The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานสถานศึกษาสีขาว ยาบ้า ศกร.ปากปวน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ครูอาร์ม งาน กศน., 2023-12-17 22:19:30

โครงงานสถานศึกษาสีขาว ยาบ้า ศกร.ปากปวน

โครงงานสถานศึกษาสีขาว ยาบ้า ศกร.ปากปวน

โครงงาน ยาบ้าทำลายชีวิต ผู้รับผิดชอบ นักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตำบลปากปวน ครูที่ปรึกษา คุณครูแสงอรุณ โชตะวงค์ ครู กศน.ตำบล คุณครูณัฐธิกา ศรีจันทวงศ์ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่า ยาบ้า เป็นยาเสพติดที่ระบาดอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น ด้วยสภาพปัญหา และเหตุผลที่แตกต่างกัน ยาบ้า มีการแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มนักเรียนนักศึกษา และคนว่างงานทั่วประเทศ ปัจจุบันยาบ้าได้ก่อปัญหาทางสังคมมากมายทั้งปัญหาก่ออาชญากรรม ผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจ โดยที่มีการลักลอบผลิต นำเข้า และจำหน่าย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ บ่อย ๆ แต่การที่จะป้องกันไม่ให้วัยรุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้า มีวิธีการที่ดีคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจถึง พิษภัยของยาบ้า ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ผ่านทางกิจกรรม สื่อต่าง ๆ ตลอดจนการชักชวนให้รู้จักการใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสามารถเสนอแนะผู้อื่นในการป้องกันตนเองจากยาบ้า ศูนย์การเรียนรู้ตำบลปากปวน ได้เล็งเห็นความสำคัญของโทษในการใช้สารเสพติดจึงได้จัดทำโครงงาน เรื่องยาบ้าทำลายชีวิต ขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติพร้อมทั้งกระทบกระเทือนต่อประชาชนผู้ที่ไม่ได้ใช้สารเสพติดอีกด้วย วัตถุประสงค์ที่ศึกษา 1. เพื่อศึกษาโทษของยาบ้าต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. เพื่อศึกษาหาวิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้และชักชวนให้วัยรุ่นไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาบ้า 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยังนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ขอบเขตการศึกษา - ศึกษาโทษของยาบ้าต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม - ศึกษาวิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากยาบ้า - ทดลองใช้วิธีสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจ เพื่อชักชวนให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด เป้าหมาย เชิงปริมาณ นักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตำบลปากปวน จำนวน ๓๐ คน เชิงคุณภาพ นักศึกษารู้โทษของยาบ้าต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม พร้อมทั้งส่ามารถป้องกันตนให้พ้นภัยจากยาเสพ ติดได้ ระยะเวลา กรกฎาคม ๒๕๖๖ – สิงหาคม ๒๕๖๖


วิธีดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน: 1.วางแผนการศึกษาข้อมูล ร่วมกับคุณครู และเพื่อนในชั้นเรียน 2.กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา และกำหนดสมาชิกที่จะศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยของยาบ้า 3.แต่ละกลุ่มระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต 4.รวบรวมข้อมูลนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนผังความรู้(Mind Map) ตามที่ได้วางแผนไว้เพื่อชักชวน ให้ผู้อื่นเข้าใจในพิษภัยยาเสพติด ตลอดจนวิธีการที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาบ้า 5.นำเสนอต่อเพื่อนในชั้นเรียนครูและผู้เรียนร่วมฉันการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 6.ดำเนินการเผยแพร่ดังนี้ 6.1นำไปเป็นสื่อในห้องเรียนสีขาวและจัดป้ายนิเทศ 6.2นำเสนอในโอกาสสำคัญเช่นวันต่อต้านยาเสพติด 7.สอบถามผู้ที่ได้ฟัง หรือได้รับสื่อสร้างสรรค์ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข 8.นำข้อเสนอมาปรับปรุงการดำเนินการในครั้งต่อไป ผลการดำเนินงาน จากผลการศึกษา ดังนี้ ๑. ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า เรื่องยาบ้า ยาอันตราย ยาบ้า (Methamphetamine) มีการแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มนักเรียนนักศึกษา และคนว่างงานทั่วประเทศ ปัจจุบันยาบ้าได้ก่อปัญหาทางสังคมมากมายทั้งปัญหาก่ออาชญากรรม ผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจ โดยที่มีการลักลอบผลิต นำเข้า และจำหน่าย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ บ่อย ๆยาบ้า เป็นสารกระตุ้นประสาทในกลุ่ม แอมเฟตามีน ออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และลด ความอยากอาหาร มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด คือเพิ่มความดันโลหิตและทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาการผิดปกติที่เกิดจากการเสพยาบ้า ผู้เสพจะมีอาการพูดมาก อารมณ์ดี ครื้นเครงกว่าปกติ น้ำหนักตัวลด มีเหงื่อออกมากกว่าเดิม ได้ยินและเห็นภาพหลอน นอนไม่หลับ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตื่นเต้น กระวนกระวาย มีพฤติกรรม ก้าวร้าวและทำลาย ควบคุมสติไม่ได้ ในกรณีที่เสพเกินขนาดอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สับสน ชัก หรือหมดสติได้ อาการติดยา (addiction) พบในผู้ที่เสพยาบ้าในปริมาณมาก เป็นระยะเวลานานๆ จะมีความผิดปกติทางสมอง เกิด อาการทางจิตประสาทหลอน หูแว่ว มีอาการหวาดระแวงจนต้องทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น อาการเหล่านี้จะ หายไปได้ต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือนโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เสพมาอย่างเรื้อรัง อาการถอนยา (withdrawal symtoms) การเสพยาบ้าจะทำให้เกิดอาการดื้อยาได้ ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ เกิดผลที่พึงพอใจ อาการถอนยาจะเกิดขึ้นเมื่อหยุดเสพในทันทีทันใด โดยจะมีอาการหงุดหงิด รู้สึกไม่สบาย ฝัน ร้าย อยากอาหารมากขึ้น ซึม เบื่อ ขี้เกียจ ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง จนอาจมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานหรือไม่มี สมาธิในการเรียน อาการเหล่านี้จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและปริมาณที่เสพ


