The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

(ปฐมวัย)รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ห้องเรียนครูใหม่, 2021-02-21 10:58:34

การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา

(ปฐมวัย)รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 1

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั ก2

คำนำ

การประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) เป็นกระบวนการในการวัด
และเก็บรวบรวม ข้อมูล เพื่อนำมาวเิ คราะหพ์ ิจารณาตดั สินคุณคา่ ของหลักสูตรวา่ หลักสตู รสถานศึกษามี
ประสิทธิภาพเพียงใด เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข
เพอ่ื นำผลมาใช้ในการ ตดั สินใจหาทางเลือกท่ีดีกวา่ จดุ มุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร เพ่ือหาคุณค่า
ของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการ
หรือไม่ สนองความต้องการของ ผู้เรียนและสังคมอย่างไร และเพื่ออธิบายหรือพิจารณาว่าลักษณะของ
ส่วนประกอบต่างๆ ของหลกั สตู รในแงต่ ่างๆ เช่น หลักการ จุดมุง่ หมาย เนือ้ หาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรม
การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความ
ต้องการหรือไม่รวมท้ังเพื่อตัดสนิ ว่า การบริหารงาน ด้านวิชาการ และบริหารงานดา้ นหลักสตู ร เป็นไป
ในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ให้มี
ประสิทธิภาพ การประเมินผลหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เราทราบถึง
คุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือ
พัฒนาหลกั สูตรตอ้ งอาศัยผลจากการประเมินผลเป็นสำคัญ ทำใหท้ ราบวา่ หลกั สตู รทีส่ ร้างหรือพัฒนาขึ้น
นั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผล ให้หลักสูตร
มีคุณภาพดียิ่งขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ ประชาชน
ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือ
บริการทางใดบ้าง ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้
ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การจัดเรียนการสอนแก่นักเรียน
ได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและชุมชนจากความจำเป็นดังกล่าว งานพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)ตระหนักในความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดการ
ประเมนิ การใช้หลักสูตรสถานศึกษาขึ้น เพื่อทำการทบทวนตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนาให้
หลักสูตรมีความสมบูรณ์สนองต่อความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง สนองนโยบายของภาครัฐ
รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนางานทางด้านวิชาการของโรงเรียน และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจนำข้อมูลไป
พฒั นาผูเ้ รยี นให้สนองเจตนารมณข์ องหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป

(นางฉฐั อติพา แชม่ ชมดาว)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชินวราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั ข3

สารบัญ

คำนำ หนา้
สารบัญ ก
บทที่ 1 บทนำ ข

- หลักการและเหตุผล 4
- วตั ถปุ ระสงค์ 5
- ขอบเขตการศกึ ษา 5
- นิยามศัพทเ์ ฉพาะ 6
- ประโยชน์ทีค่ าดว่าจะได้รบั 7
บทที่ 2 - วรรณกรรมและงานวจิ ัยที่เกยี่ วข้อง 8
- แนวคดิ เกย่ี วกบั หลักสตู ร 8
- ความสำคัญของหลกั สูตร 9
- การพฒั นาหลกั สตู ร 10
- สาระสำคัญเกยี่ วกับหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 13
- หลกั สตู รโรงเรียนวดั ชนิ วราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์) พุทธศักราช 2560 23
(ฉบับปรบั ปรุง 2561)
- การประเมินหลกั สูตร 68
บทที่ 3 วธิ ีดำเนินการ
- กลมุ่ เปา้ หมาย 69
- เครอ่ื งมือทใ่ี ช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล 69
บทที่ 4 ผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู
- ประเมนิ การใชแ้ ละพฒั นาหลกั สูตรจากผบู้ รหิ ารและครูผ้สุ อน 71
บทท่ี 5 สรปุ ผล อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ
- สรปุ ผลการประเมนิ หลักสูตรโรงเรยี นวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) 73
- อภปิ รายผลการประเมนิ หลกั สตู ร 74
- ขอ้ เสนอแนะ 78
บรรณานกุ รม 79

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 4

บทที่1
บทนำ

1. หลกั การและเหตผุ ล

การศกึ ษามีบทบาทและความสำคัญในการพฒั นาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ในยุคปัจจุบัน
ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาจะเป็นพื้นฐานในการคิด เพื่อพัฒนา
ตนเองให้ทันต่อสังคมโลก และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย
โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) เป็น
หลักสูตรที่พัฒนาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาการศึกษาปฐมวั ยและวิสัยทัศน์ของ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สนองแนวนโยบายใหม่ๆของภาครัฐสนองความต้องการ
ของชุมชนท้องถิ่นและสอดคล้องกับบริบทของสังคม ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลารวมทั้งเมื่อ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศคำสั่งที่ ที่ สพฐ.1223/2560 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2560เรื่อง ให้ใช้
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยมีการพัฒนาปรับปรุง
หลักสตู รของสถานศึกษามาอย่างต่อเน่ือง ตามแนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวยั มีส่วนสําคัญยิ่ง
ในการพัฒนาเด็กทัง้ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างเปน็ องค์รวม และสมดุลครบ
ทุกด้าน ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย นอกจากนี้ยังต้องสอดคล้องกับการทํางานของสมอง การ
เสริมสร้างทักษะการคิดที่เป็นประโยชน์ตอ่ การดําเนินชีวติ ในอนาคต การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยการสร้าง
วินัยเชิงบวก รวมทั้งการให้การศึกษาที่มีคุณภาพด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการ
เรียนรู้ เพ่ือช่วยให้เดก็ มีพัฒนาการและเกิดการเรียนรู้ตามจดุ หมายของหลักสตู ร ด้วยวธิ ีการประเมินตาม
สภาพจริงที่สะท้อนถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็ก ซึ่งครอบครัวสถานศึกษาหรือสถาน
พัฒนาเดก็ ปฐมวัย และชมุ ชน ตอ้ งมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพชวี ิตไปสู่ความเป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรม และความเป็นไทยกับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ
วัฒนธรรม (สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ: 2560)

ดังนั้น โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) จึงมีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร ให้
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู่ที่สนองต่อธรรมชาติและ
พัฒนาการ ตามวัยของเด็ก ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ที่ส้งผลต้อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการ
พัฒนาเด็กปฐมวัย ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้แก่
เด็ก และมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก แต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ด้วยความร่วมมือของสถานศึกษาหรือ
สถานพัฒนาเดก็ ปฐมวัย ครอบครัว ชุมชน สังคม และทกุ ฝ่ายทเ่ี กีย่ วข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย สู่การ
สร้างคนไทยที่มีศักยภาพในอนาคต เพื่อเป็นกําลัง สําคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่าง
ยั่งยืน ทั้งนี้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นใช้เองในโรงเรียนของตน คณะกรรมการบริหาร

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 5

หลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษา โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) ซึ่งประกอบด้วย
ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนผู้ปกครอง
จงึ รว่ มกนั จัดทำหลกั สตู รสถานศึกษาระดับปฐมวัย

จากการใช้หลักสูตร คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียน จึงเห็นว่าควรจะ
ได้มีการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช
2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเด็ก
สามารถนําปรัชญาการศึกษาปฐมวัย และหลักการของหลักสูตร ลงสู่การปฏิบัติ บรรลุผลตามจุดหมาย
ของหลักสูตรที่ต้องการให้เด็กอายุ 3 - 6 ปี ได้พัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สงั คม และสติปัญญา เดก็ อายุ 3 - 6 ปี เป็นวยั ท่ีร่างกายและสมองของเด็กกาํ ลังเจริญเตบิ โต เด็กต้องการ
ความรกั ความเอาใจใส่และการดูแลอย่างใกล้ชิด เดก็ วัยนีม้ ีโอกาสเรยี นรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
ไดส้ ํารวจ เล่น ทดลอง ค้นพบดว้ ยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปญั หา เลอื ก ตัดสนิ ใจ ใช้ภาษาสอ่ื ความหมาย
คิดริเริม่ สร้างสรรค์ และอยู่รว่ มกบั ผู้อื่นอย่างมีความสุข ผู้ท่ีรับผดิ ชอบจงึ มีหน้าท่ีในการอบรมเลี้ยงดูและ
จัดประสบการณ์ให้เด็ก ไดพ้ ัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมให้เด็กสังเกต สํารวจ สร้างสรรค์ และยิ่งเด็ก
มีความกระตือรือร้นยิ่งทําให้ เด็กเกิดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบจึงต้องส่งเสริมสนับสนุน ให้ความรัก ความ
เข้าใจ ความเอาใจใส่เด็กวัยน้ี เป็นพิเศษ เพราะจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยเตรียมพร้อมให้เด็กประสบ
ความสําเรจ็ ในการเรียนและในชีวิตของเด็กต้อไป การนําหลกั สูตรสู่การปฏบิ ัติของสถานศึกษาหรือสถาน
พฒั นาเดก็ ปฐมวัยแต่ละแห่ง จึงมีความสาํ คัญอย่างยง่ิ ต่อ การพัฒนาเด็ก และถอื เป็นหน้าท่ีของบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจในเอกสาร หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช
2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) และจะได้ทราบว่าสภาพการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร มี
ปัญหาข้อบกพร่อง และส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรและเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร คณะกรรมการ
บริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษา ได้นำข้อมูลจากผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนา
หลักสตู รใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพสงู ยิง่ ข้ึน

2. วัตถุประสงค์
2.1 ประเมินคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวรา

ราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)
2.2 ประเมินด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย จุดหมาย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

สาระการเรยี นรู้รายปีของหลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนวดั ชินวราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์
2.3 ประเมินองค์ประกอบการจัดเวลาเรียน การจัดประสบการณ์ การจัดสภาพแวดล้อม ส่ือ

และแหลง่ เรยี นรู้ของหลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนวัดชนิ วราราม (เจรญิ ผลวิทยาเวศม์)
2.4 ประเมนิ การใชแ้ ละพัฒนาหลกั สตู รจากผู้บรหิ ารและครผู ูส้ อน
2.5 จัดทำรายงานการใช้และพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวดั ชนิ วราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) เพื่อ

สนองระบบประกันคณุ ภาพการศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 6

3. ขอบเขตของการศึกษา
เพื่อให้การศึกษาอิสระครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คณะคณะผู้ศึกษาจึงกำหนด

ขอบเขตการศึกษาไว้ ดังน้ี
3.1 ขอบเขตดา้ นกลมุ่ เปา้ หมาย
3.1.1 ประชากร คอื ผบู้ ริหารโรงเรียน ครูผสู้ อน นกั เรยี นโรงเรยี นวัดชนิ วราราม (เจริญ

ผลวิทยาเวศม์) และผ้ปู กครอง
3.1.2 กลุ่มตัวอย่างทีใ่ ห้ขอ้ มลู ในการประเมินครัง้ นป้ี ระกอบด้วย
- ผบู้ รหิ ารโรงเรยี น คณะกรรมการภาคี 4 ฝา่ ย หวั หนา้ กลมุ่ สาระการเรียนรู้ 8

กล่มุ สาระและครูระดับชั้นปฐมวยั จำนวน 20 คน
3.2 ขอบเขตดา้ นเนอื้ หา
การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินหลักสูตรโดยใช้แบบนิเทศ

ติดตามตรวจสอบคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปทมุ ธานี เขต 1 เพอ่ื รวบรวมข้อมูล

3.3 พืน้ ท่ดี ำเนนิ การ คือ โรงเรยี นวดั ชินวราราม (เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์
3.4 ระยะเวลาในการดำเนินการ ปกี ารศึกษา 2562

4. นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน คณะคณะผู้ศึกษาจึงกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะไว้ใช้ใน

การศึกษาไว้ ดงั นี้
4.1 การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการรวบรวม พิจารณา วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อ

พิจารณาตดั สินคุณคา่ ของหลักสตู รสถานศึกษา ในดา้ นบริบทของหลักสูตร ด้านปจั จยั ในการใช้หลักสูตร
ด้านกระบวนการใชห้ ลักสตู ร และด้านผลผลติ ของหลักสตู รโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)

4.2 การประเมินบริบทของหลักสูตร หมายถึง การประเมินความสอดคล้องของ
หลักสูตรสถานศึกษากับสภาพความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นตลอดจนความถนัด ความสนใจและ
ความสามารถของผู้เรียน และความสอดคล้องของหลกั สตู รสถานศึกษากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในด้านวิสัยทัศน์ โครงสร้างของหลกั สูตร และเนื้อหาหลักสตู รตามเกณฑ์
ที่กำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนวัดชินวราราม
(เจริญผลวทิ ยาเวศม)์ ดังนี้

4.3 หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผล
วทิ ยาเวศม)์ พทุ ธศกั ราช 2560

4.4 สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) สำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 7

4.5 ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)
ปกี ารศึกษา 2562

4.6 ครู หมายถึง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ตัวแทนครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอน ซึ่งทำหน้าที่หลัก
ในการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานในโรงเรยี นวัดชินวราราม(เจริญผลวทิ ยา
เวศม์) ปกี ารศึกษา 2562

4.7 คณะกรรมภาคี 4 ฝ่าย หมายถึง ผู้ซึ่งเปน็ ตัวแทนจากชุมชน ผู้ปกครอง ตัวแทนครู ตัวแทน
นักเรยี นท่ถี กู แต่งต้ังจากทางโรงเรียนวดั ชนิ วราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์) 2562

5. ประโยชนท์ ่คี าดวา่ จะไดร้ บั
ผลการศึกษาครัง้ น้จี ะมปี ระโยชนต์ อ่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครแู ละคณะกรรมการสถานศึกษาและ

ผทู้ ่เี กี่ยวข้องในสถานศกึ ษา ดงั นี้
5.1 โรงเรียนวัดชนิ วราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์) นำผลการศึกษาไปใช้ในการพฒั นาการบริหาร

จัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างย่ิง
ตอ่ การพัฒนาผูเ้ รียน

5.2 โรงเรียนทั่วไป ผู้บริหารโรงเรียนและและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา นำผล
การศึกษาที่ได้ไปเป็นแนวทางหรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองให้มี
ประสิทธิภาพยงิ่ ขน้ึ

5.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สามารถรวบรวมข้อมูลผล
การศึกษาเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัด มาวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการ
และการพัฒนาหลกั สตู รให้มีประสิทธิภาพยง่ิ ข้ึน

5.4 ใชผ้ ลการประเมนิ หลกั สูตรสถานศึกษารองรับระบบประกันคณุ ภาพการศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 8

บทท่ี 2
วรรณกรรมและงานวจิ ัยท่ีเก่ยี วข้อง

การศึกษาเรื่อง การประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) สังกัด
สำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เพอ่ื จดั ทำรายงานการใช้และพฒั นาหลักสูตร
สถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 คณะผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตามลำดบั ดงั ต่อไปน้ี

2.1 แนวคิดของหลักสตู รการศึกษา
2.2 แนวคิดของหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช 2560
2.3 สาระสําคัญของหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560 สาํ หรับเดก็ อายุ 3 - 6 ปี
2.4 หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2561)
2.5. การประเมนิ หลักสตู รสถานศกึ ษา

2.1. แนวคดิ เกีย่ วกบั หลกั สูตร
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรพบว่า แนวคิดพื้นฐานสำคัญ

ของหลักสูตร ครอบคลุมความหมายของหลักสูตร ความสำคัญของหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และการบริหารหลักสูตร มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้ให้
ความหมายไวอ้ ยา่ งกวา้ งขวางแตกต่างกัน มรี ายละเอยี ดดังต่อไปน้ี

2.1.1 ความหมายของหลักสตู ร
พยนต์ ง่วนทอง (2553) ได้ให้ความหมายของหลักสตู รไวว้ ่า หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาสาระที่
จัดไว้เป็นระบบ หรือมวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้งภายใน
และภายนอกโรงเรียน ซึ่งจัดให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ คุณธรรม และ
พฒั นาการทางด้านตา่ ง ๆ ตามจุดมงุ่ หมายของการศึกษา
เสาวนี ตรีพุทธรัตน์ (2551) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ เอกสารที่ประกอบไปด้วย
ความมุ่งหมายของการให้การศึกษา เนื้อหาวิชา เวลาเรียน กิจกรรมและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียน
การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
เปร่อื ง จนั ดา (2549) ได้ให้ความหมายของหลักสตู รวา่ หลักสตู ร หมายถงึ แนวความรู้และมวล
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเอกสารก็ได้ โดยประกอบด้วยหลักการ
จุดหมาย เน้ือหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกระบวนการเรียนท่ีหลากหลายตลอดจนการ
วดั และประเมินผลการเรยี นรู้ อนั แสดงถึงประสิทธิผลทีเ่ กิดข้ึนในตวั ผูเ้ รียนเพือ่ พฒั นาคุณภาพของผู้เรียน
ใหเ้ ปน็ ผลเมืองดขี องสงั คม และประเทศชาตติ ่อไปตามจดุ หมายและแนวทางของหลักสตู รท่ีได้กำหนดไว้

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 9

พสิ ณุ ฟองศรี (2549) ใหค้ วามหมายของหลักสูตรไวว้ า่ หลักสูตร คอื การวางแผนการจัดระบบ
ทางการศึกษาเกี่ยวกับมวลวิชา ประสบการณ์ต่างๆ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับ
การปฏบิ ัตใิ ห้ผเู้ รียนมคี ณุ ลักษณะตา่ งๆทพ่ี งึ ประสงค์ตามจดุ มุ่งหมายของหลักสตู ร

วารรี ัตน์ แก้วอไุ ร (2549) ใหค้ วามหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสตู รสถานศึกษา ประกอบด้วย
การเรียนรู้และประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำ
สาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาคจัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละปีหรือภาคและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากจุดหมายของ
หลักสูตรการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน

จากความหมาย สรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาสาระที่จัดไว้เป็นระบบ หรือมวล
ประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนซึ่ง
จัดให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะคุณธรรมและ
พัฒนาการทางดา้ นต่าง ๆ ตามจดุ มงุ่ หมายของการศกึ ษา

2.1.2 ความสำคัญของหลักสตู ร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษา เพราะในการจัด
การศึกษาที่จะบรรลุเป้าหมายได้นัน้ ต้องอาศัยหลักสตู รเป็นเคร่ืองมือนำไปสู่การบรรลเุ ป้าหมายโดยชี้นำ
ทางในการจดั ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรยี นซ่ึงครูต้องปฏิบัติตามเพื่อใหผ้ ู้เรียนได้รบั การศึกษาที่มุ่งสู่
จดุ หมายเดยี วกนั หลักสูตรจึงเป็นหวั ใจสำคัญของการศึกษา นอกจากน้ี ยงั เปน็ เครือ่ งชี้ถึงความเจริญของ
ชาติ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ซึ่งมี
นักวชิ าการไดก้ ลา่ ว ดังนี้
เสาวนี ตรีพุทธรตั น์ (2551) ได้กล่าวว่า หลกั สตู รเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา และถือเป็น
เครื่องมือในการถ่ายทอดเจตนารมณห์ รือเป้าหมายของชาติสู่การปฏิบัติดังนั้นหลักสูตรจึงเปรียบเสมือน
เข็มทิศที่คอยกำหนดและบอกทิศทางการศึกษาว่า ควรเดินไปในทิศทางใด และเดินอย่างไรจึงจะ ถึง
เปา้ หมายที่กำหนด

ดงั น้นั หลักสูตรจงึ เปน็ หวั ใจของการศกึ ษา ซึ่งมคี วามสำคัญดังน้ี
1) หลักสูตรเป็นเครือ่ งมือในการพฒั นาคน
2) หลกั สูตรเป็นเคร่ืองมอื บ่งชี้ถึงความเจรญิ ของประเทศ
3) หลกั สูตรเปน็ เกณฑม์ าตรฐาน
4) หลกั สูตรเป็นหลกั และแนวทางปฏิบตั ิของครู
5) หลักสตู รมีความสำคัญต่อการเรยี นการสอน

