รวมมสุ ลิมไทยสรา้ งชาติ
โดย นายสามารถ มะลูลีม
ประธานคณะกรรมการ
นโยบายกฬี าและกิจการมุสลมิ
พรรครวมไทยสรา้ งชาติ
ประวตั ิความเป็นมามสุ ลมิ ในประเทศไทย
ศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างศตวรรษที่ 12 โดยพ่อค้าพาณิชย์
จากคาบสมุทรอาหรับ และจากมุสลิมชาวอินเดียผู้มาค้าขายในแถบนี้ ในเริ่มแรกอิสลามแพร่หลายมา
ในเกาะสุมาตราและเขตเมืองที่เจริญริมชายฝั่ง หลังจากนั้นก็ขยายเข้าสู่เกาะอื่น ๆ ในอินโด นีเซีย
และคาบสมุทรมาเลย์ ราวศตวรรษที่ 13 ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมยั ท่ีสุโขทัยเปน็ ราชธานี
เมื่ออยุธยาเป็นราชธานี มุสลิมได้ทำการค้าขายอย่างมั่นคงและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้
การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย1 ถ้ายึดตามคำอธิบายของเสฐียรโกเศศ “แขก”เป็นชื่อที่คนไทย
เรยี กชนชาตติ ่าง ๆ ทางตะวนั ตกของประเทศไทย อนั ได้แก่ ปากสี ถาน อฟั กานิสถาน เปอร์เซยี (อหิ ร่าน)
และชาวอาหรับ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอสิ ลาม เพื่อแยกช่ือให้ผิดกับชาวตะวันตกพวกใหญ่อีกพวกหนงึ่
ซึ่งรวมเรียกว่าฝรั่ง2 นอกจากนี้ อิสลามได้เข้ามาแพร่หลายในภาคเหนือของไทยโดยมุสลิมชาวจีน
ซึง่ อพยพเข้ามาจากการเปล่ยี นแปลงทางการเมอื งในประเทศจีนหลังสงครามโลกครั้งท่ีสอง
มุสลิมในประเทศไทยอาจจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ขาดหลักฐานที่หนักแน่นพอจะนำมา
พิสูจน์ข้อสมมติฐานดังกล่าว เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ไม่ได้กล่าวถึงชาวมุสลิมในสยามโดยตรง
เช่น ข้อความบางตอนในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1822 - 1841)
หลักที่ 1 มีคำว่า “ตลาดปสาน” ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “บอซัร” หรือ “บาซาร์”
ซึ่งเป็นภาษาฟาร์ซีของเปอร์เซีย หลักฐานชิ้นแรกที่กล่าวถึงการเดินทางของชาวอาหรับและเปอร์เซีย
เข้ามายังสยามอย่างชัดเจนปรากฏอยู่ในบันทึกการเดินทางของโทเม่ ปีเร (Tome' Pires) ชาวโปรตุเกส
ท่ไี ด้บนั ทึกเก่ียวกบั ชาวต่างชาตทิ ่ีกรงุ ศรีอยุธยาไว้เมือ่ ค.ศ. 1515 (พ.ศ. 2058) วา่ "...พ่อค้าต่างชาติส่วน
ใหญ่จะเป็นชาวจีน...อย่างไรก็ดี มีชาวต่างชาติ อาทิ อาหรับและเปอร์เซีย...” ดังนั้น ทำให้เชื่อได้ว่า
1 https://db.sac.or.th/ethnicity/research/212
2 https://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm
1
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) (พ.ศ. 2034 - 2072)
มชี าวมสุ ลมิ เดนิ ทางมาตดิ ตอ่ คา้ ขายกับสยามอย่างแนน่ อน
นอกจากนี้ ชาวมุสลิมทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงมลายูก็มีประชากร
นับถือศาสนาอิสลามอยู่มากมาก่อน และบรรดาเจ้าเมืองทางภาคใต้ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นับถือศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี3 ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3 เกิดสงครามกับหัวเมืองมลายูขึ้น
หลายคร้งั และเม่ือมีการทำสงครามสิ่งหน่ึงทีแ่ ถบอษุ าคเนย์มักจะทำ คอื “การเทครัวหรือการกวาดต้อน
เชลยศึก” เพราะสมัยนั้นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ “คน” ช่วงเวลานั้นจึงมีการกวาดต้อนเชลยศึก
ชาวมลายูมายงั กรงุ เทพฯ หลายรอบ อาทิ
- สมัยรัชกาลที่ 1 ปี พ.ศ. 2329 กวาดต้อนเชลยศึกชาวปัตตานี ซึ่งปัจจุบันอยู่แถว แยก
บ้านแขก พระประแดง บริเวณสุเหร่าเก่าสวนหลวงบ้านไทร (อาณาบริเวณคลองตัน)
มหานาค คลองบางหลวงตลอดแนวปากคลองจนถึงบริเวณวัดใหม่ทองค้งุ (บา้ นสวนพลู)4
- สมยั รชั กาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2364 กวาดตอ้ นเชลยศึกชาวปัตตานีและชาวไทรบุรี (เคดะห์)
- สมัยรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ.2381กวาดตอ้ นเชลยศึกชาวกลนั ตนั ตรังกานู และหัวเมืองปักษใ์ ตอ้ ื่นๆ
หลักฐานพระราชดำรัชแสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใยของในหลวงรัชกาลที่ 3 ต่อเชลยชาวมลายู
ในชว่ งสงครามไทรบุรี ดงั ความทีไ่ ดร้ บั ส่งั ถามเสนาบดีว่า…
“ครัว (เชลยศึก) ซง่ึ เอาเข้าไปนั้นเปน็ คนที่ไหน” เจ้าคุณหาบกราบทลู ว่า “เปน็ คนเมืองจะนะบ้าง
เมืองเทพาบา้ ง เมืองตานีบา้ ง วา่ เป็นคนเมืองไทรบา้ งก็มี”
แล้วรับสั่ง สั่งพระยาราชวังสรรค์ว่า “ที่สุเหร่ามีกว้างขวางอยู่ พอจะผ่อนพักไว้ได้กร็ ับเอาพักไว้พอให้
มนั สบายก่อนเถดิ ” พระยาราชวังสรรค์ กราบทลู ว่า “ที่สุเหรา่ คลองนางหงส์ ก็กว้างขวางอยพู่ อจะพักอย่ไู ด้”
จากนั้นรับสั่งว่า “เออ เอาพักไว้ท่ีในนก้ี ่อนเถิด ทีม่ นั เจ็บไข้อยู่ กด็ ูขอหมอไปรกั ษาพยาบาลมันด้วย
