกคร้ังหนึ่งท่ีอําเภอเชียงคาน
จังหวดั เลย

45


Click to View FlipBook Version