The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ห้องเรียนครูใหม่, 2021-02-21 10:59:44

รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

รายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 1

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา ก2

คำนำ

การประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) เป็นกระบวนการในการวัด
และเกบ็ รวบรวม ข้อมูล เพือ่ นำมาวิเคราะหพ์ จิ ารณาตัดสินคณุ คา่ ของหลักสตู รว่า หลักสูตรสถานศึกษามี
ประสิทธิภาพเพียงใด เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข
เพือ่ นำผลมาใช้ในการ ตัดสินใจหาทางเลือกท่ีดีกว่า จุดมุ่งหมายของการประเมนิ หลักสูตร เพื่อหาคุณค่า
ของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการ
หรือไม่ สนองความต้องการของ ผู้เรียนและสังคมอย่างไร และเพื่ออธิบายหรือพิจารณาว่าลักษณะของ
ส่วนประกอบตา่ งๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ เชน่ หลักการ จุดมุง่ หมาย เนอ้ื หาสาระ การเรียนรู้ กจิ กรรม
การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความ
ต้องการหรือไม่รวมท้ังเพื่อตดั สินว่า การบริหารงาน ด้านวิชาการ และบริหารงานดา้ นหลักสูตร เป็นไป
ในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ให้มี
ประสิทธิภาพ การประเมินผลหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เราทราบถึง
คุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือ
พฒั นาหลกั สตู รต้องอาศยั ผลจากการประเมนิ ผลเป็นสำคัญ ทำใหท้ ราบวา่ หลกั สตู รที่สร้างหรือพัฒนาข้ึน
นั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผล ให้หลักสูตร
มีคุณภาพดียิ่งขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ ประชาชน
ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือ
บริการทางใดบ้าง ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้
ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การจัดเรียนการสอนแก่นักเรียน
ได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและชุมชนจากความจำเป็นดังกล่าว งานพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)ตระหนักในความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดการ
ประเมินการใช้หลักสตู รสถานศึกษาขึ้น เพื่อทำการทบทวนตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนาให้
หลักสูตรมีความสมบูรณ์สนองต่อความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง สนองนโยบายของภาครัฐ
รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนางานทางด้านวิชาการของโรงเรียน และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจนำข้อมูลไป
พฒั นาผู้เรียนให้สนองเจตนารมณข์ องหลกั สูตรสถานศกึ ษาต่อไป

(นางฉัฐอติพา แช่มชมดาว)
ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นวัดชนิ วราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์)

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา ข3

สารบัญ

คำนำ หนา้
สารบัญ ก
บทที่ 1 บทนำ ข

- หลกั การและเหตผุ ล 4
- วัตถุประสงค์ 6
- ขอบเขตการศึกษา 6
- นยิ ามศพั ท์เฉพาะ 7
- ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ 8
บทท่ี 2 - วรรณกรรมและงานวิจยั ท่เี กีย่ วขอ้ ง 9
- แนวคดิ เกีย่ วกบั หลักสตู ร 9
- ความสำคญั ของหลกั สตู ร 10
- การพัฒนาหลักสตู ร 11
- การบรหิ ารหลักสตู ร 13
- สาระสำคัญเก่ยี วกับหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 14
- หลกั สตู รโรงเรียนวัดชินวราราม (เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์ พทุ ธศักราช 2553 18
(ฉบบั ปรับปรงุ 2561)
- แนวคดิ เกย่ี วกับการประเมินหลกั สตู ร 26
- การประเมินหลกั สูตร 30
บทที่ 3 วธิ ดี ำเนนิ การ
- กลุม่ เปา้ หมาย 32
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล 32
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมลู
- ประเมินการใช้และพฒั นาหลักสตู รจากผบู้ ริหารและครูผุส้ อน 33
บทท่ี 5 สรปุ ผล อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ
- สรุปผลการประเมินหลักสูตรโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม(เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์ 36
- อภปิ รายผลการประเมินหลักสูตร 42
- ขอ้ เสนอแนะ 43
บรรณานุกรม 44
ภาคผนวก

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 4

บทท่ี1
บทนำ

1. หลักการและเหตุผล

การศึกษามบี ทบาทและความสำคัญในการพฒั นาคณุ ภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน
ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาจะเป็นพื้นฐานในการคิด เพื่อพัฒนา
ตนเองให้ทันต่อสังคมโลก และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม
(เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2553 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2561) เป็นหลกั สตู รทพ่ี ฒั นาจากหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 โดยมกี ารพฒั นาปรับปรุงหลักสตู รของสถานศึกษามา
อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองแนวนโยบายใหม่ๆของภาครัฐสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและ
สอดคล้องกับบรบิ ทของสงั คม ที่เปลีย่ นไปตลอดเวลารวมทั้งเมือ่ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศคำสัง่ ที่
สพฐ 1239/2560 เรื่องให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เพื่อให้การ
จัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเป็นการพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพคนของชาติ ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศการยกระดับคุณภาพ
การศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ในโลก
ศตวรรษท่ี 21 และทดั เทยี มกับนานาชาติ ผู้เรยี นมศี ักยภาพในการแขง่ ขันและดำรงชีวติ อย่างสร้างสรรค์
ในประชาคมโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศใช้มาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวชีว้ ัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภมู ิศาสตร์ ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แทนมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เงื่อนไขและระยะเวลาการใช้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์
ในกลุ่มสาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2561) ใหเ้ ป็นไปดังนี้

1. ปกี ารศึกษา 2561 ให้ใช้ในชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 และ 4
2. ปกี ารศึกษา 2562 ใหใ้ ช้ในชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 2 4 และ 5
3. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป ให้ใช้ในทุกชั้นเรียนดังนั้น โรงเรียนวัดชินวราราม
(เจริญผลวิทยาเวศม์) จึงมกี ารพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 5

ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551

1 สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นใช้เองในโรงเรียนของตน คณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษา โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) ซึ่งประกอบด้วย
ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนผู้ปกครอง
จึงร่วมกันจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้น โดยมีจุดหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล
ทั้งด้านรา่ งกาย ความรู้ คณุ ธรรม มจี ติ สำนกึ ในการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก มงุ่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพซึ่งสอดคลอ้ งกับเป้าหมายและจุดเน้นของ ซึ่งมุ่ง
พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ การจัดการเรียนการสอนที่กำหนดไว้
ในหลักสูตรสถานศึกษา จึงมุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีทักษะสามารถนำความรู้ไปใช้ในการ
ดำรงชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมการเรียนมุ่งเน้นทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม
จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนได้ศึกษาสภาพ
ต่าง ๆ ที่เป็นปัญหา จุดเด่น/เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีการระดมทรัพยากรทั้งของสถานศึกษา และชุมชนมาใช้ และใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ทั้งในด้าน
การจัดเนือ้ หาสาระ สอื่ การเรยี น เทคนิควิธีการสอน กิจกรรมการเรยี นและการวัดผลประเมนิ ผล เพื่อให้
ได้หลักสูตรที่ดี มีความทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ ความก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ และ
ตอบสนองความต้องการของสังคม และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดังที่กรมวิชาการกำหนดไว้ว่า หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจาก
ขอ้ มูลของสถานศึกษาและชุมชน (กรมวชิ าการ,2545) หลกั สตู รใดก็ตามที่สามารถทำให้นักเรียนทุกคน
สำเร็จการศึกษาและมีคุณภาพตามหลักสูตรกำหนด หลักสูตรนั้นย่อมมีประสิทธิภาพผลิตผลของ
การศึกษาจะดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของหลักสูตรในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาน้ัน
ผู้จัดทำหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลอย่างกว้างขวาง เพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมาย ส่วนประกอบ และ
เนื้อหาสาระของหลักสูตร จนนำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน หลังจากได้จัดทำและใช้ไประยะ
หนึ่งแล้ว ต้องมีการประเมินหลกั สูตรซึ่งจะเป็นการรวบรวมและศึกษาข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อตรวจสอบหลักสูตรว่ามีคุณค่าบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ หลักสูตรมีข้อดีในเรื่องใด
และมีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (สมคิด พรมจุ้ย, 2551) โรงเรียนวัดชินวราราม
(เจรญิ ผลวิทยาเวศม์) ได้ดำเนนิ การใชห้ ลักสตู รโรงเรยี นวัดชินวราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม์) พุทธศักราช
2560 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2561) ในปกี ารศกึ ษา 2562 กบั นกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 - 6 ดังนนั้

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียน จึงเห็นว่าควรจะได้มีการประเมิน
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง
2561) เพื่อจะได้ทราบว่าสภาพการใช้หลกั สูตรสถานศึกษาเปน็ อย่างไร มีปัญหาข้อบกพร่อง และส่วนที่
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรและเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของ
สถานศึกษา ได้นำข้อมูลจากผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้เกิดประสิทธิภาพสูง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 6

ยิ่งขึ้น อีกทั้งครูผู้สอนยังใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้สามารถตอบสนอง
ความต้องการของท้องถิ่น และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
โดยได้ศึกษาวิธีการประเมินหลักสูตรจากตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีรูปแบบการ
ประเมินหลักสูตรอยู่หลายรูปแบบ คณะคณะผู้ศึกษาได้เลือกใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model
ของสตัฟเฟิล บีม (Stufflebeam, 1973) มาเป็นแนวทางในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาในครั้งนี้
เพราะพิจารณาเห็นว่า รูปแบบการประเมิน CIPP Model เป็นการประเมินทั้งระบบ โดยมองทุกส่วน
และ ทุกองค์ประกอบ และให้ความสำคัญของแต่ละส่วนใกล้เคียงกัน สามารถประเมินข้อมูลที่เก่ียวขอ้ ง
กับหลักสูตรได้ครอบคลุมทุกด้านทั้งในด้านตัวหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน
อุปกรณ์การสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกอ่ืนๆ (บุญศรี พรหมมาพันธุ์, 2551) เพื่อนำไปสู่คำตอบว่า
หลักสูตรมีความเหมาะสมเพียงไร การดำเนินงานเป็นไปตามความมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่ มีปัญหา
อุปสรรค หรือข้อผิดพลาดประการใด ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ว่าควรมีการปรับปรุงและพัฒนา
หลกั สตู รในดา้ นใด เพ่อื ใหเ้ ปน็ หลักสตู รท่มี ปี ระสิทธิภาพต่อไป

2. วตั ถปุ ระสงค์
2.1 ประเมินด้านองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยา

เวศม)์
2.2 ประเมนิ ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรระดบั กลุ่มสาระการ

เรียนรู้)
2.3 ประเมนิ การใช้และพัฒนาหลักสตู รจากผูบ้ รหิ ารและครผู สู้ อน
2.4 จัดทำรายงานการใช้และพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวดั ชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) เพ่ือ

สนองระบบประกันคณุ ภาพการศึกษา

3. ขอบเขตของการศึกษา
เพื่อให้การศึกษาอิสระครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คณะคณะผู้ศึกษาจึงกำหนด

ขอบเขตการศึกษาไว้ ดงั น้ี
3.1 ขอบเขตดา้ นกลุม่ เปา้ หมาย
3.1.1 ประชากร คือ ผู้บรหิ ารโรงเรยี น ครูผู้สอน นักเรียนโรงเรยี นวัดชินวราราม (เจริญ

ผลวิทยาเวศม)์ และผู้ปกครอง
3.1.2 กล่มุ ตัวอย่างทใ่ี หข้ ้อมลู ในการประเมินคร้งั น้ีประกอบดว้ ย
- ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย กลุ่มบริหารวิชาการและ

หัวหน้ากลมุ่ สาระการเรยี นรู้ 8 กลุ่มสาระ ตวั แทนนักเรยี น จำนวน 25 คน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 7

3.2 ขอบเขตด้านเน้ือหา
การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินหลักสูตรโดยใช้แบบนิเทศ
ติดตามตรวจสอบคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปทมุ ธานี เขต 1 เพอ่ื รวบรวมข้อมลู
3.3 พื้นทด่ี ำเนนิ การ คือ โรงเรยี นวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)
3.4 ระยะเวลาในการดำเนนิ การ ปีการศึกษา 2562

4. นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน คณะคณะผู้ศึกษาจึงกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะไว้ใช้ใน

การศกึ ษาไว้ ดังนี้
4.1 การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการรวบรวม พิจารณา วิเคราะห์หลักสูตร เพ่ือ

พจิ ารณาตัดสินคุณค่าของหลักสตู รสถานศึกษา ในด้านบริบทของหลกั สูตร ด้านปจั จัยในการใช้หลักสูตร
ดา้ นกระบวนการใชห้ ลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสตู รโรงเรียนวัดชนิ วราราม(เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม์)

4.2 การประเมินบริบทของหลักสูตร หมายถึง การประเมินความสอดคล้องของ
หลักสูตรสถานศึกษากับสภาพความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นตลอดจนความถนัด ความสนใจและ
ความสามารถของผเู้ รียน และความสอดคล้องของหลกั สูตรสถานศึกษากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในด้านวิสยั ทศั น์ โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหาหลกั สตู รตามเกณฑ์
ที่กำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนวัดชินวราราม
(เจริญผลวทิ ยาเวศม)์ ดังนี้

4.3 หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)
พทุ ธศักราช 2551 (ฉบับปรบั ปรงุ 2553)

4.4 สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) สำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

