The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tunwarut.b6070663, 2024-01-23 02:12:56

เล่ม1_ผลงาน_content

เล่ม1_ผลงาน_content

- 1 - แบบการนำเสนอผลงาน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล/ตำแหน่ง ชื่อผู้ขอประเมินผลงาน นางสาวคนึงนิจ เยื่อใย . ตำแหน่งปัจจุบัน นายแพทย์ชำนาญการ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) . หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งปัจจุบัน. . 1. อาจารย์ประจำศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 1.1 ควบคุมดูแลให้คำแนะนำแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) และสัตวแพทย์ ในการปฏิบัติงานสอบสวน การวิเคราะห์สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ การวิเคราะห์ปัญหา สาธารณสุข การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา รวมถึงงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงตลอดระยะเวลา ที่เข้ารับการฝึกอบรม 1.2 ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้รับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) และสัตวแพทย์ ตามเป้าหมายของการฝึกอบรมแต่ละระยะที่กำหนดไว้ 1.3 จัดการเรียนการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้และให้สอดคล้อง กับเป้าประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรม ตลอดจนพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.4 ให้คำปรึกษาทางวิชาการ หรือเป็นที่ปรึกษาโครงการในการปฏิบัติงานหรือการศึกษา ทางด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ประกอบด้วย การตรวจสอบและติดตามสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาการสอบสวนทางระบาดวิทยา งานวิจัยภาคสนาม ฯลฯ 2. เป็นที่ปรึกษาด้านระบาดวิทยาและโรคไม่ติดต่อ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 3. จัดทำโครงการความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การบริการ (การตรวจทางห้องปฏิบัติการ) การศึกษา (การเป็นศูนย์ฝึกอบรมศึกษา ดูงาน) และการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันทรัพยากรเพื่อพัฒนางาน ด้านการป้องกันควบคุมโรค 4. ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิชาการที่เกี่ยวข้อง กับการสอบสวนโรคและภัยสุขภาพรวมถึงการตอบโต้โรคและภัยสุขภาพ ตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) . หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง. . ตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ มีหน้าที่ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความชำนาญ งานสูง ในงานวิชาการแพทย์รวมถึงระบาดวิทยาการแพทย์และระบาดวิทยาภาคสนาม ต้องปฏิบัติงานที่ ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ด้านการปฏิบัติการ 1.1 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพระบาดวิทยาทางการแพทย์ ในฐานะผู้ชำนาญการ พิเศษ เพื่อให้การปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเกิดผลที่มีประสิทธิภาพ 1.2 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแบบแผน และพัฒนาการปฏิบัติงาน ตลอดจนบริหารจัดการ ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ


- 2 - 1.3 ให้คำปรึกษา แนะนำ ควบคุม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบาดวิทยา และการวิเคราะห์ข้อมูลโรคและภัยสุขภาพรวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ เพื่อการป้องกันควบคุมโรค แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในงานที่รับผิดชอบ 1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิชาการแพทย์ ในสายงานที่รับผิดชอบที่สามารถนำไปพัฒนางาน เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ 1.5 ติดตาม ประเมินผล และควบคุมการดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ 1.6 พัฒนา กำกับดูแล ให้คำแนะนำ ในด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันควบคุมโรค 2. ด้านการวางแผน ได้แก่ วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนโครงการของหน่วยงาน เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือปรับปรุงให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และติดตามประเมินผลเพื่อให้ผลงาน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3. ด้านการประสานงาน 3.1 ประสานงานกับทีมงานรวมถึงบุคลากรภายในหน่วยงาน โดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจทีมงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ส่งผลให้ได้ผลสัมฤทธิ์ของงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือคณะทำงานต่างๆของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือ อันจะนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของหน่วยงาน 3.3 ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดการร่วมมือในการที่จะแลกเปลี่ยน ทั้งในองค์ความรู้และทรัพยากร อันจะนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังของหน่วยงาน 4. ด้านการบริการ 4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอด ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ของระบาดวิทยา การแพทย์และระบาดวิทยาภาคสนาม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งในและนอกหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการในสถานการณ์จริง 4.2 ร่วมดูแลผู้ที่มารับบริการ และถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ในการดูแลผู้มารับ บริการ ให้กับผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สาธิตบริการของหน่วยงาน ส่วนที่ 2 ผลงานที่เป็นผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงาน เรื่องที่ 1 1. เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในสามกลุ่มวัยของประชากรไทยระหว่างการระบาด . ของโควิด-19 . 2. ระยะเวลาการดำเนินการ มีนาคม - มิถุนายน 2565 . ๓. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน - ความรู้และทักษะด้านวิชาการ ได้แก่ ความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์รวมถึงความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการคำนวณและวิเคราะห์ผลทางสถิติรวมถึงความคิดริเริ่มในการพิจารณาลักษะข้อมูลและการเลือกใช้สถิติ และวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับรูปแบบและข้อจำกัดของข้อมูล - ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลต่อการเกิด และการดำเนินโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวรวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล ความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์และผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19


