The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานกิจการ งป.65 ebook

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pairit Puangvijit, 2022-12-01 19:03:57

รายงานกิจการ สอ.สพ. 2565

รายงานกิจการ งป.65 ebook

สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั 149
รายงานกจิ การประจำปี 2565

150 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั 151
รายงานกจิ การประจำปี 2565

รายรับ 216,044,800.00 บาท

คา่ ใช้จ่าย 86,091,054.64 บาท

สหกรณ์ฯ จะมีกำไร ในปี 2566 ประมาณ 129,953,745.36 บาท

มติทีป่ ระชุมใหญ่...............................................................................................

152 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เรอื่ งท่ี 4 การลงทนุ ของสหกรณ์

เลขานกุ ารฯ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10

(7) ประกอบมาตรา 62 (7) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และมติคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์

แหง่ ชาติ ในการประชุมคร้งั ที่ 2/2558 เม่อื วนั ท่ี 28 พฤษภาคม 2558 คณะกรรมการพฒั นาการสหกรณแ์ ห่งชาติ จงึ

ออกประกาศกำหนดการนำเงินของสหกรณฝ์ ากหรือลงทนุ อย่างอน่ื ไวด้ ังต่อไปน้ี

ฯลฯ

ข้อ 3 เงนิ ของสหกรณ์อาจฝากหรอื ลงทนุ ได้ ดังต่อไปน้ี

(1) บัตรเงินฝากทธ่ี นาคารเป็นผอู้ อก

(2) ตว๋ั แลกเงนิ ทธ่ี นาคารเป็นผ้รู ับรอง สลกั หลังหรอื รบั อาวัลหรือต๋วั สัญญาใชเ้ งินท่ธี นาคารเปน็ ผู้สลักหลัง

หรอื รับอาวลั โดยไมม่ ีข้อจำกัดความรบั ผดิ

(3) ตราสารแสดงสิทธิในหน้ีทธี่ นาคารซ่ึงมิใช่รัฐวสิ าหกจิ เป็นผู้ออก

(4) บัตรเงนิ ฝาก หรือใบรบั ฝากเงินท่ีออกโดยบริษัทเงินทุน หรือบรษิ ทั เครดติ ฟองซิเอรซ์ ึ่งสถาบนั ค้มุ ครอง

เงินฝากประกันชำระคืนตน้ เงินและดอกเบยี้

(5) ตราสารแสดงสิทธิในหน้ีท่ีนติ ิบคุ คลเฉพาะกิจเป็นผู้ออกภายใต้โครงการแปลงสนิ ทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

ท่ไี ด้รบั อนุญาตตามพระราชกำหนดนิตบิ ุคคลเฉพาะกิจ เพ่ือการแปลงสินทรัพย์เปน็ หลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 และตรา

สารแสดงสิทธใิ นหนน้ี ัน้ ได้รบั การจัดอนั ดับความน่าเช่ือถือ ตงั้ แต่ระดับ A- ข้ึนไป จากบริษทั จัดอันดบั ความน่าเชื่อถือ

ทีไ่ ดร้ บั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรพั ย์และตลาดหลกั ทรพั ย์

(6) หุ้นกู้ที่มีหลักประกัน หรือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A- ขึ้นไป

จากบรษิ ัทจดั อนั ดับความน่าเช่ือถือท่ไี ดร้ ับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกบั หลักทรพั ย์และตลาดหลกั ทรัพย์

(7) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รัฐวิสาหกิจจัดตัง้ ขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอยู่ในการ

กำกบั ดูแลของคณะกรรมการกำกบั หลกั ทรัพย์และตลาดหลกั ทรัพย์

ขอ้ 4 การนำเงนิ ไปฝากหรอื ลงทุน ตามข้อ 3(7) รวมกันต้องไมเ่ กนิ ทุนสำรองของสหกรณ์ และต้องผ่านการอนุมัติ
จากทปี่ ระชมุ ใหญข่ องสหกรณก์ อ่ นจึงจะดำเนนิ การได้

ฯลฯ

อนึ่ง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด มีทุนสำรอง
จำนวน 173,278,068.60 บาท ดังนั้น เพื่อให้การบริหารการลงทุนของสหกรณ์ฯ เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
คณะกรรมการดำเนินการจึงขอเสนอที่ประชุมใหญ่ฯ พิจารณาอนุมัติให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ฯ นำ
เงินไปฝากหรือลงทุน ตามข้อ 3(7) รวมกันต้องไม่เกินทุนสำรองของสหกรณ์ และต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม
ใหญฯ่ ของสหกรณก์ อ่ นจงึ จะดำเนนิ การได้

มติที่ประชุมใหญ่ เห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ............ให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ฯ นำเงินไปฝากหรือ
ลงทุนในหลักทรพั ย์ได้ตามท่เี สนอ

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด 153
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เรอื่ งท่ี 5 การกำหนดวงเงินกู้ยมื หรือการคำ้ ประกัน ประจำปี 2566

เลขานุการฯ ตามข้อบงั คบั ของสหกรณอ์ อมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั ขอ้ 17 ได้กำหนดให้ที่

ประชุมใหญก่ ำหนดวงเงินซึง่ สหกรณอ์ าจกยู้ มื หรอื การคำ้ ประกนั มรี ายละเอยี ด ดงั น้ี

ข้อบังคับ ข้อ 17

“วงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน ที่ประชุมใหญอ่ าจกำหนดวงเงินกยู้ ืมหรือการค้ำประกันสำหรบั ปีหน่ึง ๆ ไว้
ตามทีจ่ ำเป็นและสมควรแกก่ ารดำเนินงาน วงเงินซึง่ กำหนดดังว่านต้ี ้องไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากนายทะเบยี นสหกรณ์

ถ้าที่ประชุมใหญ่ยังมิได้กำหนด หรือนายทะเบียนสหกรณ์ยังมิได้ให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำ
ประกันสำหรบั ปใี ด กใ็ ห้ใช้วงเงินกู้ยืมหรือการคำ้ ประกนั สำหรับปกี อ่ นไปพลาง”

ในปี 2565 สหกรณ์ฯ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ให้กำหนดวงเงินกู้ยืมไว้เป็น จำนวน
1,402,000,000.00 บาท (หนงึ่ พนั สี่ร้อยสองลา้ นบาทถ้วน)

สำหรบั ในปี 2566 คณะกรรมการจงึ เสนอวงเงนิ กูย้ ืมและค้ำประกัน จำนวน 1,480,000,000.00 บาท
(หนงึ่ พนั ส่ีรอ้ ยแปดสิบล้านบาทถ้วน) ขอให้ทป่ี ระชมุ รว่ มกันพิจารณา

มตทิ ป่ี ระชมุ ใหญ่ ...........................................................

เรอ่ื งท่ี 6 การคดั เลือกผูต้ รวจสอบกจิ การ ประจำปี 2566

เลขานุการฯ ตามพระราชบญั ญตั ิสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 53 ให้สหกรณ์มผี ู้ตรวจสอบกจิ การ ซึ่งที่

ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก หรือบุคคลภายนอก เพื่อดำเนินการตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ฯ โดยสามารถ

เลอื กจากบุคคลภายนอกได้ไม่เกิน 5 คน ในกรณีทเ่ี ปน็ นิตบิ ุคคลสามารถเลอื กไดห้ น่ึงนติ บิ ุคคล มผี ตู้ รวจสอบกิจการ

เสนอบริการตรวจสอบ จำนวน 1 ราย ขอให้ท่ปี ระชมุ ใหญ่รว่ มกันพจิ ารณา ดังนี้

มติท่ีประชมุ ใหญ่...........................................................

154 สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวุธทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เร่ืองที่ 7 การคดั เลือกผสู้ อบบัญชรี บั อนุญาต ประจำปี 2566

เลขานุการฯ มีผู้สอบบญั ชีภาคเอกชนเสนอบรกิ ารสอบบญั ชี จำนวน 2 ราย ขอให้ท่ีประชุมรว่ มกัน

พิจารณา ดังนี้

บริษัท รายละเอยี ดการสอบบญั ชี

1.บรษิ ทั สำนักบญั ชีทองเอก จำกดั 1. การเข้าปฏิบตั ิงานตรวจสอบบญั ชี

โดย นายศกั ดิ์ชาย จันทร์เรือง - เขา้ ตรวจสอบด้วยตนเองอยา่ งน้อยปีละ 1 ครั้ง

- มอบหมายให้ผ้ชู ่วยผสู้ อบบญั ชีเขา้ อยา่ งนอ้ ยปลี ะ 2 ครง้ั

- เขา้ ตรวจสอบครั้งละไม่นอ้ ยกว่า 3 วันทำการ ผู้ชว่ ยเขา้ ตรวจไม่น้อยกวา่ 3 คน

2. การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ

- รายงานการสอบบญั ชรี ะหว่างปีให้สหกรณฯ์ และกรมส่งเสรมิ สหกรณ์ทราบ

3. บรกิ ารอื่น ๆ

- ใหค้ ำแนะนำในดา้ นการบริหารการเงนิ การบญั ชีตามสมควร

4. ค่าธรรมเนยี มการสอบบัญชี

- 85,000 บาท โดยรบั คา่ บรกิ ารเม่ืองานเสร็จ

2. บริษัท เอ็น.เอส.เค.สอบบญั ชี จำกัด 1. การเขา้ ปฏบิ ัติงานตรวจสอบบัญชี

โดย นายอาภากร เทศพนั ธ์ - เข้าตรวจสอบ 4 ครงั้ /ปี (ครง้ั ละ 3 – 5 วันทำการ)

- ผูช้ ว่ ยผ้สู อบบญั ชีไม่นอ้ ยกว่า 5 คน

2. การจดั ทำรายงานผลการตรวจสอบ

- รายงานการสอบบัญชีระหวา่ งปใี ห้สหกรณ์ฯ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ

3. บริการอนื่ ๆ

- ให้คำแนะนำในด้านการบรหิ ารการเงินการบญั ชีตามสมควร

- วิเคราะหง์ บการเงนิ รอบ 4 เดอื นและวเิ คราะห์งบการเงินรายปี

4. คา่ ธรรมเนยี มการสอบบญั ชี

- 110,000 บาท แบง่ เป็น 2 งวด

- งวดท่ี 1 จำนวน 40,000 บาท ตรวจระหว่างปี ต.ค. 65 - มี.ค. 66 แล้วเสร็จ

- งวดที่ 2 จำนวน 70,000 บาท รายงานการสอบประจำปี 66 แลว้ เสรจ็

มติทป่ี ระชมุ ใหญ่ ...........................................................

สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกดั 155
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เร่อื งท่ี 8 การแก้ไขเพ่มิ เติมข้อบงั คับโดยเปล่ียนใช้ขอ้ บงั คบั ใหม่ทั้งฉบบั

เลขานกุ ารฯ ขอเชิญประธานกรรมการฝา่ ยศึกษา และประชาสัมพันธ์

ประธานฯ ฝ่ายศึกษาฯ นำเสนอข้อบงั คับฉบบั ใหม่

ขอ้ บงั คบั สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั
พ.ศ. ๒๕๖๕

ตามมตขิ องท่ีประชมุ ใหญส่ หกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั เมื่อวันที่ ๓๐ เดอื น พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไดล้ งมตเิ ป็นเอกฉนั ท์ ใหแ้ ก้ไขข้อบังคับโดยยกเลิกข้อบังคบั สหกรณเ์ สยี ท้ังหมดและให้ใช้ข้อบังคับฉบับ
นี้แทนซงึ่ นายทะเบียนสหกรณไ์ ดร้ ับจดทะเบยี นแล้วมคี วามดงั น้ี

ข้อบังคับนเ้ี รียกวา่ “ขอ้ บงั คับสหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด พ.ศ. ๒๕๖๕”
ขอ้ บงั คบั น้ใี ห้ใช้บังคับตั้งแตว่ นั ถัดจากวันที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบยี นใหย้ กเลิกข้อบังคับสหกรณ์ท่ี
มอี ยกู่ อ่ นขอ้ บังคับสหกรณฉ์ บับท่ีใชบ้ งั คบั นับแต่วนั ทข่ี ้อบังคับสหกรณ์ฉบับน้มี ีผลบังคับใช้

156 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อบังคบั

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ

พ.ศ.๒๕๖๕

หมวด ๑

ชื่อ ประเภทและที่ต้ังสำนักงาน

ข้อ ๑ ช่ือ ประเภทและท่ตี ั้งสำนักงาน

ชอื่ สหกรณอ์ อมทรัพย์ กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั

NAVAL ORDNANCE DEPARTMENT SAVING AND

CREDIT COOPERATIVE LIMITED

ชอ่ื ย่อ สอ.สพ. (NODSACC)

ประเภท สหกรณ์ออมทรัพย์

ทต่ี ง้ั สำนักงาน (ใหญ่) เลขท่ี ๑๔๓/๑ หมู่ ๘ ถนนสขุ ุมวิท ตำบลสตั หีบ อำเภอสตั หีบ

จงั หวดั ชลบรุ ี

ทต่ี ั้งสำนกั งานสาขาบางนา เลขที่ ๑๒๐ ถนนรมิ ทางรถไฟเกา่ แขวงบางนา เขตบางนา

จงั หวัดกรงุ เทพมหานคร

ที่ต้งั สำนกั งานสาขาป้อมพระจลุ ฯ เลขที่ ๑๒๑ ถนน สุขสวสั ดิ์ หมู่ ๕ ตำบล แหลมฟ้าผ่า

อำเภอพระสมุทรเจดยี ์ จงั หวัดสมุทรปราการ

ที่ตงั้ สำนักงานสาขาสงขลา อาคารพักนายทหารสญั ญาบัตร ๒ ฐานทพั เรือสงขลา

ทัพเรือภาค ๒ ถนนริมทะเล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง

จงั หวัดสงขลา

ทต่ี งั้ สำนกั งานพัฒนาสหกรณ์ เลขท่ี ๑๒๐ ถนนรมิ ทางรถไฟเก่า แขวงบางนา เขตบางนา

สาขาบางนา จงั หวัดกรงุ เทพมหานคร

สหกรณ์อาจย้ายที่ตั้งสำนักงานได้ตามที่คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเห็นสมควรโดยแจ้งให้

นายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบ และให้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของ

สหกรณ์เดิม สำนักงานส่วนราชการสหกรณ์ และที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่สหกรณ์ที่ตั้งอยู่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า

สามสบิ วนั และให้ดำเนนิ การแก้ไขเพิ่มเตมิ ข้อบังคับในการประชุมคราวตอ่ ไปด้วย

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกัด 157
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ตราของสหกรณ์ ตราของสหกรณม์ รี ูปลักษณะดงั น้ี
ประกอบด้วยวงกลมซ้อนกัน ๒ วง ระหว่างวงกลมทั้งสอง ส่วนบนมีอักษรคำว่า
“สหกรณ์ออมทรัพย์” ส่วนล่างมีคำว่า “กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด” ภายในวงกลมด้าน
หลังสุดบรรจุสมอเรือ และซ้อนทับด้วยทุ่นระเบิดมีปืนใหญ่โบราณและอาวุธปล่อยนำวิถี
สอดอยู่ภายในทุ่นระเบิด ปากกระบอกปืนอยู่ด้านซ้ายและอาวุธปล่อยนำวิถีอยู่ด้านขวา
ดา้ นนอกสดุ เปน็ รูปเฟืองจกั รทับอยูบ่ นทุน่ ระเบิด

หมวด ๒
วัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการ
ข้อ ๒ วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ของบรรดาสมาชกิ โดยวิธีชว่ ยตนเองและช่วยเหลือซง่ึ กนั และกนั ตามหลกั สหกรณ์ รวมทั้งในขอ้ ต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์ โดยช่วยให้สามารถสงวนส่วนแห่งรายได้ของตนไว้ในทางอันมั่นคง
และไดร้ ับประโยชน์ตามสมควร
(๒) ส่งเสรมิ การชว่ ยตนเองและชว่ ยเหลอื ซ่งึ กนั และกนั ในหมสู่ มาชิก
(๓) ใหบ้ รกิ ารทางการเงนิ แกส่ มาชกิ
(๔) จดั หาทนุ และบรกิ ารสินเชือ่ เพอ่ื การประกอบอาชีพและการดำรงชวี ิตของสมาชกิ
(๕) รว่ มมอื กบั สหกรณ์อนื่ สันนิบาตสหกรณแ์ ห่งประเทศไทย ชุมนมุ สหกรณ์ องค์กรชุมชน ภาคเอกชน
และหน่วยงานของรฐั เพอื่ ส่งเสรมิ และปรบั ปรงุ กจิ การของสหกรณ์
(๖) ส่งเสริมการเรยี นรแู้ ละการพัฒนาคุณภาพชวี ิตของสมาชกิ และชุมชน
ข้อ ๓ อำนาจกระทำการ เพอื่ ให้บรรลุวัตถุประสงคข์ องสหกรณ์ ใหส้ หกรณ์มีอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้
(๑) รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่นหรือหน่วยงานในสังกัดกรมสรรพาวุธทหารเรือหรือสมาคม
ฌาปนกิจสงเคราะห์
(๒) จัดหาทุนเพื่อกจิ การตามวตั ถปุ ระสงคข์ องสหกรณ์
(๓) ให้เงนิ กแู้ กส่ มาชกิ
(๔) ใหส้ หกรณ์อื่นกยู้ ืมเงิน
(๕) ซอื้ ห้นุ ของธนาคารซง่ึ มวี ตั ถุประสงค์เพอ่ื ใหค้ วามชว่ ยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์
(๖) ซอื้ หุ้นของชุมนุมสหกรณห์ รอื สหกรณ์อื่น
(๗) ซอ้ื ห้นุ ของสถาบันที่ประกอบธรุ กจิ อันทำให้เกดิ ความสะดวกหรือสง่ เสริมความเจรญิ แก่กิจการของ
สหกรณ์
(๘) ซือ้ หลักทรัพย์รฐั บาลหรือรัฐวสิ าหกิจ
(๙) ออกตวั๋ สญั ญาใชเ้ งินและตราสารการเงนิ

158 สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๑๐) ฝากหรือลงทุนอย่างอื่นตามกฎหมายและตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
กำหนด

(๑๑) ดำเนินการให้ก้ยู มื เพ่ือการเคหะ
(๑๒) ใหส้ วัสดกิ ารและการสงเคราะหต์ ามสมควรแกส่ มาชิกและครอบครัว
(๑๓) ใหค้ วามช่วยเหลอื ทางวชิ าการแกส่ มาชกิ
(๑๔) ขอหรอื รับความช่วยเหลอื ทางวิชาการจากทางราชการ หนว่ ยงานของตา่ งประเทศ หรือบคุ คลอ่ืน
ใด
(๑๕) กระทำการต่าง ๆ ตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ท่ี
กล่าวข้างต้น รวมถงึ ซอื้ ถือกรรมสิทธห์ิ รือทรัพยส์ ิทธิ ครอบครอง กู้ ยมื เช่าหรอื ให้เช่า เช่าซือ้ หรือให้เช่าซื้อ โอนหรือ
รับโอน สิทธกิ ารเชา่ หรือสิทธิการเชา่ ซ้ือ ขายหรือจำหนา่ ย จำนองหรือรบั จำนอง จำนำหรือรับจำนำ ด้วยวิธีอื่นใด ซงึ่
ทรัพยส์ ินแกส่ มาชิกหรือของสมาชกิ

หมวด ๓
ทนุ

ข้อ ๔ ท่ีมาของทนุ สหกรณ์อาจหาทุนเพ่ือดำเนินงานตามวตั ถุประสงค์ดงั ต่อไปน้ี
(๑) ออกหุน้ โดยวิธีการขายห้นุ ให้แก่สมาชิก
(๒) รบั ฝากเงนิ จากสมาชิก หรือสหกรณ์อืน่ หรือหน่วยงานในสังกัดกรมสรรพาวุธทหารเรือหรอื สมาคม

ฌาปนกจิ สงเคราะห์
(๓) กยู้ มื เงินหรอื รับเงินจากการออกต๋ัวสญั ญาใช้เงินหรือตราสารเงนิ อย่างอืน่
(๔) สะสมทุนสำรองและทนุ อื่น ๆ
(๕) รบั เงินบริจาค เงนิ อุดหนุนหรือทรัพยส์ นิ ทม่ี ผี ้ยู กให้

หนุ้

ขอ้ ๕ การออกหุน้ สหกรณ์ออกได้โดยไมจ่ ำกัดจำนวน มมี ลู คา่ ห้นุ ละสบิ บาท
ข้อ ๖ การถือหุ้น สมาชิกทุกคนต้องส่งชำระค่าหุ้นเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนแรกที่เข้าเป็นสมาชิกตาม
อัตราส่วนของจำนวนเงนิ ไดร้ ายเดือนของตน ตามที่กำหนดไวใ้ นระเบียบของสหกรณ์
เงินได้รายเดือนตามความในวรรคแรก หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างประจำ ไม่รวมกับเงินที่จ่ายควบกับ
เงินเดือน หรือค่าจ้างประจำซึ่งสมาชิกได้รับจากหน่วยงานเจ้าสังกัด รวมถึงบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ
บำนาญ ซึ่งสมาชิกได้รบั จากทางราชการด้วย
ถา้ สมาชิกประสงค์จะถือหุ้นรายเดือนในอัตราท่ีสูงกวา่ อัตราท่ีกำหนดไวใ้ นระเบยี บของสหกรณ์ หรือจะขอซื้อ
ห้นุ เพิ่มขึน้ อีกเม่ือใดก็ย่อมทำได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนนิ การ แตจ่ ำนวนหุ้นทั้งหมด
ต้องไม่เกนิ หนงึ่ ในหา้ ของหนุ้ ท่ชี ำระแล้วท้งั หมด

สหกรณ์ออมทรัพยก์ รมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั 159
รายงานกจิ การประจำปี 2565

