วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์นักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รหัสวิชา 20101-2005 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดย นายอภินันต์ อ่อนจงไกล นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แผนกช่างยนต์
ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หัวข้องานวิจัย วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 20101-2005 ผู้วิจัย นายอภินันต์ อ่อนจงไกล แผนก ช่างยนต์ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นายสุรชัย โกมาล บทคัทย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ หาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในการเรียนรายวิชาไฟฟ้า รถยนต์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ก่อน และหลังการส่งเสริมด้านความพึงพอใจในการ จัดการเรียนรู้โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่าง ยนต์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จํานวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย การ หาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยการพูดจูงใจ การให้คะแนนเสริมและการใช้รางวัล ในการ ส่งเสริมด้านการหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้นี้ใช้ตารางเช็คการส่งงานของ แบบฝึกหัด และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยของการมาสาย ในรายวิชาไฟฟ้า รถยนต์ หลังการส่งด้านเสริมการหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้พบว่าการมาเรียนสูงขึ้นกว่า ก่อนได้รับการส่งเสริมด้านหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ซึ่งหมายถึง นักเรียน ในระดับชั้น ปวช.2 เพื่อช่วยให้นักเรียน มีความรับผิดชอบในการมาเรียน
ข กิตติกรรมประกาศ การทำการวิจัยเรื่องการหาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ต่อการเรียนของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2 กลุ่ม 1 สาขาวิชาช่างยนต์ในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณา และ ช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจากคณะครูแผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬทุกท่าน และผู้ทรงคุณ วุฒิ ที่กรุณา เสียสละเวลาให้คำแนะนำตรวจแก้ไขข้อบกพร่องของบทเรียนและแบบทดสอบของงานวิจัยผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งใน ความกรุณาของผู้ทรงคุณวุฒิและขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและขอบพระคุณครู อาจารย์ที่อบรมสั่ง สอนให้คำแนะนำมาโดยตลอดขอขอบพระคุณ บิดา มารดา ที่สนับสนุนในการศึกษาและกำลังใจและขอขอบคุณ เป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้เขียนเอกสำรวจค้นคว้าตาราหนังสือที่ทำให้เข้าใจการทำโครงการชัดเจนขึ้นคุณค่าประโยชน์ อันพึงมีจากการวิจัยนี้ผู้จัดทำขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดามารดาผู้ให้ชีวิตผู้มีพระคุณตลอดจนอาจารย์และ ทุกคนที่มีส่วนสร้างพื้นฐานการศึกษาให้แก่ผู้จัดทำ (นายอภินันต์ อ่อนจงไกล) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญ ง บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย 1 วัตถุประสงค์ 2 สมมุติฐานงานวิจัย 2 ขอบเขตของการวิจัย 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 7 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 7 เครื่องมือที่ใช้ 7 เกณฑ์การประเมินแบบสอบถาม 8 สรุปผลสำรวจสาเหตุของการเรียนสาย 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 10 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10 ขั้นตอนดำเนินงาน 10 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 11 วิเคราะห์ข้อมูล 11 บทที่ 5 สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 14 วัตถุประสงค์ 14 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 14
ง สารบัญ หน้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 14 การดำเนินงานวิจัย 14 วิเคราะห์ข้อมูล 15 สรุปผลการวิจัย 15 อภิปรายผลการวิจัย 15 ข้อเสนอแนะ 15 บรรณานุกรม 15
