The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปีสพด.อ่างทอง (e-book)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สพด อ่างทอง, 2023-11-08 04:10:45

รายงานประจำปีสพด.อ่างทอง (e-book)

รายงานประจำปีสพด.อ่างทอง (e-book)

คำนำ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองจัดทำรายงานประจำปี 2566 เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานตามภารกิจ ของกรมพัฒนาที่ดินที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 เช่น การสนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วยหญ้าแฝก การส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน ส่งเสริมและถ่ายทอด ความรู้การผลิตและการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้เคมีทางการเกษตร โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการส่งเสริมเกษตรกร ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) การยกระดับและพัฒนาหมอดินอาสาเพื่อมีส่วนร่วม ปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน โครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น อีกทั้งกิจกรรมบูรณาการร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้ดำเนินการ สำเร็จตามวัตถุประสงค์พร้อมนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานแก่ผู้สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีจากความร่วมมือเป็นอย่างดีของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึง นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ สามารถนำไปปรับใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการ และต่อยอดในการส่งเสริม งานด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ตุลาคม 2566


สารบัญ หน้า สารบัญตาราง สารบัญรูป ประวัติสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 1 แผนผังสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 2 วิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาที่ดิน 3 ค่านิยมของกรมพัฒนาที่ดิน 3 หน้าที่ความรับผิดชอบ 4 อัตรากำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 4 บุคลากรสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 5 การแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน 7 ข้อมูลทั่วไปจังหวัดอ่างทอง 8 แผนงานโครงการประจำปี 2566 15 ผลการดำเนินงานโครงการประจำปี 2566 20 การติดตามผลการดำเนินงาน 56 กิจกรรมภายในสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 62 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 66 กิจกรรมร่วมกับจังหวัดอ่างทอง 71


สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 ลักษณะของเขตการปกครองและพื้นที่จำแนกตามอำเภอ 9 2 สถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศจังหวัดลพบุรี/1 (ปี พ.ศ.2536-2565) 11 3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดอ่างทอง 13


สารบัญรูป รูป หน้า1 ที่ตั้งและอาณาเขตของจังหวัดอ่างทอง 8 2 ชุดดินจังหวัดอ่างทอง 12 3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดอ่างทอง 14


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 1 ประวัติสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง กรมพัฒนาที่ดินได้มีนโยบายขยายการบริการด้านการพัฒนาที่ดินสู่ภูมิภาค ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา ด้านการเกษตร จังหวัดอ่างทองนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำที่มีสินค้าเกษตรในปริมาณสูง โดยเฉพาะข้าวซึ่งมีพื้นที่การเพาะปลูกจำนวนมาก แต่ยังขาดหลักวิชาการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความรู้ด้านการปรับปรุงดิน และการเพิ่มศักยภาพการใช้ที่ดิน เพื่อเพิ่มผลกำไรและคุณภาพทางการเกษตร และเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ และการพัฒนาอาสาด้านการพัฒนาที่ดิน หรือหมอดินอาสา รวมทั้งการบริการประชาชน เพื่อสนับสนุนนโยบาย ด้านการเกษตรของรัฐ โดยในปีงบประมาณ 2552กรมพัฒนาที่ดินได้มีประกาศจัดตั้งให้มีสถานีพัฒนาที่ดินขึ้นทั่วประเทศ รวมทั้งจังหวัดอ่างทองซึ่งได้รับการบรรจุแผน จึงจัดตั้งเป็น สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยกรมพัฒนาที่ดินได้จัดอัตรากำลังที่มีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งพนักงานอัตราจ้าง จำนวนหนึ่ง ปฏิบัติงาน ประจำสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองโดยขึ้นตรงกับส่วนกลาง โดยในระยะแรกได้อาศัยปฏิบัติการที่อาคาร ของสำนักงานสหกรณ์อำเภอเมืองอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ต่อมาในปีงบประมาณ 2552 ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายชัย สุวพันธุ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองอ่างทอง ได้บริจาคที่ดิน จำนวน 20 ไร่ ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เพื่อให้ก่อตั้งเป็นอาคารสำนักงานของสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง และกรมพัฒนาที่ดินได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานจนแล้วเสร็จ ในปีงบประมาณ 2553 และได้ใช้อาคารสำนักงานของสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน โดยปัจจุบันสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ตั้งอยู่ ด้านทิศตะวันตกของถนนสาย 309 (อ่างทอง -สิงห์บุรี) เลขที่ 56 หมู่ที่ 6 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 2 แผนผังสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ป้ายสถานีฯ บ้านพัก บ้านพัก อาคารเก็บพัสดุ อาคารสำนักงาน อาคารนิทรรศการ โรงเรือนเพาะชำ แปลงหญ้าแฝก โรงเรือนผลิตน้ำหมัก ศาลพระภูมิ สระเก็บน้ำ ป้อมยาม