- 3 - - ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขและความรู้เกี่ยวกับจริยธรรม การวิจัยในคน ๔. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน การระบาดของโควิด-19 และมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคของรัฐ ทั้งมาตรการ ทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางด้านสังคม เช่น การจำกัดการเดินทาง การปิดร้านค้า-สถานบริการสถานที่สาธารณะ รวมถึงย้ายการทำงานและการเรียนไปที่บ้าน ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของบุคคล ทั้งในเชิงกายภาพและสุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล อันหมายถึง ปัจจัยของบุคคลๆ หนึ่ง อันรวมถึงความเชื่อ ความคาดหวัง แรงบันดาลใจ การรับรู้ บุคลิกภาพ และอารมณ์ที่ส่งผลต่อการคงไว้ ซึ่งสุขภาวะย่อมมีความแตกต่างกันตามกลุ่มวัย เนื่องจากอายุเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงทุกปีอันส่งผล ต่อความเชื่อส่วนบุคคลที่จะนำไปสู่การกำหนดการรับรู้ เกี่ยวกับสุขภาพตามหลักการของ Health Belief Model (HBM) อีกทั้งผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลต่อกลุ่มวัยต่างๆ อย่างแตกต่างกัน อีกด้วย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ดังกล่าวมาวิเคราะห์ เพื่อพรรณนาพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยต่างๆ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ดูความเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มอายุว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพไปในเชิงลบมากน้อยเพียงใด วิธีการศึกษา คือ วิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวางจากข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,731 คน ที่เป็นตัวแทนของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า โดยในส่วนของสถานะสุขภาพและความเจ็บป่วย และการเข้าถึงบริการสุขภาพ ทั้งหมด 14 ข้อคำถาม ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวัน ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมาจำนวน 6 ข้อ การได้รับสื่อและเข้าถึงกิจกรรมการตลาดของสินค้าอุปโภค และบริโภคในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 8ข้อ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยใช้นิยาม 1. พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ (1) การดื่มแอลกอฮอล์ (2) การสูบบุหรี่ (3) การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (4) การมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (5) การบริโภคผัก ในแต่ละวัน (6) การบริโภคผลไม้ในแต่ละวัน (7) การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และ (8) การรับประทานอาหาร จานด่วน 2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ประมวลผลว่า ความถี่ของการดื่มสุราและจำนวนมวนบุหรี่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น ลดลง (1 คะแนน) เท่าเดิม (2 คะแนน) หรือมากขึ้น (3 คะแนน) ในขณะที่พฤติกรรมอื่นๆใช้ผลจากการประเมิน ตนเอง ในช่วงภายใน 30 วันก่อนการสัมภาษณ์เปรียบเทียบกับก่อนการระบาดโควิด-19 โดยพิจารณา ผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นสามระดับ หากเท่าเดิม (2 คะแนน) หากลดลงสำหรับการมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ พฤติกรรมเนือยนิ่ง การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และการรับประทานอาหารจานด่วน รวมถึง การเพิ่มขึ้นสำหรับการบริโภคผักและผลไม้ในแต่ละวัน แสดงถึงการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ลดลง (1 คะแนน) ในส่วนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในลักษณะตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว แสดงถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น (3 คะแนน) ในกลุ่มตัวอย่างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง) จะให้คะแนน ตั้งแต่ 1-10 คะแนน ต่อปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพนั้นๆ ซึ่งเป็นคะแนนที่กลุ่มตัวอย่าง ตัดสินใจด้วยตัวเอง โดยในการศึกษานี้จะนับว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลก็ต่อเมื่อวันที่ปัจจัยนั้นได้คะแนนจาก กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ตัวแปรต้น คือ กลุ่มอายุซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงวัย คือ วัยรุ่น (อายุ 15–24 ปี) วัยทำงาน (อายุ 25-59 ปี) และผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในแต่ละกลุ่มวัย หากพบว่าภาพรวมมีความแตกต่าง


- 4 - อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (chi-squared test) จะวิเคราะห์เปรียบเทียบต่อ โดยใช้Bonferroni adjusted พิจารณานัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ adjusted alpha = 0.0056 วิเคราะห์หาความเสี่ยงของกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มสูงอายุ เทียบกับกลุ่มวัยรุ่น (กลุ่มอ้างอิง) ต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงมากขึ้นด้วย ordinal logistic regression ทั้งในแบบตัวแปรเดียวและหลายตัวแปร โดยแสดงค่าความเสี่ยงในรูปของ odds ratios ค่า 95% confidence interval และ ค่า p value (นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ alpha = 0.05) การวิเคราะห์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ค่าสัดส่วน (ร้อยละ) ของปัจจัยที่ได้ คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป และการจัดอันดับตามสัดส่วนจากมากไปน้อย (อันดับ 1 คือมีสัดส่วนมากที่สุด) การศึกษาวิจัยนี้ได้รับอนุมัติจากสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเอกสารรับรองเลขที่ IHRP No. 132-2563 รับรอง วันที่ 14 มกราคม 2564 ๕. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ) ผลการศึกษ าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 (เดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564) ประชากรไทยร้อยละ 33.3 (2,573/7,731) ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ โดยในกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสุราส่วนใหญ่รายงานว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของการบริโภค สำหรับการรายงานว่ามีสัดส่วนที่ดื่มลดลงมากกว่าสัดส่วนที่ดื่มเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า (ร้อยละ 27.0 เทียบกับ ร้อยละ 5.5) เมื่อวันที่พิจารณาตามกลุ่มวัย กลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสุราส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน (ร้อยละ 36.8) รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 30.0) และกลุ่มผู้สูงอายุ (ร้อยละ 23.2) ตามลำดับ โดยกลุ่มที่มีสัดส่วน การดื่มลดลงมากที่สุดคือกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 35.6) สูงกว่าการลดลงของกลุ่มอายุอื่นๆ (ระหว่างร้อยละ 25.5-26.8) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มมากสูงสุดสามอันดับแรกในทุกกลุ่มอายุ คือ การมีความเครียด และความกังวลสูงขึ้น การมีเวลาว่างมากขึ้น และมีงานสังสรรค์มาก ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มลดลงสูงสุด อันดับแรกในทุกกลุ่มอายุคือ ต้องการลดความเสี่ยง/ความรุนแรงในการติดเชื้อโควิด-19 และอันดับสอง ในทุกกลุ่ม คือ รายได้ลดลง/ต้องประหยัดเงิน ส่วนปัจจัยอันดับสามในกลุ่มวัยรุ่น คือ มีงานสังสรรค์ลดลง ขณะที่ปัจจัยอันดับสามในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงวัย คือ ต้องการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น การสูบบุหรี่ ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากรไทยร้อยละ 18.3 (1,413/7,731) ยังคงมีพฤติกรรมสูบบุหรี่อยู่ โดยในกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ตอบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนในการสูบต่อวัน แต่พบว่ามีสัดส่วนที่สูบลดลงมากกว่าสัดส่วนที่สูบเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า (ร้อยละ 19.5 เทียบกับ ร้อยละ 8.9) เมื่อวันที่พิจารณาตามกลุ่มวัย พบว่านักสูบส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มวัยทำงาน (ร้อยละ 21.2) รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 13.5) และกลุ่มสูงวัย (ร้อยละ 11.6) ตามลำดับ โดยในกลุ่มผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.6 สูบในปริมาณเท่าเดิม และสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงการสูบบุหรี่ของแต่ละกลุ่มอายุแตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.398) ปัจจัยของการสูบบุหรี่มากขึ้นสูงสุด สามอันดับแรกในทุกกลุ่ม คือ การมีเวลาว่างมากขึ้น การมีความเครียดและความกังวลสูงขึ้น และมีการกักตุน หรือซื้อยาสูบสำรอง ไว้ที่บ้านมาก แต่ในกลุ่มสูงวัยนั้น มีปัจจัยอันดับสามถึงสองปัจจัย คือ การกักตุนหรือซื้อยาสูบสำรองไว้ที่บ้าน มากและการที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการเลิก/ลดบุหรี่ได้ ส่วนปัจจัยของการบริโภคลดลงสูงสุดอันดับแรก ในทุกกลุ่มอายุ คือ ต้องการลดความเสี่ยง/ความรุนแรงในการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 ในกลุ่มวัยรุ่น คือ การทำเพื่อสมาชิกในครอบครัว และยาสูบมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 ในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มสูงวัย คือ ต้องการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น และทำเพื่อสมาชิกในครอบครัว การมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากร ไทยส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 40.5 (2,641/6,516) มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย 2-4 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมา คือ ร้อยละ 33.0 (2,150/6,516) เนือยนิ่งเฉลี่ยมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ร้อยละ 26.5 (1,725/6,516) เนือยนิ่งเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคง


- 5 - มีพฤติกรรมเนือยนิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 72.4 สัดส่วนที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสัดส่วน ที่พฤติกรรมเนือยนิ่งลดลงกว่า 2.5 เท่า (ร้อยละ 19.8 เทียบกับร้อยละ 7.8) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มวัย ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ยมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า เป็นกลุ่มวัยรุ่นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.0 รองลงมา คือ กลุ่มสูงวัย (ร้อยละ 36.3) และกลุ่มวัยทำงาน (ร้อยละ 29.0) ตามลำดับ อีกทั้งร้อยละ ของการเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมเนือยนิ่งของทุกกลุ่มอายุมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มวัยรุ่นมีการเพิ่มขึ้น ของสัดส่วนการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.4 เทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ คือ ระหว่างร้อยละ 16.4-17.5 และเมื่อพิจารณาถึงผลของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว กลุ่มวัยทำงานมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มวัยรุ่น คิดเป็น 0.61 เท่า (95%CI 0.50, 0.74) และกลุ่มสูงวัยเป็น 0.50 เท่า (95%CI 0.40, 0.60) เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่น การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากรไทยร้อยละ 6.8 (522/7,726) เป็นผู้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ อีกทั้งยังพบว่า มีสัดส่วน การมีกิจกรรมทางกายลดลงมากกว่าสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นกว่า 3.6 เท่า (ร้อยละ 14.7 เทียบกับ ร้อยละ 4.1) เมื่อพิจารณาตามช่วงวัย พบว่า กลุ่มสูงวัยเป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอสูงสุด (ร้อยละ 11.8) รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 5.7) และกลุ่มวัยทำงาน (ร้อยละ 5.6) ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า สัดส่วนกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัยรุ่นลดลงมากกว่ากลุ่มช่วงวัยอื่นๆ และเมื่อพิจารณาถึงผลของปัจจัย อื่นๆร่วมด้วยแล้ว การลดลงของกิจกรรมทางกายแปรผกผันกับกลุ่มอายุที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความเสี่ยงมีกิจกรรมทางกายลดลงในกลุ่มวัยทำงาน คิดเป็น 0.69 เท่า (95%CI 0.52, 0.91) และความเสี่ยงของกลุ่มสูงวัย เป็น 0.53 เท่า (95%CI 0.38, 0.73) เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่น ปัจจัยของ การมีกิจกรรมทางกายมากขึ้นสูงสุดสองอันดับแรกในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน คือ การมีเวลาว่างมากขึ้น และต้องการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น ส่วนปัจจัยอันดับสาม ในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน คือ ได้รับการสนับสนุน จากครอบครัว และมีความเครียดและความกังวลสูงขึ้น ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มสูงวัย ปัจจัยสามอันดับแรก ได้แก่ ต้องการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน และการมีเวลาว่างมากขึ้น ส่วนปัจจัย ของการมีกิจกรรมทางกายลดลงสูงสุดสองอันดับแรกในทุกกลุ่มอายุคือ มีความกังวลในการติดเชื้อโควิด-19 และการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ/สถานที่ออกกำลังกายได้ยากขึ้น ในขณะที่ปัจจัยอันดับสามในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มสูงอายุ ได้แก่ การไม่มีอุปกรณ์/เครื่องแต่งกายในการออกกำลังกาย รายได้ลดลง/ ต้องประหยัดเงิน และการมีสุขภาพโดยรวมที่แย่ลง ตามลำดับ การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของ โควิด-19 ประชากรไทยส่วนใหญ่ คือ กว่าร้อยละ 70.0 รับประทานผักและผลไม้เพียงบางมื้อต่อวัน โดยสัดส่วนของการรับประทานผักผลไม้ครบ 3 มื้อ แปรผันตามกลุ่มอายุที่มากขึ้น ซึ่งพบว่า มากกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวัน (รับประทานผักร้อยละ 86.7 และผลไม้ร้อยละ 85.4) โดยรับประทานผักและผลไม้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 8.7 และรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.3 เมื่อพิจารณาตามช่วงวัย พบว่า กลุ่มรับประทานผัก ลดลงมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่การรับประทานผลไม้ลดลงมากที่สุดในกลุ่มสูงวัย สัดส่วน การเปลี่ยนแปลงการรับประทานผัก (p-value = 0.084) และการรับประทานผลไม้ (p-value = 0.417) ของแต่ละกลุ่มอายุแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาถึงผลของสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมรวมถึงพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว ความเสี่ยงของการรับประทานผักลดลงในกลุ่มสูงวัย คิดเป็น 1.43 เท่า (95%CI 1.03, 1.98) เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำ ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากรไทยส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 44.6 (3,448/7,731) มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำ หรือบ่อยครั้ง รองลงมา คือ ร้อยละ 32.4 (2,505/7,731) ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นบางครั้ง และร้อยละ 23.0 (1,778/7,731) ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล อีกทั้งยังพบว่า ร้อยละ 86.5 ของกลุ่มตัวอย่างยังคงไม่มี


