หลักสูตรการทอผ้าไหมพื้นเมือง
หลักสูตรการฝึกอบรม
"การทอผ้าไหมพื้นเมือง"
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ผ้าทอ เป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน แสดงถึงเชื้อชาติ เผ่า
พันธุ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผ้าทอยังคงเป็นปั จจัยสำคัญในการ
ดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การทอผ้าเริ่มจากการสาน มนุษย์เริ่มสาน
ต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า และ
พัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น สามารถ
รับน้ำหนักได้มากขึ้น จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย
เช่น ฝ้าย รู้จักวิธีการทออย่างง่าย คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน
และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการ
ทอผ้า และเย็บปั ก ถ้กร้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในชุมชนภาค
เหนือ ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม นอกจากบทบาททางการ
ค้า ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ
ดังนั้น การสืบทอดความคิด ความเชื่อ แบบแผนทางสังคม จากคนรุ่น
เก่าสู่คนรุ่นใหม่ และพัฒนาศักยภาพ ภูมิปั ญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ ในการเสริม
สร้างคุณภาพชีวิต เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็น
อาชีพและรายได้ของคนชุมชน
สารบ
ัญ 2
เรื่อง หน้า
หลักสูตรการฝึกอบรม 3
เนื้อหาการฝึกอบรม 5
6
การเลี้ยงไหม 9
เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทอผ้า 11
ขั้นตอนการทอผ้าไหม 13
การออกแบบลวดลายผ้าไหม 14
15
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า 16
การวัดผลประเมินผล 18
21
แบบทดสอบ
บรรณานุกรม
ประวัติวิทยากร
3
หลักสูตรการฝึกอบรม
"การทอผ้าไหมพื้นเมือง"
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคการทอผ้าไหม
สามารถนาไปใช้ในการ ประกอบอาชีพได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบการมัดลาย การย้อมสี ที่สอดคล้อง
กับความต้องการของตลาด
3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปั ญญาท้องถิ่น และอาชีพดั้งเดิมของ
บรรพบุรุษ
4. เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าไหม
ระยะเวลาฝึกอบรม
ผู้เข้าอบรมฝึกอบรมจะต้องเข้าอบรภาคทฤษฎี จำนวน 2 ชั่วโมง และ
ฝึกทักษะปฏิบัติ จำนวน 5 ชั่วโมง ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด 8 ชั่วโมง
คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
1. เป็นแม่บ้านกลุ่มหรือกลุ่มผู้สนใจเกี่ยวกับการทอผ้า
2. มีความพร้อมและสามารถเข้ารับการอบรมได้ตลอดเวลา
3. มีความสนใจในการทอผ้า และสามารถนำไปต่อยอดได้
หัวข้อเนื้อหาการฝึกอบรม
5
เนื้อหาการฝึกอบรม
1.เทคนิควิธีการเลี้ยงหม่อนไหม การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหม
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เทคนิค
และวิธีการในการเลี้ยงหม่อนไหม
คำอธิบาย ศึกษาความเป็นมาของ วิธีการเลี้ยงหม่อนไหม และ
ประโยชน์ของหม่อนไหมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทอผ้า
2.วัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้า ขั้นตอนการทอผ้าไหม การผลิตและการ