1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ เป็นสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม พณิชยการ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายได้เรียนวิชาชีพตาม ความต้องการของผู้เรียน โดยนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ส่วนใหญ่มาวิทยาลัยสายมาก และมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทุกวัน พฤติกรรมนักเรียนมาสายมีการกระทำ บ่อบๆ ทำให้แสดงเห็นว่าสังคมไม่มีการพัฒนาในด้านศักยภาพบุคคล และด้านการศึกษา ผลสะท้อนว่าวิทยาลัยไม่มีมาตรฐานในเรื่องกฎระเบียบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและ ประเทศชาติที่กำลังจะเข้าสู่อาเซียนเป็นอย่างสูง การมาเรียนสายจึงเป็นปัญหาในการเข้าเรียน ไม่ตรงต่อเวลาและ ผิดกฎระเบียบ ของวิทยาลัย ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ทำให้มาสาย โดยมากเกิดจาก การ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในตอนกลางคืน เช่น พูดคุยโทรศัพท์จนดึก เล่นเกมส์ เป็นต้น ผู้ปกครองก็ไม่มีเวลา ที่ จะรอลูกตื่น เพราะผู้ปกครองต้องรีบไปทำงานแต่เช้า เมื่อไม่มีคนปลุกจึงทำให้นักเรียนตื่นสาย พฤติกรรมเหล่านี้จึง ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ เพื่อให้ นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม การเจริญเติบโตขึ้นเป็นบุตรที่ดีของบิดา มารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูและเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนให้การเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ โดยการอาศัยระเบียบ การควบคุมความประพฤติของ นักเรียนในเรื่องของการมาสาย จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ เพื่อที่จะได้ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่อง พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์ แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ และเพื่อเป็นแนวทางที่ผู้บริหารวิทยาลัยจะได้นําผลของงานวิจัยไปปรับเป็นข้อมูลเพื่อ ปรับปรุงการบริหารงานในสถานศึกษาต่อไป
2 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนก วิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 1.2.2 เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 1.3 สมมุติฐานงานวิจัย 1.3.1 นักเรียนส่วนมากมาเรียนสายน่าจะมีสาเหตุมาจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม 1.3.2. นักเรียนที่เข้าเรียนหลังครูประจำ วิชาเครื่องยนต์ดีเซลทำการสอน 15 นาที ถือว่ามาสาย 1.3.3. นักเรียนต้องมีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบตนเองเป็นคนตรงต่อเวลา 1.4 ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของโครงการการศึกษาโครงการ ดังนี้ 1.4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.4.1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียน ระดับชั้น ปวช. 2/1 แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ทั้งหมด 20 คน 1.4.1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ระดับ ปวช.2/1 แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึง กาฬ รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยวิธีการเจาะจง 1.4.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้า รถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทางด้านงานวิชาการ งานกิจการนักเรียน เรื่องที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหาไว้ ดังนี้ 1.4.2.1 พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน 1.4.2.2 สาเหตุของการมาเรียนสายของนักเรียน 1.4.3.3 การมาเรียนสายมีผลกระทบต่อการเรียนอย่างไร 1.4.4.4 สถิติการมาเรียนสายของนักเรียน 1.4.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน การศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
3 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาโครงการ ในครั้งนี้ 1.5.1 ได้ทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่อง พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 แผนกวิชาช่างยนต์ 1.5.2 ได้ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา 1.5.3 ปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของวิทยาลัยฯ อย่างเคร่งครัด 1.5.4 สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียนได้ 1.5.5 ได้ทราบถึงพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 1.5.6 รู้วิธีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้า รถยนต์เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการมาเรียนสายของนักเรียนในอนาคต 1.5.7 นักเรียนจะสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬได้อย่างเคร่งครัด 1.5.8 ทราบถึงปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้นักเรียนมาเรียนสาย 