4.5 ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)
ปกี ารศกึ ษา 2562

4.6 ครู หมายถึง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ตัวแทนครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอน ซึ่งทำหน้าที่หลัก
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดบั การศึกษาข้ันพื้นฐานในโรงเรยี นวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยา
เวศม์) ปกี ารศึกษา 2562

4.7 นักเรียน หมายถึง ตัวแทนนักเรียนในคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่ายและตัวแทนนักเรียนใน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) 2562 ที่จัดการเรียนการ
สอนตามหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประมถ
ศกึ ษาปทุมธานี เขต 1

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 8

4.8 คณะกรรมภาคี 4 ฝ่าย หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนจากชุมชน ผู้ปกครอง ตัวแทนครู ตัวแทน
นักเรียนทีถ่ กู แต่งตงั้ จากทางโรงเรียนวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ 2562

5. ประโยชนท์ คี่ าดวา่ จะได้รับ
ผลการศึกษาครงั้ นจ้ี ะมปี ระโยชนต์ ่อผู้บรหิ ารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศกึ ษาและ

ผูท้ เี่ ก่ยี วขอ้ งในสถานศึกษา ดังน้ี
5.1 โรงเรยี นวัดชนิ วราราม (เจริญผลวิทยาเวศม)์ นำผลการศกึ ษาไปใช้ในการพัฒนาการบริหาร

จัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างย่ิง
ตอ่ การพฒั นาผ้เู รยี น

5.2 โรงเรียนทั่วไป ผู้บริหารโรงเรียนและและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา น ำผล
การศึกษาที่ได้ไปเป็นแนวทางหรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองให้มี
ประสิทธิภาพย่ิงข้ึน

5.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สามารถรวบรวมข้อมูลผล
การศึกษาเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัด มาวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการ
และการพฒั นาหลกั สตู รใหม้ ปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้

5.4 ใช้ผลการประเมนิ หลักสตู รสถานศกึ ษารองรับระบบประกนั คณุ ภาพการศึกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 9

บทท่ี 2
วรรณกรรมและงานวิจยั ที่เกีย่ วขอ้ ง

การศึกษาเรื่อง การประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) สังกัด
สำนกั งานเขตพนื้ ที่การศึกษาประถมศึกษาปทมุ ธานี เขต 1 เพ่ือจดั ทำรายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลักสูตร
สถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 คณะผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตามลำดับดงั ตอ่ ไปนี้

2.1 แนวคิดเก่ียวกับหลกั สตู ร
2.2 สาระสำคัญเกยี่ วกับหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551
2.3 หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2561)
2.4. แนวคิดเกี่ยวกบั การประเมนิ หลกั สูตร
2.5 การประเมนิ หลกั สูตรสถานศึกษา
2.6 บริบทของโรงเรียนวัดชินวราราม (เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์
2.7 งานวจิ ยั ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง
2.8 กรอบแนวคิดการวิจัย

2.1. แนวคดิ เก่ียวกับหลักสูตร
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรพบว่า แนวคิดพื้นฐานสำคัญ

ของหลักสูตร ครอบคลุมความหมายของหลักสูตร ความสำคัญของหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และการบริหารหลักสูตร มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้ให้
ความหมายไวอ้ ย่างกวา้ งขวางแตกตา่ งกัน มรี ายละเอยี ดดังต่อไปน้ี

2.1.1 ความหมายของหลกั สูตร
พยนต์ ง่วนทอง (2553) ได้ให้ความหมายของหลกั สตู รไวว้ ่า หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาสาระที่
จัดไว้เป็นระบบ หรือมวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้งภายใน
และภายนอกโรงเรียน ซึ่งจัดให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ คุณธรรม และ
พัฒนาการทางด้านตา่ ง ๆ ตามจุดมุ่งหมายของการศกึ ษา
เสาวนี ตรีพุทธรัตน์ (2551) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ เอกสารที่ประกอบไปด้วย
ความมุ่งหมายของการให้การศึกษา เนื้อหาวิชา เวลาเรียน กิจกรรมและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียน
การวัดและประเมนิ ผลการเรียนการสอน
เปร่ือง จนั ดา (2549) ไดใ้ หค้ วามหมายของหลักสตู รว่า หลักสตู ร หมายถงึ แนวความรู้และมวล
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเอกสารก็ได้ โดยประกอบด้วยหลักการ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 10

จุดหมาย เนอ้ื หาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกระบวนการเรียนที่หลากหลายตลอดจนการ
วัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ อนั แสดงถึงประสิทธิผลทเ่ี กดิ ข้ึนในตวั ผู้เรียนเพ่ือพฒั นาคุณภาพของผู้เรียน
ให้เป็นผลเมอื งดขี องสงั คม และประเทศชาติต่อไปตามจุดหมายและแนวทางของหลกั สตู รท่ีได้กำหนดไว้

พสิ ณุ ฟองศรี (2549) ให้ความหมายของหลักสูตรไวว้ ่า หลกั สตู ร คือ การวางแผนการจัดระบบ
ทางการศึกษาเกี่ยวกับมวลวิชา ประสบการณ์ต่างๆ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวทางส ำหรับ
การปฏบิ ัตใิ ห้ผเู้ รียนมคี ุณลักษณะต่างๆท่พี ึงประสงคต์ ามจุดม่งุ หมายของหลักสูตร

วารรี ตั น์ แกว้ อุไร (2549) ใหค้ วามหมายของหลักสตู รไวว้ ่า หลักสตู รสถานศกึ ษา ประกอบด้วย
การเรียนรู้และประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำ
สาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาคจัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละปีหรือภาคและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากจุดหมายของ
หลักสตู รการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน

จากความหมาย สรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาสาระที่จัดไว้เป็นระบบ หรือมวล
ประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนซ่ึง
จัดให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะคุณธรรมและ
พฒั นาการทางด้านต่าง ๆ ตามจุดมงุ่ หมายของการศึกษา

2.1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษา เพราะในการจัด
การศกึ ษาท่ีจะบรรลุเปา้ หมายได้นัน้ ต้องอาศัยหลกั สูตรเปน็ เครื่องมือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายโดยชี้นำ
ทางในการจัดความรู้และประสบการณแ์ กผ่ เู้ รียนซ่ึงครูต้องปฏบิ ัติตามเพื่อให้ผเู้ รยี นได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่
จุดหมายเดียวกนั หลกั สูตรจึงเปน็ หัวใจสำคญั ของการศึกษา นอกจากน้ี ยงั เปน็ เครื่องชถ้ี งึ ความเจริญของ
ชาติ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ซึ่งมี
นกั วิชาการไดก้ ลา่ ว ดงั น้ี
เสาวนี ตรีพุทธรตั น์ (2551) ไดก้ ลา่ วว่า หลกั สูตรเป็นแนวทางในการจัดการศกึ ษา และถือเป็น
เครื่องมือในการถ่ายทอดเจตนารมณห์ รือเป้าหมายของชาติสูก่ ารปฏบิ ัติดงั นั้นหลักสูตรจึงเปรียบเสมือน
เข็มทิศที่คอยกำหนดและบอกทิศทางการศึกษาว่า ควรเดินไปในทิศทางใด และเดินอย่างไรจึงจะถึง
เปา้ หมายทก่ี ำหนด

ดังนั้นหลกั สตู รจึงเปน็ หัวใจของการศึกษา ซึง่ มคี วามสำคัญดังน้ี
1) หลกั สูตรเป็นเครอื่ งมอื ในการพัฒนาคน
2) หลกั สตู รเปน็ เครอื่ งมอื บง่ ชถ้ี งึ ความเจรญิ ของประเทศ
3) หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐาน
4) หลักสูตรเปน็ หลกั และแนวทางปฏิบตั ขิ องครู
5) หลกั สูตรมีความสำคัญตอ่ การเรียนการสอน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 11

สนุ ยี ์ ภพู่ ันธ์ (2546) ได้กล่าวถึงความสำคญั ของหลักสูตร สรุปไดด้ ังนี้
1) หลักสูตรเป็นแผนและแนวทางในการจัดการศึกษาของรัฐ ให้บรรลุผลสำเร็จตาม

นโยบายและเปา้ หมาย
2) หลักสูตรเป็นตัวกำหนดขอบเขตเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การ

ประเมินผลและแหลง่ ทรัพยากรในการจัดการศกึ ษา
3) หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการควบคุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและ

คุณภาพของผู้เรียนให้สอดคล้องตามนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและความต้องการ
ทอ้ งถ่นิ

4) หลักสูตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตาม
จดุ มงุ่ หมายของการศึกษา

5) หลกั สูตรเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ สถานท่ี นวัตกรรมและเทคโนโลยีท่ี
จำเป็นตอ้ การจดั การศึกษา

6) หลักสูตรเป็นตัวกำหนด ลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษาในด้าน
ความรู้ความสามารถ ความประพฤติทักษะ และเจตคติของผูเ้ รียนในการอยูร่ ว่ มกันในสังคมและบำเพ็ญ
ตนใหเ้ ป็นประโยชนต์ อ่ ชุมชนและชาตบิ า้ นเมือง

สรุปได้ว่า หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษา เพราะหลักสูตร เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ทางด้านพฤตกิ รรมและเจตคติทดี่ งี ามใหเ้ กดิ กับผ้เู รยี นตามจดุ มุ่งหมายของการจัดการศึกษา

2.1.3 การพัฒนาหลักสตู ร
การพฒั นาหลักสตู รเป็นภารกิจท่สี ำคัญ ซงึ่ สุนีย์ ภู่พนั ธ์ (2546) ได้กลา่ วเกยี่ วกับเรื่องนี้ว่า การ
พัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงเป็น
การเปล่ยี นแปลงเพยี งบางส่วน เพือ่ ให้เหมาะสมกบั โรงเรยี นหรือระบบโรงเรียน จุดมงุ่ หมายของการสอน
วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งประเมินผลโดยไม่เปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานหรือรูปแบบหลักสูตร ส่วนการ
เปลี่ยนแปลง หมายถึง การแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิมเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ การ
พัฒนาหลกั สตู รมีรปู แบบและขั้นตอน ตั้งแต่ ศึกษาวเิ คราะห์ความต้องการของผเู้ รียนและสังคม กำหนด
จุดมุ่งหมาย การเลือกเนื้อหา สาระ การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ การคัดเลือกประสบการณ์ การเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล แนวทางการจัด
หลักสูตรของสถานศึกษา สามารถกำหนดเป็นขั้นตอนการดำเนินงานได้ตามลำดับ ดังน้ี (ธีรชัย เนตร
ถนอมศกั ด,ิ์ 2544)

ขน้ั ท1ี่ : ศึกษาขอ้ มูลพื้นฐาน
ขั้นท2ี่ : การกำหนดหรือทบทวนวิสยั ทัศนภ์ ารกจิ เป้าหมาย
ขั้นท3่ี : กำหนดคุณลักษณะอนั พึงประสงค์
ขนั้ ท4่ี : การกำหนดสดั ส่วนเวลาเรยี น

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 12

ขั้นท่ี5 : วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคจากมาตรฐาoการเรียนรู้
ช่วงชัน้

ข้ันท6่ี : กำหนดสาระการเรยี นรู้ในแต่ละกลมุ่ สาระเปน็ รายปีหรอื รายภาค
ขน้ั ท7ี่ : การจดั ทำคำอธบิ ายรายวิชา
ขัน้ ท8ี่ : การจัดหนว่ ยการเรยี นรู้
ขั้นท9่ี : การจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้
การพฒั นาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญทน่ี ักวิชาการ หรือครู ตอ้ งดำเนินการ เพ่ือปรับพัฒนา
ให้เข้ากับสังคมท่ีเปลี่ยนแปลงไป และต้องดำเนินการอยา่ งมีขั้นตอน ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทัง้ ก่อนการนำ
หลกั สูตรไปใช้ระหว่างการดำเนนิ การใช้หลักสตู ร หรือหลงั การใช้หลักสูตรเสรจ็ สิ้น
2.1.4 การนำหลกั สตู รไปใช้
การใช้หลักสูตรเป็นขั้นตอนของการน าหลักสูตรแกนกลางสู่การปฏิบัติโดยการนำอุดมการณ์
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดี แล้วไปสู่การ
พัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการนำจุดหมายหลักสูตร เนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดทำไว้ไปจัด
ประสบการณแ์ ละกิจกรรมให้กบั ผู้เรยี น นกั พัฒนาหลักสตู รต่างยอมรับและให้ความสำคัญแก่ข้นั ตอนการ
ใช้หลกั สูตรวา่ เป็นขนั้ ตอนทส่ี ำคัญยงิ่ ในกระบวนการพฒั นาหลกั สตู ร (ร่งุ นภา นตุ ราวงศ์และคณะ, 2552)
โบซอง (Beauchamp, 1962) กล่าวว่า การใช้หลักสูตรเป็นการนำหลักสูตรที่จัดทำแลว้
สู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นขั้นตอนที่ท้าทายต่อ
ความสำเรจ็ ของหลักสูตร
ศรีสมร พุ่มสะอาด (2544) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องที่
ครอบคลุมงานทสี่ ำคญั 3 ด้าน คือ

1) การวางแผนหรือเตรียมการก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกันท้ัง
บุคคล กระบวนการทำงาน ทรัพยากร ครูต้องมีทักษะในการใช้หลักสูตร รวมถึงทักษะเกี่ยวกับ
ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนการปกครองช้ันเรียน และการวัดและประเมินผลการเรียน และต้องเข้าใจ
ทฤษฎที ี่เกยี่ วข้องดว้ ย