จำหน่าย
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เทคนิควิธี
การในการทอผ้าไหมได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ
คำอธิบาย ศึกษาการใช้เครื่องมือ ขั้นตอนในทอผ้าไหมลวดลายต่างๆ
การนำไปใช้ประโยชน์และการจำหน่ายลวดลายแต่ละผ้าไหม มีความรู้ความ
เข้าใจในการทอผ้าไหมได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ
3. การวัดประเมินผล
1. ประเมินความรู้ ความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงาน
ของผู้รับการฝึกอบรม
2. ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
4. ผู้จัดทำหลักสูตร
นางสาวศศิมา หลุยภูงา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาสังคมศึกษา
ลงชื่อ...........................ผู้ขออนุมัติหลักสูตร
( นางสาวศศิมา หลุยภูงา)
ลงชื่อ...........................ผู้อนุมัติหลักสูตร
( อาจารย์ ดร.ภัทระ อินทรกำแหง)
อาจารย์ผู้สอนวิชาการพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา
6
1. การเลี้ยงไหม เนื้อหาการฝึกอบรม
ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์
Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลาย
เส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัว
หนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่
เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้ม
ดักแด้เพื่ฟั กตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้เองที่เรานำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอ
เป็นผืนผ้าได้
วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 – 52 วัน หนอน
ไหมจะกินใบหม่อนหลังจากฟั กออกจากไข่ประมาณ วันที่ 10 จากนั้นจะหยุด
กินอาหารและลอกคราบ ระยะนี้เรียกว่า “ ไหมนอน ” ต่อจากนั้นจะกินนอน
และลอกคราบประมาณ 4 ครั้งเรียกว่า “ ไหมตื่น ” ลำตัวจะมีสีขาวเหลืองใส
หดสั้น และหยุดกินอาหาร ระยะนี้เรียกว่า “ หนอนสุก ” ช่วงนี้ผู้เลี้ยงไหม
ต้องรีบแยกหนอนไหมสุกออกจากกองใบหม่อน และเตรียม “ จ่อ ” คือ
อุปกรณ์ที่จะให้ตัวไหมเกาะเพื่อชักใยห่อหุ้มตัวหนอนจะเริ่มพ่นใยได้ประมาณ
6-7 วัน ก็จะสามารถเก็บรังไหมออกจากจ่อได้ เส้นใยของหนอนเกิดจากการ
ขับของเหลวชนิดหนึ่ง มีสารโปร่งแสงเป็นองค์ประกอบ ใยไหมที่เห็นแต่ละ
เส้นจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ สองเส้นรวมกัน สามารถฉีก แยกออกจาก
กันได้ ทั้งนี้รังไหมแต่ละรังจะให้สายไหมที่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นนอกสุดของ
รังจะมีความละเอียดพอสมควรชั้นกลางจะเป็นเส้นหยาบและชั้นในสุดจะเป็น
เส้นไหมที่ละเอียดที่สุด ซึ่งหนอนไหมแต่ละตัวจะชักใยยาวไม่เท่ากัน อาจสาว
ได้ยาวตั้งแต่ 350 – 1,200 หนอนไหมจะเจาะรังออกมาเป็นผีเสื้อเมื่ออยู่ใน
รังครบ 10 วัน ซึ่งผู้เลี้ยงจะคัดไหมที่สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ ส่วนที่เหลือนำไปสาว
ไหมก่อนที่ผีเสื้อจะเจาะรังออกมา ซึ่งเส้นจะขาดและทำเส้นไหม
7
1.1 ขั้นตอนการทำไหม
ก่อนที่จะทอผ้าไหมต้องมีขั้นตอนการเตรียมไหมก่อนทอหลังจากผ่าน
กรรมวิธีการเลี้ยงไหมแล้วจนตัวไหมทำรังขั้นตอนต่อไปก็คือนำตัวไหมที่มี