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่ศึกษาระดับ ปวช. 2/1 แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 1.6.2 ไม่เข้าเรียน หมายถึง การที่นักเรียนไม่ได้เข้าเรียนในรายวิชาเครื่องยนต์ดีเซล 1.6.3 การบริหารงานปกครอง หมายถึง การที่ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ด้านการปกครองดำเนินการ หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานปกครอง โดยสามารถวัดได้จากความคิดเห็นของครูและนักเรียนในวิทยาลัยฯ 1.6.4 งานปกครอง หมายถึง งานที่ดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยของวิทยาลัยฯ 1.6.5 ระเบียบปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบของวิทยาลัยฯ ที่ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตามระเบียบ 1.6.6 การมาสาย หมายถึง นักเรียนที่เข้าเรียนวิชาเครื่องยนต์ดีเซล หลังจากที่ครูประจำวิชาได้ทำการ สอน ไปแล้ว 15 นาที 1.6.7 ผลกระทบ หมายถึง ผลงานที่คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสียในระยะยาวอย่างไร ในการมาเรียนสาย 1.6.8 พฤติกรรม หมายถึง การกระทำที่ทำให้นักเรียนมาเรียนสาย
4 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรม หมายถึง การกระทำซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของจิตใจที่ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอาจสังเกตได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม บางลักษณะอาจสังเกตได้โดยไม่ใช้เครื่องมือ ช่วยเหลือ ต้องใช้เครื่องมือช่วย พฤติกรรมในมนุษย์ หมายถึง อาการกระทำหรือกิริยา ที่แสดงออกมาทางร่างกาย กล้ามเนื้อสมองในทางอารมณ์ ความคิดและความรู้สึก พฤติกรรมเป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้นมาเร้าในเวลาใดจะมีการตอบสนองเมื่อนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์โคว้ตระกูล ได้ให้ความสำคัญ เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการสอนบุคคลจะต้องสอนเพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม จึงได้เน้นว่า คนที่เป็นครูจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมและได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้ พื้นฐาน ความคิด (Basic Assumptions) ในทางวิทยาศาสตร์พฤติกรรมที่ครูควรจะยึดถือเป็นหลักมีดังต่อไปนี้ - พฤติกรรมของบุคคลแต่ละอย่างจะต้องมีสาเหตุ - พฤติกรรมหนึ่งอาจจะมาจากสาเหตุได้หลายอย่าง ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน - พฤติกรรมอย่างเดียวกัน อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุต่างชนิดกัน การที่จะเข้าใจพฤติกรรมของนักเรียนครูจะต้องพยายามนำหลักการในการศึกษาพฤติกรรม ของ นักจิตวิทยามาใช้ด้วย อาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปถ้าหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือ พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่สะสมถ้าหากครูพยายาม นึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมทุก ชนิดจะต้องมีสาเหตุ การพยายามศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมก็เป็นวิธีช่วยนักเรียนที่มีปัญหาได้เช่นเดียวกัน ถ้า ครูพยายามจัดสิ่งแวดล้อมและจัดหาประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ก็จะเป็นการช่วยให้นักรเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในตัว แปรที่ดีต่างๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนได้สรุปแล้วลำดับขั้นของการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียน การเข้าแถว ของเด็กอนุบาลก็มีความสำคัญ การเข้าแถวเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้กับเด็กรวมถึงเด็กได้ทำ กิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกัน แต่มีเด็กนักเรียนบางคนชอบมาสาย บางครั้งคุณครูสอนไปแล้วตั้งเยอะเด็กพึ่งจะมา โรงเรียน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กเรียนไม่ทันเพื่อนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน งานวิจัยของท่านนี้ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อให้เด็กได้มาทันเวลาตามกำหนดของโรงเรียน โดยการสอบถามและพูดคุยและขอ ความร่วมมือผู้ปกครองให้ผู้ปกครองเอาใจใส่เด็กในเรื่องของการนอนให้เด็กได้นอนแต่หัวค่ำ เพื่อเด็กจะได้ไม่ตื่น สาย และให้มาส่งเด็กเข้าเรียนตรงตามเวลา จากการวิจัยในระยะเวลา 1 เดือน เด็กที่เคยมาสายได้มาทันเวลาและ ได้เรียนกับเพื่อน (ประไพศรี โกมุทผล. โรงเรียนบ้านบางเทา, 2551.)
