The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chanakan Rungchaya, 2022-12-01 10:00:48

748A1975-CD1C-4E43-8927-703E8FB09E26

748A1975-CD1C-4E43-8927-703E8FB09E26

มหาเวสสัน
ดรชาดก

๑๓ กัณฑ์ พันคาถา



คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อให้ได้

ศึกษาหาความรู้ในเรื่องราวของวรรณคดีมหาเวสสันดรชาดก โดยได้ผ่านแหล่งความรู้

จากเว็บไซต์ต่างๆ อาทิเช่น หนังสือวรรณคดีเว็บไซต์ต่างๆ โดยรายงานเล่มนี้ต้องมี

เนื้อหาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องวรรณคดีมหาเวสสันดรชาดกและความสำคัญต่างๆของเรื่องที่

มี

ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ

ผู้ที่สนใจศึกษาวรรณคดีไทยเป็นอย่างดี คณะผู้จัดทำ
(นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ปีที่ ๔ ห้อง ๖)

สารบัญ ข

คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญ (ต่อ) ค
สารบัญ (ต่อ) ง
สารบัญ (ต่อ) จ
สารบัญ (ต่อ) ฉ
สารบัญ (ต่อ) ช
ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง ๑
ที่มาของเรื่อง ๒
ลักษณะคำประพันธ์ ๓
จุดประสงค์ในการแต่ง ๓
กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร ๔

เรื่องย่อ ๕
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๕
คำศัพท์

สารบัญ (ต่อ) ค

กัณฑ์ที่ ๒ กัณฑ์หิมพานต์

เรื่องย่อ ๖
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๖
คำศัพท์ ๖

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ ๗
เรื่องย่อ ๗
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๘
คำศัพท์ ๘

กัณฑ์ที่ ๔ กัณฑ์วนประเวศน์ ๙
เรื่องย่อ ๙
คำศัพท์ ๑๐
ข้อคิดประจำกัณฑ์

สารบัญ (ต่อ) ง

กัณฑ์ที่ ๕ กัณฑ์ชูชก

เรื่องย่อ ๑๑
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๑๑
คำศัพท์ ๑๒
๑๒
กัณฑ์ที่ ๖ กัณฑ์จุลพน ๑๓
เรื่องย่อ ๑๓
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๑๔
คำศัพท์ ๑๔
๑๕
กัณฑ์ที่ ๗ กัณฑ์มหาพน ๑๕
เรื่องย่อ ๑๖
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๑๖
คำศัพท์

สารบัญ (ต่อ) จ

กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร

เรื่องย่อ ๑๗
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๑๗
คำศัพท์ ๑๘
๑๘
กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี ๑๙
เรื่องย่อ ๑๙
เรื่องย่อ (ต่อ) ๒๐
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๒๑
คำศัพท์ ๒๑
๒๒
กัณฑ์ที่ ๑๐ กัณฑ์สักกบรรพ ๒๒
เรื่องย่อ ๒๓
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๒๓
คำศัพท์

สารบัญ (ต่อ) ฉ

กัณฑ์ที่ ๑๑ กัณฑ์มหาราช

เรื่องย่อ ๒๔
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๒๔
คำศัพท์ ๒๔
๒๔
กัณฑ์ที่ ๑๒ กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๒๕
เรื่องย่อ ๒๕
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๒๕
คำศัพท์ ๒๕
๒๖
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ๒๖
เรื่องย่อ ๒๖
ข้อคิดประจำกัณฑ์ ๒๖
คำศัพท์

สารบัญ (ต่อ) ช

วิจารณ์ตัวละคร ๒๗
พระเวสสันดร ๒๗
พระนางมัทรี ๒๗
พระนางผุสดี ๒๗
พระเจ้ากรุงสญชัย ๒๘
พระกัณหา ๒๘
พระชาลี ๒๘
ชูชก ๒๙
๓๐
ฝนโบกขรพรรษ ๓๑
ทศชาติ ๓๒
ข้อคิดจากเรื่องที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ๓๓
บรรณานุกรม ๓๔
บรรณานุกรม (ต่อ)



ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน
เกิดเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่
อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้
หลายเรื่องด้วยกันเจ้าพระยาพระคลัง เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ภชัย (บุญมี)
กับท่านผู้หญิงเจริญ



