The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jap-2015, 2021-09-16 12:52:57

E - book

E - book

นิทรรศการสินค้า
และบริการในท้องถิ่น

จากถั่วเน่า

นิทรรศการสินค้าและบริการในท้องถิ่นจากถั่วเน่า

ประวัติความเป็นมา
ถั่วเน่า เป็นอาหารพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวล้านนาหรือทางภาคเหนือ ทำมากนับตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นอาหารที่ได้จากวิธีถนอมอาหารถั่วเน่าทำจาก
ถั่วเหลืองที่ผ่านการต้มสุกและปรุงรสชาติด้วยเกลือ พริกย่างป่น ทิ้งไว้ 2-3 วันจนมีกลิ่นและมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม และมีรสชาติเค็ม เค็ม ชาวล้านนา
ส่วนใหญ่จะใช้ถั่วเน่าแทนกะปิ การนำ ถั่วเน่าที่ผ่านจากการหมักโดยถั่วที่เริ่มเปื่อยยยุ่ เรียกว่า “ถั่วเน่าซา” นำ ไปคั่วหรือผัดใส่ไข่และหอมแดงแต่ ถ้า
นำ ถั่วเน่าซา มาโขลกหรือบดให้ละเอียดจนกลายเป็นสีไข่ไก่แล้วนิยมนา มาห่อใบตองปิ้งจะเรียก “ถั่วเน่า เมอะ” และถ้านำ “ถั่วเน่าเมอะ” มาทำเป็น
แผ่นวงกลมตากแห้งแล้วเป็นสีน้าตาลก็จะเรียก“ถั่วเน่าแข็บ ”และใน ปัจจุบันถั่วเน่าแขบก็ยังมีการพัฒนาและนำมาแปรรูปเป็นถั่วเน่าผง เพื่อความ
สะดวกในการปรุงรสของอาหารถั่ว เน่าจัดเป็นอาหารพื้นเมืองที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา บางคนเชื่อว่า ถั่วเน่ามีต้น
กำเนิดมาจากไทใหญ่ในอดีตถั่วเน่าเคยเป็นของบรรณาการอันทรงคุณค่าที่พญาละคอน (เจ้าเมืองลำปาง ละคอน หมายถึงลำปาง)

เคยเอาถั่วเน่าถวายเป็นบรรณาการแก่พญาแม่กุแห่งเมืองนพบุรีเชียงใหม่ ทำให้เมือง ละคอนไม่ถูกทัพเชียงใหม่และ
ทัพเงี้ยวเมืองนายเมืองเชียงทองตียึดเมืองเพราะพึงพอใจในรสชาติถั่วเน่า ชาวพม่า ก็รับประทานถั่วเน่า เรียกว่า แบโบ๊ะ โดยทำเป็นแผ่นๆ ใส่
พริกป่น กัดกินมีรสชาติเผ็ด คนญี่ปุ่นยังมีอาหาร พื้นเมืองชนิดหนึ่งที่เรียกว่า นัตโตะ (natto) ซึ่งมีลักษณะคล้ายถั่วเน่าของคนล้านนา นอกจากนี้
ยังมีอาหารที่มี ลักษณะคล้ายถั่วเน่าของชาวเนปาลและอินเดียคือคีเนมา (kenema) และ chungkookjang เครื่องปรุงรสของ 2 ประเทศเกาหลี
การทำ ถั่วเน่าจะใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นนา มาแปรรูปรับประทานกันในครอบครัว ญาติพี่น้อง ถ้าทำเยอะก็สามารถแบ่งขายได้ที่สำคัญถั่วเน่า
เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ จากโปรตีนที่ได้จากถั่ว เป็น อาหารที่ได้มาจากธรรมชาตินำมาเป็นเครื่องปรุงหรือทำแปรรูปทำกับอาหารพื้น
เมืองได้หลายอย่าง เช่น ใส่ใน น้าพริก สำหรับขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำพริกอ่องและแกงต่าง ๆ ถั่วเน่า เป็นอาหารที่ชาวบ้านทางภาคเหนือชื่นชอบ
และมักมีไว้ติดในครัวเช่นเดียวกับกะปิของคนภาคกลาง และปลาร้าของคนอีสาน ถั่วเน่าเป็นเครื่องปรุงรสและสามารถรับประทานเป็นกับข้าว
หรือใช้แก้ลมกับอาหารชนิดอื่นๆ

วัตถุดิบและอุปกรณ์

1. ถั่วเหลือ 2. เกลือ
3. น้ำ 4. ตะกร้า
5. ครกและสาก 6. หม้อ
7. ไม้คน 8. ใบตอง
9. ตอก 10. กระสอบ

วิธีการทำ

1. ล้างถั่วเหลืองให้สะอาด นำไปต้มในหม้อไฟพอดี เติมน้ำเรื่อยๆใช้เวลา 1 วัน 1 คืน จนถั่วเปื่อย
2. นำถั่วเหลืองขึ้นจากน้ำที่กำลังร้อนๆนำลงตะกร้าที่ตรียมไว้เพื่อหมัก 3 วัน 3 คืน จนถั่วเหลืองหมักขึ้นราและมีกลิ่น
3. นำไปตำในครกจนแหลกพร้อมใส่เกลือลงไปพอประมาณ
4. นำถั่วเหลืองที่ตำละเอียดบรรจุลงในใบตองใช้ตอกเส้นมัดให้แน่น
5. นำไปอย่างบนเตาไฟอ่อนๆประมาณครึ่งวันจนมีกลิ่นหอม
6. นำไปประกอบอาหารได้

หมายเหตุ : เก็บไว้ได้ประมาณหนึ่งเดือน

LET'S CHECK 1. .C Personification
YOUR
KNOWLEDGE! This example is not a metaphor or simile
because the wind is not being compared to
anything.

There is nothing in the sentence that suggests
it means the opposite of what it being stated,
so the answer is not irony.

It is an example of personification, which is
when you give human attributes or qualities to
non-living things or concepts. The wind cannot
literally "whisper", because it isn't a person.

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเน่า


Click to View FlipBook Version