5 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานการปกครอง เป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรม เพราะโดยธรรมชาติของสังคมนั้น คนเก่ง วิชาการฝ่ายเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดีด้วย จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง ดังนั้น ครูอาจารย์ทุกคนจึง มีหน้าที่ทั้งให้ความรู้และอบรมสั่งสอนให้ประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม โดยมีฝ่ายปกครองเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบาย และบริหารงานปกครองไปสู่การชี้นำให้นักเรียนทำความดีและดูแลระแวดระวังป้องกันไว้ไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ด้วยมาตรการที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ซึ่งเป็นกระบวนวิธีที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามปรัชญา คติพจน์ คุณลักษณะ ของนักเรียนที่พึงประสงค์และวิสัยทัศน์อันเป็นเป้าหมายของโรงเรียน (ที่มา : http://discipline.satitpatumwan.ac.th) เสริมวิทย์ศุภเมธี (2531:227) ได้ให้ความหมาย การปกครองงานด้านกิจการนักเรียน คือ การให้ความคุ้มครองดูแล งานด้านกิจการนักเรียน โดยนักเรียน และเพื่อนักเรียน ซึ่งเป็นการฝึกการปกครองระบอบประชาธิปไตยภาคปฏิบัติ โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ดำเนินงาน ด้านปกครองนักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ (ที่มา: http://e-book.ram.edu) ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิตคนมีวินัยเขาจะจัดระเบียบชีวิตของเขา ได้เป็นอย่าง ดี สังคมใดไร้ระเบียบวินัย สังคมนั้นก็จะอ่อนแอคนไม่มีวินัยก็จะมีชีวิตอยู่อย่างสะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อยวินัยจึงเป็น หัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิต คำว่า ระเบียบวินัย นั้นแม้นปรากฏอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหนังสือ ตำรา เอกสาร อื่นใดกระทั่งคำขวัญวันเด็กที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากแต่ส่วนน้อยหนัก ที่จะกล่าวรู้ว่า ความหมายของคำว่าระเบียบ วินัยที่แท้นั้นว่าอย่างไร การศึกษาถึงความหมายของระเบียบวินัยจึงมีความจำเป็น เพื่อให้สามารถทราบในเบื้องต้น ได้อันจะนำไปสู่การศึกษาในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวินัยต่อไป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2547:ออนไลน์,อ้างถึงในวีระศักดิ์ ไชยเสน,2548:33) ได้แยกกล่าว ถึงความหมายระหว่างคำว่า ระเบียบกับวินัย ออกจากกัน กล่าวคือ ระเบียบ หมายถึง ถูกลำดับ ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว มีลักษณะเรียบร้อย ส่วนคำว่า วินัย หมายถึง ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่ สำคัญในการดำเนินชีวิต ( พระพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9, 2547 : ออนไลน์,อ้างถึงใน วีระศักดิ์ ไชย เสน, 2548 : 33) ระเบียบวินัย หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง ให้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง โดยเกิดจากการสำนึก ซึ่งไม่ต้องกระทำการใดๆ อันเป็นผลทําให้เกิดความยุ่งยากแก่ตนเอง ในอนาคต หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและ ไม่ขัดต่อสิทธิของผู้อื่น (อำพร กาทอง, 2529 : 7) ระเบียบวินัย หมายถึง ความมีวินัยในตนเอง สามารถควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนขององค์กร โดยต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจนและมีความยุติธรรม มีการลงโทษอย่างยุติธรรมเสมอกันซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ http://www.ripb.ac.th/~intanin/eleam/EJUDKAN (2547,อ้างถึงใน ลัดดา บุทรง,2548: 35)
