เรื่องที่ 2 การทำ บัญชีครัวเรือน ชุด ชุ กิจ กิ กรรมการเรีย รี นรู้ ตามหลัก ลั ปรัช รั ญาของเศรษฐกิจกิพอเพีย พี ง สำ หรับ รั นัก นั ศึก ศึ ษาระดับ ดั ชั้น ชั้ ประถมศึก ศึ ษา ศูนศูย์กย์ารศึกศึษานอกระบบและการศึกศึษาตามอัธอัยาศัยศัอำ เภอเมือมืงปัตปัตานี สำ นักนังานการศึกศึษานอกระบบและการศึกศึษาตามอัธอัยาศัยศัจังจัหวัดวั ปัตปัตานี
ก คำนำ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีเป็นเอกสารที่รวบรวมกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ด้านการศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองปัตตานี มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษา มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น การน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจัดให้นักศึกษา เข้าร่วม และถอดบทเรียนเนื้อหา 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ ชุดกิจกรรมเล่มนี้ประกอบด้วย กิจกรรมในฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน ในแต่ละฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา สื่อการจัดการเรียนรู้ วิธีการเข้าฐานการเรียนรู้ การวัด และประเมินผล ใบความรู้ และกิจกรรมรวมทั้งแบบทดสอบก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมเฉลย ซึ่งครู กศน. สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมความรู้ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดกิจกรรมเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี นาวี มุสตาฟา
ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจงสำหรับการใช้งานชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 1 คำชี้แจงสำหรับครู 2 คำชี้แจงสำหรับนักศึกษา 3 บทบาทของนักศึกษา 4 สาระสำคัญ 4 จุดประสงค์การเรียนรู้ 4 แบบทดสอบก่อนเรียน 5 กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน 8 ใบความรู้ที่ 1 9 ใบความรู้ที่ 2 13 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 18 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 19 แบบทดสอบหลังเรียน 20 กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน 23 ภาคผนวก 24 เฉลยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 25 เฉลยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 26 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 28 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 29 บรรณานุกรม 30
1 คำชี้แจงสำหรับการใช้งานชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานีจัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้พัฒนานักศึกษา กศน. ให้มีความรู้ ในเรื่อง ของการน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดให้นักศึกษา เข้าร่วม และถอดบทเรียนเนื้อหา 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษา โดย นำเนื้อหาสาระ รายวิชา ระดับประถมศึกษา ใน 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระทักษะการเรียนรู้ สาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ สาระการประกอบอาชีพ วิชาช่องทางเข้าสู่อาชีพ สาระ การดำเนินชีวิต รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง และสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสังคมศึกษา มาบูรณาการ กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเรียนรู้ ผ่าน 5 ฐานเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. ฐานการเรียนรู้การทำอีเอ็มบอล 2. ฐานการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 3. ฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยพลังงานแสงอาทิตย์ 4. ฐานการเรียนรู้การทำหน้ากากอนามัย 5. ฐานการเรียนรู้ โคกหนองนา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2 คำชี้แจงสำหรับครู ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุดที่ 2 ฐานเรียนรู้การทำบัญชี ครัวเรือน ชุดนี้ ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักศึกษาระดับประถมศึกษา ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานีโดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน ดังนี้ 1. ครูแจกชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 2 ฐานเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ชุดนี้ให้นักศึกษา 2. ครูชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดนี้ให้นักศึกษาทราบก่อนลงมือปฏิบัติ 3. ครูให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อดูว่านักศึกษามีพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การทำบัญชีครัวเรือน มากน้อยเพียงใด 4. ครูให้นักศึกษาศึกษาชุดกิจกรรมและทำกิจกรรมที่ 1 – 2 เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนและ เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง 5. ครูทำการสุ่มนักศึกษามานำเสนอ จากการศึกษาชุดกิจกรรม 6. ครูให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อดูว่านักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลังเรียน มากน้อยเพียงใด 7. ครูตรวจคะแนนและบันทึกผลลงในแบบเก็บคะแนนระหว่างภาค(แบบทดสอบย่อย) 8. ครูนำนักศึกษา ศึกษาจากฐานการเรียนรู้เพิ่มเติม