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 3 วิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาที่ดิน “เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดิน อย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี2570” ค่านิยมของกรมพัฒนาที่ดิน TEAM For Soils (ทีมดี ดินดี) T - Teamwork : สร้างทีม E - Energetic : ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง A - Agile : คล่องแคล่ว M - Move Forward : มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 4 หน้าที่ความรับผิดชอบ 1. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และการปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการเกษตร/การใช้ที่ดิน ฯลฯ 2. ศึกษาทดลอง และถ่ายทอดผลการศึกษาทดลอง ผลงานวิจัยและให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ประชาชน องค์กร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 3. พัฒนาหมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตได้อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงและการมีส่วนร่วมของเกษตรกร 4. ปฏิบัติการอื่นๆ ตาม พ.ร.บ การพัฒนาที่ดิน และงานจากกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือที่ได้รับมอบหมาย อัตรากำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บุคลากรของสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง มีทั้งสิ้น 19 คน ประกอบด้วย 1. ข้าราชการ 8 คน 2. พนักงานราชการ 6 คน 3. พนักงานจ้างเหมา 5 คน อัตราก าลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานจ้างเหมา พนักงานราชการ 6 คน ข้าราชการ 8 คน พนักงานจ้างเหมา 5 คน


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 5 บุคลากรสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง นายนิลภัทร คงพ่วง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง นางสาวนาฏยา ปิตานุสร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ นางสาวสุชารีย์ วีระกุลพิริยะ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ นายณปภัช งามเนตร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน นายอภิวัฒน์ เขมะชิต นักวิชาการเกษตร ว่าที่ร้อยตรีหญิง อุบลรัตน์ เทพรักษ์ นักวิชาการเกษตร นางสาวเพชรดา ปิ่นวิเศษ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ (ปฏิบัติราชการ ณ สพด.สมุทรสาคร) นายพงษ์ศิลป์ อุ่นแก้ว เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน นางสุมาฆมาศ รวยทรัพย์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 6 ฝ่ายบริหารทั่วไป นางสาวบุญตา ทิพย์นำภา เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน นางปราณี เฉลยวาเรศ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นางสาวนวพร วิบูลย์ผล นักวิชาการเงินและบัญชี นางสาวยุพา บุญส่ง เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ นางสุดใจ วงษ์สวนน้อย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จ้างเหมาบริการ นางสาวเทพธิดา เขียวเปี่ยม พนักงานจ้างเหมา นายรุ่ง ผ่องผิว คนงาน นายนาฆิน คุณุทัย คนงาน นางสาวปริศนา บาลี แม่บ้าน นายธัญญา แมลงภู่ ยาม


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 7 การแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน พื้นที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน 1. นายณปภัช งามเนตร์ ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รับผิดชอบ อำเภอเมืองอ่างทอง 2. นางสาวนาฏยา ปิตานุสร ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ รับผิดชอบ อำเภอไชโย 3. นางสาวสุชารีย์วีระกุลพิริยะ ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ รับผิดชอบ อำเภอวิเศษชัยชาญ 4. นางสุมาฆมาศ รวยทรัพย์ ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ รับผิดชอบ อำเภอป่าโมก 5. นายพงษ์ศิลป์อุ่นแก้ว ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน รับผิดชอบ อำเภอโพธิ์ทอง 6. นายอภิวัฒน์เขมะชิต ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร รับผิดชอบ อำเภอแสวงหา 7. ว่าที่ร้อยตรีหญิง อุบลรัตน์ เทพรักษ์ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร รับผิดชอบ อำเภอสามโก้