สมาชิกจะโอนหรือถอนหุน้ ในระหวา่ งท่ีตนเปน็ สมาชิกอยูไ่ ม่ได้

และเม่อื สมาชิกภาพของสมาชิกส้ินสดุ ลง สหกรณ์มีสทิ ธนิ ำเงินตามมลู ค่าหุ้นทีส่ มาชิกมีอยู่มาหักกลบลบหนี้ท่ี
สมาชกิ ผกู พนั ต้องชำระหนีแ้ กส่ หกรณไ์ ดแ้ ละให้สหกรณม์ ีฐานะเป็นเจา้ หนีบ้ ุริมสทิ ธพิ ิเศษเหนือคา่ หุ้นน้ัน

ข้อ ๗ การชำระค่าหุ้นรายเดือน การชำระค่าหุ้นรายเดือนนั้น ให้ชำระโดยวิธีหักจากเงินได้รายเดือนของ
สมาชิกในวันจ่ายเงินได้รายเดอื นนน้ั ๆ ทุกเดอื น

(๑) ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถหักค่าหุ้นจากเงินรายเดือนของสมาชิกในวันจ่ายเงินได้รายเดือน
ประจำเดือนนั้นๆ ทุกเดือน ให้สมาชิกแสดงความประสงค์ขอจ่ายหุ้นด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสหกรณ์ ภายใน
ระยะเวลาทีก่ ำหนด

(๒) ในกรณีที่สมาชิกมีคำขอเป็นหนังสือและคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่า สมาชิก
นั้นตกอยู่ในพฤติการณ์อันทำให้ไม่สามารถชำระค่าหุ้นรายเดือนได้ โดยมิใช่เกิดขึ้นด้วยเจตนาอันไม่สุจริตของตน
คณะกรรมการดำเนินการจะอนุญาตให้สมาชิกนั้นมิต้องชำระค่าหุ้นรายเดือนชั่ว ระยะเวลาตามที่คณะกรรมการ
ดำเนินการเห็นควรก็ได้

ขอ้ ๘ การงดชำระเงนิ คา่ หุน้ รายเดือน สมาชิกที่ได้ชำระเงินค่าห้นุ ไม่น้อยกวา่ แปดสบิ สเี่ ดือน หรอื เปน็ จำนวน
เงินไม่น้อยกว่าแปดหมื่นบาท และไม่มีหนี้สินกับสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้คำ้ ประกัน จะงดชำระเงนิ คา่ หุน้ รายเดอื น
หรือลดจำนวนการถือหนุ้ รายเดือนลงกไ็ ด้ โดยแจง้ ความจำนงเปน็ หนังสอื ต่อคณะกรรมการดำเนนิ การ

ขอ้ ๙ การแจง้ ยอดจำนวนห้นุ สหกรณจ์ ะแจ้งยอดจำนวนห้นุ ทสี่ มาชิกชำระเต็มมูลคา่ แล้วให้สมาชิกแต่ละคน

ทราบทุกส้ินปที างบญั ชีสหกรณ์

ข้อ ๑๐ การจ่ายคืนค่าหุ้นบางส่วนระหว่างเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อสหกรณ์ได้ปิดบัญชีเป็น

ปัจจุบันและไม่มียอดขาดทุนสะสม สหกรณ์จึงจะจ่ายคืนค่าหุ้นบางส่วนให้แก่สมาชิกในระหว่างที่ยังเป็นสมาชิกได้

และต้องสามารถให้หน่วยงานตน้ สังกดั สมาชกิ หักเงิน ณ ท่ีจา่ ยนำส่งสหกรณไ์ ด้

คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจจัดทำแผนและวงเงินการจ่ายคืนค่าหุ้นบางส่วนระหว่างเป็นสมาชิก เสนอ

ต่อทปี่ ระชมุ ใหญ่อนมุ ัติ โดยให้คำนวณวงเงนิ การจ่ายในปีถัดไปจากการเปรียบเทียบทุนเรือนหุ้น ๒ ปีทางบญั ชีท่ีผ่าน

มา ซงึ่ ให้จ่ายไดไ้ ม่เกนิ ยอดทุนเรือนหุ้นทีเ่ พมิ่ ขนึ้

เมื่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติแผนการจ่ายเงินค่าหุ้นบางส่วนระหว่างเป็นสมาชิกแล้ว สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้นไม่เกนิ

ร้อยละ ๕ ของจำนวนสมาชิกทง้ั หมดทม่ี อี ยู่ ณ วันสิน้ ปที างบญั ชที ี่ผา่ นมา

สมาชิกแต่ละรายจะไดร้ บั คืนคา่ ห้นุ ไมเ่ กินรอ้ ยละ ๗๕ ของมูลคา่ หุน้ ทส่ี มาชกิ รายนั้นถืออยู่

ข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาการจ่ายคืนค่าหุ้น ลำดับการจ่าย และอื่น ๆ ให้เป็นไป

ตามทีก่ ำหนดไวใ้ นระเบียบสหกรณ์

ขอ้ ๑๑ คุณสมบัตขิ องสมาชิกทสี่ ามารถรับคนื คา่ ห้นุ บางสว่ น มีดงั นี้

(๑) เปน็ สมาชกิ โดยไมร่ วมสมาชกิ สมทบ

(๒) ต้องพน้ จากงานประจำ

(๓) ไม่มีภาระผกู พันต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ทง้ั ในฐานะผู้กหู้ รอื ผู้คำ้ ประกนั

(๔) ไม่เปน็ ลกู หนตี้ ามคำพพิ ากษาของสหกรณแ์ ละสถาบันการเงนิ อน่ื ๆ

160 สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

หมวด ๔
การดำเนินงาน
ข้อ ๑๒ การรับฝากเงิน สหกรณ์อาจรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือ
สหกรณ์อื่น หรือหน่วยงานในสังกัดกรมสรรพาวธุ ทหารเรือหรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมีสมาชิกของสมาคม
นน้ั ไมน่ ้อยกว่าก่ึงหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณผ์ รู้ ับฝากเงิน หรอื นติ ิบคุ คลซ่งึ มีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่าก่ึงหนึ่ง
ของนิติบุคคลนั้นเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนาย
ทะเบียนสหกรณ์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฝาก ดอกเบี้ย การถอนเงินฝากและอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของ
สหกรณ์ท่ไี ดร้ บั ความเห็นชอบจากนายทะเบยี นสหกรณ์
ใหส้ หกรณ์ดำรงสินทรัพยส์ ภาพคลอ่ งตามหลกั เกณฑ์ และวิธกี ารทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง

การให้กู้เงนิ
ขอ้ ๑๓ การให้เงินกู้ เงนิ ก้นู ้นั อาจให้ได้แก่

(๑) สมาชกิ ของสหกรณ์
(๒) สหกรณ์อื่น
การใหเ้ งินกแู้ กส่ มาชิกนัน้ ใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การมอี ำนาจพจิ ารณาวินิจฉยั ใหเ้ งินกไู้ ด้ตามข้อบงั คับนี้และ
ตามระเบยี บของสหกรณ์
ข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้ประเภทและจำกัดแห่งเงินกู้หลักประกัน
สำหรบั เงินกู้ ลำดับแหง่ การใหเ้ งินกู้ การกำหนดอัตราดอกเบ้ียเงนิ กู้ การส่งเงินงวดชำระหนี้สำหรับเงนิ กู้ การควบคุม
หลักประกัน การเรียกคืนเงินกู้ การสอบทานกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อหรือ
การใหเ้ งินกู้ และอ่ืน ๆ ใหเ้ ปน็ ไปตามท่ีกำหนดไวใ้ นระเบียบของสหกรณ์
การให้เงินกู้แก่สหกรณอ์ ื่นน้ัน คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณาใหก้ ู้ได้ต่อเมือ่ สหกรณ์มเี งินทนุ เหลือจาก
การใหก้ ้แู กส่ มาชิกแล้ว ตามระเบียบของสหกรณท์ ี่ได้รบั ความเห็นชอบจากนายทะเบยี นสหกรณ์
สมาชิกหรือสหกรณ์อื่นซึ่งประสงค์จะขอกู้เงินจากสหกรณ์นี้ ต้องเสนอคำขอกู้ตามแบบและระเบียบของ
สหกรณท์ ี่กำหนดไว้
เมอ่ื สมาชิกได้ทำความยินยอมเป็นหนังสือไว้กบั สหกรณ์ ให้ผ้บู งั คับบญั ชาในหนว่ ยงานของรฐั หรือนายจ้างใน
สถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดที่สมาชิกปฏิบัติหน้าที่อยู่ หักเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดที่กำหนด
จ่ายแก่สมาชิกนัน้ เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นที่มีต่อสหกรณ์ใหแ้ ก่สหกรณ์ตามจำนวนทีส่ หกรณ์แจ้งไป จนกว่า
หน้หี รอื ภาระผกู พนั นน้ั จะระงบั สิ้นไป ให้หนว่ ยงานน้นั หักเงินดงั กลา่ วและส่งเงินท่ีหกั ไว้น้นั ใหแ้ ก่สหกรณโ์ ดยพลนั
การแสดงเจตนายินยอมตามความข้างต้นนน้ั มอิ าจจะถอนคืนได้ เว้นแต่สหกรณใ์ ห้ความยินยอม

สหกรณ์ออมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด 161
รายงานกจิ การประจำปี 2565

การหกั เงนิ ตามความข้างต้นนั้น ต้องหักให้สหกรณ์เปน็ ลำดับแรก ถดั จากหนภ้ี าษีอากรและหักเงินเข้ากองทุน
ที่สมาชิกต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กฎหมายวา่ ด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

ขอ้ ๑๔ วตั ถปุ ระสงค์แห่งเงินกู้ เงนิ กูซ้ งึ่ ให้แก่สมาชิกไม่ว่าประเภทใด ๆ จะให้ไดแ้ ต่เฉพาะเพ่ือการอันจำเป็น
หรือมีประโยชนต์ ามท่ีคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร

ให้คณะกรรมการดำเนนิ การสอดสอ่ ง และกวดขนั การใชเ้ งนิ กขู้ องสมาชิกให้ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ท่ีให้เงินกู้นัน้
ข้อ ๑๕ ประเภทแหง่ เงนิ กู้ สหกรณ์อาจให้เงนิ ก้แู กส่ มาชกิ ได้ตามประเภทดังต่อไปน้ี

(๑) เงินกเู้ พอื่ เหตฉุ กุ เฉนิ ในกรณที สี่ มาชกิ มีเหตฉุ ุกเฉินหรือเหตุอันจำเปน็ รบี ดว่ น และมคี วามประสงค์
ขอกูเ้ งนิ คณะกรรมการดำเนนิ การอาจให้เงนิ กู้เพื่อเหตนุ ้ันได้ตามระเบยี บของสหกรณ์

(๒) เงินกู้สามัญ ในกรณีที่สมาชิกมีความประสงค์ขอกู้เงินสำหรับใช้จ่าย เพื่อการอันจำเป็นหรือมี
ประโยชนต์ า่ ง ๆ คณะกรรมการดำเนินการอาจพจิ ารณาให้เงนิ กู้สามัญแก่สมาชกิ นัน้ ได้ ตามระเบียบของสหกรณ์

(๓) เงนิ ก้พู ิเศษ เม่ือสหกรณ์มีฐานะการเงนิ ก้าวหน้าพอทจ่ี ะช่วยเหลือให้เงินกู้ เพื่อส่งเสริมฐานะความ
มั่นคงหรือเพื่อการเคหะ หรือก่อประโยชน์งอกเงยแก่สมาชิกได้ คณะกรรมการดำเนินการอาจใ ห้เงินกู้พิเศษแก่
สมาชิกนั้นได้ตามที่เห็นสมควร โดยผู้กู้ต้องระบุวัตถุประสงค์แต่ละอย่างของเงินกู้ประเภทนี้ตลอดจนเงื่อนไขและ
วธิ กี าร และต้องมหี ลกั ประกันตามท่ีกำหนดไว้ในระเบยี บของสหกรณ์

ข้อ ๑๖ ดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สหกรณ์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทที่ให้แก่สมาชิก ในอัตราตามที่กำหนดไว้ใน
ระเบยี บของสหกรณ์

ขอ้ ๑๗ การควบคมุ หลักประกนั และการเรียกคนื เงนิ กู้ ใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การตรวจตราควบคุมให้เงินกู้
ทุกรายมีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกัน
สำหรับเงินกรู้ ายใดบกพร่อง ผู้กจู้ ะตอ้ งจดั การแกไ้ ขใหค้ นื ดีภายในระยะเวลาทค่ี ณะกรรมการดำเนนิ การกำหนด

ในกรณีอย่างใดอยา่ งหนึ่งดังต่อไปนี้ ใหถ้ ือวา่ เงนิ กู้ไม่วา่ ประเภทใดๆ เปน็ อันถงึ กำหนดส่งคืนโดยสิ้นเชงิ พร้อม
ทั้งดอกเบี้ยในทันที โดยมิพักต้องคำนึงถึงกำหนดเวลาที่ให้ไว้ และให้คณะกรรมการดำเนินการจดั การเรียกคืนโดยมิ
ชักช้า

(๑) เมอื่ สมาชิกผกู้ ู้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตใุ ดๆ
(๒) เมอื่ ปรากฏตอ่ คณะกรรมการดำเนนิ การว่าผกู้ นู้ ำเงินกู้ไปใชผ้ ดิ ความมุ่งหมายทใ่ี ห้เงนิ กูน้ ้ัน
(๓) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดความบกพร่อง แล ะผู้กู้
มไิ ด้จดั การแกไ้ ขให้คืนดภี ายในระยะเวลาท่ีคณะกรรมการดำเนนิ การกำหนด
(๔) เมื่อผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลาถึงสองเดือน หรือผิดนัดการส่ง
เงินงวดชำระหน้ดี งั วา่ น้นั ถงึ สามคราวสำหรับเงนิ กู้รายหน่งึ ๆ

162 สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ในกรณีท่ผี ูค้ ำ้ ประกันจะตอ้ งรับผิดชำระหนแี้ ทนผู้กู้ตามที่กล่าวไวใ้ นวรรคก่อน และไมส่ ามารถชำระหน้นี ั้นโดย
สนิ้ เชิงได้ เมือ่ ผู้ค้ำประกนั รอ้ งขอ คณะกรรมการดำเนินการอาจผอ่ นผนั ให้ผ้คู ำ้ ประกันชำระเป็นงวดรายเดอื นจนครบ
จำนวนเงนิ กู้ แต่ทั้งน้ตี ้องไม่เกนิ จำนวนงวดสำหรบั เงนิ กู้ประเภทนน้ั ๆ

ข้อ ๑๘ ความผูกพันของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ผู้กู้ หรือผู้ค้ำประกันต้องรับผูกพันว่า ถ้าตนประสงค์จะขอโอน
หรอื ยา้ ย หรอื ลาออกจากราชการ หรืองานประจำตามข้อ ๓๔ (๓) จะตอ้ งแจง้ เปน็ หนังสือให้ สหกรณ์ทราบและแจ้ง
การชำระหนส้ี นิ ซ่งึ ตนมีอยสู่ หกรณ์ให้เสรจ็ สนิ้ เสียก่อน (เวน้ แต่กรณีท่ยี ังเปน็ สมาชิกอยตู่ ามขอ้ ๔๖)

การฝากหรือการลงทนุ ของสหกรณ์
ข้อ ๑๙ การฝากหรือการทุนของสหกรณ์ เงินของสหกรณ์นั้นสหกรณ์อาจฝากหรือลงทุนได้ตามที่กำหนดไว้
ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ และตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด ภายใต้กฎหมายว่าด้วย
สหกรณ์ โดยให้คำนงึ ถงึ ความมนั่ คงและประโยชน์สงู สุดท่สี หกรณ์หรอื สมาชิกจะไดร้ บั

การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกัน
ข้อ ๒๐ วงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน ให้ที่ประชุมใหญ่อาจกำหนดวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกันสำหรับปี
หนึ่งๆ ไว้ตามที่จำเป็นและสมควรแก่การดำเนินงาน วงเงินซึ่งกำหนดดังว่านี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วย
สหกรณก์ ำหนดไวแ้ ละไดร้ ับความเหน็ ชอบจากนายทะเบยี นสหกรณ์
ถ้าที่ประชุมใหญ่ยังมิได้กำหนด หรือนายทะเบียนสหกรณ์ยังมิได้ให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำ
ประกันสำหรับปใี ด กใ็ ห้ใชว้ งเงนิ กู้ยืมหรอื การคำ้ ประกันสำหรับปีก่อนไปพลาง
ขอ้ ๒๑ การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกนั สหกรณอ์ าจกู้ยมื เงนิ หรอื ออกตั๋วสัญญาใชเ้ งิน หรอื ตราสารการเงิน
หรอื โดยวธิ ีอ่นื ใด สำหรบั ใช้เปน็ ทุนในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ได้ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
ทงั้ น้ี จะตอ้ งอย่ภู ายในวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกนั ประจำปีตามข้อ ๒๐

การเงินและการบัญชีของสหกรณ์
ข้อ ๒๒ การลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์ การลงลายมือชื่อเพ่ือให้มีผลผูกพันสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับ
บุคคลภายนอก เว้นแต่จะกำหนดไว้เปน็ พเิ ศษตามขอ้ บงั คบั นี้ ให้ปฏบิ ตั ดิ งั น้ี

(๑) หนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม ตลอดจนการเบิก หรือรับเงินกู้ การจำนองซึ่งสหกรณ์เป็นผู้
จำนอง การถอนเงินฝากของสหกรณ์ และในนิติกรรมอื่นๆ จะต้องลงลายมือชื่อของประธานกรรมการหรือรอง
ประธานกรรมการ หรือเลขานุการ หรือเหรญั ญิก หรือกรรมการผู้ที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายกับผู้จัดการ
รวมเปน็ สองคน

(๒) การรบั ฝากเงนิ ใบรับเงนิ และเอกสารทงั้ ปวง นอกจากทกี่ ลา่ วไวใ้ น (๑) ข้างบนนจี้ ะต้องลงลายมือ
ช่อื ของผ้จู ดั การ หรอื ผ้ทู ่ไี ด้รบั มอบหมาย

อนึ่ง ในหนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม เช็ค ใบสั่งจ่ายเงิน ใบรับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตราสารการเงิน
ของสหกรณ์นนั้ ต้องประทบั ตราของสหกรณ์ (ถา้ มี) เป็นสำคัญดว้ ย

สหกรณอ์ อมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั 163
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๒๓ การเงินของสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการต้องดำเนินการในทางอันสมควรเพื่อให้การเงินของ
สหกรณ์เปน็ ไปโดยเรยี บร้อยและเกดิ ประโยชนแ์ กส่ หกรณ์ ซึง่ รวมทั้งในข้อต่อไปน้ี

(๑) การรับจา่ ยและเกบ็ รักษาเงนิ ของสหกรณ์ใหเ้ ป็นไปตามท่ีกำหนดไวใ้ นระเบียบของสหกรณ์
(๒) การรับจ่ายเงนิ ของสหกรณ์ตอ้ งกระทำท่ีสำนักงานของสหกรณ์เท่าน้ัน เว้นแต่มีกรณีอันจำเปน็ ท่ี
ไม่อาจปฏิบัตไิ ด้ ใหค้ ณะกรรมการดำเนินการพจิ ารณากำหนดวธิ ีปฏบิ ตั ไิ ดต้ ามสมควร
ข้อ ๒๔ การบัญชีของสหกรณ์ ให้สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์
กำหนด และเกบ็ รกั ษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ทีส่ ำนักงานสหกรณ์ภายในระยะเวลาท่ีนายทะเบียน
สหกรณก์ ำหนด
ให้บันทึกรายการในบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสดของสหกรณ์ในวันที่เกิดเหตุนั้น สำหรับเหตุอื่นท่ีไม่เกี่ยวกับ
กระแสเงินสด ให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีภายในสามวันนับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องบันทึกรายการนั้นและการ
ลงบญั ชตี อ้ งมีเอกสารประกอบการลงบญั ชีท่ีสมบูรณโ์ ดยครบถ้วน
ให้สหกรณ์จัดทำงบการเงินประจำปีทุกรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์ ซึ่งต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน
และทุนของสหกรณ์ กับท้งั บญั ชีกำไรขาดทุน ตามแบบทน่ี ายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
วันสิ้นปีทางบญั ชีของสหกรณใ์ หส้ นิ้ สุด ณ วนั ท่ี ๓๐ กนั ยายน ของทกุ ปี
ข้อ ๒๕ การเสนองบการเงินประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ คณะกรรมการดำเนินการต้องนำเสนองบการเงนิ
ประจำปี ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทาง
บญั ชี
คณะกรรมการดำเนินการจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอต่อ ที่ประชุม
ใหญ่ในคราวที่เสนองบการเงินประจำปี และส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบการเงินประจำปี ไปยังนายทะเบียน
สหกรณภ์ ายในสามสบิ วันนับแต่วนั ที่มีการประชุมใหญ่
อนึ่ง สหกรณ์ต้องเก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงาน งบการเงินประจำปี พร้อมท้ัง
ข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ไว้ ณ สำนักงานของสหกรณ์เพื่อให้สมาชิก ขอตรวจดูได้โดยไม่
ตอ้ งเสียค่าธรรมเนยี ม
ข้อ ๒๖ ทะเบยี นและเอกสารของสหกรณ์ สหกรณต์ อ้ งจดั ทำทะเบียนสมาชิก ทะเบียนห้นุ ซ่ึงทะเบียน
ดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ ที่อยู่ของสมาชิก และรายการเกี่ยวกับการถือหุ้น
ของสมาชกิ และจัดทำสมดุ รายงานการประชมุ ใหญ่ การประชมุ คณะกรรมการดำเนินการ การประชมุ คณะกรรมการ
อื่น ตลอดจนทะเบยี นอนื่ ๆ ตามท่คี ณะกรรมการดำเนนิ การเหน็ สมควรใหม้ ีขึ้น
ให้สหกรณ์ตอ้ งส่งสำเนาทะเบยี นสมาชิก และทะเบียนหนุ้ แก่นายทะเบียนสหกรณ์ภายในเก้าสบิ วันนบั แต่วันท่ี
จดทะเบยี น
ใหส้ หกรณร์ ายงานการเปลีย่ นแปลงรายงานการในทะเบยี นสมาชกิ หรือทะเบยี นหุน้ ตอ่ นายทะเบียนสหกรณ์ภายใน
สามสบิ วนั นับแตว่ นั สิ้นปที างบัญชีของสหกรณ์