สุนยี ์ ภพู่ ันธ์ (2546) ไดก้ ลา่ วถึงความสำคญั ของหลักสตู ร สรุปได้ดังนี้
1) หลักสูตรเป็นแผนและแนวทางในการจัดการศึกษาของรัฐ ให้บรรลุผลสำเร็จตาม

นโยบายและเปา้ หมาย

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 10

2) หลักสูตรเป็นตัวกำหนดขอบเขตเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การ
ประเมนิ ผลและแหลง่ ทรัพยากรในการจัดการศกึ ษา

3) หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการควบคุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและ
คุณภาพของผู้เรียนให้สอดคล้องตามนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาแห่ งชาติและความต้องการ
ท้องถน่ิ

4) หลักสูตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจรญิ งอกงามและพัฒนาการของเด็กตาม
จุดมงุ่ หมายของการศกึ ษา

5) หลักสตู รเปน็ แนวทางในการจัดสรรงบประมาณ สถานท่ี นวตั กรรมและเทคโนโลยีท่ี
จำเป็นต้อการจัดการศกึ ษา

6) หลักสูตรเป็นตัวกำหนด ลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษาในด้าน
ความรู้ความสามารถ ความประพฤติทักษะ และเจตคติของผูเ้ รียนในการอยู่ร่วมกันในสังคมและบำเพ็ญ
ตนให้เปน็ ประโยชน์ตอ่ ชุมชนและชาตบิ ้านเมือง

สรุปได้ว่า หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษา เพราะหลักสูตร เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ทางด้านพฤตกิ รรมและเจตคติท่ดี ีงามใหเ้ กิดกับผู้เรยี นตามจดุ มุ่งหมายของการจัดการศกึ ษา

2.1.3 การพฒั นาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสตู รเป็นภารกิจทีส่ ำคัญ ซึ่ง สุนยี ์ ภ่พู ันธ์ (2546) ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องน้ีว่า การ
พัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงเป็น
การเปลยี่ นแปลงเพยี งบางส่วน เพือ่ ให้เหมาะสมกับโรงเรยี นหรือระบบโรงเรียน จดุ มุง่ หมายของการสอน
วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งประเมินผลโดยไม่เปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานหรือรูปแบบหลักสูตร ส่วนการ
เปลี่ยนแปลง หมายถึง การแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิมเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ การ
พฒั นาหลักสูตรมรี ปู แบบและขน้ั ตอน ตั้งแต่ ศกึ ษาวเิ คราะห์ความต้องการของผู้เรยี นและสงั คม กำหนด
จุดมุ่งหมาย การเลือกเนื้อหา สาระ การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ การคัดเลือกประสบการณ์ การเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล แนวทางการจัด
หลักสูตรของสถานศึกษา สามารถกำหนดเป็นขั้นตอนการดำเนินงานได้ตามลำดับ ดังนี้ (ธีรชัย เนตร
ถนอมศกั ด,ิ์ 2544)

ขั้นท1่ี : ศึกษาข้อมลู พืน้ ฐาน
ขัน้ ท2่ี : การกำหนดหรือทบทวนวสิ ัยทศั นภ์ ารกิจ เป้าหมาย
ขนั้ ท3่ี : กำหนดคณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์
ขน้ั ท4ี่ : การกำหนดสดั สว่ นเวลาเรียน
ขั้นท่ี5 : วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐานการเรียนรู้
ช่วงชน้ั
ข้ันท6ี่ : กำหนดสาระการเรยี นรู้ในแตล่ ะกลุม่ สาระเป็นรายปีหรือรายภาค

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 11

ข้นั ท7่ี : การจดั ทำคำอธบิ ายรายวิชา
ข้นั ท8ี่ : การจัดหนว่ ยการเรยี นรู้
ขนั้ ท9ี่ : การจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้
การพัฒนาหลกั สูตรเป็นส่ิงสำคัญท่นี ักวิชาการ หรือครู ต้องดำเนนิ การ เพื่อปรับพัฒนา
ให้เข้ากับสงั คมท่ีเปล่ียนแปลงไป และต้องดำเนินการอย่างมขี ั้นตอน ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทัง้ ก่อนการนำ
หลักสูตรไปใชร้ ะหว่างการดำเนนิ การใชห้ ลกั สูตร หรอื หลังการใชห้ ลักสตู รเสรจ็ ส้ิน
2.1.4 การนำหลักสูตรไปใช้
การใช้หลักสูตรเป็นขั้นตอนของการน าหลักสูตรแกนกลางสู่การปฏิบัติโดยการนำอุดมการณ์
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดี แล้วไปสู่การ
พัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการนำจุดหมายหลักสูตร เนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดทำไว้ไปจัด
ประสบการณแ์ ละกจิ กรรมให้กับผู้เรียน นกั พฒั นาหลกั สตู รต่างยอมรับและใหค้ วามสำคัญแก่ข้ันตอนการ
ใช้หลักสูตรวา่ เป็นขัน้ ตอนทส่ี ำคญั ย่ิงในกระบวนการพฒั นาหลกั สูตร (รงุ่ นภา นตุ ราวงศแ์ ละคณะ, 2552)
โบซอง (Beauchamp, 1962) กล่าวว่า การใช้หลักสูตรเป็นการนำหลักสตู รที่จัดทำแล้ว
สู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นขั้นตอนที่ท้าทายต่อ
ความสำเรจ็ ของหลักสูตร
ศรีสมร พุ่มสะอาด (2544) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องที่
ครอบคลุมงานทสี่ ำคัญ 3 ดา้ น คือ

1) การวางแผนหรือเตรียมการก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกันทั้ง
บุคคล กระบวนการทำงาน ทรัพยากร ครูต้องมีทักษะในการใช้หลักสูตร รวมถึงทักษะเกี่ยวกับ
ยุทธศาสตรก์ ารเรียนการสอนการปกครองช้ันเรียน และการวัดและประเมินผลการเรียน และต้องเข้าใจ
ทฤษฎีทเ่ี ก่ยี วขอ้ งดว้ ย

2) การนำหลักสตู รไปใช้เป็นกิจกรรมสำคัญท่ีก่อให้เกดิ ความสำเร็จของหลักสูตร
ทั้งนี้ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การวดั และประเมินผล การแนะแนว การผลิตและใช้สอื่

3) การประเมินการน าหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำ ต่อเนื่องกัน
ตั้งแต่การวางแผนจัดทำหลักสูตร จนกระทั่งได้หลักสูตรซึ่งเป็นแม่บทจนถึงนำหลักสูตรไปใช้ และมีการ
ติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบสเตนเฮาส์ (Stenhouse, 1980) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร
ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรว่า เป็นกระบวนการที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และ
ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ และผู้ที่มีบทบาทอย่างแท้จริงในความสำเร็จของ
หลักสูตร คือ ผู้ใช้หลักสูตรซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับใช้หลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบท
สภาพแวดล้อมของตนเอง

สงัด อุทรานนั ท์ (2532) ได้แสดงความคดิ เกยี่ วกับการใช้หลักสูตรว่าเป็นขั้นตอน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 12

ทมี่ คี วามสำคญั ในกระบวนการพฒั นาหลักสูตร เพราะสามารถบ่งชี้ถึงความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวของ
หลักสูตรได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าหลักสูตรจะได้รับการออกแบบไว้อย่างดีเพียงใดก็ตาม ถ้าหากการใช้
หลักสูตรดำเนินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่ดีเพียงพอ ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะบังเกิดข้ึน
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กระบวนการใช้ หลักสูตรเป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะจะต้องมีการ
ดำเนนิ งานทเี่ กย่ี วข้องกบั หนว่ ยงานตา่ ง ๆ และบคุ คลจำนวนมาก

เคิร์ส และวอรค์ เกอร์ (Kirst &Walker, 1971) กลา่ ววา่ การใช้หลกั สูตรจะต้องเกย่ี วข้อง
และประสานงานกับบุคคลต่าง ๆ ในหลายระดับทั้งระดับชาติระดับท้องถิ่น และระดับสถานศึกษา ซ่ึง
ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจ ความคิดเห็นและมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น เดียวกับ ไอซ์เนอร์และ ฮาสส์
(Eisner, 1985; Hass, 1987) ที่แสดงความเห็นว่าในการนำหลักสตู รทีจ่ ัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วไปใชน้ นั้
จนต้องดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่าย ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานระดับท้องถิ่น และสถานศึกษา
การจะดำเนินงานให้บรรลุเปา้ หมายจึงไม่ใช่เรื่องงา่ ย และมีหลายกรณีทพ่ี บว่าผใู้ ชห้ ลกั สูตรนัน้ ดำเนินการ
ไปในทิศทางที่แตกต่างไป จากเจตนารมณ์ของคณะผู้ออกแบบจัดทำหลักสูตร (Reinmannand &
Mandl, 1999) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้นั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญและมีความ
ซับซ้อน จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการใน
เรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดีมีระยะเวลาที่เพียงพอในการดำเนินการ และที่สำคัญ คือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จะต้องมีความความเข้าใจอย่างชัดเจน จงึ จะทำให้การใช้หลักสูตรประสบความสำเรจ็

2.1.5 การบรหิ ารหลักสูตร
การบริหารหลกั สตู รเป็นกิจกรรมสำคัญ เป็นการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรยี นเก่ียวกับการ
ปรับปรงุ พัฒนาการเรยี นการสอนให้ไดผ้ ลดแี ละมีประสิทธภิ าพสูงสดุ

วิชยั วงษใ์ หญ่ (2535) กล่าวถงึ การบริหารหลักสูตรไวว้ ่า เป็นกระบวนการต่อเน่ืองของ
วงจรการพัฒนาหลักสูตรอัน ได้แก่ การดำเนินการตามแผนการต่าง ๆ เช่น การจัดโปรแกรมการเรียน
การสอน การจดั กิจกรรมการเรียนการสอน การเตรียมคู่มือสำหรับการเรยี น การเตรยี มความพร้อมของ
ครู การนิเทศกำกับดูแล และการประเมินผลการเรียนซึ่งสอดคล้องกับ นักวิชาการศึกษาหลายท่านที่ได้
เสนอขอบเขตการบริหารหลกั สูตรท่สี อดคลอ้ งกนั สามารถสรุปได้ ดงั น้ี

1) งานบรหิ ารและการบริการหลกั สูตร ซ่ึงเกย่ี วกับงานเตรียมบุคลากร การจัด
ครเู ข้าทำการสอนตามหลักสตู ร การบรหิ ารและบรกิ ารวสั ดุ หลกั สตู รการบริหารหลักสตู รภายในโรงเรียน

2) งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร ประกอบด้วย การปรับปรุง
หลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น การจัดทำแผนการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน

3) งานสนับสนนุ ส่งเสริมการใช้หลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการต้ังศูนย์
การบริการเพื่อสนับสนนุ การศกึ ษา

2.2 แนวคิดของหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 13

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จัดทําขึ้นโดยยึดปรัชญาการศึกษา
ปฐมวัย วิสัยทัศน์ หลักการ บนพื้นฐานแนวคิดท่ีเกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยสากล และความเป็นไทย
ครอบคลมุ การอบรมเลย้ี งดู การพัฒนาเดก็ อยา่ งเปน็ องคร์ วม และการส่งเสริมกระบวนการเรยี นรู้ทีส่ นอง
ต่อธรรมชาติและพัฒนาการ ตามวัยของเด็ก ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้างรากฐาน
คุณภาพชีวิตให้แก่เด็ก และมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก แต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ด้วยความร่วมมือของ
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครอบครัว ชุมชน สังคม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
เด็กปฐมวัย สู่การสรา้ งคนไทยที่มศี ักยภาพในอนาคต เพื่อเป็นกําลัง สําคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้
ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิด
ดังนี้

2.2.1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พัฒนาการเป็นการเปล่ียนแปลงทีเ่ กิดขึ้นต่อเน่ืองในตวั
มนุษย์ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนตลอดชีวิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ พัฒนาการของเด็กจะมีลําดับ
ขั้นตอนในลักษณะ เดียวกันตามวัยของเด็ก แต่อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการผ่านขั้นตอน
ต่างๆ ของเด็กแต่ละคน อาจแตกต่างกันได้ โดยในขั้นตอนแรกๆ จะเป็นพื้นฐานสําหรับพัฒนาการข้ัน
ต่อไป พัฒนาการประกอบด้วย ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งพัฒนาการแต่ละ
ด้านมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน รวมทั้งส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน พัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฎี
เฉพาะอธบิ ายไว้ และสามารถนาํ มาใชใ้ นการพฒั นาเด็กในแตล่ ะด้าน อาทิ ทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกาย
อธิบายว่า การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก มีลักษณะต่อเน่ือง เป็นลําดบั ข้ัน เด็กจะพัฒนาถึงข้ัน
ใดจะต้องเกิดวฒุ ภิ าวะของความสามารถขน้ั นัน้ ก่อน ทฤษฎีพฒั นาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ และสงั คม ระบุ
วา่ การอบรมเล้ียงดูในวยั เด็กสง่ ผลต่อบุคลิกภาพของเด็กเมื่อเติบโตเปน็ ผู้ใหญ่ ความรัก และความอบอุ่น
เป็นพื้นฐานสําคัญของความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก ซึ่งจะทําให้เด็กมีความไว้วางใจในผู้อื่น เห็นคุณค่า
ของตนเอง มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เคารพผู้อื่น ซึ่งเป็น
พื้นฐานสําคัญของความเป็นประชาธิปไตย และทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญา อธิบายว่า เด็กเกิดมา
พร้อมวุฒิภาวะและความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ ประสบการณ์ รวมทั้งค่านิยม
ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กจึงเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้
ผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจเด็ก สามารถอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อ
ธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยและความแตกต่าง ของแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริม เฝ้าระวัง และช่วย
แกไ้ ขปัญหาให้เด็กได้พฒั นาจนบรรลุผลตามเปา้ หมายทีต่ ้องการ ไดช้ ดั เจน

2.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมและการปฏิบัติที่เหมาะสม กับ
พัฒนาการ การพัฒนาเด็กอยา่ งเปน็ องค์รวม เป็นการคํานงึ ถึงความสมดลุ และครอบคลมุ พัฒนาการของ
เดก็ ให้ครบทกุ ดา้ น ในการดูแล พฒั นา และจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้ใหแ้ ก่เด็กต้องไมเ่ น้นท่ีด้านใดด้าน
หนึ่ง จนละเลยด้านอื่นๆ ซึ่งในแต่ละด้าน ของพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา มีองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการการส่งเสริม ให้เด็กเจริญเติบโต และมีพัฒนาการสมวัยอย่าง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 14

เป็นลําดับขั้นตอน ซึ่งการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ เป็นแนวทางที่สําคัญในการตัดสินใจที่จะ
ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรู้ความเข้าใจ ที่ประกอบด้วย ความเหมาะสม กับวัยหรืออายุของเด็กว่า
พฒั นาการในชว่ งวัยนน้ั ๆ ของเด็กเป็นอย่างไร ต้องการการส่งเสริมอย่างไร การมีความรู้ ทางพัฒนาการ
ตามช่วงวัย จะทําให้สามารถทํานายพัฒนาการในลําดับต่อไปได้ และสามารถวางแผนการจัด
ประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและช่วยเหลือเดก็ ได้อย่างเหมาะสม สําหรับความเหมาะสมกับเดก็
แต่ละคน เป็นการคํานึงถึงเด็กเป็นรายบุคคลที่มีความชอบ ความสนใจ ความสามารถ และความถนัดที่
แตกต่างกัน โดยให้ความสําคัญกบั ความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก เพ่ือการปฏิบัติต่อเด็กท่ีคํานึงถึง
เด็กเป็นสําคัญ และ ความเหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ เป็นการคํานึงถึง
บรบิ ททีแ่ วดลอ้ มเดก็ เพ่ือให้ การเรยี นร้ขู องเดก็ เกดิ ข้ึนอย่างมคี วามหมายและมีความเกยี่ วข้องกับตัวเด็ก
ครอบครัว และชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ ซึ่งความรู้ความเข้าใจดังกล่าว สามารถใช้ในการจัดทําหลักสูตร
สถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มีความหมาย การสร้างกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกัน การ
ประเมินพัฒนาการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกับ
ผู้ปกครองและชุมชน โดยยึดหลักการตัดสินใจในการปฏิบัติบน ฐานความรู้ จากแนวคิดทฤษฎีและองค์
ความรู้ที่ได้จากการวจิ ยั

2.2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง สมองของเด็ก
เป็น สมองที่สร้างสรรค์และมีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับอารมณ์ สมองเป็นอวัยวะที่สําคัญมากที่สุด
และมีการพัฒนา ตั้งแต่อยู่ในครรภม์ ารดา โดยในช่วงน้ีเซลล์สมองจะมีการพัฒนาเชือ่ มต่อและทําหนา้ ท่ี
ในการควบคุมการทํางาน พื้นฐานของร่างกาย สําหรับในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี จะเป็นช่วงที่เซลล์
สมองเจริญเติบโตและขยายเครือข่าย ใยสมองอย่างรวดเร็ว โดยปัจจัยในการพัฒนาของสมอง
ประกอบดว้ ย พนั ธุกรรม โภชนาการ และสิง่ แวดล้อม สมองจะมีพัฒนาการท่ีสําคัญในการควบคุมและมี
ผลต่อการเรียนรู้ ความคิด จินตนาการ ความฉลาด และพัฒนาการ ทุกด้าน การพัฒนาของสมองทําให้
เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าวัยใด สําหรับแนวคิด การจัดการเรียนรู้ท่ี
สอดคลอ้ งกับการทํางานของสมอง (Brain - based Learning) เป็นการจดั กระบวนการเรียนรู้ ท่สี มั พันธ์
และสอดคล้องกบั พฒั นาการทางสมอง โครงสร้างและการทาํ งานของสมองท่ีมีการพฒั นาอยา่ งเป็นลําดับ
ขั้น ตามช่วงวัย และมีความยืดหยุ่นทําให้การพัฒนาสมองเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต การเชื่อมโยงต่อกันของ
เซลลส์ มอง ท่ีเป็นเครอื ข่ายซับซ้อนและหนาแนน่ จะเกดิ ข้นึ ก่อนอายุ 5 ปี ซ่งึ เม่ือเซลลส์ มองและจุดเชื่อม
ต่อเหล่านี้ได้รับ การกระตุ้นมากขึ้นเท่าใด ยิ่งทําให้สมองมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและ
จดจําได้มากขึ้น แต่หากไม่ได้ รับการกระตุ้นจากประสบการณ์ท่ีเด็กได้รับอย่างหลากหลายจะไม่เกิดการ
เชื่อมต่อ โดยการกระตุ้นจุดเชื่อมตอ่ เหล่านัน้ เกิดจากการทีเ่ ด็กได้รับประสบการณต์ รงจากการลงมือทํา
ปฏิบัติด้วยตนเองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ที่
สัมพันธ์กับพัฒนาการทางสมอง เป็นการเรียนรู้จากของจริง ไปหาสัญลักษณ์ จากง่ายไปหายาก จาก
รูปธรรมไปสู่นามธรรม โดยคํานึงถึงความสามารถตามวัยและพัฒนาการ อย่างไรก็ตาม เมื่อสมอง
เจริญเติบโตในช่วงวัยต่างๆ และเริ่มมีความสามารถในการทําหน้าที่ในช่วงเวลาท่ีต่างกัน จะเห็นว่าการ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 15

