The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาภูมิภาคของอังกฤษ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cstd, 2021-05-16 21:18:39

Goodbye Social Enterprise

บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาภูมิภาคของอังกฤษ

Keywords: มหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาอังกฤษ

Goodbye Social Enterprise

โดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม

พิมพ์คร้ังแรก : ธนั วาคม 2557
จ�ำนวนหนา้ : 36 หนา้
จ�ำนวนพมิ พ์ : 1,200 เลม่
จดั พิมพแ์ ละเผยแพร่ :
สถาบันคลังสมองของชาติ
539/2 อาคารมหานครยบิ ซ่ัม ชัน้ 22บี
ถนนศรีอยธุ ยา เขตราชเทวี กรงุ เทพฯ 10400
โทรศพั ท์ 0 2640 0461 โทรสาร 0 2640 0465
อเี มล์ [email protected]
เวบ็ ไซต์ www.knit.or.th
ออกแบบและจดั พมิ พ์ :
บริษัท พที เู อสเมคเกอร์ จำ� กัด
416 หมู่ที่ 2 ซอยรังสติ -ปทมุ ธานี 2
ตำ� บลประชาธปิ ตั ย์ อำ� เภอธญั บุรี จังหวดั ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์ 0 2931 4386 โทรสาร 0 2931 4386
Email: [email protected]

Goodbye Social Enterprise

ระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม 2557 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมไปดูงาน
มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศอังกฤษท่ีจัดโดย สถาบันคลังสมองของชาติ
ในเรื่อง บทบาทของมหาวิทยาลัย ต่อการพัฒนาภูมิภาคของอังกฤษ
(University Engagement in Regional Development in the UK)
โดยไดไ้ ปพบกบั มหาวิทยาลัย 5 แห่งคือ

มหาวทิ ยาลยั Salford ใน Salford/Manchester
มหาวทิ ยาลัย Manchester ใน Manchester
มหาวิทยาลยั Northampton ใน Northampton
มหาวทิ ยาลยั Cambridge ใน Cambridge และ
มหาวทิ ยาลัย University College London ใน London
ผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณสถาบันคลังสมองของชาติ โดยเฉพาะ
ทา่ น ศาสตราจารย์ ดร. ปยิ ะวตั ิ บุญ-หลง และ ดร. นงเยาว์ เปรมกมลเนตร
ท่ีได้ดูแลให้การศึกษาดูงานครั้งน้ีได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ด้วยดี
รวมทงั้ ผบู้ รหิ ารมหาวทิ ยาลยั ของไทยตา่ งๆ ทไ่ี ดแ้ สดงความคดิ เหน็ ในระหวา่ งดงู าน
บนั ทกึ ฉบบั นเ้ี ขยี นเปน็ เรอ่ื งๆ รวม 10 หวั ขอ้ ไมใ่ ชก่ ารทำ� รายงานการดงู าน
แต่เป็นการสรุปและสะท้อนความคิดของผมที่ได้เกิดขึ้นจากการดูงาน
จึงอาจจะไม่มีเนื้อหาสมบูรณ์ และถือเป็นความคิดส่วนตัวที่ไม่จ�ำเป็นต้อง
เป็นความเห็นเดยี วกับทา่ นอ่ืนๆ ท่เี ข้ามารว่ มดงู านดว้ ยเสมอไป

พิสิฐ ลี้อาธรรม
คณบดคี ณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลยั เชียงใหม่
13 ตุลาคม 2557

สารบัญ 4
6
ตอนท่ี 1 ระบบมหาวทิ ยาลยั อังกฤษ
ตอนท่ี 2 Social responsibility, Social impact, 10
13
Social innovation, Social venture 16
19
ตอนที่ 3 กจิ กรรมนักศึกษา
22
ตอนที่ 4 คา่ เล่าเรยี น 25
29
32
35
ตอนท่ี 5 งานวิจยั จากห้ิงสหู่ ้าง



ตอนที่ 6 Regional Development Agency (RDA)

vs Local Enterprise Partnerships (LEP)


ตอนที่ 7 อังกฤษกับ EU
ตอนท่ี 8 Manchester หรือ The Cotton City

ตอนที่ 9 มหานครลอนดอน

ตอนท่ี 10 เสน้ ทางคมนาคม และการพฒั นาเมือง

โดยสรปุ

ตอนท่ี 1 ระบบมหาวิทยาลัยอังกฤษ

มหาวทิ ยาลยั ทเ่ี กา่ แกท่ ส่ี ดุ และเปน็ ชนั้ นำ� ขององั กฤษ คอื Oxford
และ Cambridge ทกุ ครง้ั ทมี่ กี ารแนะนำ� กม็ กั จะเทา้ ความวา่ Cambridge
มที มี่ าจากพระที่ Oxford แตกคอกนั กเ็ ลยมพี ระจำ� นวนหนง่ึ แยกตวั ออกมา
มาทางตะวันออก มาตั้งมหาวิทยาลัย Cambridge แสดงว่าการมี
ความเห็นต่างก็เป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ได้ มหาวิทยาลัยไทยที่มักจะมี
ความเห็นตา่ งนา่ จะดูเป็นอทุ ธาหรณไ์ ด้

มหาวิทยาลัยท้ังสองจึงมีท่ีมาเดียวกัน ในยุคกลางยุโรปสร้าง
มหาวิทยาลัยเพ่ือเพาะบ่มพระส�ำหรับการสอนศาสนา มหาวิทยาลัย
ท้ังสองจึงมีการปกครองเหมือนกุฏิสงฆ์ท่ีแบ่งเป็น College แต่ละ
College ก็เป็นท่ีพักพิงของนักศึกษาและอาจารย์พ่ีเล้ียง มีผู้กล่าวว่ามี
บางชว่ งเขาตอ้ งมกี ารขยายจำ� นวนพระมาก เนอื่ งจากมผี คู้ นเสยี ชวี ติ มาก
ในชว่ งเกดิ โรคระบาด (Black Death) ครงั้ ใหญใ่ นชว่ งปี ค.ศ. 1350 ท�ำให้
คนทง้ั ทวปี ยโุ รปเสยี ชวี ติ ไปเกอื บครง่ึ โดยมหี นเู ปน็ พาหะนำ� เชอื้ โรคมากบั
กองเรอื สนิ คา้ กระจายไปทว่ั ทวปี ยโุ รปและเอเซยี ทำ� ใหผ้ มนกึ ถงึ พระเจา้
อทู่ องทท่ี งิ้ เมอื งอทู่ องเพราะโรคหา่ ระบาดในปี พ.ศ. 1893 จงึ มาสรา้ งเมอื ง
ใหมท่ ห่ี นองโสนเรียกวา่ กรุงศรอี ยธุ ยา เน่อื งจากเหตุการณท์ ง้ั สองเกิดใน
เวลาเดยี วกัน หากโรคท้งั สองเปน็ โรคเดียวกันก็นา่ จะคาดเดาไดว้ ่าเมอื ง
อทู่ องกเ็ ปน็ เมอื งทม่ี กี ารคา้ ทางเรอื กบั ตา่ งประเทศ แตป่ ระวตั ศิ าสตรส์ ว่ น
นขี้ องประเทศไทยไม่มหี ลักฐานใด ๆ หลงเหลอื ให้เหน็

4 / Goodbye Social Enterprise

จากการเป็นแหล่งเพาะบ่มพระ ซึ่งเป็นลักษณะของที่มา
ของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ต่างๆ ในยุโรป มหาวิทยาลัยทั้งสองจึงถือว่า
มีลกั ษณะหนึ่งทอี่ าคารตา่ งๆ จะเหมือนโบสถท์ วั่ ๆ ไป เมอื่ มกี ารปฏิวัติ
อตุ สาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ทเ่ี มอื ง Manchester จงึ เรม่ิ มกี ารรวบรวม
สรรพกำ� ลงั จดั ตง้ั มหาวทิ ยาลยั Manchester โดยทนุ จากการบรจิ าคของ
นักอุตสาหกรรม ไม่ใช่มาจากวงการศาสนา แต่การศึกษาในช่วงแรก
ก็ไม่ง่าย เพราะพ่อค้า คหบดีท่ีร�่ำรวยจากธุรกิจยังไม่เห็นประโยชน์
ของอุดมศึกษา ยังอยากให้ลูกรับช่วงท�ำงานต่อในธุรกิจตนเองมากกว่า
Manchester แนะน�ำตวั ว่าเป็น Civic University คอื เป็นมหาวิทยาลยั
ที่ต่างจากมหาวิทยาลัยเก่าแก่เพราะไม่มีการจ�ำกัดคนเข้าเรียนท่ีนับถือ
ศาสนานิกายน้ันๆ ให้เป็นนักศึกษาแถมยังเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ
ทมี่ กี ารรบั สตรเี ป็นนกั ศกึ ษา สตรใี นองั กฤษได้รับสทิ ธใิ์ ห้ลงคะแนนเสียง
เลอื กต้งั ได้เชน่ บรุ ษุ ในปี 1928 อาจารยเ์ ศรษฐศาสตรท์ ม่ี ชี ่อื เสียงท่นี คี่ อื
Arthur Lewis กเ็ ปน็ คนผวิ ดำ� คนแรกทไี่ ดร้ บั รางวลั โนเบลทางเศรษฐศาสตร์
ดังนั้น นักศึกษาของที่นี่จึงมีความภูมิใจว่ามีการเชิดชูความเท่าเทียม
ของมนษุ ย์

มหาวิทยาลัยชั้นน�ำในอังกฤษ 24 แห่งได้รวมตัวกัน เรียกว่า
Russell Group Universities คลา้ ย Ivy League ในสหรฐั อเมรกิ าได้
ร่วมกันผลักดันส่งเสริมการท�ำวิจัยที่ให้มี Social Impacts.
(http://russellgroup.org/socialimpactofresearch.pdf)

การทำ� งานของมหาวทิ ยาลยั เมอ่ื มรี ะบบทชี่ ว่ ยสงั คม สงิ่ แวดลอ้ ม
และมรี ายได้ที่ไม่จ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้น ก็ถอื เป็น Social Enterprise หนง่ึ