2) การนำหลกั สูตรไปใช้เป็นกิจกรรมสำคัญที่ก่อให้เกดิ ความสำเร็จของหลักสูตร
ทั้งนี้ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การวดั และประเมินผล การแนะแนว การผลิตและใชส้ อ่ื

3) การประเมินการน าหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำ ต่อเนื่องกัน
ตั้งแต่การวางแผนจัดทำหลักสูตร จนกระทั่งได้หลักสูตรซึ่งเป็นแม่บทจนถึงนำหลักสตู รไปใช้ และมีการ
ติดตามประเมินผลเพื่อตรวจสอบสเตนเฮาส์ (Stenhouse, 1980) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร
ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรว่า เป็นกระบวนการที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และ
ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ และผู้ที่มีบทบาทอย่างแท้จริงในความสำเร็จของ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 13

หลักสูตร คือ ผู้ใช้หลักสูตรซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับใช้หลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบท
สภาพแวดลอ้ มของตนเอง

สงดั อทุ รานนั ท์ (2532) ได้แสดงความคิดเกีย่ วกบั การใช้หลักสตู รว่าเป็นข้ันตอน
ที่มคี วามสำคญั ในกระบวนการพฒั นาหลักสูตร เพราะสามารถบ่งชี้ถึงความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวของ
หลักสูตรได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าหลักสูตรจะได้รับการออกแบบไว้อย่างดีเพียงใดก็ตาม ถ้าหากการใช้
หลักสูตรดำเนินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่ดีเพียงพอ ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะบังเกิดข้ึน
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กระบวนการใช้ หลักสูตรเป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะจะต้องมีการ
ดำเนินงานท่เี กย่ี วข้องกบั หน่วยงานตา่ ง ๆ และบุคคลจำนวนมาก

เคริ ์ส และวอรค์ เกอร์ (Kirst &Walker, 1971) กลา่ วว่าการใชห้ ลกั สตู รจะต้องเกีย่ วข้อง
และประสานงานกับบุคคลต่าง ๆ ในหลายระดับทั้งระดับชาติระดับท้องถิ่น และระดับสถานศึกษา ซ่ึง
ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจ ความคิดเห็นและมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น เดียวกับ ไอซ์เนอร์และ ฮาสส์
(Eisner, 1985; Hass, 1987) ที่แสดงความเห็นว่าในการนำหลักสตู รที่จดั ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วไปใชน้ นั้
จนต้องดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่าย ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานระดับท้องถิ่น และสถานศึกษา
การจะดำเนนิ งานให้บรรลเุ ปา้ หมายจงึ ไมใ่ ช่เร่ืองงา่ ย และมีหลายกรณที พี่ บว่าผูใ้ ชห้ ลกั สตู รนนั้ ดำเนนิ การ
ไปในทิศทางที่แตกต่างไป จากเจตนารมณ์ของคณะผู้ออกแบบจัดทำหลักสูตร (Reinmannand &
Mandl, 1999) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้นั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญและมีความ
ซับซ้อน จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการใน
เรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดีมีระยะเวลาที่เพียงพอในการดำเนินการ และที่สำคัญ คือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จะต้องมคี วามความเขา้ ใจอยา่ งชดั เจน จึงจะทำให้การใช้หลกั สูตรประสบความสำเรจ็

2.1.5 การบริหารหลกั สตู ร
การบรหิ ารหลักสูตรเป็นกิจกรรมสำคัญ เป็นการบริหารกจิ กรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนเก่ียวกับการ
ปรบั ปรงุ พฒั นาการเรียนการสอนใหไ้ ดผ้ ลดีและมปี ระสิทธภิ าพสงู สุด

วิชยั วงษใ์ หญ่ (2535) กล่าวถึงการบริหารหลักสตู รไวว้ า่ เปน็ กระบวนการต่อเน่ืองของ
วงจรการพัฒนาหลักสูตรอัน ได้แก่ การดำเนินการตามแผนการต่าง ๆ เช่น การจัดโปรแกรมการเรียน
การสอน การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน การเตรียมคมู่ ือสำหรับการเรียน การเตรยี มความพร้อมของ
ครู การนิเทศกำกับดูแล และการประเมินผลการเรียนซึ่งสอดคล้องกับ นักวิชาการศึกษาหลายท่านที่ได้
เสนอขอบเขตการบริหารหลักสูตรท่ีสอดคล้องกนั สามารถสรุปได้ ดงั นี้

1) งานบริหารและการบริการหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวกับงานเตรียมบุคลากร การจัด
ครเู ขา้ ทำการสอนตามหลกั สูตร การบรหิ ารและบริการวสั ดุ หลกั สูตรการบรหิ ารหลกั สูตรภายในโรงเรียน

2) งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร ประกอบด้วย การปรับปรุง
หลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น การจัดทำแผนการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 14

3) งานสนบั สนนุ ส่งเสรมิ การใช้หลักสูตร การนเิ ทศการศึกษา และการตั้งศูนย์
การบรกิ ารเพอ่ื สนบั สนนุ การศึกษา

2.2. สาระสำคญั เกี่ยวกบั หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551
กระทรวงศึกษาธิการ (2552) ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช

2551 เพื่อให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจดั ทำหลักสูตรสถานศึกษา
และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี
คุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและแสวงหา
ความรเู้ พ่ือพฒั นาตนเองอยา่ งต่อเน่ืองตลอดชีวติ มรี ายละเอียดโดยสรปุ ดงั นี้

2.2.1 วิสยั ทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น
มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพล
โลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้ และ
ทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติท่ีจำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดย
มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม
ศักยภาพ
2.2.2 หลกั การ
หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน มหี ลักการท่สี ำคัญ ดงั น้ี

1) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการ
เรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ทักษะ เจตคติและคุณธรรมบนพื้นฐาน
ของความเป็นไทยควบคู่กับความเปน็ สากล

2) เป็นหลักสูตรการศกึ ษาเพอ่ื ปวงชน ทปี่ ระชาชนทุกคนมีโอกาสได้รบั การศึกษาอยา่ ง
เสมอภาค และมีคณุ ภาพ

3) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาให้สอดคล้องกบั สภาพและความต้องการของท้องถ่นิ

4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้เวลาและการ
จัดการเรียนรู้

5) เป็นหลักสตู รการศึกษาทเี่ น้นผู้เรียนเปน็ สำคัญ
6) เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
ครอบคลมุ ทกุ กลมุ่ เปา้ หมาย สามารถเทียบโอนผลการเรยี นรู้และประสบการณ์

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 15

2.2.3 จดุ หมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีความสุขมี
ศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ
การศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน ดงั นี้

1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและ
ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง

2) มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมี
ทักษะชวี ติ

3) มสี ุขภาพกายและสขุ ภาพจิตทีด่ มี ีสุขนิสัย และรกั การออกกำลังกาย
4) มคี วามรกั ชาติ มจี ติ สำนกึ ในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมน่ั ในวิถีชีวิตและ
การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ
5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา
สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง
มีความสุข
2.2.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรยี น และคณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มี
คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ดังนี้
สมรรถนะสำคญั ของผเู้ รยี น
หลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พื้นฐาน มงุ่ ใหผ้ ้เู รียนเกดิ สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังน้ี
1) ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมใน
การใช้ภาษาถา่ ยทอดความคิด ความรู้ความเขา้ ใจ ความรู้สึก และทศั นะของตนเองเพอ่ื แลกเปล่ยี นข้อมูล
ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้ง การเจรจาต่อรอง
เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและ
ความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเอง
และสงั คม
2) ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์
การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์
ความร้หู รอื สารสนเทศเพอื่ การตัดสินใจเก่ียวกับตนเองและสังคมได้อยา่ งเหมาะสม
3) ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกตอ้ งเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและขอ้ มูลสารสนเทศเข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 16

ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดข้ึน
ตอ่ ตนเอง สังคมและส่ิงแวดลอ้ ม

4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ
ไปใชใ้ นการดำเนนิ ชวี ติ ประจำวัน การเรยี นรดู้ ้วยตนเอง การเรียนรูอ้ ย่างต่อเน่ือง การทำงาน และการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแยง้
ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อม และการรู้จัก
หลกี เล่ยี งพฤติกรรมไมพ่ ึงประสงคท์ ส่ี ่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลอื ก และใช้เทคโนโลยี
ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้
การสอื่ สาร การทำงาน การแก้ปญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคณุ ธรรม คุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก (world
citizen) ดังน้ี

1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของ
ชาติดำรงไว้ซ่งึ ความเปน็ ชาติไทย ศรทั ธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทดิ ทนู สถาบนั พระมหากษตั ริย์

2) ซ่ือสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง
ประพฤตติ รงตามความเปน็ จริงต่อตนเองและผู้อื่นท้ังทางกาย วาจา ใจ

3) มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์และ
ระเบยี บขอ้ บังคับของครอบครวั โรงเรียนและสังคม

4) ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลกั ษณะทแี่ สดงออกถึงความต้ังใจ เพียรพยายามในการเรียน
แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนร้ทู ัง้ ภายในและภายนอกโรงเรยี น

5) อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่าง
พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมี
ความสขุ

6) มุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและรับผิดชอบ
ในการทำหนา้ ท่ี การงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพอื่ ใหง้ านสำเรจ็ ตามเปา้ หมาย

7) รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า
ร่วมอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการ
ส่ือสารได้อย่างถูกตอ้ งและเหมาะสม

8) มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ
สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้นโดยไม่หวัง
ผลตอบแทนสถานศึกษาสามารถกำหนดคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์เพิม่ เติมใหส้ อดคล้องตามบรบิ ทและ
จุดเนน้ ของตนเอง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 17

2.2.5 มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน จึงกำหนดใหผ้ ู้เรยี นเรยี นรู้ 8 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้พน้ื ฐาน ได้แก่
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สงั คมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา ศิลปะ
การงานอาชีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ก ำหนดมาตรฐาน
การเรียนรู้เป็นเป้าหมาย สำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรยี นรู้ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้
ปฏิบัติได้มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้น
มาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลือ่ นพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการ
เรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไรและประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือใน
การตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการ
ประเมินคณุ ภาพภายนอก ซงึ่ รวมถึงการทดสอบระดบั เขตพ้ืนท่กี ารศึกษา และการทดสอบระดับชาติ
2.2.6 ตัวช้ีวัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่ง
สะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนด
เนื้อหาจัดทำหน่วยการเรียนรู้จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อ
ตรวจสอบคณุ ภาพผู้เรยี น

1) ตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาค
บังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีท่ี 6)

2.7 กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพ่ือ
ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ท้ังร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม
จริยธรรม มีระเบยี บวนิ ยั ปลูกฝงั และสรา้ งจิตสำนึกของการทำประโยชนเ์ พ่อื สังคมสามารถจัดการตนเอง
ไดแ้ ละอยูร่ ว่ มกับผู้อืน่ อยา่ งมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี น แบง่ เป็น 3 ลกั ษณะ ดังน้ี

1) กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์
สิ่งแวดล้อมสามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และ
อาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็น
กิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแกผ่ ปู้ กครองในการมสี ่วนรว่ มพฒั นาผเู้ รียน

2) กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำ และ
ผู้ตามที่ดีความรบั ผิดชอบการทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล
การชว่ ยเหลือแบ่งปนั กนั เออ้ื อาทร และสมานฉนั ท์ โดยจดั ให้สอดคล้องกบั ความสามารถ ความถนดั และ
ความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผนปฏิบัติ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 18

ตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและ
สอดคลอ้ งกับวฒุ ภิ าวะของผู้เรยี นบริบทของสถานศึกษาและท้องถน่ิ กจิ กรรมนักเรียนประกอบดว้ ย

(1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษา
วิชาทหาร

(2) กิจกรรมชุมนุม ชมรม
(3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้
ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร
เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสา
พฒั นาต่างๆ กิจกรรมสรา้ งสรรค์สงั คม
2.3. หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2553 (ฉบับปรับปรุง
2561)
2.3.1 หลกั การ
หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) ได้พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กรอบหลักสูตรท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ซึ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพใน
การศึกษาต่อ และประกอบอาชีพที่สุจริต ตลอดจนการรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น โดย
มุ่งหวังให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็น
สำหรับการดำรงชีวิตหตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้การจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเป็นการพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพคนของชาติ ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ การยกระดับคุณภาพ
การศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ในโลก
ศตวรรษท่ี 21 และทดั เทียมกบั นานาชาติ ผเู้ รยี นมีศกั ยภาพในการแข่งขันและดำรงชวี ิตอย่างสร้างสรรค์
ในประชาคมโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศใช้มาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวช้ีวัดกลุม่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แทนมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เงื่อนไขและระยะเวลาการใช้
มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตัวช้ีวัด กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภมู ศิ าสตร์ ใน
กลมุ่ สาระการเรยี นร้สู ังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2560) ให้เปน็ ไปดงั นี้
1. ปกี ารศึกษา 2561 ให้ใช้ในชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ 1 และ 4 และชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
2. ปีการศกึ ษา 2562 ให้ใชใ้ นชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 2 4 และ 5 และชั้นมัธยมศกึ ษาปีท่ี 1 2

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 19

45
3. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้ในทุกชั้นเรียน ดังนั้น โรงเรียนวัดชินวราราม