164 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

สมาชิกอาจขอตรวจดูเอกสารดังกล่าวในวรรคแรกก่อนได้ ณ สำนักงานของสหกรณ์ในระหว่าง เวลาทำงาน
แต่จะดูบัญชีหรือทะเบียนเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น เงินฝาก หรือเงินกู้ของสมาชิกรายอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความ
ยินยอมเปน็ หนงั สือของสมาชิกนั้น และได้รบั อนญุ าตจากผจู้ ดั การก่อน

การตรวจสอบบัญชีและการกำกับดแู ลสหกรณ์
ข้อ ๒๗ การตรวจสอบบัญชี บัญชีของสหกรณ์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตาม
มาตรฐานการสอบบัญชีทรี่ ับรองทัว่ ไปและตามระเบยี บท่ีกรมตรวจบัญชสี หกรณ์กำหนด โดยผู้สอบบัญชซี ่ึงกรมตรวจ
บัญชีสหกรณแ์ ต่งต้งั
ข้อ ๒๘ การกำกับดูแลสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการอื่น คณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจสอบ
กิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ ซึ่งได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน
สหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์
มอบหมาย ใหช้ ี้แจงขอ้ เท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสหกรณห์ รือให้ส่งเอกสารเกย่ี วกับการดำเนนิ งานหรือรายงานการ
ประชมุ หรือเข้ามาตรวจสอบในสำนักงานของสหกรณร์ ะหว่างเวลาทำงานของสหกรณ์
ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องตามความในวรรคแรกปฏิบัติตามคำสั่งและอำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือ
รวมท้งั ใหค้ ำช้ีแจงตามสมควร
ข้อ ๒๙ การส่งรายการหรือรายงาน สหกรณ์ต้องส่งรายการหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ต่อ
หน่วยงานที่กำกับดแู ล ตามแบบรายการและระยะทห่ี น่วยงานน้ันหรือตามท่ีกฎหมายกำหนดไว้

กำไรสุทธิประจำปี
ข้อ ๓๐ การจดั สรรกำไรสุทธิประจำปี เม่อื ส้นิ ปีทางบัญชีและได้ปดิ บัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชที ีร่ ับรอง
โดยทั่วไปและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์แล้ว ปรากฏว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่า
ร้อยละสิบของกำไรสุทธิ และเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่
ต้องไม่เกินร้อยละหน่ึงของกำไรสทุ ธิ แตไ่ มเ่ กินสามหมื่นบาท
กำไรสทุ ธปิ ระจำปีทเ่ี หลอื จากการจดั สรรตามความในวรรคก่อนน้นั ทปี่ ระชมุ ใหญ่อาจจัดสรรได้ดังต่อไปนี้

(๑) เปน็ เงนิ ปันผลตามหุน้ ท่ีชำระแลว้ ใหแ้ ก่สมาชิก แต่ต้องไมเ่ กนิ อัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยคิด
ให้ตามส่วนแห่งระยะเวลา อนึ่ง ถ้าสหกรณ์ถอนทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลตาม (๔) ออกจ่ายเป็นเงินปันผล
สำหรบั ปีใด ดว้ ยจำนวนเงินปันผลทงั้ สน้ิ ทจ่ี า่ ยสำหรับปนี ัน้ กต็ อ้ งไมเ่ กินอตั ราดงั กลา่ วมาแลว้

ในการคำนวณเงนิ ปนั ผลตามห้นุ ใหถ้ อื ว่าหุ้นท่สี มาชกิ ได้ชำระต่อสหกรณภ์ ายในวนั ทีห่ า้ ของเดือนมีระยะเวลา
สำหรับคำนวณเงินปันผลตั้งแต่เดือนนั้น ส่วนหุ้นที่สมาชิกชำระต่อสหกรณ์หลังวนั ที่หา้ ของเดือน สหกรณ์จะคิดเงิน
ปนั ผลให้ต้งั แต่เดอื นถัดไป

สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั 165
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒) เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิก ตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้ทำไว้กับสหกรณ์ ในระหว่างปีเว้นแต่
สมาชิกที่ผิดนัดการส่งเงนิ งวดชำระหน้ี ไมว่ า่ ตน้ เงิน หรอื ดอกเบย้ี ในงวดใด มใิ หไ้ ด้รบั เงินเฉลยี่ คนื สำหรบั ปีนัน้

(๓) เปน็ เงินโบนัสแกก่ รรมการ และเจา้ หน้าท่ขี องสหกรณไ์ มเ่ กินร้อยละสิบของกำไรสทุ ธิ
(๔) เป็นทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล ไม่เกินร้อยละสองแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ ตามที่มีอยู่ใน
วันสิ้นปีนั้น ทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลนี้จะถอนได้โดยมติแห่งที่ประชุมใหญ่เพื่อจ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้นตาม
(๑) และหา้ มจา่ ยทุนน้หี ากสหกรณข์ าดทุนอนั เกิดจากเหตุทุจรติ
(๕) เป็นทนุ เพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ไม่เกนิ ร้อยละสิบของกำไรสทุ ธิตามระเบยี บของสหกรณ์
(๖) เปน็ ทุนสาธารณประโยชนไ์ มเ่ กนิ ร้อยละสบิ ของกำไรสทุ ธิ ตามระเบยี บของสหกรณ์
(๗) เป็นทุนสวัสดิการ หรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัวไม่เกินร้อยละสิบของ
กำไรสุทธติ ามระเบยี บของสหกรณ์
(๘) เปน็ ทนุ เพอ่ื จดั ตง้ั สำนกั งานหรอื ทุนอนื่ ๆ เพอื่ เสรมิ สรา้ งความมน่ั คงให้แกส่ หกรณ์
(๙) กำไรสุทธิท่เี หลือ (ถ้ามี) ให้จัดสรรเปน็ ทนุ สำรองทั้งสิ้น
การใช้จ่ายทุนตามวรรคก่อน ให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์และให้กำหนดระเบียบสำหรับแต่ละ
ทนุ เป็นการเฉพาะ

ทนุ สำรอง
ข้อ ๓๑ ที่มาแห่งทุนสำรอง นอกจากจดั สรรจากกำไรสุทธติ ามข้อ ๓๐ แล้ว บรรดาเงนิ อดุ หนุนหรือทรัพย์สิน
ทมี่ ีผยู้ กใหแ้ ก่สหกรณ์ ถ้าผยู้ กให้มไิ ด้กำหนดว่าให้ใชเ้ พ่ือการใด ใหจ้ ดั สรรเงนิ อุดหนนุ หรือทรัพยส์ นิ น้ันเป็นทุนสำรอง
ของสหกรณ์
อนึ่ง จำนวนเงินซึ่งสหกรณ์พงึ จา่ ยแกบ่ ุคคลใดก็ตาม ถ้าไม่มีการเรียกร้องจนพ้นกำหนดอายุความ ก็ให้สมทบ
จำนวนเงินนน้ั เป็นทนุ สำรอง
กำไรสุทธิประจำปีของสหกรณซ์ ึ่งคณะกรรมการดำเนินการเสนอแนะให้ท่ีประชุมใหญจ่ ดั สรรตามข้อ ๓๐ หาก
ท่ปี ระชมุ ใหญพ่ จิ ารณาแล้วเหน็ ว่ารายการใดไม่สมควรจดั สรรหรือตดั จำนวนให้น้อยลงก็ดี ยอดเงินจำนวนดงั กล่าวให้
สมทบเปน็ ทนุ สำรองทั้งส้ิน
ขอ้ ๓๒ สภาพแหง่ ทุนสำรอง ทนุ สำรองยอ่ มเปน็ ของสหกรณ์โดยรวม สมาชกิ จะแบ่งปนั ไมไ่ ด้หรอื จะเรียกร้อง
แม้สว่ นใดส่วนหนึง่ ก็ไม่ได้
ทุนสำรองนี้จะถอนจากบัญชีได้เพื่อชดเชยการขาดทุนอันหากบังเกิดขึ้น หรือเพื่อจัดสรรเข้าบัญชีทุนสำรอง
ให้แก่สหกรณใ์ หม่ที่ได้จดทะเบียนแบง่ แยกจากสหกรณ์เดิม

166 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

หมวด ๕
สมาชิก
ขอ้ ๓๓ สมาชิก สมาชกิ สหกรณ์นคี้ ือ
(๑) ผทู้ มี่ ชี ่อื และลงลายมือช่อื ในบัญชีรายช่อื ผูจ้ ะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ ไดช้ ำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า
และค่าห้นุ ตามจำนวนท่จี ะถอื ครบถว้ นแล้ว
(๒) ผู้ได้รบั เลือกเขา้ เป็นสมาชกิ ตามข้อบังคับท่ีไดล้ งลายมือชือ่ ในทะเบียนสมาชกิ และได้ชำระค่าหนุ้
ตามจำนวนทจี่ ะถอื ครบถ้วนแล้ว
ขอ้ ๓๔ คุณสมบัตขิ องสมาชิก สมาชกิ ตอ้ งมีคณุ สมบัติดงั น้ี
(๑) เปน็ ผูเ้ ห็นชอบในวัตถปุ ระสงคข์ องสหกรณ์
(๒) เปน็ บุคคลธรรมดาท่มี ีสัญชาตไิ ทยและบรรลนุ ิติภาวะ
(๓) เปน็ บคุ คลท่ีมคี ณุ สมบตั อิ ย่างหนงึ่ อย่างใด ดงั ต่อไปน้ี
ก. เป็นขา้ ราชการประจำการ หรอื นกั เรยี นทหาร (บรรลุนิตภิ าวะ) หรือลูกจา้ งประจำของ
กองทัพเรือ หรอื เป็นทหารกองหนนุ มีเบย้ี หวดั หรือเปน็ ข้าราชการบำนาญสังกัดกองทัพเรือ
ข. เป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด ครู หรือ เจ้าหน้าที่ในกิจการ
ของกรมสรรพาวธุ ทหารเรอื
ค. เป็นพนักงานราชการสังกดั กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื
ง. เปน็ ลูกจ้างประจำของกองทพั เรือ เจ้าหนา้ ทีส่ หกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือจำกัด
ครู เจา้ หนา้ ทใี่ นกจิ การของกรมสรรพาวธุ ทหารเรือ พนักงานราชการสังกัดกรมสรรพาวธุ ทหารเรอื ซงึ่ เคยเปน็
สมาชกิ สอ.สพ. อยกู่ ่อนเกษียณอายรุ าชการหรือลาออก
(๔) เปน็ ผู้มีความประพฤติ และนสิ ัยดีงาม
(๕) หากเป็นสมาชิกในสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นที่มวี ตั ถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน หรือค้ำประกัน ต้องมี
ระเบียบเปิดเผยข้อมูลทางสินเชื่อของสมาชิก ซึ่งมีบทลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย และตามนโยบาย
คณะกรรมการส่งเสริมสหกรณ์ทหารเรือ ในกรณีสมาชิกมีความประสงค์ขอกู้ยืมเงิน สามารถขอกู้ยืมเงินได้จาก
สหกรณอ์ อมทรพั ยเ์ พียงแห่งเดยี วเทา่ น้นั
ข้อ ๓๕ การเข้าเป็นสมาชิก ผู้สมัครเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ (รวมทั้งสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นซ่ึง
ประสงค์จะขอเข้าเป็นสมาชิก ตามข้อ ๓๙) ต้องยื่นใบสมัครพร้อมลงลายมือชื่อถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้โดย
ต้องมผี ้บู ังคับบญั ชาของผ้สู มัครในชัน้ ยศไม่ต่ำกว่าสัญญาบตั รคนหนึ่งรับรอง แตถ่ ้าผู้สมคั รเป็น นายทหารสัญญาบัตร
กไ็ มต่ อ้ งมผี รู้ ับรอง
เมื่อคณะกรรมการดำเนนิ การได้สอบสวนเป็นที่พอใจวา่ ผู้สมัครมีคณุ สมบตั ิถกู ต้องตามท่ีกำหนดไว้ตามข้อ ๓๔
ทั้งเห็นเป็นการสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้ ก็ให้แจ้งให้ผู้สมัครนั้นลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระ

สหกรณอ์ อมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด 167
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือให้ครบถ้วน แล้วเสนอเรื่อง การรับสมาชิกเข้าใหม่ให้ท่ี
ประชมุ ใหญ่คราวถัดไปทราบ

ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่ยอมรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยเหตุใดๆ เมื่อผู้สมัครร้องขอ ก็ให้
คณะกรรมการดำเนินการนำเร่ืองเสนอทปี่ ระชมุ ใหญ่เพ่อื วินจิ ฉัยช้ีขาด มติทป่ี ระชมุ ใหญ่ใหร้ ับเข้าเป็นสมาชิกในกรณี
ดังว่านี้ ให้ถอื เสยี งไมน่ ้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรอื ผู้แทนสมาชกิ ซ่ึงมาประชุม

ข้อ ๓๖ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ผู้เป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์คนละ แปดสิบ
บาท คา่ ธรรมเนยี มแรกเข้าน้ีถือเปน็ รายไดข้ องสหกรณ์จะเรยี กคนื ไม่ได้

ข้อ ๓๗ สิทธิหน้าที่ในฐานะสมาชิก ผู้เข้าเป็นสมาชิกต้องลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิก กับชำระ
ค่าธรรมเนยี มแรกเขา้ และค่าหุ้นตามจำนวนท่จี ะถือครบถว้ น เมื่อไดป้ ฏิบัติดังนีแ้ ลว้ จึงจะถือว่าไดส้ ทิ ธิในฐานะสมาชิก

(ก) สทิ ธิของสมาชกิ มีดังน้ี
(๑) เขา้ รว่ มประชมุ ใหญ่ เพ่ือเสนอความคดิ เหน็ หรือออกเสียงลงคะแนน
(๒) เขา้ ชื่อเรียกประชุมใหญว่ สิ ามญั
(๓) เสนอหรอื ได้รบั เลือกเปน็ กรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรอื ผตู้ รวจสอบกจิ การสหกรณ์
(๔) ไดร้ บั บริการทางธุรกจิ และทางวชิ าการจากสหกรณ์
(๕) สิทธิอนื่ ๆ ท่กี ำหนดไว้ในขอ้ บงั คบั และระเบยี บของสหกรณ์

(ข) หน้าที่ของสมาชิกมดี ังน้ี
(๑) ปฏิบตั ิตามกฎหมาย ระเบยี บ ข้อบงั คบั มติ และคำสง่ั ของสหกรณ์
(๒) เขา้ รว่ มประชมุ ทกุ ครัง้ ท่ีสหกรณ์นดั หมาย
(๓) ส่งเสริมสนับสนนุ กิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณเ์ ป็นองค์กรท่ีเขม้ แขง็
(๔) สอดส่องดแู ลกจิ การของสหกรณ์
(๕) รว่ มมอื กับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เพ่อื พัฒนาสหกรณใ์ หเ้ จรญิ ร่งุ เรืองและมนั่ คง

ข้อ ๓๘ สมาชิกย้ายสังกัด สมาชิกที่ย้าย หรือโอนไปรับราชการในสังกัดอื่น และประสงค์จะสมัครเข้าเป็น
สมาชกิ ของสหกรณอ์ อมทรัพยซ์ ง่ึ ต้ังขึ้นในสงั กัดน้ัน หากสหกรณน์ น้ั มีข้อบงั คบั ใหร้ ับเขา้ เป็นสมาชิก
ได้และคณะกรรมการดำเนินการได้มีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ถ้าสมาชิกนั้นมีความประสงค์จะให้โอนเงินค่าห้นุ
และเงินกู้ที่ตนมีอยู่ในสหกรณ์นี้ไปยังสหกรณท์ ี่ตนได้ไปเข้าเป็นสมาชกิ ใหม่ สหกรณ์ก็จะจัดการโอนเงินค่าหุ้น เงินกู้
และเงนิ ฝาก (ถ้ามี) ท่ีสมาชิกนน้ั มอี ยตู่ อ่ สหกรณ์ให้ตามวิธีการทีไ่ ด้กำหนดไว้ในระเบยี บของสหกรณ์

ข้อ ๓๙ การรับโอนสมาชิกสหกรณ์อื่น สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น ซึ่งย้ายหรือโอนมารับราชการในสังกดั
ตามข้อ ๓๔ (๓) หากประสงค์จะสมัครเขา้ เป็นสมาชิก กใ็ หย้ น่ื ใบสมคั รถึงสหกรณ์ เมอื่ ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใน ข้อ
๓๕ ครบถ้วนแลว้ กจ็ ะไดส้ ิทธใิ นฐานะสมาชิกตาม ขอ้ ๓๗ ทั้งน้ี เมื่อสหกรณ์ทต่ี นเป็นสมาชิกอยู่เดิมได้โอนเงินค่าหุ้น
ให้สหกรณน์ ี้เสรจ็ ส้นิ แลว้

168 สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

การรับโอนเงินค่าหุ้นและการปฏิบัติเกี่ยวกับหนี้สินที่มีอยู่ในสหกรณ์เดิมนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน
ระเบียบของสหกรณ์

ข้อ ๔๐ การเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อสกุล คำนำหน้าชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ สมาชิกคนใดมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ
ช่อื สกุล คำนำหนา้ ชือ่ สญั ชาตแิ ละทอ่ี ยู่ ต้องแจ้งใหส้ หกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนบั แต่วันทม่ี กี ารเปลยี่ นแปลง

การตงั้ ผรู้ บั โอนประโยชน์
ข้อ ๔๑ การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ สมาชิกอาจทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้รับโอน
ประโยชน์ในเงินค่าหุ้น เงินฝาก หรือเงินอื่นใดจากสหกรณ์ เมื่อตนถึงแก่ความตาย โดยมอบไว้แก่สหกรณ์เป็น
หลักฐาน หนงั สอื ตัง้ ผู้รับโอนประโยชน์ดังว่านี้ให้ทำตามแบบที่สหกรณก์ ำหนด
ถ้าสมาชิกประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้ว ก็ต้องทำเป็น
หนงั สอื ตามลักษณะดงั กลา่ วในวรรคก่อนมอบใหส้ หกรณ์ถือไว้
เมื่อสมาชิกตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนผลประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบและสหกรณ์จะจ่ายเงิน
ค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินผลประโยชน์หรือเงินอื่นใดบรรดาที่สมาชิกผู้ตายมีอยูใ่ นสหกรณ์
ให้แก่ผู้รับโอนผลประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจ
คณะกรรมการดำเนินการวา่ เปน็ ทายาทผู้มสี ิทธไิ ด้รับเงินจำนวนดงั กล่าวนัน้ ท้งั นี้ตามข้อกำหนดในข้อ ๔๗ วรรคแรก
และข้อ ๔๘
ให้ผู้รับโอนผลประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปี
นับแต่วันที่สมาชกิ ตาย หรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงวา่ สมาชกิ
นั้นๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและอนุมัติแล้ว
สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำขอรับเงิน
ผลประโยชน์ หรือผู้ที่มีชื่อเป็นผูร้ ับโอนผลประโยชน์ที่สมาชิกได้จัดทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวอยู่ก็ดี เมื่อพ้นกำหนด
อายคุ วามฟอ้ งคดใี หส้ หกรณ์โอนจำนวนเงินดงั กลา่ วไปสมทบเป็นทนุ สำรองของสหกรณ์ท้ังสนิ้

การขาดจากสมาชิกภาพ
ขอ้ ๔๒ การขาดสมาชกิ ภาพ สมาชิกย่อมขาดจากสมาชกิ ภาพเพราะเหตุใดๆ ดังตอ่ ไปนี้

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เปน็ คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) ตอ้ งคำพิพากษาให้ล้มละลาย
(๕) ต้องคำพิพากษาถึงทสี่ ุดให้จำคกุ เวน้ แตค่ วามผิดลหุโทษหรือความผิดอนั กระทำโดยประมาท
(๖) ขาดคุณสมบัตติ ามข้อบงั คับข้อ ๓๔ เวน้ แต่ สมาชิกตามข้อ ๓๔ (๓) ทโี่ อน หรือยา้ ยหรอื ออกจาก
ราชการหรืองานประจำโดยไม่มคี วามผดิ และแสดงความจำนงคเ์ ป็นสมาชกิ ต่อ

สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกัด 169
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๗) ถกู ให้ออกจากสหกรณ์
ข้อ ๔๓ การลาออกจากสหกรณ์ สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สินอยู่ต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันอาจลาออก
จากสหกรณ์ได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้
สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเปน็ การชอบดว้ ยข้อบงั คับและอนญุ าตแลว้ จงึ ให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้
คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือกรรมการ
ดำเนินการสอบสวนพิจารณา หากเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับ ก็ให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ตามความในวรรค
ก่อนได้ แลว้ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชมุ คราวถัดไปทราบดว้ ย
ข้อ ๔๔ การให้ออกจากสหกรณ์ สมาชกิ อาจถูกให้ออกจากสหกรณเ์ พราะเหตุอยา่ งหนึง่ อย่างใดดังต่อไปน้ี

(๑) ขาดชำระคา่ หุ้นรายเดอื นถึงสามงวดติดต่อกันหรือขาดชำระรวมถึงหกงวด ทง้ั นโ้ี ดยมิไดร้ ับอนุญาต
จากคณะกรรมการดำเนินการ