รังหุ้มอยู่มาต้มเพื่อที่จะนำใยที่หุ้มตัวไหมอยู่ออกมาในรูปของเส้นไหม ซึ่งมี
กรรมวิธี ดังนี้
การสาวไหม
1. ต้มน้ำให้ร้อนประมาณ 70-80 C แล้วใส่รังไหมลงไปประมาณ
40-50รังเพื่อให้ความร้อนจากน้ำช่วยละลาย Serricin (โปรตีน) ที่ยึดเส้น
ไหม
2. ใช้ไม่พายเล็กแกว่งตรงกลางเป็นแฉกคนรังไหมกดรังไหมให้จม
น้ำเสียก่อน
3.เมื่อรังไหมลอยขึ้นจึงค่อยๆตะล่อมให้รวมกันแล้วต่อยๆดึงเส้นใย
ไหมออกมาจะได้เส้นใยไหมซึ่งมีขนาดเล็กมากรวมเส้นใยไหมหลายๆเส้น
รวมกัน
4.ดึงเส้นไหม โดยให้เส้นไหมลอดออกมาตามแฉกไม้ ซึ่งจะทำให้ได้
เส้นไหมที่สม่ำเสมอและรังไหมไม่ไต่ตามมากับเส้นไหม เส้นไหมที่สาวได้ จะ
ผ่านไม้หีบขึ้นไปร้อยกันรอกที่แขวนหรือ พวงสาวที่ยึดติดกับปากหม้อ แล้ว
ดึงเส้นไหมใส่กระบุง
5.คอยเติมรังไหมใหม่ลงไปในหม้อต้มเป็นระยะๆ
6.รังไหมจะถูกสาวจนหมดรังเหลือดักแด้จมลงก้นหม้อแล้วจึงตัก
ดักแด้ออก
8
เส้นไหม
ไหมหนึ่งหรือไหมน้อย คือเส้นไหมที่ได้จากการที่สาวไหมชั้นนอกออกไว้
ต่างหาก แล้วแยกรังไหมออกเพื่อนำมาต้มสาวเป็นครั้งที่2 จะได้เส้นเล็ก
ละเอียดมีขนาดสม่ำเสมอ ไม่มีปุ่มปมเป็นไหมที่สวยงามและมีคุณภาพดี
นิยมใช้ทำเป็น เส้นยืน
ไหมสอง หรือไหมกลาง คือเส้นไหมที่สาวเอาไหมชั้นนอกออกแล้วแทนที่
จะแยกให้อยู่คนละพวก กลับสาวไปเรื่อยๆพอรังไหมใกล้หมดก็เติมรัง
ไหมเข้าไปอีก แล้วสาวไปเรื่อยๆซึ่งจะได้เส้นไหมขนาดโต อาจมีปุ่มปน
บ้าง นิยมใช้เป็น เส้นพุ่งในการทอ
ไหมสามหรือไหมใหญ่ คือเส้นไหมที่สาวออกมาจากรังไหมครั้งแรก
เป็นการเอาเฉพาะเปลือก และพักยกรังไหมเอาไว้เส้นไหมจะแข็ง เส้น
ใหญ่และหยาบ ถ้านำไปทอจะได้ผ้าชนิดหนา
การเตรียมเส้นไหม
ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอเส้นไหมเข้าหลอด ลักษณะเป็นวงล้อทำด้วย
ไม้ไผ่หรือหวาย ระหว่าล้อและแกนหลอดมีเชือกฟูกโยง เมื่อหมุนวงล้อ ก็
จะทำให้แกนหมุนไปด้วย
ระวิง เป็นเครื่องมือปั่ นไหม มีลักษณะเหมือนกังหัน 2 ดอก ทำด้วยไม้
หรือไม้ไผ่เหลาแบนๆดอกละ3อันระหว่างกังหันทั้ง2มีแกนและเส้นด้าย
หรือไนล่อนผูกโยงสำหรับรองรับเข็ดไหม
ระวิงใช้คู่กับไน เมื่อต้องการกรอเส้นไหมยืนเส้นไหมพุ่งเข้าหลอดโดยจะ
สวมหลอดเข้ากับแกนไน แล้วนำเข็นไหมที่ต้องการกรอ เข้าสวมระวิง
แล้วดึงเส้นไหมจากเข็ดไหมที่ต้องการกรอ เข้าสวมที่ระวิง แล้วดึงเส้น
ไหมจากเข็นนั้นผูกติดกับหลอดค้นหรือหลอดพุ่ง เมื่อหมุนวงล้อของ
ไนแกนหลอดจะหมุนทำให้หลอดค้นหรือ ลอดพุ่งที่สวมติดอยู่หมุนดึงเส้น
ไหมจากระวิงพันติดไปกับหลอดนั้นด้วย โดยกระวิงจะหมุนตามช่วย
คลายเส้นไหม ทำให้เส้นไหมไม่พันกัน
9
2. เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทอผ้า
1. กี่ หรือ หูก เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีหลายขนาดและชนิด แต่มี
หลักการพื้นฐานอย่างเดียวกัน คือ การขัดประสานระหว่างด้ายเส้นพุ่ง และ
ด้ายเส้นยืน จนแน่นเป็นเนื้อผ้า คล้ายกับการจักสาน แต่มีความละเอียดสูง
กว่า เนื่องจากเส้นด้ายมีขนาดที่เล็ก และละเอียดกว่า
2. ฟืม ใช้สำหรับทอผ้าไหม หรือเส้นด้ายที่ละเอียด จะมีซี่ฟั นถี่ ส่วนฟืม
สำหรับทอผ้าฝ้าย หรือเส้นด้ายขนาดใหญ่ จะมีฟั นฟืม หรือฟั นหวีที่ห่าง ตาม
ขนาดของเส้นด้ายในอดีตฟั นฟืม หรือซี่ฟืมทำด้วยไม้ แต่การทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง
ทั่วไปในปั จจุบันนิยมใช้ฟั นฟืมที่เป็นโลหะ เพราะมีความแข็งแรง และทนทานสูง
