The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทวิเคราะห์โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ji-chat.sa, 2020-07-14 02:28:17

บทวิเคราะห์โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

บทวิเคราะห์โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

คุณคา่ ดา้ นเนอื้ หา

โคลงประกอบภาพท่ี ๑๐ ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงพระ
สุริโยทัยต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรส้ินพระชนม์บนคอช้าง เหตุที่
สมเด็จพระสุริโยทัยตัดสินพระทัยสละพระชนม์ชีพ ก็เพ่ือช่วยปกป้องพระ
มหาจกั รพรรดิ พระราชสวามีใหร้ อดพน้ จากอาวธุ ของข้าศึก ดังบทประพันธ์

นงคราญองค์เอกแก้ว กระษตั รีย์
มานมนัสกัตเวที ย่งิ ลา้
เกรงพระราชสามี มลายพระ ชนม์เฮย
ขับคเชนทรเข่นคา้ สะอึกสดู้ ัสกร

พระสุริโยทัยทรงมี “มนัสกัตเวที ยิ่งล้า” คือ ทรงมีความกตัญญูกตเวท่ี
เป็นเลิศ ท้ังต่อพระราชสวามตี ามหน้าที่ภรรยาที่ดีและต่อพระมหากษัตริย์ใน
ฐานะข้าแผ่นดิน ยอมสละชีวิตเพ่ือปกป้องผืนแผ่นดินมิให้อริราชศัตรูเข้ามา
รุกรานได้โดยง่าย พระวีรกรรมดังกล่าวนับเป็นแบบอย่างของ ความรักชาติ
และความเสยี สละที่คนไทยจึงตระหนักและจดจ้ายึดถือเป็นแบบอย่างในการ
ด้าเนินชวี ติ

โคลงประกอบภาพท่ี ๕๖ ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต กล่าวถึง
วีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นแบบอย่างของข้าราชส้านักท่ีมีความ
รับผิดชอบ แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดี ความซ่ือสัตย์ ความกตัญญูต่อ
พระเจ้าแผ่นดิน ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธ์ิของกฎหมาย และ
พระเกียรติยศของสมเด็จพระเจ้าเสือ เพ่ือไม่ให้ผู้คนครหาดูหม่ินพระองค์ได้
ในภายภาคหน้า และเพ่ือรักษาราชประเพณีไว้สืบต่อไป ซึ่งตามพระราช
ก้าหนดอันมีมาแต่โบราณกาลระบุไว้ว่า “ถ้าแหละพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือ
พระที่น่ังให้ศีรษะเรือพระท่ีนั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายนั้นถึงมรณโทษให้ตัด
ศีรษะเสีย” สมเด็จพระเจ้าเสือจึงจ้าต้องโปรดให้ประหารชีวิตและทรงให้ตั้ง
ศาลเพียงตา สืบเกียรติคุณพนั ทา้ ยนรสงิ หไ์ วส้ ืบไป ดงั บทประพันธ์

ภมู ีปลอบกลบั ตั้ง ขอบรรลยั พ่อ
จา้ สง่ั เพชฌฆาตฟัน ฟาดเกล้า
โขนเรอื กับหวั ฟัน เซน่ ท่ี ศาลแล
ศาลสืบกฤตคิ ุณเค้า คตไิ วใ้ นสยาม
คติไวใ้ นสยาม

คณุ ค่าดา้ นเนื้อหา

โคลงประกอบภาพท้ัง ๒ เร่ือง มีความโดดเด่นด้านการเลือกสรรถ้อยค้าท่ีท้า
ให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการอย่างเด่นชัด เน้ือความกระชับ ใช้ค้าน้อยแต่กินความมาก
ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ท้าให้ผู้อ่านช่ืนชมในความกล้าหาญ ซาบซ้ึงในความ
กตญั ญู ความจงรกั ภักดี และความเสียสละของบรรพชนไทย

โคลงประกอบภาพที่ ๑๐ ภาพพระสุริโยทัยซาดคอช้าง กวีให้เลือกสรร
ถ้อยค้าท่ีให้ทั้งเสียงและภาพ ท้าให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงภาพของกองทัพที่
ยิ่งใหญ่เกรียงไกรท่เี ข้าต่อสู้กันอย่างชุลมุน และภาพช้างศึกท่ีไสตามอยา่ งกระชัน้ ชิด
ทา้ ให้รู้สึกราวกับไดร้ ่วมอยูใ่ นเหตุการณจ์ ริง ดังบทประพันธ์