ที่มาของเรื่อง

มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกโดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ซึ่ง
เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี ต่อมามีการแปลเป็นภาษา
ไทย
ในสมัยกรุงสุโขทัยต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯให้ปราชญ
ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็นมหาชาติสำนวนแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
ใช้สวด ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าให้แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้สำหรับ
เทศน์ แต่เนื้อความในกาพย์มหาชาติค่อนข้างยาวไม่สามารถเทศน์ให้จบภายใน ๑ วัน
จึงเกิดมหาชาติขึ้นให้มีอีกหลายสำนวน เพื่อให้เทศน์จบภายใน ๑ วัน มหาชาติสำนวน
ใหม่นี้เรียกวา มหาชาติกลอนเทศน์ หรือ ร่ายยาวมหาเวสสนดรชาดก



ลักษณะคำประพันธ์

แต่งเป็นร่ายยาว มีพระคาถาภาษาบาลีนำ และพรรณนาเนื้อความโดยมีพระคาถาสลับเป็นตอน ๆ ไปจน
จบกัณฑ์ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่ง ๆ มี
ตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป ถึง ๑๐ คำหรือมากกว่า มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่ง
สัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น “นั้นแล” “นี้แล” ร่ายยาวมหา
เวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์ จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย แล้วจึงมีร่ายตา
ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ ๆ คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา

จุดประสงค์ในการแต่ง

เพื่อใช้เทศน์ให้ประชาชนฟัง มหาเวสสันดรชาดกแต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์มหาชาติ เนื่องจากร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ที่สุด เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรซึ่ง
เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกผนวชกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องราวในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทศบารมี ครบทั้ง ๑๐
ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรงบริจาคบุตรทารทาน คือ บริจาคพระชาลี พระกัณหา
และพระนางมัทรี จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหาชาติ” หรือ “มหาเวสสันดรชาดก”



กัณฑ์ ที่ ๑ กัณฑ์ ทศพร

เรื่องย่อ

ว่าด้วยเรื่องในอดีตชาติ พระนางผุสดีอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อถึงคราวจะ
สิ้นบุญจากสวรรค์พระนางได้รับพร ๑๐ ข้อจากพระสวามี ดังนี้



๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงาม และดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
๔. ขอให้ได้นาม “ผุสดี” ดังภพเดิม
๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
๖. ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
๙. ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้



ข้อคิดประจำกัณฑ์

การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิต ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนา
ไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์

คำศัพท์




พระถัน หมายถึง หน้าอก
พระเกศา หมายถึง เส้นผม
ดวงเนตร หมายถึง ดวงตา



กัณฑ์ ที่ ๒ กัณฑ์ หิมพานต์

เรื่องย่อ

เวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยกับพระนางผุสดี แห่งแคว้น
สีวีราษฎร์ ประสูติที่ตรอกพ่อค้า ยินดีในการบริจาคทาน เมื่อพระเวสสันดรได้รับ
ราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่กษัตริย์แคว้นกลิง
คราชฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ป่า
หิมพานต์

ข้อคิดประจำกัณฑ์

การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มามาร

ยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"

คำศัพท์

ประสูติ หมายถึง การเกิด,การคลอด



กัณฑ์ ที่ ๓ ทานกัณฑ์

เรื่องย่อ

ว่าด้วยเรื่อง พระเวสสันดร ทูลลาพระบิดา พระมารดา ก่อนออกเดินทางพระองค์ได้

ขอบริจาคทานใหญ่ เรียกว่า สัตตสดกมหาทาน ประกอบด้วย ช้าง ม้า โคนม รถม้า นารี

ทาส ทาสี ผ้าอาภรณ์ อย่างละ ๗๐๐ เพื่อให้กับคนทั่วไป และระหว่างการเดินด้วยราชรถ

ทองนั้น ได้มีพราหมณ์ ๔ คน มาทูลขอม้า และราชรถ พระองค์ได้พระราชทานให้จนหมด

สิ้น



ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
๒. โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึงจบชีวิตด้วยการก่อ

กองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
๔. ยามบุญมีเขาก็ยกยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม

คำศัพท์

โศก หมายถึง ความทุกข์,ความเศร้า
พระทัย หมายถึง ใจ
กันแสง หมายถึง ร้องไห้
โศกาดูร หมายถึง เดือดร้อนด้วยความโศก ร้องไห้สะอึกสะอื้น



กัณฑ์ ที่ ๔ กัณฑ์ วนประเวศน์

เรื่องย่อ

พระเวสสันดรได้เดินทางมาถึงเมืองเจตรัฐ พระราชาได้ออกมาต้อนรับ และประสงค์จะ

มอบเมืองให้ปกครอง พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ เพราะมีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญเพียร

ในป่า ตลอดระยะเวลา ๗ เดือน ที่ทั้ง ๔ พระองค์ได้บำเพ็ญเพียรในป่า พระราชาให้

พรานเจตบุตรมาคอยดูแลเฝ้าอารักขา

คำศัพท์

เทวบัญชา หมายถึง คำสั่งของเทวดา
พระดาบส หมายถึง ฤๅษี
ผนวช หมายถึง บวช

๑๐

ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. ยามเข็ญใจ-ยามจน ยามเจ็บ, ยามเจ๊ง, ยามจาก, เป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียว
แลจากหมู่มิตร
๒. ผลดีของมิตร คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยามเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุด
ดึงยามเพื่อนตกต่ำ ช่วยค้ำยันยามเพื่อนสูงขึ้น
๓. น้ำใจของคนดี-หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้ เพราะการเสียสละ
ของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันพึง

๑๑

กัณฑ์ ที่ ๕ กัณฑ์ ชูชก

เรื่องย่อ

ว่าด้วยเรื่อง เฒ่าชูชกซึ่งเป็นขอทาน ได้นำเงินที่ขอทานมาได้ไปฝากไว้กับเพื่อน พอมา
ทวงเงินคืนเพื่อนได้ใช้เงินหมดแล้ว เลยยกลูกสาวชื่ออมิตตดาให้ เมื่อนางอมิตตดาไปอยู่

กับเฒ่าชูชก นางได้ปรนนิบัติรับใช้มิได้ขาดตกบกพร่อง จนทำให้เพื่อนบ้านต่างอิจฉามา

ต่อว่าตบตี นางจึงไม่ยอมปรนนิบัติรับใช้อีก จึงบอกให้เฒ่าชูชกไปขอชาลี กัณหา เพื่อเอา

มาเป็นทาสรับใช้แทน

๑๒

ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย ยิ่งน้องเมียห้ามฝาก
เด็ดขาด อันตรายมาก
๒. ภรรยาที่ดีย่อมไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่ ข้าวดำ น้ำตัก ฟืนตอหักหา น้ำร้อน น้ำชาเตรียม
ไว้เสร็จ
๓.ของไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา ตำราหิโตปเทศกล่าวว่า “ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้
อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่”

คำศัพท์

ปิโยรส หมายถึง ลูกผู้เป็นที่รัก
คาคบ หมายถึง ง่ามไม้ตรงที่กิ่งใหญ่แยกจากลำต้น
น้าว หมายถึง เหนี่ยวลง, ดึงหรือรั้งลง

๑๓

กัณฑ์ ที่ ๖ กัณฑ์ จุลพน

เรื่องย่อ

เจตบุตรพราน นายด่านประตูป่า ฟังคารมชูชก หลงเชื่อพอใจ เลื่อมใสนับถือ ยำเกรง
ถึงกับเสียสละอาหาร ต้อนรับเลี้ยงดูชูชกเต็มที่ แล้วก็พาชูชกไปยังต้นทางชี้บอกให้ชูชก

กำหนดหมายภูเขา และป่าไม้กับพรรณาความงามนานาพฤกษชาติสร้างความยินดีให้มี

กำลังใจหายสะดุ้งหวาดกลัวภัยในป่า ทั้งบอกระยะทางที่จะไปพบอาศรมฤาษี ซึ่งเป็นดุจ

สถานีที่พักในการเดินทางคราวนี้ และจะได้รับความปราณีจากอจุตดาบสบอกทางให้ต่อ

ไป จนถึงอาศรมของพระเวสสันดร

๑๔

ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย
๒. คนโง่เป็นเหยื่อของคนฉลาด
๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตัว

คำศัพท์

ยำเกรง หมายถึง กลัวเกรงเพราะเคารพนับถือ
ผลาผล หมายถึง ลูกไม้ใหญ่น้อย
ภูษา หมายถึง เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง

๑๕

กัณฑ์ ที่ ๗ กัณฑ์ มหาพน

เรื่องย่อ

เมื่อชูชกเดินทางไปตามทางที่เจตบุตรบอกก็พบท่านอจุตฤาษีที่อาศรมไต่ถามทุกข์สุข
ตามธรรมเนียมของผู้แรกพบ และก็ได้เริ่มถามที่อยู่ของพระเวสสันดรโดยขอให้ช่วยบอก
ทางที่จะไป อจุตฤาษีไม่พอใจที่ชูชกชะรอยจะมาขอสองกุมารไปเป็นทาส หรือ ไม่ก็ขอ
พระนางมัทรี ไม่ได้มาดีอย่างแน่นอน ชูชกจึงแก้ตัวทันทีโดย เอาความดีเข้าต่อรองอจุตฤา
ษีก็ใจอ่อนหลงเชื่อ จึงให้ชูชกค้างอยู่ที่อาศรมคืนหนึ่ง ตอนรุ่งเช้าก็จัดให้
ชูชกกินผลไม้ แล้วบอกทางไปอาศรมพระเวสสันดรอย่างละเอียด
พรรณนาถึงภูเขา ป่าไม้ ฝูงสัตว์ต่างๆ ชูชกจดจำคำแนะนำของ
อจุตฤาษีจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็นมัสการลาไป

๑๖

ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว (มีปัญญาแต่ขาดสติ)
๒. สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์
๓. คบคนให้ดูหน้า(หน้าตา,หน้าที่,หน้าใน,จิตใจ) ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย ซื้อไร่ให้ดูดิน

คำศัพท์

ชะรอย หมายถึง เห็นท่า,เห็นทีจะ,เห็นจะ
พรรณนา หมายถึง บรรยาย,เล่าเรื่อง

๑๗

กัณฑ์ ที่ ๘ กัณฑ์ กุมาร

เรื่องย่อ

ชูชกเดินทางจนมาถึงอาศรมของพระเวสสันดรในเวลาใกล้ค่ำ ชูชกเห็นว่าเวลานี้พระนา
งมัทรีอยู่จึงยังไม่เข้าไปขอพระกุมารทั้งสอง ในคืนนั้นพระนางมัทรีเองฝันว่ามีชายผิวดำ
ทัดดอกไม้เเดงถืออาวุธมาฟันเเขนทั้งสองข้าง ควักดวงตาเเละดวงใจของพระนางไป จึง
ขอให้พระเวสสันดรทำนายฝัน พระเวสสันดรจึงทรงทำนายเลี่ยงไป รุ่งเช้าพระนางมัทรี
ออกไปหาผลไม้ตามปกติ พระเวสสันดรพระราชทานสองกุมารเเก่ชูชก เมื่อชูชกได้พาพระ
กุมารทั้งสองไปเเล้วก็ตีต้อนต่อหนัาพระเวสสันดร พระเวสสันดรรู้สึกโกรธเเต่ก็ระงับไว้ได้

๑๘

ข้อคิดประจำกัณฑ์

๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ดังภาษิตโบราณว่า “ ช้าๆ จะได้พร้าเล่มงาม ’’
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วง
ชาย

คำ๓ศั.พสทต์ิเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้

โทมนัส หมายถึง ความเสียใจ, ความทุกข์ใจ, ความเศร้าโศก
ขันติ หมายถึง ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ

๑๙

กัณฑ์ ที่ ๙ กัณฑ์ มัทรี

เรื่องย่อ

เมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ผลไม้เผือกมันช่าง
หายากที่สุด ไม่มีให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับเคหาก็เกิดพายุใหญ่จน
มืดครึ้มไปทั่วทั้งป่า ท้องฟ้าสีแดงปานเลือดละเลงทั้งแปดทิศปรากฏมืดมนไปหมด
อย่างไม่เคยมีพระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลังเกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดรกัณหา
และชาลี พระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขา ก็พบกับ
สองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า