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 8 ข้อมูลทั่วไปจังหวัดอ่างทอง ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดอ่างทองตั้งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 108 กิโลเมตร มีพื้นที่ ของจังหวัดประมาณ 968.37 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 605,232 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอท่าช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดกับอำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี รูปที่ 1 ที่ตั้งและอาณาเขตของจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 9 เขตการปกครอง ลักษณะของเขตการปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน คือ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย 41 ส่วนราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 11 หน่วยงาน และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 20 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 43 แห่ง ตารางที่ 1 ลักษณะของเขตการปกครองและพื้นที่จำแนกตามอำเภอ อำเภอ พื้นที่ (ตร.กม.) ลักษณะของเขตการปกครอง ตำบล หมู่บ้าน เทศบาล อบต เมืองอ่างทอง 102.846 14 81 3 8 วิเศษชัยชาญ 224.702 15 126 7 9 โพธิ์ทอง 219.414 15 110 5 9 ป่าโมก 80.854 8 47 1 6 ไชโย 72.326 9 51 2 3 แสวงหา 181.341 7 61 2 6 สามโก้ 86.889 5 37 1 2 รวม 968.372 73 513 21 43 ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดอ่างทอง (2564)


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 10 ลักษณะภูมิอากาศ 1. สภาวะอากาศทั่วไป โดยทั่วไปลักษณะอากาศของจังหวัดอ่างทองอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือปกคลุมในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดอ่างทองประสบกับ สภาวะหนาวเย็นและแห้ง กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝน ทำให้มีฝนและอากาศชุ่มชื้น 2. ฤดูกาล พิจารณาตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย แบ่งฤดูกาลของจังหวัดอ่างทองออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้ 2.1 ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงนี้แต่เนื่องจาก จังหวัดอ่างทองอยู่ในภาคกลาง อิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมในช่วงฤดูหนาว จะช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าสองภาคดังกล่าว โดยเริ่มมีอากาศหนาว ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป 2.2 ฤดูร้อน เริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลงคือประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึง กลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน 2.3ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประเทศไทย ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลาง และภาคเหนือเป็นลำดับในระยะนี้ ทำให้มีฝนตกชุกขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป เดือนกันยายนเป็นเดือน ที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปีและเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง 3. อุณหภูมิจังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดในภาคกลางและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง จึงมีอากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 28 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 22 -26 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 32 -34 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัด ในรอบปีส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวที่สุดในเดือนธันวาคม 4. ปริมาณน้ำฝน ฝนที่ตกในจังหวัดอ่างทองมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งเป็นฝนที่เกิดในฤดู มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่ และบางปีในช่วงฤดูฝนนี้อาจมีพายุดีเปรสชั่นผ่านเข้ามาในบริเวณ จังหวัดอ่างทองหรือใกล้เคียง ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้นอีก ปริมาณฝนรวมตลอดปีประมาณ 1,124.1 มิลลิเมตร และมีจำนวนวัน ฝนตกประมาณ 105 วันต่อปี เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 271.6 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกประมาณ 18 วันต่อปี


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 11 ตารางที่ 2 สถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศจังหวัดลพบุรี/1 (ปี พ.ศ.2536-2565) เดือน อุณหภูมิ (°ซ) ความชื้น สัมพัทธ์ (%) ปริมาณ น้ำฝน (มม.) จำนวน วันที่ฝนตก (วัน) ศักยภาพการ คายระเหยน้ำ (มม.) ปริมาณฝน ใช้การ/2 (มม.) ต่ำสุด สูงสุด เฉลี่ย ม.ค. 21.6 32.8 26.7 63.0 11.4 1.9 64.8 11.2 ก.พ. 23.4 34.4 28.2 65.0 10.2 1.7 63.6 10.0 มี.ค. 25.2 35.9 29.7 68.0 39.4 3.5 80.9 36.9 เม.ย. 26.0 36.6 30.4 69.0 84.9 6.3 81.9 73.4 พ.ค. 26.0 35.6 29.9 74.0 129.9 12.5 83.4 102.9 มิ.ย. 25.7 34.7 29.4 76.0 109.3 12.8 77.7 90.2 ก.ค. 25.4 33.9 28.8 77.0 126.1 14.6 78.1 100.7 ส.ค. 25.3 33.6 28.6 79.0 156.9 16.3 75.6 117.5 ก.ย. 25.1 33.0 28.2 82.0 271.6 18.3 67.8 152.2 ต.ค. 24.8 32.9 28.2 77.0 140.5 12.4 67.0 108.9 พ.ย. 23.6 32.8 27.7 67.0 36.1 3.7 67.8 34.0 ธ.ค. 21.6 32.0 26.4 61.0 7.8 1.2 71.9 7.7 เฉลี่ย 24.5 34.0 28.5 71.5 - - - - รวม - - - - 1,124.1 105.2 880.5 845.6 หมายเหตุ : /1 เป็นสถานีตรวจอากาศที่ใกล้พื้นที่มากที่สุด /2 จากการคำนวณโดยโปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0 ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2566)