ขุนมอญรอ่ นง้าวฟาด ฉาดฉะ
ขาดแล่งตราบอุระ หรบุ ด้ิน
โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ
สญู ชีพไปสญู สน้ิ พจน์ผสู้ รรเสริญ

จากบทประพันธ์จะเห็นว่ากวีเลือกใช้ค้าที่ให้เสียง คือเสียงของง้าวที่กระทบ
กันต้ัง “ฉาดฉะ และสรรค้าที่ให้ภาพ “หรุบด้ิน” ค้าว่า หรุบ หมายถึง อาการของ
ส่ิงของท่ีรวงพรูลงมา ด้ิน หมายถึง อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง ร่าง
ของพระสุรโิ ยทัยทรดุ ลงซบกบั คอชา้ ง สรา้ งความสะเทือนใจอยา่ งยิ่ง

โคลงประกอบภาพที่ ๕๖ ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต กวีได้ถ่ายทอด
เร่ืองราว วีรกรรมความกล้าหาญเด็ดเด่ียวของพันท้ายนรสิงห์ เรียงตามส้าดับ
เหตุการณ์ได้อย่างกะทัดรัด โดยใช้โคลงส่ีสุภาพเพียง ๔ บท ท้ังที่พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงเหตุการณ์ตอนน้ีไว้ค่อนข้างยาวและมีบันทึกค้า
สนทนาระหว่างสมเด็จพระเจ้าเสือกับพันท้ายนรสิงห์อย่างละเอียด จึงกล่าวได้ว่า
โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิตมีความเด่นในด้านการใช้ค้าน้อยแต่กินความมาก กวี
สามารถเก็บรายละเอียดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้ด้วยโคลงเพียง ๔ บท
นอกจากน้ีโคลงบางบทยังมีการเลน่ สัมผัสพยญั ชนะ ทา้ ให้โคลงมคี วามไพเราะยิ่งขึ้น
ดงั บทประพันธ์

ภบู าลบ้าเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ
พันไมย่ อมอยู่ยอม มอดม้วย
พระโปรดเปลีย่ นโทษปลอม ฟันรูป แทนพอ่
ฟนั กราบทูลทัดด้วย ทา่ นทงิ้ ประเพณี

จากบทประพันธ์ปรากฏสัมผัสอักษร คือ (ภู)บาล - บ้า(เหน็จ) โทษ -
ถนอม ยอม - อยู่ มอด - มว้ ย เปลีย่ น - ปลอม ทลู – ทดั ท่าน – ทิ้ง

คุณคา่ ดา้ นสงั คม

๑) แสดงให้เห็นสภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือ แสดงสภาพ
สังคม และ การท้าสงครามในสมัยโบราณท่ียกก้าลังพลจ้านวนมากมาต่อสู้
กัน แม่ทัพท้ังสองฝ่ายต่างเป็นผู้น้าในการออกรบด้วยความกํล้าหาญ ดังบท
ประพนั ธ์

บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา มญั เฮย

ยกพยหุ แสนยา ยงิ่ แกล้ว

มอญมา่ นประมวลมา สามสิบ หมื่นแฮ

ถงึ อยุธเยศแลว้ หยุดใกลน้ ครา

พระมหาจักรพรรดิเผ้า ภูวดล สยามเฮย

วางค่ายรายรพ้ี ล เพียบหล้า

ด้าริจกั ใครย่ ล แรงศึก

ยกนกิ รทัพกล้า ออกตั้งกลางสมร

จากบทประพันธ์แสดงให้เห็นถึงภาพของการท้าส งครามโดย มี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้น้าในการออกรบ และตามด้วยกองก้าลังทหารท่ีมีความ
กล้าหาญเด็ดเดี่ยว กวีเลือกสรรการใช้ถ้อยค้า เพ่ือให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ มองเห็น
กองก้าลังทหารจ้านวนมาก

