2.การสร้างข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียน อายุเพศ จํานวนประชากร ปริมาณฝน เป็นต้น ข้อมูลจะมีอยู่จํานวนมาก และจะถูกนําไปประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากมาย ข้อมูลมีความสําคัญมาก หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์จะผิดด้วย หรือเรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in – garbage out) การประมวลผล (processing) หมายถึง การกระทําของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวม เป็นแฟ้มข้อมูล การคํานวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลําดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดทํารายงาน เป็นต้น สารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผลเพื่อ นํามาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้ เหมาะสมกับการใช้งาน ทันต่อเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้สะดวก ซึ่งสารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดีเช่น อาจจะมีการกําหนดให้ผู้ใด บ้างเป็นผู้มีสิทธิใช้ข้อมูลได้ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุมกําหนดสิทธิ์ในการแก้ไข หรือการกระทํากับข้อมูลว่าจะกระทําได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือ ถูกทําลายโดยไม่ได้ตั้งใจ ภาพแสดงการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ชนิดและลักษณะข้อมูล การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ - ความต้องการของผู้ใช้ - ลักษณะของข้อมูลที่นําไปใช้ - เกณฑ์ที่นํามาพิจารณา สามารถแบ่งชนิดและลักษณะของข้อมูลไว้4 รูปแบบ ดังนี้1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย ได้แก่- ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู- ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง 2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล ได้แก่- ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจาก แหล่งข้อมูล โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสํารวจการจดบันทึกตัวอย่างข้อมูล ปฐมภูมิได้แก่ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา - ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) คือ การนําข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน ผู้ใช้ไม่จําเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการ ประมวลผลแล้ว ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิได้แก่สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ใน ปีพ.ศ.2550 3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและ นามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ ได้แก่- ข้อมูลตัวอักษร เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อ ไฟล์เป็น .txt และ .doc - ข้อมูลภาพ เช่น ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .bmp .gif และ .jpg - ข้อมูลเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรีและเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .wav .mp3 และ .au - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิกวีดีโอ ภาพยนตร์คลิปวิดีโอ ข้อมูล ประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก แต่มุ่งเน้น พิจารณาการแบ่งประเภทตามการนําข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่- ข้อมูลเชิงจํานวน มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนํามาคํานวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้เช่น จํานวนเงินใน กระเป๋า จํานวนค่าโดยสารรถประจําทาง และจํานวนนักเรียนในห้องเรียน - ข้อมูลอักขระ มีลักษณะเป็นตัวอักษร ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งสามารถนําเสนอข้อมูล และเรียงลําดับได้แต่ไม่สามารถนํามาคํานวณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน - ข้อมูลกราฟิก เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์ทําให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร และกราฟ - ข้อมูลภาพลักษณ์เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก ซึ่งสามารถนําเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้แต่ไม่สามารถนํามาคํานวณหรือดําเนินการ อย่างอื่นได้กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ การทําข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จําเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการดําเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดําเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็น สารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน มีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล 1.1 การรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจํานวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยใน การจัดเก็บอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การ ตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดําในตําแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน 1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจําเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความน่าเชื่อถือ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การ ตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธีเช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกัน เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เปรียบเทียบกัน หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ 2. การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้2.1 การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สําหรับการ ใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้ม ลงทะเบียน เพื่อความสะดวกในการค้นหา 2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลําดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตร ข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลําดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้ โทรศัพท์ตามลําดับตัวอักษร