เรียนรู้และทักษะบางอย่างจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่า “หน้าต่างโอกาสของ การ
เรียนรู้” ซึ่งเมื่อผ่านช่วงเวลานั้นในแต่ละช่วงวัย ถ้าสมองไม่ได้รับการกระตุ้นหรือได้รับประสบการณ์ที่
เหมาะสม โอกาสที่จะฝึกอาจยากหรือทําไม่ได้เลย ผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องจึงเป็นคนสําคัญที่จะต้องคอย
สงั เกต และใช้โอกาสน้ี ช่วยเด็กเพ่อื กา้ วไปสคู่ วามสามารถเฉพาะดา้ นในแต่ละช่วงวัย สําหรับชว่ งปฐมวัย
เป็นช่วงโอกาสที่สําคัญในการพัฒนาทักษะสมอง หรือ EF (Executive Function) ซึ่งเป็นกระบวนการ
ทางความคิดของสมองส่วนหน้า ทําหน้าทเ่ี ก่ียวข้องกบั การคิด ความรู้สึกและการกระทําโดยสมองส่วนน้ี
กําลังพัฒนามากที่สุด เป็นช่วงของการพัฒนาความสามารถในการคิด การจัดระเบียบ ตนเอง ซึ่งส่งผล
ต่อการยับยั้งชั่งใจ การคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การใส่ใจจดจ่อ การ
วางแผน การตั้งเป้าหมาย ความมุ่งมั่น การจดจํา การเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลําดับ
ความสําคัญของเรื่องต่างๆ และการลงมือทําอย่างเป็นขั้นตอนจนสําเร็จ ทักษะสมอง (EF) จึงเป็นทักษะ
ที่ต้อง ได้รับการฝึกฝนในชีวิตประจําวันของเด็กผ่านประสบการณ์ตา่ งๆ หลากหลายที่เปิดโอกาสให้เด็ก
ได้คิด ลงมือทํา เพื่อให้เกิดความพร้อม และมีทักษะที่สําคัญต่อชีวิตในอนาคต นอกจากนี้ สมองยังเป็น
อวัยวะสําคัญสําหรับการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสาร การเรียนรู้ภาษาแม่ ของเด็กจะเกิดขึ้นอย่างเป็น
ธรรมชาติ จากการปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องในชีวิตประจําวัน และสถานการณ์
รอบตัว สมองมีตําแหน่งรับรู้ต่างๆ กัน ได้แก่ ส่วนรับภาพ ส่วนรับเสียง ส่วนรับสัมผัส และรับรู้ การ
เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย สมองส่วนต่างๆ เหล่านี้พัฒนาขึ้นมาได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการ
กระตุ้นของ สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยสมองเด็กมีความจําผ่านการฟัง ต้องการรับรู้ข้อมูลเสียงพร้อมเห็น
ภาพ เรม่ิ ร้จู ักเสยี ง ท่เี หมือนและแตกต่าง และสามารถเรียนรู้จังหวะของคําได้จากการฟงั ซ้าํ ๆ สมองของ
เดก็ ทเ่ี ขา้ ใจเกีย่ วกบั ภาพ เสยี ง และสมั ผัสแบบต่างๆ มีความสาํ คญั มาก เพราะขอ้ มลู จากภาพ เสียง และ
สัมผัสเหล่านี้จะก่อรูปขึ้นเป็น เรื่องราวที่จะรับรู้และเข้าใจซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ได้ในที่สุด สมองส่วนหน้า
นนั้ มหี น้าท่ีคิด ตดั สนิ ใจ เช่ือมโยง การรบั ร้ไู ปสู่การกระทําท่ีเป็นลําดับข้ันตอน สมองเด็กที่สามารถเรียนรู้
ภาษาไดด้ ตี อ้ งอยูใ่ นสงิ่ แวดลอ้ มของภาษา ทเ่ี รียนร้อู ยา่ งเหมาะสมจึงจะเรยี นร้ไู ดด้ ี

2.2.4 แนวคิดเกี่ยวกบั การเล่นและการเรียนร้ขู องเด็ก การเลน่ เปน็ กจิ กรรมการแสดงออกของ
เด็ก อยา่ งอิสระตามความตอ้ งการ และจินตนาการสร้างสรรค์ของตนเอง เปน็ การสะท้อนพัฒนาการและ
การเรียนรู้ ของเด็กในชีวิตประจําวัน จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ บุคคล และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
การเล่นทําให้เกิด ความสนุกสนาน ผ่อนคลายและส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สังคม และสติปัญญาของเด็ก การเล่นของเด็กปฐมวัยจัดเป็นหัวใจสําคัญของการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ที่เหมาะสม ซึ่งการเล่นอย่างมี ความหมายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ถือว่าเป็น
องค์ประกอบสําคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วย
จากการเล่นเด็กจะมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ ผ่อน
คลายอารมณ์และแสดงออกถึงตนเอง ได้เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เด็กจะ รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ได้สังเกต มีโอกาสสํารวจ ทดลอง คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและคน้ พบด้วยตนเอง การเล่นชว่ ยให้เดก็
เรียนรู้สิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว และส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 16

และสติปัญญา ก้าวหน้าไปตามวัยอย่างมีคุณภาพ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นผลสืบเนื่องมาจาก
ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับ
บุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง และการถ่ายทอดจากผู้ที่มี
ประสบการณ์และมีความรู้มากกว่า ทําให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิด และความคิดสร้างสรรค์ พัฒนา
ภาษา ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว ทักษะพื้นฐานที่สําคัญและ ความสามารถในด้านต่างๆ
ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง บุคคล สิ่งต่างๆ และ
สถานการณ์รอบตัว การเรียนรู้ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเป็นกิจกรรม ที่เปิด
โอกาสให้เด็กเลือกตามความสนใจ ลงมือกระทําผ่านสื่อ อุปกรณ์ และของเล่นที่ตอบสนองการเรียนรู้
และมคี วามยืดหยุ่น การเรียนร้ขู องเด็กส่วนใหญ่เป็นกจิ กรรมท่ีเกี่ยวกับการลองผิด ลองถูก การได้สัมผัส
กระทํา และการกระทําซํ้าๆ เด็กจะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็น เกิดการค้นพบและการแก้ปัญหา
ความเขา้ ใจในตนเอง และผ้อู ่นื ผ้ใู หญค่ วรเปน็ ผสู้ นับสนุนวธิ กี ารการเรยี นรู้ รวมทัง้ การสรา้ งความท้าทาย
และส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กเองในสภาพแวดล้อมที่อิสระ เอื้อต่อการ
เรยี นรแู้ ละเหมาะสมกบั ระดบั พฒั นาการ ของเด็กแตล่ ะคน

2.2.5 แนวคดิ เก่ยี วกับการคาํ นึงถงึ สิทธิเด็ก การสรา้ งคณุ คา่ และสขุ ภาวะใหแ้ ก่เด็กปฐมวัยทุก
คน เด็กปฐมวัยควรได้รับการดูแลและพฒั นาอย่างท่วั ถึงและเท่าเทียมกนั ทุกคน โดยมสี ิทธิในการอยู่รอด
สิทธิได้รับ การคุ้มครอง สิทธิในด้านพัฒนาการ และสิทธิการมีสว่ นร่วมตามทีก่ ฎหมายระบุไว้ เด็กแต่ละ
คนมีคุณค่าในตนเอง และควรสร้างคุณค่าและคุณภาพชีวิตให้เกิดกับเด็กจากการอบรมเลี้ยงดู และการ
ให้การศึกษาที่มีคุณภาพ พร้อมกับการส่งเสริมด้านสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา จากการได้รับโภชนาการที่ดี การดูแลสุขภาพอนามัย การมีโอกาสพักผ่อน เล่น การปกป้อง
คุ้มครองจากการเจ็บป่วย และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ตลอดจนการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด
ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย อนึ่ง สําหรับเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเด็กที่มี ความต้องการพิเศษหรือ
กลมุ่ เป้าหมายเฉพาะ ควรไดร้ ับการดูแล ช่วยเหลอื และพัฒนาอยา่ งเหมาะสมเชน่ กัน

2.2.6 แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูควบคู่การให้การศึกษา การจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่ง
พัฒนา เด็กบนพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา หรือการส่งเสริมกระบวนการ
เรียนรู้ที่สนองต่อ ธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนอย่างเป็นองค์รวม การอบรมเล้ียงดู
เดก็ ปฐมวยั หมายรวมถงึ การดูแลเอาใจใสเ่ ดก็ ดว้ ยความรกั ความอบอนุ่ ความเออื้ อาทร การดแู ลสุขภาพ
โภชนาการและความปลอดภัย และการอบรมกล่อมเกลาให้เด็กมีจิตใจดี มีปฏิสัมพันธ์ท่ีดีกับผู้อื่น มีการ
ดําเนินชีวิตที่เหมาะสม และมีทักษะชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็ก การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
และการปฏิบัติตนของผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก ที่มุ่งตอบสนอง ความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก
โดยมุ่งใหเ้ ดก็ มีร่างกายแขง็ แรง มีสุขภาพดี อารมณ์แจ่มใส มีความประพฤติดี มีวินัย รู้จักควบคุมตนเอง
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การอบรมเลี้ยงดูที่มีผลดีต่อพัฒนาการ ของเด็ก คือ การที่ผู้ใหญ่ที่แวดล้อม
เดก็ ให้ความรกั ความอบอุ่น การยอมรบั ความคิดเห็นของเดก็ การใชเ้ หตผุ ล ในการอบรมเล้ยี งดู ผใู้ หญ่ที่
ดูแลเด็กจะต้องเปน็ ผู้ท่ีมีความม่ันคงทางอารมณ์และปฏิบัติตนเปน็ แบบอย่างทดี่ ีแก่เด็ก ใช้การสร้างวินัย

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 17

เชิงบวกในการอบรมบ่มนิสัย ซึ่งจะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีเป้าหมาย
ชีวิต มีวินัยในตนเอง มีสัมพันธภาพที่ดตี ่อผู้อื่น สามารถจัดการกับความเครียดและปัญหาต่างๆ ได้ การ
อบรมเลี้ยงดูจึงเป็นแนวคิดสําคัญที่ครอบครัวและสถานศึกษาหรือสถา นพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องปฏิบัติ
อย่างสอดคล้องตอ่ เนื่องกัน สําหรบั การใหก้ ารศึกษาเด็กในช่วงปฐมวยั น้ัน ผ้สู อนตอ้ งเปล่ียนบทบาทจาก
ผู้บอกความรู้หรือสั่งให้เด็กทํา มาเป็นผู้อํานวยความสะดวกและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยการจัด
สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการ
ต่างๆ จากการลงมือปฏิบัติ และค้นพบด้วยตนเอง มีการกําหนดจุดมุ่งหมายและการวางแผนในการจัด
ประสบการณ์และกิจกรรม ทั้งรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเป็น
องค์รวม ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยคํานึงถึงเด็กเป็นสําคัญและพัฒนาเด็กแต่
ละคนอยา่ งเต็มศกั ยภาพ

2.2.7 แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นและการทํา
กิจกรรม ที่เหมาะสมตามวัย เป็นหน้าที่ของผู้สอนต้องวางแผนโดยบูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ศิลปะ ภาษา ดนตรี และการเคลื่อนไหว คุณธรรม จริยธรรม สุขภาพอนามัย และศาสตร์
อื่นๆ โดยไม่แบ่งเป็นรายวิชา แต่จะมีการผสมผสานความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติของแต่ละ
ศาสตร์ในการจัดประสบการณ์ ซึ่งแตกต่างจากการเรยี นรู้ในระดับช้ันอื่นๆ เป็นการจัดประสบการณ์การ
เรียนรูอ้ ยา่ งเป็นธรรมชาตเิ หมาะสม ตามวยั ของเด็ก เพือ่ พัฒนาเด็กท้งั ด้านรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม
และสติปัญญา โดยการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้บูรณาการผ่านสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย
ประสบการณ์สําคัญด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา และสาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ ตัว
เด็ก บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก โดยออกแบบการจัด
ประสบการณ์และกิจกรรมที่ทําให้เกิดความหลากหลาย ภายใต้ สาระการเรียนรู้ทั้งประสบการณ์สําคญั
และสาระที่ควรเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงกับการพัฒนามาตรฐานคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของเด็ก และ
ความสอดคล้องกับปรชั ญาการศกึ ษาปฐมวัยของหลักสูตร โดยมีรูปแบบ การจัดประสบการณ์ตามความ
เหมาะสมของแต่ละสถานศึกษาหรือสถานพฒั นาการเด็กปฐมวัย ท้ังน้ี ประสบการณ์ การเรียนรู้ของเด็ก
จะจัดขึ้นโดยคํานึงถึงธรรมชาติของเด็กที่เรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ การสํารวจ การทดลอง
การสร้างชิ้นงานที่สร้างสรรค์ และการเห็นแบบอย่างที่ดี การจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่าง
หลากหลายจะช่วยตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งเสริมความชอบ ความสนใจ และความ
ถนัด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาอย่างรอบด้าน พัฒนาทักษะชีวิต และทักษะการเรียนรู้ท่ี
สอดคล้อง กับธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัยของเด็กที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การจัด
ประสบการณ์ การเรียนการสอนในระดับปฐมวัยยึดหลักการบูรณาการที่ว่า หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถ
เรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สําคัญ
ดังน้ัน ผู้สอนจะต้องวางแผน การจัดประสบการณ์ในแต่ละวันให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย
กิจกรรม หลากหลายทักษะ หลากหลาย ประสบการณ์สําคัญ อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ
เพ่อื ให้บรรลุจุดหมายของหลักสตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 18

2.2.8 แนวคิดเก่ียวกับสื่อ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถ
นําสื่อ เทคโนโลยี และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาสนับสนุนและเสริมสร้างการเรียนรู้
ของเดก็ ปฐมวยั ได้ โดยส่อื เปน็ ตัวกลางและเคร่อื งมือเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรูต้ ามจุดประสงค์ทว่ี างไว้ สื่อ
สําหรับเด็กปฐมวัยน้ัน สามารถเป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ของเล่น ตลอดจนเทคนิควธิ ีการ ที่กําหนดไว้ได้
อย่างง่ายและรวดเร็ว ทําให้ สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากกลายเป็นรูปธรรม เกิดการเรียนรู้และค้นพบ
ด้วยตนเอง การใช้สื่อการเรียนรู้ ต้องปลอดภัยต่อตัวเด็กและเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ความสนใจ ความชอบ และ ความต้องการของเด็กที่หลากหลาย ควรมีสื่อที่เป็นสื่อของ
จรงิ สื่อธรรมชาติ ส่อื ทอี่ ยูใกลต้ ัวเดก็ สอ่ื สะทอ้ น วฒั นธรรม สอื่ ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถิ่น และสอ่ื เพอ่ื พัฒนาเด็ก
ในด้านต่างๆ ให้ครบทกุ ด้าน ท้งั น้ี สื่อตอ้ งเอื้อให้เด็กเรยี นรู้ ผ่านประสาทสมั ผัสทั้งหา้ และสง่ เสริมการลง
มือปฏิบัติจริงของเด็ก โดยการจัดสื่อสําหรับเด็กปฐมวัยต้องเริ่มต้นจาก สื่อของจริง ของจําลอง (3 มิติ)
ภาพถ่าย ภาพโครงร่าง (2 มิติ) และสัญลักษณ์จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมตามลําดับ สําหรับเทคโนโลยี
เข้ามามีบทบาทต่อการดํารงชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อการตอบสนอง ความต้องการและการ
แก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน เทคโนโลยีสําหรับเด็กปฐมวัยสามารถเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ใน
ชีวิตประจําวัน ของเล่นเด็ก และวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน การใช้เทคโนโลยี ท่ี
เหมาะสมต้องเป็นการเลือกใช้อย่างมีจดุ มุ่งหมาย เครื่องมือประเภทดิจติ อลและอเิ ล็กทรอนิกส์เป็น สิ่งที่
ไม่เหมาะสมต่อการใช้กับเด็กอายุตํ่ากว่า 3 ปีสําหรับเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้กับเด็กอย่างมี
จุดมุ่งหมาย และใช้เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ จํากัดช่วงเวลาในการใช้ และมีข้อตกลงในการใช้อย่างเหมาะสม
กับวัย โดยใชเ้ ป็น ทางเลือกไม่บงคับใช้ และไมใ่ ช้เทคโนโลยีเพอ่ื เสริมสื่อหลัก ส่วนการจัดสภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ และทางจิตภาพ ทั้งภายในและ
ภายนอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริม
บรรยากาศที่ดีสําหรับการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ผู้สอนและเด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สภาพแวดล้อมที่ดี
ควรสะอาด ปลอดภัย อากาศสดชื่น ผ่อนคลาย ไม่เครียด เด็กมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง และ
พฒั นาการอยู่รว่ มกบั ผอู้ ืน่ ในสงั คม

2.2.9 แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพจริง การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยยึด
วธิ กี ารสังเกตเป็นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการทตี่ ่อเน่ืองและสอดคล้องสัมพันธ์กับการจดั ประสบการณ์การ
เรียนรู้ รวมทงั้ กจิ กรรม้ประจําวัน โดยมจี ุดม่งุ หมายเพอื่ ใหไ้ ดข้ อ้ มูลเกี่ยวกับพฒั นาการและการเรียนรู้ของ
เด็ก สําหรับ การส่งเสริมความก้าวหน้า และช่วยเหลือสนับสนุนเม่ือพบเด็กลา่ ช้าหรือมีปัญหาที่เกิดจาก
พัฒนาการและการเรียนรู้ ไม่ใช้การตัดสินผลการศึกษาและไม่ใช่แบบทดสอบในการประเมิน เป็นการ
ประเมินตามสภาพจริงที่มีการ วางแผนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
อย่างมจี ดุ มุง่ หมาย เหมาะสมกบั ศักยภาพ ในการเรยี นรู้และพฒั นาการตามวยั ของเด็ก ตลอดจนรูปแบบ
การเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กที่มีการเก็บข้อมูลอย่างรอบ
ด้าน โดยใช้เรื่องราวเหตุการณ์ กิจกรรมตามสภาพจริงหรือ คล้ายจริงในชีวิตประจําวัน เพื่อให้เด็กมี
โอกาสแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ จากการปฏิบัติ กิจกรรมหรือการสร้างงานที่

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 19

เป็นผลผลิตเพื่อเป็นการสะท้อนภาพที่แท้จริง มีการนําเสนอหลักฐานในการประเมิน ที่น่าเชื่อถือใน
รูปแบบที่เหมาะสม เพื่อสื่อสารผลการประเมินให้แก้ครอบครัว รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการ
พัฒนาเด็ก โดยสามารถบอกได้ว่าเดก็ เกดิ การเรียนรู้และมคี วามก้าวหน้าเพียงใด ข้อมูลจากการประเมิน
พัฒนาการจะชว่ ยผู้สอนในการวางแผนการจดั กิจกรรมชีใ้ ห้เห็นความตอ้ งการพิเศษของเดก็ แต่ละคน ใช้
เป็นข้อมูลในการ สื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก และขณะเดียวกันยังใช้ในการประเมินคุณภาพและ
ประสทิ ธภิ าพการจดั การศึกษา ใหก้ บั เดก็ ในวยั นีไ้ ด้อกี ด้วย