(เจรญิ ผลวิทยาเวศม์) จงึ มีการพัฒนาปรับปรงุ หลักสตู ร ใหส้ อดคลอ้ งกับ มาตรฐานการเรียนรู้และตวั ชี้วัด
กลุม่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551

2.3.2 จดุ หมาย
หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์ มุ่งพัฒนาผูเ้ รียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก
เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึง
กำหนดเปน็ จุดหมายเพ่ือใหเ้ กดิ กับผ้เู รยี น เมอื่ จบการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน ดังน้ี

2.3.2.1 ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม ตามโครงสร้างเวลา
เรยี นท่ีหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐานกำหนด

2.3.2.2 ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่
สถานศกึ ษากำหนด

2.3.2.3 ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์
การประเมนิ ตามท่สี ถานศึกษากำหนด

2.3.2.4 ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การ
ประเมนิ ตามทีส่ ถานศึกษากำหนด

2.3.2.5 ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การ
ประเมนิ ตามท่ีสถานศึกษากำหนด

สำหรับการจบการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง
การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตาม
อัธยาศัย ให้คณะกรรมการของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ในแนวปฏิบัติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน สำหรบั กลมุ่ เปา้ หมายเฉพาะ

2.3.3 วสิ ยั ทศั น์โรงเรียน
โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) เป็นแหล่งเรียนรู้ ปลูกฝังการอนุรักษ์

ศลิ ปวัฒนธรรมไทย ให้ผเู้ รยี นเป็นคนดีมคี ุณธรรม จริยธรรม มีวชิ าความร้ทู ไ่ี ด้มาตรฐานการทนั กระแสโลก
ปัจจบุ นั สามารถอย่ใู นสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภยั ภายใต้หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง

2.3.4 สมรรถนะสำคัญของผเู้ รยี น
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5
ประการ ดงั น้ี

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 20

2.3.4.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและ
ส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถา่ ยทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความร้สู ึก และทศั นะของตนเอง
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้ง
การเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลัก
เหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อ
ตนเองและสงั คม

2.3.4.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิด
สังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การ
สรา้ งองคค์ วามรหู้ รอื สารสนเทศเพอ่ื การตดั สินใจเกีย่ วกบั ตนเองและสังคมได้อยา่ งเหมาะสม

2.3.4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและ
อุปสรรคตา่ ง ๆ ท่เี ผชิญไดอ้ ย่างถูกต้องเหมาะสม บนพ้นื ฐานของหลักเหตุผล คณุ ธรรม และข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มา
ใช้ในการป้องกนั และแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถงึ ผลกระทบที่เกิดข้ึนต่อ
ตนเอง สังคม และสิ่งแวดลอ้ ม

2.3.4.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการ
ตา่ ง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชวี ิตประจำวัน การเรยี นรู้ด้วยตนเอง การเรยี นรู้อย่างต่อเน่ือง การทำงาน และการ
อยู่รว่ มกนั ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสมั พันธ์อันดรี ะหว่างบุคคล การจัดการปญั หาและความขัดแย้ง
ตา่ ง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทนั กับการเปล่ียนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จัก
หลีกเลีย่ งพฤติกรรมไมพ่ ึงประสงคท์ ี่สง่ ผลกระทบต่อตนเองและผู้อ่ืน

2.3.4.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้
เทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ และมที กั ษะกระบวนการทางเทคโนโลยเี พ่ือการพฒั นาตนเองและสังคม ในด้าน
การเรียนรู้ การส่ือสาร การทำงาน การแกป้ ญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ ถูกตอ้ งเหมาะสม และมีคณุ ธรรม

2.3.5 คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์
หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ เพอ่ื ให้สามารถอยู่รว่ มกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสขุ ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ดงั นี้

1) รกั ชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์
2) ซอ่ื สัตย์สุจรติ
3) มีวินัย
4) ใฝเ่ รียนรู้
5) อยู่อย่างพอเพียง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 21

6) ม่งุ มัน่ ในการทำงาน
7) รกั ความเปน็ ไทย
8) มีจิตสาธารณะ

คา่ นิยมหลกั ของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1) มีความรกั ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ ์
2) ซื่อสตั ย์ เสยี สละ อดทน มอี ุดมการณใ์ นส่งิ ท่ีดงี ามเพื่อสว่ นรวม
3) กตญั ญูต่อพ่อแม่ ผปู้ กครอง ครูบาอาจารย์
4) ใฝ่หาความรู้ หมนั่ ศกึ ษาเลา่ เรียน ทั้งทางตรงและทางออ้ ม
5) รกั ษาวฒั นธรรมประเพณีไทยอนั งดงาม
6) มีศีลธรรม รกั ษาความสตั ย์ หวังดีตอ่ ผู้อน่ื เผื่อแผ่และแบง่ ปัน
7) เข้าใจเรียนรูก้ ารเปน็ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษตั ริยท์ รงเป็นประมุขอันถกู ต้อง
8) มีระเบยี บวนิ ยั เคารพกฎหมาย ผนู้ อ้ ยรูจ้ ักการเคารพผู้ใหญ่
9) มีสติ ร้ตู วั รู้คิด รู้ทำ รปู้ ฏิบัตติ ามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว
10) รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย
จำหนา่ ย และพร้อมท่ีจะขยายกจิ การเมือ่ มีความพรอ้ ม เมอ่ื มีภมู คิ มุ้ กันทด่ี ี

11) มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มี
ความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลกั ของศาสนา

12) คำนึงถงึ ผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติ มากกวา่ ผลประโยชน์ของตนเอง
2.3.6 กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นโรงเรยี นวดั ชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์)
กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี นเป็นกิจกรรมทส่ี ถานศึกษาจัดไว้ให้ผเู้ รียนเข้าร่วมตามความถนดั และความ
สนใจตามศักยภาพของตนเอง โดยเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาครอบคลุมทั้ง
ด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และ
สามารถบริหารการจัดการตนเองไดก้ จิ กรรมพฒั นาผูเ้ รียน แบง่ เป็น 3 ลกั ษณะ ดังนี้

1) กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับ
ความสามารถความถนัดและความสนใจโดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ดว้ ยกระบวนการทาง
จิตวิทยาการแนะแนวให้ครอบคลุมด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัวและสงั คม กิจกรรมสำคัญในการพัฒนา
ได้แก่ กิจกรรมการรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น กิจกรรมการปรับตัวและดารงชีวิต
กจิ กรรมแสวงหาและใช้มูลสารสนเทศกจิ กรรมการตัดสนิ ใจและแก้ปัญหา เป็นตน้

2) กจิ กรรมนกั เรียน
(1) กิจกรรมชุมนุม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับ

ความสามารถความถนัด และความสนใจ โดยเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 22

วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มกิจกรรม
สำคัญในการพัฒนา ได้แก่ชุมนุมหรือชมรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นตามความเหมาะสมและ
สอดคลอ้ งกบั วฒุ ิภาวะของผเู้ รียนและบริบทของสถานศึกษาและทอ้ งถิน่

(2) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย
ความเปน็ ผ้นู าผู้ตามที่ดคี วามรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จกั แก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม
ความมเี หตุผล การชว่ ยเหลอื แบ่งปันกนั การประนีประนอม เพอื่ ส่งเสริมใหผ้ ู้เรยี นเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ท่ีมคี วามสมบูรณ์พรอ้ มทง้ั ด้านรา่ งกาย จิตใจ อารมณส์ ังคมและสติปัญญา เป็นต้น

3) กิจกรรมเพ่ือสงั คมและสาธารณประโยชน์ เปน็ กิจกรรมทีส่ ่งเสริมและให้ผู้เรียนได้ทำ
ประโยชน์ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจในลักษณะอาสาสมัครเพื่อแสดงถึงความ
รับผิดชอบ ความดีงามความเสียสละต่อสังคม มีจิตใจมุ่งทำประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
กิจกรรมสำคัญได้แก่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม กิจกรรมดำรงรักษา สืบสาน
ศาสนา ศลิ ปะและวฒั นธรรม กิจกรรมพฒั นานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพ่ือสงั คมเปน็ ต้น

2.3.7 การวดั และประเมินผลการเรยี นรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการ
ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้
ประสบผลสำเร็จนั้นผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาต รฐาน
การเรียนรู้สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ใน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขต
พื้นที่การศึกษาและระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
โดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จ
ทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและ
เรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับช้ัน
เรียน ระดบั สถานศึกษา ระดบั เขตพนื้ ทก่ี ารศึกษา และระดบั ชาติ มีรายละเอียด ดงั นี้

1) การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการ
เรยี นรู้ผู้สอนดำเนินการเป็นปกตแิ ละสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่าง
หลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิน้ งาน/
ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใชแ้ บบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเปน็ ผู้ประเมนิ เองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อม
เสริมการประเมินระดบั ชัน้ เรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผเู้ รยี นมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้อัน
เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการ
พัฒนาปรับปรงุ และส่งเสริมในด้านใด นอกจากนยี้ ังเป็นข้อมูลให้ผ้สู อนใช้ปรบั ปรุงการเรียนการสอนของ
ตนดว้ ย ทัง้ นี้โดยสอดคล้องกบั มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชีว้ ดั

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 23

2) การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสนิ
ผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนคุณลักษณะอันพึ ง
ประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเปา้ หมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมท้ัง
สามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติผลการป ระเมินระดับ
สถานศกึ ษาจะเป็นข้อมลู และสารสนเทศเพ่อื การปรบั ปรุงนโยบาย หลักสูตรโครงการ หรือ วธิ กี ารจดั การ
เรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามแนวทางการ
ประกันคุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงาน
เขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษา สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน ผู้ปกครองและชมุ ชน

3) การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขต
พื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูล
พื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบสามารถ
ดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานท่ีจัดทำ และดำเนินการโดย
เขตพ้ืนที่การศกึ ษา หรอื ดว้ ยความร่วมมอื กบั หน่วยงานต้นสงั กัด ในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากน้ียัง
ได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมลู จากการประเมนิ ระดบั สถานศึกษาในเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษา

4) การประเมินระดบั ชาติเป็นการประเมินคณุ ภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการ
เทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัด
การศึกษา ตลอดจนเปน็ ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศขอ้ มูลการประเมินใน
ระดับต่าง ๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม
สนบั สนนุ เพอื่ ใหผ้ ู้เรียนได้พฒั นาเต็มตามศักยภาพบนพ้ืนฐาน ความแตกตา่ งระหว่างบุคคลท่ีจำแนกตาม
สภาพปญั หาและความต้องการ ไดแ้ กก่ ลุ่มผเู้ รยี นทัว่ ไป กลมุ่ ผเู้ รียนท่ีมคี วามสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่
มผี ลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มผู้เรยี นทม่ี ปี ัญหาด้านวนิ ยั และพฤติกรรม กลมุ่ ผู้เรียนท่ีปฏิเสธโรงเรียน
กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูลจาก
การประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงที เปิดโอกาสให้
ผู้เรยี นได้รับการพฒั นาและประสบความสำเรจ็ ในการเรียนสถานศกึ ษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา
จะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไป
ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้
บุคลากรทีเ่ กีย่ วขอ้ งทกุ ฝา่ ยถอื ปฏิบตั ริ ่วมกนั

3.8 เกณฑก์ ารวดั และประเมินผลการเรียน
3.8.1 การตัดสนิ การใหร้ ะดบั และการรายงานผลการเรยี น

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 24

1) การตัดสินผลการเรียน ในการตัดสินผลการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้
การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้อง
คำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและ
ต่อเนอื่ งในแตล่ ะภาคเรียนรวมทง้ั สอนซอ่ มเสริมผเู้ รยี นให้พัฒนาจนเตม็ ตามศักยภาพระดับประถมศึกษา

(1) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
ท้ังหมด

(2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ท่ี
สถานศึกษากำหนด

(3) ผ้เู รยี นตอ้ งได้รบั การตัดสินผลการเรยี นทกุ รายวิชา
(4) ผูเ้ รียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรยี น
3.8.2 เกณฑ์การจบการศกึ ษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบ
การศกึ ษาเปน็ 1 ระดับ คอื ระดับประถมศกึ ษา
1) เกณฑ์การจบระดับประถมศกึ ษา
(1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ตามโครงสร้าง
เวลาเรยี นทีห่ ลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐานกำหนด
(2) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐานผ่านเกณฑ์การ
ประเมนิ ตามทส่ี ถานศกึ ษากำหนด
(3) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผ่าน
เกณฑก์ ารประเมินตามทส่ี ถานศึกษากำหนด
(4) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์
การประเมินตามที่สถานศกึ ษากำหนด
(5) ผู้เรียนมีผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์การ
ประเมนิ ตามทสี่ ถานศึกษากำหนด

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 25

โครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นวัดชินวราราม(เจริญผลวทิ ยาเวศม์) โครงสร้างเวลาเรียน ระดับ
ประถมศึกษา

เวลาเรียน : ชั่วโมง/ปี

กล่มุ สาระการเรยี นรู้/รายวิชา/กจิ กรรม ระดบั ประถมศึกษา

ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6

 กลมุ่ สาระการเรียนร/ู้ วชิ าพนื้ ฐาน 200 200 200 160 160 160
ภาษาไทย

คณิตศาสตร์ 200 200 200 160 160 160
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 40 40 40 80 80 80
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 80 80 80 80 80 80