- 6 - การเปลี่ยนแปลงในการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำ และมีสัดส่วนการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำ ลดลงมากกว่าสัดส่วนการดื่มเครื่องที่มีน้ำตาลเป็นประจำเพิ่มขึ้นกว่า 3.7 เท่า (ร้อยละ 11.7 เทียบกับ ร้อยละ 3.0) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า สัดส่วนผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำหรือบ่อยครั้ง สูงสุดในกลุ่มวัยรุ่น คิดเป็นร้อยละ 65.4 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยทำงาน (ร้อยละ 45.7) และกลุ่มสูงวัย (ร้อยละ 24.4) ตามลำดับ โดยกลุ่มที่ดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น สัดส่วนการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5.4) สูงกว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 1.6-2.8) แต่เมื่อพิจารณาถึงผลของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว การเปลี่ยนแปลงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในแต่ละกลุ่มวัยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 815 คน มีประสบการณ์ในการซื้อเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทางออนไลน์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนในการซื้อดังกล่าวสูงสุดสามอันดับในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงาน คือ บริการส่งสินค้า ถึงบ้านโดยไม่เสียค่าจัดส่ง บริการจัดส่งสินค้าด่วนภายใน 1-2 ชั่วโมง และการมีโปรโมชั่นลดราคาสินค้า ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลสูงสุดสามอันดับแรกในกลุ่มสูงวัย คือ มีการให้ของแถมเมื่อวันที่ซื้อสินค้า การมีโปรโมชั่น ลดราคา สินค้า และบริการส่งสินค้าถึงบ้านโดยไม่เสียค่าจัดส่ง การรับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำ ผลการสำรวจพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากรไทยส่วนใหญ่คือร้อยละ 47.2 (3,649/7,731) มีการรับประทานอาหารจานด่วนบางครั้ง รองลงมาคือ ร้อยละ 42.4 (3,274/7,731) ไม่รับประทานอาหารจานด่วน และร้อยละ 10.5 (808/7,731) รับประทาน อาหารจานด่วนเป็นประจำหรือบ่อยครั้ง อีกทั้งยังพบว่า ร้อยละ 85.0 ของกลุ่มตัวอย่างยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในการรับประทานอาหารจานด่วน และมีสัดส่วนการรับประทานอาหารจานด่วนลดลงมากกว่าสัดส่วนการ รับประทานอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้น 5.3 เท่า (ร้อยละ 12.7 เทียบกับ ร้อยละ 2.4) เมื่อพิจารณาตามช่วงวัย พบว่า กลุ่มวัยรุ่นรับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำสูงสุดร้อยละ 20.6 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยทำงาน ร้อยละ 9.8 และ กลุ่มสูงวัย ร้อยละ 4.8 ตามลำดับ และยังพบว่า สัดส่วนของการรับประทานอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 3.9) สูงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ (ร้อยละ 1.0-2.4) และสัดส่วนของการรับประทานอาหารจานด่วนลดลงในกลุ่ม วัยรุ่น (ร้อยละ 22.6) ก็สูงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ และเมื่อพิจารณาถึงผลของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึง พฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว ความเสี่ยงการรับประทานอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน คิดเป็น 1.6 เท่า (95%CI 1.28, 2.14) และความเสี่ยงของกลุ่มสูงวัย เป็น 2.5 เท่า (95%CI 1.87,3.48) เมื่อเทียบกับ กลุ่มวัยรุ่น ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 986 คน มีประสบการณ์ในการซื้ออาหารจานด่วนออนไลน์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนในการซื้อดังกล่าวสูงสุดสามอันดับในทุกกลุ่มอายุ คือ บริการส่งสินค้าถึงบ้าน โดยไม่เสียค่าจัดส่ง บริการจัดส่งสินค้าด่วนภายใน 1-2 ชั่วโมง และการมีโปรโมชั่นลดราคาสินค้า ๖. การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ จากการที่ทุกกลุ่มวัยที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นตอบว่า การมีเวลาว่างมาก ขึ้น และความเครียดและความกังวลสูงขึ้น เป็นปัจจัยอันดับ 1 หรือ 2 จากปัจจัยทั้งหมด ที่ให้เลือก ในการสอบถาม ปัจจัยที่ทำให้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงในทุกกลุ่มอายุคือ ต้องการลดความเสี่ยง/ ความรุนแรงในการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับปัจจัยของการสูบบุหรี่ ปัจจัยที่ทำให้การสูบ ลดลงสูงสุดอันดับแรกของทุกกลุ่มอายุคือ ต้องการลดความเสี่ยง/ความรุนแรงในการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ เนื่องจากการรับรู้ต่อการเกิดความเสี่ยงของตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค (perceived susceptibility และseverity) ในแต่ละกลุ่มวัยนั้นแตกต่างกันตามแนวคิด ของ health beliefs model อายุ ที่มากขึ้นทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น และความตระหนักที่เกิดจากการรับรู้ความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าว ดังนั้นหากเกิดการระบาดของโรคอื่นใดต่อไปในอนาคตแล้วจำเป็น จะต้องใช้มาตรการเพื่อป้องกันควบคุมโรคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรการที่ใช้สำหรับการจัดการ โรคโควิด-19 อาจต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นที่แตกต่างตามกลุ่มวัยและพัฒนาตัวเลือกหรือช่องทาง