(๒) นำเงินกไู้ ปใช้ผิดความมุ่งหมายทีใ่ หเ้ งนิ กู้น้ัน
(๓) ไม่จัดการแก้ไขหลักประกันสำหรับเงินกู้ที่เกิดพกพร่องให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการ
ดำเนนิ การกำหนด
(๔) คา้ งส่งเงนิ งวดชำระหน้ี ไมว่ ่าตน้ เงนิ หรอื ดอกเบย้ี ติดต่อกันเป็นเวลาถึงสองเดือน หรือผิดนัดการส่ง
เงินงวดชำระหนีด้ งั ว่าน้ันถึงสามคราวสำหรบั เงนิ กู้รายหนึง่ ๆ
(๕) ไม่ให้ข้อความจริงเกี่ยวกับหน้ีสนิ ของตนแก่สหกรณ์เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือเมื่อจะก่อความ
ผูกพนั ในหนี้สนิ ต่อสหกรณใ์ นฐานะผูก้ ู้หรือผคู้ ้ำประกัน หรอื เม่ือมีความผกู พันในหน้ีสินต่อสหกรณ์อยู่แล้ว
(๖) จงใจฝา่ ฝนื ไม่ปฏิบตั ิตามกฎหมาย ขอ้ บังคับ ระเบยี บ มติ และคำสง่ั ของสหกรณห์ รือของที่ประชุม
กล่มุ ทต่ี นสงั กดั หรือประพฤติการใดๆ อันเปน็ เหตุใหเ้ หน็ วา่ ไม่ซ่อื สัตยส์ ุจริต แสดงตนเปน็ ปฏปิ กั ษห์ รอื ทำให้เส่ือมเสีย
ต่อสหกรณ์ ไม่ว่าโดยประการใดๆ
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่า สมาชิกมีเหตุใดๆ ดังกล่าวข้างต้น และได้ลงมติ
ให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไมน่ ้อยกวา่ สองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนนิ การที่มีอยู่ท้ังหมดในขณะน้นั แลว้
กเ็ ป็นอนั ถือวา่ สมาชกิ น้ันถูกใหอ้ อกจากสหกรณ์
สมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ โดยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ตรวจสอบกิจการ
หรือคณะกรรมการดำเนินการภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันที่ทราบมติการให้ออกและระงับสิทธิ์ในข้อ ๓๗ (ก)
จนกว่า คำวินิจฉยั ของทป่ี ระชมุ ใหญ่ใหเ้ ป็นที่สดุ
ข้อ ๔๕ การถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ
หรือมีคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่เป็นที่สุดให้ออกจากสมาชกิ ให้คณะกรรมการดำเนนิ การถอนช่ือสมาชิกออกจาก
ทะเบยี นสมาชิก
อนึ่ง ให้สหกรณแ์ จ้งเรอ่ื งสมาชกิ ออกให้ประธานกลุ่ม ซึ่งเก่ียวขอ้ งเสนอท่ปี ระชุมกล่มุ ทราบโดยเร็ว

170 สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๔๖ สมาชิกที่โอน หรือย้าย หรือออกจากราชการ หรืองานประจำโดยไม่มีความผิด สมาชิกที่โอนหรือ
ย้าย หรือออกจากราชการ หรืองานประจำตามข้อ ๓๔ (๓) โดยไม่มีความผิด เว้นแต่ออกเพราะตาย หรือเป็นคนไร้
ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย ถ้ามิได้ลาออกจากสหกรณ์ด้วย ก็
ใหถ้ อื ว่าคงเป็นสมาชกิ อยู่ และจะงดชำระค่าหุ้นได้ก็ต่อเม่ือมีหน้สี นิ ไม่เกินคา่ หุ้น สมาชกิ เช่นว่านั้นอาจได้รับเงนิ กู้จาก
สหกรณไ์ ด้ตามระเบยี บของสหกรณ์

ข้อ ๔๗ การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพ
เพราะเหตุตามขอ้ ๔๒ (๑) (๒) (๓) และ (๕) นน้ั สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงนิ ปนั ผลและเงินเฉลย่ี คนื คา้ งจา่ ยบรรดาที่
สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกซึ่งออกเพราะเหตอุ ื่น พร้อมด้วยเงินปันผลและเงินเฉลีย่ คืนคา้ งจ่าย
บรรดาที่สมาชิกนน้ั มีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รบั โดยเฉพาะคา่ หุน้ นัน้ ผมู้ สี ิทธไิ ด้รับจะเรยี กให้สหกรณจ์ ่ายคืน
ทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นหรือ จะเรียกให้จ่ายคืนหลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออก
โดยได้รบั เงินปันผลและเฉล่ยี คนื สำหรับปีทอ่ี อกน้นั ด้วย ในเมือ่ ทป่ี ระชุมใหญม่ มี ตใิ หจ้ ัดสรรกำไรสุทธปิ ระจำปนี ั้นแล้ว
กไ็ ด้สดุ แตจ่ ะเลือก สว่ นเงนิ รับฝากและดอกเบ้ยี นั้น สหกรณ์จะจ่ายคนื ให้ตามระเบยี บของสหกรณ์

ถ้าในปีใด จำนวนค่าหุ้นท่ีถอนคืนเนือ่ งจากสมาชิกขาดจากสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือนหุ้นของ
สหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันต้นปีนั้น คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้รอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจาก
สมาชกิ ภาพรายตอ่ ไปในปนี น้ั ไว้จนถงึ ปีทางบัญชีใหม่ แตเ่ ฉพาะสมาชกิ ท่ีขาดจากสมาชกิ ภาพเนื่องจากตนได้โอนหรือ
ย้าย หรือออกจากราชการ หรืองานประจำตามข้อ ๓๔ (๓) โดยไม่มีความผิดนั้น คณะกรรมการดำเนินการอาจผอ่ น
ผนั เปน็ พเิ ศษ

ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชกิ ภาพเพราะเหตตุ ามข้อ ๔๒ (๔) สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล
และเงนิ เฉลี่ยคนื กบั ดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาทีส่ มาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนใหต้ ามกฎหมายล้มละลาย

ในกรณีสมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ ๔๒ (๕) (๖) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินปันผลและ
เงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกนั้นมอี ยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร โดยไม่มีเงินปันผล
หรอื เงนิ เฉลี่ยคืนต้ังแตป่ ที ่ีออกจากสหกรณ์ หรือหากสมาชกิ ขอใหจ้ ่ายค่าหุ้นภายหลังวันสิ้นปโี ดยขอรับเงนิ ปนั ผลและ
เงินเฉลยี่ คืนในปีนัน้ ภายหลังทท่ี ปี่ ระชมุ ใหญ่ได้พิจารณาจัดสรรกำไรสทุ ธิประจำปีก็ได้สว่ นเงนิ รบั ฝากและดอกเบ้ียนั้น
สหกรณจ์ ะจ่ายให้ตามระเบยี บของสหกรณ์

ในกรณีสหกรณ์ขาดทุนสะสมหรือมแี นวโนม้ จะขาดทุนสะสม ใหช้ ะลอการจา่ ยคืนค่าหุ้นแก่สมาชิกท่ีพ้นจาก
สมาชิกภาพในระหว่างปีจนกว่าจะปิดบัญชีประจำปี และให้คำนวณเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นที่จะจ่ายคืนแก่สมาชิก
โดยนำทุนเรอื นห้นุ ทั้งหมดหักด้วยขาดทุนสะสมคงเหลือและหนส้ี นิ ทั้งสิ้น แล้วนำมาเฉลย่ี โดยใช้จำนวนหุ้นท้ังส้ินเป็น
ฐานในการคำนวณ

เมื่อสหกรณ์มีการคำนวณมูลค่าเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นแล้ว ในปีต่อๆไป สหกรณ์ต้องคำนวณมูลค่าเงินค่า
หุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นให้เป็นปีปัจจุบันทุกปี และมูลค่าดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่ามูลค่าต่อหุ้น ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
จนกวา่ สหกรณไ์ มม่ ยี อดขาดทนุ สะสม

สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั 171
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ขอ้ ๔๘ การหกั จำนวนเงินซึ่งสมาชกิ ต้องรบั ผิดต่อสหกรณ์ ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกตามข้อ ๔๗
นั้น สหกรณ์มอี ำนาจหกั จำนวนเงนิ ซง่ึ สมาชิกต้องรับผิดตอ่ สหกรณ์ออกกอ่ น

กลุม่ สมาชกิ
ข้อ ๔๙ กลุ่มสมาชิก สหกรณ์อาจจัดตั้งกลุ่มสมาชิกขึ้น การจัดกลุ่ม การประชุมกลุ่ม กิจกรรมของที่ประชุม
กลุ่ม การเลือกตั้งจำนวนกรรมการบริหารกลุ่ม การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ
คณะกรรมการบริหารกลมุ่ ให้เป็นไปตามทกี่ ำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

ความรบั ผดิ เพื่อหนสี้ นิ ของสหกรณ์
ข้อ ๕๐ ความรับผิดของสมาชิก สมาชิกมีความรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์จำกัดเพียงไม่เกนิ จำนวนเงินคา่
หุ้นทีย่ ังสง่ ใช้ไม่ครบมูลค่าห้นุ ท่ตี นถอื

หมวด ๖
สมาชิกสมทบ

ข้อ ๕๑ สมาชิกสมทบ สหกรณ์อาจรับบุคคลธรรมดาเขา้ เปน็ สมาชิกสมทบได้ตามท่ีเห็นสมควร โดยตอ้ งสมัคร
เข้าเปน็ สมาชกิ สมทบด้วยความสมัครใจ และมคี วามประสงคจ์ ะใช้บรกิ ารตา่ งๆ ของสหกรณเ์ ปน็ การประจำ

ขอ้ ๕๒ คณุ สมบัติของสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบตอ้ งมีคุณสมบตั ดิ ังน้ี
(๑) เป็นผู้เห็นชอบในวตั ถุประสงค์ของสหกรณ์
(๒) เปน็ บุคคลธรรมดาท่มี สี ัญชาตไิ ทยและบรรลุนติ ภิ าวะ
(๓) ก. เป็นบดิ า มารดา คสู่ มรส หรอื บตุ รท่ีบรรลนุ ติ ิภาวะแลว้ ของสมาชิก
ข. เป็นลกู จา้ งช่ัวคราว หรอื พนกั งานราชการ ในสงั กดั กองทัพเรือ
ค. เป็นสมาชิกสมทบ ก่อนหนา้ ท่ีข้อบงั คับนี้บงั คับใช้
(๔) เป็นผทู้ ่ีมีความประพฤติดีงาม
(๕) เปน็ ผู้ที่จะปฏบิ ัติตามกฎหมาย ขอ้ บงั คับ ระเบียบ มติ และคำสง่ั ของสหกรณ์
(๖) ไม่เปน็ สมาชกิ หรอื สมาชิกสมทบสหกรณ์ออมทรัพย์อน่ื ทีม่ ีวัตถุประสงค์ในการกู้ยมื เงิน

ข้อ ๕๓ วิธีการรับสมาชิกสมทบ ผู้ประสงค์เข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบท่ี
กำหนดไว้ โดยให้ยื่นพร้อมแสดงหลักฐานความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกตามข้อ ๕๒ (๓) เมื่อคณะกรรมการ
ดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๒ (๓) ทั้งเห็นเป็นการ
สมควรแล้วก็ให้รับเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ และต้องจัดให้ผู้สมัครได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกสมทบกับชำระ
คา่ ธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหนุ้ ตามที่จะถือครบถว้ น

เม่ือสมาชิกสมทบได้ปฏบิ ตั ติ ามวรรคก่อนแล้วย่อมได้สิทธใิ นฐานะสมาชิกสมทบ
กรณที ่สี มาชิกสมทบได้ลาออกจากสหกรณ์แล้ว มีความประสงคจ์ ะสมัครเป็นสมาชกิ อีกจะตอ้ งมรี ะยะเวลาเว้น
ไมน่ อ้ ยกวา่ สิบสองเดอื นนับแต่วนั ทล่ี าออก สมาชิกสมทบท่ีว่านี้ไม่มสี ทิ ธิสมัครในคร้งั ที่สาม

172 สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๕๔ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าในวันที่ยื่นใบ
สมคั รเปน็ สมาชกิ จำนวนเงนิ แปดสิบบาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้าน้ีให้ถือว่าเป็นรายได้ของสหกรณ์ จะเรียกคืนไม่ได้ไม่
วา่ ด้วยกรณใี ดๆ

ข้อ ๕๕ การถอื หุ้น สมาชิกสมทบแต่ละรายจะต้องถือหุน้ ไดต้ ้ังแตส่ ิบหนุ้ ถึงไม่เกนิ หน่ึงร้อยหุ้นโดยให้ถือหุ้นได้
ครงั้ เดียวในวันสมัคร

การถอื หนุ้ แรกเข้า การชำระค่าหนุ้ การแจง้ ยอดจำนวนหนุ้ และอืน่ ๆ ให้เปน็ ไปตามความในข้อบังคับหมวด
๓ วา่ ดว้ ยหุน้ โดยอนุโลม สำหรบั การถือหุ้นเพมิ่ ใหเ้ ป็นไปตามทีก่ ำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

ข้อ ๕๖ สิทธิในฐานะสมาชกิ สมทบ สมาชกิ สมทบมสี ิทธิและหนา้ ที่เฉพาะในส่วนที่ไมข่ ัดกับกฎหมายสหกรณ์
(ก) สิทธิของสมาชกิ สมทบมีดงั นี้
(๑) รับเงนิ ปนั ผลตามหุ้นในอตั ราเดยี วกนั กับสมาชกิ
(๒) ถอื หุน้ ได้ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ท่ีสหกรณ์กำหนด
(๓) ฝากเงินได้ตามระเบยี บของสหกรณแ์ ละหลักเกณฑ์ทีส่ หกรณ์กำหนด
(๔) กู้เงินประเภทสามัญได้ไม่เกินร้อยละ เก้าสิบของเงินฝากออมทรัพย์ ที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ หรือ

ตามท่คี ณะกรรมการเงนิ ก้จู ะเห็นสมควร สำหรับการชำระหน้ี เงินกู้ใหเ้ ป็นไปตามระเบยี บสหกรณ์กำหนด
(๕) ได้รบั บรกิ ารทางวชิ าการจากสหกรณ์
(๖) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมใหญ่
(๗) สิทธิอื่นๆ ท่กี ำหนดไวใ้ นขอ้ บงั คบั และระเบียบของสหกรณ์

(ข) หนา้ ทข่ี องสมาชกิ สมทบ มดี งั น้ี
(๑) ปฏิบัตติ ามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบงั คับ มติ และคำส่ังของสหกรณ์
(๒) เขา้ รว่ มการประชุมทุกคร้งั ที่สหกรณน์ ดั หมาย
(๓) ส่งเสริมสนบั สนนุ กจิ การของสหกรณ์ เพอ่ื ใหส้ หกรณ์เปน็ องคก์ รทเี่ ขม้ แขง็
(๔) สอดสอ่ งกิจการของสหกรณ์
(๕) ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนนิ การ เพื่อพฒั นาสหกรณใ์ หเ้ จริญรงุ่ เรอื งและม่ันคง

(ค) สมาชิกสมทบไมใ่ ห้มีสิทธิ ในเรอ่ื งดังต่อไปนี้
(๑) นับช่ือเขา้ เป็นองค์ประชุมในการประชมุ ใหญ่
(๒) การออกเสยี งในเรือ่ งใดๆ ของสหกรณ์
(๓) เขา้ เป็นคณะกรรมการดำเนินการ
(๔) ก้ยู ืมเงนิ เกนิ กว่าเงนิ ฝากรวมกบั ทนุ เรือนหุ้นของตนเอง

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั 173
รายงานกจิ การประจำปี 2565

การขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมทบ
ขอ้ ๕๗ การขาดสมาชกิ ภาพของสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบย่อมขาดจากสมาชกิ ภาพ เพราะเหตุใดๆ
ดงั ตอ่ ไปน้ี

(๑) ตาย
(๒) เปน็ คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ต้องคำพิพากษาใหล้ ้มละลาย
(๔) ต้องคำพิพากษาถึงทีส่ ดุ ให้จำคกุ เวน้ แตค่ วามผดิ ลหุโทษหรือความผิดอันกระทำโดยประมาท
(๕) ลาออกจากสหกรณ์ และไดร้ ับอนุญาตแล้ว
(๖) ถกู ให้ออกจากสหกรณ์
(๗) ขาดคุณสมบตั ติ ามข้อ ๕๒
(๘) ในกรณีทสี่ มาชกิ ของสหกรณ์ ตามที่กำหนดในข้อ ๕๒ (๓) ก. ซงึ่ เป็นผ้เู กยี่ วข้องกับสมาชิกสมทบ
ตอ้ งขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตใุ ดๆ ซ่ึงเป็นเหตุใหส้ มาชิกสมทบ ต้องขาดคณุ สมบัตไิ ปด้วยนน้ั หากสมาชกิ สมทบ
มคี วามประสงค์เปน็ สมาชกิ ต่อใหเ้ ขียนคำร้องใหค้ ณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้พจิ ารณาอนมุ ัตเิ ปน็ รายๆ ไป
ข้อ ๕๘ การลาออกจากสหกรณ์ สมาชิกสมทบอาจลาออกจากสหกรณ์ได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือ
ต่อคณะกรรมการดำเนินการและเมื่อคณะกรรมการดำเนินการไดส้ อบสวนพจิ ารณาเหน็ วา่ เป็นการชอบดว้ ยข้อบังคับ
และอนุญาตแล้วจงึ ให้ถอื ว่าลาออกจากสหกรณ์ได้
ขอ้ ๕๙ การให้ออกจากสหกรณ์ สมาชกิ สมทบอาจถกู ให้ออกจากสหกรณเ์ พราะเหตุใดๆ ดงั ตอ่ ไปนี้
(๑) ไมช่ ำระค่าธรรมเนยี มแรกเขา้
(๒) ไม่ลงลายมอื ช่ือในทะเบียนสมาชิกสมทบ
(๓) ไมป่ ฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคบั ระเบียบ มติและคำส่ังของสหกรณ์
(๔) แสดงตนเป็นปฏิปกั ษ์หรอื ให้เสอื่ มเสยี ต่อสหกรณ์หรือขบวนการสหกรณ์ ไมว่ ่าโดยประการใดๆ
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ได้สอบสวนพิจารณาแล้วปรากฏว่า สมาชิกสมทบมีเหตุใดๆดังกล่าว
ขา้ งต้น และได้ลงมติใหส้ มาชิกสมทบออก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการท่ี
มอี ยู่ทัง้ หมดในขณะน้นั แล้ว ก็เปน็ อันถือว่าสมาชกิ สมทบน้ันถกู ให้ออกจากสหกรณ์
ข้อ ๖๐ การเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ สมาชิกสมทบคนใดมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชื่อ
ชือ่ สกลุ สญั ชาตแิ ละทอ่ี ยู่ ต้องแจ้งใหส้ หกรณท์ ราบภายในสบิ หา้ วนั นบั แต่วันที่มกี ารเปลยี่ นแปลง
ข้อ ๖๑ การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ให้สมาชิกสมทบทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้รับโอน
ประโยชน์ในเงินค่าหุ้น เงินฝาก หรือเงินอื่นใดจากสหกรณ์ เมื่อตนถึงแก่ความตายตามแบบฟอร์มที่สหกรณ์กำหนด
โดยมอบไวแ้ ก่สหกรณ์เป็นหลักฐาน
ถา้ สมาชิกสมทบประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลย่ี นแปลงการต้ังผรู้ ับโอนประโยชน์ท่ไี ด้ทำไว้แล้ว กต็ ้องทำเป็น
หนังสอื ตามลักษณะดงั กล่าวในวรรคก่อนมอบใหส้ หกรณ์ถือไว้

174 สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เมื่อสมาชิกสมทบตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบ และสหกรณ์จะ
จ่ายเงินค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินผลประโยชน์หรือเงนิ อื่นในบรรดาที่สมาชิกสมทบผู้ตายมี
อยู่ในสหกรณ์ให้แก่ผูร้ ับโอนประโยชน์ท่ีไดต้ ั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ ก็คืนให้แก่บคุ คลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นท่ี
พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ตามข้อกำหนดในข้อ ๖๒
วรรคแรกและขอ้ ๖๓

ให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ตอ่ สหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปีนับ
แต่วันที่สมาชิกสมทบตายหรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่า
สมาชิกสมทบนั้นๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและ
อนุมัติแล้ว สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำ
ขอรบั เงินผลประโยชน์ หรือผู้ทม่ี ีช่ือเป็นผ้รู บั โอนประโยชน์ทส่ี มาชิกสมทบได้จดั ทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มตี วั อยู่ก็ดี เม่ือ
พน้ กำหนดอายุความฟ้องคดใี ห้สหกรณโ์ อนจำนวนเงินดังกลา่ วไปสมทบเป็นเงินทนุ สำรองของสหกรณ์ทั้งสิน้

ขอ้ ๖๒ การจา่ ยคนื จำนวนเงนิ ของสมาชิกสมทบที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีทส่ี มาชิกสมทบขาดสมาชิก
ภาพเพราะเหตุตามข้อ ๕๗ (๑) (๒) (๔) และ (๕) นั้นสหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย
บรรดาทส่ี มาชิกสมทบมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกสมทบซึ่งออกเพราะเหตุอื่น พร้อมด้วยเงินปันผลและ
เงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นน้ั นผู้มีสิทธิ
ได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืน
หลังจากวันส้ินปที างบัญชีที่ออก โดยได้รับเงินปันผลและเงนิ เฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วย ในเมื่อที่ประชุมใหญม่ ี
มตใิ ห้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้สดุ แตจ่ ะเลือก สว่ นเงนิ รับฝากและดอกเบี้ยนนั้ สหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตาม
ระเบียบของสหกรณ์