3 คำชี้แจงสำหรับนักศึกษา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุดที่ 2 ฐานเรียนรู้การทำบัญชี ครัวเรือน ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักศึกษาระดับประถมศึกษา ศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานีโดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน ดังนี้ ศึกษาก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม 1. ให้นักศึกษารับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 2 ฐานเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 2. นักศึกษาฟังคำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. นักศึกษาเริ่มทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อดูว่านักศึกษามีพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การทำบัญชีครัวเรือน มากน้อยเพียงใด 4. ให้นักศึกษาศึกษาเนื้อหาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำความเข้าใจให้ดีตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้า สุดท้ายตามลำดับอย่าข้ามขั้นตอนและทำกิจกรรมที่1-2 5. นักศึกษาออกมานำเสนอจากการศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 6. นักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครู และร่วมกันสรุป 7. เมื่อนักศึกษาทุกคนทำกิจกรรมครบแล้วให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน จากชุด กิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 2 ฐานเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์ 8. นักศึกษาไปศึกษาเรียนรู้ที่ฐานการเรียนรู้เพิ่มเติม
4 บทบาทของนักศึกษา ครูต้องแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงบทบาทของนักศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. นักศึกษาต้องอ่านคำสั่งและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างรอบคอบ 2. นักศึกษาควรพยายามทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น 3. นักศึกษาต้องตั้งใจปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ไม่ชวนเพื่อนพูดคุยออกนอกเรื่อง 4. หลังจากปฏิบัติกิจกรรมแล้ว นักศึกษาจะต้องจัดเก็บอุปกรณ์ทุกชิ้นเข้าที่ ให้เรียบร้อย 5. เนื่องจากมีเวลาจำกัด นักศึกษาต้องตั้งใจทำกิจกรรมให้เสร็จอย่างรวดเร็ว 6. นักศึกษาต้องใช้สื่อหรืออุปกรณ์อย่างระมัดระวัง สาระสำคัญ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนชีวิตประจำวัน โดย ทำบัญชีครัวเรือน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้นักศึกษา กศน. มีความรู้ ความเข้าใจ การทำบัญชีครัวเรือน 2. เพื่อให้นักศึกษา กศน. เข้าใจถึงแก่นแท้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
5 แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว และทำเครื่องหมายกากบาท () ลงในกระดาษคำตอบ (10 คะแนน) 1. ข้อใดให้ความหมายของการทำบัญชีชาวบ้านได้ถูกต้องที่สุด ก. การทำบัญชีของชาวบ้าน ข. การทำบัญชีโดยชาวบ้าน ค. การทำบัญชีโดยอาศัยความร่วมมือของชาวบ้าน ง. การทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างง่าย ๆ เพื่อจัดระเบียบการใช้เงิน 2. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการวางแผนการเงิน ก. ทราบถึงรายรับ – รายจ่ายในแต่ละเดือน ข. สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ค. มีเงินเหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือน ง. ไม่มีข้อใดถูก 3. หน่วยงานใดที่รณรงค์การทำบัญชีครัวเรือน หรือบัญชีชาวบ้านในสโลแกน “จดแล้วไม่จน” ก. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ข. ธนาคารไทยพาณิชย์ ค. ธนาคารออมสิน ง. ธนาคารทหารไทย
6 4. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการใช้จ่ายเงิน ก. รู้จักความพอประมาณ ข. กินให้อิ่มถ้ามีเหลือค่อยเก็บ ค. ใช้จ่ายตามแฟชั่นและยุคสมัย ง. เก็บออมไว้เยอะ ๆ เพื่ออนาคต 5. ข้อใดไม่ใช่ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ก. ลืมบันทึกบัญชี ข. ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ค. เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ง. การลงบันทึกด้วยลายมือที่ไม่สวย 6. ภาระผูกพันที่ต้องใช้คืนในอนาคตหมายถึงข้อใด ก. ค่าใช้จ่าย ข. หนี้สิน ค. ทุนสำรอง ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข้อ ค 7. การทำบัญชีครัวเรือนทำให้การเงินมีสภาพคล่อง ข้อใดสนับสนุนคำกล่าวนี้ ก. นายมุขใช้บัตรเครดิตซื้อของแทนเงินสด ข. นายมีแบ่งสัดส่วนของเงินเดือนแล้วจดบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน ค. นายมั่งใช้เงินเดือนที่ได้มาซื้อข้าวของที่อยากได้จนหมดโดยไม่พิจารณาถึงความจำเป็น ง. นายเมินแบ่งเงินเดือนเก็บไว้ครึ่งหนึ่ง เหลือไว้ใช้อีกครึ่งหนึ่ง และยืมเพื่อนร่วมงานถ้าเงิน ไม่พอใช้
7 8. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการวางแผนการเงิน ก. ทราบถึงรายรับ – รายจ่ายในแต่ละเดือน ข. สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ ค. มีเงินเหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือน ง. ไม่มีข้อใดถูก 9. ข้อใดจัดได้ว่าเป็นสมดุลแห่งชีวิต ก. มีนาปลูกผักไว้กิน เหลือกินก็ขายข้างบ้าน สร้างรายได้อีกทาง ข. เมษาจ้างคนทำสวน เก็บผลผลิตไว้กิน เหลือกินก็ส่งขาย ค. พฤษภาเป็นคนรักครอบครัว ทำงานหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ง. มิถุนาไปทำงานในโรงงาน ส่งเงินมาหาเลี้ยงครอบครัว 10. ทำไมการทำบัญชีครัวเรือนถึงเรียกว่าเป็นการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ก. เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน ข. เพราะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้ ค. เพราะบัญชีชาวบ้านทำให้คนรู้จักพอเพียง ง. เพราะเป็นการส่งเสริมให้รู้จักพอประมาณ