ส่วนเครื่องทอผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ฟืมโลหะทั้งสิ้น
3. อัก หรือ กวัก เป็นเครื่องคัดเส้นด้ายหรือเส้นไหม ทำด้วยไม้คล้าย
หลอดด้าย เจาะรูตรงกลาง ปลายทั้ง ๔ ด้านมีไม้ประกบสำหรับสวมรูเพื่อให้อัก
หนุน อักใช้กรอด้ายจากระวิงให้เป็นระเบียบ ก่อนจะสาวเข้ากงเพื่อแยกเป็น
ปอยๆ และแยกเป็นไจๆ
10
4. กง เป็นเครื่องมือกรอเส้นด้าย ทำงานร่วมกับอัก เพื่อเก็บด้ายที่ปั่ น
ดีแล้วจากเหล็กไนของหลา (ไนปั่ นด้าย) มาพันรวมกันที่กง ช่างปั่ นด้ายจะนำ
เส้นด้ายมาตรฐานมาตรวจตราความเรียบร้อยอีกครั้ง เพื่อเก็บส่วนที่เป็นปม
หรือขุยด้ายที่ติดพันมาตอนปั่ นด้ายออกให้เรียบร้อย
5 .โฮงหมี่ ใช้สำหรับตัดหมี่
6. ไนปั่ นด้าย เป็นเครื่องมือใช้ปั่ นด้าย หรือ กรอด้ายเข้าหลอด เพื่อนำไป
ทอเป็นผืนผ้า ลักษณะของไนจะเป็นวงกลม ตั้งระหว่างขา ๒ อันที่ทำจากไม้เนื้อ
แข็ง และมีเหล็กสอดเป็นคัน สำหรับหมุนวงล้อ ส่วนขาติดตั้งอยู่บนส่วนหัว ของ
ฐานที่ทำด้วยไม้ท่อนยาวประมาณ ๓๐ นิ้ว ส่วนปลายของท่อนจะมีเหล็กไนสอด
อยู่กับขาตั้งโดยโผล่เหล็กไนออกมา ไว้สำหรับเป็นที่สวมของหลอดไม้ไผ่ ทำเป็น
ที่กรอด้าย และระหว่างวงล้อ จะมีสายพานทำด้วยเชือกโยงมาเพื่อหมุน
11
7.กระสวย ใช้บรรจุหลอดหมี่พุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นหมี่
ยืน ต้น และปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
3. ขั้นตอนการทอผ้าไหม
1. หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง
พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า
ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบ
ธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี
ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
2. วิธีการทอผ้า
2.1 สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละ
เส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟั นหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้า
กับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้า
กระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2.2 เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะ
ถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1
ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
2.3 การกระทบฟั นหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะ
กระทบ ฟั นหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
2.4 การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บ
ใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อน
ใหม่ ใ่ ห้พอเหมาะ
12
3. การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่ง
มาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสี
เดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบ
ด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
4. รูปแบบชนิดผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์
ในจังหวัดสุรินทร์มีการแบ่งชนิดตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ ซึ่ง
พอจะแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ผ้านุ่ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ผ้านุ่งผู้ชายและผ้านุ่งสตรี ผ้านุ่ง