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 12 ทรัพยากรดิน ทรัพยากรดินของจังหวัดอ่างทอง มีดินชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด 9 ชุดดิน ประกอบด้วย ชุดดินสิงห์บุรี (สัญลักษณ์ Sin) เป็นชุดดินที่พบมากที่สุดในจังหวัดอ่างทอง มีเนื้อที่ 248,099 ไร่ หรือร้อยละ 41.01 ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินนครปฐม (สัญลักษณ์ Np) มีเนื้อที่ 76,162 ไร่ หรือร้อยละ 12.58ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินชัยนาท (สัญลักษณ์Cn) มีเนื้อที่ 51,647ไร่ หรือร้อยละ 8.53ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินบางเลน (สัญลักษณ์ Bl) มีเนื้อที่ 27,115ไร่ หรือร้อยละ 4.48 ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินบางเขน (สัญลักษณ์ Bn) มีเนื้อที่ 22,779 ไร่ หรือร้อยละ 3.76 ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินอยุธยา (สัญลักษณ์ Ay) มีเนื้อที่ 19,336 ไร่ หรือร้อยละ 3.19 ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินสรรพยา (สัญลักษณ์ Sa) มีเนื้อที่ 16,032 ไร่ หรือร้อยละ 2.65 ของพื้นที่จังหวัด ชุดดินเชียงใหม่ (สัญลักษณ์ Cm) มีเนื้อที่ 15,920 ไร่ หรือร้อยละ 2.63 ของพื้นที่จังหวัด และชุดดินกำแพงแสน (สัญลักษณ์ Ks) พบน้อยที่สุด มีเนื้อที่ 5,897ไร่ หรือร้อยละ 0.97ของพื้นที่จังหวัด รูปที่ 2 ชุดดินจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 13 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เมื่อพิจารณาลักษณะของการใช้ประโยชน์จากที่ดินของจังหวัดอ่างทอง พบว่า มีสภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน ประกอบด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1. พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 92,537 ไร่ หรือร้อยละ 15.29 ของพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย/ชุมชน สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรม สุสาน ฯ 2. พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 453,166ไร่ หรือร้อยละ 74.87ของพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านเกษตรกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 พื้นที่นาข้าว มีเนื้อที่ 368,344 ไร่ หรือร้อยละ 60.86 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ นาข้าว 2.2 พืชไร่ มีเนื้อที่ 19,549 ไร่ หรือร้อยละ 3.23 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันเทศ 2.3 ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 1,240 ไร่ หรือร้อยละ 0.20 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ไม้ยืนต้นร้าง ไม้ยืนต้นผสม ยูคาลิปตัส สัก อินทผาลัม 2.4 ไม้ผล มีเนื้อที่ 41,095 ไร่ หรือร้อยละ 6.79 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง ขนุน กระท้อน 2.5 พืชสวน มีเนื้อที่ 9,986 ไร่ หรือร้อยละ 1.65 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชสมุนไพร 2.6 พืชน้ำ มีเนื้อที่ 242 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ บัว 2.7 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 5,447 ไร่ หรือร้อยละ 0.90 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ โรงเรือนร้าง โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก โรงเรือนเลี้ยงสุกร 2.8 สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีเนื้อที่ 7,263 ไร่ หรือร้อยละ 1.20 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ สถานที่ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้าง สถานที่เพาะเลี้ยงปลา 3. พื้นที่แหล่งน้ำ มีเนื้อที่ 29,708ไร่ หรือร้อยละ 4.91ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง บ่อน้ำในไร่นา 4. พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 29,821 ไร่ หรือร้อยละ 4.93 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ทุ่งหญ้า พื้นที่ลุ่ม บ่อดิน พื้นที่ถม ตารางที่ 3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดอ่างทอง ประเภทการใช้ที่ดิน เนื้อที่ ไร่ ร้อยละ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 92,537 15.29 พื้นที่เกษตรกรรม 453,166 74.87 พื้นที่นาข้าว 368,344 60.86 พืชไร่ 19,549 3.23 ไม้ยืนต้น 1,240 0.20