8 กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน ชื่อ - สกุล........................................................................................ เลขที่................. ข้อ ก ข ค ง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. รวม เกณฑ์การประเมิน ผ่าน (6-10 คะแนน) ไม่ผ่าน (0-5 คะแนน)
9 ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ https://www.mtp.go.th/public/texteditor/data/index/menu/736 กระแสพระราชดำรัส "ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สำหรับป้องกัน หรือถ้าในโอกาสปกติ ทำให้ร่ำรวยขึ้น ถ้าในโอกาสที่มี อุทกภัยก็สามารถ ที่จะฟื้น ตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชน พึ่งตนเองได้อย่างดี" พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย 5 ธันวาคม 2538 "ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้ง อธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่า มีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบ กับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
10 เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพลมีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่ง มีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่า อยู่ ตลอดกาล" หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง 1. การพึ่งพาตนเอง เป็นการยึดหลักตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน รู้จักนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ รู้จักผลิตพืชให้เพียงพอกับความต้องการในการบริโภคของครัวเรือนก่อนหลังจากนั้น จึงผลิตเพื่อการค้า 2. การพึ่งพากันเอง จะให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน เพื่อดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การเกษตรแบบผสมผสาน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร เป็นต้น ในปัจจุบันมีการดำเนินงานเพื่อสร้างรายได้ตามนโยบาย “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็น การพัฒนาชุมชน และพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
11 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหาร ประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ที่ดี โดยมีเงื่อนไขพื้นฐาน คือ ความรู้ และคุณธรรม ซึ่งนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่สมดุล ยั่งยืน สามารถ รับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนว ทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุม เศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน https://district.cdd.go.th 3 ห่วง ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อย จนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
12 ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 2 เงื่อนไข เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบ ด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความ ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมี ความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 4 มิติ คือ ความสมดุล ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
13 ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง บัญชีชาวบ้านง่ายนิดเดียว https://m.facebook.com/ToBeChange/posts/310894566410720
14 จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้ คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวัน จบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่ง ที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญใน การดำเนินชีวิต https://www.microsoft.com การทำบัญชีคือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และ ภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและ อนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว บัญชีครัวเรือน มิได้หมายถึง การทำบัญชีหรือบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันเท่านั้น แต่อาจ หมายถึงการบันทึกข้อมูลด้านอื่น ๆ ในชีวิต ในครอบครัว เป็นต้น ของเราได้ด้วย เช่น บัญชีทรัพย์สิน พันธุ์พืช พันธุ์ไม้ ในบ้านเราในชุมชนเรา บัญชีความรู้ความคิดของเรา บัญชีผู้ทรงคุณ ผู้รู้ในชุมชนเรา บัญชีเด็กและเยาชนของเรา บัญชีภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของเรา
15 การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถ นำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่าง ประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน รายรับ หรือ รายได้ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ หรือ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือ จากเงินให้กู้ยืม รายได้จาก การขายสินค้าหรือบริการ เป็นต้น รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบ แทนกลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค)ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนหริอสินค้า หรือบริการก็ได้ เช่น เงินบริจาคเพื่อการกุศล เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่ หนี้สินเป็น เงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคล หรือแหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ การซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซื้อสินทรัพย์เป็นเงินผ่อนชำระ หรือการเช่าซื้อ เป็นต้น เงินคงเหลือ คือ เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้ว ปรากฏรายรับมากกว่ารายจ่ายจะทำให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หาก หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบ หรือทางบัญชีเรียกว่าขาดทุน นั่นเอง 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และ วางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และ รายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการ ออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบ พอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือ
16 ภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์ มาก ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการ บันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึง ไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชี รายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิด รายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงิน จากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับ เนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด ส่วนข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวก หรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลาย รายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงิน ฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือ ในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หาก กระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของ ครอบครัวสูญหาย มาถึงตอนนี้แล้วท่านผู้ฟังหลายท่านอาจนึกในใจแล้วว่าการจดบันทึกเป็นสิ่งที่ สำคัญและจำเป็นมากสำหรับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี การเงินขาดสภาพคล่อง ด้วยแล้ว คิดว่าหลายท่านคงอยากจะหันมาจดบันทึกรายรับและรายจ่ายกันบ้าง การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับ มากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดย อาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้ จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมากทั้ง เงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่ แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับ ไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
17 1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย 2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไป ตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่น จักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น 3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บ เสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น 4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
18 กิจกรรมที่ 1 การจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย เดือน.................................... รายรับ – รายจ่าย วันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ รายรับ รายจ่าย รวมทั้งสิ้น
19 กิจกรรรมที่ 2 คำถามสะท้อนคิด -การทำบัญชีครัวเรือน ของตนเอง มีวิธีการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย อย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน ของครอบครัว มีวิธีการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย อย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เรื่อง การถอดบทเรียน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ 1. เงื่อนไขความรู้ คือ.............................................................................................................................. 2. เงื่อนไขคุณธรรม คือ........................................................................................................................... 3. ความพอประมาณ คือ........................................................................................................................ 4. ความมีเหตุผล คือ............................................................................................................................... 5. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ...................................................................................................................... 6. ด้านเศรษฐกิจ คือ............................................................................................................................... 7. ด้านสังคม คือ.................................................................................................................................... 8. ด้านสิ่งแวดล้อม คือ............................................................................................................................ 9. ด้านวัฒนธรรม คือ..............................................................................................................................