- 7 - ที่สามารถบรรเทาความเครียดหรือความกังวลใจที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มวัยเพื่อลด ความเสี่ยงที่ประชากรในแต่ละกลุ่มวัยจะเลือกการบรรเทากังวลหรือความเครียดด้วยวิธีการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ เนื่องจากกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายลดลงมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากกลุ่มวัยรุ่น ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายส่วนใหญ่ สอดคล้องกับ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่ปิดทำการในช่วงการระบาด อาจต้องพิจารณามาตรการที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ ประชากรกลุ่มนี้ยังสามารถมีกิจกรรมทางกายที่คล้ายคลึงกับในสภาวะปกติได้ ในส่วนของการรับประทานผักและผลไม้ลดลง ส่วนหนึ่งจากผลกระทบของการระบาด ของโควิด-19 ที่ทำให้ประชากรไทยเข้าถึงผักและผลไม้ได้ลดลง ทั้งเนื่องจากความต้องการในการบริโภคลดลง เพราะรายได้ลดลง และรวมถึงกระบวนการขนส่งที่ล่าช้า ทำให้ผักและผลไม้มีการเน่าเสีย และการที่กลุ่ม ที่มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำหรือบ่อยครั้งมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผล ว่าการซื้อเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทางออนไลน์ เนื่องจากมีบริการส่งถึงบ้านโดยไม่มีค่าจัดส่งและในช่วงโควิด-19 ที่การเดินทางออกนอกบ้านมีความลำบากมากขึ้น การเพิ่มตัวเลือกหรือเอื้อประโยชน์ให้กับบริการส่งอาหาร ที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพอาจทำให้การบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพลดลงหากเกิดการบังคับใช้ มาตรการการจำกัดการเดินทางหรือการใช้พื้นที่สาธารณะในอนาคต ๗. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ เนื่องจากการศึกษานี้ใช้รูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้การวิเคราะห์แบบ ordinal logistic regression ที่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงออกมา ตามลักษณะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความเสี่ยงได้ ด้วยเหตุที่ข้อจำกัดของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจออกมาในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแบบเท่าเดิม เพิ่มขึ้น หรือลดลง แต่จากการจัดกลุ่มตัวแปรตามระดับความเสี่ยงที่จัดเป็น ความเสี่ยงลดลง ความเสี่ยงเท่าเดิม และความเสี่ยงมากขึ้นนั้น ในแต่ละพฤติกรรมการตีความความเสี่ยงที่ลดลงและ เพิ่มขึ้นในทิศทางที่ต่างกัน อาทิ ความเสี่ยงของการมีสุขภาพ ที่แย่ลงจะมากขึ้นเมื่อมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น ทำให้การแปลผลมีความยุ่งยาก และซับซ้อน ๘. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ ภาคตัดขวาง ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงมีข้อจำกัด ในส่วน ของอคติของข้อมูล (information bias และ recall bias) เนื่องจากข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เปรียบเทียบพฤติกรรมของตนเองใน 30 วันที่ผ่านมา เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าเป็นเวลา ค่อนข้างนานดังนั้น จึงอาจมีอคติดังกล่าวเกิดขึ้นได้ ๙. ข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบส่วนหนึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนานโยบาย และมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ กระแสความต้องการลดความเสี่ยงและการดูแล รักษาสุขภาพ ต้องการ ลดค่าใช้จ่ายเป็นโอกาสสำหรับ การใช้มาตรการการคัดกรองเชิงรุกและบำบัดรักษา ผู้ที่ต้องการเลิกยาสูบ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงการเพิ่มการเข้าถึงการให้คำปรึกษาการลด ละ เลิก ยาสูบและการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่องทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ในกลุ่มประชาชนทั่วไป การที่ประชาชน ใช้เวลา กับสื่อออนไลน์มากขึ้นและการมีเวลาว่างมากขึ้น ก็มีผลต่อนโยบายในหลายประเด็นเช่นกัน กล่าวคือ หน่วยงาน ทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมหรือ กิจกรรมสร้างสรรค์ทั้งทางกายภาพและในช่องทางออนไลน์ ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย และ ลดการดื่มและสูบจากเหตุผลความว่าง รัฐควรพัฒนา มาตรการที่สร้างความเท่าทันทางสุขภาพผ่านการใช้สื่อ ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้าง ความเท่าทัน สื่อโฆษณากิจกรรมการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการควบคุม การทำกิจกรรมการตลาดของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ รัฐควร พัฒนามาตรการสร้างเสริมสุขภาพ


- 8 - ที่เฉพาะเจาะจงต่อกลุ่ม ประชากรย่อยตามวัยมากขึ้น จากการศึกษานี้ประชากร กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งเชิงลบและเชิงบวกสูง ซึ่งสะท้อนความอ่อนไหวของ กลุ่มประชากร มาตรการ ที่เป็นไปได้ในกลุ่มนี้ เป็นได้ทั้ง มาตรการสร้างเสริมสุขภาพระดับประเทศและมาตรการ ระดับสถาบัน เช่น นโยบายของสถานศึกษาที่เน้นจัดการ ปัจจัยเสี่ยงและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การมีสุขภาพดี ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษา สำหรับในระดับ บุคคล ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปควรได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนให้รับประทานผักผลไม้ไม่น้อยกว่า 400 กรัม (5 กำมือ) ต่อวันเพื่อคงสุขภาวะที่ดีไว้ ทั้งนี้ อาจปรับเปลี่ยน ชนิดผักและผลไม้ที่รับประทานตามที่สามารถจัดหาได้ นอกจากนี้ในทุกกลุ่มวัย ควรมีกิจกรรมที่มีความเหนื่อยในระดับปานกลาง (moderatevigorous intensity) เช่น การเต้นแอโรบิก การออกกำลังแบบมีแรงต้าน (weight training) การขัดถูพื้น การล้างรถ เช็ดทำความสะอาด หน้าต่าง ทำกับข้าว ล้างจาน ดูดฝุ่น หรือการเดินแกว่งแขน ออกกำลังกาย ในระยะเวลา 150-300 นาทีต่อสัปดาห์(ยกเว้น อายุ 15-17 ปี ควรมีกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 60 นาที ต่อวัน) ในการศึกษาครั้งต่อไปหากสามารถทำการศึกษา ไปข้างหน้า (prospective study) ถึงผลกระทบ ทางสุขภาพที่จะเกิดจากมาตรการในการป้องกันโรคได้จะทำให้ลดอคติที่อาจจะเกิดขึ้น ในการศึกษาได้ ๑๐. การเผยแพร่ผลงาน ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กรกฎาคมกันยายน 2566 การเข้าถึงออนไลน์ได้ที่https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5941/ hsri-journal-v17n3-p574-598.pdf?sequence=1&isAllowed=y ๑๑. ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน (ถ้ามี) 1) นางสาวคนึงนิจ เยื่อใย สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 80 . 2) นางสาวอรทัย วลีวงศ์ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 15 . 3) นางสาวโศภิต นาสืบ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 5 . ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ (ลงชื่อ) ................................................... (นางสาวคนึงนิจ เยื่อใย) ผู้ขอรับการประเมิน


- 9 - ขอรับรองว่าสัดส่วนการดำเนินการข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ (ถ้ามี) รายชื่อผู้มีส่วนร่วมในผลงาน ลายมือชื่อ นางสาวอรทัย วลีวงศ์ นางสาวโศภิต นาสืบ ได้ตรวจสอบแล้ว ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกประการ (ลงชื่อ)............................................... (............................................) ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแล (ลงชื่อ)............................................... (.............................................) ผู้บังคับบัญชาที่เหนือขึ้นไป หมายเหตุคำรับรองจากผู้บังคับบัญชาอย่างน้อยสองระดับ คือ ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแล และผู้บังคับบัญชาที่เหนือขึ้นไป อีกหนึ่งระดับ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ให้มีคำรับรองหนึ่งระดับได้