2.2.10 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย และชุมชน การพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องกับเด็ก
ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ท่ีอยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด และครอบครัวเป็น
จดุ เรมิ่ ตน้ ในการเรียนรู้ ของเด็ก สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะเป็นสว่ นสําคัญที่อบรมเลี้ยง
ดแู ละพฒั นาเด็ก จงึ ไม่เพียงแต่ แลกเปลีย่ นความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเท่านั้น แตย่ ังต้องมีการทํางาน
รว่ มกบั ครอบครัวและชมุ ชนที่มี รปู แบบต่างๆ เพ่ือการพัฒนาเด็กรว่ มกนั เช่น โปรแกรมการใหก้ ารศึกษา
แก่ผู้ปกครองในการดูแลและพัฒนา เด็ก โปรแกรมการช่วยเหลือครอบครัวและเด็กในด้านสุขภาพ
อนามัย โภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการ การเยี่ยมบ้านเด็ก การสร้างช่วงรอยเชื่อมต่อระหว่าง
การศึกษาระดับอนุบาลกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือเข้าสู่สถานศึกษา การสื่อสารกับผู้ปกครอง
ในช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสม การขออาสาสมัครผู้ปกครองท่ี มีความสามารถหลากหลาย มีเวลา หรือ
ต้องการช่วยเหลือสนับสนุนในการทํากิจกรรมต่างๆ การสนับสนุน การเรียนรู้ของเด็กที่บ้านที่เชื่อมต่อ
กับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การเปดิ โอกาสให้ผปู้ กครองมีสว่ นรว่ มในการ ตดั สนิ ใจในการดําเนินงานของ
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การสร้างความร่วมมือให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
การให้บริการและสนับสนุนตลอดจนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก โดยการ มีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องอาศัยความไว้วางใจ ความเคารพซึ่งกันและกัน รวมทั้งการร่วมรับผิดชอบ สําหรับการจัด
การศึกษาให้แก่เดก็ ปฐมวยั อย่างมคี ุณภาพ

2.2.11 แนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทย และความ
หลากหลาย การเปล่ยี นแปลงทางสงั คม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่งผลต่อวถิ ีชวี ติ และการจัดการศึกษา
เพื่อเตรียมเด็ก สู่อนาคต อย่างไรก็ตาม เด็กเมื่อเกิดมาจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งไม่
เพียงแต่จะได้รับอิทธิพล จากการปฏิบัติแบบดั้งเดิมตามประเพณี มรดก และการถ่ายทอดความรู้ภูมิ
ปัญญาของบรรพบุรุษแล้ว ยังได้รับอิทธิพล จากประสบการณ์ ค่านิยม และความเชื่อของบุคคลใน
ครอบครัวและชุมชนของแต่ละที่ด้วย โดยบริบททางสังคม และวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อม
รอบตัวเดก็ มีอิทธิพลตอ่ พัฒนาการและการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนา ศักยภาพของแต่ละคน ผสู้ อนควร
ต้องเรียนรู้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาและ
เกิดการเรียนรู้และดําเนินชีวิตอยู่ในกลุ่มคนที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตน ได้อย่างราบรื่นมี
ความสขุ เปน็ การเตรยี มเด็กไปสสู่ ังคมในอนาคตกบั การอย่รู ่วมกบั ผู้อนื่ การทํางานรว่ มกับผู้อ่ืน ท่มี ีความ
หลากหลายทางความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม โดยคํานึงถึงความเป็นไทยที่มีมรดกทางวัฒนธรรม

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 20

ทั้งในด้านภาษา มารยาท คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่งดงาม และที่สําคัญคือ หลัก
ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นหลักคิดในการดําเนินชีวิตที่เน้นความพอประมาณ มีเหตุผล มี
ภูมิคุ้มกัน การใช้ความรู้ควบคู่คุณธรรม โดยในการจัดการศึกษาต้องมีการคํานึงถึงทั้งด้านเชื้อชาติ
ศาสนา เศรษฐสถานะ เพศ วัย ความต้องการพิเศษ ทีเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสามารถ
พัฒนาให้เด็กมีความเข้าใจในตนเอง เขา้ ใจผู้อน่ื และอยรู่ ่วมกบั ผ้อู ืน่ ได้ ในแนวคดิ และความหลากหลาย
เท่าทันการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรอบด้าน โดย สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็ก
ปฐมวัยสามารถจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาที่มีอัตลักษณ์ มีการวางแผน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และการจดั กจิ กรรมทส่ี ร้างความเช่อื มโยงกับสังคม วฒั นธรรม ความเป็นไทย และความหลากหลาย จาก
แนวคิดของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ที่สําคัญเกี่ยวกับพัฒนาการ ของเด็กที่มี
ความสมั พันธ์ และพฒั นาต่อเนื่องเปน็ ข้ันตอนไปพร้อมทุกดา้ น แนวคดิ เกี่ยวกบั การพฒั นาเด็ก อย่างเป็น
องค์รวมและการปฏบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ การ
ทํางานของสมอง ซึ่งสมองหากได้รับการกระตุ้นจะมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจําได้มากข้ึน
แนวคิดเก่ียวกับการเล่นและการเรียนรู้ที่ยึดให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กใน
ส่ิงแวดล้อม ทีเ่ ป็นอสิ ระเออ้ื ต่อการเรยี นรู้และจัดกจิ กรรมบรู ณาการให้เหมาะสมกับระดบั พัฒนาการของ
เด็กแต่ละคน โดยถือว่าการเล่นอย่างมีความหมายเป็นหัวใจสําคัญของการจัดประสบการณ์ให้เด็กและ
แนวคิดเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมของครอบครัว หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทยและ
ความหลากหลาย ซึ่งมีอิทธพิ ลต่อ การเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน และ
จากพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 มาตราต่างๆ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศกั ราช 2560 จงึ กําหนดสาระสําคญั ของหลักสตู ร การศกึ ษาปฐมวยั สาํ หรับเดก็ อายุ 3 - 6 ปี ข้ึน ซึ่ง
จะกลา่ วรายละเอียดตอ่ ไป

2.3. สาระสําคัญของหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560 สําหรบั เดก็ อายุ 3 - 6 ป
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กําหนดสาระสําคัญไว้ให้สถานศึกษาหรือสถาน

พัฒนาเดก็ ปฐมวยั ยดึ เปน็ แนวทางเพ่อื ดาํ เนนิ การพัฒนาหลักสูตรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยท่หี นว่ ยงานของ
ตนรับผดิ ชอบ โดยตอ้ งทาํ ความเข้าใจให้ชัดเจนในเร่ืองของปรชั ญาการศึกษาปฐมวัย วิสัยทัศน์ หลักการ
จุดหมาย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ การจัดเวลาเรียน และสาระ
การเรยี นรู้ ดังนี้

2.3.1 ปรัชญาการศึกษาปฐมวยั
หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 2560 กาํ หนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยทีส่ ะท้อนให้เห็น
ความเช่ือพ้นื ฐานในการพฒั นาเดก็ ปฐมวยั ต้ังแต่อายุแรกเกิดถึง 6 ปีบรบิ รู ณ์โดยเห็นความสําคัญของการ
พัฒนาเด็กโดยองค์รวม การคํานึงถึงความสมดุลและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านในการ
อบรมเลี้ยงดูพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ที่ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างของเด็ก

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 21

ปฏิบตั ิต่อเดก็ แตล่ ะคนอย่างเหมาะสม โดยผสู้ อนใหค้ วามรัก ความเอือ้ อาทร มีความเข้าใจในการพัฒนา
เด็กใหเ้ ป็นมนษุ ย์ทสี่ มบูรณ์ ทงั้ ดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จิตใจ สติปญั ญา คณุ ธรรม จรยิ ธรรม และอยูร่ ่วมกับ
ผู้อื่นไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข ดังนี้

ปรัชญาการศึกษาปฐมวยั
การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม บน

พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองตอ่ ธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัย
ของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก
ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็น
มนษุ ย์ทสี่ มบูรณ์ เกดิ คุณคา่ ตอ่ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

2.3.2 วสิ ัยทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กําหนดวิสัยทัศน์ท่ีสะท้อนให้เห็นความคาดหวัง
ที่เปน็ จริงได้ในอนาคต ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพผ่านประสบการณ์ที่เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่าง
มีความสุขมีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสํานึก
ความเป็นไทยและทุกฝ่ายทั้งครอบครัว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชนร่วมมือกัน
พัฒนาเด็ก ดังน้ี

วสิ ยั ทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข
และเหมาะสมตามวยั มที ักษะชวี ติ และปฏิบตั ติ นตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เป็นคนดีมีวินัย
และสํานึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายท่ี
เกยี่ วข้องกบั การพัฒนาเด็ก

2.3.3 หลกั การ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กําหนดหลักการสําคัญในการจัดการศึกษา
ปฐมวัยซึง่ ผู้สอนจําเป็นต้องศึกษาใหเ้ ข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 6 ปี จะต้องยึด
หลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคํานึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็ก
ทุกคน ทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร้องทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 22

สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคล
ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้าน ทั้งด้ านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุลโดยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่น
และกจิ กรรมท่ีเป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสมั ผัสท้งั หา้ เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผูเ้ ลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มคี วามรู้ความสามารถใน
การอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเดก็ ปฐมวัย เพื่อให้เดก็ แต่ละคนได้มโี อกาสพัฒนาตนเองตามลําดบั ขั้น
ของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ และนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างมีความสุข เป็นคนดีของสังคม
และสอดคล้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเช่ือทางศาสนา
สภาพเศรษฐกจิ สังคม และสทิ ธเิ ด็ก โดยความรว่ มมอื จากครอบครัว ชมุ ชน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสงั คมอ่นื ดงั นี้

หลกั การ
1. ส่งเสรมิ กระบวนการเรยี นรแู้ ละพัฒนาการท่ีครอบคลุมเดก็ ปฐมวยั ทุกคน
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสําคัญ โดยคํานึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลและวิถชี ีวิตของเด็ก ตามบริบทของชมุ ชน สงั คม และวัฒนธรรมไทย
3. ยดึ พฒั นาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผา่ นการเลน่ อยา่ งมคี วามหมาย และมีกิจกรรม
ที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทําในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัยและมีการพักผ่อน
เพยี งพอ
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เปน็ คนดี มีวนิ ยั และมีความสุข
5. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก ระหว่างสถานศึกษา
กบั พอ่ แม่ ครอบครัว ชมุ ชน และทุกฝ่ายท่เี ก่ยี วขอ้ งกบั การพฒั นาเดก็ ปฐมวยั

2.3.4 จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กําหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อ
จบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้ว โดยจุดหมายอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่นําไปสู่การกําหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งช้ี
และสภาพท่พี งึ ประสงค์ดังน้ี

จดุ หมาย
๑. รา่ งกายเจรญิ เตบิ โตตามวัย แขง็ แรง และมีสุขนิสยั ท่ีดี
2. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม
3. มีทักษะชวี ติ และปฏิบตั ติ นตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง มวี นิ ยั และอย่รู ว่ มกบั

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 23

ผอู้ ่ืนได้อย่างมคี วามสขุ
4. มที กั ษะการคดิ การใชภ้ าษาสือ่ สาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกบั วัย

2.3.5 มาตรฐานคุณลักษณะทพ่ี ึงประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กําหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
จํานวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย พัฒนาการด้านร่างกาย 2 มาตรฐาน พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3 มาตรฐาน พัฒนาการด้านสังคม 3 มาตรฐาน และพัฒนาการด้านสติปัญญา 4 มาตรฐาน กําหนดตัว
บ่งชซ้ี ่ึงเปน็ เป้าหมายในการพัฒนาเด็กท่ีมีความสัมพนั ธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์
และมีการกําหนดสภาพทีพ่ ึงประสงค์ซึ่งเปน็ พฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่จําเป็นสําหรบั เดก็ ทกุ
คนบนพื้นฐานพัฒนาการหรอื ความสามารถในแต่ละระดับอายุ คือ อายุ 3 - 4 ปี อายุ 4 - 5 ปี และอายุ
5 - 6 ปี อีกทั้งนําไปใชใ้ นการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เพื่อกําหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ในการจดั
ประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก นอกจากสภาพที่พึงประสงค์ที่กําหนดในหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย ผ้สู อนจาํ เป็นตอ้ งทาํ ความเข้าใจพฒั นาการของเด็กอายุ 3 - 6 ปี เพือ่ นาํ ไปพจิ ารณาจัด
ประสบการณใ์ หเ้ ดก็ แต่ละวัยได้อย่างถกู ต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซงึ่ มีความ
แตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อนําข้อมูลไปช่วยพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพหรือ
ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที ในกรณีสภาพที่พึงประสงค์ของเด็กไม่เป็นไปตามวัย ผู้สอนจําเป็นต้องหา
จดุ บกพรอ่ งและรีบแก้ไขโดยจดั กิจกรรมเพ่ือพัฒนาเดก็ ถา้ เด็กมสี ภาพที่พงึ ประสงค์สูงกว่าวัย ผู้สอนควร
จัดกิจกรรมเพือ่ ส่งเสรมิ ให้เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ สภาพที่พึงประสงค์เกิดขึ้นตามวัยมากน้อย
แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละบุคคล ทั้งน้ี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณ์ท่ี
เด็กไดร้ บั

2.4. หลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2560 (ฉบับ
ปรับปรุง 2561) ปรัชญา วิสัยทัศน์ หลักการ และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พทุ ธศักราช 2560

2.4.1 ปรชั ญาการศึกษาปฐมวัย
การศกึ ษาปฐมวัยเปน็ การพัฒนาเด็กตั้งแตแ่ รกเกิด ถงึ 6 ปี บริบูรณ์ บนพ้ืนฐานการอบรมเลี้ยงดู
และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้ เต็ม
ตามศกั ยภาพ ภายใต้บรบิ ทสังคมและวฒั นธรรมที่เด็กอาศยั อยู่ ด้วยความรัก ความเอ้ืออาทร และความ
เข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่า
ต่อตนเอง ครอบครวั สังคม และประเทศชาติ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 24

2.4.2 วิสยั ทศั น์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจดั ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข
และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มี
วินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุก
ฝา่ ยทเ่ี กีย่ วขอ้ งกบั การพฒั นาเดก็
2.4.3 หลักการ
1. สง่ เสรมิ กระบวนการเรียนรู้และพฒั นาการท่คี รอบคลุมเดก็ ปฐมวยั ทุกคน
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล และวิถชี ีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรม
ที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อน
เพยี งพอ
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต สามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพยี ง เป็นคนดี มีวนิ ยั และมีความสุข
5. สรา้ งความรู้ ความเข้าใจและประสานความรว่ มมือในการพฒั นาเด็ก ระหว่างสถานศึกษา กับ
พ่อแม่ ครอบครวั ชุมชน และทกุ ฝา่ ยที่เก่ียวขอ้ งกบั การพฒั นาเดก็ ปฐมวัย
2.4.4 จดุ หมาย
1. รา่ งกายเจรญิ เติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนสิ ัยที่ดี
2. สขุ ภาพจติ ดี มีสนุ ทรียภาพ มคี ณุ ธรรม จริยธรรม และจติ ใจที่ดงี าม
3. มที กั ษะชีวติ และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง มีวนิ ยั และอยู่ร่วมกับผู้อ่ืน
ได้อย่างมีความสุข
4. มีทักษะการคดิ การใชภ้ าษาสื่อสาร และการแสวงหาความรไู้ ด้เหมาะสมกบั วัย
2.4.4 วิสยั ทศั นห์ ลกั สูตรสถานศกึ ษาปฐมวยั โรงเรียนวดั ชนิ วราราม(เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม์)
ภายในปกี ารศึกษา 2562 โรงเรียนวัดชนิ วราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)มุ่งพัฒนาเด็ก 4 - 6 ปี ทุกคน
ให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพ ได้รับการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้อย่างมีความสุข ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย และทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพียง โดยเปดิ โอกาสให้ทุกฝ่ายทีเ่ ก่ยี วข้อง มสี ว่ นรว่ มจัดการศึกษาให้มคี ุณภาพเป็นท่ียอมรับ

2.4.5 พนั ธกิจ
1) พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อย่างสมดุล และเต็มศักยภาพ สนใจใฝ่รู้

และเรียนรู้อย่างมีคุณภาพพัฒนาครูให้สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ
ทjี หลากหลาย สอดคลอ้ งกับพฒั นาการเด็ก

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 25

2 ) นอ้ มนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมาใช้อย่างเหมาะสม
3) นำส่อื เทคโนโลยี ศลิ ปวัฒนธรรมไทย มาพฒั นาเด็กปฐมวัย
4) ใหผ้ ้ปู กครองและชุมชนมสี ่วนรว่ มพัฒนาเด็กปฐมวัย

2.4.6 เป้าหมาย
1) เด็กปฐมวัยทุกคน มพี ัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คมและสติปัญญา อย่าง

สมดุล และเตม็ ศักยภาพ
2) ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นและ

ลงมือปฏบิ ัตทิ ีห่ ลากหลาย สอดคลอ้ งกับพัฒนาการเด็ก
3) ครูทุกคนนอ้ มนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาใช้ในการจัดประสบการณ์อย่าง

เหมาะสมกับวัย
4) โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม สื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ

เดก็
5) มีเครือข่ายพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพเด็ก

ปฐมวัย

2.4.7 มาตรฐานคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) กำหนดมาตรฐาน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐาน ที่ครอบคลุมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ
ด้านสังคม และด้านสตปิ ัญญา มาตรฐานคณุ ลกั ษณะทพี่ ึงประสงค์เป็นคุณภาพท่ีตอ้ งการให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก
เมื่อจบหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย

1) พฒั นาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คอื

มาตรฐานท่ี 1 รา่ งกายเจรญิ เตบิ โตตามวัยและมีสขุ นิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ 2 กลา้ มเนอื้ ใหญ่และกลา้ มเนอ้ื เล็กแขง็ แรง ใชไ้ ด้อยา่ งคล่องแคลว่ และประสาน
สัมพนั ธก์ นั
2) พัฒนาการด้านอารมณ์ จติ ใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คอื
มาตรฐานท่ี 3 มีสขุ ภาพจิตดีและมคี วามสขุ
มาตรฐานที่ 4 ช่นื ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลอ่ื นไหว
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจท่ดี งี าม
3) พฒั นาการด้านสงั คม ประกอบดว้ ย 3 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 6 มีทกั ษะชวี ติ และปฏิบัติตนตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ 7 รกั ธรรมชาติ สิ่งแวดลอ้ ม วฒั นธรรม และความเปน็ ไทย

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 26

มาตรฐานที่ 8 อย่รู ว่ มกับผอู้ นื่ ไดอ้ ย่างมีความสขุ และปฏิบัตติ นเป็นสมาชิกทดี่ ีของ

สังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4) พัฒนาการดา้ นสติปญั ญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาส่ือสารไดเ้ หมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 10 มคี วามสามารถในการคดิ ท่เี ป็นพ้นื ฐานในการเรยี นรู้

มาตรฐานท่ี 11 มจี ินตนาการและความคิดสรา้ งสรรค์

มาตรฐานท่ี 12 มีเจตคตทิ ีด่ ตี ่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้

เหมาะสมกับวัย

2.4.8 มาตรฐานคุณลกั ษณะทพี่ งึ ประสงค์

1) พัฒนาการดา้ นร่างกาย

มาตรฐานที่ 1 รา่ งกายเจริญเติบโตตามวยั และมสี ขุ นสิ ยั ที่ดี

ตวั บ่งชีท้ ่ี สภาพท่พี ึงประสงค์ อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี
อายุ 3 – 4 ปี

1.1 มีน้ำหนักและ 1.1.1 น้ำหนักและส่วนสูง 1.1.1 น้ำหนักและส่วนสูง 1.1.1 น้ำหนักและส่วนสูง

ส่วนสูงตามเกณฑ์ ตามเกณฑข์ องกรมอนามัย ตามเกณฑข์ องกรมอนามัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามยั

1.2 มสี ุขภาพอนามัย - 1.2.1 ยอมรับประทาน 1.2.1 รบั ประทานอาหาร 1.2.1 รับประทานอาหาร