ถ้าในปีใด จำนวนค่าหุ้นที่ถอนคืนเนื่องจากสมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือน
หุ้นของสหกรณต์ ามที่มีอย่ใู นวนั ต้นปนี ั้น คณะกรรมการดำเนนิ การมอี ำนาจใหร้ อการจา่ ยคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาด
จากสมาชกิ ภาพรายตอ่ ไปในปนี น้ั ไว้จนถึงปีทางบญั ชใี หม่

ในกรณีที่สมาชกิ สมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามขอ้ ๕๗ (๓) สหกรณ์จะจ่ายคา่ หุ้น เงินรับฝาก เงิน
ปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกบั ดอกเบ้ยี คา้ งจ่าย บรรดาที่สมาชกิ สมทบนน้ั มีอยูใ่ นสหกรณ์คนื ให้ตามกฎหมายลม้ ละลาย

ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ ๕๗ (๖) (๗) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้นเงินปัน
ผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร โดย
ไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉล่ียคืนตั้งแต่ประจำปีที่ออกจากสหกรณ์ หรือหากสมาชิกสมทบขอใหจ้ ่ายค่าหุ้นภายในหลงั
วนั ส้ินปี โดยขอรับเงนิ ปนั ผลและเงินเฉลยี่ คืนในปีนน้ั ภายหลังที่ทปี่ ระชุมใหญ่ได้พจิ ารณาจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีก็
ได้ ส่วนเงนิ รับฝากและดอกเบยี้ นัน้ สหกรณจ์ ะให้ตามระเบยี บของสหกรณ์

ในกรณีสหกรณ์ขาดทุนสะสมหรือมีแนวโน้มจะขาดทุนสะสม ให้ชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นแก่สมาชิกสมทบที่
พ้นจากสมาชิกภาพในระหว่างปีจนกว่าจะปิดบัญชีประจำปี และให้คำนวณเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นที่จะจ่ายคืนแก่

สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกดั 175
รายงานกจิ การประจำปี 2565

สมาชิก โดยนำทุนเรือนหุ้นทั้งหมดหักด้วยขาดทุนสะสมคงเหลือและหนี้สินทั้งสิ้น แล้วนำมาเฉล่ียโดยใช้จำนวนห้นุ
ท้งั สิน้ เปน็ ฐานในการคำนวณ

เมื่อสหกรณ์มีการคำนวณมูลค่าเงินค่าหุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นแล้ว ในปีต่อๆไป สหกรณ์ต้องคำนวณมูลค่าเงินค่า
หุ้นจ่ายคืนต่อหุ้นให้เป็นปีปัจจุบันทุกปี และมูลค่าดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่ามูลค่าต่อหุ้น ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
จนกว่าสหกรณ์ไม่มียอดขาดทุนสะสม (ร่างตามตัวอย่างของกรมส่งเสริม เกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบของ
สมาชิก)

ข้อ ๖๓ การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์ ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิก
สมทบตามข้อ ๖๒ นน้ั ให้สหกรณ์หักจำนวนเงนิ ซึง่ สมาชกิ สมทบตอ้ งรบั ผดิ ต่อสหกรณ์ออกก่อน

ข้อ ๖๔ การถอนชื่อสมาชิกสมทบออกจากทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกสมทบออกจากสหกรณ์ไม่ว่า
เพราะเหตุใด ใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การถอนช่อื สมาชกิ ออกจากทะเบียนสมาชิก

หมวด ๗
การประชมุ ใหญ่
ข้อ ๖๕ การประชุมใหญ่สามัญ ให้สหกรณ์จัดประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้ง ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับ
แตว่ นั ส้ินปีทางบัญชีของสหกรณ์
ข้อ ๖๖ การประชมุ ใหญว่ ิสามญั สหกรณ์สามารถจัดการประชุมใหญว่ สิ ามญั ไดด้ ว้ ยเหตุดังนี้
(๑) คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเม่ือใดก็ไดเ้ มือ่ มเี หตอุ ันสมควร
(๒) นายทะเบยี นสหกรณม์ หี นังสอื แจ้งใหเ้ รียกประชมุ ใหญ่วสิ ามัญ
(๓) สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว เพื่อพิจารณาแผนปรับปรุงการดำเนินงาน
และต้องเรียกโดยไม่ชักชา้ แต่ไม่เกินสามสบิ วันนับแตว่ นั ท่ีสหกรณท์ ราบ
(๔) สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหน่ึงร้อยคน หรือผู้แทน
สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคน
ลงลายมอื ชื่อทำหนงั สือร้องขอตอ่ คณะกรรมการดำเนนิ การใหเ้ รียกประชุมใหญ่วสิ ามัญ
คณะกรรมการดำเนินการต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับ คำร้องขอ ถ้า
คณะกรรมการดำเนินการไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสหกรณ์มี
อำนาจเรียกประชุมใหญว่ สิ ามัญไดภ้ ายในระยะเวลาทีเ่ ห็นสมควร
ข้อ ๖๗ การประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก กรณีที่สหกรณ์มีสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคน ให้การประชุมใหญ่
ประกอบดว้ ยผแู้ ทนสมาชิกเทา่ น้ัน
ข้อ ๖๘ การเลอื กตั้งและการดำรงตำแหนง่ ผูแ้ ทนสมาชิก
(๑) สมาชิกเทา่ นั้นมีสิทธิได้รับเลอื กตง้ั เปน็ ผูแ้ ทนสมาชิก

176 สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒) การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกคราวหนึ่งๆ ให้กระทำในที่ประชุมกลุ่มก่อนการประชุมใหญ่สามัญของ
สหกรณ์ไมน่ อ้ ยกว่าสามสิบวัน และใหป้ ระธานกลมุ่ หรือเลขานุการกลุ่ม หรือตัวแทนกลุ่มแจ้งรายชื่อผู้แทนสมาชิกใน
กลมุ่ ของตนต่อสหกรณโ์ ดยมชิ กั ช้า

(๓) ให้ที่ประชุมกลุ่มดำเนินการเลือกตัง้ ผูแ้ ทนสมาชิก โดยอัตราส่วนจำนวนสมาชิก ๒๐ คน ต่อผู้แทน
สมาชิกหนึ่งคน ถ้าเศษของอัตราส่วนดังกล่าวเกินกึ่งให้เลือกตั้งผู้แทนสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ในจำนวนนี้ให้
ประธานกลมุ่ (ถา้ มี) เป็นผแู้ ทนสมาชกิ โดยตำแหน่ง โดยให้นับรวมอยใู่ นจำนวนผู้แทนสมาชกิ ทีก่ ลมุ่ พงึ เลือกตั้งได้

อนึง่ จำนวนผ้แู ทนสมาชกิ จะมนี อ้ ยกว่าหน่ึงร้อยคนไม่ได้
(๔) ให้ผู้แทนสมาชิก อยู่ในตำแหน่งคราวละหนึ่งปีทางบัญชีของสหกรณ์ ถ้ายังไม่มีการเลือกตั้งผู้แทน
สมาชกิ ใหม่ กใ็ ห้ผู้แทนสมาชกิ เดิมอยู่ในตำแหน่งตอ่ ไปพลางก่อน
ขอ้ ๖๙ การพน้ จากตำแหนง่ ผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ครบวาระหรือมกี ารเลอื กตัง้ ผูแ้ ทนสมาชกิ ใหม่
(๒) ลาออกโดยยืน่ ใบลาออกต่อท่ีประชมุ กลมุ่ ซึง่ ตนสังกัด
(๓) ออกจากกล่มุ ท่ตี นสังกดั
(๔) ขาดจากสมาชกิ ภาพ
(๕) ทีป่ ระชมุ กลุ่มซง่ึ ตนสงั กดั ลงมตถิ อดถอน
ข้อ ๗๐ ตำแหน่งผู้แทนสมาชิกว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วย
ประการใดๆ จนทำให้ผู้แทนสมาชิกเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยคนหรือเหลือไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้แทนสมาชิกท้งั หมด
ก็ให้ทปี่ ระชมุ กลุ่มดำเนินการเลือกต้ังผู้แทนสมาชิกให้ครบตามจำนวนทว่ี ่างลง และใหผ้ แู้ ทนสมาชิกท่ีได้รับการเลือก
ตง้ั อยู่ในตำแหน่งไดเ้ พียงเทา่ ทก่ี ำหนดเวลาท่ผี ซู้ ่งึ ตนแทนนนั้ ชอบจะอยู่ได้
ข้อ ๗๑ การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ เมื่อมีการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งวัน เวลา
สถานที่ และเรอ่ื งท่จี ะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้าการประชุม
นนั้ เปน็ การด่วน อาจแจง้ ล่วงหนา้ ไดต้ ามสมควร และอาจแจง้ สมาชิกใหท้ ราบทางอิเลก็ ทรอนิกส์ก็ได้ ท้ังนี้ให้ประธาน
กรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ เปน็ ผ้ลู งลายมอื ช่ือในหนังสือน้ัน และต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จาก
กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบล่วงหน้า ในโอกาสเดียวกันกับที่แจ้งให้สมาชิกหรือผู้แทน
สมาชกิ ทราบด้วย
ข้อ ๗๒ องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่ง
หนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ในกรณีเป็นการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก ต้องมี
ผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจึงจ ะเป็น
องคป์ ระชุม
ในกรณที ท่ี ป่ี ระชุมใหญโ่ ดยผู้แทนสมาชิก สมาชิกทว่ั ไปสามารถเข้าร่วมประชุมใหญฐ่ านะผสู้ ังเกตการณ์ได้ แต่
ไม่มีสทิ ธิออกเสยี งและแสดงความคิดเห็นหรอื ได้รบั การเลือกตั้งใดๆ ทัง้ ส้ิน

สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด 177
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ในการประชุมใหญ่ สมาชกิ หรอื ผแู้ ทนสมาชกิ จะมอบอำนาจให้ผ้อู ่นื มาประชุมแทนตนไม่ได้
ขอ้ ๗๓ การเรยี กประชุมใหญค่ ร้ังที่สอง ในการประชมุ ใหญ่ของสหกรณ์ ถา้ สมาชกิ หรือผแู้ ทนสมาชิกแล้วแต่
กรณีมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามข้อ ๗๒ วรรคแรก ใหน้ ดั ประชุมใหญ่อีกคร้ังหน่ึงภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัด
ประชุมใหญ่ครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลังนี้ถ้ามิใช่การประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้
เรียกประชุม เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณีมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำ นวนสมาชิกหรือ
ผ้แู ทนสมาชิกท้งั หมด หรือไม่นอ้ ยกว่า สามสิบคนก็ให้ถอื เป็นองคป์ ระชุม แตถ่ า้ เปน็ การประชมุ ใหญว่ ิสามัญที่สมาชิก
หรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมมีจำนวนไม่ถึงที่จะเป็นองค์
ประชุมตามทีก่ ลา่ วในขอ้ ๗๒ วรรคแรก กใ็ หง้ ดประชมุ
ข้อ ๗๔ อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการดำเนิน
กิจการของสหกรณ์ ในขอ้ ตอ่ ไปน้ี
(๑) รับทราบเรอ่ื งการรับสมาชกิ เข้าใหม่ สมาชกิ ออกจากสหกรณ์ การเลอื กตัง้ ผแู้ ทนสมาชิก และวินิจฉัยข้อ
อทุ ธรณข์ องผูส้ มคั รซ่งึ มิได้รับเลือกเขา้ เปน็ สมาชิก และสมาชิกทีถ่ ูกให้ออกจากสหกรณ์
(๒) เลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการหรือถอดถอนคณะกรรมการดำเนินการและผู้ตรวจสอบ
กิจการของสหกรณ์
(๓) อนมุ ัตงิ บการเงนิ ประจำปี และจัดสรรกำไรสทุ ธิประจำปขี องสหกรณ์
(๔) รับทราบรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ จากคณะกรรมการดำเนินการ และผล
การตรวจสอบประจำปจี ากผู้ตรวจสอบกิจการ
(๕) กำหนดค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าท่ีหรือคา่ ตอบแทนอนื่ ของผตู้ รวจสอบกจิ การ
(๖) กำหนดวงเงินซงึ่ สหกรณอ์ าจกู้ยืมหรือค้ำประกัน
(๗) อนุมัติแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ หรือแผนปรับปรุงการดำเนินงานของ
สหกรณ์ หรือแผนและวงเงนิ การจา่ ยคืนค่าห้นุ บางส่วนระหว่างเปน็ สมาชกิ
(๘) กำหนดคา่ เบี้ยเลยี้ ง ค่าพาหนะ ค่าเช่าทีพ่ กั และค่าเบี้ยประชุมของกรรมการดำเนนิ การ กรรมการอน่ื ๆ
อนุกรรมการ ทปี่ รกึ ษา
(๙) พิจารณาแก้ไขเพิม่ เติมข้อบังคับ
(๑๐) เหน็ ชอบใหแ้ ยกสหกรณ์ ควบสหกรณ์ เลกิ สหกรณ์ เข้ารว่ มจัดต้งั หรือเปน็ สมาชิกชุมนุมสหกรณ์
(๑๑) รับทราบเรื่องการดำเนินงานของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และชุมนุมสหกรณ์ที่สหกรณ์น้ี
เปน็ สมาชิกอยู่
(๑๒) พิเคราะห์และปฏิบัติตามคำสั่งหรือหนงั สอื หรือคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียน
สหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรอื พนกั งานเจา้ หนา้ ทซ่ี ่ึงนายทะเบยี นสหกรณ์มอบหมาย
(๑๓) กำหนดรูปการซง่ึ สหกรณค์ ิดจะทำเป็นเครอ่ื งเกื้อหนุนบรรดาสมาชกิ ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
(๑๔) พิจารณาวินิจฉัยเรอ่ื งท้ังปวงท่ขี ้อบงั คบั ไม่ได้กำหนดใหเ้ ปน็ อำนาจของผู้ใดเป็นการเฉพาะ

178 สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

หมวด ๘
คณะกรรมการดำเนินการ และคณะอนกุ รรมการ

คณะกรรมการดำเนนิ การ

ข้อ ๗๕ คณะกรรมการดำเนินการ ให้สหกรณ์ มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ประกอบด้วยประธาน
กรรมการหนง่ึ คน และกรรมการดำเนินการอีกสบิ สคี่ น ซึง่ ท่ีประชมุ ใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก โดยกรรมการอย่างน้อย
หนึ่งคน ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชี การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์ หรือผ่านการฝึกอบรมตาม
หลักสตู รในดา้ นดังกลา่ วหรอื ดา้ นอน่ื ตามทค่ี ณะกรรมการพฒั นาการสหกรณ์แหง่ ชาตกิ ำหนด

การเลือกตั้งกรรมการตามวรรคแรกให้กระทำโดยวิธีการเปิดเผย และให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งใน
ระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน เลขานุการคนหนึ่ง และเหรัญญิกคน
หนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ สำนักงานสหกรณ์ หรือประกาศทาง
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๗๖ ห้ามมใิ ห้บุคคลซึง่ มลี ักษณะดงั ตอ่ ไปนีเ้ ป็นหรือทำหนา้ ที่กรรมการดำเนนิ การ
(๑) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ

โดยประมาทหรอื ความผดิ ลหโุ ทษ
(๒) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชนฐาน

ทุจรติ ตอ่ หน้าที่
(๓) เคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตาม

คำสงั่ นายทะเบยี นสหกรณ์
(๔) เคยถกู ทป่ี ระชมุ ใหญ่ มีมตใิ ห้ถอดถอนออกจากตำแหน่งกรรมการเพราะเหตุทจุ รติ ต่อหน้าที่
(๕) เป็นเจ้าหน้าทใ่ี นสหกรณน์ ี้
(๖) เป็นกรรมการหรือผู้จัดการในสหกรณ์ถูกสั่งเลิกตามมาตรา ๘๙/๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ

สหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเตมิ
(๗) ผดิ นดั ชำระเงินต้นหรือดอกเบย้ี กบั สหกรณ์ทีต่ นเป็นสมาชิกในระยะเวลาสองปที างบญั ชีกอ่ นวนั ที่

ได้รบั การเลือกตั้งเป็นกรรมการหรือวนั ทที่ ำสญั ญาจ้างเปน็ ผู้จัดการหรือในขณะทีด่ ำรงตำแหนง่ นั้น
(๘) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการ
ผ้จู ัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรอื ทปี่ รึกษาของผใู้ ห้บริการทางการเงนิ ซ่ึงอยูภ่ ายใต้การกำกบั ดูแลของหน่วยงาน
ดังกล่าว เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กำหนดห้ามดำรงตำแหน่งดังกล่าวแล้วหรือได้รับการยกเว้นจากหน่วยงานกำกับ
ดแู ล แลว้ แตก่ รณี

(๙) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจการใด ๆ อันผิดกฎหมายที่มีลักษณะ
เป็นการหลอกลวงผ้อู ่ืนหรอื ฉ้อโกงประชาชน

สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกดั 179
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๑๐) เปน็ หรอื เคยเปน็ บุคคลลม้ ละลาย
(๑๑) เป็นกรรมการหรือผูจ้ ดั การของสหกรณ์อื่น เว้นแต่เป็นกรรมการของชมุ นุมสหกรณ์ท่ีสหกรณน์ ้นั
เปน็ สมาชิกอยูไ่ ดอ้ ีกไม่เกินหน่ึงแห่ง
(๑๒) เป็นกรรมการของสหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหน่งผูจ้ ัดการสหกรณน์ ้ันไม่เกินหน่งึ ปี หรือเป็นผู้จัดการ
สหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหนง่ กรรมการของสหกรณ์นน้ั ไม่เกนิ หนึง่ ปี แล้วแตก่ รณี
(๑๓) ผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าเก้าสิบวันกับนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูล
เครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น
กรรมการหรอื วนั ทีท่ ำสัญญาจา้ งเป็นผ้จู ดั การหรอื ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น
(๑๔) ผู้ซึ่งถูกสหกรณท์ ีต่ นเป็นสมาชิกหรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ฟ้องดำเนินคดีในทางแพ่งหรือทาง
อาญาในข้อกล่าวหาที่กระทำให้สหกรณ์เสียหาย หรือเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่สหกรณ์ใน
การกระทำทกี่ ่อให้เกดิ ความเสียหาย
ข้อ ๗๗ อำนาจหนา้ ที่ของกรรมการดำเนนิ การแตล่ ะตำแหน่ง
(ก) ประธานกรรรมการ มีอำนาจหน้าทีด่ งั น้ี
(๑) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมในคณะกรรมการดำเนินการ และควบคุมการประชุม
ดังกลา่ วใหเ้ ปน็ ไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย
(๒) ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบรอ้ ยและอยู่ในวัตถปุ ระสงค์
ของสหกรณ์
(๓) ลงลายมือชอ่ื ในเอกสารต่างๆ ในนามสหกรณต์ ามทก่ี ำหนดไว้ในข้อบงั คบั นี้
(๔) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใตก้ ฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ
มติ และคำส่งั ของสหกรณ์
(ข) รองประธานกรรมการ มอี ำนาจหนา้ ทีด่ ังน้ี
(๑) ปฏบิ ัติการในอำนาจหน้าท่ีของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เม่อื ประธานกรรมการไม่
อยหู่ รือไม่อาจปฏิบตั หิ น้าทไี่ ด้ หรอื เมือ่ ตำแหนง่ ประธานกรรมการว่างลง
(๒) ปฏิบตั กิ ารตามท่ีประธานกรรมการมอบหมายให้
(๓) ดำเนนิ การอื่นๆ ตามท่ีคณะกรรมการดำเนินการมอบหมายใหภ้ ายใต้กฎหมาย ขอ้ บังคบั
ระเบยี บ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(ค) เลขานกุ าร มีอำนาจหนา้ ที่ดังน้ี
(๑) จดั ทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชมุ คณะกรรมการดำเนนิ การทกุ คร้ัง
(๒) ดแู ลรกั ษาเอกสาร และรายงานการประชุมของสหกรณใ์ ห้เรยี บร้อยอย่เู สมอ
(๓) แจ้งนดั ไปยงั บรรดาสมาชกิ หรือกรรมการดำเนินการ แลว้ แต่กรณี
(๔) ดำเนินการอน่ื ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใตก้ ฎหมาย

180 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ขอ้ บงั คบั ระเบียบ มติ และคำสัง่ ของสหกรณ์

(ง) เหรญั ญิก มีอำนาจหน้าที่ดงั น้ี
(๑) ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่ายและการเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็นไปโดย

ถูกต้องเรียบรอ้ ย
(๒) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใตก้ ฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ

มติ และคำสง่ั ของสหกรณ์
ข้อ ๗๘ กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี

นับแต่วนั เลอื กต้งั ในวาระเรมิ่ แรกเมื่อครบหน่ึงปนี ับแต่วนั เลือกตงั้ ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่ง
เปน็ จำนวนหนง่ึ ในสองของกรรมการดำเนนิ การสหกรณท์ ้ังหมดโดยวิธีจบั ฉลาก (ถา้ มีเศษใหป้ ดั ข้ึน) และให้ถือว่าเป็น
การพ้นจากตำแหนง่ ตามวาระ ในปตี ่อไปให้กรรมการดำเนินการท่ีอย่ใู นตำแหนง่ จนครบวาระ หรอื อยู่นานทสี่ ุด ออก
จากตำแหน่งสลับกนั ไปทุกๆ ปี

เมื่อครบกำหนดแลว้ หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการ
ชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลอื กตัง้ คณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอ้ ยหา้ สิบวันนบั แต่
วนั ส้ินปีทางบัญชีสหกรณ์

กรรมการดำเนินการสหกรณ์ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งซ้ำอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระ
ติดตอ่ กนั

ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อย่ใู น
ตำแหน่งไดเ้ ชน่ เดยี วกบั กรรมการดำเนินการชุดแรก และใหน้ ำความในวรรคหนง่ึ มาใชบ้ งั คบั โดยอนุโลม