- 10 - เรื่องที่ 2 1. เรื่อง การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด B ในวัดแห่งหนึ่ง จังหวัดนครสวรรค์ เดือนกันยายน 2560 (An investigation of Influenza B outbreak in a temple, Nakhon Sawan province, Thailand, September 2017) . 2. ระยะเวลาการดำเนินการ กันยายน-ตุลาคม 2560 . ๓. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน - ความรู้และทักษะด้านวิชาการ ได้แก่ ความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการสอบสวนโรค ในพื้นที่และการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ความรู้เกี่ยวกับวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์รวมถึงความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการคำนวณและวิเคราะห์ ผลทางสถิติ - ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่การเกิดโรค การติดต่อ การป้องกัน และปัจจัยเสี่ยง ๔. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน การระบาดและจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2559 – 2561 สาเหตุหลักการระบาดในเอเชียคือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ระยะฟักตัวของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไป อยู่ที่ 2 วัน เชื้อไวรัสสามารถแพร่ทางละอองฝอยได้ไกลถึง 6 ฟุต ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วัน ก่อนมีอาการ ถึง 7 วันหลังมีอาการ ร้อยละ 75 ของผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ไม่มีอาการ และพบภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่ ข้อมูลของกรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม 2560 รายงานการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งสิ้น 40 รายงาน ซึ่ง 12 รายงานเกิดขึ้นในโรงเรียนและ 3 ใน 12 รายงานพบว่าสาเหตุเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ซึ่งมากขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 สำนักระบาดวิทยา รับแจ้งจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ว่ามีสามเณรอาพาธด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมาจำนวน 29 ราย ในวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นโรงเรียนสงฆ์ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์B จำนวน 4 ราย สำนักระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ และโรงพยาบาลตากฟ้า สอบสวนโรคระหว่างวันที่ 19 - 22 กันยายน 2560 เพื่อยืนยันการระบาดและการวินิจฉัยโรค ทราบการกระจายตัวของโรคตามเวลา สถานที่ และบุคคล ค้นหาแหล่งที่มาและปัจจัยของการระบาด และให้ข้อเสนอแนะมาตรการควบคุมโรค ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ศึกษาโดยทบทวนสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ในจังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอตากฟ้า ตั้งแต่ปี 2555 – 2560 จากฐานข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังระบาด วิทยา กรมควบคุมโรค และทบทวนสถานการณ์กลุ่มอาการโรคไข้หวัดใหญ่ (ILI) จากทะเบียนประวัติผู้ป่วย ของห้องพยาบาลในวัด ย้อนหลัง 3 เดือน นอกจากนี้ยังได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมและสัมภาษณ์ผู้ป่วย โดยเก็บข้อมูลประชากร ข้อมูลการเจ็บป่วย ประวัติการได้รับวัคซีน และประวัติการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง ต่อการแพร่โรค โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง โดยใช้นิยามผู้ป่วย ดังนี้ ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ (suspected case) หมายถึง บุคลากรในวัด ที่มีไข้ (อุณหภูมิ ≥37.8 องศาเซลเซียส หรือ ให้ประวัติว่ามีไข้) ร่วมกับอาการ อย่างน้อย 1 อาการ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ ระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม – 21 กันยากัน 2 5 6 0 ส่วนผู้ป่วยยืนยัน (confirmed case) หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ ที่ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)


- 11 - การศึกษาทางห้องปฏิบัติการได้เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยัน การวินิจฉัย โดยวิธี Throat swab หรือ Nasopharyngeal swab ในผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่รายใหม่ที่มีอาการ ไม่เกิน 3 วัน เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยวิธี RT-PCR ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ และสุ่มตัวอย่างที่ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหารหัสพันธุกรรมของไวรัส ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมควบคุมโรค การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในวัดสำรวจสภาพแวดล้อมทั่วไปภายในวัด สภาพห้องเรียน โรงอาหาร กุฏิ โบสถ์ ลานวัด และสัมภาษณ์ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการจำวัด ของสามเณร เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ร่วมกันและการทำความสะอาด การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ใช้การศึกษาแบบ Retrospective cohort study โดยประชากรที่ศึกษา คือ สามเณรที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ของวัด เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากร ที่เป็นผู้ป่วยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 97.67) ในการระบาดครั้งนี้ ใช้นิยามผู้ป่วยเช่นเดียวกับการศึกษาระบาดวิทยา เชิ งพรรณ นา วิเคราะห์ ความเสี่ ยงสั มพั ทธ์ระหว่างปั จจัย/พฤติ กรรมเสี่ ยงต่ อการป่ วย (ปั จจั ย และสุขอนามัยส่วนบุคคล ประวัติการสัมผัสผู้ป่วย และประวัติการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่) และการป่วย โดยหาค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Risk ratio) และ 95% Confidence interval (95% CI) ทุกปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ p<0.1 จะนำไปวิเคราะห์ต่อแบบหลายตัวแปรโดย multiple logistic regression เพื่อหาค่า adjusted odds ratio(aOR) และ 95%CI ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Epi Info เวอร์ชั่น 7.2.1.09 ๕. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ) ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ พบข้อมูลจากฐานข้อมูลรายงานการเฝ้าระวัง ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของจังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอตากฟ้า ตั้งแต่ปี 2555 – 2560 มีค่ามัธยฐานของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือนอยู่ระหว่าง 21 – 112 ราย ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 1-15 ราย ในอำเภอตากฟ้ า โดยมี รูปแบบของการเกิดการระบาด ในปี พ.ศ. 2559 และ ปี พ.ศ. 2560 (เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน) เป็นรูปแบบเดียวกัน คือ มีจำนวนผู้ป่วย ค่อนข้างต่ำในช่วงต้นปี (เดือนมกราคม – พฤษภาคม) จากนั้นจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน เป็ นต้นไป และสูงสุดในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน ซึ่งจำนวนผู้ป่ วยในช่วงเวลาดังกล่าว ของปี พ.ศ. 2559 และปี พ.ศ. 2560 สูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีเป็นอย่างมาก โดยจำนวนผู้ป่วย ในปี พ.ศ. 2560 เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าในปี พ.ศ.2559 จากข้อมูลพบว่าแนวโน้มของการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2560 ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และอำเภอตากฟ้าเพิ่มขึ้น ข้อมูลของห้องพยาบาลในวัด 3 เดือนย้อนหลัง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2560 พบว่าโดยทั่วไปมีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ 1 - 3 ราย ต่อวัน ประมาณ 10 วันต่อเดือน และไม่พบผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ติดต่อกันเกิน 3 วัน ผลการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากบุคลากรในวัดทั้งสิ้น 345 คน สามารถคัดกรองอาการได้ 236 คน (ร้อยละ 68.41) เป็นพระภิกษุสงฆ์ 13 รูป เป็นสามเณรที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 210 รูป เป็นแม่ครัว 13 คน พบว่าตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับ กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ทั้งสิ้น 86 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 36.44 โดยเป็นพระภิกษุสงฆ์ 1 ราย มีโรคประจำตัวคือหอบหืด (อัตราป่วยในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ร้อยละ 7.69) และแม่ครัว 1 ราย (อัตราป่วยในกลุ่มแม่ครัวร้อยละ 7.69) เป็นสามเณรทั้งหมด 84 ราย (อัตราป่วยในกลุ่มสามเณรร้อยละ 40.00) โดยสามเณร 9 รายมีโรคประจำตัว (หอบหืด 8 ราย และเบาหวาน 1 ราย) ซึ่งสามเณร ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอัตราป่วยสูงสุด (ร้อยละ59.46) รองลงมาเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 43.75) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 42.86) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ร้อยละ 35.94) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ร้อยละ 33.33) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ร้อยละ 22.22) ตามลำดับ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 15 ปี (พิสัยระหว่าง 12 – 40 ปี) ไม่พบผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบหรือเสียชีวิต อาการที่พบได้แก่ ไข้ (ร้อยละ


