The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

-วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ตาราง 9 ช่องเพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ในรายวิชาพลศึกษา
โดยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by rattanai.r, 2022-09-15 02:45:02

1.6 การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

-วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ตาราง 9 ช่องเพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ในรายวิชาพลศึกษา
โดยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)

เอกสารประกอบการประเมิน ว.PA

ขอ้ ตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตาํ แหนง่

ด้านท่ี ๑. ด้านการจดั การเรยี นรู้

ตัวชี้วัดท๑่ี .๖ การศกึ ษาคน้ ควา้ วเิ คราะห์ สังเคราะห์
เพ่อื แก้ปัญหาหรอื พฒั นาการเรยี นรู้

วาท่ีเรือตรีรัฐนัย รื่นกมล ร.น.

- ตําแหนง่ ครู -

โรงเรียนบางปะหัน

สาํ นกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรอี ยธุ ยา
สํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน
กระทรวงศึกษาธกิ าร

การพัฒนารปู แบบการจดั การเรยี นรู้ โดยใชต้ าราง 9 ชอ่ ง ดว้ ยการจัดการเรียนรู้
แบบสาธิต (Demonstration Method) ในรายวชิ าพลศกึ ษา เพ่อื แก้ปัญหาการเคลอ่ื นไหว

ของนักเรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 4 ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564

ว่าท่ีเรือตรรี ัฐนัย ร่ืนกมล ร.น.
ตำแหนง่ ครู

โรงเรยี นบางปะหัน
สังกดั สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษามัธยมศกึ ษา พระนครศรีอยธุ ยา

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของปญั หา
การออกกำลังกายเป็นปจั จัยหนึ่งท่มี ุ่งพัฒนาในตวั บุคคลใหม้ ีคุณภาพและศักยภาพทัง้ ทางดา้ น ร่างกาย

จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งมีระเบียบวินัยสามรถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ได้อย่างเหมาะสม วิชาพลศึกษาเป็นวิชาที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ทุกๆ คนเช่นเดียวกับวิชาการศึกษา อื่นๆ
แต่วิชาพลศึกษามีลักษณะแตกต่างจากวิชาอื่น คือเป็นการศึกษาที่อาศัยกิจกรรมทางกายเป็นสื่อ เช่น
การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ โดยผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมพลศึกษาต่างๆ
การสอนพลศึกษา ในปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากการสอนพลศึกษาสมัยก่อนกล่าวคือ
การสอนพลศึกษาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นักเรียนมีทักษะกีฬาต่างๆ ซึ่งถ้าผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้
นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมแล้วจะช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะกีฬาและสามารถเล่นได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพและทำให้มมี าตรฐานสงู ขึ้นได้

ความหมายของทักษะ
ทกั ษะหมายถงึ
1. การกระทำท่มี ุง่ ไปสกู่ ารผลิตกระบวนการการเคลอ่ื นไหวทม่ี ีเทคนิคท่ีดี
2. การกระทำหรือระบบการกระทำไปสเู่ ปา้ หมายท่ีตัง้ ไว้
3. ความสามารถในการเรียนรู้ที่นำไปสู่ผลที่ค่อนข้างจะแม่นยำด้วยเวลาหรือพลังงานที่น้อย
ท ั ก ษ ะ เ ก ิ ด จ า ก ก า ร ก ร ะ ท ำ บ ่ อ ย ๆ ห ร ื อ ท ำ ซ ้ ำ ใ น ร ู ป แ บ บ ข อ ง ก า ร ร ั บ ร ู ้ ต ่ อ ส ิ ่ ง เ ร้ า

ตำแหน่งท่าทางของร่างกาย และเวลาในการตอบสนองอย่างต่อเน่ื องในการเพิ่มทักษะ
ก่อนอื่นจะต้องทราบกลไกที่ถูกต้องในการเคลื่อนไหว และต้องผ่านการฝึกซ้อมหลายๆ ครั้ง
หลงั จากนัน้ จงึ เพิม่ การตดั สินใจเกย่ี วกบั ความเร็ว ระยะทาง เวลา และการพฒั นาสถานการณข์ องกจิ กรรมน้นั ๆ

โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลนั้นนักกีฬาที่ดีจะต้องประกอบด้วย การมีทักษะพื้นฐานที่ดีเป็นองค์
ประกอบสำคัญที่นักกีฬาวอลเลย์บอลจะต้องได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญเฉพาะตัวจะต้องมีการพัฒนา
มาจากทักษะ เบื้องต้น ได้แก่ การเสิร์ฟ การรับบอล การตั้งลูก การสกัดกั้นและการตบ ทักษะวอลเลย์บอล
จงึ เปน็ องคป์ ระกอบ ท่ีสำคัญในการบง่ ชี้ความสามารถในการเรยี นวอลเลย์บอลการจดั การเรียนการสอนทักษะ
กฬี าวอลเลย์บอล นอกจากครูผสู้ อนจะตอ้ งมคี วามรู้ ความเขา้ ใจและมีประสบการณใ์ นการถา่ ยทอด
ความร้แู ละทักษะกฬี าให้แกผ่ ูเ้ รียน ไดอ้ ย่างถกู ตอ้ งแล้วจำเปน็ จะต้องคำนึงถงึ องคป์ ระกอบสำคัญ
ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นก็คือความถี่หรือจำนวนครั้ง ความนานหรือ ระยะเวลา ความหนักเบา
ความยากง่ายในเนื้อหาแต่ละทักษะที่แตกต่างกันซึ่งครูผู้สอน จะต้องจัดให้ สอดคล้องเหมาะสมกันจึงจะทำ

ให้การสอนทกั ษะกฬี าวอลเลยบ์ อลเกดิ ประสิทธิภาพและประสบผล สำเร็จตาม วตั ถปุ ระสงค์ที่วางไว้

วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั
1. เพ่อื ศกึ ษาระดบั การพฒั นาทักษะวอลเลยบ์ อลของนกั เรยี นระดบั ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4
2. เพื่อเปรียบเทียบการฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่

2 ปีการศึกษา 2564 ภายหลังพัฒนาด้วยรปู แบบการจัดการเรยี นรู้ โดยใช้ตาราง 9 ช่อง ด้วยการจัดการเรยี นรู้
แบบสาธิต (Demonstration Method)

กรอบแนวคดิ ในการวิจัย

ตวั แปรต้น ตัวแปรตาม

ตาราง 9 ช่อง ทกั ษะการเคลอื่ นไหวของนักเรียน
และการจดั การเรยี นรแู้ บบสาธิต
(Demonstration Method)

สมมตฐิ านของการวจิ ัย
ทักษะการเคลื่อนไหว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ภายหลังพัฒนาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ตาราง 9 ช่อง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต
(Demonstration Method) มผี ลการพัฒนาที่ดีขึ้น

นยิ ามศพั ท์
ทักษะวอลเลย์บอล หมายถึง ความสามารถที่ร่างกาย สามารถปฏิบัติหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง

ชำนาญ คล่องแคล่ว ทั้งนี้จากการฝึกฝน หรือประสบการณ์ที่ได้เคยปฏิบัติมาในการเล่น กีฬาวอลเลย์บอล
การเรียนรู้ทักษะ พื้นฐานให้สามารถปฏิบัติได้ เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะถ้าผู้เล่นมีความรู้
ความสามารถในการปฏบิ ตั ทิ กั ษะอยา่ งคล่องแคลว่ และถกู ต้องนำไปสกู่ ารเรียนรูท้ ักษะในช้นั สงู ตอ่ ไป

การรับ หมายถึง การรับลูกไม่ให้ตกพื้นโดยใช้แขนทั้งสองข้างรับลูกให้กระทบแขนพร้อมๆ กัน
รับลกู ให้ อยูใ่ นระดับระหว่างกลางแขน

การเซท็ หมายถงึ การเล่นลกู วอลเลย์บอล โดยใช้น้วิ มอื ท้งั สองขา้ ง หรอื นิ้วมอื ข้างเดยี วบังคบั หรอื สง่ ลูก
วอลเลย์บอลใหไ้ ปในทิศทางท่ตี ้องการ

การตบ หมายถึง เปน็ วธิ ีการรกุ ที่รุนแรง ฝา่ ยท่ีครอบครองลกู วอลเลย์บอลโดยแบมอื หรอื กำมือตีลูก
วอลเลย์บอล

ความถี่ หมายถงึ จำนวนครง้ั ที่ใชใ้ นการเรยี น / สปั ดาห์

บทที่ 2

แนวคิดและทฤษฎีทีเ่ กยี่ วขอ้ ง

1. ทกั ษะกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ คือ การเล่นลูกสองมือล่าง (Under)
การเล่นลูกสองมือบน (Set) การเสิร์ฟ (Serve) การตบ (Spike) การสกัดกั้น (Block) และ นอกจากนี้ ปัญจะ
จติ โสภี (2526 : 14-37) ไดแ้ บง่ ทักษะ ของกฬี าวอลเลยบ์ อลไว้ 2 ส่วน คือ
1) ทักษะและเทคนิคขั้นพื้นฐานเป็นบทเรียนเริ่มต้น สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดวอลเลย์บอลเพื่อเป็นการ
วางรากฐานที่ถูกต้องของวอลเลย์บอลให้กับผู้เล่นที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้ทักษะและเทคนิคขั้นสูงต่อไป ทักษะ
และเทคนคิ ข้นั พ้นื ฐานของกฬี าวอลเลยบ์ อลประกอบดว้ ย