6 ระเบียบวินัย หมายถึง แบบแผน กฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติคนที่มีระเบียบวินัยเป็นคนที่สามารถ ควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตนได้ตามแบบแผนกฎเกณฑ์ และข้อบังคับของสังคมนั้นได้โดยอาจจะใช้กฎเกณฑ์ ข้อบังคับเป็นเครื่องกําหนดให้ทำตาม ซึ่งเรียกว่าระเบียบวินัยภายนอกหรืออาจจะปฏิบัติเพราะตระหนักถึงความ ถูกต้องเหมาะสมดีงามด้วยตัวของตัวเองแม้บ้าง อย่างจะไม่ได้มีการกําหนดไว้เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับก็ตาม ซึ่ง เรียกว่ามีระเบียบวินัยในตนเอง(สุพัตรา เทียนอุดม, 2536 : 5) ระเบียบวินัยหมายถึงการฝึกฝนในลักษณะนิสัย รวมทั้งจิตนิสัย ให้มีทั้งความถูกต้องและสมบูรณ์(Fortosis, 2004 : Online,อ้างถึงใน ลัดดา บุญทรง, 2548 : 35) ที่มา: http://kb.psu.ac.th นักเรียนมาเรียนสาย หมายถึง นักเรียนที่มาไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ ให้ถือว่ามาสาย ให้มารายงานตัว และลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้นๆ นักเรียนที่เข้าเรียนหลังครูประจำ วิชาเครื่องยนต์เล็ก ทำการสอน 15 นาที จะมี ผลดังนี้ 1. มาสาย 1-5 ครั้ง คุณครูประจำวิชาว่ากล่าวตักเตือน หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน 2. มาสายเกิน 6–10 ครั้ง หัวหน้าแผนกว่ากล่าวตักเตือน หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน 3. มาสายเกิน 10 ครั้ง ฝ่ายปกครอง เชิญผู้ปกครองมาพบ และหักคะแนนความประพฤติครั้งละ ไม่เกิน 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน ผลกระทบ หมายถึง ผลงานที่คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสียในระยะยาวอย่างไร ในการมาโรงเรียน สาย ต่อตนเอง- ทำให้เสียการเรียน มาช้าเรียนไม่ทัน ถ้าคุณครูย้อนมาสอนอีกทำให้เสียเวลาเรียนของเพื่อนๆถ้ามา สายบ่อยๆจะเป็นคนไม่ตรงต่อเวลาและอาจโดนครูดุเอาด้วยนะคะต่อห้องเรียน-การเข้ามาระหว่างครูสอน อาจ รบกวนเพื่อนที่เรียนอยู่ ที่มา : http://guru.google.co.th
7 บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์ แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬและหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาเรื่อง พฤติกรรมการมาเรียนสายของ นักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ผู้วิจัยได้กำหนด วิธีการดำเนินการศึกษาตามลำดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ทั้งหมด 14 คน 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับ ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยวิธีการเจาะจง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ 3.2.1 แบบสอบถาม แบบสำรวจ พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนนักเรียนปวช. ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนก วิชาช่างยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาจากส่วนต่าง ๆ ดังนี้ - ระดับชั้นที่ศึกษา ส่วนที่ 2 พฤติกรรมที่มาโรงเรียนสายเพราะอะไร (คำถามปลายปิด) ถ้ามาไม่ทัน สาเหตุที่ไม่ทัน - ตื่นสาย - มีภาระงานที่บ้าน - ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยฯ ไกล - รอเขาพร้อมเพื่อน - อยู่ร้านเกมส์
8 ตารางที่ 1 สรุปผลสำรวจพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่าง จากสัปดาห์ที่ 1 - สัปดาห์ที่ 18 ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จำนวน 6 คน ที่ รหัสประจำตัว ชื่อ-สกุล ทัน ไม่ทัน ค่าเฉลี่ย SD. ผลที่ได้ 1 64201010036 นายกนก สุวรรณไตร 7 9 0.5 0.14 สาย 2 64201010037 นายคเณศ คำวงษ์ 10 8 0.4 0.14 ทันเวลา 3 64201010051 นายจริยะ นูคำดี 8 10 0.6 0.14 สาย 4 64201010076 นายจักรพงษ์ เพียรสองชั้น 5 13 0.7 0.57 สายมาก 5 64201010080 นายธนพล แสนคำ 4 14 0.8 0.71 สายมาก 6 64201010089 นายธนัท พลเยียม 12 6 0.3 0.42 ทันเวลา 3.3 เกณฑ์การประเมินแบบสอบถาม มากกว่า 0.3-0.4 หมายถึง มาทันเวลา ระหว่าง 0.5-0.6 หมายถึง มาสาย น้อยกว่า 0.7-0.8 หมายถึง มาสายมาก 3.4 สรุปผลสำรวจสาเหตุของการเรียนสาย 3.4.1 นายกนก สุวรรณไตร มาไม่ทัน มี 9 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลาตามลำดับดังนี้ 1. ตื่นสาย 2. มีภาระงานที่บ้าน 3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล 3.4.2 นายคเณศ คำวงษ์มาไม่ทัน มี 8 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลาตามลำดับดังนี้ 1. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล 2. ตื่นสาย 3. รอเข้าพร้อมเพื่อน