- 12 - 100.00) ไอ (ร้อยละ 85.25) มีน้ำมูก (ร้อยละ 84.47) ปวดศีรษะ(ร้อยละ 81.03) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 68.47) เจ็บคอ (ร้อยละ 67.10) หายใจเหนื่อย (ร้อยละ 18.35) เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลตากฟ้า จำนวน 51 ราย (ร้อยละ 59.30) เป็นผู้ป่วยนอกทั้งหมด ผู้ป่วยที่เหลืออีก 35 (ร้อยละ 40.70) ไม่ได้ไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการเล็กน้อยและอาการดีขึ้นเอง จำนวนผู้ป่วยจำแนกตามวันที่ เริ่มมีอาการ ร้อยละ 51.04 ของบุคลากรที่คัดกรองได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีส่วนประกอบในวัคซีน เป็น B/Brisbane/60/2008-like virus ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 - กรกฎาคม 2560 ทั้งนี้ประวัติ ของผู้ป่วยรายแรกๆ ของการระบาด ไม่ชัดเจนว่าได้รับเชื้อจากแหล่งใด แต่ผู้ป่วยได้แจ้งว่า กิจกรรมในแต่ละวัน มีทั้งที่ร่วมกิจกรรมเฉพาะบุคลากรในวัดและกิจกรรมที่ต้องพบปะคนภายนอก เช่น การบิณฑบาต หรือการเทศนาธรรมที่มีบุคคลภายนอกร่วมกิจกรรมด้วย เป็นต้น ผลการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ จากตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 3 วัน ทั้งสิ้น 7 ตัวอย่าง (4 throat swabs และ 3 nasopharyngeal swabs) ส่งตรวจสารพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่ (PCR for Influenza) พบสารพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ทั้ง 7 ตัวอย่างทำการสุ่ม 2 ใน 7 ตัวอย่างดังกล่าว ส่งตรวจเพิ่มเติมลำดับพันธุกรรมของไวรัสพบเป็นสายพันธุ์ B/Phuket/3073/2013 ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในวัด พบตึกที่ใช้เป็นห้องเรียนถูกแบ่งเป็นห้องประจำ ของแต่ละระดับชั้น มีห้องที่ใช้ร่วมกันของนักเรียนในทุกระดับชั้น คือ ห้องเรียนภาษา และห้องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเวลาในการใช้ห้องดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น และมีห้องเรียน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เพิ่มเติมที่บริเวณลานวัด การจัดโต๊ะในห้องเรียนเป็นการจัดให้นั่งชิดกันเป็นคู่ๆ กุฏิสำหรับจำวัดถูกแบ่งออกจากกันชัดเจน โดยกุฏิสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะแยกออกจากกุฏิของสามเณร กุฏิของสามเณรเป็นตึก 3 ชั้น ชั้นที่1 (ล่างสุด) เป็นกุฏิของสามเณรในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 และอีกสองชั้นที่เหลือเป็นกุฏิของสามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โดยใน 1 ห้องกุฏิมีพื้นที่ 12 ตารางเมตร รวมห้องน้ำในตัว มีหน้าต่าง 3 บาน ไม่มีพัดลม และมีสามเณรในระดับชั้นเดียวกันจำวัดด้วยกัน 6 รูป ต่อ 1 ห้องกุฏิ (พื้นที่เฉลี่ยน้อยกว่า 2 ตารางเมตร/รูป) ในระยะแรกของการระบาด ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม – 2 กันยายน 2560 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นสามเณรที่อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งจำวัดอยู่ในกุฏิชั้น 1 จากนั้นการระบาดจึงกระจายไปในทุกชั้นของกุฏิ พระภิกษุสงฆ์และสามเณรฉันภัตตาหารที่โรงอาหารเดียวกัน โดยมีการแยกโต๊ะอาหารระหว่างพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ทุกรูปมีแก้วน้ำ ช้อน จาน ส่วนตัว จากการสังเกต พบว่าบริเวณโรงอาหารมีอ่างล้างมือแต่ไม่มีสบู่ มีตู้สำหรับกดน้ำดื่มแต่สามเณรใช้เหยือกจุ่มลงไปในตู้เพื่อตักน้ำ โดยตรงแทนการกดน้ำ สามเณรที่มีอาการป่วยสวมหน้ากากอนามัย แต่มีการดึงไปไว้ใต้คางไม่ครอบปาก และจมูก จากการสัมภาษณ์ กิจกรรมการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น ทั้งพระภิกษุสงฆ์และสามเณรจะทำวัตร ร่วมกันในโบสถ์ ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง และก่อนหน้าการสอบสวนโรคหากพบผู้ป่วยจะมีการแยกผู้ป่วย แต่ละระยะเวลาแยกนั้นไม่เจาะจง หากอาการดีขึ้นก็จะให้กลับไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะถูกแยกประมาณ 3 วัน ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ จากสามเณรทั้งหมด 226 รูป สัมภาษณ์ได้ 210 รูป คิดเป็นร้อยละ 92.92 จำแนกเป็นผู้ป่วย 84 ราย และไม่ป่วย 126 รูป ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงสัมพัทธ์ พบว่า การเล่นกับผู้ป่วย การจำวัดในห้องเดียวกับผู้ป่วย การร่วมโต๊ะอาหารกับผู้ป่วย และการใช้แก้วน้ำร่วมกัน กับผู้ป่วยเป็นปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเมื่อวันที่วิเคราะห์ด้วย unconditional multivariate logistic regression พบว่า ไม่มีปัจจัยใดที่มีผลต่อการระบาดในครั้งนี้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม 2 ปัจจัยที่มีสัมพันธ์ เชิงบวกต่อการป่วย และค่า 95% CI ก้ำกึ่งที่จะมีนัยยะสำคัญทางสถิติ คือ อายุไม่เกิน 15 ปี (aOR=1.94 95%CI 0.96, 3.88) และการร่วมโต๊ะอาหารกับผู้ป่วย (aOR=1.77 95%CI 0.96. 3.25)