1.1 ท่าการทรงตวั เตรียมพร้อม
1.2 การเตรียมตัว
1.3 การสร้างความคุ้นเคย
1.4 การเลน่ ลกู มือบน
1.5 การเลน่ ลกู มือล่าง
1.6 การเสริ ฟ์

2) ทกั ษะและเทคนคิ ขนั้ สูงของกีฬาวอลเลย์บอล
ทกั ษะและเทคนิคขัน้ สงู ของกีฬาวอลเลยบ์ อล เป็นบทเรียนทีจ่ ะช่วยส่งเสรมิ ผเู้ ลน่ วอลเลยบ์ อลได้
ประสบความสำเร็จ ขั้นสูงสุดในการเล่นวอลเลย์บอลการเรียนรู้ทักษะและเทคนิคขั้นสูงสุดของกีฬา
วอลเลย์บอลให้บังเกิดผลดี ผู้เรียนจะต้องผ่านการฝึกทักษะและและเทคนิคขั้นพื้นฐานมาตามลำดับ
สำหรบั ทักษะและเทคนิคขน้ั สูงของกฬี า วอลเลยบ์ อลทสี่ ำคัญมอี ยู่ 4 ประการคือ

2.1 การตบ
2.2 การสกัดกน้ั
2.3 การป้องกนั
2.4 การเลน่ เปน็ ทมี

หลักการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของกีฬาวอลเลย์บอล เนวิลล์ (Neville, 1990 : 7) ได้กล่าวถึงหลักการ
เคลือ่ นไหวทัว่ ไปทน่ี ำมาประยกุ ต์ใช้กับทักษะกฬี าวอลเลยบ์ อลไว้ดงั นี้

1) เมื่อขณะเคลื่อนไหว ต้องให้ลูกอยู่ระหว่างผู้เล่นกับตาข่าย ยกเว้นผู้เล่นต ำแหน่งมือเซต
ทจี่ ะตอ้ งอยู่ระหวา่ ง ลกู บอลกับตาข่าย

2) ให้เคลอ่ื นไหวตามทิศทางลกู บอลตลอดเวลา
3) จะต้องเคลอื่ นไหวไปสูต่ ำแหนง่ การเล่นลกู บอลก่อนลกู บอลจะมาถึง

4) ควบคุมการเคลื่อนไหวไปหาลูกบอลด้วยเท้าเสมอ ท่าทางในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
มีความแตกตา่ งอยู่ 3 ระดบั คอื

4.1 ระดบั ตำ่ ผเู้ ลน่ จะตอ้ งพงุ่ ตวั ลม้ หรือม้วนกลงิ้ ไปกับพ้นื เพอื่ รับลูกจากการรกุ ของคตู่ ่อสู้
4.2 ระดับกลาง ผู้เลน่ จะตอ้ งเลน่ ลกู เสิร์ฟ การส่งลูกด้วยแขนท่อนล่าง และการเลน่ ลกู เหนอื
ศรี ษะท่ีใหไ้ ด้ผล
4.3 ระดบั สงู ท่าทางที่ใช้เลน่ เม่ือกระโดดตบรกุ คู่ต่อสู้ สกดั กน้ั และกระโดดเซต

บทที่ 3

ระเบยี บวธิ วี จิ ยั

ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ที่ยัง

ไม่เคยเรียนวิชาวอลเลย์บอลมาก่อนจำนวนทั้งหมด 2 ห้อง นักเรียนทั้งหมด 60 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างง่าย
( Simple Random Sampling ) ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน รวม 2 กลุ่ม เป็น 60 คน
แล้วใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอลของ เฉลิมชัย บุญรักษ์ (2547) นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นำมาจัดกลุ่มนักเรียนด้วยวิธีการแบ่งกลุ่มนักเรียนที่มีทักษะวอลเลย์บอล
เก่งสลับกับนักเรียนที่มีทักษะวอลเลย์บอลอ่อน แล้วทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t – test (t-test
Independent) จนแตล่ ะกลุ่มมีความสามารถก่อนการเรยี นไมแ่ ตกตา่ งกนั การกำหนดระยะเวลาในการเรียน

กลมุ่ ที่ 1 เรยี นทักษะพ้ืนฐานสัปดาหล์ ะ 1 ครัง้ ๆ ละ 1 ชวั่ โมง 30 นาที เป็นเวลา 4 สปั ดาห์
กลมุ่ ท่ี 2 เรียนทกั ษะพ้นื ฐานสัปดาหล์ ะ 3 ครงั้ ๆ ละ 30 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กระบวนการทดลอง