20 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว และทำเครื่องหมายกากบาท () ลงในกระดาษคำตอบ (10 คะแนน) 1. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการใช้จ่ายเงิน ก. รู้จักความพอประมาณ ข. กินให้อิ่มถ้ามีเหลือค่อยเก็บ ค. ใช้จ่ายตามแฟชั่นและยุคสมัย ง. เก็บออมไว้เยอะ ๆ เพื่ออนาคต 2. ข้อใดไม่ใช่ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ก. ลืมบันทึกบัญชี ข. ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ค. เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ง. การลงบันทึกด้วยลายมือที่ไม่สวย 3. ข้อใดให้ความหมายของการทำบัญชีชาวบ้านได้ถูกต้องที่สุด ก. การทำบัญชีของชาวบ้าน ข. การทำบัญชีโดยชาวบ้าน ค. การทำบัญชีโดยอาศัยความร่วมมือของชาวบ้าน ง. การทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างง่าย ๆ เพื่อจัดระเบียบการใช้เงิน
21 4. ข้อใดจัดได้ว่าเป็นสมดุลแห่งชีวิต ก. มีนาปลูกผักไว้กิน เหลือกินก็ขายข้างบ้าน สร้างรายได้อีกทาง ข. เมษาจ้างคนทำสวน เก็บผลผลิตไว้กิน เหลือกินก็ส่งขาย ค. พฤษภาเป็นคนรักครอบครัว ทำงานหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ง. มิถุนาไปทำงานในโรงงาน ส่งเงินมาหาเลี้ยงครอบครัว 5. ทำไมการทำบัญชีครัวเรือนถึงเรียกว่าเป็นการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ก. เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน ข. เพราะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้ ค. เพราะบัญชีชาวบ้านทำให้คนรู้จักพอเพียง ง. เพราะเป็นการส่งเสริมให้รู้จักพอประมาณ 6. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการวางแผนการเงิน ก. ทราบถึงรายรับ – รายจ่ายในแต่ละเดือน ข. สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ค. มีเงินเหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือน ง. ไม่มีข้อใดถูก 7. หน่วยงานใดที่รณรงค์การทำบัญชีครัวเรือน หรือบัญชีชาวบ้านในสโลแกน “จดแล้วไม่จน” ก. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ข. ธนาคารไทยพาณิชย์ ค. ธนาคารออมสิน ง. ธนาคารทหารไทย
22 8. ภาระผูกพันที่ต้องใช้คืนในอนาคตหมายถึงข้อใด ก. ค่าใช้จ่าย ข. หนี้สิน ค. ทุนสำรอง ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข้อ ค 9. การทำบัญชีครัวเรือนทำให้การเงินมีสภาพคล่อง ข้อใดสนับสนุนคำกล่าวนี้ ก. นายมุขใช้บัตรเครดิตซื้อของแทนเงินสด ข. นายมีแบ่งสัดส่วนของเงินเดือนแล้วจดบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน ค. นายมั่งใช้เงินเดือนที่ได้มาซื้อข้าวของที่อยากได้จนหมดโดยไม่พิจารณาถึงความจำเป็น ง. นายเมินแบ่งเงินเดือนเก็บไว้ครึ่งหนึ่ง เหลือไว้ใช้อีกครึ่งหนึ่ง และยืมเพื่อนร่วมงานถ้าเงิน ไม่พอใช้ 10. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการวางแผนการเงิน ก. ทราบถึงรายรับ – รายจ่ายในแต่ละเดือน ข. สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ ค. มีเงินเหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือน ง. ไม่มีข้อใดถูก
23 กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน ชื่อ - สกุล........................................................................................ เลขที่................. ข้อ ก ข ค ง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. รวม เกณฑ์การประเมิน ผ่าน (6-10 คะแนน) ไม่ผ่าน (0-5 คะแนน)
24 ภาคผนวก
25 เฉลยกิจกรรมที่ 1 การจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย เดือน.................................... รายรับ – รายจ่าย วันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ รายรับ รายจ่าย 3 4 5 เงินเดือนรับจ้าง ขายลูกมะพร้าว ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าพาหนะ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ 25,000 1,250 450 1,200 250 650 1,500 600 25,000 24,550 23,350 23,100 22,450 23,700 22,200 21,600 รวมทั้งสิ้น 26,250 4,650 21,600
