The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการประกันคุณภาพการฝึกอบรม พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cs53161.kpn, 2023-01-11 21:27:08

คู่มือการประกันคุณภาพการฝึกอบรม พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

คู่มือการประกันคุณภาพการฝึกอบรม พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

Army
Training
Command

คมู่ อื การประกนั คุณภาพการฝกึ อบรมของ ทบ. พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

สำหรับ
สถาบนั การศึกษาทางทหาร
โรงเรยี นหน่วยและเหลา่ สายวทิ ยาการ
และหนว่ ยจดั การฝกึ อบรมของกองทัพบก

สำนกั การศึกษา กรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก
Office of Education
Army Training Command

CONTACT ป คู่มือการประกันคณุ ภาพ

PHONE: กา การฝึกอบรมของ ทบ.
89053 พ.ศ. 2566 - 2570

WEBSITE: กรมยทุ ธศึกษาทหารบก
http://qed-army.com/
สร้างทหารดว้ ยการฝกึ
EMAIL: สรา้ งขนุ ศึกด้วยการศึกษา
qatc.edocument@gmail.com สรา้ งผูบ้ งั คับบัญชาดว้ ยการพัฒนาคณุ ธรรม

ATC : A - Army & Achievement
T - Transform & Team
C - collaboration & Communication

TED : TRAINING EDUCATION DEVELOPEMENT

CQI : CONTINEOUS QUALITY IMPROVEMENT

AAR : AFTER ACTION REVIEW

OPERATOR:
Education Quality Division
Education Office
Army Training Command

คำนำ

กรมยุทธศึกษาทหารบกได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของ ทบ. พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการฝึกอบรมของสถานศึกษาให้เป็นแนวทางเดียวกัน
โดยมีความมุ่งหมายให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตร
สร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม หน่วย และกองทัพบก ว่าสถานศึกษาสามารถจัดการฝึกอบรม
ได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานการประกันคุณภาพการฝึกอบรมประกอบด้วย มาตรฐานหลักสูตรและการจัด
การเรียนรู้ มาตรฐานผู้เข้ารับการฝึกอบรม มาตรฐานครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร และมาตรฐานสิ่งอุปกรณ์
สนับสนุนการฝึกอบรม คู่มือเล่มนี้ได้ปรับปรุงจากคู่มือการประกันคณุ ภาพการฝึกอบรมของ ทบ. พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยปรับตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับนโยบายการฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก
พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ และบริบทของสถานศึกษา รวมถงึ สภาพแวดลอ้ มทเ่ี ปล่ยี นแปลง

คุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบกตามคู่มือนี้ ประกอบด้วย การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร
เพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน การประกันคุณภาพระดับ
สถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายการฝึกอบรม และการศึกษา
ของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ (ในส่วนนโยบายเฉพาะ) กรมยุทธศึกษาทหารบกหวังเป็นอย่างยิ่ง
ว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นแนวทางให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการร่วมกัน
ตรวจสอบและปรับปรุงพัฒนานั้นมีความสำคัญยิง่ ดังนั้น หากท่านใช้คู่มือแล้ว มีความเห็นหรือมีข้อเสนอแนะ
เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมขอให้แจ้งมาที่ กองคุณภาพการศึกษา สำนักการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารบก
เพื่อร่วมกันปรบั ปรงุ พฒั นาตอ่ ไป

กรมยุทธศึกษาทหารบก

สารบญั

ส่วนท่ี 1 บทนำ ๑
สว่ นท่ี 2 ๑. ความเป็นมา ๑
สว่ นท่ี 3 ๒. วัตถปุ ระสงคก์ ารประกันคุณภาพการฝกึ อบรม ๒
๓. การจัดทำมาตรฐาน ตวั ชว้ี ัดการประกันคณุ ภาพการฝกึ อบรม ๒
สว่ นที่ ๔ ๔. นยิ ามศัพท์ ๓
กระบวนการฝึกอบรมและการดำเนนิ งานประกนั คุณภาพการฝกึ อบรมของกองทัพบก ๘
๑. กระบวนการฝึกอบรม ๘
๒. การดำเนนิ งานประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก ๙
๑๐
๒.๑ นโยบายทวั่ ไป ๑๑
๒.๒ นโยบายเฉพาะ (สว่ นท่ีเพิ่มเติม)
๓. บทบาทหนา้ ทีแ่ ละขนั้ ตอนการดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรมของ ๑๓
กรมยุทธศึกษาทหารบก
๔. บทบาทหน้าทแ่ี ละขน้ั ตอนการดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรม ๑๔
ของสถานศกึ ษา ๑๕
๕. รปู แบบการประเมินคุณภาพการฝกึ อบรมและการศึกษา ๑๕
๖. ปจั จัยแห่งความสำเร็จในการดำเนนิ งานประกันคณุ ภาพการฝึกอบรม ๑๘
มาตรฐานการประกนั คุณภาพการฝกึ อบรมของกองทัพบก ๑๙
มาตรฐานการฝกึ อบรมระดบั หลกั สูตร ๑๙
มาตรฐานท่ี ๑ หลักสตู ร และการจดั การฝึกอบรม ๒๓
มาตรฐานที่ ๒ ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร ๒๘
มาตรฐานท่ี ๓ ผเู้ ขา้ รบั การฝกึ อบรม ๓๑
มาตรฐานที่ ๔ ส่งิ อปุ กรณส์ นับสนุนการฝึกอบรม ๓๔
มาตรฐานการประกันคณุ ภาพระดับสถานศกึ ษาตามนโยบายกองทพั บก ๓๔
วทิ ยาลยั การทัพบก ๓๔
โรงเรียนเสนาธกิ ารทหารบก ๓๕
โรงเรียนนายสบิ ทหารบก ๓๖
โรงเรยี นหนว่ ยและเหล่าสายวทิ ยาการของกองทัพบก ๓๖
หนว่ ยบญั ชาการรกั ษาดินแดน ๓๗
หนว่ ยจัดการฝึกอบรม ๓๗
ศนู ย์ไซเบอร์ กองทัพบก ๓๘
รปู แบบการจัดทำรายงานประกันคุณภาพการฝกึ อบรม ๓๙
แบบรายงานผลการประกันคุณภาพการฝึกอบรมระดับหลกั สูตร ๔๑
รายงานผลการประกนั คุณภาพระดับสถานศึกษา

สว่ นท่ี ๑

บทนำ

๑. ความเป็นมาของการประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรม และการศึกษา
๑.๑ กองทัพบกมีหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑

ได้แก่ การเตรียมกำลังกองทัพบก ป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลัง ทบ. ตามอำนาจ
หน้าที่ของ กห. ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้การฝึกอบรม/การศึกษาวิชาการทหารรวมถึงการส่งเสริม
การศึกษาแก่ นักเรียนทหาร บุคคลพลเรือนที่บรรจุเข้ารับราชการ และกำลังพล เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่
ตามตำแหนง่ ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ อันถอื ไดว้ ่าเป็นสว่ นหน่ึงของการเตรียมกำลัง ทบ. ใหม้ ีความพร้อมรบตาม
หน้าทท่ี ีไ่ ดก้ ำหนดไวใ้ นกฎหมาย

๑.๒ นโยบายการฝึกอบรม และการศึกษาของ ทบ. พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ให้ ยศ.ทบ. ปรับปรุง
ระบบการประกนั คุณภาพการฝึกอบรม สำหรบั หลกั สูตรทางทหารของสถาบันการศกึ ษาทางทหาร หน่วยสาย
วิทยาการ โรงเรียนหน่วยและเหล่าสายวิทยาการ และหน่วยจัดการฝึกอบรมของกองทัพบก โดยให้เน้นการ
ปฏิบัติในระดับบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความต้องการของกองทัพบก
รวมทั้งแนวทางการฝึกอบรมหลักสตู รทางทหารของกองทัพมิตรประเทศ สำหรับสถาบันการศึกษาทางทหารท่ี
จัดการเรียนการสอนหลักสูตรทางพลเรือน ให้ใช้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก เช่นเดียวกับระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพการฝึกอบรม/การศึกษาเป็นส่วนหน่ึง
ของกระบวนการบริหารจัดการฝึกอบรม/การศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้มีการจัดทำรายงาน
เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งน้ี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการ
ฝกึ อบรม/การศกึ ษา และพรอ้ มรบั การตรวจคุณภาพจากหน่วยทเ่ี กย่ี วข้อง

๑.๓ วัตถุประสงค์ การดำเนินการจดั การฝกึ อบรม และการศึกษาของ กองทพั บก
๑.๓.๑ เพื่อผลิตกำลังพลของกองทัพบกให้มีความพร้อมในการปฏิบัตภิ ารกิจของกองทพั บก

ได้แก่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
การพฒั นาประเทศ และการปฏิบัตกิ ารทางทหารนอกเหนือจากสงคราม

๑.๓.๒ เพอื่ เตรยี มกำลงั พลให้มคี วามพร้อมในการปฏิบัติตามตำแหน่งหนา้ ท่ีท่ีได้รับการบรรจุ
ในทุกอัตราของกองทัพบก ซึ่งจะทำให้ทุกหน่วยสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในอัตรา ส่งผลให้
กองทพั บกมคี วามพรอ้ มรบเกิดขนึ้ ได้ในภาพรวม

๑.๓.๓ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ของกำลังพลให้สามารถ
ใชง้ าน ปรนนิบัติบำรงุ รกั ษายทุ โธปกรณ์ และสงิ่ อปุ กรณ์ทมี่ ใี ช้งานอยู่ในกองทัพบกไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ

๑.๓.๔ เพื่อให้กำลังพลมีความรู้ในวิชาอื่น ๆ นอกเหนือจากวิชาการทหาร อันจะเป็นผลให้
กำลังพลได้รับการพัฒนาทางความคิด มีความรู้ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าทางวิทยาการ
เพอ่ื จะไดน้ ำความรทู้ ไ่ี ด้รับมาใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนส์ งู สุดต่อกองทัพบก

๑.๓.๕ เพื่อปลูกฝังกำลังพลให้มีลักษณะความเป็นผู้นำ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม
ประพฤติและปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น
เป็นพลเมืองดีของชาติ มีอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนมีศรัทธาและยึดมั่นต่อการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตรยิ ์ทรงเปน็ ประมขุ



๑.๓.๖ เพื่อให้การฝึกอบรม และการศึกษาของกำลังพลสำรองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามระบบการฝึกศึกษากำลังพลสำรอง โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุ และปฏิบัติงาน
รว่ มกบั กำลังพลหรอื หน่วยทหารประจำการตามแผนปอ้ งกันประเทศได้

๑.๓.๗ เพ่ือใหก้ ำลังพลของกองทัพบก ทไ่ี ดร้ ับการบรรจุตามนโยบายประจำปี มีคุณลักษณะ
ทางทหารตามเกณฑ์ท่ีกองทัพบกกำหนด

๒. วตั ถุประสงคก์ ารประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรมของกองทพั บก
๒.๑ เพือ่ พัฒนาคณุ ภาพและมาตรฐานการฝึกอบรมของสถานศกึ ษา และกองทพั บก
๒.๒ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมี

คุณภาพตามมาตรฐาน ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมีมาตรฐานตามหลักสูตร สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ

๒.๓ เพื่อติดตาม แนะนำ กำกับดูแล การดำเนินการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การฝึกอบรม/การศกึ ษาของกองทัพบก

๓. การจดั ทำมาตรฐาน ตวั ช้ีวดั การประกันคณุ ภาพการฝกึ อบรม
การจัดทำมาตรฐาน ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก ที่ใช้ในการประกัน

คุณภาพในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ได้ดำเนินการตามนโยบายการฝึกอบรม และการศึกษาของ
กองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ เป็นสำคัญ คือ ปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการฝึกอบรม สำหรับ
หลักสตู รทางทหารของสถาบันการศกึ ษาทางทหาร หน่วยสายวทิ ยาการ โรงเรียนหน่วยและเหลา่ สายวิทยาการ
และหน่วยจัดการฝึกอบรมของกองทัพบก โดยให้เน้นการปฏิบัติในระดับบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความต้องการของกองทัพบก รวมทั้งแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรทางทหาร
ของกองทัพมิตรประเทศ สำหรับสถาบันการศึกษาทางทหารทีจ่ ัดการเรยี นการสอนหลักสูตรทางพลเรือนใหใ้ ช้
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก เช่นเดียวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศ ดังนั้น
ในส่วนของการประกันคุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารบกจึงมิได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดการ
ประกันคุณภาพและกำหนดกรอบให้สถาบันการศึกษาทางทหารที่จะต้องดำเนนิ การประกันคุณภาพการศึกษา
ไปกำหนดมาตรฐานคุณภาพตามนโยบายที่ กองทัพบกกำหนด

๓.๑ มาตรฐาน ตัวช้ีวัดการประกันคุณภาพการฝกึ อบรมของกองทัพบก
ได้นำมาตรฐาน ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๕

ทเ่ี ปน็ การประเมนิ คณุ ภาพหลักสูตรมาใช้เพื่อใหเ้ กิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานตอ่ จากปี ๒๕๖๕ โดยพฒั นา
เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความทันสมัย ลดความซ้ำซ้อน เน้นประโยชน์ ประเภทของหลักสูตร และสอดคล้องกับ
สถานการณ์ ซ่งึ ยงั คงใหค้ วามสำคัญกบั มาตรฐาน ๔ ดา้ นหรอื ๔ เสาหลกั ไดแ้ ก่ หลกั สตู รและการจดั การเรยี นรู้,
ครู อาจารย์, ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก และแนวทางที่เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ได้มอบให้ในการ
ดำเนินงานประกันคุณภาพ คือ การทำงานคุณภาพอย่างมีความสุขโดยใช้วงจรคุณภาพ PDSA เป็นส่วนหนึ่งใน
กระบวนการทำงานปกติทุก ๆ งาน ซึ่งได้มีการปรับตัวชี้วัดและเกณฑ์การประกันคุณภาพการฝึกอบรมของ
กองทพั บก พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๐ ประกอบดว้ ย มาตรฐานท่ี ๑ หลักสตู ร และการจัดการฝึกอบรม มาตรฐานท่ี ๒
ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร มาตรฐานท่ี ๓ ผู้เขา้ รบั การฝึกอบรม และ มาตรฐานที่ ๔ สิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการ
ฝึกอบรม โดยจะอธบิ าย ในบทท่ี ๓ ตอ่ ไป

๓.๒ มาตรฐาน ตัวช้ีวัดการประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพบก
กองทัพบกกำหนดให้ใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศ ดังนั้น แต่ละ

สถาบันการศึกษาทางทหารสามารถพิจารณา ดำเนินการกำหนดระบบ กลไกมาตรฐาน ตัวชี้วัดคุณภาพที่เป็น



ความเฉพาะทางของสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และพร้อมรับการประเมิน
คุณภาพจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรฐานจะต้องสอดคล้องกับภารกิจของสถาบันการศึกษา กองทัพบก
สังคมและประเทศชาติตามกรอบมาตรฐานท่ีกำหนด

๔. นยิ ามศพั ท์
มาตรฐานการประกนั คุณภาพการฝึกอบรม หมายถงึ การดำเนินการตามระบบ และกลไกโดยใช้

แนวคิดหลักจากทฤษฎีระบบ (System Theory) ตั้งแต่ การตรวจสอบความจำเป็นการเปิดหลักสูตรการ
ฝึกอบรม การดำเนนิ การจัดการฝึกอบรม การประเมิน และตดิ ตามผลผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรม โดยแต่ละหลักสูตร
การฝกึ อบรม ตอ้ งมีการประเมนิ ผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย

มาตรฐานที่ ๑ หลกั สตู ร และการจัดการฝกึ อบรม
มาตรฐานที่ ๒ ครู อาจารย์ ผู้สอน/วทิ ยากร
มาตรฐานที่ ๓ ผู้เขา้ รบั การฝกึ อบรม
มาตรฐานที่ ๔ สิ่งอุปกรณ์สนบั สนุนการฝึกอบรม
การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม หมายถึง การวิเคราะห์สมรรถนะของตำแหน่ง
สมรรถนะกำลังพลในตำแหน่งนั้น ๆ ว่ามีช่องว่างใดที่ยังขาดสมรรถนะนั้น ๆ อยู่ รวมถึงวิเคราะห์ผลสำรวจ
ความต้องการในการฝึกอบรมของกำลังพล และความจำเป็นของผู้บังคับบัญชา ว่ากำลังพลในสังกัดยังขาด
ความรู้หรือทักษะใดทจ่ี ำเป็นต่อการปฏบิ ัติงานให้มปี ระสิทธภิ าพย่ิงขึ้น
การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม (Training Curriculum) หมายถึง เป็นกระบวนการ
ที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม โดยนำข้อมูลหลังจากการวิเคราะห์มาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบหลักสูตร โดยการกำหนดหัวข้อ เนื้อหา วิธีการ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในการกำหนด
รปู แบบหลักสตู รเพอ่ื ให้ผู้เขา้ รับการฝึกอบรม เกดิ การเรียนรตู้ ามวตั ถปุ ระสงค์ของหลกั สตู รการฝกึ อบรม
การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบให้แก่ผู้เข้ารับการ
ฝึกอบรมเพื่อพัฒนากำลังพล หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่มีปริญญา หรือประกาศนียบัตร
วิชาชีพ เป็นการจัดการฝึกอบรมในหลักสูตรหลัก หรือหลักสูตรแนวทางรับราชการ หลักสูตรผู้ชำนาญการ
หลักสูตรเฉพาะหน้าที่ หรือหลักสูตรการฝึกอบรมต่าง ๆ ของหน่วยงานที่ดำเนินการจัดการฝึกอบรมของ
กองทัพบก โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดหรือพัฒนาความรู้ ทักษะ ปรับทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง
ประกอบกัน ตามความจำเป็นที่สอดคล้องกับภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและ
จุดมุ่งหมายในการพัฒนาหน่วยงาน และขีดความสามารถของกองทัพบกซึ่งกำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหลักสูตร
และคณุ ลักษณะท่พี ึงประสงค์ของผ้สู ำเร็จการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม หมายถึง นักเรียนทหาร นักศึกษาวิชาทหาร กำลังพลกองทัพบก
บุคลากรของรัฐหรือบุคคลซึ่งไม่ใช่บุคลากรของรัฐ ที่เข้ารับการฝึกอบรม เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ใน
หลกั สตู ร
หลักสูตรการฝึกอบรม หมายถึง หัวข้อวิชา เนื้อหาสาระ วิธีการ กิจกรรม ประสบการณ์ที่ผู้จัด
การฝึกอบรมจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติไป
ในทิศทางท่ีได้กำหนดไว้ ในวตั ถุประสงค์ของหลักสตู รชดั เจน ซง่ึ ไดจ้ ัดทำอย่างถูกต้องและเป็นระบบ โดยได้รับ
การอนมุ ัตใิ ห้ใชจ้ ดั การฝึกอบรมในกองทัพบก
ครู อาจารย์ หมายถงึ ข้าราชการทหารทท่ี ำหนา้ ทีส่ อน ท่บี รรจุในตำแหนง่ ประเภทวิทยฐานะและ
ทำหน้าที่ครูทหารหรือครูวิชาการ ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนและมีความสามารถในการถ่ายทอด
อบรม สั่งสอนความรู้และคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้



(Knowledge) ความเข้าใจ (Understand) เจตคติ (Attitude) ความสามารถ (Skill) เกิดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมไปตามวตั ถุประสงคท์ ี่ต้องการ ปัจจุบนั ครู อาจารย์ ตอ้ งปรบั บทบาทจากผูส้ อน (Teacher) แบบเดิม
เพราะผลลัพธท์ กี่ องทัพบกต้องการเปลยี่ นไป ต้องการผ้เู รยี น/ผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรมแบบใหม่ ดังน้ัน ครู อาจารย์
ต้องปรับบทบาทในการส่งเสริม แนะนำ ให้คำปรึกษาให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง
ซึ่งทำใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง

วิทยากร/ผู้สอน หมายถึง ผู้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องท่ีถ่ายทอดความรู้ ตามหลักสูตร
สามารถนำเสนอและใช้เทคนิคต่าง ๆ ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ
(Understanding) เจตคติ (Attitude) ความสามารถ (Skill) เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
ทตี่ ้องการ

ผู้จัดการฝึกอบรม หมายถึง ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดการฝึกอบรมหรือดำเนินการเกี่ยวกับการ
ฝึกอบรมของสถานศกึ ษา/หน่วยงานทีจ่ ัดการฝึกอบรมของกองทัพบก มีหน้าทร่ี ับผดิ ชอบในการจัดการฝึกอบรม
บันทึก ประเมิน ควบคุม กำกับดูแลหลักสูตร และบริหารการฝึกอบรมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวมทั้ง ประเมินผลลัพธ์ของการฝึกอบรมตามแนวทางการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก และ
สง่ รายงานผลการประเมินตนเอง ให้กรมยุทธศกึ ษาทหารบก ทราบภายใน ๔๕ วัน หลงั เสรจ็ ส้นิ การฝกึ อบรม

การแบ่งประเภทหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก
หมายถึง ประเภทหน่วยตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการฝึกอบรม และการศึกษาของกองทพั บก พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐
แบ่งไดด้ งั นี้

๑) สถาบันการศึกษาทางทหาร หมายถึง หน่วยรับผิดชอบการจัดการฝึกอบรม/การศกึ ษาที่มี
อัตราครู อาจารย์ มีหลักสูตรการฝึกอบรม/การศึกษา เพื่อภารกิจหลักในการผลิตกำลังพลบรรจุเข้ารับราชการ
ในกองทัพบก ได้แก่ โรงเรียนนายสิบทหารบก, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, วิทยาลัยแพทยศาสตร์
พระมงกุฎเกล้า และวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก หรือผลิตกำลังพลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายเสนาธิการ
หรอื ผบู้ ังคับหน่วยระดับสงู ของกองทพั บก ไดแ้ ก่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และวทิ ยาลัยการทัพบก

๒) โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ หมายถึง โรงเรียนเหล่าของกองทัพบกที่มีอัตราครู อาจารย์
และมีหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ขีดความสามารถทางเทคนิคเป็นการเฉพาะของเหล่ า ได้แก่
โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า โรงเรียนทหารปืนใหญ่
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร
โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก โรงเรียนทหารพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก โรงเรียนทหาร
สรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก โรงเรียนทหารสารวัตร กรมสารวัตรทหารบก โรงเรียนทหารการเงิน
กรมการเงินทหารบก โรงเรยี นเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก, โรงเรยี นดุริยางค์ทหารบก, โรงเรยี นทหารการสัตว์
กรมการสัตว์ทหารบก โรงเรียนทหารสารบรรณ กรมสารบรรณทหารบก โรงเรียนข่าวทหารบก และโรงเรียน
เหลา่ อ่นื ๆ ทีจ่ ัดตงั้ ข้ึนใหม่

๓) หน่วยสายวิทยาการ หมายถึง หน่วยทหารที่มีความรู้เฉพาะเจาะจงในแขนงนั้น ซึ่งยังไม่มี
เหล่ากำหนด มีโรงเรียน มีอัตราครู อาจารย์ และมีหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
กรมกิจการพลเรือน กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก
หน่วยบญั ชาการรักษาดนิ แดน ศูนยส์ งครามพเิ ศษ ศนู ย์การบินทหารบก และกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก

๔) โรงเรียนหน่วยสายวิทยาการ หมายถึง โรงเรียนของกองทัพบกที่มีอัตราครู อาจารย์
มีหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งรับผิดชอบด้านสายวิทยาการ หรือตามการจัดฝ่ายอำนวยการทางทหารโดยไม่มี
เหล่ากำหนด ได้แก่ โรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก
โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ โรงเรียนการบินทหารบก ศูนย์การบินทหารบก โรงเรียน



วิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก โรงเรียนสุนัขทหาร ศูนย์การสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก
โรงเรยี นรักษาดินแดน ศนู ยก์ ารนกั ศึกษาวิชาทหาร และโรงเรยี นการกำลังสำรอง ศนู ย์การกำลงั สำรอง

๕) หน่วยจัดการฝึกอบรม หมายถึง หน่วยที่มีอัตราการจัดในลักษณะของโรงเรียน ไม่มีอัตรา
ครู อาจารย์ แต่มีหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ กรมสวัสดิการทหารบก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
กรมยุทธโยธาทหารบก ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก กรมจเรทหารบก สำนักการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารบก
กองคดั สรรและพฒั นาบุคลากร กรมยทุ ธศึกษาทหารบก และหน่วยอนื่ ๆ ในกองทพั บกทีม่ ีลกั ษณะเช่นเดียวกนั

การประเมินผลการฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการในการวัดผลการฝึกอบรม ว่าผู้เข้ารับการ
อบรมเป็นรายบุคคลตามตัวชี้วัด/กรอบมาตรฐานหลักสูตร หรือหมายเลขความชำนาญการทางทหาร (ชกท.)
ตามที่กำหนด ว่ามีการเปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้สึก และการกระทำในลักษณะใดเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบ
กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้กำหนดไว้ โดยประเมินก่อนสำเร็จการฝึกอบรม โดยใช้การ
ประเมินในรูปแบบทีห่ ลากหลายตามความเหมาะสมกับแต่ละประเภทหลกั สูตร ผู้ประเมินอาจเป็นครู อาจารย์
หรือผู้บริหาร/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ปฏิบัติงานของต้นสังกัดผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือดำเนินการร่วมกันได้ โดยการ
ประเมินกระทำได้ท้งั ระหว่างการฝึกอบรม

การตดิ ตามประเมินผลหลงั การฝกึ อบรม หมายถงึ การประเมนิ ผลผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรมหลังจาก
สำเร็จการฝึกอบรมแล้ว เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน และผลงานของผู้สำเร็จการ
ฝึกอบรม จะประเมินภายหลังสำเร็จการฝึกอบรม โดยต้นสังกัดเพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง
หลักสูตรให้ได้กำลังพลที่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพตามความต้องการของหน่วย และกองทัพบก
และนำมาใช้ในการปรับปรุงการบริหารจัดการการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับทรัพยากร และงบประมาณอย่าง
เหมาะสมต่อไป

การประเมินผลความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินว่าภายหลังผู้สำเร็จการฝึกอบรมได้บรรจุใน
ตำแหน่งท่ีใชค้ วามรู้ท่เี รียนมาตามหลกั สูตรท่ีเข้ารับการฝึกอบรมหรือไม่ และมีโอกาสได้ปฏบิ ัติงานที่สามารถนำ
ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน ไปขยายผลในลักษณะของ
Unit School ได้ รวมถงึ มผี ลการประเมินความพึงพอใจของผู้บังคบั บัญชา/เพ่อื นรว่ มงานทม่ี ีต่อคุณภาพ

มาตรฐานการฝึกอบรม หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และ
มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการจัดการฝึกอบรม ใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงเพื่อส่งเสริมและกำกับดูแล
การตรวจสอบการประเมินผล และการประกนั คุณภาพการฝกึ อบรม

คุณภาพ (Quality) หมายถึง ผลลัพธ์ที่ดีของสิ่งต่าง ๆ หรือผลการดำเนินงานที่ตอบสนองความ
ต้องการและความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้จัดการฝึกอบรม หน่วยใชง้ านผูส้ ำเรจ็
การฝกึ อบรม และกองทัพบก

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หมายถึง การกระทำที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
อยา่ งเปน็ ระบบเพื่อใหม้ ั่นใจว่าจะได้ผลลัพธ์ หรือบรกิ ารทต่ี อบสนองความต้องการด้านคุณภาพตามท่ีกำหนดไว้
หรือได้ตกลงกัน การประกันคุณภาพเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ และผู้เกี่ยวข้องว่าจะได้รับ
ผลงาน และบริการที่มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการดำเนินงาน ตั้งแต่ ก่อนลงมือดำเนินการ
ระหว่างดำเนินการ และการติดตามผลการดำเนินการ ว่าจะได้คุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่
ระบบการประกันคุณภาพ ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ
(Quality Audit) และการประเมนิ คณุ ภาพ (Quality Assessment)

การประกันคุณภาพการฝึกอบรม หมายถึง การควบคุม และตรวจสอบคุณภาพการฝึกอบรม
ในหลักสูตรหลักหรือหลักสูตรแนวทางรับราชการ หลักสูตรผู้ชำนาญการ หลักสูตรเฉพาะหน้าที่หรือหลักสูตร
ฝึกอบรมต่าง ๆ แล้วประเมินคุณภาพตามแนวทางที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานที่ดำเนินการ



จดั การฝึกอบรมของกองทัพบกดำเนินงานบรรลตุ ามพันธกจิ เป็นไปตามความคาดหวงั ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และพัฒนา
คณุ ภาพ เพื่อให้มนั่ ใจว่าการฝกึ อบรมมคี ณุ ภาพตามแนวทางทก่ี ำหนด และมกี ารพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผลลพั ธ์ของการฝกึ อบรม หมายถงึ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude)
และความสามารถในการปฏิบตั ิงานของผู้สำเร็จการฝึกอบรมตามวัตถปุ ระสงค์หลักสตู รและตามหมายเลขความ
ชำนาญการทางทหาร (ชกท.) สำหรับหลักสตู รท่ีกำหนดหมายเลข ชกท.

วิสัยทัศน์ของกรมยุทธศึกษาทหารบก คือ พัฒนา ปรับการเตรียมกำลังกองทัพบก ให้ก้าวหน้า
ทันสมัย มีสมรรถนะสูง เป็นกองทัพมืออาชีพ และมุ่งความเป็นเลิศ “Develop and improve combat
readiness to become an advance, modern, competent and professional army who strives for
excellence.”

วสิ ยั ทัศน์กองทัพบก คอื กองทพั บกในปี พ.ศ. 2580 เป็นกองทัพบกทม่ี ีศักยภาพทันสมัยเปน็ ที่
เชื่อมั่นของประชาชน และ เป็นหนึ่งในกองทัพบกที่เข้มแข็งของภูมิภาค “Capable, Modern, Reliable and
One of the Powerhouse Armies in the Region”

ระยะเวลาในการประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม หมายถึง ระยะเวลาที่จะประเมินผู้สำเร็จการ
ฝึกอบรมในขั้นตอนของการติดตามผลหลังการฝึกอบรม ประกอบด้วย การประเมินตนเองโดยผู้สำเร็จการ
ฝึกอบรม และการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา แบ่งเป็น ๒ ระยะ ระยะแรก ประเมินระยะสั้นจะประเมินทันที
ภายหลังการฝึกอบรม ไม่เกิน ๑ เดือน โดยผู้สำเร็จการฝึกอบรมประเมินตนเองซึ่งจะเป็นการประเมิน
ความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
โดยประยุกต์ความรู้จากหลักสตู รไปใชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์โดยไม่จำกดั วิธีการท่ีมีประโยชนท์ ี่สุดและสอดคล้องกับ
นโยบายกองทัพบก คือ การไปทำการขยายผลโดยการสอน ณ ที่ตงั้ หนว่ ย (Unit School) ระยะท่ี ๒ ในข้ันตอน
ของการติดตามผลหลังการฝึกอบรม ระยะยาว ๓ – ๖ เดือน ภายหลังการฝึกอบรมโดยผู้บังคับบัญชาเป็นการ
ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ หรือตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
สอดคล้องกบั หลกั สูตรทฝี่ กึ อบรม

การวเิ คราะหค์ วามคุ้มค่าของการฝกึ อบรม หมายถึง การวเิ คราะห์ผลการกลับไปปฏิบัติงานของ
ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าการฝึกอบรมนั้น ๆ ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่หน่วยงานมากน้อยเพียงใด
รวมถึง การพิจารณาในการตัดสินใจดำเนินการฝึกอบรมต่อไปหรือไม่ และผู้เข้ารับการฝึกอบรม
มีผลการฝึกอบรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรมหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานจัดการฝึกอบรม หน่วยงานตน้ สังกดั ผู้สำเร็จการอบรม และกรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก

รายงานการประเมินตนเอง หมายถึง การรายงานผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ตามเกณฑ์
มาตรฐานการฝึกอบรมของกองทัพบกในระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย สรุปผล
การดำเนนิ งาน พรอ้ มสง่ หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง เปน็ รายหลักสูตร สำหรบั การจดั ทำเล่มรายงานการประเมิน
ตนเองตามแบบท่ีกำหนดในรปู แบบไฟล์อเิ ล็กทรอนิกส์ตามแบบฟอรม์ ที่กำหนด

แนวคดิ ความหมาย ความสำคญั ของการจดั การเรียนรู้แบบลงมอื ปฏิบัติ/เชิงรกุ (Active Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ/เชิงรุก (Active learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนท่ี
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
มีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการ
วิเคราะห์ การคดิ แก้ปัญหา การประเมินค่า ตัดสนิ ใจ และการสร้างสรรค์ ไมเ่ พียงแต่เป็นผู้ฟัง ผูเ้ รียนต้องอ่าน เขียน
ตั้งคำถาม และถาม อภปิ รายรว่ มกัน โดยต้องคำนึงถึงความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรยี นเปน็ สำคัญ ทง้ั น้ผี ู้เรียน
จะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก



(Facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ ทำหน้าที่เป็นโค้ช และพี่เลี้ยง (Coach & Mentor)
แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
ผู้เรียนสร้างองคค์ วามรไู้ ด้ มคี วามเขา้ ใจในตนเอง มที กั ษะวิชาการ ทักษะชวี ติ และทกั ษะวิชาชีพ

ลักษณะกิจกรรมทเี่ ปน็ การเรียนรู้แบบลงมอื ปฏบิ ตั ิ/เชิงรุก
1. กระบวนการเรียนรู้ที่ลดบทบาทการสอนและการให้ความรู้โดยตรงของครูแต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
มสี ่วนรว่ มสรา้ งองคค์ วามรู้ และจัดระบบการเรียนรูด้ ้วยตนเอง
2. กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้นำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์
สังเคราะห์ ประเมนิ คา่ คดิ สร้างสรรค์ส่งิ ตา่ ง ๆ พัฒนาทกั ษะกระบวนการคิดไปสู่ระดับท่ีสงู ข้นึ
3. กิจกรรมเช่อื มโยงกบั นกั เรียน กบั สภาพแวดล้อมใกลต้ วั ปัญหาของชุมชน สงั คม หรือประเทศชาติ
4. กิจกรรมเปน็ การนำความรู้ทไี่ ด้ไปใชแ้ ก้ปัญหาใหม่ หรอื ใชใ้ นสถานการณ์ใหม่
5. กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้ใชค้ วามคดิ ของตนเองอย่างมีเหตมุ ผี ล มีโอกาสรว่ มอภปิ รายและนำเสนอผลงาน
6. กิจกรรมเนน้ การมีปฏสิ มั พันธก์ นั ระหว่างผ้เู รยี นกับผู้สอน และปฏสิ มั พนั ธ์กันระหว่างผูเ้ รยี นดว้ ยกัน
หลักการของทฤษฎี (Constructivism Theory)
หลักการทผ่ี เู้ รียนสร้างองค์ความรู้ดว้ ยตนเอง คอื การใหผ้ เู้ รียนลงมือสร้างสง่ิ ของหรือประกอบกิจกรรม
ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเองกับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอกสามารถเชื่อมโยงและ
สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดประสบการณ์
เพ่ือเตรยี มคนออกไปเผชิญโลก ให้ผเู้ รยี นเหน็ วา่ คนเปน็ แหล่งความรูส้ ำคญั และแลกเปลย่ี นความรู้กนั ได้ เม่ือจบ
การศึกษาก็จะปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการนี้เน้นการใช้เทคโนโลยีแสวงหา
ความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง และผู้เรียนเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learning how to
Learn)
ขั้นตอนตามแนวทฤษฎี (Constructivism Theory) มี ๕ ขั้นตอน ประกอบด้วย จุดประกายความคิด
สะกดิ ให้ค้นควา้ นำพาสกู่ ารปฏบิ ตั ิ จัดองค์ความรู้ และนำเสนอควบคกู่ ารประเมิน นำไปสู่การ “คดิ เป็น ทำเป็น
แกป้ ัญหาเปน็ ” ความรใู้ ห้เกดิ ข้ึนภายในตวั ผเู้ รียนเองได้ ไมใ่ ชม่ ุง่ การสอนที่ปอ้ นความรูใ้ ห้กับผเู้ รยี น
การเรียนรู้โดยใชง้ านเป็นฐาน (Work - Based Learning: WBL)
การเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ทั้งจาก
ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยการสร้างความคิดรวบยอด ซึ่งเกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสไปศึกษาสังเกต
การหรือลงมือปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานจริง ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน
รวมถึงได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากการสะท้อนความคิดจากการทำงานทั้งรูปแบบ
รายบุคคลและรายกลุ่ม ทำให้ได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้อย่างมีคุณค่าเพื่อนำไปต่อยอดในการทำงาน
หรอื สรา้ งสรรคผ์ ลงานตอ่ ไปในอนาคต



สว่ นท่ี ๒

กระบวนการฝกึ อบรม และการดำเนินงานประกนั คุณภาพการฝกึ อบรมของกองทพั บก

๑. กระบวนการฝึกอบรม
กระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนากำลังพลของกองทัพบก ที่ปรับให้สอดคล้องกับนโยบายการ

ฝึกอบรมและการศกึ ษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ มีข้นั ตอนดงั น้ี
ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม โดยวิเคราะห์ความต้องการตาม

นโยบายของกองทัพบก สภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน วิเคราะห์สมรรถนะของ
ตำแหน่ง วิเคราะห์ผลการสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมของกำลังพล ความต้องการของผู้บังคับบัญชา
ว่ากำลังพลตำแหน่งใดที่ยังขาดความรู้หรือทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน มีจำนวนมากน้อยเพียงใด หน่วยอาจ
จัดการฝึกอบรมภายในหน่วย (Unit School) หรือส่งเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรตามความชำนาญของหน่วย
หรือหลักสูตรอน่ื ๆ ภายใน หรือภายนอกกองทัพบก ทสี่ อดคล้องกบั การปฏิบตั งิ านของหน่วย

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม และกำหนดรูปแบบหลักสูตรให้สอดคล้อง
กับความต้องการ ความจำเป็นในการฝึกอบรม นโยบายกองทัพบก และภารกิจของหน่วยงาน โดยหน่วยและ
เหล่าสายวิทยาการรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำ “ร่างหลักสูตรการฝึกอบรม” ตามระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของสถาบันการศึกษาทางทหาร
โรงเรียน หน่วย เหล่า สายวิทยาการ และหน่วยจัดการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่ปรับปรุง
แล้วเสนอกรมยุทธศึกษาทหารบก เพื่อขออนุมัติใช้หลักสูตร ซึ่งการจัดทำ/พัฒนาหลักสูตรอาจปรับปรุงจาก
หลักสูตรเดิม หรือออกแบบหลักสูตรใหม่ ที่ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร วิชาต่าง ๆ วัตถุประสงค์
รายวิชา เนื้อหาวิชา รูปแบบการฝึกอบรม การประเมินผล ระยะเวลาและวิชาตามนโยบายของกองทัพบกโดย
จะต้องมคี รู อาจารย์ วิทยากร/ผู้สอน ผู้ดำเนนิ การฝึกอบรม ส่ิงอุปกรณก์ ารสนบั สนนุ การฝึกอบรม งบประมาณ
ท่ีเหมาะสม โดยวางแผนงบประมาณ และแผนปฏิบัติการฝกึ อบรมลว่ งหนา้ อย่างน้อย ๑ ปี

การจัดทำหลักสูตร ปรับปรุงทุก ๓ – ๕ ปี สอดแทรกเนื้อหาวิชาเพิ่มเติม เรื่องประวัติศาสตร์
ชาติไทย หน้าที่พลเมือง การเงินส่วนบุคคล กฎหมาย จัดสรรเวลาและขอบเขตเน้ือหาใหม้ ีความเหมาะสมตาม
ความจำเป็น ไม่กระทบต่อหลักสูตร เพิ่มโอกาสการเข้าถึงหลักสูตร ลดปัญหาความคับคั่ง และข้อจำกัดต่าง ๆ
ด้วยการจัดทำหลักสูตรแบบผสมผสาน (Blended Learning) หลักสูตรผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหลักสูตร
ทางไกลผ่านไปรษณีย์เพิ่มเตมิ ตามความเหมาะสมของหน่วย เหลา่ และสถานการณ์

ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินการฝึกอบรม เป็นการดำเนินการหลังจากหลักสูตรได้รับการอนุมัติ
จากกองทัพบกแล้ว ซึ่งสถานศึกษา/หน่วยงานท่ีรับผิดชอบงานด้านการฝึกอบรมกองทัพบก จะต้องจัดการ
ฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดทักษะ และปฏิบัติได้จริง โดย เน้นการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
(Active Learning) และการจัดการเรียนรู้ในฐานการทำงาน (Work - Based Leaning) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับ
การฝึกอบรมเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ มุ่งเน้นผลลัพธ์การจัดการเรียน
การสอน การอบรมแบบหลากหลาย รวมทั้งการประยุกต์ใช้แนวทางการสร้างความรู้โดยผู้เรียน
(Constructivism Theory) มาใช้ในหลกั สตู รทางทหารระดบั ยุทธศาสตร์ ยทุ ธการ และยุทธวิธีของกองทัพบก

นำระบบเทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน (Application) มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนและ
การประเมินผลให้เป็นมาตรฐาน สามารถรองรับสถานการณ์ และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับ
การฝึกอบรม โดยการประเมินต้องสะท้อนความเป็นจริง เน้นการประเมินผลผลิต และผลลัพธ์ (Output & Outcome)
การประเมินผลในหลักสูตรมุ่งเน้นการประเมินผลเป็นรายบุคคลตามตัวชี้วัด/กรอบมาตรฐานตามหมายเลข



ความชำนาญการทางทหาร (ชกท.) เพื่อให้ทราบว่าการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรนั้นได้ผลเพียงใด ทั้งนี้
ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมต้องเข้าใจหลักการบริหารงานฝึกอบรม สามารถวางแผน
การฝึกอบรมได้ ตง้ั แตก่ ่อน ระหว่าง และหลงั การฝึกอบรมไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ

ข้ันตอนที่ ๔ การประเมิน และติดตามผลผู้สำเร็จการฝึกอบรม เป็นข้ันตอนหลังจบหลักสูตร
ซึ่งผู้จัดการฝึกอบรมต้องคำนึงถึงการประเมินผลการฝึกอบรมว่า จะดำเนินการประเมินผลด้วยวิธีการใดบ้าง
ใช้เครื่องมืออะไร และจะดำเนินการติดตามผลการฝึกอบรมเมื่อใด โดยต้องมีการสรุปผลการฝึกอบรม
เสนอรายงานต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการพัฒนาการจัดการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งผลการประเมินผู้สำเร็จการฝึกอบรมมีความสำคัญมากที่จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพการจัดการ
หลักสูตร และความคมุ้ คา่ ของงบประมาณ และความต้องการของผ้ใู ชง้ าน

จากกระบวนการฝึกอบรมของกองทัพบกที่กล่าวมาเขยี นเป็นแผนภาพกระบวนการฝึกอบรมได้ดังนี้

หน่วยงานกำลังพลวเิ คราะห์
ความจำเปน็
ในการฝึกอบรม

หน่วย/เหล่า และสถานศกึ ษาจดั ทำหลกั สตู รการฝกึ อบรม
- ปรบั ปรงุ พัฒนาหลักสตู รเดิม
- ออกแบบจัดทำหลักสตู รข้นึ ใหม่

ดว้ ยความรว่ มมือจากส่วนทเ่ี กย่ี วข้องดา้ นวชิ าการ และบรหิ าร
หลกั สตู รได้รับการอนุมตั ิใหใ้ ชไ้ ด้

ดำเนินการฝึกอบรมหรือการนำหลกั สตู รไปใชอ้ ย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ โดยมกี ารประเมินพฒั นาการเป็นระยะ

ประเมนิ และตดิ ตามผลการฝกึ อบรมตามจุดมุ่งหมายหลักสูตร
เพ่อื นำผลมาปรบั ปรุงหลักสตู รต่อไป

ภาพประกอบ กระบวนการฝึกอบรม
๒. การดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพการฝกึ อบรมของกองทัพบก

การดำเนนิ การประกันคณุ ภาพการฝกึ อบรมดำเนินการภายใต้หลกั การการดำเนินงานตามนโยบาย
การฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ทั้งนี้การประกันคุณภาพการฝึกอบรมเป็น
การร่วมกนั ดำเนนิ การเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกองทัพบก การเข้าใจนโยบายและดำเนินการเป็นแนวทาง
เดียวกันจะเป็นขั้นตอนสำคัญท่ีจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ในคู่มือนี้จึงได้สรุปนโยบาย
การฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ท่ีสำคัญและเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เพื่อ



แสดงให้ทราบถึงสิ่งที่สถานศึกษาต้องดำเนินการประกันคุณภาพการฝึกอบรม และเพื่อแสดงให้ทราบถึงความ
เชื่อมโยงระหว่างนโยบายกับการกำหนดมาตรฐาน ตัวชี้วัด และเกณฑ์คุณภาพ การฝึกอบรมและการศึกษา
ของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ที่เน้นคุณภาพและยกระดับมาตรฐานตั้งแต่กระบวนการคัดผู้เข้ารับ
การฝึกอบรม กระบวนการจัดการฝึกอบรม กระบวนการใช้ประโยชน์จากผู้สำเร็จการฝึกอบรม และ
กระบวนการสนบั สนุน ท่ีเก่ยี วขอ้ งกับสถานศึกษา หน่วยงานตน้ สงั กัด และหนว่ ยงานที่เกย่ี วข้อง ดังนี้

๒.๑ นโยบายท่ัวไป
๒.๑.๑ ดา้ นการบริหารการฝกึ อบรม/การศกึ ษา
๒.๑.๑.๑ เปิดการฝึกอบรม ณ ที่ตั้งหน่วย (Unit School) โดยให้กำลังพลในหน่วย

ทม่ี คี วามรู้ความสามารถและทผ่ี ่านการฝกึ อบรมมาแลว้ เป็นผู้ถ่ายทอดความรใู้ ห้กบั กำลงั พลในหนว่ ย
๒.๑.๑.๒ ให้กรมยทุ ธศึกษาทหารบกปรับปรุงระบบการประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรม

เน้นการปฏิบัติในระดับบุคคล ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความต้องการของกองทัพบก
รวมทง้ั แนวทางการฝกึ อบรมหลักสตู รทางทหารของกองทพั มติ รประเทศ

๒.๑.๒ ด้านการส่งเสริมการฝกึ อบรม/การศึกษา
กำลังพลที่กองทัพบกส่งไปศึกษาหรือลาศึกษาในเวลาราชการทั้งในประเทศ และ