-หน้าที่พลเมือง 40 40 40 40 40 40
ประวัตศิ าสตร์ 40 40 40 40 40 40
สุขศกึ ษาและพลศึกษา 80 80 80 80 80 80
ศลิ ปะ

การงานอาชีพ 40 40 40 40 40 40
ภาษาตา่ งประเทศ 120 120 120 160 160 160

รวมเวลาเรยี น (พ้นื ฐาน) 840 840 840 840 840 840
 รายวชิ าเพม่ิ เติม
80 80 80 40 40 40
ภาษาตา่ งประเทศ 40 40 40 40 40 40
เทคโนโลย(ี วิทยาการคำนวณ) 120 120 120 80 80 80
รวมเวลาเรยี น (รายวชิ าเพมิ่ เตมิ )

 กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น 40 40 40 40 40 40
 กจิ กรรมแนะแนว*
 กิจกรรมนกั เรยี น 40 40 40 40 40 40
 ลกู เสอื /เนตรนารี 30 30 30 30 30 30
 ชมุ นมุ **
 กิจกรรมเพ่อื สงั คม 10 10 10 10 10 10
และสาธารณประโยชน*์ **

รวมเวลา (กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน) 120 120 120 120 120 120

รวมเวลาทั้งหมด 1,080 ชวั่ โมง 1,040 ชัว่ โมง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 26

*ต้านทุจรติ ศึกษา **กิจกรรมชมุ นุมนกั เรยี นเลอื กเรยี นตามความสนใจ ได้แก่

1. ชุมนุมห้องสมุดหรรษา 2. ชมุ นมุ พัฒนาความเปน็ เลิศวชิ าการ

3. ชุมนมุ กีฬา 4. ชมุ นมุ สิ่งประดิษฐ์

5. ชุมนุมการงานอาชีพ

***กจิ กรรมเพือ่ สังคมและสาธารณประโยชน์ บรู ณาในกจิ กรรมชมุ นมุ

2.4 แนวคิดเกยี่ วกบั การประเมนิ หลักสูตร
ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์ (2544) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรเป็นส่วนที่มี

ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของหลักสูตร ทั้งนี้เพราะการประเมินหลักสูตรจะทำให้รู้
คุณค่าของหลักสูตรว่าเป็นอยา่ งไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินหลักสูตรจะเปน็ ประโยชน์อย่างยิง่ ต่อการ
ปรบั ปรงุ หลักสูตรใหม้ ีคุณค่าสูงข้นึ อันจะเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเรจ็ ตามเป้าหมายที่วางไว้
โดยสะดวก

2.4.1 ความหมายของการประเมินหลักสูตร
ได้มีนักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรไว้ต่าง ๆ กัน

ดังน้ี คือ
บุญศรี พรหมมาพันธุ์ (2551) ได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรไว้ว่า

หมายถึง การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน เพ่ื อพิจารณา
เกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรและการเรียนการสอนว่ามีคุณภาพดีหรือไม่อย่างไร มีส่วนใดบ้างที่ต้อง
ปรบั ปรุง

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539) กล่าวว่า การประเมินหลักสูตร เป็นการรวบรวมและ
วิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินหาข้อบกพร่องหรือปัญหา เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข
สว่ นประกอบทกุ สว่ นของหลักสตู รให้มีคุณภาพดียิ่งข้ึน หรือตัดสนิ หาคณุ ค่าของหลักสตู รน้ันๆ

ประชุม รอดประเสริฐ (2539) กล่าวว่า การประเมินนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งน้ี
เพราะว่าคนเราจะต้องประสบกับการตัดสินใจอยู่ตลอด และในการตัดสินใจนั้นจำเป็นจะต้องอาศัย
ข้อมูล กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ช่วยในการตัดสนิ ใจเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด อย่างไรก็ตามการประเมินใน
ลักษณะเช่นนี้ยังเป็นการประเมินแบบที่ไม่มีระบบ หรือแบบแผนที่แน่นอน การตัดสินใจมักจะใช้
ประสบการณ์เดิมของตนเองเป็นเกณฑ์ ดังนั้น ถ้าการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีความสลับซับซ้อนมี
ผลกระทบจากการตัดสินใจสูงและเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก การตัดสินใจน้ัน
จะต้องมีประสิทธภิ าพและเป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือและไดร้ ับการยอมรบั จากทุกฝ่าย จึงจะทำให้การ
ตัดสินใจถูกตอ้ ง วิธกี าร เชน่ น้ี เรียกวา่ การประเมนิ ผลอย่างมีระบบ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 27

เยาวดี รางชัยกุล (2553) สรุปว่า การประเมินผลค่าที่ใช้ในการอธิบายและตัดสิน
คุณสมบัติบางอย่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการและโครงการต่าง ๆ นั้นคือ
กระบวนการประเมนิ ผล ประกอบด้วยขน้ั ตอน 3 ขัน้ ตอน คือ

1. การเลอื กส่ิงทีต่ ้องการประเมิน
2. การพัฒนาและใช้กระบวนการเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการประเมินนั้นอย่าง
ถูกต้อง
3. การสงั เคราะห์หลักฐานที่เปน็ ผลจากกระบวนการเหล่าน้ีไปสู่การตัดสินใจข้ัน
สดุ ท้าย
ลัดดาวลั ย์ เพชรโรจน์ (2549) ไดใ้ ห้ความหมายของการประเมินหลักสตู รไว้ว่า เป็น
กระบวนการหาคำตอบว่า หลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่และมากน้อย
เพียงใด โดยมีการจัดการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายองค์ประกอบได้แก่
การวเิ คราะห์จากกระบวนการการนำหลักสูตรไปใชว้ ิเคราะหผ์ ล จากผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจะต้องนำเสนอข้อมูลเพื่อตัดสินใจหรอื ควรเปล่ียนแปลงหรือปรับปรุงหรือเลือก
วธิ ีใหม่
กู๊ด (Good, 1973) กล่าวว่า การประเมินหลกั สูตร คอื การประเมนิ ผลของกิจกรรม
การเรียนภายในขอบข่ายของการสอนที่เน้นเฉพาะจุดประสงค์ของการตัดสินใจในความถูกต้องของ
จุดหมาย ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหา และผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งนำไปสู่
การตัดสินใจในการวางแผน
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง การประเมิน
องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรว่ามีความเหมาะสมมากนอ้ ยเพียงใด และเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แลว้
บรรลวุ ตั ถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือไม่ โดยในการประเมินหลักสตู รจะใชเ้ คร่ืองมือชนิดต่างๆ ที่มีความ
เหมาะสมในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสมั ภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เปน็ ต้น ทั้งนี้
ผลทไี่ ด้จากการประเมินจะถกู นำไปใช้ในการปรบั ปรงุ และพัฒนาหลักสูตรให้มคี วามเหมาะสมยิ่งข้ึนต่อไป
2.4.2 จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร โดยทั่วไป การประเมินหลักสูตรใด ๆ ก็ตาม
จะมีจดุ มุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลงึ กนั ดงั น้ี (ไพโรจน์ เตมิ เตขาติพงศ,์ 2544)
2.4.2.1 เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของ
หลักสูตรเพื่อที่จะพิจารณาว่าองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องหรือไม่
มีปัญหาอุปสรรคอะไร จะได้เป็นประโยชน์แก่นักพัฒนาหลักสูตรและผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องในการปรบั ปรุง
เปลยี่ นแปลงองค์ประกอบตา่ ง ๆ ของหลกั สูตรใหม้ คี ณุ ภาพดีขึ้นไดท้ ันทว่ งที
2.4.2.2 เพือ่ หาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสตู ร
2.4.2.3 เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปอีกหรือ
ควรยกเลิกการใชห้ ลกั สูตรเพยี งบางส่วนหรอื ยกเลกิ ทัง้ หมด

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 28

2.4.2.4 เพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรว่ามี
การเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมไปตามความมุ่งหวังของหลักสูตรหรอื ไม่

2.4.3 ระยะของการประเมนิ หลักสูตร การประเมนิ หลักสูตรท่ดี ีจงึ ต้องตรวจสอบเป็นระยะ
เพ่ือลดปญั หาทอี่ าจเกดิ ข้ึนโดยทวั่ ไปจะแบง่ เป็น 3 ระยะ คือ

2.4.3.1 การประเมนิ หลักสตู รก่อนนำหลกั สตู รไปใช้
2.4.3.2 การประเมนิ หลักสูตรระหว่างการดำเนนิ การใชห้ ลกั สตู ร
2.4.3.3 การประเมนิ หลกั สตู รหลังการใชห้ ลักสตู ร
2.4.4 สิ่งที่ต้องประเมินในเรื่องหลักสูตร การประเมินความก้าวหน้า เพื่อมุ่งการปรับปรุง
แก้ไขหลักสูตรในช่วงเวลาต่างๆ กันเป็นสำคัญ หรือจะเป็นการประเมินผลสรุป เพื่อมุ่งการตัดสินว่า
หลักสูตรนั้นควรดำเนินต่อหรือยกเลิก ควรมีการประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้น การประเมินหลักสูตรจงึ
ประกอบด้วยการประเมินส่งิ ดงั ตอ่ ไปน้ี
2.4.4.1 การประเมินเอกสารหลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของ
องค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรว่าจุดหมายจุดประสงค์ โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และวิธีการวัดและ
ประเมินผลนักเรียนมีความสอดคล้องเหมาะสม ครอบคลุม และถูกต้องตาม หลักการพัฒนาหลักสูตร
หรือไม่ ภาษาที่ใช้สามารถสื่อให้เข้าใจและมีความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่การประเมิน
เอกสารหลักสูตรเป็นการการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรว่ามีความเหมาะสมดีแ ละถูกต้องกับ
หลักการพัฒนาหลักสตู รเพียงใด การตรวจสอบเอกสารหลักสตู รอาจทำไดโ้ ดยวธิ ีการดังต่อไปนี้

1) การตรวจสอบโดยคณะพัฒนาหลักสูตร
2) การตรวจสอบโดยผู้เชีย่ วชาญ
3) การทดลองใช้หลกั สูตร
การประเมินเอกสารหลักสูตรมักใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา และใช้วิธีให้ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่
เกี่ยวข้องดำเนินการประเมิน นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ เช่น การใช้การสัมภาษณ์การตอบ
แบบสอบถาม โดยกำหนดรายการและระดับที่ต้องการประเมิน เป็นต้น แนวทางในการพิจารณา
ตรวจสอบหลักสูตรในการตรวจสอบหลักสูตรก่อนนำไปใช้อาจจะดำเนินการโดยสร้างเกณฑ์ในการ
ประเมินหลักสูตรขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำเอาเกณฑ์ที่ตั้งไว้นั้นไปทำการตรวจสอบคุณภาพของเอกสาร
หลักสตู รต่อไป แนวทางในการประเมินหลกั สตู รท่เี สนอโดยแพร็ท (Pratt, 1980)
1) จุดมุง่ หมายทวั่ ไป
2) เหตุผลและความจำเป็น
3) จดุ มุ่งหมายเฉพาะ
4) เกณฑใ์ นการวดั พฤตกิ รรม
5) การประเมินผลเพื่อให้คะแนน
6) เนอ้ื หาสาระ
7) ลกั ษณะของผเู้ รยี น

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 29

8) การเรียนการสอน
9) การจัดการเกี่ยวกบั ความแตกตา่ งของผเู้ รยี น
10) รายละเอยี ดในการปฏบิ ตั ิ
11) การทดลองหลกั สตู ร
12) การนำหลักสตู รไปใช้
13) ผลผลิต
2.4.4.2 การประเมินการใช้หลักสูตรเป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถ
นำไปใช้ได้ดีกับสถานการณ์จริงเพียงใดการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรทำอย่างไร มีปัญหา
อุปสรรคอะไรในการใช้หลักสูตร เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นและสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมี
ประสิทธผิ ลและประสิทธภิ าพ
2.4.4.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของ
ผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการ การประเมินผลสัมฤทธ์ิ
ของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยสัมฤทธิผลทางวิชาการและ
สัมฤทธผ์ิ ลทไี่ ม่ใชท่ างวชิ าการ
2.4.4.4 การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มี
ความสมบูรณ์และมคี วามซับซ้อนมากการประเมนิ ระบบหลกั สูตรจะมีความเกย่ี วข้องกบั องค์ประกอบอ่ืน
ทม่ี สี ว่ นเกีย่ วขอ้ งกับหลกั สตู รดว้ ย
2.4.5 ประโยชน์ของการประเมินหลกั สูตร
2.4.5.1 ทำให้ทราบถึงจุดดจี ดุ เสียหลักสูตรทสี่ ร้างหรือพฒั นาขึ้น
2.4.5.2 ชว่ ยสง่ เสรมิ และปรบั ปรงุ การสอนใหด้ ีขนึ้
2.4.5.3 ชว่ ยในการสง่ เสรมิ การเรียนร้ขู องผเู้ รยี น
2.4.5.4 ช่วยในการปรับปรุงการบรหิ ารในสถานศึกษา
2.4.5.5 ชว่ ยในการแนะแนวทงั้ ด้านการเรียนและอาชีพแก่ผเู้ รยี น
2.4.5.6 ชว่ ยชี้ให้เหน็ ถึงคณุ ค่าของหลกั สตู รท่ีพัฒนา
2.4.6 ข้นั ตอนในการประเมนิ หลักสตู ร
สมคิด พรมจุ้ย (2551) และบุญศรี พรหมมาพันธุ์ (2551) ได้เสนอแนวคิด
เกี่ยวกับขั้นตอนการประเมนิ หลกั สูตร ดังนี้
2.4.6.1 ขั้นกำหนดเป้าหมาย ผู้ประเมินหลักสูตรต้องกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
วัตถุประสงค์เป้าหมายของการประเมิน วิเคราะห์และทำความเข้าใจกับจุดมุ่งหมายในการประเมินผู้
ประเมนิ ต้องกำหนดว่า ตอ้ งการนำขอ้ มลู มาทำอะไร
2.4.6.2 ขั้นการวางแผนและออกแบบประเมิน การวางแผนเปรียบเสมือนเข็ม
ทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายการประเมิน หลังจากศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และผลงานประเมินที่