พระยาเทพกับพระยาราชวังสรรค์อุตส่าห์เอาใจใส่ดูแลเบิกข้าวปลาอาหารให้มันกิน อย่าให้มันอดอยากซวดโซได้
ถ้าขา้ งหน้ามคี รอบครัวส่งข้าวไปอกี มากมายแลว้ จึงค่อยจัดแจงเอาไปต้ังท่ีแสนแสบขา้ งนอกทีเดยี วฯ” 5
“ชาวกลันตัน” ที่ถูกกวาดต้อนมาน้ี ไม่ได้มาจากเมืองกลันตันแต่อย่างใด แต่มาจากเมืองปตั ตานี
เพราะสมยั นัน้ ราชวงศส์ ดุ ท้ายท่ีปกครองเมืองปตั ตานี คืิอ “ราชวงศ์กลันตนั ” จึงมีชาวกลันตันท่ีอาศัยอยู่
ในเมืองปัตตานีด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดคลองแสนแสบเพื่อเป็นเส้นทางกองทัพไปรบกับญวน
3 https://news.muslimthaipost.com/news/30679
4 http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1433/6/Unit%202.pdf
5 https://shorturl.asia/IYbXq
2
และมกี ารขดุ คลองเพ่ือเช่ือมคลองแสนแสบกบั คลองพระโขนงโดยแรงงานชาวมลายูและคนกลนั ตนั ทางใต้ของสยาม
จึงได้ตั้งชื่อคลองว่า “คลองกลันตัน” ภายหลังเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง “คลองตัน” ปัจจุบันเม่ือ
มีการสร้างรถไฟฟา้ สายสเี หลอื งก็ได้ต้งั ชอ่ื สถานีรถไฟฟา้ บริเวณดังกลา่ วว่าสถานี “กลันตนั ”6
เจ้าชายองค์หนึ่งซึ่งอยูท่ ่ีหมู่เกาะเซเลบีส ได้พาผู้ติดตามหนีร้อนมาพึ่งเย็นในราชอาณาจักรสยาม
ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเมตตาพระราชทานที่ดินและบ้านให้อยู่ที่บริเวณปากคลองตะเคียน
นอกพระนครศรอี ยธุ ยา ซ่ึงตอ่ มาทแ่ี ห่งนนั้ เรียกวา่ “ทุ่งมักกะสัน” โดย "มักกะสนั " เพี้ยนจากชื่อหมู่เกาะ
มากัสซาร์ (Makassar) ซ่ึงปัจจุบนั อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย แต่คนทถ่ี ูกเรยี กวา่ “แขกมักกะสนั ” มีท้ังมา
จากเกาะมากัสซาร์และเกาะเซเลบีส (ซูลาเวซี)7 ปัจจุบันรถไฟฟ้าเชื่อมทา่ อากาศยานสวุ รรณภูมิ Airport
Rail Link มีการตั้งชื่อ สถานี “มักกะสัน” ซึ่งอยู่ระหว่างสถานีรามคำแหงกับสถานีราชปรารภ รวมถึงมี
การตั้งชื่อสถานีรถไฟมักกะสัน ซึ่งเป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออก รวมถึงมีการตั้งชื่อ
แขวงมักกะสัน อยใู่ นเขตราชเทวี กรงุ เทพฯ
“มุสลิมฝั่งธน” ชาวไทยมุสลมิ ในเขตธนบุรีมบี รรพบุรุษจากเชือ้ ชาติต่าง ๆ จากเปอร์เซีย อาหรบั
ชวา-มลายู จาม-เขมร อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และจีน สามารถจําแนกเป็นสองกลุ่ม คือ ชีอะห์
และซุนนะห์หรือซุนนี8 ชุมชนของมุสลิมทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ของฝั่งธนที่เรียกว่า “คลองบางหลวง”
หรือ “คลองบางกอกใหญ่” ในปัจจุบัน ในอดีตชาวมุสลิมอยู่รวมกันอย่างหนาแนน่ มที ้ังทีผ่ ูกเป็นเรือนแพ
อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกับที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ตลอดสองฝั่งคลองรวมกันเป็นชุมชน เรียงรายตั้งแต่บริเวณ
ปากคลองบางหลวงที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงป้อมวิชัยประสิทธิ์ หรือพระราชวังเดิมจนลึกเข้ามา
ในคลองไปจนถึงบริเวณสะพานเจริญพาศน์ปัจจุบัน ชาวมุสลิมตั้งรกรากอยู่ที่คลองบางหลวงมายาวนาน
กว่า 200 ปี เป็นชุมชนที่เข้มแข็งในเรื่องศาสนา โดยศาสนสถานเรียกว่า “กุฎี” เช่น กุฎีใหญ่ กุฎีหลวง
กุฎีกลาง กุฎีขาว เป็นต้น ปัจจุบัน มีมัสยิดที่สำคัญ 3 มัสยิด ได้แก่ มัสยิดสวนพลู มัสยิดนูรุ้ลมู่บีนหรือ
มัสยิดบ้านสมเด็จ และมัสยิดกุฎีขาว9 ภาพวิถีชีวิตแต่ครั้งอดีต ของชาวมุสลิมกลุ่มนี้มีปรากฏหลักฐานใน
บนั ทึกประวตั ิศาสตร์และโคลงฉันทก์ าพยก์ ลอนชว่ งกรุงรัตนโกสนิ ทร์หลายบทหลายตอน10
6 https://www.thansettakij.com/general-news/529453
7 https://shorturl.asia/NkOMC
8 http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1433/6/Unit%202.pdf
9 http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1433/5/Unit%201.pdf
10 https://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm
3
“มุสลิมมลายู” ชาวมลายูปัตตานีเป็นกลุ่มชนขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่จำนวนมาก
ในจังหวดั ทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นประชากรส่วนใหญต่ ั้งแต่จังหวัดปัตตานี จงั หวัดนราธิวาส และ
จังหวัดยะลา รวมไปถึงบางส่วนของจังหวัดสงขลาและสตูล มีประชากร 3,359,000 คน หรือร้อยละ 3
ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวมลายูปัตตานีเรียกตนเองว่า
“ออแรฺนายู” ซึ่งมีความหมายว่า “คนมลาย”ู และจะเรียก “คนมาเลเซีย” วา่ “ออแรฺมาเล” เพราะพวก
เขาแยกแยะและมีจติ สำนึกได้ดีว่าเขาไม่ใช่คนมาเลเซยี ส่วนชาวมลายูปตั ตานีที่ถูกกวาดต้อนไปอาศัยอยู่