Goodbye Social Enterprise / 5

ตอนที่ 2 Social Responsibility, Social Impact,

Social Innovation, Social Venture

คำ� ตา่ งๆ ทม่ี ี Social นำ� หนา้ น้ี กอ่ นหนา้ นี้ มกั จะใชค้ ำ� วา่ Social
Enterprises เปน็ คำ� ชโู รง มหาวทิ ยาลยั ในองั กฤษทเ่ี คยมกี ารดำ� เนนิ การ
ในเรอ่ื ง Social Enterprises อยา่ งจรงิ จงั โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ มหาวทิ ยาลยั
Northampton ต้ังแต่ปี 2011ได้ช่ือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอังกฤษท่ี
โดดเด่นเรื่องนี้มาก แต่ในปีนี้ มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ประกาศยกเลิก
การชคู ำ� วา่ Social Enterprises แลว้ และมงุ่ ใชค้ ำ� วา่ Social Innovation
และ Social Impacts เพราะในทางปฏบิ ตั ไิ ดก้ อ่ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ วา่
ต้องใช้รูปแบบน้ีเท่านั้นจึงจะท�ำความดีได้ แท้ที่จริงแล้วการท�ำงาน
เพอื่ สงั คมนนั้ ไมจ่ ำ� กดั วา่ ตอ้ งเปน็ รปู แบบนเี้ ทา่ นนั้ การทำ� ธรุ กจิ ปกตหิ รอื
การด�ำเนินการโดยทั่วไป หากมีการกระท�ำเพ่ือมุ่งให้เกิดประโยชน์ทาง
สังคม และส่ิงแวดล้อมนอกเหนือจากการเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(Social Impact, Apart from Economic Contribution) กถ็ ือเป็น
Social innovation ผู้ก่อตั้ง Goodwill Solutions ซ่ึงได้ช่ือว่าเป็น
เอกชนผู้น�ำทางด้าน Social Enterprises เองก็ยืนยัน ว่างานของเขา
มีความย่ังยืนได้ก็เพราะมีธุรกิจปกติด้าน Warehousing มิฉะนั้น
กไ็ มส่ ามารถสนบั สนนุ ใหเ้ กดิ กจิ กรรมทช่ี ว่ ยนำ� คนเคยตดิ คกุ มาเขา้ ทำ� งาน
6 / Goodbye Social Enterprise

ในธุรกิจของสังคมตามปกติได้ หรืออีกนัยหน่ึงการไปยึดติดรูปแบบ
มากเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดการแบ่งแยกที่ท�ำให้ธุรกิจท่ัวๆ ไป ถือว่า
Social Enterprises ไม่เกี่ยวกับเขา

วิทยากรแห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ได้ยืนยันว่า ส�ำหรับ
หนว่ ยงานของเขา เขามงุ่ เน้นทางดา้ น Social Venture ทม่ี กี ารทำ� งาน
ที่โปร่งใสรับผิดชอบต่อสังคม เพียงแต่ว่า หากมีการจดทะเบียนเป็น
นติ ิบุคคลบางรปู แบบ เช่น Community Interest Company (CIC)
ก็จะมีข้อจ�ำกัดไม่ให้จ่ายเงินปันผลเพราะจะไม่มีผู้ถือหุ้น ก�ำไรที่เกิดข้ึน
ตอ้ งถกู เกบ็ ไวใ้ นกจิ การนน้ั ๆ ตอ่ ไปเทา่ นน้ั ธรุ กจิ บางแหง่ ตอ้ งการทำ� กำ� ไร
เพ่ือน�ำรายได้มาสนับสนุนการท�ำงานเพื่อสังคมบางด้านที่อาจจะไม่เกิด
รายไดเ้ พียงพอตอ่ รายจ่าย (Cross Subsidy)

ทุกวันน้ี บ้านเราก็มีความเข้าใจผิดๆ ว่า Corporate Social
Responsibility หรอื CSR หมายถงึ การทธ่ี รุ กจิ ทแี่ สวงหากำ� ไร ไปบรจิ าค
เงนิ ชว่ ยการกศุ ล หรอื จดั พนกั งานไปชว่ ยเลยี้ งคนชรา กถ็ อื วา่ บรรลเุ จตนา
ของ CSR แล้ว โดยที่กิจการปกตินั้นยังท�ำงานแบบเอารัดเอาเปรียบ
ผู้บริโภค ลักษณะน้ยี ่อมไมใ่ ช่ธรุ กิจท่มี ี CSR ในทำ� นองเดยี วกัน การไป
มุง่ เน้นรูปแบบ Social Enterprise กอ็ าจจะกอ่ ใหเ้ กิดความเขา้ ใจผิดๆ
ว่า ผลก�ำไรไม่ส�ำคัญ การไปช่วยนักศึกษาจัดตั้งธุรกิจท่ีไม่จ่ายคืนก�ำไร
ถอื วา่ เปน็ การสรา้ ง Social Innovation ซง่ึ อาจจะไมถ่ กู ตอ้ ง การมี CSR
ท่ีแท้จริงหมายถึงว่า ในขณะที่เป้าหมายและวิธีการของการท�ำธุรกิจ
ยงั ดำ� เนนิ การตามปกตผิ ปู้ ระกอบการควรคำ� นงึ ถงึ ประโยชนต์ อ่ สงั คมและ
สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับ ผลก�ำไรทางการเงิน หรือที่เรียกกันว่าให้ได้
Triple Bottom lines คอื มกี �ำไร 3 ดา้ น ทงั้ ดา้ นธรุ กจิ ทง้ั ดา้ นสงั คมและ

Goodbye Social Enterprise / 7

สงิ่ แวดลอ้ ม หากทำ� ธรุ กจิ โดยไมส่ นใจผลกระทบทที่ ำ� ลายสง่ิ แวดลอ้ มหรอื
การลดต้นทุนด้วยการลดคุณภาพหรือมาตรฐานที่สร้างความเสียหาย
แกส่ ุขภาพหรือชุมชน แล้วไปไถบ่ าปด้วยการไปบริจาคท�ำบญุ เพอ่ื ความ
สบายใจ กไ็ ม่ถือวา่ เป็น CSR ท่ถี กู ต้อง ดงั นน้ั การมี CSR จะตอ้ งซึมซับ
เข้าเป็นหลักการในการประกอบธุรกิจขององค์กร เข้าท�ำนอง Doing
good is a good business โดยมงุ่ เนน้ ใหผ้ ลงาน ทง้ั Output, Process
และ Outcome มผี ลดีต่อภายนอกธุรกจิ

ระบบงานภายในบางระบบท่ีนอกเหนือจากการเรียนการสอน
และการวจิ ยั มหาวทิ ยาลยั มกั จะมกี ารพยายามแยกงานออกไปเพอื่ จดั ตง้ั
เปน็ หนว่ ยอสิ ระ (Spinouts) อาจจะท�ำให้รปู แบบการบรหิ ารมีลกั ษณะ
เปน็ Social Enterprises เกดิ ขนึ้ แตถ่ า้ การบรหิ ารจดั การขาดประสทิ ธผิ ล
การท�ำงานขาดมาตรฐานที่ดี หรือการท�ำงานขาดความค�ำนึงถึง
สง่ิ แวดล้อมและสังคม ก็ไมถ่ ือวา่ ประสบความสำ� เรจ็ ในการให้มี Social
Impacts หรือการเกิด Social Innovation จึงเป็นการชูธงท่ีดีกว่า
Social Enterprises

นอกจากเป้าหมายด้านการเรียนการสอนแล้ว การมีส่วนร่วม
กับสังคม SocialEengagement เน้นไม่ให้อยู่แต่ในหอคอยงาช้าง
กไ็ ดเ้ ปน็ เปา้ หมายสำ� คญั ของมหาวทิ ยาลยั ตา่ งๆ นกั ศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาตรี
ของ มหาวิทยาลัย Manchester ได้เร่ิมรับการเพาะบ่มคุณธรรม
3 ประการ หรอื ท่ีเรยี กวา่ Ethical Grande Challenges ในชว่ ง 3 ปี
ที่เรียนหลักสูตรปริญญาตรี คือ ปี 1 เรียนรู้ ด้านความย่ังยืน
(Sustainability) ปีท่ี 2 ด้านความเปน็ ธรรมในสังคม (Social Justice)
และ ปที ่ี 3 ด้านคุณธรรมในสถานประกอบการ (Workplace Ethics)

8 / Goodbye Social Enterprise

(http://www.socialresponsibility.manchester.ac.uk/
signature-programmes/ethical-grand-challenges/) โดยมกี ารทำ�
กจิ กรรมกลมุ่ ทจ่ี ะบรรลเุ ปา้ หมายเหลา่ นี้ เพอื่ ใหไ้ ดน้ กั ศกึ ษาท่ี All Round
คือ มีความสามารถท้งั ทางวิชาการและมีคณุ ธรรมควบคู่ไปด้วย

Goodbye Social Enterprise / 9

ตอนที่ 3 กิจกรรมนกั ศกึ ษา

มหาวิทยาลัยในอังกฤษมีการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
ในรูปแบบต่างๆ ตามองค์กรที่เรียกกันว่า Societies ซึ่งมีเป็นร้อยๆ
แหง่ เชน่ Student Hubs หรอื Unlimited เป็นตน้ ซงึ่ พยายามส่งเสริม
ให้นักศึกษาท�ำกิจกรรมท่ีเป็น Social Enterprises นักศึกษาต่างชาติ
เช่น ไทยก็ยังมีการตั้งเป็นสามัคคีสมาคมเพ่ือกิจกรรมนักศึกษาไทย
ชีวิตของการเป็นนักศึกษาจึงมีโอกาสท�ำกิจกรรมนอกหลักสูตรได้มาก
การดูงานคร้ังนี้ก็ได้ข้อคิดที่ส�ำคัญประการหน่ึงคือการส่งเสริมนักศึกษา
ใหไ้ ปทำ� กจิ กรรมชว่ ยสงั คมในระหวา่ งทเ่ี รยี นนจ้ี ะชว่ ยสรา้ งใหเ้ ปน็ บณั ฑติ
ท่มี ีจิตอาสาไปตลอดวยั ท�ำงาน

มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เราไปคร้ังน้ีก็ได้น�ำกิจกรรมบางด้าน
มาแสดงให้พวกเราไดเ้ หน็ ซึ่งแตล่ ะงานกไ็ มไ่ ดใ้ ชเ้ งนิ มาก บางโครงการ
กม็ วี งเงนิ แค่ 500 ปอนด์ ทสี่ ำ� คญั ตอ้ งมกี ารแสดงรายการใชจ้ า่ ยใหต้ รวจ
สอบได้ กิจกรรมนักศึกษาเหล่าน้ีจะมีการท�ำเป็นเครือข่ายขยายวง
ไปยงั มหาวทิ ยาลยั ตา่ งๆ ทวั่ ประเทศ เชน่ Student Hubs (http://www.
studenthubs.org) มีเครือข่ายในมหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 10 แห่ง
เช่น Oxford Hubs, Cambridge Hubs เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้
ด�ำเนินการโดยนักศึกษากันเอง แต่มีองค์กรที่เป็นเครือข่ายสนับสนุน
10 / Goodbye Social Enterprise