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 30

เกยี่ วขอ้ งแลว้ ผู้ประเมนิ ตอ้ งกำหนด กลุม่ ตวั อยา่ ง แหล่งขอ้ มลู การเลือกเครือ่ งมอื วธิ ีการรวบรวมข้อมูล
และกำหนดเกณฑใ์ นการประเมนิ รวมทงั้ กำหนดเวลาในการดำเนนิ การข้ันต่างๆ

2.4.6.3 ขั้นดำเนินการ ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลตามกรอบการประเมินและ
ระยะเวลาที่กำหนดไว้

2.4.6.4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล และ
พจิ ารณาเลอื กใชส้ ถิตใิ น การวิเคราะหท์ ่ีเหมาะสม โดยพิจารณาจดุ ประสงค์ของการประเมนิ และลักษณะ
ของข้อมูลโดยเปรยี บเทียบกบั เกณฑ์ท่กี ำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่

2.4.6.5 ขั้นรายงานผลการประเมิน เปน็ การตคี วามหมายข้อมูลทวี่ เิ คราะห์ และ
นำเสนอผลการประเมินโดยชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรที่นำไปใช้มีคุณภาพหรือไม่ มีส่วนใดที่แก้ไขปรับปรุง
หรอื ยกเลิก

2.4.7 ปญั หาในการประเมนิ หลักสูตร
2.4.7.1 ปญั หาดา้ นการวางแผนการประเมนิ หลักสูตร
2.4.7.2 ปญั หาด้านเวลา
2.4.7.3 ปัญหาดา้ นความเช่ยี วชาญของคณะกรรมการการประเมินหลักสตู ร
2.4.7.4 ปัญหาดา้ นความตรงของของข้อมูล
2.4.7.5 ปญั หาด้านวธิ ีการประเมนิ
2.4.7.6 ปัญหาด้านการประเมินหลกั สตู รทั้งระบบ
2.4.7.7 ปญั หาด้านการประเมินหลกั สตู รอย่างต่อเนื่อง
2.4.7.8 ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมนิ

2.4.8 แนวทางสำหรับการประเมินหลกั สูตร มี 3 ลกั ษณะ คอื
2.4.8.1 การประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรเป็นแนวทางสำหรับการประเมิน

หลกั สตู รท่มี ุ่งเน้นสมั ฤทธ์ิผลท่ไี ดจ้ ากการใช้หลักสูตร
2.4.8.2 การประเมินคุณค่าของหลักสูตร เป็นการประเมินเพื่อดูว่าหลักสูตร

สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ท่ีกำหนดไดเ้ พยี งใดและไดผ้ ลตอบแทนท่ีค่มุ คา่ หรอื ไม่
2.4.8.3 การประเมินในลักษณะการตัดสิน รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบน้ี

จะมีความเชื่อพน้ื ฐานอย่วู ่าหลักสตู รท่ีดคี วรจะสง่ ผลกระทบตอ่ การกระทำในอนาคต

2.5. การประเมินหลักสตู ร
2.5.1 รูปแบบการประเมินหลักสตู ร
ในเรื่องรูปแบบของการประเมินหลักสูตร ได้มีนักวิชาการซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร

และการประเมินผลเสนอแนะหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาศึกษาเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
ความต้องการ ในปัจจุบันรปู แบบของการประเมินหลกั สูตรสามารถแบง่ ไดเ้ ป็น 2 ประเภทใหญๆ่ คือ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 31

2.5.1.1 รูปแบบของการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ เป็นการ
ประเมินผลก่อนนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งในกลุ่มนี้จะเสนอรูปแบบที่เด่น ๆ คือ รูปแบบการประเมินหลักสตู ร
ดว้ ยเทคนิคการวิเคราะหแ์ บบปยุ แซงค์(Puissance Analysis Technique)

2.5.1.2 รูปแบบการประเมินหลักสูตรในระหวา่ งหรอื หลังการใช้หลักสูตร ซึ่งใน
กลมุ่ นีส้ ามารถแบ่งเปน็ กลุ่มยอ่ ย ๆ ไดเ้ ปน็ 3 กลุ่มดงั นี้

1) รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก (Goal
Attainment Model)

2) รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ไม่ยึดเป้าหมาย (Goal Free
Evaluation Model)

3) รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision
Making Model)

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 32

บทที่ 3
วิธกี ารดำเนนิ การศกึ ษา

การศึกษาครงั้ น้มี วี ัตถุประสงคเ์ พื่อประเมินหลักสตู รโรงเรยี นวดั ชินวราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เพื่อจัดทำรายงานการใช้และพัฒนา
หลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) การประเมินหลักสูตรในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้
ดำเนินการ ดงั น้ี

3.1 กลุ่มเปา้ หมาย
3.1.1 ประชากร คือ - ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย กลุ่มบริหารวิชาการและ

หวั หน้ากลมุ่ สาระการเรยี นรู้ 8 กลุม่ สาระ ตวั แทนนกั เรียน
3.1.2 กลมุ่ ตวั อยา่ งท่ีให้ขอ้ มูลในการประเมนิ ครงั้ นี้ประกอบดว้ ย
- ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย กลุ่มบริหารวิชาการและหัวหน้ากลุ่ม

สาระการเรียนรู้ 8 กล่มุ สาระ ตวั แทนนกั เรียน จำนวน 25 คน

3.2. เครือ่ งมอื ทใี่ ชใ้ นการเกบ็ รวบรวมข้อมูล
3.2.1 แบบสอบถามเพอ่ื ประเมินความพึงพอใจในการบริหารจดั การหลกั สตู รและกจิ กรรมของ

โรงเรียนวดั ชนิ วราราม (เจริญผลวิทยาเวศม)์ โดยประเมิน 5 ดา้ น ดังน้ี
3.2.1.1 ประเมินด้านองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม

(เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์
3.2.1.2 ประเมินดา้ นการนำหลักสตู รสถานศึกษาสู่การจดั การเรยี นรู้ (หลักสูตรระดับ

กลมุ่ สาระการเรียนร)ู้
3.2.1.3 ประเมินการใชแ้ ละพัฒนาหลกั สูตรจากผบู้ รหิ ารและครูผ้สู อน

3.2.2 รวบรวมข้อมูลจากการประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)
และข้อเสนอแนะเพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลกั สูตรไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์
ยง่ิ ๆ ข้ึนไป

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 33

บทที่ 4
วิธกี ารดำเนนิ การศึกษา

การประเมินหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) พุทธศักราช 2553 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2561) ผู้ศกึ ษาไดน้ ำข้อมูลทไี่ ด้ มาทำการวิเคราะห์ และนำเสนอตามลำดับดงั ตอ่ ไปน้ี

4.1 ผลการประเมินการบรหิ ารและการจัดการหลักสตู รสถานศึกษาตามเครอื่ งมือของกลุ่มนิเทศ
ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
(ภาคผนวก) สอบถามจากผู้บริหารโรงเรยี น คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย กลุ่มบริหารวิชาการและหัวหนา้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ตัวแทนนักเรียน จำนวน 25 คน นำมาวิเคราะห์ ประมวลผล ในการ
จดั ทำรายงานผลการใช้และพัฒนาหลกั สูตรสถานศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2562

ข้อ ตอนท่ี 1
คน 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 3 4 5

1 333333333
2 333333332
3 323233233
4 232323323
5 333333333
6 223333332
7 333323233
8 333333323
9 222233233
10 2 3 3 3 1 2 3 3 3
11 2 3 3 3 3 3 2 3 3
12 3 3 3 3 3 3 3 3 2
13 3 2 3 3 3 3 3 1 3
14 3 3 3 3 3 3 2 3 3
15 3 3 3 2 3 2 3 3 3
16 2 3 2 3 3 3 3 3 3
17 3 3 3 3 3 3 3 3 3
18 3 3 3 3 3 3 3 3 2
19 2 2 3 2 3 2 2 3 3

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 34

ขอ้ ตอนท่ี 1
คน 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 3 4 5

20 3 3 3 3 3 3 3 3 3
21 3 3 3 3 3 3 3 3 3
22 3 3 2 3 3 3 3 3 3
23 3 3 3 3 3 3 3 3 3
24 3 3 3 3 3 3 3 3 3
25 3 3 2 2 3 3 3 3 3
คา่ เฉลีย่ 2.72 2.80 2.80 2.80 2.84 2.88 2.76 2.84 2.84
S.D. 0.46 0.41 0.41 0.41 0.47 0.33 0.44 0.47 0.37

ขอ้ ตอนที่ 2
คน 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 4.1 4.2 4.3

1 3322332333322333333
2 3233133333333233333
3 2333322332323333333
4 3333333233332233323
5 3332233333333333333
6 3323332333333333333
7 2333323322322213333
8 3333333333333333333
9 3332232333233332333
10 3 3 2 3 3 2 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3 3 2 2
11 2 3 3 3 3 3 3 2 2 2 3 2 3 2 2 3 3 3 3
12 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3
13 3 3 3 2 2 3 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3 3 3 3
14 2 3 2 3 3 2 3 3 3 3 2 3 3 2 3 3 2 3 3
15 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3 3 2 2 3 2 3 3 2 3
16 3 3 3 3 3 3 3 3 2 2 3 3 3 3 3 3 3 3 2
17 2 3 3 2 3 3 3 2 3 3 3 1 3 3 3 3 2 3 3
18 3 3 2 3 3 2 2 3 3 3 2 3 2 2 2 3 3 3 3

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 35

ข้อ ตอนท่ี 2
คน 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 4.1 4.2 4.3

19 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 2 3 3 3 3 3 1 3
20 3 3 3 3 3 3 3 3 3 1 3 3 3 2 3 3 2 3 3
21 3 2 3 2 3 3 2 3 3 3 3 3 2 3 2 3 3 3 2
22 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 2 3 2 3 3 3 3 3
23 3 3 2 3 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3
24 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 1 3 2 1 2 3 2 3 2
25 3 3 3 2 3 3 2 2 3 3 3 2 3 3 3 3 3 3 3

คา่ เฉลยี่ 2.80 2.84 2.76 2.72 2.80 2.76 2.64 2.84 2.88 2.76 2.80 2.60 2.64 2.60 2.72 2.92 2.84 2.80 2.84
S.D. 0.41 0.37 0.44 0.46 0.50 0.44 0.49 0.37 0.33 0.52 0.50 0.58 0.49 0.58 0.54 0.28 0.37 0.50 0.37

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 36

บทที่ 5
สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามุ่งที่จะประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผล
วทิ ยาเวศม)์ โดยมี วตั ถปุ ระสงค์

1) ประเมินด้านองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยา
เวศม)์

2) ประเมินด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรระดับกลุ่มสาระการ
เรยี นรู้)

3) ประเมนิ การใชแ้ ละพัฒนาหลักสูตรจากผู้บรหิ ารและครผู สู้ อน
4) จัดทำรายงานการใช้และพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์) เพื่อ
สนองระบบประกนั คุณภาพการศึกษา

สรุปผลการประเมนิ
ผลการประเมินบริบทของหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)
พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” โดยสรปุ ผลการประเมิน ดงั น้ี

5.1 สรุปผลการประเมินการบริหารและการจัดการหลักสตู รสถานศึกษาตามเครื่องมือของกลุม่
นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี
เขต 1 (ภาคผนวก) สอบถามจากผู้บริหารโรงเรียนคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย กลุ่มบริหารวิชาการและ
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ตัวแทนนักเรียน จำนวน 25 คน นำมาวิเคราะห์ ประมวลผล
ในการจัดทำรายงานผลการใช้และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2562

ระดับการปฏบิ ัติ 1 มีการปฏิบัติไมค่ รบ และไมช่ ดั เจน
ระดบั การปฏบิ ตั ิ 2 มีการปฏิบัติครบถ้วน แตไ่ มช่ ัดเจน
ระดบั การปฏิบตั ิ 3 มีการปฏิบตั ิครบถว้ น และชัดเจน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 37