การรักษา (treatment) – ใช้ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า (antidepressant) ได้แก่ imipramine , desipramine , amitriptyline , trazodone หรือ fluoxetine (prozac) ซึ่งยาเหล่านี้จะเข้าจับกับสาร serotonin ในสมอง เพื่อลดอาการซึมเศร้า และอาการอยากยา – กลุ่มยาระงับประสาท (sedatives) ได้แก่ dalmane , chloral hydrate ,librium , phenobarbital หรือ valium ถูกใช้รักษาอาการวิตกกังวล หรืออาการนอนไม่หลับ – กลุ่มรักษาอาการทางจิต (antipsychotic) ได้แก่ haldol , thorazine ที่ช่วยปรับความ สมดุลให้กับสาร dopamine เพื่อบรรเทาอาการทางจิต และรู้สึกพึงพอใจโดยให้การบำบัดรักษาทั้งทาง ร่างกาย และจิตใจควบคู่กันไปด้วย ชื่อในตลาดมืด (street names) meth , speed , crystal , glass , crank , yaba , ice รูปพรรณของยาบ้าที่นำไปใช้เสพ ยาบ้าจะมีลักษณะเป็นเม็ดหรือแคปซูลเหมือนยารักษาโรคทั่วไป ส่วนใหญ่จะเสพโดยการกลืน เม็ดลงไปในกระเพาะอาหาร หรือเสพโดยการเผาไฟแล้วสูบควันซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่นัก เสพวัยรุ่นไทย ส่วนรูปแบบที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวจะเสพโดยวิธีสูดผงยาเข้าโพรงจมูก และรูปแบบที่ เป็นสารละลายใสบรรจุในหลอดแก้วจะเสพโดยวิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ระยะเวลาการออกฤทธิ์ วิธีการสูบควันหรือไอระเหย ออกฤทธิ์ทันที วิธีสูดผงยาเข้าโพรงจมูก ออกฤทธิ์ภายใน 3-5 วินาที วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ” 15-30 วินาที วิธีกิน ” 30 นาที โดยสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างยาวนาน 8-24 ชั่วโมง ดังนั้นการเสพซ้ำหลายๆ ครั้งใน 1 วัน จะส่งผลให้ปริมาณเมทแอมเฟตามีนในเลือดสูงขึ้น อาการประสาทหลอนและคลุ้มคลั่ง จึงมักปรากฏให้เห็นใน หมู่ผู้เสพที่เสพซ้ำวันละหลายครั้งเป็นส่วนใหญ่ การควบคุมตามกฎหมาย การควบคุมสารกระตุ้นประสาทในกลุ่มแอมเฟตามีน และอนุพันธ์ ตามประมวลกฎหมายยา เสพติด จัดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ๒. วิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากยาเสพติด การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้ การป้องกันตนเอง 1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย 2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย 3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้


4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จัก ปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจัง และจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก ป้องกันตนเอง ทำได้โดย.. • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้ • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์ • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่ การป้องกันในครอบครัว ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความ ว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรัก ความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หัน ไปพึ่งพายาเสพติด ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด การป้องกันในโรงเรียน ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการใน โรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ การป้องกันชุมชน การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น 1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห็นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด 2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า เป็นต้น 3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน 4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง ป้องกันชุมชน ทำได้โดย • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่... *สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526


*ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688 การป้องกันจากรัฐบาล 1. การให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและปราบปราม สิ่งเสพติด 3. จัดบุคลากรและหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดให้เพียงพอ และดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง 4. การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนที่ดูแลด้านสิ่งเสพติดก็ปล่อย ปละละเลย หรือทำการค้าสิ่งเสพติดเสียเอง ทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ทม งวดกับผู้กระทำผิดและลงโทาผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน จากการดำเนินงานโครงงาน ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ 1.นักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตำบลปากปวน รู้ถึงสาเหตุของการติดยาบ้า ของวัยรุ่น 2.นักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตำบลปากปวน มีแนวทางป้องกันตนเองจากเพื่อให้ไม่ถูกชักชวนไปเสพยา เสพติด บรรณานุกรม https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=5974 https://tumboltasai.go.th/newsdetail.php?id=442 http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Gui_Cou_Psy/Patcha_W.pdf https://www.gotoknow.org/posts/634256


Click to View FlipBook Version