๒) แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของคนไทย คือ แสดงให้
เห็นถึงความกล้าหาญของพระสุริโยทัย ท่ีแต่งพระองค์ดังพระมหาอุปราชเสด็จไป
รบในกองทพั ด้วยพระทัยทกี่ ล้าหาญ เดด็ เดี่ยว ควยความรักและเสยี สละทมี่ ีต่อองค์
พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระราชสวามี ทรงไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระคชาธารของ
พระเจ้าแปร จนลูกจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวส้ินพระชนม์ อันนับเป็นวีรกรรมท่ี
ควรคา่ แก่การยกย่องสรรเสริญอยา่ งยิ่ง

ส่วนโคลงประกอบภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต แสดงให้เห็นถึงการเคารพ
กฎหมาย ระเบียบ ประเพณีของบ้านเมือง ยอมเสียสละชีวิตเพ่ือด้ารงไว้ซึ่งความ
ศักด์ิสิทธิ์ของกฎหมาย ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงคุณธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน
ทท่ี รงมีพระเมตตาตอ่ ข้าราชบริพารของพระองค์

ภูบาลบ้าเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ

พนั ไมย่ อมอยู่ยอม มอดมวย

พระโปรดเปลีย่ นโทษปลอม ฟันรปู แทนพ่อ

พนั กราบทลู ทัดด้วย ทา่ นทงั้ ประเพณี

ภมู ปิ ลอบกลับตั้ง ขอบรร ลัยพ่อ

จ้าสั่งเพชฌฆาตฟัน ฟาดเกลา้

โขนเรอื กบั หวั พัน เซน่ ท่ี ศาสแส

ศาลสืบกฤติคณุ เค้า คตไิ วใ้ นสยาม

จากบทประพันธจ์ ะเหน็ ได้ว่า “พัน” คือ พันท้ายนรสิงห์ไมย่ อมมีชีวติ อยู่ ด้วย
ความต้ังใจท่ีจะรักษาความศักด์ิสิทธ์ิของกฎหมายและรักษาพระเกียรติยศของ
พระมหากษตั ริย์ แม้พระเจ้าเสอื จะทรงพระเมตตา แตพ่ ันป้ายนรสิงห์ยังคงยืนกราน
ท่ีจะรบั โทษ ดังนัน้ พระเจ้าเสือจึงรบั ส่ังประหาร พันทา้ ยนรสงิ ห์

ขอ้ คดิ ทสี่ ามารถนาํ ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตประจาํ วัน

การศึกษาเร่ืองราวเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ส้าคัญของชาติ ท้าให้ผู้เรียน
ได้เห็น สภาพสังคม ความคิด ความเช่ือของบรรพบุรุษ ได้เห็นแบบอย่างพฤติกรรม
อันดีงามทีส่ ามารถนา้ มาเป็น แนวทางในการดา้ เนนิ ชีวิตประจ้าวนั ดังน้ี

๑) ความเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง คือ หน้าท่ีของคนไทยทุกคนที่ควร
ยดึ ถอื เปน็ แบบอย่างและน้ามาปฏิบัติ ประเทศชาตบิ ้านเมอื งจะด้ารงอยู่ไดย้ ่อมตอ้ ง
อาศัยความเสียสละของคน ในชาติ ไม่คิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว ถ้าทุกคนในชาติ
มองเห็นความส้าคัญของการเสียสละ จะท้าให้ประเทศชาติพัฒนาไปได้อย่าง
ต่อเน่ือง

๒) ความกตญั ญูกตเวที เป็นคุณธรรมอันประเสริฐ บุคคลโดที่มีความกตัญญู
ผู้น้ันยอ่ มประสบแตค่ วามสุขความเจรญิ และไดร้ บั การยกยอ่ งจากผู้อน่ื

๓) การทําหน้าท่พี ลเมืองดี เป็นหน้าท่ีของคนไทยทุกคนต้องรู้กฎหมายและ
ปฏิบตั ิ ตามกฎหมายอยา่ งเคร่งครัดเพื่อรกั ษาไวซ้ ่ึงความสงบสขุ ของบ้านเมือง

๔) การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คนไทยทุกคนควรศึกษาเรียนรู้เก่ียวกับ
ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของชาติเพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจให้คนไทยภูมิใจใน
ความกล้าหาญ ความกตัญู และ ความเสียสละของบรรพบุรุษที่ช่วยด้ารงรักษาผืน
แผน่ ดนิ ไทยจนตกทอดมาถงึ เราในทกุ วนั น้ี




Click to View FlipBook Version