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 14 ตารางที่ 3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดอ่างทอง (ต่อ) ประเภทการใช้ที่ดิน เนื้อที่ ไร่ ร้อยละ ไม้ผล 41,095 6.79 พืชสวน 9,986 1.65 พืชน้ำ 242 0.04 ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 5,447 0.90 สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 7,263 1.20 พื้นที่น้ำ 29,708 4.91 พื้นที่เบ็ดเตล็ด 29,821 4.93 รวมทั้งหมด 605,232 100.00 หมายเหตุ : เนื้อที่คำนวณด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่มา : สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอ่างทอง (2566) รูปที่ 3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 15 แผนงานโครงการประจำปี 2566 ลำดับ กิจกรรม/โครงการ แผน / ผลการปฏิบัติงาน แผน ผล 1. กิจกรรมหลักที่ 6 ยกระดับการพัฒนาหมอดินอาสา เพื่อมีส่วนร่วมและศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน 6.1 อบรมหมอดินอาสา - ส่งเสริมกิจกรรมวันหมอดินอาสา 100 ราย 100 ราย - หลักสูตรที่ 2 ฝึกการปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึก หมอดินอาสาจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดลพบุรี 52 ราย 52 ราย - หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสา ด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น 3 ครั้ง/293 ราย 3 ครั้ง/293 ราย - ส่งเสริมข้อมูลวิชาการ (สถานี) 1 แห่ง 1 แห่ง 6.2 ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน - ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินในสถานีพัฒนาที่ดิน 1 แห่ง 1 แห่ง - ต่อยอดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน 2 แห่ง 2 แห่ง - ดูแลรักษาศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน ปี 2565 2 แห่ง 2 แห่ง 2. กิจกรรมหลักที่ 7 ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน - ส่งเสริมการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ 4,800 ราย 4,800 ราย - ผลิตน้ำหมักชีวภาพ 9,600 ขวด 9,600 ขวด - น้ำหมักชีวภาพ พด.2 (เพิ่มเติม) 9,000 ลิตร 9,000 ลิตร - น้ำหมักชีวภาพ พด.6 (เพิ่มเติม) 5,000 ลิตร 5,000 ลิตร 3. กิจกรรมหลักที่ 8 ปรับปรุงคุณภาพดินในพื้นที่ดินปัญหา 8.2 ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด - ส่งเสริมปูนเพื่อการเกษตร (โดโลไมท์) 150 ตัน 150 ตัน - ส่งเสริมการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด 300 ไร่ 300 ไร่ - จัดหาปูนเพื่อการเกษตร (โดโลไมท์) (เพิ่มเติม) 10 ตัน 10 ตัน - ส่งเสริมปูนเพื่อการเกษตร (โดโลไมท์) (เพิ่มเติม) 10 ตัน 10 ตัน - ส่งเสริมการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (เพิ่มเติม) 20 ไร่ 20 ไร่


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 16 แผนงานโครงการประจำปี 2566 (ต่อ) ลำดับ กิจกรรม/โครงการ แผน / ผลการปฏิบัติงาน แผน ผล 4. กิจกรรมหลักที่ 9 ฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 9.1 รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก - ผลิตหญ้าแฝกเพื่อปลูก 1,840,000 กล้า 1,840,000 กล้า - ผลิตหญ้าแฝกเพื่อส่งเสริม 728,000 กล้า 728,000 กล้า - ผลิตหญ้าแฝกเพื่อปลูก (เพิ่มเติม) 300,000 กล้า 300,000 กล้า - ผลิตหญ้าแฝกเพื่อส่งเสริม (เพิ่มเติม) 500,000 กล้า 500,000 กล้า 5. กิจกรรมหลักที่ 11 ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ - ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ (ต่อยอด) 1 แห่ง 1 แห่ง - ธนาคารปุ๋ยหมัก พด. 3 ตัน 3 ตัน - ธนาคารน้ำหมักชีวภาพ 4,000 ลิตร 4,000 ลิตร 6. กิจกรรมหลักที่ 12 ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทางการเกษตร 12.1 โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทางการเกษตร - พัฒนาเกษตรกรของกลุ่มเดิมเข้มแข็งส่งเสริมการใช้ สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี (ครัวไทยสู่ครัวโลก) 36 กลุ่ม 36 กลุ่ม 374 ราย 374 ราย 4,021 ไร่ 4,021 ไร่ 12.2 สนับสนุนปัจจัยการผลิตอินทรีย์ชีวภาพลดใช้สารเคมี ทางการเกษตร - ผลิตจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด 6 ตัน 6 ตัน - ส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน 1,200 ไร่ 1,200 ไร่ - เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดจากเกษตร (เพิ่มเติม) 10 ตัน 10 ตัน 12.3 ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก พด. 5 ตัน 5 ตัน - ผลิตปุ๋ยหมัก พด. (เพิ่มเติม) 140 ตัน 140 ตัน 12.4 การไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุในดิน 90 ไร่ 90 ไร่