ท้ังทางดา้ นการเงินและการท�ำงานประจ�ำวัน (administrative Work)
โดยไม่ได้อาศัยอาจารย์เข้ามามีบทบาทเหมือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
ไทย Cambridge Hubs ท่เี ราไดค้ ยุ ดว้ ยชแี้ จงวา่ เขามเี จ้าหนา้ ที่ประจ�ำ
อยู่ 3 คน และเป็นฝา่ ยสนบั สนุนนักศกึ ษา โดยเขาทำ� การประกาศและ
คัดนักศึกษาให้มาท�ำหน้าท่ีต่างๆ เช่นท�ำหน้าท่ีเป็น President
หน่วยงานน้ีหวังว่าจะสามารถขยายบทบาทและเป็นเจ้าของภัตตาคาร
เพอ่ื เปน็ แหลง่ รายไดแ้ ละเปน็ ศนู ยร์ วมในการทำ� กจิ กรรมนกั ศกึ ษาดงั เชน่
ที่ Oxford Hubs ไดด้ ำ� เนินการแลว้

คณุ ไพบลู ย์ วฒั นศริ ธิ รรม อดตี รองนายกรฐั มนตรใี นสมยั รฐั บาล
พลเอกสุรยุทธ์ ก็เคยไปท�ำกิจกรรมนักศึกษาด้วยการไปช่วยคนชรา
สมัยที่ท่านเรียนอยู่ท่ีอังกฤษ ท�ำให้คุณไพบูลย์เม่ือกลับมาท�ำงานใน
ธนาคารในประเทศไทยและสถาบันการเงินอื่นๆ ก็มีจิตอาสาท�ำงาน
เพ่ือสังคม เช่น เม่ือครั้งท่านเป็นผู้อ�ำนวยการธนาคารออมสินก็ได้ริเร่ิม
โครงการ Social Investment Projects หรือ SIP เพื่อช่วยเหลอื งาน
ดา้ นสงั คมต่างๆ ใหก้ บั ชมุ ชน

ในระหวา่ งทเี่ ขา้ ไปเยย่ี ม Cambridge Hubs ผมไดห้ ยบิ เอกสาร
ท่ีเขาวางไว้แจกนักศึกษาที่ต้องการหางาน ซึ่งปรากฎว่าที่ที่ไปนั้น
เปน็ ทท่ี ำ� การของหนว่ ยงานของมหาวทิ ยาลยั ในการชว่ ยนกั ศกึ ษาในการ
หางาน มกี ารแจกเอกสารทม่ี ีข้อมลู อย่างละเอยี ดทนี่ ่าสนใจมากสำ� หรบั
นักศึกษา มีการแนะแนว โดยให้นัดพบให้ค�ำปรึกษา มีการน�ำบุคคล
ภายนอกในแวดวงต่างๆ มาให้ข้อมูล มีการสอนวิธีการสัมภาษณ์
การเขยี นประวัติ หรือ CV ของตนเองใหจ้ ูงใจวา่ ทนี่ ายจ้าง โดยเฉพาะ
อยา่ งยง่ิ ในยคุ ปจั จบุ นั ทน่ี ายจา้ งมสี ทิ ธเ์ิ ลอื กไดม้ ากกวา่ เมอ่ื กอ่ น นกั ศกึ ษา

Goodbye Social Enterprise / 11

ที่มีความสนใจนายจ้างใดก็ควรติดต่อขอฝึกงานดูงานตั้งแต่ยังเรียน
ในปีแรกๆ ต้องศึกษาดูว่านายจ้างที่เราสนใจเขาต้องการคุณสมบัติและ
คุณวุฒิพิเศษเพิ่มเติมจากปริญญาบัตรอย่างไรบ้างและเตรียมตัวให้ได้
คุณลักษณะตามที่นายจ้างพึงประสงค์ ไม่ใช่ไปรอจนถึงปีสุดท้ายท่ีจบ
แล้วค่อยหางาน เอกสารเหลา่ นผ้ี มรวบรวมเพื่อส่งหนว่ ยงานที่เก่ยี วขอ้ ง
ไปศึกษา www.careers.cam.ac.uk/ และ www.targetjobs.co.uk
12 / Goodbye Social Enterprise

ตอนที่ 4 คา่ เล่าเรยี น

ผลจากการที่รัฐบาลมีการเข้มงวดการใช้จ่ายภาครัฐ นักศึกษา
ในองั กฤษทกุ วนั นตี้ อ้ งจา่ ยคา่ เลา่ เรยี นเพมิ่ จากเมอื่ กอ่ นมาก นกั ศกึ ษาคนหนง่ึ
ท่ี Cambridge อธบิ ายว่า คา่ เลา่ เรยี น ขณะนี้มเี พดานที่ 9,000 ปอนด์
ตอ่ ปี ซ่งึ เพ่มิ จากที่พช่ี ายเขาเคยจ่ายเพียง 3,000 ปอนดต์ ่อปี นักศกึ ษา
เหลา่ นจ้ี ะตอ้ งอาศยั การกเู้ งนิ จากรฐั เพอื่ จา่ ยเปน็ คา่ เลา่ เรยี น และช�ำระคนื
เมือ่ มรี ายได้ ซึ่งเปรยี บเสมอื น ภาษีเงินได้ อย่างหนึง่ หากรายไดไ้ ดม้ าก
ก็เสียมากและช�ำระคืนเร็วขึ้นโดยมีการคิดดอกเบ้ีย เช่น อัตราเงินเฟ้อ
บวก 3% (https://www.gov.uk/student-finance/repayments
หรือhttp://www.slc.co.uk/) นอกจากหน่วยงานของรัฐนี้แล้ว
ยังมีแหล่งท่ีให้กู้จากภาคธุรกิจ ซ่ึงภาวะดอกเบี้ยในตลาดขณะน้ีต�่ำมาก
นักศึกษาบางคนก็อาจหาช่องทางกู้เงินในอัตราท่ีต่�ำกว่าแทนท่ีจะอาศัย
ระบบทรี่ ฐั จดั ทมี่ กี ารคดิ ดอกเบยี้ ตามทปี่ ระกาศ ผลจากการมคี า่ เลา่ เรยี น
แพงนี้ นา่ จะทำ� ใหน้ กั ศกึ ษาบางคนทค่ี ดิ หนกั วา่ จะคมุ้ หรอื ไมแ่ ละอาจจะ
เป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาต้องต้ังใจเรียนเพื่อให้สามารถน�ำความรู้ไป
ท�ำงานหาเงินมาใช้หนี้ หากอาจารย์สอนไม่ดี นักศึกษาก็คงจะเอาเรื่อง
อาจารย์มากกว่าสมยั ก่อน

นกั ศกึ ษาใน EU ไดร้ บั สทิ ธใ์ หเ้ สยี ค่าเลา่ เรียนในอตั ราเดยี วกับ
นักศึกษาของอังกฤษตามกฎเกณฑ์ของ EU ท�ำใหม้ นี ักศึกษาโดยเฉพาะ

Goodbye Social Enterprise / 13

จากยุโรปตะวันออกสนใจสมัครเข้ามาเรียนจ�ำนวนมาก และเรื่องน้ี
อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลอังกฤษต้องข้ึนค่าเล่าเรียนให้สูงขึ้น
ให้คุม้ กับคา่ ใช้จ่ายมากขน้ึ

สำ� หรบั นกั ศกึ ษาตา่ งชาติ ทอ่ี ยนู่ อก EU จะตอ้ งเสยี คา่ เลา่ เรยี น
แพงขนึ้ อกี หลายเทา่ ตวั เชน่ นกั ศกึ ษา MBA ท่ี Cambridge เสยี 40,000
ปอนดต์ อ่ ปี หากรวมค่าใช้จ่ายอ่นื เชน่ คา่ ท่ีพกั และค่าอาหารแลว้ อาจจะ
มีค่าใช้จ่ายถึง 2.5 ล้านบาทต่อปี การเป็นนักศึกษาต่างชาติทุกวันน้ี
จะถูกขูดรีดแพงมาก นักเรียนทุนรัฐบาลไทยท่ีเราสอบถามบางคนยัง
ไม่ทราบว่า จ่ายไปเท่าไร เพราะทางหน่วยงานจ่ายตรง ตัวเลขเหล่านี้
จะปรากฎใหต้ กใจไดอ้ กี ครงั้ เมอ่ื นกั ศกึ ษาคดิ อา่ นจะลาออกจากราชการ
ก่อนหมดภาระผูกพัน นักเรียนทุนท่านหนึ่งแม้จะท�ำงานให้ต้นสังกัด
ตง้ั หลายปี แต่เมอื่ ลาออกก็ต้องจา่ ยถึง 18 ลา้ นบาทเมือ่ รวมคา่ ปรบั

เศรษฐกจิ ขององั กฤษจงึ ไดป้ ระโยชนม์ ากจากการใหบ้ รกิ ารการ
ศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ รายได้จากบริการนี้ ถือเป็นแหล่งรายได้
อนั ดบั 2 ทน่ี ำ� เงนิ ตราตา่ งประเทศ ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั เศรษฐกจิ ทม่ี กี ารผลติ
ทางการเกษตรไม่ถงึ 1% ของจีดีพี และ ภาคบริการมีสดั ส่วนเกินกว่า
90% ของจีดีพี เมื่อถามเขาว่ารายได้อะไรที่เป็นอันดับ 1 ในการน�ำ
เงนิ ตราเขา้ ประเทศ วทิ ยากรทา่ นนน้ั ไมม่ คี �ำตอบ แตผ่ มนกึ ในใจวา่ นา่ จะ
เป็นการขายอาวุธ (Defense Industry) เชน่ เครือ่ งบนิ รบ และ เรอื รบ
รวมทั้งยุทโธปกรณ์อื่นๆ อีกประเทศท่ีเคยบอกผมว่า รายได้จากการ
ศกึ ษาของนกั ศกึ ษาตา่ งชาตถิ อื เปน็ แหลง่ รายไดอ้ นั ดบั 2 คอื ออสเตรเลยี
ก่อนหน้านี้ รายได้ 2 อันดับแรกเป็นแร่ถ่านหิน และแร่เหล็ก มาบัดน้ี

14 / Goodbye Social Enterprise

ราคาแร่เหล่านน้ั ตกต่�ำลงมาก รายได้จากบริการการศกึ ษาแก่นักศกึ ษา
ตา่ งชาติ นา่ จะเป็นอนั ดบั 1 ของประเทศนไี้ ปแล้ว