๒๐

เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรี
ติดตามกัณหาชาลีได้ทัน และขัดขวางการให้ทานของพระเวสสันดรแต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์
เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญา
สัตว์ทั้งสามเมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรเมื่อมาถึงอาศรม ไม่พบกัณหาชาลี
พระนางก็ร้องเรียกก็ไม่เห็นครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระนาง
มัทรีถึงกับสลบ พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริงว่า
พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสองมอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานพระนางก็
อนุโมทนาซึ่งทานนั้นด้วย

๒๑

ข้อคิดประจำกัณฑ์

ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่

คำศัพท์

มหัศจรรย์ หมายถึง แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, น่าทึ่งมาก

หาบ หมายถึง แบกของขึ้นบ่าด้วยไม้คานโดยห้อยของเท่า ๆ กันไว้ที่

ปลายไม้คานทั้ง ๒ ข้าง

เคหา หมายถึง บ้าน, เรือน, ที่อยู่

๒๒

กัณฑ์ ที่ ๑๐ กัณฑ์ สักกบรรพ

เรื่องย่อ

พระอินทร์เกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีไปอีก จักไม่มีผู้ปรนนิบัติพระเวสสันดร

พระโพธิญาณจักเป็นอันตราย จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์ชราลงมาขอ เมื่อได้แล้วไม่เอาไป

กลับถวายคืนแก่พระเวสสันดร โดยห้ามประทานนางแก่ผู้ใดอีก พร้อมทั้งประสาทพร ๘

ประการ ให้แก่พระเวสสันดร แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตร่างเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไป

ทันที พร ๘ ประการมีดังนี้

๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ ๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์
๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้ ๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น
๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา ๗. ให้มีอาหารทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า
๔. ให้มั่นคงในมเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น ๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ

๒๓

ข้อคิดประจำกัณฑ์

การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์ หรือใน

กำปั่นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความดีเหมือนเพชรเหมือนทอง การ

ทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่านย่อมรู้

คำศัพท์

ปรนนิบัติ หมายถึง เอาใจใส่ คอยดูแลรับใช้
ดำริ หมายถึง ตริ, คิด, ไตร่ตรอง

๒๔

กัณฑ์ ที่ ๑๑ กัณฑ์ มหาราช

เรื่องย่อ

ชูชกลากกัณหา ชาลีเดินออกจากป่าหิมพานต์และโบยตี จนไปถึงทางสองแพร่งซึ่ง
เป็นทางไปยังเมืองกลิงครัฐและเมืองสีพี แต่ชูชกดันหลงทางเลือกไปทางเมืองสีพี
และเดินทางไปถึงตัวเมือง พวกข้าหลวงต่างๆที่จำกัณหาและชาลีได้ก็จับชูชกพาไป
เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัย พระเจ้ากรุงสญชัยก็ได้ไถ่ตัวกุมารทั้งสอง และเลี้ยง
อาหารแก่ชูชกมากมาย ชูชกกินอาหารมากเกินไปจนท้องแตกตาย

ข้อคิดประจำกัณฑ์

คนดีย่อมได้รับความปกป้องคุ้มภัย

คำศัพท์ พระสุบิน หมายถึง ฝัน

๒๕

กัณฑ์ ที่ ๑๒ กัณฑ์ ฉกษัตริย์

เรื่องย่อ

พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี พระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระ
เวสสันดร พระนางมัทรีกลับพระนคร เมื่อกษัตริย์ทั้งหกพระองค์พบกัน ต่างก็ร้องไห้
คร่ำครวญ เสนาอำมาตย์ สนมกำนัล ก็ร้องไห้ ต่างตกอยู่ในวิสัญญีภาพ ต่อมา
พระอินทร์บันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ทุกคนจึงฟื้นคืนสติ และขอให้พระ
เวสสันดรลาผนวช กลับไปครองราชสมบัติสืบไป

ข้อคิดประจำกัณฑ์

การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน
บันดาลสันติสุขแก่ส่วนรวม