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 17 แผนงานโครงการประจำปี 2566 (ต่อ) ลำดับ กิจกรรม/โครงการ แผน / ผลการปฏิบัติงาน แผน ผล 12.5 ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน - สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนใหม่ 1 โรงเรียน 1 โรงเรียน - ต่อยอดโรงเรียนเดิม (ปี 50 - 65) 8 โรงเรียน 8 โรงเรียน - หมู่บ้านปลอดภัยขยะอินทรีย์ต้นแบบ (Zero Waste) 1 แห่ง 1 แห่ง 7. กิจกรรมหลักที่ 13 ส่งเสริมเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) 13.2 การส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม - กลุ่มต่อยอดขั้นที่ 2 ปีแรก 1 กลุ่ม 7 ราย 8 ไร่ 1 กลุ่ม 7 ราย 8 ไร่ - กลุ่มต่อยอดขั้นที่ 2 (ซ้ำปีที่ 2-4) 3 กลุ่ม 18 ราย 71 ไร่ 3 กลุ่ม 18 ราย 71 ไร่ 8. กิจกรรมหลักที่ 14 พัฒนาคุณภาพดินในระบบส่งเสริมเกษตร แบบแปลงใหญ่ 14.1 จัดหาปูนเพื่อการเกษตร ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) 7 ตัน 7 ตัน 14.2 ส่งเสริมการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) 14 ไร่ 14 ไร่ 14.3 ผลิตปุ๋ยหมัก พด. 7 ตัน 7 ตัน 14.4 ส่งเสริมการทำ/การใช้น้ำหมักชีวภาพ 2,000 ลิตร 2,000 ลิตร 14.5 บริการวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำการจัดการ ดิน-น้ำ-พืช 6 ตัวอย่าง 6 ตัวอย่าง 14.6 ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาที่ดิน 2 ครั้ง 2 ครั้ง 9. กิจกรรมหลักที่ 16 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่ 16.1 สาธิตการปรับปรุงบำรุงดิน 16 ราย 16 ราย


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 18 แผนงานโครงการประจำปี 2566 (ต่อ) ลำดับ กิจกรรม/โครงการ แผน / ผลการปฏิบัติงาน แผน ผล 10. กิจกรรมหลักที่ 19 การบริหารจัดการทรัพยากรดินระดับตำบล 19.1 ปรับปรุง และขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล เพื่อรองรับเกษตร 4.0 - วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (PRA) 15 ตำบล 15 ตำบล -จัดทำรูปเล่มโครงการบริหารทรัพยากรดินระดับตำบล 15 ตำบล 15 ตำบล 11. กิจกรรมหลักที่ 26 ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ 26.1 สนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ 26.1.1 โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หนองระหารจีน ต.บ้านอิฐ อ.เมือง จ.อ่างทอง - สาธิตการทำการใช้น้ำหมักชีวภาพ 50 ไร่ 50 ไร่ - สาธิตการทำปุ๋ยหมัก พด. 30 ไร่ 30 ไร่ 26.1.2 โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สีบัวทอง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง - สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด 25 ไร่ 25 ไร่ - สาธิตการทำการใช้น้ำหมักชีวภาพ 50 ไร่ 50 ไร่ - สาธิตการทำปุ๋ยหมัก พด. 40 ไร่ 40 ไร่ 26.2 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 26.2.1 สนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาที่ดินให้กับ สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน - โรงเรียนใหม่ 2 แห่ง 2 แห่ง - โรงเรียนต่อยอด 2 แห่ง 2 แห่ง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 19 แผนงานโครงการประจำปี 2566 (ต่อ) ลำดับ กิจกรรม/โครงการ แผน / ผลการปฏิบัติงาน แผน ผล 12. กิจกรรมหลักที่ 30 พัฒนาเทคโนโลยีพัฒนาที่ดินในศูนย์ เรียนรู้การ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 30.1 ฐานเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการดิน 30.1.1 พัฒนาศักยภาพ ศพก. 7 ศูนย์ 7 ศูนย์ - พัฒนาฐานเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน 7 ฐาน 7 ฐาน - ปรับปรุงฐานข้อมูลความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน 7 ฐาน 7 ฐาน 30.1.2 สนับสนุนการให้บริการด้านการพัฒนาที่ดิน ใน ศพก. 7 ศูนย์ 7 ศูนย์ - สนับสนุนการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) 7 ครั้ง 7 ครั้ง - บริการตรวจวิเคราะห์ดิน 70 ราย 70 ราย 30.1.3 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้นำ และเกษตรกร ที่มาเยี่ยมชมศูนย์ - เข้าร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาที่ดิน 210 ราย 210 ราย - ถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีใช้ระบบสารสนเทศ เชิงพื้นที่ เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินเกษตรกร รายแปลง (LDD On Farm Land UsePlanning) 7 ครั้ง 7 ครั้ง - แนะนำ AI Chatbot กรมพัฒนาที่ดิน “คุยกับ น้องดินดี” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับอำนวย ความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ใช้ปฏิบัติงาน ในพื้นที่ 7 ครั้ง 7 ครั้ง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 20 ผลการดำเนินงานโครงการประจำปี 2566