ประเทศในยุโรปบนภาคพื้นทวีปในอดีตไม่เคยให้ความสนใจ
ในการส่งเสริมให้มีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติ ในช่วงหลังนี้เมื่อเห็น
ตัวอย่างของ อังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา นิวซีแลนด์ และแคนาดา
ในการไดป้ ระโยชนจ์ ากนกั ศกึ ษาตา่ งชาตกิ เ็ รม่ิ หนั มาสง่ เสรมิ บา้ ง เพราะ
จะเป็นแนวทางหนึ่งในการมีรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ เป็น clean
industry และคงจะมีการปรับข้ึนค่าเล่าเรียนจากเดิมท่ียังเป็นการให้
เรยี นฟรี แตก่ ็มเี ยอรมันท่ยี ังคงไม่ปรับเพม่ิ

ในช่วงท่ีธนาคารแห่งประเทศไทยให้ทุนผมเรียนที่อีราสมุส
เมืองร้อตเตอร์ดัมในระหว่างปี 1970-1977 น้ัน มหาวิทยาลัยไม่เก็บ
คา่ เลา่ เรยี น จำ� ไดเ้ สยี คา่ ลงทะเบยี นคดิ เปน็ เงนิ ไทยไมเ่ กนิ 1000 บาทตอ่ ปี
จากปรญิ ญาตรถี งึ ปรญิ ญาโท และไมเ่ สยี คา่ ใชจ้ า่ ยในการทำ� ปรญิ ญาเอก

Goodbye Social Enterprise / 15

ตอนท่ี 5 งานวจิ ัยจากหิง้ สู่หา้ ง

มหาวิทยาลัยในอังกฤษไดต้ ื่นตวั ในการนำ� ความรู้ท่คี ้นพบในรัว้
มหาวิทยาลัยมาสู่การจัดท�ำเป็นธุรกิจเพื่อเป็นแหล่งรายได้ในรูปแบบ
ต่างๆ ทัง้ ในการจัดตัง้ เปน็ บริษทั เพอื่ ท�ำเป็นธุรกจิ (Spinout) และการ
ให้สิทธิ์เป็น license และได้รับความส�ำเร็จชัดเจนมากข้ึนในช่วงสิบปี
เศษทผ่ี า่ นมา มกี ารตง้ั หนว่ ยงานเพอ่ื ชว่ ยนกั วจิ ยั ทอ่ี าจจะไมม่ คี วามรทู้ าง
ธรุ กิจ และไมค่ ้นุ เคยกบั ขัน้ ตอนตา่ งๆ ทางกฎหมาย เชน่ สิทธบิ ตั รและ
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงการบริหารจัดการให้ได้รับ
ความสะดวก มหาวทิ ยาลยั UCL ซ่งึ มผี ลงานวจิ ยั ทางด้านวทิ ยาศาสตร์
และการแพทยม์ ากกม็ กี ารตงั้ หนว่ ยงาน UCLB Plc. (http://www.uclb.
com/) พร้อมกับมีเจ้าหน้าท่ีระดับ Business Head ถึง 16 คน
เพอ่ื ประสานงานเรอ่ื งเหล่านี้ อย่างไรก็ดี งานวิจยั ทางด้านสังคมศาสตร์
ก็ยังไม่อาจสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจได้เท่ากับทางสายวิทยาศาสตร์
มี Business Head เพียง 1 คนใน 16 คน เท่าที่ถามเขาจะมีรายได้
เลก็ นอ้ ยจากคา่ ลขิ สทิ ธข์ิ องการพมิ พห์ รอื การจดั หลกั สตู ร แตย่ ากทจ่ี ะได้
จากการมีนวัตกรรมท่ีไปจด Patent เอกสารที่เขามอบให้พวกเรายังมี
ตวั อยา่ งของการจดั ทำ� สญั ญากบั เอกชนภายนอกเพอื่ ใหม้ กี ารใชป้ ระโยชน์
ทางธุรกิจจากผลงานวิจัย ส�ำหรับนักวิจัย และคณะ หรือหน่วยงาน
16 / Goodbye Social Enterprise

ตน้ สงั กดั รวมทง้ั มหาวทิ ยาลยั กจ็ ะมกี ารแบง่ รายไดจ้ นเปน็ ทยี่ อมรบั หรอื
พอใจแนวคิดเร่ืองการอ�ำนวยความสะดวกนักวิจัยเพ่ือท�ำรายได้ให้
มหาวิทยาลัยนั้นต้องอาศัยความพยายามค่อยๆ สร้างข้ึนมาท่ีจะให้ผล
ในระยะยาว ตัวอย่างของอังกฤษก็เพ่ิงมีผลงานชัดเจนในช่วงไม่นานนี้
ในช่วงทศวรรษที่ 2000 ทั้งท่ีได้เร่ิมส่งเสริมกันมาต้ังหลายสิบปีต้ังแต่
ทศวรรษท่ี 1970/80 ส�ำหรับบ้านเรา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น
มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ ธนบรุ ี ไดท้ ำ� เรอ่ื งนเี้ ปน็ รปู ธรรมแลว้
แต่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็คงต้องใจเย็นๆ อย่าหวังผลเลิศว่าจะเป็นแหล่ง
รายได้ทีเ่ ปน็ กอบเป็นก�ำทนั ทีทนั ใด

ตวั อยา่ งของงานวจิ ยั ทม่ี หาวทิ ยาลยั Manchester แสดงใหเ้ รา
ได้เห็นคืองานวิจัยทางการฆ่าตัวตายซึ่งได้มีการจัดท�ำเป็น social
enterprises เพราะไดร้ ับความสนใจจากหลายองค์กร เชน่ องค์กรทอ้ ง
ถิ่นของสก๊อตแลนด์ และ ออสเตรเลีย รวมท้ังองค์กรเอกชน ให้ไปใช้
เพื่อก�ำหนดนโยบายสังคมป้องกันการฆ่าตัวตาย ท�ำให้งานน้ีมีรายได้
สะสมมากขนึ้ ตลอดชว่ งเวลา 10 ปที ผ่ี า่ นมา ผลงานวจิ ยั นสี้ ามารถมรี าย
ไดไ้ ดถ้ งึ 1 ลา้ นปอนดจ์ งึ มกี ารแยกตวั ออกมาทำ� เปน็ Social enterprises
ในลกั ษณะ spinout

มหาวทิ ยาลยั Manchester มอี าคารท่ใี ชส้ ำ� หรบั การประสาน
ติดต่อกับหน่วยงานภายนอกรวมทั้งเป็นแหล่งการเผยแพร่หรือการฝึก
อบรมกบั บคุ คลภายนอกและประสานเรอ่ื งการนำ� งานวจิ ยั เขา้ สภู่ าคธรุ กจิ
มีองค์กรที่ดูแลคือ The University of Manchester Innovation
Centre (UMIC) (www.umi3.com) บรรยากาศของอาคารคอ่ นข้าง

Goodbye Social Enterprise / 17

ทันสมัยเป็นศูนย์เรียนรู้ ท่ีเอกชนสามารถเข้ามารับฟังได้อย่างไม่แปลก
ท่ี บรรยากาศทมี่ สี ถานทที่ เี่ ออ้ื อำ� นวยแบบนม้ี ที กุ มหาวทิ ยาลยั ทเ่ี ราไปดงู าน

อย่างไรกด็ ี มหาวทิ ยาลยั ในสวเี ดน เชน่ ที่ Stockholm กลับมี
ความคดิ วา่ เรอ่ื งการประดษิ ฐค์ ดิ คน้ ใหเ้ ปน็ เรอื่ งของนกั วจิ ยั ทไี่ ดป้ ระโยชน์
เต็มท่ี หากเขามีรายได้นักวิจัยก็ต้องเสียภาษีเงินได้ให้รัฐอยู่แล้ว และ
เมื่อเขาได้ประโยชน์เต็มที่ ช่ือเสียงก็ตกแก่มหาวิทยาลัย เพราะผู้วิจัย
ไม่ต้องกังวลกับการใช้ชื่อมหาวิทยาลัย ระบบดังกล่าวปรากฎว่าสวีเดน
มนี วัตกรรมจากงานประดษิ ฐ์และงานออกแบบคอ่ นข้างมาก

18 / Goodbye Social Enterprise

ตอนที่ 6 Regional Development

Agency (RDA) vs Local Enterprise Partnerships (LEP)

หัวข้อส�ำคัญของการดูงานของเราคร้ังนี้คือเรื่อง LEP ซึ่งเป็น
นโยบายของพรรคอนุรักษ์นิยมที่ปกครองอังกฤษในขณะนี้ ประเด็น
สำ� คญั คอื การแบง่ พนื้ ทข่ี ององั กฤษเปน็ 39 เขต และรฐั บาลจะใหเ้ งนิ กอ้ น
มาพฒั นาพน้ื ที่ แตล่ ะเขตโดยใหม้ หี นว่ ยงานใหมค่ อื LEP ของแตล่ ะพนื้ ท่ี
มาดแู ล ทง้ั ในการสรา้ งถนน การสรา้ งโรงพยาบาล และสถาบนั การศกึ ษา
(http://www.lepnetwork.net/) ส�ำหรับ Northampton ได้รับ
200 ล้านปอนด์ในช่วงปี 2014-2020 ซึ่งเป็น LEP ท่ีมีมหาวิทยาลัย
เพยี งแหง่ เดยี ว กจ็ ะมบี ทบาทไดม้ าก วทิ ยากรของเรามคี วามกระตอื รอื รน้
มากเพราะเงอ่ื นไขหนงึ่ ของ LEP คอื การใหม้ หาวทิ ยาลยั เขา้ มามบี ทบาท
ดว้ ย โดยใหม้ ีการจดั ทำ� Strategic Economic Plan และระดมเงินจาก
แหล่งอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่นเงินจาก EU จากองค์กรท้องถิ่น และ
องค์กรอ่ืนๆ ท่ีพึงจะระดมได้ ซึ่งเขาคาดว่าจะให้มีงบประมาณถึง
1,000 ลา้ นปอนด์สำ� หรับพนื้ ท่ี Northampton