สขุ นสิ ัยทด่ี ี อาหารท่มี ี ประโยชน์และดื่ม ทม่ี ีประโยชน์และดื่มน้ำ ที่มีประโยชน์ได้หลายชนิด

นำ้ ท่ีสะอาดเมื่อมีผูช้ แ้ี นะ สะอาดไดด้ ้วยตนเอง และด่ืมน้ำสะอาดได้ด้วย

ตนเอง

1.2.2 ล้างมือก่อน 1.2.2 ล้างมือก่อน 1.2.2 ล้างมือก่อน

รับประทานอาหารและ รับประทานอาหารและ รับประทานอาหารและ

หลงั จากใชห้ ้องนำ้ ห้องสว้ ม หลังจากใช้ห้องน้ำห้อง หลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วม

โดยมผี ชู้ ี้แนะ สว้ มด้วยตนเอง ด้วยตนเอง

1.2.3 นอนพกั ผอ่ นเป็นเวลา 1.2.3 นอนพักผ่อนเป็น 1.2.3 นอนพักผ่อนเป็นเวลา

เวลา

1.2.4 ออกกำลังกายเป็น 1.2.4 ออกกำลังกายเป็น 1.2.4 ออกกำลังกายเป็น

เวลา เวลา เวลา

1 . 3 ร ั ก ษ า ค ว า ม 1.3.1 เล่นและทำกิจกรรม 1.3.1 เล่นและทำกิจกรรม 1.3.1 เลน่ ทำกจิ กรรม

ปลอดภัยของตนเอง อยา่ งปลอดภยั เมื่อมผี ้ชู ี้แนะ อย่างปลอดภยั ด้วยตนเอง และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่าง

และผูอ้ ่นื ปลอดภัย

มาตรฐานที่ 2 กลา้ มเน้อื ใหญ่และกล้ามเน้ือเล็กแข็งแรงใชไ้ ดอ้ ย่างคลอ่ งแคล่วและประสานสมั พนั ธก์ นั

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 27

ตัวบ่งชี้ที่ สภาพทพี่ ึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

2.1 เคลื่อนไหวร่างกาย 2.1.1 เดนิ ตามแนว 2.1.1 เดินต่อเท้าไป 2.1.1 เดินตอ่ เทา้
ข้างหน้าเปน็ เส้นตรงได้ ถอยหลังเป็นเสน้ ตรงได้
อย่างคล่องแคล่ว ทกี่ ำหนดได้ โดยไม่ต้องกางแขน โดยไม่ตอ้ งกางแขน
2.1.2 กระโดดขาเดียว 2.1.2 กระโดดขาเดยี ว
ประสานสมั พนั ธ์ อยกู่ บั ทไ่ี ด้โดยไม่เสยี ไปข้างหน้าได้อย่าง
การทรงตวั ต่อเนื่องโดยไม่เสียการ
และทรงตัวได้ 2.1.2 กระโดดสองขา ทรงตัว

ขึ้นลงอย่กู บั ท่ีได้

2.1.3 วิ่งแลว้ หยุดได้ 2.1.3 วิ่งหลบหลีกสิ่งกีด 2.1.3 วิ่งหลบหลีกส่ิง
ขวางได้ ก ี ด ข ว า ง ไ ด ้ อ ย ่ า ง

คลอ่ งแคลว่

2.1.4 รับลูกบอลโดยใช้ 2.1.4 รับลูกบอลโดยใช้ 2.1.4 รับลูกบอลที่

มือและลำตัวชว่ ย มือท้งั 2 ข้าง กระดอนขึน้ จากพน้ื ได้

2.2 ใช้มือ – ตา ประสาน 2.2.1 ใช้กรรไกรตัด 2. 2. 1 ใช ้กรรไกรตัด 2.2.1 ใช้กรรไกรตัด

สมั พันธก์ ัน กระดาษขาดจากกันได้ กระดาษตามแนวเส้นตรง กระดาษตามแนวเส้นโค้ง

โดยใช้มือเดยี ว ได้ ได้

2.2.2 เขียนรูปวงกลม 2.2.2 เขียนรูปสี่เหลี่ยม 2 . 2 . 3 เ ข ี ย น รู ป

ตามแบบได้ ตามแบบได้อย่างมีมุม สามเหลี่ยมได้อย่างมีมุม

ชัดเจน ชดั เจน

2.2.3 ร้อยวัสดุทีม่ ีรูขนาด 2.2.3 ร้อยวัสดุที่มรี ูขนาด 2.2.3 ร้อยวัสดุที่มีรู

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง

เซนติเมตรได้ เซนตเิ มตรได้ 0.25 เซนติเมตรได้

2 ) พัฒนาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ

มาตรฐานที่ 3 มสี ุขภาพจติ ดีและมคี วามสขุ

ตวั บ่งชที้ ่ี สภาพที่พงึ ประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

3.1 แสดงออกทาง 3.1.1 แสดงอารมณ์ 3.1.1 แสดงอารมณN 3.1.1 แสดงอารมณ์

อารมณ์ได้อยา่ งเหมาะสม ความรู้สึก ได้เหมาะสม ค ว า ม ร ู ้ ส ึ ก ไ ด ้ ต า ม ความรู้สึก ได้สอดคล้อง

กบั บางสถานการณ์ สถานการณ์

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 28

กับสถานการณ์อย่าง
เหมาะสม

3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อ 3 . 2 . 1 ก ล ้ า พ ู ด ก ล้ า 3 . 2 . 1 ก ล ้ า พ ู ด ก ล้ า 3 . 2 . 1 ก ล ้ า พ ู ด ก ล้ า

ตนเองและผู้อน่ื แสดงออก แสดงออกอย่างเหมาะสม แ ส ด ง อ อ ก อ ย ่ า ง

บางสถานการณ์ เหมาะสมตาม

สถานการณ์

3.2.2 แสดงความพอใจ 3.2.2 แสดงความพอใจ 3.2.2 แสดงความพอใจ

ในผลงานตนเอง ในผลงานและความ ในผลงานและความ

สามารถของตนเอง สามารถของตนเองและ

ผอู้ น่ื

มาตรฐานที่ 4 ช่นื ชมและแสดงออกทางศลิ ปะ ดนตรี และการเคลอ่ื นไหว

ตัวบง่ ชีท้ ่ี สภาพที่พงึ ประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

4.1 สนใจและ มีความสุข 4.1.1 สนใจ มีความสุข 4.1.1 สนใจ มีความสุข 4.1.1 สนใจ มีความสุข

และแสดงออกผ่านงาน และแสดงออกผ่านงาน และแสดงออกผ่านงาน และแสดงออกผ่านงาน

ศิลปะ ดนตรี และการ ศิลปะ ศิลปะ ศิลปะ

เคลือ่ นไหว 4.1.2 สนใจ มีความสุข 4.1.2 สนใจ มีความสุข 4.1.2 สนใจ มีความสุข

และแสดงออกผ่าน และแสดงออกผ่าน และแสดงออกผ่าน

เสยี งเพลง ดนตรี เสียงเพลง ดนตรี เสียงเพลง ดนตรี

4.1.3 สนใจ มีความสุข 4.1.3 สนใจ มีความสุข 4.1.3 สนใจ มีความสุข

และแสดงท่าทาง/ และแสดงท่าทาง/ และแสดงท่าทาง/

เคลื่อนไหวประกอบ เคลื่อนไหวประกอบ เคลื่อนไหวประกอบ

จังหวะและดนตรี จังหวะและดนตรี จงั หวะและดนตรี

มาตรฐานที่ 5 มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม และมจี ติ ใจทด่ี งี าม

ตัวบง่ ชี้ท่ี สภาพทพ่ี ึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี
5.1.1 ขออนุญาตหรือรอ
5.1 ซ่อื สตั ยส์ จุ ริต 5.1.1 บอกหรือชี้ได้ว่าสง่ิ 5.1.1 ขออนุญาตหรือ คอย เมื่อต้องการสิ่งของ
ของผู้อืน่ ด้วยตนเอง
ใดเป็นของตนเองและสิ่ง

ใดเปน็ ของผู้อน่ื

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 29

รอคอยเมื่อต้องการ

สิ่งของของผู้อื่นเมื่อมีผู้

ช้แี นะ

5.2 มีความเมตตากรุณา 5.2.1 แสดงความรักเพื่อน 5.2.1 แสดงความรกั 5.2.1 แสดงความรักเพื่อน

มีน้ำใจ และช่วยเหลือ และมเี มตตาสตั วเ์ ลยี้ ง เพื่อนและมีเมตตาสัตว์ และมีเมตตาสัตว์เล้ียง

แบง่ ปัน เล้ียง

5.2.2 แบง่ ปันผอู้ ืน่ ได้เมื่อมี 5.2.2 ช่วยเหลือและ 5.2.2 ช่วยเหลือและ

ผู้ชแ้ี นะ แบ่งปันผู้อื่นได้เมื่อมีผู้ แบง่ ปนั ผอู้ ่นื ได้ด้วยตนเอง

ชแี้ นะ

5.3 มคี วามเหน็ อก 5.3.1 แสดงสีหน้าหรือ 5.3.1 แสดงสีหน้าหรือ 5.3.1 แสดงสีหน้าหรือ

เห็นใจผ้อู ื่น ท่าทางรับรู้ความรู้สึก ท่าทางรับรู้ความรู้สึก ท่าทางรับรู้ความรู้สึก

ผู้อ่ืน ผอู้ ่ืน ผู้อื่นอย่างสอดคล้องกับ

สถานการณ์

5.4 มคี วามรบั ผดิ ชอบ 5.4.1 ทำงานที่ได้รับ 5.4.1 ทำงานที่ได้รับ 5.4.1 ทำงานที่ได้รับ

มอบหมายจนสำเร็จเมื่อ มอบหมายจนสำเร็จเมื่อมี มอบหมายจนสำเร็จ

มีผูช้ ่วยเหลอื ผชู้ ี้แนะ ด้วยตนเอง

3) พัฒนาการด้านสงั คม

มาตรฐานท่ี 6 มีทกั ษะชีวติ และปฏบิ ัติตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง

ตวั บง่ ชีท้ ่ี สภาพท่ีพึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

6.1 ชว่ ยเหลือตนเอง 6.1.1 แตง่ ตวั โดยมี 6.1.1 แต่งตัวดว้ ยตนเอง 6.1.1 แต่งตวั ดว้ ยตนเอง

ในการปฏิบัติกิจวัตร ผชู้ ่วยเหลอื ไดอ้ ยา่ งคลอ่ งแคล่ว

ประจำวัน 6.1.2 รบั ประทานอาหาร 6.1.2 รับประทานอาหาร 6.1.2 รบั ประทานอาหาร

ด้วยตนเอง ดว้ ยตนเอง ด้วยตนเองอย่างถูกวธิ ี

6.1.3ใช้ห้องน้ำห้องส้วม 6.1.3ใช้ห้องน้ำห้องส้วม 6.1.3ใช้และทำความ

โดยมผี ู้ช่วยเหลอื ดว้ ยตนเอง สะอาดหลังใช้ห้องน้ำ

หอ้ งสว้ มดว้ ยตนเอง

6.2 มีวนิ ัยในตนเอง 6.2.1 เก็บของเลน่ 6.2.1 เกบ็ ของเล่น 6.2.1 เกบ็ ของเล่น

ของใชเ้ ข้าท่เี ม่อื มผี ้ชู แ้ี นะ ของใชเ้ ข้าท่ีดว้ ยตนเอง ข อ ง ใ ช ้ เ ข ้ า ท ี ่ อ ย ่ า ง

เรยี บรอ้ ยด้วยตนเอง

6.2.2 เข้าแถวตามลำดับ 6.2.2 เข้าแถวตามลำดับ 6.2.2 เข้าแถวตามลำดับ

กอ่ นหลงั ได้เม่ือมผี ชู้ แี้ นะ ก่อนหลงั ไดด้ ้วยตนเอง กอ่ นหลังได้ดว้ ยตนเอง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 30

6 . 3 ป ร ะ ห ย ั ด แ ล ะ 6.3.1 ใช้สิ่งของเครื่องใช้ 6.3.1 ใช้สิ่งของเครื่องใช้ 6.3.1 ใช้สิ่งของเครื่องใช้

พอเพยี ง อย่างประหยัดและ อย่างประหยัดและ อย่างประหยัดและ

พอเพียงเมื่อมีผู้ช้ีแนะ พอเพียงเมือ่ มผี ู้ช้ีแนะ พอเพียงดว้ ยตนเอง

มาตรฐานที่ 7 รกั ธรรมชาติ ส่งิ แวดล้อม วัฒนธรรม และความเปน็ ไทย

ตวั บ่งช้ที ่ี สภาพที่พงึ ประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

7.1 ดูแลรักษาธรรมชาติ 7.1.1 มีส่วนร่วมในการ 7.1.1 มีส่วนร่วมในการ 7 . 1 . 1 ด ู แ ล ร ั ก ษ า

และสิง่ แวดลอ้ ม ดูแลรักษาธรรมชาติและ ดูแลรักษาธรรมชาติและ ธ ร ร ม ช า ต ิ แ ล ะ

ส่ิงแวดล้อมเมือ่ มผี ชู้ แ้ี นะ สิง่ แวดลอ้ มเมอื่ มีผู้ชแ้ี นะ สิง่ แวดลอ้ มด้วยตนเอง

7.1.2 ทิ้งขยะไดถ้ ูกที่ 7.1.2 ท้ิงขยะได้ถูกที่ 7.1.2 ท้ิงขยะไดถ้ กู ที่

7.2 มีมารยาทตาม 7.2.1 ปฏิบัติตนตาม 7.2.1 ปฏิบัติตนตาม 7.2.1 ปฏิบัติตนตาม

วัฒนธรรมไทยและรัก มารยาทไทยได้เมอื่ มี ม า ร ย า ท ไ ท ย ไ ด ้ ด ้ ว ย ม า ร ย า ท ไ ท ย ไ ด ้ ต า ม

ความเป็นไทย ผชู้ ้ีแนะ ตนเอง กาละเทศะ

7.2.2 กล่าวคำขอบคุณ 7.2.2 กล่าวคำขอบคุณ 7.2.2 กล่าวคำขอบคุณ
และขอโทษเมื่อมผี ้ชู ี้แนะ และขอโทษด้วยตนเอง และขอโทษด้วยตนเอง
7.2.2 หยุดยืนเมื่อได้ยิน 7.2.2 หยุดยืนเมื่อได้ยิน 7.2.2 หยุดยืนเมื่อได้ยิน
เ พ ล ง ช า ต ิ แ ล ะ เ พ ล ง เ พ ล ง ช า ต ิ แ ล ะ เ พ ล ง เ พ ล ง ช า ติ แ ล ะ เ พ ล ง
สรรเสริญพระบารมี สรรเสริญพระบารมี สรรเสริญพระบารมี

มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อยา่ งมคี วามสขุ และปฏิบัตติ นเปน็ สมาชกิ ท่ีดีของสังคมในระบอบ

ประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ประมขุ

ตัวบง่ ช้ที ่ี สภาพท่ีพึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

8.1 ยอมรับความเหมือน 8 . 1 . 1 เ ล ่ น แ ล ะ ท ำ 8 . 1 . 1 เ ล ่ น แ ล ะ ท ำ 8 . 1 . 1 เ ล ่ น แ ล ะ ท ำ

แ ล ะ ค ว า ม แ ต ก ต ่ า ง กิจกรรมร่วมกับเด็กที่ กิจกรรมร่วมกับเด็กท่ี กิจกรรมร่วมกับเด็กท่ี

ระหว่างบุคคล แตกตา่ งไปจากตน แตกต่างไปจากตน แตกต่างไปจากตน

8.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ 8.2.1 เลน่ ร่วมกบั เพ่อื น 8.2.1 เล่นหรือทำงาน -8.2.1 เล่นหรือทำงาน

ผอู้ นื่ รว่ มกับเพ่ือนเปน็ กลมุ่ ร่วมกับเพื่อนอย่างมี

เป้าหมาย

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 31

8.2.2 ยิ้มหรือทักทาย 8.2.2 ยิ้ม ทักทายหรือ 8.2.2 ยิ้ม ทักทาย หรือ

ผู้ใหญ่และบุคคลคุ้นเคย พูดคุยกับผู้ใหญ่และ พูดคุยกับผู้ใหญ่และ

ไดเ้ มอ่ื มผี ู้ชแ้ี นะ บุคคลคุ้นเคยได้ด้วย บ ุ ค ค ล ค ุ ้ น เ ค ย ไ ด้

ตนเอง เหมาะสมกับสถานการณ์

8.3 ปฏบิ ตั ิตนเบื้องต้นใน 8 . 3 . 1 ป ฏ ิ บ ั ต ิ ต า ม 8 . 3 . 1 มีส่วนร่วมสร้าง 8.3.1 มีส่วนร่วมสร้าง

การเป็นสมาชิกที่ดีของ ข้อตกลงเมอื่ มผี ้ชู ีแ้ นะ ข้อตกลงและปฏิบัติตาม ข้อตกลงและปฏิบัติตาม

สังคม ขอ้ ตกลงเมือ่ มีผชู้ แ้ี นะ ขอ้ ตกลงด้วยตนเอง

8.3.2 ปฏิบัติตนเป็นผ้นู ำ 8.3.2 ปฏิบัติตนเป็นผู้นำ 8.3.2 ปฏิบัติตนเป็นผู้นำ

และผู้ตามเมื่อมีผชู้ ี้แนะ และผตู้ ามได้ด้วยตนเอง และผตู้ ามไดเ้ หมาะสมกับ

สถานการณ์

8.3.3 ยอมรับการ 8.3.3 ประนีประนอม 8.3.3 ประนีประนอม

ประนีประนอมแก้ไข แ ก ้ ไ ข ป ั ญ ห า โ ด ย แ ก ้ ไ ข ป ั ญ ห า โ ด ย

ปญั หาเม่อื มผี ู้ชแ้ี นะ ปราศจากความรุนแรง ปราศจากความรุนแรง

เมอ่ื มผี ้ชู ี้แนะ ด้วยตนเอง

4) ดา้ นสตปิ ญั ญา

มาตรฐานที่ 9 ใชภ้ าษาสอ่ื สารได้เหมาะสมกับวยั

ตวั บง่ ช้ที ่ี สภาพท่พี ึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

9.1 สนทนาโต้ตอบและ 9.1.1 ฟังผู้อื่นพูดจนจบ 9.1.1 ฟังผอู้ นื่ พดู จนจบ 9.1.1 ฟังผู้อ่ืนพูดจนจบ

เลา่ เรอ่ื งให้ผอู้ ื่นเข้าใจ และพูดโต้ตอบเกี่ยวกับ แ ล ะ ส น ท น า โ ต ้ ต อ บ และสนทนาโต้ตอบอย่าง

เรื่องที่ฟัง สอดคล้องกับเรือ่ งที่ฟัง ต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับเรื่อง

ท่ีฟงั

9.1.2 เล่าเรื่องด้วย 9.1.2 เลา่ เรื่องเป็นประโยค 9.1.2 เล่าเรื่องเป็น

ประโยคสนั้ ๆ อยา่ งตอ่ เนื่อง เรื่องราวต่อเนื่องได้

9.2 อ่าน เขียนภาพ 9.2.1 อ่านภาพและพูด 9.2.1 อ่านภาพ สญั ลักษณ์ 9 . 2 . 1 อ ่ า น ภ า พ

และสญั ลกั ษณ์ได้ ข้อความด้วยภาษาของ คำ พร้อมทัง้ ชหี้ รือกวาดตา สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้ง