เคร่อื งมอื ในการวิจัย
1. ศกึ ษาคน้ คว้าจากตำรา คมู่ อื เอกสารและงานวจิ ัยท่เี กีย่ วข้องกับทกั ษะกฬี าวอลเลยบ์ อล
2. วิเคราะห์เน้อื หาการสอนทกั ษะกีฬาวอลเลย์บอลทีเ่ ปน็ ทกั ษะพนื้ ฐานในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
3. สร้างโครงการสอนกฬี าวอลเลย์บอลใหส้ อดคล้องกบั เนอื้ หาจุดประสงค์การเรยี นรู้ โดยปรึกษา

ผเู้ ช่ยี วชาญ
4. นำโครงการสอนกีฬาวอลเลย์บอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญกีฬาอลเลย์บอล จ ำนวน 3 ท่าน

พิจารณาเพ่ือความเหมาะสม
5. ปรับปรุงแก้ไขโครงการสอนกีฬาวอลเลย์บอลให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ

ตรวจอกี ครง้ั เพื่อความสมบูรณ์
6. นำโครงการสอนท่ปี รับปรุงแกไ้ ขไปใช้กับกล่มุ ตัวอยา่ งท้งั 2 กลมุ่

แบบทดสอบทกั ษะกีฬาวอลเลย์บอล
ผ้วู ิจยั ใช้แบบทดสอบทกั ษะกีฬาวอลเลย์บอลของ เฉลมิ ชยั บุญรกั ษ์ (2547) โดยนำมาปรับปรุงให้ เหมาะสมกบั
นกั เรยี นระดบั ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 เป็นแบบทดสอบทกั ษะการเลน่ วอลเลยบ์ อล 3 แบบ ดังนี้
1. แบบทดสอบทกั ษะการเลน่ ลูกสองมอื ลา่ งกระทบผนัง
2. แบบทดสอบทกั ษะการเลน่ ลูกสองมอื บนกระทบผนัง
3. แบบทดสอบทักษะการเสริ ฟ์ ลกู ข้ามตาข่าย

โดยหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability ) แบบทดสอบของ เฉลิมชัย บุญรักษ์ (2547 ) ที่นำมาปรังปรุง
โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากผลคูณของคะแนนโดยวิธีของเพียร์สัน( Pearson’ s Product – Moment
Correlation Coefficient )

การรวบรวมข้อมูล
1. ทำหนังสือเพือ่ ขออนญุ าตผู้ปกครองเพอื่ ใชน้ ักเรียนเป็นกลมุ่ ตวั อย่างในการทำวจิ ยั ในครั้งนี้
2. แผนการสอนและแบบทดสอบทักษะทั้ง 3 แบบที่นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ ผู้วิจัยนำส่งและจัดเก็บ

ดว้ ยตนเอง
3. นำแบบทดสอบทักษะการเล่นวอลเลย์บอลมาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียนเพื่อแบ่งกลุ่ม

ตัวอย่างทั้ง 2 กลุม่ ใหม้ ีทกั ษะไม่แตกต่างกนั
4. นำแผนการสอนการเล่นวอลเลย์บอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปใช้สอนกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม โดยอธิบาย

รายละเอียด เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและขั้นตอนการปฏิบัติของแบบทดสอบให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจซ ง่ึ ผู้วิจัย
ได้ดำเนินการ และเกบ็ รวบรวมข้อมลู ด้วยตนเอง

การเก็บรวบรวมขอ้ มลู
1. เก็บขอ้ มลู ของคะแนนจากรายการทดสอบทกั ษะการเลน่ วอลเลยบ์ อล กอ่ นการเรยี น ( Pre – Test )
2. เกบ็ ขอ้ มลู ของคะแนนจากรายการทดสอบทกั ษะการเลน่ วอลเลย์บอล หลงั การเรียน ( Post – Test )
3. นำขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากการทดสอบมาวิเคราะห์ แปลผลเพ่อื นำไปใช้ในการสรปุ และอภปิ รายผลการวิจยั

การวเิ คราะหข์ ้อมลู ผ้วู ิจัยวเิ คราะหข์ อ้ มลู ของผลการฝึกทกั ษะวอลเลยบ์ อลดว้ ยความถีท่ ่ตี า่ งกันของ กลมุ่ ทดลองท่ี 1
และ 2 ดังน้ี

1) วิเคราะห์ข้อมูลผลการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยการฝึกทักษะพื้นฐาน
วอลเลย์บอล 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ด้วยการหาเฉลี่ย (Mean)
คา่ ส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความแตกต่างของผลการฝึกทักษะวอลเลย์บอลด้วยค่า t –
test

2) วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ที่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1
ด้วยการฝึก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที และกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วย การฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ
30 นาที ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีด้วยการหาเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
และค่าความแตกต่างของผลการฝึกทักษะวอลเลย์บอล ด้วยค่า t – test ผู้ วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
สำเร็จรปู ชว่ ยในการวิเคราะหข์ ้อมูล