Goodbye Social Enterprise / 19

บทบาทส�ำคัญท่ี มหาวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยด�ำเนินการคือ
การนำ� หลกั Social Innovation และการคดั สรรโครงการโดยใหค้ ำ� นงึ ถงึ
Social Impact เชน่ หากจะมกี ารสรา้ งถนน ตอ้ งเสนอด้วยวา่ จะมกี าร
จา้ งแรงงานกค่ี น จะมกี ารฝกึ ฝนอบรมความรใู้ หมๆ่ ใหพ้ นกั งานอยา่ งไรบา้ ง
เป็นต้น เพราะการเพิ่มการจ้างงานเป็นเป้าหมายหลักด้านหนึ่งของ
นโยบายเศรษฐกิจยุคนี้ การดงึ คนว่างงานนอกจากรฐั จะไม่ต้องจ่ายเงนิ
อดุ หนุนคนวา่ งงานแล้ว ยงั จะไดป้ ระโยชน์จากภาษเี งนิ ไดท้ ่ีเขาจา่ ยจาก
การท�ำงานได้ อยา่ งไรก็ดี ก็ไม่มีความชัดเจนวา่ น้ำ� หนกั ที่ใหแ้ ก่ Social
Impact จะมากนอ้ ยเพยี งใด ทง้ั ในขนั้ ตอนของ Pre-qualification และ
ในข้ัน Final Bid ที่ต้องค�ำนึงถึงราคา และคุณภาพ วิทยากรบางแห่ง
ชี้แจงว่าคงไม่มีสูตรส�ำเร็จและต้องดูเป็นกรณีๆไป สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรเขต Salford ใหค้ ำ� ตอบวา่ Social Impact อาจจะใหม้ นี ำ�้ หนกั 10%

ในปี 2012 อังกฤษได้ออกกฎหมาย Social Value Act
เพ่ือก�ำหนดแนวทางการท�ำงานของรัฐในการจัดซ้ือจัดจ้างไม่ให้ค�ำนึง
แต่เฉพาะทางด้านราคาอย่างเดียว แต่ให้ค�ำนึงถึงการจัดซื้อจัดจ้าง
ทม่ี สี ว่ นชว่ ยสรา้ งผลดที างดา้ นสงั คมและสงิ่ แวดลอ้ ม นอกเหนอื จากการ
ใหไ้ ดผ้ ลงานทมี่ คี ณุ ภาพและราคาดดี ว้ ย แนวคดิ การจดั ซอื้ จดั จา้ งดงั กลา่ ว
ทาง EU เคยเปน็ หว่ งวา่ จะทำ� ใหเ้ กดิ การลำ� เอยี งเลอื กปฏบิ ตั ิ แตใ่ นภายหลงั
กไ็ ด้ยอมรับและให้การสนับสนนุ ระบบน้ี

อย่างไรกด็ ี LEP นเี้ ป็นผลงานของพรรคอนุรักษ์นยิ ม ที่ลม้ เลกิ
การท�ำงานลักษณะเดียวกันของพรรคแรงงานที่ต้ังเป็น Regional
Development Agency (http://www.nationalarchives.gov.uk/

20 / Goodbye Social Enterprise

webarchive/regional-development-agencies.htm) โดยรัฐบาล
พรรคอนุรักษ์นิยมเม่ือเข้ามามีอ�ำนาจได้ยกเลิกองค์กร และเลิกจ้าง
บุคลากรของ RDA ด้วย ในปหี นา้ หากพรรคแรงงานทเี่ ป็นผูเ้ ร่ิมตน้ RDA
ชนะการเลือกต้ังและเข้ามามีอ�ำนาจ ก็น่าสนใจว่าเขาจะท�ำอย่างไร
กบั LEP เพราะเหมอื นกับมกี ารชว่ งชงิ ผลงานระหวา่ งพรรคใหญ่ทั้งสอง

สำ� หรับมหาวิทยาลัยของไทยก็เป็นปกตอิ ยแู่ ล้วที่ หน่วยงานรัฐ
มักจะต้ังบุคลากรของมหาวิทยาลัยในฐานะตัวบุคคลเข้าไปร่วมเป็น
กรรมการหรือทีป่ รึกษาคณะกรรมการตา่ งๆ หากมีการให้มหาวทิ ยาลยั
มีบทบาทมากข้ึน ก็คงเป็นมิติใหม่ที่มีภาระพอสมควร และอาจจะมี
คำ� ถามเกี่ยวกบั การรับผิดทางแพง่ หากมกี ารฉ้อฉลเกิดขึ้น หรอื อาจจะมี
คำ� ถามวา่ เปน็ ภาระกจิ หลักของสถาบนั การศกึ ษาหรอื ไม่

Goodbye Social Enterprise / 21

ตอนที่ 7 อังกฤษกบั EU

ในช่วงท่ีเราดูงาน อังกฤษมีการเลือกตั้งซ่อม และปรากฎว่า
มพี รรคการเมอื งใหมท่ ปี่ ระกาศตวั วา่ จะเสนอใหอ้ งั กฤษแยกตวั ออกจาก EU
ได้รับชัยชนะในการลงคะแนนเสียงให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้
เปน็ คนแรกในสภาจากพรรคใหมน่ ี้

องั กฤษมลี กั ษณะทางภมู ศิ าสตรท์ เี่ ปน็ เกาะแยกออกจากผนื ทวปี
ยุโรป ในระยะ 500 ปีที่ผ่านมานับแต่การค้นพบอเมริกาที่เปิดศักราช
ของโลกยุคใหม่ อังกฤษได้มีบทบาทในเวทีโลกโดยอาศัยกองทัพเรือ
ทเ่ี ขม้ แขง็ รบชนะมหาอำ� นาจต่างๆ ในยโุ รป เชน่ ชนะกองเรอื Armada
ของสเปน รบชนะฝรง่ั เศสสมัย Napoleon ชนะเยอรมนั และออสเตรยี
ในสงครามโลกครงั้ ที่ 1 และ ชนะเยอรมัน อิตาลีในสงครามโลกครัง้ ที่ 2
และมีบทบาทในการชนะสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น ในสายตา
ขององั กฤษจึงไม่เคยรสู้ ึกวา่ ตนเปน็ สว่ นหนึ่งของยโุ รป เชน่ ประเทศอ่ืน
บนผืนทวปี ยโุ รป และปล่อยให้ภาคพน้ื ทวีปยโุ รปมกี ารรวมตวั ด้านตา่ งๆ
ตั้งแตท่ างด้านเศรษฐกิจ การเงนิ และ การเมืองในช่วงหลงั สงคราม

อังกฤษเป็นมหาอ�ำนาจที่มีอาณานิคมไปทั่วโลกโดยเฉพาะเม่ือ
สูญเสียอเมริกาและภายหลังสงครามนโปเลียน ท�ำให้อังกฤษเป็นผู้น�ำ
22 / Goodbye Social Enterprise

การเมืองระดับโลกมากกว่าระดับภูมิภาคยุโรป อังกฤษถือว่าตนเป็น
ศูนย์กลางของโลก ในช่วงที่ท�ำสงครามกับเยอรมัน และสายโทรศัพท์
ใต้น้�ำที่เช่ือมโยงกับยุโรปถูกตัดขาด หนังสือพิมพ์ในอังกฤษฉบับหนึ่ง
พาดหัวข่าวว่า “The continent is isolated” ก่อนหน้าน้ี อังกฤษ
ก็มีระบบการนับที่แตกต่างกับยุโรปที่ใช้เป็นระบบ metrics ในการช่ัง
ตวงวดั เชน่ การวดั ระยะทางทเี่ ปน็ กโิ ลเมตร แตอ่ งั กฤษใชไ้ มล์ การชงั่ นำ�้ หนกั
ที่ใชเ้ ป็นกโิ ลกรัม แตอ่ ังกฤษใช้ปอนด์ การนับเงินเมอื่ กอ่ นมี เพนนี่ ชิลล่ิง
และปอนด์ แตป่ จั จบุ นั องั กฤษกไ็ ดม้ าใชร้ ะบบ metrics ทง้ั ในดา้ นเงนิ ตรา
ทำ� ให้ 100 เพนน่เี ป็น 1 ปอนด์ และระบบการช่ังตวงวดั เชน่ ในสากล

อย่างไรก็ดี เมื่ออังกฤษประสบปัญหาเศรษฐกิจในทศวรรษท่ี
1970 รัฐบาลพรรคแรงงานก็ขอเข้าร่วมส่วนหนึ่งของ EU ในปี 1973
ซึ่งขณะน้ันยังเป็นแค่ตลาดร่วม หรือ EEC สมัยนั้นผมยังเป็นนักศึกษา
ทเี่ นเธอรแ์ ลนดย์ งั จำ� ไดว้ า่ องั กฤษไมไ่ ดเ้ ขา้ มาอยา่ งสงา่ งาม เพราะองั กฤษ
ก�ำลังมีระบบเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และเกิดปัญหาแตกแยกทางความคิด
แมก้ ระทงั่ ในระดบั คณะรฐั มนตรี ทำ� ใหต้ อ้ งมกี ารใหล้ งประชามตเิ หน็ ชอบ
ในปี 1975 แมว้ า่ จะผา่ นได้ แตห่ ลงั จากนนั้ องั กฤษกย็ งั มขี า่ วเปน็ ระยะๆ
จนถึงปัจจุบันว่าไม่เห็นด้วยกับการเป็นสมาชิก EU และไม่เห็นด้วยกับ
การบริหารใน EU ถงึ ขั้นขู่วา่ จะถอนตวั และรัฐบาลก็ได้ประกาศใหม้ ีการ
ลงประชามติอีกคร้ังว่าจะถอนตัวจาก EU หรือไม่ในปี 2017 ซึ่งสร้าง
ความไม่แน่นอนในอนาคตอีกครั้งเหมือนความไม่แน่นอนก่อนการ
ลงประชามตขิ อง Scotland ในเดอื นกนั ยายน ทผ่ี า่ นมา ตา่ งจากประเทศ
สมาชกิ อนื่ ๆ ทไี่ มเ่ คยตอ้ งมากงั ขากนั อกี หลายประเทศ เชน่ ตรุ กพี ยายาม
จะเขา้ เป็นสมาชกิ แตก่ ไ็ ม่ส�ำเร็จ

Goodbye Social Enterprise / 23

ระบบเงนิ ตราของยโุ รปไดร้ วมศนู ยใ์ หม้ ธี นาคารกลางแหง่ ยโุ รป
และสกลุ เงนิ ใหม่ คอื ยโู ร โดยทที่ กุ ประเทศยกอำ� นาจอธปิ ไตยทางการเงนิ
หรือการก�ำหนดนโยบายการเงินและยกเลิกสกุลเงินประเทศตน เช่น
เงนิ ฟรงั ฝรงั่ เศส เงนิ กิลเดอรเ์ นเธอร์แลนด์ แต่ อังกฤษกย็ ังไม่ยอมเข้ามา
ร่วม และ ธนาคารกลางของอังกฤษยังคงรักษาอ�ำนาจการก�ำหนด
นโยบายการเงนิ เหมือนเดมิ โดยไมย่ อมยกเลกิ เงนิ ปอนด์