ตน มองข้อความตามบรรทดั ช ี ้ ห ร ื อ ก ว า ด ต า ม อ ง

จุดเริ่มต้นและจุดจบของ

ข้อความ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 32

9.2.2 เขยี นขดี เข่ีย อย่าง 9.2.2 เขียนคล้ายตวั อักษร 9.2.2 เขยี นชอ่ื ของตนเอง

มที ิศทาง ตามแบบ เขียนข้อความ

ด้วยวธิ ที ค่ี ิดขึ้นเอง

มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดทเ่ี ปน็ พนื้ ฐานในการเรยี นรู้

ตัวบ่งชท้ี ี่ สภาพท่ีพงึ ประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

10.1 มีความ 10.1.1 บอกลกั ษณะของ 10.1.1 บอกลักษณะและ 10.1.1 บอกลักษณะส่วน

สามารถในการคิด สิ่งต่างๆจากการสังเกต ส่วนประกอบของสิ่งต่างๆ ประกอบ การเปล่ยี นแปลง

รวบยอด โดยใช้ประสาทสัมผัส จ า ก ก า ร ส ั ง เ ก ต โ ด ย ใ ช้ หรือความสัมพนั ธข์ อง

ประสาทสมั ผสั สิ่งต่างๆจากการสังเกต

โดยใชป้ ระสาทสัมผสั

1 0 . 1 . 2 จ ั บ ค ู ่ ห รื อ 10.1.2 จับคแู่ ละเปรยี บเทียบ 1 0 . 1 . 2 จ ั บ ค ู ่ แ ล ะ

เปรียบเทียบสิ่งต่างๆโดย ความแตกต่างหรือความ เปรียบเทยี บความแตกต่าง

ใช้ลักษณะหรือหน้าที่ เหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ หรือความเหมือนของสิ่ง

การใช้งานเพียงลักษณะ ลักษณะที่สังเกตพบเพียง ต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่

เดียว ลกั ษณะเดยี ว สังเกตพบ 2 ลักษณะขึ้น

ไป

10.1.3 คัดแยกส่ิงต่างๆ 10.1.3 จำแนกและจัดกลุ่ม 10.1.3 จำแนกและจัด

ตามลักษณะหรือหน้าที่ สิ่งต่างโดยใช้อย่างน้อย 1 กลุ่มสิ่งต่างโดยใช้ตั้งแต่ 2

การใชง้ าน ลกั ษณะเปน็ เกณฑ์ ลกั ษณะขน้ึ ไปเปน็ เกณฑ์

10.1.4 เรยี งลำดับสงิ่ ของ 10.1.4 เรียงลำดับสิ่งของ 10.1.4 เรียงลำดับสิ่งของ

หรือเหตุการณ์อย่างน้อย หรือเหตุการณ์อย่างน้อย 4 หรือเหตุการณอ์ ยา่ งนอ้ ย 5

3 ลำดับ ลำดับ ลำดับ

10.2 มคี วาม 10.2.1 ระบุผลที่เกิดข้ึน 10.2.1 ระบุสาเหตุ หรือผลท่ี 10.2.3 อธิบายเชื่อมโยง

สามารถในการคดิ ในเหตุการณ์หรือการ เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการ สาเหตุและผล

เชิงเหตผุ ล กระทำมผี ูช้ แ้ี นะ กระทำมีผชู้ แ้ี นะ ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือ

การกระทำดว้ ยตนเอง

10.2.2 คาดเดา หรือ 1 0 . 2 . 2 ค า ด เ ด า ห รื อ 10. 2. 2 คาดเดา หรือ

ค า ด ค ะ เ น ส ิ ่ ง ท ี ่ อ า จ คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดข้ึน คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดข้ึน

เกดิ ข้ึน หรือมีส่วนร่วมในการลง หรือมีส่วนร่วมในการลง

ความเหน็ จากข้อมูล ความเห็นจากข้อมูลอย่าง

มเี หตุผล

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 33

1 0 . 3 มี 10.3.1 ตัดสินใจในเรื่อง 10.3.1 ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ 10.3.1 ตัดสินใจในเรื่อง

ความสามารถใน งา่ ยๆ และเร่มิ เรยี นรูผ้ ลท่ีเกดิ ขนึ้ ง่ายๆและยอมรับผ ลที่

การคิดแก้ปัญหา เกดิ ขนึ้

10.3.2 แก้ปัญหาโดย 10.3.2 ระบุปัญหาและ 10.3.2 ระบุปัญหา สร้าง

ลองผิดลองถกู แก้ปัญหาโดยลองผดิ ลองถูก ทางเลือกและวิธีแก้ปัญหา

มาตรฐานท่ี 11 มจี ินตนาการและความคดิ สร้างสรรค์

ตัวบง่ ชที้ ี่ สภาพทพ่ี งึ ประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

11.1 ทำงานศิลปะ 11.1.1 สร้างผลงาน 11.1.1 สรา้ งผลงานศิลปะ 11.1.1 สร้างผลงาน

ตามจินตนาการและ ศ ิ ล ป ะ เ พ ื ่ อ ส ื ่ อ ส า ร เพื่อสื่อสารคว าม คิ ด ศ ิ ล ป ะ เ พ ื ่ อ ส ื ่ อ ส า ร

ความคิดสร้างสรรค์ ความคิด ความรู้สึกของ ความรู้สึกของตนเอง โดย ความคิด ความรู้สึกของ

ตนเอง มีการดัดแปลงและแปลก ต น เ อ ง โ ด ย มี ก า ร

ใ ห ม ่ จ า ก เ ด ิ ม ห ร ื อ มี ดัดแปลงและแปลกใหม่

รายละเอียดเพ่มิ ข้นึ จ า ก เ ด ิ ม ห ร ื อ มี

รายละเอยี ดเพ่มิ ข้นึ

11.2 แสดงท่าทาง/ 1 1 . 2 . 1 เ คล ื ่ อน ไหว 11.2.1 เคลื่อนไหวท่าทาง -11.2.1 เคลื่อนไหว

เ ค ล ื ่ อ น ไ ห ว ต า ม ท ่ า ท า ง เ พ ื ่ อ ส ื ่ อ ส า ร เพื่อสื่อสารคว าม คิ ด ท ่ า ท า ง เ พ ื ่ อ ส ื ่ อ ส า ร

จ ิ น ต น า ก า ร แ ล ะ ความคิด ความรู้สึกของ ความรู้สึกของตนเองอย่าง ความคิด ความรู้สึกของ

ความคดิ สรา้ งสรรค์ ตนเอง หลากหลายหรือแปลก ตนเองอย่างหลากหลาย

ใหม่ หรือแปลกใหม่

มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้

เหมาะสมกับวยั

ตวั บง่ ชที้ ี่ สภาพท่พี ึงประสงค์

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 -6 ปี

12.1 มีเจตคติที่ดีต่อ 12.1.1 สนใจฟังหรือ 12.1.1 สนใจซักถาม 12.1.1 สนใจหยิบหนังสือ

การเรยี นรู้ อ่านหนังสือดว้ ยตนเอง เกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือ ม า อ ่ า น แ ล ะ เ ข ี ย น สื่ อ

ตวั หนงั สือที่พบเห็น ความคิดด้วยตนเองเป็น

ประจำอย่างตอ่ เน่อื ง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 34

12.1.2 กระตือรือร้นใน 12.1.2 กระตือรือร้นใน 12.1.2 กระตือรือร้นใน

การเข้าร่วมกจิ กรรม การเขา้ รว่ มกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่

ตน้ จนจบ

-ถามคำถามและสำรวจ -ถามคำถามและแสดง -ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่อง

ส่งิ แวดล้อมรอบตวั ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ต่างๆและกระตือรือร้นท่ี

เร่อื งทส่ี นใจ จ ะ ห าคำตอบด ้ วยว ิ ธ ี การ

หลากหลาย

12.2 มีความสามารถ 12.2.1 ค้นหาคำตอบ 12.2.1 ค้นหาคำตอบ 12.2.1 ค้นหาคำตอบของ

ในการแสวงหาความรู้ ของข้อสงสัยต่างๆตาม ของข้อสงสัยต่างๆตาม ขอ้ สงสัยต่างๆโดยใชว้ ิธีการ

วิธีการเมือ่ มีผชู้ ี้แนะ วธิ กี ารของตนเอง ท่ีหลากหลายของตนเอง

12.2.2 ใช้ประโยค 12.2.2 ใช้ประโยค 12.2.2 ใช้ประโยคคำถาม

คำถามว่า“ใคร”“อะไร” ค ำ ถ า ม ว ่ า “ ท ี ่ ไ ห น ” ว่า“เมื่อไร”“อย่างไร” ใน

ในการค้นหาคำตอบ “ทำไม” ในการค้นหา การค้นหาคำตอบ

คำตอบ

2.4.9 กำหนดเวลาเรยี นและสาระการเรยี นรู้

โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) ได้กำหนดการจัดเวลาเรียนของหลักสูตร

สถานศึกษาปฐมวัย และสาระการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการและจุดหมายที่

กำหนดไว้ ดังนี้

ช่วงอายุ อายุ 4-6 ปี

ประสบการณ์สำคญั สาระทค่ี วรเรยี นรู้

-ดา้ นร่างกาย -เรอื่ งราวเก่ียวกับตัวเด็ก

สาระการเรยี นรู้ -ด้านอารมณแ์ ละจติ ใจ -เรือ่ งราวเก่ียวกบั บคุ คลและ

-ด้านสังคม สภาพแวดลอ้ มเดก็

-ดา้ นสติปัญญา -ธรรมชาตริ อบตวั

-ส่ิงต่างๆรอบตวั เดก็

ระยะเวลาเรียน 2 ปกี ารศึกษา(ระดับชั้นละ 1 ปีการศกึ ษา)

โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์). จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก 2 กลุ่มอาย
คือ 4 – 6 ปี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยแบ่งเป็นหลักสูตร 2 ปี ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ
ชนั้ อนบุ าลปีที่ 3 จัดการศึกษาเป็นรายปี ปีการศกึ ษาละ 2 ภาคเรียน ดงั นี้

ภาคเรียนท่ี 1 ระหว่างวันท่ี 16 พฤษภาคม ถงึ 10 ตุลาคม
ภาคเรียนท่ี 2 ระหวา่ งวนั ท่ี 1 พฤศจิกายน ถึง 31 มีนาคม

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 35

2.4.10 สาระการเรียนรู้
โรงเรยี นวดั ชนิ วราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) ไดก้ ำหนดสาระการเรยี นรู้สำหรับจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ในช้นั อนุบาลปีที่ 2- 3 ประกอบด้วย ประสบการณส์ ำคญั และสาระทค่ี วรเรียนรู้ ดงั นี้

2.4.11 ประสบการณส์ ำคญั
1) ประสบการณ์สำคญั ที่สง่ เสริมพฒั นาการด้านร่างกาย เปน็ การสนบั สนุนให้เด็กได้

มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่(กล้ามเนื้อแขน-ขา-ลำตัว) กล้ามเนื้อเล็ก(กล้ามเนื้อมือ - นิ้วมือ)
และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท (กล้ามเนื้อมือ-ประสาทตา) ในการทำ
กิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สุข
นิสยั และการรักษาความปลอดภัย ดังน้ี

1.1) การใช้กลา้ มเน้ือใหญ่
(1) การเคล่ือนไหวอยกู่ ับท่ี
(2) การเคล่ือนไหวเคลอ่ื นท่ี
(3) การเคล่อื นไหวพร้อมวสั ดุอปุ กรณ์
(4) การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการ

ขวา้ ง การจับ การโยน การเตะ
(5) การเล่นเครื่องเลน่ สนามอย่างอสิ ระ

1.2) การใช้กล้ามเนอ้ื เล็ก
(1) การเลน่ เครื่องเล่นสมั ผัสและการสร้างสงิ่ ตา่ งๆจากแทง่ ไม้ บล็อก
(2) การเขยี นภาพและการเล่นกับสี
(3) การปน้ั
(4) การประดิษฐส์ ิ่งต่างๆด้วยวสั ดุ
(5) การหยบิ จบั การใชก้ รรไกร การฉีก การตดั การปะ และการร้อยวัสดุ

ปลอดภยั 1.3) การรกั ษาสขุ ภาพอนามยั ส่วนตน
(1) การปฏบิ ัติตนตามสขุ อนามยั สขุ นิสยั ท่ดี ีในกจิ วัตรประจำวนั

1.4) การรักษาความปลอดภัย
(1) การปฏิบตั ิตนให้ปลอดภยั ในกจิ วตั รประจำวนั
(2) การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความ

(3) การเลน่ เครื่องเลน่ อย่างปลอดภัย
(4) การเลน่ บทบาทสมมตเิ หตุการณต์ ่างๆ
1.5) การตระหนกั รเู้ กีย่ วกบั ร่างกายตนเอง
(1) การเคลื่อนไหวเพ่ือควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับและพ้ืนท่ี

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 36

(2) การเคลอ่ื นไหวข้ามสิง่ กดี ขวาง
2) ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสรมิ พัฒนาการดา้ นอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนใหเ้ ดก็
ได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะ ที่
เปน็ อัตลักษณ์ ความเปน็ ตัวของตนเอง มคี วามสขุ รา่ เรงิ แจม่ ใสการเห็นอกเห็นใจผู้อ่ืนได้พัฒนาคุณธรรม
จรยิ ธรรม สุนทรียภาพ ความรสู้ ึกท่ีดตี อ่ ตนเองและความเชอ่ื มั่นในตนเองขณะปฎบิ ัติกจิ กรรมตา่ งๆ ดังนี้

2.1) สนุ ทรยี ภาพ ดนตรี
(1) การฟังเพลง การรอ้ งเพลง และการแสดงปฏกิ ริ ยิ าโตต้ อบเสียงดนตรี
(2) การเล่นเคร่ืองดนตรปี ระกอบจังหวะ
(3) การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี
(4) การเล่นบทบาทสมมติ
(5) การทำกิจกรรมศลิ ปะตา่ งๆ
(6) การสร้างสรรคส์ ิง่ สวยงาม

2.2) การเล่น
(1) การเลน่ อิสระ
(2) การเลน่ รายบคุ คล กล่มุ ย่อย กลุม่ ใหญ่
(3) การเล่นในตามมุมประสบการณ/์ มุมเลน่ ต่างๆ
(4) การเลน่ นอกหอ้ งเรียน

2.3) คณุ ธรรม จริยธรรม
(1) การปฏบิ ตั ติ นตามหลักศาสนาทน่ี บั ถอื
(2) การฟงั นทิ านเกีย่ วกบั คณุ ธรรม จริยธรรม
(3) การรว่ มสนทนาและแลกเปลีย่ นความคิดเห็นเชิงคุณธรรม

2.4) การแสดงออกทางอารมณ์
(1) การพูดสะท้อนความรูส้ กึ ของตนเองและผอู้ ่ืน
(2) การเลน่ บทบาทสมมติ
(3) การเคลอ่ื นไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี
(4) การร้องเพลง
(5) การทำงานศิลปะ

2.5) การมอี ตั ลักษณเ์ ฉพาะตนและเชอ่ื ว่าตนเองมคี วามสามารถ
(1) การปฏิบตั ิกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตนเอง

2.6) การเห็นอกเหน็ ใจผ้อู น่ื
(1) การแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข เห็นใจเมื่อผู้อื่นเศร้าหรือเสียใจ

และการชว่ ยเหลอื ปลอบโยนเม่อื คนอื่นไดร้ บั บาดเจ็บ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 37

3) ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มี
โอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเรียนรู้
ทางสังคม เชน่ การเล่น การทำงานกบั ผ้อู นื่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแกป้ ญั หาข้อขัดแยง้ ต่างๆ

3.1) การปฏิบัตกิ จิ วัตรประจำวัน
(1) การชว่ ยเหลอื ตนเองในกจิ วตั รประจำวนั
(2) การปฏิบัติตนตามแนวทางหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2) การดูแลรกั ษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(1) การมสี ว่ นร่วมรบั ผดิ ชอบในการดแู ลสิง่ แวดล้อมทง้ั ภายในและภายนอก

ห้องเรียน
(2) การใช้วัสดุและสงิ่ ของเครอ่ื งใชอ้ ยา่ งคมุ้ คา่
(3) การทำงานศลิ ปะท่นี ำวัสดหุ รอื ส่งิ ของเครอื่ งใชท้ ใ่ี ชแ้ ลว้ มาใชซ้ ำ้ หรอื แปร

รปู แล้วนำกลับมาใชใ้ หม่
(4) การเพาะปลูกและดแู ลตน้ ไม้
(5) การเลย้ี งสัตว์
(6) การสนทนาขา่ วและเหตกุ ารณ์ทีเ่ กย่ี วกับธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมใน

ชีวิตประจำวนั
3.3) การปฏบิ ัติตามวฒั นธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย
(1) การเล่นบทบาทสมมตกิ ารปฏิบัตติ นในความเป็นคนไทย
(2)การปฏบิ ตั ิตนตามวัฒนธรรมทอ้ งถนิ่ ที่อาศยั และประเพณไี ทย
(3) การประกอบอาหารไทย
(4) การศกึ ษานอกสถานที่
(5) การละเลน่ พ้นื บา้ นของไทย
3.4 การมปี ฏสิ ัมพันธ์ มีส่วนร่วม และบทบาทสมาชกิ ของสังคม
(1) การรว่ มกำหนดข้อตกลงของห้องเรยี น
(2) การเปน็ สมาชิกทดี่ ีของห้องเรียน
(3) การใหค้ วามรว่ มมือในการปฏบิ ัติกิจกรรมตา่ ง ๆ
(4) การดูแลหอ้ งเรยี นร่วมกนั
(5) การรว่ มกิจกรรมวนั สำคญั
3.5) การเลน่ และทำงานแบบร่วมมอื ร่วมใจ
(1) การร่วมสนทนาและแลกเปล่ียนความคดิ เห็น
(2) การเล่นและทำงานร่วมกับผอู้ ่นื
(3) การทำศิลปะแบบร่วมมือ
3.6) การแกป้ ญั หาความขดั แย้ง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 38

(1) การมีส่วนรว่ มในการเลือกวธิ แี กป้ ัญหาความขดั แย้ง
(2) การมีสว่ นร่วมในการแกป้ ญั หาความขดั แย้ง
3.7) การยอมรบั ในความเหมือนและความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล
(1) การเล่นหรอื ทำกิจกรรมรว่ มกับกลุ่มเพอื่ น
4) ประสบการณส์ ำคัญทส่ี ่งเสรมิ พฒั นาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนนุ ให้เดก็ ได้รับ
รู้ เรียนรู้ส่งิ ต่างๆรอบตวั ดว้ ยประสาทสมั ผัสท้ังห้า ผา่ นการคิด การใชภ้ าษา การสังเกต การจำแนกและ
เปรยี บเทยี บ จำนวน มติ สิ มั พนั ธ(์ พนื้ ท่ี/ระยะ) และเวลา
4.1) การใช้ภาษา
(1) การฟงั เสียงตา่ งๆ ในส่งิ แวดล้อม
(2) การฟังและปฏิบัตติ ามคำแนะนำ
(3) การฟังเพลง นิทาน คำคล้องจอง บทรอ้ ยกรองหรือเรื่องราวตา่ งๆ
(4) การพดู แสดงความคิด ความร้สู กึ และความต้องการ
(5) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกบั
ตนเอง
(6) การพดู อธบิ ายเกยี่ วกับส่ิงของ เหตกุ ารณ์ และความสมั พนั ธ์ของส่งิ ตา่ งๆ
(7) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเลน่ และการกระทำต่างๆ
(8) การรอจงั หวะทเี่ หมาะสมในการพดู
(9) การพดู เรียงลำดับคำเพอื่ ใช้ในการส่ือสาร
(10) การอ่านหนังสือภาพ นทิ านหลากหลายประเภท/รูปแบบ
(11) การอ่านอย่างอิสระตามลำพงั การอ่านรว่ มกนั การอ่านโดยมผี ชู้ ี้แนะ
(12) การเหน็ แบบอย่างของการอ่านท่ีถูกต้อง
(13) การสังเกตทิศทางการอ่านตวั อกั ษร คำ และข้อความ
(14) การอ่านและชี้ข้อความ โดยกวาดสายตาตามบรรทัดจากซ้ายไปขวา จาก
บนลงลา่ ง
(15) การสงั เกตตวั อักษรในชอื่ ของตน หรือคำคุ้นเคย
(16) การสังเกตตัวอกั ษรท่ปี ระกอบเปน็ คำผา่ นการอ่านหรือเขยี นของผูใ้ หญ่
(17) การคาดเดาคำ วลี หรือประโยคที่มีโครงสรา้ งซำ้ ๆกันจากนิทาน เพลง คำ
คลอ้ งจอง
(18) การเลน่ เกมทางภาษา
(19) การเห็นแบบอย่างของการเขียนที่ถูกต้อง
(20) การเขียนร่วมกนั ตามโอกาส และการเขียนอสิ ระ
(21) การเขยี นคำท่มี คี วามหมายกบั ตัวเด็ก/คำคุน้ เคย
4.2) การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตผุ ล การตัดสินใจและการแกป้ ัญหา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 39