บทที่ 4

สรุปผลการวจิ ยั

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพ่ือ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ความถี่ต่างกัน วิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบางปะหัน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูล จากกลุ่มทดลองที่ 1 และ ซึ่งเป็นแบบฝึกทักษะวอลเลยบ์ อล
ด้วยความถี่ต่างกัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาหาค่าเฉล่ีย
(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐาน ด้วยค่าสถิติ t – test
ผลการวิเคราะหข์ อ้ มูล ผูว้ ิจัยได้นำเสนอตามวัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย ดังต่อไปน้ี

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาแบบฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันที่ส่งผลต่อความ
สามารถในการเลน่ กีฬาวอลเลยบ์ อลของนกั เรยี นชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 4 แบง่ ออกเปน็ 2 ตอน คอื

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ ของกลุ่ม ทดลองที่ 2
เป็นการฝึก 3 ครง้ั ต่อสปั ดาห์ คร้ังละ 30 นาที รวมเปน็ เวลา 1 ชวั่ โมง 30 นาที

ตอนที่ 2 เปรียบเทียบการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลยบ์ อลด้วยความถี่ที่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1 เป็นการฝกึ
1 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที กับ กลุ่มทดลองที่ 2 เป็นการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที
รวมเป็นเวลา 1 ชวั่ โมง 30 นาที

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ของกลุ่ม ทดลองที่ 2
เป็นการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที รวมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉล่ีย
(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t– test แสดงตามตารางที่ 1
และ 2

ตารางที่ 1 ผลการพฒั นาแบบฝกึ ทกั ษะวอลเลยบ์ อลดว้ ยความถ่ี 3 ครง้ั ต่อสปั ดาห์ ของนักเรียนกลมุ่
ทดลองท่ี ด้วยคะแนนกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น

รายการ คะแนน คะแนน คา่ ความ
ทดลอง กอ่ นเรยี น หลงั เรยี น แตกต่าง

การเลน่ ลูกสองมอื ล่าง X S.D. X S.D 7.27
การเล่นลูกสองมือบน 7.20
16.87 5.59 22.40 2.20 6.73
การเสริ ์ฟลกู 21.20
คะแนนรวมทกั ษะ 15.80 2.92 24.07 3.06

15.13 3.86 22.53 4.63

47.80 12.37 69.00 7.57

จากตารางท่ี 1 ผลการพฒั นาแบบฝกึ ทักษะพื้นฐานวอลเลยบ์ อลดว้ ยความถี่ 3 ครง้ั ตอ่ สปั ดาห์ ครั้งละ 30
นาที รวมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบางปะหัน
กลุ่มทดลองที่ 2 พบว่ามีคะแนนทดสอบทักษะ วอลเลย์บอลโดยรวม ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 47.80 และหลังเรียน
มคี า่ เฉลย่ี 69.00 ความแตกต่าง 21.20

แสดงวา่ ผลการพฒั นาแบบฝึกทกั ษะวอลเลยบ์ อลหลงั เรียนมีคะแนนทดสอบทกั ษะการเลน่ วอลเลยบ์ อล สงู กว่า
ก่อนเรียนเมื่อพิจารณาคะแนนทดสอบเป็นรายทักษะ พบว่าทุกทักษะวอลเลย์บอลมีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน โดยมีทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.87 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 22.40 ความแตกต่าง
7.27 ทักษะการเล่นลูกสองมือบน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 15.80 หลังการเรียนมีค่าเฉลี่ย 24.07 ความแตกต่าง 7.20
และทกั ษะการเสริ ฟ์ ลูก ก่อนเรียนมีค่าเฉล่ยี 15.13 หลงั การเรยี นมีค่าเฉลี่ย 22.53 ความแตกตา่ ง 6.73

ตารางที่ 2 ผลการพฒั นาแบบฝกึ ทักษะวอลเลย์บอลของคะแนนก่อนเรียนและหลงั เรยี นของกลุ่ม ทดลองท่ี 2
ด้วยการทดสอบคา่ t –test

รายการทดลอง คะแนน คะแนน ค่าความแตกตา่ ง t
กอ่ นเรยี น หลังเรยี น
การเลน่ ลกู สองมือ X S.D. X S.D 7.27 7.429
ลำ่ ง 7.20 11.494
15.13 4.61 22.40 2.20
การเล่นลูกสองมือบน
16.87 3.92 24.07 3.06

รายการทดลอง คะแนน คะแนน คา่ ความแตกตา่ ง t
กอ่ นเรียน หลังเรยี น
การเสิร์ฟลูก 6.73 9.102
คะแนนรวมทกั ษะ X S.D. X S.D 21.20 12.52