ข้อ ๗๙ การพ้นจากตำแหน่ง กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด
ดงั ต่อไปนี้

(๑) ถงึ คราวออกตามวาระ
(๒) ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ หรือลาออกต่อที่ประชุม
ใหญข่ องสหกรณ์
(๓) ขาดจากสมาชิกภาพ
(๔) มีลกั ษณะต้องหา้ มตามขอ้ ๗๖
(๕) ตกเปน็ ผู้ผิดนัดการสง่ เงินงวดชำระหนไี้ มว่ า่ เงนิ ตน้ หรือดอกเบ้ยี ตดิ ต่อกนั เปน็ เวลาถึงสองเดือน
(๖) ท่ปี ระชมุ ใหญ่ลงมตถิ อดถอนท้งั คณะ หรือรายบคุ คล
(๗) นายทะเบยี นสหกรณส์ ่งั ให้ออกทงั้ คณะ หรือรายบคุ คล
(๘) ขาดประชมุ คณะกรรมการดำเนนิ การติดต่อกนั สามคร้งั โดยไม่มเี หตุอนั ควร

สหกรณ์ออมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั 181
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ให้กรรมการดำเนินการผู้มีส่วนได้เสียตาม (๗) อุทธรณ์ต่อ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน
สามสิบวนั นบั แตว่ นั ทร่ี บั ทราบคำสง่ั คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เปน็ ทส่ี ุด

เม่อื คณะกรรมการดำเนนิ การได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่า กรรมการดำเนนิ การมีเหตุตาม (๘) และได้ลงมติ
โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนนิ การที่มีอยู่ท้ังหมด ในขณะนั้นยกเวน้ ผู้มีส่วนได้
เสยี ก็เปน็ อนั ถอื ว่ากรรมการดำเนนิ การรายนนั้ ต้องพ้นจากตำแหนง่

กรณที ท่ี ่ีประชุมใหญล่ งมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งท้งั คณะ ใหท้ ี่ประชุมใหญ่เลือกต้ัง
คณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยใู่ นตำแหน่งได้เชน่ เดยี วกบั คณะกรรมการดำเนินการชดุ แรก

ข้อ ๘๐ ตำแหน่งว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออก
ตามวาระ (เว้นแต่เพราะเหตุตามข้อ ๗๙ (๗)) ให้กรรมการดำเนินการที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ดำเนินการต่อไปจนกวา่
จะมกี ารประชุมใหญ่ ซึง่ จะไดม้ ีการเลอื กตั้งกรรมการดำเนินการแทนตำแหน่งทวี่ า่ ง แตถ่ า้ ในเวลาใดจำนวนกรรมการ
ดำเนินการลดลงจนเหลือน้อยกว่าองค์ประชุม กรรมการดำเนินการที่ดำรงตำแหน่งอยู่จะประชุมดำเนินการใดๆ
ไม่ได้ นอกจากต้องนัดเรียกให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นโดยเร็ว เฉพาะการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการแทน
ตำแหนง่ ที่วา่ งลง

ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระตามความในวรรคก่อนนั้นเป็น
ตำแหน่งประธานกรรมการ หากมิได้มีรองประธานกรรมการทำหน้าที่แทนและยังมิได้มีการประชุมใหญ่
เพื่อเลือกตั้งใหม่ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาเลือกตั้งกรรมการดำเนินการอื่นขึ้นทำหน้าที่แทนชั่วคราว
จนกว่าจะมกี ารเลือกตงั้ ใหม่

กรรมการดำเนินการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งขึ้นแทนในตำแหน่งที่ว่าง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าท่ี
กำหนดเวลาที่ซึ่งตนแทนนั้นชอบทจ่ี ะอยไู่ ด้

ขอ้ ๘๑ การประชุมและองคป์ ระชุม ใหค้ ณะกรรมการดำเนินการประชมุ กันตามคราวที่มีกิจธุระแต่ต้องมีการ
ประชุมกนั เดอื นละหนงึ่ ครง้ั เปน็ อย่างน้อย

ใหป้ ระธานกรรมการ หรอื รองประธานกรรมการ หรอื เลขานุการ เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ ใน
กรณีที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องสำคัญอื่นๆ ของสหกรณ์ให้แจ้ง
เจ้าหน้าท่ีของกรมส่งเสรมิ สหกรณแ์ ละกรมตรวจบญั ชสี หกรณท์ ราบดว้ ยทุกคราว

ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ต้องมีกรรมการดำเนินการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมการดำเนินการท้งั หมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ ๘๒ อำนาจหนา้ ที่ของคณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการดำเนนิ การมีอำนาจหนา้ ที่ดำเนินกิจการ
ทั้งปวงของสหกรณ์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ กับทั้งในทางอันจะทำให้
เกิดความจำเริญแกส่ หกรณ์ ซึ่งรวมท้งั ในขอ้ ตอ่ ไปนี้

(๑) พจิ ารณาในเรอื่ งการรบั สมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดแู ลให้สมาชกิ ปฏบิ ัตกิ ารต่าง
ๆ ตามกฎหมาย ข้อบงั คบั ระเบียบ มตแิ ละคำส่งั ของสหกรณ์

182 สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒) พจิ ารณาในเรอ่ื งการรบั ฝากเงิน การกูย้ ืมเงนิ การใหเ้ งินกู้ และการฝากหรอื ลงทนุ ของสหกรณ์

(๓) พจิ ารณาดำเนนิ การต่าง ๆ เกีย่ วกับทรพั ย์สิน ดังระบไุ ว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

(๔) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะ

ส่วนตัว

(๕) กำหนดระเบียบตา่ ง ๆ ของสหกรณ์

(๖) กำหนดและดำเนินการเก่ียวกบั การประชมุ ใหญ่ การเสนองบการเงินประจำปแี ละรายงานประจำปี

แสดงผลการดำเนนิ งานของสหกรณ์ต่อทป่ี ระชุมใหญ่

(๗) เสนอแนะการจัดสรรกำไรสทุ ธปิ ระจำปตี อ่ ทป่ี ระชุมใหญ่

(๘) เสนอแผนงานและงบประมาณรายจา่ ยประจำปีหรือแผนปรบั ปรุงการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้ที่

ประชุมใหญอ่ นมุ ัติ

(๙) เสนอให้ท่ีประชุมใหญ่พจิ ารณาให้สหกรณ์สมัครเขา้ เป็นสมาชกิ และออกจากการเปน็ สมาชิกชุมนุม

สหกรณ์ และองคก์ ารอน่ื

(๑๐)พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้แก่ประธานกรรมการ รอง

ประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญกิ ผจู้ ัดการและบคุ คลท่ีเก่ยี วขอ้ งได้ตามความเหมาะสม

(๑๑) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการอื่น หรือคณะอนุกรรมการ หรือ

คณะทำงานเพ่ือประโยชนใ์ นการดำเนินกจิ การของสหกรณ์

(๑๒) พิจารณาดำเนนิ การแต่งต้ัง หรือจ้าง และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จดั การ ตลอดจนควบคมุ ดูแล

การปฏิบัตงิ านของผู้จดั การให้เป็นการถูกตอ้ ง

(๑๓) พิจารณากำหนดตวั เจา้ หน้าท่ีของสหกรณ์ใหป้ ฏบิ ตั ิหนา้ ทแ่ี ทนผู้จัดการ

(๑๔) พจิ ารณาดำเนนิ การแต่งตั้งและกำหนดคา่ ตอบแทนแก่ผตู้ รวจสอบภายใน

(๑๕) เชิญบคุ คลภายนอกทเ่ี ห็นสมควรเปน็ ท่ีปรึกษาของสหกรณ์ ตลอดจนกำหนดคา่ ตอบแทนให้

ตามทเี่ ห็นสมควร

(๑๖) จัดให้มแี ละดแู ลใหเ้ รียบรอ้ ยซึ่งบรรดาทะเบยี น สมดุ บัญชีเอกสารต่าง ๆ และบรรดาอุปกรณ์

ดำเนนิ งานของสหกรณ์

(๑๗) พจิ ารณารายงานของคณะกรรมการอน่ื คณะอนกุ รรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ความเหน็ ของ

ผู้จดั การและสมาชิกเก่ยี วกับกิจการของสหกรณ์

(๑๘) พิเคราะห์และปฏบิ ัตติ ามหนังสือของนายทะเบยี นสหกรณ์ รองนายทะเบยี นสหกรณ์ ผู้ตรวจการ

สหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าท่ีซงึ่ นายทะเบียนสหกรณม์ อบหมาย

(๑๙) พจิ ารณาใหค้ วามเทยี่ งธรรมแกบ่ รรดาสมาชิก เจ้าหน้าทส่ี หกรณ์ ตลอดจนสอดสอ่ งดูแล

โดยทว่ั ไปเพ่ือให้กจิ การของสหกรณด์ ำเนินไปด้วยดี

สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั 183
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒๐) ฟ้อง ตอ่ สู้ หรอื ดำเนนิ คดเี กย่ี วกับกิจการของสหกรณ์ หรือประนปี ระนอมยอมความ หรือมอบข้อ
พพิ าทให้อนุญาโตตลุ าการพจิ ารณาชี้ขาด

(๒๑) พิจารณาแตง่ ตงั้ ผู้แทนสหกรณเ์ พื่อเข้าประชุมและออกเสยี งในการประชุมใหญ่ของสนั นบิ าต
สหกรณ์แหง่ ประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ และองคก์ รอนื่ ซึง่ สหกรณ์นีเ้ ปน็ สมาชกิ ท้ังนี้ ใหเ้ ปน็ ไปตามทีข่ ้อบังคบั ของ
สนั นิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชมุ นมุ สหกรณ์ และองค์การนัน้ กำหนดไว้

ข้อ ๘๓ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการ ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์
กระทำการ หรืองดเว้นการกระทำการ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสยี
ผลประโยชน์ของสหกรณ์ หรือสมาชิก อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการ
หรือฐานะการเงิน ตามรายงานการสอบบัญชี หรือรายงานการตรวจสอบ เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย
คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผดิ ชอบชดใชค้ ่าเสยี หายให้แกส่ หกรณ์

คณะกรรมการอืน่
ข้อ ๘๔ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการอำนวยการจำนวนหา้ คน
โดยให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการของคณะกรรมการดำเนินการเป็น
กรรมการอำนวยการ และใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การตั้งกรรมการดำเนนิ การอื่นเปน็ กรรมการร่วมอีกตามสมควร
ให้ประธานกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ เป็นประธานและเลขานุการคณะกรรมการ
อำนวยการ ตามลำดบั
คณะกรรมการอำนวยการให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการซึ่งตั้ง
คณะกรรมการอำนวยการนั้น
ให้คณะกรรมการอำนวยการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ และให้ประธานกรรมการอำนวยการ หรือ
เลขานุการนัดเรยี กประชุมได้
ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ต้องมีกรรมการอำนวยการมาประชุมไม่น้อยกว่า
กึ่งหนึง่ ของจำนวนกรรมการอำนวยการทั้งหมด จงึ จะเปน็ องคป์ ระชุม
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไป
ทราบ
ข้อ ๘๕ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน
คณะกรรมการดำเนินการตามทไี่ ดร้ บั มอบหมาย และตามกฎหมาย ข้อบงั คบั ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ ซงึ่
รวมท้ังในข้อตอ่ ไปน้ี

(๑) ควบคมุ ในเรอ่ื งการรบั เงนิ การจ่ายเงิน การสะสมเงิน การฝากหรอื การเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตาม
ข้อบังคบั และระเบยี บของสหกรณ์

(๒) ควบคมุ การจดั ทำบญั ชี และทะเบียนตา่ งๆ ของสหกรณ์ใหถ้ ูกตอ้ งครบถว้ นและเป็นปัจจุบันเสมอ

184 สหกรณ์ออมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๓) ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่างๆ ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดี
และปลอดภยั และพรอ้ มท่ีจะให้ผู้ทเี่ ก่ียวขอ้ งตรวจสอบได้ทนั ที

(๔) เสนอแนะคณะกรรมการดำเนินการในการปรับปรงุ หรอื แกไ้ ขการบรหิ ารงานของสหกรณ์
(๕) ควบคมุ ดแู ลการจดั ทำงบการเงินประจำปี รวมทัง้ บญั ชีกำไรขาดทนุ และรายงานประจำปีแสดงผล
การดำเนินงานของสหกรณเ์ สนอคณะกรรมการดำเนนิ การพิจารณา เพื่อเสนอตอ่ ทปี่ ระชมุ ใหญอ่ นุมตั ิ
(๖) พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการเสนอให้ท่ี
ประชุมใหญพ่ จิ ารณาอนมุ ตั ิ
(๗) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ
พิจารณา และเสนอที่ประชุมใหญอ่ นมุ ัติ
(๘) ทำนติ ิกรรมต่างๆ เก่ียวกับการดำเนนิ งานของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย
ข้อ ๘๖ คณะกรรมการเงินกู้ คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการเงินกู้จากคณะกรรมการ
ดำเนินการ จำนวนห้าคน โดยใหม้ ตี ำแหน่งประธานกรรมการคนหน่ึง และเลขานุการคนหนึ่ง นอกน้นั เปน็ กรรมการ
คณะกรรมการเงนิ กู้ให้อยใู่ นตำแหนง่ ได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนนิ การ ซึ่งตั้งคณะกรรมการ
เงินกนู้ ้นั
ให้คณะกรรมการเงินกู้ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่าง
น้อย และให้ประธานกรรมการเงนิ กู้ หรือเลขานกุ ารนดั เรียกประชมุ ได้
ในการประชุมคณะกรรมการเงินกู้ ต้องมีกรรมการเงินกู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ
เงนิ กู้ท้งั หมด จึงจะเปน็ องคป์ ระชุม
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมคราว
ถัดไป
ขอ้ ๘๗ อำนาจหน้าทข่ี องคณะกรรมการเงินกู้ ใหค้ ณะกรรมการเงนิ กู้มีอำนาจหน้าทใ่ี นการพิจารณาวินิจฉัย
อนุมัตกิ ารให้เงินกแู้ กส่ มาชกิ ตามกฎหมาย ขอ้ บังคบั ระเบยี บ มติ และคำส่งั ของสหกรณร์ วมทง้ั ขอ้ ตอ่ ไปน้ี
(๑) ตรวจสอบการใชเ้ งนิ ก้ขู องสมาชิกใหเ้ ป็นไปตามความมุ่งหมายที่ใหเ้ งนิ กู้นัน้
(๒) ตรวจสอบการควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ และเมื่อเห็น
ว่าหลักประกนั สำหรบั เงนิ กรู้ ายใดเกิดบกพรอ่ ง ก็ตอ้ งกำหนดให้ผกู้ ู้จัดการแก้ไขให้คืนดี ภายในระยะเวลาท่กี ำหนด
(๓) ดูแลและตดิ ตามการชำระหน้ีของสมาชกิ ผู้ก้ใู ห้เปน็ ไปตามท่ีกำหนดในสัญญา
(๔) รายงานและสอบสวนเบื้องต้นให้ได้ข้อความจริง ในกรณีสมาชิกผู้กู้ขอผ่อนเวลาการส่งเงินงวด
ชำระหนี้เงินกู้ หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ เพื่อเสนอความเห็นให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผัน
หรือเรียกคืนเงินกู้ หรือสอบสวนลงโทษให้สมาชิกออกจากสหกรณ์ หรือพิจารณาว่าตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามข้อ
๗๖ (๖) โดยจะต้องรายงานเปน็ ประจำทกุ เดือน

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกดั 185
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๘๘ คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการศึกษาและ
ประชาสัมพันธ์จากคณะกรรมการดำเนินการ จำนวนห้าคน โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และ
เลขานกุ ารคนหน่ึง นอกนนั้ เป็นกรรมการ

คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าที่กำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ
ซง่ึ ตง้ั คณะกรรมการศกึ ษาและประชาสมั พนั ธ์นัน้

ใหค้ ณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์นั้นประชุมกันตามคราวท่ีมกี ิจธรุ ะ แตจ่ ะต้องมีการประชมุ กันเดือน
ละหนง่ึ คร้ังเปน็ อยา่ งน้อย และให้ประธานกรรมการศกึ ษาและประชาสัมพันธ์ หรอื เลขานุการนดั เรียกประชมุ ได้

ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของ
กรรมการศกึ ษาและประชาสมั พนั ธ์ทง้ั หมด จึงจะเปน็ องค์ประชุม

ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธร์ ายงานผลการปฏิบัติงานใหค้ ณะกรรมการดำเนินการทราบในการ
ประชุมคราวถดั ไป

ข้อ ๘๙ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้คณะกรรมการศึกษาและ
ประชาสมั พนั ธม์ ีอำนาจและหน้าทด่ี ำเนินกจิ การตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบยี บ มติ และคำสัง่ ของสหกรณ์ในส่วนที่
เก่ยี วข้อง ซงึ่ รวมทั้งในขอ้ ตอ่ ไปน้ี

(๑) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก โดยให้การศึกษาและอบรมแก่สมาชิก และผู้ที่สนใจให้
ทราบถึงเจตนารมณ์ หลักวิธกี าร การบรหิ ารงานของสหกรณ์

(๒) ประชาสัมพนั ธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ความร้เู กี่ยวกับลกั ษณะ ประโยชน์ รวมทัง้ ผลงานของสหกรณ์
ใหส้ มาชกิ และบุคคลภายนอกรับทราบ

(๓) ดำเนินการในการประชาสมั พนั ธแ์ ละให้ความรู้แกผ่ ู้สนใจสมคั รเข้าเปน็ สมาชกิ
(๔) ให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่แก่สมาชิกถึงวิธีการออมทรัพย์ และการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ
ตลอดจนวชิ าการตา่ งๆ อันจะเป็นประโยชนต์ อ่ การประกอบอาชพี
(๕) ศึกษาและติดตามข่าวความเคลื่อนไหวด้านการดำเนินงานของสหกรณ์อื่นทั้งในและนอกประเทศ
เพ่อื นำตัวอยา่ งท่ีดมี าเสนอคณะกรรมการดำเนินการพจิ ารณานำมาบริการแกส่ มาชกิ ตามความเหมาะสม

คณะอนกุ รรมการ
ข้อ ๙๐ คณะอนุกรรมการ ในกรณีจำเป็นแก่การดำเนินงาน คณะกรรมการดำเนินการอาจมีคำสั่งแต่งตั้ง
อนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจของสหกรณ์ โดยมีอำนาจหนา้ ท่ีตามที่คณะกรรมการดำเนินการ
กำหนด
คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เป็นที่ปรึกษา
คณะอนกุ รรมการและให้ถือว่าทีป่ รึกษาคณะอนุกรรมการเปน็ ส่วนหนง่ึ ขององค์ประกอบ

186 สหกรณอ์ อมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๙๑ องคป์ ระกอบของคณะอนกุ รรมการบริหารความเส่ียง ใหค้ ณะกรรมการดำเนินการแตง่ ตง้ั กรรมการ
ดำเนินการเป็นคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงจำนวนห้าคน โดยให้มีตำแหน่งประธานอนุกรรมการคนหน่ึงและ
เลขานกุ ารคณะอนุกรรมการคนหน่ึง นอกน้ันเปน็ อนกุ รรมการ

คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตงั้ บุคคลภายนอกทเี่ ปน็ ผทู้ รงคณุ วุฒิเป็นทป่ี รกึ ษาคณะอนุกรรมการ
ได้

ข้อ ๙๒ อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ให้คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงมี
อำนาจและหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง
รวมทัง้ ในขอ้ ตอ่ ไปน้ี

(๑) ศกึ ษา วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายการบริหารความเส่ียงเพ่ือเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ
พิจารณา โดยครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆ เช่น ความเสี่ยงด้านสนิ เชื่อ การลงทุน สภาพคล่อง ปฏิบัติการ
และดา้ นอืน่ ๆ ใหส้ อดคลอ้ งกับกลยุทธ์เสนอคณะกรรมการดำเนนิ การอนมุ ัติ

(๒) มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบท่ี
คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

(๓) ประเมนิ ตดิ ตาม กำกับดแู ล และทบทวนความเพียงพอของนโยบายเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง
เพอ่ื ใหก้ ระบวนการบริหารความเส่ียงมีประสทิ ธิภาพและประสิทธิผล

(๔) รายงานแผนดำเนินงานที่ควรปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนปัจจัยและปัญหาที่มีนัยสำคัญให้แก่
คณะกรรมการดำเนนิ การ เพอ่ื ใหส้ อดคลอ้ งกบั การดำเนนิ กิจการของสหกรณ์

(๕) กำกับดแู ลเร่ืองธรรมาภิบาลเก่ียวกบั การบริหารความเส่ียง
(๖) รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการและต่อที่ประชุมใหญ่ทราบโดยแสดง
รายละเอยี ดในรายงานประจำปี
(๗) ปฏิบัตหิ นา้ ทอี่ น่ื ตามที่คณะกรรมการดำเนนิ การมอบหมาย
ข้อ ๙๓ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการการลงทุน ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ
ดำเนินการเป็นคณะอนุกรรมการการลงทุนจำนวนห้าคน และต้องไม่มีกรรมการดำเนินการที่เป็นคณะอนุกรรมการ
บริหารความเสี่ยงเป็นอนุกรรมการด้วย โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานอนุกรรมการคนหนึ่งและเลขานุการ
คณะอนกุ รรมการคนหนึง่ นอกนน้ั เป็นอนกุ รรมการ
คณะกรรมการดำเนนิ การอาจแต่งตัง้ บุคคลภายนอกทีเ่ ปน็ ผู้ทรงคณุ วฒุ ิเป็นท่ีปรกึ ษาคณะอนุกรรมการ
ได้
ข้อ ๙๔ อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการลงทุน ให้คณะอนุกรรมการการลงทุนมีอำนาจและหน้าท่ี
ดำเนนิ การตามกฎหมาย ข้อบงั คับ ระเบียบ มติ หรอื คำสง่ั ของสหกรณ์ ในส่วนทเ่ี กย่ี วขอ้ ง ซง่ึ รวมทงั้ ในขอ้ ต่อไปนี้
(๑) ศกึ ษา วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายและแผนเกยี่ วกับการลงทุนประจำปีใหส้ อดคล้องกบั นโยบาย
ดา้ นการบรหิ ารความเสย่ี งโดยรวม และเสนอคณะกรรมการดำเนนิ การพิจารณาเพื่อเสนอใหท้ ป่ี ระชุมใหญอ่ นุมตั ิ

สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั 187
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนและแผนจัดการการลงทุน ภายใต้ขอบเขตที่คณะกรรมการ
ดำเนินการกำหนด

(๓) ประเมิน ติดตาม และกำกับดูแลผลประโยชน์จากการลงทุน และจัดให้มีการควบคุมภายในท่ี
เหมาะสม

(๔) กำกบั ดแู ลเร่ืองธรรมาภิบาลเกย่ี วกบั การลงทุน
(๕) รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการทราบและรายงานผลการปฏิบัติงานให้ที่
ประชมุ ใหญ่ทราบในรายงานประจำปี
(๖) ปฏบิ ัติหน้าท่อี ืน่ ตามท่ีคณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย

ประธานในท่ปี ระชมุ
ข้อ ๙๕ ประธานในที่ประชุม ในการประชุมใหญ่หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ให้ประธาน
กรรมการเปน็ ประธานในท่ปี ระชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ก็ใหร้ องประธานเป็นประธานในท่ีประชุม
และถ้ารองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมด้วย ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการดำเนินการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธาน ในที่
ประชมุ เฉพาะการประชมุ คราวนัน้
ในการประชุมคณะกรรมการอื่นหรือคณะอนุกรรมการ เช่น คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการเงินกู้
คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้ประธานของคณะกรรมการนั้นๆ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน
กรรมการไม่อยใู่ นทีป่ ระชุม กใ็ หท้ ปี่ ระชมุ เลอื กกรรมการคนหน่ึงเปน็ ประธานในทป่ี ระชมุ เฉพาะการประชุมคราวนั้น
ในการประชุมกลุ่ม ให้ประธานของกลุ่มหรือเลขานุการของกลุ่ม เป็นประธานในที่ประชุมตามลำดับ แต่ถ้า
ประธานกลุ่มหรอื เลขานุการกลมุ่ ไม่อยใู่ นทป่ี ระชมุ ก็ให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกซ่งึ เข้าประชุมคนหนึ่งขึน้ เป็นประธานใน
ทป่ี ระชมุ เฉพาะการประชุมคราวนน้ั
ในการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติถอดถอนคณะ
กรรมการดำเนนิ การทงั้ คณะหรอื ตำแหน่งประธานกรรมการ ให้ผตู้ รวจสอบกิจการเป็นประธานในท่ีประชุม

การออกเสียงและการวินจิ ฉัยปญั หาในทีป่ ระชุม
ข้อ ๙๖ การออกเสียง สมาชิกหรอื ผู้แทนสมาชิกคนหนึ่งให้มเี สียงหนึ่งในการลงคะแนนออกเสียงในที่ประชมุ
ใหญ่ และที่ประชมุ กล่มุ สุดแตก่ รณี ได้เพยี งคนละหน่งึ เสียง จะมอบให้ผู้อน่ื มาประชมุ และออกเสยี งแทนตนไม่ได้
ถ้าปัญหาซ่ึงท่ปี ระชุมวินจิ ฉัยนน้ั ผใู้ ดมีสว่ นได้เสียเป็นพเิ ศษเฉพาะตัว ผนู้ ัน้ จะออกเสียงในเรอ่ื งนน้ั ไมไ่ ด้
ข้อ ๙๗ การวนิ ิจฉยั ปัญหา การวินิจฉยั ปัญหาต่างๆ ในทป่ี ระชมุ ใหญ่ หรอื ทีป่ ระชุมคณะกรรมการดำเนินการ
หรือที่ประชุมคณะกรรมการอื่นๆ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออก
เสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเปน็ เสียงชี้ขาด เว้นแต่ในกรณีต่อไปน้ีให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรือผูแ้ ทน
สมาชกิ ซง่ึ มาประชุม

(๑) การแก้ไขเพ่มิ เติมข้อบังคบั
(๒) การเลิกสหกรณ์

188 สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๓) การควบสหกรณ์
(๔) การแยกสหกรณ์
การอืน่ ใดทข่ี อ้ บงั คับน้กี ำหนดการลงคะแนนเสียงไว้เป็นการเฉพาะ กใ็ หถ้ ือปฏบิ ตั ิเปน็ ไปตามขอ้ กำหนดนน้ั
ถา้ ในปญั หาซึง่ ที่ประชุมวนิ ิจฉยั น้ัน ผใู้ ดมสี ่วนได้เสียเป็นพเิ ศษเฉพาะตวั ผนู้ ั้นจะออกเสยี งในเร่อื งนัน้ ไมไ่ ด้

รายงานการประชุม
ข้อ ๙๘ รายงานการประชุม ในการประชุมใหญ่ การประชุมกลุ่ม การประชุมคณะกรรมการดำเนินการหรือ
การประชมุ กรรมการอื่นๆ นัน้ ตอ้ งจัดให้ผเู้ ขา้ ประชมุ ลงลายมอื ชื่อ พร้อมท้งั บันทึกเรอื่ งท่พี ิจารณาวนิ จิ ฉัยทง้ั สิ้นไว้ใน
รายงานการประชุม และใหป้ ระธานในท่ีประชมุ กับกรรมการดำเนนิ การ หรือกรรมการอนื่ ๆ แลว้ แตก่ รณี อกี คนหนึ่ง
ท่เี ขา้ ประชุมนน้ั ๆ ลงลายมือช่อื ไว้เป็นสำคัญ
รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการต้องจดั ทำให้แลว้ เสรจ็ ภายในไมเ่ กินสามสบิ วนั

หมวด ๙

ผู้จัดการและเจ้าหนา้ ทส่ี หกรณ์
ข้อ ๙๙ การจ้างและแต่งตัง้ ผูจ้ ดั การ คณะกรรมการดำเนินการอาจพจิ ารณาคดั เลือกบุคคลท่ีมีความซ่ือสัตย์
สจุ ริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพ่ือแต่งตั้งหรือจ้างเปน็ ผู้จัดการของสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคล
ที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗๖ ยกเว้น (๕) หรือเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์หรือเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และใน
การจ้างผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐานและให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มี
หลกั ประกนั ใหเ้ ป็นไปตามกฎหมาย
ในการแตง่ ตงั้ หรือจา้ งผ้จู ัดการ ต้องใหผ้ ู้จดั การรับทราบ และรับรองทีจ่ ะปฏิบัตหิ นา้ ทดี่ งั กำหนดไวใ้ นขอ้ ๑๐๑
เปน็ ลายลักษณ์อักษร
ใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณเ์ กี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก การ
แตง่ ต้ังหรอื จา้ ง การกำหนดอัตราเงนิ เดือน การใหส้ วัสดกิ าร และการใหอ้ อกจากตำแหนง่ ของผู้จดั การสหกรณ์
ข้อ ๑๐๐ การดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ สหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการสหกรณ์ โดยกำหนดระยะเวลาจ้าง
หรอื ไม่กำหนดระยะเวลาจา้ งก็ได้
ข้อ ๑๐๑ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและ
รบั ผดิ ชอบเกี่ยวกบั บรรดากจิ การประจำของสหกรณ์ รวมทัง้ ในขอ้ ตอ่ ไปน้ี

(๑) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลง
ลายมือชอ่ื ในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเขา้ กบั เงินค่าหุ้นตามข้อบังคับสหกรณ์

(๒) ควบคมุ ให้มกี ารเก็บเงนิ คา่ หุ้นรายเดอื น แจง้ ยอดจำนวนหนุ้ จ่ายคนื คา่ หุน้ และชกั ชวนการถือหุน้ ใน
สหกรณ์

(๓) รับฝากเงนิ จา่ ยคนื เงนิ ฝาก และสง่ เสรมิ การรับฝากเงินของสหกรณ์

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกดั 189
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๔) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้ จ่ายเงินกู้ จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้ ให้เป็นไปตามแบบและ
ระเบียบของสหกรณ์

(๕) จัดทำรายละเอียดของสมาชิกรายตัวเกี่ยวกับเงินคา่ หุ้น และเงินให้กู้ทุกหกเดือน พร้อมกับแจ้งให้
สมาชกิ ทราบเป็นรายบุคคล อย่างนอ้ ยปลี ะหนึ่งครั้ง

(๖) พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึง
กำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ ดูแล
วธิ ีการปฏิบัติงานของเจา้ หน้าท่เี หล่านั้นให้เปน็ ไปโดยถกู ต้องเรยี บรอ้ ย

(๗) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วนรับผิดชอบใน
การับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน
และเกบ็ รกั ษาเงินของสหกรณใ์ ห้เปน็ ไปตามที่กำหนดไวใ้ นระเบยี บของสหกรณ์

(๘) รบั ผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็น
ปัจจบุ ัน

(๙) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
และประชุมคณะกรรมการอืน่ ๆ

(๑๐) รับผิดชอบจัดทำงบการเงินประจำปี และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์
เสนอคณะกรรมการดำเนนิ การพจิ ารณา เพ่อื เสนอตอ่ ทป่ี ระชมุ ใหญ่อนุมัติ

(๑๑) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ เสนอคณะกรรมการดำเนินการ
พิจารณา เพอื่ เสนอให้ที่ประชมุ ใหญอ่ นุมตั ิ

(๑๒) จดั ทำแผนการปฏบิ ัติงานของเจา้ หน้าทใ่ี ห้สอดคลอ้ งกับแผนงานท่ีไดร้ บั อนุมัตจิ ากทปี่ ระชมุ ใหญ่
(๑๓) เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุม
คณะกรรมการอื่น ๆ เวน้ แต่กรณซี ง่ึ ท่ีประชุมน้ัน ๆ มใิ หเ้ ขา้ ร่วมประชมุ
(๑๔) ปฏิบัติการเกยี่ วกบั งานสารบรรณของสหกรณ์
(๑๕) รกั ษาดวงตราของสหกรณ์ และความรบั ผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้อยู่
ในสภาพอันดแี ละปลอดภยั
(๑๖) เสนอรายงานกจิ การประจำเดอื นของสหกรณต์ ่อคณะกรรมการดำเนินการ
(๑๗) เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการ
กำหนด
(๑๘) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะ
สว่ นตัว
(๑๙) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่น ๆ ของสหกรณ์
มอบหมาย หรือตามทีค่ วรกระทำ เพื่อให้กจิ การในหนา้ ทีล่ ุล่วงไปด้วยดี

190 สหกรณ์ออมทรพั ย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๑๐๒ การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ ผู้จัดการของสหกรณ์ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่ง
อยา่ งใด ดงั ตอ่ ไปนี้

(๑) ตาย
(๒) ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเปน็ หนังสือตอ่ คณะกรรมการดำเนินการ
(๓) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่ข้อบังคับและกฎหมาย
สหกรณก์ ำหนด
(๔) อายุครบหกสบิ ปีบริบูรณ์ หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง สุดแต่เง่ือนไขใดถึงกำหนดก่อน และให้
พ้นจากตำแหน่งในวันส้นิ ปีทางบัญชีทีอ่ ายคุ รบหกสิบปบี รบิ รู ณ์
(๕) ถูกเลกิ จ้าง
(๖) ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออก หรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ หรือ
ละเว้นการกระทำใดๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน หรือไม่เหมาะสมกับ
ตำแหน่งหนา้ ทผี่ ู้จัดการสหกรณ์
ข้อ ๑๐๓ การลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ให้ผู้จัดการสหกรณ์ยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่
น้อยกว่าสามสิบวัน และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการสหกรณน์ ำเสนอทีป่ ระชุมคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์พิจารณาการลาออกนัน้ การยับยง้ั การลาออกของผ้จู ดั การสหกรณก์ ระทำไดไ้ ม่เกนิ หกสิบวัน
ข้อ ๑๐๔ การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและ
แตง่ ตง้ั ผ้จู ัดการ หรือสหกรณ์ยังไมไ่ ด้อยใู่ นฐานะท่จี ะจัดจา้ งเจา้ หนา้ ท่สี หกรณใ์ นตำแหน่งอนื่ ด้วยได้ ใหค้ ณะกรรมการ
ดำเนนิ การมอบหมายงานในหนา้ ทผ่ี ูจ้ ัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนงึ่ ตามทเี่ ห็นสมควรแตต่ ้องไม่เกนิ ๕ ปี
ข้อ ๑๐๕ การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลง และยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรง
ตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ
หรอื เจา้ หนา้ ท่ีของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนนิ การมอบหมายเป็นผูร้ ักษาการแทน
ข้อ ๑๐๖ การเปลี่ยนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน ตลอดจนจัดทำงบการเงิน
ของสหกรณเ์ พอื่ ทราบฐานะอันแทจ้ รงิ ก่อนที่จะส่งมอบงาน
ข้อ ๑๐๗ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ นอกจากตำแหนง่ ผู้จัดการแล้ว สหกรณอ์ าจจดั จา้ งและแต่งตั้งเจ้าหน้าท่ีอื่นตาม
ความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามข้อ ๗๖ ยกเว้น (๕) หรือเป็นที่
ปรึกษาสหกรณ์หรือเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ท้ังนี้ ตามระเบียบของสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ
กำหนด

สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั 191
รายงานกจิ การประจำปี 2565

หมวด ๑๐

ท่ีปรึกษา ทีป่ รึกษากิตติมศกั ด์ิและผ้ตู รวจสอบกจิ การ

ข้อ ๑๐๘ ทีป่ รกึ ษาและท่ีปรกึ ษากิตติมศักด์ิ คณะกรรมการดำเนนิ การอาจเชญิ สมาชิกหรือบุคคลภายนอกซ่ึง
ทรงคณุ วุฒมิ ีความรู้ความสามารถและเหมาะสมเปน็ ทปี่ รึกษาสหกรณ์ จำนวนไมเ่ กินห้าคน และท่ีปรึกษากิตติมศักดิ์
ได้ จำนวนไม่เกินหนึ่งคน เพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนนิ งานท่ัวไปของสหกรณ์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบท่ี
สหกรณ์กำหนด

ผลประโยชน์และค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น ของผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็น ที่ปรึกษาซ่ึง
จะตอ้ งไดร้ ับให้อยู่ภายใต้งบประมาณรายจ่ายที่ได้รบั อนมุ ัตติ ่อที่ประชุมใหญ่ และจะต้องแสดงไว้ในรายงานประจำปี
และเสนอต่อทปี่ ระชมุ ใหญ่ทราบเป็นรายบคุ คล

ผู้ตรวจสอบกจิ การ

ขอ้ ๑๐๙ ผู้ตรวจสอบกิจการ ให้ที่ประชมุ ใหญเ่ ลือกตงั้ สมาชกิ หรือบคุ คลภายนอกซึ่งเปน็ บคุ คลธรรมดา หรือ
นิติบุคคล และเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิความรู้ความสามารถในด้านการเงิน การบัญชี การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การ
สหกรณ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ และมีคุณสมบัติเป็นผู้ผ่านการอบรม การตรวจสอบกิจการจากกรม
ตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รวมทั้งไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามระเบยี บนายทะเบียนสหกรณ์ เป็นผตู้ รวจสอบกจิ การของสหกรณ์ จำนวนหน่ึงคน หรอื คณะผู้ตรวจสอบ
กิจการจำนวน สามคนต่อคณะ หรอื หน่ึงนติ บิ ุคคล

กรณีเลือกคณะผู้ตรวจสอบกิจการ ให้มีประธานคณะหนึ่งคน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานให้บรรลุ
วัตถุประสงคใ์ นการตรวจสอบกจิ การ และให้ประกาศชือ่ ประธานคณะผู้ตรวจสอบกิจการให้ที่ประชมุ ใหญท่ ราบดว้ ย

ข้อ ๑๑๐ ขั้นตอนและวิธกี ารเลอื กตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ ให้คณะกรรมการดำเนินการประกาศขั้นตอนและ
วิธีการเลือกตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สมาชิกทราบก่อนวันประชุมใหญ่ และให้ประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการ
เลือกต้ังเปน็ ผู้ตรวจสอบกิจการก่อนวนั ประชุมใหญ่ และพจิ ารณาคัดเลือก ผู้ตรวจสอบกจิ การทีม่ ีคุณสมบตั แิ ละไม่มี
ลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เพื่อนำเสนอชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเสนอให้ที่ประชุม
ใหญ่เลือกตั้งตามประกาศ โดยผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้ตรวจสอบกิจการต้องแสดงตนต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย
และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ หากมีคะแนนเท่ากันให้ประธานออกเสียงเพิ่มอีกหน่ึง
เสียงเป็นเสียงชี้ขาด ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ไดร้ ับเลือกตั้งลำดับคะแนนรองลงมาเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสำรอง จำนวนหน่งึ คน
หรอื คณะผู้ตรวจสอบกจิ การจำนวน สามคนตอ่ คณะหรอื หน่ึงนติ บิ คุ คล

กรณมี ีผ้ตู รวจสอบกิจการคนใดตอ้ งขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกจิ การตามข้อ ๑๑๒ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ให้
ผู้ตรวจสอบกิจการสำรองเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน หรือจนกว่าจะมีการ
เลือกต้งั ผตู้ รวจสอบกจิ การใหม่

192 สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกัด
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๑๑๑ การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินคราวละหนึ่งปี
ทางบัญชีสหกรณ์ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการคน
เดมิ ปฏิบัติหนา้ ทอ่ี ยู่ต่อไปจนกวา่ ทป่ี ระชมุ ใหญม่ ีมติเลือกตัง้ ผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่

ผู้ตรวจสอบกจิ การที่พน้ จากตำแหน่งตามวาระอาจจะได้รับเลือกตั้งจากทป่ี ระชุมใหญ่อีกไดแ้ ต่ต้องไม่เกินสอง
วาระติดตอ่ กนั

กรณีผู้ตรวจสอบกิจการขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการก่อนครบวาระ ให้กำหนดระเบียบวาระการ
ประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ในคราวประชุมใหญ่ครั้งแรกหลังจากผู้ตรวจสอบกิจการคนน้ัน
ขาดจากการเปน็ ผู้ตรวจสอบกิจการ และนบั วาระการดำรงตำแหน่งของผ้แู ทนตอ่ เนอื่ งจากผูท้ ่ตี นมาดำรงตำแหน่ง

ข้อ ๑๑๒ การขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการต้องขาดจากการเป็นผู้ตรวจสอบ
กิจการเพราะเหตุอยา่ งใดอย่างหน่ึงดังต่อไปน้ี

(๑) พน้ จากตำแหน่งตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก โดยแสดงเหตุผลเป็นหนังสือยื่นตอ่ ประธานคณะกรรมการดำเนนิ การและให้มผี ลวันที่
ประชมุ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มมี ตริ บั ทราบ
(๔) ที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ลงมติถอดถอนผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติ
บุคคล ออกจากตำแหนง่ ทั้งคณะหรือรายบคุ คล
(๕) อธบิ ดกี รมตรวจบัญชสี หกรณว์ ินิจฉัยว่าขาดคุณสมบตั ิ หรือมลี กั ษณะต้องห้ามตามระเบียบนาย
ทะเบียนสหกรณก์ ำหนด
ข้อ ๑๑๓ อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าท่ีตรวจสอบการดำเนินงาน
ทั้งปวงของสหกรณ์ ทั้งด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และด้านปฏิบัติการในการดำเนินธุรกิจตามที่
กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ รวมทั้งการประเมินผลการควบคุมภายใน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
สารสนเทศของสหกรณ์ และการตรวจสอบในเรอ่ื งตา่ ง ๆ ดังน้ี
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามแบบและรายการที่นายทะเบียน
สหกรณ์กำหนด
(๒) ประเมินความมีประสิทธภิ าพและประสิทธผิ ลการดำเนนิ การของคณะกรรมการดำเนนิ การ เพื่อให้
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ข้อบงั คบั และระเบียบของสหกรณ์
(๓) สอบทานระบบการปฏิบัติงานของสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบนายทะเบียน
สหกรณ์ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ รวมทั้งคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงาน
ตรวจบัญชีสหกรณ์ กำหนดให้ตอ้ งปฏิบัติ

สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวุธทหารเรอื จำกัด 193
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๔) ตรวจสอบและสอบทานระบบการควบคุม ดูแลรกั ษาทรัพย์สินของสหกรณ์ วิเคราะห์และประเมิน
ความมีประสทิ ธภิ าพการใช้ทรพั ย์สินของสหกรณ์ เพื่อใหก้ ารใชท้ รพั ยส์ ินเป็นไปอยา่ งเหมาะสมและค้มุ ค่า

(๕) ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในการพิจารณาแก้ไข ข้อสังเกตหรือ
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือ
ผสู้ อบบญั ชี

(๖) กำหนดขอบเขตการตรวจสอบและเสนอรายงานผลการตรวจสอบเฉพาะด้านในเรื่องดังต่อไปนี้
(๖.๑) ตรวจสอบรายงานทางการเงนิ ให้คณะผูต้ รวจสอบกจิ การตรวจสอบและเสนอรายงานผลการ