(1) การสังเกตลกั ษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสมั พันธ์ของ
สง่ิ ต่างๆโดยใช้ประสาทสมั ผัสอย่างเหมาะสม

(2) การสงั เกตส่งิ ตา่ งๆและสถานทจี่ ากมุมมองท่ีตา่ งกนั
(3) การบอกและแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ ด้วยด้วย
การกระทำ วาดภาพ ภาพถ่าย และรูปภาพ
(4) การเลน่ กับสอ่ื ต่างๆท่เี ป็นทรงกลม ทรงสเี่ หลย่ี มมมุ ฉากทรงกระบอก ทรง
กรวย
(5) การคัดแยก การจดั กลุ่ม และการจำแนกสง่ิ ตา่ งๆตามลกั ษณะและรูปรา่ ง
(6) การต่อของช้ินเล็กเตมิ ในช้นิ ใหญใ่ หส้ มบรู ณ์ และการแยกชน้ิ ส่วน
(7) การทำซำ้ การต่อเตมิ และการสร้างแบบรปู
(8) การนบั และแสดงจำนวนของสง่ิ ต่างๆในชีวิตประจำวัน
(9) การเปรยี บเทยี บและเรียงลำดับจำนวนของสงิ่ ต่างๆ
(10) การรวมและการแยกส่งิ ต่างๆ
(11) การบอกและแสดงลำดบั ที่ของส่งิ ตา่ งๆ
(12) การช่ัง ตวง วัดส่งิ ตา่ งๆโดยใชเ้ ครื่องมือและหนว่ ยที่ไมใ่ ช่มาตรฐาน
(13) การจบั คู่ การเปรียบเทียบ และการเรยี งลำดบั ส่ิงตา่ งๆตามลักษณะความ
ยาว/ความสูง นำ้ หนกั ปรมิ าตร
(14) การบอกและเรยี งลำดบั กจิ กรรมหรอื เหตกุ ารณต์ ามช่วงเวลา
(15) การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์กับเหตกุ ารณ์ในชีวิตประจำวนั
(16) การอธบิ ายเช่ือมโยงสาเหตุและผลทเ่ี กดิ ขึน้ ในเหตกุ ารณห์ รอื การกระทำ
(17) การคาดเดาหรอื การคาดคะเนสง่ิ ท่ีอาจเกดิ ข้นึ อยา่ งมีเหตุผล
(18) การมสี ว่ นร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตผุ ล
(19) การตัดสนิ ใจและมสี ว่ นร่วมในกระบวนการแก้ปญั หา

4.3) จินตนาการและความคดิ สร้างสรรค์
(1) การรับรู้และแสดงความคิด ความรสู้ ึกผา่ นส่อื วัสดุ ของเลน่ และชิ้นงาน
(2) การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านภาษา ท่าทาง การเคลื่อนไหว และ

ศลิ ปะ
(3) การสร้างสรรคช์ ้ินงานโดยใช้รปู ร่างรปู ทรงจากวัสดุทห่ี ลากหลาย

4.4) เจตคติท่ดี ตี ่อการเรยี นรูแ้ ละการแสวงหาความรู้
(1) การสำรวจสิ่งตา่ งๆ และแหลง่ เรียนรู้รอบตวั
(2) การตงั้ คำถามในเรอื่ งที่สนใจ
(3) การสืบเสาะหาความรู้เพ่อื ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 40

(4) การมีสว่ นรว่ มในการรวบรวมข้อมลู และนำเสนอข้อมูลจากการสืบเสาะหา
ความร้ใู นรปู แบบตา่ งๆและแผนภูมิอยา่ งง่ายการมุ่งมัน่ ในการทำกจิ กรรม มสี มาธิจดจ่อ

2.4.11สาระท่ีควรเรยี นรู้
สาระทีค่ วรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กทน่ี ำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็ก
เกิดแนวคิดหลังจากนำสาระการเรียนรู้นั้น ๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนด
ไว้ ทง้ั นี้ ไมเ่ นน้ การท่องจำเนื้อหา ครูสามารถกำหนดรายละเอียดข้นึ เองใหส้ อดคล้องกบั วยั ควาต้องการ
และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้ อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดย
คำนงึ ถงึ ประสบการณแ์ ละสิ่งแวดล้อมในชวี ติ จริงของเด็ก ดังนี้
1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา
อวัยวะต่างๆวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็น
ประโยชน์ การรักษาความปลอดภัยของตนเอง รวมท้งั การปฏิบัตติ ่อผอู้ ื่นอยา่ งปลอดภยั การรู้จักประวัติ
ความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การ
เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นการรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การกำกบั ตนเอง การเล่นและทำสิ่งตา่ งๆด้วยตนเองตามลำพังหรือกบั ผู้อ่นื การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง
ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรูอ้ ารมณแ์ ละความรูส้ ึกของตนเองและผู้อ่ืน การแสดงออก
ทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม เมื่อเด็กมี
โอกาสเรยี นร้แู ล้วควรเกดิ แนวคิด ดังนี้
- ฉันมชี อื่ ตั้งแตเ่ กิด ฉนั มเี สยี ง รปู ร่างหน้าตาไมเ่ หมือนใคร ฉันภูมิใจทเ่ี ปน็ ตัวฉันเองเป็น
คนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทาสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน รับประทาน
อาหาร ฯลฯ
- ฉันมีอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และฉันรู้จัก
วธิ ีรกั ษาร่างกายใหส้ ะอาด ปลอดภยั มีสขุ ภาพดี
- ฉันใช้ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย ช่วยในการรับรู้สิ่งต่างๆ จึงควรดูแลรักษาให้
ปลอดภัย
- ฉันต้องการอากาศ น้าและอาหารเพื่อการดารงชีวิต ฉันจึงต้องรบั ประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ ออกกำลังกาย และพกั ผ่อนใหเ้ พยี งพอ เพ่อื ให้ร่างกายแขง็ แรงเจริญเติบโต
- ฉนั ตระหนกั รู้เกีย่ วกบั ตนเองว่า ฉันสามารถเคลอื่ นไหวโดยควบคมุ ของร่างกายไปใน
ทศิ ทางระดบั และพนื้ ที่ตา่ ง ๆ รา่ งกายของฉนั อาจมเี ปลีย่ นแปลงเมื่อฉนั ร้สู กึ ไม่สบาย
- ฉันเรยี นรู้ข้อตกลงต่างๆ ร้จู กั ระมัดระวงั รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อ่ืนเม่ือ
ทำงาน เลน่ คนเดียว และเล่นกับผอู้ ืน่
- ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่นๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึ ก
ในทางที่ดีและเหมาะสม เมื่อฉันแสดงความคดิ เหน็ หรือทำสิ่งต่างๆ ด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉนั
มคี วามคดิ สรา้ งสรรค์ ความคิดของฉนั เปน็ สิง่ สำคญั แตค่ นอ่นื ก็มีความคดิ ท่ดี เี หมือนฉนั เช่นกนั

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 41

2) เร่ืองราวเกีย่ วกบั บคุ คลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เดก็ ควรเรยี นรู้เก่ยี วกับ
ครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธใ์ นชวี ิต
ประจาวัน สถานที่สำคัญ วันสาคญั อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์
สำคัญของชาติไทย และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิ
ปัญญาทอ้ งถนิ่ อนื่ ๆ เม่อื เดก็ มีโอกาสเรยี นรแู้ ลว้ ควรเกดิ แนวคดิ ดังนี้

- ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และ
ยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติ
ตามข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกตอ้ ง
ตามกาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่างๆ เชน่ วันเกิดของบคุ คลในครอบครวั วันทำบญุ บ้าน ฉัน
ภูมใิ จในครอบครัวของฉัน

- สถานศึกษาของฉันมีช่ือ เป็นสถานทท่ี ่ีเดก็ ๆ มาทากจิ กรรมร่วมกนั และทาให้ไดเ้ รียนรู้
สิ่งต่างๆ มากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏ
ระเบยี บช่วยกันรกั ษาความสะอาดและทรัพย์สมบตั ิของสถานศึกษา ครูรกั ฉนั และเอาใจใสด่ ูแลเดก็ ทุกคน
เวลาทำกจิ กรรมฉันและเพ่ือนจะชว่ ยกนั คิด ช่วยกันทำ รบั ฟงั ความคดิ เห็น และรบั รู้ความรู้สึกซ่ึงกันและ
กนั

- ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สำคัญ คนใน
ท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มอี าชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า
ทอ้ งถ่ินของฉนั มวี นั สำคญั ของตนเองซง่ึ จะมีการปฏบิ ัติกจิ กรรมท่ีแตกต่างกนั ไป

- ฉันเป็นคนไทย ฉันภูมิใจในความเป็นไทยที่มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์มีภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติและท้องถิ่นหลายอย่าง ฉันและ
เพื่อนนับถือศาสนาหรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็น
คนดี

3) ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การ
เปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้า ท้องฟ้า สภาพ
อากาศ ภัยธรรมชาตแิ รงและพลงั งานในชวี ติ ประจำวันทีแ่ วดล้อมเดก็ รวมทัง้ การอนุรกั ษส์ ง่ิ แวดลอ้ มและ
การรกั ษาสาธารณสมบตั ิเมือ่ เด็กมีโอกาสเรียนร้แู ล้วควรเกดิ แนวคิด ดังนี้

- ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด
น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตวั ให้เข้ากับลักษณะลมฟ้าอากาศในแต่ละวันหรอื
ฤดู และยังต้องพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน สาหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้า หิน ดิน ทราย มีรูปร่าง รูปทรง
ลักษณะ สีตา่ งๆ และมปี ระโยชน์

- ลักษณะลมฟ้าอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉัน
คาดคะเนลักษณะลมฟ้าอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ในเวลากลางวันเป็น
ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 42

เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอน
กลางคืน กลางวันและกลางคืนมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้าในเวลา
กลางคืนเป็นสดี า กลางวนั มแี สงสว่างแตก่ ลางคนื มืด อากาศเวลากลางวันร้อนกว่าเวลากลางคืน

- เมือ่ ฉนั ออกแรงกระทำตอ่ ส่งิ ของด้วยวธิ ีต่างๆ เช่น ผลัก ดึง บบี ทุบ ตี เป่า เขย่า ดีด
สิ่งของจะมกี ารเปลย่ี นแปลงรปู รา่ ง การเคลือ่ นที่ และเกิดเสยี งแบบต่าง ๆ

- แสงและไฟฟา้ ไดม้ าจากแหลง่ พลงั งาน เชน่ ดวงอาทิตย์ ลม นา้ เช้อื เพลิง แสงช่วยให้
เรามองเห็น เมื่อมีสิ่งต่าง ๆ ไปบังแสงจะเกิดเงา ไฟฟ้าทำให้สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างทำงานได้ ช่วย
อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การนาพลังงานมาใช้ทำให้แหล่งพลังงานบางอย่างมีปริมาณลดลง
เราจงึ ตอ้ งใช้พลังงานอย่างประหยัด

- สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น สัตว์ พืช น้ำ ดิน หิน ทราย สภาพของลม
ฟ้าอากาศ เป็นสงิ่ จำเปน็ สาหรบั ชีวิตต้องไดร้ ับการอนรุ ักษ์ สง่ิ แวดลอ้ มทีม่ นษุ ย์สรา้ งข้นึ รอบๆ ตัวฉัน เช่น
สิ่งของเครื่องใช้ บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานท่ีต่างๆ เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบารุงรักษาให้ดี
ขึ้นได้

4) สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายใน
ชีวิตประจำวนั ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกบั การใช้หนังสอื และตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด
รูปร่างรูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
รอบตัว เวลาเงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม
เทคโนโลยีและการสือ่ สารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจาวันอยา่ งประหยดั ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดลอ้ ม
ท้ังน้ี เม่ือเดก็ มโี อกาสเรยี นรแู้ ลว้ เดก็ ควรเกดิ แนวคิด ดังนี้

- ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจาวัน ฉัน
ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ ได้หลายวธิ ี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ จดหมาย หรือเคร่อื งมอื ท่ีใช้ใน
การติดต่อสื่อสารต่างๆ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดู
โทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉัน
ชอบอา่ นหนงั สอื ฉนั ก็จะมีความรู้ความคิดมากขึ้น ฉันสามารถรวบรวมขอ้ มลู ง่ายๆ นำมาถา่ ยทอดให้ผู้อื่น
เข้าใจได้โดยนำเสนอดว้ ยรปู ภาพ สัญลักษณ์ แผนผงั ผงั ความคดิ แผนภูมิ

- ส่ิงตา่ งๆ รอบตัวฉันสว่ นใหญม่ ีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสตกิ ใส สมี ีอยู่ทกุ หนทกุ แหง่ ท่ี
ฉันสามารถเห็นตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่นๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น แดง
เหลืองน้าเงิน สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกตา่ งกัน สีบางสีสามารถใช้เปน็ สัญญาณหรือสัญลกั ษณ์ส่ือสาร
กนั ได้

- สง่ิ ต่างๆ รอบตวั ฉันมชี อ่ื ลกั ษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปรมิ าตร น้ำหนกั
และสว่ นประกอบตา่ งๆ กัน สามารถจำแนกประเภทตามชนิด ขนาด สี พืน้ ผิว วัสดุ รูปร่าง รปู ทรง หรือ
ประโยชน์ในการใช้งาน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 43

- ฉนั สามารถสงั เกตเหน็ การเปล่ยี นแปลงของสง่ิ ต่างๆ รอบตัว เช่น การเจรญิ เตบิ โตของ
มนษุ ย์ สตั ว์หรอื พืช การเปลยี่ นแปลงของสภาพของลมฟา้ อากาศ การเปลี่ยนแปลงของส่ิงต่างๆ จากการ
ทดลองอย่างงา่ ยๆ หรือการประกอบอาหาร และฉันสามารถเหน็ ความสมั พันธ์ของส่ิงต่างๆ รอบตัว เชน่
การนำสิ่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำบางอย่างกับผลที่เกิดขึ้น เช่น ถ้า
รบั ประทานอาหารแล้วไมแ่ ปรงฟนั ฟนั จะผุ ถา้ ใสน่ ำ้ ตาลลงไปในน้าแลว้ น้ำตาลจะละลาย ถ้าปล่อยสิ่งของ
จากท่ีสงู แลว้ สิง่ ของจะตกลงมา

- การนับสิ่งต่างๆ ทาให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันรู้ว่า
ส่ิงของแต่ละช้ินนบั ได้เพียงคร้งั เดยี ว ไม่นบั ซำ้ และเสยี งสดุ ทา้ ยที่นับเป็นตวั บอกปริมาณ

- ฉันเปรียบเทียบและเรียงลำดับสิ่งของต่างๆ ตามลักษณะ รูปร่าง รูปทรง จำนวน
ขนาด น้ำหนักปริมาตร สิ่งที่ช่วยฉันในการสังเกต เช่น แว่นขยาย สิ่งที่ช่วยในการ ชั่ง ตวง วัด มีหลาย
อย่าง เช่น เครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย ถ้วย ช้อน เชือก วัสดุสิ่งของอื่นๆ ที่ฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือ
กะประมาณ

- ฉนั ใชค้ ำทีเ่ ก่ียวกับเวลาในชีวิตประจาวนั เช่น กลางวัน กลางคนื ก่อน หลัง เช้า บ่าย
เยน็ เมอื่ วานนี้ วนั นี้ พรุ่งน้ี

- ฉนั ใช้เงนิ เหรยี ญและธนบตั รในการซื้อขนมและอาหาร ตวั เลขท่ีอยู่บนเหรยี ญและ
ธนบตั รจะบอกคา่ ของเงิน

- ฉันใช้ตัวเลขในชวี ิตประจำวัน เช่น วันที่ ชั้นเรียน อายุ บ้านเลขที่ นาฬิกา หรือเบอร์
โทรศพั ท์ และใชต้ ัวเลขในการบอกปรมิ าณของส่ิงต่างๆ และแสดงอันดับที่

- สงิ่ ของเคร่อื งใชม้ ีหลายชนดิ และหลายประเภท เช่น เครอื่ งใช้ในการทำสวนเพาะปลกู
การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน เราใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน
ขณะเดยี วกนั ก็ต้องระมัดระวังในการใชง้ าน เพราะอาจเกิดอนั ตรายและความเสยี หายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือ
ใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรยี บร้อย เราควรใช้ส่ิงของเคร่ืองใช้อย่าง
ประหยดั และรกั ษาสิง่ แวดล้อม

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 44

2.4.12 หนว่ ยการจัดประสบการณ์ ชัน้ อนบุ าลปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ป)ี

ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

สัปดาห์ ชอ่ื หน่วย สัปดาห์ ชอื่ หน่วย

1 ปฐมนิเทศ 21 รู้รอบปลอดภยั

2 โรงเรียนของเรา 22 วันลอยกระทง

3 ตวั เรา 23 กลางวนั กลางคนื

4 หนทู ำได้ 24 ค่านยิ มไทย

5 ครอบครวั มีสุข 25 วันชาติ

6 อาหารดมี ีประโยชน์ 26 เศรษฐกจิ พอเพยี ง

7 ฤดูฝน 27 เทคโนโลยแี ละการสอื่ สาร

8 ข้าว 28 วันขน้ึ ปีใหม่

9 ปลอดภัยไว้ก่อน 29 สนกุ กบั ตัวเลข

10 วนั เฉลมิ พระชนพรรษาฯ 30 ขนาด รปู รา่ ง รปู ทรง

11 วันแม่ 31 วันเด็ก วนั ครู

12 หนรู ักเมอื งไทย 32 โลกสวยดว้ ยมือเรา

13 ของเลน่ ของใช้ 33 ฤดหู นาว

14 ชุมชนของเรา 34 แรงและพลงั งานในชีวิตประจำวัน

15 ตน้ ไม้ทีร่ ัก 35 เสียงรอบตวั

16 หนิ ดิน ทราย 36 รกั การอ่าน

17 สัตว์นา่ รกั 37 ปรมิ าตร น้ำหนัก

18 คมนาคม 38 ฤดูรอ้ น

โ ค ร ง ก า ร โ ป ร เ จ ค แ อ พ โ พ ส ( Project โ ค ร ง ก า ร โ ป ร เ จ ค แ อ พ โ พ ส ( Project

19 Approach),โครงการบา้ นวทิ ยาศาสตร์ 39 Approach),โครงการบ้านวทิ ยาศาสตร์

น้อยแห่งประเทศไทย น้อยแหง่ ประเทศไทย

โ ค ร ง ก า ร โ ป ร เ จ ค แ อ พ โ พ ส ( Project โ ค ร ง ก า ร โ ป ร เ จ ค แ อ พ โ พ ส ( Project