โครงสร้างและสภาพเศรษฐกิจของอังกฤษมีลักษณะคล้ายไป
ทางอเมรกิ ามากกวา่ เชน่ มกี ารผลติ สนิ คา้ อตุ สาหกรรมเปน็ สดั สว่ นไมถ่ งึ
ร้อยละ 10 ของ GDP ระบบการเงนิ ก็มกี ารพ่ึงพาตลาดหนุ้ ในสดั ส่วนที่
สูงเช่นกันและด้วยภาษาพูดเดียวกันจากอิทธิพลของสื่อสารมวลชน
ทำ� ใหบ้ รรยากาศทางเศรษฐกจิ และทศิ ทางการปรบั ตวั ของผบู้ รโิ ภคและ
ผู้ลงทนุ อาจจะคล้อยตามอเมรกิ ามากกวา่

อังกฤษยังคงมีความเป็นเอกเทศจากภาคพ้ืนทวีปยุโรป
จึงไมค่ ่อยรสู้ ึกว่าตนเป็นส่วนหนงึ่ ของภาคพนื้ ยโุ รปอยา่ งแทจ้ ริง

24 / Goodbye Social Enterprise

ตอนท่ี 8 Manchester หรอื The Cotton City

Manchester เปน็ เมอื งอตุ สาหกรรมทกี่ ำ� เนดิ ขนึ้ เปน็ เมอื งของ
โลก จากการปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรม ในศตวรรษที่ 18 -19 โดยไดม้ กี ารสรา้ ง
โรงงานอตุ สาหกรรมดา้ นส่งิ ทอ มีการนำ� วัตถดุ บิ คอื ฝ้าย (cotton) จาก
สหรัฐอเมริกา เข้ามาผลิตเป็นผ้าฝ้าย ส่งออกไปท่ัวโลก และด้วย
ประสิทธิภาพ ต้นทุน และการบริหารจัดการ ท�ำให้กิจการสิ่งทอ เช่น
Cottage industry ของอนิ เดยี ตอ้ งเลกิ กจิ การไปเกอื บทงั้ ชมพทู วปี และ
อาจจะเป็นเหตุหน่ึงในการที่ต้องการเป็นเจ้าอาณานคิ ม การผลิตสินค้า
ส่ิงทอน้ี ท�ำให้เมือง Manchester ต้องมีการใช้เคร่ืองจักร ท่ีต้องการ
เหล็กกล้าและถ่านหิน เปน็ ทมี่ าของการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการ
อพยพเขา้ มาของแรงงานจากชนบท เมอื ง Manchester มคี วามไดเ้ ปรยี บ
กว่าเมืองอื่นรอบข้างเพราะเป็นท่ีที่มีน้�ำบริบูรณ์เหมาะแก่การฟอกย้อม
สง่ิ ทอทตี่ อ้ งใชน้ ำ้� จดื ปรมิ าณมาก ทง้ั ทอ่ี ยหู่ า่ งจากทะเลกวา่ 50 กโิ ลเมตร
และต้องอาศัยเมืองท่า Liverpool ในการขนถ่ายจากเรือเดินทะเล
อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ประกอบการการท่าเรือและรถไฟใน Liverpool
ขึ้นคา่ ใชจ้ า่ ยเปน็ จ�ำนวนสงู ในทีส่ ุด Manchester จงึ แกป้ ัญหาโดยการ
ขุดคลองเพ่ือให้เรือเดินสมุทรสามารถเข้ามาจอดเทียบที่ท่า Salford

Goodbye Social Enterprise / 25

ซึ่งติดกับ Manchester ได้ ท�ำให้กิจการส่ิงทอไม่ต้องไปขึ้นกับ
Liverpool ทำ� ใหร้ ายไดจ้ ากการขนถา่ ยสนิ คา้ และกจิ การขนสง่ ทางรถไฟ
ของเมอื ง Liverpool ถกู กระทบอยา่ งหนกั การขุดคลองดังกลา่ วมีผล
ต่อระบบการขนส่งเหมือนการขุดคลองสุเอซ ท่ีขุดในระยะ 30 กว่าปี
กอ่ นหนา้ แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามประวตั ศิ าสตรม์ กี ารจารกึ วา่ ทงั้ ผปู้ ระกอบการ
เกย่ี วกบั ทา่ เรอื ใน Liverpool และผลู้ งทนุ ในคลองดงั กลา่ วตา่ งกป็ ระสบ
ภาวะขาดทนุ จนตอ้ งลม้ ละลาย

ผลจากการขยายตวั ของโรงงานอตุ สาหกรรมเปน็ เมอื งแรกอยา่ ง
รวดเร็ว มอี าคารสวยงามทีก่ ่อสร้างเปน็ ศลิ ปะแบบกรกี และโรมนั เพื่อใช้
เป็นโรงงาน หรือ โกดังขนาดใหญ่ โดยเฉพาะถนน Portland ท่ีใกล้
โรงแรมที่พัก มีอาคารใหญ่ๆ ขนาด 5-6 ชั้น เป็นจ�ำนวนมากที่ไม่ถูก
ท�ำลายจากการท้ิงระเบิดของนาซี ในช่วงสงครามโลกคร้ังที่ 2 เช่น
ในถนนอ่ืน กล่าวกันว่าในช่วงวันหยุด กลางเมืองนี้จะเหมือนเมืองร้าง
เช่นวันอาทิตย์ในแถบธุรกิจ Canary Wharf ในลอนดอนในปัจจุบัน
เพราะผคู้ นจะอยบู่ า้ นไมต่ อ้ งมาทำ� งานในอาคาร ตา่ งจากทกุ วนั นที้ อี่ าคาร
เหลา่ น้ีได้รบั การอนรุ ักษด์ ดั แปลงเปน็ ร้านรวงมากมาย เปน็ แหลง่ มาจบั
จ่ายซื้อของ อย่างไรก็ดีเมือง Manchester ท่ีเติบโตเร็วเมื่อศตวรรษท่ี
19 เปน็ เมืองทขี่ าดการวางแผนคนงานหลง่ั ไหลเข้ามาทำ� งานจากชนบท
และอยู่แบบสลัม เกิดปัญหาส่ิงแวดล้อมเช่นอากาศ และน�้ำเสีย
มีปัญหาอาชญากรรม รวมไปถึงมีการใช้แรงงานอย่างไม่ถูกต้อง
เปน็ แหลง่ ทมี่ าของแนวคดิ ตอ่ ตา้ นทนุ นยิ มของ คารล์ มารก์ (Karl Marx)
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เองเกิล (Engel) ท่ีเป็นผู้อยู่อาศัยในเมืองนี้
และไดร้ เู้ หน็ ความทกุ ขย์ ากของแรงงาน แนวคดิ หวั กา้ วหนา้ ทางการเมอื ง

26 / Goodbye Social Enterprise

ในเรอื่ งสทิ ธมิ นษุ ยชนจงึ กอ่ กำ� เนดิ ในเมอื ง Manchester เมอื่ ประธานาธบิ ดี
ลินคอล์น (Lincoln) ประกาศเลิกทาสและเกิดสงครามกลางเมือง
ชาวเมือง Manchester ซ่ึงแม้จะได้รับประโยชน์จากทาสในอเมริกา
ท่ชี ว่ ยทำ� งานในไรฝ่ า้ ย กลบั เปน็ ฝา่ ยสนบั สนนุ ฝ่ายเหนอื ของ ลนิ คอลน์
ในขณะที่เมอื งอน่ื เชน่ Liverpool สนบั สนนุ ฝา่ ยใต้ จากทีม่ ผี ู้ใชแ้ รงงาน
อยอู่ าศยั จำ� นวนมาก และมนี กั คดิ หวั กา้ วหนา้ ดนิ แดนแถบนยี้ งั ถอื วา่ เปน็
เขตสนบั สนนุ พรรคแรงงานอย่างมัน่ คง

อย่างไรก็ดี Manchester มีความรุ่งเรืองได้เพียง 200 ปีเศษ
เมอื่ สภาพแวดลอ้ มทางเศรษฐกจิ ในโลกไดเ้ ปลยี่ นไป ภายหลงั สงครามโลก
ครงั้ ที่ 2 เอเชยี ตะวนั ออก ไดพ้ ฒั นาอตุ สาหกรรมสงิ่ ทอขนึ้ ในประเทศตา่ งๆ
ประกอบกับการมีประดิษฐกรรมทางปิโตรเคมีน�ำเส้นใยสังเคราะห์เช่น
Polyester มาใช้แทนฝา้ ยมากขึ้นเรอื่ ยๆ ท�ำใหอ้ ุตสาหกรรมส่ิงทอและ
อตุ สาหกรรมเกย่ี วเนอ่ื งต่างๆ ใน Manchester ตอ้ งปิดตวั ลง คงเหลือ
แต่ซากอาคารขนาดใหญ่สมัย Victoria ที่สร้างด้วยอิฐแดงต่างๆที่เคย
เป็นโรงงานหรือตลาดการค้าสิ่งทอ รวมไปถึงซากอาคารที่เคยเป็น
แหลง่ เสอ่ื มโทรมของคนงาน สภาพของเมอื งทเี่ คยรงุ่ เรอื งกลายเปน็ เมอื ง
หดหู่จากการล่มสลายของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดินแดนแถบนี้กลายเป็น
เขตเศรษฐกิจที่ถดถอยเกิดปัญหาสังคมและเป็นปัญหาของอังกฤษ
มานับสิบปีโดยไม่ปรากฎว่ารัฐบาลในช่วงปี 1970-1990 มีนโยบายที่
ชดั เจนในการแกไ้ ขปญั หาฟืน้ ฟู

โชคดที เี่ มอื งนร้ี วมทงั้ เขตรอบๆ มมี หาวทิ ยาลยั ตงั้ อยเู่ ปน็ กระจกุ
ถึง 3 แห่ง ซึ่งมีนักศึกษารวมกว่า 120,000 คน University of
Manchester ถอื เปน็ องคก์ รทม่ี ลี กู จา้ งมากทสี่ ดุ ของเมอื ง ทำ� ใหเ้ ศรษฐกจิ