2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีจํานวนมาก จําเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสรุปรายงาน เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจํานวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียน แต่ละชั้น 2.4 การคํานวณข้อมูล ที่เก็บรวบรวมมีเป็นจํานวนมากข้อมูลบางส่วน เป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถ นําไปคํานวณ เพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคํานวณข้อมูลที่เก็บ ไว้ด้วย เช่น การคํานวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนแต่ละคน 3. การดูแลรักษาข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนําข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึก ต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทําสําเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคต ได้3.2 การทําสําเนาข้อมูล การทําสําเนาเพื่อที่จะนําข้อมูลเก็บรักษาไว้หรือนําไปแจกจ่ายใน ภายหลัง จึงควรคํานึงถึงความจุและความทนทานของสื่อบันทึกข้อมูล 3.3 การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสําคัญและมีบทบาทที่สําคัญยิ่งที่จะทําให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทําได้รวดเร็ว และทันเวลา 3.4 การปรับปรุงข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป ดังนั้นข้อมูลจึงต้อง มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็คทรอนิคส์แบ่งได้กี่วิธี่อะไรบ้าง การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีดังนี้1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ 4 วิธีดังนี้1.1 การลงรหัส คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทําให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การ ประมวลผล ทําให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น 1.2 การตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุง แก้ไขเท่าที่จะทําได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คําตอบบางคําตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคําตอบจาก คําถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม 1.3 การแยกประเภทข้อมูล คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการ ประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุเป็นต้น 1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนําไปประมวลได้เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนําไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป
2. ขั้นตอนการประมวลผล คือเป็นการนําเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อ โดยนําข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทํางานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทําการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้2.1 การคํานวณ ได้แก่การคํานวณทางคณิตศาสตร์เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทาง ตรรกศาสตร์เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ 2.2 การเรียงลําดับข้อมูล เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น 2.3 การสรุป เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กําไรขาดทุน 2.4 การเปรียบเทียบ เพื่อพิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและต่างกัน 3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปล ผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่การนําเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชีรายงานทางสถิติรายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิหรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทําให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้โดยที่จะไม่เกิดความซ้ําซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีก ทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกําหนดระบบความปลอดภัย ของข้อมูลขึ้น นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง อย่างเหมาะสม สามารถนํามาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนํามาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลําบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการ นําข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการ จัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทําให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละ โปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสําคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคํานึงถึงการ ควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล ความหมายของระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นํามาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กร ด้วยเช่นกัน เช่น ในสํานักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสาร ทุกอย่างของสํานักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้อง การนําออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนํามาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้และที่สําคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนํามาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ตัวอย่าง ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่2 ฐานข้อมูล เป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ําซ้อนของข้อมูล และทําให้การ บํารุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือเรียกย่อๆ ว่า " DBMS "
นิยามและคําศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ไบท์(Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนําบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character) เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมา รวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่เป็นต้น ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมา รวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย • รหัสประจําตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล • ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล • ที่อยู่1 เขตข้อมูล แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนําข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่อง เดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้1. สามารถลดความซ้ําซ้อนของข้อมูลได้การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ทําให้เกิดความซ้ําซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนําข้อมูลมา รวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ําซ้อนของข้อมูลได้โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ําซ้อนได้เนื่องจากระบบจัดการ ฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ําซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง 2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้แต่ปรับปรุงไม่ครบทุก ที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทําให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่จึง ก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจาก แฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทําได้โดยง่าย 4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อน ข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจาก ฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทําให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบ จัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น 5. สามารถกําหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทําให้สามารถกําหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐาน ต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้เช่นการกําหนดรูปแบบการเขียนวันที่ในลักษณะ วัน/เดือน/ปีหรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กําหนดมาตรฐานต่างๆ 6. สามารถกําหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ระบบความปลอดภัยในที่นี้เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างใน ระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกําหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม 7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จําเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทําเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการ เปลี่ยนแปลง
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ใน ฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้การปรับปรุงข้อมูล โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยม ใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละ โปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจํากัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งาน ยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทํางานมากกว่า โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อย แล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้นอกจากนี้Access ยังมีระบบรักษาความ ปลอดภัยของข้อมูล โดยการกําหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คําสั่ง และฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยใน การเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูล รายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้และแม้แต่Excel ก็สามารถอ่านไฟล์.DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพ การทํางานสูง สามารถทํางานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คําสั่งเพียงไม่กี่คําสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคําสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป
รหัสแทนข้อมูล ความหมายของรหัสแทนข้อมูล รหัสแทนข้อมูล หมายถึง รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ ที่ใช้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพราะว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจําของคอมพิวเตอร์จะแทน ด้วยรหัสเลขฐานสองที่มีเลข 0 กับ 1 วางเรียงกัน ซึ่งรหัสข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้คือ 1. รหัสภายนอกเครื่อง (External Code) หมายถึง รหัสที่ใช้สําหรับการบันทึกข้อมูลที่อยู่ภายนอก เครื่องคอมพิวเตอร์เช่น การบันทึกข้อมูลบนบัตรเจาะรูโดยใช้สัญลักษณ์การเจาะรูแต่ละแถวแทนข้อมูล 1 ตัวอักษร 2. รหัสภายในเครื่อง (Internal Code) หมายถึง รหัสที่ใช้แทนข้อมูลที่ถูกอ่านและบันทึกอยู่ใน หน่วยความจําของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งรหัสที่ใช้แทนข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีหลายรูปแบบ ชนิดของรหัสแทนข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้วผู้ใช้สามารถกําหนดรหัสแทนอักขระใด ๆ ได้เองจากกลุ่มของเลขฐานสอง 8 บิต แต่ใน ความเป็นจริงนั้นทําไม่ได้เพราะหากทําเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาระหว่างเครื่องสองเครื่องที่ใช้รหัสต่างกัน เปรียบเทียบได้กับคนสองคนคุยกันคนละภาษา ดังนั้นจึงควรมีการกําหนดรหัสแทนข้อมูลที่เป็นสากล เพื่อให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันได้รหัสแทนข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ • รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) รหัสเอบซีโคด พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มใช้แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 2 หรือ 256 ชนิด การ เก็บข้อมูลโดยใช้รหัสเอบซีดิกจะแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือโซนบิต (Zone bits) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมีจํานวน 4 บิตและนิวเมอริกบิต (Numeric bits)ในอีก 4 บิตที่เหลือ • รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) รหัสแอสกีเป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) ซึ่งจําเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับและส่ง ข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิต เช่นเดียวกัน • รหัส UniCode เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือ ภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจํานวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว
UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสําหรับ ตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิด ข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย คอมพิวเตอร์กับเลขฐาน ระบบเลขฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์คือ ช่วยในเรื่องการจัดการระบบดิจิตอลหรือระบบ อิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์หรือแทนรหัสข้อมูลในระบบ BCD, EBCDIC, ASCII โดยส่วนใหญ่ระบบเลขฐาน ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เป็น ระบบเลขฐานสอง ระบบเลขฐานแปดและระบบเลขฐานสิบหก โดยจะต้องมีการนํา ระบบเลขฐานดังกล่าวมาคํานวณผลด้วย ตัวดําเนินการทางคณิตศาสตร์ตลอดจนกระทั่งการเปลี่ยนระบบเลข ฐาน เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจระบบการทํางานของ คอมพิวเตอร์ซึ่งในการประมวลผลข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์นั้นข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําเข้าเป็นลําดับของบิต(Bit) หรือเลขฐานสองก่อน เช่น 110100110110 110101100110 110110110110 ระบบเลขฐาน ระบบเลขฐานประกอบด้วยเลขฐาน 2 เลขฐาน 8 เลขฐาน 10 เลขฐาน 16 ระบบเลขฐาน 2 (Binary Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 2 ตัว ได้แก่เลข 0 กับ เลข 1 ซึ่งเป็นเลขฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ง่าย เพราะว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าก็มีสถานะเพียง 2 สถานะ คือ เปิด กับ ปิด ซึ่งก็เทียบได้กับ 0 กับ 1 แต่ถ้าใช้เลขฐาน 10 ในคอมพิวเตอร์อาจจะเกิดปัญหาอย่าง อื่นตามมา หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ก็ต้องแบ่งสถานะออกเป็น 10 สถานะ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมนัก การเก็บ ข้อมูลในระบบของคอมพิวเตอร์ก็จะจัดเก็บเป็นกลุ่มตัวเลขฐานสองหลายบิต ขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งที่ต้องการ เก็บ และหน่วยความจําที่ใช้ระบบเลขฐาน 8 (Octal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัว ซึ่งประกอบด้วย เลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ซึ่งเป็นเลขฐานที่เพิ่มเนื้อที่หน่วยความจําในการเก็บให้มากขึ้น การเก็บข้อมูลเป็น เลขฐาน 8 จะทําให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ระบบเลขฐาน 10 (Decimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว ซึ่ง ประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ซึ่งระบบเลขฐาน 10 เป็นระบบเลขฐานที่คนทั่วไปสามารถ เข้าใจได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันซึ่งใช้มาตลอด สามารถจําได้และคํานวณได้ง่ายกว่าเลขฐานอื่น ๆ ระบบเลขฐาน 16 (Hexadecimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว และตัวอักษรแทนตัวเลขอีก 6 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และตัวอักษร ภาษาอังกฤษแทน 10 ถึง 15 ได้แก่ A, B, C, D, E, F ซึ่งก็จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าระบบเลขฐาน 2 ฐาน 8
เลขฐานสิบ เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบหก 0 0000 0 0 1 0001 1 1 2 0010 2 2 3 0011 3 3 4 0100 4 4 5 0101 5 5 6 0110 6 6 7 0111 7 7 8 1000 10 8 9 1001 11 9 10 1010 12 A 11 1011 13 B 12 1100 14 C 13 1101 15 D 14 1110 16 E 15 1111 17 F สาระน่ารู้เกี่ยวกับการแปลงค่าเลขฐาน การแปลงเลขฐานที่เป็นตัวเลขที่มีหลักเดียวสามารถนํามาเทียบกับตารางเลขฐานได้ โดยไม่ต้อง คํานวณค่าใหม่เนื่องจากตารางเลขฐานเกิดจากการเรียงลําดับเลขของเลขฐานนั้น ๆ ซึ่งจะมีผลลัพธ์เท่ากับ การคํานวณ โปรแกรมสําเร็จรูป โปรแกรมสําเร็จรูปสําหรับการประยุกต์ใช้ซอฟแวร์โปรแกรมสําเร็จรูป คือ?? By RIAHSOFTWARE.COM May 29, 2019 No Comments ShareTweetGoogle++
โปรแกรมสําเร็จรูป คือ โปรแกรม หรือว่า ซอฟต์แวร์ชุดของคําสั่งที่มีการจัดเรียงลําดับได้อย่างถูกต้องและ สามารถทํางานได้ผลลัพธ์อย่างที่ผู้ใช้โปรแกรมต้องการ ซอร์ฟแวร์แบ่งได้เป็นสองแบบได้แก่ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์โปรแกรมจําแนกออกมาได้เป็นสองประเภทด้วยกันคือ โปรแกรมสําเร็จรูป (Package Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีผู้เขียนได้เขียนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งจะทําให้การใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวกมากโดยที่ผู้ใช้งานไม่จําเป็น ที่จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์มากนักแต่เพียงแค่เรียนรู้วิธีการใช้งานเท่านั้น และจะมีคําอธิบายการใช้โปรแกรมให้ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนเอง (User Written Program ) โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานได้ตามที่ต้องการหรือตรงตามวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมโดยที่ใช้เทคนิคและ ความชํานาญของผู้เขียนโปรแกรม โปรแกรมสําเร็จรูป คือ ซอร์ฟแวร์หรือว่า โปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทําไว้เพื่อใช้ในการทํางานประเภทต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้คนอื่นสามารถนําโปรแกรมไปใช้กับข้อมูลของตัวเองได้แต่ดัดแปลงหรือแก้ไขไม่ได้ซอร์ฟแวร์สร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้ในสํานักงานทั่ว ๆ ไปโปรแกรมสําเร็จรูปสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่ภาพยนตร์เกมส์เสียงเพลงต่าง ๆ โปรแกรมกาฟฟิกส์ใช้ในการสร้างและจัดการรูปภาพในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเขียนแบบ ใช้ในการออกแบบและเขียนแบบ โปรแกรมสื่อสารระยะไกล ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โปรแกรมเว็บเพจ ใช้ในการเขียนเว็บเพจเพื่อใช้งานในเว็บและอินเตอร์เน็ต โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมที่ทําหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมนําเสนอผลงานใช้ในการนําเสนอผลงาน โปรแกรมตารางงาน ใช้คํานวณสร้างกราฟ โปรแกรมประมวลผลคําใช้พิมพ์เอกสารรายงาน