ช้างเอราวัณ หรือ ช้างไอราวัต เจ้าแห่งช้างทั้งปวง ทรงพลังและ
อำนาจช้างทรงของพระอินทร์ มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ไอยราวัณ
ไอราวัณ ไอยราพต ไอยราวัต ในหนังสือวรรณคดีเรียกพญาช้าง
มงคลนี้ว่า เอราวัณเทพบุตร เพราะหนึ่งในตำนานช้างเอราวัณ
กล่าวว่า ช้างเอราวัณเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง บนสวรรค์ เมื่อ
พระอินทร์ต้องการจะเสด็จไปที่แห่งใด เอราวัณเทพบุตร จะจำแลง
แปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดใหญ่ มี 33 เศียร
แต่ละเศียรมีงา 7 งา งาแต่ละงายาวถึง 4 ล้านวา งาแต่ละงามีสระบัว 7
สระ แต่ละสระมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 7 กลีบ มี 7 เกสร
แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ 7 หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี 7 ชั้น แต่ละชั้นมี
7 ห้อง แต่ละห้องมี 7 บัลลังก์ แต่ละบัลลังก์มีเทพธิดาสถิต 7 องค์
เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ 7 นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมี
นางทาสีนางละ 7 ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประมาณ
190,248,432 นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ
13,331,669,031 นาง เศียรทั้ง 33 ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา
สถิตเศียรละ 1 องค์
อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ
ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา
ดั่งเพชรรัตน์ รูจี
งาหนึ่ งเจ็ดโบกขรณี สระหนึ่ งย่อมมี
เจ็ดกออุบลบันดาล
กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา
กลีบหนึ่ งมีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา
แน่ งน้ อยลำเพานงพาล
นางหนึ่ งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์
ล้วนรูปนิ รมิตมายา”
(บทละครรามเกียรติ์ : รัชกาลที่ 2)