ผู้ชายนั้นตามปกติผู้ชายสมก่อนจะนุ่งโสร่งไม่ว่าจะเป็นเวลาอยู่บ้านหรือออก
นอกบ้าน
2. ผ้าสไบ ซึ่งคนไทยเรียกว่า ผ้าขาวม้านั่นเอง ความจริงผ้าสไบไหม
นี้แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ สไบของผู้ชาย ซึ่งมีลักษณะเป็นผ้าลายตาราง บางทีก็
มียกดอกที่ชายผ้า
3. ผ้าปูมเขมร ผ้าปูมนี้เป็นผ้านุ่งชนิดหนึ่ง ซึ่งขุนนางไทยสมัยก่อน
นิยมใช้ นอกจากเพื่อความสวยงามแล้วยังเป็นการแสดงออกถึงฐานันดรศักดิ์
ของตนเองอีกด้วย
4. ผ้าพันคอ ปั จจุบันชาวสุรินทร์ได้พัฒนาชนิดผ้าไหมตามความ
เหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงสังคมชนิดหนึ่งก็คือ ผ้าพันคอสตรี จะเป็น
ลักษณะกว้าง ยาว
5. ผ้าคลุมเตียงหรือแขวนผนัง ผ้าอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายผ้าพัน
คอทุกอย่าง เพียงแต่ขนาดทีใหญ่กว่า และใช้เส้นไหมที่ใหญ่กว่าเท่านั้น
13
4. การออกแบบลวดลายผ้าไหม
เป็นการสื่อความหมายให้ทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลป
วัฒนธรรม ศาสนาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลัก
ของหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทนี้เพื่อต้องการถ่ายทอดจินตนาการให้ผู้สวมใส่
ได้รับรู้แหล่งที่มาของผ้าที่มีรูปแบบการถักทอแตกต่างกันดังรายละเอียดต่อ
ไปนี้
ลวดลายผ้า
ลายหางกระรอก ลายต้นสน ลายพวงเพชร
ลายริ้วสามกษัตริย์ ลายพื้น ลายมัดหมี่ประยุกต์
การย้อมสีธรรมชาติ
สีแดง ได้จาก ตัวครั่ง รากยอ เปลือกก่อ
สีแดงเลือดนกหรือแดงอมส้ม ได้จาก ผลของสะตีหรือที่เรียกว่าดอก
คำเงาะ
สีเขียว ได้จาก เปลือกมะม่วง เปลือกลิ้นฟ้า ใบหูกวาง เปลือกสมอ สบู่
เลือด สาบเสือ
สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นชัน แก่นเข เปลือกขนุน
สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ ตะโก
สีน้ำตาล ได้จาก เปลือกประดู่ เปลือกพิมาน
สีคราม น้ำเงิน สีฟ้า ได้จาก ต้นคราม
14
5. เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้น
มา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิด
ลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อน
เส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการ
สอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้าย
พุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น
แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ
สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิด
ที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานาน
มากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ ซิ่นตีนจก ”
การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่ม
จากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำ
ไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับ
จากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำ
ด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มี
ลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การ
ทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่าง
มาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยื
15
การทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้าย
เส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสอง
เส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้อง
กับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท
ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลาย
เรขาคณิต
การจัดจำหน่าย
ในการผลิตผ้าไหมนั้น ได้ผลิตขึ้นเพื่อการจำหน่ายสู่ท้องตลาดและ
ผลิตเพื่อการส่งเสริมอาชีพและรายได้หลังจากการว่างจากการทำไร่
ทำนา และยังเป็นโครงการของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม ซึ่งผ้าไหม 1 ผืน
จะจำหน่ายผืนละประมาณ 1,000-15,00 จะขึ้นอยู่กับการยกลายหรือ
การผสมผสานของลายที่มัดยากและในช่วงที่เป็นเทศกาล เช่น เทศกาล
วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา ในเวลา
3-4 วัน จะทอได้ประมาณ 1-2 ผืน
6. การวัดประเมินผล
1. ประเมินความรู้ ความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงาน
ของผู้รับการฝึกอบรม
2. ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
16
แบบทดสอบ
1. การทอผ้าไหมด้วยกี่กระตุกเริ่มขึ้นเมื่อปีใด
1. 2536
2. 2537
3. 2538 4. 2539
2. แปลงปลูกไหมที่ดี ควรปลูกระยะห่างแถวกี่เมตรและระยะห่างต้นกี่เมตร
1. ระยะห่างแถว 1 เมตร ระยะห่างต้น 4 เมตร
2. ระห่างแถว 2 เมตร ระยะห่างต้น 1 เมตร
3. ระยะห่างแถว 3 เมตร ระยะห่างต้น 2 เมตร
4.ระยะห่างแถว 4 เมตร ระยะห่างต้น 3 เมตร
3. สายพันธุ์ไหมใดไม่ใช่สายพันธุ์ไหมในหมู่บ้านสังแก
1. Bivoltine 2. Ployvoltine
3. พันธุ์บุรีรัมย์ 60 4. พันธุ์สุรินทร์ 60
4. โรงเลี้ยงไหมขนาด 6x8 ตารางเมตรใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาดใด
1. 1x6 ตารางเมตร 2. 1.5x6 ตารางเมตร
3. 2x6 ตารางเมตร 4. 2.5x6 ตารางเมตร
4. ข้อใดไมใช่อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
1. กระด้ง 2. กี่กระตุก
3. กระสวยทอผ้า 4. เส้นไหม
5. ข้อใดเป็นแบบการทอผ้าไหมที่พบในจังหวัดสุรินทร์ที่ถูกต้อง
1. ผ้าฉนูดเลิก ผ้าละเบิกผ้าจก ผ้าลายตาราง
2. ผ้าดอกพิกุล ผ้ายกดอก ผ้าลายตาราง
3. ผ้าฉนูดเลิก ผ้าละเบิกผ้าจก ผ้าดอกพิกุล
4. ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าลายตาราง ผ้าละเบิกผ้าจก
6. ข้อใดต่อไปนี้เป็นแม่ลายพื้นฐานของผ้าไหมที่ถูกต้อง
1. หมี่ข้อ หมี่โคม หมี่บักจับ
2. หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว หมี่กระจับ
3. หมี่ขอ หมี่บักจับ หมี่ดอกโมก
4. หมี่ใบไผ่ หมี่นกน้อย หมี่ใบหม่อน
17
7. ผ้าชนิดใดไม่ใช่ผ้าของจังหวัดสุรินทร์ 2. ต้นคราม
1. ผ้าปูเขมร ผ้าพันคอ ผ้าสไบ ผ้านุ่ง 4. ต้นมหากาฬ
2. ผ้าสไบ ผ้าคลุมเตียง ผ้าพันคอ ผ้านุ่ง
3. ผ้านุ่ง ผ้าปูนเขมร ผ้าพันคอ ผ้าสไบ 2. ลูกหว้า
4. ลูกกระจาย
4. ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าปูนเขมร ผ้าพันคอ
2. ผ้าไหมลายเต่างับ
8. สีแดง ธรรมชาติได้จากต้นไม้ชนิดใด 4. ผ้าไหมลายแมงมุม
1. รากยอ
3. ต้นฝาง
9. ข้อใดไม่ใช่ต้นไม้ที่ทำเกิดสีดำธรรมชาติ
1. เปลือกสมอ
3. ลูกมะเกลือ
10. ผ้าไหมลายใดที่มีราคาแพงที่สุด
1. ผ้าไหมลายกุ้ง
3.ผ้าไหมลายกระยำ
18
บรรณานุกรม
""วิธีเลี้ยงไหม"", สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565