ตอนท่ี 1 องค์ประกอบของหลกั สตู รสถานศึกษา ระดับการปฏิบัติ สรุประดับความคิดเห็น
321 ของระดับการปฏบิ ัตงิ าน
รายการ X = 2.72
มกี ารปฏิบัติครบถว้ น และ
1. สว่ นนำ ชดั เจน
1.1 ความนำ
แสดงความเชื่อมโยงระหวา่ งหลกั สตู รแกนกลาง X = 2.80
มกี ารปฏิบัตคิ รบถว้ น และ
การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 กรอบหลกั สตู ร ชดั เจน
ระดับท้องถ่ินจดุ เนน้ และความตอ้ งการของโรงเรียน
X = 2.80
1.2 วสิ ัยทัศน์ มีการปฏบิ ัติครบถว้ น และ
แสดงภาพอนาคตท่ีพึงประสงค์ของผู้เรยี นท่ี ชดั เจน
X = 2.80
สอดคลอ้ งกบั วสิ ัยทัศน์ของหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั มีการปฏบิ ตั ิครบถ้วน และ
พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างชัดเจน สอดคลอ้ งกบั ชัดเจน
กรอบหลกั สตู รระดบั ท้องถิ่น ครอบคลุมสภาพความตอ้ งการของ
โรงเรยี น ชุมชน ท้องถนิ่ มคี วามชดั เจนสามารถปฏิบตั ไิ ด้ X = 2.84
มกี ารปฏบิ ตั ิครบถว้ น และ
1.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรยี น ชดั เจน
มีความสอดคล้องกับหลักสตู รแกนกลางการศึกษา
X = 2.88
ขน้ั พน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551 มีการปฏิบัตคิ รบถ้วน และ
1.4 คณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์ ชดั เจน
มีความสอดคล้องกับหลกั สตู รแกนกลางการศึกษา

ข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคลอ้ งกับเปา้ หมาย
จดุ เน้น กรอบหลักสตู รระดบั ทอ้ งถิน่ สอดคล้องกบั วิสัยทศั น์
ของโรงเรยี น
2. โครงสร้างหลกั สตู รสถานศกึ ษา

2.1 โครงสรา้ งเวลาเรียน
มกี ารระบเุ วลาเรียนตลอดหลักสูตร จำนวน 8 กลมุ่

สาระการเรียนรู้ ท่ีเป็นเวลาเรียนพ้ืนฐาน และเพิ่มเติมจำแนก
แต่ละช้ันปีอย่างชดั เจน ระบุเวลาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จำแนกแต่ละชัน้ ปีอย่างชัดเจน เวลาเรยี นรวมของหลักสตู ร
สถานศึกษาสอดคลอ้ งกบั โครงสรา้ งเวลาเรียนตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551

2.2 โครงสร้างหลกั สตู ร
มกี ารระบรุ ายวิชาพืน้ ฐาน รายวิชาเพ่ิมเติม ระบุรหัส

วิชา ช่ือรายวิชา พร้อมทั้งระบุเวลาเรียน และ/หรือหนว่ ยกิต มี

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 38

รายการ ระดับการปฏิบัติ สรุประดับความคิดเห็น
321 ของระดับการปฏิบัติงาน
การระบุกจิ กรรมพัฒนาผ้เู รียน พร้อมท้ังระบุเวลาเรียนไวอ้ ย่าง
ถกู ต้อง ชดั เจน รายวชิ าเพ่ิมเตมิ / กจิ กรรมเพิ่มเติมที่กำหนด X = 2.76
สอดคล้องกับวสิ ัยทัศน์ จุดเน้นของโรงเรียน มีการปฏิบตั ิครบถ้วน และ
ชดั เจน
3. คำอธิบายรายวิชา
มีการระบรุ หัสวิชา ช่ือรายวิชา และชื่อกลุ่มสาระการ X = 2.84
มีการปฏบิ ัตคิ รบถว้ น และ
เรยี นรู้ ชนั้ ปีทส่ี อน จำนวนเวลาเรยี น และ/หรือหน่วยกิต ไว้ ชัดเจน
อยา่ งถูกต้องชัดเจน
X = 2.84
การเขียนคำอธบิ ายรายวชิ าไดเ้ ขียนเปน็ ความเรียงโดย มีการปฏบิ ตั คิ รบถ้วน และ
ระบอุ งคค์ วามรู้ ทกั ษะกระบวนการ และคณุ ลักษณะหรือเจต ชดั เจน
คตทิ ีต่ อ้ งการและครอบคลุมตัวชี้วดั สาระการเรียนรแู้ กนกลาง

ระบุรหัสตวั ช้วี ัด ในรายวิชาพื้นฐานและจำนวนรวม
ของตวั ชว้ี ัดและระบุผลการเรียนรู้ ในรายวชิ าเพ่มิ เติมและ
จำนวนรวมของผลการเรยี นรู้ถกู ต้อง

มีการกำหนดสาระการเรยี นรทู้ ้องถ่ิน สอดแทรกอยู่ใน
คำอธบิ ายรายวิชาพืน้ ฐานหรือรายวิชาเพิม่ เติม
4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ในโครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษาและโครงสร้าง
หลักสตู รชั้นปีได้ระบุกิจกรรม และจัดเวลา สอน ตามที่
กำหนดไว้ในหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐานและ
สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

มีการจัดทำโครงสร้างและแนวการจัดกิจกรรม แนว
ทางการวัดและประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทง้ั 3 กิจกรรมที่
ชดั เจน
5. เกณฑก์ ารจบการศกึ ษา

ระบุเวลาเรียน/หน่วยกติ ทงั้ รายวิชาพนื้ ฐานและ
รายวิชาเพิม่ เตมิ ตามเกณฑ์การจบการศกึ ษาของโรงเรียน
ชัดเจน

ระบุเกณฑก์ ารประเมนิ การอ่าน คิดวเิ คราะห์ และ
เขียนไวอ้ ยา่ งชดั เจน

ระบุเกณฑก์ ารประเมนิ คุณลักษณะอนั พึงประสงคไ์ ว้
อยา่ งชดั เจน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 39

รายการ ระดับการปฏิบัติ สรุประดับความคิดเห็น
321 ของระดับการปฏบิ ตั งิ าน

ระบุเกณฑก์ ารผ่านกิจกรรมพัฒนาผ้เู รยี นไว้อย่างชดั เจน

ตอนที่ 2 การนำหลักสูตรสถานศกึ ษาสกู่ ารจดั การเรียนรู้ (หลกั สตู รระดับกลุ่มสาระการเรยี นร้)ู

รายการ ผลการประเมิน สรุประดับความคิดเห็น
3 2 1 ของระดับการปฏบิ ตั งิ าน

1. โครงสร้างรายวิชา X = 2.80

1.1 การจัดกลมุ่ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชวี้ ดั มกี ารปฏบิ ตั ิครบถว้ น และ

จดั กลุ่มมาตรฐานการเรียนรู/้ ตวั ช้วี ัดที่มี ชดั เจน

ความสมั พันธก์ นั และเวลา ในแตล่ ะหนว่ ยการเรียนรู้

เหมาะสม

1.2 การจัดทำสาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด X = 2.84

ไดว้ เิ คราะหแ์ กน่ ความรูข้ องทกุ ตวั ชวี้ ดั ในแต่ละ มีการปฏบิ ตั คิ รบถว้ น และ

หนว่ ยการเรยี นรู้ มาจดั ทำสาระสำคัญ/ความคดิ รวบยอด ชัดเจน

ชัดเจนเหมาะสมและครบทุกหน่วยการเรียนรู้

1.3 การตั้งชื่อหน่วยการเรยี นรู้ของแต่ละหน่วยการ X = 2.76

เรียนรู้ มีการปฏบิ ตั คิ รบถว้ น และ

สะทอ้ นใหเ้ ห็นสาระสำคญั หรือประเดน็ หลกั ใน ชดั เจน

หน่วยการเรยี นรู้นน้ั ๆ น่าสนใจเหมาะสมกับวัย ความสนใจ

ความสามารถของผู้เรยี น

1.4 การกำหนดสดั ส่วนเวลาเรยี น X = 2.72

กำหนดสัดสว่ นเวลาเรียนแต่ละหน่วยการเรยี นรู้ มีการปฏิบตั ิครบถ้วน และ

เหมาะสม และรวมทกุ หนว่ ยต้องเทา่ กบั เวลาเรียนตาม ชดั เจน

หลักสูตร

1.5 การกำหนดสดั ส่วนน้ำหนกั คะแนน X = 2.80

กำหนดสดั สว่ นนำ้ หนักคะแนนแต่ละหน่วยการ มกี ารปฏบิ ัตคิ รบถ้วน และ

เรยี นรู้เหมาะสมและรวมตลอดปี/ภาคเรยี นเทา่ กับ 100 ชดั เจน

คะแนน

2. หนว่ ยการเรยี นรู้ X = 2.76

2.1 การวางแผนจดั ทำหน่วยการเรียนรู้ มีการปฏบิ ัตคิ รบถว้ น และ

ชดั เจน

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 40

รายการ ผลการประเมิน สรุประดับความคิดเห็น
3 2 1 ของระดับการปฏิบตั ิงาน
มกี ารวางแผนออกแบบหนว่ ยการเรยี นรคู้ รบทุก
หนว่ ย การเรียนรู้ และทกุ กล่มุ สาระฯ X = 2.64
มกี ารปฏิบตั ิครบถ้วน และ
2.2 การจดั ทำหน่วยการเรียนรู้ : การกำหนด ชัดเจน
เปา้ หมาย
X = 2.84
กำหนดมาตรฐานการเรียนร/ู้ ตัวช้ีวัด สาระสำคัญ/ มกี ารปฏบิ ัตคิ รบถว้ น และ
ความคิดรวบยอด สาระการเรยี นรู้ สมรรถนะสำคญั ของ ชดั เจน
ผู้เรยี น คุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ถกู ต้อง เหมาะสมมีความ
สอดคล้องกนั X = 2.88
มีการปฏิบตั ิครบถ้วน และ
2.3 การจดั ทำหนว่ ยการเรยี นรู้ : การกำหนด ชัดเจน
หลกั ฐานการเรยี นรู้
X = 2.76
กำหนดชน้ิ งาน /ภาระงาน การวัดและประเมินผล มกี ารปฏบิ ตั คิ รบถว้ น และ
สอดคล้องกับตวั ชว้ี ัดและมาตรฐานการเรียนรู้ ชดั เจน
X = 2.80
2.4 การจัดทำหน่วยการเรยี นรู้ : ออกแบบกจิ กรรม มีการปฏิบัตคิ รบถว้ น และ
การเรียนรู้ ชัดเจน
X = 2.60
ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ ไดส้ อดคล้องกบั มีการปฏบิ ตั คิ รบถว้ น และ
ตวั ชีว้ ัด/มาตรฐานและเนน้ ผูเ้ รยี นเป็นสำคัญ ชดั เจน
3. แผนการจัดการเรียนรู้ X = 2.64
มีการปฏิบตั คิ รบถ้วน และ
3.1 เขียนแผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ครบตาม ชัดเจน
องคป์ ระกอบที่สำคญั ทุกหน่วยการเรียนรู้

3.2 มีการใช้เทคโนโลยที างการศกึ ษาในการจัด
กระบวนการเรยี นรู้

3.3 สอดคล้องจุดเนน้ สกู่ ารพัฒนาผเู้ รียน
ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษท่ี 21 (3Rs
x8Cs x2Ls)

3.4 สอดคล้องการบูรณาการตามพระราชบัญญตั ิ
การศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพม่ิ เติม (ฉบบั ท่ี2)
พ.ศ. 2545 และ (ฉบับท่ี3) พ.ศ. 2553

บูรณาการหลักสตู รโรงเรียนมาตรฐานสากล
(Worldclass Standard School)

บูรณาการกบั หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 41

รายการ ผลการประเมิน สรุประดับความคิดเห็น
3 2 1 ของระดับการปฏิบัตงิ าน
บูรณาการกับประชาคมอาเซยี น
บูรณาการกบั ค่านิยม 12 ประการ X = 2.60
บรู ณาการโรงเรยี นวถิ พี ทุ ธ มกี ารปฏบิ ตั ิครบถว้ น และ
บูรณาการโรงเรยี นตา้ นทุจริต ชดั เจน
บรู ณาการโรงเรยี นคณุ ธรรม X = 2.72
บรู ณาการโรงเรียนสจุ ริต มกี ารปฏิบัตคิ รบถ้วน และ
บูรณาการข้ามกลุม่ สาระการเรยี นรู้ ชดั เจน
3.5 ใชก้ ระบวนการวจิ ัยในช้ันเรยี นมาใชใ้ นการจัด X = 2.92
กระบวนการเรียนร้ขู องครู แกไ้ ขปญั หาและพัฒนาผ้เู รยี น มีการปฏิบัติครบถ้วน และ
ชัดเจน
3.6 การประเมนิ แผนการจดั การเรยี นรู้ ทุกแผนก่อน X = 2.84
การนำไปใชจ้ ริง มกี ารปฏบิ ัตคิ รบถว้ น และ
ชดั เจน
3.7 มีการนำเอาแผนการจดั การเรียนรทู้ ่ีปรบั ปรงุ แลว้ X = 2.80
ไปใช้ในการจดั การเรียนร้จู รงิ มีการปฏิบตั คิ รบถว้ น และ
ชดั เจน
4. พฒั นาหลักสูตรการศกึ ษาอยา่ งยั่งยืน X = 2.84
4.1 มีการนิเทศการใชห้ ลกั สตู รสถานศึกษาอยา่ ง มีการปฏบิ ตั ิครบถ้วน และ
ชัดเจน
ตอ่ เนอื่ ง
4.2 มกี ารประเมินการใชห้ ลกั สูตรสถานศกึ ษาอย่าง

ต่อเนอ่ื ง

4.3 นำผลการประเมินการใชห้ ลักสูตรสถานศกึ ษา
มาวางแผนในการพฒั นาหลักสูตรสถานศกึ ษาอย่างต่อเนอ่ื ง