15.80 6.39 22.53 4.63
47.80 12.37 69.00 7.57

จากตารางที่ 2 ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลของกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่า โดยรวมคะแนนทดสอบ
ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 47.80 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 69.00 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 21.20 ค่า t ที่คำนวณ
ได้เท่ากับ 12.52 ค่า t จากตารางที่ระดับ .05 เท่ากับ 2.145 ค่า t จากการคำนวณสูงกว่าค่า t จากตาราง แสดงว่า
ผลการฝึกทักษะวอลเลย์บอลของกลุ่มทดลองที่ 2 คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเมื่อพิจารณาเป็นราย
ทกั ษะ พบวา่ ทุกทักษะมีคะแนนทดสอบหลงั เรียนสงู กว่ากอ่ นเรียน

ตอนท่ี 2 เปรียบเทียบการพัฒนาแบบฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1
ด้วยการฝกึ 1 ครัง้ ตอ่ สปั ดาห์ ใชเ้ วลา 1 ชวั่ โมง 30 นาที และกล่มุ ทดลองท่ี 2 ด้วยการฝกึ 3 ครงั้ ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30
นาที รวมเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที วเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) ทดสอบค่าเฉลีย่ ด้วย t – test แสดงตามตารางท่ี 3 – 6

ตารางที่ 3 เปรยี บเทยี บผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะพน้ื ฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันของกลุ่มทดลอง
ท่ี 1 และกลมุ่ ทดลองท่ี 2 ของคะแนนกอ่ นเรียนโดยรวมและเปน็ รายทกั ษะ

รายการทดลอง กล่มุ ทดลองท่ี 1 กลุ่มทดลองที่ 2 ค่าความแตกตา่ ง
ก่อนการเรยี น ก่อนการเรียน
การเลน่ ลูกสองมอื ลา่ ง X S.D. X S.D -0.60
การเล่นลกู สองมอื บน 15.73 4.15 15.13 4.61 0.37
การเสิรฟ์ ลูก 16.33 4.81 16.87 3.92 0.20
คะแนนรวมทกั ษะ 15.60 6.27 15.80 6.39 0.17
47.67 13.11 47.80 12.37

จากตารางที่ 3 ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันก่อนเรียนของกลุ่มทดลอง
ที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่า โดยรวมคะแนนทดสอบทักษะวอลเลย์บอลหลังเรียนของกลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉล่ีย
47.67 กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 47.80 มีค่าความแตกต่าง 0.17 แสดงว่าผลการทดสอบทักษะพื้นฐาน
วอลเลยบ์ อลดว้ ยความถี่ต่างกันของกลุม่ ทดลองท้งั 2 กลุ่ม มีคะแนนทดสอบก่อนการเรียนแทบจะไม่แตกต่างกัน
เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะพื้นฐานการฝึกวอลเลย์บอล พบว่า ทุกทักษะของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนทดสอบ
ทกั ษะกอ่ นเรียนแทบจะไมแ่ ตกต่างกนั โดยมีค่าความแตกต่าง ดงั นี้ ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง เท่ากบั -0.60
การเล่นลูกสองมือบน เทา่ กบั 0.37 และการเสริ ฟ์ ลกู เท่ากับ 0.20

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1
และกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยคะแนนของการทดสอบทักษะวอลเลย์บอลก่อนเรียนโดย รวมและเป็นรำยทักษะด้วยค่า
t –test

รายการทดลอง กลมุ่ ทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 ค่าความแตกตา่ ง
กอ่ นการเรยี น กอ่ นการเรียน
การเลน่ ลกู สองมอื ลา่ ง X S.D. X S.D -.375
การเล่นลกู สองมือบน 15.73 4.15 15.13 4.61 .333
การเสริ ์ฟลูก 16.33 4.81 16.87 3.92 .087
คะแนนรวมทกั ษะ 15.60 6.27 15.80 6.39 .029
47.67 13.11 47.80 12.37

จากตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ที่ต่างกันของกลุ่มทดลอง ที่ 1
และกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยคะแนนทดสอบทักษะวอลเลย์บอลโดยรวมก่อนเรียน พบว่า คะแนนทดสอบของ
กลุม่ ทดลองท่ี 1 มคี า่ เฉลย่ี 47.67 กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลยี่ 47.80 ค่า t ทคี่ ำนวณได้ เทา่ กับ .029 คา่ t ตารางท่รี ะดับ
.05 เท่ากับ 2.048 ซึ่งค่า t ที่คำนวณได้น้อยกว่า ค่า t ตาราง แสดงว่าผลการทดสอบทักษะ โดยรวม
ก่อนเรียนของคะแนนทดสอบทักษะวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่าทุกทักษะคะแนนทดสอบ
ของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 โดยค่า t ที่คำนวณได้น้อยกว่าค่า t ในตาราง แสดงว่าทุกทักษะคะแนน
ทดสอบทักษะวอลเลยบ์ อลไม่แตกต่างกันอย่างมีนยั สำคญั ทางสถติ ทิ ร่ี ะดับ .05