ต่างประเทศจะต้องกลับมารับราชการชดใช้ทุน ณ หน่วยต้นสังกัด ในทุกกรณี และมิให้ไปช่วยราชการ
นอกหน่วยในระหว่างการชดใช้ทุนจนกว่าจะครบระยะเวลาการชดใช้ทุน หากมีความจำเป็นที่จะต้องไป
ช่วยราชการนอกหน่วย หรือเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรอื่น จะไม่ถือเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน จนกว่า
จะกลับมาปฏบิ ัตงิ าน ณ ตน้ สงั กดั

๒.๑.๓ ด้านการพัฒนาเพื่อความทันสมัย
พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) และ

นำระบบสารสนเทศ รวมทั้งใช้แอปพลิเคชัน (Application) มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน และ
การประเมินผลให้เป็นมาตรฐาน สามารถรองรับสถานการณ์ และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น และการเพิ่มจำนวน
ผู้เข้ารบั การฝึกอบรม

๒.๑.๔ ดา้ นหลกั สตู รการฝกึ อบรม/การศึกษา
๒.๑.๔.๑ กำหนดแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรทางทหาร โดยให้มีการทบทวนและ

ปรับปรงุ หลกั สูตรทกุ ๓ - ๕ ปี
๒.๑.๔.๒ สอดแทรกเนื้อหาวิชาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจของ

กองทัพบกเข้าไว้ในหลักสูตร ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์
และปลอดภัย การปลูกฝังอุดมการณ์และความรักชาติ คุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมมาภิบาล ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง เนื้อหาตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และจิตอาสา โดยจัดสรรรายวิชาให้มีความเหมาะสม
และไม่กระทบตอ่ หลักสูตร

๒.๑.๔.๓ เร่งรัดจัดทำหลักสูตรผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือหลักสูตรทางไกลผ่าน
ไปรษณีย์ขึ้นมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักสูตรตามแนวทางรับราชการของเหล่า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้ารับ
การฝกึ อบรมและแก้ปัญหาความคับคั่งของกำลังพลท่ีรอเข้ารับการฝกึ อบรม รวมทัง้ รองรบั การจัดการฝึกอบรม
ภายใตข้ ้อจำกัดอื่น ๆ

๒.๑.๔.๔ เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
(Active Learning) และจัดการเรียนรู้ในฐานการทำงาน (Work-Based Learning) ซึ่งจะช่วยเสริมให้ผู้เข้ารับ
การอบรมได้เรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้วยการลงมือปฏิบัติ มุ่งเน้นผลลัพธ์การจัดการเรียนการ

๑๐

สอน การอบรมแบบหลากหลาย รวมทั้งการประยุกต์ใช้แนวทางการสรา้ งความรู้โดยผูเ้ รียน (Constructivism
Theory) มาใช้ในหลักสูตรทางทหารระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวธิ ขี องกองทัพบก

๒.๑.๔.๕ มุ่งเน้นการประเมินผลเป็นรายบุคคลตามตัวชี้วัด/กรอบมาตรฐาน
ตามหมายเลขความชำนาญการทหาร (ชกท.) ซงึ่ เป็นไปตามวตั ถุประสงค์ เปา้ หมาย/มาตรฐานของรายวิชาหรือ
หลักสูตรสำหรับหลกั สูตรผ่านสือ่ อิเล็กทรอนิกส์และทางไกลผา่ นไปรษณีย์ ให้แสวงประโยชน์จากการฝึกอบรม
ในที่ตั้งหน่วย (Unit School) หรือการฝึกตามแผนการฝึกประจำปีของหน่วย ซึ่งหน่วยต้นสังกัดของกำลังพล
จะทำหน้าที่ทดสอบประเมินผลการปฏิบัติของกำลังพลของตนเองในระหว่างที่เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร
แทนโรงเรยี นหนว่ ยและเหล่าสายวทิ ยาการ

๒.๑.๕ ดา้ นครู อาจารย์ และบคุ ลากรทางการฝกึ อบรม และการศึกษา
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครู อาจารย์ทหารกับกองทัพ

มิตรประเทศในอาเซียน (ภาษาอังกฤษ) ทั้งในรูปแบบของการสอนประจำรายวิชา หรือสอนผ่านส่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ หรือการกำหนดห้วงเวลาแลกเปลี่ยน ในหลักสูตรทางทหารของกองทัพบกตามความพร้อมของ
ทุกฝา่ ย และกรอบงบประมาณทไี่ ด้รับ โดยมงุ่ เนน้ ความคมุ้ ค่า และเกดิ ประโยชนส์ งู สดุ ตอ่ กองทพั บก

๒.๑.๖ ด้านผู้เขา้ รับการฝึกอบรม และการศึกษา
๒.๑.๖.๑ ส่งเสริมให้ผู้มีความรู้ความสามารถในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร และ

ผู้ด้อยโอกาส ได้มีโอกาสสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทหารของกองทัพบกทุกประเภท รวมทั้งส่งเสริมให้
โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ เป็นโรงเรียนเพื่อเตรียมบุตรหลานของกำลังพลในการเข้าเป็นนักเรียนทหาร

๒.๑.๖.๒ การคัดเลือกกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรให้เป็นไปตาม
คุณสมบัติหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง ตลอดจนต้องสอดคล้องคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หมายเลข
ชำนาญการทางทหาร (ชกท.) หน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนความต้องการของกองทัพบก และมีความเป็นธรรม
ทงั้ น้ี ใหพ้ ิจารณาถงึ การนำความรไู้ ปใชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์ตอ่ กองทัพบก ภายหลังสำเรจ็ การฝึกอบรม

๒.๑.๗ ด้านอุปกรณป์ ระกอบการเรียนการสอน
๒.๑.๗.๑ เร่งรัดปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน รวมทั้ง

เอกสาร ตำรา แนวสอน โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลอง การศึกษาทางไกล ห้องปฏิบัติการ
เฉพาะทาง และเครื่องช่วยฝึก ให้มีความสมบูรณ์และทันสมัย ตลอดจนปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้อง
เอนกประสงค์ (Multipurpose Classroom) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ห้องเรียนได้หลากหลายวตั ถุประสงค์
และมีความออ่ นตวั สอดคล้องกับขอบเขตภารกิจของหน่วย หลักสตู ร และกรอบงบประมาณ

๒.๑.๗.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีความชำนาญในการใช้งาน การดูแลรักษา และ
ปรนนิบัติบำรุง สิ่งอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลอง และ
เครื่องช่วยฝึก ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ได้อย่างคุ้มค่าและคงทน รวมทั้งจัดให้มีระบบการดูแลรักษา และ
ปรนนบิ ตั บิ ำรุงอปุ กรณต์ ามวงรอบทม่ี ปี ระสิทธิภาพ

๒.๒ นโยบายเฉพาะ (สว่ นท่เี พ่ิมเตมิ )
๒.๒.๑ กรมกำลังพลทหารบก : เพิ่มเติมความรับผิดชอบในเรื่องการถอนทะเบียนนักเรียน

ทหาร การบริหารการศึกษา หลักสูตรการฝึกอบรม/การศึกษาทางพลเรือนตามโครงการความร่วมมือกับ
มติ รประเทศ หรอื หลกั สตู รของหน่วยงานพลเรอื นอน่ื ท้งั ในประเทศและต่างประเทศ เพ่ือให้เกดิ ความเรียบร้อย
ในการบรหิ ารจดั การงานทางฝา่ ยอำนวยการ

๒.๒.๒ กรมยุทธการทหารบก : ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน และการกำกับดูแลการนำ
ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นใหม่ มาใช้เป็นสื่อการสอน หรือเครื่องช่วยฝึกในหลักสูตรต่าง ๆ ของ

๑๑

สถาบันการศึกษาทางทหาร หน่วยเหล่าสายวทิ ยาการ โรงเรยี นหนว่ ยและเหล่าสายวทิ ยาการ และหน่วยจดั การ
ฝกึ อบรม/การศกึ ษาให้สูงขึ้นกา้ วทนั ตอ่ การพฒั นาวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

๒.๒.๓ กรมยุทธศึกษาทหารบก : บูรณาการงานด้านการฝึกอบรม/การศึกษา ร่วมกัน
แผนการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้าง กห. ระยะที่ ๒ โดยการพัฒนาร่วมกับบุคลากร
ดา้ นการฝกึ อบรม/การศึกษา กบั หน่วยงานทง้ั ในและนอก กห. เพื่อใหเ้ กดิ การประสานสอดคลอ้ งกันในภาพรวม
ด้านการศึกษาของประเทศ

๒.๒.๔ โรงเรียนนายรอ้ ยพระจุลจอมเกลา้ : ปรบั ปรงุ และพฒั นาหลักสูตรการฝึกอบรม และ
การศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อยและบุคลากรอื่น ๆ ตามที่กองทัพบกกำหนด ให้มีความเหมาะสม ก้าวหน้า
ทันสมัย และได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของสภาการศึกษาวิชาการทหาร และกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วจิ ยั และนวัตกรรม

๒.๒.๕ ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า : กำกับดูแลการจัดการฝึกอบรม/การศึกษา
ของสถาบันการศึกษาทางทหารและหน่วยจัดการฝึกอบรมในสังกัด ให้สอดคล้องกับนโยบายของกองทัพบก
รวมทั้งพิจารณา และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้ปรับปรุงระเบียบและพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียน
แพทย์ทหาร/นักศึกษาแพทย์ นักเรียนพยาบาลกองทัพบก และแพทย์ประจำบ้าน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
มคี วามเหมาะสม ทันสมัย สอดคล้องกบั สถานการณ์และเทคโนโลยีทเ่ี ปล่ียนแปลง

๒.๒.๖ โรงเรียนนายสิบทหารบก : เพิ่มเติมเน้ือหาวิชาที่ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และหน้าที่
พลเมอื ง ไว้ในหลักสูตร

๒.๒.๗ โรงเรยี นหน่วยและเหลา่ สายวิทยาการ
๒.๒.๗.๑ จัดทำพัฒนาหลักสูตรแบบผสมผสาน (Blended Learning) หลกั สูตรผ่าน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) และหลักสูตรทางไกลทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการ
หลักสูตรใหส้ ามารถตอบสนองตอ่ ความต้องการเขา้ รับการฝึกอบรมของกำลังพลได้อย่างเพยี งพอ รวมทั้งพัฒนา
ระบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) การนำระบบ
สารสนเทศ แอปพลิเคชัน (Application) มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน และประเมินผลอัตโนมัติ
แบบออนไลน์

๒.๒.๗.๒ มุ่งเน้นการผลิตนักเรียนนายสิบแต่ละเหล่า ให้มีความเข้มแข็งทั้งทาง
ร่างกาย และจิตใจ เป็นสุภาพบุรุษ มีคุณธรรม มีความเป็นทหารอาชีพ สามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่
ไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ ตามวัตถปุ ระสงคข์ องหลกั สูตร

๒.๒.๘ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน : สอดแทรกการสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
และความเสียสละของบรรพบุรุษไทยแก่นักศึกษาวิชาทหาร เพื่อให้เกิดความรักและหวงแหนชาติ รวมท้ัง
ปลูกฝงั คณุ ธรรม จริยธรรม หนา้ ท่ีพลเมอื ง และจิตอาสาผา่ นกจิ กรรมต่าง ๆ ท่กี ำหนดไว้ในหลักสูตร

๒.๒.๙ หน่วยจัดการฝึกอบรม : ให้เน้นจัดการฝึกอบรมในลักษณะประหยัด โดยใช้การ
ฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก หากเป็นหลักสูตรที่จำเป็นต้องฝึกอบรม ณ ที่ตั้งหน่วยฝึกอบรม
ใหพ้ จิ ารณาเทา่ ท่ีจำเป็น และมุง่ เนน้ การฝกึ ปฏิบตั ิเปน็ รายบุคคลเป็นสำคญั

๒.๒.๑๐ หนว่ ยข้ึนตรงกองทัพบก
๒.๒.๑๐.๑ พิจารณาคัดเลือกกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรทางทหาร

ทุกหลักสูตร ให้ตรงตามตำแหน่งหน้าที่ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามหมายเลขความชำนาญการทางทหาร
(ชกท.) ทุกหลักสูตร และบรรจุปฏบิ ตั งิ านใหต้ รงกบั ตำแหนง่ ทกี่ ำหนดไวใ้ นหลักสูตร

๒.๒.๑๐.๒ นำผลการฝึกอบรมตามแนวทางรับราชการมาประกอบการพิจารณา
ความก้าวหนา้ ในการรับราชการตามแนวทางที่กองทัพบกกำหนด และให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จ

๑๒

การฝึกอบรมให้หนว่ ยฝึกอบรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้หน่วยฝึกอบรมนำมาปรับปรงุ หลักสูตรและ
บรหิ ารจัดการการฝกึ อบรมใหส้ อดคล้องกบั ทรพั ยากร และงบประมาณทมี่ จี ำกัด

๒.๒.๑๐.๓ พิจารณาจัดส่งกำลังพลที่สำเร็จหลักสูตรทางทหารจากต่างประเทศไป
ปฏิบัติหน้าที่สอน หรือถ่ายทอดความรู้ในสถาบันการศึกษาทางทหาร และ/หรือโรงเรียนหน่วยและเหล่าสาย
วิทยาการ ตามทไี่ ดร้ ับการร้องขอจากสถาบันการศึกษาทางทหาร และโรงเรียนหน่วยและเหล่าสายวทิ ยาการ

๒.๒.๑๐.๔ สนับสนุนกำลังพลของหน่วยที่สำเร็จหลักสูตรทางทหารจาก
ต่างประเทศ หรือมีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน ร่วมปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการจัดการฝึกอบรม/
การเรียนการสอนของโรงเรียนหน่วยและเหล่าสายวิทยาการ และหน่วยจัดการฝึกอบรมของกองทัพบก
เมือ่ ไดร้ บั การประสาน เพอื่ ใหห้ ลกั สตู รฝึกอบรมมีความทันสมัย สามารถพฒั นาขีดความสามารถของกำลังพลใน
การปฏบิ ัตงิ านและตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการของหน่วยอยา่ งแท้จริง

๓. บทบาทหน้าทแี่ ละข้นั ตอนการดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพการฝกึ อบรมของกรมยุทธศึกษาทหารบก
ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการฝึกอบรม กรมยุทธศึกษาทหารบกได้ดำเนินการอย่างเป็น

ระบบแตล่ ะปตี ามวงรอบดังน้ี
๓.๑ ทบทวน/ปรับปรุงพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการฝึกอบรมตามนโยบายกองทัพบก

ตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำมาตรฐาน ตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมินคุณภาพ วิธีการ/
รูปแบบการประเมินคุณภาพการฝึกอบรม เพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินคุณภาพการฝึกอบรมในหลักสูตรที่
จัดการฝึกอบรมแต่ละปี

๓.๒ จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการฝึกอบรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการฝกึ อบรม และใช้ในการประเมนิ คณุ ภาพการฝกึ อบรม

๓.๓ จดั การฝกึ อบรม สร้างการรบั รู้ และประชาสมั พันธ์แกผ่ ู้ปฏบิ ัติงานด้านการฝึกอบรมให้เข้าใจ
การประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก “อบรมผู้ประเมินคุณภาพการฝึกอบรม/การศึกษาของ
กองทพั บก” ภายในเดอื น ธันวาคมของทุกปี

๓.๔ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการฝึกอบรม/การศึกษาของกองทัพบกภายในเดือน
ธันวาคมของทกุ ปี เพ่ือดำเนินการประเมินคุณภาพการฝกึ อบรมรายหลักสูตร

๓.๕ ประเมินคณุ ภาพการฝึกอบรม ในรปู ของคณะกรรมการโดยดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศ
การสัมภาษณแ์ บบ Online และการลงพื้นท่ีการตรวจเย่ยี มเพอื่ เข้าสังเกตการณ์ ณ สถานท่ีฝกึ อบรม ในไตรมาส
ที่ ๒ และ ๓ ของปี โดยทำการประเมินสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ห้วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม
ของทุกปี และ สถานศึกษานอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประเมินในห้วงเดือน เมษายน ถึง กรกฎาคม ของทุกปี
หรอื เป็นไปตามแนวทางการฝึกอบรม และการศกึ ษาของกองทัพบกในแตล่ ะปี

๓.๖ ให้ข้อเสนอแนะ ให้คำแนะนำ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การฝกึ อบรมแก่สถานศึกษา/หนว่ ยงานที่รบั ผิดชอบจดั การฝึกอบรมของกองทัพบก

๓.๗ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามระบบกลไกการควบคุมคุณภาพการฝึกอบรม
ที่กำหนด ปีละ ๓ ครั้ง ด้วยระบบการประชุมแบบ Online เป็นหลัก ครั้งที่ ๑ เดือน มกราคม ครั้งที่ ๒
เดอื น มนี าคม และคร้ังท่ี ๓ เดือน กรกฎาคม หรือจนกว่าจะมีการเปลยี่ นแปลง

๓.๘ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนการดำเนนิ งานประกันคุณภาพการฝึกอบรม/การศึกษาของ
กองทพั บก ในห้วงเดือน สิงหาคมของทกุ ปี

๓.๙ จัดการประชุมวิชาการ และสรุปผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการฝึกอบรมและ
การศึกษาของกองทัพบก ประจำปี ในห้วงเดือน สงิ หาคม ของทุกปี

๑๓

๓.๑๐ รายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการฝึกอบรม/หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการ
ฝึกอบรม และรายงานผลการประเมินการฝึกอบรมในภาพรวมต่อกองทัพบกทุกปีงบประมาณ ในห้วงเดือน
ธันวาคม ของแต่ละปี

สำหรับปฏิทินการปฏิบัติจะกำหนดในแต่ละปี ตามแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบกแตล่ ะปี

๔. บทบาทหนา้ ทแี่ ละขัน้ ตอนการดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพการฝึกอบรมของสถานศกึ ษา
๔.๑ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานโยบายการฝึกอบรมและการศึกษาของกองทัพบก

พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ นโยบายด้านการฝึก การฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก ที่เจ้ากรมยุทธศึกษา
ทหารบกได้มอบให้ในแต่ละปี ทบทวนภารกิจ แผนพัฒนาสถานศึกษา หลักสูตร การบริหารจัดการภายใน
สถานศึกษา และพิจารณาปรับปรุง/พัฒนา ให้มีเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายตามที่กองทัพบกกำหนด
ศึกษาคู่มอื การประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบกและการใช้งานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพ
การฝกึ อบรมของกองทัพบกเพ่ือประเมินคุณภาพหลกั สตู รของสถานศึกษาในระบบสารสนเทศ

๔.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการประกัน
คณุ ภาพการฝึกอบรมแตล่ ะหลกั สตู ร โดยออกเปน็ คำส่งั หรอื ระเบยี บปฏิบตั ิของสถานศกึ ษา

๔.๓ จัดประชุมทบทวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา กำหนดเป้าหมายและ
วธิ ีการดำเนนิ งาน และการกำกบั ติดตามใหก้ ารดำเนนิ งานเปน็ ระบบ บรรลุเปา้ หมายตามท่กี ำหนด

๔.๔ กำกับดูแลให้การดำเนินการประกันคุณภาพการฝึกอบรม ให้เป็นไปตามแผนประเมิน
คุณภาพการฝึกอบรมภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
ที่กำหนด โดยกำหนดการติดตามการรายงานในระบบสารสนเทศเป็นรายหลกั สูตร หรือกำหนดระยะเวลาเป็น
วงรอบตามความเหมาะสมของแต่ละสถานศกึ ษา

๔.๕ ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังพลทุกคนในสถานศึกษามีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของ
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการฝึกอบรม และส่งกำลังพล เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา เรื่อง
การประกันคุณภาพหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพตามที่กองทัพบกกำหนด รวมทั้งร่วมเป็น
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และสร้าง
เครือข่ายการพฒั นาคณุ ภาพอยา่ งย่งั ยืน

๔.๖ ดำเนินการบริหารและจัดการฝึกอบรมให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร และความต้องการ
ของกองทัพบก โดยมีการประเมินคุณภาพการฝึกอบรมระดับหลักสูตร รายงานผลตามที่กองทัพบกกำหนด
และรับการประเมินจากคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการประเมินให้สถานศึกษา
ปรบั ปรงุ พัฒนาตามคำแนะนำ และรายงานให้กรมยทุ ธศกึ ษาทหารบกทราบ

๔.๗ พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุม
ตรวจสอบ และประเมนิ ผล และเช่ือมโยงกับระบบสารสนเทศการประกนั คุณภาพการฝึกอบรม/การศึกษา ของ
กองทัพบก

๔.๘ ดำเนินการตามนโยบายการฝึกอบรมและการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐
และคมู่ อื การประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก

๔.๙ การอ้างอิงเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการรายงานจะต้องเป็นเอกสารจริงที่มี
ความนา่ เชอ่ื ถอื ไม่ควรมีการจดั ทำเอกสารเพิ่มเตมิ โดยมิได้มีการปฏบิ ตั จิ รงิ ซง่ึ จะทำให้การประเมินไมผ่ ่านเกณฑ์

๑๔

๕. รูปแบบการประเมินคุณภาพการฝกึ อบรมและการศกึ ษา
รูปแบบการประเมินคุณภาพการฝึกอบรมใช้รูปแบบต่อเนื่องจากการดำเนินการในปีงบประมาณ

๒๕๖๕ โดยใช้การดำเนนิ การรว่ มกนั ๓ รปู แบบ ดังน้ี
๕.๑ Platform Online เป็นประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรผ่านทางระบบ

สารสนเทศงานประกันคุณภาพ โดยสถานศึกษาสามารถรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด และ
เกณฑ์พร้อมเอกสาร/หลักฐานอ้างอิงในระบบ โดยเริ่มรายงานได้ตั้งแต่เริ่มเปิดหลักสูตรจนจบหลักสูตร และ
ประเมนิ หลักสูตรโดยผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา/ผู้รับมอบอำนาจ/คณะกรรมการประเมินของสถานศึกษาใหแ้ ล้วเสร็จ
ภายใน ๔๕ วัน นับจากวันจบหลักสูตร โดยหลังจากนั้นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการฝึกอบรมและ
การศึกษาของกองทัพบก จะประเมินภายใน ๓๐ วัน ในกรณีที่สถานศึกษามีความเห็นเพิ่มเติมจากผล
การประเมินของคณะกรรมการประเมนิ ฯ ให้แจ้งในระบบฯ ภายใน ๕ วัน เพื่อดำเนินการประชุมหรือพิจารณา
เพมิ่ เตมิ

๕.๒ VTC (Video Teleconference) เป็นการประชุมทางไกลผ่านจอภาพเพื่อใช้เป็น
ช่องทางการสื่อสาร กำกับ ติดตาม หรือขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนลงพื้นที่ หรือใช้ในกรณีที่สถานการณ์
ไมเ่ ออื้ อำนวยใหล้ งพน้ื ท่ี

๕.๓ Site Visit เป็นการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเพื่อทราบสภาพจริงในการปฏิบัติงาน
หลักสูตรที่ประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการฝึกอบรม ปีงบประมาณ
๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ของแตล่ ะปี จะเรมิ่ ในหลกั สูตรทีเ่ ปิดการฝึกอบรมตัง้ แต่ ๑ ตลุ าคม ของทกุ ปี เปน็ ตน้ ไป

๖. ปจั จัยแหง่ ความสำเร็จในการดำเนินงานประกนั คุณภาพการฝกึ อบรม
๖.๑ การสร้างวัฒนธรรมคณุ ภาพในการทำงานปกติ (Quality Culture)
ร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในสถานศึกษาให้ทุกคนมีความสุขกับสิ่งที่ทำ เข้าใจเป้าหมาย