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 42

สรุปผลการประเมนิ จากการสำรวจข้อมลู ของผู้ใหข้ ้อมูลหลัก

กล่มุ ผ้ใู ห้ขอ้ มลู หลกั สรุประดับความคดิ เหน็ โดยภาพรวม

สรุปผลการประเมินการบริหารและการจัดการ

หลักสูตรสถานศึกษาตามเครื่องมือของกลุ่มนิเทศติดตาม

และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1(ภาคผนวก)

สอบถามจากผู้บริหารโรงเรียนคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย X = 2.78

กลุ่มบริหารวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 มกี ารปฏิบตั ิครบถ้วนและชัดเจน

กลุ่มสาระ ตัวแทนนักเรียน จำนวน 25 คน นำมา

วเิ คราะห์ ประมวลผล ในการจดั ทำรายงานผลการใช้และ

พัฒนาหลกั สูตรสถานศึกษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2562

ขอ้ เสนอแนะเพ่มิ เติมอน่ื ๆ
1. ควรมกี ารพฒั นาปรับปรุงสู่หลักสตู รทอ้ งถ่ินให้มความชดั เจนและจดั การประชมุ เพอื่ สร้าง

ความเขา้ ใจเกย่ี วกับหลักสูตรสถานศึกษาอย่างตอ่ เนื่อง
2. ควรระบคุ ะแนนในการสอบของแต่ละเทอมให้เป็นไปในทิศทางเดยี วกัน
3. การบริหารจัดการหลักสูตร ควรมกี ารนเิ ทศเพื่อกำกบั ติดตามการนำหลักสูตรไปใช้อย่าง

ตอ่ เนือ่ งเพ่ือให้การจัดการบริหารหลกั สูตรสถานศกึ ษาดำเนินไปอยา่ งถูกทศิ ถูกทางและถกู ต้อง ส่งผลให้
เกดิ ประสิทธภิ าพและเกดิ ประสทิ ธผิ ลในการใชห้ ลักสตู รที่ดียิง่ ๆ ขน้ึ ไป

อภิปรายผลการประเมนิ หลักสตู ร
จากผลการประเมินการใชห้ ลักสูตรโรงเรียนวดั ชินวราราม (เจรญิ ผลวิทยาเวศม)์ พทุ ธศักราช 2553
(ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. 2561) ด้วยการประเมินการบริหารและการจัดการหลกั สตู รสถานศึกษาตาม
เครื่องมือของกลุม่ นิเทศ ติดตามและประเมนิ ผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษา
ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (ภาคผนวก) สอบถามจากผู้บรหิ ารโรงเรยี นคณะกรรมการภาคี 4 ฝา่ ย
กลมุ่ บริหารวิชาการและหัวหน้ากลมุ่ สาระการเรยี นรู้ 8 กลุ่มสาระ ตัวแทนนักเรียน จำนวน 25 คน
นำมาวิเคราะห์ ประมวลผล ในการจดั ทำรายงานผลการใช้และพัฒนาหลักสตู รสถานศึกษา ประจำปี
การศกึ ษา 2562 ปรากฏผลของการนิเทศ ตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการบริหารจดั การหลักสตู ร
สถานศกึ ษาในภาพรวมมกี ารปฏิบตั ิและมคี วามชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน
มีการรว่ มคดิ รว่ มทำมีการจดั ทำหลกั สูตรทีส่ นองเจตนารมณแ์ ละนโยบายตา่ งๆ อยา่ งรอบด้าน
สนองตอบความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง สอดคลอ้ งกบั บรบิ ทของสังคม รวมท้งั มีการนิเทศ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 43

ติดตามของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มกี ารพัฒนาการจดั กจิ กรรมการเรียนรแู้ ละการพัฒนาห้องเรยี น
คุณภาพอยา่ งต่อเน่ือง มกี ารระบุรายวชิ าพ้นื ฐาน รายวชิ าเพ่ิมเตมิ ระบรุ หัสวิชา ช่ือรายวิชา พร้อมทง้ั ระบุ
เวลาเรียน และ/หรือหนว่ ยกิต มกี ารระบุกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน พร้อมทง้ั ระบุเวลาเรียนไว้อยา่ งถกู ต้อง
ชดั เจน รายวชิ าเพิ่มเติม / กิจกรรมเพ่ิมเติมท่ีกำหนดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ จุดเน้นของโรงเรยี นออกแบบ
กิจกรรมการเรยี นรู้ ไดส้ อดคล้องกบั ตวั ช้ีวัด/มาตรฐานและเน้นผเู้ รยี นเปน็ สำคัญ ครอู อกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ ไดส้ อดคลอ้ งกับตวั ชี้วัด/มาตรฐานและเน้นผเู้ รยี นเปน็ สำคญั และมีการนำเอาแผนการจดั การ
เรียนรูท้ ปี่ รับปรงุ แลว้ ไปใช้ในการจดั การเรยี นรจู้ รงิ

ขอ้ เสนอแนะ
1. การประเมนิ การใชห้ ลกั สตู รครงั้ ตอ่ ไป ควรพัฒนาเครอ่ื งมอื ให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ได้

ครอบคลุมประเดน็ มากยิ่งขึ้น
2. ควรประเมินหลกั สูตรสถานศึกษา ดว้ ยรูปแบบของการวิจัยเต็มรูปแบบ ทุกๆ 3 ปี
3. ควรจัดการประเมนิ เมินหลักสตู รแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และตามแผนการจัดการ

เรียนรู้จะทำให้ไดข้ ้อมลู เพ่อื การพัฒนาใหด้ ียิง่ ๆ ข้นึ ไป
4. โรงเรยี นต้องนำข้อเสนอแนะจากทุกขน้ั ตอน มาดำเนินการแกไ้ ขปญั หา เช่น ปัญหาด้านการ

จดั กจิ กรรมการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถพฒั นางานการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้อยา่ งมีประสิทธิภาพและเกิด
ประสิทธิผลเพอ่ื ความเป็นเลิศทางวชิ าการ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 44

บรรณานุกรม

กระทรวงศกึ ษาธิการ. (2552). หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย.

จงฤดี ไสยสัตย.์ (2549). การประเมินหลักสตู รสถานศกึ ษาของโรงเรียน ในสังกดั สำนักงานเขต
ใจทิพย์ เชื้อรตั นพงษ์. (2539). การพฒั นาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครง้ั ที่
3.กรงุ เทพฯ: อลนี เปรส.

ชวลติ ชกู าแพง. (2551). การพฒั นาหลกั สูตร. พิมพ์ครั้งท่ี 2. กรุงเทพฯ: คิวพี.
ทวศี ักด์ิ จนิ ดานุรกั ษ์. (2549). “การพฒั นาหลักสูตร” ใน ประมวลสาระชดุ วชิ าการประเมนิ หลกั สูตร

และการเรยี นการสอน หน่วยที่ 2. นนทบุร:ี มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราชสาขาวิชา
ศกึ ษาศาสตร์.
ธรี ชัย เนตรถนอมศกั ด.์ิ (2550). “การพฒั นาหลักสตู ร” ใน เอกสารประกอบการสอนวชิ า 230401.
ขอนแกน่ : คลงั นานาวทิ ยา.
นิภารัตน์ ทพิ โชติ. (2550). การประเมนิ หลักสตู รสถานศกึ ษาชว่ งชั้นท่ี 1 และ 2 : กรณีศึกษา
โรงเรียนวัดบงึ ทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศกึ ษา
มหาบณั ฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บณั ฑติ วิทยาลัยมหาวทิ ยาลยั ศรีนคริ
นทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วธิ ีการทำสถติ ิสำหรับการวิจยั . พมิ พค์ ร้ังที่ 4. กรงุ เทพฯ:สรุ ยิ าสาสน์ การ
พิมพ.์ 117
บุญศรี พรหมมาพันธ์.ุ (2551). "สัมมนาการประเมนิ หลักสูตร" ใน ประมวลสาระวิชาสมั มนาการ
ประเมนิ การศกึ ษา หน่วยที่ 12. นนทบรุ :ี มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าชสาขาวิชา
ศกึ ษาศาสตร์.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2539). การบรหิ ารโครงการ. พมิ พ์ครงั้ ท่ี 2. กรุงเทพฯ: เนตกิ ุลการพมิ พ.์
เปร่อื ง จนั ดา. (2549). การบริหารจัดการหลกั สตู รสถานศึกษาของสถานศกึ ษา สังกัดสานกั งาน
เขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. วทิ ยานิพนธป์ ริญญาดษุ ฎีบณั ฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บณั ฑติ วิทยาลัย มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น.พยนต์ งว่ นทอง. (2553).
การประเมินหลักสตู รสถานศึกษา พุทธศกั ราช 2553
ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2551). รปู แบบของหลกั สูตร ในการพฒั นาหลักสูตร หนว่ ยท่ี 3.ขอนแก่น:
คลงั นานาวทิ ยา.
เยาวดี รางชยั กุล วบิ ลู ยศ์ ร.ี (2553). การประเมนิ โครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พมิ พ์ครง้ั ที่ 7.
กรุงเทพฯ: สานกั พิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2550. (24 สงิ หาคม 2550). ราชกจิ จานุเบกษา

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 45

บรรณานุกรม(ต่อ)

เลม่ 124 ตอนที่ 74 ก.
ลดั ดาวัลย์ เพชรโรจน.์ (2549). ความรพู้ น้ื ฐานเกย่ี วกบั การประเมินหลกั สตู รและการเรียนการสอนใน

ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอน หน่วยที่ 3. นนทบรุ :ี
มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช.
วัฒนาพร ระงับทุกข.์ (2544). การจดั ทาหลกั สตู รสถานศึกษาตามหลกั สตู รการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน
พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟคิ .
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การประเมินหลักสตู รใน ประมวลสาระชดุ วชิ าการพฒั นาหลักสูตรและ
วธิ ที างการสอน หนว่ ยที่ 13. นนทบุร:ี มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.118
ศรสี มร พุ่มสะอาด. (2549). “การประเมนิ หลกั สูตรและการเรยี นการสอน” ใน ประมวลสาระ
ชุดวิชาการประเมินหลกั สตู รและการเรียนการสอน หนว่ ยท่ี 13. นนทบุรี:
มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช.
ศิริชยั กาญจนวาสี. (2545). "ทฤษฎีการประเมนิ และการตัดสินใจ" ใน ประมวลสาระชดุ วิชา
การประเมนิ และการจัดการโครงการประเมนิ หน่วยที่ 2. นนทบุรี:
มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช.
_______. (2551). หลักการและแนวปฏบิ ตั ใิ นการประเมนิ นโยบาย แผนงาน โครงการและหลักสูตร
ในประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและการจดั การโครงการประเมนิ หนว่ ยท่ี 12. นนทบุรี :
มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช.
______. (2552). เทคนิคการประเมนิ โครงการ. พิมพ์คร้ังที่ 6. นนทบุร:ี จตพุ ร ดไี ซน.์
______. (2553). หลักสูตรโรงเรยี นวัดชนิ วราราม (เจริญผลวิทยาเวศม)์ พทุ ธศักราช 2553 (ฉบับ
ปรบั ปรุง 2561 ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551. ปทมุ ธานี : โรงเรียนวดั
ชินวราราม (เจริญผลวทิ ยาเวศม์).
สมชาย วางหา. (2550). การประเมนิ หลักสูตรสถานศึกษาข้นั พืน้ ฐานโรงเรยี นบา้ นใหม่ อำเภอวังชิ้น
จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครศุ าสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชาบริหารการศกึ ษา บัณฑิต
วทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั ราชภฏั อุตรดิตถ์.
เสาวนี ตรีพทุ ธรัตน.์ (2551). ความรพู้ นื้ ฐานเก่ียวกับการพัฒนาหลักสตู ร ใน การพฒั นาหลกั สตู ร
หน่วยที่ 1. ขอนแกน่ : คลังนานาวิทยา.
เสาวนี ตรพี ทุ ธรตั น.์ (2547). ปัจจัยองค์กรท่ีสง่ ผลตอ่ ความมีประสทิ ธภิ าพในการนำหลกั สตู ร
การศกึ ษาขน้ั พื้นฐานพุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสงั กดั สำนักงานการศึกษาขน้ั
พนื้ ฐานภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื . วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาดุษฎบี ัณฑติ สาขาวิชาการบริหาร
การศกึ ษา บัณฑติ วทิ ยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสาวนี ตรพี ุทธรตั น์ และคณะ. (2548). รายงานการประเมินผล หลกั สตู รประกาศนียบัตร แนวคดิ

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 46

บรรณานกุ รม(ตอ่ )

พ้นื ฐานเกยี่ วกับการจดั การความขัดแยง้ ด้านนโยบายสาธารณะโดยสนั ติวธิ ี รนุ่ ท่ี 3.
มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .
สนุ ีย์ ภู่พนั ธ.์ (2546). แนวคดิ พื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสตู ร. กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย.
Eisner, E. (1985). The educational imagination. New York : Teacher College Press.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill Book.
Reinmannand, P. & Mandl (1999). Implementation. Konstruktivistischer
LernumgebungenIn Johannes - Kepler University, Australia. Curriculum Implemention -
Limiting andfacilitating factors.
Stufflebeam, Daniel L. (1973). “Education Evaluation and Decision – Making,” in
Education Evaluation : Theory and Practice. Belmont California : Wadssorth
Company.

รายงานการใชแ้ ละพฒั นาหลกั สตู รโรงเรยี นวดั ชนิ วราราม (เจรญิ ผลวทิ ยาเวศม)์ : ประถมศกึ ษา 47


Click to View FlipBook Version