26 เฉลยกิจกรรรมที่ 2 คำถามสะท้อนคิด -การทำบัญชีครัวเรือน ของตนเอง มีวิธีการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย อย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน ของครอบครัว มีวิธีการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย อย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร -การทำบัญชีครัวเรือน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เรื่อง การถอดบทเรียน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ 2 เงื่อนไข 1. ความรู้ ศึกษาหาความรู้เรื่อง - การวิเคราะห์รายรับ รายจ่าย 2. คุณธรรม - มีความซื่อสัตย์ ประหยัด ขยัน ความมีวินัย 3 หลักการ 1. พอประมาณ คำนึงความเหมาะสม/ความสอดคล้อง ความพอดีเช่น ศักยภาพและความพร้อมของตนเอง/ ความเหมาะสมสอดคล้องกับกาลเวลา สถานที่ ชุมชน บริบท ทรัพยากรที่ใช้ ซื้อตามกำลังที่มี 2. มีเหตุผล - ทราบค่าใช้จ่ายของตนเอง - รู้จักคิด เก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต - คิดก่อนซื้อ - ซื้อของที่จำเป็น 3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี - วางแผนด้วยความรอบคอบ รู้การใช้จ่ายอย่างถูกต้อง
27 4 มิติ 1. วัตถุ - วางแผนการใช้จ่าย รู้จักเก็บ รู้จักออม - ได้สมุดบัญชีครัวเรือน - รู้จักใช้เงินที่ถูกต้อง - รู้จักประหยัด 2. สังคม - การให้ความรู้ การทำบัญชีครัวเรือนในครอบครัว ทำให้ความเข้าใจในครอบครัว มากขึ้น ช่วยลดรายจ่ายในครอบครัว 3. ทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม - สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้มีความสุข - นำสมุดบัญชีครัวเรือนที่ใช้บันทึกหมดแล้วมาประดิษฐ์ของใช้ 4. วัฒนธรรม - ปลูกฝังให้มีการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเป็นการปลูกฝังจนเป็นนิสัยทำอย่างต่อเนื่อง
28 กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน ชื่อ - สกุล........................................................................................ เลขที่................. ข้อ ก ข ค ง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. รวม เกณฑ์การประเมิน ผ่าน (6-10 คะแนน) ไม่ผ่าน (0-5 คะแนน)
29 กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน ชื่อ - สกุล........................................................................................ เลขที่................. ข้อ ก ข ค ง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. รวม เกณฑ์การประเมิน ผ่าน (6-10 คะแนน) ไม่ผ่าน (0-5 คะแนน)
30 บรรณานุกรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2564). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.deqp.go.th/new/ การศึกษาตลอดชีวิต. (2551). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2558, จาก http://www.suthep.crru.ac.th/mant66.doc ชัรวัฒน์ นิจเนตร. (2528). การศึกษากับการพัฒนาชุมชนเอกสารการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ:หน่วยนิเทศกรรมการฝึกหัดครู เซงยาง, ซิง. (2563). Startup Easily ทำอาชีพ ให้เป็นมืออาชีพจากรากหญ้าชาวจีนสู่สังเวียนแจ้ง เกิดใน ไทย ทำได้อย่างไร?. กรุงเทพฯ: วิช. ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์ และคณะ. (2560). กระบวนการและจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในการผลิต อาหารหมัก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เมอริน, บาร์บารา. (2550). การเรียนรู้ตลอดชีวิต:การประเมินการเรียนรู้จากประสบการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. วันทนีย์ นามสวัสดิ์. (ม.ป.ป ). การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์เกษตร. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2559). หนังสือเรียนรายวิชาการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. หนังสือเรียนรายวิชาทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา หลักสูตร การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. หนังสือเรียนรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. หนังสือเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
31 สุบัณฑิต นิ่มรัตน์. (2552). จุลชีววิทยาและการจัดการมลภาวะทางน้ำ, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เสาวภา ประพันธ์วงศ์. (2551, มกราคม-มิถุนายน), การจัดการแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต : ห้องสมุด, อินฟอร์เมชั่น, 15 (1) : 14-19.
ศูนศูย์กย์ารศึกศึษานอกระบบและการศึกศึษาตามอัธอัยาศัยศัอำ เภอเมือมืงปัตปัตานี สำ นักนังานการศึกศึษานอกระบบและการศึกศึษาตามอัธอัยาศัยศัจังจัหวัดวั ปัตปัตานี