ของงาน ของหลักสูตร ของสถานศึกษา ของกองทัพบก สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ ส่งเสริมรปู แบบการทำงานแบบ
คนในองคก์ รทุกคนรู้หนา้ ทีข่ องตนเอง มคี วามคดิ รเิ รม่ิ โดยไม่ตอ้ งรอคำสั่ง ประสานการทำงาน ประสานความคิด
สร้างบรรยากาศการทำงาน สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม และเปิดโอกาสให้ได้ทำในสิ่งที่ดีสุด เป็นต้น
สถานศึกษาควรนำปรัชญา ปณิธาน ค่านิยมที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้แล้ว มาใช้หรือร่วมกันคิดใหม่ตาม
ความเหมาะสม เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงจะช่วยให้ผ่านวิกฤติโดยเฉพาะการทำงานในสถานการณ์
ปัจจบุ ันที่เปลีย่ นแปลงตลอดเวลา

๖.๒ ใช้วงจรคุณภาพ/วงจรแห่งความสุข PDSA ในทุกภารกิจ เช่น ด้านการเรียนการสอน
การฝึกอบรม การประเมินผล การพัฒนาผู้เรียน การทำสื่อการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ
การประชุม ฯลฯ และ โดยให้ความสำคญั กบั ความร่วมมือในองค์กรเพื่อนำไปสกู่ ารพัฒนาคุณภาพท่ีความยง่ั ยืน

PDSA เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ มาจากคำว่า Plan – Do –Study – Act
ซึ่งประยุกต์มาจากวงล้อของเดมมิ่ง (PDCA) เพื่อให้ตระหนักว่า C - Check มิใช่เพียงการตรวจสอบและหา
ผู้กระทำผิด แต่เป็นการ Study เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำไปให้บทเรียน ได้เรียนรู้ และเป็นโอกาสพัฒนาต่อไปใน
อนาคต ความหมายของ PDSA มดี ังน้ี

P : Plan คอื การวางแผน/การออกแบบ (Design) การดำเนนิ งานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมสิ่งท่ี
ต้องการแก้ปัญหา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนา แผนต้องตอบเป้าหมาย เพราะเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้
แผนตอบสนองได้ตรงจุด ไม่เปลืองแรง ทรัพยากร ลดความสูญเสีย แผนงานควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กำหนด

๑๕

ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ/ผู้ดำเนินการ งบประมาณ และมีการประเมินผล แผนปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ในอนาคต

D : Do คือ การลงมือทำหรือปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่องประจำทุกวันเป็นกิจวัตร (Daily)
และมีการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ไม่รอจนเสร็จสิ้น ว่าสิ่งที่ปฏิบัตินั้นยังคงอยู่ในแผนที่วางไว้ และมีแนวโน้ม
จะให้ผลลัพธ์อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เพื่อให้สามารถแก้ไขข้อขัดข้องและปรับเปลี่ย นวิธีการดำเนินงานไปสู่
เป้าหมายและความสำเร็จได้ตามแผน การปฏิบัติควรกำหนดว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่อให้เกิดความ
ชัดเจนในการปฏบิ ตั ิ

S : Study คือ การเรียนรู้จากผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ การเรียนรู้ (Learning) ทำให้
ทราบว่าสิ่งที่เราปฏิบัติได้ผลลพั ธ์อย่างไร บรรลุเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป ซึ่งอาจเพิ่ม
S3 เพื่อใหค้ วามหมายครอบคลุมความสุข ความสำเรจ็ ทเ่ี กดิ จากการทำงานคุณภาพ คอื Success Satisfaction
Sustainable ความสำเรจ็ ความสุข/ความพึงพอใจ ของผู้ส่งมอบและผู้รบั คณุ ภาพ เพอ่ื ความยงั่ ยืน

A : Act/Improve คือ การปรับปรุง พัฒนาตามผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
กรณีที่บรรลุตามเป้าหมายแล้วควรนำแนวทางนั้นมาใช้เป็นมาตรฐาน หรือวิธีการปฏิบัติงานต่อไป ในกรณีที่
ไมบ่ รรลเุ ปา้ หมายควรวิเคราะหส์ าเหตุเพื่อนำไปวางแผน ดำเนินการเพ่ือให้บรรลเุ ปา้ หมายต่อไป โดยต้องมีการ
วิเคราะหด์ ้วยเหตแุ ละผลและใจท่เี ปน็ กลาง

การใช้ วงจร PDSA ไม่มีใครใช้ได้ดีที่สุด เราควรทำไปเรียนรู้และพัฒนาไป ส่วนใหญ่เมื่อพบ
ปัญหาแล้วหยุด ไม่ดำเนินการต่อ จึงเสียโอกาสในการพัฒนา เช่น ไม่บรรลุเป้าหมายเพราะวิธีการที่ใช้
ไมม่ ปี ระสิทธิภาพพอ ก็เปล่ยี นแปลงหรอื ปรบั ปรุงวิธกี ารให้ดยี ่งิ ข้นึ หรือวธิ กี ารอาจดีแตค่ วามพยายามไม่มากพอ
ก็เพิ่มความพยายามให้มากขึ้น หรือขาดองค์ความรู้ในการปฏิบัติ ก็ต้องสอบถามผู้รู้ ศึกษาตำรา เอกสาร
วิชาการ แนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นมาตรฐานมาปรับปรุงพัฒนา ถ้าเป้าหมายห่างไกลเกินไปทำไม่ได้ หรือเป็น
นามธรรมเกินไป ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนหรือปรับเป้าหมายให้เล็กลง แต่สามารถขยับทีละน้อยเพื่อให้เข้าใกล้
เป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ได้ หรือเปลี่ยนเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่การเปลี่ยนเป้าหมายควรเป็น
ทางเลือกสุดท้ายในการปรับเปลี่ยนถ้าจำเป็นและไม่มีทางเลือกอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการพัฒนาอย่างไร้ทิศทางที่
เปลี่ยนไปเปล่ยี นมา

ทั้งนี้ สถานศึกษาสามารถนำเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการฝึกอบรมและ
ศกึ ษาให้ได้ผลลัพธ์ตอบโจทยก์ ารฝึกอบรมและการศึกษาของกองทพั บก

๖.๓ การทำงานท่เี ปน็ เครือขา่ ยสมั พนั ธเ์ ชื่อมโยงกันท้งั ระบบ
ปัจจัยที่กล่าวมา ๒ ข้อ เรื่องการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานปกติ และเรื่องการใช้

วงจรคุณภาพ/วงจรแห่งความสขุ PDSA นั้นได้มุ่งเน้นผลให้เกิดในแต่ละสถานศึกษา แต่ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ
เปลี่ยนแปลงรวดเร็วความร่วมมือจึงจำเป็น ซึ่งในข้อน้ีจะเป็นปัจจัยเรื่องการทำงานที่เป็นเครือข่ายสัมพันธ์
เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ซึ่งจะตอบโจทย์ความยั่งยืนของการพัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมแนวใหม่ท่ีการประกัน
คุณภาพเป็นการยกระดับมาตรฐานมิใช่เป็นภาระ แต่เป็นพลังในการปฏิบัติงาน ภายในแนวคิดและ
การดำเนินการแบบ “รวมพลงั สรา้ งการเปล่ียนแปลงทง้ั ระบบอยา่ งย่ังยืน” ด้วยหลกั ATC

๑๖

A - Achievement : การประกันเพอื่ มุง่ เน้นผลสัมฤทธ์ิ (มีคุณภาพเกดิ ผลลัพธท์ ่ดี ี)
T - Transform : ทำอะไรใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตรฐานใหส้ ูงขึน้
C - Collaboration : ความร่วมมือ เรียนรู้ เกื้อกูล จนเกิดคุณภาพ ตามมาตรฐาน

ทกุ หลักสูตร ทงั้ ระบบ

๑๗

สว่ นท่ี ๓

มาตรฐานการประกันคณุ ภาพการฝกึ อบรมของกองทัพบก

มาตรฐานการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ กรมยุทธศึกษา
ทหารบก ปรบั ปรงุ พฒั นาจากมาตรฐานการประกนั คุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึง่ ได้นำมาใช้
และไดม้ ีการทบทวนแสดงความคดิ เห็นรว่ มกับสถานศึกษาในการปรับปรงุ พัฒนา ประกอบดว้ ย

การประกันคณุ ภาพระดบั หลักสตู ร
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กองทัพบกกำหนด
สร้างผู้สำเร็จการฝึกอบรมได้ตามจุดมุ่งหมายหลักสูตรและตามความต้องการของกองทัพบก โดยการประเมินตาม
มาตรฐานการประกันคุณภาพ ๔ ด้าน ๘ ตัวชี้วัด ปัจจุบันโดยมีการปรับลดเกณฑ์การพิจารณาที่ไม่จำเป็นหรือไม่
สะท้อนผลคุณภาพออก และได้เพิ่มคำอธิบายรายละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ให้เข้าใจมากขึ้น รวมถึง
การเพ่ิมเกณฑก์ ารให้คะแนน/การประเมินใหช้ ดั เจนข้ึน และ
การประกนั คณุ ภาพระดับสถานศึกษาตามนโยบายกองทัพบก
เพื่อให้สถานศึกษาร่วมกันดำเนินงานในด้านการเตรียมกำลังพลด้วยการฝึกอบรม/การศึกษาอย่างมี
ทิศทาง เป็นระบบ เชื่อมโยงกันท้ังระบบ โดยเป็นการรายงานการดำเนินงานของสถานศึกษาตามนโยบายเฉพาะท่ี
กองทัพบกกำหนด เป็นระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) โดยให้สถานศึกษากำหนดเป้าหมายของนโยบาย
แตล่ ะข้อทีด่ ำเนนิ การได้ ปที ่ีเริม่ ดำเนนิ การ ปีท่ีคาดว่าจะดำเนนิ การสำเร็จ เพ่ือตอบโจทยน์ โยบายกองทัพบก

๑. มาตรฐานการประกนั คณุ ภาพการฝกึ อบรมระดับหลกั สตู ร

ประกอบดว้ ย ๔ มาตรฐาน ๘ ตัวช้วี ดั ดงั นี้

มาตรฐาน ตวั ช้ีวัด

๑. หลักสูตร และการจัดการฝึกอบรม ๑. หลกั สตู รทนั สมยั และมีประโยชน์ตอ่ กองทัพบก

๒. มีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในหลักสูตร

๓. มีกิจกรรม และเนอื้ หาวชิ าตามนโยบายกองทพั บกในหลักสตู ร

๒. ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร ๔. ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร มีความรูค้ วามชำนาญ และ

มีวทิ ยฐานะ

๕. ครู อาจารย์ มีเทคนิคในการจดั การเรยี นรู้ และมีทักษะ

ดา้ นเทคโนโลยสี ารสนเทศ

๓. ผเู้ ขา้ รับการฝึกอบรม ๖. คณุ สมบตั ิและความพร้อมของผู้เข้ารบั การฝึกอบรม

๗. ผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรมมคี ุณภาพตามหลักสูตร

๔. สิ่งอุปกรณส์ นับสนุนการฝกึ อบรม ๘. ความพร้อมของสงิ่ อุปกรณ์สนับสนนุ การฝึกอบรม

๒. มาตรฐานการประกันคุณภาพระดบั สถานศกึ ษาตามนโยบายกองทัพบก
เป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบาย การฝึกอบรม และการศึกษาของกองทัพบก

พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ (ในส่วนนโยบายเฉพาะ) ทเี่ กยี่ วขอ้ งกับสถานศกึ ษา/หนว่ ยจัดการฝกึ อบรม

นโยบาย (ข้อ) ข้อ ๔.๔ ขอ้ ๔.๕ ข้อ ๔.๑๐ ข้อ ๔.๑๒ ข้อ ๔.๑๓ ข้อ ๔.๑๔
สถานศกึ ษา วทบ. รร.สธ.ทบ. รร.นส.ทบ.
รร.หน่วยและเหล่า รร.รด.ศศท. หน่วยจัดการ
สายวทิ ยาการ ฝกึ อบรม

๑๘

มาตรฐานการประกันคุณภาพการฝกึ อบรมระดบั หลักสตู ร

มาตรฐานท่ี ๑ หลักสูตร และการจัดการฝกึ อบรม

คำอธบิ ายมาตรฐาน
เรื่องหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเปรียบเสมือนแผนท่ี เข็มทิศ ของการจัดการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น วิธีการเรียนรู้ที่มีการพัฒนา รวมทั้งนโยบาย
ที่เพิ่มเตมิ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ต้องปรบั ปรุงหลักสตู รใหท้ นั สมัย ซึ่งกองทัพบกกำหนดไว้ ๕ ปี หากหลักสูตร
ไม่ทันสมัย ก็เปรียบเสมือนยาหมดอายุ ไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาโรคได้ แนวคิดการเรียนรู้แบบ
Work - Based Learning คือการเรียนรู้โดยการใช้การทำงานเป็นฐาน เสมือนการปฏิบัติงานจริง มากกว่าการ
เรียนในรูปแบบปกติ การออกแบบการเรียนรู้ให้เป็น Active Learning แม้ว่าทุกหลักสูตรที่สถานศึกษาเปิด
ได้ผ่านการอนุมัติจากกองทัพบกแล้ว การนำหลักสูตรไปใช้หรือบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล การแสดงถงึ คณุ ภาพหลักสูตรและการจัดการฝกึ อบรมพจิ ารณาจากตัวช้ีวดั ดงั ต่อไปน้ี

ตวั ชี้วัดที่ ๑ หลักสตู รทันสมัย และมีประโยชนต์ ่อกองทพั บก
ตัวชว้ี ัดท่ี ๒ มกี ารจัดการเรยี นรู้แบบ Active Learning ในหลกั สตู ร
ตัวชว้ี ดั ท่ี ๓ มีกจิ กรรม และเนือ้ หาวชิ าตามนโยบายกองทพั บกในหลักสตู ร

ตวั ช้วี ดั ท่ี ๑ หลักสตู รทันสมัย และมีประโยชน์ตอ่ กองทัพบก

คำอธบิ ายตวั ชี้วดั
หลักสูตรทันสมัย หมายถึง หลักสูตรที่อนุมัติไม่เกิน ๕ ปี นับจากวันอนุมัติถึงวันท่ีเปิดหลักสูตร

ในปนี น้ั ๆ กรณีทีห่ ลักสูตรอยู่ระหวา่ งการพิจารณาแต่ยังไม่ได้รับการอนมุ ัติ ให้ใช้หนงั สอื ส่ง และหนังสือรับการ
ขอปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พร้อมรายงานการประชุมเห็นชอบหลักสูตร มิติของความทันสมัยพิจารณาจาก
เนื้อหาองค์ความรู้ กิจกรรมการเรียนการฝึกอบรม รูปแบบการจัดทำหลักสูตร สำหรับประโยชน์ต่อกองทัพบก
พิจารณาจากความสามารถของผู้สำเร็จการฝึกอบรมที่กลับไปปฏบิ ัติงานซ่ึงเปน็ ผลการประเมินร่วมกันระหว่าง
สถานศึกษาและหนว่ ย โดยใช้ผลการประเมนิ ของรุ่นท่ีผา่ นมา/ปีท่ผี า่ น

เกณฑก์ ารพิจารณา
๑. หลักสตู รมีความทนั สมัย (๒ คะแนน)
๒. มผี ลการประเมินการปฏบิ ัตงิ านของผู้สำเร็จการฝกึ อบรมรุ่นที่ผ่านมา/ปีทผ่ี ่านมา (๓ คะแนน)

ขอ้ มูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมนิ

เกณฑ์การพจิ ารณา ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

๑. หลักสูตรมีความทันสมัย • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

(๒ คะแนน) • หลักสตู รอนุมัตเิ กิน • หลักสูตรอยู่ในกระบวนการ • หลกั สตู รอนุมัติไม่เกนิ ๕ ปี

๕ ปี ปรับปรุงพัฒนา มีรายงานการ • แสดงเอกสาร/หลักฐานครบถ้วน

ประชุมเห็นชอบหลักสูตรรอการ และถกู ต้อง

อนุมตั ิ

๑๙

ขอ้ มลู ประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

เกณฑ์การพิจารณา ข้อมูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน

๒. ผ ล ก า ร ป ร ะ เ ม ิ นกา ร • ไม่รายงานใน • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

ปฏิบัติงานของผู้สำเร็จ ระบบ • มหี ลกั ฐานการตดิ ตาม • มหี ลกั ฐานการตดิ ตาม • มีหลักฐานการตดิ ตาม

การฝึกอบรมรนุ่ ท่ีผ่านมา/ • ไม่มีผลการ ผลการปฏบิ ตั ิงาน ผลการปฏิบตั ิงาน ผลการปฏิบตั ิงาน

ปีท่ีผ่านมา (๓ คะแนน) ประเมนิ • มผี ลการประเมินการ • มีผลการประเมินการ • มผี ลการประเมนิ การ

ปฏบิ ตั ิงานของผสู้ ำเรจ็ ปฏิบตั ิงานของผสู้ ำเรจ็ ปฏบิ ตั งิ านของผสู้ ำเรจ็

การฝึกอบรมรุ่นทผ่ี า่ น การฝึกอบรมรุ่นทผี่ า่ น การฝึกอบรมรุน่ ทผ่ี า่ นมา

มา มา • จำนวนแบบประเมินท่ี

• จำนวนแบบประเมนิ ตอบกลบั ร้อยละ ๗๐ ขนึ้

ทต่ี อบกลบั ไม่นอ้ ยกวา่ ไป หรอื ครอบคลมุ กลมุ่

รอ้ ยละ 50 - ๗๐ หรอื ผสู้ ำเร็จการฝึกอบรมทกุ

ครอบคลมุ กลมุ่ ผสู้ ำเรจ็ กลมุ่

การฝึกอบรมทกุ กลมุ่ • ผลการประเมนิ ราย

• ผลการประเมนิ ราย บคุ คลเป็นไปตามจดุ มงุ่

บคุ คลเปน็ ไปตามจดุ มงุ่ หมายหลกั สตู รไม่น้อยกวา่

หมายหลกั สตู รไมน่ ้อย รอ้ ยละ ๘๐ ของแบบ

กวา่ รอ้ ยละ ๕๐ ของ ประเมิน/ข้อมลู ทต่ี อบ

แบบประเมนิ /ขอ้ มลู ท่ี กลบั

ตอบกลบั

ตัวชวี้ ดั ท่ี ๒ มีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในหลักสูตร

คำอธิบายตวั ช้ีวัด
หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนโดยจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ/เชิงรุก (Active Learning)

และจัดการเรยี นรใู้ นฐานการทำงาน (Work-Based Learning) ซง่ึ จะชว่ ยใหผ้ ู้เข้ารบั การฝกึ อบรมไดเ้ รยี นรู้ และ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ มุ่งเน้นผลลัพธ์การจัดการเรียนการสอน การอบรมแบบ
หลากหลาย ร่วมทั้งการประยุกต์ใช้แนวทางการสร้างความรู้ โดยผู้เรียน (Constructivism Theory) มาใช้ใน
ระดับยทุ ธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวธิ ี (คำอธบิ ายเพ่มิ เตมิ ตามนยิ ามศพั ท์)

เกณฑก์ ารพจิ ารณา
๑. มีกจิ กรรมการจัดการเรยี นรู้แบบลงมือปฏิบตั /ิ เชงิ รุก (Active Learning) หรือ การจดั การเรยี นรู้

ในฐานการทำงาน (Work-Based Learning) ในหลกั สตู ร (๒ คะแนน)
๒. มกี ารประเมนิ ผ้เู ข้ารบั การฝกึ อบรมเปน็ ระยะ ก่อน ระหว่าง หลงั การฝึกอบรม/การจดั การเรียนรู้

ในแต่ละรายวิชา และนำผลการประเมินไปปรบั ปรงุ พัฒนาการจัดการฝึกอบรมหรือหลักสูตร (๓ คะแนน)

๒๐

ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมนิ

เกณฑ์การพิจารณา ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมนิ

๑. มีกิจกรรมการจดั การ 0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน
เรยี นรแู้ บบลงมือปฏบิ ัติ/
เชิงรุก (Active Learning) • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
หรอื จดั การเรยี นรู้ในฐาน
การทำงาน (Work-Based • ไม่มีการเรยี นร้แู บบ • มีกจิ กรรมการเรียนรูแ้ บบลงมือ • มีกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือ
Learning) (๒ คะแนน)
ลงมือปฏิบัติ/เชิงรกุ ปฏบิ ัติ/เชิงรกุ (Active Learning) ปฏิบัติ/เชิงรุก (Active Learning)

(Active Learning) หรือ จัดการเรียนร้ใู นฐานการ หรือ จัดการเรียนรู้ในฐานการ

หรอื จัดการเรียนรู้ใน ทำงาน อยา่ งน้อย ๓ - ๕ กจิ กรรม ทำงานมากกว่า ๕ กิจกรรม หรือ

ฐานการทำงาน หรอื ๕ วิชา ในหลักสูตร มากกวา่ ๕ วชิ า ในหลักสตู ร

(Work-Based • แสดงเอกสาร/หลกั ฐานการจดั • แสดงเอกสาร/หลักฐานการจัด

Learning) กจิ กรรมตามท่รี ายงาน กจิ กรรมตามทร่ี ายงาน

๒. มกี ารประเมนิ ผู้เข้ารับ 0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน
การฝึกอบรมเป็นระยะ
กอ่ น ระหว่าง หลังการ • ไม่รายงานใน • รายงานผลการใน • รายงานผลการใน • รายงานผลการในระบบ
ฝกึ อบรม/ การจดั การ ระบบ • มีหลักฐานแสดงวธิ ีการ
เรียนรใู้ นละรายวชิ า และ ระบบ ระบบ • มีหลักฐานแสดง ประเมนิ ผเู้ ขา้ รบั การ
นำผลการประเมินไป วิธกี ารประเมนิ ผเู้ ขา้ รบั ฝกึ อบรม (กอ่ น, ระหวา่ ง,
ปรับปรงุ พฒั นาการจดั การ • ไม่มกี าร • มหี ลกั ฐานแสดง การฝกึ อบรม อย่าง หลัง)
ฝึกอบรมหรอื หลกั สูตร (๓ นอ้ ย ๒ ห้วง (กอ่ น, • นำผลการประเมินไป
คะแนน) ประเมินผู้เข้ารบั วิธีการประเมนิ ผเู้ ขา้ รบั ระหวา่ ง, หลงั ) ปรบั ปรุงพฒั นาการ
• นำผลการประเมนิ ไป จดั การฝึกอบรมหรือ
การฝึกอบรม การฝกึ อบรม อย่าง ปรบั ปรงุ พัฒนาการ หลกั สตู ร
จดั การฝึกอบรมหรือ
กอ่ น ระหว่าง นอ้ ย ๒ หว้ ง (ก่อน, หลกั สตู ร

หลังการ ระหว่าง, หลงั )

ฝกึ อบรม

ตัวช้วี ดั ท่ี ๓ มกี จิ กรรม และเน้ือหาวชิ าตามนโยบายกองทพั บกในหลักสตู ร

คำอธิบายตัวชี้วัด
เนื้อหาวิชาตามนโยบายกองทัพบก หมายถึง เนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ในนโยบายการฝึกอบรมและ

การศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ โดยให้สอดแทรกเนื้อหาวิชาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการ
ปฏบิ ัตภิ ารกจิ ของกองทัพบกเข้าไว้ในหลกั สูตร ได้แก่ ความมัน่ คงปลอดภัยทางไซเบอร์ การใช้ส่อื สังคมออนไลน์
อยา่ งสร้างสรรค์และปลอดภยั การปลูกฝงั อุดมการณ์และความรักชาติ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม หลกั ธรรมมาภิบาล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเนื้อหาตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และจิตอาสา โดยจัดสรรรายวิชาให้มีความ
เหมาะสม และไม่กระทบต่อหลักสูตร สำหรับ โรงเรยี นนายสิบทหารบก เพมิ่ วชิ าประวตั ิศาสตร์ชาติไทย หน้าท่ี
พลเมือง การพิจารณาคุณภาพในเกณฑ์นี้ นอกจากจะมีเนื้อหาตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรแล้ว
จะตอ้ งมีการจัดกจิ กรรมและประเมินผลดว้ ย

เกณฑก์ ารพิจารณา
หลกั สตู รมเี นือ้ หาวิชาตามนโยบายกองทัพบก มีการจดั กจิ กรรมและมีการประเมินผลโดยจดั สรร

รายวชิ าให้มคี วามเหมาะสม และไม่กระทบต่อหลักสตู ร (๕ คะแนน)

๒๑

ขอ้ มูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

เกณฑก์ ารพจิ ารณา ขอ้ มูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

๑. หลกั สูตรมเี น้ือหาวิชา • ไมร่ ายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

ตามนโยบายกองทพั บก • ไมม่ ีเน้ือหาวิชาตาม • มีกิจกรรมตามนโยบาย • มีกิจกรรมตามนโยบายตาม

มกี ารจัดกจิ กรรมและมีการ นโยบายกองทัพบกใน ตามความเหมาะสมของ ความเหมาะสมของหลักสูตรโดย

ประเมินผลโดยจดั สรร หลักสตู ร หลกั สตู รโดยจัดสรรรายวิชา จัดสรรรายวิชาให้มีความ

รายวิชาให้มีความเหมาะสม ให้มีความเหมาะสม และไม่ เหมาะสม และไม่กระทบต่อ

และไม่กระทบต่อหลกั สูตร กระทบต่อหลักสูตร จำนวน หลักสูตร จำนวน ๔ - ๕ กิจกรรม

(๕ คะแนน) ๑ - ๓ กจิ กรรม • แสดงเอกสาร/หลักฐานการจัด

- ภาษาองั กฤษ • แสดงเอกสาร/หลักฐาน กิจกรรมตามทร่ี ายงาน

- ความมนั่ คงปลอดภยั ทาง ก า ร จ ั ด ก ิ จ ก ร ร ม ต า ม ที่

ไซเบอร์ รายงาน

- การใช้สอ่ื สงั คมออนไลน์ ๓ คะแนน ๔ คะแนน ๕ คะแนน

อยา่ งสร้างสรรค์และ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

ปลอดภัย • มีกิจกรรมตามนโยบาย • มีกิจกรรมตามนโยบาย • มีกิจกรรมตามนโยบายตาม

- การปลกู ฝงั อุดมการณ์และ ตามความเหมาะสมของ ตามความเหมาะสมของ ความเหมาะสมของหลักสูตรโดย
ความรักชาติ
หลกั สูตรโดยจดั สรรรายวิชา หลกั สูตรโดยจดั สรรรายวิชา จัดสรรรายวิชาให้มีความ
- คณุ ธรรม จรยิ ธรรม
ให้มีความเหมาะสม และไม่ ให้มีความเหมาะสม และไม่ เหมาะสม และไม่กระทบต่อ
หลกั ธรรมมาภิบาล
กระทบต่อหลกั สูตร จำนวน กระทบต่อหลักสูตร อย่าง หลกั สูตร อย่างน้อย ๘ กจิ กรรม
- ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ๖ - ๗ กิจกรรม
นอ้ ย ๘ กจิ กรรม • แสดงเอกสาร/หลักฐานการจัด
- เน้อื หาตามหลกั สตู รตา้ น • แสดงเอกสาร/หลักฐาน • แสดงเอกสาร/หลักฐาน กจิ กรรมตามท่ีรายงาน
ทุจริตศึกษา
การจัดกิจกรรมตามที่ การจัดกิจกรรมตามที่ • มีผลการประเมินกิจกรรมตาม
- จิตอาสา
รายงาน รายงาน จำนวนกิจกรรมที่รายงาน
- อ่านหนงั สอื นอกเวลา/ชม • มีผลการประเมินกิจกรรม • มีผลการประเมินกิจกรรม • แสดงความเชื่อมโยงของผลการ
ภาพยนตรส์ รา้ งแรงบันดาล ตามจำนวนกิจกรรมท่ี ตามจำนวนกิจกรรมท่ี จัดกิจกรรมตามนโยบายท่ี
ใจ รายงาน รายงาน ส่งเสริมคุณลักษณะผู้เข้ารับการ
สำหรับ โรงเรยี นนายสิบ
ฝึกอบรมตามหลักสูตร/ตาม
ทหารบก เพม่ิ วิชา
นโยบายของกองทัพบก
- ประวตั ิศาสตรช์ าตไิ ทย

- หน้าทพี่ ลเมือง

๒๒

มาตรฐานท่ี ๒ ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วทิ ยากร

คำอธิบายมาตรฐาน
ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการฝึกอบรมของกองทัพบก ดังน้ัน

จะต้องมีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับศาสตร์แต่ละวิชา และลักษณะการจัดการฝึกอบรม สถานศึกษาจึง
ควรจัดให้มีครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตร มีจำนวนครูท่ี
เพียงพอ ต่อการจัดการฝึกอบรม และมีวิทยฐานะตามเกณฑม์ าตรฐานหลักสูตร โดยมีการจัดทำฐานขอ้ มูลครู
อาจารย์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาให้ครู อาจารย์มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร คุณภาพครู
อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร พิจารณาจากตัวชว้ี ัด ดงั ต่อไปนี้

ตวั ชี้วัดที่ ๔ ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร มคี วามรคู้ วามชำนาญ และมีวทิ ยฐานะ
ตวั ชว้ี ัดท่ี ๕ ครู อาจารย์ มีเทคนคิ ในการจัดการเรยี นรู้ และมีทักษะดา้ นเทคโนโลยสี ารสนเทศ

ตวั ชวี้ ัดท่ี ๔ ครู อาจารย์ ผ้สู อน/วิทยากร มีความรู้ความชำนาญและมวี ิทยฐานะ

คำอธบิ ายตัวชวี้ ัด
ครู อาจารย์ ผู้สอน/วทิ ยากร มคี วามรู้ความเช่ียวชาญในเน้ือหา/วชิ าท่รี บั ผิดชอบ มีความสามารถ

ในการสอน และมีความชำนาญหรือมีประสบการณ์สอดคล้องกับหลักสูตร และต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐาน
การเป็นผู้สอนที่แสดงถึงมาตรฐานความรูแ้ ละประสบการณ์ และมีวิทยฐานะที่แสดงว่า ครูอาจารย์มีมาตรฐาน
ตามการปฏบิ ัติตน และมาตรฐานการปฏบิ ัติงานตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด

เกณฑก์ ารพจิ ารณา
๑. ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหา/วิชาท่ีรับผิดชอบ

มีความสามารถในการสอน และมีความชำนาญหรือมปี ระสบการณส์ อดคลอ้ งกับหลักสตู ร (๒ คะแนน)
๒. ครู อาจารย์ มีหนงั สือรบั รองมาตรฐานการเป็นผสู้ อน (๑ คะแนน)
๓. ครู อาจารย์ มีวิทยฐานะ (๒ คะแนน)

ข้อมลู ประกอบการพจิ ารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

เกณฑ์การพิจารณา ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

0 คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

๑. ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

มีความรูค้ วามเชี่ยวชาญใน • ไมม่ ีการจัดทำฐานข้อมูลครู • มีการจัดทำฐานข้อมลู ครู • มีการจัดทำฐานขอ้ มลู ครู

เน้อื หา/วชิ าทรี่ ับผดิ ชอบมี อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร หรือ อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร อาจารย์ ผสู้ อน/วิทยากร

ความสามารถในการสอน ทำเนยี บครู อาจารย์ ผ้สู อน/ หรอื ทำเนียบครู อาจารย์ หรือทำเนยี บครู อาจารย์

และมคี วามชำนาญหรือมี วทิ ยากรในหลักสตู ร ผู้สอน/วิทยากรในหลักสตู ร ผสู้ อน/วิทยากรในหลักสูตร

ประสบการณส์ อดคล้องกบั • จำนวนครู อาจารย์ประจำ • จำนวนครู อาจารย์ประจำ

หลกั สตู ร (๒ คะแนน) ในหลกั สูตรมีความรู้ความ ในหลักสูตรมีความรู้ความ

สามารถ และมปี ระสบการณ์ สามารถ และมปี ระสบการณ์

น้อยกว่ารอ้ ยละ ๗๐ ของ ร้อยละ ๗๐ ขึน้ ไป ของ

จำนวนอาจารยป์ ระจำ จำนวนอาจารย์ประจำ

หลักสตู รทั้งหมด หลักสตู รทง้ั หมด

๒๓

หมายเหตุ : ฐานข้อมูลครูอาจารย์ ผู้สอน/วิทยากรในหลักสูตร ประกอบด้วย ความรู้ความสามารถ คุณวุฒิ
ผลงาน ตำแหน่งทางวิชาการ วิทยฐานะ ประสบการณ์ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในวิชาที่รับผิดชอบ การมี
ความรคู้ วามสามารถและประสบการณ์สอดคล้องกบั หลักสูตร เป็นตน้

ข้อมลู ประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การพจิ ารณา ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

๐ คะแนน ๐.๐๑ – ๑.๐๐ คะแนน

๒. ครู อาจารย์ มหี นังสอื • ไม่รายงานในระบบ • ครู อาจารย์ประจำที่สอนในหลกั สตู รมีหนังสอื รับรอง

รับรองมาตรฐานการเปน็ • ไม่มีครู อาจารย์ ทมี่ ีหนงั สือ มาตรฐานการเป็นผ้สู อนและยังไมห่ มดอายุ รอ้ ยละ ๘๐

ผ้สู อน (๑ คะแนน) รบั รองมาตรฐานการเป็นผู้สอน สตู รคำนวณ

คะแนนครู อาจารย์ทมี่ ีหนังสอื รบั รองมาตรฐานการเปน็ ผู้สอน

= จำนวนครู อาจารยท์ มี่ ีหนงั สือรับรองมาตรฐานการเป็นผู้สอน X ๑๐๐

จำนวนครูอาจารยท์ ส่ี อนในหลักสตู ร

คะแนนเทยี บบัญญัติไตรยางค์ รอ้ ยละ ๘๐ = ๑ คะแนน

๓. ครู อาจารย์ มีวิทยฐานะ ๐ คะแนน ๐.๐๑ – ๒.๐๐ คะแนน

(๒ คะแนน) • ไมร่ ายงานในระบบ • ครู อาจารย์ประจำ ทีส่ อนในหลกั สตู ร มวี ทิ ยฐานะ

• ไมม่ ีครู อาจารย์ ทม่ี ีวทิ ยฐานะ รอ้ ยละ ๘๐

สูตรคำนวณ

คะแนนครู อาจารย์ ทม่ี วี ทิ ยฐานะ

= ผลรวมคา่ น้ำหนักของจำนวนครู อาจารยป์ ระจำท่ีมีวทิ ยฐานะ X ๑๐๐

จำนวนครอู าจารย์ท่ีสอนในหลักสูตรและมีคณุ สมบัติครบ

คะแนนเทยี บบัญญัติไตรยางค์ ๘๐ = ๒ คะแนน

ตวั อยา่ งการคำนวณ เกณฑท์ ี่ ๓

ระดับวิทยฐานะ ค่าน้ำหนกั จำนวนครู อาจารย์ในหลกั สตู ร คา่ น้ำหนัก x จำนวนครู อาจารย์
และมีคณุ สมบตั ิครบ

ครอู าจารย์ ไม่มวี ทิ ยฐานะ ๐ ๑๐ ๒

ครชู ำนาญการต้น ๑๒ ๒

ครูชำนาญการ ๑๒ ๐

ครชู ำนาญการพเิ ศษ ๒ ๑ ๔๐

ครเู ชี่ยวชาญ ๓0 (๔๐ ÷ ๘๐) x ๒ = ๑ คะแนน

ครูเช่ียวชาญพเิ ศษ ๔0

รวม ๑๕

คา่ น้ำหนัก x จำนวนครู อาจารย์ x ๑๐๐ = (๖ ÷ ๑๕) x 100

จำนวนครูอาจารยท์ ่สี อนในหลกั สตู รและมคี ุณสมบตั ิครบ

เทยี บบัญญัติไตรยางค์ ๘๐ = ๒ คะแนน

๒๔

ตัวช้ีวดั ที่ ๕ ครู อาจารย์ มีเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ และมีทกั ษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำอธิบายตัวช้วี ดั
ครู อาจารย์ ได้รับการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ ด้านเทคนคิ การจดั การเรียนรู้ เช่น เทคนิค

การสอนแบบใหม่ Active Learning, Work - based Learning, Constructivism Theory และดา้ นเทคโนโลยี
สารสนเทศในการจดั การเรียนรู้ เช่น การสร้าง/เลอื กใชส้ ื่อการสอนที่น่าสนใจมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ (Online/ใช้ Application) ในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล เป็นต้น และสามารถนำมาใช้
ในการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพบกด้านความ
ทนั สมยั โดยพฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) และนำระบบสารสนเทศ
รวมทั้งใช้แอปพลิเคชนั (Application) มาชว่ ยในการจัดการเรยี นการสอน และการประเมินผลใหเ้ ปน็ มาตรฐาน
สามารถรองรบั สถานการณ์ และข้อจำกดั ท่อี าจเกดิ ข้ึน และการเพม่ิ จำนวนผูเ้ ข้ารบั การฝกึ อบรม

เกณฑก์ ารพจิ ารณา
๑. มีระบบการพัฒนาครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร ด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และมีทักษะ

ด้านเทคโนโลยสี ารสนเทศ (๑ คะแนน)
๒. ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร นำรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคญั มาใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่ม

ผู้เรยี น จุดประสงค์ เนอื้ หา และสภาพแวดล้อม เพื่อพฒั นาให้เป็นไปตามจดุ มุ่งหมายหลักสูตร/ชกท.(๒ คะแนน)
๓. ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร สามารถจัดการเรียนรู้แบบ Online หรือ มีความสามารถในการใช้

Application หรือการผลิต/เลือกใช้สื่อ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในวิชาหรือใน
หลักสูตร (๒ คะแนน)

ขอ้ มลู ประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมนิ

เกณฑ์การพจิ ารณา ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

0 คะแนน ๑ คะแนน

๑. มีระบบการพัฒนาครู • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

อาจารย์ ผสู้ อน/วทิ ยากร • ไม่มีระบบ/กจิ กรรมการพัฒนาครู อาจารย์ • มรี ะบบ/กิจกรรมการพัฒนาครู อาจารย์

ด้านเทคนิคการจัดการ ผ้สู อน/วทิ ยากรด้านเทคนิคการจัดการเรยี นรู้ ผู้สอน/วิทยากรดา้ นเทคนคิ การจัดการเรียนรู้

เรยี นรู้ และมีทกั ษะด้าน และ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการ และ ทักษะดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศในการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดการเรยี นรแู้ ละประเมนิ ผล จัดการเรยี นรู้และประเมนิ ผล

(๑ คะแนน)

๒. ครู อาจารย์ ผสู้ อน/ ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

วิทยากร นำรปู แบบการ • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
สอนที่เน้นผเู้ รียนเปน็ • ไม่มกี ารดำเนนิ การ
สำคัญมาใช้ไดเ้ หมาะสมกับ • ครู อาจารย์ ผูส้ อน/วทิ ยากร • ครู อาจารย์ ผสู้ อน/วทิ ยากร

กล่มุ ผเู้ รยี น จดุ ประสงค์ นำรปู แบบการสอนท่เี นน้ ผู้ นำรปู แบบการสอนท่ีเน้น

เนอ้ื หา และสภาพแวดลอ้ ม เรียนเปน็ สำคญั มาใชไ้ ดเ้ หมาะ ผเู้ รียน/ผฝู้ ึกอบรมเป็นสำคญั

เพอ่ื พัฒนาให้เปน็ ไปตาม สมกับกล่มุ ผู้เรยี น จดุ ประสงค์ มาใชไ้ ด้เหมาะสมกบั กล่มุ

จดุ มุ่งหมายหลกั สตู ร/ชกท. เนือ้ หา และสภาพแวดลอ้ ม ผู้เรียน จดุ ประสงค์ เนอื้ หา

(๒ คะแนน) เพ่อื พฒั นาให้เป็นไปตาม และสภาพแวดล้อม เพื่อ

จุดมุ่งหมายหลกั สตู ร/ชกท. พัฒนาใหเ้ ปน็ ไปตาม

• จำนวน ๒ - ๔ กจิ กรรม จดุ มุ่งหมายหลกั สตู ร/ชกท.

• แสดงหลกั ฐานการดำเนนิ งาน • จำนวน ๕ กจิ กรรมข้ึนไป

ตามจำนวนกิจกรรมทีร่ ายงาน • แสดงหลกั ฐานการดำเนนิ งาน

ตามจำนวนกิจกรรมท่ีรายงาน

๒๕

ข้อมลู ประกอบการพจิ ารณาและเกณฑก์ ารประเมิน

เกณฑ์การพิจารณา ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมนิ

๓. ครู อาจารย์ ผสู้ อน/ ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน
วิทยากร สามารถจดั การ
เรียนร้แู บบ Online หรอื • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
มีความสามารถในการใช้
Application หรือการ • ไม่มีการดำเนนิ การ • ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร • สามารถจัดการเรียนร้แู บบ
ผลิต/เลอื กใชส้ อ่ื การใช้
เทคโนโลยสี ารสนเทศท่ี สามารถจัดการเรียนรู้แบบ Online/ใช้ Application/การ
สง่ เสรมิ การจดั การเรยี นรู้
ในวิชาหรอื ในหลักสตู ร Online หรอื มคี วามสามารถ เลอื กใช้ส่อื ท่สี ง่ เสริมการ
(๒ คะแนน)
ในการใช้ Application หรอื จดั การเรียนรใู้ นวชิ า หรือใน

การผลติ /เลือกใชส้ ่อื การใช้ หลักสูตรไดเ้ หมาะสมกับกลุ่ม

เทคโนโลยสี ารสนเทศที่ ผเู้ รียน จุดประสงค์ เน้ือหา

สง่ เสริมการจัดการเรียนรู้ใน และสภาพแวดลอ้ ม

วชิ าหรอื ในหลกั สูตร • จำนวน ๕ รูปแบบข้ึนไป

• จำนวน ๒ - ๔ รปู แบบ • แสดงหลักฐานการดำเนินงาน

• แสดงหลกั ฐานการดำเนิน ตามจำนวนกจิ กรรมทร่ี ายงาน

งานตามจำนวนกิจกรรมท่ี

รายงาน

หมายเหตุ คำอธบิ ายเพิ่มเติมตัวช้ีวัดท่ี ๕ เกณฑท์ ่ี ๒ และ เกณฑ์ที่ ๓

๑. รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ทุกระดับ ทุกหลักสูตร ทุกวิชา ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบ
กลุ่มใหญ่ ตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะชว่ ยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active
Learning ได้ดี ได้แก่

(๑) การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share)
(๒) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group)
(๓) การเรยี นรแู้ บบทบทวนโดยผ้เู รียน (Student-led review sessions)
(๔) การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games)
(๕) การเรียนร้แู บบวิเคราะห์วีดโี อ (Analysis or reactions to videos)
(๖) การเรยี นรแู้ บบโตว้ าที (Student debates)
(๗) การเรยี นร้แู บบผู้เรยี นสรา้ งแบบทดสอบ (Student generated exam questions)
(๘) การเรียนรแู้ บบกระบวนการวิจยั (Mini-research proposals or project)
(๙) การสอนแบบโครงงาน (project-based learning) หรอื การสอนแบบใช้ปญั หาเป็นฐาน
(problem-based learning)
(๑๐) การเรียนรูแ้ บบกรณศี กึ ษา (Analyze case studies) การเรยี นรแู้ บบการเขยี นบันทกึ
(Keeping journals or logs)
(๑๑) การเรยี นรู้แบบการเขียนจดหมายขา่ ว (Write and produce a newsletter)
(๑๒) การเรียนรแู้ บบแผนผงั ความคดิ (Concept mapping)

๒. จัดการเรียนรู้แบบ Online การใช้ Application หรือการผลิต/เลือกใช้สื่อ การใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในวิชาหรือในหลักสูตร เป็นเรื่องของความทันสมัยและการปรับตัว
ให้เข้ากับสถานการณ์ และเป็นการเพ่ิมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ความหมายของแอปพลิเคชัน คือ โปรแกรม

๒๖

หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูกออกแบบสำหรับอุปกรณอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถอื แท็บเลต็
เปน็ ตน้ โดยในปัจจุบนั มีการพฒั นา แอปพลเิ คชันเก่ียวกับการศึกษาออกมากมาย ซ่ึงสามารถช่วยเหลอื การสอน
ของครูทั้งในและนอกชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
ได้อีกด้วย รวมถึงทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงการใช้แอปพลิเคชันได้ตลอดเวลา ด้วยความที่เทคโนโลยี
ในสมัยนี้ก้าวหน้าไปมาก จึงกลายมาเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทต่อวงการ และเริ่มขยายวงกว้างเข้าสู่วงการ
การศึกษามากกว่าแตก่ อ่ น รวบรวมมาบางส่วนได้ ดงั น้ี

(1) Kahoot สรา้ งข้อคำถาม/แบบฝึกปรนัยใชส้ มาร์ทโฟนของนกั เรียนเป็นรโี มทกดตัวเลอื ก
สรา้ งปฏสิ มั พันธร์ ะหว่างผสู้ อนกบั ผเู้ รยี น

(2) Plickers สร้างข้อคำถาม/แบบฝึกปรนัยใช้โค้ดเฉพาะจากเว็บไซต์พิมพ์ในกระดาษโดย
การหมุนตัวเลือก A B C D ในโค้ดแทนการเลือกตอบใช้มือถือสแกนเพื่อตรวจคำตอบสร้างปฏิสัมพันธร์ ะหว่าง
ผ้สู อนกบั ผูเ้ รียน

(3) ClassDojo ช่วยเช็คชื่อ หรือประมวลผลคะแนนพฤติกรรม หรือตรวจสอบการมาสาย
ส่งขอ้ ความตดิ ตามผู้เรยี น หรือแจ้งผู้เกี่ยวข้อง

(4) Nearpod สรา้ งบทเรยี นออนไลน์ สร้างคำถามใหผ้ ู้เรยี นตอบหลงั จากจบคลาส
(5) ZipGrade ใช้กระดาษคำตอบจากเว็บไซตใ์ หน้ กั เรยี นฝนคำตอบด้วยดินสอ 2B ใช้มือถือ
สแกนเพือ่ ตรวจคำตอบประมวลผลคะแนนรายบคุ คล
(6) Edmodo ส่งงานผ่านระบบออนไลน์ สร้างชั้นเรียนของตัวเองผ่านระบบออนไลน์
เช็คความกา้ วหนา้ ของนกั เรยี นในการทำงานมีคอมเมนท์โต้ตอบเหมือน Facebook
(7) Schoology ส่งงานผ่านระบบออนไลน์สร้างชั้นเรียนของตัวเองผ่านระบบออนไลน์
เช็คความก้าวหนา้ ของนักเรียนในการทำงานมีคอมเมนท์โต้ตอบเหมือน Facebook
(8) Canva ตกแตง่ ภาพไดอ้ ย่างสวยงามสร้างส่ือ Infographic สรา้ งชิ้นงานสง่ เสรมิ ความคิด
สรา้ งสรรค์ให้กบั นกั เรยี นส่งเสริมทกั ษะการออกแบบ
แอปพลิเคชันเหล่านี้เหมาะสำหรับครูที่ต้องการเปลี่ยนวิธีในการจัดการฝึกอบรม หรือสร้าง
บรรยากาศในการเรียนรู้ให้สนุกสนานกว่าเดิม ซึ่งนอกจากความสนุกสนานน่าสนใจแล้วต้องไม่ลืมถึงการ
นำมาใช้อย่างมีประสทิ ธิภาพ และครู อาจารย์ ควรศึกษาเพิ่มเติมและลงมือปฏิบัติทดลองใช้และเลือกนำมาจดั
กจิ กรรมให้เหมาะสมกบั ผเู้ ขา้ รบั การฝกึ อบรม เนอื้ หา วตั ถปุ ระสงค์ เวลา และสถานการณ์