ในกรุงเทพฯ จะถูกเรียกว่า “ออแรฺนายูบาเกาะ” ถือว่าเป็นชาวมลายู แต่ถูกกวาดต้อนไปกรุงเทพฯ
ชาวไทยเชื้อสายมลายูในกรุงเทพฯ นั้นอาศัยอยู่กระจายตัวตั้งแต่สี่แยกบ้านแขกในฝั่งธนบุรีเลยไปถึง
เขตหนองจอก แต่คำนีย้ ังรวมไปถงึ คนมลายรู อบ ๆ ปรมิ ณฑลดว้ ย โดยทีจ่ ังหวัดปทมุ ธานีจะพบคนกลุ่มน้ี
ในเขตคลองประชาเก่ง คลองบางโพธิ์เหนือ และคลองหนึ่ง สถานที่ตั้งถิ่นฐานมีสุเหร่าเป็นแห่งแรกที่
บา้ นสวนพรกิ ไทย สว่ นในจังหวดั นนทบุรีมชี นกลมุ่ นี้ทสี่ ามารถพูดภาษามลายไู ดท้ ีต่ ำบลท่าอฐิ อำเภอปากเกร็ด
ที่ถูกกวาดต้อนมาจากจังหวัดปัตตานีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นเวลากว่า 200 ปีมาแล้ว ในจังหวัด
อยุธยาเองก็มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายมลายูอยู่ที่คลองตะเคียนใต้เกาะอยุธยา ซึ่งเข้ามาอาศัยนานแล้ว
ตั้งแต่สมัยอยุธยา ประชากรไทยเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมัซฮับชาฟิอี โดยมีศาสนาอิสลาม
เป็นองค์ประกอบสำคัญในอัตลักษณ์ความเป็นไทยเชื้อสายมลายู ชาวไทยเชื้อสายมลายูที่มีชื่อเสียง อาทิ
ฯพณฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ นายเด่น โต๊ะมีนา ศาตราจารย์พิเศษ
ดร. สุรินทร์ พิศสวุ รรณ นายอารีเพญ็ อุตรสินธ์ุ 11
รวมมุสลิมไทยสร้างชาติ
ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2148) ได้มีพ่อค้าชาวมุสลิมจากเปอร์เซยี
เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา โดยบุคคลที่ได้รับการกล่าวถงึ มากที่สุดคอื เชคอะห์มัด กูมี
(Ahmad Qumi) พร้อมกบั น้องชายชอื่ มะหะหมัด สะอดิ ทา่ นได้ตั้งถนิ่ ฐานในกรงุ ศรอี ยธุ ยาและแต่งงาน
กับหญิงไทย รวมถึงเข้ารับราชการในพระราชวัง สำหรับน้องชายของท่านได้เดินทางกลับอิหร่าน
ซงึ่ จดหมายเหตุประถมวงศกลุ บุนนาคระบุว่า “สองคนพนี่ อ้ งเป็นหัวหนา้ พ่อค้าใหญฝ่ ่ายแขกทั้งปวง ท่าน
ทั้งสองเป็นตน้ เหตพุ าพวกลูกค้าแขกชาติมะห่นคือแขกเจา้ เซ็น เข้ามาตั้งห้างคา้ ขายอยู่ในกรงุ ศรีอยุธยา”
ต่อมาในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เชคอะห์มัด กูมี พร้อมด้วยมิตรสหาย ร่วมใจกัน
ปราบปรามชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่ง ที่ก่อการจลาจลและจะยึดพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น
เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี พร้อมกับตำแหน่งสมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ และเจ้า
11 https://shorturl.asia/VDn4f
https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/46
4
กรมท่า ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้เชคอะห์มัด กูมี ซึ่งมีอายุ 87 ปี
เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี
ทา่ นเป็นตน้ สกุลของมุสลิมไทยหลายนามสกลุ และสกุลบนุ นาค รวมถงึ เปน็ ต้นสกลุ ของเจ้าพระยาหลายท่าน
เชื้อสายของท่านเชคอะห์มัด กูมี ผูกพันเชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองไทยมาตลอด เนื่องจากได้รับ
บรรดาศักดิ์และตำแหน่งทางราชการที่สำคัญอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น พระยา เจ้าพระยา และสมเด็จ
เจ้าพระยา เช่น สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์(ดิศ) ผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 4 และบุตรชายของ
ท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) เป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 5 นอกจากน้ี ยังมี
อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย คือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
สองพี่น้องผู้สืบเชื้อสายจากสกุลบุนนาค ที่มี เชคอะห์มัด กูมี (Ahmad Qumi) เป็นปฐมวงศกุล รวมท้ัง
นายกรัฐมนตรีอกี ทา่ น คอื พลเอก ชวลิต ยงใจยทุ ธ ตา่ งก็มีเช้อื สายอหิ ร่านเช่นกนั
ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อเกิดภัยคุกคามจากฮอลันดา ออกพระศรีเนาวรัตน์
“พระคลัง” ชาวอิหร่าน กราบทูลให้เจริญสัมพันธไมตรีกับเปอร์เซียเพื่อดุลอำนาจกับฮอลันดา
อีกทั้งราชสำนักสยามยังจะสามารถขยายการค้าในมหาสมุทรอินเดียและอ่าวเปอร์เ ซียจาก
การมีความสัมพันธ์อันดีกับเปอร์เซียด้วย ประกอบกับสมเด็จพระนารายณ์ทรงคุ้นเคยกับชาวเปอร์เซีย
ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เพราะสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 - 2199) พระราซบิดามีพระสนม
เป็นชาวอิหร่านถึงสองคนคือ ท่าน “ชี” บุตรีเจ้าพระยาบวรราชนายก (อะห์มัด กูมี) และท่าน “เลื่อน”
บุตรีเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาบวรราชนายก (อะห์มัด กูมี) อีกทั้งท่าน