9 3.4.3 นายจริยะ นูคำดีมาไม่ทัน มี 10 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลาตามลำดับดังนี้ 1. มีภาระงานที่บ้าน 2. ตื่นสาย 3. รอเข้าพร้อมเพื่อน 3.4.4 นายจักรพงษ์เพียรสองชั้น มาไม่ทัน มี 13 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลาตามลำดับดังนี้ 1. ตื่นสาย 2. อยู่ร้านเกม 3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล 3.4.5 นายธนพล แสนคำ มาไม่ทัน มี 14 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา ตามลำดับดังนี้ 1. รอเข้าพร้อมเพื่อน 2. ตื่นสาย 3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล 3.4.6 นายธนัท พลเยียม มาไม่ทัน มี 6 ครั้ง มีสาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา ตามลำดับดังนี้ 1. รอเข้าพร้อมเพื่อน 2. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล 3. ตื่นสาย
10 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สูตรที่ใช้คำนวณ ̅ = ∑ คือ ค่าของข้อมูลแต่ละตัวหรือจุดกึ่งกลางชั้นแต่ละตัว ̅ คือ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง 3.6 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณจากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด.2545:105) .. = √ ∑ 2−(∑ ) 2 (−1) เมื่อ .. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ∑ 2 แทน ผลรวมกำลังสองของคะแนน (∑ ) 2 แทน ผลรวมของคะแนนยกกำลังสอง แทน จำนวนคน 3.7 ขั้นตอนดำเนินงาน 3.7.1. วางโครงงาน -วางกลุ่มเป้าหมาย -สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 3.7.2. เขียนรายงาน - พิมพ์งานตามโคร่งร่างที่วางไว้ 3.7.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน - พิมพ์รายงาน -สอบถามกลุ่มเป๋าหมาย -นำผลมาเรียบเรียง 3.7.4 เผยแพร่ผลงาน - สร้างเพจในเฟสบุ๊ค เพื่อเผยแพร่ข้อมูล
11 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการดำเนินการศึกษาค้นคว้า เรื่องพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้า รถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ มีดังนี้ 4.1 วิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 คน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้า รถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ตารางที่ 1 นายกนก สุวรรณไตร สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. ตื่นสาย 25% 2. มีภาระงานที่บ้าน 20% 3. ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 10% สาเหตุที่ นายขจรเดช พันธรัตน์ มาเรียนสาย อันดับ 1 คือ ตื่นสาย25% อันดับ 2 คือ มีภาระงานที่บ้าน 20% อันดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล10% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน ตารางที่ 2 นายคเณศ คำวงษ์ สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 21% 2. ตื่นสาย 18% 3. รอเข้าพร้อมเพื่อน 5% สาเหตุที่ นายชัยธวัช ภารไสวมาเรียนสาย อันดับ 1 คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล21% อันดับ 2 คือ ตื่นสาย18% อันดับ 3 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน5% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของ นักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน
12 ตารางที่ 3 นายจริยะ นูคำดี สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. มีภาระงานที่บ้าน 29% 2. ตื่นสาย 25% 3. รอเข้าพร้อมเพื่อน 7% สาเหตุที่ นายภักดี ศรีระพันธ์ มาเรียนสาย อันดับ 1 คือ มีภาระงานที่บ้าน29% อันดับ 2 คือ ตื่นสาย 25% อันดับ 3 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน 7% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน ตารางที่ 4 นายจักรพงษ์ เพียรสองชั้น สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. ตื่นสาย 39% 2. อยู่ร้านเกม 25% 3. ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัย ไกล 2% สาเหตุที่ นายธีรพงษ์ บญญะนิตใบคำ มาเรียนสาย อันดับ 1 คือ ตื่นสาย 39% อันดับ 2 คือ อยู่ร้านเกม 25% อันดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 2% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน ตารางที่ 5 นายธนพล แสนคำ สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. รอเข้าพร้อมเพื่อน 35% 2. ตื่นสาย 20% 3. ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 12% สาเหตุที่ นายธนากร พลพันธ์ มาเรียนสาย อันดับ 1 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน 35% อันดับ 2 คือ ตื่น สาย 20% อันดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 12% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของ นักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน
13 ตารางที่ 6 นายธนัท พลเยียม สาเหตุที่มาไม่ทันเวลา ผลสำรวจ (18 สัปดาห์) 1. รอเข้าพร้อมเพื่อน 15% 2. ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 10% 3. ตื่นสาย 7% สาเหตุที่ นายกฤตเมธ ชมพูจันทร์ มาเรียนสาย อันดับ 1 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน 15% อันดับ 2 คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล 10% อันดับ 3 คือ ตื่นสาย 7% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของ นักเรียน ปวช.2/1 จำนวน 14 คน
14 บทที่5 สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การวิจัย เรื่องพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชา ช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ มีสาระสำคัญ ผลสรุปและอภิปรายผล รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปัญหา ดังนี้ 5.1 วัตถุประสงค์ 5.1.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์ แผนก วิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 5.1.2 เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.5.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ทั้งหมด 20 คน 1.5.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยวิธีการเจาะจง 5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามสำรวจ พฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์ แผน วิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาจากส่วนต่างๆ ดังนี้ - ระดับชั้นที่ศึกษา ส่วนที่ 2 พฤติกรรมที่มาเรียนสายเพราะอะไร (คำถามปลายปิด) - ถ้ามาไม่ทันเวลา สาเหตุที่ไม่ทัน คือ ตื่นสาย มีภาระงานที่บ้าน ระยะทาง จากบ้านมาวิทยาลัยไกล รอเขาพร้อมเพื่อน 5.4 การดำเนินงานวิจัย จากการสำรวจพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ โดยสำรวจจาก แบบสอบถาม โดยสาเหตุพฤติกรรมตัวอย่างในการมาสายทั้งหมด 5 ตัวอย่าง เป็นแบบสอบถามโดยขีดเครื่องหมาย
15 ถูก ลงในช่อง มาทันเวลา และไม่มาทันเวลา ถ้าขีดเครื่องหมายถูกที่ไม่ทันเวลา ให้ตอบที่สาเหตุที่ไม่ทันเวลา โดยมี เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ - มาทันเวลา 0 คะแนน - มาไม่ทันเวลา -1 คะแนน 5.5 วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในรายงานครั้งนี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ 1. การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต 2. การหาค่าร้อยละ 5.6 สรุปผลการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้า รถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ โดยการสำรวจจากแบบสอบถาม พบว่า สาเหตุของการมา เรียนสายส่วนใหญ่ คือ ตื่นสาย โดยมีสาเหตุมาจาก เหตุผลส่วนตัว รองลงมา คือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล และสาเหตุสำคัญสุดท้าย คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน ทำให้เพิ่มสถิติการมาสายเพิ่มขึ้นทุกวัน และขาดระเบียบวินัยใน ตนเองและสังคม การมาสายถือว่า เป็นสิ่งสำคัญในการเข้าร่วมสังคมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ควรจะตรงเวลา ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อครู และนักเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมาสาย ให้ลด น้อยลง และสถิติการมาสายก็จะลดไป มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในเรื่องระเบียบวินัย ให้คำตักเตือนและ ลงโทษนักเรียนที่มีพฤติกรรมมาสายบ่อยครั้ง 5.7 อภิปรายผลการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการมาเรียนสายของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชา ไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ สามารถสรุปประเด็นสาเหตุสำคัญของการมาเรียนสาย และนำมาอภิปรายผลได้ ดังนี้ 1. ระดับของการมาเรียนสาย จากการสำรวจแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการมาเรียนสาย ของนักเรียน ระดับชั้น ปวช.2/1 รายวิชาไฟฟ้ารถยนต์แผนกวิชาช่างยนต์ สาเหตุหลักของการมาเรียนสายมี 3 อันดับ คือ ตื่น สาย หมายถึง เกิดจากการนอนดึก โดยเกิดจากปัจจัยส่วนตัว เช่น การคุย โทรศัพท์ การดูโทรทัศน์ การคุยแชทกับ เพื่อน และอื่น ๆ ปัจจัยทางครอบครัว เช่น การช่วยครอบครัวทำงาน การหมกมุ่นในการเล่นเกมส์ เป็นต้น สาเหตุ
16 ที่สองคือ ระยะทางจากบ้านมาวิทยาลัยไกล หมายถึง การเดินทางมาเรียนจากบ้านมาถึงวิทยาลัยฯ มีระยะทางที่ ไกล จึงใช้เวลานานในการเดินทาง สาเหตุที่สามคือ รอเข้าเรียนพร้อมเพื่อน หมายถึง เดินทางมาถึงวิทยาลัยฯ แต่ ยังไม่เข้าชั้นเรียน โดยการรอเพื่อนเดินทางมาเข้าเรียนพร้อมกัน หรือรอเพื่อนมารับแล้วเข้าวิทยาลัยฯ พร้อมกัน หรือการนั่งคุยกันกับเพื่อนเพื่อรอเวลาเข้าเรียนพร้อมกัน 2. สาเหตุและผลกระทบของการมาเรียนสาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ตนเอง - มีปัญหาทางด้านการเรียน - เด็กขาดความเป็นระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา - ไม่ได้รับข่าวสารจากทางวิทยาลัยฯ - ถูกอาจารย์ตำหนิ ครอบครัว - เมื่อเด็กมาวิทยาลัยฯ สายบ่อยๆครั้ง ผู้ปกครองถูกเชิญเพื่อรับทราบปัญหา - ผู้ปกครองมีความกังวลในการมาเรียนของนักเรียน สังคม/สิ่งแวดล้อม - การเรียนไม่ค่อยมีการพัฒนา - ขาดมาตรฐานเรื่องความมีระเบียบวินัย 5.8 ข้อเสนอแนะ 1. วิทยาลัยฯ ต้องกำหนดกฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด 2. ควรมีการลงโทษนักเรียนที่มาสายอย่างเข้มงวด 3. มีการหักคะแนนความประพฤติ 4. ควรตรวจสอบสถิติของนักเรียนที่มาสายเป็นประจำเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาการมาเรียนสาย 5. จัดกิจกรรมการเข้าค่ายเกี่ยวกับเรื่องระเบียบวินัย 6. ผู้ปกครอง ต้องดูแลใส่ใจในการรับ-ส่งนักเรียน
17 บรรณานุกรม ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.fve.ac.th/car/2555/term1/036.pdf.2555, มกราคม 12. ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. swis.act.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/507.pdf. 2555,มกราคม 12. ประไพศรี โกมุทผล.(2551: อ้างอิงมาจากเข้าแถวของนักเรียน): โรงเรียนบ้านบางเทา ภีชนะกา,2553( อ้างอิงมาจากผลกระทบ).[ออนไลน์].แหล่งที่มา:http://guru.google.co.th สุพัตรา เทียนอุดม, 2536 : 5 (อ้างอิงมาจากระเบียบวินัย).[ออนไลน์]แหล่ง ที่มา: http://kb.psu.ac.th เสริมวิทย์ ศุภเมธี (2531:227 อ้างอิงมาจากงานปกครอง).[ออนไลน์]แหล่ง ที่มา: http://e-book.ram.edu สนอง สุวรรณวงศ์(2529:109 อ้างอิงมาจากงานปกครอง).[ออนไลน์ http://discipline.satitpatumwan.ac.th ลัดดา บุญทรง, 2548 :35 (Fortosis,2004:Online,อ้างมาจากระเบียบวินัย).แหล่ง ที่มา: http://www.ripb.ac.th วีระศักดิ์ ไชยเสน,2548:33 (2547:ออนไลน์,อ้างมาจากระเบียบวินัย)