๒๗

มาตรฐานที่ ๓ ผเู้ ข้ารับการฝึกอบรม

คำอธิบายมาตรฐาน
โดยนโยบายการฝกึ อบรมและการศึกษาของกองทัพบกกำหนดให้การคัดเลือกกำลังพลเข้ารับการ

ฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรให้เป็นไปตามคุณสมบัติหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง ตลอดจนต้องสอดคล้อง
คุณสมบตั เิ ฉพาะตำแหน่ง หมายเลขชำนาญการทางทหาร (ชกท.) หนา้ ท่ีความรบั ผิดชอบ ตลอดจนความต้องการ
ของกองทัพบก และมีความเป็นธรรม ทั้งน้ี ให้พิจารณาถึงการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพบก
ภายหลังสำเร็จการฝึกอบรม โดยคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเป็นปัจจัยพื้นฐานของ
ความสำเร็จแต่ละหลักสูตร ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของหลักสูตร เพื่อให้
สามารถสำเร็จการฝึกอบรม ได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ต้องมีกลไกในการพัฒนาความรู้พื้นฐานหรือ
การเตรียมความพร้อมทางการฝึกอบรมแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในระหว่างการฝึกอบรมมีการจัดกิจกรรม
การพัฒนาความรู้ความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้มีความรู้
และประสบการณต์ ามหลกั สูตรเม่อื จบแล้วนำไปใช้ใหเ้ กิดประโยชนต์ ่อกองทพั บก คณุ ภาพผ้เู ขา้ รับการฝึกอบรม
พจิ ารณาจากตวั ชี้วดั ดังต่อไปน้ี

ตวั ชี้วดั ที่ ๖ คณุ สมบตั แิ ละความพร้อมผเู้ ขา้ รบั การฝึกอบรม
ตัวชว้ี ัดที่ ๗ ผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรมมีคณุ ภาพตามหลกั สูตร

ตัวชีว้ ัดที่ ๖ ความพร้อมผู้เข้ารบั การฝกึ อบรม
คำอธบิ ายตัวชวี้ ัด

กองทัพบกกำหนดให้โรงเรียนหน่วยและเหล่าสายวิทยาการมุ่งเน้นไปที่การบริหารทรัพยากรที่มี
จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาคัดเลือกให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในทุกหลักสูตร จะต้องเป็นผู้ที่มี
หน้าที่ และใช้ความรู้จากหลักสูตรที่เข้ารับการฝึกอบรมในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ทุกหลักสูตรมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร เพื่อให้หน่วยฝึกอบรม
สามารถใชเ้ วลาในหลักสูตรสำหรบั การฝึกปฏิบัติและการทดสอบเป็นรายบุคคล ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
การคัดเลือกกำลังพลเข้ารบั การฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรให้เป็นไปตามคุณสมบัตหิ ลักเกณฑ์ท่ีกำหนดไว้อย่าง
จริงจัง ตลอดจนต้องสอดคล้องคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หมายเลขชำนาญการทางทหาร (ชกท.) หน้าที่ความ
รับผิดชอบ ตลอดจนความต้องการของกองทัพบก ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
กองทัพบกภายหลังสำเร็จการฝึกอบรม
เกณฑ์การพิจารณา

๑. ผเู้ ขา้ รับการฝึกอบรมมคี ณุ สมบัตติ รงตามหลักสตู ร (๒ คะแนน)
๒. ผูเ้ ข้ารบั การฝึกอบรมเตรียมความพร้อมล่วงหนา้ ตามท่ีหลกั สตู รกำหนด (๒ คะแนน)
๓. ผ้เู ข้ารบั การฝึกอบรมมีความรู้และทักษะด้านดจิ ิทลั และภาษาอังกฤษตามทห่ี ลกั สตู รกำหนด

(๑ คะแนน)

๒๘

ขอ้ มูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑก์ ารประเมนิ

เกณฑ์การพิจารณา ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมนิ

๐ คะแนน ๐.๕ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

๑. ผเู้ ข้ารับการฝึกอบรมมี • ไมร่ ายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

คุณสมบตั ิตรงตามหลักสตู ร • ไมม่ ีการดำเนนิ การ • จำนวนผเู้ ขา้ รับการ • จำนวนผเู้ ขา้ รับการ • จำนวนผเู้ ขา้ รับการ

(๒ คะแนน) ฝึกอบรมมีคณุ สมบัติ ฝกึ อบรมมคี ุณสมบัติ ฝกึ อบรมมคี ณุ สมบัติ

ตรงตามหลกั สตู ร ตรงตามหลักสูตร ตรงตามหลักสตู ร

รอ้ ยละ ๗๐ – ๗๙ รอ้ ยละ ๘๐ – ๘๙ ร้อยละ ๙๐ ขนึ้ ไป

• แสดงรายชื่อและ • แสดงรายชื่อและ • แสดงรายช่ือและ

คณุ สมบตั ผิ เู้ ขา้ รบั การ คณุ สมบตั ผิ เู้ ขา้ รบั การ คณุ สมบัตผิ ้เู ขา้ รบั การ

ฝึกอบรม ฝกึ อบรม ฝึกอบรม

๒. ผเู้ ข้ารับการฝกึ อบรมเตรยี ม ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

ความพร้อมล่วงหน้าตามที่ • ไมร่ ายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
หลกั สตู รกำหนด
• ไม่มกี ารดำเนินการ • มีวิธีการเตรียมความพร้อม • มีวิธีการเตรียมความพร้อม
(๒ คะแนน)
ล่วงหน้าด้านวิชาการให้ผเู้ ขา้ ลว่ งหนา้ ด้านวิชาการให้ผเู้ ขา้

รบั การฝึกอบรมกอ่ นเขา้ รับการ รบั การฝึกอบรมก่อนเขา้ รบั การ

ฝึกอบรมหรือในชว่ งแรกของ ฝึกอบรมหรือในช่วงแรกของ

การฝึกอบรม เชน่ ศึกษาเนอ้ื หา การฝกึ อบรม เชน่ ศกึ ษาเนอื้ หา

วชิ าตามที่หลกั สูตรกำหนด วิชาตามที่หลกั สตู รกำหนด

ทดสอบ Pre-Test ทำแบบ ทดสอบ Pre-Test ทำแบบ

ฝกึ หดั หรืองานมอบ เป็นต้น ฝกึ หดั หรอื งานมอบ เป็นตน้

• รายงานผลการเตรยี มความ

พรอ้ มของผเู้ ขา้ รบั การฝึกอบรม

รายบคุ คล

๓. ผู้เข้ารับการฝกึ อบรมมี ๐ คะแนน ๐.๕ คะแนน ๑ คะแนน
ความรูแ้ ละทกั ษะดา้ น
ดิจิทัลและภาษาอังกฤษ • ไมร่ ายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
ตามที่หลักสตู รกำหนด • ไมม่ กี ารดำเนินการ • มีการกำหนดเกณฑ์ • กำหนดเกณฑภ์ าษาองั กฤษ
(๑ คะแนน) ภาษาอังกฤษ หรือทกั ษะ และทกั ษะดิจทิ ลั ในหลกั สตู ร
ดจิ ิทลั ในหลักสตู ร • รายงานผลการประเมนิ
• รายงานผลการประเมิน ความสามารถดา้ นภาษา
ความสามารถดา้ นภาษา อังกฤษ และทกั ษะดจิ ทิ ัล
องั กฤษ หรอื ทักษะดิจิทลั ระหว่างการฝึกอบรมตามท่ี
ระหวา่ งการฝึกอบรมหรือจบ หลกั สตู รกำหนด
การฝกึ อบรมตามทห่ี ลกั สูตร • จำนวนผ้เู ขา้ รับการฝกึ อบรม
กำหนด ไมน่ ้อยกว่า ร้อยละ ๗๐ มีผล
การประเมินความสามารถ
ดา้ นภาษาอังกฤษ และทกั ษะ
ดิจิทัลระหว่างการฝกึ อบรม
หรือจบการฝึกอบรมตามที่
หลกั สตู รกำหนด

๒๙

ตวั ช้ีวดั ที่ ๗ ผู้สำเรจ็ การฝึกอบรมมคี ุณภาพตามหลกั สูตร

คำอธบิ ายตวั ชว้ี ัด
วัตถุประสงค์การฝึกอบรมเพื่อเตรียมกำลังพลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติตามตำแหน่งหน้าท่ี

ที่ได้รับการบรรจุในทุกอัตราของกองทัพบก ซึ่งจะทำให้ทุกหน่วยสามารถปฏิบัติหน้าท่ีตามที่กำหนดไว้ในอัตรา
สง่ ผลใหก้ องทพั บกมีความพรอ้ มรบเกิดขนึ้ ได้ในภาพรวม ดังนัน้ ทกุ หลักสตู รจะต้องจดั การฝึกอบรมให้กำลังพล
มีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่หลักสูตรกำหนด และตัวชี้วัด/กรอบมาตรฐานตามหมายเลข
ความชำนาญการทหาร (ชกท.) ตัวชี้วัดนี้จะเป็นการประเมนิ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ
(Attitude) และความสามารถในการปฏิบตั ิงานของผูส้ ำเร็จการฝึกอบรม โดยระยะเวลาในการประเมนิ ผลลัพธ์
การฝึกอบรม จะประเมินทันทีภายหลังการฝึกอบรม ไม่เกิน ๑ เดือน โดยผู้สำเร็จการฝึกอบรมประเมินตนเอง
ซง่ึ จะเป็นการประเมินความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยไม่จำกัดวิธกี าร ซ่งึ นโยบายกองทพั บกปัจจุบัน
ใหผ้ สู้ ำเรจ็ การฝกึ อบรมไปทำการขยายผลโดยการสอน ณ ท่ตี ัง้ หนว่ ย (Unit School)

เกณฑ์การพจิ ารณา
๑. ผู้สำเรจ็ การฝึกอบรมมคี วามรู้ ทกั ษะ และคณุ ลักษณะตามหลักสตู ร (๓ คะแนน)
๒. ผู้สำเรจ็ การฝึกอบรมนำความร้ไู ปใชป้ ระโยชน์ (๒ คะแนน)

ข้อมลู ประกอบการพิจารณาและเกณฑก์ ารประเมนิ

เกณฑ์การพิจารณา ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

๑. ผู้สำเรจ็ การฝึกอบรม ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน
มีความรู้ ทักษะ และ
คณุ ลกั ษณะตามหลักสตู ร • ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
(๓ คะแนน)
• ไมม่ ีการดำเนินการ • กำหนดเกณฑ์และ • กำหนดเกณฑแ์ ละวิธีการ • กำหนดวธิ ีกาประเมิน
๒. ผู้สำเร็จการฝกึ อบรมนำ
ความรู้ไปใชป้ ระโยชน์ วธิ ีการประเมนิ ความรู้ ประเมนิ ความรู้ ทกั ษะ ความรู้ ทกั ษะ และ
(๒ คะแนน)
ทักษะ และคุณลกั ษณะ และคณุ ลกั ษณะตาม คณุ ลักษณะตามหลกั

ตามหลักสตู ร หรอื ตาม หลักสตู ร หรอื ตามชกท. สูตร หรือ ตาม ชกท.

ชกท. (ถา้ ม)ี (ถา้ มี) (ถ้ามี)

• มกี ารประเมนิ ความรู้ • มีการประเมินความรู้ • มีการประเมินความรู้

ทักษะ และคณุ ลกั ษณะ ทกั ษะ และคณุ ลกั ษณะ ทกั ษะ และคณุ ลักษณะ

ตามหลักสูตรหรอื ตาม ตามหลักสตู รหรอื ตาม ตามหลกั สตู รหรือตาม

ชกท. (ถา้ มี) ชกท. (ถา้ มี) ชกท. (ถา้ มี)

• จำนวนผู้ผา่ นเกณฑ์ • จำนวนผ้ผู า่ นเกณฑ์

ตามมาตรฐานหลกั สตู ร ร้อยละ ๘๐ ขนึ้ ไป

รอ้ ยละ ๗๐ - ๗๙

๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

• ไม่รายงานในระบบ • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

• ไม่มีการดำเนินการ • รายงานผลการติดตามผสู้ ำเร็จการ • รายงานผลการติดตามผูส้ ำเร็จการ

ฝกึ อบรมรายบคุ คลสามารถนำ ฝกึ อบรมรายบุคคลสามารถนำความรู้

ความรไู้ ปใช้ประโยชน์ในการปฏบิ ตั ิ ไปใช้ประโยชน์ในการปฏบิ ัติงานไดจ้ รงิ

งานไดจ้ รงิ • จำนวนผสู้ ำเรจ็ การฝกึ อบรมทร่ี ายงาน

• จำนวนผ้สู ำเร็จการฝกึ อบรมท่ี รอ้ ยละ ๘๐ เทา่ กับ ๑ คะแนน

รายงาน ร้อยละ ๘๐ เท่ากบั ๑ • จำนวนผู้ทนี่ ำความรูไ้ ปใชป้ ระโยชน์

คะแนน ร้อยละ ๘๐ ของผูท้ ่ตี อบกลบั เท่ากับ

๑ คะแนน

๓๐

หมายเหตุ
รายงานผลการติดตามผู้สำเร็จการฝึกอบรมรายบุคคลสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการ

ปฏิบัติงานได้จริง (สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดในระหว่างการฝึกอบรม หรือภายใน ๓๐ วัน
หลังสำเร็จการฝึกอบรม) เช่น การนำไปขยายผลให้เพื่อนร่วมงาน การจัดการฝึกอบรมแบบ Unit School สรุปเป็น
ชุดการเรียนรู้ การปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติ การสร้างสรรค์ผลงาน การนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ฯลฯ
โดยรายงานเป็นตารางสรุปข้อมูลตามสภาพจริงพร้อมหลักฐาน/เอกสารอ้างองิ การปฏิบัติ

มาตรฐานที่ ๔ สง่ิ อุปกรณ์สนบั สนุนการฝกึ อบรม

คำอธิบายมาตรฐาน
ในการจัดการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำ

ให้การจัดการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย ความพร้อมทางกายภาพ
ความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพรอ้ มดา้ นเทคโนโลยี
ตัวช้ีวดั ท่ี ๘ ความพรอ้ มของส่งิ อปุ กรณ์สนบั สนนุ การฝกึ อบรม
คำอธิบายตัวช้ีวดั

นโยบายกองทัพบกให้เร่งรัดปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน รวมท้ัง
เอกสาร ตำรา แนวสอน โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลอง การศึกษาทางไกล ห้องปฏิบัติการ
เฉพาะทาง และเครื่องช่วยฝึก ให้มีความสมบูรณ์และทันสมัย ตลอดจนปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้อง
เอนกประสงค์ (Multipurpose Classroom) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ห้องเรียนได้หลากหลายวตั ถุประสงค์
และมีความอ่อนตัวในการดำเนินการ สอดคล้องกับขอบเขตภารกิจของหน่วย ประเภทหลักสูตรที่รับผิดชอบ
และกรอบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในภาพรวม นอกจากนี้ ให้พิจารณานำอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็น
ผลมาจากการวิจัยพัฒนา และประดิษฐ์ขึ้นของหน่วยต่าง ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อ
อำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศ และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้น โดยพัฒนาบุคลากร
เพื่อให้สามารถใช้งาน ดูแลรักษา และปรนนิบัติบำรุงสิ่งอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ได้อย่างคุ้มค่าและ
คงทน รวมท้งั จัดให้มีระบบการดแู ลรกั ษา และปรนนบิ ัตบิ ำรุงอปุ กรณ์ตามวงรอบท่ีมีประสทิ ธิภาพ
เกณฑก์ ารพจิ ารณา

๑. ความพร้อมของสงิ่ อปุ กรณ์สนบั สนุนการฝกึ อบรม ดา้ นกายภาพ (๒ คะแนน)
๒. ความพรอ้ มของสงิ่ อปุ กรณ์สนับสนนุ การฝึกอบรม ดา้ นอปุ กรณ์ (๒ คะแนน)
๓. ความพรอ้ มของส่ิงอุปกรณส์ นับสนนุ การฝกึ อบรม ด้านเทคโนโลยี (๑ คะแนน)

๓๑

ขอ้ มูลประกอบการพิจารณาและเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การพจิ ารณา ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาและเกณฑ์การประเมิน

๑. ความพรอ้ มของสง่ิ อปุ กรณ์ ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน
สนบั สนุนการฝกึ อบรม
ดา้ นกายภาพ (๒ คะแนน) • ไมร่ ายงานใน • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ

ระบบ • แสดงระบบฐานข้อมูลสิง่ อปุ กรณ์ • แสดงระบบฐานข้อมลู ส่ิงอปุ กรณ์

ดา้ นกายภาพในหลกั สูตร ประกอบ ดา้ นกายภาพในหลักสูตร ประกอบ

ด้วยบัญชีรายชื่อสิง่ อุปกรณท์ ม่ี ีการ ด้วยบญั ชรี ายช่ือสงิ่ อปุ กรณท์ ่ีมกี าร

จดั เปน็ หมวดหมภู่ าพถา่ ยส่ิงอปุ กรณ์ จดั เปน็ หมวดหมู่ภาพถา่ ยสง่ิ อุปกรณ์

• แสดงการใช้งานและสรุปความ

เพียงพอของสิ่งอปุ กรณด์ า้ น

กายภาพในหลักสูตร

• มรี ะบบการดแู ลรกั ษา และ

ปรนนิบัตบิ ำรุงสง่ิ อุปกรณ์

๒. ความพรอ้ มของส่ิงอุปกรณ์ ๐ คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน

สนบั สนนุ การฝึกอบรม • ไมร่ ายงานใน • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
ดา้ นอปุ กรณ์ (๒ คะแนน) ระบบ
• แสดงระบบฐานข้อมูลสง่ิ อปุ กรณ์ • แสดงระบบฐานข้อมูลสิ่งอุปกรณ์

ดา้ นอุปกรณ์ในหลักสูตร ประกอบ ด้านอุปกรณ์ในหลักสตู ร ประกอบ

ด้วยบัญชีรายช่ือสิง่ อุปกรณ์ทีม่ กี าร ดว้ ยบัญชีรายช่อื ส่ิงอุปกรณ์ทีม่ ีการ

จดั เป็นหมวดหมู่ภาพถ่ายสง่ิ อุปกรณ์ จดั เปน็ หมวดหมู่ภาพถ่ายสิง่ อุปกรณ์

• แสดงการใช้งานและสรุปความ

เพียงพอของส่ิงอปุ กรณ์ ด้าน

อปุ กรณ์ในหลักสูตร

• มีระบบการดูแลรักษา และ

ปรนนบิ ตั ิบำรงุ สิง่ อปุ กรณ์

๓. ความพร้อมของสิง่ อปุ กรณ์ ๐ คะแนน ๐.๕ คะแนน ๑ คะแนน
สนบั สนุนการฝกึ อบรม
ดา้ นเทคโนโลยี • ไมร่ ายงานใน • รายงานในระบบ • รายงานในระบบ
(๑ คะแนน) ระบบ
• แสดงระบบฐานข้อมูลส่งิ อปุ กรณ์ • แสดงระบบฐานข้อมลู ส่ิงอุปกรณ์

ดา้ นเทคโนโลยีในหลกั สูตร ดา้ นเทคโนโลยีในหลักสูตร

ประกอบด้วยบัญชรี ายชื่อสงิ่ ประกอบดว้ ยบัญชีรายชื่อส่ิง

อุปกรณท์ ่มี กี ารจัดเปน็ หมวดหมู่ อปุ กรณท์ ่มี ีการจดั เป็นหมวดหมู่

• แสดงการใช้งานและสรปุ ความ

เพยี งพอของส่ิงอปุ กรณ์ด้าน

เทคโนโลยีในหลักสตู ร

• มรี ะบบการดูแลรกั ษา และ

ปรนนบิ ัติบำรงุ ส่งิ อปุ กรณ์

หมายเหตุ

๑. ความพร้อมของสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกอบรมด้านกายภาพ ได้แก่ ห้องเรียนหลัก

ห้องเรียนย่อย ห้องประชุมสนามฝึก ห้องปฏิบัติการ ที่พัก ห้องรับประทานอาหารทีพ่ ักผ่อน ห้องศึกษาค้นควา้

ห้องสมุด โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ เฉพาะที่ใช้งานแต่ละหลักสูตร โดยจัดอย่างสะอาดถูกสุขลักษณะ ตกแต่งอย่างมี

สุนทรียภาพ สอดคล้องกับสภาพการจัดการฝึกอบรม โดยรายงานความเพียงพอ ความพร้อมและความคุ้มค่า

ในการใช้งานในหลกั สตู ร และมรี ะบบการดแู ลรักษา และปรนนบิ ัตบิ ำรุงส่งิ อปุ กรณ์

๓๒

๒. ความพร้อมของสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกอบรมด้านอุปกรณ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา เอกสาร
ประกอบการจัดการเรียนรู้ สิง่ พิมพ์ สือ่ ตา่ ง ๆ เครอ่ื งชว่ ยฝกึ ต่าง ๆ อาวุธจริง อาวุธจำลอง กระดาน แผนท่ี เข็มทิศ
ไมโครโฟน เครื่องเสียง Projector คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เครือข่าย เครื่องสำรองไฟฟ้า ฯลฯ ที่จำเป็น
ในการใช้งานในหลักสูตร โดยมีการปรนนิบัติและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และรายงานความเพียงพอ ความพร้อม
และความค้มุ ค่าในการใช้งานในหลักสูตร และมีระบบการดแู ลรกั ษา และปรนนบิ ตั ิบำรุงสิ่งอุปกรณ์

๓. ความพร้อมของสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบ E-learning,
Active Learning, Digital Platform, Application, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศ บริการหอ้ งสมุด Online
มีหนังสือ ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ การบริการข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหว ที่นำมาใช้ในการจัด
ฝึกอบรมเฉพาะในหลกั สตู ร และมรี ะบบการดแู ลรักษา และปรนนิบตั ิบำรุงสงิ่ อุปกรณ์

เกณฑ์การคิดคะแนน

มาตรฐาน ตัวชีว้ ดั คะแนน น้ำหนัก
๑. หลกั สูตรและการ ๑. หลกั สูตรทนั สมยั และมีประโยชน์ตอ่ กองทพั บก 5

จัดการฝกึ อบรม ๒. มีการจัดการเรียนร้แู บบ Active Learning ในหลกั สูตร ๐.๒
๓. มีกจิ กรรม และเนือ้ หาวิชาตามนโยบายกองทพั บก ๕
๒. ครู อาจารย์ ผู้สอน/
วทิ ยากร ในหลักสูตร ๕
คะแนนเฉลีย่
๓. ผ้เู ขา้ รับการฝึกอบรม 5
๔. ครู อาจารย์ ผูส้ อน/วทิ ยากร มีความรู้ความชำนาญ และ
๔. สิ่งอุปกรณส์ นับสนนุ มวี ิทยฐานะ ๕ ๐.๒
การฝึกอบรม
๕. ครู อาจารย์ ผู้สอน/วทิ ยากร มที กั ษะด้านเทคโนโลยี ๕
สารสนเทศการจัดการเรยี นรู้ ๕
คะแนนเฉลี่ย ๕ ๐.๔