20 Approach),โครงการบา้ นวทิ ยาศาสตร์ 40 Approach),โครงการบา้ นวทิ ยาศาสตร์

นอ้ ยแหง่ ประเทศไทย น้อยแห่งประเทศไทย

- ฉนั เดนิ ทางจากท่ีหน่งึ ไปยงั ทหี่ นงึ่ ได้ด้วยการเดินหรือใชย้ านพาหนะ พาหนะบางอย่าง
ที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือ
ขนส่งได้ทัง้ ทางบก ทางน้า ทางอากาศ พาหนะท่ใี ชเ้ ดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ผู้

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 45

ขับข่จี ะตอ้ งได้รับใบอนญุ าตขบั ขี่ และทำตามกฏจราจรเพอื่ ความปลอดภยั ของทุกคน และฉันตอ้ งเดนิ บน
ทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลายสะพานลอยหรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้อง
ระมดั ระวังเวลาข้าม

2.4.13 หน่วยการจดั ประสบการณ์ ชนั้ อนบุ าลปีท่ี 3 (อายุ 5 – 6 ปี)
1) การจัดประสบการณ์
โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) จัดประสบการณ์ให้เด็กโดยบูรณาการผ่าน

การเล่นเป็นการบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระ และทักษะกระบวนการ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการลงมือกระทำ เพี่อพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ
สติปัญญา ดังนั้น จึงจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้เด็กเพื่อกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ
ของเด็กแต่ละคน โดยยึดหลักการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
เป็นสำคญั ดังน้ี

2) หลกั การจดั ประสบการณ์
2.1) จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้หลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม
อยา่ งตอ่ เนือ่ ง
2.2) เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
และบรบิ ทของสังคมท่เี ด็กอาศัยอยู่
2.3) จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลผลิต
ของการเรยี นรู้
2.4) จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของ
การจัดประสบการณ์ พร้อมทงั้ นำผลการประเมินมาพฒั นาเด็กอย่างตอ่ เนื่อง
2.5) ใหพ้ อ่ แม่ ครอบครวั ชุมชน และทกุ ฝ่ายที่เกี่ยวขอ้ งมสี ่วนร่วมในการพัฒนาเด็กในการ
จดั ประสบการณส์ ำหรบั เด็กปฐมวัย โรงเรยี นวดั ชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)มีแนวทางดำเนินการจัด
ประสบการณ์ดงั น้ี
2.4.14 แนวทางการจดั ประสบการณ์

1) จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทางานของสมอง ที่
เหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ เพอื่ ใหเ้ ดก็ ทกุ คนได้พัฒนาเตม็ ตามศักยภาพ

2) จดั ประสบการณใ์ ห้สอดคล้องกบั แบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมอื กระทำ เรยี นรู้
ผา่ นประสาทสัมผัสท้ังห้า ได้เคลอ่ื นไหว สำรวจ เล่น สงั เกต สบื คน้ ทดลอง และคิดแกป้ ัญหาดว้ ยตนเอง

3) จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการ
เรียนรู้

4) จัดประสบการณใ์ หเ้ ด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำและนำเสนอความคิด
โดยผู้สอน หรือผู้จดั ประสบการณเ์ ป็นผ้สู นบั สนุน อำนวยความสะดวก และเรยี นรู้รว่ มกบั เดก็

5) จัดประสบการณใ์ หเ้ ด็กมีปฏิสัมพันธ์กบั เด็กอนื่ กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดลอ้ มทเี่ อื้อต่อ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 46

การเรียนรูใ้ นบรรยากาศที่อบอุน่ มีความสุข และเรียนรู้การทากิจกรรมแบบร่วมมอื ในลกั ษณะตา่ งๆ
6) จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธก์ ับสื่อ และแหล่งการเรียนรูท้ ่ีหลากหลายและอยู่ใน

วถิ ีชวี ติ ของเด็ก สอดคลอ้ งกับบรบิ ท สังคม และวฒั นธรรมท่ีแวดล้อมเดก็
7) จัดประสบการณท์ สี่ ง่ เสริมลกั ษณะนิสยั ทีด่ ีและทักษะการใชช้ วี ติ ประจำวนั ตามแนวทาง

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และการมีวินัย ให้เป็นส่วน
หนง่ึ ของการจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรอู้ ย่างต่อเน่ือง

8) จดั ประสบการณท์ ั้งในลกั ษณะทมี่ กี ารวางแผนไวล้ ว่ งหน้าและแผนที่เกิดข้นึ ในสภาพจริง
โดยไมไ่ ดค้ าดการณไ์ ว

9) จัดทำสารนทิ ศั น์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเก่ยี วกบั พัฒนาการและการเรยี นรขู้ องเดก็ เปน็
รายบคุ คล นามาไตรต่ รองเพ่ือใชป้ ระโยชน์ในการพฒั นาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน

10) จดั ประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครวั และชุมชนมีสว่ นรว่ ม ท้งั การวางแผน
การสนับสนุนสอื่ แหลง่ เรียนรู้ การเข้ารว่ มกิจกรรม และการประเมนิ พัฒนาการ

2.4.14 การจดั กจิ กรรมประจำวัน
โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) ได้กำหนดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็ก
ปฐมวัยให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกดา้ น เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวันของเดก็ โดยจัดให้มี
กจิ กรรมพฒั นาเด็กปฐมวัย ดงั น้ี
1) กจิ กรรมพฒั นากล้ามเน้ือใหญ่ เพือ่ ให้เด็กมรี า่ งกายแขง็ แรง มีการทรงตวั ทดี่ ี มีการ
ยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วในการใชอ้ วัยวะต่าง ๆ ตามจงั หวะการเคลื่อนไหวและการประสานสัมพันธ์
กัน
2) กจิ กรรมการเล่นอิสระ เพอ่ื ใหเ้ ด็กเลอื ก ตัดสินใจ คิดแกป้ ัญหา คิดสร้างสรรค์ โดย
กำหนดให้ในแต่ละวัน เด็กมโี อกาสเล่นอิสระกลางแจง้ อยา่ งนอ้ ย 1 ชัว่ โมง : วนั
3) กจิ กรรมสง่ เสริมการคดิ และความคิดสรา้ งสรรค์ เพือ่ ใหเ้ ด็กเกิดความคดิ รวยยอด การ
คิดเชิงเหตผุ ล มีความสามารถในการแกป้ ัญหาและตัดสนิ ใจ มจี นิ ตนาการและความคดิ สรา้ งสรรค์
4) กจิ กรรมพัฒนาทักษะทางสงั คม เพื่อใหเ้ ดก็ ได้พัฒนาลักษณะนิสยั ท่ดี ี แสดงออกอย่าง
เหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์และอยู่ร่วมกบั ผ้อู ื่นได้อยา่ งมคี วามสขุ เดก็ ท่ีอายนุ ้อยยงั ยดึ ตัวเองเปน็ ศูนยก์ ลาง
5) กิจกรรมทีม่ กี ารวางแผนโดยครผู ้สู อน ให้คิดรวบยอดโดยครผู ู้สอน เพื่อให้เดก็ เกดิ ทักษ
หรือความคิดรวบยอดในเรื่องใดเรื่องหนึง่ ตามสาระการเรยี นรู้ทีก่ าหนดไว้ในหลักสูตรโรงเรียนวัดชนิ วรา
ราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) กำหนดสัดส่วนเวลาในการพัฒนาเด็กแต่ละวัน และตารางกิจกรรมประจำวัน
ไว้ดงั นี้

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 47

2.4.15 สัดส่วนเวลาในการพฒั นาเด็ก

อายุ 3 – 4 ปี อายุ 4 – 5 ปี อายุ 5 – 6 ปี
ชั่วโมง :วัน ชว่ั โมง :วัน
การพฒั นา ชวั่ โมง :วัน (ประมาณ) (ประมาณ)
2 1/2 2 1/4
(ประมาณ) 1 1
1 1
1. การพฒั นาทกั ษะพืน้ ฐานในชีวิตประจาวัน 3 3/4 1
3/4 3/4
2.การเล่นตามมุมประสบการณ์/มุมเลน่ 1 1 1
7 7
3.การคิดและความคดิ ริเรมิ่ สร้างสรรค์ 1

4.กจิ กรรมด้านสังคม 1/2

5.กิจกรรมพัฒนากล้ามเนอื้ ใหญ่ 3/4

6.กิจกรรมที่มกี ารวางแผนโดยผสู้ อน 3/4

รวม 7

2.4.16 ตารางกจิ กรรมประจำวนั ระดับปฐมวยั

เวลา กจิ กรรม ขอบขา่ ยของกจิ กรรม

07.00-07.50 น. โรงเรยี นของหนู -ทกั ทายและสนทนากับเด็กเปน็ รายบุคคล

-ตรวจสุขภาพเดก็ ดูแลความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่ง

กาย

-สนทนากบั ผ้ปู กครองทมี่ าส่งเด็ก

07.50-08.15 น. กจิ กรรมหน้าเสาธง -เข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ กล่าวคำปฏิญาณร่วมกับ

เด็กปฐมศึกษา

-ฝกึ มารยาทและรบั ฟงั การอบรมจากครูเวรประจำวนั

08.15-08.30 น. ธุระส่วนตัว -เขา้ ห้องน้ำ เด็กได้ดมื่ นำ้ และเตรยี มพร้อมสำหรับกิจกรรม

08.30-08.45 น. ห้องเรยี นแสนสนุก -สำรวจการมาโรงเรียน

-สำรวจสภาพอากาศประจำวัน

- สนทนาข่าวและเหตกุ ารณ์

08.45-09.20 น. กิจกรรมเคลื่อนไหว -การเคลื่อนไหวพน้ื ฐาน

และจงั หวะ -การเล่นเลยี นแบบการเคลอื่ นไหวต่างๆ

-การเคลอ่ื นไหวตามสยี งเพลงและจงั หวะของดนตรี

-การทำทา่ ทางประกอบเพลง

-กายบริหาร

-การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยใช้อุปกรณ์

ประกอบ

-การฟงั สญั ญาณและปฏิบตั ติ ามข้อตกลง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 48

-การแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรอ่ื งราวและจนิ ตนาการ

-การฝึกเปน็ ผูน้ ำผู้ตาม

09.20-09.40 น. กิจกรรมเสริม -การสนทนา ซักถาม แสดงความคิดเหน็

ประสบการณ์ -การเลา่ นิทาน เร่ืองราว ข่าวและเหตกุ ารณ์

-การเล่นบทบาทสมมตุ ิ การสาธติ การทดลอง การประกอบ

อาหาร ฯ

-การท่องคำคล้องจอง คำกลอน การร้องเพลง

09.40-10.40 น. กจิ กรรมสรา้ งสรรค์ -เด็กเลือกทำกิจกรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์

และการเลน่ เสรี -การวาดภาพระบายสี ด้วยสีเทียน สีนำ้ สไี ม้

ประสบการณ์ -การเลน่ และทดลองเก่ยี วกบั สี

-การพมิ พภ์ าพและการปนั้

-การพบั ฉีกตดั ประ การประดษิ ฐ์

-เดก็ เลอื กเล่นตามมุมประสบการณ์ท่ีจัดไวใ้ นห้องเรียนอย่าง

อิสระ

-เด็กช่วยกันเกบ็ ของเลน่

10.40-11.00 น. กจิ กรรมกลางแจง้ -การเลน่ อสิ ระในสนาม/เครอ่ื งเล่นสนาม

-การเล่นอุปกรณก์ ฬี าสำหรบั เดก็

-การเลน่ เกม การละเลน่

11.00-12.00 น. รบั ประทานอาหาร -เด็กรบั ประทานอาหารรว่ มกนั

12.00- 12.20 กิจธุระส่วนตวั - ล้างหนา้ แปรงฟนั เข้าหอ้ งน้ำ

น. - เกบ็ ของใช้ส่วนตัวและ ปทู นี่ อน

12.00-14.00 น. พกั ผ่อน -เดก็ นอนพกั ผอ่ นหรือทำกิจกรรมสงบ

14.00–14.15 น. กิจธรุ ะสว่ นตวั -เกบ็ ท่ีนอน ล้างหนา้ หวีผมแตง่ ตัวใหเ้ รียบรอ้ ย

14.15-14.30น. รับประทานอาหาร -เดก็ รบั ประทานอาหารว่าง นมรว่ มกัน

วา่ ง

14.30-15.30น. เกมสก์ ารศกึ ษา -ครูแนะนำเกมส์การศึกษา และใหเ้ ด็กเล่นเกมสก์ ารศึกษา

15.00-15.30น. นทิ านแสนสนุก -ครูหรือเด็กเลือกนทิ านตามความตอ้ งการ

-ครเู ล่านิทานใหเ้ ดก็ ฝงั และสรุปเรือ่ งราวจากนทิ าน

15.30-18.00น. เตรียมตัวกลบั บ้าน -สรปุ กิจกรรมประจำวัน แนะนำกจิ กรรมในวันตอ่ มา

-ให้เด็กทำกจิ กรรมสงบในหอ้ งเรียนรอผปู้ กครองมารบั

-สนทนากับผ้ปู กครองซง่ึ มารบั เด็ก

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 49

2.4.17 วิธกี ารจัดประสบการณ์
โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวทิ ยาเวศม์) บรู ณาการการเรียนรู้โดยคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
เด็กแต่ละคนมีความสนใจแตกต่างกัน จึงมีกิจกรรมที่หลากหลาย หลากประเภท มีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็ก
ทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมสงบและกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว เปิดโอกาสให้เดก็
ริเร่มิ กจิ กรรม ไดม้ ีโอกาสเลือกดว้ ยตนเองตามความเหมาะสมกับวัยตรงกับความสนใจและความต้องการ
ของเด็ก ระยะเวลาจัดกิจกรรมเหมาะสมกับวัย ยืดหยุ่นได้ เน้นให้มีสื่อของจริง ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต
สำรวจ ค้นควา้ ทดลอง แก้ปญั หาดว้ ยตนเอง มีโอกาสปฏสิ ัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และผู้ใหญ่ โดยบูรณาการ
การเรียนรผู้ า่ นการจัดประสบการณ์ที่สำคัญ ดงั น้ี

1. การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
2. การจัดการเรยี นรโู้ ดยโครงงาน (Project Approach)
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามโครงการบ้าน
นกั วิทยาศาสตรน์ ้อย ประเทศไทย
2.4.18 กจิ กรรมหลัก 6 กจิ กรรม
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) จัด
กิจกรรมบูรณาการการเรียนรูผ้ ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพื่อให้เดก็ ได้รับการพัฒนาอย่างสมดลุ ท้ัง 4
ดา้ น คือ รา่ งกาย อารมณ์-จติ ใจ สงั คมและสติปัญญา ประกอบดว้ ย

1) กิจกรรมเคลอื่ นไหวและจังหวะ
2) กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์
3) กิจกรรมเสรี / การเลน่ ตามมมุ
4) กิจกรรมศลิ ปะสร้างสรรค์
5) กจิ กรรมกลางแจ้ง
6) กิจกรรมเกมการศึกษา
2.4.19 กิจกรรมเคล่อื นไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจงั หวะ เปน็ กจิ กรรมทีจ่ ัดใหเ้ ด็กเคลื่อนไหวสว่ นตา่ งๆ ของร่างกาย
ตามจังหวะอย่างอสิ ระ โดยใช้เสยี งเพลง คำคลอ้ งจอง เครอ่ื งเคาะจังหวะ และอปุ กรณอ์ ืน่ ๆ ประกอบการ
เคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จังหวะและควบคุมการเคลื่อนไหว
ของตนเองได้
1) จุดประสงค์

1.1) เพื่อพัฒนาอวยั วะทุกส่วนให้มีความสมั พนั ธก์ ันในขณะเคลื่อนไหว
1.2) เพื่อให้เกดิ ความซาบซึ้งและสุนทรยี ภาพ
1.3) เพอื่ ให้กลา้ แสดงออก มีความเชอื่ มั่นในตนเอง และมคี วามคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1.4) เพ่อื ฝกึ ทกั ษะในการฟังดนตรี หรือจังหวะตา่ งๆ
1.5) เพอ่ื พฒั นาด้านสังคม การปรับตวั การทำกจิ กรรมและความร่วมมือในกลุ่ม

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ปฐมวยั 50

1.6) เพอื่ ฝึกการเป็นผู้นำและผูต้ ามที่ดี
1.7 เพ่ือฝกึ ทักษะภาษา ฝกึ ฟังคำสั่ง และขอ้ ตกลง
1.8 เพ่ือให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครยี ดทง้ั ร่างกายและจติ ใจ
2) วัสดุอปุ กรณ์
2.1) เครือ่ งประกอบจังหวะ เชน่ รำมะนา กลอง กรับ ฉ่งิ ฯลฯ
2.2) แถบบนั ทึกเสียงเพลง เครอื่ งเล่นเทป
2.3) อปุ กรณ์ประกอบการเคล่อื นไหว เช่น ห่วงยาง แถบผ้า ฯลฯ
3) แนวการจัดกิจกรรม
3.1) รอ้ งเพลง ทอ่ งคำกลอน / คำคลอ้ งจอง และเคล่อื นไหวตามบทเพลง คำ
กลอน คำคล้องจอง
3.2) เคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยแบ่งเปน็ 2 ประเภท คอื เคลอื่ นไหวอยู่กบั ที่ และ
เคลอ่ื นไหว เคลื่อนท่ี
3.3) เลน่ เคร่อื งเล่นดนตรงี า่ ยๆ ประเภท เคาะ เช่น กรับ รำมะนา กลอง ฯลฯ
และเคล่อื นไหวประกอบ
3.4) การฝกึ จงั หวะ โดยการใช้ส่วนตา่ งๆ ของรา่ งกาย การทำจังหวะด้วยเปลง่ เสียง
3.5) ใหเ้ ดก็ เคลอื่ นไหวตามความคิดสรา้ งสรรค์ โดยใชอ้ ุปกรณป์ ระกอบในการ
เคลือ่ นไหว เชน่ ห่วง แถบผา้ ฯลฯ
2.4.20 กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เปน็ กิจกรรมท่ีมงุ่ เน้นใหเ้ ด็กได้พฒั นาทกั ษะการเรียนรู้ ฝึก
การทำงาน และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมี
โอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ใช้คำถามปลายเปิดที่ชวนให้เด็กคิด ช่วงระยะเวลาที่จัดกิจกรรม
ยดื หยนุ่ ตามความเหมาะสมทั้งนค้ี ำนงึ ถึงความสนใจของเด็กและความเหมาะสมของกจิ กรรม
1) จดุ ประสงค์
1.1) เพอื่ ใหเ้ ดก็ เขา้ ใจเนอ้ื หาและเร่ืองราวในหนว่ ยการจดั ประสบการณ์
1.2) เพอ่ื ฝกึ การใชภ้ าษาในการฟงั พูด และการถ่ายทอดเรอื่ งราว
1.3) เพอื่ ฝึกมารยาทในการฟัง การพดู
1.4) เพื่อฝกึ ความมรี ะเบยี บวินยั
1.5) เพอ่ื ใหเ้ ดก็ เรียนรผู้ า่ นการสงั เกต เปรียบเทียบ
1.6) เพื่อสง่ เสรมิ ความสามารถในการคิดรวบยอด การคดิ แก้ปญั หาและตัดสินใจ
1.7) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้จากการค้นพบด้วย
ตนเอง
1.8) เพ่อื ฝกึ ให้กล้าแสดงความคิดเห็น รว่ มแสดงความคดิ เหน็ อยา่ งมเี หตผุ ลและ
ยอมรับฟงั ความคิดเหน็ ของผอู้ ่นื


Click to View FlipBook Version