จาก https://www.baanjomyut.com/library_5/agricultural_
knowledge/perennial_crops/10_16.html
""การสาวไหม'", สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565
จาก https://qsds.go.th/newqssclei/-2/
""อุปกรณ์การทอผ้าไหมและหน้าที่ของอุปกรณ์"", สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565
จาก https://sites.google.com/site/wwwphamaicom/xupkrn-kar-thx-
pha-him-laea-hnathi-khxng-xupkrn
""การทอผ้าไหม"", สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565
จาก http://surinsilk-srru.blogspot.com/2013/07/5.html
""การออกแบบลวดลายผ้าไหม"", สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565
จาก https://sarapamaisurinlohl.blogspot.com/2019/09/blog-
post_7.html
""เทคนิคการทอผ้าไหม"", สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565
จาก https://qsds.go.th/newqssclei/A1/
19
เฉลยแบบทดสอบ
1. การทอผ้าไหมด้วยกี่กระตุกเริ่มขึ้นเมื่อปีใด
1. 2536
2. 2537
3. 2538 4. 2539
2. แปลงปลูกไหมที่ดี ควรปลูกระยะห่างแถวกี่เมตรและระยะห่างต้นกี่เมตร
1. ระยะห่างแถว 1 เมตร ระยะห่างต้น 4 เมตร
2. ระห่างแถว 2 เมตร ระยะห่างต้น 1 เมตร
3. ระยะห่างแถว 3 เมตร ระยะห่างต้น 2 เมตร
4.ระยะห่างแถว 4 เมตร ระยะห่างต้น 3 เมตร
3. สายพันธุ์ไหมใดไม่ใช่สายพันธุ์ไหมในหมู่บ้านสังแก
1. Bivoltine 2. Ployvoltine
3. พันธุ์บุรีรัมย์ 60 4. พันธุ์สุรินทร์ 60
4. โรงเลี้ยงไหมขนาด 6x8 ตารางเมตรใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาดใด
1. 1x6 ตารางเมตร 2. 1.5x6 ตารางเมตร
3. 2x6 ตารางเมตร 4. 2.5x6 ตารางเมตร
4. ข้อใดไมใช่อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม
1. กระด้ง 2. กี่กระตุก
3. กระสวยทอผ้า 4. เส้นไหม
5. ข้อใดเป็นแบบการทอผ้าไหมที่พบในจังหวัดสุรินทร์ที่ถูกต้อง
1. ผ้าฉนูดเลิก ผ้าละเบิกผ้าจก ผ้าลายตาราง
2. ผ้าดอกพิกุล ผ้ายกดอก ผ้าลายตาราง
3. ผ้าฉนูดเลิก ผ้าละเบิกผ้าจก ผ้าดอกพิกุล
4. ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าลายตาราง ผ้าละเบิกผ้าจก
6. ข้อใดต่อไปนี้เป็นแม่ลายพื้นฐานของผ้าไหมที่ถูกต้อง
1. หมี่ข้อ หมี่โคม หมี่บักจับ
2. หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว หมี่กระจับ
3. หมี่ขอ หมี่บักจับ หมี่ดอกโมก
4. หมี่ใบไผ่ หมี่นกน้อย หมี่ใบหม่อน
20
7. ผ้าชนิดใดไม่ใช่ผ้าของจังหวัดสุรินทร์ 2. ต้นคราม
1. ผ้าปูเขมร ผ้าพันคอ ผ้าสไบ ผ้านุ่ง 4. ต้นมหากาฬ
2. ผ้าสไบ ผ้าคลุมเตียง ผ้าพันคอ ผ้านุ่ง
3. ผ้านุ่ง ผ้าปูนเขมร ผ้าพันคอ ผ้าสไบ 2. ลูกหว้า
4. ลูกกระจาย
4. ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าปูนเขมร ผ้าพันคอ
2. ผ้าไหมลายเต่างับ
8. สีแดง ธรรมชาติได้จากต้นไม้ชนิดใด 4. ผ้าไหมลายแมงมุม
1. รากยอ
3. ต้นฝาง
9. ข้อใดไม่ใช่ต้นไม้ที่ทำเกิดสีดำธรรมชาติ
1. เปลือกสมอ
3. ลูกมะเกลือ
10. ผ้าไหมลายใดที่มีราคาแพงที่สุด
1. ผ้าไหมลายกุ้ง
3.ผ้าไหมลายกระยำ
21
ประวัติวิทยากร
นางสาวศศิมา หลุยภูงา
นักศึกษาชั้นปีที่ 2
สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ช่องทางการติดต่อ
FB : Sasima Luyphunga Line : oum_250844
[email protected] 098-6144274
ขอบคุณค่ะ