คำศัพท์ อาศรม หมายถึง ที่อยู่ของนักพรต

วิปโยค หมายถึง ความพลัดพราก, ความจากกัน

๒๖

กัณฑ์ ที่ ๑๓ นครกัณฑ์

เรื่องย่อ

พระเวสสันดรทรงลาผนวช ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จ
กลับไปครองเมืองสีพี พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้า
เสนาอำมาตย์สุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองยึดมั่นในศีล บำเพ็ญกุศลตามสัตย์
อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐ ก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน
เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม
และยังคงทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาจึงสวรรคต แล้วจุติอุบัติเป็น
ท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต รวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา
ต้องนิราศจากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน

ข้อคิดประจำกัณฑ์ การทำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน

คำศัพท์ ดำริ หมายถึง คิด,ไตร่ตรอง

๒๗

วิจารณ์ตัวละคร

เสียสละประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม ยอมเสียสละความสุขส่วนตัว แม้จะทุกข์ก็ไม่

หวั่น เป็นแบบอย่างของบุคคลผู้ไม่ยึดติดอำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึงโลกธรรมที่ว่า "ยามมียศ เขา

ก็ยก ยามต่ำตกเขาก็หยาม"

เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี สนับสนุนเป้าหมายชีวิตอัน

ประเสริฐที่สามีได้ตั้งไว้ และยังเป็นแบบอย่างของภรรยาตามทัศนะของคนตะวันออก เช่น

ปฏิบัติดูแลเรื่องข้าวปลาอาหาร เป็นต้น ทรงคุณธรรมสำคัญ คือ "ซื่อตรง จงรัก หนักแน่น"

พระนางผสุดีมีอุปนิสิยรักสวยรักงาม ทรงเป็นแม่ที่รักลูก ห่วงใยลูก เมื่อลูกมีปัญหาก็รีบ

ช่วยหาทางเเก้ไข ดูแลทุกข์สุขของประชาชน และประทานเงินทองให้แก่ราษฎร

๒๘

วิจารณ์ตัวละคร

เป็นพระราชาแห่งกรุงสีพี เป็นผู้รักษาประชาธิปไตยของบ้านเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ที่

เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมืองมากกว่าประโยชน์ส่วนพระองค์เอง

เป็นพระธิดาของพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เป็นพระนัดดาของพระเจ้ากรุงสญชัย

และพระนางผุสดี และเป็นพระกนิษฐาของพระชาลี พระกัณหาเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเชื่อ
ฟังคำสั่งสอนและมีความเฉลียวฉลาด

เป็นพระราชโอรสของพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีเป็นพระเชษฐาของพระกัณหา พระ
นัดดาของพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี

๒๙

วิจารณ์ตัวละคร

ชูชก

๑. มีความตระหนี่เหนียวแน่น
๒. มีความโลภ เที่ยวขอทานจนมีเงินมากมาย
๓. รักและหลงเมีย ยอมให้นางทุกอย่าง
๔. เป็นคนฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมมาก ฉลาดทั้งในด้านการพูดและกลอุบาย
๕. มีความละเอียดรอบคอบ
๖. มีความยึดมั่นในพิธีทางไสยศาสตร์

๓๐

ฝนโบกขรพรรษ

ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์จึงได้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยพระ
ภิกษุสงฆ์ผู้เป็นอรหันต์พระบรมวงศ์และชาวเมืองได้ออกมารับเสด็จกันมากมาย
มีพระบรมวงศานุวงศ์บางท่านไม่ทำความเคารพในพระองศ์พระบรมศาสนาได้ทรงเห็นอาการของพระ

ญาติวงศ์กระด้างกระเดื่องเช่นนั้น จึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์โดยเสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ และเปล่งฉัพพรรณ

รังสีพระราชบิดาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงกราบไว้พระโอรสและพระญาติวงศ์ทั้งหลายก็กราบไหว้ตามๆ

กัน ขณะนั้นได้เกิดเมฆตั้งเค้ามืดครึ้มขึ้น แล้วเกิดฝนเรียกว่า "ฝนโบกขรพรรษ" ตกลงมา

ฝนโบกขรพรรษ เป็นฝนอันมหัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อน มีความมหัศจรรย์ ดังนี้
๑. มีเม็ดน้ำฝนแดงเรื่อเหมือนแก้วทับทิม
๒. ผู้ใดปรารถนาได้เปียกก็เปียก ผู้ไม่ปรารถนาแม้ละอองก็ไม่สัมผัสผิวกาย
๓. ไม่เลอะเทอะขังนอง ก่อให้เกิดโคลนตมอันปฏิกูล พอฝนหาย แผ่นดินก็สะอาด
๔. ตกลงเฉพาะในสมาคมพระญาติ ไม่มีผู้อื่นอยู่ร่วมประชุมด้วย