“เลื่อน” ให้กำเนิดพระราชธิดาทรงพระนามว่า “พระองค์เจ้าหญิงแสงจันทร์” และการมีพระบรม
ราชานุญาตให้ประชาคมอินโด-อิหร่านตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมือง รวมถึงการที่สมเด็จพระนารายณ์
มหาราชได้รับความช่วยเหลือจากชาวอิหร่านในการขึ้นครองราชย์จึงทำให้พระองค์ซึมซับวัฒนธรรม
อิหร่านและทรงมีทัศนคติที่ดีต่อเปอร์เซีย พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะสถาปนาความสัมพันธ์กับ
ราชสำนักอิหร่านเพื่อใช้เปอร์เซียถ่วงดุลย์ฮอลันดามิให้คุกคามสยาม พระองค์ได้ส่งพระราชสาส์นเพื่อ
เจริญสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ ชาฮ์ สุลัยมานแห่งอิหร่าน ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญ
สัมพันธไมตรีต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันเป็นที่มาของเรื่องราวเกี่ยวกับสำเภากษัตริย์สุลัยมาน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่มาของนิทานเรื่อง "อิหร่านราชธรรม" นิทานของอิหร่านซึ่งเป็นหลักการที่เกี่ยวกับ
การปกครอง โดยชาวอหิ ร่านใช้เป็นหลกั ในการปกครองเปอรเ์ ซีย และอริ กั รวมถึงอินเดีย
ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) ได้มีดาโต๊ะโมกอล ซึ่งอพยพครอบครัวจาก
เมืองสาเลห์ ในชวาภาคกลาง โดยทางเรือมาตั้งหมู่บ้านที่ตำบลหัวเขาแดง ริมทะเลปากอ่าวสงขลาและ
ได้ถวายตัวสวามิภักดิ์ ต่อมาพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการนครสงขลา
และดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2163 จึงถึงแก่อสัญกรรม ท่านสุลัยมานบุตรชายจึงขึ้นครองนครสงขลา
5
แทนบิดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2172 เจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษก
เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง”
ท่านสุลัยมานเห็นว่ามิใช่เป็นการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมนเฑียรบาลจึงไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระ คือ รัฐสิขรานคร หรือรัฐสุลต่านเสงฆอรา หรือเมืองสงขลา-พัทลงุ สถาปนา
พระองค์เป็นกษัตริย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173-2211 ผู้ที่มาสืบทอดตำแหน่งต่อจากสุลต่าน/กษัตริย์สุลัยมาน ชาห์
คอื บตุ รชายองค์ใหญ่ นามว่า มสุ ตาฟา ชาห์ ในชว่ งปี พ.ศ. 2211-2223 ซ่งึ อยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช12
ในเวลาต่อมารัฐสิขรานครได้ถูกปราบปรามลงเป็นเมืองขึ้นของสยามดังเดิม โดยบุตรชายทั้งสาม
ของท่านสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ ได้รับราชการต่อไป คือ “มุสตาฟา” ในเวลาต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองไชยา
มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาศรีวิชัยสงคราม” “ฮูเซน” ต่อมาได้เป็นพระยาจักรี เจ้าเมืองพัทลุง และ
“ฮะซัน” ต่อมาได้เป็น “พระยาราชบังสัน” แม่ทัพเรือของกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นตำแหน่งพระยา
ราชบังสัน หรือพระยาราชวังสัน ก็ได้กลายเป็นตำแหน่งของผู้สืบสกุลมาจากลูกหลานของสุลต่าน
สุลัยมาน ชาห์ หลายชว่ั อายคุ น นับตงั้ แตอ่ ยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์สืบมา13
สายตระกลู สุลต่านสลุ ัยมาน ชาห์ ท่ีมีบทบาทสำคัญย่งิ คอื พระยาพัทลงุ คางเหลก็ (ขนุ ) ซ่ึงในคราว
ที่พระยาพัทลุงผู้เป็นบิดาพาบุตรชายชื่อ “ขุน” ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
มีเพื่อนรุ่นเดียวกันอีก 3 คน คือ “สิน” ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช “ทองด้วง” ซึ่งต่อมา
คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช “บุญนาค” ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยามหาเสนา
ต้นตระกูลบุญนาคในปัจจุบัน ขุนรับราชการอยู่ร่วมกับสินและเป็นหนึ่งในห้าร้อยคนที่ร่วมตีฝ่าวงล้อม
แหกคา่ ยทหารพม่าออกมารวมพลตอ่ สกู้ บั กองทัพพม่าจนไดร้ ับอิสรภาพภายใน 7 เดือน14
สายตระกูลสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ปกครองหัวเมืองทางภาคใต้ และ
รับราชการในราชธานีกรุงศรีอยุธยา ร่วมกอบกู้เอกราช รับราชการในราชธานีกรุงธนบุรีและกรุง
รัตนโกสินทร์มาโดยตลอด รวมถึงเป็นที่มาของสกุลต่าง ๆ เช่น “มูดาฮุซเซ็น” “คชสวัสดิ์” “หวันมุดา”
“ศิริธร” “ณ พัทลุง” “สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง” “วัลลิโภดม” “ชลายนเดชะ” เป็นต้น บางส่วนของ
เชื้อสายนี้ยังคงเป็นมุสลิม ซึ่งบําเพ็ญคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินไทยอยู่ตลอดมา บางส่วนเป็นพุทธศาสนิก