ตรวจสอบเกี่ยวกับการเปิดเผยรายการในงบการเงินของสหกรณ์เป็นไปโดยถูกต้อง และได้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ประกาศ คำส่งั ระเบียบ คำแนะนำ แนวปฏิบตั ทิ ี่นายทะเบยี นสหกรณ์กำหนด ตรวจสอบการจัดทำรายการย่อแสดง
สินทรัพย์และหนี้สินครบถ้วนและได้เปิดเผยให้สมาชิกได้รับทราบเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งได้มีการจัดส่งข้อมูล
รายงานทางการเงนิ ตามแบบและรายการที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๖.๒) ตรวจสอบการบริหารความเสี่ยง ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบการวางกลยุทธ์ด้าน
การบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง และเสนอรายงานผลการตรวจสอบเกี่ยวกับการ
กำหนดนโยบายและการวางกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงด้านสินเชื่อความเสี่ยงด้านการลงทุน
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ เป็นต้น เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เป็นไป
ตามนโยบายท่ีกำหนดไว้

(๖.๓) ตรวจสอบการบริหารดา้ นสินเชือ่ ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงานผล
การตรวจสอบเกี่ยวกับการให้สินเชื่อประเภทต่าง ๆ ของสหกรณ์เป็นไปตามนโยบายด้านสินเชื่อที่วางไว้ สามารถ
ประเมิน ติดตามและดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดในสัญญา
ตรวจสอบการวางกลยุทธ์และระบบปฏิบัติการเป็นไปตามนโยบายด้านสินเชื่อและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
กฎกระทรวง

(๖.๔) ตรวจสอบการบริหารด้านการลงทุน ให้คณะผู้ตรวจสอบกิจการตรวจสอบและเสนอรายงาน
ผลการตรวจสอบเก่ียวกบั การกำหนดนโยบายด้านการลงทนุ การลงทนุ ของสหกรณ์ต้องอยภู่ ายใตน้ โยบายท่ีกำหนด
และเปน็ ไปตามกฎหมายสหกรณ์ และไดด้ ำเนนิ การภายใต้เกณฑท์ ก่ี ำหนดในกฎกระทรวง

(๖.๕) ตรวจสอบการบรหิ ารสภาพคล่อง ใหค้ ณะผตู้ รวจสอบกจิ การตรวจสอบและเสนอรายงานผล
การตรวจสอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายหรือแผนงานในการควบคุมการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของ
สหกรณ์ การดำรงสินทรพั ย์สภาพคล่องเปน็ ไปตามทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง

กรณีพบการทุจรติ การขัดแย้งทางผลประโยชนห์ รือมสี ิ่งผิดปกตหิ รือมีความบกพรอ่ งทีส่ ำคัญ
ในระบบการควบคุมภายใน การฝ่าฝืนกฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งนาย
ทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้ตรวจสอบกจิ การต้องเปิดเผยไวใ้ นรายงานผลการตรวจสอบกิจการและนำเสนอ ตอ่ ทปี่ ระชมุ
คณะกรรมการดำเนินการสหกรณแ์ ละท่ปี ระชุมใหญ่

194 สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวุธทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ข้อ ๑๑๔ การรายงานผลการตรวจสอบ ให้ผู้ตรวจสอบกิจการมีหน้าที่รายงานผลการตรวจสอบ เป็นลาย
ลักษณ์อักษรประจำเดือนและประจำปี เพื่อสรุปผลการตรวจสอบ รวมทั้งข้อสังเกตข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
และเข้ารว่ มประชุมคณะกรรมการดำเนนิ การเพื่อแจง้ ผลการตรวจสอบประจำเดือนทผี่ ่านมาเข้าร่วมประชุมใหญ่เพื่อ
รายงานผลการตรวจสอบประจำปีเสนอตอ่ ที่ประชุมใหญข่ องสหกรณด์ ้วย

กรณีพบว่ามีเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มีการปฏิบัติไม่
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบยี บ คำสง่ั ประกาศหรอื คำแนะนำของทางราชการ รวมท้งั ข้อบังคับ ระเบียบ มติท่ีประชุม
หรอื คำส่ังของสหกรณ์ท่ีอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกหรือสหกรณ์อย่างรา้ ยแรง ใหแ้ จง้ ผลการตรวจสอบ
กจิ การต่อคณะกรรมการดำเนินการทันทเี พ่ือดำเนนิ การแก้ไข และให้จดั ส่งสำเนารายงานดงั กลา่ วต่อสำนักงานตรวจ
บญั ชสี หกรณ์ และสำนกั งานสหกรณจ์ งั หวดั โดยเร็ว

ใหผ้ ู้ตรวจสอบกิจการติดตามผลการดำเนินการแกไ้ ขข้อบกพรอ่ ง ข้อสงั เกต และใหร้ ายงานผลการติดตามการ
แก้ไขข้อบกพร่อง ข้อสงั เกตของสหกรณไ์ วใ้ นรายงานผลการตรวจสอบกจิ การด้วย

ข้อ ๑๑๕ ความรับผิดของผู้ตรวจสอบกิจการ กรณีผู้ตรวจสอบกิจการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตาม
อำนาจหน้าที่ หรือประพฤติผิดจริยธรรมในการปฏิบัติงานจนเป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย
ผตู้ รวจสอบกจิ การต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์ หรอื หากตรวจพบข้อบกพร่องของสหกรณ์ต้องแจ้ง
ให้คณะกรรมการดำเนินการทราบโดยเร็ว และผู้ตรวจสอบกิจการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอันจะเกิดแก่
สหกรณ์ดว้ ยเหตไุ มแ่ จง้ นน้ั

การพจิ ารณาความรบั ผดิ ของผู้ตรวจสอบกิจการใหเ้ ป็นไปตามมติของทป่ี ระชมุ ใหญ่
ข้อ ๑๑๖ สหกรณ์มีหนา้ ที่ตอ่ ผตู้ รวจสอบกจิ การ ดงั น้ี

(๑) อำนวยความสะดวก ให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบกิจการ ในการให้คำชี้แจง ตอบข้อซักถาม
ต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูล เอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการ
ตรวจสอบกิจการ

(๒) กำหนดระเบียบวาระการประชุมให้ผู้ตรวจสอบกิจการรายงานผลการตรวจสอบกิจการ
ประจำเดือนและจดั ทำหนังสอื เชิญให้ผูต้ รวจสอบกจิ การเขา้ รว่ มประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทุกคร้ัง

(๓) พิจารณาปฏิบัติตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบกิจการ เพื่อให้การดำเนิน
กจิ การของสหกรณเ์ ปน็ ไปโดยถกู ตอ้ งตามกฎหมาย ระเบยี บ และขอ้ บังคบั ของสหกรณ์

หมวด ๑๑
การแกไ้ ขเพิม่ เตมิ ข้อบงั คบั

ข้อ ๑๑๗ การแก้ไขเพ่มิ เติมข้อบงั คบั จะกระทำไดก้ ็แตโ่ ดยหลักเกณฑแ์ ละวิธีการดงั ต่อไปน้ี
(๑) ตอ้ งกำหนดในระเบยี บวาระการประชมุ ใหญ่เป็นเร่ืองหนงึ่ โดยเฉพาะ และให้แจง้ ไปยังสมาชกิ

พรอ้ มหนังสอื แจง้ ระเบียบวาระการประชุมใหญ่

สหกรณอ์ อมทรพั ย์กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด 195
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๒) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณจ์ ะเสนอวาระแก้ไขเพม่ิ เตมิ ข้อบงั คบั ได้ เมือ่ มกี ารพจิ ารณาเร่ืองที่

จะขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ โดยมติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้น ซึ่งมี

กรรมการดำเนนิ การมาประชุมสามในสีข่ องคณะกรรมการดำเนินการท่ีมีอยู่ในขณะน้ัน ใหถ้ ือเสยี งไม่น้อยกว่าสองใน

สามของกรรมการดำเนินการที่มีอยใู่ นขณะนนั้

กรณีที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทั้งหมด

หรอื ไม่นอ้ ยกวา่ หน่ึงรอ้ ยคน ลงลายมอื ชื่อทำหนงั สอื รอ้ งขอต่อคณะกรรมการดำเนินการ ก่อนการประชุมใหญ่ไม่น้อย

กว่าสามสิบวันให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับก็ย่อมทำได้ โดยต้องระบุข้อความ ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นพร้อม

ดว้ ยเหตุผล

(๓) การพิจารณาวาระการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ให้กระทำได้แต่เฉพาะการประชุมใหญ่ ที่มีองค์

ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก หรือของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อย

คน แล้วแตก่ รณี

(๔) ข้อความใดที่ที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว หากปรากฏว่าข้อความนั้นขัดกับกฎหมาย

หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงของสหกรณ์หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย นายทะเบียนสหกรณ์อาจแก้ไขขอ้ ความนัน้

แลว้ รับจดทะเบยี น

(๕) ข้อบังคับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนแล้ว หากไม่ได้กำหนดระเบียบ หรือคำสั่งให้

สอดคล้องกัน กใ็ หน้ ำความท่ไี ดก้ ำหนดไว้ในขอ้ บงั คับแล้วนนั้ มาบังคบั ใช้ และให้ผูเ้ กี่ยวขอ้ งถอื ปฏิบตั ิ

หมวด ๑๒

ขอ้ เบ็ดเสรจ็

ข้อ ๑๑๘ ระเบียบของสหกรณ์ ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่กำหนด ระเบียบต่างๆ เพ่ือ

ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับนี้ และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของสหกรณ์รวมทั้งใน

ขอ้ ตอ่ ไปน้ี

(๑) ระเบียบวา่ ด้วยการรบั เงินฝากจากสมาชกิ สหกรณ์

(๒) ระเบียบวา่ ด้วยการรบั เงินฝากจากสหกรณ์อน่ื

(๓) ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงนิ จากสมาคมฌาปนกจิ สงเคราะห์

(๔) ระเบยี บวา่ ด้วยการรบั ฝากเงินจากหนว่ ยงานในกรมสรรพาวธุ ทหารเรอื

(๕) ระเบียบว่าดว้ ยการใหก้ แู้ กส่ มาชกิ สหกรณ์

(๖) ระเบยี บว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สหกรณอ์ น่ื

(๗) ระเบียบวา่ ด้วยกล่มุ สมาชิก

(๘) ระเบยี บว่าดว้ ยการโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์

(๙) ระเบียบว่าด้วยการรับจา่ ยและเก็บรักษาเงิน

(๑๐) ระเบยี บวา่ ดว้ ยเจ้าหน้าทแี่ ละข้อบงั คับเกี่ยวกับการทำงาน

196 สหกรณอ์ อมทรัพยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

(๑๑) ระเบยี บว่าดว้ ยการใช้ทุนเพ่อื สาธารณประโยชน์
(๑๒) ระเบยี บวา่ ด้วยการใช้ทุนรักษาระดบั เงนิ ปนั ผล
(๑๓) ระเบียบว่าดว้ ยการใช้ทุนการศกึ ษาอบรมทางสหกรณ์
(๑๔) ระเบยี บว่าดว้ ยการใช้ทุนสวัสดิการหรือการสงเคราะห์
(๑๕) ระเบียบวา่ ด้วยการใช้ทุนจดั ตัง้ เพ่ือพัฒนาระบบบริหารจดั การสหกรณ์
(๑๖) ระเบียบว่าด้วยการใช้เงินกองทุนบรหิ ารสำนกั งานพัฒนาสหกรณ์
(๑๗) ระเบยี บวา่ ด้วยการใช้เงินสวัสดิการเพ่ือสำรองการค้ำประกันเงนิ กู้
(๑๘) ระเบียบวา่ ด้วยท่ปี รึกษาและท่ีปรึกษากติ ติมศกั ดิ์
(๑๙) ระเบยี บวา่ ดว้ ยการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือข้อร้องเรยี นของสมาชกิ
(๒๐) ระเบยี บอน่ื ๆ ทค่ี ณะกรรมการดำเนินการเหน็ สมควรกำหนดไวใ้ ห้มี เพ่อื สะดวกและเป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติงานของสหกรณ์
ระเบียบใน (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๖) ต้องไดร้ บั ความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจงึ จะใช้บังคับได้
ส่วนระเบียบอื่นเมื่อคณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้ว ให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์ และกรม
ตรวจบญั ชีสหกรณ์ทราบภายในสามสิบวัน
ข้อ ๑๑๙ การดำเนินคดีเกี่ยวกับความเสียหาย ในกรณีที่ทรัพย์สินของสหกรณ์ถูกยักยอก หรือเสียหายโดย
ประการใดๆ หรือในกรณีที่สหกรณ์เรียกคืนเงินกู้ตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๑๘ (๕),(๖) แต่มิได้รับชำระตามเรียกก็ดี
คณะกรรมการดำเนินการต้องรอ้ งทุกข์ หรือฟ้องคดภี ายในกำหนดอายุความ
ข้อ ๑๒๐ การตีความในข้อบังคับ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในข้อบังคับข้อใด ให้คณะกรรมการ
ดำเนินการเสนอปญั หานน้ั ต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อขอคำวนิ จิ ฉัย และให้สหกรณถ์ อื ปฏิบัตติ ามคำวนิ ิจฉัยนั้น
ข้อ ๑๒๑ ทรัพย์สินของสหกรณ์ การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของสหกรณ์ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการดำเนินการที่มีอยใู่ นขณะนน้ั เป็นเอกฉนั ท์ และตอ้ งได้รบั ความเห็นจากท่ีประชมุ ใหญ่ดว้ ย
การลงมติเหน็ ชอบที่ประชมุ ใหญต่ ามความในวรรคแรก ให้ถอื เสียงข้างมากของสมาชิกหรือผแู้ ทนสมาชิกซึ่งมา
ประชมุ
ข้อ ๑๒๒ การจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสหกรณ์ต้องเลิก เมื่อสหกรณ์ต้องเลิกและได้จัดการชำระบัญชีโดย
จำหนา่ ยทรัพย์สินตามกฎหมายวา่ ดว้ ยสหกรณ์ ตลอดจนจ่ายคืนเงินรับฝากพร้อมด้วยดอกเบีย้ และชำระหนี้สินอ่ืนๆ
ของสหกรณเ์ สรจ็ ส้นิ แล้ว ปรากฏว่าทรัพย์สินเหลอื อยเู่ ทา่ ใด ใหผ้ ชู้ ำระบัญชจี ่ายตามลำดับดงั ต่อไปนี้
(๑) จา่ ยคืนเงินคา่ หุ้นให้แก่สมาชิกไม่เกินมลู ค่าหนุ้ ท่ีชำระแล้ว
(๒) จา่ ยเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว แตต่ ้องไมเ่ กนิ อตั ราทีน่ ายทะเบียนสหกรณก์ ำหนด
(๓) จ่ายเป็นเงนิ เฉลีย่ คนื ตามข้อ ๓๐ (๒)
เงินที่จ่ายตามข้อ (๒) และ (๓) เมื่อรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินยอดรวมแห่งจำนวนเงินกำไรสุทธิที่สหกรณ์หาได้ใน
ระหวา่ งปที ่เี ลิกสหกรณ์กบั ทนุ รกั ษาระดบั อตั ราเงินปันผลท่ีถอนไปตามขอ้ ๓๐ (๔) ในปนี ้นั

สหกรณอ์ อมทรัพย์กรมสรรพาวุธทหารเรอื จำกดั 197
รายงานกจิ การประจำปี 2565

ถ้ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกให้โอนให้แก่สหกรณ์อื่น หรือสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามมติของท่ี
ประชุมใหญ่ หรือด้วยความเหน็ ชอบของนายทะเบียนสหกรณ์ ในกรณีที่ไม่อาจเรียกประชุมใหญไ่ ด้ภายในสามเดอื น
นบั แตว่ ันทีช่ ำระบญั ชเี สรจ็

ข้อ ๑๒๓ ในกรณีที่ข้อบังคับนี้มิได้กำหนดข้อความเรื่องใดไว้ ให้สหกรณ์นำบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน
กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ตลอดจนคำสั่งหรือคำแนะนำและระเบียบปฏิบัติของนายทะเบียนสหกรณ์มาใช้เป็นส่วน
หน่ึงแห่งข้อบังคบั นี้ดว้ ย

บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒๔ นับแต่วันทีข่ ้อบังคบั นี้ใช้บังคับ ระเบียบใดซึ่งสหกรณ์ถอื ใช้อยู่ก่อนวนั ทีข่ ้อบังคับนี้ถือใช้ และไม่ขัด
หรอื แย้งกบั ขอ้ บังคับนใี้ ห้ถือใช้ตามระเบียบนน้ั ไปกอ่ น จนกวา่ จะไดก้ ำหนดระเบยี บข้นึ ถือใชใ้ หมต่ ามข้อบังคบั น้ี

ลงช่อื พล.ร.อ.....................................................ประธานกรรมการ
( วนิ ยั สุขต่าย )

ลงช่อื น.ท...........................................................เลขานกุ าร
( บริบูรณ์ วชิระศรีสกุ ัญยา )

มติทปี่ ระชุมใหญ่ ...........................................................

198 สหกรณ์ออมทรพั ยก์ รมสรรพาวธุ ทหารเรือ จำกดั
รายงานกจิ การประจำปี 2565

เร่ืองที่ 9 การเลือกตั้งกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรพั ย์ กรมสรรพาวธุ ทหารเรอื จำกัด
เลขานุการฯ
กรรมการของสหกรณใ์ น งป. 65 มกี รรมการพ้นวาระในแต่ละกลมุ่ ดังน้ี
กลมุ่ ท่ี 1 มีกรรมการพ้นวาระ 5 ราย คือ

1. พล.ร.อ.วินัย สขุ ต่าย (เกษียณอายรุ าชการ)
2. พล.ร.ท.อุปถมั ภ์ สมทุ รานนท์ (วาระท่ี 1 ปีท่ี 1 ยา้ ยสังกดั )
3. พล.ร.ต.ณัฐชัย วรรณบูรณ (วาระที่ 2 ปีที่ 1 ย้ายสังกดั )
4. พล.ร.ต.สมบตั ิ แย้มดอนไพร (วาระที่ 1 ปที ี่ 1 ลาออก)
5. น.อ.หญิง ปณุ ยนุช ปรางคท์ องคำ (วาระท่ี 2 ปีที่ 1 ยา้ ยสังกดั )
กลมุ่ ท่ี 2 มีกรรมการพน้ วาระ 1 ราย คือ
น.ท.บริบูรณ์ วชิรศรสี กุ ัญยา (พน้ วาระที่ 1 ปีท่ี 2 ลงสมัครเลือกต้งั ใหม่ได้)
กลมุ่ ที่ 6 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คอื
ร.อ.ฐิตเิ ชษฐ์ ภแู่ จง้ (พ้นวาระที่ 1 ปที ่ี 2 ลงสมัครเลอื กตั้งใหม่ได้)
กลุม่ ที่ 7 มีกรรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ
น.ต.มณเฑียร งามบุญช่นื (พน้ วาระท่ี 1 ปีท่ี 2 ลงสมัครเลือกต้งั ใหมไ่ ด้)
กลมุ่ ที่ 10 มกี รรมการพ้นวาระ 1 ราย คือ
น.อ.โสภณ ต้งั วทิ ย์โมไนย (พน้ วาระที่ 1 ปีท่ี 2 ลงสมัครเลือกตงั้ ใหม่ได้)
กลุม่ ท่ี 11 มีกรรมการพน้ วาระ 1 ราย คือ
น.ต.ฉลอง ดษิ ฐลกั ษณ์ (พน้ วาระที่ 1 ปที ่ี 2 ลงสมัครเลอื กต้งั ใหม่ได้)

ตามท่ีกลุ่มตา่ ง ๆ ได้มผี ูแ้ ทนพ้นวาระนนั้ แตล่ ะกลุ่มได้เสนอช่อื ผู้แทนเข้ามาเปน็ กรรมการดำเนินการ

ในปี 2566 แทนผู้พ้นวาระ ดังน้ี

กลมุ่ ท่ี 1 เสนอ พล.ร.ท.เกรียง ชุณหชาติ (วาระท่ี 1 ปีท่ี 2)

พล.ร.ต.ศภุ ชัย ธนสารสาคร (วาระที่ 1 ปที ่ี 2)

พล.ร.ต.วสิ ทิ ธ์ิ กลุ สมบูรณส์ ินธ์ (วาระที่ 1 ปีท่ี 2)

น.ท.อทิ ธเิ ชษฐ์ ต้งั กงพานชิ กวนิ (วาระท่ี 1 ปที ่ี 2)

น.ต.หญิงกัญชวี ศรพี รหม (วาระท่ี 1 ปีที่ 2)

กลุ่มที่ 2 เสนอ น.อ.ธนะสทิ ธิ์ เทวรงุ่ สัจจา (วาระท่ี 1 ปที ี่ 1)

กลุ่มที่ 3 เสนอ น.ต.ธวชั นาคอ้าย (วาระท่ี 2 ปีท่ี 2)

กลุ่มที่ 4 เสนอ ร.ท.ชยพล ธานี (วาระท่ี 1 ปที ่ี 2)

กลุ่มท่ี 5 เสนอ น.ต.ธีรวฒั น์ พลายเพ็ชร (วาระท่ี 1 ปีที่ 2)

กลมุ่ ท่ี 6 เสนอ น.ต.เปลง่ จำปาโชติ (วาระท่ี 1 ปที ี่ 1)

กลมุ่ ที่ 7 เสนอ น.อ.สทุ ัศน์ กจิ บำรุงรตั น์ (วาระที่ 1 ปที ่ี 1)

กลมุ่ ที่ 8 เสนอ ร.อ.สุรชยั สขุ มณี (วาระท่ี 1 ปีที่ 2)

กลุ่มที่ 9 เสนอ ร.อ.จริ ยุทธ ตมุ้ นลิ กาล (วาระท่ี 1 ปีที่ 2)

กลมุ่ ที่ 10 เสนอ น.ท.ทยารกั ษ์ เพ็ชรมาลัย (วาระท่ี 1 ปที ี่ 1)

กลุ่มท่ี 11 เสนอ ร.ท.สุภทั ร ฤทธิ์มนตรี (วาระท่ี 1 ปีที่ 1)

มตทิ ่ปี ระชมุ ใหญ่เห็นชอบให.้ .......................................................


Click to View FlipBook Version