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 21


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 22 งานวันดินโลก (World Soil Day 2022) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง จัดงานวันดินโลก (World Soil Day 2022) ภายใต้หัวข้อ soil: where food begins อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน ในวันที่ 14 ธันวาม 2566 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดการดิน และการแก้ไขปัญหา โดย นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้า ส่วนราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้นำชุมชน คณะครู นักเรียน หมอดินอาสา และเกษตรกร เข้าร่วมงาน ณ สถานีพัฒนาที่ดิน อ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 23 การให้บริการสารบำบัดน้ำเสีย จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 ในพื้นที่ประสบอุกภัยหลังน้ำลด สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ร่วมกับหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้บริการ สารบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นเหม็นซุปเปอร์ พด.6 ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ในระยะหลังน้ำลดที่เริ่มเน่าเสีย ในบริเวณบ้านเรือนประชาชน ชุมชนต่าง ๆ และหน่วยงานราชการ เป็นต้น เพื่อเป็นการบรรเทา ภาวะความเดือดร้อนจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ ภาวะปกติ


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 24 โครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 3 : การพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองจัดอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 3 การพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสา ด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น มีการบรรยาย ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และเปิดโอกาสให้หมอดินอาสาได้เสนอแนะความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่หมอดินอาสา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตนเองและนำไปเผยแพร่ ให้กับเกษตรกรทั่วไป จัดอบรม ณ ห้องประชุม สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 25 โครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 3 : การพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองจัดอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบท ของท้องถิ่น หลักสูตร 3 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินให้กับหมอดินอาสา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างหมอดินอาสากับเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ณ ห้องประชุมสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 26 โครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 2 : การฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินโครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 2 การฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหมอดินอาสามืออาชีพที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน พัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสา ด้านการเกษตร โดยให้สามารถเข้าถึงวิธีการ รูปแบบของการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในการพัฒนาพื้นที่การเกษตร ของตนเอง ณ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 27 โครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 2 : การฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินโครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตร 2 การฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ โดยมีการศึกษาดูงาน ในพื้นที่ของเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหมอดินอาสามืออาชีพ ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน พัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร และสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ การเกษตรของตนเอง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ และความยั่งยืนต่อไป ณ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดินจังหวัดลพบุรี


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 28 กิจกรรม วันหมอดินอาสา ประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง จัดงานวันหมอดินอาสาประจำปี 2566 ภายใต้กรอบแนวคิด “หมอดินอาสา นำพาการผลิต พิชิตตลาด ” โดยกรมพัฒนาที่ดิน กำหนดให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันหมอดินอาสา เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่หมอดินอาสาที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสาธารณชนมาอย่างยาวนาน และเป็นการสร้างกิจกรรม เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างหมอดินอาสา และเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ณ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 29 โครงการพัฒนาระบบ E- service ข้อมูลคุณภาพดินระดับประเทศ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองจัดอบรมหมอดินอาสาต้นแบบการวิเคราะห์ดินและการบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการวิเคราะห์ดินที่มีความสะดวก รวดเร็วและเข้าถึงผู้เข้ารับบริการมากขึ้น หมอดินอาสาต้นแบบฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ดินด้วยชุดตรวจสอบดินภาคสนาม และฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูล ในระบบออนไลน์โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตลอดหลักสูตรการฝึกอบรม ณ ห้องประชุมสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 30 กิจกรรม เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่การเกษตรจังหวัดอ่างทอง เพื่อนำมาวิเคราะห์ ธาตุอาหารพืชในดิน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล สำหรับให้คำแนะนำในการฟื้นฟู ทรัพยากรดิน และให้คำแนะนำในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 31