Goodbye Social Enterprise / 27

ของ Manchester ในชว่ งหลังไดพ้ ่งึ พาการศกึ ษา และการพัฒนาดา้ น
บริการต่างๆ ท่ีเก่ียวข้อง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ เมือง
Manchester ยังมีทีมฟุตบอลระดับต้นๆ ของอังกฤษถึง 2 ทีม คือ
Manchester United และ Manchester City จึงเป็นแหล่งดึงดูด
การเดินทางท่องเที่ยวและการกีฬา รัฐบาลจากพรรคแรงงานได้ทุ่มเท
งบประมาณในการดึงธุรกิจบางด้านเช่น BBC และ โรงถ่ายของ
Coronation Street มาตั้งท่ีชานเมืองในแถบท่ีเคยเป็นท่าเรือมาก่อน
ทำ� ใหเ้ กดิ บรรยากาศของการพฒั นาโดยมคี วามพยายามรกั ษารปู ลกั ษณ์
ทางสถาปัตย์ของอาคารโบราณไว้เพื่อดึงดูดนักท่องเท่ียว ส่งเสริมการ
ขยายตัวทางด้านธุรกิจ Media Art และ Creative ด้วย การจัดต้ัง
Industrial Park ที่ Salford เป็นการฟน้ื ฟู Manchester ใหก้ ลบั มามี
ความรงุ่ เรอื งอกี ครง้ั เปน็ แบบอยา่ งของการฟน้ื ฟเู ศรษฐกจิ อกี เมอื งหนง่ึ
ของโลกท่ีประสบชะตากรรมคล้ายกันคือ เมืองรถยนต์ในอเมริกา คือ
Detroit ทปี่ ระสบปญั หาตา่ งๆ จากการยา้ ยออกของอตุ สาหกรรมรถยนต์
จนเทศบาลเมืองถูกประกาศล้มละลายไม่มีรายได้เพียงพอแก่การ
ช�ำระหน้ีเทศบาล
28 / Goodbye Social Enterprise

ตอนท่ี 9 มหานครลอนดอน

ถึงแม้ว่าการเดินทางคร้ังน้ีจะใช้เวลาในนครหลวงแห่งน้ีไม่มาก
และเปน็ ทท่ี เ่ี คยมาหลายครงั้ แลว้ แตท่ กุ ครง้ั ทม่ี าทนี่ ก่ี ม็ เี รอ่ื งทชี่ วนคดิ ได้
ผมเคยมาเมืองน้ีเป็นครั้งแรกในปี 1971 เมื่อได้สอบผ่านปีแรกใน
มหาวิทยาลัยที่ฮอลแลนด์ ในคร้ังน้ัน การเดินทางท่ีเป็นหนทางหลักที่
ประหยัดกว่าการบินคือ การนั่งเรือข้ามฟาก จากปากแม่น�้ำท่ีเรียกว่า
Hoek van Holland ตอ้ งใช้เวลาเดินเรอื ตลอดทง้ั คนื และมารุ่งเช้าทที่ า่
Norwich จากนนั้ จงึ นงั่ รถไฟเขา้ มาลอนดอน แตท่ กุ วนั นก้ี ารเดนิ ทางจาก
ยโุ รปทางเรอื หมดยคุ แลว้ นอกจากการบนิ ขา้ มฟาก ทส่ี ะดวกมากคอื การ
น่ังรถไฟความเร็วสูงลอดช่องแคบอังกฤษจากฝร่ังเศส เข้ามาที่สถานี
Waterloo ทางด้านใต้ของลอนดอนการน�ำช่ือสถานที่ท่ีอังกฤษจับ
นโปเลียนได้มาตั้งเป็นช่ือสถานท่ีในลอนดอนและเป็นสถานีรถไฟแรก
ส�ำหรับการเข้ามาลอนดอน ก็คงจะสร้างความรู้สึกให้ฝร่ังเศสที่เป็น
ตัวตั้งตัวตใี น EU

ในยุคก่อนเมื่อมาลอนดอนก็จะมีความรู้สึกว่าเมืองนี้สกปรก
ไม่น่าอยู่ ตึกรามก็โทรมไม่สวยงามเท่าในภาคพ้ืนทวีป ทั้งนี้เนื่องจาก
ในยโุ รปถา้ เปน็ เมอื งทถี่ กู ระเบดิ ทำ� ลายในระหวา่ งสงครามโลกครงั้ ที่ 2 เชน่
เมอื งตา่ งๆ ในเยอรมนั และบางเมอื งในฮอลแลนด์ เชน่ เมอื งรอ้ ตเตอรด์ มั

Goodbye Social Enterprise / 29

จะเปน็ เมอื งสรา้ งใหมม่ คี วามทนั สมยั และมกี ารวางแผน สะอาดเรยี บรอ้ ย
ถ้าเป็นเมืองเก่าที่ไม่ได้ถูกท�ำลายก็จะมีการรักษาอาคารโบราณต่างๆ
อยา่ งดี เช่นเมืองในกลางกรุงปารสี บรัสเซล และ อมั สเตอร์ดัม เป็นต้น
แต่อังกฤษในช่วงทศวรรษท่ี 70-90 เป็นช่วงที่อังกฤษประสบปัญหา
เศรษฐกิจล่มสลาย เพราะภาคอุตสาหกรรมถดถอยไม่อาจแข่งกับ
อุตสาหกรรมท่สี รา้ งใหม่ทมี่ ีโรงงานทนั สมยั กวา่ ในยุโรปได้ หรือไมก่ ็ต้อง
ประสบกบั การแขง่ ขนั จากประเทศก�ำลงั พัฒนาเชน่ เอเซียในด้านสิ่งทอ
ขณะเดยี วกนั เมอื่ รฐั บาลดำ� เนนิ นโยบายแกไ้ ขรนุ แรงกจ็ ะเกดิ การตอ่ ตา้ น
จากสหภาพแรงงานซงึ่ มกี ารรวมตวั ทเี่ ขม้ แขง็ มาก รายไดร้ ฐั บาลจงึ ตกตำ�่
และไม่มีงบมาใช้ในการท�ำนุบ�ำรุงบ้านเมืองอย่างเพียงพอเท่าที่ควร
ตามถนนหนทางยังมีคนตกยากท่ีมาขอทานและบ้านเรือนก็ทรุดโทรม
วนั ดคี นื ดกี จ็ ะตอ้ งประสบการประทว้ งหยดุ งาน หรอื การกอ่ การรา้ ยของ IRA

แต่ทุกวันนี้ เมื่อมาลอนดอนความรู้สึกน้ีจะหมดไป เศรษฐกิจ
ของอังกฤษในช่วงสิบปีเศษเริ่มดีขึ้น ลอนดอนกลายเป็นเมืองที่เป็น
ศูนย์กลางการเงิน มีคนต่างชาติมาลงทุน และพ�ำนักอาศัย กลายเป็น
เมอื งนานาชาติมรี า้ นอาหารและแหลง่ ชอปปง้ิ มากมายทำ� ใหอ้ สงั หารมิ ทรพั ย์
มีราคาแพงขึ้นมาโดยตลอดแม้ว่าจะมีผลกระทบจากช่วงที่มีวิกฤต
เศรษฐกจิ โลกในปี 2550-52 แต่ก็เป็นช่วงสนั้ ในทางกลับกนั ชว่ งหลังน้ี
ปรากฎว่าเศรษฐกิจในยุโรปกลับมีปัญหาด้านการคลังและเศรษฐกิจ
ตกต่�ำท�ำให้มีคนว่างงานจ�ำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลก่อนหน้าล้วน
แต่มีการใช้จ่ายขาดดุลมาก รัฐบาลมีรายได้ตกต่�ำและรัฐบาลปัจจุบัน
ตอ้ งตดั รายจา่ ยเพอื่ รกั ษาวนิ ยั การคลงั ท�ำใหไ้ มม่ งี บเพอื่ ใชใ้ นการทำ� นบุ ำ� รงุ
บ้านเมือง ผู้ท่ีเดินทางไปยุโรปจะได้ความรู้สึกว่าเป็นที่ท่ีไม่สะอาด

30 / Goodbye Social Enterprise

เรยี บรอ้ ยเทา่ ทค่ี วร บางเมอื งในอติ าลี ไมม่ กี ารเกบ็ ขยะแตก่ องทงิ้ ไวต้ าม
ริมถนนเกลื่อนกลาด เช่นเมืองฟลอเรนซ์เคยมีปัญหามากกับเร่ืองขยะ
ในเมือง ในขณะทล่ี อนดอนได้รบั ประโยชนจ์ ากภาวะเศรษฐกจิ ทำ� ใหม้ ี
รายได้มาดูแลบ้านเมืองให้สะอาด เมื่ออสังหาริมทรัพย์มีราคาเพ่ิมเป็น
เทา่ ตวั เจา้ ของกย็ อมลงทนุ ทาสแี ละปรบั ปรงุ ใหส้ มราคา ทำ� ใหบ้ า้ นเมอื ง
ในลอนดอนทุกวันน้ีดูเรียบร้อยกว่าเม่ือ 30-40 ปีก่อน ท้ังยังไม่มีคน
ขอทานใหเ้ หน็ อยา่ งเมอื่ กอ่ น อยา่ งไรกด็ ี ผลจากการเพมิ่ ราคาบา้ นทำ� ให้
การครองชพี ในลอนดอนทกุ วนั นมี้ คี า่ ใชจ้ า่ ยแพงขน้ึ มาก เมอื่ ไปลอนดอน
ครง้ั แรกยงั จำ� ไดว้ า่ เคยเขา้ รา้ นอาหารจนี ทานขา้ วหนา้ เปด็ ราคาไมถ่ งึ หนงึ่
ปอนด์ แตท่ ุกวันนีร้ าคาจะเพิ่มไปเปน็ 10 เทา่ ตวั ค่าเชา่ บ้านท่แี พงมาก
ก็ท�ำให้ผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อนในเร่ืองที่อยู่อาศัย มีการร้องเรียนต่อ
รฐั บาลหรอื ไมก่ ต็ อ้ งไปอยตู่ า่ งเมอื งทคี่ า่ เชา่ บา้ นถกู กวา่ เชน่ พนกั งานของ
บบี ซี ที ย่ี า้ ยไปเมอื ง Salford แตโ่ ชคดที ล่ี อนดอนมรี ะบบรถไฟฟา้ ใตด้ นิ ท่ี
เช่ือมไปเกือบทุกที่ในเมืองท�ำให้การเดินทางเข้าเมืองยังสะดวกรวดเร็ว
แมจ้ ะตอ้ งไปอยู่ด้านนอกเมืองก็ตาม

ทุกวันน้ี รัฐบาลได้เปิดทางให้การเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ต่างๆ
ไม่ต้องเสียเงิน ที่พิพิธภัณฑ์ Victory and Albert Museum
แถว Knightsbridge มีการต้ังแสดงของเก่าจากประเทศต่างๆ ในโลก
ในสว่ นทเี่ ปน็ ของไทย มกี ารตง้ั แสดงพระสงั วาลยป์ ระดบั เพชรงดงามมาก
มีการติดรูปแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลที่ 5 เคยฉายพระรูปที่ทรงพระสังวาลย์น้ี โดยมีเขียนก�ำกับ
ค�ำอธิบายว่า ยืมมาจากของสะสมส่วนบุคคล ท�ำให้เกิดความสงสัย
วา่ สมบัติของชาติเรามาเป็นของสะสมสว่ นบุคคลที่น่ไี ดอ้ ยา่ งไร