- 13 - ๖. การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์B ที่ผู้ป่วยร้อยละ 97.67 เป็นสามเณร ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่มีกิจกรรมและอาศัยอยู่ร่วมกัน ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการระบาด ได้แก่ ไม่มีการแยกผู้ป่วยที่เหมาะสมทำให้มีการแพร่เชื้อผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน และการรายงานเหตุการณ์เพื่อการควบคุมโรคที่ค่อนข้างล่าช้า หลังดำเนินการควบคุมโรคโดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และเพิ่มเติมมาตรการภายหลังสอบสวนโรค ไม่พบผู้ป่วย รายใหม่ หลังวันที่ 20 กันยายน 2560 การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีอัตราการฉีดวัคซีน ในกลุ่มประชากรนั้นๆ ค่อนข้างสูงหากเชื้อก่โรคเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้อยู่ในวัคซีนที่ได้รับการฉีดภายใน 1 ปี ที่ผ่านมา ดังนั้น บุคลากรในวัดแยกผู้ป่วยไม่ให้ปะปนหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้ที่มีอาการปกติ ซึ่งต้องแยก อย่างเข้มงวดมากขึ้น จนครบ 7 วันหลังเริ่มป่วย และเพิ่มความตระหนักด้านอนามัยส่วนบุคคลเพื่อลดการแพร่ และรับเชื้อ โดยให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลา หากมีอาการ ไอ จาม น้ำมูกไหล และระวัง ไม่ใช้เหยือกตักจากตัวแท้งน้ำ จัดเตรียมสบู่สำหรับล้างมือที่อ่างล้างมือในโรงอาหารก่อนรับประทานอาหาร อีกทั้งผู้ดูแลวัดร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนใกล้เคียงปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีอยู่เดิม เพื่อความรวดเร็วยิ่งขึ้นในการตรวจจับการระบาด ๗. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ แม้ว่ามาตรการที่จะส่งผลให้เกิดการควบคุมโรคได้เร็วที่สุดคือการแยกกักและกักกัน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของสถานที่และกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันทำให้มาตการดังกล่าวไม่สามารถใช้การได้ อย่างเต็มรูปแบบเป็นได้เพียงการประยุกต์ใช้ในบางส่วนเท่านั้น อีกทั้งยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มา ของการระบาดได้อย่างชัดเจนเนื่องจากประวัติของผู้เริ่มป่วยรายแรกๆนั้น เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ๘. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ด้วยข้อจำกัดของระยะเวลาในการลงสอบสวนโรคในพื้นที่ทำให้บุคลากรของวัดบางส่วน (ครูและพระสงฆ์ที่ศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา) ไม่อยู่ในวัดช่วงที่ทำการสอบสวนโรค ทำให้ไม่สามารถสัมภาษณ์ บุคลากรทั้งหมดได้และเนื่องจากการระบาดเริ่มต้นมากว่า 1 เดือนก่อนที่จะมีการรายงานการระบาดซึ่งนำไปสู่ การสอบสวนโรคนั้นประวัติที่ได้จากการสัมภาษณ์อาจมีความคลาดเคลื่อน ๙. ข้อเสนอแนะ บุคลากรในวัดแยกผู้ป่วยไม่ให้ปะปนหรือทำกิจกรรม ร่วมกับผู้ที่มีอาการปกติซึ่งต้องแยก อย่างเข้มงวดมากขึ้น จนครบ 7 วันหลังเริ่มป่วย บุคลากรในวัดเพิ่มความตระหนักด้านอนามัยส่วนบุคคล เพื่อลดการแพร่และรับเชื้อ โดยให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลา หากมีอาการ ไอ จาม น้ำมูกไหล และระวัง ไม่ใช้เหยือกตักจากตัวแท้งน้ำ จัดเตรียมสบู่สำหรับล้างมือที่อ่างล้างมือ ในโรงอาหารก่อนรับประทานอาหาร ผู้ดูแลวัดร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนใกล้เคียงปรับปรุง ระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีอยู่เดิม เพื่อความรวดเร็ว ยิ่งขึ้นในการตรวจจับการระบาด โดยสามารถใช้ข้อมูลของห้อง พยาบาลในวัด คือ หากมีการพบผู้ป่วยเกิน 3 ราย ต่อวัน หรือ พบ ผู้ป่วยเกิน 3 วันติดต่อกัน ซึ่งผิดปกติจากสถานการณ์ปกติ ภายในวัด ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๑๐. การเผยแพร่ผลงาน ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วในรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (Weekly Epidemiological Surveillance Report, Thailand) ปีที่ 52 ฉบับที่ 41 : 22 ตุลาคม 2564


- 14 - การเข้าถึงออนไลน์ได้ที่ https://wesr-doe.moph.go.th/wesr_new/file/y64/H644 12021101020211016.pdf ๑๑. ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน (ถ้ามี) 1 นางสาวคนึงนิจ เยื่อใย สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 65 . 2 นางสาวภันทิลา ทวีวิกยการ สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 15 . 3 นางสาวปริณดา วัฒนศรี สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 5 . 4 นางสาวศันสนีย์ วงค์ม่วย สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 5 . 5 นางสาวรุ่งกานต์ แสงศรี สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 5 . 6 นายวรยศ ดาราสว่าง สัดส่วนของผลงาน ร้อยละ 5 . ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ (ลงชื่อ) ................................................... (นางสาวคนึงนิจ เยื่อใย) ผู้ขอรับการประเมิน


- 15 - ขอรับรองว่าสัดส่วนการดำเนินการข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ (ถ้ามี) รายชื่อผู้มีส่วนร่วมในผลงาน ลายมือชื่อ นางสาวภันทิลา ทวีวิกยการ นางสาวปริณดา วัฒนศรี นางสาวศันสนีย์ วงค์ม่วย นางสาวรุ่งกานต์ แสงศรี นายวรยศ ดาราสว่าง ได้ตรวจสอบแล้วขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกประการ (ลงชื่อ)............................................... (.............................................) ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแล (ลงชื่อ)............................................... (..............................................) ผู้บังคับบัญชาที่เหนือขึ้นไป หมายเหตุคำรับรองจากผู้บังคับบัญชาอย่างน้อยสองระดับ คือ ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแล และผู้บังคับบัญชาที่เหนือขึ้นไป อีกหนึ่งระดับ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ให้มีคำรับรองหนึ่งระดับได้


- 16 - ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version