๖. คุณสมบตั แิ ละความพร้อมของผู้เขา้ รับการฝึกอบรม
๗. ผู้สำเรจ็ การฝึกอบรมมคี ณุ ภาพตามหลักสูตร ๕ ๐.๒

คะแนนเฉลีย่ ๕๑
๘. ความพร้อมของส่งิ อปุ กรณ์สนับสนุนการฝกึ อบรม

คะแนนเฉลีย่ รวม ๔ มาตรฐาน

การสรปุ ผลการประเมนิ คณุ ภาพหลักสูตร

คะแนนเฉลี่ย 0.00 - 1.50 1.51 - 2.50 2.51 - 3.50 3.51 - 4.50 4.51 - 5.00
ระดบั คณุ ภาพ ปรับปรงุ เรง่ ด่วน ปรบั ปรุง พอใช้ ดี ดีมาก

๓๓

มาตรฐานการประกนั คณุ ภาพระดบั สถานศกึ ษาตามนโยบายกองทัพบก

เป็นการดำเนินงานของสถานศึกษาตามนโยบายการฝึกอบรมและการศึกษาของกองทัพบก
พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ในส่วนของนโยบายเฉพาะ โดยกองทัพบกได้กำหนดกรอบระยะเวลาการปฏิบัติไว้
เป็นเวลา ๕ ปี ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการตามนโยบาย กรมยุทธศึกษาทหารบกจึงให้สถานศึกษากำหนด
เป้าหมาย วางแผน ดำเนินการ และประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละปี รายงานให้กรมยุทธศึกษาทหารบกทราบ
โดยมีแบบฟอร์มการนำเสนอตามคู่มือเลม่ น้ี นโยบายเฉพาะแตล่ ะสถานศึกษามดี งั นี้

วทิ ยาลัยการทพั บก
๑. ปรบั ปรุงหลักสูตรและพฒั นาอย่างต่อเน่ือง เพ่อื ผลิตนกั ศึกษาใหเ้ ปน็ ผู้นำทางยทุ ธการ ผูน้ ำทาง

ยุทธศาสตร์และผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบก อย่างเป็นรูปธรรม สามารถเป็นผู้บังคับการกรม และ
ผู้อำนวยการกองของกองทัพภาคและกองทัพบก ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการฝึกอบรม
ณ วทิ ยาลัยปอ้ งกันราชอาณาจักร โดยเน้นหนกั ให้มคี วามรู้ในระดับยุทธศาสตร์ และยทุ ธการเป็นสำคัญ รวมท้ัง
ให้มีการฝึกอบรมวิชาการบริหารหน่วยระดับสูงในบริบทของกองทัพบก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้บรรลุภารกิจ
หลักของกองทัพบก ตลอดจนเน้นการฝึกอบรมด้านยุทธศาสตร์ ยุทธการ การช่วยรบ และการบริหารในหน่วย
ทหารขนาดใหญ่ที่มงุ่ ไปสู่การทัพและการยุทธ์หลกั เพือ่ ใหบ้ รรลวุ ตั ถุประสงคท์ างยทุ ธศาสตรท์ หาร

๒. ปรับปรุงการจัดทำเอกสารวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพือ่ ใหเ้ กิดประโยชนส์ ูงสุดตอ่ กองทัพบก ในการ
ป้องกนั ประเทศ ความม่ันคง และการพัฒนาประเทศ

๓. ให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องมีขีดความสามารถตามวัตถุประสงค์
ที่สำคัญคือ มีความรู้ ความเข้าใจด้านยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีความสามารถในการจัดทำ
แผนปฏิบัติการของกองทัพบก มีความเข้าใจในแผนระดับ ๒ และระดับ ๓ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ
และความมั่นคง สามารถจัดทำแผนการทัพ (แผนป้องกันประเทศ)

๔. มีความสามารถในฐานะผู้นำหรอื ผบู้ ริหารระดบั สูง โดยเขา้ ใจทฤษฎีผบู้ ริหาร หลกั การผู้นำและ
สามารถประยุกตใ์ ช้จากสถานการณห์ รอื ปัญหาท่ีเกิดขึน้

๕. มขี ดี ความสามารถในการแปลงแนวความคิดทางยุทธศาตร์ไปสู่การปฏบิ ตั ิในระดบั ยทุ ธการ
๖. ปรับปรุงและพฒั นาหลักสูตร ใหส้ ามารถฝึกอบรมผา่ นสื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ (E-learning) สำหรับ
กำลังพลท่ีไม่สามารถเข้ารบั การฝกึ อบรมแบบประจำไดเ้ น่ืองจากติดภารกิจสำคัญหรือมีราชการสนาม
๗. พัฒนาองค์ความรู้ให้มีความทันสมัย เป็นสากล กำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยน
ความรู้กับหนว่ ยงานความมนั่ คงและมิตรประเทศ

โรงเรยี นเสนาธิการทหารบก
๑. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรหลักประจำ ในระดับยุทธวิธีเป็นหลักอย่างต่อเนื่อง และให้

สอดคล้องกับระดับยุทธการ โดยให้มีการฝึกด้านยุทธวิธี การช่วยรบ การบริหารในหน่วยระดับกองพลและ
กองทัพน้อย พรอ้ มทัง้ นำเทคโนโลยที ่ีทันสมัยมาใชป้ ระกอบการฝกึ ศึกษาใหม้ ากขึน้

๒. ปรับปรุงระบบการวัดผลการฝึกอบรม และการศึกษาหลักสูตรหลักประจำให้สามารถสะท้อน
วัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตรและใช้เป็นพื้นฐานในการเลือกตำแหน่งที่อยู่ของนายทหารนักเรียน
ทั้งนี้การวัดผลการฝึกอบรม และการศึกษาต้องเป็นไปอย่างยุติธรรมและมีมาตรฐาน โดยดำเนินการวัดผลการ
ฝึกอบรม และการศกึ ษาของนายทหารนกั เรยี นเปน็ รายบุคคลตามผลการสอบทม่ี ุ่งเนน้ การปฏบิ ัติ

๓๔

๓. ปรับปรุงหลักสูตรให้สามารถรองรับการจัดการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning)
รวมถึงการประเมินผลการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นมาตรฐาน สามารถวัดผลการปฏิบัติได้อย่าง
มีประสทิ ธภิ าพ

๔. ให้การฝึกอบรมในหลักสูตรหลักประจำแกน่ ายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบกทั้งทางยทุ ธวิธี
เสนาธิการกิจ และการช่วยรบระดับกองพลและกองทัพน้อย เพื่อให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องไปยังหน่วยระดับ
ยทุ ธการ และสามารถปฏิบัติหน้าทผี่ ูบ้ ังคับบญั ชาและฝ่ายอำนวยการระดบั สูงในการปฏิบัตงิ านตามแผนป้องกัน
ประเทศไดอ้ ย่างแทจ้ รงิ

๕. พัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางด้านการทหาร ยุทธศาสตร์ และ
ความมั่นคงที่มีขีดความสามารถในการวิจัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทของสังคมและกองทัพไทย
ได้อยา่ งเหมาะสม มีภาวะผนู้ ำสงู และมีจติ สำนึกในการเสียสละและการให้บริการสังคม

๖. ปรับปรุงหลักสูตรนายทหารบกอาวุโส ให้มีเนื้อหาสอดคล้องและเหมาะสมกับวิทยฐานะของ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และการศึกษาและระยะเวลาการฝึกอบรม และการศึกษา ทั้งทางยุทธวิธี เสนาธิการกิจ
การช่วยรบ การพัฒนาประเทศ และการบริหารของหน่วยระดับกองทัพน้อย กองพล มณฑลทหารบก หรือ
หนว่ ยเทยี บเทา่ ขนึ้ ไป เพื่อให้สามารถปฏิบตั หิ นา้ ท่ีระดับหัวหน้ากองหรือเทยี บเทา่ ได้

โรงเรยี นนายสบิ ทหารบก
๑. ให้การฝึกอบรมแก่นักเรียนนายสบิ เพื่อให้เป็นผู้มีคุณลักษณะผู้นำทีด่ ี มีวินัย มีความกล้าหาญ

เสียสละ รู้แบบธรรมเนียมของกองทัพบก มีอุดมการณ์ในการอุทิศตนเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
และมีความรู้เพียงพอสำหรับเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะเหล่าในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการก่อนสำเร็จ
การศกึ ษาเป็นนายทหารประทวนหลกั ของกองทัพบก

๒. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของกองทัพบก
ตามยุทธศาสตร์กองทัพบก และแผนพัฒนากองทัพบก โดยให้นำเนื้อหาวิชาที่มีความสำคัญ และจำเป็นต่อ
การปฏิบัติภารกิจของกองทัพบกเข้าไว้ในหลักสูตร เช่น ประวัติศาสตร์ชาติไทย หน้าที่พลเมือง หลักสูตร
ต้านทุจริตศึกษา จิตอาสา การเงินส่วนบุคคล และกฎหมาย รวมถึงสอดแทรกองค์ความรู้ด้านความมั่นคง
ปลอดภัยทางไซเบอร์ และภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมิติต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ
กองทัพบกไวใ้ นหลกั สตู ร

๓. พัฒนารูปแบบการจัดการฝึกอบรมโดยเน้นการฝึกปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อให้นักเรียน
นายสิบไดเ้ รยี นรู้ และสามารถพฒั นาองคค์ วามรูไ้ ด้ดว้ ยตนเองจากการลงมือปฏิบตั ิ

๔. พัฒนารูปแบบการประเมินผล โดยเน้นการประเมินผลการปฏบิ ัติเป็นรายบคุ คลใหเ้ ป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนนายสิบสามารถขยายผลและพัฒนาองค์ความรู้ และ
ขีดความสามารถทางทหารอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการฝึกอบรมในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการและการรับ
ราชการตอ่ ไปในอนาคต

๕. เสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลและภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักเรียนนายสิบมีความพร้อมในขั้นต้น
สำหรับการปฏิบตั ภิ ารกิจร่วมกับมิตรประเทศ รวมทงั้ เป็นเคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต

๖. ส่งเสริมครู อาจารย์ ได้มีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ และขีดความสามารถโดยส่งเข้าร่วม
กิจกรรม การฝึกอบรม รวมทั้งสนับสนุนให้มีวิทยฐานะ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาระบบ
การฝกึ อบรมของ โรงเรยี นนายสิบทหารบก ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

๗. เร่งรัดการจัดหาสิ่งอุปกรณ์ เครื่องช่วยฝึก ให้เพียงพอสำหรับการจัดการฝึกอบรมได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้งานอุปกรณ์ และเครื่องช่วยฝึกที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อ
การฝกึ ปฏิบัตใิ นการใช้งาน และการบำรุงรกั ษา ยทุ โธปกรณ์ทมี่ ีอยูใ่ นอัตราได้

๓๕

โรงเรยี นหน่วยและเหลา่ สายวิทยาการของกองทัพบก
๑. ใหพ้ ิจารณาเปิดการฝกึ อบรมหลกั สูตรต่าง ๆ ตามลำดบั ความเรง่ ด่วน ดังนี้
หลักสูตรการผลิตกำลังพล หลักสูตรตามแนวทางรับราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังพล

กองทัพบก ต้องสอดคล้องและรองรับการเจริญเติบโตของกำลังพลภายในเหล่า/หน่วยของตนเอง โดยมิให้
กำลังพลเสียสิทธิ์ในการเข้ารับการฝึกอบรม โดยหน่วยที่กำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมจะต้องคัดกรองกำลังพล
ให้เหมาะสม ท้ังนี้ จำนวนที่นั่งฝึกอบรมจะต้องสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของหน่วยและเหล่า หลักสูตรท่ี
มีผลโดยตรงต่อความพร้อมรบของหน่วย โดยเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับนายทหารประทวนที่เกี่ยวกับ
การใช้งานและปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ ได้แก่ หลักสูตรตามหมายเลขความชำนาญการทางทหาร หลักสูตร
การใชง้ านและปรนนิบตั ิบำรุงยุทโธปกรณ์ใหม่ ยทุ โธปกรณท์ ี่ใชเ้ ทคโนโลยีสูงและมีราคาแพง ยุทโธปกรณ์ที่อาจ
เกดิ อนั ตรายหรอื ชำรดุ เสยี หายไดง้ า่ ยตามลำดับ หลกั สูตรเพอื่ เพ่ิมประสิทธภิ าพกำลงั พลทกุ ระดับ

๒. จัดทำพัฒนาหลักสูตรแบบผสมผสาน (Blended Learning) หลักสูตรผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(E-Learning) และหลักสูตรทางไกลทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการหลักสูตรให้สามารถ
ตอบสนองต่อความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมของกำลังพลได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการ
เรียนการสอนและการประเมินผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) การนำระบบสารสนเทศ แอปพลิเคชัน
(Application) มาชว่ ยในการจัดการเรยี นการสอน และประเมนิ ผลอัตโนมตั ิแบบออนไลน์

๓. พัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และทักษะดิจิทัล โดยใช้ห้องปฏิบัติการ
ทางภาษา และคอมพิวเตอร์สำหรับการส่งเสริมการเรียนร้ตู ลอดชวี ิต รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้
สื่อสงั คมออนไลนอ์ ยา่ งสร้างสรรคแ์ ละปลอดภยั

๔. พฒั นาและปรบั ปรุงคณุ ภาพครู อาจารย์ผสู้ อน โดยประสานกบั หนว่ ยทเ่ี ก่ียวข้องเพื่อหมุนเวียน
ให้ผมู้ ีความรูแ้ ละประสบการณ์มีโอกาสไปสอน หรือปฏบิ ัตหิ น้าทใ่ี นหนว่ ยสนามหรืออืน่ ๆ ในโรงเรียนของเหล่า
และสายวิทยาการอน่ื ๆ

๕. ส่งเสริมครู อาจารย์ ได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ และขีดความสามารถโดยส่งเข้าร่วมกิจกรรม
การฝึกอบรมท้ังการสนบั สนุนให้มวี ิทยฐานะ เพอื่ ใหส้ ามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาระบบการฝึกอบรมได้อย่าง
มีประสทิ ธภิ าพ

๖. พฒั นาหลักเกณฑ์การฝึกอบรม และการประเมินผลตามหลักสูตรของโรงเรยี นหน่วยและเหล่า
สายวิทยาการใหส้ ามารถนำไปสกู่ ารกำหนดระดับความเชี่ยวชาญทางทหาร (Skill Level)

๗. มุ่งเน้นการผลิตนักเรียนนายสิบแต่ละเหล่า ให้มีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
เป็นสุภาพบุรุษ มีคุณธรรม มีความเป็นทหารอาชีพ สามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ตามวตั ถุประสงค์ของหลักสูตร รวมท้ังมจี ิตสำนึกและสญั ชาตญาณในการรบ ตลอดจนสามารถ
เป็นผู้นำหนว่ ยทหารทางยุทธวิธีในระดบั หมูไ่ ด้

หนว่ ยบญั ชาการรกั ษาดินแดน
๑. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับกำลังพลสำรอง และกำลังอาสารักษา

ดินแดนอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงของประเทศ โดยยึดถือมาตรฐานของ
หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับกำลังพลประจำการเป็นแนวทาง มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้
อย่างแท้จริง และให้เน้นถึงการปลูกฝังอุดมการณแ์ ละความจงรักภักดีในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กับการ
ยดึ มัน่ ในระเบียบวินยั และแบบธรรมเนียมทหาร

๒. พัฒนาจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับกำลังพลสำรอง นักศึกษาวิชาทหาร ข้าราชการ
กลาโหมพลเรือน กำลงั พลสายงานสัสดี และอาสารักษาดนิ แดนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการผสมผสานท้ังระบบ
การฝึกอบรมในหอ้ งเรียนและระบบการฝึกอบรมทางไกล รวมท้ังการใชเ้ ครื่องช่วยฝกึ ตา่ ง ๆ

๓๖

๓. ปลูกฝังนักศึกษาวิชาทหารให้มีความเชื่อมั่น และมีทัศนคติที่ดีต่อกองทัพ มีความรู้
ความสามารถที่จะเข้ามารับใช้ประเทศชาติในฐานะกำลังพลสำรอง และมีความสมัครใจเมื่อมีการเรียกพล
เพื่อฝึกวิชาทหารในยามปกติ หรือการระดมพลในยามสงคราม ทั้งน้ี จะต้องปลูกฝังให้มีความเชื่อมั่นว่าทุกคน
เป็นสว่ นหนง่ึ ของกองทพั บก และถอื ว่าเป็นสมาชิกหน่ึงของกองทัพบก

๔. สอดแทรกการสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย
แก่นักศึกษาวิชาทหารเพื่อให้เกิดความรักและหวงแหนชาติ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง
และจิตอาสาผา่ นกิจกรรมตา่ ง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

๕. สง่ เสริมครู อาจารย์ ให้มวี ทิ ยฐานะ เพอื่ ใหส้ ามารถนำองค์ความร้มู าพัฒนาระบบการฝึกอบรม
ได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ
หน่วยจดั การฝกึ อบรม

๑. ให้พิจารณาเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามความจำเป็น หรือนโยบายของกองทัพบก
รวมทง้ั คัดเลอื กผู้เข้ารบั การฝกึ อบรมเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ในการปฏิบัตงิ านตามตำแหน่งหนา้ ท่ี

๒. ใหเ้ นน้ จัดการฝึกอบรมในลักษณะประหยัด โดยใชก้ ารฝึกอบรมผา่ นส่อื อเิ ล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
หากเป็นหลักสูตรที่จำเป็นต้องฝึกอบรม ณ ที่ตั้งหน่วยฝึกอบรม ให้พิจารณาเท่าที่จำเป็น และมุ่งเน้นการฝึก
ปฏิบตั ิเปน็ รายบคุ คลเป็นสำคญั
ศนู ยไ์ ซเบอร์ กองทัพบก

๑. ปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านไซเบอร์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ให้มีความทันสมัย
ครอบคลุมทุกมิติเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคง
ทางไซเบอร์ของกองทัพบกได้ทันต่อสถานการณท์ เ่ี ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสามารถลดผลกระทบ
หรอื จำกัดความเสียหายทีเ่ กิดขนึ้ ไดอ้ ยา่ งเป็นรูปธรรม

๒. เผยแพร่ และขยายผลองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับกำลังพล
ของกองทัพบกในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยสอดแทรกไว้ในทุกหลักสูตรของกองทัพบก รวมทั้งจัดการอบรม
หรือบรรยายพิเศษตามหน่วยตา่ ง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ใหก้ ับกำลังพล รวมถึงครอบครัวอย่างครอบคลุม
ทุกระดับ

๓๗

สว่ นที่ ๔

รูปแบบการจดั ทำรายงานประกันคุณภาพการฝึกอบรม

การรายงานผลการประกันคุณภาพการฝึกอบรมให้จัดทำรายงาน 2 ด้าน ประกอบด้วย
“ด้านที่ 1 การประกันคุณภาพการฝึกอบรมระดับหลักสูตร” และ “ด้านที่ 2 การประกันคุณภาพระดับ
สถานศึกษาตามนโยบายกองทัพบก” มีรายละเอียด ดงั น้ี

1. รายงานผลการประกันคุณภาพการฝึกอบรมระดับหลักสูตร เพื่อทราบผลลัพธ์การจัดการ
ฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร โดยรายงานภายใน ๔๕ วัน หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร ผ่านระบบ
สารสนเทศงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา (Platform Online) ดงั นี้

๑.๑ บันทึกข้อมูลผลการดำเนินการประกันคุณภาพการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร พร้อมแนบ
ไฟล์เอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณา ตามมาตรฐาน ตัวบง่ ชี้ และเกณฑ์ พรอ้ มประเมินตนเองโดยผู้บริหาร
สถานศกึ ษา/ผูร้ ับมอบอำนาจ/คณะกรรมการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของสถานศึกษา

๑.๒ ส่งรายงานสรปุ ผลการประกนั คุณภาพการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร ถงึ กรมยทุ ธศึกษาทหารบก
ตามแบบทีก่ ำหนดในรูปแบบ ไฟล์ .pdf ส่งในหวั ข้อรายงานสรปุ ผลการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร

๒. รายงานผลการประกันคุณภาพระดับสถานศึกษาตามนโยบายกองทัพบก เพื่อทราบถึงผลการ
ดำเนินงานของสถานศึกษาที่รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมของกองทัพบก ถึงการปฏิบัติตามนโยบายการฝึกอบรม
และการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. 25๖๖ - ๒๕๗๐ (ในส่วนนโยบายเฉพาะ) ซึ่งจำนวนข้อที่ดำเนินการจะมีความ
แตกต่างกันตามประเภทของสถานศึกษาหลังส้ินปีงบประมาณ หรือจบทกุ หลักสตู รแล้วไม่เกนิ ๔๕ วัน ผ่านระบบ
สารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษา (Platform Online) ตามแบบที่กำหนดในรูปแบบ ไฟล์ .pdf
ส่งในหัวขอ้ คุณภาพการดำเนนิ งานของสถานศึกษา

๓. แนวทางการจดั ทำรายงานผลการประกนั คณุ ภาพการฝกึ อบรม
๓.๑ รายงานผลการประกันคณุ ภาพการฝกึ อบรมระดบั หลักสูตร โดยมีหัวขอ้ ดงั น้ี
- ขอ้ มูลพน้ื ฐานของหลกั สูตรการฝึกอบรม
- ผลการจัดการฝกึ อบรมตามมาตรฐาน
- สรปุ คะแนนการประเมนิ คุณภาพหลักสูตร
- การวิเคราะห์ผลการประเมินหลกั สูตรในภาพรวม
๓.๒ รายงานผลการประกันคุณภาพระดบั สถานศึกษา โดยมหี ัวขอ้ ดงั น้ี
- รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการฝึกอบรมและการศกึ ษาของกองทัพบก

พ.ศ. 25๖๖ - ๒๕๗๐ (นโยบายเฉพาะ)
- สถานศกึ ษาสามารถปรับกจิ กรรมใหส้ อดคล้องกบั นโยบายและบรบิ ทหรือแผนพัฒนา

ของสถานศึกษาโดยปรบั การกำหนดคา่ เป้าหมายเปน็ เชงิ ปริมาณ หรอื เชิงคุณภาพได้ ตามความเหมาะสม

๓๘

แบบรายงานผลการประกันคุณภาพการฝึกอบรมระดบั หลักสตู ร

**รายงานเมอ่ื จบหลักสูตรแล้วไม่เกนิ ๔๕ วัน**

สถานศกึ ษา........................................................................................................................................................
ชอ่ื หลักสูตร ......................................................................................ชกท..........................................................
๑. ขอ้ มูลพืน้ ฐานของหลักสูตรการฝกึ อบรม

๑.๑ วนั เดอื นปีทีอ่ นมุ ตั ใิ ห้ใช/้ ปรับปรุงหลักสูตร...............................................................................................
๑.๒ ห้วงเวลาการจัดการฝึกอบรมหลักสตู ร .............สปั ดาห์ ตั้งแต่...................... ถึง....................................
๑.๓ จำนวนผเู้ ขา้ รับการฝึกอบรมทไ่ี ดร้ บั อนุมัติ...... นาย , จำนวนผู้ทเี่ ข้าฝกึ อบรม..........นาย

(นายทหารสัญญาบัตร...........นาย, นายทหารประทวน........นาย, อนื่ ๆ .......นาย)
๑.๔ คุณลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ของผู้สำเรจ็ การฝึกอบรม (ตามหลักสูตร)
............................................................................................................................. ............................................
....................................................................................... ..................................................................................
๒. ผลการจัดการฝกึ อบรมตามมาตรฐาน (ความยาว ๓ - ๕ หน้า)

มาตรฐานท่ี ๑ หลกั สูตร และการจดั การฝกึ อบรม
ตัวชี้วัด ๑ หลักสตู รทนั สมัย และมีประโยชน์ต่อกองทัพบก

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
ตวั ช้ีวัด ๒ มีการจดั การเรยี นรู้แบบ Active Learning ในหลักสตู ร

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
ตัวชว้ี ัดท่ี ๓ มีกจิ กรรม และเนื้อหาวิชาตามนโยบายกองทัพบกในหลักสูตร

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................