๓๑

ทศชาติ

ทศชาติ ประกอบด้วยคำว่า ทศ (อ่านว่า ทะ-สะ) แปลว่า สิบ และคำว่า ชาติ (อ่านว่า
ชา-ติ) แปลว่าการเกิด ทศชาติ เป็นชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องของพระพุทธเจ้าครั้งยัง
เป็นพระโพธิสัตว์ใน ๑๐ พระชาติก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่

๑. เตมิยชาดก ๖. ภูริทัตตชาดก
๒. มหาชนกชาดก ๗. จันทกุมารชาดก
๓. สุวรรณสามชาดก ๘. มหานารทกัสสปชาดก
๔. เนมิราชชาดก ๙. วิธุรชาดก
๕. มโหสถชาดก ๑๐. เวสสันดรชาดก

๓๒

ข้อคิดจากเรื่องที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้

การเสียสละได้ทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตซึ่งน้อยนักที่คนธรรมดาสามัญทั่วไปจะ
สละได้ถึงเพียงนั้น สามารถที่จะสละให้ผู้อื่นได้ทั้งหมด ไม่ยึดติดกับอะไรทั้งสิ้น
ถ้ามีผู้มาขอลูกตาหรืออวัยวะของพระเวสสันดรพระองค์ก็จะทรงสละให้เป็นชาติที่
บำเพ็ญทานบารมี(พระองค์ทรงอธิษฐานจิตว่าชาตินี้ไม่ว่าใครจะมาขออะไรเราก็จะ
ให้ทั้งหมดไม่เว้นแม้แต่เลือดเนื้อหรือชีวิตของตนเป็นการให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด)
ก่อนจะเกิดในชาติสุดท้ายแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

๓๓

บรรณานุกรม

LIVED. (ม.ป.ป.). ฝนโบกขรพรรษ. สืบค้น ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
https://board.postjung.com/715905

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (๒๕๕๖). ทศชาติ. สืบค้น ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
http://legacy.orst.go.th

Mahavessandorn. (ม.ป.ป.). สืบค้น ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
https://sites.google.com/site/mahavessandorn

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี. (๒๕๕๕). สืบค้น ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
https://sites.google.com/site/kanipa031

๓๔

บรรณานุกรม (ต่อ)

เทศน์แชนแนล. (ม.ป.ป.). เทศน์มหาชาติทำนองหลวง. สืบค้น ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕,
จาก https://www.xn--o3ce8b8evc.com/aano3/

วิจารณ์ตัวละคร. (ม.ป.ป.). สืบค้น ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
http://www.geocities.ws/sakyaputto/wijanchadok.htm

อีสานร้อยแปด. (ม.ป.ป.). เวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ สืบค้น ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
https://esan108.com/

ข้อคิดในมหาเวสสันดรชาดก. (ม.ป.ป.). สืบค้น ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก
https://thn21655-01.blogspot.com

จัดทำโดย

๑. นายชานนท น้อยปั่น เลขที่ ๒ ๖. นางสาววรัมพร เกตุศรี เลขที่ ๒๑

๒. นายปิยังกูร ราตะกั่ว เลขที่ ๑๕ ๗. นางสาวอชิรญา บูรณะภัฑณ์ เลขที่ ๒๒

๓. นายภูวดล ตะกรุดทอง เลขที่ ๑๖ ๘. นางสาวอภิชญา สอนทุ่ง เลขที่ ๒๓

๔. นางสาวชนากานต์ รุ่งฉายา เลขที่ ๑๙ ๙. นางสาวบุญฐิสา บุญคำภา เลขที่ ๒๘

๕. นางสาวรินรดา ขยันสการ เลขที่ ๒๐ ๑๐. นางสาวปภัสสรา อรรถจินดา เลขที่ ๒๙

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้รายวิชา ท๓๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒
เสนอ

ครูสุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์ ครูประจำวิชา


Click to View FlipBook Version