บางท่านเป็นสมาชิกในพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงเป็นพระบรมวงศ์ชั้นสูงหรือชั้นสูงสุดด้วย ได้แก่
“เจ้าจอมมารดากลิ่น” ในรัชกาลท่ี 1 มีโอรสองค์หนึ่งชือ่ “พระองค์เจา้ สุทศั น”์ ซึ่งเป็นตน้ สกุล “สุทัศน์ ณ อยุธยา”
“เจ้าจอมมารดาเรียม” ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งได้ประสูติพระโอรส 3 พระองค์ โดย “พระองค์เจ้าทับ”
ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่ง"เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ส่วนอีก 2 พระองค์
12 https://shorturl.asia/ySEI1, https://shorturl.asia/uMiUs
13 https://news.muslimthaipost.com/news/25019
14 https://shorturl.asia/ySEI1, https://shorturl.asia/Zmxbr
6
ทรงสิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ “เจ้าจอมมารดาเรียม” ได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระศรีสุลาลัย
บรมราชชนนี” “เจ้าจอมมารดาทรัพย์” ในรัชกาลที่ 3 ประสูติพระโอรสชื่อ “พระองค์เจ้าศิริวงศ์”
ซึ่งเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 และเป็นพระราชชนนี
ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวรัชกาลท่ี 515
การเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยมีนักการเมืองมุสลิมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ประเทศทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีบุคคลสำคัญท่ีมีบทบาทในการเมืองไทย
และเป็นทร่ี ูจ้ กั หลายท่าน อาทิ
- ฯพณฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นชาวไทยมุสลิมคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่ง
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หวั หนา้ พรรค
ประชาชาติ และเป็นบุคคลที่พรรคประชาชาติจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้ง
เปน็ นายกรัฐมนตรีในการเลอื กตั้งทัว่ ไปเมอื่ ปี พ.ศ. 2562
- นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นชาวไทยมุสลิมคนแรกทีไ่ ด้ดำรงตำแหน่งรฐั มนตรี
โดยเป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน
และในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร รวมถึงเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จงั หวดั สตลู 5 สมยั 16
- นายเล็ก นานา เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์มาแต่แรกเริ่ม
เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
กรุงเทพมหานครหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการพลงั งาน และรฐั มนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ17
- นายเด่น โต๊ะมีนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี 8 สมัย อดีต
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการกลาง
อสิ ลามแหง่ ประเทศไทย18
15 https://www.silpa-mag.com/history/article_44291
16 https://shorturl.asia/GaqIS
17 https://shorturl.asia/u6zTm
18 https://shorturl.asia/mPEYL
7
- ศาตราจารย์พิเศษ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3 ของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเลขาธิการ
อาเซียน วาระ พ.ศ. 2551 ถงึ 2556 เปน็ เลขาธกิ ารอาเซยี นชาวไทยคนท่ี 219
- นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาสหลายสมัย
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และอดีตรองหวั หน้าพรรคมาตภุ มู ิ20
- นายสิดดิก สารีฟ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 2 สมัย และ
อดตี รัฐมนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงศกึ ษาธิการ ในรฐั บาลหม่อมราชวงศ์เสนยี ์ ปราโมช
- นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวง
มหาดไทย และอดีตผวู้ า่ ราชการจังหวดั สตูล สระบุรี ปราจีนบรุ ี สุพรรณบุรี21
- นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ มุสลิมะหค์ นแรกของไทยที่ได้เปน็ รัฐมนตรี ในตำแหนง่ รัฐมนตรี
ชว่ ยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตนายกเทศมนตรี เมืองอุทัยธาน2ี 2
- นายสามารถ มะลูลีม ชาวไทยมุสลิมคนแรกที่ได้เป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร
เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2 สมัย
ประธานคณะกรรมาธิการกิจการชายแดน สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภา
กรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตพระโขนง อุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ
ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นประธาน