ตารางท่ี 5 เปรียบเทียบผลการฝึกทักษะพ้ืนฐานวอลเลยบ์ อลด้วยความถี่ตา่ งกนั ของกล่มุ ทดลองท่ี 1

และกลมุ่ ทดลองที่ 2 ของคะแนนหลังเรยี นโดยรวมและเปน็ รายทักษะ

กลุม่ ทดลองท่ี 1 กลุ่มทดลองท่ี 2

รายการทดลอง ก่อนการเรียน ก่อนการเรยี น ค่าความแตกตา่ ง

X S.D. X S.D

การเลน่ ลูกสองมอื ลา่ ง 17.67 3.66 22.40 2.20 4.73

การเลน่ ลกู สองมือบน 18.20 5.09 24.07 3.06 5.87

การเสิร์ฟลกู 17.87 5.26 22.53 4.63 4.75

คะแนนรวมทกั ษะ 53.73 11.99 69.00 7.57 15.27

จากตารางท่ี 5 ผลการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ต่างกันหลังเรียนของกลุ่มทดลองท่ี 1
และกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่า โดยรวมคะแนนทดสอบทักษะวอลเลยบ์ อลหลังเรียนของกลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉลีย่ 53.73
กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 69.00 คะแนนทดสอบของกลุ่มทดลองที่ 2 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 เท่ากับ 15.27
แสดงว่าผลการทดสอบทักษะวอลเลย์บอลของกลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนทดสอบการฝึกทักษะวอลเลย์บอลสูงกว่า
กลุ่มทดลองที่ 1 เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะพื้นฐานการฝึกวอลเลย์บอล พบว่า ทุกเรื่องของทักษะกลุ่มทดลองที่ 2
มีคะแนนทดสอบทกั ษะวอลเลย์บอลสูงกวา่ กลุ่มทดลองท่ี 1 โดยมีทักษะวอลเลยบ์ อล ดงั นี้ ทกั ษะการเล่นลกู สองมอื ล่าง
กลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนสูงกว่า กลุ่มทดลองที่ 1 เท่ากับ 4.73 ทักษะการเล่นลูกสองมือบน กลุ่มทดลองที่ 2
มีคะแนนสูงกว่า กลุ่มทดลองที่ 1 เท่ากับ 5.87 ทักษะการเสิร์ฟลูก กลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนสูงกว่า กลุ่มทดลองที่ 1
เทา่ กบั 4.75

บทท่ี 5

อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ

จากผลการวจิ ยั ผูว้ ิจัยนำมาอภปิ รายผลได้ดงั นี้
1. ผลการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ของกลุ่มทดลองที่ 2

มี ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมทักษะหลังเรียน สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไป
ตามสมมุติฐาน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มทดลองที่ 2 ที่เรียนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ซึ่งใช้การฝึกด้วย
ความถี่บ่อยครั้งจะมีทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลในการเล่นลูกสองมือล่าง การเล่นลูกสองมือบน การเสิร์ฟลูก
มีพัฒนาการหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับวรศักดิ์ เพียรชอบ (2560 : 76) กล่าวไว้ว่า การเรียนทักษะต่าง
ๆ ครูควรกำหนดระยะเวลาและกระจายเวลาในการฝึกให้เหมาะสมในกิจกรรมแต่ ละอย่าง นั้น ๆ และ
สอดคล้องกับผาณิต บิลมาศ (2560 : 96) ได้กล่าวไว้ว่า ตารางการฝึกหัด ความยาวของช่วงเวลา การฝึก
มีผลต่อการเรยี นทักษะเป็นท่ยี อมรับว่าการฝกึ หดั ในช่วงสัน้ ๆ แตบ่ ่อย ๆ ได้ผลดกี ว่าการฝึกหัดช่วงยาวแต่นานคร้งั