Goodbye Social Enterprise / 31

ตอนท่ี 10 เสน้ ทางคมนาคม และการพฒั นาเมอื ง

Manchester มีประชากรภายในเมือง 5 แสนคนและมี
ประชากรรอบนอกอกี 2 ล้านคนแต่ การจราจรก็ไมพ่ ลุกพล่านมากนัก
ไม่มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่มีระบบรถเมล์วิ่งไม่เก็บค่ารถเมล์โดยสาร
ท�ำให้ผู้คนไม่จ�ำเป็นต้องใช้รถส่วนตัว ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการ
ประหยดั พลงั งาน และไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ ปญั หารถตดิ นอกจากนเี้ พอื่ เชอื่ มเมอื ง
Salford ซ่ึงมีการพัฒนาพ้ืนที่ริมท่าเรือดั้งเดิม กับเมือง Manchester
กไ็ ดจ้ ดั ใหม้ ีรถรางวิ่ง ผูเ้ ดินทางเมอื งนี้นอกจากไมใ่ ช้รถแลว้ ก็ไม่มีรถจกั ร
ยนตว์ งิ่ หรอื เทยี บกบั เมอื ง Cambridge ยงั มกี ารใชจ้ กั รยานสองลอ้ คลา้ ย
ในประเทศเนเธอร์แลนด์

การเดินทางในลอนดอนถึงจะเป็นเมืองใหญ่แต่ก็สะดวกมาก
เพราะมรี ถไฟฟา้ ใตด้ นิ ทส่ี านกนั เปน็ ใยแมงมมุ และมกี ารกอ่ สรา้ งเสน้ ทาง
ใหมๆ่ มาตลอด มกี ารใชร้ ถเมลส์ แี ดงเชอ่ื มตอ่ กนั เพราะอยภู่ ายในองคก์ ร
เดียวกนั สามารถใช้บตั ร Debit card คอื บัตร Oyster เดยี วกนั เดินทาง
เช่ือมต่อกันได้ โดยคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่ายก็ได้ ต่างจากบ้านเราท่ี
ระบบขนสง่ ในเมอื งยงั แยกกนั หลายหนว่ ยงานไมเ่ ชอื่ มโยงกนั แตก่ ไ็ ดข้ า่ ว
32 / Goodbye Social Enterprise

ว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะปรับระบบเส้นทางวิ่งของรถเมล์
ให้ประสานกับเสน้ ทางว่ิงของรถไฟฟา้

ระบบถนนในอังกฤษโดยทั่วไปยังมีช่องทางว่ิงท่ีแคบ และมี
ไมก่ ช่ี อ่ งทาง ขอ้ ดกี ค็ อื ตน้ ไมใ้ หญส่ องขา้ งทางจะเตบิ โตมาก ทำ� ใหท้ วิ ทศั น์
สวยงานเป็นธรรมชาติ เพราะเขาคงไม่นิยมการตัดต้นไม้ทิ้งเพื่อขยาย
ถนนแบบบา้ นเรา แตข่ อ้ เสยี คอื เวลามอี บุ ตั เิ หตกุ จ็ ะเปน็ คอขวด ชว่ งทเ่ี รา
เดินทางจากลอนดอนเพ่ือไปสนามบิน Heathrow เป็นบ่ายวันศุกร์
รถจึงมีมากตลอดทาง เพราะผู้คนคงเดินทางออกจากเมืองเพื่อไปอยู่
ตา่ งเมอื ง สนามบนิ ทกุ วนั นกี้ ม็ ี terminal 2 ทเ่ี พง่ิ ปรบั ปรงุ ใหมก่ วา้ งขวาง
และดูสะอาดกว่าเมื่อก่อน เสียอย่างเดียวการจราจรทางออกมีปัญหา
แออดั เสยี เวลารอเครอ่ื งบนิ ขนึ้ หรอื เขา้ จอดเปน็ ชว่ั โมงๆ บางครง้ั หากมา
เช่ือมตอ่ เครือ่ งบนิ ทนี่ ่กี ม็ กั จะไดก้ ระเปา๋ ชา้ เป็นวนั ๆ

ทางนำ้� ใน Manchester ทเี่ คยเปน็ เสน้ ทางคมนาคมขนสง่ สนิ คา้
วตั ถดุ บิ คอื ฝา้ ยและถา่ นหนิ เขา้ มาและนำ� สนิ คา้ สำ� เรจ็ รปู คอื ผา้ ผนื ออกไป
บัดนี้ก็เลิกใช้แล้ว เคยมีความคิดกันว่าจะถมกลับไปเป็นแผ่นดิน
แตโ่ ชคดที ค่ี วามคดิ นไ้ี มไ่ ดร้ บั การยอมรบั เพราะทกุ วนั น้ี ทดี่ นิ รมิ นำ้� กลาย
เป็นท่ีท่ีมีราคาได้รับความนิยมสูง และเป็นพ้ืนที่ในการพัฒนาให้เป็น
ศนู ยก์ ลางทางธรุ กจิ ทางดา้ น ICT คลา้ ยกบั เมอื งทา่ หลายแหง่ ในโลกทไี่ ด้
พฒั นา waterfront ทเี่ คยใชเ้ ปน็ ทา่ เรอื ใหเ้ ปน็ แหลง่ ธรุ กจิ และทอ่ี ยอู่ าศยั
เช่นเมอื ง Baltimore ใน Maryland USA และ Sydney ใน Australia
เพราะระบบการขนส่งได้ย้ายไปใช้ท่าเรือน้ำ� ลึกและขนในลักษณะท่ีเป็น
Container ดว้ ยรถพว่ งทยี่ าว ไมเ่ หมาะกบั การวง่ิ เขา้ มาในเมอื ง กรงุ เทพฯ
ของเราทุกวันน้ีก็มีการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆ กัน เพราะได้มีการพัฒนา

Goodbye Social Enterprise / 33

ท่าเรือแหลมฉบัง และลดบทบาทของท่าเรือคลองเตย หวังว่าผู้บริหาร
คงมีแผนระยะยาวพัฒนาพ้ืนท่ีบริเวณริมแม่น�้ำเจ้าพระยาส่วนนี้เพราะ
เปน็ Waterfront ท่มี ีความยาวกวา่ หนึง่ กิโลเมตร น่าจะเปน็ ศนู ยก์ ารค้า
และที่พักผ่อนของชาวกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดี นอกจากน้ี
ฝ่งั ตรงข้ามยังเปน็ เขตอนรุ ักษ์บางกระเจ้า ทเ่ี ป็นปอดของกรุงเทพ
34 / Goodbye Social Enterprise

โดยสรปุ

ความรสู้ กึ ทไี่ ดจ้ ากการพบปะกบั มหาวทิ ยาลยั ทง้ั 5 แหง่ ในคราวน้ี
ส่วนหนึ่งก็คือ การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นอิสระ
คอ่ นขา้ งมาก ไมย่ ดึ ตดิ กบั กฎเกณฑท์ ไี่ มย่ ดื หยนุ่ ดงั เชน่ มหาวทิ ยาลยั ของไทย
ส่ิงใดที่เป็นเร่ืองท่ีดีแต่ไม่ได้เขียนเป็นกฎหมายหรือระเบียบไว้
เขาจะดำ� เนนิ การได้ ไมต่ อ้ งรอไปถามกระทรวงศกึ ษาธกิ ารกอ่ น ผบู้ รหิ าร
มหาวทิ ยาลัยจะเปิดใจกว้างมุ่งที่ Output, Process และ Outcome
เป็นหลัก มากกว่าการมุ่งรูปแบบ ดังเห็นได้จากการน�ำงานวิจัยสู่ธุรกิจ
แตล่ ะแหง่ กม็ รี ูปแบบทแ่ี ตกตา่ งกัน บ้างก็ทำ� ในรูปของหนว่ ยงานภายใน
มหาวทิ ยาลัย บางแหง่ กจ็ ดทะเบียนเปน็ บริษทั บางแหง่ ก็มลี ักษณะเป็น
ธรุ กจิ ทไี่ มจ่ า่ ยกำ� ไรเปน็ ตน้ การประกาศไมย่ ดึ ตดิ กบั Social Enterprises
กเ็ ปน็ อกี ตวั อยา่ งหนงึ่ ของการมงุ่ ผลสดุ ทา้ ย และวธิ กี ารทำ� งานของรฐั บาล
ก็พยายามออกมาในรปู ของการมสี ว่ นรว่ ม การเป็นเจ้าของท่รี ับผดิ ชอบ
ร่วมกัน ดังเห็นได้จากการใช้ช่ือ Partnerships ใน LEP วัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยในอังกฤษจึงเอ้ือต่อการคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรม
ท�ำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีสังคมที่เอ้ืออาทร และสามารถแก้ไขปัญหาได้
อย่างเปน็ ประชาธปิ ไตย

การดูงานครั้งนี้ ผู้จัดท�ำได้ดีมาก มีการใช้เวลาและแบ่งเวลา
ให้เปน็ ประโยชน์ ทำ� ใหไ้ ดค้ วามรแู้ ละสาระ ทัง้ ยังเปน็ โอกาสให้ผบู้ ริหาร
ตา่ งมหาวทิ ยาลยั ไดแ้ ลกเปลยี่ นทรรศนะในระหวา่ งการเดนิ ทางตา่ งเมอื ง

Goodbye Social Enterprise / 35

ในรถบสั เปน็ ประโยชนใ์ นการมมี ติ รภาพตอ่ กนั ทอี่ าจจะชว่ ยเหลอื กนั ได้
ต่อไปในอนาคต วิทยากรที่เชิญมาให้ความรู้ทุกแห่งล้วนมีความกระตือ
รอื ลน้ ในการใหข้ อ้ มลู และตอบขอ้ ซกั ถามอยา่ งเตม็ ท่ี ทำ� ใหไ้ ดข้ อ้ คดิ ใหมๆ่
ทเ่ี ปน็ ประโยชนต์ อ่ การทำ� งานในหนว่ ยงานตา่ งๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ ง โดยเฉพาะ
ในประเดน็ เกยี่ วกับ Social enterprises และ การท�ำงานของ Local
Enterprise Partnerships ซึง่ เปน็ เป้าหมายของการดูงานคร้ังน้ี

อ้างองิ

วิจารณ์ พานิช. อุดมศึกษาอังกฤษ: สะท้อนความคิดจากการดูงาน.
กรุงเทพฯ, สถาบันคลังสมองของชาติ, 2556.

36 / Goodbye Social Enterprise


Click to View FlipBook Version