มาตรฐานท่ี ๒ ครู อาจารย์ ผ้สู อน/วทิ ยากร
ตัวชีว้ ัดที่ ๔ ครู อาจารย์ ผู้สอน/วิทยากร มีความรูค้ วามชำนาญ และมีวทิ ยฐานะ

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
ตวั ชี้วดั ท่ี ๕ ครู อาจารย์ มีเทคนคิ ในการจดั การเรียนรู้ และมที ักษะด้านเทคโนโลยสี ารสนเทศ

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................

๓๙

มาตรฐานที่ ๓ ผู้เข้ารบั การฝกึ อบรม
ตัวชีว้ ัดที่ ๖ คุณสมบตั ิและความพรอ้ มของผเู้ ขา้ รับการฝกึ อบรม

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัดท่ี ๗ ผู้สำเร็จการฝกึ อบรมมีคณุ ภาพตามหลกั สตู ร

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................

มาตรฐานท่ี ๔ ความพร้อมของสง่ิ อุปกรณ์สนับสนนุ การฝกึ อบรม
ตวั ชีว้ ัดที่ ๘ ส่ิงอปุ กรณ์สนับสนนุ การฝกึ อบรม

...........................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................

ผลการการวเิ คราะห์คณุ ภาพรายมาตรฐาน (ประเมนิ ตนเอง)

มาตรฐาน จดุ เดน่ จุดทคี่ วรพัฒนา ขอ้ เสนอแนะ
เพอ่ื การพฒั นา
หลักสูตร และการ
จัดการฝึกอบรม

ครู อาจารย์ ผ้สู อน/
วทิ ยากร

ผเู้ ขา้ รบั การฝกึ อบรม

ความพร้อมของ
ส่ิงอุปกรณ์สนับสนนุ
การฝกึ อบรม

การสรปุ ผลการประเมินคุณภาพหลักสตู ร

มาตรฐาน หลกั สตู ร และการ ครู อาจารย์ ผ้สู อน/ ผเู้ ขา้ รบั การฝึกอบรม ความพร้อมของส่ิงอุปกรณ์
(ค่านำ้ หนกั ) จัดการฝึกอบรม วทิ ยากร (๐.๔) สนบั สนุนการฝกึ อบรม
(๐.๒)
คะแนน (๐.๒) (๐.๒)
ระดบั คณุ ภาพ
คะแนนเฉลย่ี = .........คะแนน ระดบั คุณภาพ ............................

๔๐

รายงานผลการประกันคุณภาพระดับสถานศกึ ษา ปีงบประมาณ ............

**รายงานเม่อื สิน้ ปีงบประมาณ หรอื จบทกุ หลักสตู รแล้วไม่เกิน ๔๕ วัน**
สถานศกึ ษา..............................................................................

๑. สรปุ ผลการประเมนิ คุณภาพทกุ หลักสูตรทจี่ ดั การฝึกอบรมในปงี บประมาณ ...........................

ลำดับ ชือ่ หลกั สูตร ผู้สำเรจ็ ๑ มาตรฐาน ๔ คะแนน
หลักสตู ร เฉลีย่ ท่ี
(นาย) (คา่ นำ้ หนกั 0.2) ๒๓ (คา่ นำ้ หนัก 0.2) คูณ
นำ้ หนัก
(คา่ น้ำหนัก 0.2) (คา่ นำ้ หนัก 0.๔)

๑ XX XX ....... ....... ....... ....... .......
....... ....... ....... ....... ....... ....... ....... .......
....... ....... ....... ....... ....... ....... ....... .......
....... ....... ....... ....... ....... ....... ....... .......
....... ....... ....... ....... ....... ....... ....... .......

๒. สรปุ ผลการดำเนินงานตามนโยบายการฝกึ อบรม และการศึกษาของ ทบ. พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

๒.๑ โรงเรียนหน่วยและเหล่าสายวิทยาการของ ทบ.

ตารางที่ ๑ การดำเนนิ งานของสถานศกึ ษาตามนโยบาย (นโยบายเฉพาะ)

นโยบายและกจิ กรรม คา่ เปา้ หมาย การประเมินผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏบิ ตั ิงานแตล่ ะปี

๑. การเปิดการฝกึ อบรมหลกั สูตรต่าง ๆ (รายงานเฉพาะหลกั สตู รทแี่ ตล่ ะ รร. ม)ี
๑.๑ จำนวนหลักสตู รตามแนวทางรบั ราชการทอ่ี นมุ ัติให้เปดิ

๑.๒ จำนวนหลกั สูตรตามหมายเลข ชกท.

๑.๓ จำนวนหลักสตู รเพ่ือเพ่มิ พนู ความรูท้ อ่ี นุมัตใิ ห้เปิด

๒. จดั ทำพฒั นาหลกั สตู รเพอื่ เป็นทางเลอื กในการบรหิ ารจดั การหลักสตู รให้สามารถตอบสนองต่อความตอ้ งการเขา้ รับการ
ฝกึ อบรมของกำลังพลไดอ้ ย่างเพยี งพอ (รายงานเฉพาะหลักสตู รท่แี ตล่ ะ รร. ม)ี

๒.๑ จำนวนหลักสูตรทพ่ี ฒั นาให้เปน็ หลักสตู รแบบผสมผสาน
(Blended Learning)

๒.๒ จำนวนหลกั สูตรท่ีพฒั นาเปน็ หลักสูตรผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์
(E-Learning)

๒.๓ จำนวนหลักสตู รท่พี ฒั นาเป็นหลกั สูตรทางไกลทางไปรษณีย์

๓. พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลผ่านสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (E-Learning) การนำระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ แอปพลเิ คชนั (Application) มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน และประเมนิ ผลอัตโนมตั แิ บบออนไลน์

๓.๑ จำนวนหลักสตู รที่พัฒนาระบบการจัดการเรยี น
การสอนและการประเมินผลผ่านสือ่ อิเล็กทรอนิกส์

๓.๒ จำนวนหลักสูตรที่นำระบบสารสนเทศ แอปพลิเคชัน
(Application) มาช่วยในการจัดการเรียน การสอนและ
ประเมนิ ผลอัตโนมัตแิ บบออนไลน์

๔๑

นโยบายและกจิ กรรม ค่าเปา้ หมาย การประเมนิ ผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏบิ ตั งิ านแตล่ ะปี

๔. พฒั นาวิธกี ารจัดการเรียนการสอนภาษาองั กฤษ และทักษะดจิ ิทัล

๔.๑ จำนวนหลกั สูตรทพี่ ัฒนาวธิ กี ารจดั การเรยี นการสอน

ภาษาอังกฤษและทกั ษะดิจิทัลโดยใช้ห้องปฏิบัติการทาง

ภาษา และคอมพิวเตอร์สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้

ตลอดชีวิต

๔.๒ จำนวนหลักสตู รทส่ี รา้ งความตระหนักรู้ในการใช้ส่ือสงั คม

ออนไลน์อยา่ งสรา้ งสรรค์และปลอดภัยให้ผู้เรียน

๕. พฒั นาและปรับปรงุ คณุ ภาพครู อาจารยผ์ ู้สอน

๕.๑ จำนวนครู อาจารย์ หรือ จำนวนครงั้ ท่ีครู อาจารย์

ท่หี มนุ เวียนไปสอน ใน รร. อื่น

๕.๒ จำนวนครู อาจารย์ หรือ จำนวนคร้งั ท่คี รู อาจารย์

ทไี่ ปปฏบิ ตั ิหนา้ ทใ่ี นหน่วยสนามหรืออื่น ๆ

๕.๓ จำนวนครู อาจารย์ ส่งเข้าร่วมกจิ กรรม พฒั นาความรู้

ขดี ความสามารถและโดย การฝกึ อบรมเพอื่ นำ

องค์ความร้มู าพัฒนาระบบการฝกึ อบรม

๕.๔ จำนวนครู อาจารย์ทีม่ วี ิทยฐานะ (นายทหารสญั ญาบัตร)

๕.๕ จำนวนครู อาจารยท์ มี่ วี ทิ ยฐานะ (นายทหารประทวน)

๖. พัฒนาหลักเกณฑก์ ารฝึกอบรม และการประเมินผลตามหลกั สูตรของโรงเรียนให้สามารถนำไปสกู่ ารกำหนด

ระดับความเชีย่ วชาญทางทหาร (Skill Level) ถา้ มี

๖.๑ จำนวนหลักสูตรที่มีการกำหนดระดับความเช่ยี วชาญ

ทางทหาร (Skill Level)

๖.๒ จำนวนหลักสูตรท่ปี ระเมนิ ผลผเู้ รยี นตามระดับความ

เช่ยี วชาญทางทหาร (Skill Level) ตามหลกั เกณฑ์

หมายเหตุ
สถานศกึ ษาสามารถปรับกจิ กรรมให้สอดคล้องกบั นโยบายและบรบิ ทหรือแผนพฒั นาของสถานศกึ ษา
โดยปรับการกำหนดค่าเป้าหมายเป็นเชิงปริมาณ หรอื เชิงคณุ ภาพได้ ตามความเหมาะสม

๔๒

๒.๒ วิทยาลัยการทพั บก

ตารางที่ ๒ การดำเนินงานของ วทบ. ตามนโยบาย (นโยบายเฉพาะ)

งานและกจิ กรรม คา่ เปา้ หมาย การประเมินผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏบิ ตั งิ านแตล่ ะปี

๑. ปรับปรงุ และพัฒนาหลักสตู รอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ใหเ้ ป็นผ้นู ำทางยุทธการ ผู้นำทางยทุ ธศาสตร์ และผู้บรหิ ารระดบั สงู ของ ทบ.

อย่างเปน็ รปู ธรรม

๑.๑ ร้อยละของความกา้ วหนา้ ปรับปรุง และพฒั นาหลักสตู ร

อย่างตอ่ เน่ือง ให้มีระบบการประเมินความสามารถตาม

คณุ ลกั ษณะทีพ่ ึงประสงค์ของหลกั สตู ร เป็นผูน้ ำทางยทุ ธการ

ผูน้ ำทางยุทธศาสตร์ และผบู้ รหิ ารระดับสูงของ ทบ.

๒. ปรบั ปรงุ การจดั ทำเอกสารวิจัยเชิงยทุ ธศาสตร์ เพือ่ ให้เกดิ ประโยชน์สูงสุดตอ่ ทบ. ในการปอ้ งกันประเทศ ความม่ันคง

และการพัฒนาประเทศ

๒.๑ การปรบั ปรุงระเบยี บ/วิธีการการทำเอกสารวิจัยเชิงยุทธศาสตร์

๒.๒ จำนวนเอกสารวิจยั ฯ ทนี่ ำไปใชป้ ระโยชน์ต่อ ทบ. /ประเทศ

ด้านการปอ้ งกนั ประเทศ

๒.๓ จำนวนเอกสารวิจยั ฯ ทีน่ ำไปใช้ประโยชนต์ อ่ ทบ./ประเทศ

ด้านความมั่นคง

๒.๔ จำนวนเอกสารวิจัยฯ ทนี่ ำไปใชป้ ระโยชน์ตอ่ ทบ./ประเทศ

ด้านการพัฒนาประเทศ

๓. ปรับปรุงและพฒั นาหลักสตู ร ให้สามารถฝึกอบรมผ่านส่ืออิเลก็ ทรอนิกส์ (E-learning) สำหรับกำลงั พลทไ่ี มส่ ามารถเข้ารับ

การฝกึ อบรมแบบประจำได้เน่ืองจากตดิ ภารกิจสำคัญหรือมีราชการสนาม

๓.๑ รอ้ ยละความก้าวหน้าในการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา

หลกั สตู รฝกึ อบรมผ่านส่ืออิเลก็ ทรอนิกส์ (E-learning)

๓.๒ จำนวนนักศึกษาที่เขา้ รับการฝึกอบรมในหลกั สตู รท่ีปรับปรุง

๓.๓ จำนวนนักศกึ ษาที่ดำเนนิ การตามเง่อื นไขหลกั สูตร

และมมี าตรฐานตามหลักสูตรกำหนด

๔. พัฒนาองค์ความร้ใู หม้ ีความทนั สมยั เปน็ สากล กำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการแลกเปลย่ี นความรูก้ บั หนว่ ยงานความมั่นคง

และมิตรประเทศ

๔.๑ จำนวนองค์ความรู้ทพ่ี ฒั นาการดำเนินการปรบั ปรงุ และ

พฒั นาหลักสตู ร

หมายเหตุ
สถานศึกษาสามารถปรบั กจิ กรรมให้สอดคล้องกบั นโยบายและบริบทหรอื แผนพัฒนาของสถานศกึ ษา
โดยปรบั การกำหนดคา่ เป้าหมายเป็นเชงิ ปริมาณ หรอื เชิงคุณภาพได้ ตามความเหมาะสม

๔๓

๒.๓ โรงเรยี นเสนาธิการทหารบก

ตารางที่ ๓ การดำเนินงานของ รร.สธ.ทบ. ตามนโยบาย (นโยบายเฉพาะ)

งานและกจิ กรรม ค่าเปา้ หมาย การประเมินผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏบิ ตั ิงานแตล่ ะปี

๑. ปรับปรงุ และพัฒนาหลกั สูตรหลักประจำ ในระดบั ยทุ ธวิธีเปน็ หลักอย่างต่อเนอ่ื ง และให้สอดคล้องกบั ระดบั ยทุ ธการ

โดยใหม้ กี ารฝกึ ด้านยุทธวธิ ี การช่วยรบ การบรหิ ารในหน่วยระดับกองพลและกองทัพน้อย

๑.๑ รอ้ ยละของความกา้ วหน้าในการปรับปรงุ และพัฒนาหลกั สูตร

หลกั ประจำ (ตามนโยบาย ทบ.)

๑.๒ จำนวน/ร้อยละของความกา้ วหนา้ ในการนำเทคโนโลยที ีท่ นั สมยั

มาใช้ประกอบการฝกึ ศึกษาระบเุ ทคโนโลย.ี ......................

๒. ปรับปรุงระบบการวดั ผลการฝกึ อบรม และการศึกษาหลกั สูตรหลกั ประจำใหส้ ามารถสะทอ้ นวตั ถปุ ระสงค์โดยรวมของ

หลกั สตู ร

๒.๑ รอ้ ยละของความก้าวหน้าในการพฒั นาระบบการวดั ผลการ

ฝกึ อบรมทีส่ ะทอ้ นความสามารถของนายทหารนกั เรียน

รายบุคคลตามวัตถุประสงคห์ ลกั สตู ร ระบุระบบการวัดและ

ประเมินผล...............................

๒.๒ ความสำเรจ็ ของการนำระบบการวดั และประเมินไปใชเ้ ป็น

พืน้ ฐานในการเลือกตำแหนง่ ท่อี ยขู่ องนายหารนักเรยี น

๒.๓ ความสำเร็จของการนำการวัดผลและประเมนิ ผลไปใช้อยา่ ง

ยุติธรรมและมีมาตรฐาน ไมเ่ กดิ ข้อร้องเรยี น

๓. ปรบั ปรงุ หลกั สตู รใหส้ ามารถรองรับการจดั การฝึกอบรมผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนกิ ส์ (E-learning)

๓.๑ ร้อยละความก้าวหนา้ ในการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา

หลกั สตู รใหส้ ามารถรองรบั การจดั การฝึกอบรมผา่ น

สอื่ อิเลก็ ทรอนิกส์ (E-learning)

๓.๒ จำนวนวิชาท่ีมกี ารประเมนิ ผลการฝกึ อบรมผา่ น

ส่ืออิเล็กทรอนกิ สไ์ ด้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

๔. ปรับปรุงหลักสูตรนายทหารบกอาวุโส

๔.๑ ร้อยละของความก้าวหนา้ ในการปรับปรงุ และพัฒนา

หลกั สูตรนายทหารบกอาวุโส (ตามนโยบาย ทบ.)

๔.๒ ผลการประเมนิ การปฏบิ ัตงิ านของผสู้ ำเรจ็ การฝึกอบรม

หมายเหตุ

สถานศกึ ษาสามารถปรบั กจิ กรรมให้สอดคล้องกับนโยบายและบรบิ ทหรือแผนพฒั นาของสถานศกึ ษา

โดยปรับการกำหนดค่าเปา้ หมายเป็นเชิงปริมาณ หรือเชงิ คณุ ภาพได้ ตามความเหมาะสม

๔๔

๒.๔ โรงเรียนนายสบิ ทหารบก

ตารางท่ี ๔ การดำเนนิ งานของ รร.นส.ทบ. ตามนโยบาย (นโยบายเฉพาะ)

งานและกจิ กรรม ค่าเปา้ หมาย การประเมนิ ผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏิบตั ิงานแตล่ ะปี

๑. ให้การฝกึ อบรมแก่ นนส. เพื่อให้เปน็ ผมู้ ีคุณลกั ษณะผูน้ ำ มีความรู้วิชาการตามมาตรฐานหลักสูตร

๑.๑ ผลการประเมิน นนส. ด้านการมคี ณุ ลักษณะผู้นำท่ดี ี มีวินัย
มีความกล้าหาญ เสียสละ รู้แบบธรรมเนียมของ ทบ.
มอี ุดมการณ์ในการอทุ ศิ ตนเพอ่ื ชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์
และประชาชน อยใู่ นระดับดีมาก (รอ้ ยละ......ของ นนส.)

๑.๒ ผลการประเมินความรวู้ ชิ าชพี เฉพาะเหลา่ ของ นนส.ทบ.
แตล่ ะนาย จาก สายวิทยาการ อยใู่ นระดับด/ี เปน็ ไปตามเกณฑ์
มาตรฐานหลักสตู ร (รอ้ ยละ......ของ นนส.) โดย รร.เหล่า เปน็
ผู้ประเมนิ ให้ รร.นส.ทบ. ภายใน ๒ เดอื น หลังเข้ารบั การ
ฝึกอบรม ณ รร.เหล่า)

๒. หลักสตู รมคี วามทันสมัย มจี ำนวนวชิ าทบ่ี รรจใุ นหลักสูตร มีการจดั การเรียนรู้ และประเมินผลอย่างเปน็ ระบบ จำนวน....วชิ า

- ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย
- หนา้ ที่พลเมือง
- หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
- จิตอาสา
- การเงินสว่ นบคุ คล
- กฎหมาย
- องคค์ วามร้ดู ้านความม่ันคงปลอดภัยทางไซเบอร์
- ภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมิติต่าง ๆ ที่อาจส่งผล

กระทบต่อการปฏบิ ตั งิ านของ ทบ.

๓. จำนวนวิชาทจ่ี ัดการฝกึ อบรมแบบ Active Learning และ
มีการตดิ ตามพฒั นาการผู้เรียน/ผลลัพธก์ ารเรียนรู้อยา่ ง
เปน็ ระบบ

๔. พฒั นารปู แบบการประเมินผล โดยเนน้ การประเมนิ ผลการปฏบิ ัติเปน็ รายบคุ คลให้เป็นไปตามวัตถปุ ระสงค์ และ
เป้าหมายของหลกั สตู ร

๔.๑ รูปแบบการประเมนิ ผลที่พัฒนาขน้ึ และนำไปใช้

๔.๒ ประสทิ ธิภาพการใชร้ ูปแบบการประเมนิ ผลทีพ่ ฒั นาข้นึ ที่
ส่งผลตอ่ ผ้เู รียน

๕. นนส. สามารถขยายผลและพัฒนาองค์ความรู้ และ
ขีดความสามารถทางทหารทีฝ่ กึ อบรมจาก รร.นส.ทบ.
ไปใชใ้ นการฝกึ วชิ าทหารในระหว่างการฝึกอบรม ณ โรงเรียน
เหล่าสายวิทยาการต่อไปได้

๖. พฒั นาทักษะดา้ นดจิ ทิ ลั

๖.๑ กำหนดเกณฑ์ทกั ษะด้านดิจทิ ลั

๖.๒ ร้อยละของ นนส. ท่ีมีทกั ษะด้านดจิ ิทลั ตามเกณฑ์ทีก่ ำหนด

๗. พฒั นาทักษะด้านภาษาอังกฤษ

๗.๑ กำหนดเกณฑท์ กั ษะด้านภาษาองั กฤษ

๗.๒ ร้อยละของ นนส. ท่มี ีทกั ษะด้านภาษาองั กฤษตามเกณฑ์
ทก่ี ำหนด

๔๕

ตารางท่ี ๔ การดำเนนิ งานของ รร.นส.ทบ. ตามนโยบาย (นโยบายเฉพาะ)

งานและกิจกรรม คา่ เปา้ หมาย การประเมินผล

๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ การปฏบิ ตั ิงานแตล่ ะปี

๘. การส่งเสรมิ ครู อาจารย์ ไดม้ โี อกาสในการพฒั นาองค์ความรู้ และขีดความสามารถโดยส่งเขา้ ร่วมกจิ กรรม การฝึกอบรม

รวมทั้งสนับสนุนใหม้ ีวิทยฐานะ

๘.๑ จำนวนครู อาจารย์ ทสี ง่ เข้ารว่ มกิจกรรม พัฒนาความรู้

ขีดความสามารถและโดยการฝกึ อบรม และนำ

องคค์ วามร้มู าพัฒนาระบบการฝึกอบรมของ รร.

๘.๒ จำนวนครู อาจารย์ทมี่ วี ทิ ยฐานะ (นายทหารสญั ญาบตั ร)

๘.๓ จำนวนครู อาจารยท์ ี่มวี ทิ ยฐานะ (นายทหารประทวน)

๙. การดำเนนิ การจัดหาส่งิ อปุ กรณ์ เคร่อื งชว่ ยฝกึ ให้เพียงพอสำหรับการจดั การฝึกอบรมไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ รวมท้ังการ

ใชง้ านอปุ กรณ์ และเคร่ืองช่วยฝกึ ทีท่ นั สมยั เพอื่ ใหส้ ามารถตอบสนองต่อการฝึกปฏบิ ัติในการใช้งาน และการบำรุงรักษา

ยุทโธปกรณ์ทมี่ ีอยู่ในอัตราได้

๙.๑ โครงการจดั หาส่งิ อปุ กรณ์ฯ/อุปกรณท์ ต่ี ้องการจัดหา

๙.๒ ระบบการพัฒนาบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ และ

เครอื่ งชว่ ยฝกึ ทีท่ นั สมัย ท่ีมีอยู่ในอัตรา

หมายเหตุ
สถานศกึ ษาสามารถปรบั กจิ กรรมให้สอดคลอ้ งกบั นโยบายและบรบิ ทหรอื แผนพัฒนาของสถานศึกษา
โดยปรบั การกำหนดค่าเป้าหมายเป็นเชงิ ปริมาณ หรอื เชิงคณุ ภาพได้ ตามความเหมาะสม

๔๖


Click to View FlipBook Version