2. เปรียบเทียบการฝึกทักษะพื้นฐานวอลเลย์บอลด้วยความถี่ที่ต่างกันของกลุ่มทดลองที่ 1 และ กลุ่มทดลอง
ที่ 2 พบว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมทักษะหลังการเรียนของกลุ่มทดลองที่ 2 สูงกว่ากลุ่มทดลอง ที่ 1 ซึ่งแตกต่าง
กันอยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิท่ีระดบั .05 เป็นไปตามสมมุติฐาน ที่เปน็ เชน่ นีเ้ พราะกลุ่มทดลอง ท่ี 1 ฝกึ ด้วยความถี่น้อย
คือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 ทำ ให้มีพัฒนาการของทักษะหลังเรียนน้อยกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 ที่ฝึก
ด้วยความถี่มากกว่า คอื สัปดาหล์ ะ 3 ครง้ั ๆ ละ30 นาที ซึ่งสอดคลอ้ งกับ ศริ ิโสภาคย์ บูรพาเดชะ (2559 : 192 - 193)
ที่กล่าวว่าการฝึกหัดเป็นระยะมี ประสิทธิภาพมากกว่าการฝึกที่ทำาการต่อเนื่องกันเป็นเวลานานและการมีช่วงเวลา
การหยดุ พักสน้ั ๆจะเป็น การขจดั การลืม และการเบื่อหน่ายที่จะขัดขวางการเรยี นรู้ นอกจากนแี้ ลว้ ยังมีข้อมลู สนบั สนนุ
อีกว่า การฝึก ช่วงยาวนั้นไม่เหมาะสมกับผู้เรียนท่ีอยู่ในวัยเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ที่ฝึกหัดใหม่ซึ่งมีช่วงของความตั้งใจ
ที่อยู่ในช่วง สั้นเป็นสาเหตุที่ทำใหไ้ ม่มคี วามตัง้ ใจจริงจังที่จะฝกึ เช่นเดยี วกับผู้เรียนท่ีฝึกจนเกิดความเมื่อยล้า ควรงดเวน้
ที่จะฝึกแบบชว่ งยาวเพราะอาจก่อใหเ้ กิดอันตรายหรือก่อใหเ้ กิดการบาดเจบ็ ได้และสอดคล้องกับชูศักดิ์ เวชแพทย์ และ
กันยา ปาละวิวัธน์ (2556 : 299) กล่าวไว้ว่า ความอดทนเกี่ยวกับทักษะในแง่ของการเมื่อยล้า เป็นที่ทราบว่า
การรว่ มมือ ของกลา้ มเน้อื ทท่ี ำงานอย่างละเอียดออ่ นนั้นจะเสียไป เม่ือเกิดความเม่อื ยล้า ด ั ง น ั ้ น ค ว า ม อ ด ท น ข อ ง
กล้ามเนื้อ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกิจกรรมที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานการเรียนของกลุ่ม ทดลองที่ 1 ซึ่งเป็น
การเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เด็กอาจเกิดการเมื่อยล้าได้เนื่องจากระยะเวลายาวนานท ำ
ใหก้ ารพฒั นาดา้ นทักษะน้อยกว่า กล่มุ ทดลองท่ี 2

ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้คือ ทักษะกีฬาวอลเลย์บอลของนักเรียนที่
เรียนด้วยความถี่มาก ดีกว่านักเรียนที่เรียนด้วยความถี่น้อย ซึ่งนักเรียนสามารถนำทักษะไปใช้ในการเล่นกีฬา
วอลเลย์บอลได้ จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ทักษะ ครูผู้สอนควรเน้นในเรื่องของการรับรู้ของผู้เรียน โดยเฉพาะใน
เรื่องของความถี่หรือจำนวนครั้ง และระยะเวลาหรือความนาน ถ้าผู้สอนได้ใช้ความถี่หรือจำนวนครั้งบ่อย ๆ
แต่ใช้ระยะเวลา หรือความนานสั้น ๆ ก็จะทำให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จดีกว่าการสอนน้อยครั้ง แต่ละ
ครั้งใช้เวลานาน ซึ่งตรงกับผลของการวิจัยในเรื่องนี้ที่ว่าในการเรียนถ้ากำหนดความถี่ในการเรียนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ
ละ 30 นาที จะส่งผลต่อความสามารถในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลด้านการพัฒนาทักษะวอลเลย์บอล ในเรื่อง 1)
การเล่นลูกสองมือล่าง 2) การเล่นลูกสองมือบน 3) การเสิร์ฟลูกดีกว่าการเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30
นาที จึงสรุปไดว้ ่าการเรยี นบอ่ ย ๆ ครั้ง ในระยะเวลาสน้ั จะไดผ้ ลดีกวา่ การเรยี นนาน ๆ ครั้งแต่ละครัง้ ใชเ้ วลานาน ๆ

ขอ้ เสนอแนะจากการวจิ ัย
จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการฝึกซ้อมกีฬาและการจัดกิจกรรมการ

เรยี นการสอน ดังนี้
1. สามารถนำผลการฝึกทักษะวอลเลย์บอลด้วยความถี่บ่อยครั้งไปใช้ในการฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอล

ของนักเรียนระดบั ชนั้ ทส่ี ูงข้นึ ได้
2. ครูผู้สอนสามารถนำไปพิจารณาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและจัดเป็นโปรแกรมการฝึก

เพื่อผู้เรียนจะได้เกิดการเรียนรู้ เกี่ยวกับทักษะกีฬาวอลเลย์บอล การจดจำและได้รับผลจากการเรียน การ
ตอบสนองอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

012315467829
6 ÿ

& * % % ,!" " # $ !" # - ! ! ÿ % & + ' ÿ$#($ ÿ

012315467829
6 ÿ

& * % % ,!" " # $ !" # - ! ! ÿ % & + ' ÿ$#($ ÿ


Click to View FlipBook Version