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 32


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 33 โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางกลาง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางกลาง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง โดยมีแผนการดำเนินงานสาธิต การผลิตปุ๋ยหมัก จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 และการใช้พืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นต้น 1. สาธิตการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช จำนวน 50 ไร่ 2. สาธิตการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 40 ตัน 3. สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด จำนวน 25 ไร่


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 34 โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หนองระหารจีน ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หนองระหารจีน ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โดยมีแผนการดำเนินงานสาธิตการผลิตปุ๋ยหมัก จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 30 ตัน การผลิตน้ำหมักชีวภาพ จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 50 ไร่ เพื่อใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในบริเวณพื้นที่การเกษตรในโครงการ และเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ปลอดภัย ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค 1. สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 50 ไร่ 2. สาธิตการผลิตปุ๋ยหมัก จำนวน 30 ตัน


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 35 โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (กรมการข้าว) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้กับสมาชิกผู้เข้าร่วม โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ การเกษตรของตนเองได้ โดยได้ดำเนินการในพื้นที่ แปลงใหญ่นาข้าว ตำบลหนองแม่ไก่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และแปลงใหญ่นาข้าว ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ กิจกรรม ไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและแร่ธาตุในดิน


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 36 โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (กรมส่งเสริมการเกษตร) โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (กรมส่งเสริมการเกษตร) ปีงบประมาณ 2566 มีแผนงาน จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของเกษตรกรรายอื่น และในพื้นที่การเกษตรของตนเองได้ ดำเนินการในพื้นที่ แปลงใหญ่มะม่วง หมู่ 3 ตำบลสาวร้องไห้ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และแปลงใหญ่ส้มโอ ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 37 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและการใช้สารอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 38 โครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ร่วมบูรณาการ งานวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดอ่างทอง พร้อมทั้งให้การต้อนรับ นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ในการเข้าเยี่ยมชม กิจกรรมโครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ของสถานี พัฒนาที่ดินอ่างทอง ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ที่จัดตั้งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานจากส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนเกษตรกรทั่วไปที่สนใจทั้งในและนอกพื้นที่ จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 39 โครงการพัฒนาเกษตรกรของกลุ่มเดิมเข้มแข็งส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี (ครัวไทยสู่ครัวโลก) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง สนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการผลิต และการใช้สารอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ในการลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 40 โครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน โดยส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่แปลงเกษตรของโรงเรียน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับนักเรียนถึงการทำการเกษตร อย่างปลอดภัย มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร กากน้ำตาล พืชสมุนไพรไล่แมลง และเมล็ดพันธุ์ผัก เป็นต้น


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 41 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) กิจกรรม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ให้แก่สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้นำ ปัจจัยการผลิตไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตร เช่น การผลิตปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 การผลิตน้ำหมักชีวภาพ จากสารเร่ง พด.2,7 เป็นต้น


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 42 โครงการรณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก (เพื่อปลูก) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก (เพื่อปลูก) ตามแผนงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และการฟื้นฟูทรัพยากรดินและรักษาสภาพแวดล้อม ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 43 โครงการรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง จัดกิจกรรมรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้ทุกภาคส่วน ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมกันนี้ได้สนับสนุนพันธุ์กล้า หญ้าแฝกให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยมี นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการภายในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน คณะครู นักเรียน หมอดินอาสาและเกษตรกร เข้าร่วมงาน ณ บริเวณแปลงขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 44 กิจกรรม ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง ดำเนินกิจกรรมปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) โดยการสนับสนุนปูน (โดโลไมท์) ให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรมีสภาพเป็นดินกรด


รายงานประจำปี 2566 สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง 45 โครงการปุ๋ยหมัก พด. สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทองดำเนินการผลิตปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมัก ในการปรับปรุงบำรุงดินโดยสนับสนุนให้กับกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายต่างๆ ของสถานีพัฒนาที่ดิน หน่วยงานราชการ หมอดินอาสา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่การเกษตรของจังหวัดอ่างทอง


Click to View FlipBook Version