คณะกรรมการนโยบายกีฬาและกิจการุมุสลิม พรรครวมไทยสร้างชาติ ประธาน
มูลนธิ ิเพื่อศูนยก์ ลางอิสลามแหง่ ประเทศไทย และเป็นเจ้าของค่ายมวย “ลูกคลองตนั ”
วัฒนธรรมมสุ ลิมไทยสรา้ งชาติ
วัฒนธรรมไทยบางส่วนเป็นการผสมผสานมาจากวัฒนธรรมของชาวมุสลิมในไทยนับตั้งแต่ในอดีต
ซึ่งบางสวนเลือนหายไปและบางสวนยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยวัฒนธรรมอาหารของมุสลิมได้
กลายเป็นส่วนหน่งึ ของวัฒนธรรมอาหารไทยไม่วา่ จะเป็นประเภทแกง เชน่ แกงมสั มน่ั แกงกะหรี่ แกงกรุ ุหมา่
แกงเปรี้ยว แกงมาสซาร่าแพะ เป็นต้น ประเภทต้ม/ซุป อาทิ ซุปเนื้อ ต้มเครื่องในวัว ประเภทอาหารจานเดียว
19 https://shorturl.asia/3zNZJ
20 https://shorturl.asia/01QhK
21 https://shorturl.asia/v8rNl
22 https://shorturl.asia/SeVLK
8
อาทิ ข้าวหมกไก่ ข้าวหุง ข้าวเหนียวเหลืองหน้าไก่ สลัดแขก ก๋ยวเตี๋ยวแกง ข้าวยํา ไก่ฆอและ
ประเภทอาหารหวาน/อาหารว่าง เช่น โรตี โรตีปาแย มะตาบะ เคบับ ขนมบดิน ฮะหรั่ว ขนมซูยีน้ำ/ซูยี
แหง้ สะเตะ ขนมดาดา ซาโมซ่า เป็นต้น23
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือ ชมเครื่องคาวหวาน
เกยี่ วกับแกงมัสมนั่ ไวว้ ่า
๏ แกงไก่มสั ม่ันเน้ือ นพคณุ พี่เอย
หอมยห่ี ร่ารสฉุน เฉียบรอ้ น
ชายใดบรโิ ภคภญุ ช์ พศิ วาส หวังนา
แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚
๏ มสั มัน่ แกงแกว้ ตา หอมยี่หร่ารสรอ้ นแรง
ชายใดไดก้ ลืนแกง แรงอยากใหใ้ ฝฝ่ ันหา24
นอกจากน้ี ในปี พ.ศ. 2564 เว็บไซต์ CNN ไดป้ ระกาศรายชื่อ 50 อันดบั เมนูอาหารท่อี ร่อยทีส่ ดุ
ในโลก โดยแกงมัสมั่นจากประเทศไทยได้รับอันดับที่ 1 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก The World's 50
Best Foods25
ด้านภาษามีคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย เช่น คำว่า “ตลาดปสาน” มาจากคำว่า “บอซัร” หรือ
“บาซาร์” คำว่า “ผ้าขะม้า” หรือ “ผ้าขาวม้า” มาจากคำว่า “คามาร์ บันด์” (Kamar Bund) หมายถึง
“ผ้าผืนที่ใช้รัดหรือคาดเอว” คำว่า “องุ่น” มาจากคำว่า "อังกูร" (Augur) คำว่า “กระจุกกระจิก” มา
จากคำว่า “กุจิ้ก กุจิ้ก” (Kuchek Kuchek) คำว่า “กากี” แปลว่า “สีน้ำตาลปนเหลือง, สีสนิมเหล็ก”
มาจากคำว่า “คาก-Khak” ซึ่งแปลวา่ ฝนุ่ หรือดนิ แต่กอ่ นนีเ้ ราเรยี กสคี ากี แลว้ มาเพี้ยนเป็นกากี
งานเมาลดิ กลางแหง่ ประเทศไทย
งานเมาลิดเป็นงานฉลองการเกิดของศาสดามุฮัมหมัด (ศ๊อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ซึ่งตรงกับ
วันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ตามปฏิทินอิสลามซึ่งนับตามจันทรคติ โดยงานเมาลิดมักจะจัดในประเทศ
อียิปต์ และประเทศมุสลิมอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทย
มีการจัดงานนี้มาอย่างช้านาน แต่เริ่มเป็นกิจลักษณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
23 http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1433/8/Unit%204.pdf,
https://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm,
http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1433/5/Unit%201.pdf
24 https://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm
25 https://food.trueid.net/detail/DAW7D7PEE55A
9
โดยใช้ชื่อว่า “งานเมาลิดสนามหลวง” ซึ่งจัดงานฉลองดังกล่าวที่ท้องสนามหลวงเพื่อสนับสนุนกิจการ
ศาสนาอสิ ลามในราชอาณาจักรและได้พระราชทานเสื้อคลุมให้กบั อิหมา่ มในการประกอบศาสนกิจ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็ นการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยแล้วยังคงมีการจัดงานเมาลิดโดยใช้ชื่อว่า “งานเมาลิดส่วนกลาง” แต่ต่อมาได้หยุดไป
เนื่องจากการดำเนินนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อย่างไรก็ตาม ได้มีการรื้อฟ้ืน
การจัดงานขึ้นมาอีกครั้งหลังจากจอมพลแปลกพ้นจากอำนาจ โดยในปี พ.ศ. 2506 นายต่วน สุวรรณศาสน์
จุฬาราชมนตรีในขณะน้ันได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการเปิดงาน
เมาลิดกลางแห่งประเทศไทย และในปีใดที่พระองค์ทรงติดภารกิจทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระกนิษฐาธิราช
เจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ ในรัชสมยั ของในหลวงรัชกาลท่ี 10 พระองคท์ รงเสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงเปิด “งานเมาลิด
กลางแห่งประเทศไทย” มาโดยตลอด
งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยเป็นงานที่มีการกล่าวบทสดุดีศาสดามุฮัมหมัด (ศ๊อลัลลอฮุ
อะลัยฮิ วะซัลลัม) หรือที่ชาวมุสลิมเรียกกันว่าบัรซันญีซึ่งเป็นบทกลอนอาหรับที่มีความไพเราะ และมี
การขอพรให้กับศาสดามุฮัมหมัด (ศ๊อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) หรือที่ชาวมุสลิมเรียกว่าซอลาวาต
นอกจากนี้ ยังมีการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกรุ อานโดยชาวไทยและชาวต่างประเทศ การเผยแพร่จริยวัตร
อันงดงามและเรียบง่ายของศาสดามุฮัมมัด และการบรรยายทางวิชาการ ตลอดจนมีการออกร้าน
จำหนา่ ยอาหารอสิ ลาม และเครื่องแต่งกายตามแบบอสิ ลาม
จฬุ าราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
เวบ็ ไซต์ของสำนกั จุฬาราชมนตรีระบุว่าประเทศไทยมีจุฬาราชมนตรมี าแล้วท้ังหมด 18 ทา่ น ดงั น้ี
สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ เจ้าพระยา เฉกอะหมัด รัตนราชเศรษฐี (เฉกอะหมัด) พระยา
จฬุ าราชมนตรี (แกว้ ) พระยาจุฬาราชมนตรี (สน) และพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน)
สมัยกรุงรตั นโกสินทร์ (ก่อนการเปลย่ี นแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475)
ได้แก่ พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) พระยาจุฬาราชมนตรี (อากายี) พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน)
พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) พระยา
จฬุ าราชมนตรี (สัน) พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อะหมดั จุฬา) และพระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา)
10
สมยั กรุงรตั นโกสินทร์ (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธปิ ไตย พ.ศ. 2475)
ได้แก่ จุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ (ฮัจยีซัมซุดดิน บิน มุสตาฟา) จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสตร์
จุฬาราชมนตรี ประเสริฐ มะหะหมัด (อะหมัด บินมะหะหมัด) จุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ และ
จุฬาราชมนตรี อาศสิ พทิ กั ษค์ มุ พล
“เจ้าพระยาวรราชนายก (เชคอะห์มัด) ปฐมจุฬาราชมนตรี” ในปี พ.ศ. 2143 เมื่อสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช เสดจ็ ขึน้ เถลงิ ถวัลย์ราชสมบตั ิเปน็ ปีท่ี 11 เชคอะห์มัด กมู ี ได้เดินทางเขา้ มาทำการคา้ ขายที่ตำบลทา่ กา
ยี ใกล้กรุงศรีอยุธยา ต่อมาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมท่านเชคอะห์มัด กูมี ได้ช่วยปรับปรุงราชการ
กรมทา่ จนได้ผลดจี ึงโปรดเกลา้ ฯ ใหเ้ ป็น “พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐ”ี เจา้ กรมทา่ ขวาและจฬุ าราชมนตรี
นบั ได้วา่ ท่านเปน็ ปฐมจฬุ าราชมนตรีและเปน็ ผ้นู ำพาศาสนาอสิ ลามนกิ ายชีอะห์มาสปู่ ระเทศไทย
“พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) พระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” เป็นบุตรพระยา
จุฬาราชมนตรี (เชน) กับคุณหญิงทองก้อนต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินสร้าง“กุฎีเจ้าเซ็น26”ขึ้นที่ข้างพระราชวังเดมิ
เรียกว่า “กุฎีหลวง” ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 82 ปี
โดยศพของทา่ นฝงั ไว้ ณ มสั ยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ปากคลองบางกอกใหญ่ หลงั พระราชวงั เดมิ
“พระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) พระยาจุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสายสกุลท่าน
เชคอะห์มัด” เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่ 13 แห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) กับคุณหญิงถนอม ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จ
พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยู่หัว รชั กาลที่ 6 ไดร้ ับราชการและโปรดเกลา้ ให้เปน็ “หลวงราชเศรษฐี” รบั ราชการ
ในกระทรวงมหาดไทย ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เลื่อนเป็น “พระ
จุฬาราชมนตรี สอน อะหมัดจุฬา” นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสายสกุลท่านเชคอะห์มัด ถึงแก่
อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2479 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ประมาณ 4
ปี ศพของทา่ นถกู ฝงั ณ สสุ านมัสยิดตน้ สน (กฎุ ใี หญ่)
“จุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ จุฬาราชมนตรี คนแรกภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475”
นับต้ังแตก่ ารสิน้ สดุ ทา่ นพระจุฬาราชมนตรี (สอน) ตำแหนง่ จฬุ าราชมนตรีก็รา้ งราไปนานรว่ ม 10 ปี ไม่มี
การสืบทอดตำแหน่งดังกล่าว แต่ครั้นต่อมาในสมัยประชาธิปไตยยุคแรก และเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลง
การปกครองบ้านเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เมื่อ พ.ศ. 2488 ได้มีการผลักดันในการตรา “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม” ข้ึน
26 กฎุ คี ือศาสนาสถานของมสุ ลมิ นิกายชีอะห์ สว่ นเจา้ เซน็ นน้ั หมายถงึ มสุ ลมิ นกิ ายชอี ะห์
11
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั อนันทมหิดล ซึ่งมี ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตามพระราชกฤษฎีกานี้ กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีขึ้นเพื่อเป็น
ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับกิจการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม ได้กำหนดให้มีพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นคณะหนึ่งเพื่อเป็นคณะผู้ควบคุมการบริหาร
กิจการศาสนาอิสลามแห่งประเทศไทย และถ้าจังหวัดใดมีประชากรมุสลิมมากพอสมควรก็กำหนดให้
กระทรวงมหาดไทยแต่งต้ังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขึ้น ใหค้ ณะกรรมการอิสลามประจำจังหวดั
มีอำนาจในการแต่งตั้งอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และกรรมการมัสยิดได้ และให้อำนาจหน้าที่ในการ
ควบคุมดแู ลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมสั ยดิ และกรรมการมสั ยดิ ในเขตจังหวัดของตน ต่อมาเม่อื
พ.ศ. 2491 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีให้เป็นที่ปรึกษาของกรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการเกี่ยวกับศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามเท่านั้น จุฬาราชมนตรี คนแรกที่ได้รับ
การแต่งตั้งตามพระราชกฤษฏีกานี้ คือ นายแช่ม พรหมยงค์ เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 10 แห่งกรุง
รตั นโกสินทร์ และเปน็ จุฬาราชมนตรีคนท่ี 14 แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
“จุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน ท่านอาศิส พิทักษ์คุมพล” ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
จุฬาราชมนตรี สืบต่อจาก นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ โดยเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้รับ
ลงคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่ง
จุฬาราชมนตรี ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งนับเป็นคนที่ 2
ต่อจากนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 เมื่อวันท่ี
6 มิถุนายน พ.ศ. 255327
สถิตปิ ระชากรมสุ ลมิ ในประเทศไทย
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทุก 10 ปี โดยการสำรวจล่าสุด
เมื่อปี พ.ศ. 2553 (เลื่อนสำรวจปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19)) ระบุว่า มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 4.9 หรือจำนวนรวม 3,259,340 คน
แบง่ เป็นเพศชาย 1,612,509 คน เพศหญิง 1,646,831 คน จากประชากรรวมทั้งประเทศ 65,981,660 คน28
27 https://shorturl.asia/r5oWO
28 http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/table-stat.aspx
12
สถิติมัสยดิ ในประเทศไทย
ชุมชนมุสลิมไม่ว่าจะมีบรรพบุรุษสืบเนื่องมาจากเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใด จะมีการตั้งถิ่นฐาน
อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชนและเป็นไปตามรูปแบบและคำสอนของศาสนาอิสลาม เมื่อเกิดการรวมตัว
ตั้งเป็นกลุ่มหรือชุมชน หรือที่เรียกในภาษามลายูซึ่งมาจากภาษาเขมรว่า “กำปง” แล้วมุสลิมในแต่ละ
ชุมชนจะเสียสละทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์เพื่อสร้างศูนย์กลางของชุมชนขึ้น นั่นคือ "มัสยิด" หรือ"
สุเหร่า" และหากพื้นที่ไม่จำกัดจนเกินไป บริเวณมัสยิดจะมีหน่วยอื่น ๆ ประกอบด้วย อาคารมัสยิด
อาคารเรียน อาคารอเนกประสงค์ และกุโบร์ (สุสาน) สำหรับฝังศพ แต่บางชุมชนอาจต้องใช้ส่วนหน่ึง
ของมสั ยดิ เป็นท่ีศึกษา และไปใช้กโุ บรร์ ่วมกบั ชุมชนอน่ื 29
สถิติจำนวนมัสยิดในประเทศไทยที่จดทะเบียนจัดตั้ง ซึ่งรวบรวมโดยกองส่งเสริมองค์กรศาสนา
อิสลามและกิจการฮัจย์ กรมการปกครอง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2561 มีดังนี้ จำนวนมัสยิดรวมทั้งสิ้น
3,943 มัสยิด ประกอบด้วย ภาคใต้ (14 จังหวัด) 3,340 มัสยิด ภาคกลาง (24 จังหวัด) 521 มัสยิด
ภาคเหนอื (15 จงั หวัด) 50 มสั ยดิ และภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ (15 จังหวัด) 32 มัสยดิ 30
29 https://news.muslimthaipost.com/news/32361
30 https://news.muslimthaipost.com/news/32919
13